SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 42
การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย   เอกสารประกอบการสอน วิชา  427-302 Social Sciences Research Methodology
ปัญหาการวิจัย  (Research Problem)   หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ ดังนั้น  การกำหนดปัญหาการวิจัย  จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ  ปัญหาการวิจัย   (Research Problem)
การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย   การเลือกหัวข้อและการกำหนดปัญหาในการวิจัย   (selection topic and formulation of a research problem)  เป็นงานขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการวิจัย ซึ่งมีอยู่  5   ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ การกำหนดปัญหาในการวิจัย การสร้างรูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความและ สรุปผล (Selltiz et.al.,   1976 : 12)
การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย   ปัญหาการวิจัย เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน  (basic elements)  1 ใน  4   อย่างของการวิจัย คือ  1. ปัญหาการวิจัย  (research problem) , 2. ตัวแปร  (variable) , 3. ความสัมพันธ์  (relation)  และ  4. สมมติฐาน (hypothesis) (Nachmias and Nachmias , 1987 : 55)
การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย   “  ปัญหาการวิจัย ”  ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยทุกโครงการเพราะ  “ ถ้าไม่มีปัญหาก็จะไม่มีการวิจัย  (no problem, no research) ”
ความหมายของปัญหาการวิจัย  ปัญหาการวิจัย  (statement of problem)  หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ และการหาคำตอบนั้นจะต้องกระทำอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ เช่น ทำไมชาวชนบทจึงนิยมอพยพย้ายถิ่นเข้ามาหากินในเมืองหลวง  ,  ปัญหาเรื่องการสร้างบ้านพักให้ข้าราชการในชนบทจะแก้ปัญหาเรื่องการขาดขวัญ กำลังใจ ของข้าราชการในชนบทหรือไม่  ,  เหตุใดนิสิตนักศึกษาไม่ต้องการทำงานในราชการ แต่ต้องการทำงานในเอกชน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหา ก่อให้เกิดความสงสัยอยากรู้ ที่มีระบบระเบียบที่เชื่อถือได้
องค์ประกอบของการเลือกและกำหนดปัญหาในการวิจัย  1.  การเลือกหัวข้อในการวิจัย  (selecting a topic for research) 2.  การกำหนดปัญหาในการวิจัย  (formulating a specific research problem)
องค์ประกอบของการเลือกและกำหนดปัญหาในการวิจัย  1.  ชื่อเรื่องในการวิจัย  (research title) 2.  หัวเรื่องหรือหัวข้อในการวิจัย  (research topic) 3.  ประเด็นของการวิจัย  (research issue) 4.  ปัญหาในการวิจัย  (research problem) 5.  สมมติฐานในการวิจัย  (research hypothesis)
การเลือกปัญหาการวิจัย นักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ทั่วๆไป  มักคิดว่าไม่รู้จะวิจัยเรื่องอะไร หรือไม่มีเรื่องจะวิจัย  หรือคิดว่าเรื่องนี้ ปัญหานี้มีคนทำมาแล้วทั้งนั้น ขอบอกไว้ ณ ที่นี้ว่า  ท่านคิดผิด  เพราะแท้จริงแล้ว มีปัญหาอยู่มากมายรอบตัวเรา  เพราะ
การเลือกปัญหาการวิจัย 1.   ตัวแปรที่เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ชุมชน บุคคล องค์การ วิธีการบริหาร อาชีพ สถานการณ์ ฯลฯ มีความผันแปรตลอดเวลา ยากต่อการสรุปมากกว่าเรื่องของฟิสิกส์ เคมี หรือคณิตศาสตร์
การเลือกปัญหาการวิจัย 2.   ปัญหาทางสังคมศาสตร์นั้น ไม่ได้คงที่แน่นอนตลอดเวลา 3.   ปัญหา หรือ ข้อสรุปต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เคยศึกษามาแล้ว ต้องการ การตรวจสอบ เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
การเลือกปัญหาการวิจัย 4.   การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ เพราะในช่วงเวลาที่แปรเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนไป ปัญหานั้นควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ เนื่องจากตัวแปรใหม่มัก เกิดขึ้นอยู่เสมอ
การเลือกปัญหาการวิจัย ด้วยเหตุนี้ นักวิจัย จึงไม่ควรคิดว่า ตนเองนั้นไม่มีปัญหาสำหรับทำวิจัย  เพราะปัญหานั้นมีอยู่แล้วมากมาย แต่ท่านยังหาไม่พบ เท่านั้นเอง
แหล่งของปัญหาการวิจัย นักวิจัยอาจหาข้อปัญหาการวิจัยได้ จาก แหล่งต่อไปนี้ 1.   วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำมาก่อนในเรื่องที่ตนเองสนใจ และกำลังศึกษาอยู่ พร้อมทั้ง วิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ พยายามหาช่องว่าง หรือ ช่วงที่ขาดตอนสำหรับเรื่องนั้นๆ ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือหาคำอธิบายเรื่องนั้นไม่ได้ ก็จะได้ปัญหาสำหรับการวิจัย
แหล่งของปัญหาการวิจัย 2.   นำคำพูด ข้อเสนอแนะของผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียงหรือเป็น ข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ ทำการทดลองด้วยวิธีการวิจัยมาเป็นปัญหาสำหรับการวิจัย 3.   วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาว่าสังคมมีการ เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เวลา และเทคนิควิทยาการต่างๆอาจทำให้เกิดปัญหาได้
แหล่งของปัญหาการวิจัย 4.   วิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนา หรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่เป็น นักศึกษา อาจใช้วิธีปรึกษา  ( เท่านั้น  ...  อย่าไปถามว่าจะทำเรื่องอะไรดี ! )  กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือ อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชานั้นๆ 5.   ศึกษาปัญหาจากสถาบันต่างๆ หรือสถานที่ที่มีการวิจัย หรือบุคคลที่ทำการวิจัย โดยเข้าร่วม โครงการวิจัยนั้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวทางในการเลือกปัญหาได้
ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   1.   รวบรวมข้อมูลก่อน ที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน เพราะข้อมูลนั้นอาจ ไม่ครอบคลุมปัญหานั้นๆอย่างสมบูรณ์ 2.   หาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว  และพยายามคิดปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะข้อมูลที่เก็บมาจาก แหล่งใดแหล่งหนึ่งอาจไม่มีความสมบูรณ์
ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   3.   ข้อ ปัญหาและความมุ่งหมาย ของการวิจัย ไม่ชัดเจน  ทำให้ไม่ทราบแหล่งของการเก็บรวบรวม ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลหรือข้อยุติต่างๆ 4.   ทำวิจัยโดย ไม่อ่านผลงานวิจัย ของบุคคลอื่น ที่คล้ายๆกัน  ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบและอาจเกิด ความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   5.   ทำวิจัยโดย ไม่มีความรู้พื้นฐาน ทางทฤษฎี หรือ ไม่มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานทางการวิจัย จะก่อให้ เกิดปัญหาในการวางแผนงานวิจัย หรือ การตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ 6.   ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจน  ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด และผู้ทำการวิจัยไม่เห็น แนวทาง ในการทำวิจัยนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง อาจเป็นผลให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้
ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   7.   การวิจัยที่ มีปัญหาครอบจักรวาล  ไม่จำกัดขอบเขต เป็นสาเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่รู้จักจบสิ้น เพราะไม่ทราบว่ามีขอบเขตแค่ใหน  ( หาที่ลงไม่ได้ )
วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   1.   ให้เลือกปัญหาที่ตนเอง มีความสนใจจริงๆ 2.   สะสมความรู้ความจริงและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้มากที่สุด 3.   เลือกสรรความรู้ความจริงที่สะสมไว้ โดยพิจารณาที่เกี่ยวข้องจริงๆ
วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   4. เขียนสมมติฐานการวิจัยให้ชัดเจน 5. เลือกสรรสมมติฐานที่จะมีข้อมูลมาทดสอบได้  6.  เลือกปัญหาที่ตนเอง มีความรู้พอจะทำได้ 7.  เลือกปัญหาที่ตนเอง มีเครื่องมือที่จะทำวิจัยได้
วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   8. เลือกปัญหาการวิจัยโดยคำนึงถึง เงิน และ เวลา พอจะทำได้ 9. เลือกปัญหาที่มีความสำคัญพอเพียงที่จะได้รับอนุมัติให้ทำได้ 10. เลือกปัญหาที่ให้ความรู้ใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่เคยทำโดยไม่จำเป็น
วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย   11.   เลือกปัญหาที่เป็นประโยชน์ ทั้งในแง่การนำไปใช้ และเสริมความรู้ใหม่ 12.   เลือกปัญหาที่จะชี้ช่องให้คนอื่นทำวิจัยต่อไปได้
กรอบแนวคิดในการทำวิจัย นิยามเชิงปฏิบัติการ ลักษณะทั่วไปของนิยามเชิงปฏิบัติการ สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด สรุปความสัมพันธ์ของแนวคิด นิยาม ตัวบ่งชี้ และคำถาม
กรอบแนวคิดในการทำวิจัย   กรอบแนวคิด  เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหาการวิจัย  การมีกรอบแนวคิดจะทำให้นักวิจัยสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้ และทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิดเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน
กรอบแนวคิด เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหาการวิจัย  การให้แนวความคิดจึงต้องชัดเจน และสามารถพิสูจน์ได้ การมีกรอบแนวคิดจะทำให้นักวิจัยสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้ และทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิดเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน
เมื่อนักวิจัยกำหนดจุดความสนใจหรือปัญหา ที่จะต้องการหาคำตอบ ได้แล้ว   เพื่อให้สามารถจัดระบบความคิดให้กับสิ่งที่ตั้งคำถามและสนใจที่จะศึกษา นักวิจัย จะต้องปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้ .....
สมมติว่า  นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง  " ปัจจัยทางสังคมบางประการที่มีอิทธิพลต่อการมี ส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น "   สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ว่า  " ปัจจัยทางสังคม " " การมีส่วนร่วม "  และ " กิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ณ พื้นที่ที่จะเข้าไปศึกษา "  นั้น มีคำอธิบายว่าอย่างไร และในการศึกษาวิจัยนี้กำหนดขอบเขตการอธิบายไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
สมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง  " การศึกษา กระบวนการตัดสินใจของพนักงานเทศบาลระดับบริหาร เพื่อนำนโยบายทาง การเมืองไปปฏิบัติ "   สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ให้กับสิ่งที่เรียกว่า  " กระบวนการตัดสินใจ "  ว่าอะไรบ้างที่อยู่ในกระบวนการตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร บุคคลจะต้องอาศัยอะไรบ้างในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดขอบเขตการอธิบายให้แน่นอน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
สมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง  " ความพึงพอ ใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ในส่วน ภูมิภาค "   สิ่งแรกที่ ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนว คิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน กับสิ่งที่เรียกว่า  " ความพึงพอใจ "  นั่นคือ นักวิจัยจะต้องค้นคว้าให้กระจ่างว่า พฤติกรรมที่เรียกว่าความพึงพอใจ นั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่เรียกว่า  " ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทั่วไป "  ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วไปค้นคว้าเพิ่มเติมว่า  " คนที่รับราชการในตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์ "  มีภารกิจอะไรบ้าง ความยากง่ายของงาน ความพร้อมของหน่วยงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งการกำหนดขอบเขตขององค์ความรู้ที่กล่าวมา ก็คือ การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย ฯลฯ
นิยามเชิงปฏิบัติการ   (Operational Definition) หลังจากที่นักวิจัยกำหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัยได้ เรียบร้อยแล้ว  ในขั้นตอนต่อไป  นักวิจัยจะต้องให้ความหมายของแนวคิด โดย จะต้องค้นหาสิ่งบ่งชี้  (Indicators)  ว่าสิ่งที่ต้องการวัดนั้น จะใช้อะไรมาวัด
ในความหลากหลายบนโลกมนุษย์ เราจะพบบ่อยๆ ว่าแนวความคิด  (Concept)  บางอย่างไม่สามารถเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์และอธิบายสิ่งที่ต้องการวัดได้โดยง่าย เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ การเรียนรู้ ฯลฯ เพราะแนวความคิดเหล่านี้มีลักษณะเป็นนามธรรม
ดังนั้น การจะตอบความหมายของแนวความคิดเหล่านี้ จึงไม่อาจใช้เพียงวิธีนำเสนอภาพ หรือชี้ไปยังวัตถุหรือบุคคลหรือเหตุการณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาในขั้นตอนนี้ จึงต้องใช้วิธีให้คำจำกัดความ โดยจะต้องเป็นคำจำกัดความที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยคือ  ปรากฏการณ์ทางสังคมส่วนใหญ่ไม่สามารถจะวัดได้โดยตรง หรือวัดได้แต่มีความยุ่งยากในเรื่องความถูกต้อง และความเชื่อถือได้ของการวัด เราจะวัดการมีส่วนร่วมทางการเมืองในท้องถิ่นนั้นอย่างไร เราจะวัดทัศนคติหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างไร
ก่อนจะตัดสินใจว่าจะวัดอย่างไร   เราจึงต้องกำหนดความหมายหรือคำจำกัดความของตัวแปรต่างๆ เสียก่อน  คำจำกัดความของตัวแปร จะต้องชี้วัดลงไปว่า สิ่งที่เราพูดถึงนั้นมีลักษณะอย่างไร อะไรเป็นเครื่องวัด
คำจำกัดความที่กำหนดขึ้นจะมีลักษณะที่ชี้ลงไปว่า อะไรคือสิ่งที่จะใช้วัดแนวความคิดซึ่งมีความหมายกว้างๆ หรือเป็นนามธรรม คำจำกัดความเช่นนี้เรียกว่า คำนิยามเชิงปฏิบัติการ  (Operational Definition)  ซึ่งก็คือคำจำกัดความที่สามารถนำไปเก็บข้อมูลมาได้ โดยในคำนิยามนั้นจะมีตัวบ่งชี้  (Indicator)  ของสิ่งที่เราจะศึกษา ซึ่งโดยปกติเราไม่สามารถมองเห็นได้โดยตรง
ลักษณะทั่วไปของนิยามเชิงปฏิบัติการ การให้กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ  (Operational Definition)  เป็นการกำหนดทิศทางสำหรับนักวิจัยในการปฏิบัติเหมือนกัน เข้าใจปรากฏการณ์เป็นอย่างเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว  นิยามเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ
คุณลักษณะหรือองค์ประกอบของตัวแปร  พฤติกรรมที่แสดงออก  เกณฑ์ที่เป็นเครื่องชี้วัด
สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด   1.   ท่านได้กำหนดความหมายของแนวคิด  (Concept)  ต่างๆ ไว้แน่นอนชัดเจนแล้วหรือไม่ 2.   คำศัพท์ที่ต้องใช้ ได้มีการนิยามไว้แน่นอนชัดเจนเพียงใด 3.   มีการกำหนดแนวคิด  (Concept)  ต่างๆ อย่างพอเพียงและถูกต้องหรือยัง
สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด   4.   แนวคิด  (Concept)  บางประการ จำเป็นต้องกำหนดข้อจำกัดเพิ่มอีกหรือไม่ 5.   เมื่อกลุ่มที่ศึกษาเปลี่ยนไป ความหมายเปลี่ยนตามไปหรือไม่ เช่น อายุ เพศ ฯลฯ 6.   ท่านกำหนดความหมายต่างๆ โดยมีอะไรเป็นพื้นฐาน
 

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดแผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดguestf57acc
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญ
แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญแบบประเมินผู้เชี่ยวชาญ
แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญPitchayaporn Sukrarassamee
 
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานMypoom Poom
 
แบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
แบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมแบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
แบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมNutsara Mukda
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยการเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยBenjapron Seesukong
 
บทที่ 3 หลักสถิติ
บทที่ 3 หลักสถิติบทที่ 3 หลักสถิติ
บทที่ 3 หลักสถิติTeetut Tresirichod
 
หน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยี
หน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยีหน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยี
หน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยีJanchai Pokmoonphon
 
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1Prachyanun Nilsook
 
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนPrachyanun Nilsook
 
ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล ชั้น ป.5
ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล  ชั้น ป.5ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล  ชั้น ป.5
ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล ชั้น ป.5sripayom
 
การประเมินการปฏิบัติ
การประเมินการปฏิบัติการประเมินการปฏิบัติ
การประเมินการปฏิบัติNU
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรืองUtai Sukviwatsirikul
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้Ploykarn Lamdual
 
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - NurseTAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - Nursetaem
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAณัฐพล แสงทวี
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาBoonlert Aroonpiboon
 

Mais procurados (20)

แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดแผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญ
แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญแบบประเมินผู้เชี่ยวชาญ
แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญ
 
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
 
แบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
แบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมแบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
แบบสังเกตพฤติกรรมความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
 
Ppt.เพศ
Ppt.เพศPpt.เพศ
Ppt.เพศ
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยการเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
 
บทที่ 3 หลักสถิติ
บทที่ 3 หลักสถิติบทที่ 3 หลักสถิติ
บทที่ 3 หลักสถิติ
 
Power Point
Power PointPower Point
Power Point
 
หน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยี
หน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยีหน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยี
หน่วยที่ 3-ระบบทางเทคโนโลยี
 
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
 
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
 
ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล ชั้น ป.5
ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล  ชั้น ป.5ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล  ชั้น ป.5
ชุดการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องการปฐมพยาบาล ชั้น ป.5
 
การประเมินการปฏิบัติ
การประเมินการปฏิบัติการประเมินการปฏิบัติ
การประเมินการปฏิบัติ
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
 
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - NurseTAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
 

Semelhante a Research4

Research11 conceptual framework
Research11 conceptual frameworkResearch11 conceptual framework
Research11 conceptual frameworkSani Satjachaliao
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2powe1234
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยอรุณศรี
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยอรุณศรี
 
Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...
Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...
Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...Khon Kaen University
 
9789740335795
97897403357959789740335795
9789740335795CUPress
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer projectFelinicia
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำsliderubtumproject.com
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนวyutict
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนsalinkarn sampim
 
การทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นการทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นPongtong Kannacham
 
427 416 ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54
427 416  ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54427 416  ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54
427 416 ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54Sani Satjachaliao
 

Semelhante a Research4 (20)

Research11 conceptual framework
Research11 conceptual frameworkResearch11 conceptual framework
Research11 conceptual framework
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
 
Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...
Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...
Research topic and thesis guide (การกำหนดหัวข้อวิจัย และ องค์ประกอบของวิทยานิ...
 
9789740335795
97897403357959789740335795
9789740335795
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslide
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
 
2222
22222222
2222
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
 
Week 1 intro[1]
Week 1 intro[1]Week 1 intro[1]
Week 1 intro[1]
 
การทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นการทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้น
 
บทเรียน ประกอบแผนที่ 2
บทเรียน ประกอบแผนที่ 2บทเรียน ประกอบแผนที่ 2
บทเรียน ประกอบแผนที่ 2
 
427 416 ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54
427 416  ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54427 416  ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54
427 416 ชั่วโมงที่ ˆ 1 20 มิ.ย. 54
 
PPT อ.สกลชัย
PPT อ.สกลชัยPPT อ.สกลชัย
PPT อ.สกลชัย
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
maisooree
maisooreemaisooree
maisooree
 

Mais de Sani Satjachaliao

สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)
สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)
สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)Sani Satjachaliao
 
สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spss
สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spssสัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spss
สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spssSani Satjachaliao
 
การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10
การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10
การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10Sani Satjachaliao
 
T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11
T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11
T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11Sani Satjachaliao
 
Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14
Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14
Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14Sani Satjachaliao
 
427 305 week17 relational analysis
427 305 week17 relational analysis427 305 week17 relational analysis
427 305 week17 relational analysisSani Satjachaliao
 
427 305 สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis
427 305  สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis427 305  สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis
427 305 สัปดาห์ที่ 16 correlational analysisSani Satjachaliao
 
สัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลา
สัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลาสัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลา
สัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลาSani Satjachaliao
 
Week 5 scale_and_measurement
Week 5 scale_and_measurementWeek 5 scale_and_measurement
Week 5 scale_and_measurementSani Satjachaliao
 
Research9 writing research_report
Research9 writing research_reportResearch9 writing research_report
Research9 writing research_reportSani Satjachaliao
 
Research8 research concept_1_2553
Research8 research concept_1_2553Research8 research concept_1_2553
Research8 research concept_1_2553Sani Satjachaliao
 
Research6 qualitative research_methods
Research6 qualitative research_methodsResearch6 qualitative research_methods
Research6 qualitative research_methodsSani Satjachaliao
 

Mais de Sani Satjachaliao (20)

สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)
สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)
สัปดาห์ที่ 7 8 (2 dec 2010)
 
สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spss
สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spssสัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spss
สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม 2 ทำความรู้จัก spss
 
การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10
การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10
การทดสอบสมมติฐาน สัปดาห์ที่ 10
 
T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11
T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11
T test 8 10 สีปดาห์ ที่ 11
 
Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14
Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14
Elaboration analysis สัปดาห์ที่ 14
 
427 305 week17 relational analysis
427 305 week17 relational analysis427 305 week17 relational analysis
427 305 week17 relational analysis
 
427 305 สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis
427 305  สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis427 305  สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis
427 305 สัปดาห์ที่ 16 correlational analysis
 
สัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลา
สัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลาสัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลา
สัปดาห์ที่ 3 4 5 6 ทำความรู้จัก spss ยะลา
 
Week 9 research_design
Week 9 research_designWeek 9 research_design
Week 9 research_design
 
Week 8 conceptual_framework
Week 8 conceptual_frameworkWeek 8 conceptual_framework
Week 8 conceptual_framework
 
Week 7 conceptual_framework
Week 7 conceptual_frameworkWeek 7 conceptual_framework
Week 7 conceptual_framework
 
Week 6 hypothesis
Week 6 hypothesisWeek 6 hypothesis
Week 6 hypothesis
 
Week 5 scale_and_measurement
Week 5 scale_and_measurementWeek 5 scale_and_measurement
Week 5 scale_and_measurement
 
Week 4 variable
Week 4 variableWeek 4 variable
Week 4 variable
 
Research10 sample selection
Research10 sample selectionResearch10 sample selection
Research10 sample selection
 
Research9 writing research_report
Research9 writing research_reportResearch9 writing research_report
Research9 writing research_report
 
Research8 research concept_1_2553
Research8 research concept_1_2553Research8 research concept_1_2553
Research8 research concept_1_2553
 
Research6 qualitative research_methods
Research6 qualitative research_methodsResearch6 qualitative research_methods
Research6 qualitative research_methods
 
Research3
Research3Research3
Research3
 
Research2
Research2Research2
Research2
 

Research4

  • 1. การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย เอกสารประกอบการสอน วิชา 427-302 Social Sciences Research Methodology
  • 2. ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ปัญหาการวิจัย (Research Problem)
  • 3. การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย การเลือกหัวข้อและการกำหนดปัญหาในการวิจัย (selection topic and formulation of a research problem) เป็นงานขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการวิจัย ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ การกำหนดปัญหาในการวิจัย การสร้างรูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความและ สรุปผล (Selltiz et.al., 1976 : 12)
  • 4. การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย ปัญหาการวิจัย เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (basic elements) 1 ใน 4 อย่างของการวิจัย คือ 1. ปัญหาการวิจัย (research problem) , 2. ตัวแปร (variable) , 3. ความสัมพันธ์ (relation) และ 4. สมมติฐาน (hypothesis) (Nachmias and Nachmias , 1987 : 55)
  • 5. การเลือกหัวข้อและการสร้างปัญหาในการวิจัย “ ปัญหาการวิจัย ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยทุกโครงการเพราะ “ ถ้าไม่มีปัญหาก็จะไม่มีการวิจัย (no problem, no research) ”
  • 6. ความหมายของปัญหาการวิจัย ปัญหาการวิจัย (statement of problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ และการหาคำตอบนั้นจะต้องกระทำอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ เช่น ทำไมชาวชนบทจึงนิยมอพยพย้ายถิ่นเข้ามาหากินในเมืองหลวง , ปัญหาเรื่องการสร้างบ้านพักให้ข้าราชการในชนบทจะแก้ปัญหาเรื่องการขาดขวัญ กำลังใจ ของข้าราชการในชนบทหรือไม่ , เหตุใดนิสิตนักศึกษาไม่ต้องการทำงานในราชการ แต่ต้องการทำงานในเอกชน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหา ก่อให้เกิดความสงสัยอยากรู้ ที่มีระบบระเบียบที่เชื่อถือได้
  • 7. องค์ประกอบของการเลือกและกำหนดปัญหาในการวิจัย 1. การเลือกหัวข้อในการวิจัย (selecting a topic for research) 2. การกำหนดปัญหาในการวิจัย (formulating a specific research problem)
  • 8. องค์ประกอบของการเลือกและกำหนดปัญหาในการวิจัย 1.  ชื่อเรื่องในการวิจัย (research title) 2. หัวเรื่องหรือหัวข้อในการวิจัย (research topic) 3. ประเด็นของการวิจัย (research issue) 4. ปัญหาในการวิจัย (research problem) 5. สมมติฐานในการวิจัย (research hypothesis)
  • 9. การเลือกปัญหาการวิจัย นักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ทั่วๆไป มักคิดว่าไม่รู้จะวิจัยเรื่องอะไร หรือไม่มีเรื่องจะวิจัย หรือคิดว่าเรื่องนี้ ปัญหานี้มีคนทำมาแล้วทั้งนั้น ขอบอกไว้ ณ ที่นี้ว่า ท่านคิดผิด เพราะแท้จริงแล้ว มีปัญหาอยู่มากมายรอบตัวเรา เพราะ
  • 10. การเลือกปัญหาการวิจัย 1. ตัวแปรที่เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ชุมชน บุคคล องค์การ วิธีการบริหาร อาชีพ สถานการณ์ ฯลฯ มีความผันแปรตลอดเวลา ยากต่อการสรุปมากกว่าเรื่องของฟิสิกส์ เคมี หรือคณิตศาสตร์
  • 11. การเลือกปัญหาการวิจัย 2. ปัญหาทางสังคมศาสตร์นั้น ไม่ได้คงที่แน่นอนตลอดเวลา 3. ปัญหา หรือ ข้อสรุปต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เคยศึกษามาแล้ว ต้องการ การตรวจสอบ เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
  • 12. การเลือกปัญหาการวิจัย 4. การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ เพราะในช่วงเวลาที่แปรเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนไป ปัญหานั้นควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ เนื่องจากตัวแปรใหม่มัก เกิดขึ้นอยู่เสมอ
  • 13. การเลือกปัญหาการวิจัย ด้วยเหตุนี้ นักวิจัย จึงไม่ควรคิดว่า ตนเองนั้นไม่มีปัญหาสำหรับทำวิจัย เพราะปัญหานั้นมีอยู่แล้วมากมาย แต่ท่านยังหาไม่พบ เท่านั้นเอง
  • 14. แหล่งของปัญหาการวิจัย นักวิจัยอาจหาข้อปัญหาการวิจัยได้ จาก แหล่งต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำมาก่อนในเรื่องที่ตนเองสนใจ และกำลังศึกษาอยู่ พร้อมทั้ง วิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ พยายามหาช่องว่าง หรือ ช่วงที่ขาดตอนสำหรับเรื่องนั้นๆ ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือหาคำอธิบายเรื่องนั้นไม่ได้ ก็จะได้ปัญหาสำหรับการวิจัย
  • 15. แหล่งของปัญหาการวิจัย 2. นำคำพูด ข้อเสนอแนะของผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียงหรือเป็น ข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ ทำการทดลองด้วยวิธีการวิจัยมาเป็นปัญหาสำหรับการวิจัย 3. วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาว่าสังคมมีการ เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เวลา และเทคนิควิทยาการต่างๆอาจทำให้เกิดปัญหาได้
  • 16. แหล่งของปัญหาการวิจัย 4. วิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนา หรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่เป็น นักศึกษา อาจใช้วิธีปรึกษา ( เท่านั้น ... อย่าไปถามว่าจะทำเรื่องอะไรดี ! ) กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือ อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชานั้นๆ 5. ศึกษาปัญหาจากสถาบันต่างๆ หรือสถานที่ที่มีการวิจัย หรือบุคคลที่ทำการวิจัย โดยเข้าร่วม โครงการวิจัยนั้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวทางในการเลือกปัญหาได้
  • 17. ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 1. รวบรวมข้อมูลก่อน ที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน เพราะข้อมูลนั้นอาจ ไม่ครอบคลุมปัญหานั้นๆอย่างสมบูรณ์ 2. หาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และพยายามคิดปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะข้อมูลที่เก็บมาจาก แหล่งใดแหล่งหนึ่งอาจไม่มีความสมบูรณ์
  • 18. ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 3. ข้อ ปัญหาและความมุ่งหมาย ของการวิจัย ไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบแหล่งของการเก็บรวบรวม ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลหรือข้อยุติต่างๆ 4. ทำวิจัยโดย ไม่อ่านผลงานวิจัย ของบุคคลอื่น ที่คล้ายๆกัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบและอาจเกิด ความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
  • 19. ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 5. ทำวิจัยโดย ไม่มีความรู้พื้นฐาน ทางทฤษฎี หรือ ไม่มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานทางการวิจัย จะก่อให้ เกิดปัญหาในการวางแผนงานวิจัย หรือ การตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ 6. ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจน ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด และผู้ทำการวิจัยไม่เห็น แนวทาง ในการทำวิจัยนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง อาจเป็นผลให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้
  • 20. ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 7. การวิจัยที่ มีปัญหาครอบจักรวาล ไม่จำกัดขอบเขต เป็นสาเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่รู้จักจบสิ้น เพราะไม่ทราบว่ามีขอบเขตแค่ใหน ( หาที่ลงไม่ได้ )
  • 21. วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 1. ให้เลือกปัญหาที่ตนเอง มีความสนใจจริงๆ 2. สะสมความรู้ความจริงและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้มากที่สุด 3. เลือกสรรความรู้ความจริงที่สะสมไว้ โดยพิจารณาที่เกี่ยวข้องจริงๆ
  • 22. วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 4. เขียนสมมติฐานการวิจัยให้ชัดเจน 5. เลือกสรรสมมติฐานที่จะมีข้อมูลมาทดสอบได้ 6. เลือกปัญหาที่ตนเอง มีความรู้พอจะทำได้ 7. เลือกปัญหาที่ตนเอง มีเครื่องมือที่จะทำวิจัยได้
  • 23. วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 8. เลือกปัญหาการวิจัยโดยคำนึงถึง เงิน และ เวลา พอจะทำได้ 9. เลือกปัญหาที่มีความสำคัญพอเพียงที่จะได้รับอนุมัติให้ทำได้ 10. เลือกปัญหาที่ให้ความรู้ใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่เคยทำโดยไม่จำเป็น
  • 24. วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย 11. เลือกปัญหาที่เป็นประโยชน์ ทั้งในแง่การนำไปใช้ และเสริมความรู้ใหม่ 12. เลือกปัญหาที่จะชี้ช่องให้คนอื่นทำวิจัยต่อไปได้
  • 25. กรอบแนวคิดในการทำวิจัย นิยามเชิงปฏิบัติการ ลักษณะทั่วไปของนิยามเชิงปฏิบัติการ สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด สรุปความสัมพันธ์ของแนวคิด นิยาม ตัวบ่งชี้ และคำถาม
  • 26. กรอบแนวคิดในการทำวิจัย กรอบแนวคิด เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหาการวิจัย การมีกรอบแนวคิดจะทำให้นักวิจัยสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้ และทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิดเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน
  • 27. กรอบแนวคิด เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหาการวิจัย การให้แนวความคิดจึงต้องชัดเจน และสามารถพิสูจน์ได้ การมีกรอบแนวคิดจะทำให้นักวิจัยสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้ และทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิดเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน
  • 28. เมื่อนักวิจัยกำหนดจุดความสนใจหรือปัญหา ที่จะต้องการหาคำตอบ ได้แล้ว เพื่อให้สามารถจัดระบบความคิดให้กับสิ่งที่ตั้งคำถามและสนใจที่จะศึกษา นักวิจัย จะต้องปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้ .....
  • 29. สมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง " ปัจจัยทางสังคมบางประการที่มีอิทธิพลต่อการมี ส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น " สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ว่า " ปัจจัยทางสังคม " " การมีส่วนร่วม " และ " กิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ณ พื้นที่ที่จะเข้าไปศึกษา " นั้น มีคำอธิบายว่าอย่างไร และในการศึกษาวิจัยนี้กำหนดขอบเขตการอธิบายไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
  • 30. สมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง " การศึกษา กระบวนการตัดสินใจของพนักงานเทศบาลระดับบริหาร เพื่อนำนโยบายทาง การเมืองไปปฏิบัติ " สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ให้กับสิ่งที่เรียกว่า " กระบวนการตัดสินใจ " ว่าอะไรบ้างที่อยู่ในกระบวนการตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร บุคคลจะต้องอาศัยอะไรบ้างในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดขอบเขตการอธิบายให้แน่นอน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
  • 31. สมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง " ความพึงพอ ใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ในส่วน ภูมิภาค " สิ่งแรกที่ ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนว คิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน กับสิ่งที่เรียกว่า " ความพึงพอใจ " นั่นคือ นักวิจัยจะต้องค้นคว้าให้กระจ่างว่า พฤติกรรมที่เรียกว่าความพึงพอใจ นั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่เรียกว่า " ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทั่วไป " ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วไปค้นคว้าเพิ่มเติมว่า " คนที่รับราชการในตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์ " มีภารกิจอะไรบ้าง ความยากง่ายของงาน ความพร้อมของหน่วยงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งการกำหนดขอบเขตขององค์ความรู้ที่กล่าวมา ก็คือ การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย ฯลฯ
  • 32. นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) หลังจากที่นักวิจัยกำหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัยได้ เรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนต่อไป นักวิจัยจะต้องให้ความหมายของแนวคิด โดย จะต้องค้นหาสิ่งบ่งชี้ (Indicators) ว่าสิ่งที่ต้องการวัดนั้น จะใช้อะไรมาวัด
  • 33. ในความหลากหลายบนโลกมนุษย์ เราจะพบบ่อยๆ ว่าแนวความคิด (Concept) บางอย่างไม่สามารถเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์และอธิบายสิ่งที่ต้องการวัดได้โดยง่าย เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ การเรียนรู้ ฯลฯ เพราะแนวความคิดเหล่านี้มีลักษณะเป็นนามธรรม
  • 34. ดังนั้น การจะตอบความหมายของแนวความคิดเหล่านี้ จึงไม่อาจใช้เพียงวิธีนำเสนอภาพ หรือชี้ไปยังวัตถุหรือบุคคลหรือเหตุการณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาในขั้นตอนนี้ จึงต้องใช้วิธีให้คำจำกัดความ โดยจะต้องเป็นคำจำกัดความที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
  • 35. ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยคือ ปรากฏการณ์ทางสังคมส่วนใหญ่ไม่สามารถจะวัดได้โดยตรง หรือวัดได้แต่มีความยุ่งยากในเรื่องความถูกต้อง และความเชื่อถือได้ของการวัด เราจะวัดการมีส่วนร่วมทางการเมืองในท้องถิ่นนั้นอย่างไร เราจะวัดทัศนคติหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างไร
  • 36. ก่อนจะตัดสินใจว่าจะวัดอย่างไร เราจึงต้องกำหนดความหมายหรือคำจำกัดความของตัวแปรต่างๆ เสียก่อน คำจำกัดความของตัวแปร จะต้องชี้วัดลงไปว่า สิ่งที่เราพูดถึงนั้นมีลักษณะอย่างไร อะไรเป็นเครื่องวัด
  • 37. คำจำกัดความที่กำหนดขึ้นจะมีลักษณะที่ชี้ลงไปว่า อะไรคือสิ่งที่จะใช้วัดแนวความคิดซึ่งมีความหมายกว้างๆ หรือเป็นนามธรรม คำจำกัดความเช่นนี้เรียกว่า คำนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) ซึ่งก็คือคำจำกัดความที่สามารถนำไปเก็บข้อมูลมาได้ โดยในคำนิยามนั้นจะมีตัวบ่งชี้ (Indicator) ของสิ่งที่เราจะศึกษา ซึ่งโดยปกติเราไม่สามารถมองเห็นได้โดยตรง
  • 38. ลักษณะทั่วไปของนิยามเชิงปฏิบัติการ การให้กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) เป็นการกำหนดทิศทางสำหรับนักวิจัยในการปฏิบัติเหมือนกัน เข้าใจปรากฏการณ์เป็นอย่างเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว นิยามเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ
  • 40. สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด 1. ท่านได้กำหนดความหมายของแนวคิด (Concept) ต่างๆ ไว้แน่นอนชัดเจนแล้วหรือไม่ 2. คำศัพท์ที่ต้องใช้ ได้มีการนิยามไว้แน่นอนชัดเจนเพียงใด 3. มีการกำหนดแนวคิด (Concept) ต่างๆ อย่างพอเพียงและถูกต้องหรือยัง
  • 41. สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด 4. แนวคิด (Concept) บางประการ จำเป็นต้องกำหนดข้อจำกัดเพิ่มอีกหรือไม่ 5. เมื่อกลุ่มที่ศึกษาเปลี่ยนไป ความหมายเปลี่ยนตามไปหรือไม่ เช่น อายุ เพศ ฯลฯ 6. ท่านกำหนดความหมายต่างๆ โดยมีอะไรเป็นพื้นฐาน
  • 42.