SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 4
Baixar para ler offline
Thailand Railway Technology
Development Institute Project
E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ
Think ahead, move ahead
พอ คสช. ประกาศว่ารถไฟความเร็วสูงไม่อยู่ใน
ลําดับความสําคัญของแผนปฏิรูป หลายคนก็เริ่มหวั่นไหว
เกิดความสงสัยว่ากิจกรรมเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงที่กําลัง
ทําและเตรียมจะทํา จะต้องล้มเลิกหรือพับเก็บไปก่อนหรือ
อย่างไร
ระหว่างหาคําตอบนี้ ก็พอดีมีโอกาสไปดูการ
ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ําเงินกับ วศร.4 ได้ยิน
การสนทนาระหว่างวิทยากรกับนักวิจัยว่า “ยางบวมน้ําที่
พันรอบชิ้นส่วนของอุโมงค์ ใช้ของทําในประเทศได้หรือไม่”
วิทยากรอธิบายว่า ยางนี้เมื่อประกอบเข้าที่ ถูกความชื้นก็
จะพองขึ้น อุดรอยรั่วระหว่างแผ่นคอนกรีตที่ประกอบขึ้น
เป็นส่วนของอุโมงค์ และเนื่องจากจะต้องมีอายุพอๆกับ
อุโมงค์ จึงต้องเป็นผลิตภัณท์มาตรฐานที่วิเคราะห์วิจัยไว้
ก่อนหน้าจนรับประกันผลการใช้งานแล้ว จะมาทําขึ้น
ทดลองใส่เข้ากับชิ้นงานที่กําลังจะประกอบเข้าที่คงไม่ทันการ
ดังนั้น ก็ได้คําตอบ คือ “การวิจัยและพัฒนา
รวมทั้งการเรียนรู้ ต้องทํานําหน้าสถานการณ์จริง” ของที่
จะใช้งานวันนี้ เป็นผลงานวิจัยเมื่อ 5-10 ปีก่อนหน้า หาก
สถานการณ์มาถึงแล้ว เพิ่งคิดได้ว่าจะต้องทํา ก็จะพบว่า
“สายไปแล้วอยู่ตลอดเวลา”
กองบรรณาธิการ
29 ก.ค. - 1 ส.ค. 57 สวทช. โดยโครงการจัดตั้งสถาบันฯ
จะเปิดอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบ
ขนส่งทางรางแบบเข้มข้น รุ่นที่ 3 (Railway
Engineering Intensive Course 3) หลักสูตร
Railway Bogie โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว
ฟอร์จูน กรุงเทพฯ และดูงานด้านระบบ
รางนอกสถานที่ วิทยากรบรรยายโดย
Mr.Akihito KAZATO Railway Technical Research
Institute (RTRI)
8 ส.ค. 57 สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยคณะอนุกรรมการ
ขนส่งและจราจร ร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรวิชาชีพ
วิศวกรรม จัดการเสวนา เรื่อง “การพัฒนาระบบขนส่ง
รางของประเทศไทย อย่างไร?” ณ ห้องประชุมยงยุทธ
สาระสมบัติ ชั้น 5 อาคาร สํานักงานนโยบายและ
แผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตั้งแต่เวลา 08.00 -
16.00 น. (วศร.4 เป็นกรรมการจัดงาน)
Page | 1กอง บก. :
ปฏิทินราง :
ยางบวมน้ํา
Thailand Railway Technology
Development Institute Project
E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ
ปกิณกะระบบราง :
วัฒนธรรมการใช้บันไดเลื่อน
หากท่านห่างเหินการใช้
รถไฟฟ้า บีทีเอส ไปสัก
ระยะแล้วกลับมาใช้ ก็จะ
สังเกตสิ่งหนึ่งที่อุบัติขึ้น
ใหม่นั่นคือ ป้ายรณรงค์
จัดระเบียบการใช้บันไดเลื่อนของผู้โดยสาร เริ่มตั้งแต่หน้าบันได
เลื่อนจะมีป้ายบอกว่าผู้ที่ยืนเฉยๆ ให้บันไดเลื่อนพาไป กรุณายืน
ชิดขวาส่วนท่านที่เร่งรีบ ให้บันไดเลื่อนพาไปพร้อมกับเดินหรือวิ่ง
ขึ้นไปด้วยก็จะได้อาศัยช่องทางด้านซ้ายมือผ่านไป
แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็คือการปรับปรุง
รายละเอียดที่สนองตอบความต้องการของผู้โดยสารที่ต้องการเร่ง
รีบเดินทางจริงอยู่ที่ในที่สุดอาจจะไม่มีความแตกต่างระหว่าง ยืน
เดิน หรือวิ่ง ซึ่งอาจจบที่ต้องโดยสารไปกับรถขบวนเดียวกัน แต่ใน
บางกรณี เช่น นอกเวลาเร่งด่วนซึ่งขบวนรถเดินห่างกัน 5 นาที คนที่
ลงทุนเดินอาจจะสามารถจับขบวนรถแรกได้ทันซึ่งก็หมายความว่า
เขาจะได้ไปก่อน 5 นาที ซึ่ง
เวลา 5 นาที ในวิชาการขนส่ง
นับว่ามีคุณค่าที่เดียวสําหรับ
การเดินทางในเมืองซึ่ง “value
of time” มีค่าสูง วัฒนธรรม
การใช้บันไดเลื่อนที่สถานีรถไฟฟ้าในต่างประเทศทํากันมานานจน
ผู้ใช้บริการเคยชินและนําไปใช้กับกรณีการใช้บันไดเลื่อนโดยทั่วไป
ซึ่งกรณีที่ บีทีเอส ริเริ่มขึ้นสําหรับประเทศไทยจะเป็นสิ่งดีที่สังคม
จะเกิดมีมารยาทอีกอย่างหนึ่งที่มาจากรถไฟฟ้านอกเหนือจาก
วัฒนธรรมการเข้าคิวซึ่งเริ่มเป็นวัฒนธรรมมาก่อนหน้าแล้ว
ท่านทราบหรือไม่ว่าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมก็ไม่
จําเป็นต้องเหมือนกันเช่น ในโตเกียวเวลายืนบนบันไดเลื่อนต้อง
ยืนชิดขวาแต่หากลงใต้ไปถึงโอซากา ท่านต้องยืนชิดซ้ายนะครับ
ถึงจะได้ชื่อว่ามีมารยาทที่ดี
รถรางพื้นต่ํา Low floor LRT
ครั้งหนึ่งรถรางในเมืองถูกมองว่าล้าสมัย กีดขวางการจราจร
เมืองใหญ่หลายเมืองจึงเลิกใช้แล้วเอาที่ดินมาทําถนนให้รถยนต์วิ่ง แต่
หลายเมืองก็ยังคงเก็บรถรางไว้แล้วปรับปรุงให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่มาทําให้กลายเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดกลาง (Light
Rail Transport: LRT) ที่มีประสิทธิภาพ เมืองใหญ่ในประเทศ
เยอรมนี ได้ขยายเส้นทางขุดอุโมงค์ ทําเป็นรถใต้ดินซึ่งแม้ว่าจะไม่
สามารถทําหน้าที่ได้ดีเท่ารถไฟขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (Heavy rail)
แต่ก็ทําหน้าที่ได้ดีในบางพื้นที่ และช่วยประหยัดค่าก่อสร้าง
ประเทศไทยยกเลิกการใช้รถรางโดยสิ้นเชิงตั้งแต่ปี 2511
หลังจากรับใช้คนกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ปี 2431
เมืองสตราสบวร์ก ในประเทศฝรั่งเศส
ยกเลิกการใช้รถรางใน ค.ศ. 1960 โดย
เปลี่ยนมาใช้รถเมล์แทน แต่เมื่อ ค.ศ.1989
เมืองประสบปัญหาการจราจรและมลพิษ
ผู้บริหารจึงมีแผนจะปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณ
ซึ่งรถราง LRT ถูกเสนอเข้ามาแข่งกับ
โครงการสร้างระบบขนส่งมวลชน
ขนาดใหญ่โดยมีข้อดีคือประหยัด
ค่าก่อสร้างได้ประมาณ 4 เท่า ใน
ที่สุดนายกเทศมนตรี Catherine
Trautmann ได้ตัดสินใจเลือก
สร้าง LRT โดยว่าจ้างบริษัท บอมบาเดียร์ ออกแบบโดยเน้นที่ความ
สวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติของเมือง และเป็นรถที่มีพื้นล้อต่ําเพื่อ
อํานวยความสะดวกในการขึ้นลง โดยเฉพาะผู้โดยสารที่ใช้รถ wheel
chair
ความสําเร็จของ สตราสบวร์ก ตั้งแต่เปิดการเดินรถเมื่อ ค.ศ.
1994 ทําให้หลายเมืองในโลกสนใจ แต่รถรางพื้นต่ําเป็นลิขสิทธิ์ของ
บริษัท บอมบาเดียร์ ครั้งหนึ่งเมืองในประเทศญี่ปุ่นลองคิดโครงการ
แต่คิดดูแล้วราคารถแพงเกือบจะเท่ารถไฟความเร็วสูง แนวคิดจึงถูก
ยกเลิกไป
โปรดรอพบหนังสือใหม่ของโครงการ “Strasburg LRT” ซึ่งเขียน
โดยคนญี่ปุ่นและแปลเป็นภาษาไทยโดย ดร. วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์
วศร.1 เร็วๆนี้
Page | 2
Catherine Trautmann
Thailand Railway Technology
Development Institute Project
E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ
10-12 มิ.ย. 57 ดร.ศิรดล ศิริธร (วศร.1) อาจารย์ประจําสาขาวิชา
วิศวกรรมขนส่ง สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. จัดสัมมนารับฟังความ
คิดเห็น “โครงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจใช้ระบบขนส่งทางรางของ
ผู้ประกอบการขนส่งในภูมิภาค”ณ รร.ราชาวดี
รีสอร์ทแอนด์โฮเต็ล จ.ขอนแก่น พร้อมนําคณะเดินทางไปศึกษาดูงานเยี่ยมชมสถานี
รถไฟท่านาแล้ง สถานีรถไฟหนองคาย และสถานีรถไฟนาทา
..............................................................................................................................................................................................................
16-21 มิ.ย. 57 สจล. ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีชั้นสูง สวทน. จัดอบรม Intensive
Course in High-speed Rail Engineering ณ
โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ
วิทยากรบรรยายโดย Tsung-Chung Kao, Ph.D.
Research Professor & Director- High Speed
Rail System at RAILTEC
..............................................................................................................................................................................................................
26 มิ.ย. 57 นายนคร จันทศร ร่วมงานแถลงข่าว การจัดงาน “วิศวกรรม ’57”
หรือ “Engineering ‘14” โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระ
บรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จํากัด
จัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ
นวัตกรรมด้านวิศวกรรมยิ่งใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งปี ภายใต้แนวคิด
“วิศวกรรมสําหรับอนาคต” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ยกระดับวิชาชีพ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่
ระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
..............................................................................................................................................................................................................
กิจกรรมโครงการและเครือข่าย Page | 3
Thailand Railway Technology
Development Institute Project
E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ
27 มิ.ย. 57 โครงการจัดตั้งสถาบันฯ ร่วมกับบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร จัด
กิจกรรมให้ความรู้ด้านระบบขนส่งทางรางแก่เยาวชน โดยมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้
และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาด้วยรถไฟ
จากสถานีเชียงรากปลายทางสถานี
อยุธยา (ไป-กลับ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน
กิจกรรมค่ายก้าวแรกสู่เส้นทางนักวิทย์
“First Step to become a Scientist” สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่
1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชน
ที่มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่าง สวทช. กับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)
..............................................................................................................................................................................................................
4 ก.ค. 57 ปิดการอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบ
ขนส่งทางรางแบบเข้มข้น รุ่นที่ 3 : Railway Engineering Intensive
Course 3 หลักสูตร High-Speed Train ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว
ฟอร์จูน กรุงเทพฯ และดูงานด้านระบบรางนอกสถานที่ วิทยากรผู้บรรยาย
ในปีนี้คือ Mr.Hideharu IGARASHI General Manager Japan International
Consultants for Transportation Co., Ltd. (JIC) โดยมีผู้ผ่านการอบรม
ทั้งสิ้น 15 คน
..............................................................................................................................................................................................................
ประธาน วศร. รุ่นที่ 4
ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร
อาจารย์ประจําภาควิชาเศรษฐศาสตร์
เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการศึกษา
• ปร.ด.(เศรษฐศาสตร์) NIDA
• บธ.ม.(การบริหารทั่วไป) NIDA
• วศ.บ.(ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พบกับหนุ่มๆ วศร. ไปหลายท่านแล้ว
ฉบับนี้ ขอแนะนําสาวแกร่งประจํา วศร.
ผู้ได้ชื่อว่าเจ้าแม่โปรเจค ผศ.ดร.วเรศรา
วีรวัฒน์ (วศร.1) อาจารย์ประจํา
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ในรอบครึ่ง
ปีนี้ท่านเดินทางไปศึกษาดูงานด้าน
ระบบราง และโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะมาเลเซีย กรุงปักกิ่ง ล่าสุดได้
ข่าวเพิ่งบินกลับจากเยอรมัน ชีพจรลงเท้าขนาดนี้ เพื่อนๆ วศร.
เป็นห่วงสุขภาพท่านนะครับ
สังคมระบบราง :
กิจกรรมโครงการและเครือข่าย
Page | 4
ที่ปรึกษา : ดร.ชาตรี ศรีไพพรรณ คุณนคร จันทศร คุณนัยรัตน์ อมาตยกุล คุณสุนันท์ ตั้งมโนโสภา คุณวัฒนา สมานจิตร คุณชยากร ปิยะบัณฑิตกุล
กองบรรณาธิการ : คุณกุลเชษฐ์ กอพัฒนาชัยเจริญ คุณสฤษฏ์โรจ จันทร์เพิ่มพูนผล คุณทปกร เหมือนเตย คุณทศวัชร์ ชีวะธนาเลิศกุล คุณนพมล จันทรวิมล
ผู้ดําเนินการ : โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โทร. 02 644 8150 ต่อ 81860 81861 อีเมล์ Rail@nstda.or.th

Mais conteúdo relacionado

Mais de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Mais de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 

Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยี่ระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 2

  • 1. Thailand Railway Technology Development Institute Project E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ Think ahead, move ahead พอ คสช. ประกาศว่ารถไฟความเร็วสูงไม่อยู่ใน ลําดับความสําคัญของแผนปฏิรูป หลายคนก็เริ่มหวั่นไหว เกิดความสงสัยว่ากิจกรรมเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงที่กําลัง ทําและเตรียมจะทํา จะต้องล้มเลิกหรือพับเก็บไปก่อนหรือ อย่างไร ระหว่างหาคําตอบนี้ ก็พอดีมีโอกาสไปดูการ ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ําเงินกับ วศร.4 ได้ยิน การสนทนาระหว่างวิทยากรกับนักวิจัยว่า “ยางบวมน้ําที่ พันรอบชิ้นส่วนของอุโมงค์ ใช้ของทําในประเทศได้หรือไม่” วิทยากรอธิบายว่า ยางนี้เมื่อประกอบเข้าที่ ถูกความชื้นก็ จะพองขึ้น อุดรอยรั่วระหว่างแผ่นคอนกรีตที่ประกอบขึ้น เป็นส่วนของอุโมงค์ และเนื่องจากจะต้องมีอายุพอๆกับ อุโมงค์ จึงต้องเป็นผลิตภัณท์มาตรฐานที่วิเคราะห์วิจัยไว้ ก่อนหน้าจนรับประกันผลการใช้งานแล้ว จะมาทําขึ้น ทดลองใส่เข้ากับชิ้นงานที่กําลังจะประกอบเข้าที่คงไม่ทันการ ดังนั้น ก็ได้คําตอบ คือ “การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเรียนรู้ ต้องทํานําหน้าสถานการณ์จริง” ของที่ จะใช้งานวันนี้ เป็นผลงานวิจัยเมื่อ 5-10 ปีก่อนหน้า หาก สถานการณ์มาถึงแล้ว เพิ่งคิดได้ว่าจะต้องทํา ก็จะพบว่า “สายไปแล้วอยู่ตลอดเวลา” กองบรรณาธิการ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 57 สวทช. โดยโครงการจัดตั้งสถาบันฯ จะเปิดอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบ ขนส่งทางรางแบบเข้มข้น รุ่นที่ 3 (Railway Engineering Intensive Course 3) หลักสูตร Railway Bogie โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ และดูงานด้านระบบ รางนอกสถานที่ วิทยากรบรรยายโดย Mr.Akihito KAZATO Railway Technical Research Institute (RTRI) 8 ส.ค. 57 สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยคณะอนุกรรมการ ขนส่งและจราจร ร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรวิชาชีพ วิศวกรรม จัดการเสวนา เรื่อง “การพัฒนาระบบขนส่ง รางของประเทศไทย อย่างไร?” ณ ห้องประชุมยงยุทธ สาระสมบัติ ชั้น 5 อาคาร สํานักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. (วศร.4 เป็นกรรมการจัดงาน) Page | 1กอง บก. : ปฏิทินราง : ยางบวมน้ํา
  • 2. Thailand Railway Technology Development Institute Project E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ปกิณกะระบบราง : วัฒนธรรมการใช้บันไดเลื่อน หากท่านห่างเหินการใช้ รถไฟฟ้า บีทีเอส ไปสัก ระยะแล้วกลับมาใช้ ก็จะ สังเกตสิ่งหนึ่งที่อุบัติขึ้น ใหม่นั่นคือ ป้ายรณรงค์ จัดระเบียบการใช้บันไดเลื่อนของผู้โดยสาร เริ่มตั้งแต่หน้าบันได เลื่อนจะมีป้ายบอกว่าผู้ที่ยืนเฉยๆ ให้บันไดเลื่อนพาไป กรุณายืน ชิดขวาส่วนท่านที่เร่งรีบ ให้บันไดเลื่อนพาไปพร้อมกับเดินหรือวิ่ง ขึ้นไปด้วยก็จะได้อาศัยช่องทางด้านซ้ายมือผ่านไป แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็คือการปรับปรุง รายละเอียดที่สนองตอบความต้องการของผู้โดยสารที่ต้องการเร่ง รีบเดินทางจริงอยู่ที่ในที่สุดอาจจะไม่มีความแตกต่างระหว่าง ยืน เดิน หรือวิ่ง ซึ่งอาจจบที่ต้องโดยสารไปกับรถขบวนเดียวกัน แต่ใน บางกรณี เช่น นอกเวลาเร่งด่วนซึ่งขบวนรถเดินห่างกัน 5 นาที คนที่ ลงทุนเดินอาจจะสามารถจับขบวนรถแรกได้ทันซึ่งก็หมายความว่า เขาจะได้ไปก่อน 5 นาที ซึ่ง เวลา 5 นาที ในวิชาการขนส่ง นับว่ามีคุณค่าที่เดียวสําหรับ การเดินทางในเมืองซึ่ง “value of time” มีค่าสูง วัฒนธรรม การใช้บันไดเลื่อนที่สถานีรถไฟฟ้าในต่างประเทศทํากันมานานจน ผู้ใช้บริการเคยชินและนําไปใช้กับกรณีการใช้บันไดเลื่อนโดยทั่วไป ซึ่งกรณีที่ บีทีเอส ริเริ่มขึ้นสําหรับประเทศไทยจะเป็นสิ่งดีที่สังคม จะเกิดมีมารยาทอีกอย่างหนึ่งที่มาจากรถไฟฟ้านอกเหนือจาก วัฒนธรรมการเข้าคิวซึ่งเริ่มเป็นวัฒนธรรมมาก่อนหน้าแล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมก็ไม่ จําเป็นต้องเหมือนกันเช่น ในโตเกียวเวลายืนบนบันไดเลื่อนต้อง ยืนชิดขวาแต่หากลงใต้ไปถึงโอซากา ท่านต้องยืนชิดซ้ายนะครับ ถึงจะได้ชื่อว่ามีมารยาทที่ดี รถรางพื้นต่ํา Low floor LRT ครั้งหนึ่งรถรางในเมืองถูกมองว่าล้าสมัย กีดขวางการจราจร เมืองใหญ่หลายเมืองจึงเลิกใช้แล้วเอาที่ดินมาทําถนนให้รถยนต์วิ่ง แต่ หลายเมืองก็ยังคงเก็บรถรางไว้แล้วปรับปรุงให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่มาทําให้กลายเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดกลาง (Light Rail Transport: LRT) ที่มีประสิทธิภาพ เมืองใหญ่ในประเทศ เยอรมนี ได้ขยายเส้นทางขุดอุโมงค์ ทําเป็นรถใต้ดินซึ่งแม้ว่าจะไม่ สามารถทําหน้าที่ได้ดีเท่ารถไฟขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (Heavy rail) แต่ก็ทําหน้าที่ได้ดีในบางพื้นที่ และช่วยประหยัดค่าก่อสร้าง ประเทศไทยยกเลิกการใช้รถรางโดยสิ้นเชิงตั้งแต่ปี 2511 หลังจากรับใช้คนกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ปี 2431 เมืองสตราสบวร์ก ในประเทศฝรั่งเศส ยกเลิกการใช้รถรางใน ค.ศ. 1960 โดย เปลี่ยนมาใช้รถเมล์แทน แต่เมื่อ ค.ศ.1989 เมืองประสบปัญหาการจราจรและมลพิษ ผู้บริหารจึงมีแผนจะปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณ ซึ่งรถราง LRT ถูกเสนอเข้ามาแข่งกับ โครงการสร้างระบบขนส่งมวลชน ขนาดใหญ่โดยมีข้อดีคือประหยัด ค่าก่อสร้างได้ประมาณ 4 เท่า ใน ที่สุดนายกเทศมนตรี Catherine Trautmann ได้ตัดสินใจเลือก สร้าง LRT โดยว่าจ้างบริษัท บอมบาเดียร์ ออกแบบโดยเน้นที่ความ สวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติของเมือง และเป็นรถที่มีพื้นล้อต่ําเพื่อ อํานวยความสะดวกในการขึ้นลง โดยเฉพาะผู้โดยสารที่ใช้รถ wheel chair ความสําเร็จของ สตราสบวร์ก ตั้งแต่เปิดการเดินรถเมื่อ ค.ศ. 1994 ทําให้หลายเมืองในโลกสนใจ แต่รถรางพื้นต่ําเป็นลิขสิทธิ์ของ บริษัท บอมบาเดียร์ ครั้งหนึ่งเมืองในประเทศญี่ปุ่นลองคิดโครงการ แต่คิดดูแล้วราคารถแพงเกือบจะเท่ารถไฟความเร็วสูง แนวคิดจึงถูก ยกเลิกไป โปรดรอพบหนังสือใหม่ของโครงการ “Strasburg LRT” ซึ่งเขียน โดยคนญี่ปุ่นและแปลเป็นภาษาไทยโดย ดร. วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ วศร.1 เร็วๆนี้ Page | 2 Catherine Trautmann
  • 3. Thailand Railway Technology Development Institute Project E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ 10-12 มิ.ย. 57 ดร.ศิรดล ศิริธร (วศร.1) อาจารย์ประจําสาขาวิชา วิศวกรรมขนส่ง สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. จัดสัมมนารับฟังความ คิดเห็น “โครงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ ตัดสินใจใช้ระบบขนส่งทางรางของ ผู้ประกอบการขนส่งในภูมิภาค”ณ รร.ราชาวดี รีสอร์ทแอนด์โฮเต็ล จ.ขอนแก่น พร้อมนําคณะเดินทางไปศึกษาดูงานเยี่ยมชมสถานี รถไฟท่านาแล้ง สถานีรถไฟหนองคาย และสถานีรถไฟนาทา .............................................................................................................................................................................................................. 16-21 มิ.ย. 57 สจล. ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นสูง สวทน. จัดอบรม Intensive Course in High-speed Rail Engineering ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ วิทยากรบรรยายโดย Tsung-Chung Kao, Ph.D. Research Professor & Director- High Speed Rail System at RAILTEC .............................................................................................................................................................................................................. 26 มิ.ย. 57 นายนคร จันทศร ร่วมงานแถลงข่าว การจัดงาน “วิศวกรรม ’57” หรือ “Engineering ‘14” โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระ บรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จํากัด จัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ นวัตกรรมด้านวิศวกรรมยิ่งใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งปี ภายใต้แนวคิด “วิศวกรรมสําหรับอนาคต” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ยกระดับวิชาชีพ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ ระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา .............................................................................................................................................................................................................. กิจกรรมโครงการและเครือข่าย Page | 3
  • 4. Thailand Railway Technology Development Institute Project E-Newsletter ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม 2557 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ 27 มิ.ย. 57 โครงการจัดตั้งสถาบันฯ ร่วมกับบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร จัด กิจกรรมให้ความรู้ด้านระบบขนส่งทางรางแก่เยาวชน โดยมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาด้วยรถไฟ จากสถานีเชียงรากปลายทางสถานี อยุธยา (ไป-กลับ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน กิจกรรมค่ายก้าวแรกสู่เส้นทางนักวิทย์ “First Step to become a Scientist” สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชน ที่มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่าง สวทช. กับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) .............................................................................................................................................................................................................. 4 ก.ค. 57 ปิดการอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบ ขนส่งทางรางแบบเข้มข้น รุ่นที่ 3 : Railway Engineering Intensive Course 3 หลักสูตร High-Speed Train ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ และดูงานด้านระบบรางนอกสถานที่ วิทยากรผู้บรรยาย ในปีนี้คือ Mr.Hideharu IGARASHI General Manager Japan International Consultants for Transportation Co., Ltd. (JIC) โดยมีผู้ผ่านการอบรม ทั้งสิ้น 15 คน .............................................................................................................................................................................................................. ประธาน วศร. รุ่นที่ 4 ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร อาจารย์ประจําภาควิชาเศรษฐศาสตร์ เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติการศึกษา • ปร.ด.(เศรษฐศาสตร์) NIDA • บธ.ม.(การบริหารทั่วไป) NIDA • วศ.บ.(ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบกับหนุ่มๆ วศร. ไปหลายท่านแล้ว ฉบับนี้ ขอแนะนําสาวแกร่งประจํา วศร. ผู้ได้ชื่อว่าเจ้าแม่โปรเจค ผศ.ดร.วเรศรา วีรวัฒน์ (วศร.1) อาจารย์ประจํา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ในรอบครึ่ง ปีนี้ท่านเดินทางไปศึกษาดูงานด้าน ระบบราง และโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะมาเลเซีย กรุงปักกิ่ง ล่าสุดได้ ข่าวเพิ่งบินกลับจากเยอรมัน ชีพจรลงเท้าขนาดนี้ เพื่อนๆ วศร. เป็นห่วงสุขภาพท่านนะครับ สังคมระบบราง : กิจกรรมโครงการและเครือข่าย Page | 4 ที่ปรึกษา : ดร.ชาตรี ศรีไพพรรณ คุณนคร จันทศร คุณนัยรัตน์ อมาตยกุล คุณสุนันท์ ตั้งมโนโสภา คุณวัฒนา สมานจิตร คุณชยากร ปิยะบัณฑิตกุล กองบรรณาธิการ : คุณกุลเชษฐ์ กอพัฒนาชัยเจริญ คุณสฤษฏ์โรจ จันทร์เพิ่มพูนผล คุณทปกร เหมือนเตย คุณทศวัชร์ ชีวะธนาเลิศกุล คุณนพมล จันทรวิมล ผู้ดําเนินการ : โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โทร. 02 644 8150 ต่อ 81860 81861 อีเมล์ Rail@nstda.or.th