SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 10
เอกสารความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสอีโบลา ขององค์การอนามัยโลก
ที่มา :
http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs103/
en/
โรคไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease)
แปลโดย ดร.นำาชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์
สวทช., 31 ก.ค. 2014
แผ่นเอกสารข้อเท็จจริง N°103, อัพเดทล่าสุดโดย WHO, เม.ย.
2014
ข้อเท็จจริงหลัก
• โรคไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease, EVD) เดิมรู้จัก
กันในชื่อ โรคไข้เลือดออกอีโบลา (Ebola haemorrhagic
fever) เป็นโรคร้ายแรง ที่บ่อยครั้งทำาให้เสียชีวิต
• การระบาดของ EVD มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 90%
• การระบาดของ EVD โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหมู่บ้านห่าง
ไกลแถบแอฟริกากลางและตะวันตก ใกล้กับพื้นที่ป่าเขตร้อน
• ไวรัสส่งผ่านจากสัตว์ป่าไปยังคนและแพร่กระจายในกลุ่ม
ประชากรผ่านการถ่ายทอดให้กันโดยคน
• ค้างคาวผลไม้ในสกุล Pteropodidae เป็นสัตว์ฟักตัวหลัก
ของไวรัสอีโบลา
• ผู้ป่วยหนักต้องการการดูแลรักษาอย่างเข้มงวด ยังไม่มี
วัคซีนหรือวิธีการรักษาแบบจำาเพาะที่ได้รับการรับรองให้ใช้ใน
คนหรือสัตว์
อีโบลาระบาดขึ้นครั้งแรกในปี 1976 พร้อมๆ กันสองแห่งคือ ใน
เมือง Nzara ประเทศซูดาน และในเมือง Yambuku ประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในกรณีหลังเกิดขึ้นที่หมู่บ้าน
แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่นำ้าอีโบลา (Ebola River) ซึ่งกลาย
มาเป็นชื่อของโรคนี้ในที่สุด
ไวรัสในสกุลอีโบลา (Genus Ebolavirus) เป็น 1 ในสมาชิก 3
ชนิดของไวรัสวงศ์ Filoviridae (filovirus) ที่เหลือคือ สกุล
Marburgvirus และ Cuevavirus ในสกุล Ebolavirus มีสปีชี
ส์ที่แตกต่างกัน 5 สปีชีส์คือ
1. Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
2. Zaire ebolavirus (EBOV)
3. Reston ebolavirus (RESTV)
4. Sudan ebolavirus (SUDV)
5. Taï Forest ebolavirus (TAFV)
BDBV, EBOV และ SUDV เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่ของ
EVD ในแอฟริกา ขณะที่ RESTV และ TAFV ไม่เกี่ยวข้อง สปีชี
ส์ RESTV ที่พบในประเทศฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐประชาชน
จีน ติดต่อสู่คนได้ แต่ยังไม่พบกรณีที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย
หรือเสียชีวิต
การแพร่กระจายของโรค
อีโบลาติดได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับเลือด, สารคัดหลั่ง, อวัยวะ
หรือของเหลวแบบอื่นๆ จากสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐาน
ว่า การติดเชื้อเกิดจากการเกี่ยวข้องสัมผัสกับชิมแปนซี, กอริล
ล่า, ค้างคาวผลไม้, ลิง, แอนทีโลปป่า (forest antelope) และ
เม่น ซึ่งป่วยหรือตาย หรืออยู่ในป่าฝน
อีโบลาแพร่กระจายเข้าชุมชนผ่านการติดต่อจากคนสู่คน โดย
การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง (ผ่านผิวหนังที่ถลอกหรือ
ผ่านเยื่อบุ) กับเลือด, สารคัดหลั่ง, อวัยวะ หรือของเหลวอื่นๆ
จากร่างกายของผู้ติดเชื้อ และผ่านการสัมผัสทางอ้อมจากสิ่ง
แวดล้อมที่ปนเปื้อนของเหลวเหล่านั้น พิธีฝังศพที่ผู้มาร่วม
ไว้อาลัยสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของศพมีส่วนสำาคัญในการ
แพร่กระจายของอีโบลาเช่นกัน ผู้ที่รอดชีวิตมาได้ยังคงความ
สามารถในการส่งผ่านเชื้อไวรัสทางนำ้าเชื้อได้นานถึง 7 สัปดาห์
ภายหลังจากหายจากโรคแล้ว
บ่อยครั้งที่มีรายงานการติดเชื้อในบุคลากรการแพทย์ขณะกำาลัง
รักษาผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการ
สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยไม่ได้ควบคุมหรือระมัดระวังตัว
ตามข้อกำาหนดอย่างเคร่งครัด
ในการติดเชื้อจากการสัมผัสกับลิงหรือสุกรที่ติดเชื้ออีโบลาแบบ
Reston หลายกรณีเกิดขึ้นในคนโดยไม่ปรากฏอาการเจ็บป่วย
ใดๆ ดังนั้นดูเหมือน RESTV จะมีความสามารถในการก่อโรคใน
คนตำ่ากว่าอีโบลาสปีชีส์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม หลักฐานดังกล่าวมาจากกรณีของชายหนุ่ม
สุขภาพดีเพียงรายเดียว จึงอาจจะเป็นการด่วนสรุปเกินไปที่จะ
แปลผลด้านสุขภาพของไวรัสดังกล่าวให้ครอบคลุมประชากร
มนุษย์ทั้งหมด เช่น ครอบคลุมผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่า หรือ
คนที่อยู่ระหว่างการรักษาตัว, คนตั้งครรภ์ และเด็ก จำาเป็นต้องมี
การศึกษา RESTV เพิ่มขึ้นก่อนที่จะสรุปได้อย่างแน่ชัดเกี่ยวกับ
ความสามารถในการก่อโรค และความรุนแรงของโรคของไวรัส
ชนิดนี้ในมนุษย์
สัญญาณหรืออาการป่วย
EVD ก่อโรคแบบเฉียบพลันและรุนแรง ซึ่งบ่อยครั้งพิจารณาได้
จากการมีไข้อย่างปุบปับ, การรู้สึกไม่สบายหรือร่างกายอ่อนแอ
อย่างมาก, เจ็บปวดกล้ามเนื้อ, ปวดหัว และเจ็บคอหอย ตามมา
ด้วยการอาเจียน, ท้องเสีย, เกิดผื่น, ไตและตับล้มเหลว และใน
บางกรณีอาจพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ด
เลือดลดตำ่าลง และมีเอนไซม์ตับเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่ติดเชื้อนั้นตราบใดที่ยังมีไวรัสและสารคัดหลั่งอยู่ในตัว พบว่า
ก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ดังกรณีตัวอย่างของชายคนหนึ่งที่ติด
เชื้อในห้องปฏิบัติการ ยังพบไวรัสอีโบลาได้จากนำ้าเชื้อ 61 วัน
หลังจากเริ่มป่วย
ช่วงระยะฟักตัว (ช่วงเวลาหลังจากติดเชื้อไวรัสจนเริ่มมีอาการ)
อยู่ที่ 2-21 วัน
การวินิจฉัยโรค
มีหลายโรคที่ควรวินิจฉัยแยกแยะและตัดออกก่อนที่จะวินิจฉัยว่า
เป็น EVD คือ มาลาเรีย, ไข้ไทฟอยด์, ชิเกลล่า, อหิวาตกโรค,
โรคฉี่หนู, กาฬโรค, ริกเกตเซีย, ไข้กลับ, ไข้สมองอักเสบ, ตับ
อักเสบ, และโรคไข้เลือดออกอื่นๆ ที่เกิดจากไวรัส การวินิจฉัยว่า
ติดเชื้อไวรัสอีโบลาอย่างแน่ชัด ทำาได้ด้วยวิธีการทดสอบหลาย
แบบดังนี้
• antibody-capture enzyme-linked
immunosorbent assay (ELISA) (อีไลซา)
• antigen detection tests (การตรวจแอนติเจน)
• serum neutralization test (การตรวจซีรั่มนิวทรัลไล
เซชัน)
• reverse transcriptase polymerase chain reaction
(RT-PCR) assay (วิธี RT-PCR)
• electron microscopy (การส่องกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอน)
• virus isolation by cell culture (การเลี้ยงเซลล์เพื่อ
สกัดแยกเชื้อไวรัส)
สารตัวอย่างที่จะใช้ตรวจสอบซึ่งมาจากผู้ป่วยถือว่า มีความเสี่ยง
ด้านชีวภาพอย่างยิ่ง ดังนั้น การตรวจสอบจึงควรทำาภายใต้
สภาวะปิดทางชีวภาพที่มีความปลอดภัยสูงสุด
วัคซีนและการรักษา
ยังไม่มีวัคซีนสำาหรับ EVD ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ มีวัคซีนหลาย
ชนิดที่อยู่ระหว่างการทดสอบ แต่ยังไม่มีชนิดใดเลยที่พร้อม
สำาหรับให้ใช้ทางคลินิกได้
ผู้ป่วยหนักต้องการการรักษาอย่างเข้มงวดมาก ผู้ป่วยมักมีอาการ
ขาดนำ้า และต้องการนำ้าและ สารละลายที่มีสารเกลือแร่ผ่านทาง
ปากเพื่อชดเชย หรืออาจให้นำ้าเกลือใต้ผิวหนัง
ยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างจำาเพาะเจาะจง ยาชนิดใหม่ๆ อยู่
ระหว่างการประเมินผล
สัตว์เจ้าเรือนของไวรัสอีโบลา
ในแอฟริกา ค้างคาวผลไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล
Hypsignathus monstrosus, Epomops
franqueti และ Myonycteris torquata อาจเป็นสัตว์เจ้า
เรือนตามธรรมชาติสำาหรับไวรัสอีโบลา เนื่องจากพบว่ามีการ
ซ้อนเหลื่อมทางภูมิศาสตร์ของกระจายตัวของค้างคาวผลไม้และ
ไวรัสอีโบลา
ไวรัสอีโบลาในสัตว์
แม้ว่าไพรเมต (ลิงไร้หาง) อื่นๆ ที่ไม่รวมคนอาจจะเป็นแหล่งรัง
โรคสำาหรับคนได้ แต่เชื่อกันว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น และน่าจะมา
จากการติดเชื้อโดยบังเอิญของมนุษย์มากกว่า เนื่องจากพบการ
ระบาดของอีโบลาในปี 1994 จากสปีชีส์ EBOV และ TAFV ใน
ชิมแปนซีและกอริลลา
RESTV เป็นต้นเหตุการระบาดอย่างหนักของ EVD ในลิง
Macaca fascicularis ที่เลี้ยงในประเทศฟิลิปปินส์ และยังตรวจ
พบในลิงที่นำาเข้าไปยังสหรัฐฯ ในปี 1989, 1990 และ 1996
และในลิงที่นำาเข้าประเทศอิตาลีจากฟิลิปปินส์ในปี 1992 และ
ตั้งแต่ปี 2008 ตรวจพบไวรัส RESTV ระหว่างการระบาดของ
โรคพิฆาตนี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฟิลิปปินส์ มี
รายงานการติดเชื้อในสุกรที่ไม่มีอาการ และการทดสอบฉีดเชื้อ
ในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า RESTV ไม่ทำาให้เกิดโรคใน
สุกร
การป้องกันและการควบคุม
การควบคุมอีโบลาไวรัส Reston ในสัตว์เลี้ยง
ยังไม่มีวัคซีนในสัตว์สำาหรับ RESTV การทำาความสะอาดและ
การฆ่าเชื้อของฟาร์มสุกรและลิงเป็นกิจวัตร (ด้วยโซเดียมโฮโป
คลอไรท์หรือสารซักฟอกอื่นๆ) น่าจะมีประสิทธิภาพพอที่จะทำาให้
ไวรัสหมดฤทธิ์ได้
ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดการระบาดขึ้น ควรใช้การกักโรคทันที
สัตว์ที่ติดเชื้อต้องกำาจัดทิ้งโดยการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งการกลบ
ฝังหรือการเผาซาก มาตรการดังกล่าวอาจจำาเป็นสำาหรับลด
ความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน การจำากัดหรือห้าม
การเคลื่อนย้ายสัตว์จากฟาร์มที่ติดเชื้อไปยังบริเวณอื่นๆ ช่วยลด
การแพร่กระจายของโรคได้
มักมีการระบาดของ RESTV ในสุกรและลิงก่อนการติดเชื้อใน
คน การสร้างระบบเฝ้าระวังสัตว์ที่แอกทีฟจะช่วยตรวจหากรณี
ใหม่ๆ ได้ ซึ่งจำาเป็นอย่างยิ่งสำาหรับการเตือนภัยแต่เนิ่นๆ สำาหรับ
สัตวแพทย์และสำาหรับผู้มีอำานาจหน้าที่ด้านสาธารณสุข
การลดความเสี่ยงของการติดเชื้ออีโบลาในคน
การที่ไม่มีวัคซีนและวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพในมนุษย์ ทำาให้
เกิดความห่วงใยว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำาหรับการติดเชื้ออีโบลา
และมาตรการป้องกันตนเองสำาหรับบุคคลถือเป็นวิธีการเดียวที่
ช่วยลดการติดเชื้อและการเสียชีวิตในมนุษย์ได้
ในทวีปแอฟริการะหว่างการระบาดของ EVD การให้ข้อมูล
ข่าวสารด้านสาธารณสุขต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยต้อง
เน้นไปยังปัจจัยบางประการดังนี้
• การลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อจากสัตว์ป่าสู่คนที่เกิดจาก
การสัมผัสกับค้างคาวผลไม้ หรือลิง/ เอปที่ติดเชื้อ และจากการ
ทานเนื้อสดของสัตว์เหล่านี้ การหยิบจับสัตว์เหล่านี้ควรใช้ถุงมือ
และชุดอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่เหมาะสม ควรปรุงผลิตภัณฑ์จาก
สัตว์ (เลือดหรือเนื้อ) ให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนการรับประทาน
• การลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในชุมชน ที่เกิด
จากการสัมผัสทางตรงหรืออย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งชากของเหลวแบบต่างๆ จากร่างกาย ควรงดเว้น
การสัมผัสทางกายภาพอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคอีโบลา ควร
สวมถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสมเมื่อต้องดูแลผู้
ป่วยที่บ้าน ควรล้างมือบ่อยๆ หลังจากไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรง
พยาบาล เช่นเดียวกับหลังจากที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
• ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอีโบลาควรให้ข้อมูลของโรค
และข้อมูลมาตรการการรับมือและจำากัดการระบาด ซึ่งรวมทั้ง
การฝังกลบซาก ควรฝังผู้ที่เสียชีวิตจากอีโบลาทันทีอย่าง
ระมัดระวัง ฟาร์มสุกรในแอฟริกามีบทบาทสำาคัญในการเพิ่มการ
ติดเชื้อ หากมีค้างคาวผลไม้ปรากฏในฟาร์มเหล่านั้น ควรเลือก
ใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ที่เหมาะ
สมในการจำากัดการแพร่กระจายของเชื้อ สำาหรับ RESTV นั้น
การให้ข้อมูลด้านสาธารณสุขควรเน้นเรื่องการลดความเสี่ยงจาก
การติดต่อของเชื้อจากสุกรสู่คน ที่เป็นผลมาจากวิธีการเลี้ยงและ
ฆ่าสัตว์อย่างไม่ปลอดภัย และการรับประทานเลือดสด นมสด
และเนื้อสัตว์สดๆ อย่างไม่ปลอดภัย ควรสวมถุงมือและอุปกรณ์
ป้องกันตนเองที่เหมาะสมเมื่อต้องจัดการกับสัตว์ป่วยหรือเนื้อของ
มัน และเมื่อต้องชำาแหละสัตว์ต่างๆ ในบริเวณที่มีรายงานว่าพบ
RESTV ในสุกร ควรปรุงผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจากสัตว์ (เลือด, เนื้อ
และนม) ให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนบริโภค
การควบคุมการติดเชื้อในระบบดูแลผู้ป่วย
การติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาจากคนสู่คน มักเกี่ยวข้องกับการ
สัมผัสทางตรงหรือทางอ้อมกับเลือดหรือของเหลวอื่นของ
ร่างกาย มีรายงานการติดเชื้อในบุคลากรการแพทย์ในกรณีที่
ไม่มีมาตรการควบคุมการติดเชื้ออย่างเหมาะสม บางครั้งก็เป็นไป
ได้ที่จะจำาแนกผู้ป่วยติด EBV ไม่ได้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการ
เบื้องต้นไม่จำาเพาะ (คล้ายกับอีกหลายโรค) ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็น
เรื่องสำาคัญที่บุคลากรการแพทย์ต้องใช้มาตรการระมัดระวังเบื้อง
ต้นแบบมาตรฐานกับผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าผลการวินิจฉัยจะเป็น
เช่นใด ตลอดเวลาการทำางานในทุกขั้นตอน ซึ่งรวมทั้งการรักษา
ความสะอาดพื้นฐานของมือ, ความสะอาดของระบบหายใจ, การ
ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองแบบต่างๆ (เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก
การกระเด็นหรือการสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่ติดเชื้อ), การฉีดยาอย่าง
ปลอดภัย และการฝังกลบอย่างปลอดภัย
บุคลากรการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยซึ่งต้องสงสัยหรือยืนยันแล้วว่าติด
เชื้อไวรัสอีโบลาควรเพิ่มเติมมาตรการจากข้อควรระวังพื้นฐาน
ได้แก่มาตรการควบคุมการติดเชื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ
เลือดหรือของเหลวอื่นจากร่างกายของผู้ป่วย และการสัมผัส
โดยตรงโดยไม่ป้องกันตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่อาจมีการปนเปื้อน
ของเชื้อ เมื่อต้องสัมผัสโดยตรง (ระยะไม่เกิน 1 เมตร) กับผู้ป่วย
ที่ติด EBV บุคลากรการแพทย์ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า
(หน้ากากหรือเครื่องป้องกัน และแว่นป้องกัน), ชุดกาวน์แขน
ยาวสะอาด, และถุงมือ (ในบางขั้นตอนควรใช้ถุงมือปลอดเชื้อ)
บุคลากรห้องปฏิบัติการก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ผู้ที่จะตรวจสอบ
ตัวอย่างจากสัตว์และจากผู้สงสัยว่าติดเชื้ออีโบลา ควรจะผ่าน
การฝึกและทำาด้วยวิธีการและห้องปฏิบัติการที่มีความเหมาะสม
การตอบสนองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
WHO มีทั้งผู้เชี่ยวชาญและเอกสารที่ใช้สนับสนุนการสืบสวน
และควบคุมโรค
เอกสารคำาแนะนำาสำาหรับการควบคุมการติดเชื้อขณะดูแลผู้ป่วย
ที่ต้องสงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไข้เลือดออกอีโบลา มีชื่อเอกสาร
ว่า Interim infection control recommendations for
care of patients with suspected or confirmed
Filovirus (Ebola, Marburg) haemorrhagic fever,
March 2008. เอกสารนี้ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล
ให้ทันสมัย
WHO ยังได้คิดค้นแบบช่วยบันทึกความจำาที่ใช้ประกอบข้อควร
ระวังมาตรฐานสำาหรับการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ (ปัจจุบันอยู่
ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย) ข้อควรระวังมาตรฐานมี
ไว้เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อผ่านเลือดหรือ
เชื้อโรคอื่นๆ หากมีการนำาไปใช้อย่างกว้างขวาง ข้อควรระวังนี้
จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อส่วนใหญ่ผ่านการสัมผัสกับเลือดและ
ข้อเหลวจากร่างกายได้
แนะนำาให้ใช้ข้อควรระวังมาตรฐานนี้ขณะดูแลหรือรักษาผู้ป่วย
ทุกคน โดยไม่จำาเป็นต้องยืนยันว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ ซึ่งข้อควร
ระวังดังกล่าวก็รวมทั้งระดับพื้นฐานที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ—
การรักษาความสะอาดของมือ, การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือของเหลวต่างๆ จาก
ร่างกาย, การป้องกันเข็มฉีดยาและการบาดเจ็บจากอุปกรณ์มีคม
อื่น และชุดควบคุมสิ่งแวดล้อม
ตาราง: ลำาดับเวลาของการระบาดของโรคโดยไวรัสอีโบ
ลาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
ปี ประเทศ
สปีชีส์ของ
ไวรัสอีโบ
ลา
จำานวน
กรณีที่
พบ
ผู้เสีย
ชีวิต
อัตรา
การ
เสีย
ชีวิต
2012 คองโก
Bundibug
yo 57 29 51%
2012 ยูกันดา Sudan 7 4 57%
2012 ยูกันดา Sudan 24 17 71%
2011 ยูกันดา Sudan 1 1 100%
2008 คองโก Zaire 32 14 44%
2007 ยูกันดา
Bundibug
yo 149 37 25%
2007 คองโก Zaire 264 187 71%
2005 คองโก Zaire 12 10 83%
2004 ซูดาน Sudan 17 7 41%
2003
(พ.ย.-
ธ.ค.) คองโก Zaire 35 29 83%
2003
(ม.ค.-
เม.ย.) คองโก Zaire 143 128 90%
2001-
2002 คองโก Zaire 59 44 75%
2001-
2002 กาบอง Zaire 65 53 82%
2000 ยูกันดา Sudan 425 224 53%
1996
แอฟริกาใต้ (ไม่รวม
กาบอง) Zaire 1 1 100%
1996
(ก.ค.-
ธ.ค.) กาบอง Zaire 60 45 75%
ปี ประเทศ
สปีชีส์ของ
ไวรัสอีโบ
ลา
จำานวน
กรณีที่
พบ
ผู้เสีย
ชีวิต
อัตรา
การ
เสีย
ชีวิต
1996
(ม.ค.-
เม.ย.) กาบอง Zaire 31 21 68%
1995 คองโก Zaire 315 254 81%
1994 Cote d'Ivoire Taï Forest 1 0 0%
1994 กาบอง Zaire 52 31 60%
1979 ซูดาน Sudan 34 22 65%
1977
สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยคองโก Zaire 1 1 100%
1976 ซูดาน Sudan 284 151 53%
1976
สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยคองโก Zaire 318 280 88%
ข้อมูลเพิ่มเติม :
WHO Media centre
Telephone: +41 22 791 2222
E-mail: mediainquiries@who.int

Mais conteúdo relacionado

Destaque

Picturetrial
PicturetrialPicturetrial
Picturetrial
UDELAS
 
Notre Dame interior
Notre Dame interiorNotre Dame interior
Notre Dame interior
João Couto
 
4.3.presentacioìn
4.3.presentacioìn4.3.presentacioìn
4.3.presentacioìn
UDELAS
 
Aspecto Cultural do Município de Bocaina.
Aspecto Cultural do Município de Bocaina. Aspecto Cultural do Município de Bocaina.
Aspecto Cultural do Município de Bocaina.
SMECDB
 
Modulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistas
Modulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistasModulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistas
Modulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistas
UDELAS
 
聖嚴法師法語(廿八)
聖嚴法師法語(廿八)聖嚴法師法語(廿八)
聖嚴法師法語(廿八)
foonkok
 
Евгений Плохой. Одессея 2014
Евгений Плохой. Одессея 2014Евгений Плохой. Одессея 2014
Евгений Плохой. Одессея 2014
Yandex
 
Inclusioneducativa2
Inclusioneducativa2Inclusioneducativa2
Inclusioneducativa2
Zelorius
 

Destaque (20)

Informações sobre a Conferência Nacional LGBT e Conferência Nacional de Direi...
Informações sobre a Conferência Nacional LGBT e Conferência Nacional de Direi...Informações sobre a Conferência Nacional LGBT e Conferência Nacional de Direi...
Informações sobre a Conferência Nacional LGBT e Conferência Nacional de Direi...
 
Sikkim supreme logos
Sikkim supreme logosSikkim supreme logos
Sikkim supreme logos
 
Picturetrial
PicturetrialPicturetrial
Picturetrial
 
Kauppakamari kirjat ja palvelut syksy 2014
Kauppakamari kirjat ja palvelut syksy 2014Kauppakamari kirjat ja palvelut syksy 2014
Kauppakamari kirjat ja palvelut syksy 2014
 
Notre Dame interior
Notre Dame interiorNotre Dame interior
Notre Dame interior
 
Digital Standard and Thai MOST Web site
Digital Standard and Thai MOST Web siteDigital Standard and Thai MOST Web site
Digital Standard and Thai MOST Web site
 
4.3.presentacioìn
4.3.presentacioìn4.3.presentacioìn
4.3.presentacioìn
 
מצגת תשעד סופי
מצגת תשעד סופימצגת תשעד סופי
מצגת תשעד סופי
 
1
11
1
 
Aspecto Cultural do Município de Bocaina.
Aspecto Cultural do Município de Bocaina. Aspecto Cultural do Município de Bocaina.
Aspecto Cultural do Município de Bocaina.
 
Modulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistas
Modulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistasModulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistas
Modulo i día 2 introduccion rse_diplomado rse periodistas
 
Google Search
Google SearchGoogle Search
Google Search
 
聖嚴法師法語(廿八)
聖嚴法師法語(廿八)聖嚴法師法語(廿八)
聖嚴法師法語(廿八)
 
Les Rencontres d'Arles photographie
Les Rencontres d'Arles photographieLes Rencontres d'Arles photographie
Les Rencontres d'Arles photographie
 
Евгений Плохой. Одессея 2014
Евгений Плохой. Одессея 2014Евгений Плохой. Одессея 2014
Евгений Плохой. Одессея 2014
 
Inclusioneducativa2
Inclusioneducativa2Inclusioneducativa2
Inclusioneducativa2
 
AZTC Lunch & Learn - 5 Most Significant Challenges Facing B2B Marketers
AZTC Lunch & Learn - 5 Most Significant Challenges Facing B2B MarketersAZTC Lunch & Learn - 5 Most Significant Challenges Facing B2B Marketers
AZTC Lunch & Learn - 5 Most Significant Challenges Facing B2B Marketers
 
Erasmus Universiteit Rotterdam, Informatiesamenleving 2.0 impact in de zorg d...
Erasmus Universiteit Rotterdam, Informatiesamenleving 2.0 impact in de zorg d...Erasmus Universiteit Rotterdam, Informatiesamenleving 2.0 impact in de zorg d...
Erasmus Universiteit Rotterdam, Informatiesamenleving 2.0 impact in de zorg d...
 
5 Relevancy Strategies to Break Through and Engage: Search, Display, Social
5 Relevancy Strategies to Break Through and Engage: Search, Display, Social5 Relevancy Strategies to Break Through and Engage: Search, Display, Social
5 Relevancy Strategies to Break Through and Engage: Search, Display, Social
 
DAL BLOG "POLIZZE&OPINIONI" - Proposte emendative all'Art 27 del DL 90/2014-
 DAL BLOG "POLIZZE&OPINIONI" - Proposte emendative all'Art 27 del DL 90/2014- DAL BLOG "POLIZZE&OPINIONI" - Proposte emendative all'Art 27 del DL 90/2014-
DAL BLOG "POLIZZE&OPINIONI" - Proposte emendative all'Art 27 del DL 90/2014-
 

Semelhante a Ebola virus disease

Infectious epidemic
Infectious epidemicInfectious epidemic
Infectious epidemic
taem
 
องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
นายสามารถ เฮียงสุข
 

Semelhante a Ebola virus disease (13)

HIV
HIV HIV
HIV
 
Epstein Barr Virus
Epstein Barr VirusEpstein Barr Virus
Epstein Barr Virus
 
Laboratory diagnosis of viral infection
Laboratory diagnosis of viral infectionLaboratory diagnosis of viral infection
Laboratory diagnosis of viral infection
 
Infectious epidemic
Infectious epidemicInfectious epidemic
Infectious epidemic
 
Factsheet
FactsheetFactsheet
Factsheet
 
20141017 Ebola Report
20141017 Ebola Report20141017 Ebola Report
20141017 Ebola Report
 
hand foot mouth
hand foot mouthhand foot mouth
hand foot mouth
 
plague
plagueplague
plague
 
Protec
ProtecProtec
Protec
 
Ebola eid090457
Ebola eid090457Ebola eid090457
Ebola eid090457
 
Clinical Practice Guideline of Acute Meningoencephalitis
Clinical Practice Guideline of Acute MeningoencephalitisClinical Practice Guideline of Acute Meningoencephalitis
Clinical Practice Guideline of Acute Meningoencephalitis
 
องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
 
7 วัคซีน
7 วัคซีน7 วัคซีน
7 วัคซีน
 

Mais de Namchai Chewawiwat

รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
Namchai Chewawiwat
 
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
Namchai Chewawiwat
 
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
Namchai Chewawiwat
 
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทยโอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
Namchai Chewawiwat
 

Mais de Namchai Chewawiwat (20)

Podcast ep006-spanish flu v covid
Podcast ep006-spanish flu v covidPodcast ep006-spanish flu v covid
Podcast ep006-spanish flu v covid
 
Podcast ep005-flashbulb memory
Podcast ep005-flashbulb memoryPodcast ep005-flashbulb memory
Podcast ep005-flashbulb memory
 
Podcast ep004-covid rapid test
Podcast ep004-covid rapid testPodcast ep004-covid rapid test
Podcast ep004-covid rapid test
 
Podcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
Podcast ep002-Covid Vaccines and DrugsPodcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
Podcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
 
Podcast ep001-covid: natural or engineerd?
Podcast ep001-covid: natural or engineerd?Podcast ep001-covid: natural or engineerd?
Podcast ep001-covid: natural or engineerd?
 
WHO China Joint Mission on Covid-19
WHO China Joint Mission on Covid-19WHO China Joint Mission on Covid-19
WHO China Joint Mission on Covid-19
 
Basic protective measures against the new coronavirus
Basic protective measures against the new coronavirusBasic protective measures against the new coronavirus
Basic protective measures against the new coronavirus
 
Emerging diseases
Emerging diseasesEmerging diseases
Emerging diseases
 
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ  ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
 
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
 
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
 
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
 
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
 
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทยโอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
 
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์ กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
 
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
 
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย) การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
 
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO 20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
 
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
 
Sharing Experiences on Books
Sharing Experiences on Books Sharing Experiences on Books
Sharing Experiences on Books
 

Ebola virus disease

  • 1. เอกสารความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสอีโบลา ขององค์การอนามัยโลก ที่มา : http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs103/ en/ โรคไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease) แปลโดย ดร.นำาชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช., 31 ก.ค. 2014 แผ่นเอกสารข้อเท็จจริง N°103, อัพเดทล่าสุดโดย WHO, เม.ย. 2014 ข้อเท็จจริงหลัก • โรคไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease, EVD) เดิมรู้จัก กันในชื่อ โรคไข้เลือดออกอีโบลา (Ebola haemorrhagic fever) เป็นโรคร้ายแรง ที่บ่อยครั้งทำาให้เสียชีวิต • การระบาดของ EVD มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 90% • การระบาดของ EVD โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหมู่บ้านห่าง ไกลแถบแอฟริกากลางและตะวันตก ใกล้กับพื้นที่ป่าเขตร้อน • ไวรัสส่งผ่านจากสัตว์ป่าไปยังคนและแพร่กระจายในกลุ่ม ประชากรผ่านการถ่ายทอดให้กันโดยคน • ค้างคาวผลไม้ในสกุล Pteropodidae เป็นสัตว์ฟักตัวหลัก ของไวรัสอีโบลา • ผู้ป่วยหนักต้องการการดูแลรักษาอย่างเข้มงวด ยังไม่มี วัคซีนหรือวิธีการรักษาแบบจำาเพาะที่ได้รับการรับรองให้ใช้ใน คนหรือสัตว์ อีโบลาระบาดขึ้นครั้งแรกในปี 1976 พร้อมๆ กันสองแห่งคือ ใน เมือง Nzara ประเทศซูดาน และในเมือง Yambuku ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในกรณีหลังเกิดขึ้นที่หมู่บ้าน แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่นำ้าอีโบลา (Ebola River) ซึ่งกลาย มาเป็นชื่อของโรคนี้ในที่สุด ไวรัสในสกุลอีโบลา (Genus Ebolavirus) เป็น 1 ในสมาชิก 3 ชนิดของไวรัสวงศ์ Filoviridae (filovirus) ที่เหลือคือ สกุล
  • 2. Marburgvirus และ Cuevavirus ในสกุล Ebolavirus มีสปีชี ส์ที่แตกต่างกัน 5 สปีชีส์คือ 1. Bundibugyo ebolavirus (BDBV) 2. Zaire ebolavirus (EBOV) 3. Reston ebolavirus (RESTV) 4. Sudan ebolavirus (SUDV) 5. Taï Forest ebolavirus (TAFV) BDBV, EBOV และ SUDV เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่ของ EVD ในแอฟริกา ขณะที่ RESTV และ TAFV ไม่เกี่ยวข้อง สปีชี ส์ RESTV ที่พบในประเทศฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐประชาชน จีน ติดต่อสู่คนได้ แต่ยังไม่พบกรณีที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต การแพร่กระจายของโรค อีโบลาติดได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับเลือด, สารคัดหลั่ง, อวัยวะ หรือของเหลวแบบอื่นๆ จากสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐาน ว่า การติดเชื้อเกิดจากการเกี่ยวข้องสัมผัสกับชิมแปนซี, กอริล ล่า, ค้างคาวผลไม้, ลิง, แอนทีโลปป่า (forest antelope) และ เม่น ซึ่งป่วยหรือตาย หรืออยู่ในป่าฝน อีโบลาแพร่กระจายเข้าชุมชนผ่านการติดต่อจากคนสู่คน โดย การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง (ผ่านผิวหนังที่ถลอกหรือ ผ่านเยื่อบุ) กับเลือด, สารคัดหลั่ง, อวัยวะ หรือของเหลวอื่นๆ จากร่างกายของผู้ติดเชื้อ และผ่านการสัมผัสทางอ้อมจากสิ่ง แวดล้อมที่ปนเปื้อนของเหลวเหล่านั้น พิธีฝังศพที่ผู้มาร่วม ไว้อาลัยสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของศพมีส่วนสำาคัญในการ แพร่กระจายของอีโบลาเช่นกัน ผู้ที่รอดชีวิตมาได้ยังคงความ สามารถในการส่งผ่านเชื้อไวรัสทางนำ้าเชื้อได้นานถึง 7 สัปดาห์ ภายหลังจากหายจากโรคแล้ว บ่อยครั้งที่มีรายงานการติดเชื้อในบุคลากรการแพทย์ขณะกำาลัง รักษาผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการ สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยไม่ได้ควบคุมหรือระมัดระวังตัว ตามข้อกำาหนดอย่างเคร่งครัด
  • 3. ในการติดเชื้อจากการสัมผัสกับลิงหรือสุกรที่ติดเชื้ออีโบลาแบบ Reston หลายกรณีเกิดขึ้นในคนโดยไม่ปรากฏอาการเจ็บป่วย ใดๆ ดังนั้นดูเหมือน RESTV จะมีความสามารถในการก่อโรคใน คนตำ่ากว่าอีโบลาสปีชีส์อื่นๆ อย่างไรก็ตาม หลักฐานดังกล่าวมาจากกรณีของชายหนุ่ม สุขภาพดีเพียงรายเดียว จึงอาจจะเป็นการด่วนสรุปเกินไปที่จะ แปลผลด้านสุขภาพของไวรัสดังกล่าวให้ครอบคลุมประชากร มนุษย์ทั้งหมด เช่น ครอบคลุมผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่า หรือ คนที่อยู่ระหว่างการรักษาตัว, คนตั้งครรภ์ และเด็ก จำาเป็นต้องมี การศึกษา RESTV เพิ่มขึ้นก่อนที่จะสรุปได้อย่างแน่ชัดเกี่ยวกับ ความสามารถในการก่อโรค และความรุนแรงของโรคของไวรัส ชนิดนี้ในมนุษย์ สัญญาณหรืออาการป่วย EVD ก่อโรคแบบเฉียบพลันและรุนแรง ซึ่งบ่อยครั้งพิจารณาได้ จากการมีไข้อย่างปุบปับ, การรู้สึกไม่สบายหรือร่างกายอ่อนแอ อย่างมาก, เจ็บปวดกล้ามเนื้อ, ปวดหัว และเจ็บคอหอย ตามมา ด้วยการอาเจียน, ท้องเสีย, เกิดผื่น, ไตและตับล้มเหลว และใน บางกรณีอาจพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ด เลือดลดตำ่าลง และมีเอนไซม์ตับเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ติดเชื้อนั้นตราบใดที่ยังมีไวรัสและสารคัดหลั่งอยู่ในตัว พบว่า ก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ดังกรณีตัวอย่างของชายคนหนึ่งที่ติด เชื้อในห้องปฏิบัติการ ยังพบไวรัสอีโบลาได้จากนำ้าเชื้อ 61 วัน หลังจากเริ่มป่วย ช่วงระยะฟักตัว (ช่วงเวลาหลังจากติดเชื้อไวรัสจนเริ่มมีอาการ) อยู่ที่ 2-21 วัน การวินิจฉัยโรค มีหลายโรคที่ควรวินิจฉัยแยกแยะและตัดออกก่อนที่จะวินิจฉัยว่า เป็น EVD คือ มาลาเรีย, ไข้ไทฟอยด์, ชิเกลล่า, อหิวาตกโรค,
  • 4. โรคฉี่หนู, กาฬโรค, ริกเกตเซีย, ไข้กลับ, ไข้สมองอักเสบ, ตับ อักเสบ, และโรคไข้เลือดออกอื่นๆ ที่เกิดจากไวรัส การวินิจฉัยว่า ติดเชื้อไวรัสอีโบลาอย่างแน่ชัด ทำาได้ด้วยวิธีการทดสอบหลาย แบบดังนี้ • antibody-capture enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) (อีไลซา) • antigen detection tests (การตรวจแอนติเจน) • serum neutralization test (การตรวจซีรั่มนิวทรัลไล เซชัน) • reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) assay (วิธี RT-PCR) • electron microscopy (การส่องกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอน) • virus isolation by cell culture (การเลี้ยงเซลล์เพื่อ สกัดแยกเชื้อไวรัส) สารตัวอย่างที่จะใช้ตรวจสอบซึ่งมาจากผู้ป่วยถือว่า มีความเสี่ยง ด้านชีวภาพอย่างยิ่ง ดังนั้น การตรวจสอบจึงควรทำาภายใต้ สภาวะปิดทางชีวภาพที่มีความปลอดภัยสูงสุด วัคซีนและการรักษา ยังไม่มีวัคซีนสำาหรับ EVD ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ มีวัคซีนหลาย ชนิดที่อยู่ระหว่างการทดสอบ แต่ยังไม่มีชนิดใดเลยที่พร้อม สำาหรับให้ใช้ทางคลินิกได้ ผู้ป่วยหนักต้องการการรักษาอย่างเข้มงวดมาก ผู้ป่วยมักมีอาการ ขาดนำ้า และต้องการนำ้าและ สารละลายที่มีสารเกลือแร่ผ่านทาง ปากเพื่อชดเชย หรืออาจให้นำ้าเกลือใต้ผิวหนัง ยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างจำาเพาะเจาะจง ยาชนิดใหม่ๆ อยู่ ระหว่างการประเมินผล สัตว์เจ้าเรือนของไวรัสอีโบลา
  • 5. ในแอฟริกา ค้างคาวผลไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Hypsignathus monstrosus, Epomops franqueti และ Myonycteris torquata อาจเป็นสัตว์เจ้า เรือนตามธรรมชาติสำาหรับไวรัสอีโบลา เนื่องจากพบว่ามีการ ซ้อนเหลื่อมทางภูมิศาสตร์ของกระจายตัวของค้างคาวผลไม้และ ไวรัสอีโบลา ไวรัสอีโบลาในสัตว์ แม้ว่าไพรเมต (ลิงไร้หาง) อื่นๆ ที่ไม่รวมคนอาจจะเป็นแหล่งรัง โรคสำาหรับคนได้ แต่เชื่อกันว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น และน่าจะมา จากการติดเชื้อโดยบังเอิญของมนุษย์มากกว่า เนื่องจากพบการ ระบาดของอีโบลาในปี 1994 จากสปีชีส์ EBOV และ TAFV ใน ชิมแปนซีและกอริลลา RESTV เป็นต้นเหตุการระบาดอย่างหนักของ EVD ในลิง Macaca fascicularis ที่เลี้ยงในประเทศฟิลิปปินส์ และยังตรวจ พบในลิงที่นำาเข้าไปยังสหรัฐฯ ในปี 1989, 1990 และ 1996 และในลิงที่นำาเข้าประเทศอิตาลีจากฟิลิปปินส์ในปี 1992 และ ตั้งแต่ปี 2008 ตรวจพบไวรัส RESTV ระหว่างการระบาดของ โรคพิฆาตนี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฟิลิปปินส์ มี รายงานการติดเชื้อในสุกรที่ไม่มีอาการ และการทดสอบฉีดเชื้อ ในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า RESTV ไม่ทำาให้เกิดโรคใน สุกร การป้องกันและการควบคุม การควบคุมอีโบลาไวรัส Reston ในสัตว์เลี้ยง ยังไม่มีวัคซีนในสัตว์สำาหรับ RESTV การทำาความสะอาดและ การฆ่าเชื้อของฟาร์มสุกรและลิงเป็นกิจวัตร (ด้วยโซเดียมโฮโป คลอไรท์หรือสารซักฟอกอื่นๆ) น่าจะมีประสิทธิภาพพอที่จะทำาให้ ไวรัสหมดฤทธิ์ได้ ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดการระบาดขึ้น ควรใช้การกักโรคทันที สัตว์ที่ติดเชื้อต้องกำาจัดทิ้งโดยการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งการกลบ ฝังหรือการเผาซาก มาตรการดังกล่าวอาจจำาเป็นสำาหรับลด
  • 6. ความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน การจำากัดหรือห้าม การเคลื่อนย้ายสัตว์จากฟาร์มที่ติดเชื้อไปยังบริเวณอื่นๆ ช่วยลด การแพร่กระจายของโรคได้ มักมีการระบาดของ RESTV ในสุกรและลิงก่อนการติดเชื้อใน คน การสร้างระบบเฝ้าระวังสัตว์ที่แอกทีฟจะช่วยตรวจหากรณี ใหม่ๆ ได้ ซึ่งจำาเป็นอย่างยิ่งสำาหรับการเตือนภัยแต่เนิ่นๆ สำาหรับ สัตวแพทย์และสำาหรับผู้มีอำานาจหน้าที่ด้านสาธารณสุข การลดความเสี่ยงของการติดเชื้ออีโบลาในคน การที่ไม่มีวัคซีนและวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพในมนุษย์ ทำาให้ เกิดความห่วงใยว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำาหรับการติดเชื้ออีโบลา และมาตรการป้องกันตนเองสำาหรับบุคคลถือเป็นวิธีการเดียวที่ ช่วยลดการติดเชื้อและการเสียชีวิตในมนุษย์ได้ ในทวีปแอฟริการะหว่างการระบาดของ EVD การให้ข้อมูล ข่าวสารด้านสาธารณสุขต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยต้อง เน้นไปยังปัจจัยบางประการดังนี้ • การลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อจากสัตว์ป่าสู่คนที่เกิดจาก การสัมผัสกับค้างคาวผลไม้ หรือลิง/ เอปที่ติดเชื้อ และจากการ ทานเนื้อสดของสัตว์เหล่านี้ การหยิบจับสัตว์เหล่านี้ควรใช้ถุงมือ และชุดอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่เหมาะสม ควรปรุงผลิตภัณฑ์จาก สัตว์ (เลือดหรือเนื้อ) ให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนการรับประทาน • การลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในชุมชน ที่เกิด จากการสัมผัสทางตรงหรืออย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดย เฉพาะอย่างยิ่งชากของเหลวแบบต่างๆ จากร่างกาย ควรงดเว้น การสัมผัสทางกายภาพอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคอีโบลา ควร สวมถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสมเมื่อต้องดูแลผู้ ป่วยที่บ้าน ควรล้างมือบ่อยๆ หลังจากไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรง พยาบาล เช่นเดียวกับหลังจากที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน • ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอีโบลาควรให้ข้อมูลของโรค และข้อมูลมาตรการการรับมือและจำากัดการระบาด ซึ่งรวมทั้ง การฝังกลบซาก ควรฝังผู้ที่เสียชีวิตจากอีโบลาทันทีอย่าง ระมัดระวัง ฟาร์มสุกรในแอฟริกามีบทบาทสำาคัญในการเพิ่มการ ติดเชื้อ หากมีค้างคาวผลไม้ปรากฏในฟาร์มเหล่านั้น ควรเลือก
  • 7. ใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ที่เหมาะ สมในการจำากัดการแพร่กระจายของเชื้อ สำาหรับ RESTV นั้น การให้ข้อมูลด้านสาธารณสุขควรเน้นเรื่องการลดความเสี่ยงจาก การติดต่อของเชื้อจากสุกรสู่คน ที่เป็นผลมาจากวิธีการเลี้ยงและ ฆ่าสัตว์อย่างไม่ปลอดภัย และการรับประทานเลือดสด นมสด และเนื้อสัตว์สดๆ อย่างไม่ปลอดภัย ควรสวมถุงมือและอุปกรณ์ ป้องกันตนเองที่เหมาะสมเมื่อต้องจัดการกับสัตว์ป่วยหรือเนื้อของ มัน และเมื่อต้องชำาแหละสัตว์ต่างๆ ในบริเวณที่มีรายงานว่าพบ RESTV ในสุกร ควรปรุงผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจากสัตว์ (เลือด, เนื้อ และนม) ให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนบริโภค การควบคุมการติดเชื้อในระบบดูแลผู้ป่วย การติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาจากคนสู่คน มักเกี่ยวข้องกับการ สัมผัสทางตรงหรือทางอ้อมกับเลือดหรือของเหลวอื่นของ ร่างกาย มีรายงานการติดเชื้อในบุคลากรการแพทย์ในกรณีที่ ไม่มีมาตรการควบคุมการติดเชื้ออย่างเหมาะสม บางครั้งก็เป็นไป ได้ที่จะจำาแนกผู้ป่วยติด EBV ไม่ได้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการ เบื้องต้นไม่จำาเพาะ (คล้ายกับอีกหลายโรค) ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็น เรื่องสำาคัญที่บุคลากรการแพทย์ต้องใช้มาตรการระมัดระวังเบื้อง ต้นแบบมาตรฐานกับผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าผลการวินิจฉัยจะเป็น เช่นใด ตลอดเวลาการทำางานในทุกขั้นตอน ซึ่งรวมทั้งการรักษา ความสะอาดพื้นฐานของมือ, ความสะอาดของระบบหายใจ, การ ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองแบบต่างๆ (เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก การกระเด็นหรือการสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่ติดเชื้อ), การฉีดยาอย่าง ปลอดภัย และการฝังกลบอย่างปลอดภัย บุคลากรการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยซึ่งต้องสงสัยหรือยืนยันแล้วว่าติด เชื้อไวรัสอีโบลาควรเพิ่มเติมมาตรการจากข้อควรระวังพื้นฐาน ได้แก่มาตรการควบคุมการติดเชื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ เลือดหรือของเหลวอื่นจากร่างกายของผู้ป่วย และการสัมผัส โดยตรงโดยไม่ป้องกันตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่อาจมีการปนเปื้อน ของเชื้อ เมื่อต้องสัมผัสโดยตรง (ระยะไม่เกิน 1 เมตร) กับผู้ป่วย ที่ติด EBV บุคลากรการแพทย์ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า (หน้ากากหรือเครื่องป้องกัน และแว่นป้องกัน), ชุดกาวน์แขน ยาวสะอาด, และถุงมือ (ในบางขั้นตอนควรใช้ถุงมือปลอดเชื้อ) บุคลากรห้องปฏิบัติการก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ผู้ที่จะตรวจสอบ
  • 8. ตัวอย่างจากสัตว์และจากผู้สงสัยว่าติดเชื้ออีโบลา ควรจะผ่าน การฝึกและทำาด้วยวิธีการและห้องปฏิบัติการที่มีความเหมาะสม การตอบสนองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) WHO มีทั้งผู้เชี่ยวชาญและเอกสารที่ใช้สนับสนุนการสืบสวน และควบคุมโรค เอกสารคำาแนะนำาสำาหรับการควบคุมการติดเชื้อขณะดูแลผู้ป่วย ที่ต้องสงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไข้เลือดออกอีโบลา มีชื่อเอกสาร ว่า Interim infection control recommendations for care of patients with suspected or confirmed Filovirus (Ebola, Marburg) haemorrhagic fever, March 2008. เอกสารนี้ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล ให้ทันสมัย WHO ยังได้คิดค้นแบบช่วยบันทึกความจำาที่ใช้ประกอบข้อควร ระวังมาตรฐานสำาหรับการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ (ปัจจุบันอยู่ ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย) ข้อควรระวังมาตรฐานมี ไว้เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อผ่านเลือดหรือ เชื้อโรคอื่นๆ หากมีการนำาไปใช้อย่างกว้างขวาง ข้อควรระวังนี้ จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อส่วนใหญ่ผ่านการสัมผัสกับเลือดและ ข้อเหลวจากร่างกายได้ แนะนำาให้ใช้ข้อควรระวังมาตรฐานนี้ขณะดูแลหรือรักษาผู้ป่วย ทุกคน โดยไม่จำาเป็นต้องยืนยันว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ ซึ่งข้อควร ระวังดังกล่าวก็รวมทั้งระดับพื้นฐานที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ— การรักษาความสะอาดของมือ, การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือของเหลวต่างๆ จาก ร่างกาย, การป้องกันเข็มฉีดยาและการบาดเจ็บจากอุปกรณ์มีคม อื่น และชุดควบคุมสิ่งแวดล้อม ตาราง: ลำาดับเวลาของการระบาดของโรคโดยไวรัสอีโบ ลาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
  • 9. ปี ประเทศ สปีชีส์ของ ไวรัสอีโบ ลา จำานวน กรณีที่ พบ ผู้เสีย ชีวิต อัตรา การ เสีย ชีวิต 2012 คองโก Bundibug yo 57 29 51% 2012 ยูกันดา Sudan 7 4 57% 2012 ยูกันดา Sudan 24 17 71% 2011 ยูกันดา Sudan 1 1 100% 2008 คองโก Zaire 32 14 44% 2007 ยูกันดา Bundibug yo 149 37 25% 2007 คองโก Zaire 264 187 71% 2005 คองโก Zaire 12 10 83% 2004 ซูดาน Sudan 17 7 41% 2003 (พ.ย.- ธ.ค.) คองโก Zaire 35 29 83% 2003 (ม.ค.- เม.ย.) คองโก Zaire 143 128 90% 2001- 2002 คองโก Zaire 59 44 75% 2001- 2002 กาบอง Zaire 65 53 82% 2000 ยูกันดา Sudan 425 224 53% 1996 แอฟริกาใต้ (ไม่รวม กาบอง) Zaire 1 1 100% 1996 (ก.ค.- ธ.ค.) กาบอง Zaire 60 45 75%
  • 10. ปี ประเทศ สปีชีส์ของ ไวรัสอีโบ ลา จำานวน กรณีที่ พบ ผู้เสีย ชีวิต อัตรา การ เสีย ชีวิต 1996 (ม.ค.- เม.ย.) กาบอง Zaire 31 21 68% 1995 คองโก Zaire 315 254 81% 1994 Cote d'Ivoire Taï Forest 1 0 0% 1994 กาบอง Zaire 52 31 60% 1979 ซูดาน Sudan 34 22 65% 1977 สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยคองโก Zaire 1 1 100% 1976 ซูดาน Sudan 284 151 53% 1976 สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยคองโก Zaire 318 280 88% ข้อมูลเพิ่มเติม : WHO Media centre Telephone: +41 22 791 2222 E-mail: mediainquiries@who.int