SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 15
Baixar para ler offline
OJED
                                      OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp. 310-324                                  An Online Journal
                                                                                                                 of Education
วารสารอิเล็กทรอนิกส                                                                            http://www.edu.chula.ac.th/ojed
ทางการศึกษา
 การพัฒนาเกณฑการรับรองวิทยฐานะสําหรับหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษา
    THE DEVELOPMENT OF ACCREDITATION CRITERIA FOR E-LEARNING
                      PROGRAMS IN HIGHER EDUCATION
                                                 ภานุวัฒน บุตรเรียง *
                                                   Panuwat Butriang
                                             อ. ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
                                          Praweenya Suwannatthachote, Ph.D.
  Abstract
       The purposes of research were to: 1) analyze the selected documents 2) study the opinions of a panel of experts and
      3) propose the accreditation criteria for e-Learning programs in higher education. The content analysis method
      was used to analyze the selected documents of nine institutions both local and abroad which produced 195 criteria,
      Three higher education policy makers reviewed and reduced this number to 128 criteria before the opinions of
      seven experts. This study found 106 criteria classified in 11 areas and it was that they be broken down into
       three steps: 1) Input There were 51 criteria grouped to six areas, namely (i) Mission (ii) Course Preparation,
       (iii) Admission and Selection, (iv) Service, (v) Support, and (vi) Staffing & Faculty 2) Process There were 46
       criteria grouped into four areas, namely (i) Curriculum and Instruction, (ii) Communication and Interaction,
       (iii) Assessment and Evaluation, and (iv) Quality Assurance 3) Output &Outcomes There were nine criteria
       grouped in the area of monitoring of student information.
  บทคัดยอ
      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค เพื่อวิเคราะหเอกสารคัดสรร เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ และนําเสนอเกณฑ
      การรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส การวิเคราะหเอกสารคัดสรรที่เกี่ยวของทั้งในและตางประเทศ
      จํานวน 9 สถาบันได 195 ขอความ เมื่อผานการตรวจสอบจากผูทรงคุณวุฒิ 3 ทาน ได 128 ขอความ และการสอบถาม
      ความคิดเห็นกลุมผูเชี่ยวชาญ จํานวน 7 ทาน พบวา เกณฑที่ไดรับการยอมรับจากผูเชี่ยวชาญ จํานวน 11 ดาน 106 เกณฑ
      แบงเปน 3 ขั้นตอน คือ 1) ปจจัยนําเขา 51 เกณฑ 6 ดาน คือ (1) ดานพันธกิจ (2) ดานความพรอมในการดําเนินการ
      (3) ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน (4) ดานการบริการ (5) ดานการสนับสนุน (6) ดานการจัดคณาจารยและบุคลากร
      2) กระบวนการ 46 เกณฑ 4 ดาน คือ (1) ดานหลักสูตรและการสอน (2) ดานการปฏิสัมพันธและการสื่อสาร (3) ดานการ
      วัดและประเมินผล (4) ดานการประกันคุณภาพ 3)ผลลัพธและผลผลิต 9 เกณฑ 1 ดาน คือ ขอมูลการติดตามผูเรียน
  KEYWORDS : e-Learning, Accreditation, Criteria, Curriculum of e-Learning, Higher Education
  คําสําคัญ : การเรียนอิเล็กทรอนิกส, การรับรองวิทยฐานะ, เกณฑ, หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส, อุดมศึกษา
*สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
E-mail Address: panuwat.b@student.chula.ac.th
ISSN 1905-4491


                                                                       310                  OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
บทนํา
           ในยุคแหงการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานแหงความรู (Knowledge-Based Economy) ที่ตองการยกระดับ
คุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมไทย ไดกําหนดใหยุทธศาสตรดานการศึกษา (e-Education) เพื่อการพัฒนา
การศึกษาโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาความรู โดยถือวาความรูเปนอาวุธและตัวจักรสําคัญในความ
การสรางความเจริญใหกับสังคม สรางความมั่งคั่งใหกับระบบเศรษฐกิจ และสรางงานใหกับประชาชนอยางทั่วถึง
ซึ่งสอดคลองกับแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) ที่มุงหมายใหเกิด
การพัฒนาการศึกษา ดวยการสรางองคความรู (Knowledge-Based) โดยการสรางสื่อใหอยูในรูปของสื่อ
อิเล็กทรอนิกส และนําเสนอผานการเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) เพื่อใหผูเรียนสามารถเรียนรูไดทุกที่
ทุกเวลา และตลอดชีวิตดวยการสนับสนุนการเรียนการสอน และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ
(2544) ไดเสนอให การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ควรมีการกําหนดมาตรฐานกลางทุกระดับ
มีระบบการรับรองหลักสูตรและคุณภาพการศึกษา ซึ่งตองใชเกณฑที่เปนมาตรฐานเดียวกัน
           จากยุทธศาสตรดานการศึกษา (e-Education) และแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ดังกลาว พบวา ในปจจุบัน การดําเนินการจัดการเรียนการสอนการเรียนอิเล็กทรอนิกสในประเทศไทยมีปญหา
และอุปสรรคอยูหลายดาน (ศูนยเทคโนโลยีทางการศึกษา, 2546 : 85) ปญหาประการหนึ่ง จากรายงานวิจัยของ
คณะกรรมการวิจยและพัฒนาวุฒิสภา สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา เรื่อง แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนทาง
                  ั
อิเล็กทรอนิกส (e-Learning) สําหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย พบวา กฎระเบียบและแนวทางการรับรอง
วิทยฐานะการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปจจุบันยัง
คลุมเครือไมชัดเจน จึงควรจัดใหมีองคกรหรือหนวยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีมาตรฐานขึ้นมาดูแลการรับรอง
วิทยฐานะ เสนอแนะวาควรใชระบบอเมริกันที่เปนมาตรฐานทั่วโลก และมีสมาคมยอมรับและในการรับรอง
วิทยฐานะ (สังคม ภูมิพันธุ, 2549)
                    สวนในระดับภูมิภาคอาเซียน พบวา มีปญหาในการรับรองวิทยฐานะระหวางหลักสูตรในการ
เรียนอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) ระดับภูมิภาค และผูศึกษาไดใหขอเสนอแนะ คือ ใหตั้งหนวยงานและ
คณะกรรมการที่มีชื่อวา eASEAN Commission for Accreditation (eACA) ขึ้นเพื่อเปนคณะทํางาน โดยมีหนาที่ใน
การใหการรับรองวิทยฐานะกับโปรแกรมหรือหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสระหวางประเทศในภูมิภาค
อาเซียน ซึ่งจะนําไปสูการยอมรับในประเทศใกลเคียง เมื่อมีการโอนยายนักศึกษาขามหลักสูตร หรือขามประเทศ
(Charmonman Srisakdi, 2004 : 235-241)
           จากปญหาดังกลาว เพื่อใหนําไปสูเปาหมายในการจัดการเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีมาตรฐานและมีระบบ
การรับรองหลักสูตรทุกระดับ และเพื่อใหบรรลุยุทธศาสตร e-Education จึงนําผลไปสูการศึกษาและการวิเคราะห
เอกสารที่เกี่ยวของกับเกณฑการรับรองวิทยฐานะการเรียนอิเล็กทรอนิกสในประเทศไทย ไดแก ราชกิจจานุเบกษา
เลม 122 ตอนพิเศษ 120ง และแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑการขอเปดและดําเนินการการหลักสูตรระดับปริญญา
ในระบบทางไกล พ.ศ. 2548 กับเกณฑการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรในตางประเทศจากเอกสารที่คัดสรร
จํานวน 9 สถาบัน เมื่อผูวิจัยทําการเปรียบเทียบหลักเกณฑที่ปรากฏในประเทศไทยกับเอกสารที่คัดสรรจาก
ตางประเทศ พบวา หลักเกณฑการขอเปดและดําเนินการหลักสูตระดับปริญญาในระบบทางไกลในประเทศไทย
มีเกณฑและองคประกอบไมครอบคลุมในประเด็นที่สําคัญ จํานวน 4 ดาน จากจํานวน ทั้งหมด 11 ดาน
คือ 1) ดานการบริหารหลักสูตร 2) ดานทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย การสนับสนุนการให
คําแนะนํานักศึกษา 3) ดานความตองการแรงงงาน สังคม หรือความพึงพอใจของผูใชบัณฑิต
                                                         311             OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรใหมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการจัดการศึกษา
และไมพบองคประกอบของเกณฑท่สอดคลองกับเกณฑที่คัดสรรจากตางประเทศ 9 สถาบัน จํานวน 4 ดาน
                                   ี
คือ 1) ดานนโยบาย และพันธกิจ 2) ดานทักษะการเรียนรู 3) ดานกระบวนการรับเขาเรียน และ 4) ดานการ
ติดตามผูเรียน
           ดวยความสําคัญที่หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสควรไดรับการรับรองวิทยฐานะ (Accreditation)
การกําหนดเกณฑเพื่อใหการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส จึงมีความสําคัญ
 4 ประการ กลาวคือ
           ประการแรก การกําหนดเกณฑจะเปนตัวชี้วัดถึงการดําเนินหลักสูตรทางการศึกษาเปนไปอยางมี
ประสิทธิภาพ ตามองคประกอบของเกณฑที่เหมาะสม ตรงตามพันธกิจ และวัตถุประสงคที่ตั้งไวอยางครอบคลุม
ทุกดาน (The Council for Higher Education Accreditation, 2006 : 1)
           ประการที่สอง การกําหนดเกณฑในหลักสูตร เปนคุณภาพสําคัญตัวหนึ่งสําหรับการประกันคุณภาพ
ภายใน ถือเปนรองรอยของความตระหนัก (Awareness) ถึงความสําคัญของการพัฒนาหลักสูตร เปนความ
พยายามในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรใหมีประสิทธิภาพ และตรงตามความตองการของสังคม พรอมทั้ง
เปนการรับรองการตรวจประเมินภายนอกจากสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(ศิริชัย กาญจนวาสี, 2546)
           ประการที่สาม เพื่อใหคณะกรรมการรับรองวิทยฐานะ (eASEAN Commission for Accreditation :
eACA) ซึ่งมีหนาที่ในการรับรองวิทยฐานะหลักสูตร สามารถใหการรับรองวิทยฐานะดวยความนาเชื่อถือและเกิด
การยอมรับตอหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน อันงายตอการโอนยาย
นักศึกษาขามหลักสูตร หรือการโอนยายนักศึกษาขามประเทศในอนาคต (Charmonman Srisakdi, 2004 : 235-
241)
           ประการที่ส่ี การกําหนดเกณฑเพื่อใชในการรับรองวิทยฐานะการเรียนอิเล็กทรอนิกส จะมีลักษณะ
องคประกอบที่มีความครอบคลุม ชัดเจน ไมคลุมเครือ เปนเกณฑที่ใชมาตรฐานทั่วโลก ตามขอเสนอแนะงานวิจัย
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา วุฒิสภาสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สังคม ภูมิพันธ, 2549 : 124)
           จากปญหาและความสําคัญที่สรุปดังกลาว งานวิจัยนี้จงมุงศึกษาและพัฒนาเกณฑขึ้นเพื่อใชสําหรับ
                                                            ึ
การรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษาที่จะขอเปดและดําเนินการหลักสูตร

วิธีดาเนินการวิจัย
     ํ
       การดําเนินวิจัย แบงเปน 8 ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา และวิเคราะหเอกสาร (Content Analysis) ที่เกี่ยวของกับการรับรองวิทยฐานะ
การเรียนอิเล็กทรอนิกสและการเรียนแบบทางไกลทั้งในและตางประเทศ โดยมีเกณฑการเลือกและคัดสรร
เอกสารที่เกี่ยวของ ดังนี้
                       1) เปนองคกรที่เกี่ยวของกับการเรียนทางไกลในลักษณะการเรียนอิเล็กทรอนิกส
(e-Learning) ที่ประกาศใชและใหการรับรองวิทยฐานะอยางชัดเจน
                       2) เปนองคกรในตางประเทศ จากทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเซีย


                                                           312             OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
รายชื่อสถาบันที่ไดทําการคัดสรร จํานวน 9 องคกร ดังนี้
                   1) สถาบันอินโนยูนิเลิรนนิง (InnoUnilearning) ประเทศสหรัฐอเมริกา
                   2) สถาบันอินโนอีเลิรนนิง (InnoElearning) ประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
                   3) มหาวิทยาลัยปกกิ่ง ประเทศจีน การพัฒนาระบบการรับรองวิทยฐานะในกระบวนการสอน
ออนไลน (Development an Accreditation System for On-line Teaching Processes)
                   4) การรับรองวิทยฐานะการเรียนทางไกลในทวีปยุโรป (DLAE : Distance Learning
Accreditation in Europe)
                   5) สภาอุดมศึกษาดานคุณภาพการศึกษา ในทวีปแอฟริกาใต (Council on Higher Education
Higher Education Quality Committee :HEQC)
                   6) สมาคมมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในมลรัฐทางเหนือ ประเทศสหรัฐเมริกา (A Commission
of the North Central Association of Colleges and School : NCA)
                    7) คณะกรรมาธิการสมาคมวิทยาลัยและโรงเรียนทางใต ประเทศสหรัฐอเมริกา (Commission
on Colleges of Southern Association of Colleges and School : VCCS)
                   8) คณะความรวมมือดานการสื่อสารเพื่อการศึกษาฝงตะวันตก สหรัฐอเมริกา (Western
Cooperative for Educational Telecomunication)
                   9) แนวทางปฏิบัติหลักเกณฑการขอเปดและดําเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบ
การศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 ตามความในราชกิจจานุเบกษา เลม 122 ตอนพิเศษ 120ง

             ผลการวิเคราะหเกณฑที่คัดสรรจาก 9 องคกรขางตน ไดจัดกลุมของเกณฑที่มีความสอดคลองเปน 3
กลุมไดแก 1) ปจจัยนําเขา (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลลัพธและผลผลิต (Output &Outcomes) โดยมี
ขอความที่จะพัฒนาเปนเกณฑรวมทั้งหมด จํานวน 13 ดาน 195 ขอความ
            ขั้นตอนที่ 2 การตรวจเครื่องมือ ผูทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ทาน ที่มีหนาที่รับผิดชอบระดับนโยบาย และมี
หนาที่เกี่ยวของกับการเรียนอิเล็กทรอนิกส แสดงความคิดเห็นตอขอความที่พัฒนาเปนเกณฑ เพื่อหาความ
เหมาะสมของขอความที่พัฒนาเปนเกณฑ และหาการยอมรับของผูทรงคุณวุฒิ โดยทําการวิเคราะหความคิดเห็น
ของผูทรงคุณวุฒิดวยสถิติคามัธยฐานและคาพิสัยระหวางควอไทล ผลการวิเคราะหความคิดเห็นของผูทรงคุณวุฒิ
ไดขอความที่จะพัฒนาเปนเกณฑรวมทั้งหมด จํานวน 11 ดาน 128 ขอความ
            ขั้นตอนที่ 3 เก็บรวบรวมขอมูลจากผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกส ครั้งที่ 1 จํานวน 7 ทาน
โดยใชวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และแบบลูกโซ (Snowball Sampling) ดวยการจัดสงเครื่องมือทาง
ไปรษณีย
            ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะหผลจากการสอบถามความคิดเห็นจากผูเชี่ยวชาญ ครั้งที่ 1 ดวยคาสถิติมัธยฐาน
และคาพิสัยระหวางควอไทล
            ขั้นตอนที่ 5 การเก็บรวบรวมขอมูลจากผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกส ครั้งที่ 2 เพื่อใหยนยัน
                                                                                                          ื
หรือเปลี่ยนแปลงคําตอบ โดยใชคําถามเหมือนครั้งที่ 1 พรอมแสดงคําตอบของแตละทานและคําตอบของกลุม
ดวยคามัธยฐาน และคาพิสัยระหวางควอไทล


                                                            313               OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะหผลจากการสอบถามความคิดเห็นจากผูเชี่ยวชาญ ครั้งที่ 2 ดวยคาสถิติมัธยฐาน
และคาพิสัยระหวางควอไทล และวิเคราะหขอเสนอแนะ
         ขั้นตอนที่ 7 นําผลการศึกษาความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญและคาสถิติที่ไดไปปรับปรุง และขอรับ
คําแนะนําจากอาจารยที่ปรึกษา
         ขั้นตอนที่ 8 สรุปผลเปนเกณฑการการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส
ในระดับอุดมศึกษา

วิธีเก็บรวบรวมขอมูล
           การเก็บรวบรวมขอมูลใชเครื่องมือเพื่อสอบถามความคิดเห็นผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกส
จํานวน 2 ครั้ง โดยแบบสอบถามครั้งที่ 1 แบงเปน 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เปนสวนแสดงความคิดเห็นแบบประมาณ
คา 5 ระดับ ตอนที่ 2 เปนสวนคําถามปลายเปด และแบบสอบถามครั้งที่ 2 มีขอความเหมือนกับแบบสอบถามครั้ง
ที่ 1 แตแตกตางที่ในแบบสอบถามครั้งที่ 2 จะทําการแสดงตําแหนงคําตอบเดิมของผูเชี่ยวชาญขอบเขตพิสัย
ระหวางควอไทล มัธยฐานของกลุม สวนตอนที่ 2 จะแสดงขอเสนอแนะที่ไดจากถามผูเชี่ยวชาญในแบบสอบถาม
ครั้งที่ 1
           การวิเคราะหขอมูลใชสถิติคามัธยฐาน และคาพิสัยระหวางควอไทล เพื่อพิจารณาเลือกขอความที่
เหมาะสม และหาการยอมรับของผูเชี่ยวชาญ โดยมีเกณฑการยอมรับ ดังนี้
                      1) ถาขอความที่พัฒนาเปนเกณฑขอใดที่มีคาพิสัยระหวางควอไทลนอยกวา 1.50
((Q3-Q1) < 1.5 ) และคามัธยฐาน(Median) มีคามากกวา 3.5 แสดงวา ผูเชี่ยวชาญยอมรับขอความ ดังกลาว
                      2) ถาขอความที่พัฒนาเปนเกณฑขอใดที่มีคาพิสัยระหวางควอไทลมากกวาหรือเทากับ 1.50
((Q3-Q1) ≥ 1.5 ) และคามัธยฐาน(Median) มีคานอยกวา 3.5 แสดงวา ผูเชี่ยวชาญไมยอมรับขอความ ดังกลาว

ผลการวิจัย
          ผลการวิจัย การพัฒนาเกณฑการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรสําหรับการเรียนอิเล็กทรอนิกสใน
ระดับอุดมศึกษา แบงเปน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ปจจัยนําเขา (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลลัพธและ
ผลผลิต (Output &Outcomes) ไดจํานวน 11 ดาน 106 เกณฑ ดังนี้
          1. ปจจัยนําเขา (Input) ประกอบดวย 6 ดาน คือ 1) ดานพันธกิจ 2) ดานความพรอมในการดําเนินการ
3) ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน 4) ดานการบริการ 5) ดานการสนับสนุน 6) ดานการจัดคณาจารยและบุคลากร
               1) ดานพันธกิจ (Mission) ประกอบ 8 เกณฑ ดังนี้ (1.1) พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความ
ชัดเจน มีเอกสารบันทึกอยางเปนลายลักษณอักษร (1.2) พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความสอดคลองกับ
นักศึกษา (1.3) พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความสอดคลองกับการวางแผนและขีดความสามารถเพื่อการเติม
เต็มใหกับพันธกิจ (1.4) วัตถุประสงคของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสมีความชัดเจน (1.5) วัตถุประสงคของ
หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสสอดคลองกับการใชเทคโนโลยีอยางเหมาะสมโดยมีกระบวนการตรวจสอบและ
การพิจารณาอยางแนนอน (1.6) เปาหมายของสถาบันอุดมศึกษามีความชัดเจน เปนไปเพื่อผลการเรียนรูของ
นักศึกษาในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (1.7) เปาหมายการเรียนรูและทฤษฎีมีความสัมพันธกับแนวคิด
การนําไปใช และแบบฝกหัด ของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส

                                                           314              OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
(1.8) วัตถุประสงคมีความสัมพันธกับเปาหมายการเรียนรูและทฤษฎี แนวคิดของหลักสูตร การปฏิบัติ และการ
นําไปใชหลักสูตร การปฏิบัติ และการนําไปใช
                  2) ดานความพรอมในการดําเนินการ (Course Preparation) ประกอบ 11 เกณฑ ดังนี้
(2.1) การพิจารณาการขอเปดเพื่อดําเนินหลักสูตรในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส ตองพิจารณา ดังตอไปนี้
(2.1.1) คณาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร คณาจารยประจํา และคณาจารยพิเศษ (2.1.2) ระบบบริหารจัดการรายวิชา
(Learning Management System) (2.1.3) การผลิตชุดการสอนอิเล็กทรอนิกส (Courseware) (2.1.4) การประเมิน
การเรียนการสอน (2.1.5) การจัดสื่อและอุปกรณการศึกษา (2.1.6) การจัดหองสมุดธรรมดาและหองสมุด
อิเล็กทรอนิกส (Library & E-library ) (2.1.7) ระบบโครงสรางพื้นฐานที่จําเปน (Infrastructure) (2.1.8) บุคลากร
ที่เกี่ยวของ เชน เจาหนาที่ดานเทคนิค ผูดูแลระบบ ผูชวยสอน เปนตน (2.2) ดานความพรอมของบุคลากรที่
เกี่ยวของ ควรมีการดําเนินการ ดังตอไปนี้ (2.2.1) มีการเตรียมความพรอมของนักศึกษา ใหพรอมและเหมาะสม
กับเทคโนโลยี ทั้งในดานฮารดแวร ซอฟตแวร และระบบบริหารจัดการรายวิชา (LMS) ที่ใชในหลักสูตรการเรียน
อิเล็กทรอนิกส (2.2.2) มีการเตรียมความพรอมของเจาหนาที่สําหรับการออกแบบ การพัฒนาหลักสูตร และการ
จัดการหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (2.3) ความพรอมดานโครงสรางพื้นฐานที่จําเปน (Infrastructure) ตองให
อุปกรณมีความสอดคลองกับสื่อหลักสอดคลองกับเครือขายสื่อสารดวยระบบเครือขายภายใน และระบบเครือขาย
ที่ใหบริการจากภายนอกใหพรอมบริการนักศึกษาอยางเพียงพอ สถาบันอุดมศึกษาอาจรวมมือกับหนวยงานอื่น ๆ
ในดานโครงสรางพื้นฐานโดยตองจัดขอตกลงเปนลายลักษณอักษรโดยความเห็นชอบของ
สภาสถาบันอุดมศึกษา
                  3) องคประกอบดานการคัดเลือกและรับผูเรียน (Admission and Selection) ประกอบ 7 เกณฑ
ดังนี้ (3.1) สถาบันอุดมศึกษารับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติภายใตเกณฑตามขอกําหนดของหลักสูตรการเรียน
อิเล็กทรอนิกส โดยนักศึกษามีความสามารถ ความรูพื้นฐานดานเทคนิคและเทคโนโลยี มีทักษะการเรียนรู
อยางพอเพียงโดยสถาบันอุดมศึกษามีการตรวจสอบทักษะของผูเขาเรียน ดังนี้ (3.1.1) ทักษะการเรียนรูของ
นักศึกษาสอดคลองกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต เปนไปตามที่กําหนดไวในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส
(3.1.2) การวิเคราะหระดับความชํานาญของนักศึกษา มีการวัดระดับทักษะความชํานาญและชองวางทางทักษะ
ของนักศึกษาในการเรียนดวยระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) (3.1.3) ผลการเรียน
ชวงกอนเขาเรียน ตรงตามที่คุณสมบัติกําหนด (3.2) สถาบันอุดมศึกษามีนโยบายการรับนักศึกษาอยางยุติธรรม
ตามขอกําหนดของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (3.3) สถาบันอุดมศึกษากําหนดการรับนักศึกษาสอดคลอง
กับแผนการรับบุคคล เพื่อตอบสนองตอคุณภาพของการศึกษา (3.4) สถาบันอุดมศึกษาตองจัดใหนักศึกษาเขารับ
การปฐมนิเทศกอนเขารับการศึกษาในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส
                  4) ดานการบริการ (Service) ประกอบดวย 13 เกณฑ ดังนี้ สถาบันอุดมศึกษามีการจัดบริการ
(Service) สําหรับหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษา ดังนี้ (4.1) มีการจัดบริการเกี่ยวกับ
งบประมาณสําหรับทรัพยากรตาง ๆ เพื่อใชในสถาบันอุดมศึกษา (4.2) มีการจัดบริการใหคําปรึกษาเพื่อสราง
แรงจูงใจใหนักศึกษา เพื่อชวยเหลือใหนักศึกษาสามารถกาวขามผานพนอุปสรรคไปไดและมีการใหคําแนะนํา
แกนกศึกษาใหสามารถใชประโยชนจากเทคโนโลยีไดเต็มประสิทธิภาพ (4.3) มีการเปดบริการใหกับนักศึกษา
        ั
เพื่อเปดโอกาสใหสามารถแสดงออกภายในสถาบันอุดมศึกษาดวยกิจกรรมตาง ๆ (4.4) สถาบันอุดมศึกษาจัดการ
บริการที่มีการสงเสริมคุณคาตอองคกรทั้งภายในและภายนอก

                                                            315              OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
(4.5) มีการวิเคราะหขีดความสามารถในการตอบสนองในการใหบริการดานตาง ๆ ตามความจําเปนและความ
ตองการของผูใชบริการ (4.6) สถาบันอุดมศึกษาควรจัดบริการที่สอดคลองกับความตองการของนักศึกษา ดังนี้
(4.6.1) ขอมูลเกี่ยวกับการประกาศ ขาวสาร และผังรายละเอียดหลักสูตร และรายวิชาในหลักสูตรการเรียน
อิเล็กทรอนิกสที่ถูกตอง (4.6.2) ผูใหคําปรึกษากอนการสมัครเขาเรียน (4.6.3) ระบบการสมัครเขาเรียนใน
หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (4.6.4) ผูสอน (4.6.5) ผูใหคําปรึกษา และสถานที่ใหคาปรึกษาแกนักศึกษา
                                                                                     ํ
(4.6.6) ขาวสารความเคลื่อนไหวภายในสถาบัน และขอมูลเพื่อตรวจสอบการสําเร็จการศึกษาของนักศึกษา
(4.6.7) หองสมุดที่มีฐานขอมูลงานวิจัย ฐานขอมูลทางวิชาการ บทคัดยอออนไลน หรือฐานความรูในรูปแบบ
เอกสารฉบับเต็ม (Full text) วารสาร ตําราอิเล็กทรอนิกส ในสาขาวิชาที่เปดสอนพรอมทรัพยากรที่จําเปนภายใน
หองสมุด (4.6.8) การบริการดานเทคนิค ในชวงตอนเย็น และชวงชั่วโมงเวลาเรียนปกติ ตลอดสัปดาห
               5) ดานการสนับสนุน (Support) ประกอบดวยเกณฑ 6 เกณฑ ดังนี้ (5.1) สถาบันอุดมศึกษาให
คุณคาในการสนับสนุนตอการเรียนการสอนอยางแทจริง (5.2) สถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนการสราง
สภาพแวดลอม (Environment) ที่เอื้อตอการเรียนรู มีทรัพยากรการเรียนรู (Learning Resource) มีแหลงการเรียนรู
เพื่อการสอนอยางมีประสิทธิภาพ และเปนการเติมเต็มการปฏิบัติงานในรายวิชา หรือในหลักสูตรการเรียน
อิเล็กทรอนิกส (5.3) สถาบันอุดมศึกษาใหการสนับสนุนในดานเทคนิคสําหรับระบบจัดสอนทางอิเล็กทรอนิกส
(LMS) โดยมีระบบลงทะเบียน (Registration System) เพื่อใหนักศึกษาสามารถจัดการขอมูลภายในระบบไดดวย
ตนเอง (5.4) สถาบันอุดมศึกษาใหการสนับสนุน เกี่ยวกับอุปกรณ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกสและมีสิ่งอํานวยความ
สะดวกตอหลักสูตร รวมถึงการสนับสนุนดานอุปกรณ ซอฟตแวร เพื่อการสื่อสารอยางพอเพียง
เพื่อชวยสรางปฏิสัมพันธระหวางคณาจารยกับนักศึกษาบนพื้นฐานทักษะและความสามารถดานเทคโนโลยีอยาง
เหมาะสม (5.5) สถาบันอุดมศึกษามีแผนสําหรับการบํารุงรักษาอุปกรณ-เครื่องมืออิเล็กทรอนิกสและระบบการ
ปองกันขอมูลอยางพอเพียงเพื่อใหสามารถใชไดในระยะยาวตอไป (5.6) สถาบันอุดมศึกษามีการตรวจสอบการ
สนับสนุนดานอิเล็กทรอนิกสในภายหลักสูตร หรือรายวิชาในการเรียนอิเล็กทรอนิกส โดยจัดคณาจารยเพื่อ
พิจารณาพัฒนาการของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส ปริมาณงาน คาตอบแทน ความรูที่ไดรับจากหลักสูตร
และการมีสวนรวมของคณาจารย
               6) ดานการจัดคณาจารยและบุคลากร (Staffing & Faculty) ประกอบดวย 6 เกณฑ ดังนี้
 (6.1) สถาบันอุดมศึกษาแตงตั้งคณาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร คณาจารยประจํา คณาจารยพิเศษ และคณาจารย
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธและอาจแตงตั้งบุคลากรภายในและภายนอกตามเหมาะสม เพื่อใหการเรียนอิเล็กทรอนิกส
ดําเนินการไปอยางมีประสิทธิภาพ (6.2) สถาบันอุดมศึกษามีจํานวนบุคลากรเพียงพอตอหลักสูตรการเรียน
อิเล็กทรอนิกส (6.3) คณาจารย ผูสอนในหลักสูตรมีประสบการณการสอนในระดับอุดมศึกษา มากกวา 2 ปขึ้นไป
(6.4) สถาบันอุดมศึกษาใหการรับรองในการอบรมของคณาจารย เกี่ยวกับการใชงานระบบบริหารจัดการรายวิชา
(Learning Management System) และการอบรมคณาจารยที่สอนโดยใชความรูเทคโนโลยีเฉพาะดาน (6.5)
ครูผสอนและผูชวยสอน (Tutorship and Assistance) มีระดับความรูที่เหมาะสมในการสอน และมีบทบาทในการ
     ู
ตอบคําถามที่ทําใหนกศึกษาไดรับความรูอยางกระจาง (6.6) สถาบันอุดมศึกษาจัดใหมีบุคลากรดานเทคนิคที่มี
                       ั
หนาที่สําหรับการตรวจสอบระบบ การจัดการ และการบริหารระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning
Management System) อยางมีประสิทธิภาพ


                                                            316              OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
2. กระบวนการ (Process) ประกอบดวย 4 ดาน คือ 1) ดานหลักสูตรและการสอน 2) ดานการ
ปฏิสัมพันธและการสื่อสาร 3) ดานการวัดและประเมินผล 4) ดานการประกันคุณภาพ
                1) หลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction) ประกอบดวย 23 เกณฑ ดังนี้
1.1) การออกแบบและการผลิตหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส กําหนดใหหลักสูตรมีลักษณะ ดังนี้
(1.1.1) สอดคลองกับวัตถุประสงคทางการศึกษา ประสบการณความรู ทักษะ อยางมีประสิทธิภาพ
(1.1.2) ตอบสนองตอความตองการของนักศึกษา (1.1.3) ตรงตามขอกําหนดของผูเชี่ยวชาญและผูที่เกี่ยวของ
(1.1.4) หลักสูตรมีความนาเชื่อถือ สอดคลองกับพันธกิจ บทบาท กลยุทธ เปาหมาย แผนงานของสถาบัน
(1.1.5) หลักสูตรสอดคลองกับเนื้อหาการเรียนรู ระดับ หนวยกิต และคาน้ําหนักที่เกี่ยวของ (1.1.6) การพัฒนา
องคประกอบของหลักสูตรมีความตอเนื่องชัดเจน (1.2) โครงสรางหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสมีสอดคลอง
หรือเทียบเคียงกันกับเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (1.3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู (1.3.1) มีการใช
กิจกรรมเพื่อสงเสริมคุณคาในชีวิตการเรียนรูใหกับกรรมการบริหารหลักสูตรผูบริหาร นักศึกษา คณาจารยและ
พนักงาน (1.3.2) มีการใชคําถามเพื่อพัฒนาความรู ทักษะ การสืบสอบ และมีแบบฝกสติปญญา เพื่อการ
ประยุกตใชในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (1.3.3) การเรียนรูดวยรูปแบบดวยตนเองตองมีการบันทึกและ
จัดเก็บความรูทั้งแบบเรียนรูดวยตนเอง (Self-learning) และแบบการเรียนรูดวยวิธีรวมมือรวมใจ (Collaborative)
(1.4) แผนการสอน (Teaching Plan) มีการปรับปรุงแผนการสอน ประมวลรายวิชา ทรัพยากรการสอน ทรัพยากร
การเรียนรูและเนื้อหา (Content Renewal) ใหทันสมัยและสมบูรณอยูเสมอ โดยการสอนควรประกอบดวย
(1.4.1) แนวคิดการสอน มีจุดมุงหมายและบทสรุปที่ชัดเจน (1.4.2) วิธีการสอน มีเทคนิคที่หลากหลาย
(1.4.3) เอกสารประกอบการสอนและรวบรวมเอกสาร (Compilation of teaching Document) เพื่อใชสําหรับการ
เรียนการสอนและการวัดผลนักศึกษา (1.4.4) ปรับปรุงแผนการสอนใหสมบูรณ หลังทําการสอนเสร็จสิ้น
(Implement of Course Plan) (1.4.5) การประเมินตนเองกอนเรียน เนื้อหาสาระ การประเมินกิจกรรมระหวางเรียน
การทํากิจกรรมภาคปฏิบัติเสริมประสบการณและการมอบหมายสั่งงาน 1.5) สถาบันอุดมศึกษา มีกลยุทธและ
เทคนิคเพื่อการจัดการเรียนรูภายในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส ดังนี้ (1.5.1) วิธีการจัดการเรียนรูไดรับการ
ออกแบบใหมีความสอดคลองกับผูสอน และผูเรียนโครงสรางหลักสูตร ทรัพยากรการเรียนรู และเทคโนโลยี
(1.5.2) รูปแบบการเรียนการสอนสอดคลองและเหมาะสมกับพันธกิจของสถาบัน (1.5.3) หลักสูตรมีการพัฒนา
ตามกลยุทธการจัดการหลักสูตรในระดับที่กําหนด (1.5.4) ผูสอนและบุคลากรที่เกี่ยวของ ไดรับโอกาสในการ
พัฒนาความสามารถ ความรูและประสบการณดานวิธีการสอน (Teaching methods) อยูเสมอ (1.5.5) การติดตาม
ประสิทธิภาพการเรียน โดยมีการใหนําผลจากการประเมิน ปอนกลับไปยังการจัดการเรียนรู (1.6) มีการจัดระบบ
ผลิตหรือจัดหาสื่อการศึกษา ทั้งสื่อหลักและสื่อเสริม ใหเพียงพอตอการศึกษาดวยตนเอง (1.7) สถาบันอุดมศึกษามี
การจัดการโครงสรางหลักสูตรอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการนําหลักสูตรไปทําการเทียบเคียง
(Benchmarking) ประสิทธิภาพกับหลักสูตรระดับชาติและนานาชาติ
                2) การปฏิสัมพันธและการสื่อสาร (communication and Interaction) ประกอบดวย 5 เกณฑ
ดังนี้ (2.1) การสื่อสารแบบไมประสานเวลา (Frequency of Asynchronous communication) (2.1.1) การสื่อสาร
ดวยจดหมายอิเล็กทรอนิกสสามารถเผยแพรและตอบสนองตอผูเรียนได ภายในเวลาตามที่สถาบันกําหนด
(2.1.2) สถาบันอุดมศึกษามีการรวบรวมคําถามจากชองทางที่มีการปฏิสัมพันธแลวใหคําตอบกับนักศึกษาภายใน
เวลาตามที่สถาบันกําหนด

                                                           317               OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
(2.2) การสื่อสารแบบประสานเวลา (Frequency of Synchronous communication) (2.2.1) สถาบันอุดมศึกษา
จัดระบบการแสดงขอมูลปฏิสมพันธของนักศึกษา เพื่อใหคณาจารย ไดทําการตรวจสอบ ติดตามนักศึกษาโดยมี
                            ั
ระบบการแจงขอมูล นักศึกษาที่ขาดการปฏิสัมพันธ มีความเสี่ยงตอการหยุดเรียนกลางคัน และขอมูลประเมิน
ความกาวหนาในการเรียน (2.3) การสรางปฏิสัมพันธกับนักศึกษาภายในหลักสูตร ควรมีการจัดกิจกรรมในการ
เรียนแบบประสานเวลา หรือแบบไมประสานเวลาระหวางผูสอนและนักศึกษาอยางเพียงพอโดยมีส่งอํานวยความ   ิ
สะดวกพรอมสําหรับบริการ (2.4) สถาบันอุดมศึกษาจัดระบบการสื่อสารเพื่อสรางปฏิสัมพันธเพื่อเปดกวางอยาง
อิสระในการแสดงความคิดเห็นหรือการติชมของนักศึกษา
               3) การวัดและประเมินผล (Evaluation and Assessment) ประกอบดวย 16 เกณฑ ดังนี้
(3.1) สถาบันมีการรับรอง (Certification) หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสที่เชื่อถือไดอยางมีประสิทธิภาพดวย
การประเมินผลที่มีความสอดคลองกับพันธกิจ (3.2) การประเมินผล (Evaluation) โดยพิจารณา ดังนี้
(3.2.1) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา และผูที่เกี่ยวของกับหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (3.2.2) รายวิชา
และลักษณะการเรียนที่สอดคลองกับวัตถุประสงคของหลักสูตร (3.2.3) คุณภาพของหัวขอการเรียนรู
(3.2.4) ความสามารถในการเขาถึงหองสมุด และทรัพยากรการเรียนรู รวมถึงเอกสารที่ใชในทรัพยากรทาง
อิเล็กทรอนิกส (3.2.5) ความสามารถในทักษะพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร การวิเคราะห และสรุปความรูของนักศึกษา
(3.3) การวัดผลมีหลักฐานแสดงการเรียนรูของผูเรียนที่ชดเจน ดังนี้ (3.3.1) ผลรวมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู
                                                      ั
ทั้งหมด (3.3.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในแตละรายวิชา (3.3.3) ระบบการรับรองความปลอดภัย
ของเอกสารที่ทําการวัดผลเรียบรอยแลว (3.4) กระบวนการวัดผล ดังนี้ (3.4.1) นโยบายการวัดผลผูเรียน (Student
assessment policies) ประกอบดวย ดังนี้ (3.4.1.1) มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability)
(3.4.1.2) มีการเฝาติดตามความกาวหนาของนักศึกษาในหลักสูตร (3.4.1.3) ระบบการวัดผลมีความปลอดภัยโดย
ปราศจากการลักลอบขอมูลและความผิดทางอาญาอื่น ๆ (3.4.2) การวัดผลการเรียนรู (3.4.2.1) ผูสอนมีหนาที่
ออกแบบการวัดผล และนําไปใชในการวัดผลกอนเรียน - หลังเรียน (3.4.2.2) กิจกรรมการเรียนรูและขอกําหนด
ดานประสิทธิภาพของการวัดผล มีความสอดคลองตรงกันกับระดับและผลสัมฤทธิ์การเรียนรู
(3.4.2.3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความชัดเจน มีความเชื่อมโยง และสอดคลองกับเกณฑการวัดผล และการ
ตัดสิน (3.5) สถาบันอุดมศึกษาใหการสนับสนุนโดยใหรายละเอียด คําแนะนําขอมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อใหเกิด
การวัดผลภายนอกที่ตอเนื่องและเพื่อใหเกิดความสมบูรณในการจัดทํารายงานการวัดผล
               4) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ประกอบดวย 2 เกณฑ ดังนี้
(4.1) สถาบันอุดมศึกษาตองจัดระบบประกันคุณภาพหลักสูตรและรายวิชาเปนระยะ ๆ อยางตอเนื่อง มีรายงานผล
ตอ สภาอุดมศึกษาตอสาธารณะ และตอคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อนําผลการประเมินมาใชปรับปรุง
คุณภาพรายวิชาและหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสใหทันสมัยอยูเสมอ (4.2) สถาบันอุดมศึกษาตองกําหนดและ
พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครอบคลุมปจจัยคุณภาพทั้งดานคุณภาพทั้งดานปจจัยการ
นําเขา กระบวนการ ผลลัพธและผลผลิต และตัวบงชี้คุณภาพ ตลอดจนการสรางฐานขอมูล เพื่อการประกัน
คุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกสและการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก




                                                          318              OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
3. ผลลัพธและผลผลิต (Output &Outcomes) ประกอบดวย 1 ดาน คือ ดานขอมูลการติดตามผูเรียน
               1) ขอมูลการติดตามผูเรียน (Monitoring of Information) ประกอบดวย 9 เกณฑ ดังนี้
สถาบันอุดมศึกษาตองพัฒนาหรือจัดหาโปรแกรมที่สามารถบันทึกรายละเอียดวันเวลา และชวงเวลาที่รวม
กิจกรรม บันทึกรายงานตอคณาจารยประจําวิชาและคณาจารยชวยสอนเกี่ยวกับวิธีการ และเวลาการเขาถึงอยาง
ละเอียดโดยมีการเก็บขอมูลและอัตราของปริมาณการใชงานของผูเรียน ดังนี้ (1.1) ปริมาณการออนไลนและ
เขาถึงบทเรียน (Access and On-line tracking) (1.2) ปริมาณขอมูลตอหนวยเวลาในใชงานผานระบบบริหารจัดการ
รายวิชา (Throughput rate) (1.3) การเฝาติดตามความกาวหนาของนักศึกษา (Learning Progress) (1.4) การทํางาน
และสงงานที่ไดรบมอบหมาย (Assignment) (1.5) การปรึกษาหารือ เพื่อการปรับปรุง แกไข (Remedial action)
                  ั
(1.6) ขอมูลจัดอันดับชั้น (Qualifying class) ของนักศึกษา (1.7) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
(1.8) การใหขอมูลปอนกลับจากนักศึกษาถึงอาจารย (Feedback to faculty) (1.9) การใหขอมูลปอนกลับจาก
อาจารยถึงนักศึกษา (Feedback to student)

อภิปรายผลและขอเสนอแนะ
          การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเกณฑการรับรองวิทยฐานะสําหรับหลักสูตร
การเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษา ซึ่งขอคนพบมีประเด็นอภิปราย ดังนี้
           1. ปจจัยนําเขา (Input)
              (1) ผลของการวิจัยดานพันธกิจ ผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกสไดแสดงความคิดเห็นที่ให
ความสําคัญตอดานพันธกิจเปนอยางยิ่ง โดยเห็นวาเกณฑทุกขอที่ไดมีการกําหนดใหดานพันธกิจของสถาบันมี
ความสอดคลองกับดานตาง ๆ เพื่อใหการดําเนินการหลักสูตรเปนไปอยางชัดเจน มีกระบวนการตรวจสอบได
เชน พันธกิจมีความสอดคลองกับวางแผน พันธกิจมีความสอดคลองกับผูเรียน
          การกําหนดเกณฑ ดังกลาว แสดงถึงความสอดคลองและความเปนมาตรฐานเดียวกันกับ 3 สถาบันระดับ
โลก ไดแก การประกันคุณภาพสําหรับการเรียนทางไกล (A Commission on Colleges of Southern Association of
Colleges and School , 2000) การรับรองวิทยฐานะการเรียนทางไกลในทวีปยุโรป (Distance Learning
Accreditation in Europe, 2004) และการรับรองวิทยฐานะสมาคมมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในมลรัฐทางเหนือ
ประเทศสหรัฐเมริกา (The Higher Learning Commission, 2003)
                 (2) ผลของการวิจัยดานความพรอมในการดําเนินการหลักสูตร หนึ่งในเกณฑที่สําคัญ คือ ระบบ
โครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure) โดยสถาบันตองจัดใหอุปกรณมีความสอดคลองกับสื่อหลัก สอดคลองกับ
เครือขายสื่อสารดวยระบบเครือขายภายใน และระบบเครือขายที่ใหบริการจากภายนอกใหพรอมบริการนักศึกษา
อยางเพียงพอ การกําหนดเกณฑ ดังกลาว แสดงถึงความสําคัญของระบบโครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure)
ที่สถาบันตองจัดเตรียมใหพรอม เพื่อใหบริการอยางเพียงพอ และสอดคลองกับเครือขายการสื่อสารซึ่งรัฐตอง
จัดสรรเพื่อใชประโยชนสําหรับการศึกษาตามเกณฑที่กําหนดขึ้น อันมีสอดคลองกับความในมาตรา 63 หมวด 9
พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542
                (3) ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน มีการกําหนดใหตองทําการตรวจสอบทักษะในการรับนักศึกษา
คือ ทักษะการเรียนรูของนักศึกษากับเทคโนโลยีบนเว็บไซต ทักษะความชํานาญ และชองวางทางทักษะของการ
ใชงานระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System-LMS)

                                                         319              OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
จากเกณฑดังกลาว แสดงถึงคุณสมบัติพื้นฐานที่จําเปนของผูเรียนในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส
จะตองมีทักษะความชํานาญเหนือกวาผูเรียนที่อยูในหองเรียนปกติ เนื่องจากเปนระบบการเรียนที่มีการนําเสนอ
เนื้อหาทั้งหมดผานการเรียนออนไลนเต็มรูปแบบ หรือเกือบทั้งหมด โดยจะทําการเรียนผานระบบอินเทอรเน็ต
ซึ่งผูสอนกับผูเรียนจะไมมีการพบปะกัน (Non face-to-face)
ในหองเรียนคิดเปนรอยละ 80 ขึ้นไป (Allen and Seaman, 2005) ดังนั้น ทักษะความชํานาญในใชเครื่องมือ
(Tool) ตาง ๆ ของผูเรียนจึงตองมีการตรวจสอบกอนการคัดเลือกเพื่อเขาเรียนเสมอ โดยเฉพาะทักษะของการใช
งานระบบบริหารจัดการรายวิชา เพื่อใหมั่นใจไดวาผูเรียนมีขีดความสามารถในการใชเครื่องมือประกอบการ
คนควาและเรียนรูไดดวยตนเอง
                 สรุป ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน สถาบันอุดมศึกษาตองทําการตรวจสอบนักศึกษาเกี่ยวกับ
คุณสมบัติภายใตเกณฑตามขอกําหนด โดยเฉพาะทักษะความชํานาญที่จําเปนตองมีมากกวาผูเรียนที่อยูใน
หองเรียนปกติ คือ ทักษะของการใชงานระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System)
                  (4) องคประกอบดานการจัดบริการตามเกณฑ กําหนดใหสถาบันมีบริการหองสมุดที่มีฐานขอมูล
งานวิจัย ฐานขอมูลทางวิชาการ บทคัดยอออนไลนหรือฐานความรูในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full text) วารสาร
ตําราอิเล็กทรอนิกส ในสาขาวิชาที่เปดสอนพรอมทรัพยากรที่จําเปนภายในหองสมุด โดยเฉพาะฐานขอมูล
ออนไลนหรือฐานความรูในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full text) ที่สามารถคนไดจากทุกที่ ทั่วโลก
สามารถชวยอํานวยความสะดวกกับผูเรียน ผูสอนไดดีเปนอยางยิ่ง ซึ่งในปจจุบัน พบวา มีฐานขอมูลออนไลน
ในประเทศไทยที่ใหบริการอยางหลากหลาย เชน ฐานขอมูลวิทยานิพนธ 24 มหาวิทยาลัย http://dcms.thailis.or.th
ฐานขอมูลสหบรรณานุกรม http://uc.thailis.or.th เปนตน
                   การกําหนดใหมีเกณฑเพื่อพัฒนาระบบฐานขอมูลอิเล็กทรอนิกส ดังกลาว สอดคลองกับเกณฑ
การประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานดานการเรียนการสอน (Academic affair ) เกณฑดานกระบวนการเรียนรูที่
ผูเรียนเปนสําคัญ ที่กําหนดใหมีการสงเสริมใหมีหองสมุดและระบบสืบคนอิเล็กทรอนิกสที่เพียงพอที่จะศึกษาหา
ความรูดวยตนเองดวย (สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, 2551 : 26) และการพัฒนาระบบฐานขอมูลออนไลน
ยังมีความสอดคลองกับพฤติกรรมคนไทยที่มีแนวโนมการใชอินเทอรเนตเพื่อการคนหาขอมูลเพิ่มขึ้น
(ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, 2551) ดังนั้น การจัดเตรียมฐานขอมูลในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส จึงเปนเกณฑที่สําคัญที่สถาบันจะตองใหความสําคัญเปนอยางยิ่งในการจัดการบริการในการเรียน
อิเล็กทรอนิกสตามเกณฑที่กําหนด
                 (5) การกําหนดเกณฑใหสถาบันตองจัดบริการดานการใหคําปรึกษาเพื่อสรางแรงจูงใจใหนักศึกษา
เพื่อชวยเหลือใหนักศึกษาสามารถกาวขามผานพนอุปสรรคไปไดและมีการใหคําแนะนําแกนักศึกษาใหสามารถ
ใชประโยชนจากเทคโนโลยีไดเต็มประสิทธิภาพ ถือวาเปนสิ่งที่มีสวนสงเสริมใหผูเรียนประสบผลสําเร็จทางการ
เรียนได เนื่องจากรูปแบบการเรียนออนไลนแบบเต็มรูปแบบ ผูเรียนกับผูสอนไมมีการพบปะกัน สถาบันจึงตอง
เอาใจใสใหผูเรียนอยูเสมอ เพื่อใหผูเรียนสามารถกํากับตนเอง (Self -Regulation) และสรางแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ได
ซึ่งประเด็นนี้ ผูเชี่ยวชาญไดเห็นวา การสรางแรงจูงใจเปนปจจัยสําคัญอยางหนึ่งของการเรียนรูในหลักสูตร
การเรียน ดังนั้น การที่สถาบันใหการชวยเหลือ ใหคําปรึกษาอยางเปนระบบตามที่เกณฑที่กําหนดแลวจะสามารถ
ชวยใหผเู รียนมีความกระตือรือรน มีความมานะ ความพยายาม สงผลถึงกําลังใจที่ดี อันนําไปสูการสรางแรงจูงใจ
ใฝสัมฤทธิ์ และสามารถจบการศึกษาภายในเวลาที่กําหนดได

                                                            320               OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
(6) การกําหนดเกณฑใหสถาบันอุดมศึกษาตองจัดใหการสนับสนุน เกี่ยวกับอุปกรณเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส ฮารดแวรและซอฟตแวร เพื่อการสื่อสารอยางพอเพียง โดยจะตองจัดใหมีระบบบริหารจัดการ
รายวิชา (LMS) และระบบการลงทะเบียน (Registration System) เพื่อใหนักศึกษาสามารถจัดการขอมูลภายใน
ระบบไดดวยตนเอง
                การกําหนดเกณฑใหมีระบบดังกลาว มีความสําคัญที่จะชวยสนับสนุนใหผูเรียนสามารถจัดการ
ลงทะเบียน เพิ่ม ลด ถอน รายวิชา หนวยกิต ผานอินเทอรเนตไดทุกที่ ทุกเวลา ตามเวลาที่หลักสูตรกําหนดใหและ
เปนไปตามความตองการของผูเรียนดวยตนเอง (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2545) อันนําไปสูระบบการจัดการ
หลักสูตรที่ดีตอไป
ในปจจุบัน พบวา มีผูพัฒนาระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) ขึ้นมากมาย และ
นํามาใชทั่วไปแพรหลายทั่วโลก เพื่อใหบริการกับครู-อาจารย นักศึกษาที่ตองการจัดการเรียนการสอนผานการ
เรียนอิเล็กทรอนิกส
                  (7) การกําหนดเกณฑดานการจัดคณาจารยและบุคลากร ไดเกณฑเกี่ยวกับขอกําหนดให
สถาบันอุดมศึกษาทําการแตงตั้งคณาจารยผรบผิดชอบหลักสูตร คณาจารยประจํา คณาจารยพิเศษ และคณาจารยที่
                                            ูั
ปรึกษาวิทยานิพนธและอาจแตงตั้งบุคลากรภายในและภายนอกตามเหมาะสม เพื่อใหการเรียนอิเล็กทรอนิกส
ดําเนินการไปอยางมีประสิทธิภาพนั้น
                เมื่อพิจารณาจากเกณฑดังกลาว แสดงถึงความใสใจในรายละเอียดของการจัดคณาจารยท่ตอง  ี
กําหนดใหมีความเหมาะสมตามนโยบายของสถาบัน ซึ่งขอดีการกําหนดในเกณฑดังกลาว เปนการระบุขอความ
มีความอิสระ และมีความยืดหยุนสําหรับการปฏิบัติ โดยไมมีการกําหนดสัดสวนจํานวนคณาจารยตอนักศึกษา
อยางชัดเจน เชน 1: 20 คน 1: 40 คน หรือ 1: 60 คน ดังนั้น การกําหนดการแตงตั้งคณาจารยผูรับผิดชอบ
หลักสูตรจึงควรจัดตามความเหมาะสม ตามเกณฑที่กําหนด
           2. กระบวนการ (Process)
                 (1) ผลจากความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญที่ไดกําหนดใหองคประกอบดานหลักสูตรและการสอน มี
ความสอดคลองและเทียบเคียงกับเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และมีการจัดกิจกรรมที่สอดคลองกับ
ความตองการของผูเรียนและสังคม เนนความตองการ ความสนใจของผูเรียน
                 เมื่อนําไปเทียบเคียงกับเกณฑมาตรฐานหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา พบวา เกณฑการรับรองวิทย
ฐานะสําหรับหลักสูตรการเรียนอิล็กทรอนิกส ครั้งนี้ มีความสอดคลองกับเกณฑและมาตรฐานตาง ๆ ที่เนนผูเรียน
เปนสําคัญ ดังนี้
                      1.1) การประกันคุณภาพภายนอก มาตรฐานดานหลักสูตรและการเรียนการสอน สํานักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
                      1.2) การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการ
อุดมศึกษาเกณฑดานกระบวนการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ องคประกอบดานการเรียนการสอน โดยมี
กิจกรรมการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ เชน มีการใชคําถามเพื่อพัฒนาความรู ทักษะการสืบสอบ และมีแบบ
ฝกสติปญญา รวมทั้งจัดกิจกรรมใหผเู รียนรูปแบบดวยตนเอง (Teaching Mode) การเรียนรายบุคคล (Individual
Study) ตองมีการบันทึกและจัดเก็บความรูจากเรียนรูดวยตนเอง (Self-learning)


                                                         321             OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
จากการกําหนดใหมีวิธีการสอนตามที่กลาวมาขางตน แสดงถึงลักษณะของจัดการหลักสูตรการ
เรียนอิเล็กทรอนิกสในปจจุบัน ใหสามารถพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยเนนผูเรียนเปนศูนยกลาง
(Learner-Centered Designs) ไดตามเกณฑที่กําหนด
                   (2) ผลการวิจัยดานการปฏิสัมพันธและการสื่อสาร กําหนดใหมีกําหนดใหมีการโตตอบผาน
จดหมายอิเล็กทรอนิกส ใหสามารถเผยแพรและตอบสนองตอผูเรียนไดภายในเวลาตามที่สถาบันกําหนด
                   โดย เกณฑดังกลาวไดกําหนดไวอยางยืดหยุน สําหรับความหมายของคําวา “ภายในเวลากําหนด”
คือ เมื่อมีจดหมายอิเล็กทรอนิกสจากผูเรียนเขามาถึงอาจารย เจาหนาที่ หรือผูที่เกี่ยวของ สถาบันตองกําหนดเวลาที่
สามารถใหคําตอบกับผูเรียนไดทันทีตามความเหมาะสมและสะดวกกับเจาหนาที่เทคนิคที่สามารถดําเนินการได
ตามกําหนด เชน ภายในเวลา 12 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง เปนตน
                   (3) ผลการวิจัยดานการวัดและประเมินผล กําหนดใหระบบการวัดผลตองมีความปลอดภัย
โดยปราศจากลักลอบขอมูล และความผิดทางอาญา อันเปนสิ่งที่สถาบันจําเปนเอาใจใสตอการบํารุงรักษาอยาง
พิเศษ เนื่องจากระบบการวัดผลมีขอมูลที่สําคัญหลายประการ เชน เกี่ยวกับขอมูลประวัติของนักศึกษา ผลการ
เรียน เกรด จํานวนหนวยกิตที่ลงทะเบียน หากมีการลักลอบเขามากระทําผิด หรือมีประสงคตองการลบ แกไข
เปลี่ยนแปลงขอมูลดังกลาว เชน การกระทําผิดผานอินเทอรเน็ตเขามาลักลอบเปลี่ยนแปลงเกรดของตนเองหรือ
ผูอื่น เหลานี้เปนสิ่งที่สถาบันตองจัดหาเครื่องมือเพื่อใชรักษาความปลอดภัย ซึ่งสอดคลองกับแนวทางเก็บรักษา
ขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร พระราชบัญญัติวาดวยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 ซึ่งกําหนดให
สถาบันตองเก็บขอมูลในการระบุตัวผูใชบริการนับแตเริ่มใชบริการจนถึงสิ้ดสุด ผูดูแลระบบตองเก็บขอมูล
ดังกลาวไวเปนเวลาอยางนอย 90 วัน หากสถาบันสามารถดําเนินการไดครบถวนตามแนวทางการปองกันการ
กระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 จึงเปนสิ่งที่มั่นใจไดถึงระบบการวัดผลที่ดี และมีเสถียรภาพตอไป
            3. ผลลัพธและผลผลิต (Output &Outcomes)
                   (1) ผลการวิจัยที่กําหนดเกณฑใหสถาบันตองจัดหาระบบที่มีการติดตามผูเรียนในดานตาง ๆ อยาง
มากมายในการติดตามผูเรียน แตมีประเด็นที่นาสนใจ พบวา ผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกสไมประสงค
ใหมีการบันทึกขอมูลเปนลายลักษณอกษรอยางชัดเจน คือ การใหคําแนะนําปญหาทางจิตวิทยา เพื่อการปรับ
                                         ั
พฤติกรรม การสรางแรงจูงใจ ความหวงใย ความเอื้อเฟอแกนักศึกษา แตกําหนดใหตองมีการจัดบริการซึ่งได
กําหนดไวในองคประกอบดานการบริการ

ขอเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช
          1) สถาบันอุดมศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของ ควรจัดเตรียมระบบโครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure)
ดานอินเทอรเนตอยางพอเพียง ตามเกณฑท่ีไดกําหนด
         2) สถาบันอุดมศึกษาควรจัดตั้งหนวยงาน และเปดชองทางที่หลากหลายเพื่อขอคําปรึกษาจาก
นักจิตวิทยา อาจารยที่ปรึกษา และเจาหนาที่ดานเทคนิค อยางเปนระบบและเปนรูปธรรม เชน การจัดตั้งศูนย
ปรึกษาทางโทรศัพท (Call Center) หรือ ผูใหคําปรึกษาดานเทคนิค (Help desk) เพื่อชวยแกไขปญหาดานเทคนิค
ปญหาการใชงานและเครื่องมือตาง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง




                                                               322               OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
Accreditation  Criteria for e-Learning in higer education : Thailand
Accreditation  Criteria for e-Learning in higer education : Thailand

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมPrachoom Rangkasikorn
 
Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...
Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...
Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
คุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมา
คุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมาคุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมา
คุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมากฤติมา วงษ์อนันท์
 
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54Jiraporn
 
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลdtschool
 
Book 1-report obec year 63 -teacher suchera
Book 1-report obec year 63 -teacher sucheraBook 1-report obec year 63 -teacher suchera
Book 1-report obec year 63 -teacher sucheraSucheraSupapimonwan
 
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดแบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดKrupol Phato
 
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการptv534224
 
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโกการจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโกSireetorn Buanak
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57Kongkrit Pimpa
 
ประกาศส่งงานวิจัยปี 56
ประกาศส่งงานวิจัยปี 56ประกาศส่งงานวิจัยปี 56
ประกาศส่งงานวิจัยปี 56Drnine Nan
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทJiraporn Chaimongkol
 
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1Areerat Sangdao
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2chaiwat vichianchai
 
02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv
02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv
02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltvPrachoom Rangkasikorn
 
วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์ruathai
 

Mais procurados (19)

06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...
Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...
Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel. [NEC...
 
คุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมา
คุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมาคุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมา
คุณสมบัติเบื้องต้นการบริหารจัดการชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ครูกฤติมา
 
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
 
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกล
 
Book 1-report obec year 63 -teacher suchera
Book 1-report obec year 63 -teacher sucheraBook 1-report obec year 63 -teacher suchera
Book 1-report obec year 63 -teacher suchera
 
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดแบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
 
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
 
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโกการจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
 
ประกาศส่งงานวิจัยปี 56
ประกาศส่งงานวิจัยปี 56ประกาศส่งงานวิจัยปี 56
ประกาศส่งงานวิจัยปี 56
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บท
 
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
 
02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv
02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv
02.แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม dltv
 
วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์
 
55102 ภาษาไทย utq
55102  ภาษาไทย utq55102  ภาษาไทย utq
55102 ภาษาไทย utq
 

Destaque

CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014
CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014
CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014Jorge Zumaeta
 
Chapter 2 Slideshow First One
Chapter 2 Slideshow First OneChapter 2 Slideshow First One
Chapter 2 Slideshow First Onewinchesterk
 
ชุดที่ 1 ส่งเนต
ชุดที่ 1 ส่งเนตชุดที่ 1 ส่งเนต
ชุดที่ 1 ส่งเนตWansara Sawangnepun
 
eTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisning
eTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisningeTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisning
eTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisningClaus Berg
 

Destaque (7)

CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014
CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014
CAPACITACIÓN NACIONAL VIRTUAL 2014
 
Chapter 2 Slideshow First One
Chapter 2 Slideshow First OneChapter 2 Slideshow First One
Chapter 2 Slideshow First One
 
Press ar
Press arPress ar
Press ar
 
Taller
TallerTaller
Taller
 
ชุดที่ 1 ส่งเนต
ชุดที่ 1 ส่งเนตชุดที่ 1 ส่งเนต
ชุดที่ 1 ส่งเนต
 
eTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisning
eTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisningeTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisning
eTwinning - Kursus i Faxe: Faglig skoleudvikling, sprogundervisning
 
Ellocard Gold10
Ellocard Gold10Ellocard Gold10
Ellocard Gold10
 

Semelhante a Accreditation Criteria for e-Learning in higer education : Thailand

Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
สอบวิชิาชีพครู
สอบวิชิาชีพครูสอบวิชิาชีพครู
สอบวิชิาชีพครูSarawut Rajchakit
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรpaween
 
Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...
Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...
Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...Panuwat Butriang
 
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1luanrit
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...
The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...
The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศDenpong Soodphakdee
 
เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3arsad20
 
Nccit2014 pitipark
Nccit2014 pitiparkNccit2014 pitipark
Nccit2014 pitiparkAJ Pinrod
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7Meaw Sukee
 
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)pairat13
 
"aect ecucational technology"
"aect ecucational technology""aect ecucational technology"
"aect ecucational technology"Wichit Chawaha
 

Semelhante a Accreditation Criteria for e-Learning in higer education : Thailand (20)

Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
 
สอบวิชิาชีพครู
สอบวิชิาชีพครูสอบวิชิาชีพครู
สอบวิชิาชีพครู
 
Email system
Email systemEmail system
Email system
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตร
 
Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...
Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...
Proposed guidelines for quality assurance of e-learning programs in higher ed...
 
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
 
บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...
The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...
The Effect of e-Training with MIAP learning process for Developing Instructor...
 
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3
 
Nccit2014 pitipark
Nccit2014 pitiparkNccit2014 pitipark
Nccit2014 pitipark
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
 
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
 
วิชาการ
วิชาการวิชาการ
วิชาการ
 
File1
File1File1
File1
 
"aect ecucational technology"
"aect ecucational technology""aect ecucational technology"
"aect ecucational technology"
 

Mais de Panuwat Butriang

คู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้น
คู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้นคู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้น
คู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้นPanuwat Butriang
 
Google docs dropbox manual
Google docs dropbox manualGoogle docs dropbox manual
Google docs dropbox manualPanuwat Butriang
 
การใช้ Google docs
การใช้ Google docs การใช้ Google docs
การใช้ Google docs Panuwat Butriang
 
การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์
การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์
การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์Panuwat Butriang
 
การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่
การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่
การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่Panuwat Butriang
 

Mais de Panuwat Butriang (6)

Dropbox
 Dropbox Dropbox
Dropbox
 
คู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้น
คู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้นคู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้น
คู่มือการใช้ Facebook เบื้องต้น
 
Google docs dropbox manual
Google docs dropbox manualGoogle docs dropbox manual
Google docs dropbox manual
 
การใช้ Google docs
การใช้ Google docs การใช้ Google docs
การใช้ Google docs
 
การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์
การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์
การสำรวจพื้นที่โครงการตลาดออนไลน์
 
การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่
การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่
การจัดการความรู้สำหรับระบบราชการยุคใหม่
 

Accreditation Criteria for e-Learning in higer education : Thailand

  • 1. OJED OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp. 310-324 An Online Journal of Education วารสารอิเล็กทรอนิกส http://www.edu.chula.ac.th/ojed ทางการศึกษา การพัฒนาเกณฑการรับรองวิทยฐานะสําหรับหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษา THE DEVELOPMENT OF ACCREDITATION CRITERIA FOR E-LEARNING PROGRAMS IN HIGHER EDUCATION ภานุวัฒน บุตรเรียง * Panuwat Butriang อ. ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ Praweenya Suwannatthachote, Ph.D. Abstract The purposes of research were to: 1) analyze the selected documents 2) study the opinions of a panel of experts and 3) propose the accreditation criteria for e-Learning programs in higher education. The content analysis method was used to analyze the selected documents of nine institutions both local and abroad which produced 195 criteria, Three higher education policy makers reviewed and reduced this number to 128 criteria before the opinions of seven experts. This study found 106 criteria classified in 11 areas and it was that they be broken down into three steps: 1) Input There were 51 criteria grouped to six areas, namely (i) Mission (ii) Course Preparation, (iii) Admission and Selection, (iv) Service, (v) Support, and (vi) Staffing & Faculty 2) Process There were 46 criteria grouped into four areas, namely (i) Curriculum and Instruction, (ii) Communication and Interaction, (iii) Assessment and Evaluation, and (iv) Quality Assurance 3) Output &Outcomes There were nine criteria grouped in the area of monitoring of student information. บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค เพื่อวิเคราะหเอกสารคัดสรร เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ และนําเสนอเกณฑ การรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส การวิเคราะหเอกสารคัดสรรที่เกี่ยวของทั้งในและตางประเทศ จํานวน 9 สถาบันได 195 ขอความ เมื่อผานการตรวจสอบจากผูทรงคุณวุฒิ 3 ทาน ได 128 ขอความ และการสอบถาม ความคิดเห็นกลุมผูเชี่ยวชาญ จํานวน 7 ทาน พบวา เกณฑที่ไดรับการยอมรับจากผูเชี่ยวชาญ จํานวน 11 ดาน 106 เกณฑ แบงเปน 3 ขั้นตอน คือ 1) ปจจัยนําเขา 51 เกณฑ 6 ดาน คือ (1) ดานพันธกิจ (2) ดานความพรอมในการดําเนินการ (3) ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน (4) ดานการบริการ (5) ดานการสนับสนุน (6) ดานการจัดคณาจารยและบุคลากร 2) กระบวนการ 46 เกณฑ 4 ดาน คือ (1) ดานหลักสูตรและการสอน (2) ดานการปฏิสัมพันธและการสื่อสาร (3) ดานการ วัดและประเมินผล (4) ดานการประกันคุณภาพ 3)ผลลัพธและผลผลิต 9 เกณฑ 1 ดาน คือ ขอมูลการติดตามผูเรียน KEYWORDS : e-Learning, Accreditation, Criteria, Curriculum of e-Learning, Higher Education คําสําคัญ : การเรียนอิเล็กทรอนิกส, การรับรองวิทยฐานะ, เกณฑ, หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส, อุดมศึกษา *สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย E-mail Address: panuwat.b@student.chula.ac.th ISSN 1905-4491 310 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 2. บทนํา ในยุคแหงการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานแหงความรู (Knowledge-Based Economy) ที่ตองการยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมไทย ไดกําหนดใหยุทธศาสตรดานการศึกษา (e-Education) เพื่อการพัฒนา การศึกษาโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาความรู โดยถือวาความรูเปนอาวุธและตัวจักรสําคัญในความ การสรางความเจริญใหกับสังคม สรางความมั่งคั่งใหกับระบบเศรษฐกิจ และสรางงานใหกับประชาชนอยางทั่วถึง ซึ่งสอดคลองกับแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) ที่มุงหมายใหเกิด การพัฒนาการศึกษา ดวยการสรางองคความรู (Knowledge-Based) โดยการสรางสื่อใหอยูในรูปของสื่อ อิเล็กทรอนิกส และนําเสนอผานการเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) เพื่อใหผูเรียนสามารถเรียนรูไดทุกที่ ทุกเวลา และตลอดชีวิตดวยการสนับสนุนการเรียนการสอน และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ (2544) ไดเสนอให การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ควรมีการกําหนดมาตรฐานกลางทุกระดับ มีระบบการรับรองหลักสูตรและคุณภาพการศึกษา ซึ่งตองใชเกณฑที่เปนมาตรฐานเดียวกัน จากยุทธศาสตรดานการศึกษา (e-Education) และแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ดังกลาว พบวา ในปจจุบัน การดําเนินการจัดการเรียนการสอนการเรียนอิเล็กทรอนิกสในประเทศไทยมีปญหา และอุปสรรคอยูหลายดาน (ศูนยเทคโนโลยีทางการศึกษา, 2546 : 85) ปญหาประการหนึ่ง จากรายงานวิจัยของ คณะกรรมการวิจยและพัฒนาวุฒิสภา สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา เรื่อง แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนทาง ั อิเล็กทรอนิกส (e-Learning) สําหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย พบวา กฎระเบียบและแนวทางการรับรอง วิทยฐานะการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปจจุบันยัง คลุมเครือไมชัดเจน จึงควรจัดใหมีองคกรหรือหนวยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีมาตรฐานขึ้นมาดูแลการรับรอง วิทยฐานะ เสนอแนะวาควรใชระบบอเมริกันที่เปนมาตรฐานทั่วโลก และมีสมาคมยอมรับและในการรับรอง วิทยฐานะ (สังคม ภูมิพันธุ, 2549) สวนในระดับภูมิภาคอาเซียน พบวา มีปญหาในการรับรองวิทยฐานะระหวางหลักสูตรในการ เรียนอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) ระดับภูมิภาค และผูศึกษาไดใหขอเสนอแนะ คือ ใหตั้งหนวยงานและ คณะกรรมการที่มีชื่อวา eASEAN Commission for Accreditation (eACA) ขึ้นเพื่อเปนคณะทํางาน โดยมีหนาที่ใน การใหการรับรองวิทยฐานะกับโปรแกรมหรือหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสระหวางประเทศในภูมิภาค อาเซียน ซึ่งจะนําไปสูการยอมรับในประเทศใกลเคียง เมื่อมีการโอนยายนักศึกษาขามหลักสูตร หรือขามประเทศ (Charmonman Srisakdi, 2004 : 235-241) จากปญหาดังกลาว เพื่อใหนําไปสูเปาหมายในการจัดการเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีมาตรฐานและมีระบบ การรับรองหลักสูตรทุกระดับ และเพื่อใหบรรลุยุทธศาสตร e-Education จึงนําผลไปสูการศึกษาและการวิเคราะห เอกสารที่เกี่ยวของกับเกณฑการรับรองวิทยฐานะการเรียนอิเล็กทรอนิกสในประเทศไทย ไดแก ราชกิจจานุเบกษา เลม 122 ตอนพิเศษ 120ง และแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑการขอเปดและดําเนินการการหลักสูตรระดับปริญญา ในระบบทางไกล พ.ศ. 2548 กับเกณฑการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรในตางประเทศจากเอกสารที่คัดสรร จํานวน 9 สถาบัน เมื่อผูวิจัยทําการเปรียบเทียบหลักเกณฑที่ปรากฏในประเทศไทยกับเอกสารที่คัดสรรจาก ตางประเทศ พบวา หลักเกณฑการขอเปดและดําเนินการหลักสูตระดับปริญญาในระบบทางไกลในประเทศไทย มีเกณฑและองคประกอบไมครอบคลุมในประเด็นที่สําคัญ จํานวน 4 ดาน จากจํานวน ทั้งหมด 11 ดาน คือ 1) ดานการบริหารหลักสูตร 2) ดานทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย การสนับสนุนการให คําแนะนํานักศึกษา 3) ดานความตองการแรงงงาน สังคม หรือความพึงพอใจของผูใชบัณฑิต 311 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 3. 4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรใหมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการจัดการศึกษา และไมพบองคประกอบของเกณฑท่สอดคลองกับเกณฑที่คัดสรรจากตางประเทศ 9 สถาบัน จํานวน 4 ดาน ี คือ 1) ดานนโยบาย และพันธกิจ 2) ดานทักษะการเรียนรู 3) ดานกระบวนการรับเขาเรียน และ 4) ดานการ ติดตามผูเรียน ดวยความสําคัญที่หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสควรไดรับการรับรองวิทยฐานะ (Accreditation) การกําหนดเกณฑเพื่อใหการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส จึงมีความสําคัญ 4 ประการ กลาวคือ ประการแรก การกําหนดเกณฑจะเปนตัวชี้วัดถึงการดําเนินหลักสูตรทางการศึกษาเปนไปอยางมี ประสิทธิภาพ ตามองคประกอบของเกณฑที่เหมาะสม ตรงตามพันธกิจ และวัตถุประสงคที่ตั้งไวอยางครอบคลุม ทุกดาน (The Council for Higher Education Accreditation, 2006 : 1) ประการที่สอง การกําหนดเกณฑในหลักสูตร เปนคุณภาพสําคัญตัวหนึ่งสําหรับการประกันคุณภาพ ภายใน ถือเปนรองรอยของความตระหนัก (Awareness) ถึงความสําคัญของการพัฒนาหลักสูตร เปนความ พยายามในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรใหมีประสิทธิภาพ และตรงตามความตองการของสังคม พรอมทั้ง เปนการรับรองการตรวจประเมินภายนอกจากสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2546) ประการที่สาม เพื่อใหคณะกรรมการรับรองวิทยฐานะ (eASEAN Commission for Accreditation : eACA) ซึ่งมีหนาที่ในการรับรองวิทยฐานะหลักสูตร สามารถใหการรับรองวิทยฐานะดวยความนาเชื่อถือและเกิด การยอมรับตอหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน อันงายตอการโอนยาย นักศึกษาขามหลักสูตร หรือการโอนยายนักศึกษาขามประเทศในอนาคต (Charmonman Srisakdi, 2004 : 235- 241) ประการที่ส่ี การกําหนดเกณฑเพื่อใชในการรับรองวิทยฐานะการเรียนอิเล็กทรอนิกส จะมีลักษณะ องคประกอบที่มีความครอบคลุม ชัดเจน ไมคลุมเครือ เปนเกณฑที่ใชมาตรฐานทั่วโลก ตามขอเสนอแนะงานวิจัย คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา วุฒิสภาสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สังคม ภูมิพันธ, 2549 : 124) จากปญหาและความสําคัญที่สรุปดังกลาว งานวิจัยนี้จงมุงศึกษาและพัฒนาเกณฑขึ้นเพื่อใชสําหรับ ึ การรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษาที่จะขอเปดและดําเนินการหลักสูตร วิธีดาเนินการวิจัย ํ การดําเนินวิจัย แบงเปน 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา และวิเคราะหเอกสาร (Content Analysis) ที่เกี่ยวของกับการรับรองวิทยฐานะ การเรียนอิเล็กทรอนิกสและการเรียนแบบทางไกลทั้งในและตางประเทศ โดยมีเกณฑการเลือกและคัดสรร เอกสารที่เกี่ยวของ ดังนี้ 1) เปนองคกรที่เกี่ยวของกับการเรียนทางไกลในลักษณะการเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) ที่ประกาศใชและใหการรับรองวิทยฐานะอยางชัดเจน 2) เปนองคกรในตางประเทศ จากทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเซีย 312 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 4. รายชื่อสถาบันที่ไดทําการคัดสรร จํานวน 9 องคกร ดังนี้ 1) สถาบันอินโนยูนิเลิรนนิง (InnoUnilearning) ประเทศสหรัฐอเมริกา 2) สถาบันอินโนอีเลิรนนิง (InnoElearning) ประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป 3) มหาวิทยาลัยปกกิ่ง ประเทศจีน การพัฒนาระบบการรับรองวิทยฐานะในกระบวนการสอน ออนไลน (Development an Accreditation System for On-line Teaching Processes) 4) การรับรองวิทยฐานะการเรียนทางไกลในทวีปยุโรป (DLAE : Distance Learning Accreditation in Europe) 5) สภาอุดมศึกษาดานคุณภาพการศึกษา ในทวีปแอฟริกาใต (Council on Higher Education Higher Education Quality Committee :HEQC) 6) สมาคมมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในมลรัฐทางเหนือ ประเทศสหรัฐเมริกา (A Commission of the North Central Association of Colleges and School : NCA) 7) คณะกรรมาธิการสมาคมวิทยาลัยและโรงเรียนทางใต ประเทศสหรัฐอเมริกา (Commission on Colleges of Southern Association of Colleges and School : VCCS) 8) คณะความรวมมือดานการสื่อสารเพื่อการศึกษาฝงตะวันตก สหรัฐอเมริกา (Western Cooperative for Educational Telecomunication) 9) แนวทางปฏิบัติหลักเกณฑการขอเปดและดําเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบ การศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 ตามความในราชกิจจานุเบกษา เลม 122 ตอนพิเศษ 120ง ผลการวิเคราะหเกณฑที่คัดสรรจาก 9 องคกรขางตน ไดจัดกลุมของเกณฑที่มีความสอดคลองเปน 3 กลุมไดแก 1) ปจจัยนําเขา (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลลัพธและผลผลิต (Output &Outcomes) โดยมี ขอความที่จะพัฒนาเปนเกณฑรวมทั้งหมด จํานวน 13 ดาน 195 ขอความ ขั้นตอนที่ 2 การตรวจเครื่องมือ ผูทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ทาน ที่มีหนาที่รับผิดชอบระดับนโยบาย และมี หนาที่เกี่ยวของกับการเรียนอิเล็กทรอนิกส แสดงความคิดเห็นตอขอความที่พัฒนาเปนเกณฑ เพื่อหาความ เหมาะสมของขอความที่พัฒนาเปนเกณฑ และหาการยอมรับของผูทรงคุณวุฒิ โดยทําการวิเคราะหความคิดเห็น ของผูทรงคุณวุฒิดวยสถิติคามัธยฐานและคาพิสัยระหวางควอไทล ผลการวิเคราะหความคิดเห็นของผูทรงคุณวุฒิ ไดขอความที่จะพัฒนาเปนเกณฑรวมทั้งหมด จํานวน 11 ดาน 128 ขอความ ขั้นตอนที่ 3 เก็บรวบรวมขอมูลจากผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกส ครั้งที่ 1 จํานวน 7 ทาน โดยใชวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และแบบลูกโซ (Snowball Sampling) ดวยการจัดสงเครื่องมือทาง ไปรษณีย ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะหผลจากการสอบถามความคิดเห็นจากผูเชี่ยวชาญ ครั้งที่ 1 ดวยคาสถิติมัธยฐาน และคาพิสัยระหวางควอไทล ขั้นตอนที่ 5 การเก็บรวบรวมขอมูลจากผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกส ครั้งที่ 2 เพื่อใหยนยัน ื หรือเปลี่ยนแปลงคําตอบ โดยใชคําถามเหมือนครั้งที่ 1 พรอมแสดงคําตอบของแตละทานและคําตอบของกลุม ดวยคามัธยฐาน และคาพิสัยระหวางควอไทล 313 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 5. ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะหผลจากการสอบถามความคิดเห็นจากผูเชี่ยวชาญ ครั้งที่ 2 ดวยคาสถิติมัธยฐาน และคาพิสัยระหวางควอไทล และวิเคราะหขอเสนอแนะ ขั้นตอนที่ 7 นําผลการศึกษาความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญและคาสถิติที่ไดไปปรับปรุง และขอรับ คําแนะนําจากอาจารยที่ปรึกษา ขั้นตอนที่ 8 สรุปผลเปนเกณฑการการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส ในระดับอุดมศึกษา วิธีเก็บรวบรวมขอมูล การเก็บรวบรวมขอมูลใชเครื่องมือเพื่อสอบถามความคิดเห็นผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกส จํานวน 2 ครั้ง โดยแบบสอบถามครั้งที่ 1 แบงเปน 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เปนสวนแสดงความคิดเห็นแบบประมาณ คา 5 ระดับ ตอนที่ 2 เปนสวนคําถามปลายเปด และแบบสอบถามครั้งที่ 2 มีขอความเหมือนกับแบบสอบถามครั้ง ที่ 1 แตแตกตางที่ในแบบสอบถามครั้งที่ 2 จะทําการแสดงตําแหนงคําตอบเดิมของผูเชี่ยวชาญขอบเขตพิสัย ระหวางควอไทล มัธยฐานของกลุม สวนตอนที่ 2 จะแสดงขอเสนอแนะที่ไดจากถามผูเชี่ยวชาญในแบบสอบถาม ครั้งที่ 1 การวิเคราะหขอมูลใชสถิติคามัธยฐาน และคาพิสัยระหวางควอไทล เพื่อพิจารณาเลือกขอความที่ เหมาะสม และหาการยอมรับของผูเชี่ยวชาญ โดยมีเกณฑการยอมรับ ดังนี้ 1) ถาขอความที่พัฒนาเปนเกณฑขอใดที่มีคาพิสัยระหวางควอไทลนอยกวา 1.50 ((Q3-Q1) < 1.5 ) และคามัธยฐาน(Median) มีคามากกวา 3.5 แสดงวา ผูเชี่ยวชาญยอมรับขอความ ดังกลาว 2) ถาขอความที่พัฒนาเปนเกณฑขอใดที่มีคาพิสัยระหวางควอไทลมากกวาหรือเทากับ 1.50 ((Q3-Q1) ≥ 1.5 ) และคามัธยฐาน(Median) มีคานอยกวา 3.5 แสดงวา ผูเชี่ยวชาญไมยอมรับขอความ ดังกลาว ผลการวิจัย ผลการวิจัย การพัฒนาเกณฑการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรสําหรับการเรียนอิเล็กทรอนิกสใน ระดับอุดมศึกษา แบงเปน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ปจจัยนําเขา (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลลัพธและ ผลผลิต (Output &Outcomes) ไดจํานวน 11 ดาน 106 เกณฑ ดังนี้ 1. ปจจัยนําเขา (Input) ประกอบดวย 6 ดาน คือ 1) ดานพันธกิจ 2) ดานความพรอมในการดําเนินการ 3) ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน 4) ดานการบริการ 5) ดานการสนับสนุน 6) ดานการจัดคณาจารยและบุคลากร 1) ดานพันธกิจ (Mission) ประกอบ 8 เกณฑ ดังนี้ (1.1) พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความ ชัดเจน มีเอกสารบันทึกอยางเปนลายลักษณอักษร (1.2) พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความสอดคลองกับ นักศึกษา (1.3) พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความสอดคลองกับการวางแผนและขีดความสามารถเพื่อการเติม เต็มใหกับพันธกิจ (1.4) วัตถุประสงคของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสมีความชัดเจน (1.5) วัตถุประสงคของ หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสสอดคลองกับการใชเทคโนโลยีอยางเหมาะสมโดยมีกระบวนการตรวจสอบและ การพิจารณาอยางแนนอน (1.6) เปาหมายของสถาบันอุดมศึกษามีความชัดเจน เปนไปเพื่อผลการเรียนรูของ นักศึกษาในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (1.7) เปาหมายการเรียนรูและทฤษฎีมีความสัมพันธกับแนวคิด การนําไปใช และแบบฝกหัด ของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส 314 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 6. (1.8) วัตถุประสงคมีความสัมพันธกับเปาหมายการเรียนรูและทฤษฎี แนวคิดของหลักสูตร การปฏิบัติ และการ นําไปใชหลักสูตร การปฏิบัติ และการนําไปใช 2) ดานความพรอมในการดําเนินการ (Course Preparation) ประกอบ 11 เกณฑ ดังนี้ (2.1) การพิจารณาการขอเปดเพื่อดําเนินหลักสูตรในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส ตองพิจารณา ดังตอไปนี้ (2.1.1) คณาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร คณาจารยประจํา และคณาจารยพิเศษ (2.1.2) ระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) (2.1.3) การผลิตชุดการสอนอิเล็กทรอนิกส (Courseware) (2.1.4) การประเมิน การเรียนการสอน (2.1.5) การจัดสื่อและอุปกรณการศึกษา (2.1.6) การจัดหองสมุดธรรมดาและหองสมุด อิเล็กทรอนิกส (Library & E-library ) (2.1.7) ระบบโครงสรางพื้นฐานที่จําเปน (Infrastructure) (2.1.8) บุคลากร ที่เกี่ยวของ เชน เจาหนาที่ดานเทคนิค ผูดูแลระบบ ผูชวยสอน เปนตน (2.2) ดานความพรอมของบุคลากรที่ เกี่ยวของ ควรมีการดําเนินการ ดังตอไปนี้ (2.2.1) มีการเตรียมความพรอมของนักศึกษา ใหพรอมและเหมาะสม กับเทคโนโลยี ทั้งในดานฮารดแวร ซอฟตแวร และระบบบริหารจัดการรายวิชา (LMS) ที่ใชในหลักสูตรการเรียน อิเล็กทรอนิกส (2.2.2) มีการเตรียมความพรอมของเจาหนาที่สําหรับการออกแบบ การพัฒนาหลักสูตร และการ จัดการหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (2.3) ความพรอมดานโครงสรางพื้นฐานที่จําเปน (Infrastructure) ตองให อุปกรณมีความสอดคลองกับสื่อหลักสอดคลองกับเครือขายสื่อสารดวยระบบเครือขายภายใน และระบบเครือขาย ที่ใหบริการจากภายนอกใหพรอมบริการนักศึกษาอยางเพียงพอ สถาบันอุดมศึกษาอาจรวมมือกับหนวยงานอื่น ๆ ในดานโครงสรางพื้นฐานโดยตองจัดขอตกลงเปนลายลักษณอักษรโดยความเห็นชอบของ สภาสถาบันอุดมศึกษา 3) องคประกอบดานการคัดเลือกและรับผูเรียน (Admission and Selection) ประกอบ 7 เกณฑ ดังนี้ (3.1) สถาบันอุดมศึกษารับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติภายใตเกณฑตามขอกําหนดของหลักสูตรการเรียน อิเล็กทรอนิกส โดยนักศึกษามีความสามารถ ความรูพื้นฐานดานเทคนิคและเทคโนโลยี มีทักษะการเรียนรู อยางพอเพียงโดยสถาบันอุดมศึกษามีการตรวจสอบทักษะของผูเขาเรียน ดังนี้ (3.1.1) ทักษะการเรียนรูของ นักศึกษาสอดคลองกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต เปนไปตามที่กําหนดไวในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (3.1.2) การวิเคราะหระดับความชํานาญของนักศึกษา มีการวัดระดับทักษะความชํานาญและชองวางทางทักษะ ของนักศึกษาในการเรียนดวยระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) (3.1.3) ผลการเรียน ชวงกอนเขาเรียน ตรงตามที่คุณสมบัติกําหนด (3.2) สถาบันอุดมศึกษามีนโยบายการรับนักศึกษาอยางยุติธรรม ตามขอกําหนดของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (3.3) สถาบันอุดมศึกษากําหนดการรับนักศึกษาสอดคลอง กับแผนการรับบุคคล เพื่อตอบสนองตอคุณภาพของการศึกษา (3.4) สถาบันอุดมศึกษาตองจัดใหนักศึกษาเขารับ การปฐมนิเทศกอนเขารับการศึกษาในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส 4) ดานการบริการ (Service) ประกอบดวย 13 เกณฑ ดังนี้ สถาบันอุดมศึกษามีการจัดบริการ (Service) สําหรับหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษา ดังนี้ (4.1) มีการจัดบริการเกี่ยวกับ งบประมาณสําหรับทรัพยากรตาง ๆ เพื่อใชในสถาบันอุดมศึกษา (4.2) มีการจัดบริการใหคําปรึกษาเพื่อสราง แรงจูงใจใหนักศึกษา เพื่อชวยเหลือใหนักศึกษาสามารถกาวขามผานพนอุปสรรคไปไดและมีการใหคําแนะนํา แกนกศึกษาใหสามารถใชประโยชนจากเทคโนโลยีไดเต็มประสิทธิภาพ (4.3) มีการเปดบริการใหกับนักศึกษา ั เพื่อเปดโอกาสใหสามารถแสดงออกภายในสถาบันอุดมศึกษาดวยกิจกรรมตาง ๆ (4.4) สถาบันอุดมศึกษาจัดการ บริการที่มีการสงเสริมคุณคาตอองคกรทั้งภายในและภายนอก 315 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 7. (4.5) มีการวิเคราะหขีดความสามารถในการตอบสนองในการใหบริการดานตาง ๆ ตามความจําเปนและความ ตองการของผูใชบริการ (4.6) สถาบันอุดมศึกษาควรจัดบริการที่สอดคลองกับความตองการของนักศึกษา ดังนี้ (4.6.1) ขอมูลเกี่ยวกับการประกาศ ขาวสาร และผังรายละเอียดหลักสูตร และรายวิชาในหลักสูตรการเรียน อิเล็กทรอนิกสที่ถูกตอง (4.6.2) ผูใหคําปรึกษากอนการสมัครเขาเรียน (4.6.3) ระบบการสมัครเขาเรียนใน หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (4.6.4) ผูสอน (4.6.5) ผูใหคําปรึกษา และสถานที่ใหคาปรึกษาแกนักศึกษา ํ (4.6.6) ขาวสารความเคลื่อนไหวภายในสถาบัน และขอมูลเพื่อตรวจสอบการสําเร็จการศึกษาของนักศึกษา (4.6.7) หองสมุดที่มีฐานขอมูลงานวิจัย ฐานขอมูลทางวิชาการ บทคัดยอออนไลน หรือฐานความรูในรูปแบบ เอกสารฉบับเต็ม (Full text) วารสาร ตําราอิเล็กทรอนิกส ในสาขาวิชาที่เปดสอนพรอมทรัพยากรที่จําเปนภายใน หองสมุด (4.6.8) การบริการดานเทคนิค ในชวงตอนเย็น และชวงชั่วโมงเวลาเรียนปกติ ตลอดสัปดาห 5) ดานการสนับสนุน (Support) ประกอบดวยเกณฑ 6 เกณฑ ดังนี้ (5.1) สถาบันอุดมศึกษาให คุณคาในการสนับสนุนตอการเรียนการสอนอยางแทจริง (5.2) สถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนการสราง สภาพแวดลอม (Environment) ที่เอื้อตอการเรียนรู มีทรัพยากรการเรียนรู (Learning Resource) มีแหลงการเรียนรู เพื่อการสอนอยางมีประสิทธิภาพ และเปนการเติมเต็มการปฏิบัติงานในรายวิชา หรือในหลักสูตรการเรียน อิเล็กทรอนิกส (5.3) สถาบันอุดมศึกษาใหการสนับสนุนในดานเทคนิคสําหรับระบบจัดสอนทางอิเล็กทรอนิกส (LMS) โดยมีระบบลงทะเบียน (Registration System) เพื่อใหนักศึกษาสามารถจัดการขอมูลภายในระบบไดดวย ตนเอง (5.4) สถาบันอุดมศึกษาใหการสนับสนุน เกี่ยวกับอุปกรณ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกสและมีสิ่งอํานวยความ สะดวกตอหลักสูตร รวมถึงการสนับสนุนดานอุปกรณ ซอฟตแวร เพื่อการสื่อสารอยางพอเพียง เพื่อชวยสรางปฏิสัมพันธระหวางคณาจารยกับนักศึกษาบนพื้นฐานทักษะและความสามารถดานเทคโนโลยีอยาง เหมาะสม (5.5) สถาบันอุดมศึกษามีแผนสําหรับการบํารุงรักษาอุปกรณ-เครื่องมืออิเล็กทรอนิกสและระบบการ ปองกันขอมูลอยางพอเพียงเพื่อใหสามารถใชไดในระยะยาวตอไป (5.6) สถาบันอุดมศึกษามีการตรวจสอบการ สนับสนุนดานอิเล็กทรอนิกสในภายหลักสูตร หรือรายวิชาในการเรียนอิเล็กทรอนิกส โดยจัดคณาจารยเพื่อ พิจารณาพัฒนาการของหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส ปริมาณงาน คาตอบแทน ความรูที่ไดรับจากหลักสูตร และการมีสวนรวมของคณาจารย 6) ดานการจัดคณาจารยและบุคลากร (Staffing & Faculty) ประกอบดวย 6 เกณฑ ดังนี้ (6.1) สถาบันอุดมศึกษาแตงตั้งคณาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร คณาจารยประจํา คณาจารยพิเศษ และคณาจารย ที่ปรึกษาวิทยานิพนธและอาจแตงตั้งบุคลากรภายในและภายนอกตามเหมาะสม เพื่อใหการเรียนอิเล็กทรอนิกส ดําเนินการไปอยางมีประสิทธิภาพ (6.2) สถาบันอุดมศึกษามีจํานวนบุคลากรเพียงพอตอหลักสูตรการเรียน อิเล็กทรอนิกส (6.3) คณาจารย ผูสอนในหลักสูตรมีประสบการณการสอนในระดับอุดมศึกษา มากกวา 2 ปขึ้นไป (6.4) สถาบันอุดมศึกษาใหการรับรองในการอบรมของคณาจารย เกี่ยวกับการใชงานระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) และการอบรมคณาจารยที่สอนโดยใชความรูเทคโนโลยีเฉพาะดาน (6.5) ครูผสอนและผูชวยสอน (Tutorship and Assistance) มีระดับความรูที่เหมาะสมในการสอน และมีบทบาทในการ ู ตอบคําถามที่ทําใหนกศึกษาไดรับความรูอยางกระจาง (6.6) สถาบันอุดมศึกษาจัดใหมีบุคลากรดานเทคนิคที่มี ั หนาที่สําหรับการตรวจสอบระบบ การจัดการ และการบริหารระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) อยางมีประสิทธิภาพ 316 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 8. 2. กระบวนการ (Process) ประกอบดวย 4 ดาน คือ 1) ดานหลักสูตรและการสอน 2) ดานการ ปฏิสัมพันธและการสื่อสาร 3) ดานการวัดและประเมินผล 4) ดานการประกันคุณภาพ 1) หลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction) ประกอบดวย 23 เกณฑ ดังนี้ 1.1) การออกแบบและการผลิตหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส กําหนดใหหลักสูตรมีลักษณะ ดังนี้ (1.1.1) สอดคลองกับวัตถุประสงคทางการศึกษา ประสบการณความรู ทักษะ อยางมีประสิทธิภาพ (1.1.2) ตอบสนองตอความตองการของนักศึกษา (1.1.3) ตรงตามขอกําหนดของผูเชี่ยวชาญและผูที่เกี่ยวของ (1.1.4) หลักสูตรมีความนาเชื่อถือ สอดคลองกับพันธกิจ บทบาท กลยุทธ เปาหมาย แผนงานของสถาบัน (1.1.5) หลักสูตรสอดคลองกับเนื้อหาการเรียนรู ระดับ หนวยกิต และคาน้ําหนักที่เกี่ยวของ (1.1.6) การพัฒนา องคประกอบของหลักสูตรมีความตอเนื่องชัดเจน (1.2) โครงสรางหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสมีสอดคลอง หรือเทียบเคียงกันกับเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (1.3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู (1.3.1) มีการใช กิจกรรมเพื่อสงเสริมคุณคาในชีวิตการเรียนรูใหกับกรรมการบริหารหลักสูตรผูบริหาร นักศึกษา คณาจารยและ พนักงาน (1.3.2) มีการใชคําถามเพื่อพัฒนาความรู ทักษะ การสืบสอบ และมีแบบฝกสติปญญา เพื่อการ ประยุกตใชในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (1.3.3) การเรียนรูดวยรูปแบบดวยตนเองตองมีการบันทึกและ จัดเก็บความรูทั้งแบบเรียนรูดวยตนเอง (Self-learning) และแบบการเรียนรูดวยวิธีรวมมือรวมใจ (Collaborative) (1.4) แผนการสอน (Teaching Plan) มีการปรับปรุงแผนการสอน ประมวลรายวิชา ทรัพยากรการสอน ทรัพยากร การเรียนรูและเนื้อหา (Content Renewal) ใหทันสมัยและสมบูรณอยูเสมอ โดยการสอนควรประกอบดวย (1.4.1) แนวคิดการสอน มีจุดมุงหมายและบทสรุปที่ชัดเจน (1.4.2) วิธีการสอน มีเทคนิคที่หลากหลาย (1.4.3) เอกสารประกอบการสอนและรวบรวมเอกสาร (Compilation of teaching Document) เพื่อใชสําหรับการ เรียนการสอนและการวัดผลนักศึกษา (1.4.4) ปรับปรุงแผนการสอนใหสมบูรณ หลังทําการสอนเสร็จสิ้น (Implement of Course Plan) (1.4.5) การประเมินตนเองกอนเรียน เนื้อหาสาระ การประเมินกิจกรรมระหวางเรียน การทํากิจกรรมภาคปฏิบัติเสริมประสบการณและการมอบหมายสั่งงาน 1.5) สถาบันอุดมศึกษา มีกลยุทธและ เทคนิคเพื่อการจัดการเรียนรูภายในหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส ดังนี้ (1.5.1) วิธีการจัดการเรียนรูไดรับการ ออกแบบใหมีความสอดคลองกับผูสอน และผูเรียนโครงสรางหลักสูตร ทรัพยากรการเรียนรู และเทคโนโลยี (1.5.2) รูปแบบการเรียนการสอนสอดคลองและเหมาะสมกับพันธกิจของสถาบัน (1.5.3) หลักสูตรมีการพัฒนา ตามกลยุทธการจัดการหลักสูตรในระดับที่กําหนด (1.5.4) ผูสอนและบุคลากรที่เกี่ยวของ ไดรับโอกาสในการ พัฒนาความสามารถ ความรูและประสบการณดานวิธีการสอน (Teaching methods) อยูเสมอ (1.5.5) การติดตาม ประสิทธิภาพการเรียน โดยมีการใหนําผลจากการประเมิน ปอนกลับไปยังการจัดการเรียนรู (1.6) มีการจัดระบบ ผลิตหรือจัดหาสื่อการศึกษา ทั้งสื่อหลักและสื่อเสริม ใหเพียงพอตอการศึกษาดวยตนเอง (1.7) สถาบันอุดมศึกษามี การจัดการโครงสรางหลักสูตรอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการนําหลักสูตรไปทําการเทียบเคียง (Benchmarking) ประสิทธิภาพกับหลักสูตรระดับชาติและนานาชาติ 2) การปฏิสัมพันธและการสื่อสาร (communication and Interaction) ประกอบดวย 5 เกณฑ ดังนี้ (2.1) การสื่อสารแบบไมประสานเวลา (Frequency of Asynchronous communication) (2.1.1) การสื่อสาร ดวยจดหมายอิเล็กทรอนิกสสามารถเผยแพรและตอบสนองตอผูเรียนได ภายในเวลาตามที่สถาบันกําหนด (2.1.2) สถาบันอุดมศึกษามีการรวบรวมคําถามจากชองทางที่มีการปฏิสัมพันธแลวใหคําตอบกับนักศึกษาภายใน เวลาตามที่สถาบันกําหนด 317 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 9. (2.2) การสื่อสารแบบประสานเวลา (Frequency of Synchronous communication) (2.2.1) สถาบันอุดมศึกษา จัดระบบการแสดงขอมูลปฏิสมพันธของนักศึกษา เพื่อใหคณาจารย ไดทําการตรวจสอบ ติดตามนักศึกษาโดยมี ั ระบบการแจงขอมูล นักศึกษาที่ขาดการปฏิสัมพันธ มีความเสี่ยงตอการหยุดเรียนกลางคัน และขอมูลประเมิน ความกาวหนาในการเรียน (2.3) การสรางปฏิสัมพันธกับนักศึกษาภายในหลักสูตร ควรมีการจัดกิจกรรมในการ เรียนแบบประสานเวลา หรือแบบไมประสานเวลาระหวางผูสอนและนักศึกษาอยางเพียงพอโดยมีส่งอํานวยความ ิ สะดวกพรอมสําหรับบริการ (2.4) สถาบันอุดมศึกษาจัดระบบการสื่อสารเพื่อสรางปฏิสัมพันธเพื่อเปดกวางอยาง อิสระในการแสดงความคิดเห็นหรือการติชมของนักศึกษา 3) การวัดและประเมินผล (Evaluation and Assessment) ประกอบดวย 16 เกณฑ ดังนี้ (3.1) สถาบันมีการรับรอง (Certification) หลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสที่เชื่อถือไดอยางมีประสิทธิภาพดวย การประเมินผลที่มีความสอดคลองกับพันธกิจ (3.2) การประเมินผล (Evaluation) โดยพิจารณา ดังนี้ (3.2.1) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา และผูที่เกี่ยวของกับหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส (3.2.2) รายวิชา และลักษณะการเรียนที่สอดคลองกับวัตถุประสงคของหลักสูตร (3.2.3) คุณภาพของหัวขอการเรียนรู (3.2.4) ความสามารถในการเขาถึงหองสมุด และทรัพยากรการเรียนรู รวมถึงเอกสารที่ใชในทรัพยากรทาง อิเล็กทรอนิกส (3.2.5) ความสามารถในทักษะพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร การวิเคราะห และสรุปความรูของนักศึกษา (3.3) การวัดผลมีหลักฐานแสดงการเรียนรูของผูเรียนที่ชดเจน ดังนี้ (3.3.1) ผลรวมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู ั ทั้งหมด (3.3.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในแตละรายวิชา (3.3.3) ระบบการรับรองความปลอดภัย ของเอกสารที่ทําการวัดผลเรียบรอยแลว (3.4) กระบวนการวัดผล ดังนี้ (3.4.1) นโยบายการวัดผลผูเรียน (Student assessment policies) ประกอบดวย ดังนี้ (3.4.1.1) มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) (3.4.1.2) มีการเฝาติดตามความกาวหนาของนักศึกษาในหลักสูตร (3.4.1.3) ระบบการวัดผลมีความปลอดภัยโดย ปราศจากการลักลอบขอมูลและความผิดทางอาญาอื่น ๆ (3.4.2) การวัดผลการเรียนรู (3.4.2.1) ผูสอนมีหนาที่ ออกแบบการวัดผล และนําไปใชในการวัดผลกอนเรียน - หลังเรียน (3.4.2.2) กิจกรรมการเรียนรูและขอกําหนด ดานประสิทธิภาพของการวัดผล มีความสอดคลองตรงกันกับระดับและผลสัมฤทธิ์การเรียนรู (3.4.2.3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความชัดเจน มีความเชื่อมโยง และสอดคลองกับเกณฑการวัดผล และการ ตัดสิน (3.5) สถาบันอุดมศึกษาใหการสนับสนุนโดยใหรายละเอียด คําแนะนําขอมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อใหเกิด การวัดผลภายนอกที่ตอเนื่องและเพื่อใหเกิดความสมบูรณในการจัดทํารายงานการวัดผล 4) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ประกอบดวย 2 เกณฑ ดังนี้ (4.1) สถาบันอุดมศึกษาตองจัดระบบประกันคุณภาพหลักสูตรและรายวิชาเปนระยะ ๆ อยางตอเนื่อง มีรายงานผล ตอ สภาอุดมศึกษาตอสาธารณะ และตอคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อนําผลการประเมินมาใชปรับปรุง คุณภาพรายวิชาและหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกสใหทันสมัยอยูเสมอ (4.2) สถาบันอุดมศึกษาตองกําหนดและ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครอบคลุมปจจัยคุณภาพทั้งดานคุณภาพทั้งดานปจจัยการ นําเขา กระบวนการ ผลลัพธและผลผลิต และตัวบงชี้คุณภาพ ตลอดจนการสรางฐานขอมูล เพื่อการประกัน คุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกสและการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก 318 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 10. 3. ผลลัพธและผลผลิต (Output &Outcomes) ประกอบดวย 1 ดาน คือ ดานขอมูลการติดตามผูเรียน 1) ขอมูลการติดตามผูเรียน (Monitoring of Information) ประกอบดวย 9 เกณฑ ดังนี้ สถาบันอุดมศึกษาตองพัฒนาหรือจัดหาโปรแกรมที่สามารถบันทึกรายละเอียดวันเวลา และชวงเวลาที่รวม กิจกรรม บันทึกรายงานตอคณาจารยประจําวิชาและคณาจารยชวยสอนเกี่ยวกับวิธีการ และเวลาการเขาถึงอยาง ละเอียดโดยมีการเก็บขอมูลและอัตราของปริมาณการใชงานของผูเรียน ดังนี้ (1.1) ปริมาณการออนไลนและ เขาถึงบทเรียน (Access and On-line tracking) (1.2) ปริมาณขอมูลตอหนวยเวลาในใชงานผานระบบบริหารจัดการ รายวิชา (Throughput rate) (1.3) การเฝาติดตามความกาวหนาของนักศึกษา (Learning Progress) (1.4) การทํางาน และสงงานที่ไดรบมอบหมาย (Assignment) (1.5) การปรึกษาหารือ เพื่อการปรับปรุง แกไข (Remedial action) ั (1.6) ขอมูลจัดอันดับชั้น (Qualifying class) ของนักศึกษา (1.7) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา (1.8) การใหขอมูลปอนกลับจากนักศึกษาถึงอาจารย (Feedback to faculty) (1.9) การใหขอมูลปอนกลับจาก อาจารยถึงนักศึกษา (Feedback to student) อภิปรายผลและขอเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเกณฑการรับรองวิทยฐานะสําหรับหลักสูตร การเรียนอิเล็กทรอนิกสในระดับอุดมศึกษา ซึ่งขอคนพบมีประเด็นอภิปราย ดังนี้ 1. ปจจัยนําเขา (Input) (1) ผลของการวิจัยดานพันธกิจ ผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกสไดแสดงความคิดเห็นที่ให ความสําคัญตอดานพันธกิจเปนอยางยิ่ง โดยเห็นวาเกณฑทุกขอที่ไดมีการกําหนดใหดานพันธกิจของสถาบันมี ความสอดคลองกับดานตาง ๆ เพื่อใหการดําเนินการหลักสูตรเปนไปอยางชัดเจน มีกระบวนการตรวจสอบได เชน พันธกิจมีความสอดคลองกับวางแผน พันธกิจมีความสอดคลองกับผูเรียน การกําหนดเกณฑ ดังกลาว แสดงถึงความสอดคลองและความเปนมาตรฐานเดียวกันกับ 3 สถาบันระดับ โลก ไดแก การประกันคุณภาพสําหรับการเรียนทางไกล (A Commission on Colleges of Southern Association of Colleges and School , 2000) การรับรองวิทยฐานะการเรียนทางไกลในทวีปยุโรป (Distance Learning Accreditation in Europe, 2004) และการรับรองวิทยฐานะสมาคมมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในมลรัฐทางเหนือ ประเทศสหรัฐเมริกา (The Higher Learning Commission, 2003) (2) ผลของการวิจัยดานความพรอมในการดําเนินการหลักสูตร หนึ่งในเกณฑที่สําคัญ คือ ระบบ โครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure) โดยสถาบันตองจัดใหอุปกรณมีความสอดคลองกับสื่อหลัก สอดคลองกับ เครือขายสื่อสารดวยระบบเครือขายภายใน และระบบเครือขายที่ใหบริการจากภายนอกใหพรอมบริการนักศึกษา อยางเพียงพอ การกําหนดเกณฑ ดังกลาว แสดงถึงความสําคัญของระบบโครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure) ที่สถาบันตองจัดเตรียมใหพรอม เพื่อใหบริการอยางเพียงพอ และสอดคลองกับเครือขายการสื่อสารซึ่งรัฐตอง จัดสรรเพื่อใชประโยชนสําหรับการศึกษาตามเกณฑที่กําหนดขึ้น อันมีสอดคลองกับความในมาตรา 63 หมวด 9 พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 (3) ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน มีการกําหนดใหตองทําการตรวจสอบทักษะในการรับนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรูของนักศึกษากับเทคโนโลยีบนเว็บไซต ทักษะความชํานาญ และชองวางทางทักษะของการ ใชงานระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System-LMS) 319 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 11. จากเกณฑดังกลาว แสดงถึงคุณสมบัติพื้นฐานที่จําเปนของผูเรียนในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส จะตองมีทักษะความชํานาญเหนือกวาผูเรียนที่อยูในหองเรียนปกติ เนื่องจากเปนระบบการเรียนที่มีการนําเสนอ เนื้อหาทั้งหมดผานการเรียนออนไลนเต็มรูปแบบ หรือเกือบทั้งหมด โดยจะทําการเรียนผานระบบอินเทอรเน็ต ซึ่งผูสอนกับผูเรียนจะไมมีการพบปะกัน (Non face-to-face) ในหองเรียนคิดเปนรอยละ 80 ขึ้นไป (Allen and Seaman, 2005) ดังนั้น ทักษะความชํานาญในใชเครื่องมือ (Tool) ตาง ๆ ของผูเรียนจึงตองมีการตรวจสอบกอนการคัดเลือกเพื่อเขาเรียนเสมอ โดยเฉพาะทักษะของการใช งานระบบบริหารจัดการรายวิชา เพื่อใหมั่นใจไดวาผูเรียนมีขีดความสามารถในการใชเครื่องมือประกอบการ คนควาและเรียนรูไดดวยตนเอง สรุป ดานการคัดเลือกและรับผูเรียน สถาบันอุดมศึกษาตองทําการตรวจสอบนักศึกษาเกี่ยวกับ คุณสมบัติภายใตเกณฑตามขอกําหนด โดยเฉพาะทักษะความชํานาญที่จําเปนตองมีมากกวาผูเรียนที่อยูใน หองเรียนปกติ คือ ทักษะของการใชงานระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) (4) องคประกอบดานการจัดบริการตามเกณฑ กําหนดใหสถาบันมีบริการหองสมุดที่มีฐานขอมูล งานวิจัย ฐานขอมูลทางวิชาการ บทคัดยอออนไลนหรือฐานความรูในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full text) วารสาร ตําราอิเล็กทรอนิกส ในสาขาวิชาที่เปดสอนพรอมทรัพยากรที่จําเปนภายในหองสมุด โดยเฉพาะฐานขอมูล ออนไลนหรือฐานความรูในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full text) ที่สามารถคนไดจากทุกที่ ทั่วโลก สามารถชวยอํานวยความสะดวกกับผูเรียน ผูสอนไดดีเปนอยางยิ่ง ซึ่งในปจจุบัน พบวา มีฐานขอมูลออนไลน ในประเทศไทยที่ใหบริการอยางหลากหลาย เชน ฐานขอมูลวิทยานิพนธ 24 มหาวิทยาลัย http://dcms.thailis.or.th ฐานขอมูลสหบรรณานุกรม http://uc.thailis.or.th เปนตน การกําหนดใหมีเกณฑเพื่อพัฒนาระบบฐานขอมูลอิเล็กทรอนิกส ดังกลาว สอดคลองกับเกณฑ การประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานดานการเรียนการสอน (Academic affair ) เกณฑดานกระบวนการเรียนรูที่ ผูเรียนเปนสําคัญ ที่กําหนดใหมีการสงเสริมใหมีหองสมุดและระบบสืบคนอิเล็กทรอนิกสที่เพียงพอที่จะศึกษาหา ความรูดวยตนเองดวย (สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, 2551 : 26) และการพัฒนาระบบฐานขอมูลออนไลน ยังมีความสอดคลองกับพฤติกรรมคนไทยที่มีแนวโนมการใชอินเทอรเนตเพื่อการคนหาขอมูลเพิ่มขึ้น (ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, 2551) ดังนั้น การจัดเตรียมฐานขอมูลในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส จึงเปนเกณฑที่สําคัญที่สถาบันจะตองใหความสําคัญเปนอยางยิ่งในการจัดการบริการในการเรียน อิเล็กทรอนิกสตามเกณฑที่กําหนด (5) การกําหนดเกณฑใหสถาบันตองจัดบริการดานการใหคําปรึกษาเพื่อสรางแรงจูงใจใหนักศึกษา เพื่อชวยเหลือใหนักศึกษาสามารถกาวขามผานพนอุปสรรคไปไดและมีการใหคําแนะนําแกนักศึกษาใหสามารถ ใชประโยชนจากเทคโนโลยีไดเต็มประสิทธิภาพ ถือวาเปนสิ่งที่มีสวนสงเสริมใหผูเรียนประสบผลสําเร็จทางการ เรียนได เนื่องจากรูปแบบการเรียนออนไลนแบบเต็มรูปแบบ ผูเรียนกับผูสอนไมมีการพบปะกัน สถาบันจึงตอง เอาใจใสใหผูเรียนอยูเสมอ เพื่อใหผูเรียนสามารถกํากับตนเอง (Self -Regulation) และสรางแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ได ซึ่งประเด็นนี้ ผูเชี่ยวชาญไดเห็นวา การสรางแรงจูงใจเปนปจจัยสําคัญอยางหนึ่งของการเรียนรูในหลักสูตร การเรียน ดังนั้น การที่สถาบันใหการชวยเหลือ ใหคําปรึกษาอยางเปนระบบตามที่เกณฑที่กําหนดแลวจะสามารถ ชวยใหผเู รียนมีความกระตือรือรน มีความมานะ ความพยายาม สงผลถึงกําลังใจที่ดี อันนําไปสูการสรางแรงจูงใจ ใฝสัมฤทธิ์ และสามารถจบการศึกษาภายในเวลาที่กําหนดได 320 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 12. (6) การกําหนดเกณฑใหสถาบันอุดมศึกษาตองจัดใหการสนับสนุน เกี่ยวกับอุปกรณเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส ฮารดแวรและซอฟตแวร เพื่อการสื่อสารอยางพอเพียง โดยจะตองจัดใหมีระบบบริหารจัดการ รายวิชา (LMS) และระบบการลงทะเบียน (Registration System) เพื่อใหนักศึกษาสามารถจัดการขอมูลภายใน ระบบไดดวยตนเอง การกําหนดเกณฑใหมีระบบดังกลาว มีความสําคัญที่จะชวยสนับสนุนใหผูเรียนสามารถจัดการ ลงทะเบียน เพิ่ม ลด ถอน รายวิชา หนวยกิต ผานอินเทอรเนตไดทุกที่ ทุกเวลา ตามเวลาที่หลักสูตรกําหนดใหและ เปนไปตามความตองการของผูเรียนดวยตนเอง (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2545) อันนําไปสูระบบการจัดการ หลักสูตรที่ดีตอไป ในปจจุบัน พบวา มีผูพัฒนาระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learning Management System) ขึ้นมากมาย และ นํามาใชทั่วไปแพรหลายทั่วโลก เพื่อใหบริการกับครู-อาจารย นักศึกษาที่ตองการจัดการเรียนการสอนผานการ เรียนอิเล็กทรอนิกส (7) การกําหนดเกณฑดานการจัดคณาจารยและบุคลากร ไดเกณฑเกี่ยวกับขอกําหนดให สถาบันอุดมศึกษาทําการแตงตั้งคณาจารยผรบผิดชอบหลักสูตร คณาจารยประจํา คณาจารยพิเศษ และคณาจารยที่ ูั ปรึกษาวิทยานิพนธและอาจแตงตั้งบุคลากรภายในและภายนอกตามเหมาะสม เพื่อใหการเรียนอิเล็กทรอนิกส ดําเนินการไปอยางมีประสิทธิภาพนั้น เมื่อพิจารณาจากเกณฑดังกลาว แสดงถึงความใสใจในรายละเอียดของการจัดคณาจารยท่ตอง ี กําหนดใหมีความเหมาะสมตามนโยบายของสถาบัน ซึ่งขอดีการกําหนดในเกณฑดังกลาว เปนการระบุขอความ มีความอิสระ และมีความยืดหยุนสําหรับการปฏิบัติ โดยไมมีการกําหนดสัดสวนจํานวนคณาจารยตอนักศึกษา อยางชัดเจน เชน 1: 20 คน 1: 40 คน หรือ 1: 60 คน ดังนั้น การกําหนดการแตงตั้งคณาจารยผูรับผิดชอบ หลักสูตรจึงควรจัดตามความเหมาะสม ตามเกณฑที่กําหนด 2. กระบวนการ (Process) (1) ผลจากความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญที่ไดกําหนดใหองคประกอบดานหลักสูตรและการสอน มี ความสอดคลองและเทียบเคียงกับเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และมีการจัดกิจกรรมที่สอดคลองกับ ความตองการของผูเรียนและสังคม เนนความตองการ ความสนใจของผูเรียน เมื่อนําไปเทียบเคียงกับเกณฑมาตรฐานหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา พบวา เกณฑการรับรองวิทย ฐานะสําหรับหลักสูตรการเรียนอิล็กทรอนิกส ครั้งนี้ มีความสอดคลองกับเกณฑและมาตรฐานตาง ๆ ที่เนนผูเรียน เปนสําคัญ ดังนี้ 1.1) การประกันคุณภาพภายนอก มาตรฐานดานหลักสูตรและการเรียนการสอน สํานักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) 1.2) การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษาเกณฑดานกระบวนการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ องคประกอบดานการเรียนการสอน โดยมี กิจกรรมการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ เชน มีการใชคําถามเพื่อพัฒนาความรู ทักษะการสืบสอบ และมีแบบ ฝกสติปญญา รวมทั้งจัดกิจกรรมใหผเู รียนรูปแบบดวยตนเอง (Teaching Mode) การเรียนรายบุคคล (Individual Study) ตองมีการบันทึกและจัดเก็บความรูจากเรียนรูดวยตนเอง (Self-learning) 321 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324
  • 13. จากการกําหนดใหมีวิธีการสอนตามที่กลาวมาขางตน แสดงถึงลักษณะของจัดการหลักสูตรการ เรียนอิเล็กทรอนิกสในปจจุบัน ใหสามารถพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยเนนผูเรียนเปนศูนยกลาง (Learner-Centered Designs) ไดตามเกณฑที่กําหนด (2) ผลการวิจัยดานการปฏิสัมพันธและการสื่อสาร กําหนดใหมีกําหนดใหมีการโตตอบผาน จดหมายอิเล็กทรอนิกส ใหสามารถเผยแพรและตอบสนองตอผูเรียนไดภายในเวลาตามที่สถาบันกําหนด โดย เกณฑดังกลาวไดกําหนดไวอยางยืดหยุน สําหรับความหมายของคําวา “ภายในเวลากําหนด” คือ เมื่อมีจดหมายอิเล็กทรอนิกสจากผูเรียนเขามาถึงอาจารย เจาหนาที่ หรือผูที่เกี่ยวของ สถาบันตองกําหนดเวลาที่ สามารถใหคําตอบกับผูเรียนไดทันทีตามความเหมาะสมและสะดวกกับเจาหนาที่เทคนิคที่สามารถดําเนินการได ตามกําหนด เชน ภายในเวลา 12 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง เปนตน (3) ผลการวิจัยดานการวัดและประเมินผล กําหนดใหระบบการวัดผลตองมีความปลอดภัย โดยปราศจากลักลอบขอมูล และความผิดทางอาญา อันเปนสิ่งที่สถาบันจําเปนเอาใจใสตอการบํารุงรักษาอยาง พิเศษ เนื่องจากระบบการวัดผลมีขอมูลที่สําคัญหลายประการ เชน เกี่ยวกับขอมูลประวัติของนักศึกษา ผลการ เรียน เกรด จํานวนหนวยกิตที่ลงทะเบียน หากมีการลักลอบเขามากระทําผิด หรือมีประสงคตองการลบ แกไข เปลี่ยนแปลงขอมูลดังกลาว เชน การกระทําผิดผานอินเทอรเน็ตเขามาลักลอบเปลี่ยนแปลงเกรดของตนเองหรือ ผูอื่น เหลานี้เปนสิ่งที่สถาบันตองจัดหาเครื่องมือเพื่อใชรักษาความปลอดภัย ซึ่งสอดคลองกับแนวทางเก็บรักษา ขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร พระราชบัญญัติวาดวยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 ซึ่งกําหนดให สถาบันตองเก็บขอมูลในการระบุตัวผูใชบริการนับแตเริ่มใชบริการจนถึงสิ้ดสุด ผูดูแลระบบตองเก็บขอมูล ดังกลาวไวเปนเวลาอยางนอย 90 วัน หากสถาบันสามารถดําเนินการไดครบถวนตามแนวทางการปองกันการ กระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 จึงเปนสิ่งที่มั่นใจไดถึงระบบการวัดผลที่ดี และมีเสถียรภาพตอไป 3. ผลลัพธและผลผลิต (Output &Outcomes) (1) ผลการวิจัยที่กําหนดเกณฑใหสถาบันตองจัดหาระบบที่มีการติดตามผูเรียนในดานตาง ๆ อยาง มากมายในการติดตามผูเรียน แตมีประเด็นที่นาสนใจ พบวา ผูเชี่ยวชาญดานการเรียนอิเล็กทรอนิกสไมประสงค ใหมีการบันทึกขอมูลเปนลายลักษณอกษรอยางชัดเจน คือ การใหคําแนะนําปญหาทางจิตวิทยา เพื่อการปรับ ั พฤติกรรม การสรางแรงจูงใจ ความหวงใย ความเอื้อเฟอแกนักศึกษา แตกําหนดใหตองมีการจัดบริการซึ่งได กําหนดไวในองคประกอบดานการบริการ ขอเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช 1) สถาบันอุดมศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของ ควรจัดเตรียมระบบโครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure) ดานอินเทอรเนตอยางพอเพียง ตามเกณฑท่ีไดกําหนด 2) สถาบันอุดมศึกษาควรจัดตั้งหนวยงาน และเปดชองทางที่หลากหลายเพื่อขอคําปรึกษาจาก นักจิตวิทยา อาจารยที่ปรึกษา และเจาหนาที่ดานเทคนิค อยางเปนระบบและเปนรูปธรรม เชน การจัดตั้งศูนย ปรึกษาทางโทรศัพท (Call Center) หรือ ผูใหคําปรึกษาดานเทคนิค (Help desk) เพื่อชวยแกไขปญหาดานเทคนิค ปญหาการใชงานและเครื่องมือตาง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง 322 OJED, Vol.4, No.1, 2009, pp.310-324