SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 3
Baixar para ler offline
พระศิริพงษ์ ธนปญฺโญ
น.ธ.ตรี, ปว.ส (ไฟฟ้ากาลัง)

ทุกข์อริยสัจ1
ทุกข์ คือ สภาวะที่เกิดขึ้น แล้วเราไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งให้ผลในลักษณะไม่สบายกายไม่
สบายใจ
ทุกข์ทางกาย หมายถึง ทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน
ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้อง
คอยประคบประหงมดูแลบารุงรักษาร่างกายและความทุกข์อื่นๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกจานวนมาก
ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกายเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก
ทุกข์ทางใจ หมายถึง ทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิตใจ ทุกข์ทางใจนี้ส่วนหนึ่งมีทุกข์ทาง
กายเป็นสิ่งเร้าให้เกิด เช่น เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้ขึ้นมา ทาให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นแล้ว ต่อมาก็เกิด
กังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมาอีกว่า อาจจะรักษาไม่หาย อาจจะต้องสูญเสียอวัยวะไปหรืออาจจะต้อง
ถึงตาย ซึ่งความกังวลความหวากลัวเหล่านี้ จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมา กล่าวโดยสรุป ทุกข์ทางใจ
ทั้งหมด ล้วนมีต้นเหตุมาจาก ความโลภ ความโกรธ และความยึดมั่นถือมั่น
ทุกข์จากความโลภ ตามหลักอภิธรรมแล้วความโลภจะไม่ประกอบด้วยความทุกข์เพราะความ
โลภจะเกิดขึ้ นพร้ อมความดีใจ หรื อเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ เท่านั้น ที่กล่า วว่า ความทุกข์ที่มี
ต้นเหตุมาจากความโลภในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าความทุกข์นั้นเกิดพร้อมกับความโลภ แต่เป็นความ
ทุกข์อันมีความโลภเป็นเบื้องต้น และมีความทุกข์เป็นเบื้องปลายอันได้แก่ ความทุกข์ เกิดจากความกลัว
จะไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ทุกข์จากการที่ต้องดิ้นรนไขว่ขว้าเพื่อให้ได้ในสิ่งที่คนอยากได้ เป็นต้น

1

ปรับปรุงจากบทเทศน์วันพระในพรรษา ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ณ วัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ เดือน
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ทุกข์จากความโกรธ ความโกรธนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็นาทุกข์มาให้เมื่อนั้น เพราะความ
โกรธจะทาให้จิตใจเร่าร้อนดิ้นรน เกิดความกระทบกระทั่งกายในใจ ทาให้จิตใจเศร้าหมอง ความโลภนั้น
ในเบื้องต้นยังพอจะนาความสุขมาให้ได้บ้าง(ในขณะที่เกิดความเพลิดเพลินยินดี) แต่ความโกธรนั้นนามา
แต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความทุกข์จากความโกธร เข่น ทุกข์จากความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
คับแค้นใจ กังวลใจ ความกลัว ความหวาดระแวง ความมองโลกในแง่ร้าย ความไม่ สบายใจ ความ
อิจฉาริษยา ความพยาบาทอาฆาตแค้น เป็นต้น
ทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่า
จะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็ตาม ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วก็ล้วนนาทุกข์มาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึด
ว่าเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ยึดว่าเป็นเขาเป็นของของเข่า ยึดว่าเป็นสิ่งที่เราขอบใจ เป็นสิ่งที่
เราไม่ขอบใจยึดว่าเป็นคนที่เคยทาร้ายเรา เคยด่าเรา ยึดว่าเป็นญาติพี่น้อง เป็นศัตรูเป็นครูอาจารย์ เป็น
ผู้ที่เราเคารพนับถือ ยึดว่าเป็นนายเป็นบ่าวเป็นเพื่อน เป็นหน้าที่การงานไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว
จะไม่นาทุกข์มาให้ แม้แต่ยึดในบุญกุศลความดี มรรคผล นิพพาน ก็ตามที
ทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็คือ สามัญลักษณะ ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คา
ว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็หมายถึงทุกขังหรือที่เรียกว่าทุกขลักษณะนั่นเอง ซึ่งหมายถึ งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ยกเว้นนิพพาน ล้วนอยู่ในสภาวะที่ถูกเหตุถูกปัจจัยทั้งหลาย บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลา ไม่
สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป
ทุกข์ในอริยสัจ ๔ ก็อยู่ในสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย นอกจากนี้ สุขเวทนาและอุเบกขา
เวทนาก็ ยั ง ไม่พ้ นทุกข์ จ ากไตรลั กษณ์ เพราะทั้ง สุ ขและอุเ บกขาล้ ว นถูกเหตุ ปั จจัย ต่ า งๆ บี บ คั้นให้
แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์หรือปัญหาชีวิต
๑) อย่าคิดว่าปัญหานั้นจะอยู่กับเราตลอดไป ในเมื่อปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแต่ไม่ว่าปัญหา
ใดก็ตาม ก็เพียงอยู่กับเราแค่ระยะเวลาหนึ่งแล้วมันก็จากเราไป
๒) อย่าคิดว่าชีวิตของเราจะไม่ดีขึ้น หากสังเกตชีวิตของตัวเราเองให้ดี จะเห็นว่ามีขึ้นมีลงมีสูง
มีต่าสลับกันหลายต่อหลายครั้ง ปลายทางของความทุกข์ก็คือ ความสุข ตัวเรามีดี สักวันความดีจะ
ปรากฏออกมาอย่างแน่นอน
๓) อย่าคิดว่าปัญหานั้นแก้ไขไม่ได้ ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้ แต่ที่แก้ไขไม่ได้เพราะเรามัวแต่
เป็นทุกข์ ท้อแท้สิ้นหวัง ผิดหวังกับการกระทาของตัวเอง เราต้องเรียนรู้ที่จะผ่านจุดๆนี้ เมื่อเจอปัญหา
ต้องเรียนรู้จากมัน ใช้สติทาความเข้าใจกับมันให้เห็นความเป็นจริง อย่าหนีปัญหา ความสาเร็จเริ่มต้นที่
ตัวเอง เริ่มต้นการเอาชนะความอ่อนแอภายในใจของตนเอง
“ อันหนทางชีวิตคิดดูเถิด เมื่อเราเกิดแล้วต้องแก่แน่ใช่ไหม หนีไม่พ้นเจ็บไข้กาย
และใจ จะแก้ไขอย่างไรให้ทุกข์คลายเป็นโรคกายหมอยารักษาโรค ถูกโฉลกถูก
เหตุผลดลโรคหาย เป็นโรคใจภัยรุมเร้าเศร้าปางตาย ทุกข์มลายเมื่อรู้ใ ช้โอสถ
ธรรม เติมธรรมะให้ชีวิตพิชิตโรค ดับทุกข์โศกดับตัณหาอย่าถลา ดับกิเลสโลภ
โกรธหลงจงหมั่นจา ยึดพระธรรมพระศาสนาเป็นยาใจ ”
เวลาพบกับ สิ่ ง ที่ไม่น่ า พอใจหรือ เดือดร้ อนใจขึ้นมา จงคิด ให้ได้ ก่อนว่ า นี่คือ สิ่ ง ที่ทุ กคนไม่
ปรารถนา ถ้าท่านสลัดมันออกจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ ผู้ที่ปรารถนาความพ้นทุกข์
ควรเตือนใจตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีสิ่งเหล่านี้คือ
อาตาปี มีความเพียรที่จะตามดูตามรู้ธรรมชาติของรูปนามหรือกายใจเพื่อให้เห็นธรรมชาติที่
แท้จริงของรูปนามเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม
สติมา มีสติระลึกได้อยู่เสมอว่าขณะนี้ รูปนามกายใจอยู่ในสภาวะอย่างไร
สัมปชาโน สังเกตให้เห็นอย่างขัดแจ้งถึงสภาวะที่แท้จริง สภาวะจิตขณะโกรธมีความเร่าร้อน
อย่างไร ทาให้เกิดความทุกข์ อย่า งไร ทาให้จิต ใจเศร้าหมองอย่างไร เมื่ออยู่ในสภาวะอื่นๆก็สั งเกต
ทานองเดียวกันนี้
ทุกข์จะมี ก็เพราะอยาก ทุกข์จะมาก ก็เพราะยึด ทุกข์จะยืดก็เพราะพลอย ทุกข์จะน้อยก็เพราะ
ลด ทุกข์จะหมดก็เพราะละเพียงมนุษย์ธรรมดาเกิดบนโลก ผ่านทุกข์โศกพบสุขเศร้าเคล้าปัญหา ตั้งติด
ตรงเดินตามองค์พระสัมมา สักวันพาพ้นความ ทุกข์พบสุขจริง วิระเยน ทุกขมัจเจติ (คนล่วงทุกข์ได้
เพราะความเพียร)
ทุกข์ คือ ความยาก ความลาบาก ความเดือดร้อน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
ความเพียรจึงเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ใดในทุกสถานการณ์ เช่น เรียนหนังสือไม่เก่งเป็นทุกข์ ก็ต้องพยายาม
อ่านหนังสือให้มาก ตั้งใจเรียน ก็จะเรียนได้ ความทุกข์ก็จะหมดไป พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่าคนจะล่ว ง
ทุกข์ได้เพราะความเพียร มีนัยดังได้อรรถาธิบายมา

Mais conteúdo relacionado

Mais de Kiat Chaloemkiat

การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
Kiat Chaloemkiat
 
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลกศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
Kiat Chaloemkiat
 
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
Kiat Chaloemkiat
 
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนาร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
Kiat Chaloemkiat
 
พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่
Kiat Chaloemkiat
 
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโลคำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
Kiat Chaloemkiat
 
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณพระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
Kiat Chaloemkiat
 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดการบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
Kiat Chaloemkiat
 
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
Kiat Chaloemkiat
 

Mais de Kiat Chaloemkiat (10)

การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
 
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลกศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
 
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
 
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนาร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
 
พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่
 
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโลคำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
 
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณพระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดการบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
 
โลกธรรม ๘
โลกธรรม ๘โลกธรรม ๘
โลกธรรม ๘
 
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
 

ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔

  • 1. พระศิริพงษ์ ธนปญฺโญ น.ธ.ตรี, ปว.ส (ไฟฟ้ากาลัง) ทุกข์อริยสัจ1 ทุกข์ คือ สภาวะที่เกิดขึ้น แล้วเราไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งให้ผลในลักษณะไม่สบายกายไม่ สบายใจ ทุกข์ทางกาย หมายถึง ทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้อง คอยประคบประหงมดูแลบารุงรักษาร่างกายและความทุกข์อื่นๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกจานวนมาก ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกายเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ทุกข์ทางใจ หมายถึง ทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิตใจ ทุกข์ทางใจนี้ส่วนหนึ่งมีทุกข์ทาง กายเป็นสิ่งเร้าให้เกิด เช่น เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้ขึ้นมา ทาให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นแล้ว ต่อมาก็เกิด กังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมาอีกว่า อาจจะรักษาไม่หาย อาจจะต้องสูญเสียอวัยวะไปหรืออาจจะต้อง ถึงตาย ซึ่งความกังวลความหวากลัวเหล่านี้ จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมา กล่าวโดยสรุป ทุกข์ทางใจ ทั้งหมด ล้วนมีต้นเหตุมาจาก ความโลภ ความโกรธ และความยึดมั่นถือมั่น ทุกข์จากความโลภ ตามหลักอภิธรรมแล้วความโลภจะไม่ประกอบด้วยความทุกข์เพราะความ โลภจะเกิดขึ้ นพร้ อมความดีใจ หรื อเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ เท่านั้น ที่กล่า วว่า ความทุกข์ที่มี ต้นเหตุมาจากความโลภในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าความทุกข์นั้นเกิดพร้อมกับความโลภ แต่เป็นความ ทุกข์อันมีความโลภเป็นเบื้องต้น และมีความทุกข์เป็นเบื้องปลายอันได้แก่ ความทุกข์ เกิดจากความกลัว จะไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ทุกข์จากการที่ต้องดิ้นรนไขว่ขว้าเพื่อให้ได้ในสิ่งที่คนอยากได้ เป็นต้น 1 ปรับปรุงจากบทเทศน์วันพระในพรรษา ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ณ วัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
  • 2. ทุกข์จากความโกรธ ความโกรธนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็นาทุกข์มาให้เมื่อนั้น เพราะความ โกรธจะทาให้จิตใจเร่าร้อนดิ้นรน เกิดความกระทบกระทั่งกายในใจ ทาให้จิตใจเศร้าหมอง ความโลภนั้น ในเบื้องต้นยังพอจะนาความสุขมาให้ได้บ้าง(ในขณะที่เกิดความเพลิดเพลินยินดี) แต่ความโกธรนั้นนามา แต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความทุกข์จากความโกธร เข่น ทุกข์จากความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ คับแค้นใจ กังวลใจ ความกลัว ความหวาดระแวง ความมองโลกในแง่ร้าย ความไม่ สบายใจ ความ อิจฉาริษยา ความพยาบาทอาฆาตแค้น เป็นต้น ทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่า จะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็ตาม ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วก็ล้วนนาทุกข์มาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึด ว่าเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ยึดว่าเป็นเขาเป็นของของเข่า ยึดว่าเป็นสิ่งที่เราขอบใจ เป็นสิ่งที่ เราไม่ขอบใจยึดว่าเป็นคนที่เคยทาร้ายเรา เคยด่าเรา ยึดว่าเป็นญาติพี่น้อง เป็นศัตรูเป็นครูอาจารย์ เป็น ผู้ที่เราเคารพนับถือ ยึดว่าเป็นนายเป็นบ่าวเป็นเพื่อน เป็นหน้าที่การงานไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะไม่นาทุกข์มาให้ แม้แต่ยึดในบุญกุศลความดี มรรคผล นิพพาน ก็ตามที ทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็คือ สามัญลักษณะ ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คา ว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็หมายถึงทุกขังหรือที่เรียกว่าทุกขลักษณะนั่นเอง ซึ่งหมายถึ งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ยกเว้นนิพพาน ล้วนอยู่ในสภาวะที่ถูกเหตุถูกปัจจัยทั้งหลาย บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลา ไม่ สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป ทุกข์ในอริยสัจ ๔ ก็อยู่ในสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย นอกจากนี้ สุขเวทนาและอุเบกขา เวทนาก็ ยั ง ไม่พ้ นทุกข์ จ ากไตรลั กษณ์ เพราะทั้ง สุ ขและอุเ บกขาล้ ว นถูกเหตุ ปั จจัย ต่ า งๆ บี บ คั้นให้ แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์หรือปัญหาชีวิต ๑) อย่าคิดว่าปัญหานั้นจะอยู่กับเราตลอดไป ในเมื่อปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแต่ไม่ว่าปัญหา ใดก็ตาม ก็เพียงอยู่กับเราแค่ระยะเวลาหนึ่งแล้วมันก็จากเราไป ๒) อย่าคิดว่าชีวิตของเราจะไม่ดีขึ้น หากสังเกตชีวิตของตัวเราเองให้ดี จะเห็นว่ามีขึ้นมีลงมีสูง มีต่าสลับกันหลายต่อหลายครั้ง ปลายทางของความทุกข์ก็คือ ความสุข ตัวเรามีดี สักวันความดีจะ ปรากฏออกมาอย่างแน่นอน ๓) อย่าคิดว่าปัญหานั้นแก้ไขไม่ได้ ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้ แต่ที่แก้ไขไม่ได้เพราะเรามัวแต่ เป็นทุกข์ ท้อแท้สิ้นหวัง ผิดหวังกับการกระทาของตัวเอง เราต้องเรียนรู้ที่จะผ่านจุดๆนี้ เมื่อเจอปัญหา ต้องเรียนรู้จากมัน ใช้สติทาความเข้าใจกับมันให้เห็นความเป็นจริง อย่าหนีปัญหา ความสาเร็จเริ่มต้นที่ ตัวเอง เริ่มต้นการเอาชนะความอ่อนแอภายในใจของตนเอง “ อันหนทางชีวิตคิดดูเถิด เมื่อเราเกิดแล้วต้องแก่แน่ใช่ไหม หนีไม่พ้นเจ็บไข้กาย และใจ จะแก้ไขอย่างไรให้ทุกข์คลายเป็นโรคกายหมอยารักษาโรค ถูกโฉลกถูก เหตุผลดลโรคหาย เป็นโรคใจภัยรุมเร้าเศร้าปางตาย ทุกข์มลายเมื่อรู้ใ ช้โอสถ
  • 3. ธรรม เติมธรรมะให้ชีวิตพิชิตโรค ดับทุกข์โศกดับตัณหาอย่าถลา ดับกิเลสโลภ โกรธหลงจงหมั่นจา ยึดพระธรรมพระศาสนาเป็นยาใจ ” เวลาพบกับ สิ่ ง ที่ไม่น่ า พอใจหรือ เดือดร้ อนใจขึ้นมา จงคิด ให้ได้ ก่อนว่ า นี่คือ สิ่ ง ที่ทุ กคนไม่ ปรารถนา ถ้าท่านสลัดมันออกจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ ผู้ที่ปรารถนาความพ้นทุกข์ ควรเตือนใจตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีสิ่งเหล่านี้คือ อาตาปี มีความเพียรที่จะตามดูตามรู้ธรรมชาติของรูปนามหรือกายใจเพื่อให้เห็นธรรมชาติที่ แท้จริงของรูปนามเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม สติมา มีสติระลึกได้อยู่เสมอว่าขณะนี้ รูปนามกายใจอยู่ในสภาวะอย่างไร สัมปชาโน สังเกตให้เห็นอย่างขัดแจ้งถึงสภาวะที่แท้จริง สภาวะจิตขณะโกรธมีความเร่าร้อน อย่างไร ทาให้เกิดความทุกข์ อย่า งไร ทาให้จิต ใจเศร้าหมองอย่างไร เมื่ออยู่ในสภาวะอื่นๆก็สั งเกต ทานองเดียวกันนี้ ทุกข์จะมี ก็เพราะอยาก ทุกข์จะมาก ก็เพราะยึด ทุกข์จะยืดก็เพราะพลอย ทุกข์จะน้อยก็เพราะ ลด ทุกข์จะหมดก็เพราะละเพียงมนุษย์ธรรมดาเกิดบนโลก ผ่านทุกข์โศกพบสุขเศร้าเคล้าปัญหา ตั้งติด ตรงเดินตามองค์พระสัมมา สักวันพาพ้นความ ทุกข์พบสุขจริง วิระเยน ทุกขมัจเจติ (คนล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร) ทุกข์ คือ ความยาก ความลาบาก ความเดือดร้อน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเพียรจึงเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ใดในทุกสถานการณ์ เช่น เรียนหนังสือไม่เก่งเป็นทุกข์ ก็ต้องพยายาม อ่านหนังสือให้มาก ตั้งใจเรียน ก็จะเรียนได้ ความทุกข์ก็จะหมดไป พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่าคนจะล่ว ง ทุกข์ได้เพราะความเพียร มีนัยดังได้อรรถาธิบายมา