SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 28
Baixar para ler offline
19

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
บทที่ 2
เกณฑ์คุณภาพของเครือข่าย
บริการปฐมภูมิ
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
20
ส่วนพื้นฐาน ลักษณะสำคัญขององค์กร


หมวด P ลักษณะสำคัญขององค์กร

	 ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมากที่องค์กรต้องเข้าใจตนเองว่ามีพันธกิจอะไร สภาพแวดล้อม
เป็นอย่างไร ความท้าทายต่อการพัฒนาคืออะไร เพื่อให้รู้ว่าประเด็นสำคัญที่องค์กรต้องให้

ความสนใจที่จำเพาะกับบริบทขององค์กรเป็นเรื่องอะไร 
	 ส่วนนี้ถือว่าเป็นการประเมินตนเองเบื้องต้น หากโครงร่างองค์กรยังขาดข้อมูลสำคัญใน
บางเรื่อง หรือขัดแย้งกันเอง ก็ควรต้องพัฒนาส่วนนี้ให้สมบูรณ์ก่อนที่จะประเมินตนเองในราย
ละเอียดส่วนอื่นต่อไป 

1. ลักษณะสำคัญขององค์กร
	 ให้พิจารณา และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติภารกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ
และความสัมพันธ์ที่สำคัญกับประชาชน ผู้รับบริการ ภาคีเครือข่ายสุขภาพ

	 1.1 	ลักษณะพื้นฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
	 	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีทิศทาง แนวทางการให้
บริการ บุคลากร เทคโนโลยี กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่สำคัญ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ที่สามารถตรวจสอบได้ ดังต่อไปนี้
	 	 ก. พันธกิจหรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย รวมถึง วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์
วัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กร
	 	 ข. สภาพโดยรวมที่สำคัญของทีมสุขภาพ เช่น ระดับการศึกษา อายุ สายงาน
ระดับตำแหน่ง รวมถึงข้อกำหนดพิเศษในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา
คัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม
	 	 ค.	เทคโนโลยี อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการให้บริการและการ
ปฏิบัติงานขององค์กรที่เหมาะสม และปลอดภัย
	 	 ง.	 กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้และเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
21

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
	 1.2	ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการ
ปฐมภูมิ รวมทั้งภาคีเครือข่ายสุขภาพ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
	 	 ให้พิจารณา และทบทวนประเด็นต่อไปนี้
	 	 ก. 	โครงสร้างขององค์กร รวมทั้งระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี สายการบังคับบัญชา 
	 	 ข. 	กลุ่มเป้าหมายรับผลงาน ทั้งที่เป็นผู้รับบริการประเภทต่างๆ กลุ่มผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในพื้นที่ ทั้งที่เป็นรัฐ เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ความต้องการ ความคาดหวังของผู้รับบริการ
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มบริการ และความแตกต่างของความคาดหวัง 
	 	 ค.	บทบาทของผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ ผู้จัดการสนับสนุนทรัพยากรในการ
ดำเนินงานประเภทต่างๆ และผลกระทบต่อการจัดบริการขององค์กร 
	 	 ง. 	แนวทางและวิธีการสื่อสารกับภาคีเครือข่ายสุขภาพและกลุ่มผู้รับบริการ

ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ และความร่วมมือที่ดีในการปฏิบัติงาน

2. ความท้าทายที่สำคัญของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 
	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพ
การแข่งขัน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เปรียบเทียบกับพันธกิจ กำหนดประเด็นท้าทายที่สำคัญ
ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้ในการพัฒนา และการปรับปรุงผลการดำเนินการที่สำคัญใน
การยกระดับองค์กร ดังต่อไปนี้

	 2.1 	การเปรียบเทียบเพื่อการพัฒนา
	 	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์
พิจารณาว่าองค์กรอยู่ที่ลำดับใดในการแข่งขัน หรือมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสุขภาพของ
ประชาชนในพื้นที่มากน้อยเพียงใด และแนวโน้มเป็นอย่างไร มีปัจจัยสำคัญอะไรที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงาน/บุคคลอื่นที่มีผลต่อบริการสุขภาพเป็นอย่างไร และกำหนดประเด็นสำคัญที่จะ
ปรับปรุง โดยเปรียบเทียบกับภารกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 

หรือจัดระดับเทียบเคียง (Benchmarking) กับหน่วยงานที่มีลักษณะบริการคล้ายคลึงกัน 

เพื่อการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งนี้

การเปรียบเทียบดังกล่าวต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง สามารถแสดงได้อย่างชัดเจน
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
22
	 2.2 	ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ 
	 	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดระดับประเด็นความสำคัญ
ของการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร มากำหนดเป็นความท้าทายเชิงกลยุทธ์ เป้าหมาย และระยะ
เวลาในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับ 3 องค์ประกอบดังนี้
	 	 ก.	 ความท้าทายเพื่อให้บรรลุผลตามพันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือ
ข่ายบริการปฐมภูมิ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
	 	 ข.	 ความท้าทายด้านปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาภายในองค์กรและ
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 
	 	 ค.	ความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีสมรรถนะที่เหมาะสม
กับการให้บริการตามพันธกิจ และสถานการณ์ด้านทรัพยากรบุคคล

	 2.3 	ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ 
	 	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ พิจารณาและทบทวนถึง
แนวทางที่องค์กรประเมินผลการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจ แผนการดำเนินงาน การ
เรียนรู้องค์กรอย่างต่อเนื่องอย่างไร และมีแนวทางอย่างไรในการนำผลการประเมินมาปรับปรุง
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน สร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการ
พัฒนาและยกระดับองค์กร
23

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
ส่วนที่ 1 การบริหารจัดการองค์กร

หมวด 1 การนำองค์กร

เกณฑ์คุณภาพที่ 1.1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร 

ข้อกำหนดโดยรวม
	 ทีมนำขององค์กร กำหนดทิศทาง แนวทางการกำกับดูแลตนเองที่ดี ถ่ายทอดสื่อสาร
ทิศทางและแผนไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร และกำหนดวิธีการทบทวนผลการดำเนินการของ
หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์กร อย่าง
ต่อเนื่องและยั่งยืน 

องค์ประกอบ
	 1.1.1	 การกำหนดและถ่ายทอดทิศทางของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
	 1.1.2	 การกำกับดูแลตนเองที่ดีของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (Organizational 

	 	 	 Governance)
	 1.1.3	 การทบทวนผลการดำเนินการของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ

1.1.1 การกำหนดและถ่ายทอดทิศทางของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 ทีมนำสุขภาพชี้นำองค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้น ระยะยาว และ

ผลการดำเนินการที่คาดหวังของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ รวมทั้งการถ่ายทอดสื่อสารและ
สร้างบรรยากาศให้บุคลากรในเครือข่ายมุ่งมั่นนำไปปฏิบัติ เกิดผลการดำเนินงานที่ดี 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	ทีมนำสุขภาพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ระยะสั้น ระยะยาว
และกลยุทธ์หลัก โดยต้องคำนึงถึงความต้องการหรือผลประโยชน์ของประชาชน ชุมชน สังคม
และผู้ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จุดอ่อน และจุดแข็งขององค์กร เช่นวิสัยทัศน์ และ
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
24
เป้าประสงค์ อาจกล่าวถึงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประชาชนหรือรูปแบบบริการที่ปรารถนาใน
อนาคต 3-5 ปี ซึ่งอาจใช้ SWOT เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยกำหนดทิศทางดังกล่าว
	 2. 	ทีมนำสุขภาพ ดำเนินการสื่อสารสองทาง สร้างบรรยากาศที่ดี ในทุกรูปแบบที่
สามารถดำเนินการได้ กระตุ้นให้บุคลากรในองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รับทราบและเข้าใจถึง
เจตนารมณ์ของทิศทางดังกล่าวร่วมกัน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความ
ผาสุก 

1.1.2 การกำกับดูแลตนเองที่ดี ( Organizational Governance)
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 ทีมนำสุขภาพจัดการให้มีการควบคุมกำกับและตรวจสอบผลการดำเนินการของ

เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อสร้างหลักประกันในด้านความรับผิดชอบ และโปร่งใส

ในการดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 การควบคุมกำกับและตรวจสอบ หมายรวมถึง การกำกับด้านผลลัพธ์ของงาน การเงิน
และการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ จัดระบบให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้รับบริการและ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนรับรู้ และมีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ซึ่งอาจออกมาในรูปแบบของ
	 -	 โครงสร้างการบริหาร
	 -	 ระเบียบปฏิบัติ การกำกับดูแลตนเอง
	 -	 มาตรฐานหรืออื่น ๆ ที่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหาร
	 -	 กฎระเบียบ หรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง 
	 -	 แนวทางการตรวจสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ

1.1.3 การทบทวนผลการดำเนินการของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 ทีมนำสุขภาพกำหนดวิธีการในการดำเนินการทบทวนผลการดำเนินการของเครือข่าย
หน่วยบริการปฐมภูมิที่ต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เกิด

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดด
25

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	ทีมนำสุขภาพร่วมคิด วางแผนและทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยยึด
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เช่น การบริหารงาน การจัดระบบสนับสนุนบริการ การให้บริการ 

การพัฒนาด้านวิชาการ การเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจ ระบบประเมินผลงาน อาจรวมถึง

การจัดทีมนำสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยการจัดลำดับความสำคัญของ
ประเด็น ที่ได้จากการทบทวน และค้นหาโอกาสในการพัฒนา 
	 2.	ทีมนำสุขภาพนำผลการประเมินมาจัดทำแผนการปรับปรุงทั้งอย่างต่อเนื่องและ
อย่างก้าวกระโดด อีกทั้งอาจใช้เป็นข้อมูลในการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
สุขภาพของประชาชนในพื้นที่
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
26
เกณฑ์คุณภาพที่ 1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม

ข้อกำหนดโดยรวม 
	 ทีมนำสุขภาพดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมี
จริยธรรมและเป็นองค์กรที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและ

ความคาดหวังของสังคม

องค์ประกอบ
	 1.2.1	 ความรับผิดชอบต่อสังคม
	 1.2.2	 การดำเนินการอย่างมีจริยธรรม
	 1.2.3	 การให้การสนับสนุนต่อชุมชนที่สำคัญ

1.2.1 ความรับผิดชอบต่อสังคม
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 ทีมนำสุขภาพดำเนินการแสดงความรับผิดชอบ และจัดการในกรณีที่การบริการ และ
การปฏิบัติงานมีผลกระทบในทางลบหรือคาดการณ์ว่าจะเกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 ทีมนำสุขภาพวิเคราะห์ผลกระทบของการบริการ และการปฏิบัติงานในทางลบต่อ
สังคม เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยง แล้วนำมากำหนดใน กระบวนการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 

และเป้าหมายในการวางแผนยุทธศาสตร์ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม
วัฒนธรรม ประเพณี อาจรวมถึงเศรษฐกิจความเป็นอยู่แบบพอเพียงที่ดีในปัจจุบัน เช่น 

การมีพันธกิจหรือภารกิจที่แสดงถึงความรับผิดชอบผลกระทบของการบริการอันก่อให้เกิด

ความเสียหายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ของบุคคล ชุมชน และสังคม
27

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
1.2.2 การดำเนินการอย่างมีจริยธรรม
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 ทีมนำสุขภาพมีการจัดการ ตัดสินใจการปฏิบัติการ และการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย เป็นไปตามมโนธรรมและหลักการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิและควรสอดคล้องกับกฎ
ระเบียบข้อบังคับ รวมทั้งเป็นพื้นฐานของค่านิยมและวัฒนธรรมของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ซึ่ง
จะตัดสิน “ความถูกต้อง” และ “ความผิด” ของการกระทำใด ๆ เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิ์ของ
ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	ทีมนำสุขภาพมีการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่อาศัยหลักมโนธรรม สอดคล้องกับ
กฎระเบียบข้อบังคับ กำหนดเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมในการทำงานของบุคลากรในเครือข่าย
บริการปฐมภูมิ
	 2.	ทีมนำสุขภาพตัดสินความถูกต้องและความผิด ของการกระทำใดๆ ของเครือข่าย
บริการปฐมภูมิเป็นไปเพื่อการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1.2.3 การให้การสนับสนุนต่อชุมชนที่สำคัญ
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 การกำหนดชุมชนที่สำคัญและสิ่งที่จะให้การสนับสนุน ทีมนำสุขภาพให้การสนับสนุน
และมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชนนอกเหนือหน้าที่ที่รับผิดชอบ
โดยตรง หรือ เป็นส่วนขยายของงานในหน้าที่ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์
ที่ดีต่อชุมชน

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 ทีมนำสุขภาพอาจเป็นเจ้าภาพร่วมกิจกรรมทางศาสนากับชุมชน หรือ อาจส่งเสริมหรือ
สนับสนุนการตั้งชมรมอาสาสมัครสอนหนังสือเด็กร่วมกับ อสม.,อบต. ให้กับเด็กด้อยโอกาส
เป็นต้น
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
28
หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 

	 องค์กรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์องค์กร ร่วมกับสภาพปัจจัย
ภายนอก ในการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะยาว และกลยุทธ์การดำเนินงานให้เป็นไปตาม
พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร รวมทั้งการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และมีการวัดผลความ
ก้าวหน้า 

เกณฑ์คุณภาพที่ 2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 

ข้อกำหนดโดยรวม 
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีวิธีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การ

ดำเนินงาน รวมทั้งการยกระดับความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งตอบสนองต่อ
ความท้าทายขององค์กร และกำหนดเป้าหมายผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จในการ
ดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่ต้องการในอนาคต

ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน
	 2. 	ตอบสนองต่อพันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
	 3. 	การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 
	 4. 	ความต่อเนื่องของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ (ความท้าทายในการดำเนินงาน)

องค์ประกอบ
	 2.1.1 	การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 
	 2.1.2 	เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 

2.1.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีวิธีการวางแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ เพื่อนำไปสู่
ความสำเร็จของเครือข่ายบริการปฐมภูมิทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ แผนปฏิบัติงาน 4 ปี
แผนปฏิบัติงาน 1 ปี รวมถึงกรอบเวลาที่ใช้ในการวางแผน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดในการจัดทำแผน
29

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	การวางแผนยุทธศาสตร์ (แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี และแผนปฏิบัติงาน 1 ปี) มีการ

นำข้อมูลดังต่อไปนี้มาประกอบ ได้แก่ 
		 n	 ปัญหาสุขภาพและความจำเป็นด้านสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบ
		 n	 ความต้องการ ความคาดหวัง ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ของผู้รับบริการ และผู้มี

	 	 	 ส่วนได้ส่วนเสีย
		 n	 สภาพการแข่งขันและความสามารถของเครือข่ายบริการปฐมภูมิเมื่อเปรียบเทียบ

	 	 	 กับองค์กรอื่นที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน 
		 n	 นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ที่มี

	 	 	 ผลต่อการดำเนินงานขององค์กร 
		 n	 จุดแข็ง จุดอ่อน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งลักษณะเฉพาะหรือ

	 	 	 เอกลักษณ์ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 
		 n	 ความเสี่ยงในด้านการเงิน สังคม และจริยธรรม กฎหมาย ข้อบังคับ และด้านอื่นๆ 
		 n	 วิเคราะห์ถึงโอกาสการปรับเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้กับบริการหรือกิจกรรม

	 	 	 ที่มีความสำคัญกว่า 
	 2.	การวางแผนควรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ 
		 n	 ภารกิจทั้งแผนงาน แผนเงิน(รวมทั้งแผนลงทุน) และแผนคน
		 n	 แนวทางการติดตามการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ อาจนำเอาตัวชี้วัดที่สำคัญ

	 	 	 มาทำเป็นแผนเพื่อติดตามผลการดำเนินงานรายงวด
		 n	 แนวทางการประเมินผลการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อความสำเร็จตาม

	 	 	 เป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งด้านบริหาร บริการ และวิชาการ

2.1.2 เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเป้าประสงค์เชิง
ยุทธศาสตร์ (Objectives) ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) เป้าหมาย (Target) ระยะ
เวลาที่จะบรรลุเป้าประสงค์ และกลวิธี (initiatives) เพื่อให้บรรลุผล ของแต่ละประเด็น
ยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้บรรลุพันธกิจ
ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
30
	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่
หน่วยงานต้องดำเนินการเพื่อให้ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ และความท้าทายขององค์กร ซึ่ง
เป้าประสงค์ควรครอบคลุมทั้งด้านประสิทธิผลที่เป็นไปตามภารกิจขององค์กร ด้านคุณภาพ

การให้บริการในมิติของประชากรกลุ่มเป้าหมาย มิติด้านประสิทธิภาพของกระบวนการบริการ
และมิติด้านการพัฒนาองค์กร 
	 2. 	ในแต่ละเป้าประสงค์มีการกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้อง เป้าหมาย และกลยุทธ์

การดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างโอกาสกับความท้าทาย

ทั้งระยะสั้น ระยะยาว และความสมดุลของความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด
31

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
เกณฑ์คุณภาพที่ 2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการดำเนินการแปลงเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
หลักไปสู่แผนปฏิบัติการและกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ กำหนดการสื่อสารและการสนับสนุน

แผนปฏิบัติงานที่สำคัญไปสู่การปฏิบัติ และกำหนดแนวทางในการประเมิน ตัวชี้วัดที่สำคัญ 

เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงให้บรรลุพันธกิจของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

องค์ประกอบ
	 2.2.1	 การจัดทำแผนปฏิบัติการ ถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติ และสนับสนุน

	 	 	 ทรัพยากรในการดำเนินงานให้เพียงพอ ทันเวลา
	 2.2.2	 การประเมินผลการดำเนินการและการคาดการณ์ผลการดำเนินงาน

2.2.1 การจัดทำแผนปฏิบัติการ และถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติ
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่ตอบสนอง สอดคล้องกับ

แผนยุทธศาสตร์ จัดสรรทรัพยากร (คน งบประมาณ) ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานได้สำเร็จตาม
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์หลัก ถ่ายทอดแผนปฏิบัติการให้บุคลากรทุกคนใน

เครือข่ายบริการปฐมภูมิตระหนักและมีส่วนร่วมในการนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามแผนปฏิบัติงาน
และกำหนดตัวชี้วัดที่ใช้ติดตามความคืบหน้าของแผนปฏิบัติงาน 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดทำแผนปฏิบัติการ ถ่ายทอดแผนปฏิบัติให้แก่ผู้รับผิดชอบ
ภายในเวลาที่กำหนด สอดคล้องกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
	 2.	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงต่อการปฏิบัติการตามแผน
ปฏิบัติการที่กำหนดเพื่อสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติการสามารถดำเนินงานตามแผนได้ทันเวลา
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
32
2.2.2 การคาดการณ์ผลการดำเนินการ
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ คาดการณ์ผลการดำเนินงานตามกรอบเวลาของการวางแผน
ระยะสั้นและระยะยาว คาดการณ์ผลการบรรลุเป้าหมายการดำเนินการของแผนปฏิบัติงาน ตาม
ตัวชี้วัด และดำเนินการเปรียบเทียบกับเป้าประสงค์ เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานและบริหาร
ความเสี่ยง

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิคาดการณ์ผลการดำเนินงานตามเป้าประสงค์ (อาจใช้ตัวชี้วัด
ของเป้าประสงค์เป็นตัวกำหนดเชิงเปรียบเทียบ) และเปรียบเทียบกับ
	 -	 เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และเชิงกลยุทธ์ 
	 -	 ผลการดำเนินการที่ผ่านมา
	 -	 ผลการดำเนินการที่คาดไว้ของที่อื่น หรือระดับชาติ
	 -	 ระดับเทียบเคียงที่สำคัญ (Benchmarking)
และนำผลที่ได้รับมาปรับปรุงงาน และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
33

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
หมวด 3 การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เกณฑ์คุณภาพที่ 3.1	 ความรู้เกี่ยวกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้

			 ส่วนเสีย

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ รับรู้ เข้าใจ สถานการณ์สุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
และสถานการณ์ชุมชนที่รับผิดชอบ เข้าใจ รับรู้ ความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมของ
ประชากรเป้าหมาย ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ทันสมัย เพื่อให้มั่นใจว่าจัดการดำเนิน
งานได้ตอบสนอง และสอดคล้องกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและ
อนาคต 

องค์ประกอบ
	 3.1.1	 ความรู้เกี่ยวกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3.1.1 ความรู้เกี่ยวกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ข้อกำหนดโดยรวม 
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการกำหนด จำแนก ประชากรเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้

ส่วนเสียเป็นกลุ่มต่างๆ ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมของประชากร 

เป้าหมาย ชุมชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นๆ เพื่อกำหนดข้อกำหนดบริการ และ
แนวทางการดำเนินงานให้ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการ

ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	เครือข่ายบริการปฐมภูมิร่วมประชุมและทบทวนเพื่อกำหนดหรือจำแนกกลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต 
	 2. มีการศึกษา รับฟัง เรียนรู้ความต้องการ และความคาดหวังหลักๆ ลักษณะที่กำหนด
ของประชากรเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นข้อๆ นำข้อมูลมาวางแผนปฏิบัติงาน และ

ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ รวมถึงพัฒนากระบวนการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ

ให้บริการ
	 3. 	มีการทบทวน ปรับปรุงวิธีการรับฟัง เรียนรู้ให้เหมาะสม และทันสมัยอยู่เสมอ
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
34
เกณฑ์คุณภาพที่ 3.2	 ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย 

			 ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ข้อกำหนดโดยรวม
	 บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความประทับใจ
ต่อประชากรเป้าหมาย ชุมชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ก่อให้เกิดความความเชื่อมั่น
ศรัทธา การยอมรับ และความพึงพอใจในระบบบริการปฐมภูมิ 

องค์ประกอบ
	 3.2.1	 การสร้างความสัมพันธ์กับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
	 3.2.2	 การวัดความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3.2.1 การสร้างความสัมพันธ์กับประชากรเป้าหมาย ชุมชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับประชากร

เป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทันสมัย มีการจัด

ช่องทางการสื่อสาร และจัดการกับข้อร้องเรียนต่างๆ 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิมีวิธีการต่างๆ ในการสร้างความสัมพันธ์กับ
ชุมชน และประชากรเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อตอบสนองความต้องการและได้รับความร่วมมือ 
	 2. 	มีกลไกที่ชุมชน ประชากรเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงข้อมูล
หรือขอรับบริการหรือร้องเรียนต่อเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 
	 3. 	มีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ/ผู้รับผลงานเพื่อให้มีการแก้ไข
อย่างได้ผลและทันท่วงที ลดความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ/ผู้รับผลงาน มีการรวบรวมและ
วิเคราะห์คำร้องเรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร
	 4. 	มีการคิดค้นหาแนวทางใหม่ๆ หรือนวัตกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เหมาะสม
ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
35

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
3.2.2 การวัดความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีวิธีการวัดความพึงพอใจ และไม่พึงพอใจของ
ชุมชน ประชากรเป้าหมาย ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอยู่เสมอ และนำข้อมูล
ดังกล่าวมาปรับปรุง เพื่อสร้างความมั่นใจ ศรัทธา ยอมรับ ความพึงพอใจ และภาพลักษณ์ที่ดี

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	มีการวัดความคิดเห็น การยอมรับ ความพึงพอใจและไม่พอใจต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ
ของชุมชน ประชากรเป้าหมาย กลุ่มผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูล
มาพัฒนากระบวนการดำเนินงาน 
	 2.	มีการติดตามข้อมูลป้อนกลับที่เกี่ยวกับคุณภาพการบริการจากประชากรเป้าหมาย
/ผู้รับผลงาน อย่างรวดเร็ว และนำมาใช้ในการปรับปรุง 
	 3.	มีการปรับปรุง พัฒนาวิธีประเมินความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียให้เหมาะสม ทันสมัยกับสถานการณ์ และทิศทางการจัดบริการสุขภาพ
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
36
หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้

	 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้เป็นหมวดหลักของเกณฑ์ ในด้านการวัด 

การเลือก รวบรวม วิเคราะห์และจัดการข้อมูล สารสนเทศ จัดการความรู้ที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้
เกิดการประเมินผล ทบทวนผลการดำเนินงาน และนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการ
และกระบวนการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และ
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน ก่อให้เกิดการปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย
บริการปฐมภูมิและหน่วยบริการปฐมภูมิ 

เกณฑ์คุณภาพที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ และพิจารณาผลการดำเนินการขององค์กร

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิจัดให้มีการวัด วิเคราะห์ผลงาน การจัดการความรู้ที่สอดคล้อง
เชื่อมโยง ไปในทิศทางเดียวกัน ตอบสนองเป้าหมาย/พันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ มีการ
ทบทวนประเมินผล และปรับปรุงผลงานภายในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างต่อเนื่อง

ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ และผลการดำเนินงาน มีความครบถ้วน ถูกต้อง
เป็นปัจจุบัน น่าเชื่อถือ ทันสถานการณ์ และง่ายต่อการสืบค้น 
	 2. 	การจัดระบบวัดผลที่ทันต่อสถานการณ์ขององค์กรและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
	 3. 	การทบทวน ประเมินผล เพื่อปรับปรุงกระบวนการและตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างเป็น
ระบบ และต่อเนื่อง

องค์ประกอบ
	 4.1.1 การวัดผลงาน
	 4.1.2 การวิเคราะห์และทบทวนประเมินผลงาน
37

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
4.1.1 การวัดผลงาน
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เลือก รวบรวม เชื่อมโยง ข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับสุขภาพและตัวชี้วัดสำคัญ เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตาม กำกับการดำเนินงาน 

ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลเพื่อ

การตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมอย่างเหมาะสม รวมทั้งพัฒนาระบบวัดผลงานให้ทันกับ

ความต้องการขององค์กรและทิศทางของระบบสุขภาพ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งจาก
ปัจจัยภายใน และภายนอก

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	การจัดทำระบบฐานข้อมูล (HCIS, ข้อมูล 18 แฟ้ม, Family Folder, Community
Folder, ทะเบียนกลุ่มประชากรเป้าหมายต่างๆ, ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ฯลฯ) ที่ง่ายต่อการจัดเก็บ สืบค้นและใช้ประโยชน์ สามารถนำมาใช้ประเมิน
ผลและเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ หรือผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
	 2.	การจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
น่าเชื่อถือ ทันสถานการณ์ และง่ายต่อการสืบค้น 
	 3.	การทบทวนข้อมูลในส่วนที่บรรลุเป้าหมายและไม่บรรลุเป้าหมาย เพื่อนำมาใช้ใน
การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลจริง เพื่อการพัฒนางาน การสร้างนวัตกรรม และการปรับปรุง
งานอย่างต่อเนื่อง 
	 4.	การจัดระบบวัดผลที่ทันต่อสถานการณ์ขององค์กรและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (ตัวอย่าง สปสช. จัดสรรเงินตามผลงานของเครือข่ายฯ)
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
38
4.1.2 การวิเคราะห์และทบทวนประเมินผลงาน
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการวิเคราะห์และทบทวนประเมินผลงานปัจจุบันและที่ผ่านมา
ตามแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ (แผนงาน/โครงการ) เพื่อประเมินความก้าวหน้า ความสำเร็จ
ตามกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ (แผนงาน/โครงการ) และความสามารถในการตอบสนองการ
เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งสื่อสารผลการวิเคราะห์

ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับทราบ เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน หาโอกาสสร้าง
นวัตกรรมและใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การบริหารจัดการ การวางแผนงาน/โครงการ ให้บรรลุ
ตัวชี้วัดสำคัญ และตอบสนองความต้องการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิและชุมชนได้ 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการสรุปข้อมูลของชุมชน วิเคราะห์ปัญหาชุมชน
วางแผนแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งมีระบบการประสานข้อมูลและส่งต่อข้อมูลแก่ผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดการวางแผนและการจัดการดูแลสุขภาพชุมชน อย่างต่อเนื่อง 
	 2. 	มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์
หรือแผนงาน/โครงการ หรือไม่ มีประเด็นใดที่ควรปรับปรุง พัฒนาเพิ่มเติม 
	 3. 	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการนำสิ่งที่ได้จากการทบทวน มาสื่อสารให้กับบุคลากร
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการปรับปรุงและหาโอกาสสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งถ่ายทอดวิธีการ
ปฏิบัติ (ในส่วนที่เป็น Best Practice) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงการพัฒนางาน
กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำมาใช้ในการปรับเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ในการ
ทำงาน
39

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
เกณฑ์คุณภาพที่ 4.2 การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดการข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็น มีคุณภาพและ
พร้อมใช้งาน มีการจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ

ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	ข้อมูล มีความน่าเชื่อถือ ทันเหตุการณ์ เข้าถึงได้ง่าย 
	 2.	การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ
	 3.	โปรแกรม และคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน
	 4. 	พัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

องค์ประกอบ
	 4.2.1 	ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ
	 4.2.2 	การจัดการความรู้ขององค์กร 
	 4.2.3 	การจัดการข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ให้มีคุณภาพ 

4.2.1 ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดการด้านต่างๆ (วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัดเก็บ
Hardware & Software การจัดการข้อมูล) เพื่อให้มีข้อมูลที่ทันสมัย พร้อมใช้ เข้าถึงได้ง่ายโดย
บุคลากรผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ นำมาใช้ในการจัดบริการ
การบริหารจัดการ และการวางแผนที่เหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของเครือข่ายบริการ
ปฐมภูมิ 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 
	 1.	ผลสำรวจการใช้ข้อมูลและสารสนเทศของบุคลากร ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้

ส่วนเสีย
	 2.	รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลของบุคลากร ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้มี
ความน่าเชื่อถือ ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
40
	 3.	ระบบรักษาความลับและป้องกันการรั่วไหล ในบริการข้อมูลและสารสนเทศ
	 4.	โปรแกรม และคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน

4.2.2 การจัดการความรู้ขององค์กร 
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำความรู้ที่เป็น
ประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือหน่วยงานอื่น ร่วมกับความรู้จากการปฏิบัติ มาบริหาร
จัดการให้เป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสม ตอบสนองต่อการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพ
และสามารถนำไปถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเพื่อแสวงหาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร
	 2. 	การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์จากผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

		 และองค์กรภายนอก
	 3. 	การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศและนำไปสู่การปฏิบัติ
	 4. 	การประมวลและนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผน

4.2.3 การจัดการข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ให้มีคุณภาพ 
	 ข้อกำหนดโดยรวม 
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดการข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ของเครือข่าย
บริการปฐมภูมิ ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ	
	 บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และองค์ความรู้ที่ต้องการ ให้
ครอบคลุม รวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัย เชื่อมโยง น่าเชื่อถือ สามารถเข้าถึง ตรวจสอบได้ มีการรักษา
ความปลอดภัย และการกำหนดชั้นความลับ
41

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

ข้อกำหนดโดยรวม
	 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ตรวจประเมินระบบงาน ระบบการ
เรียนรู้ของบุคลากร การสร้างแรงจูงใจ ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง และใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่

เพื่อให้มุ่งไปในแนวเดียวกับเป้าประสงค์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมของหน่วยบริการปฐมภูมิ
และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ รวมทั้งตรวจประเมิน ความใส่ใจ การสร้างและรักษาสภาพแวดล้อม
ในการทำงาน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนิน
งานที่เป็นเลิศและความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรและหน่วยบริการปฐมภูมิ

องค์ประกอบ
	 5.1	ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามภาระหน้าที่ 

	 	 ความรับผิดชอบ
	 5.2 	การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
	 5.3 	การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจแก่บุคลากร 

เกณฑ์คุณภาพที่ 5.1	 ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

	 ของงานตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ 

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดระบบบริหารบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิใน
รูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตามภาระหน้าที่โดยกำหนดความรับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคน ครอบคลุมกระบวนการในการกำกับดูแลผู้ที่มีคุณสมบัติ
เฉพาะตำแหน่งให้ครบตามที่กำหนดไว้ การจัดระบบประเมินและพัฒนาผลงานของบุคลากร การ
บริหารค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกื้อหนุนให้บุคลากรในหน่วยบริการ
ปฐมภูมิมีผลงานที่ดี มีขวัญกำลังใจ เกิดการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง 

องค์ประกอบ
	 5.1.1 การจัดระบบและบริหารงาน
	 5.1.2 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 
	 5.1.3 การจ้างงานและความก้าวหน้าในการงาน
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
42
5.1.1 การจัดระบบและบริหารงาน 
	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการวางรูปแบบ จัดการระบบงาน ในเครือข่ายบริการ
ปฐมภูมิ โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถของบุคลากรตามบทบาทหน้าที่ ภาระงานที่ได้รับมอบ
หมาย คำนึงถึงวัฒนธรรม ความคิดของบุคลากร และชุมชน โดยส่งเสริมให้บุคลากรในเครือข่าย
เกิดความร่วมมือ มีความคิดริเริ่ม ภายใต้อำนาจการตัดสินใจที่เหมาะสม เป็นธรรม 
	 2.	มีการจัดการให้บุคลากรทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย และองค์กรมีความ

คล่องตัว 
	 3. 	มีการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี รวมทั้ง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ระหว่างผู้ที่
ทำงานต่างหน้าที่ ต่างสถานที่ และต่างหน่วยงาน 

5.1.2 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
อย่างโปร่งใส เป็นธรรม 
	 2. 	มีการสื่อสาร แจ้งผลการประเมินให้บุคลากรทราบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและ
ปรับปรุงการทำงาน
	 3. 	มีแนวทางในการยกย่องชมเชย การให้รางวัล และสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้บุคลากร
มีขวัญ กำลังใจ มีการทำงานที่มีประสิทธิผล มีจิตสำนึกในการทำงานที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ และ
ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

5.1.3 การจ้างงานและความก้าวหน้าในการงาน
	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีวิธีการกำหนดคุณลักษณะและสมรรถนะที่จำเป็นของ
บุคลากรในการปฏิบัติตามบทบาทภารกิจที่ต้องการ 
	 2. 	มีวิธีการสรรหา ว่าจ้าง และรักษา บุคลากรได้ตรงตามความต้องการ 
	 3. 	มีวิธีการสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้แก่บุคลากรอย่างเป็นธรรม และ

มีแผนการพัฒนาบุคลากร การสืบทอดตำแหน่งผู้นำและผู้บริหาร
43

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
เกณฑ์คุณภาพที่ 5.2	 การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรในเครือข่าย

			 บริการปฐมภูมิ

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการเรียนรู้ และการสร้างแรงจูงใจของบุคลากร
ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าประสงค์โดยรวม สอดคล้องกับ

พันธกิจและแผนกลยุทธ์ส่งผลให้มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูน
ความรู้ ทักษะ และความสามารถของแต่ละบุคคล 

องค์ประกอบ
	 5.2.1 การพัฒนาบุคลากร 
	 5.2.2 การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาความก้าวหน้าในงาน 

5.2.1 การพัฒนาบุคลากร 
	 ข้อกำหนดโดยรวม	 
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการเรียนรู้ของบุคลากร อันประกอบไปด้วย 

การค้นหาความจำเป็น และความต้องการในการฝึกอบรม การจัดทำแผนพัฒนา และดำเนินการ
พัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับพันธกิจ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการประเมินผล
สำเร็จของการดำเนินงานการพัฒนาตามแผนฯ ที่กำหนด

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	การจัดระบบการเรียนรู้ของบุคลากรที่สอดคล้องพันธกิจ แผนกลยุทธ์ และแผน
ปฏิบัติการขององค์กร
	 2.	การประเมินผลการพัฒนาบุคลากรว่ามีผลกระทบต่อวิธีการทำงานของบุคลากร
และผลงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิโดยรวม
	 3. การนำเอาความรู้จากคลังความรู้ที่สะสมจากการเรียนรู้ขององค์กรมาใช้ในการ

ฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
44
5.2.2 การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาความก้าวหน้าในงาน 
	 ข้อกำหนดโดยรวม	
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนให้บุคลากรมีการ
พัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีระบบการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง 

ส่งเสริมบุคลากรให้ใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรและ

พันธกิจของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
45

เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
เกณฑ์คุณภาพที่ 5.3 การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจแก่บุคลากร 

ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

จัดระบบสนับสนุนการดำเนินงาน ที่ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความผาสุก ความพึงพอใจ และ
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ดี 

ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1. 	สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
	 2. 	บุคลากรมีความพึงพอใจและมีความผาสุกในการทำงาน

องค์ประกอบ
	 5.3.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน 
	 5.3.2 การให้การสนับสนุนและสร้างความพึงพอใจให้แก่บุคลากร 

5.3.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน 
	 ข้อกำหนดโดยรวม	
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดสถานที่ทำงาน ออกแบบวิธีทำงาน ที่ส่งเสริม

สุขอนามัย ความปลอดภัย และการป้องกันภัย มีการกำหนดตัววัดผลงานและปรับปรุงระบบ

การทำงานเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดสถานที่ทำงานและออกแบบวิธีทำงาน ที่ส่งเสริม

สุขอนามัย ความปลอดภัย ของบุคลากร
	 2.	มีการเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือการปรับ
โครงสร้าง และการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน อย่างเหมาะสม
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA)
46
5.3.2 การให้การสนับสนุนและสร้างความพึงพอใจให้แก่บุคลากร 
	 ข้อกำหนดโดยรวม
	 เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกและความพึงพอใจ
ของบุคลากรในแต่ละระดับ แต่ละประเภท มีการจัดระบบสวัสดิการ และระบบงานให้เอื้อ
อำนวย ตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรในแต่ละระดับ และแต่ละประเภท ประเมิน
ความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของบุคลากรด้วยวิธีการที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการนำผลการประเมินมากำหนดลำดับความสำคัญในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานและบรรยากาศการทำงานของบุคลากร

	 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ
	 1.	มีการค้นหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของ
บุคลากร และจำแนกปัจจัยดังกล่าวตามลักษณะของบุคลากรที่แตกต่างกัน 
	 2.	มีการจัดบริการ สวัสดิการ นโยบายและความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับความ
ต้องการของบุคลากรแต่ละกลุ่ม 
	 3.	มีระบบการประเมินความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของพนักงาน ทั้งโดย
วิธีที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 
	 4.	มีการนำผลการประเมินข้างต้นมาวิเคราะห์ เชื่อมโยงกับผลลัพธ์งานขององค์กร
และสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงระบบการทำงาน และสภาพ
แวดล้อม

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

Astronomy 03
Astronomy 03Astronomy 03
Astronomy 03Chay Kung
 
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดลmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Aj.Mallika Phongphaew
 
Power point ped.1
Power point  ped.1Power point  ped.1
Power point ped.1juckit009
 
2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)saintja
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศPa'rig Prig
 
02แบบจำลองอนุภาคของสาร
02แบบจำลองอนุภาคของสาร02แบบจำลองอนุภาคของสาร
02แบบจำลองอนุภาคของสารdnavaroj
 
พลังงานชีวมวล
พลังงานชีวมวลพลังงานชีวมวล
พลังงานชีวมวลPonpirun Homsuwan
 
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptxTinnakritWarisson
 
บทที่ 5 เอกภพ
บทที่ 5 เอกภพบทที่ 5 เอกภพ
บทที่ 5 เอกภพTa Lattapol
 
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...Kruple Ratchanon
 
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ5528 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55ชยานันท์ แท่นแสง
 
Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...
Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...
Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...Utai Sukviwatsirikul
 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันChaiwit Khempanya
 
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์Ponpirun Homsuwan
 
โครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัข
โครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัขโครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัข
โครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัขApinya2701
 
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3sompriaw aums
 

Mais procurados (20)

Astronomy 03
Astronomy 03Astronomy 03
Astronomy 03
 
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
 
Power point ped.1
Power point  ped.1Power point  ped.1
Power point ped.1
 
2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
02แบบจำลองอนุภาคของสาร
02แบบจำลองอนุภาคของสาร02แบบจำลองอนุภาคของสาร
02แบบจำลองอนุภาคของสาร
 
พลังงานชีวมวล
พลังงานชีวมวลพลังงานชีวมวล
พลังงานชีวมวล
 
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
 
บทที่ 5 เอกภพ
บทที่ 5 เอกภพบทที่ 5 เอกภพ
บทที่ 5 เอกภพ
 
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และก...
 
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ5528 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
 
Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...
Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...
Customers’ perception in standard accreditation of boots quality drugstore ap...
 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
 
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
 
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
 
โครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัข
โครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัขโครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัข
โครงร่างโครงงานพฤติกรรมสุนัข
 
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
 
กฎบัตร
กฎบัตรกฎบัตร
กฎบัตร
 

Destaque

ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...taem
 
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการ แพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการแพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการแพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการ แพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...Dr.Suradet Chawadet
 
เขตเมืองภูเก็ต
เขตเมืองภูเก็ตเขตเมืองภูเก็ต
เขตเมืองภูเก็ตChuchai Sornchumni
 
2. dhs 6 05-2014 siriluk
2. dhs  6 05-2014 siriluk2. dhs  6 05-2014 siriluk
2. dhs 6 05-2014 sirilukmohjiu
 
ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058
ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058
ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058Auamporn Junthong
 
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมโรงพยาบาลสารภี
 
Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158
Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158
Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158Chuchai Sornchumni
 
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2กันย์ สมรักษ์
 
DHS เสนางคนิคม
DHS เสนางคนิคม DHS เสนางคนิคม
DHS เสนางคนิคม Dr.Suradet Chawadet
 
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciationการเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA AppreciationDr.Suradet Chawadet
 
Dhs pca เขตสุขภาพที่ 10
Dhs  pca เขตสุขภาพที่ 10Dhs  pca เขตสุขภาพที่ 10
Dhs pca เขตสุขภาพที่ 10Dr.Suradet Chawadet
 
DHML นพ ทวีเกียรติ
DHML  นพ ทวีเกียรติDHML  นพ ทวีเกียรติ
DHML นพ ทวีเกียรติDr.Suradet Chawadet
 
ACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EMACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EMtaem
 
Interhospital transfer
Interhospital transfer Interhospital transfer
Interhospital transfer taem
 

Destaque (20)

ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
 
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการ แพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการแพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการแพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการ แพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
 
Kh pca 2015
Kh pca 2015Kh pca 2015
Kh pca 2015
 
เขตเมืองภูเก็ต
เขตเมืองภูเก็ตเขตเมืองภูเก็ต
เขตเมืองภูเก็ต
 
2. dhs 6 05-2014 siriluk
2. dhs  6 05-2014 siriluk2. dhs  6 05-2014 siriluk
2. dhs 6 05-2014 siriluk
 
ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058
ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058
ปาฐกถาอารี วัลยะเสวี Pilatl real -รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ-201058
 
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
 
Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158
Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158
Dhs@ ministry of ph ain dhs 261158
 
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
 
DHS เสนางคนิคม
DHS เสนางคนิคม DHS เสนางคนิคม
DHS เสนางคนิคม
 
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciationการเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
 
Dhs pca เขตสุขภาพที่ 10
Dhs  pca เขตสุขภาพที่ 10Dhs  pca เขตสุขภาพที่ 10
Dhs pca เขตสุขภาพที่ 10
 
DHML นพ ทวีเกียรติ
DHML  นพ ทวีเกียรติDHML  นพ ทวีเกียรติ
DHML นพ ทวีเกียรติ
 
Intro kan57
Intro kan57Intro kan57
Intro kan57
 
Research Format
Research FormatResearch Format
Research Format
 
Social Networking in Healthcare
Social Networking in HealthcareSocial Networking in Healthcare
Social Networking in Healthcare
 
ACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EMACTEP2014: ASCC challenges in EM
ACTEP2014: ASCC challenges in EM
 
Act411 3งบดุล
Act411 3งบดุลAct411 3งบดุล
Act411 3งบดุล
 
Interhospital transfer
Interhospital transfer Interhospital transfer
Interhospital transfer
 
Research Trends in Health IT
Research Trends in Health ITResearch Trends in Health IT
Research Trends in Health IT
 

Semelhante a (เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3)

2018 criteria item commentary
2018 criteria item commentary2018 criteria item commentary
2018 criteria item commentarymaruay songtanin
 
คู่มือติวV-net 3000 0101
คู่มือติวV-net 3000 0101คู่มือติวV-net 3000 0101
คู่มือติวV-net 3000 0101pranorm boekban
 
การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์
การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์
การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์Chutikarn Haruthai
 
Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004 (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...
Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004  (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004  (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...
Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004 (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...maruay songtanin
 
006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp
006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp
006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง spสปสช นครสวรรค์
 
Baldrige criteria 2015 2016 thai
Baldrige criteria 2015 2016 thaiBaldrige criteria 2015 2016 thai
Baldrige criteria 2015 2016 thaimaruay songtanin
 
Chapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ
Chapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศChapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ
Chapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศAkkadate.Com
 
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศหน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศNuNa DeeNa
 
Overall requirements in 2015 2016
Overall requirements in 2015 2016Overall requirements in 2015 2016
Overall requirements in 2015 2016maruay songtanin
 
NQA application report writing
NQA application report  writingNQA application report  writing
NQA application report writingChutikarn Haruthai
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารNithimar Or
 
How to write application report (part 2 of 4)
How to write application report (part 2 of 4)How to write application report (part 2 of 4)
How to write application report (part 2 of 4)maruay songtanin
 

Semelhante a (เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3) (20)

Tqa
TqaTqa
Tqa
 
2018 criteria item commentary
2018 criteria item commentary2018 criteria item commentary
2018 criteria item commentary
 
คู่มือติวV-net 3000 0101
คู่มือติวV-net 3000 0101คู่มือติวV-net 3000 0101
คู่มือติวV-net 3000 0101
 
การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์
การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์
การรวบรวมรายงานฉบับสมบูรณ์
 
Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004 (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...
Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004  (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004  (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...
Award Criteria for 2024 เกณฑ์รางวัล 2004 (ไม่ใช่ เกณฑ์ความเป็นเลิศ 2025-2026...
 
006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp
006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp
006 2-2สังเคราะห์บทเรียนcupเมือง sp
 
Baldrige criteria 2015 2016 thai
Baldrige criteria 2015 2016 thaiBaldrige criteria 2015 2016 thai
Baldrige criteria 2015 2016 thai
 
Chapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ
Chapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศChapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ
Chapter14 การวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ
 
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศหน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ
 
Chapter 02
Chapter 02Chapter 02
Chapter 02
 
Overall requirements in 2015 2016
Overall requirements in 2015 2016Overall requirements in 2015 2016
Overall requirements in 2015 2016
 
Kpi csf
Kpi csfKpi csf
Kpi csf
 
NQA application report writing
NQA application report  writingNQA application report  writing
NQA application report writing
 
พ้อย
พ้อยพ้อย
พ้อย
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหาร
 
Pmk internal assessor 3
Pmk internal assessor 3Pmk internal assessor 3
Pmk internal assessor 3
 
Pea Workshop 2009 20 5 09
Pea Workshop 2009 20 5 09Pea Workshop 2009 20 5 09
Pea Workshop 2009 20 5 09
 
ใช้สอนระะคุณภาพปวส.ชฟ
ใช้สอนระะคุณภาพปวส.ชฟใช้สอนระะคุณภาพปวส.ชฟ
ใช้สอนระะคุณภาพปวส.ชฟ
 
Chapter1 kc
Chapter1 kcChapter1 kc
Chapter1 kc
 
How to write application report (part 2 of 4)
How to write application report (part 2 of 4)How to write application report (part 2 of 4)
How to write application report (part 2 of 4)
 

(เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3)

  • 1. 19 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) บทที่ 2 เกณฑ์คุณภาพของเครือข่าย บริการปฐมภูมิ
  • 2. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 20 ส่วนพื้นฐาน ลักษณะสำคัญขององค์กร หมวด P ลักษณะสำคัญขององค์กร ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมากที่องค์กรต้องเข้าใจตนเองว่ามีพันธกิจอะไร สภาพแวดล้อม เป็นอย่างไร ความท้าทายต่อการพัฒนาคืออะไร เพื่อให้รู้ว่าประเด็นสำคัญที่องค์กรต้องให้ ความสนใจที่จำเพาะกับบริบทขององค์กรเป็นเรื่องอะไร ส่วนนี้ถือว่าเป็นการประเมินตนเองเบื้องต้น หากโครงร่างองค์กรยังขาดข้อมูลสำคัญใน บางเรื่อง หรือขัดแย้งกันเอง ก็ควรต้องพัฒนาส่วนนี้ให้สมบูรณ์ก่อนที่จะประเมินตนเองในราย ละเอียดส่วนอื่นต่อไป 1. ลักษณะสำคัญขององค์กร ให้พิจารณา และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติภารกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ และความสัมพันธ์ที่สำคัญกับประชาชน ผู้รับบริการ ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 1.1 ลักษณะพื้นฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีทิศทาง แนวทางการให้ บริการ บุคลากร เทคโนโลยี กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่สำคัญ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ที่สามารถตรวจสอบได้ ดังต่อไปนี้ ก. พันธกิจหรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย รวมถึง วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ วัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กร ข. สภาพโดยรวมที่สำคัญของทีมสุขภาพ เช่น ระดับการศึกษา อายุ สายงาน ระดับตำแหน่ง รวมถึงข้อกำหนดพิเศษในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา คัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม ค. เทคโนโลยี อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญในการให้บริการและการ ปฏิบัติงานขององค์กรที่เหมาะสม และปลอดภัย ง. กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้และเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
  • 3. 21 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 1.2 ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการ ปฐมภูมิ รวมทั้งภาคีเครือข่ายสุขภาพ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ให้พิจารณา และทบทวนประเด็นต่อไปนี้ ก. โครงสร้างขององค์กร รวมทั้งระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี สายการบังคับบัญชา ข. กลุ่มเป้าหมายรับผลงาน ทั้งที่เป็นผู้รับบริการประเภทต่างๆ กลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในพื้นที่ ทั้งที่เป็นรัฐ เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ความต้องการ ความคาดหวังของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มบริการ และความแตกต่างของความคาดหวัง ค. บทบาทของผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ ผู้จัดการสนับสนุนทรัพยากรในการ ดำเนินงานประเภทต่างๆ และผลกระทบต่อการจัดบริการขององค์กร ง. แนวทางและวิธีการสื่อสารกับภาคีเครือข่ายสุขภาพและกลุ่มผู้รับบริการ ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ และความร่วมมือที่ดีในการปฏิบัติงาน 2. ความท้าทายที่สำคัญของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพ การแข่งขัน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เปรียบเทียบกับพันธกิจ กำหนดประเด็นท้าทายที่สำคัญ ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้ในการพัฒนา และการปรับปรุงผลการดำเนินการที่สำคัญใน การยกระดับองค์กร ดังต่อไปนี้ 2.1 การเปรียบเทียบเพื่อการพัฒนา หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ พิจารณาว่าองค์กรอยู่ที่ลำดับใดในการแข่งขัน หรือมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสุขภาพของ ประชาชนในพื้นที่มากน้อยเพียงใด และแนวโน้มเป็นอย่างไร มีปัจจัยสำคัญอะไรที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน/บุคคลอื่นที่มีผลต่อบริการสุขภาพเป็นอย่างไร และกำหนดประเด็นสำคัญที่จะ ปรับปรุง โดยเปรียบเทียบกับภารกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หรือจัดระดับเทียบเคียง (Benchmarking) กับหน่วยงานที่มีลักษณะบริการคล้ายคลึงกัน เพื่อการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งนี้ การเปรียบเทียบดังกล่าวต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง สามารถแสดงได้อย่างชัดเจน
  • 4. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 22 2.2 ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดระดับประเด็นความสำคัญ ของการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร มากำหนดเป็นความท้าทายเชิงกลยุทธ์ เป้าหมาย และระยะ เวลาในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับ 3 องค์ประกอบดังนี้ ก. ความท้าทายเพื่อให้บรรลุผลตามพันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือ ข่ายบริการปฐมภูมิ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข. ความท้าทายด้านปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาภายในองค์กรและ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ค. ความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีสมรรถนะที่เหมาะสม กับการให้บริการตามพันธกิจ และสถานการณ์ด้านทรัพยากรบุคคล 2.3 ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ พิจารณาและทบทวนถึง แนวทางที่องค์กรประเมินผลการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจ แผนการดำเนินงาน การ เรียนรู้องค์กรอย่างต่อเนื่องอย่างไร และมีแนวทางอย่างไรในการนำผลการประเมินมาปรับปรุง ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน สร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการ พัฒนาและยกระดับองค์กร
  • 5. 23 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) ส่วนที่ 1 การบริหารจัดการองค์กร หมวด 1 การนำองค์กร เกณฑ์คุณภาพที่ 1.1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำขององค์กร กำหนดทิศทาง แนวทางการกำกับดูแลตนเองที่ดี ถ่ายทอดสื่อสาร ทิศทางและแผนไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร และกำหนดวิธีการทบทวนผลการดำเนินการของ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์กร อย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน องค์ประกอบ 1.1.1 การกำหนดและถ่ายทอดทิศทางของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 1.1.2 การกำกับดูแลตนเองที่ดีของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (Organizational Governance) 1.1.3 การทบทวนผลการดำเนินการของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 1.1.1 การกำหนดและถ่ายทอดทิศทางของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำสุขภาพชี้นำองค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้น ระยะยาว และ ผลการดำเนินการที่คาดหวังของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ รวมทั้งการถ่ายทอดสื่อสารและ สร้างบรรยากาศให้บุคลากรในเครือข่ายมุ่งมั่นนำไปปฏิบัติ เกิดผลการดำเนินงานที่ดี ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. ทีมนำสุขภาพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ระยะสั้น ระยะยาว และกลยุทธ์หลัก โดยต้องคำนึงถึงความต้องการหรือผลประโยชน์ของประชาชน ชุมชน สังคม และผู้ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จุดอ่อน และจุดแข็งขององค์กร เช่นวิสัยทัศน์ และ
  • 6. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 24 เป้าประสงค์ อาจกล่าวถึงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประชาชนหรือรูปแบบบริการที่ปรารถนาใน อนาคต 3-5 ปี ซึ่งอาจใช้ SWOT เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยกำหนดทิศทางดังกล่าว 2. ทีมนำสุขภาพ ดำเนินการสื่อสารสองทาง สร้างบรรยากาศที่ดี ในทุกรูปแบบที่ สามารถดำเนินการได้ กระตุ้นให้บุคลากรในองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รับทราบและเข้าใจถึง เจตนารมณ์ของทิศทางดังกล่าวร่วมกัน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความ ผาสุก 1.1.2 การกำกับดูแลตนเองที่ดี ( Organizational Governance) ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำสุขภาพจัดการให้มีการควบคุมกำกับและตรวจสอบผลการดำเนินการของ เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อสร้างหลักประกันในด้านความรับผิดชอบ และโปร่งใส ในการดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ การควบคุมกำกับและตรวจสอบ หมายรวมถึง การกำกับด้านผลลัพธ์ของงาน การเงิน และการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ จัดระบบให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนรับรู้ และมีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ซึ่งอาจออกมาในรูปแบบของ - โครงสร้างการบริหาร - ระเบียบปฏิบัติ การกำกับดูแลตนเอง - มาตรฐานหรืออื่น ๆ ที่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหาร - กฎระเบียบ หรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง - แนวทางการตรวจสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ 1.1.3 การทบทวนผลการดำเนินการของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำสุขภาพกำหนดวิธีการในการดำเนินการทบทวนผลการดำเนินการของเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิที่ต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เกิด การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดด
  • 7. 25 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. ทีมนำสุขภาพร่วมคิด วางแผนและทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เช่น การบริหารงาน การจัดระบบสนับสนุนบริการ การให้บริการ การพัฒนาด้านวิชาการ การเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจ ระบบประเมินผลงาน อาจรวมถึง การจัดทีมนำสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยการจัดลำดับความสำคัญของ ประเด็น ที่ได้จากการทบทวน และค้นหาโอกาสในการพัฒนา 2. ทีมนำสุขภาพนำผลการประเมินมาจัดทำแผนการปรับปรุงทั้งอย่างต่อเนื่องและ อย่างก้าวกระโดด อีกทั้งอาจใช้เป็นข้อมูลในการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา สุขภาพของประชาชนในพื้นที่
  • 8. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 26 เกณฑ์คุณภาพที่ 1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำสุขภาพดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมี จริยธรรมและเป็นองค์กรที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและ ความคาดหวังของสังคม องค์ประกอบ 1.2.1 ความรับผิดชอบต่อสังคม 1.2.2 การดำเนินการอย่างมีจริยธรรม 1.2.3 การให้การสนับสนุนต่อชุมชนที่สำคัญ 1.2.1 ความรับผิดชอบต่อสังคม ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำสุขภาพดำเนินการแสดงความรับผิดชอบ และจัดการในกรณีที่การบริการ และ การปฏิบัติงานมีผลกระทบในทางลบหรือคาดการณ์ว่าจะเกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ ทีมนำสุขภาพวิเคราะห์ผลกระทบของการบริการ และการปฏิบัติงานในทางลบต่อ สังคม เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยง แล้วนำมากำหนดใน กระบวนการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และเป้าหมายในการวางแผนยุทธศาสตร์ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี อาจรวมถึงเศรษฐกิจความเป็นอยู่แบบพอเพียงที่ดีในปัจจุบัน เช่น การมีพันธกิจหรือภารกิจที่แสดงถึงความรับผิดชอบผลกระทบของการบริการอันก่อให้เกิด ความเสียหายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ของบุคคล ชุมชน และสังคม
  • 9. 27 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 1.2.2 การดำเนินการอย่างมีจริยธรรม ข้อกำหนดโดยรวม ทีมนำสุขภาพมีการจัดการ ตัดสินใจการปฏิบัติการ และการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เป็นไปตามมโนธรรมและหลักการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิและควรสอดคล้องกับกฎ ระเบียบข้อบังคับ รวมทั้งเป็นพื้นฐานของค่านิยมและวัฒนธรรมของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ซึ่ง จะตัดสิน “ความถูกต้อง” และ “ความผิด” ของการกระทำใด ๆ เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิ์ของ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. ทีมนำสุขภาพมีการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่อาศัยหลักมโนธรรม สอดคล้องกับ กฎระเบียบข้อบังคับ กำหนดเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมในการทำงานของบุคลากรในเครือข่าย บริการปฐมภูมิ 2. ทีมนำสุขภาพตัดสินความถูกต้องและความผิด ของการกระทำใดๆ ของเครือข่าย บริการปฐมภูมิเป็นไปเพื่อการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.2.3 การให้การสนับสนุนต่อชุมชนที่สำคัญ ข้อกำหนดโดยรวม การกำหนดชุมชนที่สำคัญและสิ่งที่จะให้การสนับสนุน ทีมนำสุขภาพให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชนนอกเหนือหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยตรง หรือ เป็นส่วนขยายของงานในหน้าที่ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ ที่ดีต่อชุมชน ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ ทีมนำสุขภาพอาจเป็นเจ้าภาพร่วมกิจกรรมทางศาสนากับชุมชน หรือ อาจส่งเสริมหรือ สนับสนุนการตั้งชมรมอาสาสมัครสอนหนังสือเด็กร่วมกับ อสม.,อบต. ให้กับเด็กด้อยโอกาส เป็นต้น
  • 10. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 28 หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ องค์กรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์องค์กร ร่วมกับสภาพปัจจัย ภายนอก ในการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะยาว และกลยุทธ์การดำเนินงานให้เป็นไปตาม พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร รวมทั้งการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และมีการวัดผลความ ก้าวหน้า เกณฑ์คุณภาพที่ 2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีวิธีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การ ดำเนินงาน รวมทั้งการยกระดับความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งตอบสนองต่อ ความท้าทายขององค์กร และกำหนดเป้าหมายผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จในการ ดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่ต้องการในอนาคต ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน 2. ตอบสนองต่อพันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ความต่อเนื่องของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ (ความท้าทายในการดำเนินงาน) องค์ประกอบ 2.1.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 2.1.2 เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 2.1.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีวิธีการวางแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ เพื่อนำไปสู่ ความสำเร็จของเครือข่ายบริการปฐมภูมิทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ แผนปฏิบัติงาน 4 ปี แผนปฏิบัติงาน 1 ปี รวมถึงกรอบเวลาที่ใช้ในการวางแผน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดในการจัดทำแผน
  • 11. 29 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. การวางแผนยุทธศาสตร์ (แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี และแผนปฏิบัติงาน 1 ปี) มีการ นำข้อมูลดังต่อไปนี้มาประกอบ ได้แก่ n ปัญหาสุขภาพและความจำเป็นด้านสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบ n ความต้องการ ความคาดหวัง ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ของผู้รับบริการ และผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย n สภาพการแข่งขันและความสามารถของเครือข่ายบริการปฐมภูมิเมื่อเปรียบเทียบ กับองค์กรอื่นที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน n นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ที่มี ผลต่อการดำเนินงานขององค์กร n จุดแข็ง จุดอ่อน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งลักษณะเฉพาะหรือ เอกลักษณ์ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ n ความเสี่ยงในด้านการเงิน สังคม และจริยธรรม กฎหมาย ข้อบังคับ และด้านอื่นๆ n วิเคราะห์ถึงโอกาสการปรับเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้กับบริการหรือกิจกรรม ที่มีความสำคัญกว่า 2. การวางแผนควรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ n ภารกิจทั้งแผนงาน แผนเงิน(รวมทั้งแผนลงทุน) และแผนคน n แนวทางการติดตามการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ อาจนำเอาตัวชี้วัดที่สำคัญ มาทำเป็นแผนเพื่อติดตามผลการดำเนินงานรายงวด n แนวทางการประเมินผลการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อความสำเร็จตาม เป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งด้านบริหาร บริการ และวิชาการ 2.1.2 เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเป้าประสงค์เชิง ยุทธศาสตร์ (Objectives) ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) เป้าหมาย (Target) ระยะ เวลาที่จะบรรลุเป้าประสงค์ และกลวิธี (initiatives) เพื่อให้บรรลุผล ของแต่ละประเด็น ยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้บรรลุพันธกิจ ของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
  • 12. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 30 ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ หน่วยงานต้องดำเนินการเพื่อให้ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ และความท้าทายขององค์กร ซึ่ง เป้าประสงค์ควรครอบคลุมทั้งด้านประสิทธิผลที่เป็นไปตามภารกิจขององค์กร ด้านคุณภาพ การให้บริการในมิติของประชากรกลุ่มเป้าหมาย มิติด้านประสิทธิภาพของกระบวนการบริการ และมิติด้านการพัฒนาองค์กร 2. ในแต่ละเป้าประสงค์มีการกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้อง เป้าหมาย และกลยุทธ์ การดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างโอกาสกับความท้าทาย ทั้งระยะสั้น ระยะยาว และความสมดุลของความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด
  • 13. 31 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) เกณฑ์คุณภาพที่ 2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการดำเนินการแปลงเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ หลักไปสู่แผนปฏิบัติการและกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ กำหนดการสื่อสารและการสนับสนุน แผนปฏิบัติงานที่สำคัญไปสู่การปฏิบัติ และกำหนดแนวทางในการประเมิน ตัวชี้วัดที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงให้บรรลุพันธกิจของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ องค์ประกอบ 2.2.1 การจัดทำแผนปฏิบัติการ ถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติ และสนับสนุน ทรัพยากรในการดำเนินงานให้เพียงพอ ทันเวลา 2.2.2 การประเมินผลการดำเนินการและการคาดการณ์ผลการดำเนินงาน 2.2.1 การจัดทำแผนปฏิบัติการ และถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่ตอบสนอง สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ จัดสรรทรัพยากร (คน งบประมาณ) ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานได้สำเร็จตาม เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์หลัก ถ่ายทอดแผนปฏิบัติการให้บุคลากรทุกคนใน เครือข่ายบริการปฐมภูมิตระหนักและมีส่วนร่วมในการนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามแผนปฏิบัติงาน และกำหนดตัวชี้วัดที่ใช้ติดตามความคืบหน้าของแผนปฏิบัติงาน ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดทำแผนปฏิบัติการ ถ่ายทอดแผนปฏิบัติให้แก่ผู้รับผิดชอบ ภายในเวลาที่กำหนด สอดคล้องกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา 2. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงต่อการปฏิบัติการตามแผน ปฏิบัติการที่กำหนดเพื่อสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติการสามารถดำเนินงานตามแผนได้ทันเวลา
  • 14. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 32 2.2.2 การคาดการณ์ผลการดำเนินการ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ คาดการณ์ผลการดำเนินงานตามกรอบเวลาของการวางแผน ระยะสั้นและระยะยาว คาดการณ์ผลการบรรลุเป้าหมายการดำเนินการของแผนปฏิบัติงาน ตาม ตัวชี้วัด และดำเนินการเปรียบเทียบกับเป้าประสงค์ เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานและบริหาร ความเสี่ยง ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิคาดการณ์ผลการดำเนินงานตามเป้าประสงค์ (อาจใช้ตัวชี้วัด ของเป้าประสงค์เป็นตัวกำหนดเชิงเปรียบเทียบ) และเปรียบเทียบกับ - เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และเชิงกลยุทธ์ - ผลการดำเนินการที่ผ่านมา - ผลการดำเนินการที่คาดไว้ของที่อื่น หรือระดับชาติ - ระดับเทียบเคียงที่สำคัญ (Benchmarking) และนำผลที่ได้รับมาปรับปรุงงาน และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
  • 15. 33 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) หมวด 3 การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกณฑ์คุณภาพที่ 3.1 ความรู้เกี่ยวกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ รับรู้ เข้าใจ สถานการณ์สุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมาย และสถานการณ์ชุมชนที่รับผิดชอบ เข้าใจ รับรู้ ความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมของ ประชากรเป้าหมาย ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ทันสมัย เพื่อให้มั่นใจว่าจัดการดำเนิน งานได้ตอบสนอง และสอดคล้องกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและ อนาคต องค์ประกอบ 3.1.1 ความรู้เกี่ยวกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.1.1 ความรู้เกี่ยวกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการกำหนด จำแนก ประชากรเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเป็นกลุ่มต่างๆ ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมของประชากร เป้าหมาย ชุมชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นๆ เพื่อกำหนดข้อกำหนดบริการ และ แนวทางการดำเนินงานให้ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิร่วมประชุมและทบทวนเพื่อกำหนดหรือจำแนกกลุ่ม ประชากรเป้าหมาย ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต 2. มีการศึกษา รับฟัง เรียนรู้ความต้องการ และความคาดหวังหลักๆ ลักษณะที่กำหนด ของประชากรเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นข้อๆ นำข้อมูลมาวางแผนปฏิบัติงาน และ ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ รวมถึงพัฒนากระบวนการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ให้บริการ 3. มีการทบทวน ปรับปรุงวิธีการรับฟัง เรียนรู้ให้เหมาะสม และทันสมัยอยู่เสมอ
  • 16. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 34 เกณฑ์คุณภาพที่ 3.2 ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดโดยรวม บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความประทับใจ ต่อประชากรเป้าหมาย ชุมชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ก่อให้เกิดความความเชื่อมั่น ศรัทธา การยอมรับ และความพึงพอใจในระบบบริการปฐมภูมิ องค์ประกอบ 3.2.1 การสร้างความสัมพันธ์กับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2.2 การวัดความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2.1 การสร้างความสัมพันธ์กับประชากรเป้าหมาย ชุมชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดโดยรวม บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับประชากร เป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทันสมัย มีการจัด ช่องทางการสื่อสาร และจัดการกับข้อร้องเรียนต่างๆ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิมีวิธีการต่างๆ ในการสร้างความสัมพันธ์กับ ชุมชน และประชากรเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อตอบสนองความต้องการและได้รับความร่วมมือ 2. มีกลไกที่ชุมชน ประชากรเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือขอรับบริการหรือร้องเรียนต่อเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3. มีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ/ผู้รับผลงานเพื่อให้มีการแก้ไข อย่างได้ผลและทันท่วงที ลดความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ/ผู้รับผลงาน มีการรวบรวมและ วิเคราะห์คำร้องเรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร 4. มีการคิดค้นหาแนวทางใหม่ๆ หรือนวัตกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เหมาะสม ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • 17. 35 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 3.2.2 การวัดความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดโดยรวม บุคลากรของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีวิธีการวัดความพึงพอใจ และไม่พึงพอใจของ ชุมชน ประชากรเป้าหมาย ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอยู่เสมอ และนำข้อมูล ดังกล่าวมาปรับปรุง เพื่อสร้างความมั่นใจ ศรัทธา ยอมรับ ความพึงพอใจ และภาพลักษณ์ที่ดี ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. มีการวัดความคิดเห็น การยอมรับ ความพึงพอใจและไม่พอใจต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ ของชุมชน ประชากรเป้าหมาย กลุ่มผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูล มาพัฒนากระบวนการดำเนินงาน 2. มีการติดตามข้อมูลป้อนกลับที่เกี่ยวกับคุณภาพการบริการจากประชากรเป้าหมาย /ผู้รับผลงาน อย่างรวดเร็ว และนำมาใช้ในการปรับปรุง 3. มีการปรับปรุง พัฒนาวิธีประเมินความพึงพอใจของประชากรเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียให้เหมาะสม ทันสมัยกับสถานการณ์ และทิศทางการจัดบริการสุขภาพ
  • 18. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 36 หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้เป็นหมวดหลักของเกณฑ์ ในด้านการวัด การเลือก รวบรวม วิเคราะห์และจัดการข้อมูล สารสนเทศ จัดการความรู้ที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้ เกิดการประเมินผล ทบทวนผลการดำเนินงาน และนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการ และกระบวนการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน ก่อให้เกิดการปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย บริการปฐมภูมิและหน่วยบริการปฐมภูมิ เกณฑ์คุณภาพที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ และพิจารณาผลการดำเนินการขององค์กร ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิจัดให้มีการวัด วิเคราะห์ผลงาน การจัดการความรู้ที่สอดคล้อง เชื่อมโยง ไปในทิศทางเดียวกัน ตอบสนองเป้าหมาย/พันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ มีการ ทบทวนประเมินผล และปรับปรุงผลงานภายในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างต่อเนื่อง ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ และผลการดำเนินงาน มีความครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน น่าเชื่อถือ ทันสถานการณ์ และง่ายต่อการสืบค้น 2. การจัดระบบวัดผลที่ทันต่อสถานการณ์ขององค์กรและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก 3. การทบทวน ประเมินผล เพื่อปรับปรุงกระบวนการและตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างเป็น ระบบ และต่อเนื่อง องค์ประกอบ 4.1.1 การวัดผลงาน 4.1.2 การวิเคราะห์และทบทวนประเมินผลงาน
  • 19. 37 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 4.1.1 การวัดผลงาน ข้อกำหนดโดยรวม หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เลือก รวบรวม เชื่อมโยง ข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพและตัวชี้วัดสำคัญ เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตาม กำกับการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลเพื่อ การตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมอย่างเหมาะสม รวมทั้งพัฒนาระบบวัดผลงานให้ทันกับ ความต้องการขององค์กรและทิศทางของระบบสุขภาพ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งจาก ปัจจัยภายใน และภายนอก ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. การจัดทำระบบฐานข้อมูล (HCIS, ข้อมูล 18 แฟ้ม, Family Folder, Community Folder, ทะเบียนกลุ่มประชากรเป้าหมายต่างๆ, ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ฯลฯ) ที่ง่ายต่อการจัดเก็บ สืบค้นและใช้ประโยชน์ สามารถนำมาใช้ประเมิน ผลและเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ หรือผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2. การจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน น่าเชื่อถือ ทันสถานการณ์ และง่ายต่อการสืบค้น 3. การทบทวนข้อมูลในส่วนที่บรรลุเป้าหมายและไม่บรรลุเป้าหมาย เพื่อนำมาใช้ใน การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลจริง เพื่อการพัฒนางาน การสร้างนวัตกรรม และการปรับปรุง งานอย่างต่อเนื่อง 4. การจัดระบบวัดผลที่ทันต่อสถานการณ์ขององค์กรและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (ตัวอย่าง สปสช. จัดสรรเงินตามผลงานของเครือข่ายฯ)
  • 20. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 38 4.1.2 การวิเคราะห์และทบทวนประเมินผลงาน ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการวิเคราะห์และทบทวนประเมินผลงานปัจจุบันและที่ผ่านมา ตามแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ (แผนงาน/โครงการ) เพื่อประเมินความก้าวหน้า ความสำเร็จ ตามกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ (แผนงาน/โครงการ) และความสามารถในการตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งสื่อสารผลการวิเคราะห์ ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับทราบ เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน หาโอกาสสร้าง นวัตกรรมและใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การบริหารจัดการ การวางแผนงาน/โครงการ ให้บรรลุ ตัวชี้วัดสำคัญ และตอบสนองความต้องการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิและชุมชนได้ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการสรุปข้อมูลของชุมชน วิเคราะห์ปัญหาชุมชน วางแผนแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งมีระบบการประสานข้อมูลและส่งต่อข้อมูลแก่ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดการวางแผนและการจัดการดูแลสุขภาพชุมชน อย่างต่อเนื่อง 2. มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือแผนงาน/โครงการ หรือไม่ มีประเด็นใดที่ควรปรับปรุง พัฒนาเพิ่มเติม 3. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการนำสิ่งที่ได้จากการทบทวน มาสื่อสารให้กับบุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการปรับปรุงและหาโอกาสสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งถ่ายทอดวิธีการ ปฏิบัติ (ในส่วนที่เป็น Best Practice) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงการพัฒนางาน กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำมาใช้ในการปรับเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ในการ ทำงาน
  • 21. 39 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) เกณฑ์คุณภาพที่ 4.2 การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดการข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็น มีคุณภาพและ พร้อมใช้งาน มีการจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยบริการ ปฐมภูมิ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. ข้อมูล มีความน่าเชื่อถือ ทันเหตุการณ์ เข้าถึงได้ง่าย 2. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ 3. โปรแกรม และคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน 4. พัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ องค์ประกอบ 4.2.1 ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ 4.2.2 การจัดการความรู้ขององค์กร 4.2.3 การจัดการข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ให้มีคุณภาพ 4.2.1 ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดการด้านต่างๆ (วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัดเก็บ Hardware & Software การจัดการข้อมูล) เพื่อให้มีข้อมูลที่ทันสมัย พร้อมใช้ เข้าถึงได้ง่ายโดย บุคลากรผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ นำมาใช้ในการจัดบริการ การบริหารจัดการ และการวางแผนที่เหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของเครือข่ายบริการ ปฐมภูมิ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. ผลสำรวจการใช้ข้อมูลและสารสนเทศของบุคลากร ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 2. รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลของบุคลากร ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้มี ความน่าเชื่อถือ ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย
  • 22. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 40 3. ระบบรักษาความลับและป้องกันการรั่วไหล ในบริการข้อมูลและสารสนเทศ 4. โปรแกรม และคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน 4.2.2 การจัดการความรู้ขององค์กร ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำความรู้ที่เป็น ประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือหน่วยงานอื่น ร่วมกับความรู้จากการปฏิบัติ มาบริหาร จัดการให้เป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสม ตอบสนองต่อการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเพื่อแสวงหาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร 2. การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์จากผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรภายนอก 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศและนำไปสู่การปฏิบัติ 4. การประมวลและนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผน 4.2.3 การจัดการข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ให้มีคุณภาพ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดการข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ของเครือข่าย บริการปฐมภูมิ ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และองค์ความรู้ที่ต้องการ ให้ ครอบคลุม รวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัย เชื่อมโยง น่าเชื่อถือ สามารถเข้าถึง ตรวจสอบได้ มีการรักษา ความปลอดภัย และการกำหนดชั้นความลับ
  • 23. 41 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ข้อกำหนดโดยรวม หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ตรวจประเมินระบบงาน ระบบการ เรียนรู้ของบุคลากร การสร้างแรงจูงใจ ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง และใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ เพื่อให้มุ่งไปในแนวเดียวกับเป้าประสงค์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ รวมทั้งตรวจประเมิน ความใส่ใจ การสร้างและรักษาสภาพแวดล้อม ในการทำงาน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนิน งานที่เป็นเลิศและความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรและหน่วยบริการปฐมภูมิ องค์ประกอบ 5.1 ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ 5.2 การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 5.3 การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจแก่บุคลากร เกณฑ์คุณภาพที่ 5.1 ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของงานตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดระบบบริหารบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิใน รูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตามภาระหน้าที่โดยกำหนดความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคน ครอบคลุมกระบวนการในการกำกับดูแลผู้ที่มีคุณสมบัติ เฉพาะตำแหน่งให้ครบตามที่กำหนดไว้ การจัดระบบประเมินและพัฒนาผลงานของบุคลากร การ บริหารค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกื้อหนุนให้บุคลากรในหน่วยบริการ ปฐมภูมิมีผลงานที่ดี มีขวัญกำลังใจ เกิดการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบ 5.1.1 การจัดระบบและบริหารงาน 5.1.2 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 5.1.3 การจ้างงานและความก้าวหน้าในการงาน
  • 24. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 42 5.1.1 การจัดระบบและบริหารงาน ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการวางรูปแบบ จัดการระบบงาน ในเครือข่ายบริการ ปฐมภูมิ โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถของบุคลากรตามบทบาทหน้าที่ ภาระงานที่ได้รับมอบ หมาย คำนึงถึงวัฒนธรรม ความคิดของบุคลากร และชุมชน โดยส่งเสริมให้บุคลากรในเครือข่าย เกิดความร่วมมือ มีความคิดริเริ่ม ภายใต้อำนาจการตัดสินใจที่เหมาะสม เป็นธรรม 2. มีการจัดการให้บุคลากรทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย และองค์กรมีความ คล่องตัว 3. มีการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี รวมทั้ง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ระหว่างผู้ที่ ทำงานต่างหน้าที่ ต่างสถานที่ และต่างหน่วยงาน 5.1.2 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร อย่างโปร่งใส เป็นธรรม 2. มีการสื่อสาร แจ้งผลการประเมินให้บุคลากรทราบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและ ปรับปรุงการทำงาน 3. มีแนวทางในการยกย่องชมเชย การให้รางวัล และสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้บุคลากร มีขวัญ กำลังใจ มีการทำงานที่มีประสิทธิผล มีจิตสำนึกในการทำงานที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ และ ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5.1.3 การจ้างงานและความก้าวหน้าในการงาน ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีวิธีการกำหนดคุณลักษณะและสมรรถนะที่จำเป็นของ บุคลากรในการปฏิบัติตามบทบาทภารกิจที่ต้องการ 2. มีวิธีการสรรหา ว่าจ้าง และรักษา บุคลากรได้ตรงตามความต้องการ 3. มีวิธีการสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้แก่บุคลากรอย่างเป็นธรรม และ มีแผนการพัฒนาบุคลากร การสืบทอดตำแหน่งผู้นำและผู้บริหาร
  • 25. 43 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) เกณฑ์คุณภาพที่ 5.2 การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรในเครือข่าย บริการปฐมภูมิ ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการเรียนรู้ และการสร้างแรงจูงใจของบุคลากร ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าประสงค์โดยรวม สอดคล้องกับ พันธกิจและแผนกลยุทธ์ส่งผลให้มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ และความสามารถของแต่ละบุคคล องค์ประกอบ 5.2.1 การพัฒนาบุคลากร 5.2.2 การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาความก้าวหน้าในงาน 5.2.1 การพัฒนาบุคลากร ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการเรียนรู้ของบุคลากร อันประกอบไปด้วย การค้นหาความจำเป็น และความต้องการในการฝึกอบรม การจัดทำแผนพัฒนา และดำเนินการ พัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับพันธกิจ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการประเมินผล สำเร็จของการดำเนินงานการพัฒนาตามแผนฯ ที่กำหนด ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. การจัดระบบการเรียนรู้ของบุคลากรที่สอดคล้องพันธกิจ แผนกลยุทธ์ และแผน ปฏิบัติการขององค์กร 2. การประเมินผลการพัฒนาบุคลากรว่ามีผลกระทบต่อวิธีการทำงานของบุคลากร และผลงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิโดยรวม 3. การนำเอาความรู้จากคลังความรู้ที่สะสมจากการเรียนรู้ขององค์กรมาใช้ในการ ฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร
  • 26. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 44 5.2.2 การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาความก้าวหน้าในงาน ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนให้บุคลากรมีการ พัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีระบบการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมบุคลากรให้ใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรและ พันธกิจของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
  • 27. 45 เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) เกณฑ์คุณภาพที่ 5.3 การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจแก่บุคลากร ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดระบบสนับสนุนการดำเนินงาน ที่ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความผาสุก ความพึงพอใจ และ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ดี ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 2. บุคลากรมีความพึงพอใจและมีความผาสุกในการทำงาน องค์ประกอบ 5.3.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน 5.3.2 การให้การสนับสนุนและสร้างความพึงพอใจให้แก่บุคลากร 5.3.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการจัดสถานที่ทำงาน ออกแบบวิธีทำงาน ที่ส่งเสริม สุขอนามัย ความปลอดภัย และการป้องกันภัย มีการกำหนดตัววัดผลงานและปรับปรุงระบบ การทำงานเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดสถานที่ทำงานและออกแบบวิธีทำงาน ที่ส่งเสริม สุขอนามัย ความปลอดภัย ของบุคลากร 2. มีการเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือการปรับ โครงสร้าง และการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน อย่างเหมาะสม
  • 28. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA) 46 5.3.2 การให้การสนับสนุนและสร้างความพึงพอใจให้แก่บุคลากร ข้อกำหนดโดยรวม เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกและความพึงพอใจ ของบุคลากรในแต่ละระดับ แต่ละประเภท มีการจัดระบบสวัสดิการ และระบบงานให้เอื้อ อำนวย ตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรในแต่ละระดับ และแต่ละประเภท ประเมิน ความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของบุคลากรด้วยวิธีการที่เป็นทางการและไม่เป็น ทางการนำผลการประเมินมากำหนดลำดับความสำคัญในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการ ทำงานและบรรยากาศการทำงานของบุคลากร ข้อกำหนดรายละเอียดคุณภาพ 1. มีการค้นหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของ บุคลากร และจำแนกปัจจัยดังกล่าวตามลักษณะของบุคลากรที่แตกต่างกัน 2. มีการจัดบริการ สวัสดิการ นโยบายและความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับความ ต้องการของบุคลากรแต่ละกลุ่ม 3. มีระบบการประเมินความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของพนักงาน ทั้งโดย วิธีที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 4. มีการนำผลการประเมินข้างต้นมาวิเคราะห์ เชื่อมโยงกับผลลัพธ์งานขององค์กร และสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงระบบการทำงาน และสภาพ แวดล้อม