SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 10
Baixar para ler offline
1
ภาคกลาง
อนุสาวรีย์พระยาเสือหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
3
	 “พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้า      
เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นไทย เป็นเจ้าของแผ่นดิน       
เหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดิน      
แค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีก จนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้น
ชายแดน  ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใครนอกจากรบเพื่อแผ่นดินของ
เจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้าจะมอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็น      
สุขสืบไป” นี่คือค�ำพูดของพระยาเสือหรือสมเด็จพระบวรราชเจ้า
มหาสุรสิงหนาท ก่อนเข้าตีค่ายพม่าในสงครามเก้าทัพ
	 ด้วยความดุดันเด็ดขาดองอาจในการรบของกรมพระราชวังบวรฯ
ข้าศึกจึงครั่นคร้ามจนได้รับพระสมัญญานามว่า “พระยาเสือ” ในค่าย
ทหารแห่งใดมีทหารหนีทัพ พระยาเสือจะทรงบัญชาให้สร้างครกขนาด
มหึมาเอาไว้ เพื่อใช้โขลกทหารหนีทัพ เพราะหากปล่อยให้ทหารหนีทัพ
กันหมดก็ไม่สามารถรักษาเอกราชของบ้านเมืองเอาไว้ได้ ในคราวหนึ่ง
มีพระบัณฑูรให้ตัดศีรษะพระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน�้ำ และ
พระยาเพชรบุรี โทษฐานบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ทหารกองโจร
ปล่อยให้ข้าศึกเล็ดลอดน�ำเสบียงเข้ามาส่งทางช่องทับศิลา และในศึก
อะแซหวุ่นกี้เมื่อพระองค์รับสั่งให้ทหารไทยเป็นฝ่ายรุกเข้าไปเมื่อทหาร
ผู้นั้นไม่ท�ำตามที่พระองค์ทรงบัญชาจึงทรงใช้ดาบฟันศีรษะทหารขลาด
ผู้นั้นจนขาดกระเด็นเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น
พระยาเสือ
(สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)
4
พระราชประวัติส่วนพระองค์
	 ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖ ณ
ต�ำบลป้อมเพชร พระนครศรีอยุธยา ทรงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยา
โกษาธิบดี (ปาน) ผู้เป็น “ราชทูตลิ้นทอง” ของสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช
	 เจ้าพระยาโกษาปานมีบุตรคนโตชื่อทองค�ำ ต่อมาได้เป็นพระยา
ราชนิกูล ปลัดทูลฉลองในกรมมหาดไทย
	 พระยาราชนิกูลมีบุตรคนโตชื่อทองดี รับราชการเป็นเสมียนตรา
ในกรมมหาดไทย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพินิจอักษร
	 หลวงพินิจอักษร (ทองดี) มีบุตรกับนางดาวเรือง (หยก) ๕ คน
ดังมีรายนามต่อไปนี้
	 ๑.	พระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี (สา)
	 ๒.	ขุนรามณรงค์ (เสียชีวิตก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒)
	 ๓.	พระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว)
	 ๔.	พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ทองด้วง)
	 ๕.	สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท (บุญมา)
	 ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือพระเจ้าเอกทัศน์
แห่งกรุงศรีอยุธยา กรมพระราชวังบวรฯ ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็ก
หุ้มแพรต�ำแหน่งนายสุจินดา
	 ขณะที่กรุงศรีอยุธยาก�ำลังจะเสียเอกราชให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒
ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ในสมัยนั้น กรมพระราชวังบวรฯ ด�ำรงต�ำแหน่งนาย
สุจินดามีความหวั่นเกรงว่าหากอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปอาจจะถูก
พม่าจับตัวไปเป็นเชลยศึก เมื่อทราบว่าพระยาตากน�ำทหาร ๕๐๐ นาย
5
ไปตั้งชุมนุมอยู่ที่เมืองจันทบุรีนายสุจินดาจึงหาโอกาสหลบหนีออกจาก
กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเพื่อนอีก ๓ คน
	 นายสุจินดาเตรียมเสบียงอาหารและฆ้องกระแตอันเป็นมรดก
ตกทอดมาจากบรรพบุรุษไปด้วย โดยใช้เรือโกลนเป็นพาหนะ พายหนี
พม่าไปจนถึงต�ำบลบางไทรสีกุก๑
ขณะนั้นมีค่ายพม่าตั้งอยู่เรียงราย
ตามริมฝั่งแม่น�้ำ
	 เมื่อถึงเวลาทุ่มกว่า ทหารพม่าเห็นเรือผ่านมาก็ตีฆ้องให้หยุดเรือ
นายสุจินดาจึงตีฆ้องกระแตตอบไป ทหารพม่าคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน
ก็ปล่อยให้เรือผ่านไปได้ เรือของนายสุจินดาล่องผ่านเมืองสามโคกไป
ยังเมืองนนทบุรี มีพม่าตั้งค่ายตามรายทางอีกหลายแห่ง นายสุจินดาก็
ใช้วิธีตีฆ้องตอบจึงผ่านไปได้ทุกด่านเรือของนายสุจินดาล่องมาถึงบ้าน
บางบัวทอง บริเวณอ้อมเกร็ด เป็นเวลาฟ้าสางพอดี นายสุจินดาแอบ
หลบซ่อนตัวอยู่รอจนพลบค�่ำจึงล่องเรือไปถึงวัดแจ้ง๒
เมืองธนบุรี เดิมที
นายสุจินดาวางแผนว่าจะพายเรือไปจนถึงราชบุรี แต่มีด่านของทหาร
	 ๑	
ต�ำบลสีกุกปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตอ�ำเภอบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
	 ส่วนคลองสีกุก คือแม่น�้ำน้อยที่ไหลผ่านบริเวณอ�ำเภอเสนา จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา
	 แม่น�้ำน้อยเป็นแม่น�้ำสาขาแยกออกจากแม่น�้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท
ก่อนจะไหลผ่าน จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว
ไหลไปรวมกับแม่น�้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อ�ำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
	 แม่น�้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น ๑๔๕ กิโลเมตร มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตาม
ท้องถิ่นที่ไหลผ่าน
	 ๒	
วัดแจ้ง คือ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
6
พม่าเต็มไปด้วยแสงไฟ นายสุจินดาจึงเบนหัวเรือเข้าไปหลบในวัดสลัก๓
แล้วพลิกคว�่ำเรือครอบศีรษะตนเองกับพวก รอดสายตาของทหารพม่า
ไปได้
	 เมื่อพม่าผ่านไป นายสุจินดากับเพื่อนจึงกู้เรือพลิกหงายขึ้นมา
รอจนถึงเวลาเดือนตกจึงพายเรือข้ามจากวัดสลักไปยังฝั่งวัดแจ้ง
ขณะนั้นเสบียงอาหารจมน�้ำหมดเหลือแต่ฆ้องกระแตใบเดียว เมื่อถึง
หน้าวัดแจ้งก็จมเรือโกลนลงที่ท่าน�้ำแล้วพยุงเรือ เข้าไปซ่อนไว้ในคลอง
บางกอกใหญ่ แล้วพากันใช้สวะคลุมหัวพรางตัวจากสายตาข้าศึก
เมื่อว่ายน�้ำไปจนถึงวัดสังข์กระจาย๔
จึงกู้เรือโกลนขึ้นมาพาย โดยมี
จุดหมายปลายทางคือเมืองราชบุรี
	 ในสมัยนั้นนายทองด้วงพี่ชายของนายสุจินดา(บุญมา)มีต�ำแหน่ง
เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี นายสุจินดาพาเพื่อนไปหาหลวงยก-
กระบัตรเมืองราชบุรีซึ่งพาครอบครัวไปหลบซ่อนตัวจากทหารพม่าอยู่
ในป่าแล้วได้เล่าให้หลวงยกกระบัตรฟังว่าพระยาตากตั้งชุมนุมรวบรวม
ผู้คนเพื่อรอการกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาอยู่ทางภาคตะวันออก
	 หลวงยกกระบัตรแนะน�ำให้นายสุจินดาไปหานางนกเอี้ยงผู้เป็น
มารดาของพระยาตากซึ่งขณะนี้หนีพม่าไปอยู่กับญาติที่บ้านแหลม
ต�ำบลบางครก แขวงเมืองเพชรบุรี หลวงยกกระบัตรรู้จักมักคุ้นกับ
พระยาตากเพราะเคยบวชเรียนและรับราชการมาด้วยกัน จึงน�ำแหวน
	 ๓
	วัดสลัก คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
	 ๔
	วัดสังข์กระจายวรวิหาร ตั้งอยู่บนฝั่งเหนือคลองบางกอกใหญ่ กรุงเทพ-
มหานคร
7
พลอยไพฑูรย์ไป ๑ วง พลอยบุษราคัมน�้ำทอง ๑ วง และดาบคร�่ำทอง
โบราณ ๑ เล่ม ฝากไปให้พระยาตาก และได้ก�ำชับฝากไปบอกว่า
ดาบนั้นเป็นของตนมอบให้พระยาตาก ส่วนแหวน ๒ วงนั้น เป็นของ
ภรรยา ขอฝากไปเป็นเครื่องร�ำลึกถึงกันในยามยาก
	 นายสุจินดาเดินทางไปตามหานางนกเอี้ยงที่เมืองเพชรบุรี
จนพบตัว นางนกเอี้ยงดีใจที่ได้พบนายสุจินดาเพราะคุ้นเคยกันมาก่อน
จึงตามนายสุจินดาไปหาพระยาตากที่เมืองจันทบุรี
	 พระยาตากดีใจเป็นอย่างมากเมื่อได้พบกับมารดาที่พลัดพราก
จากกันในช่วงกรุงแตก พระยาตากได้รับของฝากจากหลวงยกกระบัตร
ก็กล่าวกับนายสุจินดาว่า ขอบใจหนักหนาที่อยู่ไกลยังมีความอุตสาหะ
คิดถึงกันเช่นนี้ เขาเรียกว่า กัลยาณมิตร ทั้งยังยกย่องชมเชยความ
เฉลียวฉลาดของนายสุจินดาที่สามารถหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาและ
พานางนกเอี้ยงมาจันทบุรีได้อย่างปลอดภัย จึงปูนบ�ำเหน็จความดี
ความชอบโดยแต่งตั้งให้เป็นพระมหามนตรี เจ้ากรมพระต�ำรวจในขวา
ขณะนั้นนายสุจินดาอายุได้ ๒๔ ปี
	 ต่อมา พระมหามนตรี (บุญมา) ได้ขออนุญาตพระยาตากไปรับ
นายทองด้วงพี่ชายเข้ามารับราชการด้วยกัน
	 ๒ พี่น้อง บุญมากับทองด้วงเป็นแม่ทัพคู่ใจของพระยาตากซึ่ง
ต่อมาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
8
การท�ำสงครามในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
การปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ร่วมกับบรรดาทหารเสือของ
สมเด็จพระเจ้าตากสิน
	 ภายหลังสร้างกรุงธนบุรีแล้วยังมีชุมนุมซึ่งท�ำการซ่องสุมผู้คนอยู่
ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาตั้งแต่คราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ สมเด็จพระเจ้า
ตากสิน ทรงใช้เวลาถึง ๓ ปี ปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ในระหว่าง พ.ศ.
๒๓๑๑-๒๓๑๓ ในครั้งแรกทรงยกทัพไปปราบ ชุมนุมเจ้าพระยา
พิษณุโลก ซึ่งอยู่ใกล้กรุงธนบุรีมากที่สุด แต่ไม่ส�ำเร็จจึงเปลี่ยนแผนการ
ไปท�ำการปราบปรามชุมนุมเล็กก่อน แล้วจึงรวบรวมก�ำลังไปตีชุมนุม
ใหญ่
	 ๏	 ปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๑๑
ไม่สามารถเอาชนะได้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ยกไปปราบครั้งที่ ๒ จึง
ส�ำเร็จ
	 ๏	 ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ ได้ส�ำเร็จ
	 ๏	 ปราบชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้
ส�ำเร็จ
	 ๏	 ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ได้ส�ำเร็จ
9
	 ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
	 มีเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองพิษณุโลก ชุมนุมนี้มี
อาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงไปถึงเมืองนครสวรรค์ เจ้าพระยาพิษณุโลก
เดิมมีนามว่า เรือง เป็นนายทหารที่มีฝีมือในการรบ เคยรบกับพม่ามา
หลายครั้ง จึงมีข้าราชการจากกรุงศรีอยุธยาหนีพม่ามาร่วมจ�ำนวนมาก
	 ชุมนุมเจ้าพิมายหรือชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ
	 มีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าอยู่ที่เมืองนครราชสีมากรมหมื่น
เทพพิพิธทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ใน
รัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ต้องไปประทับในเมืองลังกาด้วยข้อหากบฏ
เพราะเคยสนับสนุนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรแย่งชิงราชสมบัติเมื่อทราบข่าวว่า
กรุงแตก กรมหมื่นเทพพิพิธจึงเสด็จกลับเมืองไทย ไปรวบรวมผู้คนอยู่
ทางหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกตั้งแต่เมืองระยอง ชลบุรี ไปจนถึง
เมืองปราจีนบุรี มีกรมการเมืองและราษฎรเข้าร่วมจ�ำนวนมาก แต่เมื่อ
พม่ายกกองทัพเข้ามาโจมตีเพียงครั้งเดียว กรมหมื่นเทพพิพิธก็หนีเอา
ตัวรอด ทิ้งบริวารไปตั้งตนเป็นใหญ่ในเมืองนครราชสีมาหาทางเกลี้ย
กล่อมให้พระยานครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพวกแต่ไม่ส�ำเร็จ
จึงลอบสังหารพระยานครราชสีมาต่อมาได้รับการสนับสนุนจากเจ้าเมือง
พิมายเพราะเห็นว่ากรมหมื่นเทพพิพิธทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ กรมหมื่นพิพิธจึงซ่องสุมชุมนุมอยู่ที่เมืองพิมาย
มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองนครราชสีมา
10
	 ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
	 มีพระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช เป็นหัวหน้าอยู่ที่เมืองนครศรี-
ธรรมราช พระปลัดคนนี้เดิมมีนามว่า หนู เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแทน
พระยาราชสุภาวดีที่เกิดคดีความถูกเรียกตัวกลับเมืองหลวง พระปลัด
(หนู) จึงตั้งตนเป็นใหญ่ คนทั่วไปเรียกกันว่า เจ้านคร ชุมนุมของเจ้านคร
มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองชุมพรไชยาบ้านดอนถลางสงขลาตานี(ปัตตานี)
ไปจนถึงแหลมมลายู
	 ชุมนุมเจ้าพระฝาง
	 มีเจ้าพระฝางเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองฝาง หรือสวางคบุรี เป็น
เมืองเล็กๆตั้งอยู่บนล�ำห้วยฝางต่อกับแม่น�้ำน่านอยู่เหนือเมืองอุตรดิตถ์
ขึ้นไปทางเหนือ (ปัจจุบันอยู่ในอ�ำเภอเมืองอุตรดิตถ์)
	 เจ้าพระฝางเดิมมีนามว่า เรือน เป็นชาวเหนือที่ได้ไปบวชเรียน
อยู่ในส�ำนักวัดแห่งกรุงศรีอยุธยาจนได้เป็นพระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี
มีฉายาว่า พระพากุลเถระ ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระสังฆ-
ราชาเจ้าคณะเมืองสวางคบุรี ชาวบ้านจึงเรียกว่าเจ้าพระฝาง ได้กลับ
ไปอยู่ที่วัดพระฝาง๕
ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
เจ้าพระฝางเป็นผู้ทรงคุณวิทยาคม ชาวบ้านนับถือเล่าลือว่าเป็นตนบุญ
(ผีบุญ)
	 ๕
	วัดพระฝาง มีชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ อยู่ที่บ้านฝาง
ต�ำบลผาจุก อ�ำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
เป็นวัดซึ่งเจ้าพระฝางเคยจ�ำพรรษาอยู่

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

สุนทรภู่12
สุนทรภู่12สุนทรภู่12
สุนทรภู่12
sudaapui
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
Chinnakorn Pawannay
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
Milky' __
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
gueste13f2b
 
สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdf
สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdfสามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdf
สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdf
dhanu gaysonsiri
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
A'waken P'Kong
 
บาลี 60 80
บาลี 60 80บาลี 60 80
บาลี 60 80
Rose Banioki
 

Mais procurados (19)

ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดกใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
 
สุนทรภู่12
สุนทรภู่12สุนทรภู่12
สุนทรภู่12
 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
 
สามกรุง
สามกรุงสามกรุง
สามกรุง
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdf
สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdfสามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdf
สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนยk1.pdf
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์2
สามัคคีเภทคำฉันท์2สามัคคีเภทคำฉันท์2
สามัคคีเภทคำฉันท์2
 
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
 
สื่อการสอนอาจารย์มารินทร์ ม5มหาเวสสันดร
สื่อการสอนอาจารย์มารินทร์ ม5มหาเวสสันดรสื่อการสอนอาจารย์มารินทร์ ม5มหาเวสสันดร
สื่อการสอนอาจารย์มารินทร์ ม5มหาเวสสันดร
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
Sss
SssSss
Sss
 
บาลี 60 80
บาลี 60 80บาลี 60 80
บาลี 60 80
 
จิรทีปต์
จิรทีปต์จิรทีปต์
จิรทีปต์
 
อนุตตรีย์ วัชรภา
อนุตตรีย์  วัชรภาอนุตตรีย์  วัชรภา
อนุตตรีย์ วัชรภา
 

Destaque

148a
148a148a
148a
O J
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
Sutat Inpa
 
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศการสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
Janjira Kunnapan
 

Destaque (20)

9789740335467
97897403354679789740335467
9789740335467
 
9789740335252
97897403352529789740335252
9789740335252
 
9789740333395
97897403333959789740333395
9789740333395
 
9789740335252
97897403352529789740335252
9789740335252
 
9749740331698
97497403316989749740331698
9749740331698
 
9789740333449
97897403334499789740333449
9789740333449
 
9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
 
148a
148a148a
148a
 
Rider to Contract of Sale: Right of first refusal
Rider to Contract of Sale: Right of first refusal Rider to Contract of Sale: Right of first refusal
Rider to Contract of Sale: Right of first refusal
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศการสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
 
How to say in Thai
How to say in ThaiHow to say in Thai
How to say in Thai
 
The Irishman Behind the Mask
The Irishman Behind the MaskThe Irishman Behind the Mask
The Irishman Behind the Mask
 
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
 
Cuestuonario de derecho civil v
Cuestuonario de derecho civil vCuestuonario de derecho civil v
Cuestuonario de derecho civil v
 
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
 
Wholesaler real estate assigment agreement
Wholesaler real estate assigment agreement Wholesaler real estate assigment agreement
Wholesaler real estate assigment agreement
 
Aviso manuais
Aviso manuaisAviso manuais
Aviso manuais
 
Commercial co-broker agreement
Commercial co-broker agreementCommercial co-broker agreement
Commercial co-broker agreement
 
Репутация
РепутацияРепутация
Репутация
 

Semelhante a 9789740335726

งานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละครงานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละคร
bambookruble
 

Semelhante a 9789740335726 (13)

มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
 
งานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละครงานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละคร
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
 
ราชบุรี
ราชบุรีราชบุรี
ราชบุรี
 
Pavat
PavatPavat
Pavat
 
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราชสมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
 
ทสชาติชาดก(ย่อ)
ทสชาติชาดก(ย่อ)ทสชาติชาดก(ย่อ)
ทสชาติชาดก(ย่อ)
 
กฐินวัดนวมินทร์ฯ ปี ๒๕๕๙
กฐินวัดนวมินทร์ฯ ปี ๒๕๕๙กฐินวัดนวมินทร์ฯ ปี ๒๕๕๙
กฐินวัดนวมินทร์ฯ ปี ๒๕๕๙
 
กฐินวัดนวมินทรราชู่ทิศ บอสตั้น usa Katina 2016
กฐินวัดนวมินทรราชู่ทิศ บอสตั้น usa   Katina 2016กฐินวัดนวมินทรราชู่ทิศ บอสตั้น usa   Katina 2016
กฐินวัดนวมินทรราชู่ทิศ บอสตั้น usa Katina 2016
 
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธีลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
 
ราชบุรี
ราชบุรีราชบุรี
ราชบุรี
 
มหาชาติ
มหาชาติมหาชาติ
มหาชาติ
 

Mais de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335726

  • 3. 3 “พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้า เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นไทย เป็นเจ้าของแผ่นดิน เหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดิน แค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีก จนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้น ชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใครนอกจากรบเพื่อแผ่นดินของ เจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้าจะมอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็น สุขสืบไป” นี่คือค�ำพูดของพระยาเสือหรือสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท ก่อนเข้าตีค่ายพม่าในสงครามเก้าทัพ ด้วยความดุดันเด็ดขาดองอาจในการรบของกรมพระราชวังบวรฯ ข้าศึกจึงครั่นคร้ามจนได้รับพระสมัญญานามว่า “พระยาเสือ” ในค่าย ทหารแห่งใดมีทหารหนีทัพ พระยาเสือจะทรงบัญชาให้สร้างครกขนาด มหึมาเอาไว้ เพื่อใช้โขลกทหารหนีทัพ เพราะหากปล่อยให้ทหารหนีทัพ กันหมดก็ไม่สามารถรักษาเอกราชของบ้านเมืองเอาไว้ได้ ในคราวหนึ่ง มีพระบัณฑูรให้ตัดศีรษะพระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน�้ำ และ พระยาเพชรบุรี โทษฐานบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ทหารกองโจร ปล่อยให้ข้าศึกเล็ดลอดน�ำเสบียงเข้ามาส่งทางช่องทับศิลา และในศึก อะแซหวุ่นกี้เมื่อพระองค์รับสั่งให้ทหารไทยเป็นฝ่ายรุกเข้าไปเมื่อทหาร ผู้นั้นไม่ท�ำตามที่พระองค์ทรงบัญชาจึงทรงใช้ดาบฟันศีรษะทหารขลาด ผู้นั้นจนขาดกระเด็นเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น พระยาเสือ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)
  • 4. 4 พระราชประวัติส่วนพระองค์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖ ณ ต�ำบลป้อมเพชร พระนครศรีอยุธยา ทรงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยา โกษาธิบดี (ปาน) ผู้เป็น “ราชทูตลิ้นทอง” ของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช เจ้าพระยาโกษาปานมีบุตรคนโตชื่อทองค�ำ ต่อมาได้เป็นพระยา ราชนิกูล ปลัดทูลฉลองในกรมมหาดไทย พระยาราชนิกูลมีบุตรคนโตชื่อทองดี รับราชการเป็นเสมียนตรา ในกรมมหาดไทย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพินิจอักษร หลวงพินิจอักษร (ทองดี) มีบุตรกับนางดาวเรือง (หยก) ๕ คน ดังมีรายนามต่อไปนี้ ๑. พระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี (สา) ๒. ขุนรามณรงค์ (เสียชีวิตก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒) ๓. พระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ๔. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ทองด้วง) ๕. สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา กรมพระราชวังบวรฯ ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็ก หุ้มแพรต�ำแหน่งนายสุจินดา ขณะที่กรุงศรีอยุธยาก�ำลังจะเสียเอกราชให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ในสมัยนั้น กรมพระราชวังบวรฯ ด�ำรงต�ำแหน่งนาย สุจินดามีความหวั่นเกรงว่าหากอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปอาจจะถูก พม่าจับตัวไปเป็นเชลยศึก เมื่อทราบว่าพระยาตากน�ำทหาร ๕๐๐ นาย
  • 5. 5 ไปตั้งชุมนุมอยู่ที่เมืองจันทบุรีนายสุจินดาจึงหาโอกาสหลบหนีออกจาก กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเพื่อนอีก ๓ คน นายสุจินดาเตรียมเสบียงอาหารและฆ้องกระแตอันเป็นมรดก ตกทอดมาจากบรรพบุรุษไปด้วย โดยใช้เรือโกลนเป็นพาหนะ พายหนี พม่าไปจนถึงต�ำบลบางไทรสีกุก๑ ขณะนั้นมีค่ายพม่าตั้งอยู่เรียงราย ตามริมฝั่งแม่น�้ำ เมื่อถึงเวลาทุ่มกว่า ทหารพม่าเห็นเรือผ่านมาก็ตีฆ้องให้หยุดเรือ นายสุจินดาจึงตีฆ้องกระแตตอบไป ทหารพม่าคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน ก็ปล่อยให้เรือผ่านไปได้ เรือของนายสุจินดาล่องผ่านเมืองสามโคกไป ยังเมืองนนทบุรี มีพม่าตั้งค่ายตามรายทางอีกหลายแห่ง นายสุจินดาก็ ใช้วิธีตีฆ้องตอบจึงผ่านไปได้ทุกด่านเรือของนายสุจินดาล่องมาถึงบ้าน บางบัวทอง บริเวณอ้อมเกร็ด เป็นเวลาฟ้าสางพอดี นายสุจินดาแอบ หลบซ่อนตัวอยู่รอจนพลบค�่ำจึงล่องเรือไปถึงวัดแจ้ง๒ เมืองธนบุรี เดิมที นายสุจินดาวางแผนว่าจะพายเรือไปจนถึงราชบุรี แต่มีด่านของทหาร ๑ ต�ำบลสีกุกปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตอ�ำเภอบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนคลองสีกุก คือแม่น�้ำน้อยที่ไหลผ่านบริเวณอ�ำเภอเสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา แม่น�้ำน้อยเป็นแม่น�้ำสาขาแยกออกจากแม่น�้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท ก่อนจะไหลผ่าน จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว ไหลไปรวมกับแม่น�้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อ�ำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น�้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น ๑๔๕ กิโลเมตร มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่นที่ไหลผ่าน ๒ วัดแจ้ง คือ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
  • 6. 6 พม่าเต็มไปด้วยแสงไฟ นายสุจินดาจึงเบนหัวเรือเข้าไปหลบในวัดสลัก๓ แล้วพลิกคว�่ำเรือครอบศีรษะตนเองกับพวก รอดสายตาของทหารพม่า ไปได้ เมื่อพม่าผ่านไป นายสุจินดากับเพื่อนจึงกู้เรือพลิกหงายขึ้นมา รอจนถึงเวลาเดือนตกจึงพายเรือข้ามจากวัดสลักไปยังฝั่งวัดแจ้ง ขณะนั้นเสบียงอาหารจมน�้ำหมดเหลือแต่ฆ้องกระแตใบเดียว เมื่อถึง หน้าวัดแจ้งก็จมเรือโกลนลงที่ท่าน�้ำแล้วพยุงเรือ เข้าไปซ่อนไว้ในคลอง บางกอกใหญ่ แล้วพากันใช้สวะคลุมหัวพรางตัวจากสายตาข้าศึก เมื่อว่ายน�้ำไปจนถึงวัดสังข์กระจาย๔ จึงกู้เรือโกลนขึ้นมาพาย โดยมี จุดหมายปลายทางคือเมืองราชบุรี ในสมัยนั้นนายทองด้วงพี่ชายของนายสุจินดา(บุญมา)มีต�ำแหน่ง เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี นายสุจินดาพาเพื่อนไปหาหลวงยก- กระบัตรเมืองราชบุรีซึ่งพาครอบครัวไปหลบซ่อนตัวจากทหารพม่าอยู่ ในป่าแล้วได้เล่าให้หลวงยกกระบัตรฟังว่าพระยาตากตั้งชุมนุมรวบรวม ผู้คนเพื่อรอการกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาอยู่ทางภาคตะวันออก หลวงยกกระบัตรแนะน�ำให้นายสุจินดาไปหานางนกเอี้ยงผู้เป็น มารดาของพระยาตากซึ่งขณะนี้หนีพม่าไปอยู่กับญาติที่บ้านแหลม ต�ำบลบางครก แขวงเมืองเพชรบุรี หลวงยกกระบัตรรู้จักมักคุ้นกับ พระยาตากเพราะเคยบวชเรียนและรับราชการมาด้วยกัน จึงน�ำแหวน ๓ วัดสลัก คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ๔ วัดสังข์กระจายวรวิหาร ตั้งอยู่บนฝั่งเหนือคลองบางกอกใหญ่ กรุงเทพ- มหานคร
  • 7. 7 พลอยไพฑูรย์ไป ๑ วง พลอยบุษราคัมน�้ำทอง ๑ วง และดาบคร�่ำทอง โบราณ ๑ เล่ม ฝากไปให้พระยาตาก และได้ก�ำชับฝากไปบอกว่า ดาบนั้นเป็นของตนมอบให้พระยาตาก ส่วนแหวน ๒ วงนั้น เป็นของ ภรรยา ขอฝากไปเป็นเครื่องร�ำลึกถึงกันในยามยาก นายสุจินดาเดินทางไปตามหานางนกเอี้ยงที่เมืองเพชรบุรี จนพบตัว นางนกเอี้ยงดีใจที่ได้พบนายสุจินดาเพราะคุ้นเคยกันมาก่อน จึงตามนายสุจินดาไปหาพระยาตากที่เมืองจันทบุรี พระยาตากดีใจเป็นอย่างมากเมื่อได้พบกับมารดาที่พลัดพราก จากกันในช่วงกรุงแตก พระยาตากได้รับของฝากจากหลวงยกกระบัตร ก็กล่าวกับนายสุจินดาว่า ขอบใจหนักหนาที่อยู่ไกลยังมีความอุตสาหะ คิดถึงกันเช่นนี้ เขาเรียกว่า กัลยาณมิตร ทั้งยังยกย่องชมเชยความ เฉลียวฉลาดของนายสุจินดาที่สามารถหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาและ พานางนกเอี้ยงมาจันทบุรีได้อย่างปลอดภัย จึงปูนบ�ำเหน็จความดี ความชอบโดยแต่งตั้งให้เป็นพระมหามนตรี เจ้ากรมพระต�ำรวจในขวา ขณะนั้นนายสุจินดาอายุได้ ๒๔ ปี ต่อมา พระมหามนตรี (บุญมา) ได้ขออนุญาตพระยาตากไปรับ นายทองด้วงพี่ชายเข้ามารับราชการด้วยกัน ๒ พี่น้อง บุญมากับทองด้วงเป็นแม่ทัพคู่ใจของพระยาตากซึ่ง ต่อมาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • 8. 8 การท�ำสงครามในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ร่วมกับบรรดาทหารเสือของ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ภายหลังสร้างกรุงธนบุรีแล้วยังมีชุมนุมซึ่งท�ำการซ่องสุมผู้คนอยู่ ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาตั้งแต่คราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ สมเด็จพระเจ้า ตากสิน ทรงใช้เวลาถึง ๓ ปี ปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ในระหว่าง พ.ศ. ๒๓๑๑-๒๓๑๓ ในครั้งแรกทรงยกทัพไปปราบ ชุมนุมเจ้าพระยา พิษณุโลก ซึ่งอยู่ใกล้กรุงธนบุรีมากที่สุด แต่ไม่ส�ำเร็จจึงเปลี่ยนแผนการ ไปท�ำการปราบปรามชุมนุมเล็กก่อน แล้วจึงรวบรวมก�ำลังไปตีชุมนุม ใหญ่ ๏ ปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๑๑ ไม่สามารถเอาชนะได้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ยกไปปราบครั้งที่ ๒ จึง ส�ำเร็จ ๏ ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ ได้ส�ำเร็จ ๏ ปราบชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้ ส�ำเร็จ ๏ ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ได้ส�ำเร็จ
  • 9. 9 ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก มีเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองพิษณุโลก ชุมนุมนี้มี อาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงไปถึงเมืองนครสวรรค์ เจ้าพระยาพิษณุโลก เดิมมีนามว่า เรือง เป็นนายทหารที่มีฝีมือในการรบ เคยรบกับพม่ามา หลายครั้ง จึงมีข้าราชการจากกรุงศรีอยุธยาหนีพม่ามาร่วมจ�ำนวนมาก ชุมนุมเจ้าพิมายหรือชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ มีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าอยู่ที่เมืองนครราชสีมากรมหมื่น เทพพิพิธทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ใน รัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ต้องไปประทับในเมืองลังกาด้วยข้อหากบฏ เพราะเคยสนับสนุนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรแย่งชิงราชสมบัติเมื่อทราบข่าวว่า กรุงแตก กรมหมื่นเทพพิพิธจึงเสด็จกลับเมืองไทย ไปรวบรวมผู้คนอยู่ ทางหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกตั้งแต่เมืองระยอง ชลบุรี ไปจนถึง เมืองปราจีนบุรี มีกรมการเมืองและราษฎรเข้าร่วมจ�ำนวนมาก แต่เมื่อ พม่ายกกองทัพเข้ามาโจมตีเพียงครั้งเดียว กรมหมื่นเทพพิพิธก็หนีเอา ตัวรอด ทิ้งบริวารไปตั้งตนเป็นใหญ่ในเมืองนครราชสีมาหาทางเกลี้ย กล่อมให้พระยานครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพวกแต่ไม่ส�ำเร็จ จึงลอบสังหารพระยานครราชสีมาต่อมาได้รับการสนับสนุนจากเจ้าเมือง พิมายเพราะเห็นว่ากรมหมื่นเทพพิพิธทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ กรมหมื่นพิพิธจึงซ่องสุมชุมนุมอยู่ที่เมืองพิมาย มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองนครราชสีมา
  • 10. 10 ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช มีพระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช เป็นหัวหน้าอยู่ที่เมืองนครศรี- ธรรมราช พระปลัดคนนี้เดิมมีนามว่า หนู เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแทน พระยาราชสุภาวดีที่เกิดคดีความถูกเรียกตัวกลับเมืองหลวง พระปลัด (หนู) จึงตั้งตนเป็นใหญ่ คนทั่วไปเรียกกันว่า เจ้านคร ชุมนุมของเจ้านคร มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองชุมพรไชยาบ้านดอนถลางสงขลาตานี(ปัตตานี) ไปจนถึงแหลมมลายู ชุมนุมเจ้าพระฝาง มีเจ้าพระฝางเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองฝาง หรือสวางคบุรี เป็น เมืองเล็กๆตั้งอยู่บนล�ำห้วยฝางต่อกับแม่น�้ำน่านอยู่เหนือเมืองอุตรดิตถ์ ขึ้นไปทางเหนือ (ปัจจุบันอยู่ในอ�ำเภอเมืองอุตรดิตถ์) เจ้าพระฝางเดิมมีนามว่า เรือน เป็นชาวเหนือที่ได้ไปบวชเรียน อยู่ในส�ำนักวัดแห่งกรุงศรีอยุธยาจนได้เป็นพระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี มีฉายาว่า พระพากุลเถระ ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระสังฆ- ราชาเจ้าคณะเมืองสวางคบุรี ชาวบ้านจึงเรียกว่าเจ้าพระฝาง ได้กลับ ไปอยู่ที่วัดพระฝาง๕ ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ เจ้าพระฝางเป็นผู้ทรงคุณวิทยาคม ชาวบ้านนับถือเล่าลือว่าเป็นตนบุญ (ผีบุญ) ๕ วัดพระฝาง มีชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ อยู่ที่บ้านฝาง ต�ำบลผาจุก อ�ำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นวัดซึ่งเจ้าพระฝางเคยจ�ำพรรษาอยู่