SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 32
Baixar para ler offline
บทที่ 1
การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
Operations Management and Productivities
หัวข้อเรื่อง
1.1 วิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน
1.2 ความหมายของการจัดการดําเนินงาน
1.3 วัตถุประสงค์ของการจัดการดําเนินงาน
1.4 การเพิ่มผลิตภาพ
1.5 ขอบเขตหน้าที่งานด้านการจัดการดําเนินงาน
1.6 ประเภทของการผลิตและการดําเนินงาน
1.7 แนวโน้มการจัดการดําเนินงานในอนาคต
1.8 กลยุทธ์การจัดการดําเนินงาน
1.9 สรุปท้ายบท
1.10 แบบฝึกหัดท้ายบท
วัตถุประสงค์ของการเรียน
1) เพื่อเข้าใจในความสําคัญของหน้าที่งานด้านการผลิตและจัดการดําเนินงาน
2) เพื่อเข้าใจแนวทางการเพิ่มผลิตภาพของระบบการจัดการผลิตและดําเนินงาน
3) เพื่อเข้าใจแนวโน้มของการจัดการผลิตและดําเนินงานในอนาคต
4) เพื่อวางแผนกลยุทธ์การจัดการผลิตและดําเนินงานได้อย่างเหมาะสม
2 การจัดการดําเนินงาน
สินค้าและบริการเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ในอดีตการผลิตสินค้าและบริการ
เริ่มต้นจากถนอมอาหารเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และใช้เป็นสิ่งของในการแลกเปลี่ยน
กันระหว่างชุมชน จนกระทั่งพัฒนาเป็นการผลิตจํานวนมากเพื่อกระจายไปจําหน่ายทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ จากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทําให้ผู้บริหารด้านการ
จัดการดําเนินงานจําเป็นต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดการระบบการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การผลิตสินค้าและบริการมีผลทําให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น เนื่องจากเป็นการ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบที่มีอยู่เกิดการจ้างงานทําให้ประชากร
มีรายได้สร้างความอยู่ดีกินดีของประชากรในประเทศ ดังจะเห็นได้จากนโยบายของรัฐบาล
ในทุกยุคสมัยที่พยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยพัฒนาจากประเทศ
เกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม
การจัดการผลิตดําเนินงานเป็นงานขั้นพื้นฐานสําหรับทุกธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะ
เป็นธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า หรือแม้กระทั่งธุรกิจบริการ ดังนั้นการจัดการดําเนินงานจึง
เป็นหน้าที่ที่มีความสําคัญและควรศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะทําให้ทราบถึงวิธีการ
จัดการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ ทั้งกับกลุ่ม
ลูกค้า พนักงาน และสังคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของ
องค์กร
1.1 วิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน
จากอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ความรู้ด้านการจัดการดําเนินงานได้ถูกพัฒนามา
อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ
และระยะเวลาในการส่งมอบ โดยสามารถสรุปวิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงานที่
เกิดขึ้นเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย (1) เน้นการลดต้นทุน (2) เน้นคุณภาพ และ
(3) เน้นความเฉพาะตัว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (Heizer and Render, 2011)
3บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
ช่วงที่ 1 เน้นการลดต้นทุน (Cost Focus)
อยู่ในช่วง ค.ศ. 1776-1980 เป็นแนวคิดยุคแรกของการจัดการดําเนินงานผู้ผลิต
สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถผลิต
สินค้าและบริการที่มีต้นทุนตํ่าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจใน
ด้านราคา วิธีการจัดการด้านการดําเนินงานที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ การจัดคนเข้าทํางานตาม
ความถนัด การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน การใช้แผนภูมิแกนต์ ทฤษฎีแถวคอย การศึกษาเวลา
และการเคลื่อนไหว การวิเคราะห์กระบวนการ การตรวจสอบด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง การหา
ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด การใช้สายพานลําเลียง เป็นต้น
ช่วงที่ 2 เน้นคุณภาพ (Quality Focus)
อยู่ในช่วง ค.ศ. 1980-1995 เป็นยุคที่ผู้ผลิตเน้นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า
ด้วยการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้น โดยผู้ผลิตมีการประยุกต์แนวคิดและ
วิธีการด้านการจัดการคุณภาพมาใช้ในการดําเนินงาน โดยวิธีการจัดการที่สําคัญในยุคนี้
ได้แก่ ระบบทันเวลาพอดี (JIT) การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) การใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยในการออกแบบและการผลิต การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) รางวัล
คุณภาพแห่งชาติ เป็นต้น
ช่วงที่ 3 เน้นความเฉพาะตัว (Customization Focus)
อยู่ในช่วง ค.ศ. 1995-2010 เป็นยุคที่ผู้ผลิตเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มี
ลักษณะเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เนื่องจากพฤติกรรมของ
ผู้บริโภคและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักการที่สําคัญของการจัดการ
ดําเนินงานในยุคนี้ ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ต การจัดการโซ่อุปทาน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การกําหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระบบการผลิตที่
ยืดหยุ่น เป็นต้นโดยวิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน มีรายละเอียดสามารถสรุปได้ดัง
ตารางที่ 1.1
4 การจัดการดําเนินงาน
ตารางที่ 1.1 วิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน
แนวคิดหลัก รายละเอียดงานที่สําคัญ
1. เน้นการลดต้นทุน
(Cost Focus)
แนวความคิดยุคแรก (ค.ศ. 1776-1880)
การแบ่งงานตามความชํานาญของพนักงาน
การใช้ชิ้นส่วนการผลิตมาตรฐาน
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (ค.ศ. 1880-1910)
ใช้ Gantt Chart วางแผนและควบคุม
การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว
การวิเคราะห์กระบวนการ/ทฤษฎีแถวคอย
การผลิตจํานวนมาก (ค.ศ. 1910-1980)
ชิ้นส่วนการประกอบเคลื่อนที่โดยใช้สายพานลําเลียง
การใช้สถิติสําหรับการสุ่มตัวอย่าง
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ)
การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP)
2. เน้นคุณภาพ
(Quality Focus)
การผลิตแบบลีน (ค.ศ. 1980-1995)
ระบบทันเวลาพอดี (JIT)
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)
การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM)
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Baldrige Award)
การมอบอํานาจกับพนักงาน
3. เน้นความเฉพาะตัว
(Customization Focus)
กระแสโลกาภิวัตน์/ระบบอินเทอร์เน็ต
การวางแผนทรัพยากรการผลิต (ERP)
องค์กรแห่งการเรียนรู้
การกําหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ
การจัดการโซ่อุปทาน
ระบบการผลิตมีความยืดหยุ่นคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
1.2 ความหมายของการจัดการดําเนินงาน
Heizer and Render (2011) ได้ให้ความหมายการจัดการดําเนินงาน หมายถึง กิจกรรม
หรือหน้าที่งานที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการด้วยวิธีการแปลงสภาพจาก
ปัจจัยนําเข้าให้กลายเป็นผลิตผลที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการและ
สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า
Stevenson and Chuong (2014) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการดําเนินงาน
หมายถึง ระบบการจัดการเพื่อบริหารกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ โดยการแปลง
สภาพจากปัจจัยนําเข้า ได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน แรงงาน ข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
และมีการควบคุมกระบวนการเพื่อให้ได้ผลิตผลในรูปสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้นและ
ลูกค้าพึงพอใจ
จากความหมายของการจัดการดําเนินงานดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถสรุป
องค์ประกอบได้ดังนี้
รูปที่ 1.1 องค์ประกอบของระบบการจัดการดําเนินงาน
ที่มา : ดัดแปลงจาก Stevenson and Chuong (2014)
ปัจจัยนําเข้า (Input)
วัตถุดิบ
แรงงาน
เครื่องจักร
เงินทุน
ระบบการจัดการ
กระบวนการแปลงสภาพ
(Transformation Process)

ผลิตผล (Output)
สินค้าและบริการ

การควบคุม
(Control)
ข้อมูลย้อนกลับข้อมูลย้อนกลับ
6 การจัดการดําเนินงาน
จากองค์ประกอบของระบบการจัดการดําเนินงานในรูปที่ 1.1 สรุปได้ว่า การ
จัดการดําเนินงานมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้ได้ผลิตผล
ที่ลูกค้าพึงพอใจ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ปัจจัยนําเข้า (Inputs) หมายถึง ทรัพยากรที่จําเป็นต้องใช้สําหรับการผลิต
สินค้าและบริการโดยจะต้องควบคุมให้มีปริมาณที่เพียงพอและคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่
กําหนด ซึ่งประกอบด้วย
วัตถุดิบ (Material) มีคุณภาพที่สอดคล้องตามข้อกําหนด โดยวัตถุดิบได้ผ่าน
การตรวจสอบคุณภาพ มีการเก็บรักษาอย่างดี
พนักงาน (Man) ต้องมีความรู้และทักษะที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่าง
เพียงพอ รวมถึงการมีทัศนคติที่ดีในการทํางาน มีระเบียบวินัย
เครื่องจักร (Machine) อุปกรณ์และเครื่องมือในการทํางานจะต้องอยู่ในสภาพที่
พร้อมต่อการปฏิบัติงาน เครื่องจักรไม่ชํารุดหรือเสียและมีการบํารุงรักษาตามแผน
เงินทุน (Money) มีเงินทุนเพียงพอสําหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น
สร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักร และสินทรัพย์อื่น ๆ รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนทําให้เกิด
ความคล่องตัวในการดําเนินงาน
ระบบการจัดการ (Management) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การ
วางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน จัดทําคู่มือการ
ปฏิบัติงาน กําหนดกฎระเบียบต่าง ๆ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. กระบวนการแปลงสภาพ (Transformation Process) หมายถึง วิธีการแปลง
สภาพจากปัจจัยนําเข้าให้กลายเป็นผลิตผลที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นของธุรกิจนั้นมีหลากหลาย
วิธีการดังนี้
ด้านวัตถุ คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของวัตถุ ดังนั้นลักษณะทางกายภาพ
ของสินค้าจะแตกต่างไปจากวัตถุดิบได้แก่ การผลิตสินค้าชนิดต่าง ๆ เช่น การผลิตยาง
รถยนต์ การผลิตอาหารกระป๋ อง การตัดเย็บเสื้อผ้า
7บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
ด้านสถานที่ คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยการขนส่ง ดังนั้นลักษณะทาง
กายภาพของสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น บริษัทรับขนส่งสินค้า ขนพืชผักจาก
ภาคเหนือมาขายในภาคใต้
ด้านการแลกเปลี่ยน คือ ธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากับเงิน เช่น
การขายส่ง การขายปลีก
ด้านข่าวสาร คือ ธุรกิจที่ให้ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เช่น รายการโทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต
ด้านอารมณ์และจิตใจ คือ ธุรกิจบริการที่ให้ความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ การ
ท่องเที่ยว
3. ผลิตผล (Outputs) หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการแปลงสภาพ ซึ่ง
หมายถึงสินค้า (Goods) และบริการ (Services) ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
โดยวิธีการผลิตและคุณลักษณะของสินค้าและบริการมีความแตกต่างกันในหลายมิติ
สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1.2 (Meredith and Shafer, 2011; Heizer and Render, 2011;
กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2549)
ตารางที่ 1.2 ความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการ
สินค้า (Goods) บริการ (Services)
มีตัวตนจับต้องได้ ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้
วัดคุณภาพได้ง่าย วัดคุณภาพได้ยาก
ผู้ผลิตไม่ได้พบปะผู้บริโภคโดยตรง ผู้ให้บริการพบปะผู้บริโภคโดยตรง
สามารถเก็บรักษาไว้บริโภคภายหลังได้ รับบริการและให้บริการเกิดในเวลาเดียวกัน
ใช้เครื่องจักรในการผลิตมาก ใช้แรงงานคนในการให้บริการมาก
การเลือกทําเลจะพิจารณาต้นทุนเป็นหลัก การเลือกทําเลพิจารณาแหล่งลูกค้าเป็นหลัก
การผลิตสามารถใช้ระบบอัตโนมัติได้ ใช้ระบบอัตโนมัติได้ยาก
ขอบเขตของตลาดกว้าง ขอบเขตตลาดแคบ
8 การจัดการดําเนินงาน
การจัดการดําเนินงานนั้นต้องบริหารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ
แต่ละประเภท ที่มีทั้งธุรกิจที่เน้นด้านการผลิตสินค้า (Goods) และธุรกิจที่เน้นด้านการ
ให้บริการ (Services) นอกจากนี้ ธุรกิจบางประเภทมีเป้าหมายในการดําเนินงานที่
ผสมผสานระหว่างการผลิตสินค้าและให้บริการควบคู่กัน เช่น โรงงานประกอบรถยนต์เป็น
ธุรกิจที่เน้นการผลิตสินค้ามากที่สุด ส่วนธุรกิจการให้คําปรึกษาเป็นธุรกิจที่เน้นการ
ให้บริการมากที่สุด ดังแสดงไว้ในรูปที่ 1.2
รูปที่ 1.2 สัดส่วนการผลิตสินค้าและให้บริการของธุรกิจแต่ละประเภท
ที่มา : ดัดแปลงจาก Heizer and Render (2011)
4. การควบคุม (Control) หมายถึง การตรวจสอบระบบโดยการวัดและประเมินผล
เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถผลิตสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้ง
ด้านปริมาณ คุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบทันเวลา โดยมีการตรวจสอบตั้งแต่ปัจจัย
นําเข้า กระบวนการแปลงสภาพและผลิตผลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสินค้าบกพร่อง มีตําหนิ
สินค้า (Goods) บริการ (Services)
โรงงานประกอบรถยนต์
ร้านเย็บผ้าม่านพร้อมติดตั้ง
ร้านอาหารจานด่วน
ร้านอาหารประเภทภัตตาคาร
สถาบันเสริมความงาม
ธุรกิจให้คําปรึกษาแนะนํา
ตัวแทนโฆษณา
100% 100%050% 50%
สัดส่วนความเป็นสินค้าของผลิตภัณฑ์ สัดส่วนความเป็นบริการของผลิตภัณฑ์
9บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
หรือของเสีย และถ้าตรวจพบความผิดปกติของสินค้า ก็จําเป็นต้องส่งข้อมูลย้อนกลับไปยัง
จุดที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เพื่อปรับปรุงแก้ไขอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ บางครั้ง
ข้อบกพร่องของสินค้าอาจพบเมื่อลูกค้านําสินค้าไปใช้ จึงควรมีช่องทางในการรับ
ข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนจากลูกค้าและจัดการข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 วัตถุประสงค์ของการจัดการดําเนินงาน
งานด้านการจัดการดําเนินงานมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่สามารถ
สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การสร้างขวัญกําลังใจกับพนักงาน และการมีจิตสํานึกต่อ
การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น กระบวนการ
ดําเนินงานจะต้องให้ความสําคัญกับสิ่งต่อไปนี้ (จําลักษณ์ ขุนพลแก้ว, 2544)
1. คุณภาพ (Quality) คือการผลิตสินค้าและบริการมีคุณภาพที่สอดคล้องตามความ
ต้องการของลูกค้า
2. ต้นทุน (Cost) คือการควบคุมต้นทุนของการผลิตสินค้าและบริการให้อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสม เพื่อสามารถกําหนดราคาได้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า
3. การส่งมอบ (Delivery) คือการควบคุมการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าตรงต่อเวลา
โดยการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานให้เสร็จทันตามเวลา
4. ความปลอดภัย (Safety) คือกระบวนการผลิตและบริการจะต้องมีความปลอดภัย
ต่อพนักงาน โดยให้ความสําคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ดี มีการควบคุม
ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เช่น พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในสภาพการณ์ที่มีความเสี่ยงต้องมี
การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น รองเท้า ถุงมือ หมวกนิรภัย ผ้าปิด
ปากปิดจมูก
5. ขวัญกําลังใจ (Morale) คือการสร้างขวัญกําลังใจแก่พนักงาน เช่น มีอุปกรณ์และ
สิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียงพอ สร้างบรรยากาศในการทํางานและความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างเพื่อนร่วมงาน การได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม
10 การจัดการดําเนินงาน
6. สิ่งแวดล้อม (Environment) คือการควบคุมระบบการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านนํ้าเสีย ฝุ่น อากาศพิษ เช่น มีกระบวนการผลิตที่สะอาด การทําลาย
ของเสียอย่างถูกวิธี และการเก็บรักษาสารเคมีที่ปลอดภัย
7. จริยธรรม (Ethic) คือการดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ได้แก่ การไม่เบียดเบียน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ
คู่แข่ง หน่วยงานราชการ สังคม และสิ่งแวดล้อม
รูปที่ 1.3 วัตถุประสงค์ของการจัดการดําเนินงาน
จากรูปที่ 1.3 แสดงให้เห็นว่า การจัดการดําเนินงานที่ประสบความสําเร็จอย่าง
ยั่งยืนได้นั้น ธุรกิจต้องสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับบุคคล 3 กลุ่ม คือ ลูกค้า พนักงาน
และสังคม โดยมีแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ประการดังนี้
ลูกค้า เป็นบุคคลที่มีความสําคัญต่อการเติบโตของธุรกิจโดยแนวทางการสร้าง
ความพึงพอใจให้กับลูกค้า คือ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม และสามารถส่ง
มอบได้ทันเวลา
คุณภาพ/ต้นทุน/การส่งมอบ
สังคม
ความปลอดภัย/ขวัญกําลังใจ สิ่งแวดล้อม/จริยธรรม
พนักงานลูกค้า
11บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
พนักงาน เป็นบุคคลที่มีความสําคัญต่อกระบวนการผลิตและดําเนินงานมีแนว
ทางการสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน คือ การใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยของ
พนักงานในขณะปฏิบัติงานและมีสิ่งจูงใจเพื่อสร้างขวัญกําลังใจในการทํางานให้สูงขึ้น
สังคม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจ การดําเนินงานจะต้องแสดงความ
รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างการยอมรับของสังคม เช่น การควบคุมระบบการดําเนินงาน
ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมต่อสังคม
1.4 การเพิ่มผลิตภาพ (Productivities)
ผลิตภาพเป็นการใช้ปัจจัยนําเข้าของระบบการดําเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดังนั้นการเพิ่มผลิตภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนในการดําเนินงานให้ตํ่าลง อันจะ
นําไปสู่ข้อได้เปรียบในด้านการแข่งขันของธุรกิจ
Stevenson and Chuong (2014) ได้ให้ความหมายของผลิตภาพไว้ดังนี้ หมายถึง
เครื่องมือที่ใช้ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยนําเข้า โดยการวัดอัตราส่วนของผลิตผลที่ได้
ต่อปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไป
สุมน มาลาสิทธิ์ (2552) อธิบายความหมายของผลิตภาพไว้ว่า หมายถึงอัตราส่วน
ของผลิตผลที่ผลิตแล้วใช้ได้หรือขายได้ ไม่นับรวมของเสียเทียบกับปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไป
ทั้งหมด ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนํามาเปรียบเทียบกับอดีตได้
สูตรการวัดผลิตภาพ
ผลิตภาพ
(Productivity)
=
ผลิตผล (Output)
ปัจจัยนําเข้า (Input)
………(1.1)
12 การจัดการดําเนินงาน
1.4.1 การวัดผลิตภาพ
การวัดผลิตภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนํามาใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ด้านการจัดการดําเนินงานที่สําคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบความสามารถของกระบวนการและ
การกําหนดแนวทางการปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น
องค์ประกอบของการวัดผลิตภาพ
การวัดผลิตภาพมีองค์ประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ผลิตผล (Outputs) และปัจจัย
นําเข้า (Inputs) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (จําลักษณ์ ขุนพลแก้ว, 2544)
1. ผลิตผล (Outputs) คือสินค้าหรือบริการที่มีคุณลักษณะตรงตามข้อกําหนดของ
ลูกค้าเท่านั้น ดังนั้นผลิตผลที่ใช้วัดผลิตภาพจะต้องเป็นสินค้าที่ดี ไม่นับรวมสินค้าชํารุด
หรือบกพร่อง และเป็นสินค้าสําเร็จรูปหรืองานที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยของกิจกรรมนั้น ๆ ซึ่ง
ผลิตผลอาจอยู่ในรูปแบบปริมาณการผลิตมูลค่าการผลิตหรือมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
วัตถุประสงค์ของการวัด
2. ปัจจัยนําเข้า (Inputs) คือทรัพยากรที่ใช้ไปเพื่อการผลิตสินค้าและบริการ เช่น
วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร เวลา เงินทุน ฯลฯ การเก็บข้อมูลปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไปแต่ละชนิด
มีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวัดเช่นกัน โดยข้อมูลของปัจจัยนําเข้า
แต่ละชนิดอาจจะมีหลายรูปแบบดังนี้
ด้านวัตถุดิบ : ปริมาณหรือมูลค่าวัตถุดิบที่ใช้ไป
ด้านแรงงาน : ปริมาณแรงงาน ค่าจ้างหรือชั่วโมงทํางาน
ด้านเครื่องจักร : ปริมาณเครื่องจักรต้นทุนหรือจํานวนชั่วโมงการทํางาน
ด้านทุน : ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไป
ด้านพลังงาน : ปริมาณการใช้หรือค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ประเภทของการวัดผลิตภาพ
การวัดผลิตภาพสามารถวัดได้ 2 วิธี คือ การวัดผลิตภาพปัจจัยรวม และการวัดผลิต
ภาพปัจจัยเดี่ยว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (Russell and Render, 2011)
13บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
1. การวัดผลิตภาพปัจจัยรวม (Multifactor Productivity) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ต้องการทราบอัตราผลิตภาพโดยรวมขององค์กร จึงปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไปทั้งหมดมารวมกัน
แล้วใช้เป็นตัวหาร ดังนั้นต้องแปลงข้อมูลของปัจจัยนําเข้าแต่ละประเภทให้เป็นหน่วย
เดียวกันก่อนคือเป็นเงินแล้วนํามารวมกัน การวัดผลิตภาพด้วยวิธีนี้จะทําให้ได้ข้อมูลจาก
การวัดในภาพรวมเท่านั้น ไม่สามารถทราบรายละเอียดประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยนําเข้าแต่
ละประเภทได้ การวัดผลิตภาพปัจจัยรวมมีสูตรในการคํานวณดังนี้
2. การวัดผลิตภาพปัจจัยเดี่ยว (Single-Factor Productivity) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
วัดผลิตภาพของปัจจัยการนําเข้าเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นโดยการนําปัจจัยนําเข้าที่ต้องการวัด
ผลิตภาพไปเป็นตัวหาร การวัดด้วยวิธีนี้จะทําให้ได้ข้อมูลในรายละเอียดมากกว่าการวัดด้วย
ปัจจัยรวม จึงทําให้สามารถหาประเด็นปัญหาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
ตัวอย่างของสูตรสําหรับการวัดผลิตภาพปัจจัยเดี่ยวด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน และด้านทุนมี
ดังนี้
ผลิตภาพปัจจัยรวม =
ผลิตผล
วัตถุดิบ + แรงงาน + เครื่องจักร + ทุน + พลังงาน + อื่น ๆ
ผลิตภาพ
ด้านวัตถุดิบ =
ผลิตผล
วัตถุดิบ
ผลิตภาพ
ด้านแรงงาน =
ผลิตผล
แรงงาน
ผลิตภาพ
ด้านทุน =
ผลิตผล
ทุน
………(1.2)
………(1.3)
………(1.4)
………(1.5)
14 การจัดการดําเนินงาน
ตัวอย่างที่ 1.1 บริษัทแสงชัยรับเบอร์ โปรดักส์ จํากัด ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการผลิต
ยางแผ่นรมควัน ในระหว่าง พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 ปรากฏข้อมูลดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ราคาวัตถุดิบเฉลี่ย พ.ศ. 2559 ตันละ 52,000 บาท พ.ศ. 2560 ตันละ 48,000
บาท ค่าแรงเฉลี่ยต่อชั่วโมง พ.ศ. 2559 ชั่วโมงละ 30 บาท และ พ.ศ. 2560 ชั่วโมงละ 32
บาท ต้นทุนเฉลี่ยการเดินเครื่องจักร พ.ศ. 2559 ชั่วโมงละ 45 บาท และ พ.ศ. 2560 ชั่วโมง
ละ 42 บาท ราคาเฉลี่ยสินค้าที่ขาย พ.ศ. 2559 ตันละ 75,000 บาท และ พ.ศ. 2560 ตันละ
72,000 บาท
จากโจทย์
1) ให้คํานวณการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยรวม เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2559 และ
พ.ศ. 2560
2) ให้คํานวณการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยเดี่ยวด้านวัตถุดิบด้านพนักงาน และด้าน
เครื่องจักร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560
ข้อ 1) สูตรการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยรวม
รายการ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
ผลิตผล (ตัน)
วัตถุดิบ (ตัน)
พนักงาน (ชั่วโมง)
เครื่องจักร (ชั่วโมง)
ค่าใช้จ่ายการผลิต (บาท)
540
600
19,200
1,100
710,500
675
750
20,500
1,500
682,000
ผลิตภาพปัจจัยรวม =
ผลิตผล
วัตถุดิบ + แรงงาน + เครื่องจักร + ทุน
15บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
แปลงปัจจัยนําเข้าแต่ละประเภทให้เป็นหน่วยเดียวกัน (บาท)
พ.ศ. 2559 วัตถุดิบ = (600 x 52,000) = 31,200,000 บาท
ค่าแรงพนักงาน = (19,200 x 30) = 576,000 บาท
ค่าเดินเครื่องจักร = (1,100 x 45) = 49,500 บาท
ค่าใช้จ่ายการผลิต = 710,500 บาท
รวมปัจจัยนําเข้า = 32,536,000 บาท
ยอดขายรวม = (540 x 75,000) = 40,500,000 บาท
พ.ศ. 2560 วัตถุดิบ = (750 x 48,000) = 36,000,000บาท
ค่าแรงพนักงาน = (20,500 x 32) = 656,000บาท
ค่าเดินเครื่องจักร = (1,500 x 42) = 63,000บาท
ค่าใช้จ่ายการผลิต = 682,000บาท
รวมปัจจัยนําเข้า = 37,401,000 บาท
ยอดขายรวม = (675 x 72,000) = 48,600,000 บาท
ผลการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยรวม พ.ศ. 2559 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2560 ได้ข้อมูลดังนี้
รายการ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
ผลิตภาพปัจจัยรวม
การวัดอัตราผลิตภาพด้วยปัจจัยรวมของ พ.ศ. 2560 เท่ากับ 1.30 เท่า และ พ.ศ.
2559 เท่ากับ 1.25 เท่า แสดงว่า พ.ศ. 2560 มีประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยนําเข้าโดยรวมของ
ระบบการผลิตดีกว่า พ.ศ. 2559
40,500,000
32,536,000
= 1.25=
48,600,000
37,401,000
= 1.30=
16 การจัดการดําเนินงาน
ข้อ 2) สูตรการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยเดี่ยวด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน และด้านเครื่องจักร
การวัดผลิตภาพปัจจัยเดี่ยวในแต่ละด้านจะใช้ข้อมูลเชิงปริมาณดังนี้ ด้านวัตถุดิบ
คือ ปริมาณวัตถุดิบใช้ไป (ตัน) ด้านแรงงาน คือ จํานวนชั่วโมงแรงงานใช้ไป (ชั่วโมง) และ
ด้านเครื่องจักร คือ ชั่วโมงเครื่องจักรใช้ไป (ชั่วโมง) เพราะมีความสอดคล้องกับการวัดและ
ประเมินผลของระบบการผลิตและดําเนินงานมากกว่าการใช้ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงาน
หรือต้นทุนเครื่องจักร
รายการ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
ผลิตภาพ
ด้านวัตถุดิบ
ผลิตภาพ
ด้านพนักงาน
ผลิตภาพ
ด้านเครื่องจักร
การวัดผลิตภาพ
ด้านวัตถุดิบ =
ผลิตผล
วัตถุดิบใช้ไป
การวัดผลิตภาพ
ด้านแรงงาน
=
ผลิตผล
ชั่วโมงแรงงาน
การวัดผลิตภาพ
ด้านเครื่องจักร =
ผลิตผล
ชั่วโมงเครื่องจักร
540
600
= 0.90
675
750
= 0.90
540
19,200
= 0.028
675
20,500
= 0.033
540
1,100
= 0.49
675
1,500
= 0.45
17บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
ผลที่ได้จากการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยเดี่ยว เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2560 กับ
พ.ศ. 2559 พบว่า ด้านแรงงานมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.028 เป็น 0.033 ด้านวัตถุดิบมีผลิต
ภาพเท่าเดิมที่ 0.90 และด้านเครื่องจักรมีผลิตภาพลดลงจาก 0.49 เหลือ 0.45 ดังนั้นบริษัท
แห่งนี้ควรหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้สูงขึ้น
1.4.2 ลักษณะการเพิ่มผลิตภาพ
แนวปฏิบัติการพัฒนาปรับปรุงผลิตภาพให้สูงขึ้น สามารถทําได้ 5 วิธีด้วยกันดังนี้
(กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548)
1. Efficient หมายถึง การผลิตสินค้าให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้นจากเดิม ในขณะที่ใช้
ปัจจัยนําเข้าเท่าเดิม ซึ่งหมายถึงการใช้ทรัพยากรทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. Downsize หมายถึง การผลิตสินค้าให้ได้ผลิตผลเท่าเดิม และควบคุมให้ใช้ปัจจัย
นําเข้าน้อยลงจากเดิม วิธีนี้ใช้เมื่อกิจการมีเป้าหมายไม่ต้องการเพิ่มผลิตผล ดังนั้นแนวทาง
ที่จะทําให้กิจการมีอัตราผลิตภาพที่สูงขึ้นคือการหาทางลดปัจจัยนําเข้าลงจากเดิม
3. Expand หมายถึง การผลิตสินค้าให้ได้มากขึ้นกว่าเดิมแต่ควบคุมอัตราการ
เพิ่มขึ้นของปัจจัยนําเข้าให้น้อยกว่าอัตราผลิตผลที่เพิ่มขึ้น วิธีนี้ใช้เมื่อกิจการมีเป้าหมายเพิ่ม
ผลิตผลให้มากขึ้นในช่วงที่ตลาดกําลังเติบโต ดังนั้นปัจจัยนําเข้าในส่วนต้นทุนผันแปรจะ
เพิ่มขึ้นตามด้วย แนวทางการเพิ่มผลิตภาพในลักษณะนี้จึงจําเป็นต้องทําให้อัตราการเพิ่มขึ้น
ของปัจจัยนําเข้าน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของผลิตผล เช่น ถ้าอัตราการเพิ่มขึ้นของปัจจัย
นําเข้าเท่ากับ 15 % อัตราการเพิ่มขึ้นของผลิตผลต้องมากกว่า 15 %
4. Retrench หมายถึง การลดปริมาณการผลิตสินค้าลงจากเดิม และควบคุมอัตรา
การลดลงของปัจจัยนําเข้าให้มากกว่าอัตราผลิตผลที่ลดลง วิธีนี้ใช้เมื่อกิจการมีเป้าหมายลด
กําลังการผลิตลง เนื่องจากสินค้าอยู่ในช่วงถดถอยหรือภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทําให้ยอดขาย
ลดลง แนวทางการเพิ่มผลิตภาพในลักษณะนี้จึงจําเป็นต้องทําให้อัตราการลดลงของปัจจัย
นําเข้ามากกว่าอัตราการลดลงของผลิตผล เช่น ถ้าอัตราการลดลงของผลิตผลเท่ากับ 20 %
อัตราการลดลงของปัจจัยนําเข้าต้องมากกว่า 20 %
18 การจัดการดําเนินงาน
5. Breakthroughs หมายถึง การเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้มากกว่าเดิม และ
ควบคุมการใช้ปัจจัยนําเข้าให้ลดลงจากเดิม เป็นวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการให้เกิดขึ้น
เนื่องจากเป็นลักษณะการเพิ่มผลิตภาพที่ทําให้อัตราการเพิ่มผลิตภาพสูงที่สุด แต่ก็เป็น
วิธีการที่ยากที่สุดเช่นกัน เนื่องจากจะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาวิธีการทํางานใหม่ ๆ การ
นําเครื่องมือทันสมัยมาประยุกต์ใช้ หรือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่นั่นเอง
รูปที่ 1.4 ลักษณะแนวทางการเพิ่มผลิตภาพ
1.4.3 เทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพ
แนวทางในการเพิ่มผลิตภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจาก
พนักงานในทุกระดับและทุกหน้าที่งานโดยมีแนวทางดังนี้ (จําลักษณ์ ขุนพลแก้ว, 2544;
สุมน มาลาสิทธิ์, 2552)
1. ลดมุดะ (Muda) มุริ (Muri) และมุระ (Mura)
มุดะ (Muda) หมายถึง ความสูญเปล่าสิ้นเปลือง คือ กิจกรรมใด ๆ ที่กระทําแล้ว
ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มถือว่าเป็นความสูญเปล่า ซึ่งความสูญเปล่าสําหรับการผลิตมี 7
ประการด้วยกัน (7 Wastes) ประกอบด้วย (1) การผลิตมากเกินไป (2) การเก็บสินค้าคงคลัง
ลักษณะการเพิ่มผลิตภาพ
= เพิ่มขึ้น = เท่าเดิม = ลดลง
Efficient
ผลิตผล
ปัจจัย
Breakthroughs
ผลิตผล
ปัจจัย
Downsize
ผลิตผล
ปัจจัย
Expand
ผลิตผล
ปัจจัย
Retrench
ผลิตผล
ปัจจัย
19บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
ที่ไม่จําเป็น (3) กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิผล (4) การรอคอย (5) การเคลื่อนไหวที่ไม่
จําเป็น (6) การขนส่งในกระบวนการผลิตดําเนินงาน และ (7) การผลิตของเสียหรือการ
แก้ไขงาน
มุริ (Muri) หมายถึง สภาพที่เหนื่อยยากตรากตรําของพนักงานและเครื่องจักร
เนื่องจากการใช้งานที่มากเกินกว่ากําลังความสามารถหรือเกินมาตรฐานที่กําหนดไว้
มุระ (Mura) หมายถึง ความไม่สมํ่าเสมอ การทํางานที่ไม่ลื่นไหล คุณภาพของ
สินค้าและบริการดีบ้างแย่บ้าง
2. ไคเซ็น (Kaizen) เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานและระบบงานให้ดีขึ้นอย่างค่อย
เป็นค่อยไป โดยเน้นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทุกระดับในองค์กร เป็นเทคนิคการ
ปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพที่เกิดค่าใช้จ่ายน้อย เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นไม่มาก
นัก ต้องกระทําอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลในระยะยาว ตัวอย่างกิจกรรมไคเซ็น เช่น
กิจกรรม 5ส. QCC TPM TQM
3. นวัตกรรม (Innovation) เป็นการคิดค้นวิธีการปรับปรุงการทํางานและ
ระบบงานแบบใหม่ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ในระยะสั้นและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน วิธีนี้จะเน้นการ
วิจัยและพัฒนาจากความสามารถของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญระดับมันสมองขององค์กร
ดังนั้นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เพราะโดยมากจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความ
ทันสมัยให้ก้าวหน้ากว่าคู่แข่ง
4. วงจรการบริหารงาน P-D-C-A เป็นแนวทางการทํางานอย่างเป็นระบบโดยมี
ขั้นตอนในการปฏิบัติงานดังนี้ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติ ( Do) การตรวจสอบ (Check)
และการปรับปรุงแก้ไข (Act) การกําหนดวิธีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับผลที่ได้จาก
การตรวจสอบคือ กรณีที่ 1 ถ้าผลจากการตรวจสอบพบว่ายังทําไม่ได้ตามเป้าหมายต้อง
ปรับปรุงแก้ไขโดยการวางแผนใหม่ และกรณีที่ 2 ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบพบว่าบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้ก็จะกําหนดมาตรฐานการทํางานนั้นสําหรับการปฏิบัติงานในครั้งต่อ ๆ
ไป ดังรูปที่ 1.5
20 การจัดการดําเนินงาน
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 1.5 วงจรบริหารงาน P-D-C-A และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : ดัดแปลงจาก กิติศักดิ์ พลอยพาณิชเจริญ (2557)
5. มาตรฐาน ( Standard) คือวิธีการปฏิบัติงานที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้
พนักงานทุกคนยึดถือปฏิบัติในแบบเดียวกันโดยต้องมีการควบคุมการใช้มาตรฐานอย่าง
เป็นระบบ ประเภทของมาตรฐานมีดังนี้
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ กําหนดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณลักษณะและคุณสมบัติของ
ผลิตภัณฑ์เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทั้งหมด เช่น บัตรเดบิต
มาตรฐานระบบ เป็นมาตรฐานที่ทําขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าปัจจัยนําเข้าและ
ระบบการผลิตและดําเนินงาน เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ทุกประการ เช่น ระบบ
คุณภาพ ISO9000 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ฯลฯ มีการแจกจ่ายไปถึงผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
Plan
Check
Action Do
(P-D-C-A)
P
DC
A
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
Continuous Improvement
มาตรฐาน
P
DC
A
ระยะเวลา
การ
เพิ่ม
ผล
ผลิต
Plan
Check
Action Do
(P-D-C-A)
P
DC
A
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
Continuous Improvement
มาตรฐาน
P
DC
A
ระยะเวลา
การ
เพิ่ม
ผล
ผลิต
Plan
Check
Action Do
(P-D-C-A)
P
DC
A
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
Continuous Improvement
มาตรฐาน
P
DC
A
ระยะเวลา
การ
เพิ่ม
ผล
ผลิต
21บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
1.5 ขอบเขตหน้าที่งานด้านการจัดการดําเนินงาน
Heizer and Render (2011) ได้อธิบายไว้ว่า หน้าที่งานที่สําคัญสําหรับการจัดการ
ดําเนินงาน มีประเด็นดังต่อไปนี้
1. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกชนิดสินค้า
และบริการ และกําหนดขั้นตอนของการออกแบบเพื่อให้คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์สามารถ
สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า นอกจากนี้ การออกแบบสินค้ายังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้
วิธีการผลิตที่สะดวกรวดเร็ว ต้นทุนตํ่า รวมถึงการคํานึงถึงการให้บริการหลังการขายและ
การซ่อมบํารุงในอนาคต
2. การจัดการคุณภาพ คือ การกําหนดเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรฐานสําหรับการยอมรับ
หรือปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการ และกําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบ
และการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กําหนดการนําระบบคุณภาพ
มาประยุกต์ใช้ในองค์กร รวมทั้งควบคุมต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมด้านคุณภาพให้อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสม
3. การพยากรณ์ คือ การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ด้วยเทคนิคต่าง ๆ
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด โดยข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์จะ
นําไปเป็นข้อมูลเพื่อผลิตสินค้าและบริการให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
4. การออกแบบกระบวนการและการวางแผนกําลังการผลิต คือ การตัดสินใจ
เกี่ยวกับการกําหนดวิธีการและขั้นตอนในการผลิต การเลือกเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่
เหมาะสม และการกําหนดระดับกําลังการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าโดย
การวางแผนปริมาณปัจจัยนําเข้าให้เพียงพอตามกําลังการผลิตที่ต้องการ
5. การเลือกทําเลที่ตั้ง คือ การตัดสินใจเลือกทําเลที่ตั้งที่ธุรกิจได้ประโยชน์สูงสุด
กําหนดปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการพิจารณาเลือกทําเลที่ตั้ง และเทคนิคการตัดสินใจเลือก
ทําเลที่ตั้งที่เหมาะสมทั้งนี้เพราะทําเลที่ตั้งที่ดีจะส่งผลต่อรายได้และต้นทุนในการ
ดําเนินงาน
22 การจัดการดําเนินงาน
6. การวางผังสถานประกอบการ คือ การกําหนดขนาดพื้นที่สถานประกอบการที่
เพียงพอต่อปริมาณการผลิต การจัดสรรพื้นที่ให้กับแผนกต่าง ๆ และการออกแบบผัง
เพื่อให้กระบวนการดําเนินงานเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็ว และต้นทุนตํ่า
7. การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน คือ การกําหนดโครงสร้าง
องค์กรด้านการผลิตและดําเนินงาน การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การฝึกอบรมและ
พัฒนาพนักงาน การสร้างแรงจูงใจ และการออกแบบงานเพื่อให้พนักงานทํางานสะดวก
สามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่วางไว้
8. การจัดการโซ่อุปทาน คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสร้างความร่วมมือ การ
ประสานงานเพื่อร่วมกันวางแผนและการพยากรณ์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธุรกิจ
ตั้งแต่ธุรกิจต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า ทั้งนี้เพื่อให้การไหลของสินค้า ข้อมูลสารสนเทศ
และการชําระเงินของธุรกิจทุกระดับในโซ่อุปทานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
9. การจัดการสินค้าคงคลัง คือ การวางแผนปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลังแต่ละ
รายการให้อยู่ในระดับที่เหมะสม การกําหนดขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด เวลาที่เหมาะสม
สําหรับการสั่งซื้อ การวางแผนความต้องการวัสดุ รวมถึงเทคนิคการควบคุมสินค้าคงคลัง
เพื่อให้มีถูกต้องแม่นยําและมีต้นทุนตํ่า เช่น การจัดการสินค้าคงคลังระบบ ABC การเพิ่ม
รอบการหมุนของสินค้าคงคลัง และการตรวจนับสินค้าคงคลัง
10. การวางแผนการผลิตระยะกลางและระยะสั้น คือ การวางแผนกําลังการผลิต
รวม ซึ่งเกี่ยวกับการจัดสรรกําลังการผลิตที่มีเพื่อผลิตสินค้าแต่ละชนิดให้มีกําไรสูงสุดและ
การจัดตารางการผลิต ซึ่งจะเกี่ยวกับการกําหนดงานให้กับเครื่องจักรหรือคนงาน การ
จัดลําดับการทํางานก่อนหลัง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และต้นทุนตํ่าที่สุด โดยมี
เป้าหมายให้งานทุกงานสามารถผลิตเสร็จทันตามแผนและมีต้นทุนตํ่าที่สุด
11. การบํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ การกําหนดอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการซ่อมบํารุงเครื่องจักร การกําหนดแผนงานการซ่อมบํารุงรักษา การควบคุมการ
ซ่อมบํารุง การเสริมสํารองอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่มีความสําคัญ
23บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
1.6 ประเภทของการผลิตและการดําเนินงาน
การแบ่งประเภทของการผลิตและดําเนินงาน สามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ (1) แบ่ง
ประเภทตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ และ (2) แบ่งประเภทตามระบบการผลิตและ
ปริมาณการผลิตซึ่งจะกล่าวถึงดังรายละเอียดต่อไปนี้
วิธีที่ 1 แบ่งประเภทตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละ
ชนิดจะมีระบบการผลิตและพฤติกรรมความต้องการของลูกค้าแตกต่างกัน จึงสามารถ
จัดแบ่งประเภทของการผลิตและดําเนินงานได้ 3 ประเภท คือ (สุมน มาลาสิทธิ์, 2552)
ระบบการผลิตตามคําสั่งซื้อ (Made-to-Order) คือ ระบบการผลิตที่ผลิตสินค้าตาม
ปริมาณที่ได้รับคําสั่งซื้อจากลูกค้า จึงเหมาะสําหรับการผลิตสินค้าที่มีราคาสูงและมีความ
ต้องการแบบเฉพาะเจาะจงสําหรับลูกค้าบางรายเท่านั้น ดังนั้นสินค้าที่เหมาะสําหรับการ
ผลิตในลักษณะนี้ ได้แก่ เครื่องประดับราคาแพง การผลิตเครื่องบิน การสร้างบ้าน เป็นต้น
ระบบการผลิตเพื่อรอจําหน่าย (Made-to-Stock) คือ ระบบการผลิตสินค้าตาม
ตัวเลขที่ได้จากการพยากรณ์โดยผู้ผลิตจะผลิตสินค้าสําเร็จรูปไว้รอจําหน่าย ระบบการผลิต
ในลักษณะนี้จึงเหมาะสําหรับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ที่สินค้ามีความต้องการอย่าง
สมํ่าเสมอและแน่นอน และส่วนใหญ่ราคาสินค้าต่อหน่วยก็ไม่สูงมาก เช่น อาหารกระป๋ อง
เสื้อผ้า เครื่องสําอาง ของใช้ในครัวเรือน
ระบบการผลิตเพื่อรอคําสั่งซื้อ (Assembly-to-Order) คือ ระบบการผลิตที่ผลิตเก็บ
เป็นสินค้าคงคลังในรูปของงานระหว่างทํา หรือการผลิตชิ้นส่วนเพื่อรอการประกอบ เมื่อ
ได้รับคําสั่งซื้อจากลูกค้าก็จะนํางานระหว่างทําที่เก็บไว้มาผลิตต่อให้เสร็จเป็นสินค้า
สําเร็จรูป ระบบการผลิตในลักษณะนี้จึงเหมาะสําหรับการผลิตสินค้าที่ค่อนข้างมีความ
เฉพาะเจาะจงของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และสินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตแตกต่างกันที่กระบวนการ
สุดท้ายโดยที่กระบวนการขั้นต้นเหมือนกัน เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์ จะผลิตชิ้นส่วนเก็บ
ไว้ก่อนแล้วค่อยนํามาประกอบ
24 การจัดการดําเนินงาน
วิธีที่ 2 แบ่งประเภทตามระบบการผลิตและปริมาณการผลิต สามารถแบ่งได้ 5
ประเภท ดังนี้ (Jacobs and Chase, 2014; กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548)
การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) เป็นระบบการผลิตที่ใช้สําหรับ
การผลิตสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีเวลาในการผลิตนาน ดังนั้นการผลิตแต่ละครั้งจะมี
ปริมาณผลิตผลน้อย โดยวิธีการจัดการโครงการจะจําแนกงานเป็นงานย่อย ๆ กําหนด
ระยะเวลาในงานย่อยแต่ละงาน แล้วนํางานย่อยมาจัดลําดับตามขั้นตอนการทํางานและ
ควบคุมการจัดสรรทรัพยากรในแต่ละกิจกรรมย่อยโดยมีเป้าหมายเพื่อให้งานเสร็จทันตาม
กําหนดและต้นทุนเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งหลักการที่นิยมใช้ในการจัดการโครงการ
ได้แก่ PERT และ CPM เช่น การก่อสร้างอาคาร การต่อเรือ การสร้างถนน
การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermittent Production) เป็นระบบการ
ผลิตที่เหมาะสําหรับกิจการที่มีการผลิตสินค้าหลายชนิด ปริมาณการผลิตต่อครั้งของสินค้า
แต่ละชนิดไม่มาก และสินค้าแต่ละชนิดสามารถใช้เครื่องจักรร่วมกัน ดังนั้นแผนการผลิต
ในแต่ละช่วงเวลาจะมีการปรับเปลี่ยนชนิดของสินค้าที่ผลิตบ่อย ๆ เช่นโรงงานผลิต
เฟอร์นิเจอร์ที่มีสินค้าหลายประเภท เช่น โต๊ะ เตียง ตู้ เก้าอี้
การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) เป็นระบบการผลิตที่มีการผลิตสินค้าไม่
มากชนิดและปริมาณการผลิตต่อครั้งจะมากกว่าการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง ส่วนเครื่องจักร
และอุปกรณ์จะมีความเฉพาะเจาะจงกับสินค้าที่ผลิตมากขึ้น เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อโหล
การผลิตแบบไหลผ่าน (Line–Flow หรือ Assembly Line) เป็นระบบการผลิตที่
ผลิตสินค้าน้อยชนิด หรืออาจจะมีสินค้าชนิดเดียวแต่มีหลายรุ่น จึงทําให้เกิดความต่อเนื่อง
ในการผลิต ทําให้สินค้าที่ได้จากการผลิตแต่ละครั้งมีจํานวนมาก เครื่องจักรมีความ
เฉพาะเจาะจงสําหรับสินค้าแต่ละชนิดหรือแต่ละรุ่น ดังนั้นเครื่องจักรจะถูกจัดวางแยกกัน
อย่างชัดเจนในแต่ละสายการผลิต เช่น โรงงานประกอบฮาร์ดดิสก์ จะแยกสายการประกอบ
ฮาร์ดดิสก์ขนาด 1 นิ้ว ขนาด 2.5 นิ้ว และขนาด 3.5 นิ้ว หรือโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
25บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Processหรือ Continuous Flow Production)
เป็นระบบการผลิตที่ผลิตสินค้าชนิดเดียว การผลิตจะมีความต่อเนื่องตลอดเวลา เครื่องจักร
ถูกจัดวางอยู่กับที่ตามขั้นตอนการผลิต และจะใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติหรือ
กึ่งอัตโนมัติ คือจะใช้เครื่องจักรเป็นหลักสําหรับการผลิตโดยอาจจะมีคนงานจํานวนน้อย
ซึ่งจะทําหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร เช่น การกลั่นนํ้ามัน การผลิตสารเคมี
1.7 แนวโน้มการจัดการดําเนินงานในอนาคต
การบริหารจัดการดําเนินงานในยุคโลกาภิวัตน์ ที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทําให้การบริหารงานในอนาคตจะมีความท้าทายมากขึ้นดังนี้
(Heizer and Render, 2011; กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548)
การแข่งขันในระดับสากล เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า ทําให้บริษัทชั้นนําของ
โลกขยายตลาดได้กว้างขึ้น ส่งผลให้บริษัทในประเทศต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งใน
ด้านราคา คุณภาพ ความรวดเร็วในการตอบสนองต่อลูกค้า และการปรับเปลี่ยนระบบการ
ดําเนินงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรม
ผู้บริโภคและการแข่งขัน
การเป็นพันธมิตรในโซ่อุปทาน ธุรกิจในอนาคตจะมีการสร้างความสัมพันธ์และ
ร่วมมือกันเพื่อการขยายตลาด ขยายฐานการผลิตการพัฒนารูปแบบจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบด้วย
การเป็นพันธมิตร รวมถึงการจัดหาเงินทุนที่มีขอบเขตขยายไปทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อพัฒนา
ประสิทธิภาพในการดําเนินงานของธุรกิจทุกระดับในโซ่อุปทาน
การใช้ระบบทันเวลาพอดี หรือที่เรียกว่า Just-in-time (JIT) เป็นกลยุทธ์การผลิต
สินค้าที่พอดีกับความต้องการ ไม่เน้นการเก็บสินค้าคงคลังทั้งในระดับวัตถุดิบ งานระหว่าง
ทําและสินค้าสําเร็จรูป ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังและพฤติกรรม
ของลูกค้าที่มีเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
26 การจัดการดําเนินงาน
สินค้ามีความหลากหลาย เนื่องจากสินค้าจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในการใช้งาน
มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ทําให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าในตลาดให้มี
ความหลากหลาย ทําให้ลูกค้ามีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น
ระดับการให้บริการสูงขึ้น ในอดีตผู้ผลิตอาจจะให้ความสนใจต่อการให้บริการไม่
มากนัก แต่ในอนาคตธุรกิจต้องให้ความสนใจในการบริการมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความ
แตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากคุณภาพสินค้านั้นสามารถพัฒนา
ทันกันได้
เน้นด้านคุณภาพ คุณภาพยังคงเป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับการแข่งขันในอนาคต เพราะ
ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสินค้าได้ง่ายขึ้น เพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ โดยการ
จัดการคุณภาพจะเน้นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรที่ทุกคนมีส่วนร่วม
กระบวนการผลิตต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อรองรับการตอบสนองต่อความต้องการ
ของลูกค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบระบบการผลิตและดําเนินงาน
จะต้องคํานึงถึงการปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในอนาคตเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นจึงมีการนําเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น เพื่อรองรับการผลิต
จํานวนมาก และเพื่อความถูกต้องและรวดเร็วของระบบการดําเนินงาน เช่น ระบบการ
วางแผนทรัพยากร (ERP) ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) การใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิต
การให้อํานาจกับพนักงาน เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมกับการ
ปรับปรุงระบบการทํางานเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้นโดยการสร้าง
เครือข่ายการสื่อสารให้เข้าถึงพนักงาน จัดตั้งทีมงานมอบอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ มี
การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน และกําหนดให้หัวหน้างานทําหน้าที่เป็นผู้ให้ความ
ช่วยเหลือสนับสนุน
27บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ
คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ ระบบการดําเนินงานและนโยบายการบริหารงาน
เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และใช้เป็นเหตุผลในการเลือกซื้อ
สินค้า นอกจากนี้ ผู้ผลิตต้องการดําเนินงานอย่างมีจริยธรรมโดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เช่น ลูกค้า พนักงาน ภาครัฐ ผู้ถือหุ้น และคู่แข่ง
1.8 กลยุทธ์การจัดการดําเนินงาน
ผู้จัดการฝ่ายผลิตและดําเนินงานจําเป็นต้องกําหนดกลยุทธ์การจัดการดําเนินงานซึ่ง
เป็นกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ โดยจะต้องกําหนดให้สอดคล้องกับช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
เพราะในแต่ละช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ บริษัทจะให้ความสําคัญในเรื่องต่าง ๆ ที่แตกต่าง
กันดังนี้ (กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548)
1. ช่วงแนะนํา (Introduction Stage) สภาพของการดําเนินธุรกิจ พบว่าสินค้ามี
ยอดขายน้อย เนื่องจากเป็นสินค้าใหม่ ลูกค้ายังไม่ค่อยรู้จัก ระดับการแข่งขันก็น้อย เพราะคู่
แข่งขันยังเข้ามาในตลาดน้อย
กลยุทธ์ด้านการจัดการดําเนินงาน
1. เน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้คุณลักษณะของสินค้าสอดคล้องกับ
ความต้องการของลูกค้า
2. มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของสินค้าและกระบวนการผลิตบ่อย ๆ เพื่อให้ได้
สินค้าและกระบวนการที่ดีที่สุด
3. ผลิตทีละน้อย ๆ เพื่อทดลองตลาด ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าค้างสต็อก
4. สรรหาพนักงานที่มีทักษะสูงมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในหน้าที่งาน
หลากหลาย เนื่องจากสินค้าและกระบวนการยังมีความไม่แน่นอน จึงต้องอาศัย
ความสามารถของพนักงานสําหรับการควบคุมกระบวนการผลิต
9789740337065
9789740337065
9789740337065
9789740337065
9789740337065

Mais conteúdo relacionado

Mais de CUPress

9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402CUPress
 
9789740336334
97897403363349789740336334
9789740336334CUPress
 
9789740336327
97897403363279789740336327
9789740336327CUPress
 
9789740336181
97897403361819789740336181
9789740336181CUPress
 
9789740336167
97897403361679789740336167
9789740336167CUPress
 
9789740336150
97897403361509789740336150
9789740336150CUPress
 
9789740336136
97897403361369789740336136
9789740336136CUPress
 

Mais de CUPress (20)

9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402
 
9789740336334
97897403363349789740336334
9789740336334
 
9789740336327
97897403363279789740336327
9789740336327
 
9789740336181
97897403361819789740336181
9789740336181
 
9789740336167
97897403361679789740336167
9789740336167
 
9789740336150
97897403361509789740336150
9789740336150
 
9789740336136
97897403361369789740336136
9789740336136
 

9789740337065

  • 1. บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ Operations Management and Productivities หัวข้อเรื่อง 1.1 วิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน 1.2 ความหมายของการจัดการดําเนินงาน 1.3 วัตถุประสงค์ของการจัดการดําเนินงาน 1.4 การเพิ่มผลิตภาพ 1.5 ขอบเขตหน้าที่งานด้านการจัดการดําเนินงาน 1.6 ประเภทของการผลิตและการดําเนินงาน 1.7 แนวโน้มการจัดการดําเนินงานในอนาคต 1.8 กลยุทธ์การจัดการดําเนินงาน 1.9 สรุปท้ายบท 1.10 แบบฝึกหัดท้ายบท วัตถุประสงค์ของการเรียน 1) เพื่อเข้าใจในความสําคัญของหน้าที่งานด้านการผลิตและจัดการดําเนินงาน 2) เพื่อเข้าใจแนวทางการเพิ่มผลิตภาพของระบบการจัดการผลิตและดําเนินงาน 3) เพื่อเข้าใจแนวโน้มของการจัดการผลิตและดําเนินงานในอนาคต 4) เพื่อวางแผนกลยุทธ์การจัดการผลิตและดําเนินงานได้อย่างเหมาะสม
  • 2. 2 การจัดการดําเนินงาน สินค้าและบริการเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ในอดีตการผลิตสินค้าและบริการ เริ่มต้นจากถนอมอาหารเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และใช้เป็นสิ่งของในการแลกเปลี่ยน กันระหว่างชุมชน จนกระทั่งพัฒนาเป็นการผลิตจํานวนมากเพื่อกระจายไปจําหน่ายทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ จากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทําให้ผู้บริหารด้านการ จัดการดําเนินงานจําเป็นต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดการระบบการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การผลิตสินค้าและบริการมีผลทําให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น เนื่องจากเป็นการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบที่มีอยู่เกิดการจ้างงานทําให้ประชากร มีรายได้สร้างความอยู่ดีกินดีของประชากรในประเทศ ดังจะเห็นได้จากนโยบายของรัฐบาล ในทุกยุคสมัยที่พยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยพัฒนาจากประเทศ เกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม การจัดการผลิตดําเนินงานเป็นงานขั้นพื้นฐานสําหรับทุกธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะ เป็นธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า หรือแม้กระทั่งธุรกิจบริการ ดังนั้นการจัดการดําเนินงานจึง เป็นหน้าที่ที่มีความสําคัญและควรศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะทําให้ทราบถึงวิธีการ จัดการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ ทั้งกับกลุ่ม ลูกค้า พนักงาน และสังคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของ องค์กร 1.1 วิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน จากอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ความรู้ด้านการจัดการดําเนินงานได้ถูกพัฒนามา อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และระยะเวลาในการส่งมอบ โดยสามารถสรุปวิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงานที่ เกิดขึ้นเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย (1) เน้นการลดต้นทุน (2) เน้นคุณภาพ และ (3) เน้นความเฉพาะตัว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (Heizer and Render, 2011)
  • 3. 3บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ ช่วงที่ 1 เน้นการลดต้นทุน (Cost Focus) อยู่ในช่วง ค.ศ. 1776-1980 เป็นแนวคิดยุคแรกของการจัดการดําเนินงานผู้ผลิต สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถผลิต สินค้าและบริการที่มีต้นทุนตํ่าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจใน ด้านราคา วิธีการจัดการด้านการดําเนินงานที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ การจัดคนเข้าทํางานตาม ความถนัด การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน การใช้แผนภูมิแกนต์ ทฤษฎีแถวคอย การศึกษาเวลา และการเคลื่อนไหว การวิเคราะห์กระบวนการ การตรวจสอบด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง การหา ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด การใช้สายพานลําเลียง เป็นต้น ช่วงที่ 2 เน้นคุณภาพ (Quality Focus) อยู่ในช่วง ค.ศ. 1980-1995 เป็นยุคที่ผู้ผลิตเน้นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ด้วยการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้น โดยผู้ผลิตมีการประยุกต์แนวคิดและ วิธีการด้านการจัดการคุณภาพมาใช้ในการดําเนินงาน โดยวิธีการจัดการที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ ระบบทันเวลาพอดี (JIT) การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) การใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการออกแบบและการผลิต การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) รางวัล คุณภาพแห่งชาติ เป็นต้น ช่วงที่ 3 เน้นความเฉพาะตัว (Customization Focus) อยู่ในช่วง ค.ศ. 1995-2010 เป็นยุคที่ผู้ผลิตเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มี ลักษณะเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เนื่องจากพฤติกรรมของ ผู้บริโภคและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักการที่สําคัญของการจัดการ ดําเนินงานในยุคนี้ ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ต การจัดการโซ่อุปทาน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การกําหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระบบการผลิตที่ ยืดหยุ่น เป็นต้นโดยวิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน มีรายละเอียดสามารถสรุปได้ดัง ตารางที่ 1.1
  • 4. 4 การจัดการดําเนินงาน ตารางที่ 1.1 วิวัฒนาการของการจัดการดําเนินงาน แนวคิดหลัก รายละเอียดงานที่สําคัญ 1. เน้นการลดต้นทุน (Cost Focus) แนวความคิดยุคแรก (ค.ศ. 1776-1880) การแบ่งงานตามความชํานาญของพนักงาน การใช้ชิ้นส่วนการผลิตมาตรฐาน การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (ค.ศ. 1880-1910) ใช้ Gantt Chart วางแผนและควบคุม การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว การวิเคราะห์กระบวนการ/ทฤษฎีแถวคอย การผลิตจํานวนมาก (ค.ศ. 1910-1980) ชิ้นส่วนการประกอบเคลื่อนที่โดยใช้สายพานลําเลียง การใช้สถิติสําหรับการสุ่มตัวอย่าง ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) 2. เน้นคุณภาพ (Quality Focus) การผลิตแบบลีน (ค.ศ. 1980-1995) ระบบทันเวลาพอดี (JIT) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Baldrige Award) การมอบอํานาจกับพนักงาน 3. เน้นความเฉพาะตัว (Customization Focus) กระแสโลกาภิวัตน์/ระบบอินเทอร์เน็ต การวางแผนทรัพยากรการผลิต (ERP) องค์กรแห่งการเรียนรู้ การกําหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ การจัดการโซ่อุปทาน ระบบการผลิตมีความยืดหยุ่นคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • 5. 5บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ 1.2 ความหมายของการจัดการดําเนินงาน Heizer and Render (2011) ได้ให้ความหมายการจัดการดําเนินงาน หมายถึง กิจกรรม หรือหน้าที่งานที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการด้วยวิธีการแปลงสภาพจาก ปัจจัยนําเข้าให้กลายเป็นผลิตผลที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการและ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า Stevenson and Chuong (2014) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการดําเนินงาน หมายถึง ระบบการจัดการเพื่อบริหารกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ โดยการแปลง สภาพจากปัจจัยนําเข้า ได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน แรงงาน ข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น และมีการควบคุมกระบวนการเพื่อให้ได้ผลิตผลในรูปสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้นและ ลูกค้าพึงพอใจ จากความหมายของการจัดการดําเนินงานดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถสรุป องค์ประกอบได้ดังนี้ รูปที่ 1.1 องค์ประกอบของระบบการจัดการดําเนินงาน ที่มา : ดัดแปลงจาก Stevenson and Chuong (2014) ปัจจัยนําเข้า (Input) วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร เงินทุน ระบบการจัดการ กระบวนการแปลงสภาพ (Transformation Process)  ผลิตผล (Output) สินค้าและบริการ  การควบคุม (Control) ข้อมูลย้อนกลับข้อมูลย้อนกลับ
  • 6. 6 การจัดการดําเนินงาน จากองค์ประกอบของระบบการจัดการดําเนินงานในรูปที่ 1.1 สรุปได้ว่า การ จัดการดําเนินงานมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้ได้ผลิตผล ที่ลูกค้าพึงพอใจ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยนําเข้า (Inputs) หมายถึง ทรัพยากรที่จําเป็นต้องใช้สําหรับการผลิต สินค้าและบริการโดยจะต้องควบคุมให้มีปริมาณที่เพียงพอและคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กําหนด ซึ่งประกอบด้วย วัตถุดิบ (Material) มีคุณภาพที่สอดคล้องตามข้อกําหนด โดยวัตถุดิบได้ผ่าน การตรวจสอบคุณภาพ มีการเก็บรักษาอย่างดี พนักงาน (Man) ต้องมีความรู้และทักษะที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่าง เพียงพอ รวมถึงการมีทัศนคติที่ดีในการทํางาน มีระเบียบวินัย เครื่องจักร (Machine) อุปกรณ์และเครื่องมือในการทํางานจะต้องอยู่ในสภาพที่ พร้อมต่อการปฏิบัติงาน เครื่องจักรไม่ชํารุดหรือเสียและมีการบํารุงรักษาตามแผน เงินทุน (Money) มีเงินทุนเพียงพอสําหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น สร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักร และสินทรัพย์อื่น ๆ รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนทําให้เกิด ความคล่องตัวในการดําเนินงาน ระบบการจัดการ (Management) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การ วางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน จัดทําคู่มือการ ปฏิบัติงาน กําหนดกฎระเบียบต่าง ๆ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2. กระบวนการแปลงสภาพ (Transformation Process) หมายถึง วิธีการแปลง สภาพจากปัจจัยนําเข้าให้กลายเป็นผลิตผลที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นของธุรกิจนั้นมีหลากหลาย วิธีการดังนี้ ด้านวัตถุ คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของวัตถุ ดังนั้นลักษณะทางกายภาพ ของสินค้าจะแตกต่างไปจากวัตถุดิบได้แก่ การผลิตสินค้าชนิดต่าง ๆ เช่น การผลิตยาง รถยนต์ การผลิตอาหารกระป๋ อง การตัดเย็บเสื้อผ้า
  • 7. 7บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ ด้านสถานที่ คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยการขนส่ง ดังนั้นลักษณะทาง กายภาพของสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น บริษัทรับขนส่งสินค้า ขนพืชผักจาก ภาคเหนือมาขายในภาคใต้ ด้านการแลกเปลี่ยน คือ ธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากับเงิน เช่น การขายส่ง การขายปลีก ด้านข่าวสาร คือ ธุรกิจที่ให้ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เช่น รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ด้านอารมณ์และจิตใจ คือ ธุรกิจบริการที่ให้ความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ การ ท่องเที่ยว 3. ผลิตผล (Outputs) หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการแปลงสภาพ ซึ่ง หมายถึงสินค้า (Goods) และบริการ (Services) ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยวิธีการผลิตและคุณลักษณะของสินค้าและบริการมีความแตกต่างกันในหลายมิติ สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1.2 (Meredith and Shafer, 2011; Heizer and Render, 2011; กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2549) ตารางที่ 1.2 ความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการ สินค้า (Goods) บริการ (Services) มีตัวตนจับต้องได้ ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ วัดคุณภาพได้ง่าย วัดคุณภาพได้ยาก ผู้ผลิตไม่ได้พบปะผู้บริโภคโดยตรง ผู้ให้บริการพบปะผู้บริโภคโดยตรง สามารถเก็บรักษาไว้บริโภคภายหลังได้ รับบริการและให้บริการเกิดในเวลาเดียวกัน ใช้เครื่องจักรในการผลิตมาก ใช้แรงงานคนในการให้บริการมาก การเลือกทําเลจะพิจารณาต้นทุนเป็นหลัก การเลือกทําเลพิจารณาแหล่งลูกค้าเป็นหลัก การผลิตสามารถใช้ระบบอัตโนมัติได้ ใช้ระบบอัตโนมัติได้ยาก ขอบเขตของตลาดกว้าง ขอบเขตตลาดแคบ
  • 8. 8 การจัดการดําเนินงาน การจัดการดําเนินงานนั้นต้องบริหารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ แต่ละประเภท ที่มีทั้งธุรกิจที่เน้นด้านการผลิตสินค้า (Goods) และธุรกิจที่เน้นด้านการ ให้บริการ (Services) นอกจากนี้ ธุรกิจบางประเภทมีเป้าหมายในการดําเนินงานที่ ผสมผสานระหว่างการผลิตสินค้าและให้บริการควบคู่กัน เช่น โรงงานประกอบรถยนต์เป็น ธุรกิจที่เน้นการผลิตสินค้ามากที่สุด ส่วนธุรกิจการให้คําปรึกษาเป็นธุรกิจที่เน้นการ ให้บริการมากที่สุด ดังแสดงไว้ในรูปที่ 1.2 รูปที่ 1.2 สัดส่วนการผลิตสินค้าและให้บริการของธุรกิจแต่ละประเภท ที่มา : ดัดแปลงจาก Heizer and Render (2011) 4. การควบคุม (Control) หมายถึง การตรวจสอบระบบโดยการวัดและประเมินผล เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถผลิตสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้ง ด้านปริมาณ คุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบทันเวลา โดยมีการตรวจสอบตั้งแต่ปัจจัย นําเข้า กระบวนการแปลงสภาพและผลิตผลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสินค้าบกพร่อง มีตําหนิ สินค้า (Goods) บริการ (Services) โรงงานประกอบรถยนต์ ร้านเย็บผ้าม่านพร้อมติดตั้ง ร้านอาหารจานด่วน ร้านอาหารประเภทภัตตาคาร สถาบันเสริมความงาม ธุรกิจให้คําปรึกษาแนะนํา ตัวแทนโฆษณา 100% 100%050% 50% สัดส่วนความเป็นสินค้าของผลิตภัณฑ์ สัดส่วนความเป็นบริการของผลิตภัณฑ์
  • 9. 9บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ หรือของเสีย และถ้าตรวจพบความผิดปกติของสินค้า ก็จําเป็นต้องส่งข้อมูลย้อนกลับไปยัง จุดที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เพื่อปรับปรุงแก้ไขอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ บางครั้ง ข้อบกพร่องของสินค้าอาจพบเมื่อลูกค้านําสินค้าไปใช้ จึงควรมีช่องทางในการรับ ข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนจากลูกค้าและจัดการข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 วัตถุประสงค์ของการจัดการดําเนินงาน งานด้านการจัดการดําเนินงานมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่สามารถ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การสร้างขวัญกําลังใจกับพนักงาน และการมีจิตสํานึกต่อ การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น กระบวนการ ดําเนินงานจะต้องให้ความสําคัญกับสิ่งต่อไปนี้ (จําลักษณ์ ขุนพลแก้ว, 2544) 1. คุณภาพ (Quality) คือการผลิตสินค้าและบริการมีคุณภาพที่สอดคล้องตามความ ต้องการของลูกค้า 2. ต้นทุน (Cost) คือการควบคุมต้นทุนของการผลิตสินค้าและบริการให้อยู่ใน ระดับที่เหมาะสม เพื่อสามารถกําหนดราคาได้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า 3. การส่งมอบ (Delivery) คือการควบคุมการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าตรงต่อเวลา โดยการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานให้เสร็จทันตามเวลา 4. ความปลอดภัย (Safety) คือกระบวนการผลิตและบริการจะต้องมีความปลอดภัย ต่อพนักงาน โดยให้ความสําคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ดี มีการควบคุม ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เช่น พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในสภาพการณ์ที่มีความเสี่ยงต้องมี การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น รองเท้า ถุงมือ หมวกนิรภัย ผ้าปิด ปากปิดจมูก 5. ขวัญกําลังใจ (Morale) คือการสร้างขวัญกําลังใจแก่พนักงาน เช่น มีอุปกรณ์และ สิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียงพอ สร้างบรรยากาศในการทํางานและความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างเพื่อนร่วมงาน การได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม
  • 10. 10 การจัดการดําเนินงาน 6. สิ่งแวดล้อม (Environment) คือการควบคุมระบบการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านนํ้าเสีย ฝุ่น อากาศพิษ เช่น มีกระบวนการผลิตที่สะอาด การทําลาย ของเสียอย่างถูกวิธี และการเก็บรักษาสารเคมีที่ปลอดภัย 7. จริยธรรม (Ethic) คือการดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ได้แก่ การไม่เบียดเบียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ คู่แข่ง หน่วยงานราชการ สังคม และสิ่งแวดล้อม รูปที่ 1.3 วัตถุประสงค์ของการจัดการดําเนินงาน จากรูปที่ 1.3 แสดงให้เห็นว่า การจัดการดําเนินงานที่ประสบความสําเร็จอย่าง ยั่งยืนได้นั้น ธุรกิจต้องสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับบุคคล 3 กลุ่ม คือ ลูกค้า พนักงาน และสังคม โดยมีแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ประการดังนี้ ลูกค้า เป็นบุคคลที่มีความสําคัญต่อการเติบโตของธุรกิจโดยแนวทางการสร้าง ความพึงพอใจให้กับลูกค้า คือ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม และสามารถส่ง มอบได้ทันเวลา คุณภาพ/ต้นทุน/การส่งมอบ สังคม ความปลอดภัย/ขวัญกําลังใจ สิ่งแวดล้อม/จริยธรรม พนักงานลูกค้า
  • 11. 11บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ พนักงาน เป็นบุคคลที่มีความสําคัญต่อกระบวนการผลิตและดําเนินงานมีแนว ทางการสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน คือ การใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยของ พนักงานในขณะปฏิบัติงานและมีสิ่งจูงใจเพื่อสร้างขวัญกําลังใจในการทํางานให้สูงขึ้น สังคม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจ การดําเนินงานจะต้องแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างการยอมรับของสังคม เช่น การควบคุมระบบการดําเนินงาน ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมต่อสังคม 1.4 การเพิ่มผลิตภาพ (Productivities) ผลิตภาพเป็นการใช้ปัจจัยนําเข้าของระบบการดําเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการเพิ่มผลิตภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนในการดําเนินงานให้ตํ่าลง อันจะ นําไปสู่ข้อได้เปรียบในด้านการแข่งขันของธุรกิจ Stevenson and Chuong (2014) ได้ให้ความหมายของผลิตภาพไว้ดังนี้ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยนําเข้า โดยการวัดอัตราส่วนของผลิตผลที่ได้ ต่อปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไป สุมน มาลาสิทธิ์ (2552) อธิบายความหมายของผลิตภาพไว้ว่า หมายถึงอัตราส่วน ของผลิตผลที่ผลิตแล้วใช้ได้หรือขายได้ ไม่นับรวมของเสียเทียบกับปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไป ทั้งหมด ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนํามาเปรียบเทียบกับอดีตได้ สูตรการวัดผลิตภาพ ผลิตภาพ (Productivity) = ผลิตผล (Output) ปัจจัยนําเข้า (Input) ………(1.1)
  • 12. 12 การจัดการดําเนินงาน 1.4.1 การวัดผลิตภาพ การวัดผลิตภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนํามาใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการดําเนินงานที่สําคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบความสามารถของกระบวนการและ การกําหนดแนวทางการปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น องค์ประกอบของการวัดผลิตภาพ การวัดผลิตภาพมีองค์ประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ผลิตผล (Outputs) และปัจจัย นําเข้า (Inputs) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (จําลักษณ์ ขุนพลแก้ว, 2544) 1. ผลิตผล (Outputs) คือสินค้าหรือบริการที่มีคุณลักษณะตรงตามข้อกําหนดของ ลูกค้าเท่านั้น ดังนั้นผลิตผลที่ใช้วัดผลิตภาพจะต้องเป็นสินค้าที่ดี ไม่นับรวมสินค้าชํารุด หรือบกพร่อง และเป็นสินค้าสําเร็จรูปหรืองานที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยของกิจกรรมนั้น ๆ ซึ่ง ผลิตผลอาจอยู่ในรูปแบบปริมาณการผลิตมูลค่าการผลิตหรือมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการวัด 2. ปัจจัยนําเข้า (Inputs) คือทรัพยากรที่ใช้ไปเพื่อการผลิตสินค้าและบริการ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร เวลา เงินทุน ฯลฯ การเก็บข้อมูลปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไปแต่ละชนิด มีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวัดเช่นกัน โดยข้อมูลของปัจจัยนําเข้า แต่ละชนิดอาจจะมีหลายรูปแบบดังนี้ ด้านวัตถุดิบ : ปริมาณหรือมูลค่าวัตถุดิบที่ใช้ไป ด้านแรงงาน : ปริมาณแรงงาน ค่าจ้างหรือชั่วโมงทํางาน ด้านเครื่องจักร : ปริมาณเครื่องจักรต้นทุนหรือจํานวนชั่วโมงการทํางาน ด้านทุน : ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไป ด้านพลังงาน : ปริมาณการใช้หรือค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ประเภทของการวัดผลิตภาพ การวัดผลิตภาพสามารถวัดได้ 2 วิธี คือ การวัดผลิตภาพปัจจัยรวม และการวัดผลิต ภาพปัจจัยเดี่ยว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (Russell and Render, 2011)
  • 13. 13บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ 1. การวัดผลิตภาพปัจจัยรวม (Multifactor Productivity) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการทราบอัตราผลิตภาพโดยรวมขององค์กร จึงปัจจัยนําเข้าที่ใช้ไปทั้งหมดมารวมกัน แล้วใช้เป็นตัวหาร ดังนั้นต้องแปลงข้อมูลของปัจจัยนําเข้าแต่ละประเภทให้เป็นหน่วย เดียวกันก่อนคือเป็นเงินแล้วนํามารวมกัน การวัดผลิตภาพด้วยวิธีนี้จะทําให้ได้ข้อมูลจาก การวัดในภาพรวมเท่านั้น ไม่สามารถทราบรายละเอียดประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยนําเข้าแต่ ละประเภทได้ การวัดผลิตภาพปัจจัยรวมมีสูตรในการคํานวณดังนี้ 2. การวัดผลิตภาพปัจจัยเดี่ยว (Single-Factor Productivity) มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัดผลิตภาพของปัจจัยการนําเข้าเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นโดยการนําปัจจัยนําเข้าที่ต้องการวัด ผลิตภาพไปเป็นตัวหาร การวัดด้วยวิธีนี้จะทําให้ได้ข้อมูลในรายละเอียดมากกว่าการวัดด้วย ปัจจัยรวม จึงทําให้สามารถหาประเด็นปัญหาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ตัวอย่างของสูตรสําหรับการวัดผลิตภาพปัจจัยเดี่ยวด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน และด้านทุนมี ดังนี้ ผลิตภาพปัจจัยรวม = ผลิตผล วัตถุดิบ + แรงงาน + เครื่องจักร + ทุน + พลังงาน + อื่น ๆ ผลิตภาพ ด้านวัตถุดิบ = ผลิตผล วัตถุดิบ ผลิตภาพ ด้านแรงงาน = ผลิตผล แรงงาน ผลิตภาพ ด้านทุน = ผลิตผล ทุน ………(1.2) ………(1.3) ………(1.4) ………(1.5)
  • 14. 14 การจัดการดําเนินงาน ตัวอย่างที่ 1.1 บริษัทแสงชัยรับเบอร์ โปรดักส์ จํากัด ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการผลิต ยางแผ่นรมควัน ในระหว่าง พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 ปรากฏข้อมูลดังนี้ ข้อมูลเพิ่มเติม : ราคาวัตถุดิบเฉลี่ย พ.ศ. 2559 ตันละ 52,000 บาท พ.ศ. 2560 ตันละ 48,000 บาท ค่าแรงเฉลี่ยต่อชั่วโมง พ.ศ. 2559 ชั่วโมงละ 30 บาท และ พ.ศ. 2560 ชั่วโมงละ 32 บาท ต้นทุนเฉลี่ยการเดินเครื่องจักร พ.ศ. 2559 ชั่วโมงละ 45 บาท และ พ.ศ. 2560 ชั่วโมง ละ 42 บาท ราคาเฉลี่ยสินค้าที่ขาย พ.ศ. 2559 ตันละ 75,000 บาท และ พ.ศ. 2560 ตันละ 72,000 บาท จากโจทย์ 1) ให้คํานวณการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยรวม เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 2) ให้คํานวณการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยเดี่ยวด้านวัตถุดิบด้านพนักงาน และด้าน เครื่องจักร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 ข้อ 1) สูตรการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยรวม รายการ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 ผลิตผล (ตัน) วัตถุดิบ (ตัน) พนักงาน (ชั่วโมง) เครื่องจักร (ชั่วโมง) ค่าใช้จ่ายการผลิต (บาท) 540 600 19,200 1,100 710,500 675 750 20,500 1,500 682,000 ผลิตภาพปัจจัยรวม = ผลิตผล วัตถุดิบ + แรงงาน + เครื่องจักร + ทุน
  • 15. 15บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ แปลงปัจจัยนําเข้าแต่ละประเภทให้เป็นหน่วยเดียวกัน (บาท) พ.ศ. 2559 วัตถุดิบ = (600 x 52,000) = 31,200,000 บาท ค่าแรงพนักงาน = (19,200 x 30) = 576,000 บาท ค่าเดินเครื่องจักร = (1,100 x 45) = 49,500 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิต = 710,500 บาท รวมปัจจัยนําเข้า = 32,536,000 บาท ยอดขายรวม = (540 x 75,000) = 40,500,000 บาท พ.ศ. 2560 วัตถุดิบ = (750 x 48,000) = 36,000,000บาท ค่าแรงพนักงาน = (20,500 x 32) = 656,000บาท ค่าเดินเครื่องจักร = (1,500 x 42) = 63,000บาท ค่าใช้จ่ายการผลิต = 682,000บาท รวมปัจจัยนําเข้า = 37,401,000 บาท ยอดขายรวม = (675 x 72,000) = 48,600,000 บาท ผลการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยรวม พ.ศ. 2559 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2560 ได้ข้อมูลดังนี้ รายการ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 ผลิตภาพปัจจัยรวม การวัดอัตราผลิตภาพด้วยปัจจัยรวมของ พ.ศ. 2560 เท่ากับ 1.30 เท่า และ พ.ศ. 2559 เท่ากับ 1.25 เท่า แสดงว่า พ.ศ. 2560 มีประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยนําเข้าโดยรวมของ ระบบการผลิตดีกว่า พ.ศ. 2559 40,500,000 32,536,000 = 1.25= 48,600,000 37,401,000 = 1.30=
  • 16. 16 การจัดการดําเนินงาน ข้อ 2) สูตรการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยเดี่ยวด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน และด้านเครื่องจักร การวัดผลิตภาพปัจจัยเดี่ยวในแต่ละด้านจะใช้ข้อมูลเชิงปริมาณดังนี้ ด้านวัตถุดิบ คือ ปริมาณวัตถุดิบใช้ไป (ตัน) ด้านแรงงาน คือ จํานวนชั่วโมงแรงงานใช้ไป (ชั่วโมง) และ ด้านเครื่องจักร คือ ชั่วโมงเครื่องจักรใช้ไป (ชั่วโมง) เพราะมีความสอดคล้องกับการวัดและ ประเมินผลของระบบการผลิตและดําเนินงานมากกว่าการใช้ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงาน หรือต้นทุนเครื่องจักร รายการ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 ผลิตภาพ ด้านวัตถุดิบ ผลิตภาพ ด้านพนักงาน ผลิตภาพ ด้านเครื่องจักร การวัดผลิตภาพ ด้านวัตถุดิบ = ผลิตผล วัตถุดิบใช้ไป การวัดผลิตภาพ ด้านแรงงาน = ผลิตผล ชั่วโมงแรงงาน การวัดผลิตภาพ ด้านเครื่องจักร = ผลิตผล ชั่วโมงเครื่องจักร 540 600 = 0.90 675 750 = 0.90 540 19,200 = 0.028 675 20,500 = 0.033 540 1,100 = 0.49 675 1,500 = 0.45
  • 17. 17บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ ผลที่ได้จากการวัดผลิตภาพด้วยปัจจัยเดี่ยว เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2560 กับ พ.ศ. 2559 พบว่า ด้านแรงงานมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.028 เป็น 0.033 ด้านวัตถุดิบมีผลิต ภาพเท่าเดิมที่ 0.90 และด้านเครื่องจักรมีผลิตภาพลดลงจาก 0.49 เหลือ 0.45 ดังนั้นบริษัท แห่งนี้ควรหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้สูงขึ้น 1.4.2 ลักษณะการเพิ่มผลิตภาพ แนวปฏิบัติการพัฒนาปรับปรุงผลิตภาพให้สูงขึ้น สามารถทําได้ 5 วิธีด้วยกันดังนี้ (กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548) 1. Efficient หมายถึง การผลิตสินค้าให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้นจากเดิม ในขณะที่ใช้ ปัจจัยนําเข้าเท่าเดิม ซึ่งหมายถึงการใช้ทรัพยากรทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2. Downsize หมายถึง การผลิตสินค้าให้ได้ผลิตผลเท่าเดิม และควบคุมให้ใช้ปัจจัย นําเข้าน้อยลงจากเดิม วิธีนี้ใช้เมื่อกิจการมีเป้าหมายไม่ต้องการเพิ่มผลิตผล ดังนั้นแนวทาง ที่จะทําให้กิจการมีอัตราผลิตภาพที่สูงขึ้นคือการหาทางลดปัจจัยนําเข้าลงจากเดิม 3. Expand หมายถึง การผลิตสินค้าให้ได้มากขึ้นกว่าเดิมแต่ควบคุมอัตราการ เพิ่มขึ้นของปัจจัยนําเข้าให้น้อยกว่าอัตราผลิตผลที่เพิ่มขึ้น วิธีนี้ใช้เมื่อกิจการมีเป้าหมายเพิ่ม ผลิตผลให้มากขึ้นในช่วงที่ตลาดกําลังเติบโต ดังนั้นปัจจัยนําเข้าในส่วนต้นทุนผันแปรจะ เพิ่มขึ้นตามด้วย แนวทางการเพิ่มผลิตภาพในลักษณะนี้จึงจําเป็นต้องทําให้อัตราการเพิ่มขึ้น ของปัจจัยนําเข้าน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของผลิตผล เช่น ถ้าอัตราการเพิ่มขึ้นของปัจจัย นําเข้าเท่ากับ 15 % อัตราการเพิ่มขึ้นของผลิตผลต้องมากกว่า 15 % 4. Retrench หมายถึง การลดปริมาณการผลิตสินค้าลงจากเดิม และควบคุมอัตรา การลดลงของปัจจัยนําเข้าให้มากกว่าอัตราผลิตผลที่ลดลง วิธีนี้ใช้เมื่อกิจการมีเป้าหมายลด กําลังการผลิตลง เนื่องจากสินค้าอยู่ในช่วงถดถอยหรือภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทําให้ยอดขาย ลดลง แนวทางการเพิ่มผลิตภาพในลักษณะนี้จึงจําเป็นต้องทําให้อัตราการลดลงของปัจจัย นําเข้ามากกว่าอัตราการลดลงของผลิตผล เช่น ถ้าอัตราการลดลงของผลิตผลเท่ากับ 20 % อัตราการลดลงของปัจจัยนําเข้าต้องมากกว่า 20 %
  • 18. 18 การจัดการดําเนินงาน 5. Breakthroughs หมายถึง การเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้มากกว่าเดิม และ ควบคุมการใช้ปัจจัยนําเข้าให้ลดลงจากเดิม เป็นวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นลักษณะการเพิ่มผลิตภาพที่ทําให้อัตราการเพิ่มผลิตภาพสูงที่สุด แต่ก็เป็น วิธีการที่ยากที่สุดเช่นกัน เนื่องจากจะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาวิธีการทํางานใหม่ ๆ การ นําเครื่องมือทันสมัยมาประยุกต์ใช้ หรือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่นั่นเอง รูปที่ 1.4 ลักษณะแนวทางการเพิ่มผลิตภาพ 1.4.3 เทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพ แนวทางในการเพิ่มผลิตภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจาก พนักงานในทุกระดับและทุกหน้าที่งานโดยมีแนวทางดังนี้ (จําลักษณ์ ขุนพลแก้ว, 2544; สุมน มาลาสิทธิ์, 2552) 1. ลดมุดะ (Muda) มุริ (Muri) และมุระ (Mura) มุดะ (Muda) หมายถึง ความสูญเปล่าสิ้นเปลือง คือ กิจกรรมใด ๆ ที่กระทําแล้ว ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มถือว่าเป็นความสูญเปล่า ซึ่งความสูญเปล่าสําหรับการผลิตมี 7 ประการด้วยกัน (7 Wastes) ประกอบด้วย (1) การผลิตมากเกินไป (2) การเก็บสินค้าคงคลัง ลักษณะการเพิ่มผลิตภาพ = เพิ่มขึ้น = เท่าเดิม = ลดลง Efficient ผลิตผล ปัจจัย Breakthroughs ผลิตผล ปัจจัย Downsize ผลิตผล ปัจจัย Expand ผลิตผล ปัจจัย Retrench ผลิตผล ปัจจัย
  • 19. 19บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ ที่ไม่จําเป็น (3) กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิผล (4) การรอคอย (5) การเคลื่อนไหวที่ไม่ จําเป็น (6) การขนส่งในกระบวนการผลิตดําเนินงาน และ (7) การผลิตของเสียหรือการ แก้ไขงาน มุริ (Muri) หมายถึง สภาพที่เหนื่อยยากตรากตรําของพนักงานและเครื่องจักร เนื่องจากการใช้งานที่มากเกินกว่ากําลังความสามารถหรือเกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ มุระ (Mura) หมายถึง ความไม่สมํ่าเสมอ การทํางานที่ไม่ลื่นไหล คุณภาพของ สินค้าและบริการดีบ้างแย่บ้าง 2. ไคเซ็น (Kaizen) เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานและระบบงานให้ดีขึ้นอย่างค่อย เป็นค่อยไป โดยเน้นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทุกระดับในองค์กร เป็นเทคนิคการ ปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพที่เกิดค่าใช้จ่ายน้อย เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นไม่มาก นัก ต้องกระทําอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลในระยะยาว ตัวอย่างกิจกรรมไคเซ็น เช่น กิจกรรม 5ส. QCC TPM TQM 3. นวัตกรรม (Innovation) เป็นการคิดค้นวิธีการปรับปรุงการทํางานและ ระบบงานแบบใหม่ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ในระยะสั้นและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน วิธีนี้จะเน้นการ วิจัยและพัฒนาจากความสามารถของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญระดับมันสมองขององค์กร ดังนั้นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เพราะโดยมากจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความ ทันสมัยให้ก้าวหน้ากว่าคู่แข่ง 4. วงจรการบริหารงาน P-D-C-A เป็นแนวทางการทํางานอย่างเป็นระบบโดยมี ขั้นตอนในการปฏิบัติงานดังนี้ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติ ( Do) การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Act) การกําหนดวิธีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับผลที่ได้จาก การตรวจสอบคือ กรณีที่ 1 ถ้าผลจากการตรวจสอบพบว่ายังทําไม่ได้ตามเป้าหมายต้อง ปรับปรุงแก้ไขโดยการวางแผนใหม่ และกรณีที่ 2 ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบพบว่าบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้ก็จะกําหนดมาตรฐานการทํางานนั้นสําหรับการปฏิบัติงานในครั้งต่อ ๆ ไป ดังรูปที่ 1.5
  • 20. 20 การจัดการดําเนินงาน การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รูปที่ 1.5 วงจรบริหารงาน P-D-C-A และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ที่มา : ดัดแปลงจาก กิติศักดิ์ พลอยพาณิชเจริญ (2557) 5. มาตรฐาน ( Standard) คือวิธีการปฏิบัติงานที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ พนักงานทุกคนยึดถือปฏิบัติในแบบเดียวกันโดยต้องมีการควบคุมการใช้มาตรฐานอย่าง เป็นระบบ ประเภทของมาตรฐานมีดังนี้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ กําหนดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณลักษณะและคุณสมบัติของ ผลิตภัณฑ์เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทั้งหมด เช่น บัตรเดบิต มาตรฐานระบบ เป็นมาตรฐานที่ทําขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าปัจจัยนําเข้าและ ระบบการผลิตและดําเนินงาน เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ทุกประการ เช่น ระบบ คุณภาพ ISO9000 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ฯลฯ มีการแจกจ่ายไปถึงผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน Plan Check Action Do (P-D-C-A) P DC A การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement มาตรฐาน P DC A ระยะเวลา การ เพิ่ม ผล ผลิต Plan Check Action Do (P-D-C-A) P DC A การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement มาตรฐาน P DC A ระยะเวลา การ เพิ่ม ผล ผลิต Plan Check Action Do (P-D-C-A) P DC A การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement มาตรฐาน P DC A ระยะเวลา การ เพิ่ม ผล ผลิต
  • 21. 21บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ 1.5 ขอบเขตหน้าที่งานด้านการจัดการดําเนินงาน Heizer and Render (2011) ได้อธิบายไว้ว่า หน้าที่งานที่สําคัญสําหรับการจัดการ ดําเนินงาน มีประเด็นดังต่อไปนี้ 1. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกชนิดสินค้า และบริการ และกําหนดขั้นตอนของการออกแบบเพื่อให้คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์สามารถ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า นอกจากนี้ การออกแบบสินค้ายังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ วิธีการผลิตที่สะดวกรวดเร็ว ต้นทุนตํ่า รวมถึงการคํานึงถึงการให้บริการหลังการขายและ การซ่อมบํารุงในอนาคต 2. การจัดการคุณภาพ คือ การกําหนดเกณฑ์เพื่อเป็นมาตรฐานสําหรับการยอมรับ หรือปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการ และกําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบ และการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กําหนดการนําระบบคุณภาพ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร รวมทั้งควบคุมต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมด้านคุณภาพให้อยู่ใน ระดับที่เหมาะสม 3. การพยากรณ์ คือ การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด โดยข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์จะ นําไปเป็นข้อมูลเพื่อผลิตสินค้าและบริการให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า 4. การออกแบบกระบวนการและการวางแผนกําลังการผลิต คือ การตัดสินใจ เกี่ยวกับการกําหนดวิธีการและขั้นตอนในการผลิต การเลือกเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ เหมาะสม และการกําหนดระดับกําลังการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าโดย การวางแผนปริมาณปัจจัยนําเข้าให้เพียงพอตามกําลังการผลิตที่ต้องการ 5. การเลือกทําเลที่ตั้ง คือ การตัดสินใจเลือกทําเลที่ตั้งที่ธุรกิจได้ประโยชน์สูงสุด กําหนดปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการพิจารณาเลือกทําเลที่ตั้ง และเทคนิคการตัดสินใจเลือก ทําเลที่ตั้งที่เหมาะสมทั้งนี้เพราะทําเลที่ตั้งที่ดีจะส่งผลต่อรายได้และต้นทุนในการ ดําเนินงาน
  • 22. 22 การจัดการดําเนินงาน 6. การวางผังสถานประกอบการ คือ การกําหนดขนาดพื้นที่สถานประกอบการที่ เพียงพอต่อปริมาณการผลิต การจัดสรรพื้นที่ให้กับแผนกต่าง ๆ และการออกแบบผัง เพื่อให้กระบวนการดําเนินงานเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็ว และต้นทุนตํ่า 7. การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน คือ การกําหนดโครงสร้าง องค์กรด้านการผลิตและดําเนินงาน การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การฝึกอบรมและ พัฒนาพนักงาน การสร้างแรงจูงใจ และการออกแบบงานเพื่อให้พนักงานทํางานสะดวก สามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่วางไว้ 8. การจัดการโซ่อุปทาน คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสร้างความร่วมมือ การ ประสานงานเพื่อร่วมกันวางแผนและการพยากรณ์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า ทั้งนี้เพื่อให้การไหลของสินค้า ข้อมูลสารสนเทศ และการชําระเงินของธุรกิจทุกระดับในโซ่อุปทานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 9. การจัดการสินค้าคงคลัง คือ การวางแผนปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลังแต่ละ รายการให้อยู่ในระดับที่เหมะสม การกําหนดขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด เวลาที่เหมาะสม สําหรับการสั่งซื้อ การวางแผนความต้องการวัสดุ รวมถึงเทคนิคการควบคุมสินค้าคงคลัง เพื่อให้มีถูกต้องแม่นยําและมีต้นทุนตํ่า เช่น การจัดการสินค้าคงคลังระบบ ABC การเพิ่ม รอบการหมุนของสินค้าคงคลัง และการตรวจนับสินค้าคงคลัง 10. การวางแผนการผลิตระยะกลางและระยะสั้น คือ การวางแผนกําลังการผลิต รวม ซึ่งเกี่ยวกับการจัดสรรกําลังการผลิตที่มีเพื่อผลิตสินค้าแต่ละชนิดให้มีกําไรสูงสุดและ การจัดตารางการผลิต ซึ่งจะเกี่ยวกับการกําหนดงานให้กับเครื่องจักรหรือคนงาน การ จัดลําดับการทํางานก่อนหลัง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และต้นทุนตํ่าที่สุด โดยมี เป้าหมายให้งานทุกงานสามารถผลิตเสร็จทันตามแผนและมีต้นทุนตํ่าที่สุด 11. การบํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ การกําหนดอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการซ่อมบํารุงเครื่องจักร การกําหนดแผนงานการซ่อมบํารุงรักษา การควบคุมการ ซ่อมบํารุง การเสริมสํารองอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่มีความสําคัญ
  • 23. 23บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ 1.6 ประเภทของการผลิตและการดําเนินงาน การแบ่งประเภทของการผลิตและดําเนินงาน สามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ (1) แบ่ง ประเภทตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ และ (2) แบ่งประเภทตามระบบการผลิตและ ปริมาณการผลิตซึ่งจะกล่าวถึงดังรายละเอียดต่อไปนี้ วิธีที่ 1 แบ่งประเภทตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละ ชนิดจะมีระบบการผลิตและพฤติกรรมความต้องการของลูกค้าแตกต่างกัน จึงสามารถ จัดแบ่งประเภทของการผลิตและดําเนินงานได้ 3 ประเภท คือ (สุมน มาลาสิทธิ์, 2552) ระบบการผลิตตามคําสั่งซื้อ (Made-to-Order) คือ ระบบการผลิตที่ผลิตสินค้าตาม ปริมาณที่ได้รับคําสั่งซื้อจากลูกค้า จึงเหมาะสําหรับการผลิตสินค้าที่มีราคาสูงและมีความ ต้องการแบบเฉพาะเจาะจงสําหรับลูกค้าบางรายเท่านั้น ดังนั้นสินค้าที่เหมาะสําหรับการ ผลิตในลักษณะนี้ ได้แก่ เครื่องประดับราคาแพง การผลิตเครื่องบิน การสร้างบ้าน เป็นต้น ระบบการผลิตเพื่อรอจําหน่าย (Made-to-Stock) คือ ระบบการผลิตสินค้าตาม ตัวเลขที่ได้จากการพยากรณ์โดยผู้ผลิตจะผลิตสินค้าสําเร็จรูปไว้รอจําหน่าย ระบบการผลิต ในลักษณะนี้จึงเหมาะสําหรับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ที่สินค้ามีความต้องการอย่าง สมํ่าเสมอและแน่นอน และส่วนใหญ่ราคาสินค้าต่อหน่วยก็ไม่สูงมาก เช่น อาหารกระป๋ อง เสื้อผ้า เครื่องสําอาง ของใช้ในครัวเรือน ระบบการผลิตเพื่อรอคําสั่งซื้อ (Assembly-to-Order) คือ ระบบการผลิตที่ผลิตเก็บ เป็นสินค้าคงคลังในรูปของงานระหว่างทํา หรือการผลิตชิ้นส่วนเพื่อรอการประกอบ เมื่อ ได้รับคําสั่งซื้อจากลูกค้าก็จะนํางานระหว่างทําที่เก็บไว้มาผลิตต่อให้เสร็จเป็นสินค้า สําเร็จรูป ระบบการผลิตในลักษณะนี้จึงเหมาะสําหรับการผลิตสินค้าที่ค่อนข้างมีความ เฉพาะเจาะจงของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และสินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตแตกต่างกันที่กระบวนการ สุดท้ายโดยที่กระบวนการขั้นต้นเหมือนกัน เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์ จะผลิตชิ้นส่วนเก็บ ไว้ก่อนแล้วค่อยนํามาประกอบ
  • 24. 24 การจัดการดําเนินงาน วิธีที่ 2 แบ่งประเภทตามระบบการผลิตและปริมาณการผลิต สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้ (Jacobs and Chase, 2014; กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548) การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) เป็นระบบการผลิตที่ใช้สําหรับ การผลิตสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีเวลาในการผลิตนาน ดังนั้นการผลิตแต่ละครั้งจะมี ปริมาณผลิตผลน้อย โดยวิธีการจัดการโครงการจะจําแนกงานเป็นงานย่อย ๆ กําหนด ระยะเวลาในงานย่อยแต่ละงาน แล้วนํางานย่อยมาจัดลําดับตามขั้นตอนการทํางานและ ควบคุมการจัดสรรทรัพยากรในแต่ละกิจกรรมย่อยโดยมีเป้าหมายเพื่อให้งานเสร็จทันตาม กําหนดและต้นทุนเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งหลักการที่นิยมใช้ในการจัดการโครงการ ได้แก่ PERT และ CPM เช่น การก่อสร้างอาคาร การต่อเรือ การสร้างถนน การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermittent Production) เป็นระบบการ ผลิตที่เหมาะสําหรับกิจการที่มีการผลิตสินค้าหลายชนิด ปริมาณการผลิตต่อครั้งของสินค้า แต่ละชนิดไม่มาก และสินค้าแต่ละชนิดสามารถใช้เครื่องจักรร่วมกัน ดังนั้นแผนการผลิต ในแต่ละช่วงเวลาจะมีการปรับเปลี่ยนชนิดของสินค้าที่ผลิตบ่อย ๆ เช่นโรงงานผลิต เฟอร์นิเจอร์ที่มีสินค้าหลายประเภท เช่น โต๊ะ เตียง ตู้ เก้าอี้ การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) เป็นระบบการผลิตที่มีการผลิตสินค้าไม่ มากชนิดและปริมาณการผลิตต่อครั้งจะมากกว่าการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง ส่วนเครื่องจักร และอุปกรณ์จะมีความเฉพาะเจาะจงกับสินค้าที่ผลิตมากขึ้น เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อโหล การผลิตแบบไหลผ่าน (Line–Flow หรือ Assembly Line) เป็นระบบการผลิตที่ ผลิตสินค้าน้อยชนิด หรืออาจจะมีสินค้าชนิดเดียวแต่มีหลายรุ่น จึงทําให้เกิดความต่อเนื่อง ในการผลิต ทําให้สินค้าที่ได้จากการผลิตแต่ละครั้งมีจํานวนมาก เครื่องจักรมีความ เฉพาะเจาะจงสําหรับสินค้าแต่ละชนิดหรือแต่ละรุ่น ดังนั้นเครื่องจักรจะถูกจัดวางแยกกัน อย่างชัดเจนในแต่ละสายการผลิต เช่น โรงงานประกอบฮาร์ดดิสก์ จะแยกสายการประกอบ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 1 นิ้ว ขนาด 2.5 นิ้ว และขนาด 3.5 นิ้ว หรือโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • 25. 25บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Processหรือ Continuous Flow Production) เป็นระบบการผลิตที่ผลิตสินค้าชนิดเดียว การผลิตจะมีความต่อเนื่องตลอดเวลา เครื่องจักร ถูกจัดวางอยู่กับที่ตามขั้นตอนการผลิต และจะใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติหรือ กึ่งอัตโนมัติ คือจะใช้เครื่องจักรเป็นหลักสําหรับการผลิตโดยอาจจะมีคนงานจํานวนน้อย ซึ่งจะทําหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร เช่น การกลั่นนํ้ามัน การผลิตสารเคมี 1.7 แนวโน้มการจัดการดําเนินงานในอนาคต การบริหารจัดการดําเนินงานในยุคโลกาภิวัตน์ ที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทําให้การบริหารงานในอนาคตจะมีความท้าทายมากขึ้นดังนี้ (Heizer and Render, 2011; กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548) การแข่งขันในระดับสากล เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า ทําให้บริษัทชั้นนําของ โลกขยายตลาดได้กว้างขึ้น ส่งผลให้บริษัทในประเทศต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งใน ด้านราคา คุณภาพ ความรวดเร็วในการตอบสนองต่อลูกค้า และการปรับเปลี่ยนระบบการ ดําเนินงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรม ผู้บริโภคและการแข่งขัน การเป็นพันธมิตรในโซ่อุปทาน ธุรกิจในอนาคตจะมีการสร้างความสัมพันธ์และ ร่วมมือกันเพื่อการขยายตลาด ขยายฐานการผลิตการพัฒนารูปแบบจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบด้วย การเป็นพันธมิตร รวมถึงการจัดหาเงินทุนที่มีขอบเขตขยายไปทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพในการดําเนินงานของธุรกิจทุกระดับในโซ่อุปทาน การใช้ระบบทันเวลาพอดี หรือที่เรียกว่า Just-in-time (JIT) เป็นกลยุทธ์การผลิต สินค้าที่พอดีกับความต้องการ ไม่เน้นการเก็บสินค้าคงคลังทั้งในระดับวัตถุดิบ งานระหว่าง ทําและสินค้าสําเร็จรูป ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังและพฤติกรรม ของลูกค้าที่มีเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 26. 26 การจัดการดําเนินงาน สินค้ามีความหลากหลาย เนื่องจากสินค้าจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในการใช้งาน มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ทําให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าในตลาดให้มี ความหลากหลาย ทําให้ลูกค้ามีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น ระดับการให้บริการสูงขึ้น ในอดีตผู้ผลิตอาจจะให้ความสนใจต่อการให้บริการไม่ มากนัก แต่ในอนาคตธุรกิจต้องให้ความสนใจในการบริการมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความ แตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากคุณภาพสินค้านั้นสามารถพัฒนา ทันกันได้ เน้นด้านคุณภาพ คุณภาพยังคงเป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับการแข่งขันในอนาคต เพราะ ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสินค้าได้ง่ายขึ้น เพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ โดยการ จัดการคุณภาพจะเน้นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรที่ทุกคนมีส่วนร่วม กระบวนการผลิตต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อรองรับการตอบสนองต่อความต้องการ ของลูกค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบระบบการผลิตและดําเนินงาน จะต้องคํานึงถึงการปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในอนาคตเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีการนําเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น เพื่อรองรับการผลิต จํานวนมาก และเพื่อความถูกต้องและรวดเร็วของระบบการดําเนินงาน เช่น ระบบการ วางแผนทรัพยากร (ERP) ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) การใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิต การให้อํานาจกับพนักงาน เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมกับการ ปรับปรุงระบบการทํางานเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้นโดยการสร้าง เครือข่ายการสื่อสารให้เข้าถึงพนักงาน จัดตั้งทีมงานมอบอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ มี การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน และกําหนดให้หัวหน้างานทําหน้าที่เป็นผู้ให้ความ ช่วยเหลือสนับสนุน
  • 27. 27บทที่ 1 การจัดการดําเนินงานและการเพิ่มผลิตภาพ คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ ระบบการดําเนินงานและนโยบายการบริหารงาน เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และใช้เป็นเหตุผลในการเลือกซื้อ สินค้า นอกจากนี้ ผู้ผลิตต้องการดําเนินงานอย่างมีจริยธรรมโดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า พนักงาน ภาครัฐ ผู้ถือหุ้น และคู่แข่ง 1.8 กลยุทธ์การจัดการดําเนินงาน ผู้จัดการฝ่ายผลิตและดําเนินงานจําเป็นต้องกําหนดกลยุทธ์การจัดการดําเนินงานซึ่ง เป็นกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ โดยจะต้องกําหนดให้สอดคล้องกับช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพราะในแต่ละช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ บริษัทจะให้ความสําคัญในเรื่องต่าง ๆ ที่แตกต่าง กันดังนี้ (กตัญ�ู หิรัญญสมบูรณ์, 2548) 1. ช่วงแนะนํา (Introduction Stage) สภาพของการดําเนินธุรกิจ พบว่าสินค้ามี ยอดขายน้อย เนื่องจากเป็นสินค้าใหม่ ลูกค้ายังไม่ค่อยรู้จัก ระดับการแข่งขันก็น้อย เพราะคู่ แข่งขันยังเข้ามาในตลาดน้อย กลยุทธ์ด้านการจัดการดําเนินงาน 1. เน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้คุณลักษณะของสินค้าสอดคล้องกับ ความต้องการของลูกค้า 2. มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของสินค้าและกระบวนการผลิตบ่อย ๆ เพื่อให้ได้ สินค้าและกระบวนการที่ดีที่สุด 3. ผลิตทีละน้อย ๆ เพื่อทดลองตลาด ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าค้างสต็อก 4. สรรหาพนักงานที่มีทักษะสูงมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในหน้าที่งาน หลากหลาย เนื่องจากสินค้าและกระบวนการยังมีความไม่แน่นอน จึงต้องอาศัย ความสามารถของพนักงานสําหรับการควบคุมกระบวนการผลิต