SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 53
ศิลปะกับการสร้างสรรค์ “พระพิฆเณศกับมหาวิทยาลัยศิลปากร”
พระพิฆเนศวร  พระพิฆเนศวร (ภาษาสันสกฤต : คเณศ) หรือ พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระวิฆเณศวร หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระคเณศ หรือ คณปติ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)
พระพิฆเนศวร พระพิฆเนศวรเป็นโอรสของพระอิศวรและพระอุมาเทวีมีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือท่านในฐานะที่ท่านเป็น "วิฆเนศ" นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรค ที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายถึง ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ รูปกายที่อ้วนพีนั้นมีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นช้างมีความหมาย หมายถึงผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมอง แยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณา ที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมีพาหนะคือ หนู ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิด ที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน
ตำนานของพระพิฆเนศวร ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอก ที่จะเข้ามาก่อความ วุ่นวายในพระตำหนัก ในจึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพ เสด็จออกไปตามพระกิจต่างๆมีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้นองค์ศิวเทพได้ กลับมาและเมื่อ จะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกันศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่ม นั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้พลาง ถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตาม บัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็ เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูร และตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำ ร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ทรงตรัสว่าจะทำให้ เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่ง กระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้เมื่อเห็น
เช่นนั้นพระศิวะเลยโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรก ที่พบมาและปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อ ให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่อง ให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและยังทรงให้พรว่าในการประกอบ พิธีการต่างๆทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น เนื่องจากพระพิฆเนศวรมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่นๆนั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ท่านดังนี้ 1. พระเศียรของท่านหมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต 2. พระวรกายแสดงถึงการที่เป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี 3. ศีรษะช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด 4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า โอม ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล 5. หระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง 6. พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก 7. มือขวาล่างทรงงาที่หักครึ่งซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์มหาภารตะให้มหาฤษีเวทวยาสมุนีและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละ
8. อีกมือทรงลูกประคำที่แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 9.ขนมโมณฑกะหรือขนมหวานลัดดูในงวงเป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความ หวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเองเพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับคน อื่นๆ 10. หูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่าท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา 11. งูที่พันอยู่รอบท้องท่านแสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ 12. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือองค์และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก
พระพิฆเนศวร32 ปาง
ปางที่ 1 : พระบาล คณปติ (BalaGanapati) อวตารภาคเด็ก : ปางอันเป็นที่รักของทุกคนและเด็กๆ"โอม ศรี บาลา คณปติ ยะนะมะฮา" เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็ก คลานอยู่กับพื้น หรืออิริยาบทอื่นๆ เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนลักษณะ มีวรรณะสีแดงเข้มมี 4 กร บาลคณปติ หมายถึงสีทองของพระเจ้าทรง้นอ้อย มะม่วง กล้วย และขนุนทรงูกมะขวิด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และภาวะการเจริญเติบโต นิยมบูชาในบ้านเรือน หรือโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลและชั้นประถม สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น ฯลฯ 
ปางที่ 2 : พระตรุณ คณปติ (TarunaGanapati) อวตารภาควัยหนุ่ม : ปางที่ให้คุณประโยชน์ในกิจการงาน"โอม ศรี ตรุณะคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงอมส้มเหมือนอาทิตย์ยามแรกอรุณ มี 8ทรงข้าว ต้นอ้อย ตะบอง บ่วงบาศ งาหัก ผลฝรั่ง ขนมโมทกะ และขนมอื่นๆ ปางนี้เป็นตัวแทนการเจริญเติบโต ความเป็นหนุ่มสาว นิยมตั้งบูชาไว้ตามสถานศึกษา มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาววัยกระตือรือร้น 
ปางที่ 3 : พระภักติ คณปติ (BhaktiGanapati) ปางบูชาขอพระเวท เพื่อความสมบูรณ์เติมเต็มของชีวิต"โอม ศรี ภัคดี คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาวบริสุทธิ์ดั่งพระจันทร์เต็มดวงในฤดูเก็บเกี่ยว มี 4ทรงมะม่วง กล้วย ลูกมะพร้าว และถ้วยข้าวปาส(ปรุงด้วยนมสด และข้าวสาร มีรสหวาน) พระภัคติ คณปติ หมายถึงผู้ภักดีอย่างแท้จริง บูชาเพื่อความสุขสมหวังในชีวิต หรือเพื่อหลุดพ้น 
ปางที่ 4 : พระวีระ คณปติ (VeeraGanapati) อวตารแห่งนักรบ ปางออกศึก และปราบมาร ให้อำนาจในการบริหารปกครอง และความเป็นผู้นำ"โอม ศรี วีระ คณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีแดงโลหิต มี 16 กร ทรงอาวุธ และสิ่งมงคลต่างๆคือ โล่ หอก ค้อน คทา ธงชัย จักรตรา พญางู ขวาน คันศร ลูกศร ตรีเพชร ขอสับช้าง อสูร กระบี่ ตะบอง และบ่วงบาศ พระกรเหล่านั้นกางออกประดุจรัศมีอำนาจแห่งดวงอาทิตย์   อำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท 
ปางที่ 5 : พระศักติ คณปติ (ShaktiGanapati) ปางทรงอำนาจเหนือการงาน การเงิน และความรัก"โอม ศรี ศักติ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแป้งจันทร์ มี 4 กร ประทานพรทรงมาลัย บ่าวบาศ และกรหนึ่งโอบพระชายาที่ประทับอยู่หน้าตักด้านซ้ายรัศมีสีแดงส้ม สื่อถึงพลังอำนาจที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง อำนวยผลให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน 
ปางที่ 6 : พระทวิชา คณปติ (DwijaGanapati) ปางของการบุกเบิก เริ่มต้นชีวิตใหม่ เปิดกิจการใหม่"โอม ศรี ทวิชา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาวมี 4 เศียร 4ทรงลูกปะคำ ไม้ครู(หรือพลอง) กาน้ำ และคัมภีร์เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ ความพากเพียร และแสวงหาวิชาความรู้ อำนวยผลให้กับผู้ประกอบกิจการต่างๆ นักธุรกิจ นักลงทุน นักสำรวจ นักบุกเบิก คนทำงานต่างแดน เป็นต้น 
ปางที่ 7 : พระสิทธิ คณปติ (SiddhiGanapati) ปางประทานความสมบูรณ์ และทรัพย์สมบัติ"โอม ศรี สิทธิ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงช่อดอกไม้ มะม่วง ต้นอ้อย และขวาน ส่วนงวงนั้นชูขนมคอยประทานความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ให้กับโลก   อำนวยผลด้านทรัพย์สินเงินทอง และความอุดมสมบูรณ์ 
ปางที่ 8 : พระอุจฉิษฏะคณปติ (UchhishtaGanapati) ปางเสน่หา และความสำเร็จสมปรารถนา"โอม ศรี อุจฉิษฏะคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีฟ้าเทาดุจเมฆา มี 6 กร ประทับนั่งโดยพระกรหนึ่งโอบอุ้มศักติชายาอยู่ที่ตักด้านซ้ายส่วนพระกรอื่นถือลูกประคำ ลูกทับทิม พิณ รวงข้าว และดอกบัว อำนวยผลให้เกิดเสน่ห์ และความสำเร็จในด้านต่างๆตามแต่จะขอพร 
ปางที่ 9 : พระวิฆณาคณปติ (VighnaGanapati) ปางขจัดอุปสรรค และแก้ไขปัญหา"โอม ศรี วิฆนา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทองคำ มี 8 กร ทรงมาลัย ขวาน  ดอกไม้ จักรตรา หอยสังข์ ต้นอ้อย(เป็นคันศร) บ่วงบาศ และตะบอง   อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน 
ปางที่ 10 : พระกษิประ คณปติ (KshipraGanapati) ปางประทานพรให้สำเร็จรวดเร็ว"โอม ศรี กษิประ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงเข้มดุจกุหลาบ มี 4 กร เป็นผู้ให้ศีลให้พร ประทานพรให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็วทรงตะบอง งาหัก บ่วงบาศ และช่อดอกไม้ อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน 
ปางที่ 11 : พระเหรัมภะคณปติ (HerambaGanapati) ปางปกป้องคุ้มครอง"โอม ศรี เหรัมภะคณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีขาว มี 5 เศียร 10 กร ประทับนั่งบนหลังสิงโต หมายถึง พลังอำนาจในการปกครองบริวาร กางพระกรประดุจรัศมีคุ้มกันสรรพภัย พระหัตถ์ซ้ายประทานพร พระหัตถ์ขวาอำนวยพรทรงมะม่วง ลูกประคำ ขนมโมทกะ งาหัก บ่วงบาศ ค้อน ขวานและพวงมาลัย บูชาเพื่อขจัดความอ่อนแอ ไร้พลัง เป็นปางหนึ่งที่พระราชาในอินเดียนิยมบูชากันมาก อำนวยผลด้านการปกป้องคุ้มครองบริวาร การบริหาร ปกครองของผู้นำ 
ปางที่ 12 : พระมหา คณปติ (MahaGanapati) ปางประทานความสุขอันยิ่งใหญ่ให้ครอบครัว"โอม ศรี มหา คณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีแดง มี 10 กร 3 เนตร ประดับจันทร์เสี้ยวบนมงกุฎปางนี้ทรงอุ้มชายา คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิไว้บนตักทั้งสองข้าง(บางตำราว่าอุ้มองค์เดียว)ทรงโถใส่อัญมณี รวงข้าว จักรตรา บ่วงบาศ ดอกลิลลี่ ต้นอ้อย (เป็นคันศร) ดอกบัว และลูกทับทิมแดง   อำนวยผลให้ครอบครัวเกิดความสมบูรณ์พูนสุข มีทรัพย์สิน และบริวารมาก 
ปางที่ 13 : พระวิชัย คณปติ (VijayaGanapati) ปางกำจัดอุปสรรค และความมืดมิด"โอม ศรี วิชะยา คณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีแดง มี 4 กร ประทับบนตัวหนู หมายถึงการทำลาย ความมืดมิดและอุปสรรคทั้งหลายให้หมดไปทรงะบอง ผลมะม่วง และบ่วงบาศ อำนวยผลทางปัญญาให้กับครูบาอาจารย์ ปัญญาชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน และช่างฝีมือทุกแขนง 
ปางที่ 14 : พระลักษมี คณปติ (LakshmiGanapati) ปางแห่งความมั่งมีศรีสุข และปรีชาญาณ"โอม ศรี ลักษมี คณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีขาว มี 8 กร เป็นเทพแห่งการให้ที่บริสุทธิ์ สีขาวหมายถึงการมีสติปัญญาสูงส่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างโอบอุ้มพระชายา 1 หรือ 2 พระองค์ คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิ (บางตำราว่าหนึ่งในนั้นคือพระลักษมี จึงเรียกว่า ลักษมี คณปติ)ทรงผลทับทิมแดง ช่อกัลปพฤกษ์ นกแก้ว ตะบอง บ่วงบาศ โถใส่อัญมณี และกระบี่ อำนวยผลทางด้านสติปัญญา และความมั่งมีศรีสุข 
ปางที่ 15 : พระนฤตยะ คณปติ (NrityaGannapati) ปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง"โอม ศรี นฤตยะ คณปติ ยะนะมะฮา"  วรรณะสีเหลืองทอง มี ๔ กร เป็นนักเต้นร่ายรำระบำฟ้อน และเป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้ชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัวทรงะบอง บ่วงบาศ และขวาน  ควรตั้งบูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆตามความเหมาะสม 
ปางที่ 16 : พระอุทวะ คณปติ (UrdhvaGanapati) ปางช่วยให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง"โอม ศรี อุทวะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทอง มี 6 กร พระกรข้างหนึ่งโอบพระชายาไว้บนตัก ด้านซ้ายทรงถือดอกบัวคบเพลิง ช่อดอกไม้ งาหัก ลูกศร คันศรทำจากต้นอ้อย และรวงข้าว ในนิกายตันตระ นิยมบูชาปางนี้เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีด้านเสน่ห์ อำนวยผลให้สมปรารถนาทุกประการ 
ปางที่ 17 : พระเอกอักษรา คณปติ (EkaaksharaGanapati) ปางทรงอำนาจด้านพระเวท"โอม ศรี เอกา อักษรา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 4 กร มีดวงตาที่สาม ประดับจันทร์เสี้ยวอยู่เหนือเศียรกรหนึ่งประทานพรทรงะบอง บ่วงบาศ และผลทับทิม ประทับเหนือพาหนะคือหนู อำนวยผลด้านป้องกันอาถรรพณ์ และคุณไสยสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ร่ำเรียนด้านพระเวท หรือสรรพศาสตร์ด้านต่างๆ 
ปางที่ 18 : พระวระ คณปติ (VaraGanapati) ปางแห่งความรักที่สุขสมหวัง"โอม ศรี วะระ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 4 กร 3 เนตร มีดวงตาที่สาม อันเป็นดวงตาแห่งสติปัญญา และมีจันทร์เสี้ยวประดับเหนือเศียร กรหนึ่งโอบกอดชายาบนตักทรงชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ ที่งวงชูโถใส่น้ำผึ้ง อำนวยผลให้สมหวังในความรัก ควรตั้งบูชาไว้ในร้านเสื้อผ้า ร้านค้าที่เกี่ยวกับการสมรส การแต่งงาน และความรัก ฯลฯ 
ปางที่ 19 : พระตรีอักษรา คณปติ (TryaksharaGanapati) ปางกำเนิดอักขระโอม"โอม ศรี ตรีอักษรา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทอง มี 4ทรงะบอง บ่วงบาศ มะม่วง และมีขนมโมทกะอยู่ที่งวง อำนวยผลด้านการเรียนพระเวท และอักษรศาสตร์ 
ปางที่ 20 : พระกศิปะ ปรสัทคณปติ (Kshipra-PrasadaGanapati) ปางประทานทรัพย์ และความรอบรู้"โอม ศรี กศิปะ ปรสัทคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 6 กร ท้องที่ใหญ่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งโภคทรัพย์ และความรอบรู้อันกว้างไกลทรง้นทับทิม ตะบอง บ่วงบาศ ดอกบัว และผลทับทิม เหมาะสำหรับตั้งบูชาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัย สถานอบรมวิชาชีพต่างๆ หรือบริษัทห้างร้านทั่วไป 
ปางที่ 21 : พระหริทราคณปติ (HaridraGanapati) ปางรวยเสน่ห์ และรวยทรัพย์"โอม ศรี หริทราคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีเนื้อ หรือสีเหลืองอ่อน มี 3 เนตร 4ทรงกระบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ ใช้อำนาจของบ่วงเพื่อร้อยรัดศรัทธาของผู้เลื่อมใส และตะบองผลักดันให้ก้าวเดินไปข้างหน้า อำนวยผลให้ทุกคนที่อยากมีเสน่ห์ และร่ำรวย เช่น ดารานักแสดง นักดนตรี นักร้อง ดีเจ พิธีกร หรือผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งต้องใช้พรสวรรค์ และเสน่ห์ส่วนตัว 
ปางที่ 22 : พระเอกทันตะ คณปติ (EkadantaGanapati) ปางสำเร็จทุกสิ่ง"โอม ศรี เอกทันตะ ปะระสัทคณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีฟ้า มี 4ทรงขวาน (เพื่อใช้กำจัดอวิชา) ทรงลูกประคำ (เพื่ออธิษฐาน) ผลไม้  และงาข้างที่หักเอกทันตะหมายถึงเทพเจ้าผู้มีงาข้างเดียว อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทุกสิ่งตามแต่จะอธิษฐาน 
ปางที่ 23 : พระสะริสติ คณปติ (ShrishtiGanapati) ปางออกเดินทาง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่"โอม ศรี สะริสติ ปะระสัทคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ขี่หนูเป็นพาหนะทรงะบอง มะม่วง และบ่วงบาศ อำนวยผลให้กับผู้ประกอบอาชีพด้านการเดินทางที่ไม่หยุดนิ่ง เช่น นักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส กัปตันเรือ มัคคุเทศก์ ผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไม่หยุดนิ่งเช่น นักคิด นักเขียน นักโฆษณา นักออกแบบ เป็นต้น 
ปางที่ 24 : พระอุททันตะ คณปติ (UddandaGanapati) ปางกำจัดภูตผี และคุณไสย"โอม ศรี อุททันตะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 10ทรงโถใส่ขนม หรือน้ำผึ้ง ดอกบัว ดอกลิลลี่สีฟ้า คทา ต้นอ้อย กิ่งไม้ บ่วงบาศ พวงมาลัย และผลทับทิม โดยใช้กรซ้ายโอบพระชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย อำนวยผลด้านขจัดทุกข์ภัย และอาถรรพณ์ต่างๆ บันดาลให้ครอบครัวมีความสุข
ปางที่ 25 : พระรีนาโมจัน คณปติ (RunamochanaGanapati) ปางแก้กรรม และขจัดหนี้สิน"โอม ศรีโอมจัน คณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีขาว มี 4 กร มีหน้าที่ปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการ คำสาปและความผิดพลาดทั้งหลายทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ เหมาะบูชาสำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ให้ดีขึ้น (พลิกดวงชะตา) แก้ไขกรรมเก่า ปลดหนี้สิน ล้างมลทินทั้งปวง 
ปางที่ 26 : พระตันติ คณปติ (DhundhiGanapati) ปางขุมทรัพย์ทางปัญญา"โอม ศรี ตันติ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี ๔ทรงูกประคำ ขวาน โถใส่อัญมณี ที่แสดงขุมทรัพย์ของผู้มีพุทธิปัญญา อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านใช้ความคิด ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ทุกแขนง 
ปางที่ 27 : พระทวิมุข คณปติ (DwimukhaGanapati) ปาง 2 เศียร"โอม ศรี ทวิมุข คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีเนื้อ มี 2 เศียร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และโถอัญมณี เป็นปางที่เป็นคนที่ปรับตัวได้กับทุกคนให้ทรัพย์มาก และขจัดอวิชา อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ด้านติดต่อเจรจา ประสานงาน เป็นสื่อกลางต่างๆ นักการทูต นักจิตวิทยาที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง 
ปางที่ 28 : พระตรีมุข คณปติ (TrimukhaGanapati) ปาง 3 เศียร"โอม ศรี ตรีมุข คณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีแดง หรือสีชมพูสด มี 3 เศียร 6 กร สามเศียรหมายถึง ภพทั้งสาม (สวรรค์,โอมนุษย์, บาดาล)ปางหนึ่งประทับนั่งบนดอกบัว ทรงประทานพร พระหัตถ์ขวาประทานอภัยพระหัตถ์ซ้ายอำนวยพร กรอื่นๆทรงถือตะบอง ลูกปะคำ บ่วงบาศ และโถใส่น้ำผึ้ง อำนวยผลทางด้านโภคทรัพย์ มีอำนาจ และแคล้วคลาดปลอดภัย 
ปางที่ 29 : พระสิงหะ คณปติ (SinhaGanapati) ปางประทับราชสีห์"โอม ศรี สิงหะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาว มี 8 กร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพรทรงช่อดอกไม้ ราชสีห์ พิณ ดอกบัว โถอัญมณี ประทับบนสิงโต (คล้ายพระเหรัมภะคณปติ) หมายถึงพลังอำนาจในการปกครองบริวาร ผิววรกายขาวเป็นสัญลักษณ์ของพลังบริสุทธิ์ หรือการหลุดพ้น การอำนวยผลและสถานที่สำหรับตั้งบูชา เป็นดุจเดียวกับ พระเหรัมภะคณปติ และพระวีรคณปติ คืออำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท 
ปางที่ 30 : พระโยคะ คณปติ (Yoga Ganapati) ปางแห่งพระเวท หรือปางสมาธิกรรมฐาน"โอม ศรี โยคะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงูกประคำ ต้นอ้อย บ่วงบาศ และขอสับช้าง เป็นปางแห่งพระเวท และการรักษาโรคภัยต่างๆ อำนวยผลให้กับผู้เป็นอาจารย์ และนักศึกษาโยคะสมาธิแบบต่างๆ เหมาะสำหรับตั้งบูชาไว้ในสถานศึกษาหรือบูชาไว้ใน เทวสถาน เทวาลัย โรงเรียนสอนศาสนาฮินดู ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรมภายในบ้าน เป็นต้น 
ปางที่ 31 : พระทุรคา คณปติ (DurgaGanapati) ปางมหาอำนาจ"โอม ศรี ทุรคา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทอง มี 8ทรงะบอง คันศร ลูกศร บ่วงบาศ ธงชัย ลูกประคำ และขนมโมทกะ เป็นปางที่พระราชาในชมพูทวีปนิยมสักการบูชามากปางหนึ่งอำนวยผลดีต่อผู้มีหน้าที่ราชการ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ฝ่ายปกครอง ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ 
ปางที่ 32 : พระสังกตะหะรา คณปติ (SankataharaGanapati) ปางทำลายอุปสรรค และความเศร้าหมอง"โอม ศรี สังกตะ หะรา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ประทับนั่งบนดอกบัวสีแดง พระหัตถ์ขวาอำนวยพรพระหัตถ์ซ้ายโอบชายาบนตักซ้าย ส่วนกรอื่นทรงถือชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ อำนวยผลให้ครอบครัวมีความสุข หรือประสบความสำเร็จ ตามแต่จะอธิษฐาน พระพิฆเณศ
ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร  มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เดิมคือโรงเรียนประณีตศิลปกรรมสังกัดกรมศิลปากร เปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ CorradoFeroci) ชาวอิตาเลียนซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศ ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน แห่งนี้ขึ้น และได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยน ชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และคณะโบราณคดี หลังจากนั้นได้จัดตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ขึ้นในปีต่อมา
ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร   ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น  แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม      โดยจัดตั้งคณะ อักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑  คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙  คณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕   และจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น
ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร      พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้ง วิทยาเขตแห่งใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และวิทยาลัยนานาชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖          มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยการจัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย พระพิฆเนศรเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ.2494ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร
พระพิฆเนศวรกับมหาวิทยาลัยศิลปากร คนไทยถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะองค์บรมครูแห่งศิลปะวิทยาการ 18 ประการ โดยคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศวร เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศวรเป็นสัญลักษณ์
รวมภาพพระพิฆเนศวรกับมหาวิทยาลัยศิลปากร
สรุปผลการดำเนินงาน จากข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพิฆเนศวรที่มีความสำคัญต่อประชาชนทั่วไป  โดยมีความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพิฆเนศวรว่า  ท่านคือเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการ  เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ  ขจัดความขัดข้องทั้งปวง  และยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรเนื่องจากเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยจึงเป็นที่เคารพนับถือของนักศึกษาในรั้วศิลปากรทุกคน ข้อค้นพบที่ได้ พระพิฆเนศวรคือเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการ  เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ  ขจัดความขัดข้องทั้งปวง ข้อคิดที่ได้ คนส่วนใหญ่มักจะชอบขอพรจากพระพิฆเนศวรเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ แต่จริงๆ  แล้วการขอพรจากพระพิฆเนศวรเป็นได้แค่ที่พึ่งทางใจเท่านั้น  การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเท่านั้น  
เอกสารอ้างอิง www.thepjamlang.com/articles/233904/พระพิฆเนศ_32ปาง.html th.wikipedia.org/wiki/พระพิฆเนศวร www.su.ac.th
กลุ่ม 139WHITE รายวิชา080101 มนุษย์กับการสร้างสรรค์ นาย ถิรวุฒิ  กลิ่นลออ  รหัส 07530418  คณะวิทยาศาสตร์ นาย ธีรไนย  ศรีธรรมรงค์  รหัส 07530423  คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว ปรางค์วลัย  เพ็งมาก รหัส 07530432  คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว วิไลรัตน์  บุษบาบาล รหัส 07530447  คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว ศศิมาพร  ขันทองดี  รหัส 07530452  คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว อรทัย  บุญฤทธิ์  รหัส 07530469  คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว สุมินตรา  พามา   รหัส 07530603  คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว นลินทิพย์  สุรโชติเวศย์ รหัส 09530669  คณะวิศวกรรมศาสตร์ นางสาว นันทพัช  นันทอารี รหัส  09530671  คณะวิศวกรรมศาสตร์ นางสาว ปาลวจี  บุณยบุตร รหัส 09530701 คณะวิศวกรรมศาสตร์

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a มนุษย์กับการสร้างสรรค์

ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59
ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59
ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59kittisak1989
 
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓Tongsamut vorasan
 
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓Tongsamut vorasan
 
บาลี 25 80
บาลี 25 80บาลี 25 80
บาลี 25 80Rose Banioki
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2watdang
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงพัน พัน
 
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดpentanino
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์Gob_duangkamon
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ponderingg
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์sangworn
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1kutoyseta
 

Semelhante a มนุษย์กับการสร้างสรรค์ (17)

มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
 
ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59
ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59
ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มที่ 59
 
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
 
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
2 25คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๓
 
บาลี 25 80
บาลี 25 80บาลี 25 80
บาลี 25 80
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
 
มิลินทปัญหา
มิลินทปัญหามิลินทปัญหา
มิลินทปัญหา
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-4page
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-1page
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย +568+dltvp4+55t2his p04 f12-4page
 
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1pageสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1page
สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย+568+55t2his p04 f12-1page
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 

มนุษย์กับการสร้างสรรค์

  • 1.
  • 3. พระพิฆเนศวร  พระพิฆเนศวร (ภาษาสันสกฤต : คเณศ) หรือ พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระวิฆเณศวร หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระคเณศ หรือ คณปติ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)
  • 4. พระพิฆเนศวร พระพิฆเนศวรเป็นโอรสของพระอิศวรและพระอุมาเทวีมีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือท่านในฐานะที่ท่านเป็น "วิฆเนศ" นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรค ที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายถึง ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ รูปกายที่อ้วนพีนั้นมีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นช้างมีความหมาย หมายถึงผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมอง แยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณา ที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมีพาหนะคือ หนู ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิด ที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน
  • 5. ตำนานของพระพิฆเนศวร ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอก ที่จะเข้ามาก่อความ วุ่นวายในพระตำหนัก ในจึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพ เสด็จออกไปตามพระกิจต่างๆมีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้นองค์ศิวเทพได้ กลับมาและเมื่อ จะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกันศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่ม นั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้พลาง ถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตาม บัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็ เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูร และตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำ ร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ทรงตรัสว่าจะทำให้ เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่ง กระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้เมื่อเห็น
  • 6. เช่นนั้นพระศิวะเลยโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรก ที่พบมาและปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อ ให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่อง ให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและยังทรงให้พรว่าในการประกอบ พิธีการต่างๆทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น เนื่องจากพระพิฆเนศวรมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่นๆนั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ท่านดังนี้ 1. พระเศียรของท่านหมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต 2. พระวรกายแสดงถึงการที่เป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี 3. ศีรษะช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด 4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า โอม ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล 5. หระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง 6. พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก 7. มือขวาล่างทรงงาที่หักครึ่งซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์มหาภารตะให้มหาฤษีเวทวยาสมุนีและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละ
  • 7. 8. อีกมือทรงลูกประคำที่แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 9.ขนมโมณฑกะหรือขนมหวานลัดดูในงวงเป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความ หวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเองเพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับคน อื่นๆ 10. หูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่าท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา 11. งูที่พันอยู่รอบท้องท่านแสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ 12. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือองค์และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก
  • 9. ปางที่ 1 : พระบาล คณปติ (BalaGanapati) อวตารภาคเด็ก : ปางอันเป็นที่รักของทุกคนและเด็กๆ"โอม ศรี บาลา คณปติ ยะนะมะฮา" เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็ก คลานอยู่กับพื้น หรืออิริยาบทอื่นๆ เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนลักษณะ มีวรรณะสีแดงเข้มมี 4 กร บาลคณปติ หมายถึงสีทองของพระเจ้าทรง้นอ้อย มะม่วง กล้วย และขนุนทรงูกมะขวิด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และภาวะการเจริญเติบโต นิยมบูชาในบ้านเรือน หรือโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลและชั้นประถม สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น ฯลฯ 
  • 10. ปางที่ 2 : พระตรุณ คณปติ (TarunaGanapati) อวตารภาควัยหนุ่ม : ปางที่ให้คุณประโยชน์ในกิจการงาน"โอม ศรี ตรุณะคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงอมส้มเหมือนอาทิตย์ยามแรกอรุณ มี 8ทรงข้าว ต้นอ้อย ตะบอง บ่วงบาศ งาหัก ผลฝรั่ง ขนมโมทกะ และขนมอื่นๆ ปางนี้เป็นตัวแทนการเจริญเติบโต ความเป็นหนุ่มสาว นิยมตั้งบูชาไว้ตามสถานศึกษา มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาววัยกระตือรือร้น 
  • 11. ปางที่ 3 : พระภักติ คณปติ (BhaktiGanapati) ปางบูชาขอพระเวท เพื่อความสมบูรณ์เติมเต็มของชีวิต"โอม ศรี ภัคดี คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาวบริสุทธิ์ดั่งพระจันทร์เต็มดวงในฤดูเก็บเกี่ยว มี 4ทรงมะม่วง กล้วย ลูกมะพร้าว และถ้วยข้าวปาส(ปรุงด้วยนมสด และข้าวสาร มีรสหวาน) พระภัคติ คณปติ หมายถึงผู้ภักดีอย่างแท้จริง บูชาเพื่อความสุขสมหวังในชีวิต หรือเพื่อหลุดพ้น 
  • 12. ปางที่ 4 : พระวีระ คณปติ (VeeraGanapati) อวตารแห่งนักรบ ปางออกศึก และปราบมาร ให้อำนาจในการบริหารปกครอง และความเป็นผู้นำ"โอม ศรี วีระ คณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีแดงโลหิต มี 16 กร ทรงอาวุธ และสิ่งมงคลต่างๆคือ โล่ หอก ค้อน คทา ธงชัย จักรตรา พญางู ขวาน คันศร ลูกศร ตรีเพชร ขอสับช้าง อสูร กระบี่ ตะบอง และบ่วงบาศ พระกรเหล่านั้นกางออกประดุจรัศมีอำนาจแห่งดวงอาทิตย์   อำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท 
  • 13. ปางที่ 5 : พระศักติ คณปติ (ShaktiGanapati) ปางทรงอำนาจเหนือการงาน การเงิน และความรัก"โอม ศรี ศักติ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแป้งจันทร์ มี 4 กร ประทานพรทรงมาลัย บ่าวบาศ และกรหนึ่งโอบพระชายาที่ประทับอยู่หน้าตักด้านซ้ายรัศมีสีแดงส้ม สื่อถึงพลังอำนาจที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง อำนวยผลให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน 
  • 14. ปางที่ 6 : พระทวิชา คณปติ (DwijaGanapati) ปางของการบุกเบิก เริ่มต้นชีวิตใหม่ เปิดกิจการใหม่"โอม ศรี ทวิชา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาวมี 4 เศียร 4ทรงลูกปะคำ ไม้ครู(หรือพลอง) กาน้ำ และคัมภีร์เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ ความพากเพียร และแสวงหาวิชาความรู้ อำนวยผลให้กับผู้ประกอบกิจการต่างๆ นักธุรกิจ นักลงทุน นักสำรวจ นักบุกเบิก คนทำงานต่างแดน เป็นต้น 
  • 15. ปางที่ 7 : พระสิทธิ คณปติ (SiddhiGanapati) ปางประทานความสมบูรณ์ และทรัพย์สมบัติ"โอม ศรี สิทธิ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงช่อดอกไม้ มะม่วง ต้นอ้อย และขวาน ส่วนงวงนั้นชูขนมคอยประทานความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ให้กับโลก   อำนวยผลด้านทรัพย์สินเงินทอง และความอุดมสมบูรณ์ 
  • 16. ปางที่ 8 : พระอุจฉิษฏะคณปติ (UchhishtaGanapati) ปางเสน่หา และความสำเร็จสมปรารถนา"โอม ศรี อุจฉิษฏะคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีฟ้าเทาดุจเมฆา มี 6 กร ประทับนั่งโดยพระกรหนึ่งโอบอุ้มศักติชายาอยู่ที่ตักด้านซ้ายส่วนพระกรอื่นถือลูกประคำ ลูกทับทิม พิณ รวงข้าว และดอกบัว อำนวยผลให้เกิดเสน่ห์ และความสำเร็จในด้านต่างๆตามแต่จะขอพร 
  • 17. ปางที่ 9 : พระวิฆณาคณปติ (VighnaGanapati) ปางขจัดอุปสรรค และแก้ไขปัญหา"โอม ศรี วิฆนา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทองคำ มี 8 กร ทรงมาลัย ขวาน ดอกไม้ จักรตรา หอยสังข์ ต้นอ้อย(เป็นคันศร) บ่วงบาศ และตะบอง   อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน 
  • 18. ปางที่ 10 : พระกษิประ คณปติ (KshipraGanapati) ปางประทานพรให้สำเร็จรวดเร็ว"โอม ศรี กษิประ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงเข้มดุจกุหลาบ มี 4 กร เป็นผู้ให้ศีลให้พร ประทานพรให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็วทรงตะบอง งาหัก บ่วงบาศ และช่อดอกไม้ อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน 
  • 19. ปางที่ 11 : พระเหรัมภะคณปติ (HerambaGanapati) ปางปกป้องคุ้มครอง"โอม ศรี เหรัมภะคณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีขาว มี 5 เศียร 10 กร ประทับนั่งบนหลังสิงโต หมายถึง พลังอำนาจในการปกครองบริวาร กางพระกรประดุจรัศมีคุ้มกันสรรพภัย พระหัตถ์ซ้ายประทานพร พระหัตถ์ขวาอำนวยพรทรงมะม่วง ลูกประคำ ขนมโมทกะ งาหัก บ่วงบาศ ค้อน ขวานและพวงมาลัย บูชาเพื่อขจัดความอ่อนแอ ไร้พลัง เป็นปางหนึ่งที่พระราชาในอินเดียนิยมบูชากันมาก อำนวยผลด้านการปกป้องคุ้มครองบริวาร การบริหาร ปกครองของผู้นำ 
  • 20. ปางที่ 12 : พระมหา คณปติ (MahaGanapati) ปางประทานความสุขอันยิ่งใหญ่ให้ครอบครัว"โอม ศรี มหา คณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีแดง มี 10 กร 3 เนตร ประดับจันทร์เสี้ยวบนมงกุฎปางนี้ทรงอุ้มชายา คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิไว้บนตักทั้งสองข้าง(บางตำราว่าอุ้มองค์เดียว)ทรงโถใส่อัญมณี รวงข้าว จักรตรา บ่วงบาศ ดอกลิลลี่ ต้นอ้อย (เป็นคันศร) ดอกบัว และลูกทับทิมแดง   อำนวยผลให้ครอบครัวเกิดความสมบูรณ์พูนสุข มีทรัพย์สิน และบริวารมาก 
  • 21. ปางที่ 13 : พระวิชัย คณปติ (VijayaGanapati) ปางกำจัดอุปสรรค และความมืดมิด"โอม ศรี วิชะยา คณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีแดง มี 4 กร ประทับบนตัวหนู หมายถึงการทำลาย ความมืดมิดและอุปสรรคทั้งหลายให้หมดไปทรงะบอง ผลมะม่วง และบ่วงบาศ อำนวยผลทางปัญญาให้กับครูบาอาจารย์ ปัญญาชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน และช่างฝีมือทุกแขนง 
  • 22. ปางที่ 14 : พระลักษมี คณปติ (LakshmiGanapati) ปางแห่งความมั่งมีศรีสุข และปรีชาญาณ"โอม ศรี ลักษมี คณปติ ยะนะมะฮา วรรณะสีขาว มี 8 กร เป็นเทพแห่งการให้ที่บริสุทธิ์ สีขาวหมายถึงการมีสติปัญญาสูงส่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างโอบอุ้มพระชายา 1 หรือ 2 พระองค์ คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิ (บางตำราว่าหนึ่งในนั้นคือพระลักษมี จึงเรียกว่า ลักษมี คณปติ)ทรงผลทับทิมแดง ช่อกัลปพฤกษ์ นกแก้ว ตะบอง บ่วงบาศ โถใส่อัญมณี และกระบี่ อำนวยผลทางด้านสติปัญญา และความมั่งมีศรีสุข 
  • 23. ปางที่ 15 : พระนฤตยะ คณปติ (NrityaGannapati) ปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง"โอม ศรี นฤตยะ คณปติ ยะนะมะฮา"  วรรณะสีเหลืองทอง มี ๔ กร เป็นนักเต้นร่ายรำระบำฟ้อน และเป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้ชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัวทรงะบอง บ่วงบาศ และขวาน  ควรตั้งบูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆตามความเหมาะสม 
  • 24. ปางที่ 16 : พระอุทวะ คณปติ (UrdhvaGanapati) ปางช่วยให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง"โอม ศรี อุทวะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทอง มี 6 กร พระกรข้างหนึ่งโอบพระชายาไว้บนตัก ด้านซ้ายทรงถือดอกบัวคบเพลิง ช่อดอกไม้ งาหัก ลูกศร คันศรทำจากต้นอ้อย และรวงข้าว ในนิกายตันตระ นิยมบูชาปางนี้เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีด้านเสน่ห์ อำนวยผลให้สมปรารถนาทุกประการ 
  • 25. ปางที่ 17 : พระเอกอักษรา คณปติ (EkaaksharaGanapati) ปางทรงอำนาจด้านพระเวท"โอม ศรี เอกา อักษรา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 4 กร มีดวงตาที่สาม ประดับจันทร์เสี้ยวอยู่เหนือเศียรกรหนึ่งประทานพรทรงะบอง บ่วงบาศ และผลทับทิม ประทับเหนือพาหนะคือหนู อำนวยผลด้านป้องกันอาถรรพณ์ และคุณไสยสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ร่ำเรียนด้านพระเวท หรือสรรพศาสตร์ด้านต่างๆ 
  • 26. ปางที่ 18 : พระวระ คณปติ (VaraGanapati) ปางแห่งความรักที่สุขสมหวัง"โอม ศรี วะระ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 4 กร 3 เนตร มีดวงตาที่สาม อันเป็นดวงตาแห่งสติปัญญา และมีจันทร์เสี้ยวประดับเหนือเศียร กรหนึ่งโอบกอดชายาบนตักทรงชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ ที่งวงชูโถใส่น้ำผึ้ง อำนวยผลให้สมหวังในความรัก ควรตั้งบูชาไว้ในร้านเสื้อผ้า ร้านค้าที่เกี่ยวกับการสมรส การแต่งงาน และความรัก ฯลฯ 
  • 27. ปางที่ 19 : พระตรีอักษรา คณปติ (TryaksharaGanapati) ปางกำเนิดอักขระโอม"โอม ศรี ตรีอักษรา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทอง มี 4ทรงะบอง บ่วงบาศ มะม่วง และมีขนมโมทกะอยู่ที่งวง อำนวยผลด้านการเรียนพระเวท และอักษรศาสตร์ 
  • 28. ปางที่ 20 : พระกศิปะ ปรสัทคณปติ (Kshipra-PrasadaGanapati) ปางประทานทรัพย์ และความรอบรู้"โอม ศรี กศิปะ ปรสัทคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 6 กร ท้องที่ใหญ่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งโภคทรัพย์ และความรอบรู้อันกว้างไกลทรง้นทับทิม ตะบอง บ่วงบาศ ดอกบัว และผลทับทิม เหมาะสำหรับตั้งบูชาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัย สถานอบรมวิชาชีพต่างๆ หรือบริษัทห้างร้านทั่วไป 
  • 29. ปางที่ 21 : พระหริทราคณปติ (HaridraGanapati) ปางรวยเสน่ห์ และรวยทรัพย์"โอม ศรี หริทราคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีเนื้อ หรือสีเหลืองอ่อน มี 3 เนตร 4ทรงกระบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ ใช้อำนาจของบ่วงเพื่อร้อยรัดศรัทธาของผู้เลื่อมใส และตะบองผลักดันให้ก้าวเดินไปข้างหน้า อำนวยผลให้ทุกคนที่อยากมีเสน่ห์ และร่ำรวย เช่น ดารานักแสดง นักดนตรี นักร้อง ดีเจ พิธีกร หรือผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งต้องใช้พรสวรรค์ และเสน่ห์ส่วนตัว 
  • 30. ปางที่ 22 : พระเอกทันตะ คณปติ (EkadantaGanapati) ปางสำเร็จทุกสิ่ง"โอม ศรี เอกทันตะ ปะระสัทคณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีฟ้า มี 4ทรงขวาน (เพื่อใช้กำจัดอวิชา) ทรงลูกประคำ (เพื่ออธิษฐาน) ผลไม้ และงาข้างที่หักเอกทันตะหมายถึงเทพเจ้าผู้มีงาข้างเดียว อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทุกสิ่งตามแต่จะอธิษฐาน 
  • 31. ปางที่ 23 : พระสะริสติ คณปติ (ShrishtiGanapati) ปางออกเดินทาง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่"โอม ศรี สะริสติ ปะระสัทคณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ขี่หนูเป็นพาหนะทรงะบอง มะม่วง และบ่วงบาศ อำนวยผลให้กับผู้ประกอบอาชีพด้านการเดินทางที่ไม่หยุดนิ่ง เช่น นักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส กัปตันเรือ มัคคุเทศก์ ผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไม่หยุดนิ่งเช่น นักคิด นักเขียน นักโฆษณา นักออกแบบ เป็นต้น 
  • 32. ปางที่ 24 : พระอุททันตะ คณปติ (UddandaGanapati) ปางกำจัดภูตผี และคุณไสย"โอม ศรี อุททันตะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี 10ทรงโถใส่ขนม หรือน้ำผึ้ง ดอกบัว ดอกลิลลี่สีฟ้า คทา ต้นอ้อย กิ่งไม้ บ่วงบาศ พวงมาลัย และผลทับทิม โดยใช้กรซ้ายโอบพระชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย อำนวยผลด้านขจัดทุกข์ภัย และอาถรรพณ์ต่างๆ บันดาลให้ครอบครัวมีความสุข
  • 33. ปางที่ 25 : พระรีนาโมจัน คณปติ (RunamochanaGanapati) ปางแก้กรรม และขจัดหนี้สิน"โอม ศรีโอมจัน คณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีขาว มี 4 กร มีหน้าที่ปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการ คำสาปและความผิดพลาดทั้งหลายทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ เหมาะบูชาสำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ให้ดีขึ้น (พลิกดวงชะตา) แก้ไขกรรมเก่า ปลดหนี้สิน ล้างมลทินทั้งปวง 
  • 34. ปางที่ 26 : พระตันติ คณปติ (DhundhiGanapati) ปางขุมทรัพย์ทางปัญญา"โอม ศรี ตันติ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดง มี ๔ทรงูกประคำ ขวาน โถใส่อัญมณี ที่แสดงขุมทรัพย์ของผู้มีพุทธิปัญญา อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านใช้ความคิด ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ทุกแขนง 
  • 35. ปางที่ 27 : พระทวิมุข คณปติ (DwimukhaGanapati) ปาง 2 เศียร"โอม ศรี ทวิมุข คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีเนื้อ มี 2 เศียร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และโถอัญมณี เป็นปางที่เป็นคนที่ปรับตัวได้กับทุกคนให้ทรัพย์มาก และขจัดอวิชา อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ด้านติดต่อเจรจา ประสานงาน เป็นสื่อกลางต่างๆ นักการทูต นักจิตวิทยาที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง 
  • 36. ปางที่ 28 : พระตรีมุข คณปติ (TrimukhaGanapati) ปาง 3 เศียร"โอม ศรี ตรีมุข คณปติ ยะนะมะฮา"วรรณะสีแดง หรือสีชมพูสด มี 3 เศียร 6 กร สามเศียรหมายถึง ภพทั้งสาม (สวรรค์,โอมนุษย์, บาดาล)ปางหนึ่งประทับนั่งบนดอกบัว ทรงประทานพร พระหัตถ์ขวาประทานอภัยพระหัตถ์ซ้ายอำนวยพร กรอื่นๆทรงถือตะบอง ลูกปะคำ บ่วงบาศ และโถใส่น้ำผึ้ง อำนวยผลทางด้านโภคทรัพย์ มีอำนาจ และแคล้วคลาดปลอดภัย 
  • 37. ปางที่ 29 : พระสิงหะ คณปติ (SinhaGanapati) ปางประทับราชสีห์"โอม ศรี สิงหะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาว มี 8 กร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพรทรงช่อดอกไม้ ราชสีห์ พิณ ดอกบัว โถอัญมณี ประทับบนสิงโต (คล้ายพระเหรัมภะคณปติ) หมายถึงพลังอำนาจในการปกครองบริวาร ผิววรกายขาวเป็นสัญลักษณ์ของพลังบริสุทธิ์ หรือการหลุดพ้น การอำนวยผลและสถานที่สำหรับตั้งบูชา เป็นดุจเดียวกับ พระเหรัมภะคณปติ และพระวีรคณปติ คืออำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท 
  • 38. ปางที่ 30 : พระโยคะ คณปติ (Yoga Ganapati) ปางแห่งพระเวท หรือปางสมาธิกรรมฐาน"โอม ศรี โยคะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงูกประคำ ต้นอ้อย บ่วงบาศ และขอสับช้าง เป็นปางแห่งพระเวท และการรักษาโรคภัยต่างๆ อำนวยผลให้กับผู้เป็นอาจารย์ และนักศึกษาโยคะสมาธิแบบต่างๆ เหมาะสำหรับตั้งบูชาไว้ในสถานศึกษาหรือบูชาไว้ใน เทวสถาน เทวาลัย โรงเรียนสอนศาสนาฮินดู ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรมภายในบ้าน เป็นต้น 
  • 39. ปางที่ 31 : พระทุรคา คณปติ (DurgaGanapati) ปางมหาอำนาจ"โอม ศรี ทุรคา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีทอง มี 8ทรงะบอง คันศร ลูกศร บ่วงบาศ ธงชัย ลูกประคำ และขนมโมทกะ เป็นปางที่พระราชาในชมพูทวีปนิยมสักการบูชามากปางหนึ่งอำนวยผลดีต่อผู้มีหน้าที่ราชการ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ฝ่ายปกครอง ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ 
  • 40. ปางที่ 32 : พระสังกตะหะรา คณปติ (SankataharaGanapati) ปางทำลายอุปสรรค และความเศร้าหมอง"โอม ศรี สังกตะ หะรา คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ประทับนั่งบนดอกบัวสีแดง พระหัตถ์ขวาอำนวยพรพระหัตถ์ซ้ายโอบชายาบนตักซ้าย ส่วนกรอื่นทรงถือชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ อำนวยผลให้ครอบครัวมีความสุข หรือประสบความสำเร็จ ตามแต่จะอธิษฐาน พระพิฆเณศ
  • 41. ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร  มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เดิมคือโรงเรียนประณีตศิลปกรรมสังกัดกรมศิลปากร เปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ CorradoFeroci) ชาวอิตาเลียนซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศ ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน แห่งนี้ขึ้น และได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยน ชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และคณะโบราณคดี หลังจากนั้นได้จัดตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ขึ้นในปีต่อมา
  • 42. ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร   ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น  แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม      โดยจัดตั้งคณะ อักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑  คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙  คณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕   และจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น
  • 43. ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร      พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้ง วิทยาเขตแห่งใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และวิทยาลัยนานาชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖          มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยการจัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ
  • 44. ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย พระพิฆเนศรเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ.2494ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร
  • 45. พระพิฆเนศวรกับมหาวิทยาลัยศิลปากร คนไทยถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะองค์บรมครูแห่งศิลปะวิทยาการ 18 ประการ โดยคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศวร เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศวรเป็นสัญลักษณ์
  • 47.
  • 48.
  • 49.
  • 50.
  • 51. สรุปผลการดำเนินงาน จากข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพิฆเนศวรที่มีความสำคัญต่อประชาชนทั่วไป โดยมีความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพิฆเนศวรว่า ท่านคือเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ขจัดความขัดข้องทั้งปวง และยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรเนื่องจากเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยจึงเป็นที่เคารพนับถือของนักศึกษาในรั้วศิลปากรทุกคน ข้อค้นพบที่ได้ พระพิฆเนศวรคือเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ขจัดความขัดข้องทั้งปวง ข้อคิดที่ได้ คนส่วนใหญ่มักจะชอบขอพรจากพระพิฆเนศวรเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ แต่จริงๆ แล้วการขอพรจากพระพิฆเนศวรเป็นได้แค่ที่พึ่งทางใจเท่านั้น การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเท่านั้น  
  • 53. กลุ่ม 139WHITE รายวิชา080101 มนุษย์กับการสร้างสรรค์ นาย ถิรวุฒิ กลิ่นลออ รหัส 07530418 คณะวิทยาศาสตร์ นาย ธีรไนย ศรีธรรมรงค์ รหัส 07530423 คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว ปรางค์วลัย เพ็งมาก รหัส 07530432 คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว วิไลรัตน์ บุษบาบาล รหัส 07530447 คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว ศศิมาพร ขันทองดี รหัส 07530452 คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว อรทัย บุญฤทธิ์ รหัส 07530469 คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว สุมินตรา พามา รหัส 07530603 คณะวิทยาศาสตร์ นางสาว นลินทิพย์ สุรโชติเวศย์ รหัส 09530669 คณะวิศวกรรมศาสตร์ นางสาว นันทพัช นันทอารี รหัส 09530671 คณะวิศวกรรมศาสตร์ นางสาว ปาลวจี บุณยบุตร รหัส 09530701 คณะวิศวกรรมศาสตร์