SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 7
Baixar para ler offline
ห น้ า | ๑

เรื่อง : โลกธรรม ๘ ประการ๑
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปตี-ติ-อิ-อี.
ณ. บั ด นี้ จั ก ได้ แ สดงพระธรรมเทศนาในโลกธั ม มกถา ว่ า ด้ ว ยโลกธรรม ๘ ประการ เพื่ อ เป็ น เครื่ อ ง
ประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี เพิ่มพูนบุญกุศลราศี และเป็นสัมมาปฏิบัติในการดาเนินชีวิต แด่
สาธุชนทั้งหลายที่ได้มาสโมสรกัน ณ พุทธสมาคมแห่งนี้ สืบเนื่องจากวันนี้เป็นวันสาคัญ สาหรับอุบาสก-อุบาสิกาจาก
คุ้มวัดต่างๆ ในเขตอาเภอเมือง คือกิจกรรมเทศน์เวียนในพรรษา และในพรรษานี้ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑๓ ตรงกับวันเสาร์
ที่ ๑๔ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ ล่วงมาแล้ว ๕๕ ปี ถ้าเปรียบเทียบกับอายุคนเรา ก็ใกล้ครบเกษียณแล้ว อาตมภาพ
พระมหาเฉลิมเกียรติ จิรวฑฺฒโน ได้รับฉันทานุมัติจากคณะสงฆ์ โดยมีพระเดชพระคุณพระครูโสภณธรรมรังสี เจ้า
คณะอาเภอเมืองสุรินทร์ ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดป่าโยธาประสิทธิ์ เป็นประธานสงฆ์ ได้สมมุติบทบาทหน้าที่ให้อาตมภาพ
เป็นพระธรรมกถิกาจารย์ คือผู้ขึ้นมาสาแดงความแจ้งชัดแห่งพระสัทธรรม ตามกาลังสติปัญญาของตน หากการ
แสดงธรรมในครั้งนี้ มีการคาดเคลื่อนผิดจากทานองคลองธรรมประการใด เพราะความเป็นผู้มีสติปัญญาน้อย ขอให้
พระเถรานุเถระผู้เป็นปราชญ์ทั้งหลาย ตลอดทั้งอุบาสก-อุบาสิกาผู้เป็นบัณฑิต ได้อดโทษและชี้แนะให้สว่างแห่งปัญญา
เป็นลาดับสืบไป
ในช่วงเดือนกันยา ตุลา นี้ ญาติโยมหลายท่านที่มีอายุขึ้นต้นด้วยเลย ๕ ลงท้ายด้วยเลย ๙ ย่อมมีความรู้สึก
หวั่นไหว และรู้สึกเหมือนเด็กขาดความอบอุ่น เพราะชีวิตหลังการเกษียณไม่รู้จะทาอะไร จากที่เมื่อก่อนเคยมีงานประจา
ทา ซึ่ ง เป็ น งานไม่ ห นั กหนาอะไร ไม่ต้ อ งใช้ แ รงมาก นั่ ง ๆ คิ ด ๆ พู ด ๆ เขีย นๆ สิ้ น เดื อ นมาก็ ไ ด้ รับ เงิ น เดื อ นเป็ น
ค่าตอบแทนแล้ว แถมยังมีคนคอยเอาใจใส่ คอยแคร์ความรู้สึก นี้ชีวิตของคนเคยเป็นหัวหน้า ถ้าชี วิตลูกจ้างธรรมดา
คงไม่รู้สึกอะไร เพราะทุกวันชีวิตก็หมุนไปกับการออกแรงเพื่อแลกกับรายได้อยู่แล้ว ฉะนั้น หัวข้อธรรมที่กาหนดให้
เทศน์ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสที่ประจวบเหมาะพอดี คือเข้ากับสถานการณ์ในสังคมพอดิบพอดี
ก่อนที่จะดาเนินความตามพระบาลีที่ได้กล่าวอ้างในเบื้ องต้น อาตมภาพมีนิทานก่อมของอีสานบ้านเรามาเล่าสู่
กันฟัง “เรื่องเขยจารย์-เขยเซียง” เพื่อเป็นอุปกรณ์สะท้อนปัญญาให้สาธุชนทั้งหลายได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ดาเนินความว่า
“พ่อใหญ่หาผู้เป็นพ่อตา มีลูกเขยอยู่สองคน คือ เขยจารย์ ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้หลากมากด้วยวิชาการ มีความสุขุมลุ่ม
ลึก พูดจามีหลักมีเกณฑ์ เพราะตนเคยบวชเคยเรียนมา และเขยเซียง เป็นคนสนุกสนาน ไม่ค่อยซีเรียสกับชีวิต เรียน
จบ ป.๒ เป็นคนหัวไว ใจกล้า มีปฏิภาณไหวพริบดี
ลูกเขยทั้ง สองคนของพ่ อใหญ่หา ไม่ค่อยถูกกัน ทะเลาะกันอยู่ เรื่อย เหมือนจับ ไก่ชนกับ ไก่ตี ไปขังไว้ ในซุ้ม
เดียวกัน พ่อตาต้องคอยแยกอยู่ตลอด สร้างความกลุ้มใจให้กับพ่อตาเป็นอย่างมาก ตัดสินใจไม่ได้ว่า “ใครดี ใครชั่ว”
อยู่มาวันหนึ่งชวนลูกเขยไปเที่ยวป่า “วันนี้พ่อจะไปหาของป่า” ว่าแล้วลูกเขยทั้งสองก็จัดข้าวจัดของเตรียมเข้าป่ากับ

๑

พระมหาเฉลิมเกียรติ จิรวฑฺฒโน. เทศน์เวียนในพรรษา ครั้งที่ ๑๓ ปีที่ ๕๕ ณ. วัดป่าโยธาประสิทธิ์ วันเสาร์ ที่ ๑๔ เดือนกันยายน พ.ศ.
๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ น.
ห น้ า | ๒

พ่อตา ระหว่างทางเดินพูดคุยกันไปเรื่อยตามประสาพ่อตาลูกเขย พ่อใหญ่หาบอกลูกเขยของตนว่าข้ามป่าข้างหน้านี้ไปก็
ถึงแล้ว ขณะนั้นมีเสียงวัวร้องอยู่ใกล้ๆ พ่อตาเลยถามลูกเขยจารย์ว่า
พ่อตา : วัวทาไมมันร้องเสียงดังแท้เขยจารย์
เขยจารย์ : คอมันยาว และตัวก็ใหญ่ด้วย เลยร้องดัง
พ่อตา : ออ อย่างนั้นหรอกเหรอ
เขยเซียง : มันไม่ใช่หรอก มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง
พ่อตา : อ้าวทาไมว่าอย่างนั้นหละเซียง
เขยเซียง : แม้อึ่งตัวเล็กๆ คอสั้นๆ ทาไมร้องดังแท้ ถ้าอย่างนั้น
จากนั้นก็พาลูกเขยเดินทางต่อ ได้พากันไปนั่งพักเอาแรงอยู่ใต้ร่มไผ่ พ่อตาหันไปเห็นหน่อไม้แห้งตายคากอไผ่
พร้อมกันนั้นก็นึกคาถามขึ้นได้ว่า “หนอไม้ทาไมมันโผล่ขึ้นมาได้นะ ทั้งๆ ที่มันอยู่ในดิน”
เขยจารย์ : มันเป็นแบบนี้พ่อ กว่ามันจะขึ้นมาได้ ปลายมันแหลมมันเลยขึ้นมาได้
พ่อตา : ปลายมันแหลม อ้อ ปลายมันแหลม
เขยจารย์ : คร้าบบบบ พ่อตาเลยหันไปถามเขยเซียงต่อว่า “ว่าจังได๋หละเซี่ยง”
เขยเซียง : โอ้ว มันธรรมชาติของมันหรอกพ่อ แม้เห็ดปลายทู่ๆ ป้อมๆ จอมปลวกแข็งๆ มันยังขึ้นมาได้
พ่อตา : เออ เข้าท่าวุ่ยบักเซียง เข้าท่าๆๆๆๆ
ว่าแล้วก็พากันเดินทางต่อ ไปตามคลองน้า ไปเจอหินแตก เลยถามเขยจารย์ว่า
พ่อตา : หินนี้ มันแข็ง ก้อนก็ใหญ่ ทาไมมันจึงแตกได้
เขยจารย์ : มันเป็นแบบนี้พ่อ มันนาน ตากแดดตากลม ถูกแดด ถูกลม ถูกฝนมากไป เลยแตก พ่อตา
หันไปถามเขยเซียงต่อว่า “ว่าจังได๋เซี่ยง”
เขยเซียง : ธรรมชาติมัน พ่อไม่สังเกตเหรอขนาดผิวหนัง อยู่ในร่ม อยู่ในผ้า มันยังแตก ไม่เห็นมันโดน
แดดโดนฝนอะไรเลย
พ่อตา : เออ ใช่อย่างมึงว่าแหละบักเซี่ยง (ถูกใจพ่อตาอย่างมาก)
เมื่อได้คาตอบที่พอใจแล้ว พ่อตาก็พาเดินไปอีก ก็ไปเจอตะไคร้กอหนึ่ง พ่อตาเลยถามเขยจารย์ว่า
พ่อตา : ตะไคร้กอนี้งามแท้ มันไม่มีใครมารดน้ามัน ทาไมมันสวยแท้ ที่บ้านเราทาไมไม่สวย
เขยจารย์ : มันแบบนี้พ่อ มันอยู่ใกล้น้า มันชุ่ม มันเย็น ก็เลยสวยกอใหญ่ดกดี จากนั้นถามเขยเซี่ยง “ว่า
จังได๋เซี่ยง”
เขยเซียง : ธรรมชาติมันพ่อ มันดกมันงามก็ไม่เกี่ยวกับน้าหรอก
พ่อตา : ไม่เกี่ยวอย่างไร มันก็อยู่ใกล้น้าขนาดนั้นนะ
ห น้ า | ๓

เขยเซียง : ฮือ ขนาดหัวเฒ่าพ่อถูกน้าทุกวัน เหงื่อออกทุกวัน ผมทาไมไม่ดกไม่งามหละ นับวันทาไมผม
บางลงๆ แท้หละ
พ่อตา : ใช่ความมึงว่าแหละ
นิทานพื้นบ้านนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงสัจจะธรรม คือการมองโลกตามสภาพความเป็นจริง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง
มันเป็นของมันอย่างนั้น เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ตามกฎแห่งสามัญลักษณะ เมื่อผู้มีปัญญาสามารถมองเห็นโลกได้เช่นนี้
ก็ย่อมพบกับความสุขในการดาเนินชีวิตได้
โลกธรรม คือ ธรรมที่มีอยู่ประจาโลก หมายถึง สิ่งที่มีอยู่แล้ว ถึงมนุษย์เราจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นในโลก สิ่งนี้
ก็มีอยู่แล้ว มี ๒ ประเภท คือ
ช่วงขาขึ้นเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา เรียกว่า อิฏฐารมณ์ มี ๔ ประการ คือ :การได้ลาภ เช่น การได้ทรัพย์สินเงินทอง เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย รถยนต์ บุตร-ธิดา สามี-ภริยา การ
ไม่มีโรคเบียดเบียน การได้มาซึ่งเหตุเหล่านี้ เรียกว่าได้ลาภ
การได้ยศ เช่น การมีอานาจ สามารถสั่งการได้ มีชื่อเสียง การได้ตาแหน่ง ได้เลื่อนฐานะ แยกออกเป็น ๓
ประเภท คือ :เกียรติยศ เช่น การจบด๊อกเตอร์ มีผลงานมากผู้คนให้การต้อนรับ ไปไหนมาไหนก็มีคนยกมือไหว้
ทักทายเป็นอย่างดี ฯลฯ
อิสริยยศ เช่น ตาแหน่งอันทรงเกียรติทั้งหลายที่สมมุติขึ้น มีตาแหน่งในการงานหน้าที่ทั้งหลาย
หรือแม้แต่สมณะศักดิ์ของพระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน
บริวารยศ เช่น การมีผู้ใต้บังคับบัญชาในสายงานต่างๆ มีกาลังพลในหน้าที่ หรือมีลูกศิษย์ลูกหา
เยอะ เป็นต้น
การได้สรรเสริญ เช่น การได้รับคาสดุดีจากผู้คนทั้งหลาย คาเยินยอ ยกย่อง คาชม จากผู้คนที่ชื่นชอบใน
ตัวเรา เป็นต้น
การได้รับความสุข เช่น ความสุขกายสบายใจจากชีวิตครอบครัว ความสุขของพ่อแม่ที่เห็นลูกของตน
น่ารักน่าชัง ขยัน อดทน เรียนเก่ง หรือการมีเงินทองใช้อย่างไม่ขัดข้อง สรุปแล้วความสุขนั้นมีสาเหตุมาจาก ๓ ข้อ
ข้างต้น
ช่วงขาลงเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ มี ๔ ประการ คือ :การเสื่อมลาภ เช่น ค้าขายขาดกาไรทาอะไรก็เจ๊ง มีเงินใช้ชักหน้าไม่ถึงหลัง ลูกเมียสุขภาพแย่
การเสื่อมยศ เช่น ถูกปรับตาแหน่ง ถูกถอดถอน หรือลงสมัครแต่ไม่ได้รับเลือก ฯลฯ
การถูกนินทา เช่น มีคนมาดูถูก เหยียดหยาม ดูหมิ่น ดูแคลน ด่าว่าเสียๆ หายๆ ฯลฯ
ความทุกข์ เช่น มีโรครุมเร้า เมีย-ผัวมีชู เครียด กินไม่ได้นอนไม่หลับสาเหตุจาก ๓ ข้อข้างต้น
โลกธรรมนั้น ท่านมุ่งเอาสภาวะที่ มากระทบใจ เป็นอารมณ์ก่อกวนใจให้วุ่นวาย กล่าวโดยย่อ ก็คือพระพุทธ
องค์ต้องการให้พุทธบริษัททั้ง ๔ รู้เท่าทันอารมณ์ที่ทาให้ใจหวั่นไหว รู้จักมองโลกเป็นสองมิติ คือเมื่อมีขาวก็ต้องมีดา
ห น้ า | ๔

มีสุขก็ต้องมีทุกข์ สมหวังก็ต้องผิดหวัง อย่าหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ที่ตนกาลัง มีอยู่ และอย่าทุกข์เพราะเสื่อม
ลาภ ยศ ถูกนินทา และตกทุกข์
สาธุชนทั้งหลาย คนเราในโลกนี้ไม่มีใครติดใจโลกธรรมที่เป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ เพราะเป็นสภาวะที่ไม่น่าชื่นชม
น่ายินดี ทุกคนต่างก็ปรารถนาความสมหวัง อะไรที่ตนได้ ตนมี ซึ่งเข้าใจว่านั่นแหละคือความสุข เปรียบเสมือนการ
แข่งขันตัดสินแพ้-ชนะ สอบได้-สอบตก ฝ่ายที่ชนะย่อมมีความสุขสมหวัง แม้จะเจ็บปวดทรมานขนาดไหน ก็สามารถ
ลืมอาการนั้นไปได้ เพราะอานาจของใจที่ถูกอารมณ์คือความสมหวังฉาบทาไว้ แต่ตรงกันข้ามกับฝ่ายที่พ่ายแพ้ แม้จะ
มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ขนาดไหนก็ตาม เมื่อใจถูกคลื่นอารมณ์คือความผิดหวังมากระทบ มักแสดงออกเหมือนคน
อ่อนแอ สิ้นหวัง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้คือความอ่อนแอของจิตที่กาลังถูกโลกธรรมครอบงา ย่อมทา
ให้จิตของผู้นั้นหวั่นไหว เป็นทุกข์ ไม่มีความอาจหาญ หดหู่ใจ และในที่สุดอาจก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้
สาหรั บโลกธรรมฝ่า ยที่น่า กลั วที่ สุด คือโลกธรรมฝ่า ยอิฏ ฐารมณ์ ได้แก่ การได้ลาภสั กการะ การได้ยศได้
ตาแหน่ง การได้รับคาสรรเสริญเยินยอ และการได้รับความสุขกายสบายใจ ที่ซึ่งสามารถทาให้คนดีกลับเสื่อมได้ง่าย
ที่สุด ที่กล่าวว่าน่ากลัวเพราะว่า คนเราเมื่อจิตได้รับอารมณ์เหล่านี้แล้วย่อมมีความฟู มีความหวั่นไหว และในที่สุดก็
นาไปสู่ความเป็นผู้ประมาท เพียงเพราะเข้าใจว่า “ปัจจุบันนี้เราพรั่งพร้อมทุกอย่าง กุศลกรรมทั้งหลายเราไม่จาเป็นต้อง
ทาแล้ว ในชีวิตนี้จะเอาอะไรดีเท่านี้ไม่มีอีกแล้ว ” โยมลืมคิดไปว่า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมันไม่แน่นอนเหมือนสานวนที่คน
มักพูดกันคือ “สมบัติพลัดกันชม” ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เพราะอาตมาอิจฉานะ แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่สามารถทาใจให้
เป็นกลางได้เท่านั้น จึงจะดารงตนอยู่ท่ามกลางโลกธรรมได้อย่างสง่างาม คือท่านทั้งหลายต้องฝึกมองโลกแบบองค์
รวม (Holistic) หมายความว่าอย่ามองอะไรเพียงมุมเดียว ต้องมองให้ได้สองด้าน เช่นว่ามีสุขสักวันความทุกข์ต้องมา
เยือนเรา ช่วงขาขึ้นทาอะไรก็ดีหมด สักวันความไม่สมหวังจะต้องเข้ามาหาเรา อย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าอารมณ์ที่เป็น
อิฏฐารมณ์กับอนิฏฐารมณ์มักจะอยู่ด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะประสบกับอารมณ์แบบไหนก่อน
เมื่อผู้ใดฝึกจิตของตนได้แบบนี้แล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไหวไปตามอานาจของโลกธรรมที่ กาลังเกิดอยู่ ดังพระบาลี
ที่ปรากฏในมงคลสูตรข้อที่ ๓๕ ที่ได้ยกขึ้นเป็นอุทเทศเบื้องต้นว่า “ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
แปลได้ความว่า จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมดังนี้”
คาว่า จิตไม่หวั่นไหว หมายถึง จิตของบุคคลผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้หมดกิเลสคือพระอรหันต์ สาหรับปุถุชน
นั้นจิตย่อมหวั่นไหวด้วยอานาจโลกธรรมที่เกิดขึ้น ผู้มีจิตไม่หวั่นไหวย่อมมีความเป็นอยู่ที่สงบสุข เยือกเย็น และมี
ความวางเฉยในอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้
ปุ ถุชน หมายถึง ผู้ที่มีจิ ต ใจหนาแน่นไปด้ว ยกองกิเ ลส มีลั ก ษณะ หนัก มี สี ดา อ้ว น เป็ นต้ น มี ๒ คื อ
กัลยาณปุถุชน คือปุถุชนที่พัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์ด้วย ทาน ศีล ภาวนา เพื่อเลื่อนฐานะระดับจิตเป็นกัลยาณ
ชนและอริยะชนต่อไปได้ และปาปปุถุชน คือปุถุชนที่ไม่มีการพัฒนาตนเอง พอใจยินดีกับสิ่งที่ตนเป็นอยู่ ที่ตนหลง ด้วย
อานาจแห่งอวิชชาปิดบังไว้
เมื่อโลกธรรมเกิดขึ้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตของปุถุชนกับจิตของอริยะชนแตกต่างกัน จิตของปุถุชนย่อม
หวั่นไหว มีสภาพฟูขึ้นและยุบลง ส่วนจิตของอริยะชนนั้นย่อมไม่หวั่นไหว”
ห น้ า | ๕

ดังนั้น เพื่อเป็นธรรมะปฏิสันถารแก่สาธุชนทั้งหลาย ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายยังเป็นปุถุชน บ้างท่านเป็น
กัลยาณปุถุชน บ้างท่านอาจก้าวสู่อริยะชนไปแล้ว ถือว่ารอดพ้นภัยพิบัติจากวัฏฏะสงสารนี้ อาตมาภาพขอนาเสนอ
วิธีการเอาชนะโลกธรรม ด้วย กฎ ๔ ร. ๓ พ. หรือถ้าไม่ชนะก็เป็นกาแพงป้องกันคลื่นยักษ์ที่จะถ่าโถมเข้ามาในจิตใจ
ของเราได้ ในเบื้องต้นนั้น เราต้องมองสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง ดังที่พระอัญญาโกณฑัญญะหนึ่งใน
สมาชิกปัญจวัคคีย์ เปล่งอุทานออกมาด้วยความสุขใจว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ. ความว่า สิ่ง
ใดสิงหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา หลักความรู้และทฤษฎีทั้งหลายที่ตนศึกษา
่
มา พอเข้าใจโลกได้ตามความเป็นจริงแค่นั้นเอง ท่านพูดได้แค่ประโยคนี้ประโยคเดียว จากมุมมองนี้ส่งผลให้ท่านได้ก้าว
เข้าสู่ความเป็นพระอริยบุคคลในที่สุด
กฎ ๔ ร. หรือที่เรียกว่า อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ สาหรับ พิจารณาโลกธรรมฝ่านอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่า
ปรารถนา เพื่อให้ใจเกิดความสงบ ไม่ทะเยอทะยาน สามารถวางเฉยได้ คือ :ร๑ : เรามีความแก่เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
ร๒ : เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
ร๓ : เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
ร๔ : เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป
กฎ ๓ พ. หรือที่เรียกว่ากฎไตรลักษณ์ สามัญลักษณะก็เรียก เป็นอาวุธที่คอยตัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจ
จากโลกธรรมที่เป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา เพราะอารมณ์ความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมีจุดจบ
แบบเดียวกันหมด เมื่อพิจารณาต่อเนื่องเป็นประจา จิตก็สามารถคลายจากความทุกข์ ยอมรับความเป็นจริงได้ ดังนี้ :พ๑ : พิจารณาว่า สภาวะทุกอย่างไม่เที่ยง มีแล้วดับไป มีแล้วหายไป
พ๒ : พิจารณาว่า สภาวะทุกอย่างเป็นทุกข์ ทนได้ยาก เกิดขึ้นแล้วแก่ เจ็บ ตายไป
พ๓ : พิจารณาว่า สภาวะทุกอย่างไม่มีตัวตน ไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
จาก กฎ ๔ ร. ๓ พ. ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นหลักหรือวิธีการคิดเพื่อให้จิตใจของเรารู้จักการปล่อยวาง ใคร
สามารถปล่อยวางได้ก็จะพบกับความสุขใจมากแค่นั้น ใครปล่อยวางไม่ได้ ยังมีการยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น ก็ย่อมทุกข์
มาก การไม่ยึดไม่ทุกข์ ดังพุทธโวหารว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย. แปลว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น.
เพื่อเสริมประเด็นธรรมะส่วนที่ขาดหายไป และขยายส่วนที่แจ่มชัดแล้ ว อาตมภาพขอนานิทานที่ปรากฏใน
มตโรทนชาดก อาศัยเหตุการณ์ร้องไห้ถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว เพราะไม่รู้จักโลกธรรม จึงถูกกองแห่งความโศกท้วมทับ
ดาเนินความว่า เมื่อครั้งพระศาสดาประทับอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภกฎุมพีในนครสาวัตถีผู้หนึ่ง ได้
ยินว่า พี่ชายของกฎุมพีนั้น ได้ทากาลกิริยาตายไปแล้ว เขามีความเสียใจเป็นอย่างมาก ไม่อาบน้า ไม่บริโภคอาหาร
ไปป่าช้าแต่เช้าตรู่ เศร้าโศกร้องไห้อยู่ พระศาสดาทรงเล็งข่ายพระญาณตรวจดูหมู่เวไนยสัตว์ในปัจจุสมัย ทรงเห็น
อุปนิสัยแห่งโสดาบันของกฎุมพีนั้น จึงทรงดาริว่า เราควรนาอดีตเหตุมาระงับความเศร้าโศก แล้วให้โสดาปัตติผลสมบัติ
แก่กฎุมพีผู้นี้ นอกจากเราแล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยเขาได้ เราควรเป็นที่พึ่งอาศัยของกฎุมพี นี้จึงจะเหมาะสม ใน
วันรุ่งขึ้นจึงได้เสด็จไปยังบ้านของกฎุมพีนั้น โดยได้นาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ห น้ า | ๖

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์สมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีมี
ทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็ได้ทากาลกิริยาตายไป เมื่อมารดาบิดานั้นทา
กาลกิริยาตายไปแล้ว พี่ชายของพระโพธิสัตว์จึงจัดแจงทรัพย์สมบัติแทน พระโพธิสัตว์อาศัยอยู่กับพี่ชายนั้น
ในกาลต่อมา พี่ชายนั้นได้ทากาลกิริยาตายไปด้วยความป่วยไข้ ญาติมิตรทั้งหลายพากันคร่าครวญ ร้องไห้ ส่วน
พระโพธิสัตว์ไม่คร่าครวญ ไม่ร้องไห้ คนทั้งหลายพากันติเตียนพระโพธิสัตว์ว่า ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพี่ชาย
ของผู้นี้ตายไปแล้ว อาการแม้สักว่าหน้าสยิ้วก็ไม่มี เขามีใจแข็งกระด้างมาก เห็นจะอยากให้พี่ชายตายด้วยคิดว่า เรา
เท่านั้นจักได้ใช้สอยทรัพย์สมบัติ ทั้งสองส่วน ฝ่ายญาติทั้งหลายก็ติเตียนพระโพธิสัตว์นั้นเหมือนว่า เมื่อพี่ชายตายเจ้าไม่
ร้องไห้
พระโพธิสัตว์นั้นได้ฟังคาของญาติเหล่านั้น จึงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ เพราะ
ความที่ตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า พี่ชายของเราตาย แม้เราเองก็จั กตาย เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงไม่
ร้องไห้ถึงเราบ้างว่า ผู้นี้ก็จักตาย แม้ท่านทั้งหลายก็จักตาย เพราะเหตุไรจึงไม่ร้องให้ถึงตนเองบ้างว่า แม้เราทั้งหลายก็
จักตาย สังขารทั้งปวงย่อมเป็นของไม่เที่ยง แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดารงอยู่ตามสภาวะนั้นนั่นแหละ ย่อมไม่ มี
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ จึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้เพื่ออะไรกัน ”
แล้วกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :“ท่านทั้งหลาย ย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่ตายแล้วๆ ทาไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตายบ้างเล่า
สัตว์ทุกจาพวกผูดารงสรีระไว้ ย่อมละทิ้งชีวิตไปโดยลาดับ.”
้
“เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมูปกษีชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้
่ั
ถึงจะอภิรมย์อยู่ (ในร่างกาย) นั้น ก็ต้องละทิ้งชีวิตไปทั้งนั้น.”
“สุขและทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์ เป็นของแปรผัน ไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้
การคร่าครวญ การร่าไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลย เพราะเหตุไรกองโศกจึงท่วมทับท่านได้”
“พวกนักเลง และพวกคอเหล้า ผู้ไม่ทาความเจริญ เป็นพาล ห้าวหาญ
ไม่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสาคัญบัณฑิตว่าเป็นพาลไป.”

พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่ญาติเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ได้กระทาญาติทั้งหมดนั้นให้หายโศกแล้ว
และเมื่อประกาศพระสัจธรรมจบลง กฏุมพีสามารถดารงตนอยู่ในโสดาปัตติผล พระโพธิสัตว์ในครั้ง นั้นคือพระพุทธเจ้าใน
ปัจจุบันนี้ จากนิทานชาดกนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดเข้าใจสัจธรรมตามหลักความเป็นจริงแล้วย่อมไม่เศร้าโศก และ
ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างพระโพธิสัตว์ที่ไม่เศร้าโศกเพราะพี่ชายได้ตายไปฉะนั้น
สรุปความแล้ว โลกธรรม คือ ธรรมที่มีอยู่ประจาโลก อารมณ์ที่น่าปรารถนา เรียกว่า อิฏฐารมณ์ คือ การได้
ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้รับความสุข และอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ คือ การ
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ความทุกข์
เมื่อโลกธรรมเกิดขึ้นกับผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ก็ตาม บุคคลนั้นต้องมีสติรู้ทันตาม
สภาพความเป็นจริง ไม่มัวเมาในสิ่งเหล่านั้น เพียงดังแผ่นดินที่คนเอาสิ่งปฏิกูล และกองหยากเยื่อไปทิ้ง แผ่นดินก็ไม่
รับรู้ถึงความน่าเกลียดนั้นฉันใด จิตของท่านทั้งหลายที่ฝึกดีแล้ว เมื่ออารมณ์โลกธรรมผ่านเข้ามาก็ต้องไม่หวั่นไหวฉัน
นั้นเหมือนกัน ยามใดที่อนิฏฐารมณ์มากระทบ ต้องคิดไว้เสมอว่าสิ่งเหล่านี้ไม่แน่น อนสักวันฝ่ายอิฏฐารมณ์ก็ต้องเกิด
ห น้ า | ๗

ขึ้นกับเรา ไม่มีใครผิดหวังไปตลอดและไม่มีใครจะสมหวังไปเสมอ ถ้าเรายึดติดมาก ชีวิตเราก็ไม่พบความสุข ดังบท
ประพันธ์ที่กล่าวว่า :สิ่งทั้งปวงควรหรือจะถือมั่น
เพราะว่ามันก่อทุกข์มีสุขไฉน
ยึดมั่นมากทุกข์มากลาบากใจ
ปล่อยวางได้เป็นสุขทุกคืนวัน... ดังนี้
มีนัยดังได้อรรถาธิบายมา
เทสนาปริโยสาเน ในกาลสิ้นสุดลงแห่งการแสดงพระธรรมเทศนานี้ ขออานาจคุณพระศรีรัตนะตรัย และคุณ
งามความดีทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในท่ามกลางพุทธสมาคมนี้ จงมารวมกันเป็น มหันตเดชานุภาพ สนับสนุนส่งเสริมให้
สาธุชนทั้งหลายจงเจริญด้วยสตมายุวัสสาไร้โรคาพยาธิ สุทัศนาด้วยสิริวรรณะ ทุกขะโทมนัสอย่าได้กล่ากราย มี
ความบริบูรณ์แห่งสุขเป็นที่ตั้ง มีพละกาลังดั่งคชสารห้าเชือกในการดาเนินชีวิต คิดปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใดที่ชอบ
ประกอบไปด้วยความพอดี อันมีทุนคือบุญที่กระทาไว้ดีแล้ว ในกาลก่อน จงสัมปยุตด้วยผลแห่งจิตที่เลื่อมใสในพระ
รัตนตรัยนี้ๆ ขอให้ความมุ่งปรารถนาของท่านนั้นๆ จงพลันสาเร็จ จงพลันสาเร็จ จงพลันสาเร็จทุกประการ แสดงพระ
ธรรมเทศนาในโลกะธัมมะกะถา สมสมัยในกาลนิยม ขอสมมุติยุติลงคงไว้ แต่เพียงเท่านี้.
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์Nhui Srr
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖Anchalee BuddhaBucha
 
คำคมคารมปราชญ์
คำคมคารมปราชญ์คำคมคารมปราชญ์
คำคมคารมปราชญ์niralai
 
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาทวิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาทPadvee Academy
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาprimpatcha
 
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2niralai
 
คู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตร
คู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตรคู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตร
คู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตรniralai
 

Mais procurados (20)

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 
คำคมคารมปราชญ์
คำคมคารมปราชญ์คำคมคารมปราชญ์
คำคมคารมปราชญ์
 
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
 
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
 
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาทวิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
 
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdfแบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
 
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
 
กลอน
กลอนกลอน
กลอน
 
ขันธ์ 5
ขันธ์ 5 ขันธ์ 5
ขันธ์ 5
 
บทสวดมนต์
บทสวดมนต์บทสวดมนต์
บทสวดมนต์
 
อรูป 4 สมถกัมมัฏฐาน
อรูป 4 สมถกัมมัฏฐานอรูป 4 สมถกัมมัฏฐาน
อรูป 4 สมถกัมมัฏฐาน
 
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdfประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
 
คู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตร
คู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตรคู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตร
คู่มือวิทยากรโครงการอบรมคุณธรรม ค่ายพุทธบุตร
 

Destaque

ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)Kiat Chaloemkiat
 
ธรรมบทเทศนาเล่ม1
ธรรมบทเทศนาเล่ม1ธรรมบทเทศนาเล่ม1
ธรรมบทเทศนาเล่ม1Tongsamut vorasan
 
พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่Kiat Chaloemkiat
 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดการบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดKiat Chaloemkiat
 
บทบรรยายพระคุณแม่
บทบรรยายพระคุณแม่บทบรรยายพระคุณแม่
บทบรรยายพระคุณแม่niralai
 
คำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมคำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมniralai
 

Destaque (6)

ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
ธัมมะฐิตะกะถา (เทศน์ทำบุญอุทิศให้ยายยาน มาลีหวล)
 
ธรรมบทเทศนาเล่ม1
ธรรมบทเทศนาเล่ม1ธรรมบทเทศนาเล่ม1
ธรรมบทเทศนาเล่ม1
 
พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่พระคุณพ่อแม่
พระคุณพ่อแม่
 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดการบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
 
บทบรรยายพระคุณแม่
บทบรรยายพระคุณแม่บทบรรยายพระคุณแม่
บทบรรยายพระคุณแม่
 
คำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมคำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรม
 

Semelhante a โลกธรรม ๘

ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555Carzanova
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย Maha Duangthip Dhamma
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญาTongsamut vorasan
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมniralai
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555Carzanova
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงSongsarid Ruecha
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารหลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารguestf16531
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Wat Thai Washington, D.C.
 
ชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัย
ชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัยชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัย
ชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัยAchara Sritavarit
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 

Semelhante a โลกธรรม ๘ (20)

140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวง
 
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนาสถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารหลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
ชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัย
ชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัยชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัย
ชวิตนี้มีแต่สุข_อ.เฉลิมชัย
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 

Mais de Kiat Chaloemkiat

กระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่น
กระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่นกระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่น
กระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่นKiat Chaloemkiat
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้Kiat Chaloemkiat
 
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมแผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมKiat Chaloemkiat
 
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมแผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมKiat Chaloemkiat
 
กัยลาณธรรม
กัยลาณธรรมกัยลาณธรรม
กัยลาณธรรมKiat Chaloemkiat
 
เทวตาธรรม
เทวตาธรรมเทวตาธรรม
เทวตาธรรมKiat Chaloemkiat
 
เมตตาค้ำจุ่นโลก
เมตตาค้ำจุ่นโลกเมตตาค้ำจุ่นโลก
เมตตาค้ำจุ่นโลกKiat Chaloemkiat
 
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์Kiat Chaloemkiat
 
ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔
ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔
ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔Kiat Chaloemkiat
 
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลกศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลกKiat Chaloemkiat
 
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีKiat Chaloemkiat
 
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนาร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนาKiat Chaloemkiat
 
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโลคำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโลKiat Chaloemkiat
 
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณพระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณKiat Chaloemkiat
 

Mais de Kiat Chaloemkiat (14)

กระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่น
กระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่นกระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่น
กระแสโลกกับความอยู่รอดของท้องถิ่น
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมแผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
 
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมแผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
แผนการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
 
กัยลาณธรรม
กัยลาณธรรมกัยลาณธรรม
กัยลาณธรรม
 
เทวตาธรรม
เทวตาธรรมเทวตาธรรม
เทวตาธรรม
 
เมตตาค้ำจุ่นโลก
เมตตาค้ำจุ่นโลกเมตตาค้ำจุ่นโลก
เมตตาค้ำจุ่นโลก
 
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
 
ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔
ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔
ทุกข์ในอริยสัจจ์ ๔
 
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลกศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
 
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
 
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนาร่มเงาพระพุทธศาสนา
ร่มเงาพระพุทธศาสนา
 
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโลคำสอนของหลวงปู่ดูลย์  อตุโล
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
 
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณพระกู้เกียรติ  กิตฺติโสภโณ
พระกู้เกียรติ กิตฺติโสภโณ
 

โลกธรรม ๘

  • 1. ห น้ า | ๑ เรื่อง : โลกธรรม ๘ ประการ๑ ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปตี-ติ-อิ-อี. ณ. บั ด นี้ จั ก ได้ แ สดงพระธรรมเทศนาในโลกธั ม มกถา ว่ า ด้ ว ยโลกธรรม ๘ ประการ เพื่ อ เป็ น เครื่ อ ง ประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี เพิ่มพูนบุญกุศลราศี และเป็นสัมมาปฏิบัติในการดาเนินชีวิต แด่ สาธุชนทั้งหลายที่ได้มาสโมสรกัน ณ พุทธสมาคมแห่งนี้ สืบเนื่องจากวันนี้เป็นวันสาคัญ สาหรับอุบาสก-อุบาสิกาจาก คุ้มวัดต่างๆ ในเขตอาเภอเมือง คือกิจกรรมเทศน์เวียนในพรรษา และในพรรษานี้ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑๓ ตรงกับวันเสาร์ ที่ ๑๔ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ ล่วงมาแล้ว ๕๕ ปี ถ้าเปรียบเทียบกับอายุคนเรา ก็ใกล้ครบเกษียณแล้ว อาตมภาพ พระมหาเฉลิมเกียรติ จิรวฑฺฒโน ได้รับฉันทานุมัติจากคณะสงฆ์ โดยมีพระเดชพระคุณพระครูโสภณธรรมรังสี เจ้า คณะอาเภอเมืองสุรินทร์ ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดป่าโยธาประสิทธิ์ เป็นประธานสงฆ์ ได้สมมุติบทบาทหน้าที่ให้อาตมภาพ เป็นพระธรรมกถิกาจารย์ คือผู้ขึ้นมาสาแดงความแจ้งชัดแห่งพระสัทธรรม ตามกาลังสติปัญญาของตน หากการ แสดงธรรมในครั้งนี้ มีการคาดเคลื่อนผิดจากทานองคลองธรรมประการใด เพราะความเป็นผู้มีสติปัญญาน้อย ขอให้ พระเถรานุเถระผู้เป็นปราชญ์ทั้งหลาย ตลอดทั้งอุบาสก-อุบาสิกาผู้เป็นบัณฑิต ได้อดโทษและชี้แนะให้สว่างแห่งปัญญา เป็นลาดับสืบไป ในช่วงเดือนกันยา ตุลา นี้ ญาติโยมหลายท่านที่มีอายุขึ้นต้นด้วยเลย ๕ ลงท้ายด้วยเลย ๙ ย่อมมีความรู้สึก หวั่นไหว และรู้สึกเหมือนเด็กขาดความอบอุ่น เพราะชีวิตหลังการเกษียณไม่รู้จะทาอะไร จากที่เมื่อก่อนเคยมีงานประจา ทา ซึ่ ง เป็ น งานไม่ ห นั กหนาอะไร ไม่ต้ อ งใช้ แ รงมาก นั่ ง ๆ คิ ด ๆ พู ด ๆ เขีย นๆ สิ้ น เดื อ นมาก็ ไ ด้ รับ เงิ น เดื อ นเป็ น ค่าตอบแทนแล้ว แถมยังมีคนคอยเอาใจใส่ คอยแคร์ความรู้สึก นี้ชีวิตของคนเคยเป็นหัวหน้า ถ้าชี วิตลูกจ้างธรรมดา คงไม่รู้สึกอะไร เพราะทุกวันชีวิตก็หมุนไปกับการออกแรงเพื่อแลกกับรายได้อยู่แล้ว ฉะนั้น หัวข้อธรรมที่กาหนดให้ เทศน์ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสที่ประจวบเหมาะพอดี คือเข้ากับสถานการณ์ในสังคมพอดิบพอดี ก่อนที่จะดาเนินความตามพระบาลีที่ได้กล่าวอ้างในเบื้ องต้น อาตมภาพมีนิทานก่อมของอีสานบ้านเรามาเล่าสู่ กันฟัง “เรื่องเขยจารย์-เขยเซียง” เพื่อเป็นอุปกรณ์สะท้อนปัญญาให้สาธุชนทั้งหลายได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ดาเนินความว่า “พ่อใหญ่หาผู้เป็นพ่อตา มีลูกเขยอยู่สองคน คือ เขยจารย์ ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้หลากมากด้วยวิชาการ มีความสุขุมลุ่ม ลึก พูดจามีหลักมีเกณฑ์ เพราะตนเคยบวชเคยเรียนมา และเขยเซียง เป็นคนสนุกสนาน ไม่ค่อยซีเรียสกับชีวิต เรียน จบ ป.๒ เป็นคนหัวไว ใจกล้า มีปฏิภาณไหวพริบดี ลูกเขยทั้ง สองคนของพ่ อใหญ่หา ไม่ค่อยถูกกัน ทะเลาะกันอยู่ เรื่อย เหมือนจับ ไก่ชนกับ ไก่ตี ไปขังไว้ ในซุ้ม เดียวกัน พ่อตาต้องคอยแยกอยู่ตลอด สร้างความกลุ้มใจให้กับพ่อตาเป็นอย่างมาก ตัดสินใจไม่ได้ว่า “ใครดี ใครชั่ว” อยู่มาวันหนึ่งชวนลูกเขยไปเที่ยวป่า “วันนี้พ่อจะไปหาของป่า” ว่าแล้วลูกเขยทั้งสองก็จัดข้าวจัดของเตรียมเข้าป่ากับ ๑ พระมหาเฉลิมเกียรติ จิรวฑฺฒโน. เทศน์เวียนในพรรษา ครั้งที่ ๑๓ ปีที่ ๕๕ ณ. วัดป่าโยธาประสิทธิ์ วันเสาร์ ที่ ๑๔ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ น.
  • 2. ห น้ า | ๒ พ่อตา ระหว่างทางเดินพูดคุยกันไปเรื่อยตามประสาพ่อตาลูกเขย พ่อใหญ่หาบอกลูกเขยของตนว่าข้ามป่าข้างหน้านี้ไปก็ ถึงแล้ว ขณะนั้นมีเสียงวัวร้องอยู่ใกล้ๆ พ่อตาเลยถามลูกเขยจารย์ว่า พ่อตา : วัวทาไมมันร้องเสียงดังแท้เขยจารย์ เขยจารย์ : คอมันยาว และตัวก็ใหญ่ด้วย เลยร้องดัง พ่อตา : ออ อย่างนั้นหรอกเหรอ เขยเซียง : มันไม่ใช่หรอก มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง พ่อตา : อ้าวทาไมว่าอย่างนั้นหละเซียง เขยเซียง : แม้อึ่งตัวเล็กๆ คอสั้นๆ ทาไมร้องดังแท้ ถ้าอย่างนั้น จากนั้นก็พาลูกเขยเดินทางต่อ ได้พากันไปนั่งพักเอาแรงอยู่ใต้ร่มไผ่ พ่อตาหันไปเห็นหน่อไม้แห้งตายคากอไผ่ พร้อมกันนั้นก็นึกคาถามขึ้นได้ว่า “หนอไม้ทาไมมันโผล่ขึ้นมาได้นะ ทั้งๆ ที่มันอยู่ในดิน” เขยจารย์ : มันเป็นแบบนี้พ่อ กว่ามันจะขึ้นมาได้ ปลายมันแหลมมันเลยขึ้นมาได้ พ่อตา : ปลายมันแหลม อ้อ ปลายมันแหลม เขยจารย์ : คร้าบบบบ พ่อตาเลยหันไปถามเขยเซียงต่อว่า “ว่าจังได๋หละเซี่ยง” เขยเซียง : โอ้ว มันธรรมชาติของมันหรอกพ่อ แม้เห็ดปลายทู่ๆ ป้อมๆ จอมปลวกแข็งๆ มันยังขึ้นมาได้ พ่อตา : เออ เข้าท่าวุ่ยบักเซียง เข้าท่าๆๆๆๆ ว่าแล้วก็พากันเดินทางต่อ ไปตามคลองน้า ไปเจอหินแตก เลยถามเขยจารย์ว่า พ่อตา : หินนี้ มันแข็ง ก้อนก็ใหญ่ ทาไมมันจึงแตกได้ เขยจารย์ : มันเป็นแบบนี้พ่อ มันนาน ตากแดดตากลม ถูกแดด ถูกลม ถูกฝนมากไป เลยแตก พ่อตา หันไปถามเขยเซียงต่อว่า “ว่าจังได๋เซี่ยง” เขยเซียง : ธรรมชาติมัน พ่อไม่สังเกตเหรอขนาดผิวหนัง อยู่ในร่ม อยู่ในผ้า มันยังแตก ไม่เห็นมันโดน แดดโดนฝนอะไรเลย พ่อตา : เออ ใช่อย่างมึงว่าแหละบักเซี่ยง (ถูกใจพ่อตาอย่างมาก) เมื่อได้คาตอบที่พอใจแล้ว พ่อตาก็พาเดินไปอีก ก็ไปเจอตะไคร้กอหนึ่ง พ่อตาเลยถามเขยจารย์ว่า พ่อตา : ตะไคร้กอนี้งามแท้ มันไม่มีใครมารดน้ามัน ทาไมมันสวยแท้ ที่บ้านเราทาไมไม่สวย เขยจารย์ : มันแบบนี้พ่อ มันอยู่ใกล้น้า มันชุ่ม มันเย็น ก็เลยสวยกอใหญ่ดกดี จากนั้นถามเขยเซี่ยง “ว่า จังได๋เซี่ยง” เขยเซียง : ธรรมชาติมันพ่อ มันดกมันงามก็ไม่เกี่ยวกับน้าหรอก พ่อตา : ไม่เกี่ยวอย่างไร มันก็อยู่ใกล้น้าขนาดนั้นนะ
  • 3. ห น้ า | ๓ เขยเซียง : ฮือ ขนาดหัวเฒ่าพ่อถูกน้าทุกวัน เหงื่อออกทุกวัน ผมทาไมไม่ดกไม่งามหละ นับวันทาไมผม บางลงๆ แท้หละ พ่อตา : ใช่ความมึงว่าแหละ นิทานพื้นบ้านนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงสัจจะธรรม คือการมองโลกตามสภาพความเป็นจริง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง มันเป็นของมันอย่างนั้น เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ตามกฎแห่งสามัญลักษณะ เมื่อผู้มีปัญญาสามารถมองเห็นโลกได้เช่นนี้ ก็ย่อมพบกับความสุขในการดาเนินชีวิตได้ โลกธรรม คือ ธรรมที่มีอยู่ประจาโลก หมายถึง สิ่งที่มีอยู่แล้ว ถึงมนุษย์เราจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นในโลก สิ่งนี้ ก็มีอยู่แล้ว มี ๒ ประเภท คือ ช่วงขาขึ้นเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา เรียกว่า อิฏฐารมณ์ มี ๔ ประการ คือ :การได้ลาภ เช่น การได้ทรัพย์สินเงินทอง เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย รถยนต์ บุตร-ธิดา สามี-ภริยา การ ไม่มีโรคเบียดเบียน การได้มาซึ่งเหตุเหล่านี้ เรียกว่าได้ลาภ การได้ยศ เช่น การมีอานาจ สามารถสั่งการได้ มีชื่อเสียง การได้ตาแหน่ง ได้เลื่อนฐานะ แยกออกเป็น ๓ ประเภท คือ :เกียรติยศ เช่น การจบด๊อกเตอร์ มีผลงานมากผู้คนให้การต้อนรับ ไปไหนมาไหนก็มีคนยกมือไหว้ ทักทายเป็นอย่างดี ฯลฯ อิสริยยศ เช่น ตาแหน่งอันทรงเกียรติทั้งหลายที่สมมุติขึ้น มีตาแหน่งในการงานหน้าที่ทั้งหลาย หรือแม้แต่สมณะศักดิ์ของพระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน บริวารยศ เช่น การมีผู้ใต้บังคับบัญชาในสายงานต่างๆ มีกาลังพลในหน้าที่ หรือมีลูกศิษย์ลูกหา เยอะ เป็นต้น การได้สรรเสริญ เช่น การได้รับคาสดุดีจากผู้คนทั้งหลาย คาเยินยอ ยกย่อง คาชม จากผู้คนที่ชื่นชอบใน ตัวเรา เป็นต้น การได้รับความสุข เช่น ความสุขกายสบายใจจากชีวิตครอบครัว ความสุขของพ่อแม่ที่เห็นลูกของตน น่ารักน่าชัง ขยัน อดทน เรียนเก่ง หรือการมีเงินทองใช้อย่างไม่ขัดข้อง สรุปแล้วความสุขนั้นมีสาเหตุมาจาก ๓ ข้อ ข้างต้น ช่วงขาลงเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ มี ๔ ประการ คือ :การเสื่อมลาภ เช่น ค้าขายขาดกาไรทาอะไรก็เจ๊ง มีเงินใช้ชักหน้าไม่ถึงหลัง ลูกเมียสุขภาพแย่ การเสื่อมยศ เช่น ถูกปรับตาแหน่ง ถูกถอดถอน หรือลงสมัครแต่ไม่ได้รับเลือก ฯลฯ การถูกนินทา เช่น มีคนมาดูถูก เหยียดหยาม ดูหมิ่น ดูแคลน ด่าว่าเสียๆ หายๆ ฯลฯ ความทุกข์ เช่น มีโรครุมเร้า เมีย-ผัวมีชู เครียด กินไม่ได้นอนไม่หลับสาเหตุจาก ๓ ข้อข้างต้น โลกธรรมนั้น ท่านมุ่งเอาสภาวะที่ มากระทบใจ เป็นอารมณ์ก่อกวนใจให้วุ่นวาย กล่าวโดยย่อ ก็คือพระพุทธ องค์ต้องการให้พุทธบริษัททั้ง ๔ รู้เท่าทันอารมณ์ที่ทาให้ใจหวั่นไหว รู้จักมองโลกเป็นสองมิติ คือเมื่อมีขาวก็ต้องมีดา
  • 4. ห น้ า | ๔ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ สมหวังก็ต้องผิดหวัง อย่าหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ที่ตนกาลัง มีอยู่ และอย่าทุกข์เพราะเสื่อม ลาภ ยศ ถูกนินทา และตกทุกข์ สาธุชนทั้งหลาย คนเราในโลกนี้ไม่มีใครติดใจโลกธรรมที่เป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ เพราะเป็นสภาวะที่ไม่น่าชื่นชม น่ายินดี ทุกคนต่างก็ปรารถนาความสมหวัง อะไรที่ตนได้ ตนมี ซึ่งเข้าใจว่านั่นแหละคือความสุข เปรียบเสมือนการ แข่งขันตัดสินแพ้-ชนะ สอบได้-สอบตก ฝ่ายที่ชนะย่อมมีความสุขสมหวัง แม้จะเจ็บปวดทรมานขนาดไหน ก็สามารถ ลืมอาการนั้นไปได้ เพราะอานาจของใจที่ถูกอารมณ์คือความสมหวังฉาบทาไว้ แต่ตรงกันข้ามกับฝ่ายที่พ่ายแพ้ แม้จะ มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ขนาดไหนก็ตาม เมื่อใจถูกคลื่นอารมณ์คือความผิดหวังมากระทบ มักแสดงออกเหมือนคน อ่อนแอ สิ้นหวัง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้คือความอ่อนแอของจิตที่กาลังถูกโลกธรรมครอบงา ย่อมทา ให้จิตของผู้นั้นหวั่นไหว เป็นทุกข์ ไม่มีความอาจหาญ หดหู่ใจ และในที่สุดอาจก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้ สาหรั บโลกธรรมฝ่า ยที่น่า กลั วที่ สุด คือโลกธรรมฝ่า ยอิฏ ฐารมณ์ ได้แก่ การได้ลาภสั กการะ การได้ยศได้ ตาแหน่ง การได้รับคาสรรเสริญเยินยอ และการได้รับความสุขกายสบายใจ ที่ซึ่งสามารถทาให้คนดีกลับเสื่อมได้ง่าย ที่สุด ที่กล่าวว่าน่ากลัวเพราะว่า คนเราเมื่อจิตได้รับอารมณ์เหล่านี้แล้วย่อมมีความฟู มีความหวั่นไหว และในที่สุดก็ นาไปสู่ความเป็นผู้ประมาท เพียงเพราะเข้าใจว่า “ปัจจุบันนี้เราพรั่งพร้อมทุกอย่าง กุศลกรรมทั้งหลายเราไม่จาเป็นต้อง ทาแล้ว ในชีวิตนี้จะเอาอะไรดีเท่านี้ไม่มีอีกแล้ว ” โยมลืมคิดไปว่า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมันไม่แน่นอนเหมือนสานวนที่คน มักพูดกันคือ “สมบัติพลัดกันชม” ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เพราะอาตมาอิจฉานะ แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่สามารถทาใจให้ เป็นกลางได้เท่านั้น จึงจะดารงตนอยู่ท่ามกลางโลกธรรมได้อย่างสง่างาม คือท่านทั้งหลายต้องฝึกมองโลกแบบองค์ รวม (Holistic) หมายความว่าอย่ามองอะไรเพียงมุมเดียว ต้องมองให้ได้สองด้าน เช่นว่ามีสุขสักวันความทุกข์ต้องมา เยือนเรา ช่วงขาขึ้นทาอะไรก็ดีหมด สักวันความไม่สมหวังจะต้องเข้ามาหาเรา อย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าอารมณ์ที่เป็น อิฏฐารมณ์กับอนิฏฐารมณ์มักจะอยู่ด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะประสบกับอารมณ์แบบไหนก่อน เมื่อผู้ใดฝึกจิตของตนได้แบบนี้แล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไหวไปตามอานาจของโลกธรรมที่ กาลังเกิดอยู่ ดังพระบาลี ที่ปรากฏในมงคลสูตรข้อที่ ๓๕ ที่ได้ยกขึ้นเป็นอุทเทศเบื้องต้นว่า “ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ แปลได้ความว่า จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมดังนี้” คาว่า จิตไม่หวั่นไหว หมายถึง จิตของบุคคลผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้หมดกิเลสคือพระอรหันต์ สาหรับปุถุชน นั้นจิตย่อมหวั่นไหวด้วยอานาจโลกธรรมที่เกิดขึ้น ผู้มีจิตไม่หวั่นไหวย่อมมีความเป็นอยู่ที่สงบสุข เยือกเย็น และมี ความวางเฉยในอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ ปุ ถุชน หมายถึง ผู้ที่มีจิ ต ใจหนาแน่นไปด้ว ยกองกิเ ลส มีลั ก ษณะ หนัก มี สี ดา อ้ว น เป็ นต้ น มี ๒ คื อ กัลยาณปุถุชน คือปุถุชนที่พัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์ด้วย ทาน ศีล ภาวนา เพื่อเลื่อนฐานะระดับจิตเป็นกัลยาณ ชนและอริยะชนต่อไปได้ และปาปปุถุชน คือปุถุชนที่ไม่มีการพัฒนาตนเอง พอใจยินดีกับสิ่งที่ตนเป็นอยู่ ที่ตนหลง ด้วย อานาจแห่งอวิชชาปิดบังไว้ เมื่อโลกธรรมเกิดขึ้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตของปุถุชนกับจิตของอริยะชนแตกต่างกัน จิตของปุถุชนย่อม หวั่นไหว มีสภาพฟูขึ้นและยุบลง ส่วนจิตของอริยะชนนั้นย่อมไม่หวั่นไหว”
  • 5. ห น้ า | ๕ ดังนั้น เพื่อเป็นธรรมะปฏิสันถารแก่สาธุชนทั้งหลาย ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายยังเป็นปุถุชน บ้างท่านเป็น กัลยาณปุถุชน บ้างท่านอาจก้าวสู่อริยะชนไปแล้ว ถือว่ารอดพ้นภัยพิบัติจากวัฏฏะสงสารนี้ อาตมาภาพขอนาเสนอ วิธีการเอาชนะโลกธรรม ด้วย กฎ ๔ ร. ๓ พ. หรือถ้าไม่ชนะก็เป็นกาแพงป้องกันคลื่นยักษ์ที่จะถ่าโถมเข้ามาในจิตใจ ของเราได้ ในเบื้องต้นนั้น เราต้องมองสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง ดังที่พระอัญญาโกณฑัญญะหนึ่งใน สมาชิกปัญจวัคคีย์ เปล่งอุทานออกมาด้วยความสุขใจว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ. ความว่า สิ่ง ใดสิงหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา หลักความรู้และทฤษฎีทั้งหลายที่ตนศึกษา ่ มา พอเข้าใจโลกได้ตามความเป็นจริงแค่นั้นเอง ท่านพูดได้แค่ประโยคนี้ประโยคเดียว จากมุมมองนี้ส่งผลให้ท่านได้ก้าว เข้าสู่ความเป็นพระอริยบุคคลในที่สุด กฎ ๔ ร. หรือที่เรียกว่า อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ สาหรับ พิจารณาโลกธรรมฝ่านอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่า ปรารถนา เพื่อให้ใจเกิดความสงบ ไม่ทะเยอทะยาน สามารถวางเฉยได้ คือ :ร๑ : เรามีความแก่เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ ร๒ : เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ ร๓ : เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ ร๔ : เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป กฎ ๓ พ. หรือที่เรียกว่ากฎไตรลักษณ์ สามัญลักษณะก็เรียก เป็นอาวุธที่คอยตัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจ จากโลกธรรมที่เป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา เพราะอารมณ์ความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมีจุดจบ แบบเดียวกันหมด เมื่อพิจารณาต่อเนื่องเป็นประจา จิตก็สามารถคลายจากความทุกข์ ยอมรับความเป็นจริงได้ ดังนี้ :พ๑ : พิจารณาว่า สภาวะทุกอย่างไม่เที่ยง มีแล้วดับไป มีแล้วหายไป พ๒ : พิจารณาว่า สภาวะทุกอย่างเป็นทุกข์ ทนได้ยาก เกิดขึ้นแล้วแก่ เจ็บ ตายไป พ๓ : พิจารณาว่า สภาวะทุกอย่างไม่มีตัวตน ไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา จาก กฎ ๔ ร. ๓ พ. ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นหลักหรือวิธีการคิดเพื่อให้จิตใจของเรารู้จักการปล่อยวาง ใคร สามารถปล่อยวางได้ก็จะพบกับความสุขใจมากแค่นั้น ใครปล่อยวางไม่ได้ ยังมีการยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น ก็ย่อมทุกข์ มาก การไม่ยึดไม่ทุกข์ ดังพุทธโวหารว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย. แปลว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น. เพื่อเสริมประเด็นธรรมะส่วนที่ขาดหายไป และขยายส่วนที่แจ่มชัดแล้ ว อาตมภาพขอนานิทานที่ปรากฏใน มตโรทนชาดก อาศัยเหตุการณ์ร้องไห้ถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว เพราะไม่รู้จักโลกธรรม จึงถูกกองแห่งความโศกท้วมทับ ดาเนินความว่า เมื่อครั้งพระศาสดาประทับอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภกฎุมพีในนครสาวัตถีผู้หนึ่ง ได้ ยินว่า พี่ชายของกฎุมพีนั้น ได้ทากาลกิริยาตายไปแล้ว เขามีความเสียใจเป็นอย่างมาก ไม่อาบน้า ไม่บริโภคอาหาร ไปป่าช้าแต่เช้าตรู่ เศร้าโศกร้องไห้อยู่ พระศาสดาทรงเล็งข่ายพระญาณตรวจดูหมู่เวไนยสัตว์ในปัจจุสมัย ทรงเห็น อุปนิสัยแห่งโสดาบันของกฎุมพีนั้น จึงทรงดาริว่า เราควรนาอดีตเหตุมาระงับความเศร้าโศก แล้วให้โสดาปัตติผลสมบัติ แก่กฎุมพีผู้นี้ นอกจากเราแล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยเขาได้ เราควรเป็นที่พึ่งอาศัยของกฎุมพี นี้จึงจะเหมาะสม ใน วันรุ่งขึ้นจึงได้เสด็จไปยังบ้านของกฎุมพีนั้น โดยได้นาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
  • 6. ห น้ า | ๖ ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์สมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีมี ทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็ได้ทากาลกิริยาตายไป เมื่อมารดาบิดานั้นทา กาลกิริยาตายไปแล้ว พี่ชายของพระโพธิสัตว์จึงจัดแจงทรัพย์สมบัติแทน พระโพธิสัตว์อาศัยอยู่กับพี่ชายนั้น ในกาลต่อมา พี่ชายนั้นได้ทากาลกิริยาตายไปด้วยความป่วยไข้ ญาติมิตรทั้งหลายพากันคร่าครวญ ร้องไห้ ส่วน พระโพธิสัตว์ไม่คร่าครวญ ไม่ร้องไห้ คนทั้งหลายพากันติเตียนพระโพธิสัตว์ว่า ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพี่ชาย ของผู้นี้ตายไปแล้ว อาการแม้สักว่าหน้าสยิ้วก็ไม่มี เขามีใจแข็งกระด้างมาก เห็นจะอยากให้พี่ชายตายด้วยคิดว่า เรา เท่านั้นจักได้ใช้สอยทรัพย์สมบัติ ทั้งสองส่วน ฝ่ายญาติทั้งหลายก็ติเตียนพระโพธิสัตว์นั้นเหมือนว่า เมื่อพี่ชายตายเจ้าไม่ ร้องไห้ พระโพธิสัตว์นั้นได้ฟังคาของญาติเหล่านั้น จึงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ เพราะ ความที่ตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า พี่ชายของเราตาย แม้เราเองก็จั กตาย เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงไม่ ร้องไห้ถึงเราบ้างว่า ผู้นี้ก็จักตาย แม้ท่านทั้งหลายก็จักตาย เพราะเหตุไรจึงไม่ร้องให้ถึงตนเองบ้างว่า แม้เราทั้งหลายก็ จักตาย สังขารทั้งปวงย่อมเป็นของไม่เที่ยง แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดารงอยู่ตามสภาวะนั้นนั่นแหละ ย่อมไม่ มี ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ จึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้เพื่ออะไรกัน ” แล้วกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :“ท่านทั้งหลาย ย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่ตายแล้วๆ ทาไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตายบ้างเล่า สัตว์ทุกจาพวกผูดารงสรีระไว้ ย่อมละทิ้งชีวิตไปโดยลาดับ.” ้ “เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมูปกษีชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้ ่ั ถึงจะอภิรมย์อยู่ (ในร่างกาย) นั้น ก็ต้องละทิ้งชีวิตไปทั้งนั้น.” “สุขและทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์ เป็นของแปรผัน ไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้ การคร่าครวญ การร่าไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลย เพราะเหตุไรกองโศกจึงท่วมทับท่านได้” “พวกนักเลง และพวกคอเหล้า ผู้ไม่ทาความเจริญ เป็นพาล ห้าวหาญ ไม่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสาคัญบัณฑิตว่าเป็นพาลไป.” พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่ญาติเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ได้กระทาญาติทั้งหมดนั้นให้หายโศกแล้ว และเมื่อประกาศพระสัจธรรมจบลง กฏุมพีสามารถดารงตนอยู่ในโสดาปัตติผล พระโพธิสัตว์ในครั้ง นั้นคือพระพุทธเจ้าใน ปัจจุบันนี้ จากนิทานชาดกนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดเข้าใจสัจธรรมตามหลักความเป็นจริงแล้วย่อมไม่เศร้าโศก และ ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างพระโพธิสัตว์ที่ไม่เศร้าโศกเพราะพี่ชายได้ตายไปฉะนั้น สรุปความแล้ว โลกธรรม คือ ธรรมที่มีอยู่ประจาโลก อารมณ์ที่น่าปรารถนา เรียกว่า อิฏฐารมณ์ คือ การได้ ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้รับความสุข และอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ คือ การ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ความทุกข์ เมื่อโลกธรรมเกิดขึ้นกับผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ก็ตาม บุคคลนั้นต้องมีสติรู้ทันตาม สภาพความเป็นจริง ไม่มัวเมาในสิ่งเหล่านั้น เพียงดังแผ่นดินที่คนเอาสิ่งปฏิกูล และกองหยากเยื่อไปทิ้ง แผ่นดินก็ไม่ รับรู้ถึงความน่าเกลียดนั้นฉันใด จิตของท่านทั้งหลายที่ฝึกดีแล้ว เมื่ออารมณ์โลกธรรมผ่านเข้ามาก็ต้องไม่หวั่นไหวฉัน นั้นเหมือนกัน ยามใดที่อนิฏฐารมณ์มากระทบ ต้องคิดไว้เสมอว่าสิ่งเหล่านี้ไม่แน่น อนสักวันฝ่ายอิฏฐารมณ์ก็ต้องเกิด
  • 7. ห น้ า | ๗ ขึ้นกับเรา ไม่มีใครผิดหวังไปตลอดและไม่มีใครจะสมหวังไปเสมอ ถ้าเรายึดติดมาก ชีวิตเราก็ไม่พบความสุข ดังบท ประพันธ์ที่กล่าวว่า :สิ่งทั้งปวงควรหรือจะถือมั่น เพราะว่ามันก่อทุกข์มีสุขไฉน ยึดมั่นมากทุกข์มากลาบากใจ ปล่อยวางได้เป็นสุขทุกคืนวัน... ดังนี้ มีนัยดังได้อรรถาธิบายมา เทสนาปริโยสาเน ในกาลสิ้นสุดลงแห่งการแสดงพระธรรมเทศนานี้ ขออานาจคุณพระศรีรัตนะตรัย และคุณ งามความดีทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในท่ามกลางพุทธสมาคมนี้ จงมารวมกันเป็น มหันตเดชานุภาพ สนับสนุนส่งเสริมให้ สาธุชนทั้งหลายจงเจริญด้วยสตมายุวัสสาไร้โรคาพยาธิ สุทัศนาด้วยสิริวรรณะ ทุกขะโทมนัสอย่าได้กล่ากราย มี ความบริบูรณ์แห่งสุขเป็นที่ตั้ง มีพละกาลังดั่งคชสารห้าเชือกในการดาเนินชีวิต คิดปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใดที่ชอบ ประกอบไปด้วยความพอดี อันมีทุนคือบุญที่กระทาไว้ดีแล้ว ในกาลก่อน จงสัมปยุตด้วยผลแห่งจิตที่เลื่อมใสในพระ รัตนตรัยนี้ๆ ขอให้ความมุ่งปรารถนาของท่านนั้นๆ จงพลันสาเร็จ จงพลันสาเร็จ จงพลันสาเร็จทุกประการ แสดงพระ ธรรมเทศนาในโลกะธัมมะกะถา สมสมัยในกาลนิยม ขอสมมุติยุติลงคงไว้ แต่เพียงเท่านี้. เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.