SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 85
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
บรรยายโดย
พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร,ดร.
การพิจารณาเวทนา
การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย คือ พิจารณาความรู้สึก
สุขทุกข์ ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ใน
ตัวเอง แบ่งเป็น ๙ ประการ คือ
๑) เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
“เราเสวยสุขเวทนา”
๒) เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
“เราเสวยทุกขเวทนา”
๓) เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้
ชัดว่า “เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา”
๔) เมื่อเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส ก็
รู้ชัดว่า “เราเสวยสุขเวทนาที่มี
อามิส”
๕) เมื่อเสวยสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า “เราเสวยสุขเวทนาที่ไม่มี
อามิส”
๖) เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิส ก็
รู้ชัดว่า “เราเสวยทุกขเวทนาที่มี
อามิส”
๗) เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่ไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า “เราเสวยทุกขเวทนาที่ไม่มี
อามิส”
๘) เม่ืือเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่มี
อามิส ก็รู้ชัดว่า “เราเสวยอทุกขมสุข
เวทนาที่มีอามิส”
๙) เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่
ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า “เราเสวยอ
ทุกขมสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส”
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๙ ประการ
๑) สุขเวทนา
๒) ทุกขเวทนา
๓) อุเบกขาเวทนา
๔) สามิสสุขเวทนา
๕) นิรามิสสุขเวทนา
๖) สามิสทุกขเวทนา
๗) นิรามิสทุกขเวทนา
๘) สามิสอุเบกขาเวทนา
๙) นิรามิสอุเบกขาเวทนา
๑) สุขเวทนา
สุขเวทนา คือ สภาวะที่เสวย
อารมณ์ที่เป็นสุข หรือความรู้สึก
สุขทางกาย เช่น ความโล่งใจ
เบาใจ สบายใจ หรือความรู้สึกสุข
ทางใจ
การกำาหนดสุขเวทนา
ผู้ปฏิบัติพึงตามรู้สุขเวทนาตามอา
การนั้นๆ ว่า “โล่งหนอ” “สบาย
หนอ” “สุขหนอ”
๒) ทุกขเวทนา
ทุกขเวทนา คือ สภาวะที่เสวยอารมณ์อัน
เป็นทุกข์ หรือความรู้สึกเป็นทุกข์ทาง
กายอันได้แก่ ความเจ็บปวด เมื่อย ชา
คัน ร้อน เย็น จุกเสียด เหนื่อย หรือความ
รู้สึก เป็นทุกข์ทางใจ เช่น ความเศร้าโศก
เสียใจ กลัว ไม่สบายใจ วิตกกังวล
เป็นต้น
การกำาหนดทุกขเวทนา
ผู้ปฏิบัติพึงตามรู้ทุกขเวทนาตาม
อาการนั้นๆ ว่า “เจ็บหนอ” “ปวด
หนอ” “เมื่อยหนอ” “ชาหนอ” “คัน
หนอ” “เศร้าโศกหนอ” “เสียใจ
หนอ” “กลัวหนอ” เป็นต้น
๓) อุเบกขาเวทนา
อุเบกขาเวทนา คือ สภาวะที่เสวย
อารมณ์เป็นกลางๆ หรือความรู้สึก
เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ จะ
ปรากฏขึ้นหลังจากสุขเวทนาหรือ
ทุกขเวทนาหายไปแล้ว
การกำาหนดอุเบกขาเวทนา
ผู้ปฏิบัติพึงตามรู้อุเบกขาเวทนา
โดยบริกรรมว่า “เฉยหนอๆ”
๔) สามิสสุขเวทนา
สามิสสุข (สุขอิงกามคุณ) คือ
ความพอใจเกี่ยวกับกามคุณ ๕ คือ
รูป เสียง กล่ืิน รส และสัมผัส
ได้แก่ สิ่งที่ตนรักพอใจซึ่งอยู่
ภายในและภายนอกร่างกาย
๕) นิรามิสสุขเวทนา
นิรามิสสุข (สุขไม่อิงกามคุณ) คือ
ความปีติโสมนัสที่บังเกิดแก่นักปฏิบัติผู้
อบรมจิตด้วยความระลึกรู้ลมหายใจ
หรืออิริยาบถ หรือความเคลื่อนไหว
หรือสภาวะอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งใน
หมวด
เวทนา จิต ธรรม ที่ทำาให้ปลอด
โปร่งจากกามได้ชั่วขณะ
๖) สามิสทุกขเวทนา
สามิสทุกขเวทนา (ทุกข์อิงกามคุณ) คือ
ความทุกข์กายหรือทุกข์ใจจากความ
อยากเสพกามคุณอันเจือด้วยกิเลส แล้ว
ไม่ได้เสพอย่างใจนึก หรือหวนคิดถึง
ทุกข์ที่เคยประสบมาก่อน
๗) นิรามิสทุกขเวทนา
นิรามิทุกข์ (ทุกข์ไม่อิงกามคุณ) คือ ความเสียใจ
เกี่ยวกับวิปัสสนาของบุคคลผู้ที่ไม่ประสบความ
ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเท่าที่ควร หรือผู้ปฏิบัติ
ธรรมเป็นเวลานานแล้วไม่อาจบรรลุมรรคผลได้
๘) สามิสอุเบกขาเวทนา
สามิสอุเบกขา (อุเบกขาอิง
กามคุณ) คือ ความรู้สึกเป็นกลาง
ต่อกามคุณ เพราะเสพสุขจากวัตถุ
นั้นจนชาชิน แต่เป็นกลางใน
ลักษณะที่มีความโลภแอบแฝงอยู่
ใจมีลักษณะทึบเพราะปัญญาถูก
ปิดกั้น ไม่รู้เห็นว่าเวทนาเป็น
อนิจจัง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
๙) นิรามิสอุเบกขาเวทนา
นิรามิสอุเบกขา (อุเบกขาไม่อิงกามคุณ) คือ ความ
วางเฉยในขณะตามรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เกิด
แก่นักปฏิบัติผู้บรรลุอุทยัพพยญาณ ที่มีกำาลังข้าม
พ้นวิปัสสนูปกิเลสได้
วิธีพิจารณาเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
บ่อเกิดของเวทนา
เวทนาเกิดมาจากผัสสะ คือ การกระทบกันระหว่าง
อายตนะภายในได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ
อายตนภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ
ธรรมารมณ์
มีพระพุทธพจน์ว่า “เวทนาย่อมมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย”
ที่มา : ``ที.ม. (ไทย) ๑๐/๙๗/๕๙.
โทษของเวทนา
๑) สุขเวทนา ก่อให้เกิดความ
พอใจในสุขที่ได้รับอยู่ และทำาให้
ต้องการความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่
พอใจกับสุขที่มีอยู่ว่าดีเลิศ
๒) ทุกขเวทนา ก่อให้เกิดความ
ต้องการพ้นไปจากทุกข์ที่ประสบ
อยู่ เพราะทุกคนล้วนรักสุขเกลียด
ทุกข์
๓) อุเบกขาเวทนา ก่อให้เกิด
ความต้องการส่ิิงที่ดีกว่า ซึ่งตน
เคยได้หรือคาดหวังไว้
ประโยชน์ของการกำาหนดเวทนา
การกำาหนดเวทนาทำาให้กำาจัดตัณหาที่เกิดจาก
เวทนาทั้ง ๓ นั้น เมื่อตัณหาไม่เกิด อุปาทาน ภพ
ชาติ ชราและมรณะเป็นต้นก็เกิดไม่ได้ ทำาให้
สังสารวัฏที่เริ่มต้นจากตัณหาถูกขจัดไปได้
ประเภทของเวทนา
เวทนาโดยย่อมี ๓ อย่าง คือ
๑) สุขเวทนา
๒) ทุกขเวทนา
๓) อุเบกขาเวทนา
สุขเวทนา คือ ความรู้สึกสบายทาง
กาย ทางใจ
ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกไม่
สบายทางกาย ทางใจ
อุเบกขาเวทนา คือ ความรู้สึก
เฉยๆ
การกำาหนดสุขเวทนา
ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ถ้าเกิดความรู้สึกสบายใจ หรือ
สบายกาย ให้กำาหนดว่า “สุข
หนอๆ ๆ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าความ
รู้สึกจะหายไป
หรือจนกว่าสภาวธรรม อย่างอื่น
จะเกิดขึ้นแล้วค่อยเปลี่ยนไป
กำาหนดอารมณ์อื่นที่เกิดขึ้นใหม่
การกำาหนดทุกขเวทนา
ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ถ้ามีความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่
สบายใจ ให้กำาหนดว่า “ทุกข์
หนอๆๆ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าความ
รู้สึกนี้จะหายไป
หรือให้กำาหนดตามอาการที่เกิด
ขึ้น เช่น มีอาการปวด เจ็บ
รำาคาญใจ ฟุ้งซ่าน เป็นต้น ให้
กำาหนดตามอาการนั้นๆ เช่น ถ้ามี
อาการปวด ให้กำาหนดว่า “ปวด
หนอ ๆๆ”
ไปเรื่อยๆ จนกว่า อาการปวดจะ
หายไป หรือจนกว่าอารมณ์อื่นจะ
เกิดขึ้นมาแล้วกำาหนดอาการนั้น
การกำาหนดอุเบกขาเวทนา
ขณะที่ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้ามีความ
รู้สึกเฉยๆ ให้กำาหนดว่า “เฉย
หนอๆๆ” หรือ “รู้หนอๆๆ” ไปเรื่อยๆ
จนกว่าความรู้สึกจะหายไป หรือ
จนกว่าจะมีอารมณ์อื่นเกิดขึ้นแล้ว
กำาหนดอารมณ์นั้นต่อไป
วิธีอดทนต่อทุกขเวทนา
นักปฏิบัติที่พยายามทนกำาหนด
ทุกขเวทนา มีวิธีอดทนต่อ
ทุกขเวทนา ๓ อย่าง ดังนี้
๑) สู้แบบเผชิญหน้า
สู้แบบเผชิญหน้า คือ จดจ่อที่อาการ
ปวด จี้ลงไปในสถานที่ซึ่งปวดมากที่สุด
เหมือนการสู้รบแบบเผชิญหน้าไม่ยอม
ถอย วิธีนี้แม้จะค่อนข้างเหน็ดเหนื่อย
เพราะต้องใช้พลังจิตจดจ่อมาก แต่ก็มี
ประโยชน์ในการหยั่งเห็นลักษณะพิเศษ
ของเวทนาได้เร็ว
๒) สู้แบบกองโจร
สู้แบบกองโจร คือ กำาหนดเวทนาบ้าง เปลี่ยนไป
กำาหนดอารมณ์อื่นบ้างเหมือนการสู้รบแบบกองโจร
ในกรณีที่ข้าศึกเข้มแข็งกว่า วิธีนี้ใช้ขณะที่เวทนา
รุนแรง ยากจะกำาหนดได้ จึงเปลี่ยนไปกำาหนด
อารมณ์อื่น เช่น สภาวะพอง ยุบ
เมื่อสมาธิมากขึ้นก็กลับไปกำาหนด
เวทนาเป็นครั้งคราว เปรียบดังคน
เดินทางมากลางแดดที่เหน็ด
เหน่ิือยได้เข้าไปพักใต้ร่มไม้
ชั่วคราว
สู้แบบถอยทับ คือ สักแต่ตามรู้เวทนา ไม
ต้องกำาหนดจดจ่อโดยคำาบริกรรมเข้ากำากับ
เหมือนคนว่ายนำ้าที่เกาะท่อนไม้ลอยไป
ตามกระแสนำาิ้ โดยไม่ใช้กำาลังว่ายนำาิ้
๓)​สู้แบบถอยทับ
เมื่อทนต่อเวทนาไม่ได้ ก็พึง
เปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นเดินจงกรม
เพื่อให้สมาธิมีกำาลังมากขึ้น
สามารถต่อสู้เวทนาได้ในโอกาส
ต่อไป
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา ไม่พิจารณาเห็น
เวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
ไม่ดำารงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนา
เป็นของเรา
นกุลปิตุสูตร สำ.ข. (ไทย) ๑๗/๑/๒.
เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ดำารงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนา
เป็นของเรา เวทนานั้นแปรผันเป็น
อย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่
พระอริยสาวกนั้น
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดย
แยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์
เลื้อยคลาน
เป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำาหยาบ คำา
ส่อเสียด เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนา
ทั้งหลายอันมีในร่างกาย เป็นทุกข์
กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่
น่าพอใจ พรากชีวิตได้ ซึ่งเมื่อเธอ
ไม่อดกลั้นอยู่
อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็
จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดกลั้นอยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ย่อมไม่มี
แก่เธอด้วยอาการอย่างนี้
• ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อาสวะที่ต้องละ
ด้วยการอดกลั้น
สัพพาสวสูตร ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๔/๒๔.
เธอทั้งหลายพึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น
ทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง
เพราะภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความ
เป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความ
เป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดย
ความไม่เที่ยง
ภิกษุนี้เราเรียกว่า มีความเห็นชอบ ตัด
ตัณหาได้ เพิกถอนสังโยชน์แล้ว ได้ทำาที่สุด
แห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะได้โดยชอบ
ทัฏฐัพพสูตร สำ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๒๕๓/๒๗๓.
อินทรีย์ ๕
๑) ความหมายและความสำาคัญ
ของอินทรีย์​๕​
(๑) ความหมายของอินทรีย์​๕
ข้อความในปฐมวิภังคสูตร
สำ.ม. (ไทย)
๑๙/๔๗๙/๒๘๗_๒๘๙.
(๑) สัทธินทรีย์
(๒) วิริยินทรีย์
(๓) สตินทรีย์
(๔) สมาธินทรีย์
(๕) ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ มีศรัทธา เชื่อพระ
ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
วิริยินทรีย์ ปรารภความเพียรเพื่อ
ละอกุศลธรรม เข้าถึงกุศลธรรม มี
ความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
สตินทรีย์ มีสติ ประกอบด้วยสติ
ปัญญา เป็นเครื่องรักษาตนอย่าง
ย่ิิง ระลึกนึกถึงส่ิิงที่ทำา คำาที่ได้
พูดไว้นานบ้าง
สมาธินทรีย์ ทำานิพพานให้เป็น
อารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตา
จิต
ปัญญินทรีย์ มีปัญญา ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็น
เห็นทั้งความเกิดและความดับอน
เป็นอริยะชำาแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ
ความหมายของอินทรีย์ในวิสุทธิมรรค
อินทรีย์ หมายถึง ความเป็นใหญ่
ผู้เป็นใหญ่ ดังเช่นพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เรื่อง
กรรมเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพราะไม่มี
ใครอยู่เหนือกรรมได้
๒) ความสำาคัญของอินทรีย์
อินทรีย์ ๕ เปรียบเหมือนพระราชา
ที่มีอำานาจสูงสุดของประเทศ ทุก
คนจะต้องตกอยู่ภายใต้พระอำานาจ
ของพระราชา อินทรีย์ ๕ ก็เช่น
เดียวกันน
ก็เช่นเดียวกัน หากเข้าถึงความเป็น
อินทรีย์ คือ เข้าถึงความเป็นใหญ่
ในขณะใด ขณะนั้นก็เหมือนเป็น
พระราชาปกครองประเทศ เพราะมี
กำาลังมากในการประกอบกิจของ
ตน
การปรับอินทรีย์
การปรับอินทรีย​ิ์มีความสำาคัญต่อ
การปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติต้องปรับ
อินทรีย์ ๕ อย่างให้เสมอกัน คือ
๑.​ปรับศรัทธาให้เสมอกับปัญญา
วิธีการปรับอินทรียิ์
คู่ที่ ๑ ปรับศรัทธากับปัญญา
ถ้ามีความเชื่อต่อส่ิิงใด อย่าเพ่ิิง
ปลงใจเชื่อ ต้องหาเหตุผลมา
ประกอบให้รู้จนแน่ใจก่อนจึงค่อย
เช่ิือ ข้อมูลที่ได้นั้นเรียกว่า
ปัญญา
เหตุผลที่ต้องปรับเพราะถ้ามี
ศรัทธามากกว่าปัญญา จะทำาให้
เช่ิือแบบไม่มีเหตุผล เชื่อโดยไม่
พิจารณาจะทำาให้งมงาย หรืออาจ
ถูกหลอกได้ง่าย
การปรับปัญญาให้เท่ากับศรัทธา
คือ เมื่อมีความรู้สึกว่าเรามีความ
แข็งกระด้าง ก้าวร้าว ไม่ยอมเชื่อ
อะไรง่ายๆ ให้น้อมจิตใจให้เชื่อหลัก
คำาสอนเรื่องกรรม ว่า
สัตว์มีกรรมเป็นสัมบัติของตน เป็นไป
ตามกรรม ทำากรรมอะไรไว้ก็จะได้ผลอ
ย่างนั้น
เชื่อให้การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เชื่อว่าพระธรรมที่พระพุทธเจ้า
ตรัสรู้นั้นนำามาปฏิบัติได้ผลจริง
เชื่อในพระสงฆ์สาวกของ
พระพุทธเจ้าที่ว่าเป็นผู้ตรัสรู้ตามพ
ระพุทธเจ้าจริง
ถ้าปัญญามากกว่าศรัทธาจะทำาให้
เป็นคนเห็นแก่ตัวคิดเอาเปรียบคน
อื่น หรือจะเป็นคนแข็งกระด้าง
ก้าวร้าว ไม่เคารพคนอื่น
๒. ปรับวิริยะกับสมาธิให้เสมอกัน
สาเหตุที่ต้องปรับเพราะถ้าวิริยะมากกว่า
สมาธิ จะทำาให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจบรรลุ
ธรรมได้
ถ้าสมาธิมากกว่าวิริยะ จะทำาให้เกิด
ความง่วง เซ่งซึม จับจด และจะตก
ไม่สู่อำานาจของ โกสัชชะ ความ
ขี้้้เกียจ
วิธีการปรับวิริยะกับสมาธิ คือ
ถ้าเกิดความคิดฟุ้งซ่านให้หยุด
เดินจรงกรม เปลี่ยนเป็นนั่งแทน
หรือถ้านั่งบริกรรม พองหนอ ยุบ
หนอ อยู่ ย่้ิงกำาหนดจิตย่้ิง
ฟุ้งซ่าน
ให้หยุดกำาหนด เปล่้ียนมานั่งดู
อาการของจิตเฉยๆ ไม่ต้อง
บริกรรมอะไร จนกว่าจิตจะเป็น
สมาธิ จึงบริกรรมต่อ
ถ้ามีสมาธิมาก จะเกิดความเซื่อง
ซึม จับจด ง่วงนอน ให้ลุกเดิน
จงกรม จนกว่าจะหายง่วง จึงเปลี่้่
ยนมานั่ง
ถ้าไม่หายง่วงให้เอานำ้าล้างหน้า
ถ้าไม่หายให้มองดูแสงสว่าง หรือให้ออกมาอยู่ที่
แจ้ง
ถ้าทำาหลายวิธีแล้วยังไม่หาย ให้ดูว่าร่างกายปกติ
ไหม ถ้าร่างกายอ่อนเพลียมาก ต้องการพักผ่อน
ก็หยุดพักผ่อน
ผลที่เกิดจากการปรับอินทรีย์
พระพุทธพจน์แสดงอานิสงส์ของ
การปรับอินทรีย์ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระ
ศาสนานี้ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ วิริ
ยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
และปัญญินทรีย์ อันมีการข่มราคะ
เป็นที่สุด มีการข่มโทสะเป็นที่สุด
มีการข่มโมหะเป็นที่สุด”
สำ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๙๗/๓๕๗.​
เจริญอินทรีย์ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
๑.​เมื่อละความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจ
ริญสัทธินทรีย์
• ๒. เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละ
ความไม่มีศรัทธา
• ๓. เมื่อละความเกียจคร้าน ชื่อว่า
เจริญวิริยินทรีย์
• ๔. เมื่อเจริญวิ้ิริยินทรีย์ ชื่อว่า
ละความเกียจคร้าน
• ๕. เมื่อละความประมาท ชื่อว่า
เจริญสตินทรีย์
• ๖. เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละ
ความประมาท
• ๗. เมื่อละอุทธัจจะ ช่้ือว่าเจริญ
สมาธินทรีย์
• ๘.เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละ
อุทธัจจะ
• ๙ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่าเจริญปัญญินท
รีย์
• ๑๐ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละ
อวิชชา
คำาถามท้ายบท
• ๑. อินทรีย์ คืออะไร มีเท่าไร
อะไรบ้าง
• ๒. ความเชื่อในพระพุทธศาสนามี
ลักษณะและหน้าที่อย่างไร
• ๓. การปรับอินทรีย์มีความจำาเป็น
อย
• อย่างไร จงอธิบาย
• ๔. อินทรีย์ ๕ กับพละ ๕ เหมือน
กันหรือต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
• ๕. ให้แสดงความคิดเห็นการปรับ
อินทรีย์ดังหัวข้อต่อไปนี้
• ก. ถ้าศรัทธามากปัญญาน้อย ผล
ของการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร
• ข. ถ้าปัญญามากศรัทธาน้อย ผล
ของการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร
• ค. ถ้าวิริยะมากสมาธิน้อย ผลของ
การปฏิบัติจะเป็นอย่างไร
• ง. ถ้าสมาธิมากวิริยะน้อย ผลของ
การปฏิบัติจะเป็นอย่างไร

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

บทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติบทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติ
Onpa Akaradech
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
Padvee Academy
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิ
Onpa Akaradech
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
พัน พัน
 
บทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพานบทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพาน
Onpa Akaradech
 
มงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถามงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถา
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 

Mais procurados (20)

บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน pptอนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
 
บทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติบทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติ
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิ
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
หลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารหลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหาร
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
 
บทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพานบทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพาน
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
 
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาของจวงจื๊อ
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาของจวงจื๊อวิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาของจวงจื๊อ
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาของจวงจื๊อ
 
มงคล38
มงคล38มงคล38
มงคล38
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
 
มงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถามงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถา
 

Semelhante a ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt

เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้
Phairot Odthon
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
Padvee Academy
 
พุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดพุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียด
Padvee Academy
 

Semelhante a ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt (11)

ขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี กศ
ขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี  กศขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี  กศ
ขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี กศ
 
ขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี กศ
ขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี  กศขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี  กศ
ขันธ์5 นายชาติชัย พันทะสี กศ
 
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้
 
คำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาคำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนา
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
 
คำนำทำ 2 (ตามดูรู้จิต)
คำนำทำ 2 (ตามดูรู้จิต)คำนำทำ 2 (ตามดูรู้จิต)
คำนำทำ 2 (ตามดูรู้จิต)
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
 
พุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดพุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียด
 
Praajarn suchart
Praajarn suchartPraajarn suchart
Praajarn suchart
 
อภิธรรมศึกษา ๓ 01-2566.pdf
อภิธรรมศึกษา ๓ 01-2566.pdfอภิธรรมศึกษา ๓ 01-2566.pdf
อภิธรรมศึกษา ๓ 01-2566.pdf
 

Mais de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Mais de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
 
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
 
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎกพัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
 
จิตปรมัตถ์
จิตปรมัตถ์จิตปรมัตถ์
จิตปรมัตถ์
 

ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt