SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 10
8.1 พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร8.2 สำนักงานอัตโนมัติ8.3 การสื่อสารด้วยแสง8.4 การสื่อสารผ่านดาวเทียม8.5 โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล8.6 อินเทอร์เน็ต8.7 การแลกเปลี่ยนข้อมูล8.8 ความปลอดภัยของข้อมูล<br />aaaaaภายในสำนักงานของบริษัทหรือองค์การใด ๆ จะพบว่าเจ้าหน้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการติดต่อสื่อสาร เช่น พนักงานขายสินค้าทำงานอยู่กับการติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประชุมปรึกษางานการเจรจาธุรกิจทางโทรศัพท์ การโต้ตอบจดหมาย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องการระบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงจุดและทันสมัยเพื่อจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จaaaaaเมื่อพิจารณาระบบงานภายในสำนักงาน ข้อมูลที่หมุนเวียนไปมาจะอยู่ในรูปแบบหลายอย่าง เช่น การบันทึกย่อ จดหมาย การพูดคุยทางโทรศัพท์ การพบปะประชุมร่วมกันและการเผยแพร่เอกสารไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งผู้ทำงานในสำนักงานสามารถเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับบุคคลหรือหน่วยงานaaaaaวิธีการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้หลายทาง ขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ เช่น การเลือกรูปแบบการติดต่อ และการเลือกช่องหรือตัวกลางการติดต่อ ซึ่งอาจใช้เลขานุการ ใช้พนักงานส่งจดหมายหรือใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์<br />รูปที่ 8.1 โทรศัพท์ อุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสาร<br />aaaaaเนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ออกมาตลอดเวลา ผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้ดีมีดังนี้ aaaaa1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ ระบบสื่อสารนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือใช้งานน้อยถ้ามีกลุ่มผู้ใช้งานน้อย เพราะจะทำให้การกระจายข้อมูลทำได้ไม่กว้างขวางaaaaa2. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานของสำนักงาน ระบบสื่อสารนั้นควรมีรูปแบบเหมือนหรือเข้ากันได้กับงานที่ดำเนินการอยู่ หากต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อเข้ากับระบบสื่อสาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากระบบสื่อสารไม่สามารถใช้กับงานเดิมได้ จะทำให้เกิดความไม่สะดวก ปราศจากความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ในการติดต่อสื่อสารaaaaa3. ความสมเหตุสมผลทางราคา ระบบสื่อสารต่าง ๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยเสมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถลงทุนได้และต้องคุ้มค่ากับราคาaaaaaปัจจัยทั้งสามเป็นข้อพิจารณาในการเลือกใช้ระบบสื่อสาร เพื่อทำให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยระบบสื่อสารก็จะทำให้ระบบงานลดความซับซ้อนลงได้ ระบบการสื่อสารที่น่าสนใจจะเป็นการส่งข้อมูลหรือข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์aaaaaระบบสื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานส่วนใหญ่ คือการส่งจดหมาย การโทรศัพท์ การส่งโทรเลข การส่งเทเล็กซ์ ระบบสื่อสารที่นิยมกันมากคือ การส่งโทรสารและโทรศัพท์aaaaaโทรศัพท์ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2413 ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ถ่ายภาพ และหลอดไฟ ในระยะเริ่มแรกโทรศัพท์ไม่ค่อยได้รับความนิยมมาก อัตราการขยายการใช้งานค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่เกิดใกล้เคียงกันดังกล่าว สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากเครือข่ายของโทรศัพท์ยังครอบคลุมในบริเวณเล็ก ๆ ซึ่งตามปกติสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยจดหมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงaaaaaปัจจุบันเครือข่ายของโทรศัพท์ได้มีการแพร่หลายครอบคลุมในบริเวณกว้าง และเป็นที่ยอมรับสำหรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั่วโลก ในทุกประเทศ ธุรกิจและกิจการหลายอย่างมีการดำเนินงานโดยพึ่งพาโทรศัพท์ โทรศัพท์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเทคโนโลยีของโทรศัพท์ได้รับการพัฒนามาหลายขั้นตอนทั้งในด้านตัวเครื่อง ตู้ชุมสาย และระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายaaaaaการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย รวดเร็วจนจำนวนคู่สายไม่พอเพียงต่อความต้องการจึงมีการขยายอยู่เรื่อยมา และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ออกมาตัวอย่างเช่น พัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนการใช้คู่สายแบบเส้นใยนำแสง การติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์ยังจำเป็นและจะคงอยู่ภายในสำนักงานไปอีกนานaaaaaบริการโทรเลขและเทเล็กซ์เป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่งที่มีมานานพอสมควร สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบตัวอักษรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการสื่อสารข่าวสารทางอื่นที่ทันสมัยกว่า แต่การส่งโทรเลขและเทเล็กซ์ก็ยังมีใช้อยู่ทั่วไป เช่น ในงานส่งข่าวหนังสื่อพิมพ์ การค้าระหว่างประเทศ การกำหนดราคาสินค้า การสั่งสินค้าและการประกวดราคาสินค้า เป็นต้นaaaaaในขณะเดียวกันวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากระดับเมนเฟรมซึ่งมีขนาดใหญ่มาเป็นเครื่องขนาดเล็กระดับตั้งโต๊ะที่มีขีดควาามสามารถเท่าเทียมเครื่องขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของบริษัทสามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานเอกสารและการบริหารทั่วไปได้ เทคโนโลยีของระบบติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าามาร่วมด้วย<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaสำนักงานอัตโนมัติ (automated office) คืออะไร เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารอย่างไร ทำไมจึงต้องให้ความสนใจกับสำนักงานอัตโนมัติ สำนักงานนี้จะไม่ใช้กระดาษเลยเป็นจริงได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้มักจะได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอaaaaaในสำนักงานแห่งหนึ่ง ผู้จัดการฝ่ายขายต้องการรู้ข้อมูลการขายสินค้าแต่ละชนิดว่ามีแนวโน้มอย่างไรเพื่อวางแผนการขาย แผนกขายจะมีรายละเอียดความต้องการสินค้าของลูกค้า ยุทธวิธีการขาย และให้ข้อมูลการขายนี้แก่ฝ่ายการผลิตเพื่อเตรียมการผลิตสินค้า พร้อมทั้งส่งต่อให้พนักงานขายแต่ละคนเพื่อศึกษา จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ผู้จัดการฝ่ายเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ซึ่งถ้ามีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลและสื่อสารข้อมูลก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ทำให้สำนักงานเปลี่ยนเป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น และเมื่อมีการนำคอมพิวเตร์มาใช้ในแผนกและหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการต่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ ในการดำเนินงานของแผนกและหน่วยงานขององค์การจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นในการดำเนินงานขององค์การ aaaaaอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานเป็นอย่างไรบ้าง การเริ่มต้นอาจมองไปที่ระบบโทรศัพท์ซึ่งบางสำนักงานมีตู้ชุมสายขนาดเล็กต่อเชื่อมโยงกับข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ การติดต่อสื่อสารทำได้ตั้งแต่เสียงพูด ภาพ โดยการใช้เครื่องโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านโมเด็มaaaaaเมื่อพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์งานเอกสารโดยใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำเสร็จ มีการเก็บข้อมูลไว้ในแผ่นบันทึกเพื่อนำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จากนั้นส่งแฟ้มข้อมูลให้ผู้จัดการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน ผู้จัดการตรวจเอกสารแล้วส่งไปยังลูกค้าผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตซึ่งเชื่อมโยงต่อถึงกันโดยใช้ระบบเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์<br />รูปที่ 8.2 ตัวอย่างภาพแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์<br />aaaaaความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีผลักดันให้ระบบการทำงานบางอย่างผันแปรไป ลองพิจารณาตัวอย่าง การซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องแข่งขันกับเวลา เช่น เวลา 11.00 น. ทำการต่อเชื่อมโยงไมโครคอมพิวเตอร์เข้ากับศูนย์คอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อคัดลอกข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น โลตัส 123 เวลา 11.20 น. ทำการโอนย้ายข้อมูลเข้าสู่โปรแกรมแสดงผลเป็นกราฟและรายงานผลออกเป็นรูปกราฟที่สวยงาม เวลา 11.30 น. ทำการติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์จากตัวแทนขายหลักทรัพย์ จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากaaaaaภายในสำนักงานจึงเริ่มมีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่อาจไม่เหมาะกับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ทันการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายแลนทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบสามารถโอนย้าย คัดลอกข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายภายในที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ด้วยอัตราที่เร็วกว่าการใช้โทรศัพท์ และมีข้อดี คือ การเชื่อมโยงระหว่างจุดต่าง ๆ อาจทำได้พร้อมกัน เช่น พนักงานขายหลายคนสามารถเรียกดูข้อมูลราคาสินค้าจากศูนย์ข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลกลางในเวลาเดียวกันได้aaaaaระบบเครือข่ายแลนและชุมสายโทรศัพท์จึงเป็นตัวอย่างการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในสำนักงานซึ่งทำให้ข้อมูล ณ จุดต่าง ๆ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ ระบบเครือข่ายที่ดีจะต้องสามารถเชื่อมโยงระหว่างระบบได้ เสมือนโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่นี้ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้ทั้งหมด เราสามารถส่งโทรสารที่ใช้มาตรฐานเดียวกันไปยังเครื่องโทรสารเครื่องอื่นที่อยู่ปลายทางได้ทั้งโลกเช่นกัน<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaด้วยความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดค้นทำให้มีอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยนำแสง ทำให้แสงเดินทางในท่อที่คดเคี้ยว และเมื่อทำเป็นเส้นจึงดูคล้ายสายไฟที่แสงเดินลอดผ่านจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งได้ การปฏิบัติการส่งสัญญาณข้อมูลจึงเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้ไฟฟ้ามาเป็นแสง aaaaaการที่แสงเดินทางผ่านไปในท่อได้อาศัยหลักการสะท้อนกลับหมด กล่าวคือเมื่อแสงเดินทางจากปลายข้างหนึ่งจะสะท้อนบริเวณขอบกลับหมดไปชนกับขอบอีกด้านหนึ่งสลับไปมาการกระทำนี้จะทำให้ทางไปในท่อที่คดเคี้ยวได้aaaaaเส้นใยนำแสงประกอบด้วยส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยว และส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น<br />รูปที่ 8.3 การเดินทางของแสงภายในเส้นใยนำแสง<br />aaaaaในการใช้งานจะต้องมีตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งแสงที่นิยมใช้กันได้แก่ ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode :LED) ส่วนรับสัญญาณที่นิยมใช้ได้แก่ โฟโตไดโอด (photo diode) การแปลงข้อมูลจะใช้วิธีแบบความถี่aaaaaข้อเด่นของการสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยนำแสงมีมากมาย แสงที่ใช้สื่อสารจะมีแกนกว้างทำให้ทางความถี่มาก ความถี่สัญญาณอยู่ในช่วง 1-10 จิกะเฮิรทซ์ จึงทำให้แบ่งช่องสัญญาณข้อมูลหรือเสียงได้มาก เส้นใยนำแสงหนึ่งเส้นอาจมใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สาย มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล มีการสูญเสียต่ำปราศจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี การสื่อสารจะบริสุทธิ์ไม่ส่งสัญญาณรบกวนสิ่งรอบข้างaaaaaนอกจากนี้ยังสามารถวางเส้นใยนำเป็นสายเคเบิลควบคู่ไปกับสายไฟฟ้าแรงสูงโดยที่สนามแม่เหล็กของไฟฟ้าแรงสูงไม่สามารถรบกวนได้เลย สามารถวางเส้นใยนำแสงใต้ดิน ในอุโมงค์ ใต้ท้องทะเล ลอดใต้แม่น้ำ การประยุกต์จึงกว้างขว้าง เช่น ใช้งานด้านเคเบิลทีวี ใช้งานการสื่อสารควบคุมการจราจรของรถไฟ รถยนต์ ใช้ควบคุมในงานอุตสาหกรรม ใช้เชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ การใช้เส้นใยนำแสงยังเหมาะกับการสื่อสารในบริเวณที่เกิดอันตรายได้ง่าย เช่น ใช้เชื้อเพลิงเพราะไม่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้าaaaaaจากการที่เส้นใยนำแสงมีข้อดีมากมาย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการวางสายเส้นใยนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์แทนไมโครเวฟ องค์การระหว่างประเทศทางด้านการสื่อสารได้ดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเป็นเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศ การใช้งานสายนำสัญญาณด้วยเส้นใยนำแสงจะต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดิน ส่งตรงขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียมจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมากaaaaaประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา<br />รูปที่ 8.4 จานรับสัญญาณดาวเทียม<br />aaaaaจานรับสัญญาณดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นดินมีขนาดใหญ่มาก เช่น จานรับสัญญาณดาวเทียมอิเทลแซด ที่ศรีราชามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 97 ฟุต สามารถสื่อสารข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียaaaaaใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟaaaaaดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งผิดจากดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลก โดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ 9-11 วันaaaaaดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วัน พอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้องเหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร<br />รูปที่ 8.5 ตัวอย่างการวางตำแหน่งดาวเทียมเพื่อส่งสัญญาณครอบคลุมทั่วโลก<br />aaaaaบริษัทชั้นนำในด้านการข่าว เช่น ซีเอ็นเอ็น จะมีดาวเทียมของตนเองทำให้สามารถส่งข่าวสารหรือรับข่าวสารได้ตลอดเวลาจากทั่วโลก ผู้รับสัญญาณโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น ต้องมีจานรับสัญญาณจึงจะรับได้ และต้องปรับทิศให้ตรงกับตำแหน่งดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมแพร่สัญญาณได้ทุกพื้นที่ในโลกจะต้องมีดาวเทียมหลายดวงรอบโลก สัญญาณจะครอบคลุมทั่วโลกได้ต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อยสามดวงaaaaaในช่วงปลาย พ.ศ. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นaaaaaดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่ 4 , 10 และ 12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศสaaaaaข้อได้เปรียบของดาวเทียมไทยคมคือ อยู่ตรงประเทศไทยทำให้จานรับสัญญาณมีขนาดเล็กลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 50 เซนติเมตร ดาวเทียมไทยคมครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย และเพื่อนบ้านไว้ ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ 15 ปีaaaaaการสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือมีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดินaaaaaดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร<br />รูปที่ 8.6 การสื่อสารผ่านดาวเทียม<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Services Digital Network : ISDN) เป็นระบบการสื่อสารมาตรฐานที่กำลังจะถูกนำเข้ามาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมต่อไป และจะเป็นระบบที่เข้าไปแทนที่ระบบโทรศัพท์เดิม ซึ่งขณะนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการ และมีการทดลองใช้บ้างแล้วaaaaaเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลได้ดีขึ้น ให้พิจารณาระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นระบบสลับสายด้วยสัญญาณแอนะล็อก กล่าวคือสัญญาณเสียงพูดที่ปลายทางจะได้รับการสลับสายไปยังอีกด้านหนึ่งด้วยวงจรสลับสายแบบกลไก สัญญาณเสียงจะส่งผ่านเสมือนการต่อเส้นลวดทองแดงจากต้นทางไปยังปลายทางได้aaaaaต่อมามีการสลับสายด้วยหลักการทางดิจิทัล เช่น ชุมสายเอสพีซีของค์การโทรศัพท์ในปัจจุบัน สัญญาณเสียงที่ต้นทางจะผ่านไปตามมสายในลักษณะเป็นสัญญาณแอนะล็อก ไปตามเส้นลวดทองแดงไปถึงชุมสายจะเปลี่ยนสัญญาณแอนะล็อกนี้ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล แล้วสลับสัญญาณดิจิทอลเข้าไปในช่องเวลาของอีกวงจรหนึ่งอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการสลับสายด้วยหลักการดิจิทัลไปมาระหว่างวงจร ดังนั้นวงจรคู่สายจึงไม่ได้ต่อกันในลักษณะตัวนำทองแดง แต่ใช่วิธีการของสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง อย่างไรก็ดีช่วงระหว่างเครื่องผู้ใช้ถึงชุมสายก็ยังเป็นสัญญาณแอนะล็อกแต่จะได้รับการเปลี่ยนสัญญาณให้เป็นสัญญาณดิจิทัลที่ชุมสายaaaaaเมื่อความต้องการใช่เครื่องงานเครือข่ายชุมสายโทรศัพท์มีสูงขึ้น การประยุกต์กว้างขวางมากยิ่งขึ้น มีการนำเอาโทรสารมาใช้ มีการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าช่องสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อใช้ในกิจการค้ามากขึ้น เช่น ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระบบโทรศัพท์จึงต้องมีการพัฒนาตามไปด้วยaaaaaเทคโนโลยีทางด้านการรับส่งสัญญาณดิจิทัลได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นลำดับจนสามารถกำหนดให้สายจากต้นทางส่งสัญญาณเข้าชุมสายโทรศัพท์ที่เป็นแบบดิจิทัลได้การผสมสัญญาณทางดิจิทัลจึงทำได้ง่าย การใช้งานหลาย ๆ อย่างไปบนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันจึงมีทางเป็นไปได้ เช่น บริการเครือข่ายข้อมูลซึ่งเป็นการส่งข้อมูลไปบนสายโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ได้aaaaaเมื่อเป็นเช่นนี้มาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเกิดขึ้น มาตรฐานนี้ได้แบ่งแถบกว้างในการใช้สายโทรศัพท์ออกเป็นแถบย่อยซึ่งมีแถบการส่งพื้นฐานที่เรียกว่าช่อง B อยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีความเร็วการส่งข้อมูลขนาด 64 กิโลบิต และแถบการส่งสัญญาณข้อมูลอีกช่องหนึ่งเรียกว่าช่อง D ระบบมาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลขนาดนี้จึงเป็น 2B+Dโดยช่อง D มีความเร็ว 16 กิโลบิต เมื่อรวมความสามารถของสายโทรศัพท์จะทำให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ 144 กิโลบิตaaaaaการที่ใช้มาตรฐาน 2B+Dนี้ทำให้สายโทรศัพท์ที่ใช้งานทำการรับข้อมูลหรือเสียงได้พร้อมกันความจริงแล้วถ้าต่อใช้งานในระบบแอนะล็อกสายโทรศัพท์เส้นหนึ่งจะใช้บริการได้เพียงอย่างเดียวแต่ถ้าเป็นระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะทำให้สามารถใช้สัญญาณได้พร้อมกันมากกว่าสองช่องสัญญาณเสียง และสามารถใช้ร่วมกับสัญญาณข้อมูลอื่นพร้อมกันaaaaaการประยุกต์ใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลนี้จึงเป็นเรื่องที่รวมการบริการหลายอย่างเข้าในเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น การประชุมทางโทรศัพท์ การรับส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ที่มีภาพประกอบ หรือเห็นภาพผู้รับปลายทางอย่างชัดเจน การใช้ร่วมระหว่าง โทรศัพท์กับข้อมูล เช่น เมื่อมีลูกค้าเรียกเข้ามาจะเรียกเข้ามาจะทราบหมายเลขต้นทางที่เรียกเข้ามา ระบบคอมพิวเตอร์จะค้นหาข้อมูลและปรากฎข้อมูลบนจอภาพเกี่ยวกับลูกค้าคนนั้นได้ทันทีaaaaaการให้บริการโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลทำให้ระบบการส่งโทรสารรวดเร็วขึ้นจากเดิม เพราะใช้มาตรฐานที่เรียกว่า จี3 (G3) โทรสารส่งได้รวดเร็วสุดที่ความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที หรือหนึ่งหน้ากระดาษขนาด A4 จะใช้เวลาประมาณ 17 วินาที แต่ถ้าใช้มาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะส่งได้ด้วยความเร็ว 64 กิโลบิต หรือหนึ่งหน้ากระดาษขนาด A4 จะใช้เวลาเพียง 3 วินาทีaaaaaระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลเป็นมาตรฐานที่นำทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นการรวมกันระหว่างเสียงพูดแต่เดิมเป็นแอนะล็อกกับระบบข้อมูลที่เป็นดิจิทัลได้อย่างประสมประสานเป็นเนื้อเดียวกันaaaaaอย่างไรก็ดีโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล 2B+D นี้ สร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้กับข่ายสายโทรศัพท์ที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องวางสายกันใหม่aaaaaในอนาคตโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะมีการนำเส้นใยนำแสงเข้ามาทดแทนเครือข่ายสายทองแดง ซึ่งเมื่อเวลานั้นสายที่ต่อไปยังบ้านจะเป็นเส้นใยนำแสงหมด การสื่อสารทางสายนี้จะร่วมได้แม้กระทั่งส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสายไปยังบ้านให้ผู้ชมในบ้านได้รับดูรายการโทรทัศน์ทางสาย<br /> <br />ย้อนกลับ <br />aaaaaเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา aaaaaเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องนนทรีใช้รหัสหมายเลข 158.108.2071 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีเรียกขานและเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น nontri.ku.ac.th<br />8.6.1 ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตaaaaaอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลกด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีมากมาย เช่นaaaaa1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้อย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าส่งทางไปรษณีย์ปกติaaaaa2) การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้aaaaa3) การค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลาย ๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดค่าเอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาติให้สำเนา มีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนใจเฉพาะด้านกันมาก เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บไว้เผยแพร่ระหว่างกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแล่งใหญ่มากaaaaa4) กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการจัดตั้งกระดานข่าวมากกว่า 2000 กลุ่ม ทุก ๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านกระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป กลุ่มผู้สนใจจักรยานaaaaa5) เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมแบบเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกมเอ็มยูดี ( Multi User Dungeon: MUD) เกมที่ผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาโต้ตอบกันในระยะห่างไกล<br />8.6.2 อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยaaaaaเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับอินเตอร์เน็ตคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกต่อมา 1 ปี ศูยน์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายไทยสารซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตaaaaaในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมโยงเข้าสู่ต่างประเทศสองทางคือ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ<br />8.6.3 ทรัพยากรอินเตอร์เน็ตaaaaaจากการเชื่อมโยงให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์เข้ามายังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและใช้งานได้ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทในการเป็นสถานีปลายทางโดยผู้ใช้ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ หากต่อเชื่อมกับเครือข่ายแล้วก็สะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที และสามารถใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ สะดวก เช่น ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ในการเรียกค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้ทรัพยากร อื่น ๆ บนเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีเป็นจำนวนมากaaaaaเพื่อให้เห็นภาพของการใช้ทรัพยากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงขอเสนอลักษณะของทรัพยากรบนอินเตอร์ที่ผู้ใช้เรียกใช้ได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบaaaaa1) ระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัท เช่น Apple; Thinking Maehine; Dow Jone และKPMG Peat Marwich ได้ร่วมพัฒนาระบบบริการสารสนเทศ บริเวณกว้าง Wide Area Information Servece: WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเตอร์เน็ตaaaaaลักษณะของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูลaaaaaเนื่องจากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หากให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่าง ๆ จะไม่สะดวก การดำเนินการของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างจึงเป็น ทำให้ผู้ใช้มองเห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว โดยระบบนี้จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการตามฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้โดยอัตโนมัติaaaaaการใช้งานระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่สะดวก ปัจจุบันมีให้เรียกค้นหาหลายที่ เช่น บนเครื่อง think.com นอกจากนี้ยังมีการให้บริการค้นด้วยระบบตัวเชื่อมประสานหลายแบบตามลักษณะของผู้ขอบริการ<br />รูปที่ 8.7 สถาปัตยกรรมของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง<br />aaaaa2) ระบบอาร์ซี ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้เรียกค้นไม่ถูกว่ามีข้อมูลอยู่ที่เครื่องใดบ้าง ระบบอาร์ซี (Archie) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยอลัน เอมเทค (Alan Emtage) และปีเตอร์ ดูทช์ (Peter Deutsch) แห่งมหาวิยาลัยแมกกิลล์ (McGill) ซึ่งเป็นระบบการเรียกค้นหาข้อมูล และดำเนินการตามขั้นตอนการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) ได้<br />รูปที่ 8.8 สถาปัตยกรรมของระบบอาร์ซี<br />aaaaaผู้ใช้อาร์ซี จะทำตัวเสมือนเป็นเครื่องผู้ใช้บริการเรียกเข้าไปยังบริการอาร์ซีเพื่อค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการว่าเก็บไว้สถานที่ใด เพราะบริการอาร์ซีได้รวบรวมชื่อแฟ้มและสถานที่เก็บแฟ้มข้อมูลรวมซึ่งอยู่กระจัดกระจาย จึงทำให้ผู้เรียกค้นได้เสมือนเป็นการเปิดสารบัญดูก่อนว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ใด จากนั้นเรียกค้นไปยังสถานที่ที่ต้องการเพื่อทำการโยกย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไปaaaaa3) ระบบโกเฟอร์ ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (Minnesota) โดยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้นตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนูทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น เรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่นตามลักษณะการเรียกค้นaaaaaหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลและคิดว่าข้อมูลของตนจะเป็นประโยชน์ สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสูระบบโกเฟอร์เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้aaaaaระบบโกเฟอร์เป็นเกณฑ์วิธีพิเศษที่สร้างขึ้นมาบน TCP/IP โกเฟอร์ที่รู้จักกันดีอยู่ที่เครื่อง micro.umn.edu เป็นเครื่องของมหาวิทยาลัยมินเนโซตา ระดับบนสุดของโกเฟอร์จะให้รายละเอียดต่าง ๆ ที่วิ่งค้นหาข้อมูงลงไปในระดับล่างได้<br />รูปที่ 8.9 สถาปัตยกรรมของโกเฟอร์<br />aaaaa4) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นการใช้หลักการของข้อความหลายมิติ (hypertext) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเซิร์น (CERN) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงสร้างของเวิลด์ไวด์เว็บ ใช้หลักการเครื่องบริการของผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปแบบข้อความหลายมิติโดยมีข้อกำหนดเกณฑ์วิธี การจัดเก็บแบบข้อความและเชื่อมโยงกันแบบข้อความหลายมิติ ปัจจุบันมีเครื่องบริการแฟ้มข้อมูลที่ทำหน้าที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บมากมาย<br />รูปที่ 8.10 บริการเวิลด์ไวด์เว็บ<br />aaaaaเท่าที่กล่าวมานี้เป็นการแนะนำให้เห็นสถาปัตยกรรมระบบหลัก ๆ ของอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั่วโลก และนับวันจะเติบโตยิ่งขึ้น จนเชื่อแน่ว่าในที่สุดอินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายที่ทุกคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และจะเป็นการเชื่อมโยงคนทั่วโลกเข้าเป็นหนึ่งเดียว ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาระบบประยุกต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกมากมาย เช่น X.500 เพื่อให้การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงการส่งภาพและสื่อประสมได้<br />aaaaaความเร็วของการสื่อสารข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนมีความเร็วมากอยู่แล้ว โดยปกติในการเคลื่อนย้ายกลุ่มอิเล็กตรอนมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เราสามารถส่งข้อมูลข้ามซีกโลกได้ในชั่วพริบตาเดียวaaaaaการทำงานหลายอย่างซึ่งต้องทราบและกระทำ ณ เวลาจริง เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ ราคาของหลักทรัพย์และรายการซื้อขายจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งด้วยเวลาจริง การเบิกถอนเงินฝากผ่านตู้เอทีเอ็มก็เป็นการปรับปรุงรายการบัญชีด้วยเวลาจริง การจัดการข้อมูลกับเวลาจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องการ ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าก็ต้องการรู้ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ ณ เวลาจริงaaaaaการประมวลผลข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลด้วยเวลาจริงเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นระบบ ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีผู้เก็บรวบรวม ตรวจสอบ หรือดำเนินการให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานใดขาดข้อมูลเพื่อการตัดสินปัญหา ก็แสดงว่าระบบการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงานนั้นยังไม่เป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลต้องเกี่ยวข้องกับระบบและผู้คน เพื่อให้ได้ข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสับเปลี่ยนถึงกันได้ (Electronic Data Interchange : EDI)aaaaaการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อตัวข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้รับรู้และแลกเปลี่ยนกันได้ มาตรฐานของข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติaaaaaข้อมูลที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขันจะได้รับการรายงานผลผ่านอุปกรณ์สื่อสารหลายอย่าง เช่น โทรสาร วิทยุสมัครเล่น โทรทัศน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นจะเกิดขึ้นตามเวลาจริง และรายงานมายังศูนย์ข้อมูลเพื่อทำการสอบทานข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลในระบบทันทีaaaaaข้อมูลในฐานข้อมูลจึงถูกปรับปรงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียกดูข้อมูลจะได้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ การเรียกดูข้อมูลทุกขณะจะมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามความจริงที่เกิดขึ้นaaaaaการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ระบบเชื่อมตรงนี้ สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกทิศทุกทาง โดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์และโมเด็ม ต่อผ่านสายโทรศัพท์มาที่ศูนย์ข้อมูลกลาง ดังนั้นผู้สื่อข่าวอยากรายงานผลผ่านสื่อของตนเอง ก็สามารถเรียกเข้ามาได้ตลอดเวลา ในการรายงานผลในปัจจุบันจึงมีสื่อสารมวลชนหลายแขนงติดต่อแบบเชื่อมตรงเข้ามา เช่น สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง หนังสือพิมพ์บางฉบับ จส.100<br />aaaaaเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูลไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไปแล้ว การใช้ข้อมูลมีบทบาทที่จะต้องดำเนินการแข่งกับเวลา ข้อมูลที่นักข่าวแสวงหา คือ ความจริงที่ต้องรีบนำมารายงาน แต่หากข่าวใดล้าสมัยแล้วอาจไม่มีความสำคัญที่จะต้องรายงานอีกต่อไป ระบบข้อมูลและการแลกเปลี่ยนผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ จึงได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับaaaaaบทบาทของการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสังคมโลก จึงเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ได้ ความสนใจในเรื่องข้อมูและจัดระบบเพื่อให้บุคลากรทุกระดับเข้าใจและประสานการทำงานร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเร่งดำเนินการ องค์กรของรัฐสามารถที่จะใช้ข้อมูล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนได้มาก การแก้ปัญหาทุกอย่างของรัฐบาลจะต้องได้รับข้อมูล ที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจaaaaaองค์กรของรัฐจะต้องเร่งพัฒนาในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มากขึ้น เน้นการดำเนินการเป็นระบบ กระทรวงเกษตร ฯ ต้องมีข้อมูลการผลิตพืชทางการเกษตรอย่างพร้อมมูล กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ต้องมีข้อมูลการตลาด กระทรวงศึกษาและทบวงมหาวิทยาลัยต้องมีข้อมูลแผนกำลังคน จะเห็นว่าข้อมูลคือกลไกพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaคำถามคงอยู่ในใจของคนทั่วไปว่าระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันดีแล้วหรือ ผู้ใช้เอทีเอ็มเบิกถอนเงินโดยไม่ต้องมีลายเซ็น มีความเชื่อถือได้เพียงไร การใช้บัตรเครดิตที่อยู่ห่างไกล หรือแม้แต่ฐานข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฐานข้อมูลคะแนนในมหาวิทยาลัยมีความมั่นคงของข้อมูลเพียงใด ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางมาตรการและออกแบบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยกันอย่างดีaaaaaความจำเป็นที่จะต้องดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการทำงานและเรื่องกฎหมายเพราะข้อมูลที่เก็บอาจเป็นเรื่องความลับเฉพาะตัวหรือความลับทางการค้า ปัจจุบันจึงเริ่มมีอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น การแอบใช้ข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ตลอดจนการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์ วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีการพัฒนาเทคนิคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับaaaaaวิธีแรกที่ระบบต้องมี คือ การตรวจสอบข้อมูลที่ติดต่อเข้ามาในระบบ ในระบบสื่อสารทั่วไปมีการส่งข้อมูลเป็นกลุ่ม (package) คือ นำข้อมูลกลุ่มหนึ่งมารวมกันมีการกำหนดรหัสพิเศษของการรับส่งข้อมูล การตรวจทานข้อมูล เช่น ข้อมูลทั้งกลุ่มส่งไปจะปิดท้ายด้วยรหัสตรวจสอบขอมูลในรูปที่คำนวณได้ เช่น ตรวจสอบผลบวกของรหัสข้อมูลทั้งหมด ตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวนที่เรียกว่า ซีอาร์ซี (Cyclic Redundancy Check : CRC) เพื่อความแน่ใจว่า ข้อมูลกลุ่มนั้นมาถึงผู้รับโดยไม่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงไป หากพบข้อมูลผิดพลาดก็มีการทวงถามใหม่ได้aaaaaการตรวจสอบรหัสบุคคลเป็นวิธีหนึ่งที่ระบบต้องมี ดังจะเห็นได้จากการกำหนดรหัสผ่าน เช่น บัตรเอทีเอ็มทุกใบจะมีรหัสแถบแม่เหล็กและรหัสที่ให้ไว้กับเจ้าของ เมื่อผู้ใช้งานต้องติดต่อเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์จะตรวจสอบรหัสทั้งสองนี้ว่าตรงกับที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าตรงก็จะดำเนินการต่อไป การกำหนดรหัสผ่านนี้ถือว่าเป็นรหัสเฉพาะตัวที่เจ้าของจะต้องรับผิดชอบเอง เพราะแม้แต่เจ้าหน้าที่ของธนาคารก็ไม่รู้ว่ารหัสเอทีเอ็มของแต่ละคนเป็นรหัสอะไร ระบบจะเป็นผู้สร้างให้ และเป็นความลับ ซึ่งพิมพ์ออกมาพร้อมผนึกซองโดยเครื่องไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดรู้aaaaaในระบบใด ๆ จะมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกัน เช่น ในระบบฐานข้อมูลแห่งหนึ่ง มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลไว้ 5 ระดับ ระดับแรกเป็นของผู้ใช้ซึ่งจะดูแลหรือปรับปรุงข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องของตนเองเท่านั้น ในระดบที่สูงขึ้นไปจะมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันตามที่กำหนด ระดับสูงสุดอาจเข้าถึงข้อมูลได้หมด ผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุดจึงเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลทั้งหมดaaaaaนอกจากการใช้ระบบตรวจสอบผู้ใช้และการตรวจสอบรหัสผ่านแล้ว ระบบในการตรวจสอบข้อมูลอย่างอัตโนมัติในบางเรื่องต้องทำด้วย ระบบนี้เรียกว่าระบบตรวจสอบ ทั้งนี้เพราะอาจมีผู้ทุจริตเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านทางรหัสผ่าน เช่น ผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี อาจเข้าถึงตัวข้อมูลโดยตรงได้ และแก้ไขข้อมูลในจานแม่เหล็กที่เก็บข้อมูลสำคัญ ระบบตรวจสอบนี้จึงเป็นตัวป้องกัน เช่น ในเรื่องบัญชีต้องมีการยืนยันยอดหรือสร้างสมดุลในหลายส่วนที่ตรวจสอบยืนยันกันได้ ระบบตรวจสอบอาจมีกลไกง่าย ๆ เช่น นำตัวเลขในบัญชีมาคำนวณตามสูตร ได้ผลลัพธ์เก็บซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เป็นความลับ ถ้ามีใครแก้ไขตัวเลขในบัญชีก็สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องจากการคำนวณค่าตัวเลขเปรียบเทียบกับของเดิมaaaaaเมื่อข้อมูลที่วิ่งไปมาตามช่องสื่อสารหรือนำมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โอกาสของการถูกดักฟัง หรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในช่องสื่อสารจึงเป็นไปได้ง่าย ระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็ก ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้จากหลายคน หลายแห่ง ก็มีโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะเข้าสู่ระบบโดยตรงได้ ถึงแม้ระบบจะมีวิธีการป้องกันที่ดีแล้ว ผู้รู้เรื่องทางเทคโนโลยีระดับสูงก็อาจหาวิธีเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้น่จึงมีการแปลงรหัสข้อมูล เป็นรหัสที่ผู้อื่นไม่ทราบ ถ้าการแปลงรหัสไม่ตรงกัน ทำให้รู้ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกิดขึ้นแล้ว ระบบอาจตรวจสอบได้ แม้กระทั่งว่าข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจากที่ใดaaaaaระบบการตรวจสอบข้อมูลมีเทคนิคพิเศษหลายประการ เช่น ข้อมูลทั้งหมดจะมีการประมวลผลทุกทรั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการเก็บประวัติการเปลี่ยนแปลง โดยเก็บทั้งผู้เปลี่ยนแปลงและตัวข้อมูล ตำแหน่งข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านี้จะมีระบบตรวจสอบ การดักฟังข้อมูลอาจทำได้ แต่ข้อมูลที่ได้ไปจะไม่มีความหมายใด เพราะแปลข้อมูลไม่ได้ ข้อมูลที่ส่งจากตู้เอทีเอ็มผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์เข้าสู่คอมพิวเตอร์กลางมีการแปลงรหัสข้อมูล การถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ปลายทางจะรู้เท่านั้น สูตรการแปลงรหัสข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ผู้ดังฟังหรือผู้ที่พยายามจะอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยตรงจึงไม่สามารถแปลข้อมูลได้ การแก้ไขข้อมูลจึงทำได้ยากขึ้นaaaaaการใช้งานข้อมูลในยุคนี้ จึงต้องต่อสู้กับวิธีการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะนำมาใช้ อาชญากรรมทางด้านข้อมูลหรือการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งในยุคต่อไปจะมีมากขึ้น ข้อมูลที่ส่งไปมาผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมสาธารณะที่หลายคนนึกว่าปลอดภัย แต่ความเป็นจริงแล้วโอกาสของการดักฟังมีได้เสมอ ผู้ที่ใช้วิทยุโทรศัพท์มือถือพูดกันนั้น คลื่นของท่านแพร่กระจายเป็นคลื่นวิทยะ สามารถดักฟังได้โดยง่าย ผู้ที่ใช้เครือข่ายทางสายก็มีผู้แอบอัดเทปและนำมาเปิดเผยให้เห็นกันแล้ว ข้อมูลในระบบจึงต้องพัฒนาใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่างพร้อมกันเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล<br /> <br />ย้อนกลับ <br />
Technology8
Technology8
Technology8
Technology8
Technology8
Technology8
Technology8
Technology8
Technology8

Mais conteúdo relacionado

Destaque

8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP
8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP
8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIPPasseVIP
 
8°bcsl cuestion social
8°bcsl cuestion social8°bcsl cuestion social
8°bcsl cuestion socialXimena Prado
 
幻想統一8期にむけて
幻想統一8期にむけて幻想統一8期にむけて
幻想統一8期にむけてhanliubang
 
8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)
8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)
8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)Jose Radin Garduque
 
Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)
Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)
Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)Vladimir Tcherniak
 
8 contoh kartu nama dokter
8 contoh kartu nama dokter8 contoh kartu nama dokter
8 contoh kartu nama dokterbadar masbadar
 
8846 ict map front hr
8846 ict map front hr8846 ict map front hr
8846 ict map front hrRichard Male
 
8. cyberbullyng por arturo XD
8. cyberbullyng por arturo XD8. cyberbullyng por arturo XD
8. cyberbullyng por arturo XDSlendeartu XD
 
Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)
Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)
Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)Copywriter Collective
 

Destaque (14)

8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP
8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP
8 dicas de como contratar equipes de seguranças para seus eventos - PasseVIP
 
8°bcsl cuestion social
8°bcsl cuestion social8°bcsl cuestion social
8°bcsl cuestion social
 
幻想統一8期にむけて
幻想統一8期にむけて幻想統一8期にむけて
幻想統一8期にむけて
 
89 _
89  _89  _
89 _
 
8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)
8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)
8 Colorful Ideas for My Country (Filipinization)
 
Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)
Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)
Лекция 8. Алгоритмы (продолжение)
 
8 contoh kartu nama dokter
8 contoh kartu nama dokter8 contoh kartu nama dokter
8 contoh kartu nama dokter
 
8846 ict map front hr
8846 ict map front hr8846 ict map front hr
8846 ict map front hr
 
8b dun
8b dun8b dun
8b dun
 
8. cyberbullyng por arturo XD
8. cyberbullyng por arturo XD8. cyberbullyng por arturo XD
8. cyberbullyng por arturo XD
 
8. cyberbullyng (3)
8. cyberbullyng (3)8. cyberbullyng (3)
8. cyberbullyng (3)
 
886010 82 reinigung_2011_rus_lr
886010 82 reinigung_2011_rus_lr886010 82 reinigung_2011_rus_lr
886010 82 reinigung_2011_rus_lr
 
8 c 2
8 c 28 c 2
8 c 2
 
Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)
Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)
Copywriting do’s and don’ts (pt ii – the don’ts)
 

Semelhante a Technology8

บทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบัน
บทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบันบทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบัน
บทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบันkkampanat
 
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่noppavit31
 
01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต
01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต
01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ตSmo Tara
 
1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันSumet Ratprachum
 
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ วีรวัฒน์ สว่างแสง
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChalita Vitamilkz
 
Introduction to On-line Documemt Lec02
Introduction to On-line Documemt  Lec02Introduction to On-line Documemt  Lec02
Introduction to On-line Documemt Lec02Jenchoke Tachagomain
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตStang Ct
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตVida Yosita
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตguest31bfdc
 

Semelhante a Technology8 (20)

บทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบัน
บทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบันบทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบัน
บทที่4 ธุรกิจออนไลน์มีผลดีอย่างไรในปัจจุบัน
 
E commerce
E  commerceE  commerce
E commerce
 
Internet
InternetInternet
Internet
 
Internet
InternetInternet
Internet
 
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
 
01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต
01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต
01 ใบความรู้ที่1.1-เน็ต
 
E-Commerce
E-CommerceE-Commerce
E-Commerce
 
1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
1กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
 
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
Chapter3 E Commerce
Chapter3 E CommerceChapter3 E Commerce
Chapter3 E Commerce
 
Computer for CIO
Computer for CIOComputer for CIO
Computer for CIO
 
Introduction to On-line Documemt Lec02
Introduction to On-line Documemt  Lec02Introduction to On-line Documemt  Lec02
Introduction to On-line Documemt Lec02
 
Part1
Part1Part1
Part1
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
 
work3 35
work3 35work3 35
work3 35
 
Lernning 05
Lernning 05Lernning 05
Lernning 05
 

Mais de vizaa

Technology2
Technology2Technology2
Technology2vizaa
 
Technology5
Technology5Technology5
Technology5vizaa
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8vizaa
 
Technology7
Technology7Technology7
Technology7vizaa
 
Technology6
Technology6Technology6
Technology6vizaa
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2vizaa
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5vizaa
 
Technology1
Technology1Technology1
Technology1vizaa
 

Mais de vizaa (8)

Technology2
Technology2Technology2
Technology2
 
Technology5
Technology5Technology5
Technology5
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
 
Technology7
Technology7Technology7
Technology7
 
Technology6
Technology6Technology6
Technology6
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
 
Technology1
Technology1Technology1
Technology1
 

Technology8

  • 1. 8.1 พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร8.2 สำนักงานอัตโนมัติ8.3 การสื่อสารด้วยแสง8.4 การสื่อสารผ่านดาวเทียม8.5 โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล8.6 อินเทอร์เน็ต8.7 การแลกเปลี่ยนข้อมูล8.8 ความปลอดภัยของข้อมูล<br />aaaaaภายในสำนักงานของบริษัทหรือองค์การใด ๆ จะพบว่าเจ้าหน้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการติดต่อสื่อสาร เช่น พนักงานขายสินค้าทำงานอยู่กับการติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประชุมปรึกษางานการเจรจาธุรกิจทางโทรศัพท์ การโต้ตอบจดหมาย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องการระบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงจุดและทันสมัยเพื่อจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จaaaaaเมื่อพิจารณาระบบงานภายในสำนักงาน ข้อมูลที่หมุนเวียนไปมาจะอยู่ในรูปแบบหลายอย่าง เช่น การบันทึกย่อ จดหมาย การพูดคุยทางโทรศัพท์ การพบปะประชุมร่วมกันและการเผยแพร่เอกสารไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งผู้ทำงานในสำนักงานสามารถเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับบุคคลหรือหน่วยงานaaaaaวิธีการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้หลายทาง ขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ เช่น การเลือกรูปแบบการติดต่อ และการเลือกช่องหรือตัวกลางการติดต่อ ซึ่งอาจใช้เลขานุการ ใช้พนักงานส่งจดหมายหรือใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์<br />รูปที่ 8.1 โทรศัพท์ อุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสาร<br />aaaaaเนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ออกมาตลอดเวลา ผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้ดีมีดังนี้ aaaaa1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ ระบบสื่อสารนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือใช้งานน้อยถ้ามีกลุ่มผู้ใช้งานน้อย เพราะจะทำให้การกระจายข้อมูลทำได้ไม่กว้างขวางaaaaa2. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานของสำนักงาน ระบบสื่อสารนั้นควรมีรูปแบบเหมือนหรือเข้ากันได้กับงานที่ดำเนินการอยู่ หากต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อเข้ากับระบบสื่อสาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากระบบสื่อสารไม่สามารถใช้กับงานเดิมได้ จะทำให้เกิดความไม่สะดวก ปราศจากความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ในการติดต่อสื่อสารaaaaa3. ความสมเหตุสมผลทางราคา ระบบสื่อสารต่าง ๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยเสมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถลงทุนได้และต้องคุ้มค่ากับราคาaaaaaปัจจัยทั้งสามเป็นข้อพิจารณาในการเลือกใช้ระบบสื่อสาร เพื่อทำให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยระบบสื่อสารก็จะทำให้ระบบงานลดความซับซ้อนลงได้ ระบบการสื่อสารที่น่าสนใจจะเป็นการส่งข้อมูลหรือข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์aaaaaระบบสื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานส่วนใหญ่ คือการส่งจดหมาย การโทรศัพท์ การส่งโทรเลข การส่งเทเล็กซ์ ระบบสื่อสารที่นิยมกันมากคือ การส่งโทรสารและโทรศัพท์aaaaaโทรศัพท์ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2413 ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ถ่ายภาพ และหลอดไฟ ในระยะเริ่มแรกโทรศัพท์ไม่ค่อยได้รับความนิยมมาก อัตราการขยายการใช้งานค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่เกิดใกล้เคียงกันดังกล่าว สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากเครือข่ายของโทรศัพท์ยังครอบคลุมในบริเวณเล็ก ๆ ซึ่งตามปกติสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยจดหมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงaaaaaปัจจุบันเครือข่ายของโทรศัพท์ได้มีการแพร่หลายครอบคลุมในบริเวณกว้าง และเป็นที่ยอมรับสำหรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั่วโลก ในทุกประเทศ ธุรกิจและกิจการหลายอย่างมีการดำเนินงานโดยพึ่งพาโทรศัพท์ โทรศัพท์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเทคโนโลยีของโทรศัพท์ได้รับการพัฒนามาหลายขั้นตอนทั้งในด้านตัวเครื่อง ตู้ชุมสาย และระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายaaaaaการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย รวดเร็วจนจำนวนคู่สายไม่พอเพียงต่อความต้องการจึงมีการขยายอยู่เรื่อยมา และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ออกมาตัวอย่างเช่น พัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนการใช้คู่สายแบบเส้นใยนำแสง การติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์ยังจำเป็นและจะคงอยู่ภายในสำนักงานไปอีกนานaaaaaบริการโทรเลขและเทเล็กซ์เป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่งที่มีมานานพอสมควร สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบตัวอักษรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการสื่อสารข่าวสารทางอื่นที่ทันสมัยกว่า แต่การส่งโทรเลขและเทเล็กซ์ก็ยังมีใช้อยู่ทั่วไป เช่น ในงานส่งข่าวหนังสื่อพิมพ์ การค้าระหว่างประเทศ การกำหนดราคาสินค้า การสั่งสินค้าและการประกวดราคาสินค้า เป็นต้นaaaaaในขณะเดียวกันวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากระดับเมนเฟรมซึ่งมีขนาดใหญ่มาเป็นเครื่องขนาดเล็กระดับตั้งโต๊ะที่มีขีดควาามสามารถเท่าเทียมเครื่องขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของบริษัทสามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานเอกสารและการบริหารทั่วไปได้ เทคโนโลยีของระบบติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าามาร่วมด้วย<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaสำนักงานอัตโนมัติ (automated office) คืออะไร เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารอย่างไร ทำไมจึงต้องให้ความสนใจกับสำนักงานอัตโนมัติ สำนักงานนี้จะไม่ใช้กระดาษเลยเป็นจริงได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้มักจะได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอaaaaaในสำนักงานแห่งหนึ่ง ผู้จัดการฝ่ายขายต้องการรู้ข้อมูลการขายสินค้าแต่ละชนิดว่ามีแนวโน้มอย่างไรเพื่อวางแผนการขาย แผนกขายจะมีรายละเอียดความต้องการสินค้าของลูกค้า ยุทธวิธีการขาย และให้ข้อมูลการขายนี้แก่ฝ่ายการผลิตเพื่อเตรียมการผลิตสินค้า พร้อมทั้งส่งต่อให้พนักงานขายแต่ละคนเพื่อศึกษา จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ผู้จัดการฝ่ายเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ซึ่งถ้ามีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลและสื่อสารข้อมูลก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ทำให้สำนักงานเปลี่ยนเป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น และเมื่อมีการนำคอมพิวเตร์มาใช้ในแผนกและหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการต่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ ในการดำเนินงานของแผนกและหน่วยงานขององค์การจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นในการดำเนินงานขององค์การ aaaaaอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานเป็นอย่างไรบ้าง การเริ่มต้นอาจมองไปที่ระบบโทรศัพท์ซึ่งบางสำนักงานมีตู้ชุมสายขนาดเล็กต่อเชื่อมโยงกับข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ การติดต่อสื่อสารทำได้ตั้งแต่เสียงพูด ภาพ โดยการใช้เครื่องโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านโมเด็มaaaaaเมื่อพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์งานเอกสารโดยใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำเสร็จ มีการเก็บข้อมูลไว้ในแผ่นบันทึกเพื่อนำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จากนั้นส่งแฟ้มข้อมูลให้ผู้จัดการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน ผู้จัดการตรวจเอกสารแล้วส่งไปยังลูกค้าผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตซึ่งเชื่อมโยงต่อถึงกันโดยใช้ระบบเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์<br />รูปที่ 8.2 ตัวอย่างภาพแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์<br />aaaaaความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีผลักดันให้ระบบการทำงานบางอย่างผันแปรไป ลองพิจารณาตัวอย่าง การซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องแข่งขันกับเวลา เช่น เวลา 11.00 น. ทำการต่อเชื่อมโยงไมโครคอมพิวเตอร์เข้ากับศูนย์คอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อคัดลอกข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น โลตัส 123 เวลา 11.20 น. ทำการโอนย้ายข้อมูลเข้าสู่โปรแกรมแสดงผลเป็นกราฟและรายงานผลออกเป็นรูปกราฟที่สวยงาม เวลา 11.30 น. ทำการติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์จากตัวแทนขายหลักทรัพย์ จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากaaaaaภายในสำนักงานจึงเริ่มมีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่อาจไม่เหมาะกับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ทันการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายแลนทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบสามารถโอนย้าย คัดลอกข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายภายในที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ด้วยอัตราที่เร็วกว่าการใช้โทรศัพท์ และมีข้อดี คือ การเชื่อมโยงระหว่างจุดต่าง ๆ อาจทำได้พร้อมกัน เช่น พนักงานขายหลายคนสามารถเรียกดูข้อมูลราคาสินค้าจากศูนย์ข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลกลางในเวลาเดียวกันได้aaaaaระบบเครือข่ายแลนและชุมสายโทรศัพท์จึงเป็นตัวอย่างการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในสำนักงานซึ่งทำให้ข้อมูล ณ จุดต่าง ๆ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ ระบบเครือข่ายที่ดีจะต้องสามารถเชื่อมโยงระหว่างระบบได้ เสมือนโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่นี้ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้ทั้งหมด เราสามารถส่งโทรสารที่ใช้มาตรฐานเดียวกันไปยังเครื่องโทรสารเครื่องอื่นที่อยู่ปลายทางได้ทั้งโลกเช่นกัน<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaด้วยความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดค้นทำให้มีอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยนำแสง ทำให้แสงเดินทางในท่อที่คดเคี้ยว และเมื่อทำเป็นเส้นจึงดูคล้ายสายไฟที่แสงเดินลอดผ่านจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งได้ การปฏิบัติการส่งสัญญาณข้อมูลจึงเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้ไฟฟ้ามาเป็นแสง aaaaaการที่แสงเดินทางผ่านไปในท่อได้อาศัยหลักการสะท้อนกลับหมด กล่าวคือเมื่อแสงเดินทางจากปลายข้างหนึ่งจะสะท้อนบริเวณขอบกลับหมดไปชนกับขอบอีกด้านหนึ่งสลับไปมาการกระทำนี้จะทำให้ทางไปในท่อที่คดเคี้ยวได้aaaaaเส้นใยนำแสงประกอบด้วยส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยว และส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น<br />รูปที่ 8.3 การเดินทางของแสงภายในเส้นใยนำแสง<br />aaaaaในการใช้งานจะต้องมีตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งแสงที่นิยมใช้กันได้แก่ ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode :LED) ส่วนรับสัญญาณที่นิยมใช้ได้แก่ โฟโตไดโอด (photo diode) การแปลงข้อมูลจะใช้วิธีแบบความถี่aaaaaข้อเด่นของการสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยนำแสงมีมากมาย แสงที่ใช้สื่อสารจะมีแกนกว้างทำให้ทางความถี่มาก ความถี่สัญญาณอยู่ในช่วง 1-10 จิกะเฮิรทซ์ จึงทำให้แบ่งช่องสัญญาณข้อมูลหรือเสียงได้มาก เส้นใยนำแสงหนึ่งเส้นอาจมใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สาย มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล มีการสูญเสียต่ำปราศจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี การสื่อสารจะบริสุทธิ์ไม่ส่งสัญญาณรบกวนสิ่งรอบข้างaaaaaนอกจากนี้ยังสามารถวางเส้นใยนำเป็นสายเคเบิลควบคู่ไปกับสายไฟฟ้าแรงสูงโดยที่สนามแม่เหล็กของไฟฟ้าแรงสูงไม่สามารถรบกวนได้เลย สามารถวางเส้นใยนำแสงใต้ดิน ในอุโมงค์ ใต้ท้องทะเล ลอดใต้แม่น้ำ การประยุกต์จึงกว้างขว้าง เช่น ใช้งานด้านเคเบิลทีวี ใช้งานการสื่อสารควบคุมการจราจรของรถไฟ รถยนต์ ใช้ควบคุมในงานอุตสาหกรรม ใช้เชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ การใช้เส้นใยนำแสงยังเหมาะกับการสื่อสารในบริเวณที่เกิดอันตรายได้ง่าย เช่น ใช้เชื้อเพลิงเพราะไม่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้าaaaaaจากการที่เส้นใยนำแสงมีข้อดีมากมาย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการวางสายเส้นใยนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์แทนไมโครเวฟ องค์การระหว่างประเทศทางด้านการสื่อสารได้ดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเป็นเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศ การใช้งานสายนำสัญญาณด้วยเส้นใยนำแสงจะต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดิน ส่งตรงขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียมจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมากaaaaaประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา<br />รูปที่ 8.4 จานรับสัญญาณดาวเทียม<br />aaaaaจานรับสัญญาณดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นดินมีขนาดใหญ่มาก เช่น จานรับสัญญาณดาวเทียมอิเทลแซด ที่ศรีราชามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 97 ฟุต สามารถสื่อสารข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียaaaaaใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟaaaaaดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งผิดจากดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลก โดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ 9-11 วันaaaaaดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วัน พอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้องเหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร<br />รูปที่ 8.5 ตัวอย่างการวางตำแหน่งดาวเทียมเพื่อส่งสัญญาณครอบคลุมทั่วโลก<br />aaaaaบริษัทชั้นนำในด้านการข่าว เช่น ซีเอ็นเอ็น จะมีดาวเทียมของตนเองทำให้สามารถส่งข่าวสารหรือรับข่าวสารได้ตลอดเวลาจากทั่วโลก ผู้รับสัญญาณโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น ต้องมีจานรับสัญญาณจึงจะรับได้ และต้องปรับทิศให้ตรงกับตำแหน่งดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมแพร่สัญญาณได้ทุกพื้นที่ในโลกจะต้องมีดาวเทียมหลายดวงรอบโลก สัญญาณจะครอบคลุมทั่วโลกได้ต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อยสามดวงaaaaaในช่วงปลาย พ.ศ. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นaaaaaดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่ 4 , 10 และ 12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศสaaaaaข้อได้เปรียบของดาวเทียมไทยคมคือ อยู่ตรงประเทศไทยทำให้จานรับสัญญาณมีขนาดเล็กลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 50 เซนติเมตร ดาวเทียมไทยคมครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย และเพื่อนบ้านไว้ ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ 15 ปีaaaaaการสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือมีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดินaaaaaดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร<br />รูปที่ 8.6 การสื่อสารผ่านดาวเทียม<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Services Digital Network : ISDN) เป็นระบบการสื่อสารมาตรฐานที่กำลังจะถูกนำเข้ามาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมต่อไป และจะเป็นระบบที่เข้าไปแทนที่ระบบโทรศัพท์เดิม ซึ่งขณะนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการ และมีการทดลองใช้บ้างแล้วaaaaaเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลได้ดีขึ้น ให้พิจารณาระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นระบบสลับสายด้วยสัญญาณแอนะล็อก กล่าวคือสัญญาณเสียงพูดที่ปลายทางจะได้รับการสลับสายไปยังอีกด้านหนึ่งด้วยวงจรสลับสายแบบกลไก สัญญาณเสียงจะส่งผ่านเสมือนการต่อเส้นลวดทองแดงจากต้นทางไปยังปลายทางได้aaaaaต่อมามีการสลับสายด้วยหลักการทางดิจิทัล เช่น ชุมสายเอสพีซีของค์การโทรศัพท์ในปัจจุบัน สัญญาณเสียงที่ต้นทางจะผ่านไปตามมสายในลักษณะเป็นสัญญาณแอนะล็อก ไปตามเส้นลวดทองแดงไปถึงชุมสายจะเปลี่ยนสัญญาณแอนะล็อกนี้ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล แล้วสลับสัญญาณดิจิทอลเข้าไปในช่องเวลาของอีกวงจรหนึ่งอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการสลับสายด้วยหลักการดิจิทัลไปมาระหว่างวงจร ดังนั้นวงจรคู่สายจึงไม่ได้ต่อกันในลักษณะตัวนำทองแดง แต่ใช่วิธีการของสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง อย่างไรก็ดีช่วงระหว่างเครื่องผู้ใช้ถึงชุมสายก็ยังเป็นสัญญาณแอนะล็อกแต่จะได้รับการเปลี่ยนสัญญาณให้เป็นสัญญาณดิจิทัลที่ชุมสายaaaaaเมื่อความต้องการใช่เครื่องงานเครือข่ายชุมสายโทรศัพท์มีสูงขึ้น การประยุกต์กว้างขวางมากยิ่งขึ้น มีการนำเอาโทรสารมาใช้ มีการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าช่องสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อใช้ในกิจการค้ามากขึ้น เช่น ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระบบโทรศัพท์จึงต้องมีการพัฒนาตามไปด้วยaaaaaเทคโนโลยีทางด้านการรับส่งสัญญาณดิจิทัลได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นลำดับจนสามารถกำหนดให้สายจากต้นทางส่งสัญญาณเข้าชุมสายโทรศัพท์ที่เป็นแบบดิจิทัลได้การผสมสัญญาณทางดิจิทัลจึงทำได้ง่าย การใช้งานหลาย ๆ อย่างไปบนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันจึงมีทางเป็นไปได้ เช่น บริการเครือข่ายข้อมูลซึ่งเป็นการส่งข้อมูลไปบนสายโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ได้aaaaaเมื่อเป็นเช่นนี้มาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเกิดขึ้น มาตรฐานนี้ได้แบ่งแถบกว้างในการใช้สายโทรศัพท์ออกเป็นแถบย่อยซึ่งมีแถบการส่งพื้นฐานที่เรียกว่าช่อง B อยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีความเร็วการส่งข้อมูลขนาด 64 กิโลบิต และแถบการส่งสัญญาณข้อมูลอีกช่องหนึ่งเรียกว่าช่อง D ระบบมาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลขนาดนี้จึงเป็น 2B+Dโดยช่อง D มีความเร็ว 16 กิโลบิต เมื่อรวมความสามารถของสายโทรศัพท์จะทำให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ 144 กิโลบิตaaaaaการที่ใช้มาตรฐาน 2B+Dนี้ทำให้สายโทรศัพท์ที่ใช้งานทำการรับข้อมูลหรือเสียงได้พร้อมกันความจริงแล้วถ้าต่อใช้งานในระบบแอนะล็อกสายโทรศัพท์เส้นหนึ่งจะใช้บริการได้เพียงอย่างเดียวแต่ถ้าเป็นระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะทำให้สามารถใช้สัญญาณได้พร้อมกันมากกว่าสองช่องสัญญาณเสียง และสามารถใช้ร่วมกับสัญญาณข้อมูลอื่นพร้อมกันaaaaaการประยุกต์ใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลนี้จึงเป็นเรื่องที่รวมการบริการหลายอย่างเข้าในเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น การประชุมทางโทรศัพท์ การรับส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ที่มีภาพประกอบ หรือเห็นภาพผู้รับปลายทางอย่างชัดเจน การใช้ร่วมระหว่าง โทรศัพท์กับข้อมูล เช่น เมื่อมีลูกค้าเรียกเข้ามาจะเรียกเข้ามาจะทราบหมายเลขต้นทางที่เรียกเข้ามา ระบบคอมพิวเตอร์จะค้นหาข้อมูลและปรากฎข้อมูลบนจอภาพเกี่ยวกับลูกค้าคนนั้นได้ทันทีaaaaaการให้บริการโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลทำให้ระบบการส่งโทรสารรวดเร็วขึ้นจากเดิม เพราะใช้มาตรฐานที่เรียกว่า จี3 (G3) โทรสารส่งได้รวดเร็วสุดที่ความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที หรือหนึ่งหน้ากระดาษขนาด A4 จะใช้เวลาประมาณ 17 วินาที แต่ถ้าใช้มาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะส่งได้ด้วยความเร็ว 64 กิโลบิต หรือหนึ่งหน้ากระดาษขนาด A4 จะใช้เวลาเพียง 3 วินาทีaaaaaระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลเป็นมาตรฐานที่นำทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นการรวมกันระหว่างเสียงพูดแต่เดิมเป็นแอนะล็อกกับระบบข้อมูลที่เป็นดิจิทัลได้อย่างประสมประสานเป็นเนื้อเดียวกันaaaaaอย่างไรก็ดีโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล 2B+D นี้ สร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้กับข่ายสายโทรศัพท์ที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องวางสายกันใหม่aaaaaในอนาคตโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะมีการนำเส้นใยนำแสงเข้ามาทดแทนเครือข่ายสายทองแดง ซึ่งเมื่อเวลานั้นสายที่ต่อไปยังบ้านจะเป็นเส้นใยนำแสงหมด การสื่อสารทางสายนี้จะร่วมได้แม้กระทั่งส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสายไปยังบ้านให้ผู้ชมในบ้านได้รับดูรายการโทรทัศน์ทางสาย<br /> <br />ย้อนกลับ <br />aaaaaเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา aaaaaเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องนนทรีใช้รหัสหมายเลข 158.108.2071 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีเรียกขานและเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น nontri.ku.ac.th<br />8.6.1 ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตaaaaaอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลกด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีมากมาย เช่นaaaaa1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้อย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าส่งทางไปรษณีย์ปกติaaaaa2) การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้aaaaa3) การค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลาย ๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดค่าเอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาติให้สำเนา มีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนใจเฉพาะด้านกันมาก เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บไว้เผยแพร่ระหว่างกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแล่งใหญ่มากaaaaa4) กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการจัดตั้งกระดานข่าวมากกว่า 2000 กลุ่ม ทุก ๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านกระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป กลุ่มผู้สนใจจักรยานaaaaa5) เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมแบบเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกมเอ็มยูดี ( Multi User Dungeon: MUD) เกมที่ผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาโต้ตอบกันในระยะห่างไกล<br />8.6.2 อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยaaaaaเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับอินเตอร์เน็ตคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกต่อมา 1 ปี ศูยน์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายไทยสารซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตaaaaaในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมโยงเข้าสู่ต่างประเทศสองทางคือ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ<br />8.6.3 ทรัพยากรอินเตอร์เน็ตaaaaaจากการเชื่อมโยงให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์เข้ามายังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและใช้งานได้ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทในการเป็นสถานีปลายทางโดยผู้ใช้ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ หากต่อเชื่อมกับเครือข่ายแล้วก็สะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที และสามารถใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ สะดวก เช่น ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ในการเรียกค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้ทรัพยากร อื่น ๆ บนเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีเป็นจำนวนมากaaaaaเพื่อให้เห็นภาพของการใช้ทรัพยากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงขอเสนอลักษณะของทรัพยากรบนอินเตอร์ที่ผู้ใช้เรียกใช้ได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบaaaaa1) ระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัท เช่น Apple; Thinking Maehine; Dow Jone และKPMG Peat Marwich ได้ร่วมพัฒนาระบบบริการสารสนเทศ บริเวณกว้าง Wide Area Information Servece: WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเตอร์เน็ตaaaaaลักษณะของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูลaaaaaเนื่องจากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หากให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่าง ๆ จะไม่สะดวก การดำเนินการของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างจึงเป็น ทำให้ผู้ใช้มองเห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว โดยระบบนี้จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการตามฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้โดยอัตโนมัติaaaaaการใช้งานระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่สะดวก ปัจจุบันมีให้เรียกค้นหาหลายที่ เช่น บนเครื่อง think.com นอกจากนี้ยังมีการให้บริการค้นด้วยระบบตัวเชื่อมประสานหลายแบบตามลักษณะของผู้ขอบริการ<br />รูปที่ 8.7 สถาปัตยกรรมของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง<br />aaaaa2) ระบบอาร์ซี ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้เรียกค้นไม่ถูกว่ามีข้อมูลอยู่ที่เครื่องใดบ้าง ระบบอาร์ซี (Archie) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยอลัน เอมเทค (Alan Emtage) และปีเตอร์ ดูทช์ (Peter Deutsch) แห่งมหาวิยาลัยแมกกิลล์ (McGill) ซึ่งเป็นระบบการเรียกค้นหาข้อมูล และดำเนินการตามขั้นตอนการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) ได้<br />รูปที่ 8.8 สถาปัตยกรรมของระบบอาร์ซี<br />aaaaaผู้ใช้อาร์ซี จะทำตัวเสมือนเป็นเครื่องผู้ใช้บริการเรียกเข้าไปยังบริการอาร์ซีเพื่อค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการว่าเก็บไว้สถานที่ใด เพราะบริการอาร์ซีได้รวบรวมชื่อแฟ้มและสถานที่เก็บแฟ้มข้อมูลรวมซึ่งอยู่กระจัดกระจาย จึงทำให้ผู้เรียกค้นได้เสมือนเป็นการเปิดสารบัญดูก่อนว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ใด จากนั้นเรียกค้นไปยังสถานที่ที่ต้องการเพื่อทำการโยกย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไปaaaaa3) ระบบโกเฟอร์ ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (Minnesota) โดยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้นตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนูทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น เรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่นตามลักษณะการเรียกค้นaaaaaหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลและคิดว่าข้อมูลของตนจะเป็นประโยชน์ สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสูระบบโกเฟอร์เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้aaaaaระบบโกเฟอร์เป็นเกณฑ์วิธีพิเศษที่สร้างขึ้นมาบน TCP/IP โกเฟอร์ที่รู้จักกันดีอยู่ที่เครื่อง micro.umn.edu เป็นเครื่องของมหาวิทยาลัยมินเนโซตา ระดับบนสุดของโกเฟอร์จะให้รายละเอียดต่าง ๆ ที่วิ่งค้นหาข้อมูงลงไปในระดับล่างได้<br />รูปที่ 8.9 สถาปัตยกรรมของโกเฟอร์<br />aaaaa4) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นการใช้หลักการของข้อความหลายมิติ (hypertext) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเซิร์น (CERN) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงสร้างของเวิลด์ไวด์เว็บ ใช้หลักการเครื่องบริการของผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปแบบข้อความหลายมิติโดยมีข้อกำหนดเกณฑ์วิธี การจัดเก็บแบบข้อความและเชื่อมโยงกันแบบข้อความหลายมิติ ปัจจุบันมีเครื่องบริการแฟ้มข้อมูลที่ทำหน้าที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บมากมาย<br />รูปที่ 8.10 บริการเวิลด์ไวด์เว็บ<br />aaaaaเท่าที่กล่าวมานี้เป็นการแนะนำให้เห็นสถาปัตยกรรมระบบหลัก ๆ ของอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั่วโลก และนับวันจะเติบโตยิ่งขึ้น จนเชื่อแน่ว่าในที่สุดอินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายที่ทุกคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และจะเป็นการเชื่อมโยงคนทั่วโลกเข้าเป็นหนึ่งเดียว ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาระบบประยุกต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกมากมาย เช่น X.500 เพื่อให้การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงการส่งภาพและสื่อประสมได้<br />aaaaaความเร็วของการสื่อสารข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนมีความเร็วมากอยู่แล้ว โดยปกติในการเคลื่อนย้ายกลุ่มอิเล็กตรอนมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เราสามารถส่งข้อมูลข้ามซีกโลกได้ในชั่วพริบตาเดียวaaaaaการทำงานหลายอย่างซึ่งต้องทราบและกระทำ ณ เวลาจริง เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ ราคาของหลักทรัพย์และรายการซื้อขายจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งด้วยเวลาจริง การเบิกถอนเงินฝากผ่านตู้เอทีเอ็มก็เป็นการปรับปรุงรายการบัญชีด้วยเวลาจริง การจัดการข้อมูลกับเวลาจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องการ ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าก็ต้องการรู้ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ ณ เวลาจริงaaaaaการประมวลผลข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลด้วยเวลาจริงเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นระบบ ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีผู้เก็บรวบรวม ตรวจสอบ หรือดำเนินการให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานใดขาดข้อมูลเพื่อการตัดสินปัญหา ก็แสดงว่าระบบการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงานนั้นยังไม่เป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลต้องเกี่ยวข้องกับระบบและผู้คน เพื่อให้ได้ข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสับเปลี่ยนถึงกันได้ (Electronic Data Interchange : EDI)aaaaaการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อตัวข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้รับรู้และแลกเปลี่ยนกันได้ มาตรฐานของข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติaaaaaข้อมูลที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขันจะได้รับการรายงานผลผ่านอุปกรณ์สื่อสารหลายอย่าง เช่น โทรสาร วิทยุสมัครเล่น โทรทัศน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นจะเกิดขึ้นตามเวลาจริง และรายงานมายังศูนย์ข้อมูลเพื่อทำการสอบทานข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลในระบบทันทีaaaaaข้อมูลในฐานข้อมูลจึงถูกปรับปรงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียกดูข้อมูลจะได้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ การเรียกดูข้อมูลทุกขณะจะมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามความจริงที่เกิดขึ้นaaaaaการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ระบบเชื่อมตรงนี้ สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกทิศทุกทาง โดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์และโมเด็ม ต่อผ่านสายโทรศัพท์มาที่ศูนย์ข้อมูลกลาง ดังนั้นผู้สื่อข่าวอยากรายงานผลผ่านสื่อของตนเอง ก็สามารถเรียกเข้ามาได้ตลอดเวลา ในการรายงานผลในปัจจุบันจึงมีสื่อสารมวลชนหลายแขนงติดต่อแบบเชื่อมตรงเข้ามา เช่น สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง หนังสือพิมพ์บางฉบับ จส.100<br />aaaaaเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูลไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไปแล้ว การใช้ข้อมูลมีบทบาทที่จะต้องดำเนินการแข่งกับเวลา ข้อมูลที่นักข่าวแสวงหา คือ ความจริงที่ต้องรีบนำมารายงาน แต่หากข่าวใดล้าสมัยแล้วอาจไม่มีความสำคัญที่จะต้องรายงานอีกต่อไป ระบบข้อมูลและการแลกเปลี่ยนผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ จึงได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับaaaaaบทบาทของการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสังคมโลก จึงเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ได้ ความสนใจในเรื่องข้อมูและจัดระบบเพื่อให้บุคลากรทุกระดับเข้าใจและประสานการทำงานร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเร่งดำเนินการ องค์กรของรัฐสามารถที่จะใช้ข้อมูล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนได้มาก การแก้ปัญหาทุกอย่างของรัฐบาลจะต้องได้รับข้อมูล ที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจaaaaaองค์กรของรัฐจะต้องเร่งพัฒนาในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มากขึ้น เน้นการดำเนินการเป็นระบบ กระทรวงเกษตร ฯ ต้องมีข้อมูลการผลิตพืชทางการเกษตรอย่างพร้อมมูล กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ต้องมีข้อมูลการตลาด กระทรวงศึกษาและทบวงมหาวิทยาลัยต้องมีข้อมูลแผนกำลังคน จะเห็นว่าข้อมูลคือกลไกพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaคำถามคงอยู่ในใจของคนทั่วไปว่าระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันดีแล้วหรือ ผู้ใช้เอทีเอ็มเบิกถอนเงินโดยไม่ต้องมีลายเซ็น มีความเชื่อถือได้เพียงไร การใช้บัตรเครดิตที่อยู่ห่างไกล หรือแม้แต่ฐานข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฐานข้อมูลคะแนนในมหาวิทยาลัยมีความมั่นคงของข้อมูลเพียงใด ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางมาตรการและออกแบบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยกันอย่างดีaaaaaความจำเป็นที่จะต้องดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการทำงานและเรื่องกฎหมายเพราะข้อมูลที่เก็บอาจเป็นเรื่องความลับเฉพาะตัวหรือความลับทางการค้า ปัจจุบันจึงเริ่มมีอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น การแอบใช้ข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ตลอดจนการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์ วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีการพัฒนาเทคนิคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับaaaaaวิธีแรกที่ระบบต้องมี คือ การตรวจสอบข้อมูลที่ติดต่อเข้ามาในระบบ ในระบบสื่อสารทั่วไปมีการส่งข้อมูลเป็นกลุ่ม (package) คือ นำข้อมูลกลุ่มหนึ่งมารวมกันมีการกำหนดรหัสพิเศษของการรับส่งข้อมูล การตรวจทานข้อมูล เช่น ข้อมูลทั้งกลุ่มส่งไปจะปิดท้ายด้วยรหัสตรวจสอบขอมูลในรูปที่คำนวณได้ เช่น ตรวจสอบผลบวกของรหัสข้อมูลทั้งหมด ตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวนที่เรียกว่า ซีอาร์ซี (Cyclic Redundancy Check : CRC) เพื่อความแน่ใจว่า ข้อมูลกลุ่มนั้นมาถึงผู้รับโดยไม่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงไป หากพบข้อมูลผิดพลาดก็มีการทวงถามใหม่ได้aaaaaการตรวจสอบรหัสบุคคลเป็นวิธีหนึ่งที่ระบบต้องมี ดังจะเห็นได้จากการกำหนดรหัสผ่าน เช่น บัตรเอทีเอ็มทุกใบจะมีรหัสแถบแม่เหล็กและรหัสที่ให้ไว้กับเจ้าของ เมื่อผู้ใช้งานต้องติดต่อเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์จะตรวจสอบรหัสทั้งสองนี้ว่าตรงกับที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าตรงก็จะดำเนินการต่อไป การกำหนดรหัสผ่านนี้ถือว่าเป็นรหัสเฉพาะตัวที่เจ้าของจะต้องรับผิดชอบเอง เพราะแม้แต่เจ้าหน้าที่ของธนาคารก็ไม่รู้ว่ารหัสเอทีเอ็มของแต่ละคนเป็นรหัสอะไร ระบบจะเป็นผู้สร้างให้ และเป็นความลับ ซึ่งพิมพ์ออกมาพร้อมผนึกซองโดยเครื่องไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดรู้aaaaaในระบบใด ๆ จะมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกัน เช่น ในระบบฐานข้อมูลแห่งหนึ่ง มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลไว้ 5 ระดับ ระดับแรกเป็นของผู้ใช้ซึ่งจะดูแลหรือปรับปรุงข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องของตนเองเท่านั้น ในระดบที่สูงขึ้นไปจะมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันตามที่กำหนด ระดับสูงสุดอาจเข้าถึงข้อมูลได้หมด ผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุดจึงเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลทั้งหมดaaaaaนอกจากการใช้ระบบตรวจสอบผู้ใช้และการตรวจสอบรหัสผ่านแล้ว ระบบในการตรวจสอบข้อมูลอย่างอัตโนมัติในบางเรื่องต้องทำด้วย ระบบนี้เรียกว่าระบบตรวจสอบ ทั้งนี้เพราะอาจมีผู้ทุจริตเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านทางรหัสผ่าน เช่น ผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี อาจเข้าถึงตัวข้อมูลโดยตรงได้ และแก้ไขข้อมูลในจานแม่เหล็กที่เก็บข้อมูลสำคัญ ระบบตรวจสอบนี้จึงเป็นตัวป้องกัน เช่น ในเรื่องบัญชีต้องมีการยืนยันยอดหรือสร้างสมดุลในหลายส่วนที่ตรวจสอบยืนยันกันได้ ระบบตรวจสอบอาจมีกลไกง่าย ๆ เช่น นำตัวเลขในบัญชีมาคำนวณตามสูตร ได้ผลลัพธ์เก็บซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เป็นความลับ ถ้ามีใครแก้ไขตัวเลขในบัญชีก็สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องจากการคำนวณค่าตัวเลขเปรียบเทียบกับของเดิมaaaaaเมื่อข้อมูลที่วิ่งไปมาตามช่องสื่อสารหรือนำมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โอกาสของการถูกดักฟัง หรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในช่องสื่อสารจึงเป็นไปได้ง่าย ระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็ก ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้จากหลายคน หลายแห่ง ก็มีโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะเข้าสู่ระบบโดยตรงได้ ถึงแม้ระบบจะมีวิธีการป้องกันที่ดีแล้ว ผู้รู้เรื่องทางเทคโนโลยีระดับสูงก็อาจหาวิธีเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้น่จึงมีการแปลงรหัสข้อมูล เป็นรหัสที่ผู้อื่นไม่ทราบ ถ้าการแปลงรหัสไม่ตรงกัน ทำให้รู้ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกิดขึ้นแล้ว ระบบอาจตรวจสอบได้ แม้กระทั่งว่าข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจากที่ใดaaaaaระบบการตรวจสอบข้อมูลมีเทคนิคพิเศษหลายประการ เช่น ข้อมูลทั้งหมดจะมีการประมวลผลทุกทรั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการเก็บประวัติการเปลี่ยนแปลง โดยเก็บทั้งผู้เปลี่ยนแปลงและตัวข้อมูล ตำแหน่งข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านี้จะมีระบบตรวจสอบ การดักฟังข้อมูลอาจทำได้ แต่ข้อมูลที่ได้ไปจะไม่มีความหมายใด เพราะแปลข้อมูลไม่ได้ ข้อมูลที่ส่งจากตู้เอทีเอ็มผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์เข้าสู่คอมพิวเตอร์กลางมีการแปลงรหัสข้อมูล การถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ปลายทางจะรู้เท่านั้น สูตรการแปลงรหัสข้อมูลจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ผู้ดังฟังหรือผู้ที่พยายามจะอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยตรงจึงไม่สามารถแปลข้อมูลได้ การแก้ไขข้อมูลจึงทำได้ยากขึ้นaaaaaการใช้งานข้อมูลในยุคนี้ จึงต้องต่อสู้กับวิธีการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะนำมาใช้ อาชญากรรมทางด้านข้อมูลหรือการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งในยุคต่อไปจะมีมากขึ้น ข้อมูลที่ส่งไปมาผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมสาธารณะที่หลายคนนึกว่าปลอดภัย แต่ความเป็นจริงแล้วโอกาสของการดักฟังมีได้เสมอ ผู้ที่ใช้วิทยุโทรศัพท์มือถือพูดกันนั้น คลื่นของท่านแพร่กระจายเป็นคลื่นวิทยะ สามารถดักฟังได้โดยง่าย ผู้ที่ใช้เครือข่ายทางสายก็มีผู้แอบอัดเทปและนำมาเปิดเผยให้เห็นกันแล้ว ข้อมูลในระบบจึงต้องพัฒนาใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่างพร้อมกันเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล<br /> <br />ย้อนกลับ <br />