SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 5
Baixar para ler offline
โครงการศึกษาวิจยกระบวนการทางสังคมเพือกาหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรสูงวัย
                            ั                    ่
                                     :ภาคเหนือ ประสบการณ์จากพะเยา และพิจตร1
                                                                        ิ
                                                                                                         รุ่งนภา เทพภาพ
                                                                               วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


         การเกิดขึ้นและขยายตัวของสังคมสูงวัยที่สังคมไทยเผชิญอยู่ สร้างให้เกิดการตื่นตั วของภาคส่วนต่างๆเป็นอย่าง
มาก รัฐบาลเองก็มีนโยบายและมาตรการด้านต่างๆออกมารองรับอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ (เช่น
การลดหย่อนภาษี, ระบบบานาญแห่งชาติ, กองทุนสารองเลี้ยงชีพ) ด้านสังคม (เช่น สถานสงเคราะห์และศูนย์บริการ
ผู้สูงอายุทางสังคม, เบี้ยยั งชีพสาหรับผู้สูงอายุ, กองทุนผู้สูงอายุ, กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ) และด้านสาธารณสุข (เช่น
คลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุและโครงการฟื้นฟูผู้สูงอายุ, โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, การ
จัดช่องทางเฉพาะสาหรับผู้สูงอายุ) สะท้อนให้เห็นความไม่เพิกเฉย ละเลยต่อสถานการณ์ดังกล่าวของภาครัฐ แต่อย่างไรก็
ตามรัฐบาลเองก็ไม่สามารถรับมือสถานการณ์ทางสังคมดังกล่าวได้โ ดยลาพัง งานศึกษาในครั้งนี้จึงมี สมมติฐานว่า ชุมชน/
ท้องถิ่นมีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์สังคมสูงวัยบนพื้นฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ชุมชนมี ในขณะเดียวกัน
ทุนทางสังคมอาจเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ทุนทางสังคมจึงเป็นทั้งศักยภาพของชุมชน เป็นกระบวนการ
ขับเคลื่อน และเป็นเป้าหมายของการขับเคลื่อนที่จะกลายไปเป็นศักยภาพของชุมชนในการรองรับสังคมสูงวัยในอนาคตได้
อย่างมีประสิทธิภาพ


ผูสงวัยกับอัตลักษณ์ประดิษฐ์ทถกสร้าง
  ู้                        ี่ ู
         อัตลักษณ์ประดิษฐ์ เป็นอัตลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากภายนอก ผ่านกลไกทางอานาจของรัฐ และสังคมมีความเกี่ยวโยง
กับการสร้างภาพประทับตายตัว (stereotype) เป็นอัตลักษณ์ที่ถูกแช่แข็ง เปลี่ยนแปลงยาก และถูกทาให้เป็นสถาบันเพื่อ
ประโยชน์ในการจัดการและควบคุม (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี 2546: 10) ความสูงวัยและผู้สูงวัยก็เช่นกัน เป็นกลุ่มคนที่ถูก
มอบอัตลักษณ์ประดิษฐ์จากรัฐและสังคมด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า ความรับรู้ที่สังคมสมัยใหม่มีต่อ “ความชรา” ในแง่ที่ไม่
ก่อให้เกิดผลผลิต ไร้ประโยชน์ เป็นภาระ ต้องพึ่ง พิง (สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ 2545: 178) การเกิดขึ้นดารงอยู่ของ
“บ้านพักคนชรา” ก็เป็นอีกหนึ่งรูปธรรมที่ทาให้เส้นแบ่งระหว่างผู้สูงวัยและคนวัยอื่นชัดเจนขึ้น และตอกย้าความหมายในเชิง
ลบที่มีต่อความสูงวัย อย่างไรก็ตามอัตลักษณ์ประดิษฐ์ที่สังคมมอบให้แก่คนชราก็มิได้มีแต่มุมมองเชิงลบ มุมมองในทางบวกก็
มีการสร้างขึ้น เช่น ผู้สูงวัยในฐานะผู้มีความรู้ เป็นปราชญ์ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ อัตลักษณ์ประดิษฐ์

1
 เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาวิจัยในโครงการโครงการวิจัยกระบวนการทางสังคมเพื่อกาหนดมาตรการสร้างเสริมสุข
ภาวะประชากรสูงวัย ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานเสริมสร้างการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อ พัฒนา
นโยบายสาธารณะที่ดี (TUHPP) ภายใต้การสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
                                                                                                   1
เหล่านี้ทาให้เกิดภาพเหมารวมเกี่ยวกับความสูงวัย (คิดว่าผู้สูงวัยเหมือนกันหมด) รวมถึงการที่มุมมองเชิงลบต่อความสูงวัย
เป็นมุมมองหลักที่ครอบงาการรับรู้ของคนในสังคมและตัวผู้สูงวัยเอง ผลการศึกษาในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงวัยมีความ
หลากหลาย มีพลัง และได้พยายามต่อรองความหมายเชิงลบที่สังคมมอบให้อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้ประโยชน์จากอัต
ลักษณ์ประดิษฐ์ที่สังคมมอบให้ในการนิยามตัวตน และการขับเคลื่อนผลประโยชน์ของกลุ่ม องค์กรของตนเองอย่างต่อเนื่อง


กลุม องค์กรของผูสงวัย: เงือนไขการก่อเกิด และการธารงอยู่
   ่            ู้        ่
          การศึกษาในพื้นที่จังหวัดพะเยา และพิจิตร ผู้ศึกษาได้ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัยทั้งสิ้น
8 กลุ่ม/องค์กร ได้แก่ จังหวัดพะเยา จานวน 4 ชมรม/องค์กร ได้แก่ 1) ชมรมผู้สูงอายุบ้านทราย ตาบลเวียง อาเภอเชียง
คา 2) ชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองหล่ม อาเภอดอกคาใต้ 3) โฮงเฮียนผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา อาเภอแม่ใจ และ 4) โฮงเฮียน
ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพิจิตร จานวน 4 กลุ่ม/องค์กร ได้แก่ 1) ชมรมผู้สูงอายุตาบลโพธิ์ไทรงาม อาเภอบึง
ราง 2) ชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองโสน อาเภอสามง่าม 3) โรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา ในพื้นที่ตาบลหัวดง อาเภอเมือง
พิจิตร 4) ชมรมผู้สูงอายุเมืองพิจิตร ในภาพรวมเงื่อนไขสาคัญที่ทาให้กลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัยเกิดขึ้นและธารงอยู่ได้ เกิด
จากเงื่อนไข/ปัจจัยดังนี้
          1) การตระหนักในปัญหาร่วมกันของผู้สูงวัย ได้แก่ 1. ปัญหา ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์: ผู้สูงวัยขี้หลงขี้ลืม
สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และซึมเศร้า หงอยเหงา 2. ด้านรายได้/เศรษฐกิจ: ผู้สูงอายุยากจน ต้องการเงินทาศพ ไม่อยาก
ทิ้งภาระให้ลูกหลาน 3. ด้านสังคม-จิตวิญญาณ: ผู้สูงวัยถูกละเลย ถูกมองข้ามภูมิปัญญา และความต้องการฝากภูมิปัญญา
ให้แก่แผ่นดินก่อนจากไป 2) การมีผสงวัย เป็นผูนาการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) 3) กระบวนการขับเคลื่อน ได้แก่
                                ู้ ู        ้
1. การสื่อสารเพื่ อให้ข้อมูลข่าวสารภายในกลุ่ม เป็นเงื่อนพื้นฐานที่จะทาให้ผู้สูงวสัยตัดสินใจมารวมกลุ่มกัน 2. การสร้าง
กระบวนการมีส่วนร่วมจากเพื่อนสมาชิกกลุ่ม สร้างให้เกิดความเป็นเจ้าของกลุ่มร่วมกัน (sense of belonging) เป็นพันธะ
ผูกพันที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่า “ละทิ้งกันไม่ได้ขึ้น” 3) การสร้างเครือข่ายการทางาน และ 4) การสร้างกระบวนการเรียนรู้
แบบมีส่วนร่วมโดยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น กรณีของชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองหล่ม ที่ทางหมออนามัยพาไปศึกษาดูงานใน
พื้นที่อื่นแล้วเกิด “การระเบิดจากภายใน” มีกาลังใจ มีพลังอยากกลับมาขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนตนเอง หรือกรณีของ
ชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองโสน การศึกษาดูงานของประธานชมรมก็นามาซึ่งพลังขับในการสร้างการรวมกลุ่มของผู้สูงวัยใน
ชุมชน 5) การหนุนเสริมจากสถานีอนามัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีนอกชุมชน เช่น นักวิชาการ หน่วยงานที่
ทางานด้านสวัสดิการสังคม สุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข ด้านวัฒนธรรม และการพัฒนาชุมชน



การขับเคลือน และพลังของผูสงวัย
          ่              ู้


                                                                                                                   2
กลุ่ม/องค์กรของผู้สูงวัยได้แสดงพลังคนตนเองโดยการขับเคลื่อนงานครอบคลุมการดูแลและส่งเสริมศักยภาพของ
ผู้สูงวัย ดังนี้ 1. การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อารมณ์ สัมคม จิต ใจของผู้สูงวัย เช่น การออกกาลังกาย การแลกเปลี่ยน
ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์คน 2 วัย เช่น โฮงเฮียนผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา อ.แม่ใจ มีกิจกรรมสาน
ฮักสองวัย (ผู้สูงวัย และเด็กเยาวชนในโรงเรียน) เชื่อมใจผูกพัน 4) กิจกรรมนันทนาการ เช่น การเล่นอั งกะลุง ศิลปะบาบัด
กิจกรรมไค่หัว (การหัวเราะ) 2. ด้านเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มอาชีพ ฌาปนกิจสงเคราะห์ 3. ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เช่น
การอนุรักษ์ การสืบทอด และการถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาแก่คนรุ่นหลัง 4. การทางานพัฒนาชุมชน กรณีชมรมผู้สูงอายุ
ตาบลโพธิ์ไทรงามขับเคลื่อนกิจกรรมหลากหลายเพื่องานชุมชน เช่น ผ้าป่าสวนครัว เป็นแนวคิดที่กลุ่ม ชมรม ต้องการจะ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้าท่วม โดยกลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้นาเอาสิ่งของทั้งอาหารการกิน สิ่งของที่จาเป็นไปแจกจ่ายให้กับ
ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ผู้สูงอายุที่เปิดโอกาสให้คนทุกเพศทุกวัยในชุมชนกู้ยืม นอกจากนั้น
ทางชมรมยังมีการสนับสนุนการออมทรัพย์ของเด็กและเยาวชนด้วย โดยให้เด็กที่เป็นสมาชิกทุกคนออมเงินเป็นเดือน เดือนละ
30 บาท (วันละบาท) ให้ออมทุกๆเดือนเพื่อเป็นเงินทุนให้เด็กและเยาวชนของหมู่บ้านได้ใช้เมื่อยามขาดโดยไม่อนุญาตให้
ผู้ปกครองมากู้ยืมเด็ดขาด หรือกรณีชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองหล่ม ร่วมกับกลุ่ม อสม.มีการเคลื่อนกิจกรรมในโครงการเพื่อน
ช่วยเพื่อน เป็นโครงการที่ผู้สูงอายุเป็นอาสาสมัครออกเยี่ยมและดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง หรือที่ไม่สบาย ช่วยเหลือตนเอง
ไม่ได้ รวมถึงการระดมทุนของผู้สูงอายุบ้านทรายในการสร้างสุขาสาธารณะ


ทุนทางสังคม กับการขับเคลือนกระบวนการทางสังคมรองรับสังคมสูงวัย
                         ่
         พลังการขับเคลื่อนของกลุ่ม/องค์กรของผู้สูงวัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่มี “ทุนทางสังคม” เป็นหัวใจสาคัญในการขับเคลื่อน
ทุนทางสังคม เปรียบเหมือน ทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรมที่กลุ่ม องค์กร ชุมชนมีอยู่ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการ
ขับเคลื่อนงานไปสู่จุดมุ่งหมาย ข้อค้นพบจากสนามการศึกษา พบว่า ทุนทางสังคม เป็นทั้งศักยภาพของชุมชน (Input) เป็น
ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนงานของกลุ่ม (Process) และเป็นเป้าหมายของกระบวนการขับเคลื่อน (Ends) ซึ่งจะแปรสภาพเป็น
พลัง หรือปัจจัยนาเข้าใหม่ของกระบวนการทางสังคมระลอกใหม่ในการรองรับสังคมสูงวัยอย่างเป็นพลวัตร
         ทุนทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นศักยภาพของกลุ่ม องค์กร ชุมชน ได้แก่ 1) ผู้นาการเปลี่ยนแปลง 2) ความเชื่อถือ
ศรัทธา หรือความไว้วางต่อผู้สูงวัยที่เป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง 3) การเกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดผ่านเครือข่ายเครือญาติ 4) ชุด
ประสบการณ์เดิมของชุมชน 5) ทุนวัฒนธรรม-ความรู้ภูมิปัญญาของผู้สูงวัย ทุนทางสังคมในฐานะกระบวนการ ได้แก่ 1)
การสร้างศรัทธา/ความไว้วางใจซึ่งกันและกันของสมาชิกกลุ่ม/องค์กรผู้สูงวัย 2) การสร้างบรรทัดฐานร่วม 3) การสร้าง
เครือข่ายทางสังคม 4) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม 5) การสร้างทุนทางเศรษฐกิจ 6) การสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านการ
ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคมในฐานะเป้าหมายของกระบวนการขับเคลื่อน ได่แก่ 1) เครือข่ายทางสังคม 2) ความเป็น
ชุมชน 3) ประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงาน 4) ผู้นาการเปลี่ยนแปลง 5) ทุนสัญลักษณ์ (Symbolic Capital)


                                                                                                                     3
ผูสงวัย-กลุมผูสงวัย กับการนิยามจากภายใน และการโต้กลับอัตลักษณ์ประดิษฐ์
  ู้       ่ ู้
          ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้สูงวัยและความสูงวัยนั้นไม่ได้มีลักษณะที่แน่นอนตายตัวดังอัตลักษณ์
ประดิ ษฐ์ ที่ถู กสร้ างในทางตรงกั นข้ ามกลุ่ ม/องค์ กรของผู้ สู งวั ยพยายามสร้ างนิย ามใหม่ จากภายในให้ แ ก่ต นเอง ผ่ า น
กระบวนการดังนี้ 1) การต่อรองกับสังคมด้วยการตอกย้าความหมายเชิงบวกที่สังคมเข้าใจกันอยู่แล้ว เช่น การทากิจกรรมการ
อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมของเก่าดั้งเดิมต่างๆของกลุ่ม องค์กรผู้สูงวัย 2) การไม่ยอมจานนกับความแก่เฒ่า และความ
เสื่อมถอยของสังขาร ผ่านกิจกรรมการออกกาลังกายที่หลากหลายสาหรับผู้สูงวัย 3) การนิยามตัวตนเพื่อ โต้กลับภาพ
ประทับตายตัว/ภาพเหมารวมในเชิงลบที่มีต่อผู้สูงวัย ความสูงวัย และสังคมสูงวัย เช่น ผู้สูงวัย คือ ผู้ให้ และผู้ทา
ประโยชน์แก่สังคม ผู้สูงวัยในฐานะนักเรียนผู้สูงอายุ เป็นการโต้กลับนิยามความสูงอายุด้วยเกณฑ์ว่าด้วยกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา ว่าผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่ความจาเปลี่ยนไป การรับรู้และการเรียนรู้เริ่มถดถอย เนื่องจากให้ภาพที่
สะท้อนให้เห็นว่าเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ อันเป็นคุณลักษณะของผู้สูงวัยที่กระตือรือร้น (active aging) หรือพฤฒพลัง หรือใน
กรณีของผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มข้าราชการบานาญ กระบวนการของกลุ่มนาไปสู่การธารงตัวตนเดิม-การเติมความหมายใหม่ใน
ชีวิต เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม


บทเรียนจากพื้นที่สู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการรองรับสังคมสูงวัย
          การศึกษาครั้งนี้มุ่งเสนอให้ทุกภาคส่วนมอง ผู้สูงวัยในฐานะพลังของสังคม โดยมีข้อเสนอต่อภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
          รัฐ-หน่วยงานภาครัฐ ควรมีแนวนโยบายและมาตรการการขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัยดังนี้ 1) ไม่เน้นเฉพาะ
เรื่องสงเคราะห์ เพิ่มนโยบายเชิงรุกที่เห็นผู้สูงวัยเป็นพลังของสังคม 2) สนับสนุนให้ท้องถิ่น -ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก เช่น
รางวัลสาหรับท้องถิ่นที่มีผลงานดีเยี่ยมในการสร้างกระบวนการรองรับสังคมสูงวัย 3) นโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
ของผู้สูงวัย เช่น โรงเรียน/ศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงวัย, โรงเรียนผู้นา 4) สนับสนุนกองทุนสาธารณะ โดยส่งเสริมให้มีการ
จัดตั้งกองทุนผู้สูงวัยในระดับต่างๆ (จังหวัด-ท้องถิ่น-ชุมชน) โดยรัฐให้การสนับสนุนบางส่วน ให้ท้องถิ่น และชุมชนสมทบ
ร่วมด้วย 5) หน่วยงานองค์กรภาครัฐมีบทบาทเป็นองค์กรพี่เลี้ยงที่คอยหนุนเสริมกลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัย และ 6) ให้
ความสาคัญกับเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้แสดงพลังและเผยแพร่พลังดังกล่าวสู่สังคม
          สื่อมวลชน ควรมีบทบาทสาคัญในการเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงบวกที่สะท้อนให้เห็นพลังของผู้สูงวัย (ทั้งระดับ
บุคคล-ระดับกลุ่ม) ที่มีต่อสังคม โดยสื่อระดับชาติ-สื่อท้องถิ่น ให้ความสาคัญกับการผลิตรายการที่เป็นการเสริมพลังให้กับ
ผู้สูงวัย และการสร้างความหมายใหม่ของความสูงวัยให้สังคมรับรู้ ตัวอย่างเช่น รายการบานไม่รู้โรย (ช่องThaiPBS) หรือ
การจัดรายการที่สะท้อนให้เห็นตัวอย่างที่ดีของการขับเคลื่อนงานของกลุ่ม ชมรม องค์กรของผู้สูงวัยในพื้นที่ต่างๆในรายกาย
วิทยุชมุชน การขับเคลื่อนโดยสื่อในลักษณะเช่นนี้จะนามาซึ่งความภาคภูมิใจของผู้สู งวัย และจะยิ่งสร้างให้ผู้สูงวัยเกิดพลัง
มากขึ้น


                                                                                                                        4
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นถือเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนหลักที่จะมีบทบาทในการขับเคลื่อนงานของผู้สูงวัยใน
อนาคต เพราะถือเป็นองค์กรของประชาชน ที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน โดย 1) ท้องถิ่นต้องมีนโยบายเชิงรุกที่เห็นผู้สู งวัยเป็นพลัง
2) ให้การสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สูงวัย เพื่อเสริมสร้างพลังของผู้สูงวัยให้มีแรงขับในการทางานเพื่อ
ชุมชน 3) ส่งเสริมให้มีกองทุนสาธารณะในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของผู้สูงวัย 4) เปิดพื้น เปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยมี
บทบาทที่จะได้ใช้พ ลังของตนเองในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 5) การจัดทาฐานข้อมูลผู้สูงวัยในท้องถิ่น 6) ส่งเสริมให้
ครอบครัวภาคภูมิใจในตัวผู้สูงวัย
         กลุ่ม-ชมรม/องค์กรผู้สูงวัย ควรมีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการดังนี้ 1) ให้ความสาคัญกับกระบวนการ
กลุ่ม ทาให้ปัญหาของผู้สูงวัยแต่ละคนกลายเป็น “ปัญหาร่วม” ที่คนทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วม โดยผู้สูงวัยเป็นผู้มี
บทบาทนา (ต้องลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตนเอง) 2) ให้ความสาคัญกับการสร้างเครือข่ายการทางานทั้งภายในและ
ภายนอก 3) การให้ความสาคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีเวทีในการพูดคุย การแสดงความสามารถ 4) สร้างอานาจ
ต่อรองกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง 5) ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองได้ พัฒนา
เป็นพฤฒพลัง (active aging)         เช่น เป็นผู้นา/ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม เป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ 6) ให้
ความสาคัญกับการสร้างผู้นาใหม่ในการขับเคลื่อนกระบวนการของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
         ครอบครัว ถือเป็นอีกหนึ่งสถาบันทางสังคมที่สาคัญที่ในการเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัย โดย1) ครอบครัวต้องมี
ส่วนร่วมในระบวนการขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัยของภาคส่วนต่างๆ 2) มีการสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริม ความสัมพันธ์ใน
ครอบครัว และ 3) เน้นย้าให้ครอบครัวเห็นคุณค่า ความสามารถและพลังของผู้สูงวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การยกย่อง
เกียรติคุณผู้สูงวัย, การเชิดชูความสามารถของผู้สูงวัย, การเป็นนักเรียนรู้ผู้สูงอายุ, การเป็นแกนนาการขับเคลื่อน เป็น
ปราชญ์ชาวบ้าน




                                                                                                                   5

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ

หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
thanathip
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
pueniiz
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
Pisan Chueachatchai
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
Saiiew
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
thnaporn999
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
pueniiz
 

Semelhante a สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ (20)

หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
 
G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3
 
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
 
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
Osdop swat
Osdop  swatOsdop  swat
Osdop swat
 
พัฒนาชุมชน
พัฒนาชุมชนพัฒนาชุมชน
พัฒนาชุมชน
 
หน่วยที่๔
หน่วยที่๔หน่วยที่๔
หน่วยที่๔
 
ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]
 
ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]ข้อมูลโคร..[1]
ข้อมูลโคร..[1]
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 

Mais de pyopyo

กำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตร
กำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตรกำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตร
กำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตร
pyopyo
 
ประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปาง
ประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปางประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปาง
ประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปาง
pyopyo
 
ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง
ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง
ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง
pyopyo
 
ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57 ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)
ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57  ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57  ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)
ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57 ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)
pyopyo
 

Mais de pyopyo (20)

ประกาศสอบราคาอาหารกลางวัน อบต.แม่สัน
ประกาศสอบราคาอาหารกลางวัน อบต.แม่สันประกาศสอบราคาอาหารกลางวัน อบต.แม่สัน
ประกาศสอบราคาอาหารกลางวัน อบต.แม่สัน
 
ข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดี (Good practices)
ข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดี (Good practices)ข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดี (Good practices)
ข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดี (Good practices)
 
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสอน และสอบสัมภาษณ์
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสอน และสอบสัมภาษณ์ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสอน และสอบสัมภาษณ์
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสอน และสอบสัมภาษณ์
 
ตาราง Office hour 57
ตาราง Office hour 57ตาราง Office hour 57
ตาราง Office hour 57
 
ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงาน
ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงานประกาศผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงาน
ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงาน
 
แผนธุรกิจ
แผนธุรกิจแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจ
 
ตารางบรรยายวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยสหวิทยาการ
ตารางบรรยายวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยสหวิทยาการ ตารางบรรยายวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยสหวิทยาการ
ตารางบรรยายวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยสหวิทยาการ
 
กำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตร
กำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตรกำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตร
กำหนดการ งานพระราชทานปริญญาบัตร
 
ขายทอดตลาดพัสดุชำรุด
ขายทอดตลาดพัสดุชำรุด ขายทอดตลาดพัสดุชำรุด
ขายทอดตลาดพัสดุชำรุด
 
จัดกลุ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษ PPE 2557
จัดกลุ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษ PPE 2557จัดกลุ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษ PPE 2557
จัดกลุ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษ PPE 2557
 
กฎหมายแรงงานน่ารู้
กฎหมายแรงงานน่ารู้กฎหมายแรงงานน่ารู้
กฎหมายแรงงานน่ารู้
 
รายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ PPE
รายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ PPEรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ PPE
รายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ PPE
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบจิตวิทยา สหวิยาการ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบจิตวิทยา สหวิยาการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบจิตวิทยา สหวิยาการ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบจิตวิทยา สหวิยาการ
 
รายวิชาที่เปิดสอนปีการศึกษา 2557
รายวิชาที่เปิดสอนปีการศึกษา 2557 รายวิชาที่เปิดสอนปีการศึกษา 2557
รายวิชาที่เปิดสอนปีการศึกษา 2557
 
ตารางสอน ภาค1
ตารางสอน ภาค1ตารางสอน ภาค1
ตารางสอน ภาค1
 
แบบฟอร์มหนังสือยืนยันสิทธิ สหวิทย์ ลำปาง
แบบฟอร์มหนังสือยืนยันสิทธิ สหวิทย์ ลำปางแบบฟอร์มหนังสือยืนยันสิทธิ สหวิทย์ ลำปาง
แบบฟอร์มหนังสือยืนยันสิทธิ สหวิทย์ ลำปาง
 
ประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปาง
ประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปางประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปาง
ประกาศผ่านการคัดเลือก สหวิทลำปาง
 
ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง
ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง
ประกาศสัมภาษณ์ สหวิทยาการ ลำปาง
 
ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57 ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)
ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57  ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57  ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)
ประกาศรับตรงโครงการ Ppe 57 ลำปาง (ขยายเวลารับสมัคร)
 
จดทะเบียนรายวิชาภาคเรียนที่ 1 / 2557
จดทะเบียนรายวิชาภาคเรียนที่ 1 / 2557จดทะเบียนรายวิชาภาคเรียนที่ 1 / 2557
จดทะเบียนรายวิชาภาคเรียนที่ 1 / 2557
 

สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ

  • 1. โครงการศึกษาวิจยกระบวนการทางสังคมเพือกาหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรสูงวัย ั ่ :ภาคเหนือ ประสบการณ์จากพะเยา และพิจตร1 ิ รุ่งนภา เทพภาพ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเกิดขึ้นและขยายตัวของสังคมสูงวัยที่สังคมไทยเผชิญอยู่ สร้างให้เกิดการตื่นตั วของภาคส่วนต่างๆเป็นอย่าง มาก รัฐบาลเองก็มีนโยบายและมาตรการด้านต่างๆออกมารองรับอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ (เช่น การลดหย่อนภาษี, ระบบบานาญแห่งชาติ, กองทุนสารองเลี้ยงชีพ) ด้านสังคม (เช่น สถานสงเคราะห์และศูนย์บริการ ผู้สูงอายุทางสังคม, เบี้ยยั งชีพสาหรับผู้สูงอายุ, กองทุนผู้สูงอายุ, กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ) และด้านสาธารณสุข (เช่น คลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุและโครงการฟื้นฟูผู้สูงอายุ, โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, การ จัดช่องทางเฉพาะสาหรับผู้สูงอายุ) สะท้อนให้เห็นความไม่เพิกเฉย ละเลยต่อสถานการณ์ดังกล่าวของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ ตามรัฐบาลเองก็ไม่สามารถรับมือสถานการณ์ทางสังคมดังกล่าวได้โ ดยลาพัง งานศึกษาในครั้งนี้จึงมี สมมติฐานว่า ชุมชน/ ท้องถิ่นมีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์สังคมสูงวัยบนพื้นฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ชุมชนมี ในขณะเดียวกัน ทุนทางสังคมอาจเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ทุนทางสังคมจึงเป็นทั้งศักยภาพของชุมชน เป็นกระบวนการ ขับเคลื่อน และเป็นเป้าหมายของการขับเคลื่อนที่จะกลายไปเป็นศักยภาพของชุมชนในการรองรับสังคมสูงวัยในอนาคตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผูสงวัยกับอัตลักษณ์ประดิษฐ์ทถกสร้าง ู้ ี่ ู อัตลักษณ์ประดิษฐ์ เป็นอัตลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากภายนอก ผ่านกลไกทางอานาจของรัฐ และสังคมมีความเกี่ยวโยง กับการสร้างภาพประทับตายตัว (stereotype) เป็นอัตลักษณ์ที่ถูกแช่แข็ง เปลี่ยนแปลงยาก และถูกทาให้เป็นสถาบันเพื่อ ประโยชน์ในการจัดการและควบคุม (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี 2546: 10) ความสูงวัยและผู้สูงวัยก็เช่นกัน เป็นกลุ่มคนที่ถูก มอบอัตลักษณ์ประดิษฐ์จากรัฐและสังคมด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า ความรับรู้ที่สังคมสมัยใหม่มีต่อ “ความชรา” ในแง่ที่ไม่ ก่อให้เกิดผลผลิต ไร้ประโยชน์ เป็นภาระ ต้องพึ่ง พิง (สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ 2545: 178) การเกิดขึ้นดารงอยู่ของ “บ้านพักคนชรา” ก็เป็นอีกหนึ่งรูปธรรมที่ทาให้เส้นแบ่งระหว่างผู้สูงวัยและคนวัยอื่นชัดเจนขึ้น และตอกย้าความหมายในเชิง ลบที่มีต่อความสูงวัย อย่างไรก็ตามอัตลักษณ์ประดิษฐ์ที่สังคมมอบให้แก่คนชราก็มิได้มีแต่มุมมองเชิงลบ มุมมองในทางบวกก็ มีการสร้างขึ้น เช่น ผู้สูงวัยในฐานะผู้มีความรู้ เป็นปราชญ์ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ อัตลักษณ์ประดิษฐ์ 1 เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาวิจัยในโครงการโครงการวิจัยกระบวนการทางสังคมเพื่อกาหนดมาตรการสร้างเสริมสุข ภาวะประชากรสูงวัย ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานเสริมสร้างการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อ พัฒนา นโยบายสาธารณะที่ดี (TUHPP) ภายใต้การสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 1
  • 2. เหล่านี้ทาให้เกิดภาพเหมารวมเกี่ยวกับความสูงวัย (คิดว่าผู้สูงวัยเหมือนกันหมด) รวมถึงการที่มุมมองเชิงลบต่อความสูงวัย เป็นมุมมองหลักที่ครอบงาการรับรู้ของคนในสังคมและตัวผู้สูงวัยเอง ผลการศึกษาในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงวัยมีความ หลากหลาย มีพลัง และได้พยายามต่อรองความหมายเชิงลบที่สังคมมอบให้อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้ประโยชน์จากอัต ลักษณ์ประดิษฐ์ที่สังคมมอบให้ในการนิยามตัวตน และการขับเคลื่อนผลประโยชน์ของกลุ่ม องค์กรของตนเองอย่างต่อเนื่อง กลุม องค์กรของผูสงวัย: เงือนไขการก่อเกิด และการธารงอยู่ ่ ู้ ่ การศึกษาในพื้นที่จังหวัดพะเยา และพิจิตร ผู้ศึกษาได้ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัยทั้งสิ้น 8 กลุ่ม/องค์กร ได้แก่ จังหวัดพะเยา จานวน 4 ชมรม/องค์กร ได้แก่ 1) ชมรมผู้สูงอายุบ้านทราย ตาบลเวียง อาเภอเชียง คา 2) ชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองหล่ม อาเภอดอกคาใต้ 3) โฮงเฮียนผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา อาเภอแม่ใจ และ 4) โฮงเฮียน ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพิจิตร จานวน 4 กลุ่ม/องค์กร ได้แก่ 1) ชมรมผู้สูงอายุตาบลโพธิ์ไทรงาม อาเภอบึง ราง 2) ชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองโสน อาเภอสามง่าม 3) โรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา ในพื้นที่ตาบลหัวดง อาเภอเมือง พิจิตร 4) ชมรมผู้สูงอายุเมืองพิจิตร ในภาพรวมเงื่อนไขสาคัญที่ทาให้กลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัยเกิดขึ้นและธารงอยู่ได้ เกิด จากเงื่อนไข/ปัจจัยดังนี้ 1) การตระหนักในปัญหาร่วมกันของผู้สูงวัย ได้แก่ 1. ปัญหา ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์: ผู้สูงวัยขี้หลงขี้ลืม สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และซึมเศร้า หงอยเหงา 2. ด้านรายได้/เศรษฐกิจ: ผู้สูงอายุยากจน ต้องการเงินทาศพ ไม่อยาก ทิ้งภาระให้ลูกหลาน 3. ด้านสังคม-จิตวิญญาณ: ผู้สูงวัยถูกละเลย ถูกมองข้ามภูมิปัญญา และความต้องการฝากภูมิปัญญา ให้แก่แผ่นดินก่อนจากไป 2) การมีผสงวัย เป็นผูนาการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) 3) กระบวนการขับเคลื่อน ได้แก่ ู้ ู ้ 1. การสื่อสารเพื่ อให้ข้อมูลข่าวสารภายในกลุ่ม เป็นเงื่อนพื้นฐานที่จะทาให้ผู้สูงวสัยตัดสินใจมารวมกลุ่มกัน 2. การสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมจากเพื่อนสมาชิกกลุ่ม สร้างให้เกิดความเป็นเจ้าของกลุ่มร่วมกัน (sense of belonging) เป็นพันธะ ผูกพันที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่า “ละทิ้งกันไม่ได้ขึ้น” 3) การสร้างเครือข่ายการทางาน และ 4) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมโดยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น กรณีของชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองหล่ม ที่ทางหมออนามัยพาไปศึกษาดูงานใน พื้นที่อื่นแล้วเกิด “การระเบิดจากภายใน” มีกาลังใจ มีพลังอยากกลับมาขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนตนเอง หรือกรณีของ ชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองโสน การศึกษาดูงานของประธานชมรมก็นามาซึ่งพลังขับในการสร้างการรวมกลุ่มของผู้สูงวัยใน ชุมชน 5) การหนุนเสริมจากสถานีอนามัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีนอกชุมชน เช่น นักวิชาการ หน่วยงานที่ ทางานด้านสวัสดิการสังคม สุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข ด้านวัฒนธรรม และการพัฒนาชุมชน การขับเคลือน และพลังของผูสงวัย ่ ู้ 2
  • 3. กลุ่ม/องค์กรของผู้สูงวัยได้แสดงพลังคนตนเองโดยการขับเคลื่อนงานครอบคลุมการดูแลและส่งเสริมศักยภาพของ ผู้สูงวัย ดังนี้ 1. การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อารมณ์ สัมคม จิต ใจของผู้สูงวัย เช่น การออกกาลังกาย การแลกเปลี่ยน ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์คน 2 วัย เช่น โฮงเฮียนผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา อ.แม่ใจ มีกิจกรรมสาน ฮักสองวัย (ผู้สูงวัย และเด็กเยาวชนในโรงเรียน) เชื่อมใจผูกพัน 4) กิจกรรมนันทนาการ เช่น การเล่นอั งกะลุง ศิลปะบาบัด กิจกรรมไค่หัว (การหัวเราะ) 2. ด้านเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มอาชีพ ฌาปนกิจสงเคราะห์ 3. ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เช่น การอนุรักษ์ การสืบทอด และการถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาแก่คนรุ่นหลัง 4. การทางานพัฒนาชุมชน กรณีชมรมผู้สูงอายุ ตาบลโพธิ์ไทรงามขับเคลื่อนกิจกรรมหลากหลายเพื่องานชุมชน เช่น ผ้าป่าสวนครัว เป็นแนวคิดที่กลุ่ม ชมรม ต้องการจะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้าท่วม โดยกลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้นาเอาสิ่งของทั้งอาหารการกิน สิ่งของที่จาเป็นไปแจกจ่ายให้กับ ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ผู้สูงอายุที่เปิดโอกาสให้คนทุกเพศทุกวัยในชุมชนกู้ยืม นอกจากนั้น ทางชมรมยังมีการสนับสนุนการออมทรัพย์ของเด็กและเยาวชนด้วย โดยให้เด็กที่เป็นสมาชิกทุกคนออมเงินเป็นเดือน เดือนละ 30 บาท (วันละบาท) ให้ออมทุกๆเดือนเพื่อเป็นเงินทุนให้เด็กและเยาวชนของหมู่บ้านได้ใช้เมื่อยามขาดโดยไม่อนุญาตให้ ผู้ปกครองมากู้ยืมเด็ดขาด หรือกรณีชมรมผู้สูงอายุตาบลหนองหล่ม ร่วมกับกลุ่ม อสม.มีการเคลื่อนกิจกรรมในโครงการเพื่อน ช่วยเพื่อน เป็นโครงการที่ผู้สูงอายุเป็นอาสาสมัครออกเยี่ยมและดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง หรือที่ไม่สบาย ช่วยเหลือตนเอง ไม่ได้ รวมถึงการระดมทุนของผู้สูงอายุบ้านทรายในการสร้างสุขาสาธารณะ ทุนทางสังคม กับการขับเคลือนกระบวนการทางสังคมรองรับสังคมสูงวัย ่ พลังการขับเคลื่อนของกลุ่ม/องค์กรของผู้สูงวัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่มี “ทุนทางสังคม” เป็นหัวใจสาคัญในการขับเคลื่อน ทุนทางสังคม เปรียบเหมือน ทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรมที่กลุ่ม องค์กร ชุมชนมีอยู่ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการ ขับเคลื่อนงานไปสู่จุดมุ่งหมาย ข้อค้นพบจากสนามการศึกษา พบว่า ทุนทางสังคม เป็นทั้งศักยภาพของชุมชน (Input) เป็น ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนงานของกลุ่ม (Process) และเป็นเป้าหมายของกระบวนการขับเคลื่อน (Ends) ซึ่งจะแปรสภาพเป็น พลัง หรือปัจจัยนาเข้าใหม่ของกระบวนการทางสังคมระลอกใหม่ในการรองรับสังคมสูงวัยอย่างเป็นพลวัตร ทุนทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นศักยภาพของกลุ่ม องค์กร ชุมชน ได้แก่ 1) ผู้นาการเปลี่ยนแปลง 2) ความเชื่อถือ ศรัทธา หรือความไว้วางต่อผู้สูงวัยที่เป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง 3) การเกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดผ่านเครือข่ายเครือญาติ 4) ชุด ประสบการณ์เดิมของชุมชน 5) ทุนวัฒนธรรม-ความรู้ภูมิปัญญาของผู้สูงวัย ทุนทางสังคมในฐานะกระบวนการ ได้แก่ 1) การสร้างศรัทธา/ความไว้วางใจซึ่งกันและกันของสมาชิกกลุ่ม/องค์กรผู้สูงวัย 2) การสร้างบรรทัดฐานร่วม 3) การสร้าง เครือข่ายทางสังคม 4) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม 5) การสร้างทุนทางเศรษฐกิจ 6) การสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านการ ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคมในฐานะเป้าหมายของกระบวนการขับเคลื่อน ได่แก่ 1) เครือข่ายทางสังคม 2) ความเป็น ชุมชน 3) ประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงาน 4) ผู้นาการเปลี่ยนแปลง 5) ทุนสัญลักษณ์ (Symbolic Capital) 3
  • 4. ผูสงวัย-กลุมผูสงวัย กับการนิยามจากภายใน และการโต้กลับอัตลักษณ์ประดิษฐ์ ู้ ่ ู้ ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้สูงวัยและความสูงวัยนั้นไม่ได้มีลักษณะที่แน่นอนตายตัวดังอัตลักษณ์ ประดิ ษฐ์ ที่ถู กสร้ างในทางตรงกั นข้ ามกลุ่ ม/องค์ กรของผู้ สู งวั ยพยายามสร้ างนิย ามใหม่ จากภายในให้ แ ก่ต นเอง ผ่ า น กระบวนการดังนี้ 1) การต่อรองกับสังคมด้วยการตอกย้าความหมายเชิงบวกที่สังคมเข้าใจกันอยู่แล้ว เช่น การทากิจกรรมการ อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมของเก่าดั้งเดิมต่างๆของกลุ่ม องค์กรผู้สูงวัย 2) การไม่ยอมจานนกับความแก่เฒ่า และความ เสื่อมถอยของสังขาร ผ่านกิจกรรมการออกกาลังกายที่หลากหลายสาหรับผู้สูงวัย 3) การนิยามตัวตนเพื่อ โต้กลับภาพ ประทับตายตัว/ภาพเหมารวมในเชิงลบที่มีต่อผู้สูงวัย ความสูงวัย และสังคมสูงวัย เช่น ผู้สูงวัย คือ ผู้ให้ และผู้ทา ประโยชน์แก่สังคม ผู้สูงวัยในฐานะนักเรียนผู้สูงอายุ เป็นการโต้กลับนิยามความสูงอายุด้วยเกณฑ์ว่าด้วยกระบวนการ เปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา ว่าผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่ความจาเปลี่ยนไป การรับรู้และการเรียนรู้เริ่มถดถอย เนื่องจากให้ภาพที่ สะท้อนให้เห็นว่าเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ อันเป็นคุณลักษณะของผู้สูงวัยที่กระตือรือร้น (active aging) หรือพฤฒพลัง หรือใน กรณีของผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มข้าราชการบานาญ กระบวนการของกลุ่มนาไปสู่การธารงตัวตนเดิม-การเติมความหมายใหม่ใน ชีวิต เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม บทเรียนจากพื้นที่สู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการรองรับสังคมสูงวัย การศึกษาครั้งนี้มุ่งเสนอให้ทุกภาคส่วนมอง ผู้สูงวัยในฐานะพลังของสังคม โดยมีข้อเสนอต่อภาคส่วนต่างๆ ดังนี้ รัฐ-หน่วยงานภาครัฐ ควรมีแนวนโยบายและมาตรการการขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัยดังนี้ 1) ไม่เน้นเฉพาะ เรื่องสงเคราะห์ เพิ่มนโยบายเชิงรุกที่เห็นผู้สูงวัยเป็นพลังของสังคม 2) สนับสนุนให้ท้องถิ่น -ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก เช่น รางวัลสาหรับท้องถิ่นที่มีผลงานดีเยี่ยมในการสร้างกระบวนการรองรับสังคมสูงวัย 3) นโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ของผู้สูงวัย เช่น โรงเรียน/ศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงวัย, โรงเรียนผู้นา 4) สนับสนุนกองทุนสาธารณะ โดยส่งเสริมให้มีการ จัดตั้งกองทุนผู้สูงวัยในระดับต่างๆ (จังหวัด-ท้องถิ่น-ชุมชน) โดยรัฐให้การสนับสนุนบางส่วน ให้ท้องถิ่น และชุมชนสมทบ ร่วมด้วย 5) หน่วยงานองค์กรภาครัฐมีบทบาทเป็นองค์กรพี่เลี้ยงที่คอยหนุนเสริมกลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัย และ 6) ให้ ความสาคัญกับเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้แสดงพลังและเผยแพร่พลังดังกล่าวสู่สังคม สื่อมวลชน ควรมีบทบาทสาคัญในการเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงบวกที่สะท้อนให้เห็นพลังของผู้สูงวัย (ทั้งระดับ บุคคล-ระดับกลุ่ม) ที่มีต่อสังคม โดยสื่อระดับชาติ-สื่อท้องถิ่น ให้ความสาคัญกับการผลิตรายการที่เป็นการเสริมพลังให้กับ ผู้สูงวัย และการสร้างความหมายใหม่ของความสูงวัยให้สังคมรับรู้ ตัวอย่างเช่น รายการบานไม่รู้โรย (ช่องThaiPBS) หรือ การจัดรายการที่สะท้อนให้เห็นตัวอย่างที่ดีของการขับเคลื่อนงานของกลุ่ม ชมรม องค์กรของผู้สูงวัยในพื้นที่ต่างๆในรายกาย วิทยุชมุชน การขับเคลื่อนโดยสื่อในลักษณะเช่นนี้จะนามาซึ่งความภาคภูมิใจของผู้สู งวัย และจะยิ่งสร้างให้ผู้สูงวัยเกิดพลัง มากขึ้น 4
  • 5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นถือเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนหลักที่จะมีบทบาทในการขับเคลื่อนงานของผู้สูงวัยใน อนาคต เพราะถือเป็นองค์กรของประชาชน ที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน โดย 1) ท้องถิ่นต้องมีนโยบายเชิงรุกที่เห็นผู้สู งวัยเป็นพลัง 2) ให้การสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สูงวัย เพื่อเสริมสร้างพลังของผู้สูงวัยให้มีแรงขับในการทางานเพื่อ ชุมชน 3) ส่งเสริมให้มีกองทุนสาธารณะในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของผู้สูงวัย 4) เปิดพื้น เปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยมี บทบาทที่จะได้ใช้พ ลังของตนเองในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 5) การจัดทาฐานข้อมูลผู้สูงวัยในท้องถิ่น 6) ส่งเสริมให้ ครอบครัวภาคภูมิใจในตัวผู้สูงวัย กลุ่ม-ชมรม/องค์กรผู้สูงวัย ควรมีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการดังนี้ 1) ให้ความสาคัญกับกระบวนการ กลุ่ม ทาให้ปัญหาของผู้สูงวัยแต่ละคนกลายเป็น “ปัญหาร่วม” ที่คนทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วม โดยผู้สูงวัยเป็นผู้มี บทบาทนา (ต้องลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตนเอง) 2) ให้ความสาคัญกับการสร้างเครือข่ายการทางานทั้งภายในและ ภายนอก 3) การให้ความสาคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีเวทีในการพูดคุย การแสดงความสามารถ 4) สร้างอานาจ ต่อรองกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง 5) ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองได้ พัฒนา เป็นพฤฒพลัง (active aging) เช่น เป็นผู้นา/ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม เป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ 6) ให้ ความสาคัญกับการสร้างผู้นาใหม่ในการขับเคลื่อนกระบวนการของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ครอบครัว ถือเป็นอีกหนึ่งสถาบันทางสังคมที่สาคัญที่ในการเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัย โดย1) ครอบครัวต้องมี ส่วนร่วมในระบวนการขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัยของภาคส่วนต่างๆ 2) มีการสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริม ความสัมพันธ์ใน ครอบครัว และ 3) เน้นย้าให้ครอบครัวเห็นคุณค่า ความสามารถและพลังของผู้สูงวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การยกย่อง เกียรติคุณผู้สูงวัย, การเชิดชูความสามารถของผู้สูงวัย, การเป็นนักเรียนรู้ผู้สูงอายุ, การเป็นแกนนาการขับเคลื่อน เป็น ปราชญ์ชาวบ้าน 5