SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 114
Baixar para ler offline
รายงานการติดตามและประเมินผล
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
สํานักประเมินผลและเผยแพรการพัฒนา
มีนาคม 2554
โครงการกอสรางถนนไรฝุน
โครงการแหลงน้ําขนาดเล็ก
โครงการประกันรายไดเกษตรกร
โครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง
โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
สสส าาา รรร บับับั ญญญ
หน้าหน้า
รายงานการรายงานการติดตามติดตามและและประเมินผลโครงการประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
บทที่ 1บทที่ 1 :: การติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
1.1. ความเป็นมาความเป็นมา 1
2.2. กรอบการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555กรอบการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 6
2.1 วัตถุประสงค์ 6
2.2 ขอบเขตการดําเนินงาน 6
2.3 แนวคิดและขั้นตอนการดําเนินโครงการ 7
บทที่ 2บทที่ 2 :: ผลการติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
1.1. ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ 9
1.1 ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณ 9
1.2 การใช้จ่ายงบประมาณรายโครงการ 10
2.2. การติดตามประเมินผล 5 โครงการการติดตามประเมินผล 5 โครงการ 11
2.1 โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น 11
2.2 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก 14
2.3 โครงการประกันรายได้เกษตรกร 18
2.4 โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 22
2.5 โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 25
บทที่ 3บทที่ 3 :: บทสรุปสังเคราะห์และเสนอแนะ
1.1. สรุปผลสรุปผลการประเมินการประเมิน 55 โครงการในภาพรวมโครงการในภาพรวม 311
2.2. สรุปสรุปปัญหาปัญหาและและอุปสรรคอุปสรรคในภาพรวมในภาพรวม 3232
3.3. ข้อเสนอแนะข้อเสนอแนะ 3333
ภาคผนวกภาคผนวก
ภาคผนวก 1ภาคผนวก 1 :: รายงานการติดตามประเมินผลการดําเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจรายงานการติดตามประเมินผลการดําเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ระยะที่ 1ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2552)(พ.ศ. 2552)
ภาคผนวก 2ภาคผนวก 2 :: การติดตามประเมินผล 5การติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555ต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
1. โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น
2. โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก
3. โครงการประกันรายได้เกษตรกร
4. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
5. โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
---------------------------------------------
บทที่ 1
การติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
1. ความเป็นมา
1.1 วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกในปลายปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
อย่างรุนแรงทําให้การผลิต การส่งออก และการใช้จ่ายของภาคเอกชนหดตัว รัฐบาลจึงได้จัดทํา
แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 1 (พ.ศ. 2552) เพื่อเร่งสร้างรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน
ผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งช่วยเหลือเกษตรกร ชุมชน ผู้ว่างงาน และผู้ประกอบการทั้งในด้านการท่องเที่ยว
และนักลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน การจ้างงานและโอกาสทาง
เศรษฐกิจในสาขาต่อเนื่องอื่นๆ และเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติอย่างยั่งยืน
รัฐบาลจําเป็นต้องมีนโยบายระยะกลางและระยะยาวเพิ่มเติม จึงจัดทําแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2
หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ดําเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 ที่มุ่งเสริมสร้างรากฐาน
ทางเศรษฐกิจให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างความมั่นคง
ทางด้านอาหารและพลังงาน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
ของประเทศ (2) ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทันสมัยและ
จําเป็นต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน (3) เร่งรัดและ
สร้างศักยภาพในการหารายได้จากการท่องเที่ยว (4) สร้างฐานรายได้ใหม่ที่ทันสมัยของประเทศจาก
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (5) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย (6) ปฏิรูป
คุณภาพระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสูงสําหรับคนไทย และ (7) สร้างอาชีพและรายได้เพื่อ
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับชุมชน
1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 รับทราบแผนการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทย
เข้มแข็ง ปี 2553-2555 วงเงินลงทุนรวม 1.567 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 522,289 ล้านบาท
มีแหล่งเงินจากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ แหล่งเงินกู้ภายในและ
ต่างประเทศ และการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน ประกอบด้วย 7 แผนงานหลัก ดังนี้
1.2.1 แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการกระจายน้ํา พัฒนาแหล่งน้ําขนาดเล็ก
เพื่อการเกษตร น้ําเพื่ออุตสาหกรรม และประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร
ประกอบด้วย งานก่อสร้างและปรับปรุงระบบชลประทานทั่วประเทศ และงานก่อสร้าง
ฝายแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็กเพื่อให้เป็นแหล่งดูดซับน้ํา การลงทุนด้านแหล่งน้ําในเขต
อุตสาหกรรมภาคตะวันออก และการพัฒนาภาคเกษตรในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
เน้นการพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช ทั้งพืชอาหารและพืชพลังงาน การพัฒนาพันธุ์สัตว์ การ
ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพันธุ์ดี และการพัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีการผลิตใน
ปี 2553-2555 เป็นเงินลงทุน 230,645 ล้านบาท
2
1.2.2 แผนงานปรับปรุงและพัฒนาบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทันสมัยและจําเป็นต่อการ
เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนขั้นพื้นฐาน
วงเงินลงทุนรวม 1,140,016 ล้านบาท
1.2.3 แผนงานเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว มุ่งฟื้นฟูภาพลักษณ์และส่งเสริมตลาดท่องเที่ยว
อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีศักยภาพ และการฟื้นฟูแหล่ง
ท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรม ให้เป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของประเทศ วงเงินลงทุนรวม 6,637
ล้านบาท
1.2.4 แผนงานพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การส่งเสริมและ
พัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการจัดงานแสดงศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมและ
พัฒนาอุตสาหกรรมช่างฝีมือ ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มสินค้าเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริม
อุตสาหกรรมออกแบบซอฟต์แวร์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมออกแบบและการศึกษาวิจัย
และพัฒนา วงเงิน 20,134 ล้านบาท
1.2.5 แผนงานยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย แผนงานยกระดับ
คุณภาพการศึกษา มีวงเงินลงทุนรวม 60,145 ล้านบาท
1.2.6 แผนงานปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุข กรอบเงินลงทุนประมาณ 9,290 ล้านบาท
1.2.7 แผนงานการลงทุนเพื่อการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนและพัฒนา
จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงินลงทุน ประมาณ 100,000 ล้านบาท
ในปี 2553 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 มีการอนุมัติงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 349,960.44
ล้านบาท เพื่อดําเนินโครงการใน 15 สาขา ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 21 มกราคม 2554
คิดเป็นร้อยละ 74.12 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
นอกจากนี้โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้รับอนุมัติ ณ วันที่ 21 มกราคม 2554
แล้ว 42,643 โครงการ วงเงิน 349,960.42 ล้านบาท จัดสรรงบประมาณแล้ว 41,815 โครงการ
วงเงิน 337,664.12 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.4 จากยอดเงินอนุมัติ ได้มีการลงนามในสัญญาแล้ว
39,040 โครงการ วงเงิน 310,980.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.8 มีการเบิกจ่ายทั้งโครงการที่เสร็จ
สมบูรณ์แล้ว 4,470 โครงการ วงเงิน42,110.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.0 ของยอดเงินอนุมัติ
และเบิกจ่ายบางส่วนสําหรับโครงการที่ยังไม่เสร็จ 37,121 โครงการเป็นเงิน 259,395.16 ล้านบาท
หรือร้อยละ 74.1 ของยอดเงินอนุมัติ
3
ตารางที่ 1 ความก้าวหน้าการเบิกจ่ายงบประมาณ15 สาขาของปี 2553 ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
ล้านบาท/ร้อยละ
สาขาที่ สาขา วงเงินที่อนุมัติ
วงเงินตาม
สัญญา
ผลการ
เบิกจ่าย
สัดส่วนของ
ของผลการ
เบิกจ่ายต่อ
วงเงินที่อนุมัติ
01 สาขาทรัพยากรน้ําและการเกษตร 59,482.77 55,430.86 43,103.69 72.46
02 สาขาขนส่ง 46,753.69 45,519.69 41,143.10 88.00
03 สาขาพลังงาน 174.30 9.45 0.00 0.00
04 สาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว 3,281.67 2,362.59 894.10 27.25
05 สาขาการศึกษา 51,981.45 43,666.65 32,042.88 61.64
06 สาขาสวัสดิภาพของประชาชน 9,160.85 9,043.44 5,207.33 56.84
07 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 181.00 180.55 178.26 98.49
08 สาขาสิ่งแวดล้อม 689.20 667.75 663.63 96.29
09 สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว 5,354.81 2,432.80 2,079.05 38.83
10 สาขาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 1,334.60 1,286.34 1,222.53 91.60
11 สาขาการลงทุนในระดับชุมชน 105,833.31 97,252.41 88,835.53 83.94
12 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 15,305.14 8,621.90 2,329.55 15.22
13 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาบุคคลากร 1,927.66 1,421.79 587.44 30.47
14 สาขาการประกันรายได้ และการดําเนินงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
40,000.00 39,512.61 39,226.27 98.06
15 เงินสํารองจ่ายตามระเบียบสํานักนายกฯ 8,500.00 3,571.95 1,881.79 22.14
รวมทั้งสิ้น 349,960.44 310,980.82 259,395.16 74.12
ที่มา : สํานักงบประมาณ
สํานักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2554
ตารางที่ 2 ความก้าวหน้าโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
รายการ อนุมัติ
จัดสรรแล้ว ลงนามในสัญญา เบิกจ่าย เสร็จสมบูรณ์
โครงการ ร้อยละ โครงการ ร้อยละ โครงการ ร้อยละ โครงการ ร้อยละ
1.จํานวนโครงการ 42,643 41,815 98.1 39,040 91.6 37,121 87.1 4,470 10.5
2.งบประมาณ (ลบ.) 349,960.44 337,664.12 96.5 310,980.82 88.9 259,395.16 74.1 42,110.41 12.0
ที่มา : ข้อมูล ณ 21 มกราคม 2554 (www.tkk2555.com)
4
1.3 ในส่วนของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้รับมอบหมายให้
ดําเนินการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลสําเร็จ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ
ดําเนินงานตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 ซึ่งสามารถสรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้
1.3.1 ความสอดคล้องกับสถานการณ์ สถานการณ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่าเศรษฐกิจไทย
ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2551 ทําให้เศรษฐกิจในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ลดลง
จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2550 ส่งผลให้กําลังการผลิตโดยรวมลดลง การว่างงาน
เพิ่มขึ้น ภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอการใช้จ่าย เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของโครงการ
ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 พบว่า โครงการที่เน้นการเพิ่มรายได้มีวงเงินทั้งสิ้น
30,970 ล้านบาท ขณะที่โครงการที่มุ่งลดรายจ่ายมีวงเงิน 31,410 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66
ของงบประมาณรวมภายใต้แผนฟื้นฟูฯ สะท้อนถึงการให้ความสําคัญกับโครงการที่
สอดคล้อง/ตอบสนองต่อสภาพปัญหาที่ประเทศกําลังเผชิญ และกลุ่มโครงการดังกล่าว
สามารถดําเนินการได้อย่างรวดเร็ว เบิกจ่ายครบถ้วนตามกรอบวงเงินภายในช่วงเวลาที่
กําหนด ทําให้สามารถคงกําลังซื้อของภาคครัวเรือนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ ถือได้ว่า
องค์ประกอบของโครงการมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
1.3.2 ผลกระทบ พบว่า แผนฟื้นฟูฯ มีส่วนในการลดการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ทําให้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปี 2552 หดตัวน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีแผนฟื้นฟูฯ ร้อยละ 0.5
พร้อมกับ สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน ประมาณ 1 แสนคน แบ่งเป็นในสาขาเกษตร
20,000 คน สาขาอุตสาหกรรม 5,500 คน บริการและท่องเที่ยว 54,000 คน และภาค
ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ 1,2000 คน รวมทั้งสิ้น 102,400 คน เกิดการสร้างงานใน
ภาคบริการ (ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง ท่องเที่ยว และบริการ) มากกว่าภาคการผลิต
(ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร) เนื่องจากมาตรการส่วนใหญ่เน้นกระตุ้นการใช้จ่าย
การท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์
1.3.3 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 มีผลต่อ การสร้างรายได้และกระตุ้นการใช้จ่าย
ของประชาชน พบว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่นําเงินที่ได้ไปใช้จ่าย ตอบสนอง
ต่อวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นการใช้จ่าย กล่าวคือ ผู้รับเช็คช่วยชาติร้อยละ 97.6 ของ
กลุ่มตัวอย่างได้ใช้จ่ายเงินหลังจากได้รับเช็ค 2,000 บาท และผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่ได้
เบี้ยยังชีพนําเงินไปใช้จ่าย ในการซื้อสินค้าอุปโภค/บริโภคร้อยละ 68.83 หรือ 344.20 บาท
ขณะที่บางส่วนนําไปฝากธนาคาร/เก็บเป็นเงินออมประมาณร้อยละ 11.50 การลดภาระ
ค่าใช้จ่ายบางส่วน ในภาพรวม โครงการดังกล่าวลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้ แต่มี
ปัญหาการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายและความไม่เพียงพอของบริการที่จัดให้ กล่าวคือ
มาตรการลดค่าครองชีพ มีปัญหาการเข้าถึงบริการสําหรับผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากข้อจํากัด
ในเรื่องพื้นที่การให้บริการในกรณีบริการรถประจําทาง รถไฟ น้ําประปา และเงื่อนไข
ของหน่วยการใช้ขั้นสูงของไฟฟ้า น้ําประปาที่ได้รับการยกเว้นค่าบริการที่ต่ํากว่าความ
ต้องการใช้ตามความจําเป็นของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการเรียนฟรี มีข้อค้นพบ
จากการศึกษาของ สศช. ว่า สถานศึกษามีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งมีการขอ
บริจาคเงินจากผู้ปกครอง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากมาตรการเรียนฟรี
5
ผู้ปกครองจึงมีค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น จากตัวอย่างร้อยละ 10 และการยกระดับมาตรฐาน
ความเป็นอยู่ของประชาชนและวางรากฐานการพัฒนาในระยะยาว การก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ํา การก่อสร้างทาง
ในหมู่บ้าน การปรับปรุงสถานีอนามัย และการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้แก่ข้าราชการ
ตํารวจชั้นประทวน สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพ
ชีวิตดีขึ้น และบางโครงการมีการดําเนินงานต่อเนื่องในช่วงของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2
ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ําธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร มีเงินลงทุน ในปี 2553
16,546.95 ล้านบาท การก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น วงเงินในปี 2553 14,596.42 ล้านบาท
และ การยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล(รพ.สต.) วงเงิน
14,973 ล้านบาท ในช่วงปี 2553-2555
1.3.4 ปัญหาอุปสรรค พบว่า หลายโครงการเป็นโครงการใหม่ ที่เริ่มดําเนินงานเป็นครั้งแรก
และหน่วยงานรับผิดชอบมีช่วงเวลาสร้างความเข้าใจและเตรียมการน้อย ทําให้
ประชาชนเกิดความสับสน ไม่ได้รับความสะดวก ประชาชนมีความเห็นว่าโครงการเพิ่ม
ศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน และโครงการสนับสนุน
การจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี ควรประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้มากขึ้น
เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบรายละเอียดความช่วยเหลือที่รัฐจัดให้และขั้นตอนการ
ดําเนินงานที่ชัดเจน และ การขาดความโปร่งใสในการดําเนินงาน ทําให้โครงการสําคัญ
ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากในระยะยาวต้องหยุดชะงัก แม้ว่าการบริหาร
จัดการโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างความโปร่งใส
และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ แต่เกิดการร้องเรียนในเรื่องความไม่โปร่งใสในการ
ดําเนินการโครงการ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนอย่างจริงจัง ทําให้
โครงการที่มีหลักการดีต้องชะลอการดําเนินงาน ปรับเปลี่ยนกลไกการบริหาร นับเป็นการ
เสียโอกาสในการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
1.3.5 ข้อเสนอแนะ ในกรณีที่รัฐบาลอาจจําเป็นต้องจัดทําแผนงาน/โครงการในลักษณะที่
คล้ายคลึงกับแผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ควรดําเนินการ แบ่งกลุ่มโครงการ และกําหนด
ช่วงเวลาดําเนินการที่ชัดเจน มีช่วงเวลาเตรียมการ การสร้างความเข้าใจ และติดตาม
ประเมินผลที่สอดคล้องกับลักษณะโครงการ เพราะโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1
ที่มีความหลากหลาย ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน
อย่างมาก ต้องการการสร้างความเข้าใจในทุกระดับ ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้มีบทบาทเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับ
ประชาชนในพื้นที่มากที่สุด โดยริเริ่มในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้มแข็งมี
ความพร้อมในด้านทรัพยากร และพัฒนาระบบข้อมูลระดับพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายเชื่อมโยง
เพื่อใช้ประโยชน์ในการกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และติดตามและประเมินผลการ
ดําเนินงาน อาทิ การกําหนดกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่จําเป็นและต้องการรับเบี้ยผู้สูงอายุที่
ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อลดภาระด้านการคลัง เพราะปัจจุบันเป็นการให้สวัสดิการทั่วไป
ขณะที่รัฐบาลมีข้อจํากัดด้านงบประมาณ และ เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินการ
ด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยประเมินผลการ
ดําเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการ
6
ดําเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเน้นการให้ความรู้ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่
สามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีรายได้น้อย เพื่อสร้างความ
ตระหนักและการนําความรู้ ความเข้าใจ ในหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่าง
ต่อเนื่อง และครอบคลุมกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง
1.4 สําหรับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งได้รับการจัดสรร
งบประมาณจํานวนมากในช่วงเวลา 3 ปี (2553-2555) และได้มีการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ
มาระยะหนึ่งแล้ว สมควรติดตามประเมินผลโครงการที่ดําเนินการเสร็จแล้ว เพื่อนําผลที่ได้มา
ปรับปรุงการดําเนินโครงการที่ยังเหลืออยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย สศช. ได้รับมอบหมายจาก
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดําเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2553 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ให้ดําเนินการติดตามประเมินผล
5 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น (2) โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก (3) โครงการ
ประกันรายได้เกษตรกร (4) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ (5) โครงการเพิ่มทุนของ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
2. กรอบการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลสําเร็จ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ
ดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จํานวน 5 โครงการ
2.1.2 เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการดําเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทย
เข้มแข็ง 2555 และประยุกต์ใช้สําหรับการดําเนินโครงการที่เหลือในช่วงปี 2554-2555
2.2 ขอบเขตการดําเนินงาน
2.2.1 จัดทํากรอบแนวคิดการติดตามประเมินผล และการดําเนินงานใน 5 โครงการ ประกอบด้วย
(1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น (2) โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก (3) โครงการประกันรายได้
เกษตรกร (4) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ (5) โครงการเพิ่มทุนสถาบัน
การเงินเฉพาะกิจของรัฐ
2.2.2 เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 ส่วน ได้แก่
(1) ศึกษารวบรวมข้อมูลการดําเนินงาน พร้อมปัญหาและอุปสรรคจากหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง
(2) สํารวจข้อมูลในภาคสนามโดยมีจํานวนตัวอย่างที่เหมาะสมตามหลักสถิติ เพื่อให้เป็น
ตัวแทนระดับภาค 4 ภาค ดังนี้
(2.1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น และโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กจัดเก็บจํานวน
ตัวอย่างแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของจํานวนโครงการที่เสร็จแล้ว
7
(2.2) โครงการประกันรายได้เกษตรกร จัดเก็บตัวอย่างโดยมีขนาดตัวอย่าง ตามหลัก
ของ Yamane1
ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 3 รวมทุกภาคไม่ต่ํากว่า
5,000 ตัวอย่าง
(2.3) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จัดเก็บตัวอย่าง โดยมีขนาดตัวอย่าง
ตามหลักของ Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 3 รวมทุกภาคไม่ต่ํา
กว่า 1,900 ตัวอย่าง
2.2.3 ประเมินผลโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่
(1) ประเมินผลผลิต ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และปัญหาอุปสรรคการดําเนินงาน
ทุกโครงการ เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
(2) ประเมินผลกระทบภาพรวมของทั้ง 5 โครงการในระดับพื้นที่ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ
และด้านสังคม
2.2.4 วิธีการติดตามประเมินผลโครงการ สศช. ได้สํารวจภาคสนามโครงการดังกล่าวใน
4 ภาค ระหว่างวันที่ 7-22 เมษายน 2553 และได้รายงานผลให้คณะกรรมการติดตามและ
ประเมินผลฯ ทราบผลเบื้องต้น เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 4/2553 วันที่ 28 เมษายน 2553
คณะกรรมการฯได้ให้ความเห็นว่าควรเพิ่มการวิเคราะห์ และให้ติดตามเฉพาะโครงการ
ในส่วนที่ใช้งบประมาณจากแผนปฏิบัติการฯ เท่านั้น ต่อมา สศช. ได้ว่าจ้างบริษัท เอ็กเซลเลนท์
บิสเนส แมเนจเม้นท์ จํากัด เป็นที่ปรึกษาโครงการติดตามประเมินผลนโยบายเร่งด่วนของ
รัฐบาล ตามสัญญาจ้างเลขที่ (จ.) 26/2553 เพื่อจัดเก็บข้อมูลภาคสนามให้มีความครอบคลุม
และมีตัวอย่างเพียงพอที่จะเป็นตัวแทนในเชิงสถิติ พร้อมกับติดตามประเมินผลโครงการ
ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จํานวน 5 โครงการดังกล่าว โดยมีระยะเวลาดําเนินโครงการ 6 เดือน
ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2554 ขณะนี้ บริษัทที่ปรึกษาได้
จัดส่งร่างรายงานขั้นสุดท้ายให้คณะกรรมการกํากับการดําเนินโครงการฯ พิจารณาแล้ว
2.3 แนวคิดและขั้นตอนการประเมินโครงการ
2.3.1 แนวคิดและวิธีการดําเนินงานทางเทคนิค (Research Methodology)
การติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จํานวน 5 โครงการ
ในครั้งนี้ แต่ละโครงการมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และ
วิธีการดําเนินการ ดังนั้นในการประเมินผลโครงการ จึงกําหนดแนวทางการประเมินผล
แยกเป็นรายโครงการ โดยใช้แนวคิดการประเมินผล ดังนี้
(1) แนวคิดแบบ Goal-based Approach โดยยึดวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ประเมินเป็น
หลักในการประเมินความสําเร็จ ดังนั้น สิ่งที่ประเมินจึงเป็นทั้งเป้าหมายของการ
ประเมิน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และผลกระทบของโครงการ ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็น
1
หลักการคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างทางสถิติที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดได้ และใช้ในกรณีที่
ประชากรมีจํานวนที่แน่นอน (Finite population)
8
เกณฑ์มาตรฐานสําหรับการตัดสินผลสําเร็จของการดําเนินงาน และได้ข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขการดําเนินโครงการในระยะต่อไป
(2) แนวคิดของ CIPP Model หรือ Context-Input-Process-Product Approach
มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผล ที่เน้นการนําผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ตั้งแต่
การวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของกระบวนการจัดทําโครงการตั้งแต่ขั้นตอนการ
กําหนดโครงการ ปัจจัยการนําเข้า กระบวนการดําเนินการ และผลผลิตของโครงการ
ดังนี้
(2.1) การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) เป็นการประเมินก่อน
การดําเนินโครงการ พิจารณาหลักการและเหตุผลความจําเป็นที่ต้องดําเนิน
โครงการ ประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ
(2.2) การประเมินปัจจัยนําเข้า (Input Evaluation : I) เป็นการประเมินเพื่อ
พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความเพียงพอ
ของทรัพยากรที่ใช้ในการดําเนินโครงการ
(2.3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) เป็นการประเมินเพื่อหา
ข้อบกพร่องของการดําเนินโครงการที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข
ปรับปรุง ให้การดําเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น
(2.4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) เป็นการประเมินเพื่อ
เปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือมาตรฐานที่
กําหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการ ยุบ เลิก ขยาย หรือ
ปรับเปลี่ยนโครงการ
2.3.2 ขั้นตอนการประเมินผล มีขั้นตอนการดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ ยึดวัตถุประสงค์ของโครงการเป็น
พื้นฐานในการประเมินผล ในกรณีที่โครงการกําหนดเป้าหมาย จะแบ่งคะแนนเป็น
5 ระดับ ตั้งแต่ 1-5 โดยใช้ระดับคะแนนจากการประมวลผลตัวชี้วัดจากผลการสํารวจ
ภาคสนามที่ระดับ 3.0 ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ผ่านการประเมิน
(2) การกําหนดข้อมูล ลักษณะ และแหล่งข้อมูลที่จะใช้ มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการ
สํารวจและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) ที่สามารถเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการรวบรวมจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
(3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ และดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่
เก็บมา แปลความหมาย และจัดทํารายงาน พร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อนําผลที่ได้ไปใช้
ประโยชน์
บทที่ 2
ผลการติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
1. ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ
1.1 ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณ
ผลการติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง 2555 ที่ใช้เงินกู้ภายใต้
พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2552 (พ.ร.ก. 2552) ซึ่งประกอบด้วย (1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น (2) โครงการแหล่งน้ํา
ขนาดเล็ก (3) โครงการประกันรายได้เกษตรกร (4) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ
(5) โครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ดําเนินการภายใต้สาขาการลงทุน 4 สาขา
คือ สาขาขนส่ง สาขาทรัพยากรน้ําและการเกษตร สาขาการประกันรายได้และการดําเนินงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง และสาขาการลงทุนในระดับชุมชน ในปีงบประมาณ 2553 ได้รับอนุมัติงบประมาณรวม
5 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 105,202.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.39 ของงบประมาณรวม
4 สาขา (357,903.08 ล้านบาท) โดยมีผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 5 โครงการ เป็นเงิน
รวมทั้งสิ้น 99,387.66 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.47 ของงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติรวม
5 โครงการ หรือร้อยละ 33 ของผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวม 4 สาขา ดังนี้
ตารางที่ 3 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2553 ของ 5 โครงการ
โครงการ
วงเงินที่อนุมัติ
(ล้านบาท)
สัดส่วนของ
วงเงินที่
อนุมัติให้
โครงการต่อ
สาขาฯ(%)
ผลการ
เบิกจ่าย
(ล้านบาท)
สัดส่วนของ
ผลการ
เบิกจ่าย
โครงการต่อ
ผลการ
เบิกจ่าย
สาขาฯ (%)
สัดส่วนของ
ผลการ
เบิกจ่าย
โครงการ/
สาขาต่อ
วงเงินที่อนุมัติ
ให้โครงการ/
สาขา(%)
1. โครงการถนนไร้ฝุ่น (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 14,596.42 - 14,470.01 - 99.13
สาขาขนส่ง (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 46,753.69 31.21 41,143.10 35.17 88.00
2. โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก (ณ วันที่ 12 ม.ค. 2554) 16,546.95 - 14,557.98 - 89.64
สาขาทรัพยากรน้ําและการเกษตร (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 59,482.77 27.82 43,103.69 33.77 72.46
3. โครงการประกันรายได้เกษตรกร (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 40,000.00 - - 98.06
สาขาการประกันรายได้ และการดําเนินงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 40,000.00 100.00 39,226.27 100.00 98.06
4. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง(ณ ก.ย. 2553) 19,559.20 - 16,633.40 -
สาขาการลงทุนในระดับชุมชน (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 105,833.31 18.48 88,835.53 18.72 83.94
5. โครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
(ณ ก.ย. 2553)
14,500 - 14,500 - 100.00
สาขาการลงทุนในระดับชุมชน (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 105,833.31 13.70 88,835.53 16.32 83.94
รวม 5 โครงการ 105,202.57 - 99,387.66 - 94.47
รวม 4 สาขาฯ 357,903.08 29.39 301,144.12 33.00 81.14
10
1.2 การใช้จ่ายงบประมาณรายโครงการ
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณและผลการดําเนินงานของ 5 โครงการ สามารถดําเนินการตามแผนงาน
ได้ตามเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ และสามารถเบิกจ่ายงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 94.47 ของวงเงินที่
ได้รับอนุมัติ ดังนี้
ตารางที่ 4 ความก้าวหน้าการดําเนินการ 5 โครงการ
ชื่อโครงการ ความก้าวหน้าการดําเนินการ
งบประมาณที่
ได้รับอนุมัติ
(ล้านบาท)
การเบิกจ่าย
งบประมาณ
ลบ. (%)
หมายเหตุ
1. โครงการ
ก่อสร้าง
ถนนไร้ฝุ่น
โครงการทั้งหมด 902 โครงการ :
- ก่อสร้างแล้วเสร็จ 900 โครงการ หรือ
ร้อยละ 99.78
- อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 โครงการ หรือ
ร้อยละ 0.22
14,596.42 14,470.01
(99.13)
ข้อมูลกรมทางหลวงชนบท
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2553
สํานักงบประมาณ
ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554
2. โครงการ
แหล่งน้ํา
ขนาดเล็ก
โครงการทั้งหมด 3,037 โครงการ :
- ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2,630 โครงการ หรือ
ร้อยละ 86.60
- อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 407 โครงการ หรือ
ร้อยละ 13.40
16,546.95 14,557.98
(89.64)
ข้อมูลจากกรมทรัพยากรน้ํา
กรมชลประทาน
ณ วันที่ 12 ม.ค. 2554
3. โครงการ
ประกัน
รายได้
เกษตรกร
ข้าว
จดทะเบียน 3.62 ล้านราย ทําสัญญา 3.27 ล้านราย
ใช้สิทธิแล้ว 3.20 ล้านราย
มันสําปะหลัง
จดทะเบียน 448,261 ราย ทําสัญญา 427,489 ราย
ใช้สิทธิแล้ว 380,398 ราย
ข้าวโพด
จดทะเบียน 400,335 ราย ทําสัญญา 392,598 ราย
ใช้สิทธิแล้ว 379,655 ราย
40,000.00 39,226.27
(98.06)
ข้อมูลกระทรวงเกษตรฯ
ณ วันที่ 16 ก.ค. 2553
ข้อมูลการเบิกจ่าย
ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554
4. โครงการ
กองทุน
หมู่บ้านและ
ชุมชนเมือง
กทบ. ได้รับการจัดสรรเงินเพิ่มทุนแล้ว 7 ครั้ง
รวม 70,091 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 88.44 ของ
กองทุนหมู่บ้านทั้งหมด 79,255 กองทุน
19,559.2 16,633.40
(85.04)
ข้อมูล สทบ. ณ ก.ย. 2553
5. โครงการเพิ่ม
ทุนสถาบัน
การเงิน
เฉพาะกิจ
ของรัฐ
กระทรวงการคลังได้จัดสรรงบประมาณ
1.45 หมื่นล้านบาท ให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5 แห่งแล้ว
14,500 14,500
(100.00)
ข้อมูลกระทรวงการคลัง
ณ ก.ย. 2553
ยอดรวม
105,202.57 99,387.66
(94.47)
หมายเหตุ : โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กได้รับจัดสรรงบประมาณจาก สงป. จํานวน 16,546.95 ล้านบาท รวม 3,057 โครงการ
ปัจจุบัน ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการลงนามในสัญญาเพื่อดําเนินโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 3,037 โครงการ
เป็นเงิน 16,239.63 ล้านบาท
11
2. การติดตามประเมินผล 5 โครงการ
2.1 โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น มุ่งปรับปรุงถนนในเขตชนบท 75 จังหวัด ระยะทางดําเนินการ
ในปีงบประมาณ 2553-2555 รวมทั้งสิ้น 7,141.8 กิโลเมตร ในปี 2553 ได้รับอนุมัติงบประมาณ
ดําเนินการ 14,596.42 ล้านบาท ในการก่อสร้างถนนระยะทางรวม 3,174.8 กิโลเมตร และ
ปี 2554-2555 ก่อสร้างอีกปีละ 1,983.5 กิโลเมตร
2.1.1 ความก้าวหน้าการดําเนินงาน ในปีงบประมาณ 2553 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ
ดําเนินการทั่วประเทศทั้งสิ้น 902 โครงการ ระยะทางก่อสร้างที่ได้มีการลงนามในสัญญา
รวม 3,174.77 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติรวมทั้งสิ้น 14,596.42 ล้านบาท
ประกอบด้วย โครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 290 โครงการ ระยะทางรวม
1,221.97 กิโลเมตร ภาคกลาง 252 โครงการ ระยะทางรวม 773.08 กิโลเมตร
ภาคเหนือ 191 โครงการ ระยะทางรวม 701.46 กิโลเมตร และภาคใต้ 169 โครงการ
ระยะทางรวม 478.26 กิโลเมตร ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 21 มกราคม 2554
เบิกจ่ายแล้ว 14,470.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.13 ของงบประมาณทั้งหมด ผลการ
ดําเนินงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ก่อสร้างทางแล้วเสร็จสมบูรณ์ 900 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 99.78 ของโครงการทั้งหมด ระยะทางที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 3,165.30
กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 99.67 ของจํานวนระยะทางที่ลงนามในสัญญา
2.1.2 ผลการประเมิน
(1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นดําเนินการตามความต้องการของประชาชน
ทําให้เกิดความพึงพอใจสูง เนื่องจากถนนเดิมเป็นลูกรัง การคมนาคมไม่สะดวก
ประชาชนที่อาศัยอยู่สองข้างทางมีปัญหาสุขภาพจากฝุ่นลูกรัง และมีการร้องเรียนให้
ภาครัฐดําเนินการก่อสร้างเป็นทางลาดยางมานานแล้ว บางแห่งมากกว่า 10 ปี แต่
ติดขัดด้านงบประมาณ เมื่อมีโครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น ประชาชนจึงให้ความ
ร่วมมือเป็นอย่างดี อาทิ ตัดต้นไม้ของตนที่กีดขวางการก่อสร้างทาง และร่วม
ตรวจสอบการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นให้เป็นไปตามขั้นตอนการก่อสร้าง โดยโครงการได้
ทําข้อตกลง 3 ฝ่าย ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท บริษัทก่อสร้างทาง และประชาชนใน
พื้นที่ โดยให้ฝ่ายประชาชนแต่งตั้งตัวแทนประมาณ 2-3 คนร่วมลงนามในข้อตกลง
เป็นการหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เช่น ปัญหาการก่อสร้างรุกล้ําที่ดิน
ทํากินของชาวบ้าน เป็นต้น
(2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางปฏิบัติเกิดขึ้นไม่เต็มที่ จากผลสํารวจฯ กลุ่ม
ตัวอย่างที่มีส่วนร่วมในโครงการฯ มีน้อยมากเพียงร้อยละ 2.3 และประชาชนยังขาด
ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ในการดูแลตรวจสอบโครงการและรายงานความ
ผิดปกติและความเสียหายของถนนที่เกิดขึ้นแก่ภาครัฐ แต่ในบางพื้นที่ ชุมชน/
ประชาชนที่มีความเข้มแข็งจะให้ความสําคัญในการตรวจสอบโครงการ กลุ่มตัวอย่าง
ที่มีส่วนร่วมในโครงการฯ ร้อยละ 70.8 มีส่วนในการร่วมแสดงความคิดเห็นใน
ขั้นตอนการเสนอแบบร่าง และบางคนมีส่วนร่วมในการสํารวจแนวถนน ตรวจสอบ
คุณภาพของงาน และตรวจรับงาน กลุ่มผู้มีส่วนร่วมนี้ เห็นว่าได้ประโยชน์จากการเข้า
12
ไปมีส่วนร่วมทําให้ได้รูปแบบถนนที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของ
ประชาชน คุณภาพของถนนที่สร้างดีขึ้น ลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้าง และ
ป้องกันการทุจริต ส่งผลให้ถนนไร้ฝุ่นมีคุณภาพและมาตรฐานสูง
(3) การดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านความสะดวก ประหยัดเวลา
ในการเดินทาง และคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนี้
(3.1) การเดินทางและขนส่งผลผลิตเกษตรสะดวกมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างมี
ความเห็นว่า ถนนปลอดฝุ่นทําให้การสัญจรของประชาชนในชนบทเป็นไป
อย่างสะดวก ปลอดภัยในทุกฤดูกาล สามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางในการ
ขนส่งสินค้าทางการเกษตร ผลิตผลจากการเกษตรไม่เปื้อนฝุ่น ลดระยะทาง
และเวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากผลสํารวจฯพบว่า ลดค่าน้ํามัน
ในการสัญจรลงได้ปีละ 4,161.73 บาท/คน คุณภาพชีวิตโดยรวมของ
ประชาชนดีขึ้น เนื่องจากถนนเรียบขึ้นและไม่มีฝุ่นละออง ประชาชนสามารถ
ลดระยะเวลาการเดินทางลงได้ปีละ 63.79 ชั่วโมง/คน ลดภาระซ่อมแซม
บํารุงรักษารถยนต์/รถจักรยานยนต์ได้ปีละ 948.81 บาท และลดความ
เสียหายของพืชผลทางการเกษตรจากการขนส่งลงได้ปีละ 650.13 บาท
(ค่าเฉลี่ยที่ได้คํานวณจากการสอบถามประชาชนในพื้นที่สํารวจฯ ตาม
แบบสอบถามที่ให้ประชาชนแจกแจงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการออกมาใน
รูปของจํานวนเงินหรือจํานวนชั่วโมงต่อคนต่อเดือน คูณ 12 เดือน และหารด้วย
จํานวนผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหมด)
(3.2) ถนนไร้ฝุ่นบางเส้นทางที่เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจใน
พื้นที่ เนื่องจากก่อให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชน และทําให้มีปริมาณเงิน
หมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มขึ้น ถนนที่ผ่านพื้นที่ท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวและ
ประชาชนเดินทางเพิ่มขึ้น และถนนบางสายมีคนสัญจรประมาณ 300-1,000 คน
จากผลสํารวจฯชาวบ้านในพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว
(3.3) ปัญหาฝุ่นละอองบริเวณถนนลูกรังเดิมลดลง ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณ
ใกล้ถนนลูกรังเดิมมีสุขภาพดีขึ้น อาการภูมิแพ้จากฝุ่นลดลง และลดปัญหา
ฝุ่นละอองจากการเดินทาง จากผลสํารวจฯประชาชนที่อาศัยอยู่ในเส้นทาง
ถนนไร้ฝุ่นร้อยละ 84.9 มีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากอาการภูมิแพ้จากฝุ่นลดลง
(4) การจ้างงานคนในชุมชนภายใต้โครงการมีค่อนข้างน้อย ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลัก
ต้องการกระตุ้นการจ้างงานในภาพรวมโดยผ่านผู้รับเหมาก่อสร้าง ผลสํารวจฯมีกลุ่ม
ตัวอย่างเพียงร้อยละ 1.3 ที่รับจ้างทํางานให้กับโครงการฯ ลักษณะงานที่ทําเป็นการ
รังวัดถนน การเก็บเศษวัสดุ เช่น เศษไม้ เศษหินบนทางก่อสร้าง และจํานวนวัน
ทํางาน 22 วัน/โครงการ อัตราค่าแรงวันละ 244 บาท/คน และจากการสัมภาษณ์
ผู้รับเหมาก่อสร้างและเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบท พบว่าการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น
แต่ละโครงการมีการจ้างแรงงานในพื้นที่ประมาณโครงการละ 20 คน ขณะเดียวกัน
ผู้รับเหมาก่อสร้างมีแรงงานทักษะเฉพาะเป็นผู้ดําเนินการ และได้นําเครื่องจักรกล
หนักเข้ามาดําเนินการก่อสร้าง เช่น รถแมคโคร รถบดถนน และรถตีเส้นถนน เป็นต้น
13
(5) ถนนไร้ฝุ่นบางสายมีปัญหาความปลอดภัยและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.2 มีทัศนคติต่อคุณภาพของถนนไร้ฝุ่นว่าน่าจะได้มาตรฐาน มี
เพียงส่วนน้อย ร้อยละ 24.3 ที่เห็นว่าน่าจะต่ํากว่ามาตรฐาน เช่น ถนนเริ่มมีหลุมบ่อ
ขอบทางสูง ถนนยุบตัวช่วงที่มีท่อระบายน้ํา การลาดยางบางเกินไป ไหล่ทางไม่มีร่องน้ํา
ไม่มีป้ายสัญญาณเตือนอันตรายในเขตชุมชน/โรงเรียน เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าการ
ก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นส่วนใหญ่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน โดยมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่
ไม่ได้ตามมาตรฐาน เนื่องจากอาจมีปัญหาด้านข้อจํากัดของแนวถนนหรือผู้รับเหมาเร่ง
รีบดําเนินการก่อสร้างมากเกินไป
(6) ถนนที่ก่อสร้างผ่านชุมชนมีหลายหน่วยงานดําเนินการและงบประมาณของแต่ละ
หน่วยงานได้รับการจัดสรรในระดับพื้นที่ไม่พร้อมกัน ส่งผลประชาชนไม่สามารถ
ใช้ประโยชน์ของโครงข่ายถนนได้เต็มที่ ถนนที่แต่ละหน่วยงานดําเนินการในพื้นที่
เป็นไปไม่พร้อมกัน มีลักษณะต่างคนต่างทํา ทําให้ถนนบางสายไม่เชื่อมต่อกันตลอด
เส้นทาง เช่น กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนเชื่อมโครงข่ายภายในจังหวัดยกเว้นถนน
ในชุมชนที่ อบต. มีหน้าที่ดําเนินการ ขณะเดียวกัน อบจ. ก็มีหน้าที่สร้างถนนใน
จังหวัดเช่นกัน เกิดปัญหาการเดินทางไม่สะดวกในช่วงการก่อสร้างของแต่ละ
หน่วยงานบางกรณีเมื่อถนนช่วงใดสร้างเสร็จแล้ว และมีหน่วยงานอื่นมาก่อสร้าง
ต่อเชื่อมก็เกิดความเสียหายกับถนนช่วงที่เพิ่งดําเนินการแล้วเสร็จ
2.1.3 ปัญหาและอุปสรรค
(1) การรื้อย้ายสาธารณูปโภคในเส้นทางก่อสร้างและการล้ําที่ดินของประชาชน ส่งผล
ให้การก่อสร้างถนนล่าช้า และผิวการจราจรของถนนส่วนมากแคบและขยายไม่ได้
เนื่องจากเป็นพื้นที่ทําการเกษตร ประชาชนจึงไม่ยอมบริจาคที่ดินให้รัฐ ทําให้การ
ก่อสร้างบางช่วงแคบและมีความคดเคี้ยว เป็นอันตรายในการสัญจร นอกจากนี้
ถนนบางสายเกิดการชํารุดทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วหลังจากก่อสร้างเสร็จไม่นาน
อีกทั้งถนนส่วนใหญ่ไม่มีป้ายบอกพิกัดน้ําหนักบรรทุกไว้ให้ผู้ใช้ถนนทราบ
(2) การขาดแคลนวัสดุก่อสร้างในบางช่วงเวลา ทําให้ผู้รับเหมาดําเนินงานล่าช้ากว่า
แผนงานเนื่องจากโครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นดําเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ และ
ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างมีสูง ขณะที่การจําหน่ายในบางพื้นที่ต้องใช้เวลาในการ
ขนส่ง
(3) ประชาชนในบางพื้นที่ยังมีส่วนร่วมในโครงการน้อย เนื่องจากบางพื้นที่เจ้าหน้าที่
ขาดการประชาสัมพันธ์ทําความเข้าใจกับชาวบ้านก่อนเริ่มโครงการ
2.1.4 สรุปและข้อเสนอแนะ
(1) ถนนไร้ฝุ่นควรดําเนินการปรับปรุงให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานทางหลวง พร้อมทั้ง
ติดตั้งอุปกรณ์และป้ายสัญญาณเตือนต่างๆ ได้แก่ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างช่วงทางโค้ง
ทําท่อระบายน้ําให้ได้มาตรฐาน ปรับปรุงช่วงรอยต่อของถนนเก่ากับถนนใหม่ไม่ให้สูง
ชันมาก เพิ่มความกว้างของไหล่ทาง ลาดยางให้ตลอดเส้นทางที่เป็นถนนลูกรัง
14
รวมทั้งติดตั้งป้ายเตือนต่างๆ เช่น ป้ายบอกทางโค้ง ป้ายบอกทางร่วม ป้ายบอกทางแยก
ป้ายเตือนอันตรายต่างๆ เป็นต้น
(2) หน่วยงานในพื้นที่ควรมีการหารือร่วมกันในการกําหนดแผนการดําเนินงานที่
เชื่อมโยงและบูรณาการการทํางานร่วมกัน ให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนอย่างมี
ประสิทธิภาพ และร่วมกันดูแล บํารุงรักษาถนนให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย โดย
เชื่อมโยงโครงการที่จะดําเนินการในพื้นที่กับแผนชุมชน
(3) ผู้แทนประชาชนในการจัดทําข้อตกลงร่วม 3 ฝ่าย ควรมาจากกลไกหลักที่มีอยู่ใน
หมู่บ้าน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อจะได้นําข้อมูล ข่าวสารไปเผยแพร่และสร้าง
ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนได้ถูกต้องและทั่วถึง ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการดําเนินโครงการ และร่วมกันดูแลรักษาถนนที่ดําเนินการ
แล้วเสร็จให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ต่อเนื่อง
2.2 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก ในปีงบประมาณ 2553 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กได้รับอนุมัติรวม
3,057 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 16,546.95 ล้านบาท แบ่งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา ของ
กรมทรัพยากรน้ํา จํานวน 2,394 โครงการ ในวงเงิน 5,881.72 ล้านบาท และการชลประทานขนาดเล็ก
ของกรมชลประทาน จํานวน 663 โครงการ ในวงเงิน 10,655.23 ล้านบาท
2.2.1 ความก้าวหน้าการดําเนินงาน การดําเนินงานโดยรวมของโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กแล้วเสร็จ
และมีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วกว่าร้อยละ 86 ของจํานวนโครงการและวงเงิน
งบประมาณที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว ประกอบด้วย โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา และ
โครงการชลประทานขนาดเล็กได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2553 รวม 3,057 โครงการ
วงเงินงบประมาณ 16,546.95 ล้านบาท การดําเนินงานโดยรวมของกรมทรัพยากรน้ําและ
กรมชลประทาน ปรากฏว่า มีการลงนามในสัญญารวม 3,037 โครงการ เป็นเงิน 16,239.63
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.35 และร้อยละ 98.14 ของจํานวนโครงการและงบประมาณที่
ได้รับการจัดสรร ตามลําดับ และมีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงิน 14,557.98 ล้านบาท
หรือร้อยละ 89.64 มีโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 2,630 โครงการ คิดเป็นร้อยละ
86.60 ของโครงการที่มีการลงนามในสัญญาไปแล้ว และอยู่ระหว่างดําเนินการ 407 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 13.40 คาดว่าจะแล้วเสร็จทุกโครงการภายในเดือนกันยายน 2554 ผลการ
ดําเนินการแยกตามหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ดังนี้
(1) ผลการดําเนินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา ของกรมทรัพยากรน้ํา โครงการที่ได้รับ
จัดสรรงบประมาณทั้งหมด 2,394 โครงการ วงเงิน 5,881.72 ล้านบาท ลงนามในสัญญา
ไปแล้วทั้งสิ้น 2,374 โครงการ วงเงิน 5,584.40 ล้านบาท ณ วันที่ 12 มกราคม 2554
มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงิน 4,587.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.15
มีโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 2,001 โครงการ หรือร้อยละ 84.29 และยังมี
โครงการที่อยู่ระหว่างดําเนินการอีก 373 โครงการ หรือร้อยละ 15.71 คาดว่าจะแล้วเสร็จ
ทุกโครงการในเดือนมีนาคม 2554
(2) ผลการดําเนินโครงการชลประทานขนาดเล็ก ของกรมชลประทาน โครงการที่ได้รับ
จัดสรรงบประมาณทั้งหมด 663 โครงการ วงเงิน 10,655.23 ล้านบาท ลงนามในสัญญา
15
ครบทุกโครงการตามกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการ
เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงิน 9,970.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.57 มีโครงการที่
ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 629 โครงการ หรือร้อยละ 94.87 และยังมีโครงการที่อยู่
ระหว่างดําเนินการอีก 34 โครงการ หรือร้อยละ 5.13 คาดว่าจะมีโครงการที่แล้วเสร็จ
ต่อเนื่องทุกเดือน และมี 2 โครงการสุดท้ายที่จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2554
2.2.2 ผลการประเมิน
(1) การดําเนินโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการกระตุ้น
เศรษฐกิจในด้านการเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น แต่สามารถกระจายการลงทุนด้าน
บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในการพัฒนาแหล่งน้ําธรรมชาติและจัดหาแหล่งน้ําให้
ประชาชนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการขนาดเล็กจึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตทาง
การเกษตรต่อไร่ เพิ่มคุณภาพทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้
เช่นเดียวกับโครงการขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ และการจ้างงานคนในชุมชนมีน้อย
จากการเป็นโครงการจ้างงานที่ผู้รับเหมาใช้เครื่องจักรและลูกจ้างของตนที่มีอยู่แล้ว
ในการขุดลอกคูคลอง ขุดบ่อ/สระน้ํา แต่โครงการส่วนใหญ่สามารถกระจายการลงทุน
ด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในการพัฒนาและจัดหาแหล่งน้ําให้ประชาชนในพื้นที่
ชนบทห่างไกลซึ่งมีปัญหาขาดแคลนน้ําในทุกภาคทั่วประเทศ จึงส่งผลให้ประชาชนมี
น้ําใช้เพื่อทําการเกษตรเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค
เพิ่มขึ้น
(2) การบริหารจัดการโครงการยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะในการ
กํากับ ดูแล และบํารุงรักษา
(2.1) การดําเนินโครงการโดยทั่วไปพบว่าประชาชนยังมีส่วนร่วมน้อยในกระบวนการ
กํากับดูแล ตรวจสอบ และร่วมกันบํารุงรักษา ในการดําเนินโครงการมี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.5 ที่ไม่มีส่วนร่วมในโครงการ โดยเฉพาะภาคใต้ไม่พบ
ตัวอย่างที่มีส่วนร่วมเลย ในกลุ่มที่มีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็นในขั้นตอน
การเสนอโครงการ ร้อยละ 95.7 และเห็นว่าการที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วน
ร่วมในโครงการของภาครัฐ ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน เช่น รูปแบบของ
โครงการจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน
คุณภาพของงานดี ลดผลกระทบจากการทําโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก และ
ป้องกันการทุจริตได้ เป็นต้น ส่วนในขั้นตอนอื่น ทั้งการจัดซื้อจัดจ้างผู้รับเหมา
การตรวจสอบคุณภาพงาน และการตรวจรับงาน ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วม โครงการส่วนใหญ่อยู่ในแผนการลงทุนพัฒนาและบริหาร
จัดการน้ําและการชลประทาน ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวไว้แล้ว
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551 และวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 รวมกับโครงการ
ตามความต้องการของท้องถิ่น เป็นโครงการที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การ
อนุมัติโครงการของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 สาขาการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ําและการเกษตร ที่เป็นโครงการใหม่มีความพร้อมและสามารถ
ดําเนินการได้ทันทีที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554

Mais conteúdo relacionado

Mais de Sarod Paichayonrittha

Mdi compressed air car -new production concept 2010
Mdi compressed air car  -new production concept 2010Mdi compressed air car  -new production concept 2010
Mdi compressed air car -new production concept 2010
Sarod Paichayonrittha
 

Mais de Sarod Paichayonrittha (20)

สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุสูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
 
อานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรอานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตร
 
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
 
The new scada jun2014
The new scada jun2014 The new scada jun2014
The new scada jun2014
 
Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013
 
Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
 
Oil and gas thailand 2011 v f
Oil and gas thailand 2011 v fOil and gas thailand 2011 v f
Oil and gas thailand 2011 v f
 
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
 
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
 
ABB DC Circuit Breakers Catalog
ABB DC Circuit Breakers CatalogABB DC Circuit Breakers Catalog
ABB DC Circuit Breakers Catalog
 
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
 
หลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นหลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็น
 
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
 
China bullet train population 2013
China bullet train population 2013China bullet train population 2013
China bullet train population 2013
 
Mdi compressed air car -new production concept 2010
Mdi compressed air car  -new production concept 2010Mdi compressed air car  -new production concept 2010
Mdi compressed air car -new production concept 2010
 
Art the basis of education devi prasad 1997
Art  the basis of education devi prasad 1997Art  the basis of education devi prasad 1997
Art the basis of education devi prasad 1997
 
Siemens Annual Report 2012
Siemens Annual Report 2012Siemens Annual Report 2012
Siemens Annual Report 2012
 
Xiyaburi dam project poyry july_2012_v_03
Xiyaburi dam project poyry july_2012_v_03Xiyaburi dam project poyry july_2012_v_03
Xiyaburi dam project poyry july_2012_v_03
 
Building HMI with VB Tutorial [1998]
Building HMI with VB Tutorial [1998]Building HMI with VB Tutorial [1998]
Building HMI with VB Tutorial [1998]
 

รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554

  • 1. รายงานการติดตามและประเมินผล สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ สํานักประเมินผลและเผยแพรการพัฒนา มีนาคม 2554 โครงการกอสรางถนนไรฝุน โครงการแหลงน้ําขนาดเล็ก โครงการประกันรายไดเกษตรกร โครงการกองทุนหมูบานและชุมชนเมือง โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
  • 2. สสส าาา รรร บับับั ญญญ หน้าหน้า รายงานการรายงานการติดตามติดตามและและประเมินผลโครงการประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 บทที่ 1บทที่ 1 :: การติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 1.1. ความเป็นมาความเป็นมา 1 2.2. กรอบการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555กรอบการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 6 2.1 วัตถุประสงค์ 6 2.2 ขอบเขตการดําเนินงาน 6 2.3 แนวคิดและขั้นตอนการดําเนินโครงการ 7 บทที่ 2บทที่ 2 :: ผลการติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 1.1. ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ 9 1.1 ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณ 9 1.2 การใช้จ่ายงบประมาณรายโครงการ 10 2.2. การติดตามประเมินผล 5 โครงการการติดตามประเมินผล 5 โครงการ 11 2.1 โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น 11 2.2 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก 14 2.3 โครงการประกันรายได้เกษตรกร 18 2.4 โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 22 2.5 โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 25 บทที่ 3บทที่ 3 :: บทสรุปสังเคราะห์และเสนอแนะ 1.1. สรุปผลสรุปผลการประเมินการประเมิน 55 โครงการในภาพรวมโครงการในภาพรวม 311 2.2. สรุปสรุปปัญหาปัญหาและและอุปสรรคอุปสรรคในภาพรวมในภาพรวม 3232 3.3. ข้อเสนอแนะข้อเสนอแนะ 3333 ภาคผนวกภาคผนวก ภาคผนวก 1ภาคผนวก 1 :: รายงานการติดตามประเมินผลการดําเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจรายงานการติดตามประเมินผลการดําเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2552)(พ.ศ. 2552) ภาคผนวก 2ภาคผนวก 2 :: การติดตามประเมินผล 5การติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555ต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 1. โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น 2. โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก 3. โครงการประกันรายได้เกษตรกร 4. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 5. โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ---------------------------------------------
  • 3. บทที่ 1 การติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 1. ความเป็นมา 1.1 วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกในปลายปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อย่างรุนแรงทําให้การผลิต การส่งออก และการใช้จ่ายของภาคเอกชนหดตัว รัฐบาลจึงได้จัดทํา แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 1 (พ.ศ. 2552) เพื่อเร่งสร้างรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งช่วยเหลือเกษตรกร ชุมชน ผู้ว่างงาน และผู้ประกอบการทั้งในด้านการท่องเที่ยว และนักลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน การจ้างงานและโอกาสทาง เศรษฐกิจในสาขาต่อเนื่องอื่นๆ และเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติอย่างยั่งยืน รัฐบาลจําเป็นต้องมีนโยบายระยะกลางและระยะยาวเพิ่มเติม จึงจัดทําแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ดําเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 ที่มุ่งเสริมสร้างรากฐาน ทางเศรษฐกิจให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างความมั่นคง ทางด้านอาหารและพลังงาน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ของประเทศ (2) ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทันสมัยและ จําเป็นต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน (3) เร่งรัดและ สร้างศักยภาพในการหารายได้จากการท่องเที่ยว (4) สร้างฐานรายได้ใหม่ที่ทันสมัยของประเทศจาก เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (5) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย (6) ปฏิรูป คุณภาพระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสูงสําหรับคนไทย และ (7) สร้างอาชีพและรายได้เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับชุมชน 1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 รับทราบแผนการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง ปี 2553-2555 วงเงินลงทุนรวม 1.567 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 522,289 ล้านบาท มีแหล่งเงินจากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ แหล่งเงินกู้ภายในและ ต่างประเทศ และการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน ประกอบด้วย 7 แผนงานหลัก ดังนี้ 1.2.1 แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการกระจายน้ํา พัฒนาแหล่งน้ําขนาดเล็ก เพื่อการเกษตร น้ําเพื่ออุตสาหกรรม และประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร ประกอบด้วย งานก่อสร้างและปรับปรุงระบบชลประทานทั่วประเทศ และงานก่อสร้าง ฝายแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็กเพื่อให้เป็นแหล่งดูดซับน้ํา การลงทุนด้านแหล่งน้ําในเขต อุตสาหกรรมภาคตะวันออก และการพัฒนาภาคเกษตรในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เน้นการพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช ทั้งพืชอาหารและพืชพลังงาน การพัฒนาพันธุ์สัตว์ การ ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพันธุ์ดี และการพัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีการผลิตใน ปี 2553-2555 เป็นเงินลงทุน 230,645 ล้านบาท
  • 4. 2 1.2.2 แผนงานปรับปรุงและพัฒนาบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทันสมัยและจําเป็นต่อการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนขั้นพื้นฐาน วงเงินลงทุนรวม 1,140,016 ล้านบาท 1.2.3 แผนงานเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว มุ่งฟื้นฟูภาพลักษณ์และส่งเสริมตลาดท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีศักยภาพ และการฟื้นฟูแหล่ง ท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรม ให้เป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของประเทศ วงเงินลงทุนรวม 6,637 ล้านบาท 1.2.4 แผนงานพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การส่งเสริมและ พัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการจัดงานแสดงศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมและ พัฒนาอุตสาหกรรมช่างฝีมือ ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มสินค้าเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริม อุตสาหกรรมออกแบบซอฟต์แวร์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมออกแบบและการศึกษาวิจัย และพัฒนา วงเงิน 20,134 ล้านบาท 1.2.5 แผนงานยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย แผนงานยกระดับ คุณภาพการศึกษา มีวงเงินลงทุนรวม 60,145 ล้านบาท 1.2.6 แผนงานปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุข กรอบเงินลงทุนประมาณ 9,290 ล้านบาท 1.2.7 แผนงานการลงทุนเพื่อการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนและพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงินลงทุน ประมาณ 100,000 ล้านบาท ในปี 2553 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 มีการอนุมัติงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 349,960.44 ล้านบาท เพื่อดําเนินโครงการใน 15 สาขา ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 21 มกราคม 2554 คิดเป็นร้อยละ 74.12 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ นอกจากนี้โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้รับอนุมัติ ณ วันที่ 21 มกราคม 2554 แล้ว 42,643 โครงการ วงเงิน 349,960.42 ล้านบาท จัดสรรงบประมาณแล้ว 41,815 โครงการ วงเงิน 337,664.12 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.4 จากยอดเงินอนุมัติ ได้มีการลงนามในสัญญาแล้ว 39,040 โครงการ วงเงิน 310,980.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.8 มีการเบิกจ่ายทั้งโครงการที่เสร็จ สมบูรณ์แล้ว 4,470 โครงการ วงเงิน42,110.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.0 ของยอดเงินอนุมัติ และเบิกจ่ายบางส่วนสําหรับโครงการที่ยังไม่เสร็จ 37,121 โครงการเป็นเงิน 259,395.16 ล้านบาท หรือร้อยละ 74.1 ของยอดเงินอนุมัติ
  • 5. 3 ตารางที่ 1 ความก้าวหน้าการเบิกจ่ายงบประมาณ15 สาขาของปี 2553 ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ล้านบาท/ร้อยละ สาขาที่ สาขา วงเงินที่อนุมัติ วงเงินตาม สัญญา ผลการ เบิกจ่าย สัดส่วนของ ของผลการ เบิกจ่ายต่อ วงเงินที่อนุมัติ 01 สาขาทรัพยากรน้ําและการเกษตร 59,482.77 55,430.86 43,103.69 72.46 02 สาขาขนส่ง 46,753.69 45,519.69 41,143.10 88.00 03 สาขาพลังงาน 174.30 9.45 0.00 0.00 04 สาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว 3,281.67 2,362.59 894.10 27.25 05 สาขาการศึกษา 51,981.45 43,666.65 32,042.88 61.64 06 สาขาสวัสดิภาพของประชาชน 9,160.85 9,043.44 5,207.33 56.84 07 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 181.00 180.55 178.26 98.49 08 สาขาสิ่งแวดล้อม 689.20 667.75 663.63 96.29 09 สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว 5,354.81 2,432.80 2,079.05 38.83 10 สาขาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 1,334.60 1,286.34 1,222.53 91.60 11 สาขาการลงทุนในระดับชุมชน 105,833.31 97,252.41 88,835.53 83.94 12 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 15,305.14 8,621.90 2,329.55 15.22 13 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาบุคคลากร 1,927.66 1,421.79 587.44 30.47 14 สาขาการประกันรายได้ และการดําเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 40,000.00 39,512.61 39,226.27 98.06 15 เงินสํารองจ่ายตามระเบียบสํานักนายกฯ 8,500.00 3,571.95 1,881.79 22.14 รวมทั้งสิ้น 349,960.44 310,980.82 259,395.16 74.12 ที่มา : สํานักงบประมาณ สํานักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2554 ตารางที่ 2 ความก้าวหน้าโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 รายการ อนุมัติ จัดสรรแล้ว ลงนามในสัญญา เบิกจ่าย เสร็จสมบูรณ์ โครงการ ร้อยละ โครงการ ร้อยละ โครงการ ร้อยละ โครงการ ร้อยละ 1.จํานวนโครงการ 42,643 41,815 98.1 39,040 91.6 37,121 87.1 4,470 10.5 2.งบประมาณ (ลบ.) 349,960.44 337,664.12 96.5 310,980.82 88.9 259,395.16 74.1 42,110.41 12.0 ที่มา : ข้อมูล ณ 21 มกราคม 2554 (www.tkk2555.com)
  • 6. 4 1.3 ในส่วนของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้รับมอบหมายให้ ดําเนินการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลสําเร็จ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ ดําเนินงานตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 ซึ่งสามารถสรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ 1.3.1 ความสอดคล้องกับสถานการณ์ สถานการณ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่าเศรษฐกิจไทย ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2551 ทําให้เศรษฐกิจในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ลดลง จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2550 ส่งผลให้กําลังการผลิตโดยรวมลดลง การว่างงาน เพิ่มขึ้น ภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอการใช้จ่าย เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของโครงการ ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 พบว่า โครงการที่เน้นการเพิ่มรายได้มีวงเงินทั้งสิ้น 30,970 ล้านบาท ขณะที่โครงการที่มุ่งลดรายจ่ายมีวงเงิน 31,410 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66 ของงบประมาณรวมภายใต้แผนฟื้นฟูฯ สะท้อนถึงการให้ความสําคัญกับโครงการที่ สอดคล้อง/ตอบสนองต่อสภาพปัญหาที่ประเทศกําลังเผชิญ และกลุ่มโครงการดังกล่าว สามารถดําเนินการได้อย่างรวดเร็ว เบิกจ่ายครบถ้วนตามกรอบวงเงินภายในช่วงเวลาที่ กําหนด ทําให้สามารถคงกําลังซื้อของภาคครัวเรือนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ ถือได้ว่า องค์ประกอบของโครงการมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 1.3.2 ผลกระทบ พบว่า แผนฟื้นฟูฯ มีส่วนในการลดการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ทําให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปี 2552 หดตัวน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีแผนฟื้นฟูฯ ร้อยละ 0.5 พร้อมกับ สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน ประมาณ 1 แสนคน แบ่งเป็นในสาขาเกษตร 20,000 คน สาขาอุตสาหกรรม 5,500 คน บริการและท่องเที่ยว 54,000 คน และภาค ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ 1,2000 คน รวมทั้งสิ้น 102,400 คน เกิดการสร้างงานใน ภาคบริการ (ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง ท่องเที่ยว และบริการ) มากกว่าภาคการผลิต (ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร) เนื่องจากมาตรการส่วนใหญ่เน้นกระตุ้นการใช้จ่าย การท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ 1.3.3 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 มีผลต่อ การสร้างรายได้และกระตุ้นการใช้จ่าย ของประชาชน พบว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่นําเงินที่ได้ไปใช้จ่าย ตอบสนอง ต่อวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นการใช้จ่าย กล่าวคือ ผู้รับเช็คช่วยชาติร้อยละ 97.6 ของ กลุ่มตัวอย่างได้ใช้จ่ายเงินหลังจากได้รับเช็ค 2,000 บาท และผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่ได้ เบี้ยยังชีพนําเงินไปใช้จ่าย ในการซื้อสินค้าอุปโภค/บริโภคร้อยละ 68.83 หรือ 344.20 บาท ขณะที่บางส่วนนําไปฝากธนาคาร/เก็บเป็นเงินออมประมาณร้อยละ 11.50 การลดภาระ ค่าใช้จ่ายบางส่วน ในภาพรวม โครงการดังกล่าวลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้ แต่มี ปัญหาการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายและความไม่เพียงพอของบริการที่จัดให้ กล่าวคือ มาตรการลดค่าครองชีพ มีปัญหาการเข้าถึงบริการสําหรับผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากข้อจํากัด ในเรื่องพื้นที่การให้บริการในกรณีบริการรถประจําทาง รถไฟ น้ําประปา และเงื่อนไข ของหน่วยการใช้ขั้นสูงของไฟฟ้า น้ําประปาที่ได้รับการยกเว้นค่าบริการที่ต่ํากว่าความ ต้องการใช้ตามความจําเป็นของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการเรียนฟรี มีข้อค้นพบ จากการศึกษาของ สศช. ว่า สถานศึกษามีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งมีการขอ บริจาคเงินจากผู้ปกครอง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากมาตรการเรียนฟรี
  • 7. 5 ผู้ปกครองจึงมีค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น จากตัวอย่างร้อยละ 10 และการยกระดับมาตรฐาน ความเป็นอยู่ของประชาชนและวางรากฐานการพัฒนาในระยะยาว การก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ํา การก่อสร้างทาง ในหมู่บ้าน การปรับปรุงสถานีอนามัย และการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้แก่ข้าราชการ ตํารวจชั้นประทวน สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพ ชีวิตดีขึ้น และบางโครงการมีการดําเนินงานต่อเนื่องในช่วงของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ําธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร มีเงินลงทุน ในปี 2553 16,546.95 ล้านบาท การก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น วงเงินในปี 2553 14,596.42 ล้านบาท และ การยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล(รพ.สต.) วงเงิน 14,973 ล้านบาท ในช่วงปี 2553-2555 1.3.4 ปัญหาอุปสรรค พบว่า หลายโครงการเป็นโครงการใหม่ ที่เริ่มดําเนินงานเป็นครั้งแรก และหน่วยงานรับผิดชอบมีช่วงเวลาสร้างความเข้าใจและเตรียมการน้อย ทําให้ ประชาชนเกิดความสับสน ไม่ได้รับความสะดวก ประชาชนมีความเห็นว่าโครงการเพิ่ม ศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน และโครงการสนับสนุน การจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี ควรประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้มากขึ้น เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบรายละเอียดความช่วยเหลือที่รัฐจัดให้และขั้นตอนการ ดําเนินงานที่ชัดเจน และ การขาดความโปร่งใสในการดําเนินงาน ทําให้โครงการสําคัญ ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากในระยะยาวต้องหยุดชะงัก แม้ว่าการบริหาร จัดการโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างความโปร่งใส และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ แต่เกิดการร้องเรียนในเรื่องความไม่โปร่งใสในการ ดําเนินการโครงการ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนอย่างจริงจัง ทําให้ โครงการที่มีหลักการดีต้องชะลอการดําเนินงาน ปรับเปลี่ยนกลไกการบริหาร นับเป็นการ เสียโอกาสในการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง 1.3.5 ข้อเสนอแนะ ในกรณีที่รัฐบาลอาจจําเป็นต้องจัดทําแผนงาน/โครงการในลักษณะที่ คล้ายคลึงกับแผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ควรดําเนินการ แบ่งกลุ่มโครงการ และกําหนด ช่วงเวลาดําเนินการที่ชัดเจน มีช่วงเวลาเตรียมการ การสร้างความเข้าใจ และติดตาม ประเมินผลที่สอดคล้องกับลักษณะโครงการ เพราะโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ระยะที่ 1 ที่มีความหลากหลาย ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน อย่างมาก ต้องการการสร้างความเข้าใจในทุกระดับ ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีบทบาทเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับ ประชาชนในพื้นที่มากที่สุด โดยริเริ่มในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้มแข็งมี ความพร้อมในด้านทรัพยากร และพัฒนาระบบข้อมูลระดับพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายเชื่อมโยง เพื่อใช้ประโยชน์ในการกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และติดตามและประเมินผลการ ดําเนินงาน อาทิ การกําหนดกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่จําเป็นและต้องการรับเบี้ยผู้สูงอายุที่ ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อลดภาระด้านการคลัง เพราะปัจจุบันเป็นการให้สวัสดิการทั่วไป ขณะที่รัฐบาลมีข้อจํากัดด้านงบประมาณ และ เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินการ ด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยประเมินผลการ ดําเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการ
  • 8. 6 ดําเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเน้นการให้ความรู้ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่ สามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีรายได้น้อย เพื่อสร้างความ ตระหนักและการนําความรู้ ความเข้าใจ ในหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่าง ต่อเนื่อง และครอบคลุมกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง 1.4 สําหรับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งได้รับการจัดสรร งบประมาณจํานวนมากในช่วงเวลา 3 ปี (2553-2555) และได้มีการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ มาระยะหนึ่งแล้ว สมควรติดตามประเมินผลโครงการที่ดําเนินการเสร็จแล้ว เพื่อนําผลที่ได้มา ปรับปรุงการดําเนินโครงการที่ยังเหลืออยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย สศช. ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดําเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2553 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ให้ดําเนินการติดตามประเมินผล 5 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น (2) โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก (3) โครงการ ประกันรายได้เกษตรกร (4) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ (5) โครงการเพิ่มทุนของ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 2. กรอบการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 2.1 วัตถุประสงค์ 2.1.1 เพื่อติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลสําเร็จ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ ดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จํานวน 5 โครงการ 2.1.2 เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการดําเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555 และประยุกต์ใช้สําหรับการดําเนินโครงการที่เหลือในช่วงปี 2554-2555 2.2 ขอบเขตการดําเนินงาน 2.2.1 จัดทํากรอบแนวคิดการติดตามประเมินผล และการดําเนินงานใน 5 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น (2) โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก (3) โครงการประกันรายได้ เกษตรกร (4) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ (5) โครงการเพิ่มทุนสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐ 2.2.2 เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 ส่วน ได้แก่ (1) ศึกษารวบรวมข้อมูลการดําเนินงาน พร้อมปัญหาและอุปสรรคจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง (2) สํารวจข้อมูลในภาคสนามโดยมีจํานวนตัวอย่างที่เหมาะสมตามหลักสถิติ เพื่อให้เป็น ตัวแทนระดับภาค 4 ภาค ดังนี้ (2.1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น และโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กจัดเก็บจํานวน ตัวอย่างแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของจํานวนโครงการที่เสร็จแล้ว
  • 9. 7 (2.2) โครงการประกันรายได้เกษตรกร จัดเก็บตัวอย่างโดยมีขนาดตัวอย่าง ตามหลัก ของ Yamane1 ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 3 รวมทุกภาคไม่ต่ํากว่า 5,000 ตัวอย่าง (2.3) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จัดเก็บตัวอย่าง โดยมีขนาดตัวอย่าง ตามหลักของ Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 3 รวมทุกภาคไม่ต่ํา กว่า 1,900 ตัวอย่าง 2.2.3 ประเมินผลโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่ (1) ประเมินผลผลิต ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และปัญหาอุปสรรคการดําเนินงาน ทุกโครงการ เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) ประเมินผลกระทบภาพรวมของทั้ง 5 โครงการในระดับพื้นที่ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม 2.2.4 วิธีการติดตามประเมินผลโครงการ สศช. ได้สํารวจภาคสนามโครงการดังกล่าวใน 4 ภาค ระหว่างวันที่ 7-22 เมษายน 2553 และได้รายงานผลให้คณะกรรมการติดตามและ ประเมินผลฯ ทราบผลเบื้องต้น เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 4/2553 วันที่ 28 เมษายน 2553 คณะกรรมการฯได้ให้ความเห็นว่าควรเพิ่มการวิเคราะห์ และให้ติดตามเฉพาะโครงการ ในส่วนที่ใช้งบประมาณจากแผนปฏิบัติการฯ เท่านั้น ต่อมา สศช. ได้ว่าจ้างบริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จํากัด เป็นที่ปรึกษาโครงการติดตามประเมินผลนโยบายเร่งด่วนของ รัฐบาล ตามสัญญาจ้างเลขที่ (จ.) 26/2553 เพื่อจัดเก็บข้อมูลภาคสนามให้มีความครอบคลุม และมีตัวอย่างเพียงพอที่จะเป็นตัวแทนในเชิงสถิติ พร้อมกับติดตามประเมินผลโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จํานวน 5 โครงการดังกล่าว โดยมีระยะเวลาดําเนินโครงการ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2554 ขณะนี้ บริษัทที่ปรึกษาได้ จัดส่งร่างรายงานขั้นสุดท้ายให้คณะกรรมการกํากับการดําเนินโครงการฯ พิจารณาแล้ว 2.3 แนวคิดและขั้นตอนการประเมินโครงการ 2.3.1 แนวคิดและวิธีการดําเนินงานทางเทคนิค (Research Methodology) การติดตามประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จํานวน 5 โครงการ ในครั้งนี้ แต่ละโครงการมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และ วิธีการดําเนินการ ดังนั้นในการประเมินผลโครงการ จึงกําหนดแนวทางการประเมินผล แยกเป็นรายโครงการ โดยใช้แนวคิดการประเมินผล ดังนี้ (1) แนวคิดแบบ Goal-based Approach โดยยึดวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ประเมินเป็น หลักในการประเมินความสําเร็จ ดังนั้น สิ่งที่ประเมินจึงเป็นทั้งเป้าหมายของการ ประเมิน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และผลกระทบของโครงการ ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็น 1 หลักการคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างทางสถิติที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดได้ และใช้ในกรณีที่ ประชากรมีจํานวนที่แน่นอน (Finite population)
  • 10. 8 เกณฑ์มาตรฐานสําหรับการตัดสินผลสําเร็จของการดําเนินงาน และได้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขการดําเนินโครงการในระยะต่อไป (2) แนวคิดของ CIPP Model หรือ Context-Input-Process-Product Approach มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผล ที่เน้นการนําผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ การวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของกระบวนการจัดทําโครงการตั้งแต่ขั้นตอนการ กําหนดโครงการ ปัจจัยการนําเข้า กระบวนการดําเนินการ และผลผลิตของโครงการ ดังนี้ (2.1) การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) เป็นการประเมินก่อน การดําเนินโครงการ พิจารณาหลักการและเหตุผลความจําเป็นที่ต้องดําเนิน โครงการ ประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ (2.2) การประเมินปัจจัยนําเข้า (Input Evaluation : I) เป็นการประเมินเพื่อ พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความเพียงพอ ของทรัพยากรที่ใช้ในการดําเนินโครงการ (2.3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) เป็นการประเมินเพื่อหา ข้อบกพร่องของการดําเนินโครงการที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดําเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น (2.4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) เป็นการประเมินเพื่อ เปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือมาตรฐานที่ กําหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการ ยุบ เลิก ขยาย หรือ ปรับเปลี่ยนโครงการ 2.3.2 ขั้นตอนการประเมินผล มีขั้นตอนการดําเนินการ ดังนี้ (1) กําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ ยึดวัตถุประสงค์ของโครงการเป็น พื้นฐานในการประเมินผล ในกรณีที่โครงการกําหนดเป้าหมาย จะแบ่งคะแนนเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ 1-5 โดยใช้ระดับคะแนนจากการประมวลผลตัวชี้วัดจากผลการสํารวจ ภาคสนามที่ระดับ 3.0 ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ผ่านการประเมิน (2) การกําหนดข้อมูล ลักษณะ และแหล่งข้อมูลที่จะใช้ มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการ สํารวจและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) ที่สามารถเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการรวบรวมจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง (3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ และดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ เก็บมา แปลความหมาย และจัดทํารายงาน พร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อนําผลที่ได้ไปใช้ ประโยชน์
  • 11. บทที่ 2 ผลการติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 1. ความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ 1.1 ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณ ผลการติดตามประเมินผล 5 โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง 2555 ที่ใช้เงินกู้ภายใต้ พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (พ.ร.ก. 2552) ซึ่งประกอบด้วย (1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น (2) โครงการแหล่งน้ํา ขนาดเล็ก (3) โครงการประกันรายได้เกษตรกร (4) โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ (5) โครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ดําเนินการภายใต้สาขาการลงทุน 4 สาขา คือ สาขาขนส่ง สาขาทรัพยากรน้ําและการเกษตร สาขาการประกันรายได้และการดําเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสาขาการลงทุนในระดับชุมชน ในปีงบประมาณ 2553 ได้รับอนุมัติงบประมาณรวม 5 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 105,202.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.39 ของงบประมาณรวม 4 สาขา (357,903.08 ล้านบาท) โดยมีผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 5 โครงการ เป็นเงิน รวมทั้งสิ้น 99,387.66 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.47 ของงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติรวม 5 โครงการ หรือร้อยละ 33 ของผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวม 4 สาขา ดังนี้ ตารางที่ 3 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2553 ของ 5 โครงการ โครงการ วงเงินที่อนุมัติ (ล้านบาท) สัดส่วนของ วงเงินที่ อนุมัติให้ โครงการต่อ สาขาฯ(%) ผลการ เบิกจ่าย (ล้านบาท) สัดส่วนของ ผลการ เบิกจ่าย โครงการต่อ ผลการ เบิกจ่าย สาขาฯ (%) สัดส่วนของ ผลการ เบิกจ่าย โครงการ/ สาขาต่อ วงเงินที่อนุมัติ ให้โครงการ/ สาขา(%) 1. โครงการถนนไร้ฝุ่น (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 14,596.42 - 14,470.01 - 99.13 สาขาขนส่ง (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 46,753.69 31.21 41,143.10 35.17 88.00 2. โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก (ณ วันที่ 12 ม.ค. 2554) 16,546.95 - 14,557.98 - 89.64 สาขาทรัพยากรน้ําและการเกษตร (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 59,482.77 27.82 43,103.69 33.77 72.46 3. โครงการประกันรายได้เกษตรกร (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 40,000.00 - - 98.06 สาขาการประกันรายได้ และการดําเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 40,000.00 100.00 39,226.27 100.00 98.06 4. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง(ณ ก.ย. 2553) 19,559.20 - 16,633.40 - สาขาการลงทุนในระดับชุมชน (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 105,833.31 18.48 88,835.53 18.72 83.94 5. โครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (ณ ก.ย. 2553) 14,500 - 14,500 - 100.00 สาขาการลงทุนในระดับชุมชน (ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554) 105,833.31 13.70 88,835.53 16.32 83.94 รวม 5 โครงการ 105,202.57 - 99,387.66 - 94.47 รวม 4 สาขาฯ 357,903.08 29.39 301,144.12 33.00 81.14
  • 12. 10 1.2 การใช้จ่ายงบประมาณรายโครงการ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณและผลการดําเนินงานของ 5 โครงการ สามารถดําเนินการตามแผนงาน ได้ตามเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ และสามารถเบิกจ่ายงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 94.47 ของวงเงินที่ ได้รับอนุมัติ ดังนี้ ตารางที่ 4 ความก้าวหน้าการดําเนินการ 5 โครงการ ชื่อโครงการ ความก้าวหน้าการดําเนินการ งบประมาณที่ ได้รับอนุมัติ (ล้านบาท) การเบิกจ่าย งบประมาณ ลบ. (%) หมายเหตุ 1. โครงการ ก่อสร้าง ถนนไร้ฝุ่น โครงการทั้งหมด 902 โครงการ : - ก่อสร้างแล้วเสร็จ 900 โครงการ หรือ ร้อยละ 99.78 - อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 โครงการ หรือ ร้อยละ 0.22 14,596.42 14,470.01 (99.13) ข้อมูลกรมทางหลวงชนบท ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2553 สํานักงบประมาณ ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554 2. โครงการ แหล่งน้ํา ขนาดเล็ก โครงการทั้งหมด 3,037 โครงการ : - ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2,630 โครงการ หรือ ร้อยละ 86.60 - อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 407 โครงการ หรือ ร้อยละ 13.40 16,546.95 14,557.98 (89.64) ข้อมูลจากกรมทรัพยากรน้ํา กรมชลประทาน ณ วันที่ 12 ม.ค. 2554 3. โครงการ ประกัน รายได้ เกษตรกร ข้าว จดทะเบียน 3.62 ล้านราย ทําสัญญา 3.27 ล้านราย ใช้สิทธิแล้ว 3.20 ล้านราย มันสําปะหลัง จดทะเบียน 448,261 ราย ทําสัญญา 427,489 ราย ใช้สิทธิแล้ว 380,398 ราย ข้าวโพด จดทะเบียน 400,335 ราย ทําสัญญา 392,598 ราย ใช้สิทธิแล้ว 379,655 ราย 40,000.00 39,226.27 (98.06) ข้อมูลกระทรวงเกษตรฯ ณ วันที่ 16 ก.ค. 2553 ข้อมูลการเบิกจ่าย ณ วันที่ 21 ม.ค. 2554 4. โครงการ กองทุน หมู่บ้านและ ชุมชนเมือง กทบ. ได้รับการจัดสรรเงินเพิ่มทุนแล้ว 7 ครั้ง รวม 70,091 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 88.44 ของ กองทุนหมู่บ้านทั้งหมด 79,255 กองทุน 19,559.2 16,633.40 (85.04) ข้อมูล สทบ. ณ ก.ย. 2553 5. โครงการเพิ่ม ทุนสถาบัน การเงิน เฉพาะกิจ ของรัฐ กระทรวงการคลังได้จัดสรรงบประมาณ 1.45 หมื่นล้านบาท ให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 แห่งแล้ว 14,500 14,500 (100.00) ข้อมูลกระทรวงการคลัง ณ ก.ย. 2553 ยอดรวม 105,202.57 99,387.66 (94.47) หมายเหตุ : โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กได้รับจัดสรรงบประมาณจาก สงป. จํานวน 16,546.95 ล้านบาท รวม 3,057 โครงการ ปัจจุบัน ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการลงนามในสัญญาเพื่อดําเนินโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 3,037 โครงการ เป็นเงิน 16,239.63 ล้านบาท
  • 13. 11 2. การติดตามประเมินผล 5 โครงการ 2.1 โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น มุ่งปรับปรุงถนนในเขตชนบท 75 จังหวัด ระยะทางดําเนินการ ในปีงบประมาณ 2553-2555 รวมทั้งสิ้น 7,141.8 กิโลเมตร ในปี 2553 ได้รับอนุมัติงบประมาณ ดําเนินการ 14,596.42 ล้านบาท ในการก่อสร้างถนนระยะทางรวม 3,174.8 กิโลเมตร และ ปี 2554-2555 ก่อสร้างอีกปีละ 1,983.5 กิโลเมตร 2.1.1 ความก้าวหน้าการดําเนินงาน ในปีงบประมาณ 2553 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ ดําเนินการทั่วประเทศทั้งสิ้น 902 โครงการ ระยะทางก่อสร้างที่ได้มีการลงนามในสัญญา รวม 3,174.77 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติรวมทั้งสิ้น 14,596.42 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 290 โครงการ ระยะทางรวม 1,221.97 กิโลเมตร ภาคกลาง 252 โครงการ ระยะทางรวม 773.08 กิโลเมตร ภาคเหนือ 191 โครงการ ระยะทางรวม 701.46 กิโลเมตร และภาคใต้ 169 โครงการ ระยะทางรวม 478.26 กิโลเมตร ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 21 มกราคม 2554 เบิกจ่ายแล้ว 14,470.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.13 ของงบประมาณทั้งหมด ผลการ ดําเนินงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ก่อสร้างทางแล้วเสร็จสมบูรณ์ 900 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 99.78 ของโครงการทั้งหมด ระยะทางที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 3,165.30 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 99.67 ของจํานวนระยะทางที่ลงนามในสัญญา 2.1.2 ผลการประเมิน (1) โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นดําเนินการตามความต้องการของประชาชน ทําให้เกิดความพึงพอใจสูง เนื่องจากถนนเดิมเป็นลูกรัง การคมนาคมไม่สะดวก ประชาชนที่อาศัยอยู่สองข้างทางมีปัญหาสุขภาพจากฝุ่นลูกรัง และมีการร้องเรียนให้ ภาครัฐดําเนินการก่อสร้างเป็นทางลาดยางมานานแล้ว บางแห่งมากกว่า 10 ปี แต่ ติดขัดด้านงบประมาณ เมื่อมีโครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น ประชาชนจึงให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดี อาทิ ตัดต้นไม้ของตนที่กีดขวางการก่อสร้างทาง และร่วม ตรวจสอบการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นให้เป็นไปตามขั้นตอนการก่อสร้าง โดยโครงการได้ ทําข้อตกลง 3 ฝ่าย ได้แก่ กรมทางหลวงชนบท บริษัทก่อสร้างทาง และประชาชนใน พื้นที่ โดยให้ฝ่ายประชาชนแต่งตั้งตัวแทนประมาณ 2-3 คนร่วมลงนามในข้อตกลง เป็นการหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เช่น ปัญหาการก่อสร้างรุกล้ําที่ดิน ทํากินของชาวบ้าน เป็นต้น (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางปฏิบัติเกิดขึ้นไม่เต็มที่ จากผลสํารวจฯ กลุ่ม ตัวอย่างที่มีส่วนร่วมในโครงการฯ มีน้อยมากเพียงร้อยละ 2.3 และประชาชนยังขาด ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ในการดูแลตรวจสอบโครงการและรายงานความ ผิดปกติและความเสียหายของถนนที่เกิดขึ้นแก่ภาครัฐ แต่ในบางพื้นที่ ชุมชน/ ประชาชนที่มีความเข้มแข็งจะให้ความสําคัญในการตรวจสอบโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ที่มีส่วนร่วมในโครงการฯ ร้อยละ 70.8 มีส่วนในการร่วมแสดงความคิดเห็นใน ขั้นตอนการเสนอแบบร่าง และบางคนมีส่วนร่วมในการสํารวจแนวถนน ตรวจสอบ คุณภาพของงาน และตรวจรับงาน กลุ่มผู้มีส่วนร่วมนี้ เห็นว่าได้ประโยชน์จากการเข้า
  • 14. 12 ไปมีส่วนร่วมทําให้ได้รูปแบบถนนที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน คุณภาพของถนนที่สร้างดีขึ้น ลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้าง และ ป้องกันการทุจริต ส่งผลให้ถนนไร้ฝุ่นมีคุณภาพและมาตรฐานสูง (3) การดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านความสะดวก ประหยัดเวลา ในการเดินทาง และคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนี้ (3.1) การเดินทางและขนส่งผลผลิตเกษตรสะดวกมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างมี ความเห็นว่า ถนนปลอดฝุ่นทําให้การสัญจรของประชาชนในชนบทเป็นไป อย่างสะดวก ปลอดภัยในทุกฤดูกาล สามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางในการ ขนส่งสินค้าทางการเกษตร ผลิตผลจากการเกษตรไม่เปื้อนฝุ่น ลดระยะทาง และเวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากผลสํารวจฯพบว่า ลดค่าน้ํามัน ในการสัญจรลงได้ปีละ 4,161.73 บาท/คน คุณภาพชีวิตโดยรวมของ ประชาชนดีขึ้น เนื่องจากถนนเรียบขึ้นและไม่มีฝุ่นละออง ประชาชนสามารถ ลดระยะเวลาการเดินทางลงได้ปีละ 63.79 ชั่วโมง/คน ลดภาระซ่อมแซม บํารุงรักษารถยนต์/รถจักรยานยนต์ได้ปีละ 948.81 บาท และลดความ เสียหายของพืชผลทางการเกษตรจากการขนส่งลงได้ปีละ 650.13 บาท (ค่าเฉลี่ยที่ได้คํานวณจากการสอบถามประชาชนในพื้นที่สํารวจฯ ตาม แบบสอบถามที่ให้ประชาชนแจกแจงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการออกมาใน รูปของจํานวนเงินหรือจํานวนชั่วโมงต่อคนต่อเดือน คูณ 12 เดือน และหารด้วย จํานวนผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหมด) (3.2) ถนนไร้ฝุ่นบางเส้นทางที่เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจใน พื้นที่ เนื่องจากก่อให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชน และทําให้มีปริมาณเงิน หมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มขึ้น ถนนที่ผ่านพื้นที่ท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวและ ประชาชนเดินทางเพิ่มขึ้น และถนนบางสายมีคนสัญจรประมาณ 300-1,000 คน จากผลสํารวจฯชาวบ้านในพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว (3.3) ปัญหาฝุ่นละอองบริเวณถนนลูกรังเดิมลดลง ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณ ใกล้ถนนลูกรังเดิมมีสุขภาพดีขึ้น อาการภูมิแพ้จากฝุ่นลดลง และลดปัญหา ฝุ่นละอองจากการเดินทาง จากผลสํารวจฯประชาชนที่อาศัยอยู่ในเส้นทาง ถนนไร้ฝุ่นร้อยละ 84.9 มีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากอาการภูมิแพ้จากฝุ่นลดลง (4) การจ้างงานคนในชุมชนภายใต้โครงการมีค่อนข้างน้อย ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลัก ต้องการกระตุ้นการจ้างงานในภาพรวมโดยผ่านผู้รับเหมาก่อสร้าง ผลสํารวจฯมีกลุ่ม ตัวอย่างเพียงร้อยละ 1.3 ที่รับจ้างทํางานให้กับโครงการฯ ลักษณะงานที่ทําเป็นการ รังวัดถนน การเก็บเศษวัสดุ เช่น เศษไม้ เศษหินบนทางก่อสร้าง และจํานวนวัน ทํางาน 22 วัน/โครงการ อัตราค่าแรงวันละ 244 บาท/คน และจากการสัมภาษณ์ ผู้รับเหมาก่อสร้างและเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบท พบว่าการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น แต่ละโครงการมีการจ้างแรงงานในพื้นที่ประมาณโครงการละ 20 คน ขณะเดียวกัน ผู้รับเหมาก่อสร้างมีแรงงานทักษะเฉพาะเป็นผู้ดําเนินการ และได้นําเครื่องจักรกล หนักเข้ามาดําเนินการก่อสร้าง เช่น รถแมคโคร รถบดถนน และรถตีเส้นถนน เป็นต้น
  • 15. 13 (5) ถนนไร้ฝุ่นบางสายมีปัญหาความปลอดภัยและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.2 มีทัศนคติต่อคุณภาพของถนนไร้ฝุ่นว่าน่าจะได้มาตรฐาน มี เพียงส่วนน้อย ร้อยละ 24.3 ที่เห็นว่าน่าจะต่ํากว่ามาตรฐาน เช่น ถนนเริ่มมีหลุมบ่อ ขอบทางสูง ถนนยุบตัวช่วงที่มีท่อระบายน้ํา การลาดยางบางเกินไป ไหล่ทางไม่มีร่องน้ํา ไม่มีป้ายสัญญาณเตือนอันตรายในเขตชุมชน/โรงเรียน เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าการ ก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นส่วนใหญ่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน โดยมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ ไม่ได้ตามมาตรฐาน เนื่องจากอาจมีปัญหาด้านข้อจํากัดของแนวถนนหรือผู้รับเหมาเร่ง รีบดําเนินการก่อสร้างมากเกินไป (6) ถนนที่ก่อสร้างผ่านชุมชนมีหลายหน่วยงานดําเนินการและงบประมาณของแต่ละ หน่วยงานได้รับการจัดสรรในระดับพื้นที่ไม่พร้อมกัน ส่งผลประชาชนไม่สามารถ ใช้ประโยชน์ของโครงข่ายถนนได้เต็มที่ ถนนที่แต่ละหน่วยงานดําเนินการในพื้นที่ เป็นไปไม่พร้อมกัน มีลักษณะต่างคนต่างทํา ทําให้ถนนบางสายไม่เชื่อมต่อกันตลอด เส้นทาง เช่น กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนเชื่อมโครงข่ายภายในจังหวัดยกเว้นถนน ในชุมชนที่ อบต. มีหน้าที่ดําเนินการ ขณะเดียวกัน อบจ. ก็มีหน้าที่สร้างถนนใน จังหวัดเช่นกัน เกิดปัญหาการเดินทางไม่สะดวกในช่วงการก่อสร้างของแต่ละ หน่วยงานบางกรณีเมื่อถนนช่วงใดสร้างเสร็จแล้ว และมีหน่วยงานอื่นมาก่อสร้าง ต่อเชื่อมก็เกิดความเสียหายกับถนนช่วงที่เพิ่งดําเนินการแล้วเสร็จ 2.1.3 ปัญหาและอุปสรรค (1) การรื้อย้ายสาธารณูปโภคในเส้นทางก่อสร้างและการล้ําที่ดินของประชาชน ส่งผล ให้การก่อสร้างถนนล่าช้า และผิวการจราจรของถนนส่วนมากแคบและขยายไม่ได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ทําการเกษตร ประชาชนจึงไม่ยอมบริจาคที่ดินให้รัฐ ทําให้การ ก่อสร้างบางช่วงแคบและมีความคดเคี้ยว เป็นอันตรายในการสัญจร นอกจากนี้ ถนนบางสายเกิดการชํารุดทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วหลังจากก่อสร้างเสร็จไม่นาน อีกทั้งถนนส่วนใหญ่ไม่มีป้ายบอกพิกัดน้ําหนักบรรทุกไว้ให้ผู้ใช้ถนนทราบ (2) การขาดแคลนวัสดุก่อสร้างในบางช่วงเวลา ทําให้ผู้รับเหมาดําเนินงานล่าช้ากว่า แผนงานเนื่องจากโครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นดําเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ และ ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างมีสูง ขณะที่การจําหน่ายในบางพื้นที่ต้องใช้เวลาในการ ขนส่ง (3) ประชาชนในบางพื้นที่ยังมีส่วนร่วมในโครงการน้อย เนื่องจากบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ ขาดการประชาสัมพันธ์ทําความเข้าใจกับชาวบ้านก่อนเริ่มโครงการ 2.1.4 สรุปและข้อเสนอแนะ (1) ถนนไร้ฝุ่นควรดําเนินการปรับปรุงให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานทางหลวง พร้อมทั้ง ติดตั้งอุปกรณ์และป้ายสัญญาณเตือนต่างๆ ได้แก่ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างช่วงทางโค้ง ทําท่อระบายน้ําให้ได้มาตรฐาน ปรับปรุงช่วงรอยต่อของถนนเก่ากับถนนใหม่ไม่ให้สูง ชันมาก เพิ่มความกว้างของไหล่ทาง ลาดยางให้ตลอดเส้นทางที่เป็นถนนลูกรัง
  • 16. 14 รวมทั้งติดตั้งป้ายเตือนต่างๆ เช่น ป้ายบอกทางโค้ง ป้ายบอกทางร่วม ป้ายบอกทางแยก ป้ายเตือนอันตรายต่างๆ เป็นต้น (2) หน่วยงานในพื้นที่ควรมีการหารือร่วมกันในการกําหนดแผนการดําเนินงานที่ เชื่อมโยงและบูรณาการการทํางานร่วมกัน ให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนอย่างมี ประสิทธิภาพ และร่วมกันดูแล บํารุงรักษาถนนให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย โดย เชื่อมโยงโครงการที่จะดําเนินการในพื้นที่กับแผนชุมชน (3) ผู้แทนประชาชนในการจัดทําข้อตกลงร่วม 3 ฝ่าย ควรมาจากกลไกหลักที่มีอยู่ใน หมู่บ้าน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อจะได้นําข้อมูล ข่าวสารไปเผยแพร่และสร้าง ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนได้ถูกต้องและทั่วถึง ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการดําเนินโครงการ และร่วมกันดูแลรักษาถนนที่ดําเนินการ แล้วเสร็จให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ต่อเนื่อง 2.2 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก ในปีงบประมาณ 2553 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กได้รับอนุมัติรวม 3,057 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 16,546.95 ล้านบาท แบ่งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา ของ กรมทรัพยากรน้ํา จํานวน 2,394 โครงการ ในวงเงิน 5,881.72 ล้านบาท และการชลประทานขนาดเล็ก ของกรมชลประทาน จํานวน 663 โครงการ ในวงเงิน 10,655.23 ล้านบาท 2.2.1 ความก้าวหน้าการดําเนินงาน การดําเนินงานโดยรวมของโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กแล้วเสร็จ และมีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วกว่าร้อยละ 86 ของจํานวนโครงการและวงเงิน งบประมาณที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว ประกอบด้วย โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา และ โครงการชลประทานขนาดเล็กได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2553 รวม 3,057 โครงการ วงเงินงบประมาณ 16,546.95 ล้านบาท การดําเนินงานโดยรวมของกรมทรัพยากรน้ําและ กรมชลประทาน ปรากฏว่า มีการลงนามในสัญญารวม 3,037 โครงการ เป็นเงิน 16,239.63 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.35 และร้อยละ 98.14 ของจํานวนโครงการและงบประมาณที่ ได้รับการจัดสรร ตามลําดับ และมีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงิน 14,557.98 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.64 มีโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 2,630 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 86.60 ของโครงการที่มีการลงนามในสัญญาไปแล้ว และอยู่ระหว่างดําเนินการ 407 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 13.40 คาดว่าจะแล้วเสร็จทุกโครงการภายในเดือนกันยายน 2554 ผลการ ดําเนินการแยกตามหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ดังนี้ (1) ผลการดําเนินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา ของกรมทรัพยากรน้ํา โครงการที่ได้รับ จัดสรรงบประมาณทั้งหมด 2,394 โครงการ วงเงิน 5,881.72 ล้านบาท ลงนามในสัญญา ไปแล้วทั้งสิ้น 2,374 โครงการ วงเงิน 5,584.40 ล้านบาท ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงิน 4,587.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.15 มีโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 2,001 โครงการ หรือร้อยละ 84.29 และยังมี โครงการที่อยู่ระหว่างดําเนินการอีก 373 โครงการ หรือร้อยละ 15.71 คาดว่าจะแล้วเสร็จ ทุกโครงการในเดือนมีนาคม 2554 (2) ผลการดําเนินโครงการชลประทานขนาดเล็ก ของกรมชลประทาน โครงการที่ได้รับ จัดสรรงบประมาณทั้งหมด 663 โครงการ วงเงิน 10,655.23 ล้านบาท ลงนามในสัญญา
  • 17. 15 ครบทุกโครงการตามกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการ เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงิน 9,970.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.57 มีโครงการที่ ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 629 โครงการ หรือร้อยละ 94.87 และยังมีโครงการที่อยู่ ระหว่างดําเนินการอีก 34 โครงการ หรือร้อยละ 5.13 คาดว่าจะมีโครงการที่แล้วเสร็จ ต่อเนื่องทุกเดือน และมี 2 โครงการสุดท้ายที่จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2554 2.2.2 ผลการประเมิน (1) การดําเนินโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการกระตุ้น เศรษฐกิจในด้านการเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น แต่สามารถกระจายการลงทุนด้าน บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในการพัฒนาแหล่งน้ําธรรมชาติและจัดหาแหล่งน้ําให้ ประชาชนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการขนาดเล็กจึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตทาง การเกษตรต่อไร่ เพิ่มคุณภาพทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้ เช่นเดียวกับโครงการขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ และการจ้างงานคนในชุมชนมีน้อย จากการเป็นโครงการจ้างงานที่ผู้รับเหมาใช้เครื่องจักรและลูกจ้างของตนที่มีอยู่แล้ว ในการขุดลอกคูคลอง ขุดบ่อ/สระน้ํา แต่โครงการส่วนใหญ่สามารถกระจายการลงทุน ด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในการพัฒนาและจัดหาแหล่งน้ําให้ประชาชนในพื้นที่ ชนบทห่างไกลซึ่งมีปัญหาขาดแคลนน้ําในทุกภาคทั่วประเทศ จึงส่งผลให้ประชาชนมี น้ําใช้เพื่อทําการเกษตรเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น (2) การบริหารจัดการโครงการยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะในการ กํากับ ดูแล และบํารุงรักษา (2.1) การดําเนินโครงการโดยทั่วไปพบว่าประชาชนยังมีส่วนร่วมน้อยในกระบวนการ กํากับดูแล ตรวจสอบ และร่วมกันบํารุงรักษา ในการดําเนินโครงการมี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.5 ที่ไม่มีส่วนร่วมในโครงการ โดยเฉพาะภาคใต้ไม่พบ ตัวอย่างที่มีส่วนร่วมเลย ในกลุ่มที่มีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็นในขั้นตอน การเสนอโครงการ ร้อยละ 95.7 และเห็นว่าการที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วน ร่วมในโครงการของภาครัฐ ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน เช่น รูปแบบของ โครงการจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน คุณภาพของงานดี ลดผลกระทบจากการทําโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก และ ป้องกันการทุจริตได้ เป็นต้น ส่วนในขั้นตอนอื่น ทั้งการจัดซื้อจัดจ้างผู้รับเหมา การตรวจสอบคุณภาพงาน และการตรวจรับงาน ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม โครงการส่วนใหญ่อยู่ในแผนการลงทุนพัฒนาและบริหาร จัดการน้ําและการชลประทาน ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวไว้แล้ว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551 และวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 รวมกับโครงการ ตามความต้องการของท้องถิ่น เป็นโครงการที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การ อนุมัติโครงการของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 สาขาการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ําและการเกษตร ที่เป็นโครงการใหม่มีความพร้อมและสามารถ ดําเนินการได้ทันทีที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ