Início
Conheça mais
Enviar pesquisa
Carregar
Entrar
Cadastre-se
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Próximos SlideShares
Thailand Internet user Profile 2016
Carregando em ... 3
1
de
132
Top clipped slide
Thailand Internet User Profile 2016
25 de Aug de 2016
•
0 gostou
0 gostaram
×
Seja o primeiro a gostar disto
mostrar mais
•
902 visualizações
visualizações
×
Vistos totais
0
No Slideshare
0
De incorporações
0
Número de incorporações
0
Denunciar
Internet
Thailand Internet User Profile 2016
WiseKnow Thailand
Seguir
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Recomendados
Thailand Internet user Profile 2016
ETDAofficialRegist
15.8K visualizações
•
132 slides
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
WiseKnow Thailand
3.2K visualizações
•
124 slides
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
Yakuzaazero
11.2K visualizações
•
135 slides
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2556
Yakuzaazero
4.6K visualizações
•
145 slides
Thailand internet user profile 2014
Peerasak C.
684 visualizações
•
140 slides
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561
ETDAofficialRegist
945 visualizações
•
20 slides
Mais conteúdo relacionado
Apresentações para você
(18)
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
ETDAofficialRegist
•
1.1K visualizações
A5 survey 2018 v31
ETDAofficialRegist
•
4.5K visualizações
Thailand Internet User Profile 2018
ETDAofficialRegist
•
13.5K visualizações
Thailand internet user_profile_2018_th
ETDAofficialRegist
•
1.6K visualizações
20181226 etda annual_roport_2018_max
Thosaporn Kompat
•
29 visualizações
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
ETDAofficialRegist
•
1.7K visualizações
Thailand Internet User Profile 2018
ETDAofficialRegist
•
610 visualizações
Thailand Social Media Data from Thailand Zocial Awards 2015 by Pawoot
Pawoot (Pom) Pongvitayapanu
•
5.5K visualizações
คุณเมธินี
Attaporn Ninsuwan
•
1.4K visualizações
ข่าวสั้นและบทความ CYBER THREATS 2018
ETDAofficialRegist
•
2K visualizações
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
IMC Institute
•
1.1K visualizações
ผลงาน 3 เดือนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Asina Pornwasin
•
614 visualizações
Etda Annual Report 2019
ETDAofficialRegist
•
1.1K visualizações
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
ETDAofficialRegist
•
1.4K visualizações
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
ETDAofficialRegist
•
5K visualizações
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
ETDAofficialRegist
•
6.2K visualizações
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
Totsaporn Inthanin
•
516 visualizações
"Loadแนวข้อสอบ พนักงานพิทักษ์ป่า กรมป่าไม้
noodeejideenoodeejid
•
29 visualizações
Similar a Thailand Internet User Profile 2016
(20)
Thailand Internet User Profile 2013
Boonlert Aroonpiboon
•
3.3K visualizações
Thailand Internet User Profile 2013
Peerasak C.
•
1.1K visualizações
Thailand internet user profile 2013
Poramet Boonlertsaksakul
•
534 visualizações
Thailand Internet User Profile 2013 Report
WiseKnow Thailand
•
1.2K visualizações
Thailand Internet User Profile 2013
Electronic Transactions Development Agency
•
206 visualizações
Thailand Internet User Profile 2013
Pawoot (Pom) Pongvitayapanu
•
1.8K visualizações
Thailand E commerce survey 2015
Utai Sukviwatsirikul
•
1.7K visualizações
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
IMC Institute
•
2.6K visualizações
ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560
Worapol Limsiriwong (Nex)
•
346 visualizações
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
ETDAofficialRegist
•
124 visualizações
แนะนำมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต)
Thai Netizen Network
•
406 visualizações
แนะนำมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง
Arthit Suriyawongkul
•
940 visualizações
Thailand Internet User Profile 2018
ETDAofficialRegist
•
199 visualizações
Fact sheet TSPA & Members
Suganya Chatkaewmorakot
•
364 visualizações
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
ETDAofficialRegist
•
540 visualizações
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560
WiseKnow Thailand
•
540 visualizações
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
•
575 visualizações
190828 royal council (6) passakorn
worsak kanok-nukulchai
•
1.3K visualizações
Thai gov-web-guideline-130625032414-phpapp01
Chukiat Sakjirapapong
•
830 visualizações
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
•
471 visualizações
Anúncio
Mais de WiseKnow Thailand
(20)
Capital in the Twenty-First Century.pdf
WiseKnow Thailand
•
47 visualizações
eBook_A_Legacy_for_All_6July2022.pdf
WiseKnow Thailand
•
67 visualizações
The Age of Spiritual Machines: When Computers Exceed Human Intelligence
WiseKnow Thailand
•
84 visualizações
ตำราตรวจโรคหมอสุรเกียรติ์.pdf
WiseKnow Thailand
•
685 visualizações
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
WiseKnow Thailand
•
330 visualizações
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
WiseKnow Thailand
•
66 visualizações
คู่มือฉบับประชาชน กรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง.pdf
WiseKnow Thailand
•
248 visualizações
Thailand Internet User Behavior 2020 Presentation
WiseKnow Thailand
•
561 visualizações
Thailand Internet User Behavior 2020
WiseKnow Thailand
•
445 visualizações
เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5
WiseKnow Thailand
•
741 visualizações
Thailand Economic Monitor - Harnessing Fintech for Financial Inclusion
WiseKnow Thailand
•
559 visualizações
สู่จุดจบ! | The Coming Collapse of Thailand
WiseKnow Thailand
•
644 visualizações
CLS for Volunteer
WiseKnow Thailand
•
557 visualizações
Cyber Threats 2015
WiseKnow Thailand
•
320 visualizações
เอกสารประกอบของ Thailand Internet User Profile 2016
WiseKnow Thailand
•
970 visualizações
What if the next big disruptor isn’t a what but a who?
WiseKnow Thailand
•
632 visualizações
Interaction 2016
WiseKnow Thailand
•
874 visualizações
The Future 100: Trends and Change to Watch in 2016
WiseKnow Thailand
•
1.2K visualizações
An Ericsson Consumer Insight Report : TV and Media 2015
WiseKnow Thailand
•
938 visualizações
แผนที่จุดจอดรถตู้-รถเมล์อนุสาวรียชัย์ฯ
WiseKnow Thailand
•
471 visualizações
Último
(20)
Appraisers Association of America
BangkokScammer
•
3 visualizações
The Association of Independent Jewellery Valuers
BangkokScammer
•
3 visualizações
รูปภาพ1.png.pptx
ssuser360cf2
•
1 visão
mega-sic-bo-fun88
fun88th123ax
•
4 visualizações
royal-palace-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
pp-palace-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
xn--l3cm7a5azd-xyz-.pdf
ShouabAli1
•
2 visualizações
european-roulette-fun88
fun88th123ax
•
2 visualizações
mega-roulette-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
new-member-bonus-fun88
fun88th123ax
•
2 visualizações
classic-dragon-tiger-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
live-chat-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
live-blackjack-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
fun88-palace
fun88th123ax
•
3 visualizações
royal-fishing-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
affiliate-fun88
fun88th123ax
•
3 visualizações
Gem-A
BangkokScammer
•
3 visualizações
American Society of Appraisers
BangkokScammer
•
3 visualizações
GIA gemological institute of america
BangkokScammer
•
2 visualizações
deposit-method-fun88
fun88th123ax
•
4 visualizações
Anúncio
Thailand Internet User Profile 2016
ชื่อเรื่อง รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ปี
2559 Thailand Internet User Profile 2016 จัดทำ�โดย สำ�นักยุทธศาสตร์ สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ISBN ISBN 978-974-9765-74-6 พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2559 พิมพ์จำ�นวน 2,000 เล่ม ราคา 200 บาท สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ
สพธอ. เป็นองค์กรของรัฐที่ท�ำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ มีการบริหารจัดการและกำ�หนดนโยบายโดยคณะกรรมการบริหาร
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 4 ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Thailand 4.0 ต้องพึ่งพิงข้อมูล ที่สะท้อนความต้องการของผู้บริโภค ได้อย่างถูกต้อง ใกล้เคียงความเป็นจริง ผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จึงถือเป็นข้อมูลชิ้นสำ�คัญ ที่จะช่วยเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ให้แก่ภาคการผลิตและภาคธุรกิจ
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 6 ทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พฤติกรรมการใช้ Internet ของคนไทย เป็นสิ่งที่กระทรวง ICT ให้ความสำ�คัญ เพราะสะท้อนว่า วันนี้ เราอยู่ตรงไหน... ยุทธศาสตร์ตอบโจทย์ และ ความต้องการของสังคมได้อย่างไร... ในวันที่สังคมไทยต้องเตรียมพร้อม ก้าวกระโดดรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เพื่อเป็น Thailand 4.0 เต็มรูปแบบ
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 8 (สุรางคณา วายุภาพ) ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทคและการสื่อสาร พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต มีความน่าสนใจ ตัวเลขที่สำ�รวจแต่ละปี สะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคม จำ�เป็นสำ�หรับการกำ�หนด ”นโยบาย” หรือ ”ยุทธศาสตร์” ของรัฐ และจำ�เป็นสำ�หรับ “การปรับตัวของภาคธุรกิจ” ให้เหมาะกับ Lifestyle ที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 9
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 10 คำ�นำ� ในการก�ำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผนระดับชาติ/ระดับหน่วยงาน และสามารถ ตอบโจทย์/ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงนั้น จ�ำเป็นที่จะต้องมี ข้อมูลส่วนหนึ่งเพื่อใช้สะท้อนภาพของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคประชาชน ทุกกลุ่ม และข้อมูลดังกล่าวควรจะมีการจัดท�ำอย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี เพื่อให้เห็น ทิศทางการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งแนวโน้มของการใช้งานอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมของ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังสามารถน�ำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ส�ำคัญส�ำหรับ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายใหม่ที่สนใจจะเข้ามาท�ำธุรกิจนี้หรือผู้ที่ประกอบ ธุรกิจออนไลน์อยู่แล้ว ได้ท�ำความเข้าใจในลักษณะการใช้งานและพฤติกรรมของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต เพื่อจะได้ก�ำหนดกลยุทธ์/วางแผนการตลาดให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาครัฐจะได้น�ำข้อมูลไปใช้ก�ำหนดนโยบายเพื่อผลักดันให้การใช้อินเทอร์เน็ต เป็นไปอย่างแพร่หลายและเหมาะสม ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่ง มีภารกิจหลักในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ประเทศ ร่วมผลักดันโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ สนับสนุนธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการมีมาตรฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ สพธอ. ได้เห็นถึงความส�ำคัญในการจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จึงได้ ริเริ่มให้มีโครงการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขึ้นมานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และจัดท�ำการส�ำรวจนี้เป็นประจ�ำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดเก็บข้อมูลลักษณะของผู้ใช้งานและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยไว้เป็น ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ อันน�ำไปสู่การก�ำหนดยุทธศาสตร์ที่จ�ำเป็นต่อไป
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 11 ในรายงานฉบับนี้จะน�ำเสนอผลการส�ำรวจโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนแรก เป็นการส�ำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และส่วนที่ 2 เป็นการส�ำรวจเรื่อง ที่ก�ำลังได้รับความสนใจอยู่ในช่วงที่ท�ำการส�ำรวจ ข้อค�ำถามจึงมีการปรับเปลี่ยนไปทุกปี โดยในปีนี้เป็นการส�ำรวจว่าเมื่อเทคโนโลยี 4G เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปีนี้แล้ว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีความคิดเห็นเป็นเช่นไรกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการส�ำรวจในมิติของปริมาณการใช้งาน ความ คิดเห็นที่มีต่อความเร็วในการท�ำกิจกรรมแต่ละประเภท รวมทั้งปัญหาที่ประสบกันอยู่ใน ขณะนี้ เป็นต้น อนึ่ง การส�ำรวจครั้งนี้เป็นการส�ำรวจผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้ตอบต้องเป็นผู้ที่ พักอาศัยในประเทศไทยเท่านั้น ในการตอบแบบส�ำรวจเป็นการเข้ามาตอบด้วยความ สมัครใจ (Self-Selection) แม้ว่าโดยระเบียบวิธีทางวิชาการทางสถิติ ข้อมูลที่ประมวล ผลได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศไทย แต่เนื่องจากมีผู้ให้ความ ร่วมมือเข้ามาตอบแบบส�ำรวจครั้งนี้มากถึง 16,661 คน และการประมวลผลข้อมูลมีการ ถ่วงน�้ำหนักตามโครงสร้างอายุและพื้นที่พักอาศัยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นในประเทศไทย โดยโครงสร้างดังกล่าวมาจากการส�ำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในครัวเรือน ปี 2557 ซึ่งจัดท�ำโดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการส�ำรวจจึงถือว่ามีความ น่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ผลยังมีการจัดตั้งคณะท�ำงานซึ่งมาจาก หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สอดคล้องกับการด�ำเนินการส�ำรวจครั้ง นี้ เพื่อให้ผลการส�ำรวจครั้งนี้มีความถูกต้องแม่นย�ำตามหลักวิชาการ การส�ำรวจครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐและภาค เอกชนในการประชาสัมพันธ์ติดป้ายประกาศ (Banner) เชิญชวนให้มีผู้เข้ามาตอบแบบ ส�ำรวจจากเว็บไซต์หลายแห่ง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่/พนักงานภายใต้ สังกัดหน่วยงานได้ร่วมตอบแบบส�ำรวจฯ นี้ด้วย ดังมีรายชื่อในภาคผนวกท้ายเล่ม สพธอ.
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 12 จึงขอขอบพระคุณหน่วยงานดังกล่าวไว้ ณ ที่นี้ และหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป สุรางคณา วายุภาพ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิงหาคม 2559
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 13 Gen Z Gen Y Gen X Baby Boomer (Awareness) Lifestyle 1 100% . . 2544 . . 2524–2543 . . 2508–2523 . . 2489–2507 6.2 / ( 2558 5.7 / ) 1 2 3 4 5 6 7 5 & 6 ” ”
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 14 สารบัญ คำ�นำ� ........................................................................................................10 สารบัญภาพ..............................................................................................16 สารบัญตาราง .........................................................................................19 บทสรุปผู้บริหาร........................................................................................20 ผลการสำ�รวจที่สำ�คัญ...............................................................................21 บทนำ�........................................................................................................25 วัตถุประสงค์ของการสำ�รวจ.................................................................26 วิธีการสำ�รวจ.......................................................................................26 ระเบียบวิธีวิจัย.....................................................................................27 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต....................................................................28 ระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต..................................................................32 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต....................................................36 ช่วงเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต...................................................................38 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลาต่าง ๆ.........................40 สถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต........................................................................44 กิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต......................................................48
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 15 การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์.................................................................54 ปัญหาจากการใช้อินเทอร์เน็ต................................................................60 เจาะลึกพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น..............................65 Gen Z...............................................................................................66 Gen Y...............................................................................................68 Gen X...............................................................................................70 Baby Boomer................................................................................72 พฤติกรรมการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์....................................................75 การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในยุค 3G/4G........................81 ภาคผนวก.................................................................................................95 ภาพรวมของผู้ตอบแบบสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ปี 2559.....................................................................96 แบบสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศ ปี 2559...............105 รายชื่อหน่วยงานผู้ให้ความอนุเคราะห์ในการติดป้ายประกาศ (Banner) โดยไม่คิดค่่าใช้จ่าย............................................................................112 ตารางสถิติ.......................................................................................121 ทีมงานจัดทำ�โครงการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ปี 2559.......................................................................128
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 16 สารบัญภาพ ภาพ 1 จำ�นวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อสัปดาห์ จำ�แนกตามลักษณะทั่วไปของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต..............................32 ภาพ 2 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และจำ�นวนชั่วโมงการใช้งานเฉลี่ยต่อวัน เปรียบเทียบตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต..................36 ภาพ 3 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต....................................38 ภาพ 4 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามการใช้งานอุปกรณ์ แต่ละประเภทในช่วงเวลาต่าง ๆ...................................................40 ภาพ 5 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามสถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต......................................44 ภาพ 6 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายพื้นที่พักอาศัย เปรียบเทียบตามสถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต......................................46 ภาพ 7 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามกิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต....................48 ภาพ 8 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบ 5 อันดับแรกของ กิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่กับ คอมพิวเตอร์..............................................................................50 ภาพ 9 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามความนิยมของ สื่อสังคมออนไลน์.......................................................................54
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 17 ภาพ 10 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามความนิยมของสื่อสังคมออนไลน์.........................56 ภาพ 11 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามความถี่ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์.................58 ภาพ 12 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามปัญหาที่เกิดจาก การทำ�กิจกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต..................................................60 ภาพ 13 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของ Gen Z................................. 66 ภาพ 14 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของ Gen Y................................ 68 ภาพ 15 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของ Gen X................................ 70 ภาพ 16 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของ Baby Boomer ................ 72 ภาพ 17 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามการใช้บริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์....................76 ภาพ 18 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จำ�แนกตามภาษาที่ใช้ในการอ่านเนื้อหาจากเว็บไซต์........................78 ภาพ 19 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จำ�แนกตามการรับรู้และการป้อนชื่อ เว็บไซต์เป็นภาษาไทย..................................................................79 ภาพ 20 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จำ�แนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงและเครือข่าย การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต.............................................................84 ภาพ 21 ร้อยละของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบ 3G/4G จำ�แนกตามช่องทางในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต............................86
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 18 ภาพ 22 ร้อยละของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบ 3G/4G เปรียบเทียบตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำ�ผ่านระบบ 3G/4G...........88 ภาพ 23 จำ�นวนครั้งในการทำ�กิจกรรมเฉลี่ยต่อสัปดาห์ จำ�แนกตาม กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำ�ผ่านระบบ 3G/4G....................................90 ภาพ 24 ร้อยละของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบ 3G/4G เปรียบเทียบตามปัญหาที่เกิดจากการใช้งานระบบ 3G/4G.........92 ภาพ 25 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามเพศ..............................96 ภาพ 26 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามสถานภาพสมรส............97 ภาพ 27 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามเจนเนอเรชั่น.................98 ภาพ 28 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามพื้นที่พักอาศัย...............99 ภาพ 29 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามระดับการศึกษา..........100 ภาพ 30 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามสถานภาพการทำ�งาน..............................................101 ภาพ 31 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน.......................................102 ภาพ 32 ร้อยละของผู้ตอบแบบสำ�รวจ จำ�แนกตามระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน...................103
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 19 สารบัญตาราง ตาราง 1 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามกิจกรรม การใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ กับคอมพิวเตอร์.....................................................................121 ตาราง 2 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามความนิยมของสื่อสังคมออนไลน์....................122 ตาราง3 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามปัญหาที่เกิดจากการทำ�กิจกรรม ผ่านอินเทอร์เน็ต....................................................................123 ตาราง 4 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต.............124 ตาราง 5 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามช่วงเวลาต่าง ๆ ในการใช้อินเทอร์เน็ต.............125 ตาราง 6 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามสถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต..................................126 ตาราง 7 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามกิจกรรมที่ทำ�ผ่านอินเทอร์เน็ต........................127
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 20 บทสรุปผู้บริหาร การส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในมิติต่างๆที่เกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งาน ระยะเวลาและช่วงเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต กิจกรรมที่ท�ำผ่านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ในการส�ำรวจแต่ละปี จะมีส่วนที่เป็นค�ำถามพิเศษประจ�ำปี ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ น่าสนใจและน่าติดตามของปีที่ท�ำการส�ำรวจ จากการเปิดประมูลคลื่นความถี่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ท�ำให้มีการเปิดให้บริการเทคโนโลยี 4G อย่างเป็นทางการในปีนี้ ค�ำถาม พิเศษจึงเป็นการส�ำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ได้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เข้าถึง อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายระบบ 3G และ 4G ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ใช้ท�ำกิจกรรมต่าง ๆ กันมากน้อยแค่ไหน และจากการเปลี่ยนผ่านยุค 2G มา มีกิจกรรมใดบ้างที่ท�ำแล้วรู้สึก ว่ารวดเร็วขึ้น รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้น นอกจากนี้ การน�ำเสนอผลการส�ำรวจในปีนี้ ยังเพิ่มอรรถประโยชน์ให้กับผู้ใช้ข้อมูล ด้วยการน�ำพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตมาแจกแจงเป็นรายเจนเนอเรชั่น และน�ำเสนอ ในรูปแบบของ Infographic เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ที่สนใจ ได้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และ สามารถน�ำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการก�ำหนดนโยบาย/วางแผนธุรกิจ/แผนการตลาด เพื่อ ให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง การส�ำรวจครั้งนี้เป็นการส�ำรวจทางอินเทอร์เน็ต สพธอ. เริ่มวางแบบส�ำรวจบน เว็บไซต์ต่าง ๆ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมจนถึงสิ้นเดือน พฤษภาคม 2559 มีผู้ให้ความสนใจเข้ามาตอบแบบส�ำรวจด้วยความสมัครใจมากถึง 16,661 คน
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 21 ผลการสำ�รวจที่สำ�คัญ ข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากจ�ำนวนผู้ที่เข้ามาตอบแบบส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2559 ด้วยความสมัครใจทั้งหมด 16,661 คน พบว่า เพศหญิง (ร้อยละ 57.3) เข้ามา ตอบแบบส�ำรวจสูงกว่าเพศชาย (ร้อยละ 41.1) และเพศที่สาม ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น ในปีนี้ยังคงจ�ำแนกช่วงอายุของผู้ตอบแบบส�ำรวจออกเป็น 4 เจนเนอเรชั่น ได้แก่ Gen Z, Gen Y, Gen X และ Baby Boomer จากจ�ำนวนผู้ตอบแบบส�ำรวจทั้งหมด Gen Y (ร้อยละ 54.5) เข้ามาตอบแบบส�ำรวจสูงกว่าเจนเนอเรชั่นอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ รองลงมา เป็น Gen X (ร้อยละ 36.3), Baby Boomer (ร้อยละ 8.5) และ Gen Z (ร้อย ละ 0.8) ตามล�ำดับ (ดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากภาคผนวกท้ายเล่ม) ส่วนการกระจายตัวของผู้ตอบแบบส�ำรวจ จ�ำแนกตามสถานที่พักอาศัย พบว่า ประกอบด้วยผู้ที่อาศัยในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และมีการ กระจายตัวของเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพการท�ำงานและรายได้ที่สอดคล้องกับ โครงสร้างประชากร สามารถน�ำไปวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มได้ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต จากผลการส�ำรวจ พบว่า จ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 45.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ย 6.4 ชั่วโมงต่อวัน โดยเพศที่สาม และ Gen Y เป็นกลุ่มที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ที่ 48.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 53.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามล�ำดับ ในปี 2559 นี้ สมาร์ตโฟนยังคงเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ในการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีจ�ำนวนผู้ใช้งานมากถึงร้อยละ 85.5 และมีจ�ำนวนชั่วโมงการ
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 22 ใช้งานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งทั้งจ�ำนวนผู้ใช้งานและจ�ำนวนชั่วโมงการใช้ งานของปีนี้สูงกว่าปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2558 มีจ�ำนวนผู้ใช้งานร้อยละ 82.1 และมีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้งานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ช่วงเวลาเรียน/ท�ำงาน (08.01–16.00 น.) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นอุปกรณ์อันดับ 1 ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยช่วงเวลา 08.01–12.00 น. เป็นช่วงเวลาที่คนนิยมใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คิด เป็นร้อยละ 64.5 ช่วงเวลาหลังเลิกเรียน/ท�ำงานจนถึงเช้า (16.01–08.00 น.) สมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ อันดับ 1 ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยช่วงเวลา 16.01–20.00 น. เป็นช่วงเวลาที่คนนิยมใช้สมาร์ตโฟนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมาก ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.4 จากผลการส�ำรวจ ยังพบอีกว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อย ละ 29.3 ใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างการเดินทางในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่พัก อาศัยในต่างจังหวัด ซึ่งมีเพียงร้อยละ 10.3 เท่านั้น ด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต ของคนกรุงเทพฯ ที่ดีและพร้อมกว่าต่างจังหวัด และการที่คนกรุงเทพฯ ในปัจจุบันต้อง ประสบปัญหาสภาพการจราจรที่แออัดหนาแน่นกว่าต่างจังหวัด ท�ำให้คนกรุงเทพฯ นิยม ที่จะหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเล่น/ใช้งานในระหว่างรถติด กิจกรรมยอดนิยม 5 อันดับแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมท�ำผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้แก่ การพูดคุยผ่าน Social Network (ร้อยละ 86.8) รองลงมา เป็นการดูวิดีโอผ่าน YouTube (ร้อยละ 66.6), การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 55.7), การค้นหา ข้อมูล (ร้อยละ 54.7) และการท�ำธุรกรรมทางการเงิน (ร้อยละ 45.9) ตามล�ำดับ ในขณะที่กิจกรรมยอดฮิต 5 อันดับแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมท�ำผ่านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การค้นหาข้อมูล (ร้อยละ 57.6) รองลงมา เป็นการรับ-ส่งอีเมล (ร้อยละ 56.9), การดูวิดีโอผ่าน YouTube (ร้อยละ 47.2), การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์/เพลง/ละคร/เกม (ร้อยละ 45.6) และการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 44.2) ตามล�ำดับ ด้วยพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน การส�ำรวจครั้งนี้จึงแบ่งการน�ำเสนอผลการส�ำรวจการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 23 ออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติของความนิยมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แต่ละประเภท และมิติของความถี่ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แต่ละประเภท จากผลการส�ำรวจสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ YouTube มีผู้ใช้งานมากถึงร้อยละ 97.3 รองลงมา คือ Facebook และ Line มีผู้ใช้ งานคิดเป็นร้อยละ 94.8 และ 94.6 ตามล�ำดับ YouTube เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กลุ่ม Gen Y และ Gen Z นิยมใช้กันมาก ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.8 และ 98.6 ตามล�ำดับ รองลงมา คือ Facebook คิดเป็นร้อย ละ 97.9 และ 93.8 ตามล�ำดับ ส่วนอันดับ 3 คือ Line คิดเป็นร้อยละ 97.2 และ 91.4 ตามล�ำดับ ในขณะที่ Line เป็นแอปพลิเคชันที่กลุ่ม Baby Boomer และ Gen X นิยมใช้ใน การติดต่อสื่อสารมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.5 และ 96.2 ตามล�ำดับ รองลงมา คือ YouTube คิดเป็นร้อยละ 89.3 และ 95.3 ตามล�ำดับ ส่วนอันดับ 3 คือ Facebook คิด เป็นร้อยละ 86.5 และ 93.9 ตามล�ำดับ ในมิติของความถี่ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แต่ละประเภท Facebook เป็นสื่อ สังคมออนไลน์ที่มีปริมาณการใช้งานบ่อยที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมา เป็น Line และ YouTube โดยมีสัดส่วนของผู้ใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 84.2, 82.0 และ 76.9 ตามล�ำดับ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต จากผลการส�ำรวจ พบว่า ปัญหาอันดับ แรก ได้แก่ ความล่าช้าในการเชื่อมต่อ/ใช้อินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 70.3) รองลงมา เป็น เรื่องของปริมาณโฆษณาที่มารบกวน (ร้อยละ 50.7), การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยาก/หลุด บ่อย (ร้อยละ 32.7), เสียค่าใช้จ่ายแพง (ร้อยละ 26.8) และการให้บริการอินเทอร์เน็ต ยังไม่ทั่วถึง (ร้อยละ 21.2) ตามล�ำดับ
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 24 การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในยุค 3G/4G กิจกรรม 3 อันดับแรกที่ผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบ 3G/4G รู้สึกว่าท�ำได้รวดเร็ว ขึ้น อันดับ 1 ได้แก่ การแชร์รูปถ่าย/วิดีโอ/อัพโหลดคลิปผ่านโซเชียลมีเดีย คิดเป็นร้อย ละ 75.9 รองลงมา เป็นการคุยโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต/คุยโทรศัพท์ผ่าน Video call และการดูโทรทัศน์/ฟังเพลง/เล่นเกมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 68.1 และ 60.3 ตามล�ำดับ หากพิจารณาว่ากิจกรรมใดที่มีการใช้งานถี่ที่สุดในรอบสัปดาห์ จากผลการส�ำรวจ พบว่า ผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบ 3G/4G ส่วนใหญ่นิยมดูโทรทัศน์/ฟังเพลง/เล่น เกมออนไลน์โดยมีการท�ำกิจกรรมดังกล่าวโดยเฉลี่ย14ครั้งต่อสัปดาห์รองลงมาเป็นการ แชร์รูปถ่าย/วิดีโอ/อัพโหลดคลิปผ่านโซเชียลมีเดีย และการคุยโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต/ คุยโทรศัพท์ผ่าน Video call โดยมีการท�ำกิจกรรมดังกล่าวโดยเฉลี่ย 11 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 9 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามล�ำดับ ในความคิดเห็นของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบ 3G/4G ปัญหาส�ำคัญที่สุด 3 อันดับแรกที่เกิดจากการใช้งานระบบ 3G/4G อันดับแรก เป็นเรื่องของความสิ้นเปลือง แบตเตอรี่ ต้องหมั่นคอยชาร์จ รองลงมา เป็นเรื่องของการใช้งาน 4G ในบางพื้นที่ไม่มี สัญญาณ หรือสัญญาณอ่อน และค่าใช้จ่ายในการใช้งานค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 70.4, 64.7 และ 40.2 ตามล�ำดับ
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 25 บทนำ� ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. มีภารกิจหลักในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการให้บริการของรัฐทางออนไลน์ ร่วมผลักดันโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่เอื้อต่อการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนก�ำหนดมาตรฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ และเพื่อให้การท�ำธุรกรรมทางออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัยและ น่าเชื่อถือ ด้วยภารกิจดังที่กล่าวมา การศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจึง มีความส�ำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถ น�ำข้อมูลที่สะท้อนพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในหลาย ๆ มิติไปใช้ในการก�ำหนดทิศทาง ในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องและ ตอบสนองความต้องการของประชาชน/ผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สพธอ. จึงได้จัดให้มีการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 (Thailand Internet User Profile 2016) ขึ้น ซึ่งเป็นการส�ำรวจเป็นประจ�ำทุกปี โดย ในการส�ำรวจจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และมีการผนวก ค�ำถามพิเศษประจ�ำปี โดยในปีนี้เป็นค�ำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในยุค 3G/4G สพธอ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการส�ำรวจจะเป็นประโยชน์ส�ำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ จะน�ำไปใช้ในการวางแผน/ก�ำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่ม ต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถน�ำ ข้อมูลผลการส�ำรวจไปใช้ประกอบการจัดท�ำแผนธุรกิจหรือปรับกลยุทธ์การตลาดให้ สอดคล้องกับความต้องการหรือพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล อันจะส่งผลให้การท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 26 วัตถุประสงค์ของการสำ�รวจ 1. เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง 2. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อยู่ในความสนใจในปีที่มีการส�ำรวจ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถ น�ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทันสถานการณ์ 3. เพื่อให้มีข้อมูลที่ส�ำคัญและจ�ำเป็นต่อการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ข้อมูลภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้สนใจโดยทั่วไปอย่าง ต่อเนื่อง 4. เพื่อให้ สพธอ. มีข้อมูลไว้ใช้ส�ำหรับใช้ก�ำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและ สนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการติดตามและ ประเมินผล วิธีการสำ�รวจ การส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 นี้ ยังคงเป็นการ ส�ำรวจทางอินเทอร์เน็ตเช่นในปีที่ผ่านมา โดยได้น�ำแบบส�ำรวจดังกล่าวไปวาง (ติด แบนเนอร์) ไว้ในหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้ความ อนุเคราะห์พื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการกระจายแบบส�ำรวจผ่านช่องทาง โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook เพื่อให้มีการกระจายแบบส�ำรวจไปยังกลุ่มตัวอย่างอย่าง ทั่วถึง การส�ำรวจนี้ได้เริ่มกระจายแบบส�ำรวจตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมจนถึงสิ้นเดือน พฤษภาคม 2559 โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้ามาตอบแบบส�ำรวจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จ�ำนวนทั้งสิ้น 16,661 คน จากนั้นจึงน�ำผลการตอบแบบส�ำรวจที่ได้ทั้งหมดเข้าสู่ กระบวนการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิติ
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 27 ระเบียบวิธีวิจัย การส�ำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ของคนไทย โดยเลือกใช้การตอบแบบส�ำรวจผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคม ออนไลน์ และเนื่องจากทีมวิจัยไม่มีรายชื่อของประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด จึงไม่ ได้ใช้การเลือกตัวอย่างตามหลักความน่าจะเป็น ผู้ที่เข้ามาตอบแบบส�ำรวจ คือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้ามาตอบด้วยความสมัครใจ (Self Selection) ท�ำให้เมื่อพิจารณารายกลุ่มย่อย สัดส่วนของจ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจาก ตัวอย่างที่ได้ จึงอาจแตกต่างกับสัดส่วนของจ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นในประเทศไทย ดังนั้นการค�ำนวณค่าต่าง ๆ ในภาพรวมจึงมีการถ่วงน�้ำหนักด้วยสัดส่วนของจ�ำนวนผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นในประเทศไทยรายกลุ่มอายุ และพื้นที่พักอาศัย (กรุงเทพฯ และต่าง จังหวัด) ที่ได้จากการส�ำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัว เรือน พ.ศ. 2557 ของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 28
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 29 พฤติกรรมการใช้ อินเทอร์เน็ต ในการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 นี้ มีผู้ให้ความ สนใจและเข้ามาตอบแบบส�ำรวจมากถึง 16,661 คน จึงได้น�ำผลการตอบแบบส�ำรวจมา ประมวลผลและวิเคราะห์ผล เพื่อแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต1 ในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของระยะเวลาการใช้งานอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์การใช้งาน ช่วง เวลาที่ใช้งาน สถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดียยอดนิยม และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ในปีนี้เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าปัจจุบันนี้อุปกรณ์เคลื่อนที่2 กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตคนไทย (Mobile Life) นับตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเกือบทุกคน เลือกที่จะหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ขึ้นมาก่อนที่จะหยิบแปรงสีฟัน เพื่อจะตรวจสอบว่ามีใครส่งไลน์หรืออีเมลมาถึงเรา ในโลกโซเชียลมีการโพสต์อะไรบ้าง หรือในการเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ภาพที่ทุกคนได้เห็นกันอย่างคุ้นชิน ก็คือภาพที่ คนส่วนใหญ่ ทุกเพศและทุกวัย ก้มหน้าก้มตาอ่านหรือจิ้มหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์แทนการพูดคุยกันแล้ว และแม้กระทั่งก่อนเข้านอน สิ่งสุดท้ายที่ คนส่วนใหญ่จะท�ำก่อนนอน ก็ยังหนีไม่พ้นที่จะวางโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งสุดท้ายก่อนหลับตานอนด้วยเช่นกัน ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้คนไทยในปัจจุบันมีชีวิตติดอินเทอร์เน็ตมากมายเช่นนี้ มา จากการที่ตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ทั้งลดแลกแจกแถม โดย 1 เนื่องจากเป็นการส�ำรวจทางอินเทอร์เน็ต ผู้ตอบแบบส�ำรวจในที่นี้ จึงหมายถึง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่สมัคร ใจเข้ามาตอบแบบส�ำรวจ ซึ่งจากนี้ไป ในรายงานผลการส�ำรวจฉบับนี้ จะใช้ค�ำว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 2 อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices) หมายถึง อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการพกพา เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Feature Phone), สมาร์ตโฟน (Smartphone) และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 30 เฉพาะสมาร์ตโฟนที่มีราคาถูกลงมาก จนท�ำให้ผู้ใช้งานทุกระดับรายได้ สามารถจับจอง เป็นเจ้าของสมาร์ตโฟนได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้การเปิดประมูลคลื่นความถี่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมื่อปลายเดือน ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ท�ำให้มีการเปิดให้บริการเทคโนโลยี 4G อย่างเป็นทางการ ส่ง ผลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ค่ายต่าง ๆ ต่างแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ บริการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้ในทุกไลฟ์สไตล์ ด้วยอัตรา ค่าบริการที่เหมาะสม รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายนโยบายของภาครัฐมาสู่แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 ที่มุ่งเน้น การน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน/การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ในผู้ใช้งานทุกระดับรายงานผลการส�ำรวจฉบับนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อสะท้อนภาพพฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยในปัจจุบันว่ามีพฤติกรรมการใช้งานกันอย่างไร เพื่อให้ ผู้ใช้ข้อมูลระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ก�ำหนดนโยบาย ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นักวิจัย/นักวิเคราะห์ธุรกิจ เป็นต้น สามารถน�ำข้อมูลต่าง ๆ เหล่า นี้ไปใช้ในการก�ำหนดนโยบาย วางแผนการตลาด บริหารจัดการงบประมาณ รวมไปถึง การวิเคราะห์ทิศทางการลงทุนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า/ผู้บริโภคได้ อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับเม็ดเงิน/งบประมาณที่ลงทุนไป
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 31
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 32 Baby BoomerGen Z Gen XGen Y 40.2 53.2 44.3 31.8 ตางจังหวัด 44.648.1 กรุงเทพฯ 45.3 44.7 48.9 จำนวนชั่วโมง การใชอินเทอรเน็ตเฉลี่ย 45.0ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาหชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห ชั่วโมง/สัปดาห 6.4ชั่วโมง/วัน ระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต ภาพ 1 จำ�นวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อสัปดาห์ จำ�แนกตามลักษณะทั่วไปของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 33 ในการส�ำรวจครั้งนี้ พบว่า จ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 45.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ย 6.4 ชั่วโมงต่อวัน หรือเทียบ เท่ากับว่าในแต่ละวัน จะมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 1 ใน 4 ของวันกันเลยทีเดียว ดัง แสดงในภาพ 1 เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยกับลักษณะทั่วไปของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต ได้แก่ เพศ เจนเนอเรชั่น 3 และพื้นที่พักอาศัย จะเห็นได้ว่า เพศที่สาม เป็น เพศที่มีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเพศชายและเพศหญิง โดย เพศที่สาม มีการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยประมาณ 48.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่เพศชาย และเพศหญิง มีการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ที่ 45.3 และ 44.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตาม ล�ำดับ Gen Y เป็นกลุ่มที่มีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ เจนเนอเรชั่นอื่น ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในยุคที่ใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย กันอย่างแพร่หลาย จึงมีการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งในการเรียน/การท�ำงานและชีวิตส่วนตัว ดังจะเห็นได้จากผลการส�ำรวจที่พบว่า Gen Y มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึง 53.2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ย 7.6 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ Gen X, Gen Z และ Baby Boomer มีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ที่ 44.3, 40.2 และ 31.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามล�ำดับ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ ยังคงมีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตสูง กว่าผู้ที่พักอาศัยในต่างจังหวัด อันเนื่องมาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารดิจิทัล 3 การแบ่งช่วงอายุออกเป็นเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ (อ้างอิงจากรายงานผลการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558) ซึ่งจะแบ่งคนในช่วงอายุต่าง ๆ ออกเป็น 5 เจนเนอเรชั่น ได้แก่ 1. Traditionalist เป็นผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. 2468–2488 2. Baby Boomers เป็นผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. 2489–2507 3. Generation X หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Gen X เป็นผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. 2508–2523 4. Generation Y หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Gen Y เป็นผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. 2524–2543 5. Generation Z หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Gen Z เป็นผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 34 ของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะระดับหมู่บ้าน มีเพียงร้อยละ 53 (จากจ�ำนวน 74,965 หมู่บ้าน) ที่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่วนที่ เหลือเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลซึ่งยังขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่เพียง พอ4 ดังนั้นผู้ให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารจึงยังคงเน้นการพัฒนาจากส่วนกลางกระจาย ออกไปตามพื้นที่ในต่างจังหวัด ท�ำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกรุงเทพฯ มีจ�ำนวนชั่วโมงการ ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 48.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัด มีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 44.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น ทั้งนี้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ก�ำหนดกรอบยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน เพื่อให้วิสัยทัศน์และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบรรลุผล ตามแผนดังกล่าว แต่มีอยู่ 2 ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเรื่องความ เหลื่อมล�้ำด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุม ทั่วประเทศ มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยความเร็วที่เพียงพอกับความต้องการ ในราคาค่าบริการที่ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึง ยุทธศาสตร์ที่ 3 เน้นการสร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มุ่งสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล ทั้ง2ยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นจึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล�้ำด้านโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัลให้ลดน้อยลงได้ เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่าง เท่าเทียมกันในที่สุด5 4 สถานภาพการพัฒนาด้านดิจิทัลในประเทศไทย, โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล, แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand), หน้า 18, www.digitalthailand.in.th/drive/press/แผนพัฒนา ดิจิทัล.pdf, สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559. 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, หน้า 3, แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (Digital Thailand), หน้า 18, www.digitalthailand.in.th/drive/press/แผนพัฒนาดิจิทัล.pdf, สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559.
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 35
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 36 สมารตโฟน 85.5%ใชเขาถึงอินเทอรเน็ต ใชงานเฉลี่ย 6.2 ชั่วโมงตอวัน 48.7%ใชเขาถึงอินเทอรเน็ต ใชงานเฉลี่ย 4.7 ชั่วโมงตอวัน คอมพิวเตอรพกพา 62.0%ใชเขาถึงอินเทอรเน็ต ใชงานเฉลี่ย 5.4 ชั่วโมงตอวัน คอมพิวเตอรสวนบุคคล 30.0%ใชเขาถึงอินเทอรเน็ต ใชงานเฉลี่ย 3.5 ชั่วโมงตอวัน แท็บเล็ตคอมพิวเตอร 19.8%ใชเขาถึงอินเทอรเน็ต ใชงานเฉลี่ย 2.7 ชั่วโมงตอวัน สมารตทีวี อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ภาพ 2 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และจำ�นวนชั่วโมงการใช้งานเฉลี่ยต่อวัน เปรียบเทียบตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 37 ด้วยการแข่งขันด้านราคาและนโยบายส่งเสริมการขายของผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ ท�ำให้ผู้บริโภคสามารถครอบครองเป็นเจ้าของเครื่องได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งการแข่งขัน กันพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งผลให้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ตโฟน เป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ใน การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังแสดงในภาพ 2 โดยมีผู้ใช้งานมากถึงร้อยละ 85.5 และมี จ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ตโฟนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ 2 รองจากสมาร์ตโฟน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยมีผู้ใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 62.0 และมีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้ อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเฉลี่ยอยู่ที่5.4ชั่วโมงต่อวันในขณะที่คอมพิวเตอร์ พกพา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากเป็นอันดับ 3 โดยมีผู้ใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 48.7 และมีจ�ำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์พกพาเฉลี่ย อยู่ที่ 4.7 ชั่วโมงต่อวัน
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 38 ช่วงเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต ภาพ 3 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต 08.01-12.00 น. 76.0% 76.6% 75.2%12.01-16.00 น. 16.01-20.00 น. 70.3% 12.1%00.01-04.00 น. 11.4% 04.01-08.00 น. 20.01-24.00 น.
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions
Development Agency (Public Organization) 39 ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่าปัจจุบันนี้ชีวิตคนไทยติดอินเทอร์เน็ตมาก มีการเช็ก ไลน์/อีเมล หรือใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กันตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ดังจะเห็นได้จาก ผลการส�ำรวจ ดังแสดงในภาพ 3 พบว่า กว่าร้อยละ 70 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีการเข้า ถึงอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลา 08.01-24.00 น. โดยเฉพาะช่วงหลังเลิกเรียน/เลิกงาน เวลา 16.01–20.00 น. เป็นช่วงที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสูงที่สุด โดยมีผู้ใช้งานร้อยละ 76.6 รองลงมา เป็นช่วงเวลาเริ่มเรียน/เริ่มงานจนถึงเลิกเรียน/เลิกงาน โดยในช่วงเวลา 08.01–12.00 น. และ 12.01–16.00 น. มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 76.0 และ 75.2 ตามล�ำดับ
รายงานผลการสำ�รวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559 Thailand
Internet User Profile 2016 40 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลาต่าง ๆ ภาพ 4 ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามการใช้งานอุปกรณ์แต่ละประเภทในช่วงเวลาต่าง ๆ สมารตโฟน 52.7% แท็บเล็ต คอมพิวเตอร 35.3% คอมพิวเตอร พกพา 41.3% สมารตทีวี 25.1% 08.01 - 12.00 น. 12.01 - 16.00 น. แท็บเล็ต คอมพิวเตอร 27.3% คอมพิวเตอร พกพา 43.6% สมารตทีวี 15.2% สมารตโฟน 54.3% คอมพิวเตอร สวนบุคคล 60.7% 16.01 - 20.00 น. คอมพิวเตอร พกพา 41.8% แท็บเล็ต คอมพิวเตอร 45.8% สมารตทีวี 39.1% สมารตโฟน 68.4% คอมพิวเตอร ตั้งโตะ 32.1% 00.01 - 04.00 น. คอมพิวเตอร สวนบุคคล 64.5% 04.01 - 08.00 น. คอมพิวเตอร พกพา 2.7% สมารตโฟน 10.5% คอมพิวเตอร สวนบุคคล 2.6% แท็บเล็ต คอมพิวเตอร 6.0% สมารตทีวี 3.6% แท็บเล็ต คอมพิวเตอร 7.5% สมารตโฟน 9.3% คอมพิวเตอร สวนบุคคล 2.9% คอมพิวเตอร พกพา 7.1% สมารตทีวี 6.0% แท็บเล็ต คอมพิวเตอร 47.0% สมารตทีวี 46.3% สมารตโฟน 61.7% คอมพิวเตอร สวนบุคคล 21.4% คอมพิวเตอร พกพา 44.9% 20.01 - 24.00 น.
Anúncio