SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 7
Baixar para ler offline
การพัฒนาพื้นที่
สู่อนาคตประเทศไทย
ภาค และเมือง
เอกสารประกอบการประชุมประจาปี 2560 ของ สศช.
เรื่อง “ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย”
วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560
ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
จัดโดย สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ. 2560 - 2564) ได้ก�ำหนดให้ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยให้ความส�ำคัญกับการสร้าง
ความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจเดิม และการขยายฐานการผลิตและบริการใหม่ การพัฒนาเมืองส�ำคัญให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
การพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การบริหารจัดการพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ
กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคและเมือง อย่างไรก็ดี การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในทุกมิติของการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งความมั่นคง
ซึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาจะต้องให้ความส�ำคัญกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมิติการพัฒนาดังกล่าว และมีแนวทางการพัฒนา
ในแต่ละพื้นที่ที่ชัดเจนและเหมาะสม รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
อย่างทันท่วงที
การพัฒนาพื้นที่ ภาค และเมืองสู่อนาคตประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่มีต่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
การพัฒนาประเทศไทยในอนาคตจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ส�ำคัญ ดังนี้
การขยายตัวของประชากรเมือง ประชากรเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยคาดว่าสัดส่วนของประชากรเมืองจะเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในปี 2569 ขณะที่ความต้องการ
สาธารณูปโภคสาธารณูปการจะมีมากขึ้น เกิดการขยายตัวของเมืองเนื่องจากความต้องการ
ที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
2
ความต้องการแรงงานไร้ฝีมือจะลดลง โดยจะน�ำระบบอัตโนมัติมาท�ำงาน
แทน ขณะที่ความต้องการแรงงานทักษะฝีมือจะมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงแรงงาน
ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ การเกิดอุตสาหกรรมและบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการในภาคการผลิต บริการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ขณะที่รูปแบบ
ผลิตภัณฑ์และบริการมีวัฏจักรสั้นลง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมมากขึ้น ทั้งการลดลงของ
พื้นที่ป่า ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการน�้ำที่มีมากขึ้น มลพิษที่มีมากขึ้น เนื่องจาก
การแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมท�ำให้เกิดการลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งท�ำให้เกิดขยะ น�้ำเสีย
อากาศเสีย และการบุกรุกท�ำลายป่า
โครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนามากขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสในการสร้างความพร้อม
ของพื้นที่ในการขยายฐานการผลิตและการบริการ และในการพัฒนาเชื่อมโยงกับโครงสร้าง
พื้นฐานหลักของประเทศ ดังนั้น การพัฒนาเชิงพื้นที่ในระยะต่อไปจะต้องให้ความส�ำคัญกับ
การยกระดับฐานการผลิตและบริการเดิมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และการขยายฐานใหม่
ที่ให้ความส�ำคัญกับการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ประโยชน์จากการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและศักยภาพของพื้นที่
ความเหลื่อมล�้ำของการพัฒนายังเป็นปัญหาส�ำคัญที่ต้องแก้ไข
ทั้งความเหลื่อมล�้ำในด้านรายได้ การได้รับบริการทางการศึกษาและสาธารณสุข การถือครอง
ที่ดินและการเข้าถึงเงินทุนและเทคโนโลยีซึ่งจะต้องแก้ไขเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างศักยภาพ
ของประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยชน์จาก
โอกาสที่เกิดขึ้น
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านและการเข้าสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นทั้งปัจจัยที่สนับสนุนและข้อจ�ำกัดต่อการค้า
การลงทุนของไทย ทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ การบริหารจัดการการ
ผ่านแดน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดน
ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุด
ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12จะส่งผลให้ก�ำลังซื้อของประเทศลดลง
การออมลดลง ภาระด้านการคลังของประเทศมีมากขึ้น ความต้องการสินค้าในประเทศลดลง
และต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากขึ้นท�ำให้ต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
ทั้งการก�ำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐานสิ่งแวดล้อม มาตรฐานความปลอดภัยสิทธิมนุษยชน
และมาตรฐานอาหาร เป็นต้น
3
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผล
ต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของประชาชนทั้งทางบวก
และทางลบ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถ
เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล
มีโอกาสมากขึ้นในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อยกระดับ
คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และช่วยให้การซื้อขายสินค้าและบริการ
มีความสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ดี หากวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม(SMEs)ปรับตัวไม่ทันอาจสูญเสียความสามารถ
ในการแข่งขันและประชาชนต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร
เพื่อไม่น�ำไปสู่การสูญเสียคุณค่าทางวัฒนธรรมและพฤติกรรม
ที่เน้นการบริโภคนิยมและค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ
แนวทางการพัฒนาภาค เมือง และ
พื้นที่เศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้ก�ำหนดแนวทางการพัฒนา
ในแต่ละพื้นที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดย
การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่บริเวณ
ชายฝั่งทะเลตะวันออก และพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณ
ชายแดน
พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก : ปัจจุบันเป็น
ศูนย์กลางเศรษฐกิจเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับทั่วโลก และ
เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของเอเชีย เป็นฐานการผลิตยานยนต์
และอิเล็กทรอนิกส์ที่ส�ำคัญของโลกมีท่าเรือน�้ำลึกและโครงสร้าง
พื้นฐานที่ทันสมัยรวมทั้งเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบส�ำหรับ
การผลิตอย่างไรก็ดีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
และขาดการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหา
สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเชื่อมั่น
lifelockunlocked.com
ของประชาชน ดังนั้น ในยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
จึงมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็น
ฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่ขยายตัวอย่าง
มีสมดุล มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
โดยเร่งรัดการแก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม สนับสนุน
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาระเบียง
เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor:
EEC) เพื่อพัฒนาต่อยอดการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล
ตะวันออก (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้เป็นเขต
เศรษฐกิจชั้นน�ำของอาเซียน สนับสนุนการปรับตัวเข้าสู่ยุค
อุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเข้มข้น ดิจิทัล
และนวัตกรรมรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้
ของประชาชน
พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน : พัฒนาเป็นพื้นที่
เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนและเป็นประตูเศรษฐกิจ
เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่เป้าหมายเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 พื้นที่ ได้แก่ ตาก สระแก้ว
สงขลา หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ตราด กาญจนบุรี
เชียงราย และนราธิวาส เพื่อกระจาย
ความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับ
รายได้และคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน และแก้ปัญหา
ความมั่นคงบริเวณชายแดน
โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพ
ด้านที่ตั้งของพื้นที่และการ
เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
4
ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 การพัฒนาพื้นที่
เศรษฐกิจพิเศษชายแดนได้ให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริม
และอ�ำนวยความสะดวกในการลงทุน สนับสนุนและยกระดับ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้อง
กับศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคี
การพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม
ที่ผ่านมาภาครัฐได้ให้การสนับสนุนองค์ประกอบหลัก
ที่จ�ำเป็นในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
ได้แก่ (1) สิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุนในระดับ
สูงสุดของประเทศทั้งมาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี เช่น
นโยบายส่งเสริมการลงทุนส�ำหรับกิจการทั่วไปและกิจการ
เป้าหมาย สิทธิประโยชน์ส�ำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (SMEs) การให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนหรือ
ขยายกิจการ การจัดตั้งศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จด้านการ
ลงทุน (2) การพัฒนาด่านศุลกากรและโครงสร้างพื้นฐาน
ให้ครบสมบูรณ์ได้มาตรฐานเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจ
หลักในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน (3) การบริหารจัดการ
แรงงานต่างด้าวให้สามารถท�ำงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ในลักษณะไป - กลับโดยให้สามารถใช้บัตรผ่านแดนเป็นเอกสาร
แทนหนังสือเดินทางส�ำหรับการอนุญาตท�ำงานในลักษณะ
ไป - กลับหรือตามฤดูกาลซึ่งแรงงานกัมพูชาและแรงงานเมียนมา
ได้รับอนุญาตแล้ว นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ
ด้านแรงงานในทุกพื้นที่ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และ
การป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อข้ามพรมแดน (4) การจัดหา
พื้นที่เพื่อให้เอกชนหรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เช่าพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและบริการ (5) การพัฒนา
ด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการ
บริหารจัดการความมั่นคงชายแดนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
และ (6) การท�ำการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อดึงดูด
การลงทุนจากในและต่างประเทศ
การพัฒนาภาค เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ
ให้กระจายตัวอย่างทั่วถึง
ภาคเหนือให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง :
พัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงในด้านการ
ท่องเที่ยวและบริการ เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
และการดูแลผู้สูงอายุ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ
และมีธุรกิจบริการต่อเนื่องที่มีมาตรฐานและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์
มูลค่าเพิ่มสูง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
โดยเฉพาะเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการ
สร้างรายได้และการมีงานท�ำของผู้สูงอายุและพัฒนานวัตกรรม
การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว รวมทั้งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
โดยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน�้ำในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ
ตอนบน การบริหารจัดการน�้ำอย่างเป็นระบบในลุ่มน�้ำปิง วัง
ยม น่าน และการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือตอนบน
และจังหวัดตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้หลุดพ้นจากความยากจน
สู่เป้าหมายการพึ่งตนเอง : พัฒนาให้เป็นฐานการผลิตข้าว
หอมมะลิคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และ
เกษตรปลอดภัย ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและ
พลังงานทดแทนของประเทศ แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมขอม วัฒนธรรมประเพณี
5
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาระดับ
นานาชาติรวมทั้งเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่เชื่อมโยงกับ
ระเบียงเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มน�้ำโขงโดยพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
ให้เป็นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย พัฒนานครราชสีมาเป็น
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหารเพิ่มศักยภาพ
การผลิตพลังงานทดแทนในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนกลางและตอนล่าง และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณี
ในทุกพื้นที่พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับประเทศ
เพื่อนบ้าน (อาทิ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง เลย - อุดรธานี -
หนองบัวล�ำภู - หนองคาย - สปป.ลาว)รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการน�้ำและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
ภาคกลางให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นน�ำ : พัฒนาเป็น
ศูนย์อุตสาหกรรมสีเขียวชั้นน�ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฐาน
การผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและ
ได้มาตรฐานโลก ศูนย์รวมการท่องเที่ยวของเอเชียที่มีชื่อเสียง
และเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ โดยเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเดิมและส่งเสริมอุตสาหกรรม
แห่งอนาคตให้เป็นฐานรายได้ใหม่ (เช่น ยกระดับการพัฒนา
กลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา
ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และระยอง ให้เป็นกลุ่ม
อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต)
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร
ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นสากล ปรับปรุงมาตรฐานสินค้า
และธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและภาพลักษณ์
ที่ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหาร
จัดการน�้ำ
ภาคใต้ให้เป็นฐานการสร้างรายได้ที่หลากหลาย :
พัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปปาล์มน�้ำมันครบวงจร
และศูนย์กลางไบโอดีเซล ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูป
ยางพาราครบวงจร แหล่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ได้มาตรฐาน
สากลและฐานการผลิตโคเนื้อ
ที่มีเนื้อคุณภาพสูงและ
ได้มาตรฐาน โดยเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งของภาคการ
เกษตรให้เติบโตอย่างเต็ม
ศักยภาพของห่วงโซ่มูลค่า
และยกระดับรายได้จากการ
ท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกระจายรายได้จาก
การท่องเที่ยวสู่พื้นที่เชื่อมโยงรวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นอย่าง
ทั่วถึง โดยส่งเสริมและพัฒนาการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
ระหว่างแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติในพื้นที่ภาคใต้ฝั่ง
อันดามันและอ่าวไทยและแหล่งท่องเที่ยวบนบกบริเวณตอนใน
ที่มีศักยภาพสูง รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะภายใต้โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ
“สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยน�ำร่องใน 3 อ�ำเภอ ได้แก่
เบตง หนองจิก และสุไหงโก - ลก และวางระบบป้องกันและ
แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
6
การพัฒนาเมือง มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองศูนย์กลาง
ของจังหวัดและเมืองส�ำคัญให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
เมืองศูนย์กลางของจังหวัด : พัฒนาเมืองศูนย์กลาง
ของจังหวัดให้เป็นเมืองน่าอยู่ส�ำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม โดย
พัฒนาสภาพแวดล้อมเมือง ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง
อย่างมีบูรณาการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองรักษา
อัตลักษณ์ของเมืองและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง
เมืองส�ำคัญ : พัฒนาเมืองส�ำคัญ เช่น กรุงเทพฯ
ให้เป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศศูนย์กลาง
การศึกษาการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพระดับนานาชาติ
เมืองปริมณฑลเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ศูนย์บริการ
ด้านสุขภาพ การศึกษา และเมืองที่อยู่อาศัย เมืองเชียงใหม่
เมืองพิษณุโลก เมืองขอนแก่น และเมืองนครราชสีมาเป็น
ศูนย์กลางการค้า การบริการสุขภาพ และการศึกษา เมืองภูเก็ต
และเมืองหาดใหญ่เป็นเมืองน่าอยู่และเอื้อต่อการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งระบบราง
ในเมืองที่มีศักยภาพอาทิเมืองอยุธยาเมืองนครสวรรค์เมืองทุ่งสง
และบริเวณเมืองชายแดนที่มีศักยภาพ รวมทั้งบริเวณใกล้พื้นที่
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (อาทิ เมืองเบตง เมืองสะเดา
เมืองพุน�้ำร้อนเมืองอรัญประเทศเมืองนครพนมเมืองหนองคาย
เมืองเชียงของ) โดยใช้แนวทางการจัดรูปที่ดิน การผังเมืองควบคู่
กับการพัฒนาเมืองแบบประหยัดพลังงาน
บทสรุป
การพัฒนาพื้นที่ภาคและเมืองเพื่ออนาคตประเทศไทย
ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นทั้ง
โอกาสและข้อจ�ำกัดต่อการพัฒนา นอกจากนี้ ในการขับเคลื่อน
การพัฒนาเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนของภาคีการพัฒนา
ซึ่งต้องการการบูรณาการการท�ำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การด�ำเนินงานมีการประสานและผลักดันการพัฒนา
ไปในทิศทางเดียวกัน และต้องรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงและ
แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถ
เผชิญและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่าง
เหมาะสม เกิดประโยชน์กับพื้นที่และประเทศโดยรวม
บรรณานุกรม
ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12(พ.ศ.
2560 - 2564). 2559.
ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
ปี 2558. 2559.
7

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

20160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-1220160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-12Invest Ment
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9พัน พัน
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปีอนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปีKlangpanya
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี Klangpanya
 
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Transformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailandTransformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailandPattie Pattie
 
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561Klangpanya
 
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนManoonpong Srivirat
 

Mais procurados (9)

20160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-1220160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-12
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปีอนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
 
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
 
Transformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailandTransformation to hi value and sustainable thailand
Transformation to hi value and sustainable thailand
 
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
ก้าวต่อไปของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน...
 
World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561
 
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
 

Semelhante a 6 การพัฒนาพื้นที่ ภาค และเมืองสู่อนาคตประเทศ

ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfkittithaithana
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)Totsaporn Inthanin
 
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณบรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณปิยนันท์ ราชธานี
 
แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์0884045430
 
Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...
Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...
Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...Klangpanya
 
2.คำนำ สารบัญ
2.คำนำ  สารบัญ2.คำนำ  สารบัญ
2.คำนำ สารบัญJunior Bush
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)Kanjana thong
 
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะSarit Tiyawongsuwan
 
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวTananya Jangouksom
 

Semelhante a 6 การพัฒนาพื้นที่ ภาค และเมืองสู่อนาคตประเทศ (20)

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
Spearhead
SpearheadSpearhead
Spearhead
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
 
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณบรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
 
Digital economy plan
Digital economy plan Digital economy plan
Digital economy plan
 
Digital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of ThailandDigital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of Thailand
 
20160530 Digital Thailand Master Plan
20160530 Digital Thailand Master Plan20160530 Digital Thailand Master Plan
20160530 Digital Thailand Master Plan
 
แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560
แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560
แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560 - 2563
 
แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์
 
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
แบบฟอร์ม+Storytellingครั้งที่ 1รอบ2 56
 
Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...
Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...
Policy Brief 6/2562 ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเมืองชายแดน: แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงน...
 
2.คำนำ สารบัญ
2.คำนำ  สารบัญ2.คำนำ  สารบัญ
2.คำนำ สารบัญ
 
แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561
แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561
แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
 
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
 
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
 
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
 

Mais de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Mais de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 

6 การพัฒนาพื้นที่ ภาค และเมืองสู่อนาคตประเทศ

  • 1. การพัฒนาพื้นที่ สู่อนาคตประเทศไทย ภาค และเมือง เอกสารประกอบการประชุมประจาปี 2560 ของ สศช. เรื่อง “ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย” วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี จัดโดย สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
  • 2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ. 2560 - 2564) ได้ก�ำหนดให้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยให้ความส�ำคัญกับการสร้าง ความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจเดิม และการขยายฐานการผลิตและบริการใหม่ การพัฒนาเมืองส�ำคัญให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การบริหารจัดการพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคและเมือง อย่างไรก็ดี การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในทุกมิติของการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งความมั่นคง ซึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาจะต้องให้ความส�ำคัญกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมิติการพัฒนาดังกล่าว และมีแนวทางการพัฒนา ในแต่ละพื้นที่ที่ชัดเจนและเหมาะสม รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ อย่างทันท่วงที การพัฒนาพื้นที่ ภาค และเมืองสู่อนาคตประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่มีต่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ การพัฒนาประเทศไทยในอนาคตจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ส�ำคัญ ดังนี้ การขยายตัวของประชากรเมือง ประชากรเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าสัดส่วนของประชากรเมืองจะเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในปี 2569 ขณะที่ความต้องการ สาธารณูปโภคสาธารณูปการจะมีมากขึ้น เกิดการขยายตัวของเมืองเนื่องจากความต้องการ ที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น 2
  • 3. ความต้องการแรงงานไร้ฝีมือจะลดลง โดยจะน�ำระบบอัตโนมัติมาท�ำงาน แทน ขณะที่ความต้องการแรงงานทักษะฝีมือจะมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงแรงงาน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ การเกิดอุตสาหกรรมและบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการในภาคการผลิต บริการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ขณะที่รูปแบบ ผลิตภัณฑ์และบริการมีวัฏจักรสั้นลง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมมากขึ้น ทั้งการลดลงของ พื้นที่ป่า ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการน�้ำที่มีมากขึ้น มลพิษที่มีมากขึ้น เนื่องจาก การแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมท�ำให้เกิดการลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งท�ำให้เกิดขยะ น�้ำเสีย อากาศเสีย และการบุกรุกท�ำลายป่า โครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนามากขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสในการสร้างความพร้อม ของพื้นที่ในการขยายฐานการผลิตและการบริการ และในการพัฒนาเชื่อมโยงกับโครงสร้าง พื้นฐานหลักของประเทศ ดังนั้น การพัฒนาเชิงพื้นที่ในระยะต่อไปจะต้องให้ความส�ำคัญกับ การยกระดับฐานการผลิตและบริการเดิมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และการขยายฐานใหม่ ที่ให้ความส�ำคัญกับการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ประโยชน์จากการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและศักยภาพของพื้นที่ ความเหลื่อมล�้ำของการพัฒนายังเป็นปัญหาส�ำคัญที่ต้องแก้ไข ทั้งความเหลื่อมล�้ำในด้านรายได้ การได้รับบริการทางการศึกษาและสาธารณสุข การถือครอง ที่ดินและการเข้าถึงเงินทุนและเทคโนโลยีซึ่งจะต้องแก้ไขเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างศักยภาพ ของประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยชน์จาก โอกาสที่เกิดขึ้น นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านและการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นทั้งปัจจัยที่สนับสนุนและข้อจ�ำกัดต่อการค้า การลงทุนของไทย ทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ การบริหารจัดการการ ผ่านแดน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดน ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุด ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12จะส่งผลให้ก�ำลังซื้อของประเทศลดลง การออมลดลง ภาระด้านการคลังของประเทศมีมากขึ้น ความต้องการสินค้าในประเทศลดลง และต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากขึ้นท�ำให้ต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ทั้งการก�ำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐานสิ่งแวดล้อม มาตรฐานความปลอดภัยสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานอาหาร เป็นต้น 3
  • 4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผล ต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของประชาชนทั้งทางบวก และทางลบ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล มีโอกาสมากขึ้นในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และช่วยให้การซื้อขายสินค้าและบริการ มีความสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ดี หากวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(SMEs)ปรับตัวไม่ทันอาจสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันและประชาชนต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร เพื่อไม่น�ำไปสู่การสูญเสียคุณค่าทางวัฒนธรรมและพฤติกรรม ที่เน้นการบริโภคนิยมและค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ แนวทางการพัฒนาภาค เมือง และ พื้นที่เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้ก�ำหนดแนวทางการพัฒนา ในแต่ละพื้นที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดย การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่บริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออก และพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณ ชายแดน พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก : ปัจจุบันเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับทั่วโลก และ เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของเอเชีย เป็นฐานการผลิตยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ที่ส�ำคัญของโลกมีท่าเรือน�้ำลึกและโครงสร้าง พื้นฐานที่ทันสมัยรวมทั้งเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบส�ำหรับ การผลิตอย่างไรก็ดีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และขาดการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเชื่อมั่น lifelockunlocked.com ของประชาชน ดังนั้น ในยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็น ฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่ขยายตัวอย่าง มีสมดุล มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเร่งรัดการแก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม สนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อพัฒนาต่อยอดการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล ตะวันออก (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้เป็นเขต เศรษฐกิจชั้นน�ำของอาเซียน สนับสนุนการปรับตัวเข้าสู่ยุค อุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเข้มข้น ดิจิทัล และนวัตกรรมรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ ของประชาชน พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน : พัฒนาเป็นพื้นที่ เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนและเป็นประตูเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่เป้าหมายเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 พื้นที่ ได้แก่ ตาก สระแก้ว สงขลา หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ตราด กาญจนบุรี เชียงราย และนราธิวาส เพื่อกระจาย ความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับ รายได้และคุณภาพชีวิตของ ประชาชน และแก้ปัญหา ความมั่นคงบริเวณชายแดน โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพ ด้านที่ตั้งของพื้นที่และการ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4
  • 5. ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 การพัฒนาพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษชายแดนได้ให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริม และอ�ำนวยความสะดวกในการลงทุน สนับสนุนและยกระดับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้อง กับศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคี การพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนา และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม ที่ผ่านมาภาครัฐได้ให้การสนับสนุนองค์ประกอบหลัก ที่จ�ำเป็นในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ได้แก่ (1) สิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุนในระดับ สูงสุดของประเทศทั้งมาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี เช่น นโยบายส่งเสริมการลงทุนส�ำหรับกิจการทั่วไปและกิจการ เป้าหมาย สิทธิประโยชน์ส�ำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (SMEs) การให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนหรือ ขยายกิจการ การจัดตั้งศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จด้านการ ลงทุน (2) การพัฒนาด่านศุลกากรและโครงสร้างพื้นฐาน ให้ครบสมบูรณ์ได้มาตรฐานเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจ หลักในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน (3) การบริหารจัดการ แรงงานต่างด้าวให้สามารถท�ำงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในลักษณะไป - กลับโดยให้สามารถใช้บัตรผ่านแดนเป็นเอกสาร แทนหนังสือเดินทางส�ำหรับการอนุญาตท�ำงานในลักษณะ ไป - กลับหรือตามฤดูกาลซึ่งแรงงานกัมพูชาและแรงงานเมียนมา ได้รับอนุญาตแล้ว นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ด้านแรงงานในทุกพื้นที่ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และ การป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อข้ามพรมแดน (4) การจัดหา พื้นที่เพื่อให้เอกชนหรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เช่าพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและบริการ (5) การพัฒนา ด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการ บริหารจัดการความมั่นคงชายแดนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (6) การท�ำการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อดึงดูด การลงทุนจากในและต่างประเทศ การพัฒนาภาค เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ให้กระจายตัวอย่างทั่วถึง ภาคเหนือให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง : พัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงในด้านการ ท่องเที่ยวและบริการ เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ และการดูแลผู้สูงอายุ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ และมีธุรกิจบริการต่อเนื่องที่มีมาตรฐานและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ มูลค่าเพิ่มสูง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการ สร้างรายได้และการมีงานท�ำของผู้สูงอายุและพัฒนานวัตกรรม การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว รวมทั้งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน�้ำในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน การบริหารจัดการน�้ำอย่างเป็นระบบในลุ่มน�้ำปิง วัง ยม น่าน และการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือตอนบน และจังหวัดตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้หลุดพ้นจากความยากจน สู่เป้าหมายการพึ่งตนเอง : พัฒนาให้เป็นฐานการผลิตข้าว หอมมะลิคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และ เกษตรปลอดภัย ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและ พลังงานทดแทนของประเทศ แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมขอม วัฒนธรรมประเพณี 5
  • 6. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาระดับ นานาชาติรวมทั้งเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่เชื่อมโยงกับ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มน�้ำโขงโดยพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ให้เป็นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน เกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย พัฒนานครราชสีมาเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหารเพิ่มศักยภาพ การผลิตพลังงานทดแทนในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลางและตอนล่าง และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณี ในทุกพื้นที่พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับประเทศ เพื่อนบ้าน (อาทิ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง เลย - อุดรธานี - หนองบัวล�ำภู - หนองคาย - สปป.ลาว)รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน�้ำและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ภาคกลางให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นน�ำ : พัฒนาเป็น ศูนย์อุตสาหกรรมสีเขียวชั้นน�ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฐาน การผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและ ได้มาตรฐานโลก ศูนย์รวมการท่องเที่ยวของเอเชียที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ โดยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเดิมและส่งเสริมอุตสาหกรรม แห่งอนาคตให้เป็นฐานรายได้ใหม่ (เช่น ยกระดับการพัฒนา กลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และระยอง ให้เป็นกลุ่ม อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นสากล ปรับปรุงมาตรฐานสินค้า และธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและภาพลักษณ์ ที่ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหาร จัดการน�้ำ ภาคใต้ให้เป็นฐานการสร้างรายได้ที่หลากหลาย : พัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปปาล์มน�้ำมันครบวงจร และศูนย์กลางไบโอดีเซล ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูป ยางพาราครบวงจร แหล่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ได้มาตรฐาน สากลและฐานการผลิตโคเนื้อ ที่มีเนื้อคุณภาพสูงและ ได้มาตรฐาน โดยเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของภาคการ เกษตรให้เติบโตอย่างเต็ม ศักยภาพของห่วงโซ่มูลค่า และยกระดับรายได้จากการ ท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกระจายรายได้จาก การท่องเที่ยวสู่พื้นที่เชื่อมโยงรวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นอย่าง ทั่วถึง โดยส่งเสริมและพัฒนาการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ระหว่างแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติในพื้นที่ภาคใต้ฝั่ง อันดามันและอ่าวไทยและแหล่งท่องเที่ยวบนบกบริเวณตอนใน ที่มีศักยภาพสูง รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะภายใต้โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยน�ำร่องใน 3 อ�ำเภอ ได้แก่ เบตง หนองจิก และสุไหงโก - ลก และวางระบบป้องกันและ แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 6
  • 7. การพัฒนาเมือง มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองศูนย์กลาง ของจังหวัดและเมืองส�ำคัญให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เมืองศูนย์กลางของจังหวัด : พัฒนาเมืองศูนย์กลาง ของจังหวัดให้เป็นเมืองน่าอยู่ส�ำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม โดย พัฒนาสภาพแวดล้อมเมือง ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง อย่างมีบูรณาการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองรักษา อัตลักษณ์ของเมืองและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง เมืองส�ำคัญ : พัฒนาเมืองส�ำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศศูนย์กลาง การศึกษาการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพระดับนานาชาติ เมืองปริมณฑลเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ศูนย์บริการ ด้านสุขภาพ การศึกษา และเมืองที่อยู่อาศัย เมืองเชียงใหม่ เมืองพิษณุโลก เมืองขอนแก่น และเมืองนครราชสีมาเป็น ศูนย์กลางการค้า การบริการสุขภาพ และการศึกษา เมืองภูเก็ต และเมืองหาดใหญ่เป็นเมืองน่าอยู่และเอื้อต่อการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งระบบราง ในเมืองที่มีศักยภาพอาทิเมืองอยุธยาเมืองนครสวรรค์เมืองทุ่งสง และบริเวณเมืองชายแดนที่มีศักยภาพ รวมทั้งบริเวณใกล้พื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (อาทิ เมืองเบตง เมืองสะเดา เมืองพุน�้ำร้อนเมืองอรัญประเทศเมืองนครพนมเมืองหนองคาย เมืองเชียงของ) โดยใช้แนวทางการจัดรูปที่ดิน การผังเมืองควบคู่ กับการพัฒนาเมืองแบบประหยัดพลังงาน บทสรุป การพัฒนาพื้นที่ภาคและเมืองเพื่ออนาคตประเทศไทย ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นทั้ง โอกาสและข้อจ�ำกัดต่อการพัฒนา นอกจากนี้ ในการขับเคลื่อน การพัฒนาเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนของภาคีการพัฒนา ซึ่งต้องการการบูรณาการการท�ำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การด�ำเนินงานมีการประสานและผลักดันการพัฒนา ไปในทิศทางเดียวกัน และต้องรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงและ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถ เผชิญและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่าง เหมาะสม เกิดประโยชน์กับพื้นที่และประเทศโดยรวม บรรณานุกรม ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12(พ.ศ. 2560 - 2564). 2559. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2558. 2559. 7