SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 12
Baixar para ler offline
11
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลัง
ส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปณชล เลี้ยงถนอม, กัญจนพร รอดบางยาง, อินทัช สพโชคชัย, ชวนภ ลลิตวจีวงศ์,
อริยา ศรีภานุพงศ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นิพนธ์ต้นฉบับ
(Original article)
บทคัดย่อ
การเรียนแพทย์ชั้นคลินิกต้องยืนปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเป็นเวลานาน อาทิ การยืนราววอร์ด การซักประวัติ
ผู้ป่วย การยืนทำแผล เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดขา และภาวะเครียด จากการสังเกตกลุ่ม
นิสิตแพทย์ พบว่าอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อย สามารถนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง และส่ง
ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่เป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 

การหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่าง การวิจัยนี้เป็นแบบภาคตัดขวาง
โดยมีนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ปีการศึกษา 2558 จำนวน 154 คน ตอบแบบประเมิน
ความรุนแรงของอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire และ
แบบสอบถามระยะเวลาในการยืนปฏิบัติงาน ได้แก่ การราววอร์ด การตรวจผู้ป่วยนอก การทำแผล การยืนในห้องผ่าตัด
การยืนเขียน progress note การซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ด้วย Chi-square test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย Mann-Whitney U test และควบคุมตัวแปรกวนโดย
multivariate analysis ด้วย multiple logistic regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 ผล
การศึกษาพบว่า นิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป จำนวน 99 คน มีอาการปวดหลังส่วนล่างร้อยละ
32.3 และนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 ชั่วโมง จำนวน 55 คน มีอาการปวดหลังส่วนล่างร้อยละ 5.5 

พบว่าการยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(Adjusted OR 7.244 [95% CI 2.203-25.938]; p-value = 0.002) และความไม่พึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่กำลัง
ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR 7.722 [95% CI 2.314-
25.768]; p-value = 0.001) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง สรุปผลพบว่าการยืน
ปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปและความไม่พึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่กำลังปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มศว 

มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: อาการปวดหลังส่วนล่าง นิสิตแพทย์ ชั้นคลินิก ความพึงพอใจต่องาน การยืนปฏิบัติงาน
ผู้นิพนธ์ประสานงาน:
กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
62 หมู่ 7 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
อีเมล์: kongsomboon@gmail.com
เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว
12
Standing and Low Back Pain
in 5th
year Medical Students of
Srinakharinwirot University
Panachol Leangtanom, Kanchanaporn Rodbangyang, Intouch Sopchokchai,
Chawanop Lalitwajeewong, Ariya Sriphanuphong
Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University
Kitiipong Kongsomboon
Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine at Srinakharinwirot University
Abstract
Thai medical students during their clinical years spend an excessive amount of time
standing in hospital wards, out-patient departments, and operating theatres. From the authors’
observation, a large proportion of medical students report low back pain (LBP); a debilitating
condition shown to have short-term and long-term physical and psychological effects. Excessive
standing itself causes many unpleasant conditions, one of them being LBP. The aim of this cross-
sectional study is to examine the relationship between excessive standing and LBP in 5th
year
medical students in order to develop a countermeasure against the effects of LBP and improve the
overall health of medical students. Data were collected from 154 5th
year medical students at
Srinakharinwirot University in October 2015 using an online questionnaire. The questions asked
included time spent standing each day, sex, BMI, job satisfaction, standing posture, type of shoe,
history of chronic headache, history of back injury, exercise, heavy lifting, chronic use of analgesic
drugs, and the Oswestry Disability Index. Categorical data was analysed using the Chi-square test,
and continuous data was analysed using the Mann-Whitney U test. Confounding factors were
analysed using multiple logistic regression with a p-value < 0.05 out of 99 medical students (32.3%)
developed LBP after standing for at least 2 hours. On the contrary, out of 55 medical students
(5.5%) reported having the same symptom after standing less than 2 hours. There was a significant
relationship between standing for 2 hours or more per day and LBP (Adjusted OR 7.244 [95% CI
2.203-25.938]; p-value = 0.002). Additionally, job dissatisfaction was found to have a significant
relationship with LBP (Adjusted OR 7.722 [95% CI 2.314-25.768]; p-value = 0.001). The results of this
study suggests that standing for 2 hours or more per day as along with job dissatisfaction resulted in
an increase in the prevalence of LBP in 5th
year medical students at Srinakharinwirot University.
Keywords: low back pain, medical students, clinical years, job dissatisfaction, standing
Corresponding Author:
Kitiipong Kongsomboon
Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine at Srinakharinwirot University
62 Moo 7, Rangsit Nakhon Nayok Road, Ongkharak, Nakhonnayok, 26120 Thailand
E-mail: kongsomboon@gmail.com
13
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทนำ
อาการปวดหลังส่วนล่าง หมายถึง อาการ
ปวดหลังบริเวณใต้ต่อซี่โครงลงไปจนถึงแก้มก้น ซึ่งจะ
มีหรือไม่มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาก็ได้ เกิดขึ้นได้จาก
หลายสาเหตุและส่งผลให้มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
เส้นประสาท หรือกระดูกบริเวณนั้น1
การศึกษาของ
Norton และคณะ2,3
แบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม
โดยอาศัยอัตรากลับเป็นซ้ำและจำนวนการรักษาแต่ละ
ชนิดที่ผู้ป่วยเลือกใช้ ขณะที่ Airaksinen และคณะ1
 

แบ่งกลุ่มตามระยะเวลา เฉียบพลัน (<12 สัปดาห์) 

และเรื้อรัง (>12 สัปดาห์) การทบทวนเอกสารอย่างเป็น
ระบบของ Hoy และคณะ4
ให้นิยามของอาการปวดหลัง
ส่วนล่างว่า เป็นอาการปวดที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง
ของชีวิตประจำวัน และพบว่าทั่วโลกมีคนที่เป็นมีอาการ
ปวดหลังส่วนล่างมากถึงร้อยละ 314
ในอดีตได้มีงานวิจัย
จำนวนหนึ่งที่ยืนยันว่าการยืนเป็นเวลานานสัมพันธ์กับ
การเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง5-9
ด้วยกลไกของการ
ที่เพิ่มแรงดันระหว่าง vertebral end-plate และ
intervertebral disc ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของ
กระดูกสันหลัง10
Furtado และคณะ11
ได้สำรวจ
ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่ม
ประชากรอายุน้อย ช่วงอายุ 18-29 ปี พบว่า การแบก
ของหนักเป็นประจำ โดยเฉพาะกระเป๋าสะพายหลัง
ลักษณะของโต๊ะและเก้าอี้ที่ผิดหลักสรีรวิทยา ท่าทาง
การยืนที่ผิดสุขลักษณะ การสูบบุหรี่ เพศหญิง ดัชนี
มวลกายต่ำ การมีประวัติเคยปวดหลัง อาการปวดหัว
เรื้อรัง และการใช้ยาแก้ปวดเรื้อรัง มีสัมพันธ์กับอาการ
ปวดหลังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น5,12-14
เช่น การแบก
ของหนัก ท่าทางการยืนที่ผิดปกติ การยืนเป็นเวลานาน
การได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณหลัง เป็นต้น นอกจากอาการ
ปวดหลังส่วนล่างยังมีผลกระทบต่อร่างกายผู้ป่วยใน
หลายๆ ด้าน Matassarin - Jacobs พบว่าอาการปวดหลัง
ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ความต้องการมี
เพศสัมพันธ์ลดลง และเกิดความรู้สึกโกรธ หงุดหงิด 

วิตกกังวล ซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น15
McGorry และคณะ 

พบว่าอาการปวดหลังส่งผลกระทบระยะยาวต่อความ
สามารถในการทำกิจกรรมลดลง โดยมีอาการเหนื่อยล้า
เบื่ออาหาร ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน และยังรบกวน
สุขอนามัยในการนอนหลับ (sleep hygiene) ทำให้
ไม่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ และยังส่งผลด้านจิตสังคม
อีกด้วย16
ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินในการรักษา
อาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์
ต่อปี17
และยังเป็นสาเหตุของการหยุดงานและการ
รักษากับนักกิจกรรมบำบัด (occupational therapist) 

ที่บ่อยที่สุด10
ปัจจุบันพบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ
อาการปวดหลังในวิชาชีพพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก
การใช้แรงปริมาณมากเพื่อยกของหนักและการออกแรง
ผิดท่าในการยกของและช่วยขยับตัวผู้ป่วย18-19
Moroder
และคณะ20
พบว่าการนั่งฟังการบรรยายไม่ส่งผลต่อ
อาการปวดหลังส่วนล่างของนิสิตแพทย์ชั้นพรีคลินิกที่
เน้นการนั่งฟังการบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้บทบาทใน
การปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ระหว่างชั้นพรีคลินิกและ
คลินิกค่อนข้างแตกต่างกันมาก โดยนิสิตแพทย์ในชั้น
คลินิกจำเป็นต้องมีการยืนปฏิบัติงานในแต่ละวันเป็น
ระยะเวลานานหลายชั่วโมงมากกว่าระยะเวลาการนั่งฟัง
การบรรยายในห้องเรียน ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดหลัง
ส่วนล่างได้20
ในกรณีของนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก อาการ
ปวดหลังส่วนล่างทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
อย่างเต็มที่ ถูกจำกัดกิจกรรม ทำให้ความสามารถในการ
ทำงานลดลง และส่งผลให้มีกิจกรรมทางสังคมลดลง15
โดยสรุปอาการปวดหลังส่วนล่างจึงมีผลกระทบทั้งใน
ทางตรงและทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์
ชั้นคลินิก ซึ่งอาการปวดหลังส่วนล่างนี้เป็นอาการที่
สามารถป้องกันการเกิดได้ ทางผู้วิจัยจึงคิดโครงงานการ
วิจัยนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของระยะเวลาการยืนปฏิบัติ
งานกับอาการปวดหลังส่วนล่างในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 
วิธีการศึกษา
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาค
ตัดขวาง โดยให้ประชากร คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 

มศว และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก
(convenient sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตแพทย์
เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว
14
ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 มศว จำนวน 154 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม
Google Form เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 19-30 ตุลาคม
พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย แบบประเมินความรุนแรงของ
อาการปวดหลังส่วนล่างจาก Oswestry Low Back
Pain Disability Questionnaire และแบบสอบถาม
ระยะเวลาในการยืนปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ การราววอร์ด
การตรวจผู้ป่วยนอก การยืนทำแผล การยืนในห้องผ่าตัด
การยืนเขียน progress note การยืนซักประวัติและ
ตรวจร่างกายผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สัมพันธ์
กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย
ความพึงพอใจในภาควิชาที่กำลังปฏิบัติงาน ระยะเวลา
ในการพักผ่อนระหว่างการปฏิบัติงาน ได้แก่ การนั่งพัก
ระหว่างการราววอร์ดและการตรวจผู้ป่วยนอก การนั่งพัก
ในห้องผ่าตัด การนั่งเรียน การนั่งรับประทานอาหาร
กลางวัน การนอนราบระหว่างพักกลางวัน ลักษณะ
ท่าทางการยืนขณะปฏิบัติงาน ลักษณะรองเท้าที่สวมใส่
ขณะปฏิบัติงาน ระยะเวลาการออกกำลังกาย ประวัติ
การยกของหนัก ประวัติโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลัง
ประวัติการปวดศีรษะเรื้อรัง ประวัติได้รับการบาดเจ็บ
บริเวณหลังส่วนล่าง การรับประทานยาแก้ปวดเป็น
ประจำ
ในงานวิจัยนี้ได้กำหนดคำนิยามของคำต่างๆ 

ดังต่อไปนี้ อาการปวดหลังส่วนล่าง หมายถึง อาการ
ปวดหลังบริเวณใต้ต่อซี่โครงลงไปจนถึงแก้มก้น ซึ่งจะมี
หรือไม่มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาก็ได้ เกิดขึ้นได้จาก
หลายสาเหตุ ส่งผลให้มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
เส้นประสาท หรือกระดูกบริเวณนั้น การยืนนาน 

หมายถึง การยืนปฏิบัติงานต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป
โดยใช้เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ยืนตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป และกลุ่มที่ยืนน้อยกว่า
2 ชั่วโมง ตามวิธีของ Gregory และคณะ5
Cook และ
คณะ7
และ Macfarlane และคณะ8
การยกของหนัก
หมายถึง การยกของที่มีน้ำหนักเกิน 10 กิโลกรัม8
การออกกำลังกายที่เหมาะสมในผู้ใหญ่ หมายถึง การ
ออกกำลังกายที่มากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์21
ความ
พึงพอใจมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 แทนความ
พึงพอใจน้อยที่สุด 2 แทนความพึงพอใจน้อย 3 แทน
ความพึงพอใจปานกลาง 4 แทนความพึงพอใจมาก
และ 5 แทนความพึงพอใจมากที่สุด ในงานวิจัยนี้มี
ความสนใจเกี่ยวกับความไม่พึงพอใจที่สัมพันธ์กับอาการ
ปวดหลังส่วนล่างได้22,23
จึงแบ่งความพึงพอใจเป็น 2
กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไม่พึงพอใจที่ให้คะแนนความพึงพอใจ
เป็น 1 และ 2 คะแนน และกลุ่มพึงพอใจที่ให้คะแนน
ความพึงพอใจเป็น 3, 4 และ 5 คะแนน ท่าทางที่ผิด
สุขลักษณะ หมายถึง การยืนลำตัวเอนไปด้านหลังศีรษะ
เอนไปข้างหน้า คอเอียง หลังค่อมหรือหลังโก่ง ไหล่งุ้ม
หรือไหล่ห่อ อกแอ่น เอวแอ่น และยืนพักขา24,25
โดย
นับคะแนนท่ายืนดังกล่าวท่ายืนละ 1 คะแนน หากมี
ผลรวมตั้งแต่ 1 ขึ้นไปถือว่ามีท่ายืนที่ผิดสุขลักษณะ
ท่าทางที่ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การยืนหลังตรง ศีรษะ
และคอตั้งตรง ไหล่อยู่แนวเดียวกับหู และยืนขาตรง 

ส่วน Oswestry Disability Index เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน
การทดสอบความรุนแรงและการจำกัดกิจวัตรประจำวัน
จากอาการปวดหลังส่วนล่าง26,27
มีค่าความไว 0.94 

และค่าความจำเพาะ 0.90 ค่า Cronbach’s alpha
coefficient 0.9328
ซึ่งการแปลผลของ Disability
Index เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการปวดหลัง
ส่วนล่างทำได้โดยแบ่งคะแนนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 

11-20 บ่งว่าอาการปวดเริ่มรบกวนชีวิตประจำวันบ้าง
แต่ยังไม่รุนแรง คะแนนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 21-40 

บ่งว่าอาการปวดทำให้มีข้อจำกัดความสามารถในการ
ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปานกลาง คะแนนที่อยู่ระหว่าง
ร้อยละ 41-60 แสดงว่าอาการปวดทำให้มีข้อจำกัด
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมาก
คะแนนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 61-80 แสดงว่าอาการปวด
ทำให้มีข้อจำกัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร
ประจำวันมากจนทุพพลภาพ และคะแนนที่อยู่ระหว่าง
ร้อยละ 81-100 แสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
15
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ได้ด้วยตนเอง27
สำหรับงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
โดยกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 11 เป็นกลุ่มที่ไม่มี
อาการปวด ส่วนกลุ่มที่ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 11 ขึ้นไป
เป็นกลุ่มที่มีอาการปวด28
คำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรสำหรับการ
ศึกษาที่ทำกับคนสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน โดยจาก
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงการยืนปฏิบัติงานของ
นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 กับอาการปวดหลัง พบว่านิสิตแพทย์
ที่ยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมีอาการปวดหลัง
ร้อยละ 80 และนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานน้อยกว่า 2
ชั่วโมงมีอาการปวดหลังร้อยละ 314
โดยแทนค่า Type I
error ในงานวิจัยนี้ยอมรับได้ที่ร้อยละ 5 คิดเป็นค่า 

Zα = 1.96, Type II error ในงานวิจัยนี้ยอมรับได้ที่
ร้อยละ 20 (power = 80%) คิดเป็นค่า Zβ = 0.84
และค่า r = 1.4 จากการคำนวณจำเป็นต้องเก็บข้อมูล
จากนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป
อย่างน้อย 14 คนและนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานน้อยกว่า
2 ชั่วโมงอย่างน้อย 20 คน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าจำนวน
กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษาโดยรวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 34
คน29,30
วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (descriptive
statistics) ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย
ความพึงพอใจในหอผู้ป่วยที่กำลังปฏิบัติงาน การยืนนาน
ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป อาการปวดหลังจากการทำงาน
ท่าทางการยืน ลักษณะรองเท้าที่สวมใส่ การสูบบุหรี่
การออกกำลังกาย การใช้ยาแก้ปวด อาการปวดศีรษะ
เรื้อรัง ประวัติการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่าง ประวัติ
ยกของหนัก และข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ อายุ และระยะ
เวลาในการพักผ่อน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาด้วย
ความถี่ ค่ากลาง และการกระจาย ทดสอบการกระจาย
ด้วย Kolmogorov-Smirnov หากมีการกระจาย
แบบปกติ นำเสนอด้วยค่าเฉลี่ย mean±SD หากมี
การกระจายแบบไม่ปกติ นำเสนอด้วยค่ามัธยฐาน
median (inter-quartile range) และวิเคราะห์สถิติ
เชิงอนุมาน (inferential statistics) แบบ bivariate
analysis ด้วย Chi-square test, Independent t-test
หรือ Mann-Whitney U test ตามลักษณะการกระจาย
ของข้อมูล กำหนด p-value ≤ 0.25 ทดสอบ co-linearity
และควบคุมตัวแปรกวน multivariate analysis ด้วย
multiple logistic regression พิสูจน์สมมติฐาน
แบบสองทาง กำหนดระดับนัยสำคัญ p-value < 0.05
และวิเคราะห์ Receiver Operating Characteristic
(ROC) Curve เพื่อใช้ในการทำนายจำนวนชั่วโมงในการ
ยืนปฏิบัติงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 

ปีการศึกษา 2558 คณะแพทยศาสตร์ มศว จำนวน 

154 คน กลุ่มตัวอย่างมีนิสิตแพทย์หญิงและชาย
จำนวนใกล้เคียงกัน จำนวนชั่วโมงที่ยืนปฏิบัติงานส่วนใหญ่
นานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป มีดัชนีมวลกายส่วนใหญ่ปกติ
มีความไม่พึงพอใจในหอผู้ป่วยที่กำลังปฏิบัติงานมากกว่า
พึงพอใจ และลักษณะท่าทางการยืนส่วนใหญ่ผิดสุขลักษณะ
ซึ่งมักจะเป็นท่ายืนพักขา โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการ
ปวดหลังส่วนล่าง แสดงผลทางสถิติเชิงพรรณนา ดังแสดง
ในตารางที่ 1.1 และ 1.2
เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว
16
ตารางที่ 1.1 แสดงจำนวนและร้อยละของปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง (n=154)
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวนคน (%)
เพศ
ชาย
หญิง 
70 (45.5)
84 (54.5)
ดัชนีมวลกาย
Normal (<25) 
Overweight (25-29)
Obese (>30)
128 (83.1)
23 (14.9)
3 (1.9)
ความพึงพอใจ
พึงพอใจ
ไม่พึงพอใจ
17 (11.0)
137 (89.0)
จำนวนชั่วโมงยืน
< 2
≥ 2
55 (35.7)
99 (64.3)
Oswestry Disability Index
< 11%
≥ 11%
119 (77.3)
35 (22.7)
ลักษณะรองเท้า
รองเท้าเพื่อสุขภาพ
รองเท้าทั่วไป
27 (17.5)
127 (82.5)
การออกกำลังกาย
< 150 นาทีต่ออาทิตย์
≥ 150 นาทีต่ออาทิตย์
21 (13.6)
133 (86.4)
การสูบบุหรี่
สูบ
ไม่สูบ
7 (4.50)
147 (95.5)
ประวัติการบาดเจ็บที่บริเวณหลัง
มี
ไม่มี
5 (3.2)
149 (96.8)
ลักษณะท่าทางการยืน
ผิดสุขลักษณะ 
ถูกสุขลักษณะ 
137 (88.96)
17 (11.04)
17
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีอายุใกล้เคียงกัน ส่วนจำนวนชั่วโมงการยืนปฏิบัติงานและจำนวนชั่วโมงการพัก มีค่า
มัธยฐานเท่ากัน
ตารางที่ 1.2 แสดงค่ากลาง และการกระจายของปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง (n=154)
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง Median (Inter-quartile range)
อายุ (ปี)
จำนวนชั่วโมงยืนปฏิบัติงาน
จำนวนชั่วโมงนั่งพัก 
23 (22, 23)
6 (0, 9) 
6 (5, 7)
การยืนปฏิบัติงาน ≥ 2 ชั่วโมงสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้
ความไม่พึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่าความพึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่
ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้ผลดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลัง ด้วย Logistic regression (n=154)
ปัจจัย
Crude
OR
95% CI p-value
Adjusted
OR*
95% CI p-value
เพศ
หญิง
ชาย
0.621
1
0.287 - 1.348
-
0.228
-
2.224
1
0.906 - 5.459
-
0.081
-
อายุ 1.280 0.816 - 2.008 0.283 1.650 0.938 - 2.90 0.082
ความพึงพอใจ
ไม่พึงพอใจ
พึงพอใจ
6.4
1
2.220 - 18.449
-
0.001
-
7.722
1
2.314 - 25.768
-
0.001
-
การสูบบุหรี่
สูบ
ไม่สูบ
0.371
1
0.079 - 1.743
-
0.209
-
4.699
-
0.853 - 25.890
-
0.076
-
จำนวนชั่วโมงการยืน
≥ 2 ชั่วโมง
< 2 ชั่วโมง
8.279
1
2.401 - 28.540
-
0.001
-
7.244
1
2.203 - 25.938
-
0.002
-
*Adjusted ด้วย เพศ อายุ ความพึงพอใจ การสูบบุหรี่ จำนวนชั่วโมงการยืน การปวดหัวเรื้อรัง
เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว
18
กราฟที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงการยืนปฏิบัติงานกับอาการปวดหลังส่วนล่างด้วย ROC curve
0.0
0.2
0.4
0.6
0.8
1.0
Sensitivity
1 - Specificity
0.2
0.0 0.4 0.6 0.8 1.0
ROC Curve
ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ใต้กราฟเท่ากับ
0.759 และระยะเวลาในการยืนปฏิบัติงานที่ใช้ทำนาย
อาการปวดหลังส่วนล่าง คือ 7 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งมี
ค่าความไวร้อยละ 77.1 ความจำเพาะร้อยละ 71.4
ความสามารถในการทำนายผลบวกร้อยละ 43 ความ
สามารถในการทำนายผลลบร้อยละ 91 
อภิปรายผล
จากการวิจัยนี้พบว่ามีจำนวนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่
5 ที่ปวดหลังอยู่ ร้อยละ 22.7 ซึ่งน้อยกว่าความชุก
ทั่วโลกที่ร้อยละ 314
ในการวิจัยของ Heuscher และ
คณะ31
พบว่าอาการปวดหลังของนักศึกษามหาวิทยาลัย
ทั่วไปมีประมาณร้อยละ 29.2 ซึ่งใกล้เคียงกับความชุกใน
ทุกอายุ โดยสันนิษฐานว่าอาการปวดหลังในคนกลุ่มนี้
เกิดขึ้นจากการแบกกระเป๋าเป้ที่หนักมากกว่าการเสื่อม
ของหลังที่เกิดขึ้นในคนที่อายุมาก31
ทั้งนี้ จากการวิจัยนี้
ไม่พบว่านิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มีการแบกของหนัก จึง
น่าจะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกับประชากรนักศึกษา
มหาวิทยาลัยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างการยืนปฏิบัติงาน
ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ
อาการปวดหลังส่วนล่างจึงสามารถคาดเดาอาการปวด
ได้ที่ 7 ชั่วโมง 15 นาทีอย่างมีนัยสำคัญโดยการใช้ 

ROC curve การยืนทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง
ซึ่งเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอาชีพที่มีความจำเป็น
ต้องยืนในขณะปฏิบัติงาน เช่น ผู้ที่ทำงานในตลาดและ
ซุปเปอร์มาร์เก็ต ศัลยแพทย์ พยาบาล ครู และวิศวกร5-9
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการค้นหาความสัมพันธ์ของท่ายืน
เช่นกันแต่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลัง
อย่างไรก็ตาม Gregory และคณะ5
พบว่าเมื่อผู้เข้าร่วม
วิจัยทราบว่าตนต้องยืนนานขึ้นจะมีการเปลี่ยนท่ายืนเพื่อ
ที่จะไม่ให้รู้สึกปวดในระดับจิตใต้สำนึก เกิดการตอบสนอง
ของกระดูกสันหลังส่วนล่างในขณะที่ยืนนานมากขึ้น 

ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างของ ligament
และ facet joint ซึ่งมี nociceptor อยู่จำนวนมาก
นอกจากนี้ การเปลี่ยนรูปร่างของกระดูกสันหลังทำให้
รูปร่างของกล้ามเนื้อหลังเปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้เกิด
อาการล้าในเวลาต่อมา
19
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการปวดหลังส่วนล่างที่
ได้ค้นพบในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ความพอใจในการทำงาน
โดยหากนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อหอ
ผู้ป่วยนั้นๆ จะส่งผลให้อาการปวดหลังมีความรุนแรง
ที่น้อยลง ในการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบของ
Hoogendoorn และคณะ สรุปว่าเหตุผลที่ทำให้คนที่
ไม่พอใจในที่ทำงานเนื่องจากอาการปวดในระบบกระดูก
และกล้ามเนื้อ เกิดจากอารมณ์ที่แปรปรวนส่งผลให้
ท่าทางการยืนและลักษณะการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป ซึ่ง
อาจมีผล biomechanical load หรืออาจส่งผลให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคโดยตรง เช่น ทำให้เกิด
muscle tension รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน
ทำให้โครงสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกเปลี่ยนแปลงใน
ระยะยาว หรือทำให้การรับรู้ความเจ็บผิดปกติในอารมณ์
อาจส่งผลให้ความสามารถในการรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บ
น้อยลง ทำให้รับรู้อาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไร
ก็ตาม อารมณ์ที่แปรปรวนอาจไม่ได้ทำให้เกิดอาการ
ปวดหลังส่วนล่าง แต่เป็นธรรมชาติของอาชีพที่ทำให้
เกิดอาการปวดหลังเนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้แรงเยอะ
หรือเป็นงานที่หนัก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
อารมณ์22,23,32
ความไม่พอใจในที่ทำงานนั้นอาจเกิดได้
จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดความช่วยเหลือจากผู้ที่
อาวุโสกว่า การขาดกำลังใจจากผู้ร่วมงาน การทำงานใน
สถานที่ที่ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว การทำงานที่
ซ้ำซากจำเจและขาดโอกาสในการก้าวหน้าในหน้าที่
การงาน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้
กับนิสิตแพทย์25
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของการปวดหลังส่วนล่างที่ได้
มีงานวิจัยอื่นค้บพบมาก่อนหน้า ไม่สามารถอธิบายได้
อย่างชัดเจนจากจำนวนตัวอย่างที่เก็บในงานวิจัยนี้
เนื่องจากไม่ใช่จุดประสงค์หลัก อาทิเช่น ในจำนวน
นิสิตแพทย์ 154 คน มีเพียง 7 คนที่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็น
จำนวนที่น้อย ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่
และอาการปวดหลังส่วนล่างอาจระบุได้ไม่ชัดเจน แม้จะ
มีการศึกษาในวรรณกรรมมากมายที่ได้พูดถึงผลกระทบ
ของการสูบบุหรี่ต่อความรุนแรงของอาการปวดที่
มากขึ้น33,34
งานวิจัยนี้มีข้อจำกัดของความคลาดเคลื่อน
แบบสุ่ม คือ มีความไม่แม่นยำในการประเมินค่าประชากร
อาจเป็นผลจากขนาดตัวอย่างที่ไม่เพียงพอและการเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ทำให้ตัวอย่างมีการเกาะกลุ่มกัน
นอกเหนือจากนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำการวิจัยและ
เก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่นิสิตแพทย์มีการปฏิบัติงาน
ครบทุกหอผู้ป่วยได้ (ไม่มีข้อมูลการปฏิบัติงานในหอ
ผู้ป่วยอายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ จักษุวิทยา โสต 

ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา และสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา)
ตลอดจนความคลาดเคลื่อนเชิงระบบที่พบคือ อคติใน
การเก็บข้อมูล เนื่องจากการใช้แบบประเมินความรุนแรง
ของอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Oswestry Disability
Index ฉบับแปลภาษาไทย Jirattanaphochai และ
คณะ28
ทำการทดสอบความน่าเชื่อถือในผู้ป่วยที่มี
อาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่าง
กับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ในแง่ของอายุ การศึกษา และ
ประสบการณ์เรื่องการปวดหลัง แต่เนื่องจากผลการวิจัย
มีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมาก แม้จะมีข้อจำกัดข้างต้น
ความสัมพันธ์ดังผลของการวิจัยจึงยังคงเชื่อถือ
สรุปผล
นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มศว ที่ยืนปฏิบัติงาน
ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปและความไม่พึงพอใจในหอผู้ป่วย
ที่นิสิตแพทย์ปฏิบัติงานอยู่มีความสัมพันธ์กับอาการ
ปวดหลังส่วนล่าง โดยจำนวนชั่วโมงการยืนตั้งแต่ 7
ชั่วโมง 15 นาที ขึ้นไปจะมีโอกาสปวดหลังร้อยละ 43
ส่วนจำนวนชั่วโมงการยืนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง 15 นาที 

จะมีโอกาสปวดหลังร้อยละ 9
กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.นพ.กิตติพงษ์
คงสมบูรณ์ ดร.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล และ อ.ดร.
อัลเฟรโด วิยาโรเอล ที่ได้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ
เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว
20
ต่างๆ ทั้งเรื่องความรู้และการใช้โปรแกรมทางสถิติ 

ในการทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ตลอดระยะเวลาของ
โครงการ อีกทั้งขอขอบคุณนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ของ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ให้
ความร่วมมือในการตอบแบบประเมินอาการปวดหลัง
ส่วนล่าง ทำให้งานวิจัยในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จลุล่วง
ไปได้ด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1. Airaksinen O, Brox J, Cedraschi C, et al. Chapter 4 European guidelines for the management
of chronic nonspecific low back pain. European Spine Journal. 2006;15(S2):s192-s300.
2. Norton G, McDonough C, Cabral H, et al. Classification of patients with incident non-specific
low back pain: implications for research. The Spine Journal. Forthcoming 2015.
3. de Vet H, Heymans M, Dunn K, et al. Episodes of Low Back Pain. Spine. 2002;27(21):2409-16.
4. Hoy D, Bain C, Williams G, et al. A systematic review of the global prevalence of low back
pain. Arthritis & Rheumatism. 2012;64(6):2028-37.
5. Gregory D, Callaghan J. Prolonged standing as a precursor for the development of low back
discomfort: An investigation of possible mechanisms. Gait & Posture. 2008;28(1):86-92.
6. ANTHONY RYAN G. The prevalence of musculo-skeletal symptoms in supermarket workers.
Ergonomics. 1989;32(4):359-71.
7. Cook J, Branch T, Baranowski T, et al. The effect of surgical floor mats in prolonged standing: 

an EMG study of the lumbar paraspinal and anterior tibialis muscles. Journal of Biomedical
Engineering. 1993;15(3):247-50.
8. Macfarlane G, Thomas E, Papageorgiou A, et al. Employment and Physical Work Activities as
Predictors of Future Low Back Pain. Spine. 1997;22(10):1143-9.
9. Xu Y, Bach E, Orhede E. Work environment and low back pain: the influence of occupational
activities. Occupational and Environmental Medicine. 1997;54(10):741-5.
10. Roffey D, Wai E, Bishop P, et al. Causal assessment of occupational standing or walking and
low back pain: results of a systematic review. The Spine Journal. 2010;10(3):262-72.
11. Furtado R, Ribeiro L, de Arruda Abdo B, et al. Nonspecific low back pain in young adults:
Associated risk factors. Revista Brasileira de Reumatologia (English Edition). 2014;54(5):371-7.
12. Oliveira V, Ferreira M, Refshauge K, et al. Risk factors for low back pain: insights from a novel
case-control twin study. The Spine Journal. 2015;15(1):50-7.
13. Karahan A, Bayraktar N. Determination of the usage of body mechanics in clinical settings and
the occurrence of low back pain in nurses. International Journal of Nursing Studies.
2004;41(1):67-75.
21
การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
14. Schneider S, Schmitt H, Zoller S, et al. Workplace stress, lifestyle and social factors as
correlates of back pain: a representative study of the German working population. Int Arch
Occup Environ Health. 2005;78(4):253-69.
15. Matassarin-Jacobs E. Pain. In: Black J, Matassarin-Jacobs E, ed. by. Medical-surgical nursing.
1st
ed. Philadelphia: Saunders; 1997. p. 342-96.
16. McGorry R, BSPT B, Snook S, et al. The Relation Between Pain Intensity, Disability, and the
Episodic Nature of Chronic and Recurrent Low Back Pain. Spine. 2000;25(7):834-41.
17. Crow W, Willis D. Estimating cost of care for patients with acute low back pain: a
retrospective review of patient records. J Am Osteopath Assoc. 2009;109(4):229-33.
18. Mohseni Bandpei M, Ehsani F, Behtash H, et al. Occupational Low Back Pain in Primary and
High School Teachers: Prevalence and Associated Factors. Journal of Manipulative and
Physiological Therapeutics. 2014;37(9):702-8.
19. Moffett J, Hughes G, Griffiths P. A longitudinal study of low back pain in student nurses.
International Journal of Nursing Studies. 1993;30(3):197-212.
20. Moroder P, Runer A, Resch H, et al. Low back pain among medical students. ACTA
ORTHOPAEDICA BELGICA. 2015;77(1):88-92.
21. Garber C, Blissmer B, Deschenes M, et al. Quantity and Quality of Exercise for Developing and
Maintaining Cardiorespiratory, Musculoskeletal, and Neuromotor Fitness in Apparently
Healthy Adults. Medicine & Science in Sports & Exercise. 2011;43(7):1334-59.
22. Hoogendoorn W, van Poppel M, Bongers P, et al. Systematic Review of Psychosocial Factors
at Work and Private Life as Risk Factors for Back Pain. Spine. 2000;25(16):2114-25.
23. Hoogendoorn W. High physical work load and low job satisfaction increase the risk of
sickness absence due to low back pain: results of a prospective cohort study. Occupational
and Environmental Medicine. 2002;59(5):323-8.
24. Christie H, Kumar S, Warren S. Postural aberrations in low back pain. Archives of Physical
Medicine and Rehabilitation. 1995;76(3):218-24.
25. Tuzun C, Yorulmaz I, Cindas A, et al. Low Back Pain and Posture. Clinical Rheumatology.
1999;18(4):308-12.
26. Fairbank JCT, Couper J, Davies JB. The Oswestry low Back Pain Questionnaire. Physiotherapy
1980; 66:271-3.
27. Fairbank J, Pynsent P. The Oswestry Disability Index. Spine. 2000;25(22):2940-53.
28. Jirattanaphochai K, Jung S, Sumananont C, Saegnipanthkul. Reliability of the medical
outcomes study Short-Form survey Version 2 (Thai version) for the evaluation of low back
pain patients. Journal of the Medical Association of Thailand. 2005;88(10):1355-61.
เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว
22
29. Graham, S., & Hebert, M. (2011). Writing to Read: A Meta-Analysis of the Impact of Writing and
Writing Instruction on Reading. Harvard Educational Review, 81(4), 726-31, 733-4.
30. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (2011). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ท้ายบทเรียน. รายงาน
การวิจัยในรายวิชาการพัฒนาชุมชน.
31. Heuscher Z, Gilkey D, Peel J, et al. The Association of Self-Reported Backpack Use and
Backpack Weight With Low Back Pain Among College Students. Journal of Manipulative and
Physiological Therapeutics. 2010;33(6):432-7.
32. Williams R, Pruitt S, Doctor J, et al. The contribution of job satisfaction to the transition from
acute to chronic low back pain. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 1998;79(4):
366-74.
33. Behrend C, Prasarn M, Coyne E, et al. Smoking Cessation Related to Improved Patient-
Reported Pain Scores Following Spinal Care. The Journal of Bone and Joint Surgery.
2012;94(23):2161-6.
34. Patterson A, Gritzner S, Resnick M, et al. Smoking Cigarettes as a Coping Strategy for Chronic
Pain Is Associated With Greater Pain Intensity and Poorer Pain-Related Function. Journal of
Pain. 2012;13(3):285-92.

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

아이싱 디지털 마케팅 기획안
아이싱 디지털 마케팅 기획안아이싱 디지털 마케팅 기획안
아이싱 디지털 마케팅 기획안
April7
 
Intro to functional_skills_and_learning_log
Intro to functional_skills_and_learning_logIntro to functional_skills_and_learning_log
Intro to functional_skills_and_learning_log
Rebecca Jones
 
Thesis Statements with Points Listed
Thesis Statements with Points ListedThesis Statements with Points Listed
Thesis Statements with Points Listed
aewinger
 
Body Paragraph Powerpoint
Body Paragraph PowerpointBody Paragraph Powerpoint
Body Paragraph Powerpoint
bstancil
 
Eng 52 transitions and patterns of organization
Eng 52 transitions and patterns of organizationEng 52 transitions and patterns of organization
Eng 52 transitions and patterns of organization
Elizabeth Buchanan
 

Mais procurados (18)

Essay writing .How to write an eassy
Essay writing .How to write an eassy Essay writing .How to write an eassy
Essay writing .How to write an eassy
 
아이싱 디지털 마케팅 기획안
아이싱 디지털 마케팅 기획안아이싱 디지털 마케팅 기획안
아이싱 디지털 마케팅 기획안
 
Intro to functional_skills_and_learning_log
Intro to functional_skills_and_learning_logIntro to functional_skills_and_learning_log
Intro to functional_skills_and_learning_log
 
Thesis Statements with Points Listed
Thesis Statements with Points ListedThesis Statements with Points Listed
Thesis Statements with Points Listed
 
6th grade vocabulary list
6th grade vocabulary list6th grade vocabulary list
6th grade vocabulary list
 
Literary theory 'expressive approach in ranah 3 warna novel'
Literary theory 'expressive approach in ranah 3 warna novel'Literary theory 'expressive approach in ranah 3 warna novel'
Literary theory 'expressive approach in ranah 3 warna novel'
 
Body Paragraph Powerpoint
Body Paragraph PowerpointBody Paragraph Powerpoint
Body Paragraph Powerpoint
 
Analytical Writing
Analytical WritingAnalytical Writing
Analytical Writing
 
Synonyms, antonyms powerpoint
Synonyms, antonyms powerpointSynonyms, antonyms powerpoint
Synonyms, antonyms powerpoint
 
Sentence structure types Made Easy
Sentence structure types Made EasySentence structure types Made Easy
Sentence structure types Made Easy
 
IELTS Reading Matching Information
IELTS Reading Matching InformationIELTS Reading Matching Information
IELTS Reading Matching Information
 
Speaking giving opinion
Speaking giving opinionSpeaking giving opinion
Speaking giving opinion
 
Elements of an essay editing and revising
Elements of an essay   editing and revisingElements of an essay   editing and revising
Elements of an essay editing and revising
 
Topic Sentence and Main Idea
Topic Sentence and Main IdeaTopic Sentence and Main Idea
Topic Sentence and Main Idea
 
Eng 52 transitions and patterns of organization
Eng 52 transitions and patterns of organizationEng 52 transitions and patterns of organization
Eng 52 transitions and patterns of organization
 
Structure of a persuasive essay
Structure of a persuasive essayStructure of a persuasive essay
Structure of a persuasive essay
 
opinion paragraph
 opinion paragraph opinion paragraph
opinion paragraph
 
Paragraph Development
Paragraph DevelopmentParagraph Development
Paragraph Development
 

Semelhante a 11-22.pdf (8)

02 Inthanut.pdf
02 Inthanut.pdf02 Inthanut.pdf
02 Inthanut.pdf
 
กีฬาไทย มศว.
กีฬาไทย มศว.กีฬาไทย มศว.
กีฬาไทย มศว.
 
Prognosis (Evidence-Based Medicine for Year 5 Ramathibodi Medical Students) (...
Prognosis (Evidence-Based Medicine for Year 5 Ramathibodi Medical Students) (...Prognosis (Evidence-Based Medicine for Year 5 Ramathibodi Medical Students) (...
Prognosis (Evidence-Based Medicine for Year 5 Ramathibodi Medical Students) (...
 
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric NursingA Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
A Preliminary Analysis Of Master S Theses In Pediatric Nursing
 
Evidence-Based Medicine: Prognosis
Evidence-Based Medicine: PrognosisEvidence-Based Medicine: Prognosis
Evidence-Based Medicine: Prognosis
 
สายตาล้า
สายตาล้าสายตาล้า
สายตาล้า
 
Ppt. patient safety goal
Ppt. patient safety goalPpt. patient safety goal
Ppt. patient safety goal
 
Ppt. patient safety goal
Ppt. patient safety goalPpt. patient safety goal
Ppt. patient safety goal
 

11-22.pdf

  • 1. 11 การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลัง ส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปณชล เลี้ยงถนอม, กัญจนพร รอดบางยาง, อินทัช สพโชคชัย, ชวนภ ลลิตวจีวงศ์, อริยา ศรีภานุพงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) บทคัดย่อ การเรียนแพทย์ชั้นคลินิกต้องยืนปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเป็นเวลานาน อาทิ การยืนราววอร์ด การซักประวัติ ผู้ป่วย การยืนทำแผล เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดขา และภาวะเครียด จากการสังเกตกลุ่ม นิสิตแพทย์ พบว่าอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อย สามารถนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง และส่ง ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่เป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่าง การวิจัยนี้เป็นแบบภาคตัดขวาง โดยมีนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ปีการศึกษา 2558 จำนวน 154 คน ตอบแบบประเมิน ความรุนแรงของอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire และ แบบสอบถามระยะเวลาในการยืนปฏิบัติงาน ได้แก่ การราววอร์ด การตรวจผู้ป่วยนอก การทำแผล การยืนในห้องผ่าตัด การยืนเขียน progress note การซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วย Chi-square test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย Mann-Whitney U test และควบคุมตัวแปรกวนโดย multivariate analysis ด้วย multiple logistic regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 ผล การศึกษาพบว่า นิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป จำนวน 99 คน มีอาการปวดหลังส่วนล่างร้อยละ 32.3 และนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 ชั่วโมง จำนวน 55 คน มีอาการปวดหลังส่วนล่างร้อยละ 5.5 พบว่าการยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR 7.244 [95% CI 2.203-25.938]; p-value = 0.002) และความไม่พึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่กำลัง ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR 7.722 [95% CI 2.314- 25.768]; p-value = 0.001) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง สรุปผลพบว่าการยืน ปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปและความไม่พึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่กำลังปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มศว มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: อาการปวดหลังส่วนล่าง นิสิตแพทย์ ชั้นคลินิก ความพึงพอใจต่องาน การยืนปฏิบัติงาน ผู้นิพนธ์ประสานงาน: กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 62 หมู่ 7 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120 อีเมล์: kongsomboon@gmail.com
  • 2. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว 12 Standing and Low Back Pain in 5th year Medical Students of Srinakharinwirot University Panachol Leangtanom, Kanchanaporn Rodbangyang, Intouch Sopchokchai, Chawanop Lalitwajeewong, Ariya Sriphanuphong Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University Kitiipong Kongsomboon Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine at Srinakharinwirot University Abstract Thai medical students during their clinical years spend an excessive amount of time standing in hospital wards, out-patient departments, and operating theatres. From the authors’ observation, a large proportion of medical students report low back pain (LBP); a debilitating condition shown to have short-term and long-term physical and psychological effects. Excessive standing itself causes many unpleasant conditions, one of them being LBP. The aim of this cross- sectional study is to examine the relationship between excessive standing and LBP in 5th year medical students in order to develop a countermeasure against the effects of LBP and improve the overall health of medical students. Data were collected from 154 5th year medical students at Srinakharinwirot University in October 2015 using an online questionnaire. The questions asked included time spent standing each day, sex, BMI, job satisfaction, standing posture, type of shoe, history of chronic headache, history of back injury, exercise, heavy lifting, chronic use of analgesic drugs, and the Oswestry Disability Index. Categorical data was analysed using the Chi-square test, and continuous data was analysed using the Mann-Whitney U test. Confounding factors were analysed using multiple logistic regression with a p-value < 0.05 out of 99 medical students (32.3%) developed LBP after standing for at least 2 hours. On the contrary, out of 55 medical students (5.5%) reported having the same symptom after standing less than 2 hours. There was a significant relationship between standing for 2 hours or more per day and LBP (Adjusted OR 7.244 [95% CI 2.203-25.938]; p-value = 0.002). Additionally, job dissatisfaction was found to have a significant relationship with LBP (Adjusted OR 7.722 [95% CI 2.314-25.768]; p-value = 0.001). The results of this study suggests that standing for 2 hours or more per day as along with job dissatisfaction resulted in an increase in the prevalence of LBP in 5th year medical students at Srinakharinwirot University. Keywords: low back pain, medical students, clinical years, job dissatisfaction, standing Corresponding Author: Kitiipong Kongsomboon Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine at Srinakharinwirot University 62 Moo 7, Rangsit Nakhon Nayok Road, Ongkharak, Nakhonnayok, 26120 Thailand E-mail: kongsomboon@gmail.com
  • 3. 13 การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทนำ อาการปวดหลังส่วนล่าง หมายถึง อาการ ปวดหลังบริเวณใต้ต่อซี่โครงลงไปจนถึงแก้มก้น ซึ่งจะ มีหรือไม่มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาก็ได้ เกิดขึ้นได้จาก หลายสาเหตุและส่งผลให้มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือกระดูกบริเวณนั้น1 การศึกษาของ Norton และคณะ2,3 แบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม โดยอาศัยอัตรากลับเป็นซ้ำและจำนวนการรักษาแต่ละ ชนิดที่ผู้ป่วยเลือกใช้ ขณะที่ Airaksinen และคณะ1 แบ่งกลุ่มตามระยะเวลา เฉียบพลัน (<12 สัปดาห์) และเรื้อรัง (>12 สัปดาห์) การทบทวนเอกสารอย่างเป็น ระบบของ Hoy และคณะ4 ให้นิยามของอาการปวดหลัง ส่วนล่างว่า เป็นอาการปวดที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ของชีวิตประจำวัน และพบว่าทั่วโลกมีคนที่เป็นมีอาการ ปวดหลังส่วนล่างมากถึงร้อยละ 314 ในอดีตได้มีงานวิจัย จำนวนหนึ่งที่ยืนยันว่าการยืนเป็นเวลานานสัมพันธ์กับ การเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง5-9 ด้วยกลไกของการ ที่เพิ่มแรงดันระหว่าง vertebral end-plate และ intervertebral disc ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของ กระดูกสันหลัง10 Furtado และคณะ11 ได้สำรวจ ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่ม ประชากรอายุน้อย ช่วงอายุ 18-29 ปี พบว่า การแบก ของหนักเป็นประจำ โดยเฉพาะกระเป๋าสะพายหลัง ลักษณะของโต๊ะและเก้าอี้ที่ผิดหลักสรีรวิทยา ท่าทาง การยืนที่ผิดสุขลักษณะ การสูบบุหรี่ เพศหญิง ดัชนี มวลกายต่ำ การมีประวัติเคยปวดหลัง อาการปวดหัว เรื้อรัง และการใช้ยาแก้ปวดเรื้อรัง มีสัมพันธ์กับอาการ ปวดหลังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น5,12-14 เช่น การแบก ของหนัก ท่าทางการยืนที่ผิดปกติ การยืนเป็นเวลานาน การได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณหลัง เป็นต้น นอกจากอาการ ปวดหลังส่วนล่างยังมีผลกระทบต่อร่างกายผู้ป่วยใน หลายๆ ด้าน Matassarin - Jacobs พบว่าอาการปวดหลัง ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ความต้องการมี เพศสัมพันธ์ลดลง และเกิดความรู้สึกโกรธ หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น15 McGorry และคณะ พบว่าอาการปวดหลังส่งผลกระทบระยะยาวต่อความ สามารถในการทำกิจกรรมลดลง โดยมีอาการเหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน และยังรบกวน สุขอนามัยในการนอนหลับ (sleep hygiene) ทำให้ ไม่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ และยังส่งผลด้านจิตสังคม อีกด้วย16 ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินในการรักษา อาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ต่อปี17 และยังเป็นสาเหตุของการหยุดงานและการ รักษากับนักกิจกรรมบำบัด (occupational therapist) ที่บ่อยที่สุด10 ปัจจุบันพบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ อาการปวดหลังในวิชาชีพพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก การใช้แรงปริมาณมากเพื่อยกของหนักและการออกแรง ผิดท่าในการยกของและช่วยขยับตัวผู้ป่วย18-19 Moroder และคณะ20 พบว่าการนั่งฟังการบรรยายไม่ส่งผลต่อ อาการปวดหลังส่วนล่างของนิสิตแพทย์ชั้นพรีคลินิกที่ เน้นการนั่งฟังการบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้บทบาทใน การปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ระหว่างชั้นพรีคลินิกและ คลินิกค่อนข้างแตกต่างกันมาก โดยนิสิตแพทย์ในชั้น คลินิกจำเป็นต้องมีการยืนปฏิบัติงานในแต่ละวันเป็น ระยะเวลานานหลายชั่วโมงมากกว่าระยะเวลาการนั่งฟัง การบรรยายในห้องเรียน ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดหลัง ส่วนล่างได้20 ในกรณีของนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก อาการ ปวดหลังส่วนล่างทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ อย่างเต็มที่ ถูกจำกัดกิจกรรม ทำให้ความสามารถในการ ทำงานลดลง และส่งผลให้มีกิจกรรมทางสังคมลดลง15 โดยสรุปอาการปวดหลังส่วนล่างจึงมีผลกระทบทั้งใน ทางตรงและทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ ชั้นคลินิก ซึ่งอาการปวดหลังส่วนล่างนี้เป็นอาการที่ สามารถป้องกันการเกิดได้ ทางผู้วิจัยจึงคิดโครงงานการ วิจัยนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของระยะเวลาการยืนปฏิบัติ งานกับอาการปวดหลังส่วนล่างในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาค ตัดขวาง โดยให้ประชากร คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มศว และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (convenient sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตแพทย์
  • 4. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว 14 ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 มศว จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูล คือ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Google Form เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 19-30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย แบบประเมินความรุนแรงของ อาการปวดหลังส่วนล่างจาก Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire และแบบสอบถาม ระยะเวลาในการยืนปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ การราววอร์ด การตรวจผู้ป่วยนอก การยืนทำแผล การยืนในห้องผ่าตัด การยืนเขียน progress note การยืนซักประวัติและ ตรวจร่างกายผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สัมพันธ์ กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย ความพึงพอใจในภาควิชาที่กำลังปฏิบัติงาน ระยะเวลา ในการพักผ่อนระหว่างการปฏิบัติงาน ได้แก่ การนั่งพัก ระหว่างการราววอร์ดและการตรวจผู้ป่วยนอก การนั่งพัก ในห้องผ่าตัด การนั่งเรียน การนั่งรับประทานอาหาร กลางวัน การนอนราบระหว่างพักกลางวัน ลักษณะ ท่าทางการยืนขณะปฏิบัติงาน ลักษณะรองเท้าที่สวมใส่ ขณะปฏิบัติงาน ระยะเวลาการออกกำลังกาย ประวัติ การยกของหนัก ประวัติโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลัง ประวัติการปวดศีรษะเรื้อรัง ประวัติได้รับการบาดเจ็บ บริเวณหลังส่วนล่าง การรับประทานยาแก้ปวดเป็น ประจำ ในงานวิจัยนี้ได้กำหนดคำนิยามของคำต่างๆ ดังต่อไปนี้ อาการปวดหลังส่วนล่าง หมายถึง อาการ ปวดหลังบริเวณใต้ต่อซี่โครงลงไปจนถึงแก้มก้น ซึ่งจะมี หรือไม่มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาก็ได้ เกิดขึ้นได้จาก หลายสาเหตุ ส่งผลให้มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือกระดูกบริเวณนั้น การยืนนาน หมายถึง การยืนปฏิบัติงานต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป โดยใช้เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ยืนตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป และกลุ่มที่ยืนน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ตามวิธีของ Gregory และคณะ5 Cook และ คณะ7 และ Macfarlane และคณะ8 การยกของหนัก หมายถึง การยกของที่มีน้ำหนักเกิน 10 กิโลกรัม8 การออกกำลังกายที่เหมาะสมในผู้ใหญ่ หมายถึง การ ออกกำลังกายที่มากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์21 ความ พึงพอใจมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 แทนความ พึงพอใจน้อยที่สุด 2 แทนความพึงพอใจน้อย 3 แทน ความพึงพอใจปานกลาง 4 แทนความพึงพอใจมาก และ 5 แทนความพึงพอใจมากที่สุด ในงานวิจัยนี้มี ความสนใจเกี่ยวกับความไม่พึงพอใจที่สัมพันธ์กับอาการ ปวดหลังส่วนล่างได้22,23 จึงแบ่งความพึงพอใจเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไม่พึงพอใจที่ให้คะแนนความพึงพอใจ เป็น 1 และ 2 คะแนน และกลุ่มพึงพอใจที่ให้คะแนน ความพึงพอใจเป็น 3, 4 และ 5 คะแนน ท่าทางที่ผิด สุขลักษณะ หมายถึง การยืนลำตัวเอนไปด้านหลังศีรษะ เอนไปข้างหน้า คอเอียง หลังค่อมหรือหลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือไหล่ห่อ อกแอ่น เอวแอ่น และยืนพักขา24,25 โดย นับคะแนนท่ายืนดังกล่าวท่ายืนละ 1 คะแนน หากมี ผลรวมตั้งแต่ 1 ขึ้นไปถือว่ามีท่ายืนที่ผิดสุขลักษณะ ท่าทางที่ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การยืนหลังตรง ศีรษะ และคอตั้งตรง ไหล่อยู่แนวเดียวกับหู และยืนขาตรง ส่วน Oswestry Disability Index เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน การทดสอบความรุนแรงและการจำกัดกิจวัตรประจำวัน จากอาการปวดหลังส่วนล่าง26,27 มีค่าความไว 0.94 และค่าความจำเพาะ 0.90 ค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.9328 ซึ่งการแปลผลของ Disability Index เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการปวดหลัง ส่วนล่างทำได้โดยแบ่งคะแนนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 11-20 บ่งว่าอาการปวดเริ่มรบกวนชีวิตประจำวันบ้าง แต่ยังไม่รุนแรง คะแนนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 21-40 บ่งว่าอาการปวดทำให้มีข้อจำกัดความสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปานกลาง คะแนนที่อยู่ระหว่าง ร้อยละ 41-60 แสดงว่าอาการปวดทำให้มีข้อจำกัด ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมาก คะแนนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 61-80 แสดงว่าอาการปวด ทำให้มีข้อจำกัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันมากจนทุพพลภาพ และคะแนนที่อยู่ระหว่าง ร้อยละ 81-100 แสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
  • 5. 15 การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ด้วยตนเอง27 สำหรับงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 11 เป็นกลุ่มที่ไม่มี อาการปวด ส่วนกลุ่มที่ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 11 ขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีอาการปวด28 คำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรสำหรับการ ศึกษาที่ทำกับคนสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน โดยจาก ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงการยืนปฏิบัติงานของ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 กับอาการปวดหลัง พบว่านิสิตแพทย์ ที่ยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมีอาการปวดหลัง ร้อยละ 80 และนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 ชั่วโมงมีอาการปวดหลังร้อยละ 314 โดยแทนค่า Type I error ในงานวิจัยนี้ยอมรับได้ที่ร้อยละ 5 คิดเป็นค่า Zα = 1.96, Type II error ในงานวิจัยนี้ยอมรับได้ที่ ร้อยละ 20 (power = 80%) คิดเป็นค่า Zβ = 0.84 และค่า r = 1.4 จากการคำนวณจำเป็นต้องเก็บข้อมูล จากนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป อย่างน้อย 14 คนและนิสิตแพทย์ที่ยืนปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 ชั่วโมงอย่างน้อย 20 คน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าจำนวน กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษาโดยรวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 34 คน29,30 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย ความพึงพอใจในหอผู้ป่วยที่กำลังปฏิบัติงาน การยืนนาน ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป อาการปวดหลังจากการทำงาน ท่าทางการยืน ลักษณะรองเท้าที่สวมใส่ การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การใช้ยาแก้ปวด อาการปวดศีรษะ เรื้อรัง ประวัติการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่าง ประวัติ ยกของหนัก และข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ อายุ และระยะ เวลาในการพักผ่อน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาด้วย ความถี่ ค่ากลาง และการกระจาย ทดสอบการกระจาย ด้วย Kolmogorov-Smirnov หากมีการกระจาย แบบปกติ นำเสนอด้วยค่าเฉลี่ย mean±SD หากมี การกระจายแบบไม่ปกติ นำเสนอด้วยค่ามัธยฐาน median (inter-quartile range) และวิเคราะห์สถิติ เชิงอนุมาน (inferential statistics) แบบ bivariate analysis ด้วย Chi-square test, Independent t-test หรือ Mann-Whitney U test ตามลักษณะการกระจาย ของข้อมูล กำหนด p-value ≤ 0.25 ทดสอบ co-linearity และควบคุมตัวแปรกวน multivariate analysis ด้วย multiple logistic regression พิสูจน์สมมติฐาน แบบสองทาง กำหนดระดับนัยสำคัญ p-value < 0.05 และวิเคราะห์ Receiver Operating Characteristic (ROC) Curve เพื่อใช้ในการทำนายจำนวนชั่วโมงในการ ยืนปฏิบัติงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 คณะแพทยศาสตร์ มศว จำนวน 154 คน กลุ่มตัวอย่างมีนิสิตแพทย์หญิงและชาย จำนวนใกล้เคียงกัน จำนวนชั่วโมงที่ยืนปฏิบัติงานส่วนใหญ่ นานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป มีดัชนีมวลกายส่วนใหญ่ปกติ มีความไม่พึงพอใจในหอผู้ป่วยที่กำลังปฏิบัติงานมากกว่า พึงพอใจ และลักษณะท่าทางการยืนส่วนใหญ่ผิดสุขลักษณะ ซึ่งมักจะเป็นท่ายืนพักขา โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการ ปวดหลังส่วนล่าง แสดงผลทางสถิติเชิงพรรณนา ดังแสดง ในตารางที่ 1.1 และ 1.2
  • 6. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว 16 ตารางที่ 1.1 แสดงจำนวนและร้อยละของปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง (n=154) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวนคน (%) เพศ ชาย หญิง 70 (45.5) 84 (54.5) ดัชนีมวลกาย Normal (<25) Overweight (25-29) Obese (>30) 128 (83.1) 23 (14.9) 3 (1.9) ความพึงพอใจ พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ 17 (11.0) 137 (89.0) จำนวนชั่วโมงยืน < 2 ≥ 2 55 (35.7) 99 (64.3) Oswestry Disability Index < 11% ≥ 11% 119 (77.3) 35 (22.7) ลักษณะรองเท้า รองเท้าเพื่อสุขภาพ รองเท้าทั่วไป 27 (17.5) 127 (82.5) การออกกำลังกาย < 150 นาทีต่ออาทิตย์ ≥ 150 นาทีต่ออาทิตย์ 21 (13.6) 133 (86.4) การสูบบุหรี่ สูบ ไม่สูบ 7 (4.50) 147 (95.5) ประวัติการบาดเจ็บที่บริเวณหลัง มี ไม่มี 5 (3.2) 149 (96.8) ลักษณะท่าทางการยืน ผิดสุขลักษณะ ถูกสุขลักษณะ 137 (88.96) 17 (11.04)
  • 7. 17 การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีอายุใกล้เคียงกัน ส่วนจำนวนชั่วโมงการยืนปฏิบัติงานและจำนวนชั่วโมงการพัก มีค่า มัธยฐานเท่ากัน ตารางที่ 1.2 แสดงค่ากลาง และการกระจายของปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง (n=154) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง Median (Inter-quartile range) อายุ (ปี) จำนวนชั่วโมงยืนปฏิบัติงาน จำนวนชั่วโมงนั่งพัก 23 (22, 23) 6 (0, 9) 6 (5, 7) การยืนปฏิบัติงาน ≥ 2 ชั่วโมงสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ความไม่พึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่าความพึงพอใจต่อหอผู้ป่วยที่ ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้ผลดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลัง ด้วย Logistic regression (n=154) ปัจจัย Crude OR 95% CI p-value Adjusted OR* 95% CI p-value เพศ หญิง ชาย 0.621 1 0.287 - 1.348 - 0.228 - 2.224 1 0.906 - 5.459 - 0.081 - อายุ 1.280 0.816 - 2.008 0.283 1.650 0.938 - 2.90 0.082 ความพึงพอใจ ไม่พึงพอใจ พึงพอใจ 6.4 1 2.220 - 18.449 - 0.001 - 7.722 1 2.314 - 25.768 - 0.001 - การสูบบุหรี่ สูบ ไม่สูบ 0.371 1 0.079 - 1.743 - 0.209 - 4.699 - 0.853 - 25.890 - 0.076 - จำนวนชั่วโมงการยืน ≥ 2 ชั่วโมง < 2 ชั่วโมง 8.279 1 2.401 - 28.540 - 0.001 - 7.244 1 2.203 - 25.938 - 0.002 - *Adjusted ด้วย เพศ อายุ ความพึงพอใจ การสูบบุหรี่ จำนวนชั่วโมงการยืน การปวดหัวเรื้อรัง
  • 8. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว 18 กราฟที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงการยืนปฏิบัติงานกับอาการปวดหลังส่วนล่างด้วย ROC curve 0.0 0.2 0.4 0.6 0.8 1.0 Sensitivity 1 - Specificity 0.2 0.0 0.4 0.6 0.8 1.0 ROC Curve ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ใต้กราฟเท่ากับ 0.759 และระยะเวลาในการยืนปฏิบัติงานที่ใช้ทำนาย อาการปวดหลังส่วนล่าง คือ 7 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งมี ค่าความไวร้อยละ 77.1 ความจำเพาะร้อยละ 71.4 ความสามารถในการทำนายผลบวกร้อยละ 43 ความ สามารถในการทำนายผลลบร้อยละ 91 อภิปรายผล จากการวิจัยนี้พบว่ามีจำนวนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ที่ปวดหลังอยู่ ร้อยละ 22.7 ซึ่งน้อยกว่าความชุก ทั่วโลกที่ร้อยละ 314 ในการวิจัยของ Heuscher และ คณะ31 พบว่าอาการปวดหลังของนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั่วไปมีประมาณร้อยละ 29.2 ซึ่งใกล้เคียงกับความชุกใน ทุกอายุ โดยสันนิษฐานว่าอาการปวดหลังในคนกลุ่มนี้ เกิดขึ้นจากการแบกกระเป๋าเป้ที่หนักมากกว่าการเสื่อม ของหลังที่เกิดขึ้นในคนที่อายุมาก31 ทั้งนี้ จากการวิจัยนี้ ไม่พบว่านิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มีการแบกของหนัก จึง น่าจะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกับประชากรนักศึกษา มหาวิทยาลัยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างการยืนปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ อาการปวดหลังส่วนล่างจึงสามารถคาดเดาอาการปวด ได้ที่ 7 ชั่วโมง 15 นาทีอย่างมีนัยสำคัญโดยการใช้ ROC curve การยืนทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง ซึ่งเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอาชีพที่มีความจำเป็น ต้องยืนในขณะปฏิบัติงาน เช่น ผู้ที่ทำงานในตลาดและ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ศัลยแพทย์ พยาบาล ครู และวิศวกร5-9 ในงานวิจัยนี้ได้ทำการค้นหาความสัมพันธ์ของท่ายืน เช่นกันแต่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลัง อย่างไรก็ตาม Gregory และคณะ5 พบว่าเมื่อผู้เข้าร่วม วิจัยทราบว่าตนต้องยืนนานขึ้นจะมีการเปลี่ยนท่ายืนเพื่อ ที่จะไม่ให้รู้สึกปวดในระดับจิตใต้สำนึก เกิดการตอบสนอง ของกระดูกสันหลังส่วนล่างในขณะที่ยืนนานมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างของ ligament และ facet joint ซึ่งมี nociceptor อยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ การเปลี่ยนรูปร่างของกระดูกสันหลังทำให้ รูปร่างของกล้ามเนื้อหลังเปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้เกิด อาการล้าในเวลาต่อมา
  • 9. 19 การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการปวดหลังส่วนล่างที่ ได้ค้นพบในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ความพอใจในการทำงาน โดยหากนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อหอ ผู้ป่วยนั้นๆ จะส่งผลให้อาการปวดหลังมีความรุนแรง ที่น้อยลง ในการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบของ Hoogendoorn และคณะ สรุปว่าเหตุผลที่ทำให้คนที่ ไม่พอใจในที่ทำงานเนื่องจากอาการปวดในระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ เกิดจากอารมณ์ที่แปรปรวนส่งผลให้ ท่าทางการยืนและลักษณะการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป ซึ่ง อาจมีผล biomechanical load หรืออาจส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคโดยตรง เช่น ทำให้เกิด muscle tension รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ทำให้โครงสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกเปลี่ยนแปลงใน ระยะยาว หรือทำให้การรับรู้ความเจ็บผิดปกติในอารมณ์ อาจส่งผลให้ความสามารถในการรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บ น้อยลง ทำให้รับรู้อาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไร ก็ตาม อารมณ์ที่แปรปรวนอาจไม่ได้ทำให้เกิดอาการ ปวดหลังส่วนล่าง แต่เป็นธรรมชาติของอาชีพที่ทำให้ เกิดอาการปวดหลังเนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้แรงเยอะ หรือเป็นงานที่หนัก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง อารมณ์22,23,32 ความไม่พอใจในที่ทำงานนั้นอาจเกิดได้ จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดความช่วยเหลือจากผู้ที่ อาวุโสกว่า การขาดกำลังใจจากผู้ร่วมงาน การทำงานใน สถานที่ที่ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว การทำงานที่ ซ้ำซากจำเจและขาดโอกาสในการก้าวหน้าในหน้าที่ การงาน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ กับนิสิตแพทย์25 ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของการปวดหลังส่วนล่างที่ได้ มีงานวิจัยอื่นค้บพบมาก่อนหน้า ไม่สามารถอธิบายได้ อย่างชัดเจนจากจำนวนตัวอย่างที่เก็บในงานวิจัยนี้ เนื่องจากไม่ใช่จุดประสงค์หลัก อาทิเช่น ในจำนวน นิสิตแพทย์ 154 คน มีเพียง 7 คนที่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็น จำนวนที่น้อย ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ และอาการปวดหลังส่วนล่างอาจระบุได้ไม่ชัดเจน แม้จะ มีการศึกษาในวรรณกรรมมากมายที่ได้พูดถึงผลกระทบ ของการสูบบุหรี่ต่อความรุนแรงของอาการปวดที่ มากขึ้น33,34 งานวิจัยนี้มีข้อจำกัดของความคลาดเคลื่อน แบบสุ่ม คือ มีความไม่แม่นยำในการประเมินค่าประชากร อาจเป็นผลจากขนาดตัวอย่างที่ไม่เพียงพอและการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ทำให้ตัวอย่างมีการเกาะกลุ่มกัน นอกเหนือจากนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำการวิจัยและ เก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่นิสิตแพทย์มีการปฏิบัติงาน ครบทุกหอผู้ป่วยได้ (ไม่มีข้อมูลการปฏิบัติงานในหอ ผู้ป่วยอายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ จักษุวิทยา โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา และสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา) ตลอดจนความคลาดเคลื่อนเชิงระบบที่พบคือ อคติใน การเก็บข้อมูล เนื่องจากการใช้แบบประเมินความรุนแรง ของอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Oswestry Disability Index ฉบับแปลภาษาไทย Jirattanaphochai และ คณะ28 ทำการทดสอบความน่าเชื่อถือในผู้ป่วยที่มี อาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่าง กับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ในแง่ของอายุ การศึกษา และ ประสบการณ์เรื่องการปวดหลัง แต่เนื่องจากผลการวิจัย มีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมาก แม้จะมีข้อจำกัดข้างต้น ความสัมพันธ์ดังผลของการวิจัยจึงยังคงเชื่อถือ สรุปผล นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มศว ที่ยืนปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปและความไม่พึงพอใจในหอผู้ป่วย ที่นิสิตแพทย์ปฏิบัติงานอยู่มีความสัมพันธ์กับอาการ ปวดหลังส่วนล่าง โดยจำนวนชั่วโมงการยืนตั้งแต่ 7 ชั่วโมง 15 นาที ขึ้นไปจะมีโอกาสปวดหลังร้อยละ 43 ส่วนจำนวนชั่วโมงการยืนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง 15 นาที จะมีโอกาสปวดหลังร้อยละ 9 กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.นพ.กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์ ดร.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล และ อ.ดร. อัลเฟรโด วิยาโรเอล ที่ได้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ
  • 10. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว 20 ต่างๆ ทั้งเรื่องความรู้และการใช้โปรแกรมทางสถิติ ในการทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ตลอดระยะเวลาของ โครงการ อีกทั้งขอขอบคุณนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ให้ ความร่วมมือในการตอบแบบประเมินอาการปวดหลัง ส่วนล่าง ทำให้งานวิจัยในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จลุล่วง ไปได้ด้วยดี เอกสารอ้างอิง 1. Airaksinen O, Brox J, Cedraschi C, et al. Chapter 4 European guidelines for the management of chronic nonspecific low back pain. European Spine Journal. 2006;15(S2):s192-s300. 2. Norton G, McDonough C, Cabral H, et al. Classification of patients with incident non-specific low back pain: implications for research. The Spine Journal. Forthcoming 2015. 3. de Vet H, Heymans M, Dunn K, et al. Episodes of Low Back Pain. Spine. 2002;27(21):2409-16. 4. Hoy D, Bain C, Williams G, et al. A systematic review of the global prevalence of low back pain. Arthritis & Rheumatism. 2012;64(6):2028-37. 5. Gregory D, Callaghan J. Prolonged standing as a precursor for the development of low back discomfort: An investigation of possible mechanisms. Gait & Posture. 2008;28(1):86-92. 6. ANTHONY RYAN G. The prevalence of musculo-skeletal symptoms in supermarket workers. Ergonomics. 1989;32(4):359-71. 7. Cook J, Branch T, Baranowski T, et al. The effect of surgical floor mats in prolonged standing: an EMG study of the lumbar paraspinal and anterior tibialis muscles. Journal of Biomedical Engineering. 1993;15(3):247-50. 8. Macfarlane G, Thomas E, Papageorgiou A, et al. Employment and Physical Work Activities as Predictors of Future Low Back Pain. Spine. 1997;22(10):1143-9. 9. Xu Y, Bach E, Orhede E. Work environment and low back pain: the influence of occupational activities. Occupational and Environmental Medicine. 1997;54(10):741-5. 10. Roffey D, Wai E, Bishop P, et al. Causal assessment of occupational standing or walking and low back pain: results of a systematic review. The Spine Journal. 2010;10(3):262-72. 11. Furtado R, Ribeiro L, de Arruda Abdo B, et al. Nonspecific low back pain in young adults: Associated risk factors. Revista Brasileira de Reumatologia (English Edition). 2014;54(5):371-7. 12. Oliveira V, Ferreira M, Refshauge K, et al. Risk factors for low back pain: insights from a novel case-control twin study. The Spine Journal. 2015;15(1):50-7. 13. Karahan A, Bayraktar N. Determination of the usage of body mechanics in clinical settings and the occurrence of low back pain in nurses. International Journal of Nursing Studies. 2004;41(1):67-75.
  • 11. 21 การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 14. Schneider S, Schmitt H, Zoller S, et al. Workplace stress, lifestyle and social factors as correlates of back pain: a representative study of the German working population. Int Arch Occup Environ Health. 2005;78(4):253-69. 15. Matassarin-Jacobs E. Pain. In: Black J, Matassarin-Jacobs E, ed. by. Medical-surgical nursing. 1st ed. Philadelphia: Saunders; 1997. p. 342-96. 16. McGorry R, BSPT B, Snook S, et al. The Relation Between Pain Intensity, Disability, and the Episodic Nature of Chronic and Recurrent Low Back Pain. Spine. 2000;25(7):834-41. 17. Crow W, Willis D. Estimating cost of care for patients with acute low back pain: a retrospective review of patient records. J Am Osteopath Assoc. 2009;109(4):229-33. 18. Mohseni Bandpei M, Ehsani F, Behtash H, et al. Occupational Low Back Pain in Primary and High School Teachers: Prevalence and Associated Factors. Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 2014;37(9):702-8. 19. Moffett J, Hughes G, Griffiths P. A longitudinal study of low back pain in student nurses. International Journal of Nursing Studies. 1993;30(3):197-212. 20. Moroder P, Runer A, Resch H, et al. Low back pain among medical students. ACTA ORTHOPAEDICA BELGICA. 2015;77(1):88-92. 21. Garber C, Blissmer B, Deschenes M, et al. Quantity and Quality of Exercise for Developing and Maintaining Cardiorespiratory, Musculoskeletal, and Neuromotor Fitness in Apparently Healthy Adults. Medicine & Science in Sports & Exercise. 2011;43(7):1334-59. 22. Hoogendoorn W, van Poppel M, Bongers P, et al. Systematic Review of Psychosocial Factors at Work and Private Life as Risk Factors for Back Pain. Spine. 2000;25(16):2114-25. 23. Hoogendoorn W. High physical work load and low job satisfaction increase the risk of sickness absence due to low back pain: results of a prospective cohort study. Occupational and Environmental Medicine. 2002;59(5):323-8. 24. Christie H, Kumar S, Warren S. Postural aberrations in low back pain. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 1995;76(3):218-24. 25. Tuzun C, Yorulmaz I, Cindas A, et al. Low Back Pain and Posture. Clinical Rheumatology. 1999;18(4):308-12. 26. Fairbank JCT, Couper J, Davies JB. The Oswestry low Back Pain Questionnaire. Physiotherapy 1980; 66:271-3. 27. Fairbank J, Pynsent P. The Oswestry Disability Index. Spine. 2000;25(22):2940-53. 28. Jirattanaphochai K, Jung S, Sumananont C, Saegnipanthkul. Reliability of the medical outcomes study Short-Form survey Version 2 (Thai version) for the evaluation of low back pain patients. Journal of the Medical Association of Thailand. 2005;88(10):1355-61.
  • 12. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว 22 29. Graham, S., & Hebert, M. (2011). Writing to Read: A Meta-Analysis of the Impact of Writing and Writing Instruction on Reading. Harvard Educational Review, 81(4), 726-31, 733-4. 30. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (2011). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ท้ายบทเรียน. รายงาน การวิจัยในรายวิชาการพัฒนาชุมชน. 31. Heuscher Z, Gilkey D, Peel J, et al. The Association of Self-Reported Backpack Use and Backpack Weight With Low Back Pain Among College Students. Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 2010;33(6):432-7. 32. Williams R, Pruitt S, Doctor J, et al. The contribution of job satisfaction to the transition from acute to chronic low back pain. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 1998;79(4): 366-74. 33. Behrend C, Prasarn M, Coyne E, et al. Smoking Cessation Related to Improved Patient- Reported Pain Scores Following Spinal Care. The Journal of Bone and Joint Surgery. 2012;94(23):2161-6. 34. Patterson A, Gritzner S, Resnick M, et al. Smoking Cigarettes as a Coping Strategy for Chronic Pain Is Associated With Greater Pain Intensity and Poorer Pain-Related Function. Journal of Pain. 2012;13(3):285-92.