SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 36
Baixar para ler offline
ผลการดําเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ
                   ถ้วนหน้า
              ปีงบประมาณ 2554
       (1 ตุลาคม – 31 มีนาคม 2554)




เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหน่วยงานราชการ "ศูนย์ราชการเฉลิม
 พระเกียรติ 80 พรรษา                 5 ธันวาคม 2550" ถนนแจ้งวัฒนะ
                แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
             โทรศัพท์ 0 2141 4000 โทรสาร 0 2143 9730
                           www.nhso.go.th
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
                       ผลการดําเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
                           ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
                                               ……………………………

ความครอบคลุมและการใช้บริการ
               ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2554 พบว่า ประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพ 63.08 ล้านคน
ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 99.24 ของประชากรผู้มีสิทธิทั้งประเทศ (63.57 ล้านคน) ยังมีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ยัง
ไม่ลงทะเบียนสิทธิ จํานวน 484,658 คน และกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ จํานวน 1,330,116 คน ประชากรลงทะเบียนสิทธิ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47.63 ล้านคน เป็นหน่วยบริการของรัฐสังกัดสธ. ร้อยละ90.63 มีหน่วยบริการคู่สัญญา
850 แห่ง รัฐนอกสังกัด สธ. ร้อยละ 4.80 มีหน่วยบริการคู่สัญญา 83 แห่ง และเอกชน ร้อยละ 4.57 มีหน่วยบริการ
คู่สัญญา 213 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่นที่เข้าร่วมในระบบฯ ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ถึง ร้อยละ 81.52
              ด้านการใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้
               - การใช้บริการผู้ป่วยนอก 29.51 ล้านครั้ง อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากร UC) เท่ากับ 0.62 ครั้ง/
คน/ไตรมาสแรก ส่วนผู้ป่วยในมีจํานวน 1.38 ล้านครั้ง/5.97 ล้านวัน อัตราการใช้บริการ (อัตราการนอนโรงพยาบาล)
ต่อประชากร UC เท่ากับ 0.029 ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก (ข้อมูล ณ ธ.ค.54)
               - ผู้รับบริการอุบัติเหตุฉุกเฉินและค่าใช้จ่ายสูง จํานวน 794,247 ราย และ 122,983 ราย
               - การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีความครอบคลุมการให้บริการด้านต่างๆ ได้แก่ ตรวจคัดกรอง
TSH ในเด็กแรกเกิด ร้อยละ 22.29 วัคซีนไข้สมองอักเสบ ร้อยละ 25.15 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ครอบคลุม
ร้อยละ 14.64 การคัดกรองผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปสิทธิ UC /สิทธิอื่นๆ ร้อยละ 12.79/8.21 กองทุน
หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 95.46 ครอบคลุมประชากร 51 ล้านคน (ณ ก.พ.54)
               - การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งสิ้น 796,468 คน
ได้รบการสนับสนุนอุปกรณ์ 10,150 คน/17,769 ชิ้น และบริการฟื้นฟูฯ 164,719 คน/547,638 ครั้ง
       ั
               - บริการตติยภูมิเฉพาะด้าน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน
(Stroke Infarction), โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction: AMI) และโรค
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation: STEMI) มีอัตราการับไว้รักษาในรพ.ต่อประชากรแสนคน
เท่ากับ (ณ ธ.ค.54) 49.13, 27.61, 21.96 และ 6.32 ตามลําดับ
               - การแพทย์แผนไทยมีผู้รับบริการ 293,673 คน/964,180 ครั้ง มีหน่วยบริการ 2,621 แห่ง เฉลี่ยใช้
บริการแพทย์แผนไทย 3.3 ครั้งต่อคน สถานีอนามัยมีผู้ไปใช้บริการสูงสุด ร้อยละ 71.60
               - การใช้บริการผู้ป่วยโรคเฉพาะ ได้แก่ โรคเลือดออกง่าย ร้อยละ 93.38 ของเป้าหมาย 936 ราย ผู้ป่วย
วัณโรคได้รับการตรวจวินิจฉัย ติดตาม และดูแลรักษา 25,529 ราย ขึ้นทะเบียนใหม่ 13,423 ราย ผู้ป่วยตาต้อกระจก
ได้รบการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ ร้อยละ 61.09 ของเป้าหมาย 80,000 ราย
     ั
               - การเข้าถึงยา ได้แก่ ยาจ (2) 3,050 ราย เป็นยามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย (Letrozole) ร้อยละ
53.80, ยาจิตเวช ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรพ.มหาวิทยาลัย และกลุ่มรพ.สังกัดกรมสุขภาพจิต ร้อยละ 92.31 และ 88.24,
ยารักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Clopidogrel) จํานวน 51,275 ราย และยากําพร้า จํานวน 16 คน
               - ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มีผู้ลงทะเบียนรายใหม่ 2,109 ราย ได้รับยาต้านไวรัส ณ ปัจจุบัน
143,398 ราย ได้รับยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน ร้อยละ 92.64 ได้รับยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา ร้อยละ 7.36 ผู้รับบริการ
VCT (คลินิกให้คําปรึกษาและตรวจเลือด) 202,332 ราย ได้รับการตรวจเลือด ร้อยละ 77.90 พบผลเลือดบวก ร้อยละ
4.47 ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CD4 ร้อยละ 63.43 และตรวจค่าไวรัสในกระแสเลือด ร้อยละ 48.62




ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                          1/6
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
- การใช้บริการบําบัดทดแทนไต ผลการดําเนินงานภาพรวม 17,164 คน (ร้อยละ 104.97 จาก
เป้าหมาย 16,351 คน) ได้แก่ การล้างไตผ่านทางช่องท้อง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การผ่าตัดเปลี่ยนไตและ
ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ร้อยละ 80.42, 167.28, 4.36 และ 93.24 ของผู้ป่วยลงทะเบียน
                 - การใช้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) มีผู้ป่วยสะสมรายใหม่ 4,138,552 ราย
เป็นผู้ป่วยเบาหวาน 1,560,862 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.61 (ตามประมาณการอัตราความชุก 2,379,150 ราย) ผู้ป่วย
ความดันโลหิตสูง จํานวน 2,577,690 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.93 (ตามประมาณการอัตราความชุก 7,378,812 ราย)
การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
            หน่วยบริการที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน Hospital Accreditation (HA) ได้รับการรับรอง
คุณภาพ HA จํานวน 279 แห่ง (ร้อยละ 28.24) รับรองขั้นที่ 2 จํานวน 605 แห่ง (ร้อยละ 61.23) ผลการตรวจ
ประเมินหน่วยบริการเพื่อขึ้นทะเบียน หน่วยบริการ ปฐมภูมิ หน่วยบริการประจําและหน่วยบริการรับส่งต่อ
ในไตรมาสสอง พบผ่านเกณฑ์ (แบบไม่มีเงื่อนไขและมีเงื่อนไข) ร้อยละ 76.31, 97.33 และ 89.21
การคุ้มครองสิทธิ
                 การให้บริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีสิทธิและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ให้บริการทั้งสิ้น 407,194 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสอบถามข้อมูล ร้อยละ 98.74 จําแนกเป็นประชาชนสอบถาม
ร้อยละ 96.21) และผู้ให้บริการสอบถาม ร้อยละ 3.79 ส่วนเรื่องร้องเรียนได้รับการตอบสนองภายใน 30 วันทําการ
ร้อยละ 95.56 และเรื่องร้องทุกข์ดําเนินการแล้วเสร็จ ร้อยละ 96.93 ได้ ป ระสานหาเตี ย งผู้ ป่ ว ยอุ บั ติ เ หตุ แ ละฉุ ก เฉิ น
2,133 ราย เป็นสิทธิ UC ร้อยละ 97.89
                 การชดเชยความเสียหายกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการใช้บริการสาธารณสุขในระบบ
หลักประกันฯ (ตามม.41) ผู้รับบริการได้รับการชดเชย 416 ราย เป็นเงิน 48.55 ล้านบาท ส่วนผู้ให้บริการที่ได้รับ
ความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขฯ ได้รับการชดเชย 275 ราย เป็นเงิน 2.79 ล้านบาท
การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี
               ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูก
ร้องเรียน จํานวน 104 ศูนย์ ใน 76 จังหวัด ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานฯ 25 แห่ง เครือข่ายองค์กรคนพิการ
ได้พัฒนาระบบบริการฟื้นฟูให้แก่ผู้พิการทางการมองเห็นภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตา
บอดด้านการทําความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation & Mobility: O&M) เพื่อให้คนพิการ
ตาบอดสิทธิ UC จนได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ สามารถพึ่งตนเองได้ ด้านการสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ขยายพื้นที่ดําเนินการเพิ่มขึ้นเป็น 7,432 แห่ง (ร้อยละ95.58) ครอบคลุมประชากร 51 ล้านคน
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
             ได้เบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภาพรวมได้เบิกจ่ายไปแล้ว 59,219.00 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 58.60 (ของงบกองทุนที่ได้รับ 101,057.91 ล้านบาท) โดยงบค่าบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เบิกจ่ายสูงสุด ร้อยละ 75.27 รองลงมาเป็นงบค่าบริการทางการแพทย์ ร้อยละ 60.97
โครงการริเริ่มหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
              ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2554 สปสช.ได้ริเริ่มหรือพัฒนาโครงการที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน
ในการเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง เท่าเทียม มากขึ้น ได้แก่ 1) บัญชียากําพร้าเพิ่มเติมสําหรับใช้ในกรณีจําเป็น จํานวน 4
รายการ คือ ยารักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากการรับประทานอาหาร, ยาโรคคอตีบ, รักษาภาวะเป็นพิษจาก Digoxin และ
ยารักษาภาวะเป็นพิษจาก สารตะกั่ว สังกะสี แมงกานีส 2) เพิ่มบัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จํานวน
71 รายการ 3) การให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในเด็ก อายุไม่เกิน 18 ปี สําหรับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคท่อน้ําดีตีบตันแต่
กําเนิด และโรคอื่นๆ ที่ทําให้เกิดภาวะตับวาย โดยการปลูกถ่ายทั้งจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต และจากผู้เสียชีวิต ภายใต้
“โครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา: ผ่าตัดปลูกถ่ายตับในเด็กที่มีภาวะตับวายแต่กําเนิด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
และภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว” 4) การปลูกถ่ายหัวใจ เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า


ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                                     2/6
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
สารบัญ
                                                                                                    หน้า
บทที่ 1 ความครอบคลุมในระบบหลักประกันสุขภาพ                                                           1 
1.1 ความครอบคลุมการมีหลักประกันสุขภาพ                                                                1 
1.2 การใช้บริการทางการแพทย์                                                                          3 
บทที่ 2 การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข                                                    13 
2.1 สรุปสถานการณ์โรงพยาบาลคุณภาพ ตามมาตรฐาน HA                                                      13 
2.2 การพัฒนาแนวทางการตรวจประเมินหน่วยบริการตามเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจํา
    และหน่วยบริการรับส่งต่อ                                                                         14 
2.3 การตรวจสอบชดเชยค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                     14 
บทที่ 3                                                                                             15 
การคุ้มครองสิทธิ                                                                                    15 
3.1 การคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                  15 
3.2 การดําเนินงานศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย (Patient Referral Coordinating Center)                 18 
3.3 การชดเชยผู้รับบริการและผู้ให้บริการ กรณีได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า         19 
บทที่ 4 การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี                                                             20 
4.1 การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรประชาชน                                               20 
4.2 สนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                22 
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรวิชาชีพ                                                23 
บทที่ 5 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ                                                     24 
5.1 การบริหารงบประมาณจําแนกประเภทกองทุน                                                             24 
บทที่ 6 โครงการริเริ่มหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                         25 
6.1 บัญชียากําพร้าเพิ่มเติมสําหรับใช้ในกรณีจําเป็น                                                  25
6.2 บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ                                                          26
6.3 การให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในเด็ก เป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า         26
6.4 ข้อเสนอการปลูกถ่ายหัวใจเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                          27




ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                  3/6
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
สารบัญตาราง
                                                                                                                                                                 หน้า
ตารางที่ 1 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแยกประเภทสิทธิ มีนาคม 2554 ..................................... 1
ตารางที่ 2 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแยกสังกัดของหน่วยบริการ มีนาคม 2554 ........ 2
ตารางที่ 3 หน่วยบริการคู่สัญญาและเครือข่ายหน่วยบริการฯในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ มีนาคม
     2554 ............................................................................................................................................................ 2
ตารางที่ 4 การใช้บริการของผูมสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2554 (ธันวาคม 2553) .................. 3
                                      ้ี
ตารางที่ 5 จํานวนผู้รับบริการทางการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน อุบตเหตุฉกเฉิน และค่าใช้จ่ายสูง ณ มีนาคม 2554 ... 3
                                                                                         ัิ ุ
ตารางที่ 6 งานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม) ....................................... 4
ตารางที่ 7 การให้บริการตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2550 และ 2553 .................................................. 7
ตารางที่ 8 ผลการประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม) .... 14
ตารางที่ 9 การให้บริการสอบถามข้อมูล รับเรืองร้องเรียน และรับเรื่องร้องทุกข์ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54).. 15
                                                                ่
ตารางที่ 10 เรืองที่ประชาชนสอบถามข้อมูล ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม 2554) ............................................. 15
               ่
ตารางที่ 11 ให้บริการสอบถามข้อมูลผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ................................................. 16
ตารางที่ 12 การให้บริการรับเรืองร้องเรียน ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ......................................................... 17
                                        ่
ตารางที่ 13 ให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ................................................................ 17
ตารางที่ 14 การให้บริการประสานหาเตียง ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) .......................................................... 18
ตารางที่ 15 การดําเนินงานประสานหาเตียงผูป่วยสิทธิประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ................ 18
                                                              ้
ตารางที่ 16 การจ่ายเงินชดเชยกรณีผรับบริการได้รับความเสียหาย ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54)..................... 19
                                                  ู้
ตารางที่ 17 การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผูให้บริการได้รับความเสียหาย ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ........... 19
                                                            ้
ตารางที่ 18 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ 6 พฤษภาคม 2554........................................... 24
ตารางที่ 19 รายการยากําพร้ากลุ่ม Antidotes ................................................................................................... 25




ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                                                                              4/6
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
สารบัญแผนภูมิ
                                                                                                    หน้า

แผนภูมิที่ 1 เปรียบเทียบอัตราการรับไว้รกษาในรพ.ในผู้ป่วย Stroke, Stroke Infarction, AMI & STEMI ไตร
                                       ั
    มาสแรก          ปี 2553 กับ ปี 2554                                                                6
แผนภูมิที่ 2 จํานวนผู้ตดเชื้อลงทะเบียนรายใหม่และรับยาปัจจุบันตามสูตรยา ณ มีนาคม 2554
                       ิ                                                                               9
แผนภูมิที่ 3 ร้อยละผลการดําเนินงานไตวายเรือรัง จําแนกประเภท ปี 2552 – มีนาคม 2554
                                           ้                                                          10
แผนภูมิท่ี 4 จํานวนผู้ลงทะเบียนล้างไตผ่านทางช่องท้องสะสม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 – 31 มีนาคม 2554       10
แผนภูมิที่ 5 จํานวนผู้ป่วยลงทะเบียนฟอกเลือดสะสม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551 – 31 มีนาคม 2554                11
แผนภูมิที่ 6 ร้อยละโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จําแนกตามขั้นการรับรองคุณภาพตาม
    มาตรฐาน HA ปีงบประมาณ 2546 - 24 มีนาคม 2554                                                       13
แผนภูมิที่ 7 จํานวน (ร้อยละ) การสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปี 2549 – 2554
    (มีนาคม)                                                                                          23




ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                  5/6
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า   6/6
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
บทที่ 1
                                   ความครอบคลุมในระบบหลักประกันสุขภาพ


1.1 ความครอบคลุมการมีหลักประกันสุขภาพ
             1.1.1 ความครอบคลุมผู้มีสทธิหลักประกันสุขภาพ
                                     ิ
             ผลการดําเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ ในไตรมาสที่สองของปี 2554 พบว่า ประชาชนไทยมี
หลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิ จํานวน 63.08 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 99.24 ของ
ประชากรผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพทั้งประเทศ 63.57 ล้านคน ยังมีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิ จํานวน
484,658 คน และกลุ่มรอพิสจน์สถานะ จํานวน 1,330,116 คน รายละเอียด ดังตารางที่ 1
                          ู

ตารางที่ 1 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแยกประเภทสิทธิ มีนาคม 2554
    ลําดับ                           ประเภทสิทธิ                                      มีนาคม 2554               ร้อยละ
       1       ประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                        47,615,352               74.90
       2       ประกันสังคม                                                                   9,971,498              15.69
       3       ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ขรก.การเมือง                                            4,994,327               7.86
       4       สิทธิอื่นๆ1                                                                     502,006               0.79
       5       ผู้ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิ                                                         484,658               0.76
       6       รวมผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ                                               63,567,841                 100
       7       ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ...คน (1+2+3+4)                                 63,083,183
       8       ร้อยละความครอบคลุมสิทธิ = (7*100)/6                                               99.24
       9       บุคคลรอพิสูจน์สถานะ2                                                          1,330,116               87.77
      10       คนไทยในต่างประเทศ                                                            15,616 ***                1.03
      11       คนต่างด้าว                                                                      171,341               11.20
      12       รวมประชากรอื่นๆ (9+10+11)                                                     1,517,073                100
      13       รวมประชากรทั้งประเทศ                                                        65,084,914
หมายเหตุ : *** ข้อมูลจากสํานักทะเบียนราษฎร์ ซึ่งอาจต่ํากว่าข้อมูลของศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สํานักงานตรวจ
คนเข้าเมืองและสัญชาติ (สตม)
ที่มา : ศูนย์บริหารงานทะเบียน สํานักบริหารกองทุน ณ มีนาคม. 2554, สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

            ประชากรลงทะเบียนสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage: UC) จํานวน 47.63
ล้านคน โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 43.15 ล้านคน (ร้อยละ 90.63) รัฐ
นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจํานวน 2.28 ล้านคน และเอกชน จํานวน 2.18 ล้านคน รายละเอียด ดังตารางที่ 2



1
 ได้แก่ ทหารผ่านศึก ครูเอกชน และบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
2
 ได้แก่บุคคลที่ตาย หายสาบสูญ /ไม่พบตัวตน เลขบัตรประชาชนซ้ําซ้อน สิทธิคนไทยในต่างประเทศ รหัสบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง ย้ายไปจังหวัดอื่น
และคนต่างด้าว


ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                                      1/28
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
ตารางที่ 2 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแยกสังกัดของหน่วยบริการ มีนาคม 2554
                                                              มีนาคม 2554
                 ประเภทสังกัด
                                                       จํานวน                จํานวน
 ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข                           43,153,190               90.63
 นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข                           2,283,974                4.80
 เอกชน                                               2,178,188                4.57
                  รวม                               47,615,352                 100
ที่มา : ศูนย์บริหารงานทะเบียน สํานักบริหารกองทุน ณ มีนาคม. 2554, สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

       1.1.2 หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
             หน่วยบริการคู่สัญญาซึ่งเป็นหน่วยบริการประจําในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในไตรมาสที่สอง ของ
ปีงบประมาณ 2554 มีจํานวนทั้งสิ้น 1,160 แห่ง ส่วนใหญ่เป็น หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 850 แห่ง (ร้อย
ละ 73.28) หน่วยบริการเอกชน 213 แห่ง (ร้อยละ 18.36) และหน่วยบริการภาครัฐนอกกระทรวงสาธารณสุข 83 แห่ง
(ร้อยละ 7.17) ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบในภาพรวม รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 87.57 ของรพ.
ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีคลินิกชุมชนอบอุ่นที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ถึงร้อยละ 81.52
ของคลินิกชุมชนอบอุ่นทั้งหมด รายละเอียด ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 หน่วยบริการคู่สัญญาและเครือข่ายหน่วยบริการฯในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ มีนาคม 2554
                                                                                   ปี 2554 (มี.ค. 54)
             ประเภทหน่วยบริการประจําในสังกัด
                                                                    แห่ง           ร้อยละตามสังกัด ร้อยละภาพรวม
 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)                                                      850                   73.28
                          - รพ.                                              831               97.76        87.57
                          - สอ./คลินิกชุมชนอบอุ่น                             19                2.24         9.00
 ภาครัฐนอกกระทรวงสาธารณสุข                                                    83                    7.17
                          - รพ.                                               75               90.36         7.90
                          - คลินิกชุมชนอบอุ่น                                  8                9.64         3.79
 เอกชน                                                                       213                   18.36
                          - รพ.                                               41               19.25         4.32
                          - คลินิกชุมชนอบอุ่น                                172               80.75        81.52
 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)                                              14                    1.21
                          - รพ.                                                2               14.29         0.21
                          - สอ./คลินิกชุมชนอบอุ่น                             12               85.71         5.69
                      ภาพรวม                                               1,160                    100
                          - รพ.                                              949                      81.81
                          - คลินิกชุมชนอบอุ่น                                211                      18.19
ที่มา : ศูนย์บริหารงานทะเบียน สํานักบริหารกองทุน ณ มีนาคม. 2554, สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ




ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                         2/28
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
1.2 การใช้บริการทางการแพทย์
        1.2.1 การใช้บริการผู้ป่วยนอก-ใน
                  ข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ในรายงาน 0110 รง.5 เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน
หน้า ในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ ธันวาคม 2553 พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจํานวน 29.51 ล้าน
ครั้ง อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 0.62 ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก
ส่วนผู้ป่วยในมีจํานวน 1.39 ล้านครั้ง/5,973,312 ล้านวัน อัตราการใช้บริการ (อัตราการนอนโรงพยาบาล) ต่อประชากรผู้มี
สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เท่ากับ 0.029 ครั้ง/ คน/ไตรมาสแรก รายละเอียด ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 การใช้บริการของผูมีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2554 (ธันวาคม 2553)
                            ้
                                               รายการ                                                  จํานวนบริการ
                                                                            ผู้ป่วยนอก (ครั้ง)               29,512,597
 จํานวนการรับบริการ                                                         ผู้ป่วยใน (ครั้ง)                 1,387,205
                                                                                        (วัน)                 5,973,312
                                                          ผู้ป่วยนอก (ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก)                           0.62
 อัตราการรับบริการต่อประชากรกลางปี
                                                          ผู้ป่วยใน (ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก)                           0.029
ที่มา : 1) ฐานข้อมูลผูป่วยนอกรายบุคคล ณ ธันวาคม 2553 ประมวลผล 11 มิถุนายน 54 สํานักบริหารจัดสรรกองทุน สปสช., วิเคราะห์
                        ้
โดยสํานักนโยบายและแผน
        2) ผู้ป่วยใน: คํานวณจากฐานข้อมูลผู้ป่วยในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ณ ธันวาคม 2553
หมายเหตุ : ใช้จานวนประชากรเฉลีย ตุลาคม – ธันวาคม 2553 เท่ากับ 47.57 ล้านคน
                   ํ              ่

         1.2.2 การใช้บริการทางการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน อุบัติเหตุฉกเฉิน และค่าใช้จ่ายสูง
                                                                 ุ
                 ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2554 มีผู้ใช้บริการทางการแพทย์ที่ขอรับการชดเชยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ
สาธารณสุข จําแนกเป็นกรณีผู้ป่วยใน จํานวน 2,237,930 ราย (เป็นผู้รับบริการในเขต ร้อยละ 84.50) จ่ายชดเชย จํานวน
15,230.01 ล้านบาท ผู้รับบริการอุบัติเหตุฉุกเฉิน จํานวน 794,247 ราย (อุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอก ร้อยละ 57.92, เด็ก
แรกเกิด ร้อยละ 37.41) จ่ายชดเชย จํานวน 1,596.06 ล้านบาท และผู้รับบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง จํานวน 122,983 ราย
(เป็นผู้ได้รับอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบําบัดโรค ร้อยละ 87.80) จ่ายชดเชย จํานวน 1,407.24 ล้านบาท รายละเอียด
ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 จํานวนผู้รบบริการทางการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน อุบัตเิ หตุฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายสูง ณ มีนาคม 2554
                     ั
        กองทุน                       รายการ                       จํานวน (ราย)             จ่ายชดเชย (บาท)
 ผู้ป่วยใน           รับบริการในเขต                                    1,891,051                 15,230,009,164
                     รับบริการข้ามเขต                                     42,772                  1,268,946,764
                     อุบัติเหตุฉุกเฉินในเขต                              124,839                  1,229,734,367
                     อุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามเขต                             82,544                    981,260,831
                     ค่าพาหนะส่งต่อผูป่วยในทั่วไป
                                        ้                                 93,802                     82,601,577
                     ผู้ป่วยในกรมแพทย์ทหารเรือ/อากาศ                         786                      6,582,771
                     เจ็บป่วย/เหตุสมควรตามข้อบังคับ ม.7                    1,764                     34,771,048
                     สํารองเตียง                                             372                     28,980,017
                                          รวม                          2,237,930                 18,862,886,540
 อุบัติเหตุฉุกเฉิน   เด็กแรกเกิด                                         297,155                  1,103,997,891


ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                                 3/28
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
กองทุน                         รายการ                    จํานวน (ราย)           จ่ายชดเชย (บาท)
                     สิทธิวาง
                            ่                                              22,983               201,231,787
                     อุบัติเหตุฉุกเฉินผูป่วยนอก
                                        ้                                460,044                263,120,449
                     สํารองเตียง (สิทธิว่าง)                                   44                 5,245,937
                     ประกันสังคม 7 เดือน (คลอด)                             1,986                10,387,436
                     ค่าพาหนะส่งต่อ (ผู้ป่วยนอก/สิทธิวาง)
                                                      ่                    11,762                 9,804,127
                     ประกันสังคม 3 เดือน                                      131                   702,157
                     อุบัติเหตุตามข้อบังคับ ม.7                               142                 1,573,563
                                            รวม                          794,247              1,596,063,345
 ค่าใช้จายสูง
         ่           Instrument-IP                                       107,977              1,213,711,541
                     ข้อเข่า                                                1,076                53,150,000
                     การใส่ขดลวดเพื่อขยายหลอดเลือดตีบ                       3,341               111,753,838
                     โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา                       1,174                10,280,873
                     การล้างไต/ฟอกเลือด                                     9,301                17,738,207
                     การรักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง                          13                     6,000
                     โรคติดเชื้อไวรัสทีจอประสาทตา
                                          ่                                   101                   600,000
                                            รวม                          122,983              1,407,240,458
ที่มา : ฐานข้อมูลชดเชยค่าบริการ ณ มีนาคม 2554 สปสช., วิเคราะห์โดยสํานักบริหารการชดเชยค่าบริการ

         1.2.3 การใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
              การบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนทุกสิทธิในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเป็นการจัดบริการสร้างเสริม
สุขภาพและป้องกันโรคสําหรับบุคคลและครอบครัวมุ่งเน้นให้มีการการจายงบประมาณลงสู่พื้นที่อย่างเป็นธรรม ส่งเสริม
สนับสนุนและกระตุ้นให้หน่วยบริการและสถานพยาบาลมีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการให้บริการมากขึ้นโดยจ่ายเงินตาม
ผลงานและความครอบคลุมของการให้บริการ เพื่อให้เกิดการให้บริการอย่างแท้จริงและสามารถผลักดันให้มีการสร้างเสริม
สุขภาพและป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพ

             1) งานบริการสร้างเสริมสุขภาพ
             ผลการดําเนินงาน ณ มีนาคม 2554 ผลการให้บริการส่งเสริมและป้องกันโรคในด้านต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ
เป้าหมาย พบว่า งานอนามัยมารดา ได้แก่ ฝากครรภ์อายุต่ํากว่า 12 สัปดาห์ มีผลงานร้อยละ 50.21 งานอนามัยเด็ก ได้แก่
การตรวจคัดกรอง TSH ในเด็กทารกแรกเกิด และความครอบคลุมการรับวัคซีน มีผลงานร้อยละ 31.94 และ 36.11 การตรวจ
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก, การคัดกรองความเสี่ยง และการคัดกรอง Depression ผลงานคิดเป็นร้อยละ 26.09, 54.98 และ
6.46 ตามลําดับ รายละเอียด ดังตารางที่ 6
ตารางที่ 6 งานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม)
                   ประเภทบริการ                        เป้าหมาย (ราย)           ผลงาน (ราย)         ผลงาน (ร้อยละ)
 1. อนามัยมารดา
   1) ฝากครรภ์อายุต่ํากว่า 12 สัปดาห์                     131,846                  66,200                50.21
    2) ฝากครรภ์สิทธิประกันสังคม                           151,057                  24,113                15.96
    3) ตรวจหลังคลอด                                       228,658                  43,921                19.21
    4) วางแผนครอบครัว                                     358,341                 103,618                28.92


ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                            4/28
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
ประเภทบริการ                          เป้าหมาย (ราย)           ผลงาน (ราย)         ผลงาน (ร้อยละ)
      2. อนามัยเด็ก
       1) ตรวจคัดกรอง TSH ในเด็กทารกแรกเกิด                     653,506                  208,728                31.94
       2) ความครอบคลุมการรับวัคซีน                             6,249,913                2,256,578               36.11
      3. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก                             2,057,463                 536,736                26.09
         1) ร้อยละความครอบคลุม                                 15,197,565                536,736                3.53
      4. คัดกรองความเสี่ยง                                     7,048,958                3,875,240               54.98
      5. การคัดกรอง Depression                                   58,086                   1,048                 6.46
ที่มา : ฐานข้อมูล PP screening, Papsmear, ผู้ป่วยในรายบุคคล สํานักบริหารสารสนเทศการประกัน, สํานักบริหารชดเชยค่าบริการ มี.ค.
       2554 สปสช., วิเคราะห์โดยกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
หมายเหตุ : * ปี 2549-2552 ประชากรเป้าหมายอายุ 30, 35, 40, 45, 50, 55, 60 ปี, ปี 2553-2554 ประชากรเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี

                   2) กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
                   ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2554 จํานวนพื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นที่เข้าร่วม
     โครงการ รวมทั้งสิ้น 7,423 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.46 ของพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 7,776 แห่ง ครอบคลุมประชากร 51
     ล้านคน ได้รับเงินสมทบตั้งแต่ปี 2549 – 2553 จาก สปสช. ร้อยละ 72.66 จาก อบต./เทศบาล ร้อยละ 24.92 ที่เหลือเป็น
     การสมทบจากชุมชนและอื่นๆ)

               1.2.3 การใช้บริการฟื้นฟูคนพิการ
                     เพื่อช่วยให้คนพิการได้มีโอกาสเข้ารับบริการด้านสุขภาพและได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
     การดําเนินงานภายใต้งบฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ณ พฤษภาคม 2554 มีผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพจดทะเบียน
     ทั้งสิ้น 796,468 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.67 ของประชากร UC
                     การสนับสนุนค่าบริการฟื้นฟูฯ และจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยสําหรับคนพิการ มีผู้พิการได้รับการสนับสนุน
     อุปกรณ์ ทั้งสิ้น 10,150 คน/17,769 ชิ้น เฉลี่ยผู้พิการได้รับอุปกรณ์สนับสนุน 1.8 ชิ้นต่อคน อุปกรณ์ที่มีการใช้สูงสุด ได้แก่
     เท้าเทียมที่ต้องใส่ร่วมกับขาเทียมแบบต่าง ๆ, สายเข็มขัดเทียม และแป้นสายเข็มขัด ร้อยละ 17.49, 14.78 และ 9.33
     ตามลําดับ ส่วนอุปกรณ์ที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อชิ้นสูงสุด คือ รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทําด้วยโลหะ แบบปรับให้เหมาะสมกับ
     ความพิการได้, เบ้าขาเทียมเหนือเข่า และรถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทําด้วยโลหะ แบบปรับไม่ได้ จํานวน 5,498, 4,453 และ
     4,452 บาท ตามลําดับ
                     ด้านบริการฟื้นฟูฯ มีจํานวนผู้ใช้บริการ 164,719 คน/547,638 ครั้ง เฉลี่ยผู้พิการใช้บริการฟื้นฟู 3.3 ครั้งต่อ
     คน โดยกายภาพบําบัด, กิจกรรมบําบัด และจิตบําบัด มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ร้อยละ 52.02, 17.68 และ 9.77 ตามลําดับ
     ส่วนกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งมากที่สุด คือ Phenol block, จิตบําบัด และพฤติกรรมบําบัด จํานวน 480, 295 และ 293
     บาท ตามลําดับ
             1.2.4 การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
                    ในปีงบประมาณ 2554 การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี และสามารถ
     ดูแลสุขภาพตนเองได้ มีหน่วยบริการปฐมภูมิที่ได้รับการตรวจประเมินขึ้นทะเบียน จํานวน 11,299 แห่ง ผ่านการตรวจ
     ประเมิน (ผ่านและผ่านแบบมีเงื่อนไข) จํานวน 8,622 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.31 ส่วนใหญ่เป็นหน่วยบริการสังกัดกระทรวง
     สาธารณสุข ร้อยละ 94.46 (ของจํานวนผ่านเกณฑ์) และเป็นที่น่ายินดีที่สปสช.เขตส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ครบหนึ่งร้อย
     เปอร์เซ็นต์ มีถึง 7 แห่ง และอีก 6 แห่ง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 89-99


     ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                              5/28
     ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
ด้านก ่ม/พัฒนา าลังคนในระ
                  การเพิ        ากํ          ะบบบริการปฐม มิ มีโรงพยาบาลชุมชนเข้าร่วมเป็นสถาบัันสมทบ จํานวน
                                                          มภู
45 แหง สถาบันหลัก ่สนับสนุนวิช
    ห่            กที           ชาการ จํานวน 13 แห่ง (คณะะแพทย์ฯ 4 แหง/รพศ.สังกัด สธ.9 แห่ง) โดย แพทย์ประจํา
                                                                      ห่                         ยมี         จํ
บ้านและแพทย์ปฏิบัติงานที่ได้รับกา
                   ติ           ารอบรมเวชศาสตร์ครอบครัวเพิ่มขึ้น ในปี 2 จํานวน 6 คน จากจํานวน 11 คนในปี
                                                                      2553       61              น
2550 ในปี 2554 พ  พยาบาลวิชาชีพ ่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ
                                พที                      รปฐมภูมิ และในโรงพยาบาลสงเสิรมสุขภาพ าบล (รพ.สต
                                                                                 ส่             พตํ          ต.)
7,689 แห่ง (ร้อยละ 77.87) รวมจํานวน 10,274 คน และในจํานวนนี้ผ่านการ
    9                                                    า            รอบรมพยาบาล ลเวชปฏิบัติทั่วไป (NP) จํานวน
                                                                                                 ไ
7,415 คน (ร้อยละ 72.17) ในปี 2 ได้สนับส นนักกายภาพ าบัดให้ปฏิบัติงานในโรงพย
    5                           2553         สนุ          พบํ         บั          ยาบาลชุมชน จํานวน 130 คน
                                                                                                 จ
รวมเป็น 658 คน เพิมขึ้นจากปี 2550 ซึ่งมีจํานวน 381 (ร้อยละ 72.70)
    ป็            พิ่                        น
        1.2.5 การใชบริการตติยภูมิเฉพาะด้าน
                  ช้
              ผลกา าเนินงาน ณ ธันวาคม 25
                  ารดํ                      553 การใช้บริการตติยภูมิเฉพาะด้าน โด
                                                      บ                        ดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอ   อง
(Strok โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Stroke Infa
     ke),                                             arction), โรค ามเนื้อหัวใ
                                                                   คกล้         ใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acut
                                                                                             ย          te
Myoc              ction: AMI) และโรคกล้ามเ ้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด ST-elev
     cardial Infarc                         เนื       ลื          นชนิ         vation: STEM เปรียบเทียบ
                                                                                           MI)
ไตรมาาสแรก ปี 2553 กับ ปี 2554 พบว่า มีอตราการับไว้รัักษาในรพ.ต่อ
                              4             อั        ร           อประชากรแสน เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท
                                                                                นคน         กื
ในขณ ่อัตราป่วยตายลดลง ยกเว้น
    ณะที                               Stro อย่างไรก็ตาม อัตราการ รับยาละลา ่มเลือดเพิ่มขึ้นทั้ง Strok
                                            oke       ต            รได้         ายลิ                    ke
Infarc และ STE รายละเอีย ดังแผนภูมที่ 1
     ction        EMI        ยด           ที
                                          ิ

แผนภูมิที่ 1 เปรียบเ ยบอัตราการ บไว้รักษาในร
   ภู              เที          รรั                      troke, Stroke Infarction, AMI & STEM ไตรมาสแร
                                           รพ.ในผู้ป่วย St           e                      MI       รก
             ปี 2553 กับ ปี 2554
                   3
                     60.00 
                                                                                      ไต
                                                                                       ตรมาส 1-53
                                      49.13
                     50.00    45.08                                                   ไต
                                                                                       ตรมาส 1-54
 อัตราตอปชก.แสนคน




                     40.00 

                     30.00                              27.61
                                                24.9
                                                   95
                                                                          21
                                                                           1.96
                                                                  19.66
                     20.00 

                     10.00                                                            6.
                                                                                       .38    6.32


                        ‐
 โรคเฉ
     ฉพาะดาน                   Stroke        Strok
                                                  ke infarction       AMI                STEMI

ที่มา : ฐานข้อมูลผู้ป่วยใ
                        ในรายบุคคล ณ ธันวาคม 2553/
                                                 /2554 สํานักบริหารสารสนเทศก
                                                                ห          การประกัน สปสช วิเคราะห์โดยสํานักพัฒนา
                                                                                        ช.,
คุณภาพ การ
        พบริ

        1.2.6 การใชบริการแพทยแผนไทย
                  ช้          ย์
              ผลการ าเนินงาน ณ มีนาคม 2554 มีผู้รับบริการ
                  รดํ                       4              รแพทย์แผนไทย ทั้งสิ้น 293,6 คน/964,1 ครั้ง เพิ่มขึ้ึน
                                                                        ย            673         180
จากไตตรมาสแรก ร้อย 14.54 คน
                  ยละ         น/18.72 ครั้ง เฉลี่ยใช้บริการแ แผนไทย 3.3 ครั้งต่อคน ส่วนใหญ่ไปรัับบริการที่สถานี
                                                           แพทย์                     น
อนามััย และโรงพยา าบาลชุมชน ร้อ 71.60 แ 25.42 มีหน่วยบริการที่เข้าร่วมให้บริก จํานวน 2,,621 แห่ง (เป็น
                              อยละ           และ                        ที           การ
หน่วยบริการประจํา 728 แห่ง ร้อย 28.27 และหน่วยบริการ
                              ยละ                          รปฐมภูมิ 1,893 แห่ง ร้อยละ 72.22) ประเภ
                                                                        3                        ภทการให้บริกา
                                                                                                             าร
ได้แก่ นวด, ประคบ และอบสมุนไพ ร้อยละ 54.01, 35.83 และ 10.17 ตา าดับ นอกจ ้ ยังมีแม่หลังคลอดที่ได้รับ
                              พร                           แ            ามลํ         จากนี      ห



ผลการดาเนินงานสร้างหลกประกันสุขภาพ วนหน้า
      ดํ            ลั           พถ้                                                                  6/28
ปีงบปร
     ระมาณ 2554 (1 ต 53 – 31 มี.ค 54)
                    ต.ค.         ค.
ฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด มารับบบริการ จํานวน 5,656 คน/19,657 ครั้ง เฉลี่ยใช้บริการ 3.5 ครั้งต่อคน ซึ่งส่วนมากไปใช้
บริการที่โรงพยาบาลชุมชน
         1.2.7 การใช้บริการโรคเฉพาะ
                 การบริหารจัดการโรคเฉพาะและบริการเฉพาะ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับการบริการให้มีคุณภาพ
และเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชน โดยเฉพาะโรคหรือบริการที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงมากและ/หรือต้องได้รับบริการต่อเนื่อง
ทั้งนี้หน่วยบริการที่ดําเนินการให้บริการ ได้แก่ หน่วยบริการประจําและสถานบริการอื่นตามที่ สปสช.กําหนด ณ เดือน
มีนาคม 2554 สรุปความก้าวหน้าและผลการดําเนินงาน ได้ดังนี้
                 1) โรคเลือดออกง่าย (Hemophilia)              เป็นโรคพันธุกรรมที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลด
ภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มีผู้ป่วย จํานวน 874 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.38 ของ
เป้าหมาย 936 ราย
                 2) วัณโรค (Tuberculosis)         มีผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย ติดตาม และดูแลรักษา จํานวน
25,529 ราย เป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ 13,423 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาวัณโรค (สูตร CAT 1-4) จํานวน 22,971 ราย
ในผู้ป่วยจํานวนนี้ได้รับยาสูตร CAT-13 จํานวน 20,635 ราย (ร้อยละ 80.51 ของผู้รับยา) ได้รับการตรวจเพาะเชื้อและ
ทดสอบความไวต่อเชื้อดื้อยาวัณโรค 858 ราย (เฉพาะศูนย์ตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า) ได้รับติดตาม กํากับการรับประทานยาด้วยวิธี DOTs อย่างน้อย 1 ครั้งของการติดตามโรค จํานวน
15,458 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.55 ของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการ
ตรวจคัดกรองวัณโรค จํานวน 21,213 ราย และมีอัตราการเปลี่ยนของเสมหะในระยะเข้มข้นจากบวกเป็นลบ ร้อยละ 93
                 3) โรคหืด (Asthma) การบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหืดมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยโรคหืดได้รับการ
ดูแล รักษา ตามแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันการกําเริบของโรค โดยมีรูปแบบบริการ เพื่อสร้างกลไกการเข้าถึง
ยา สูดพ่น อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ปัจจุบันมีหน่วยบริการที่มีการจัดตั้ง
คลินิกดูแลผู้ป่วยโรคหืดแบบง่าย ครบทั้ง 13 สปสช.เขต รวมทั้งสิ้น 959 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.76 ของหน่วยบริการ
ทั้งหมดที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการใช้บริการของผู้ป่วย ในไตรมาสแรก จํานวน 29,354 คน/70,315
ครั้ง เฉลี่ยใช้บริการคนละ 2.4 ครั้ง
                 การให้บริการตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2553 ประเมินจากข้อมูลบริการคลินิกโรคหืดอย่างง่าย
(Easy Asthma Clinic) จํานวน 35,279 ราย จากโรงพยาบาล 478 แห่ง พบว่า ในแต่ละแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด
มากกว่าร้อยละ 70           ยกเว้น การสอนและให้คําแนะนํา เรื่องบุหรี่ และยังดําเนินการอย่างต่อเนื่องในปี 2554 ต่อไป
รายละเอียด ดังตารางที่ 7
ตารางที่ 7 การให้บริการตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2550 และ 2553
                         การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด         ปี 2553 (EAC)
                   การประเมินสมรรถภาพปอด                                  87.76
                   การรักษาด้วยยา ICS                                     79.43
                   การสอนและประเมินการใช้สูดยา                            78.49
                   การซักประวัติอาการหอบในเวลากลางวัน                     99.31
                   การซักประวัติอาการหอบในเวลากลางคืน                     99.33

3
    Category 1 (CAT1) : 2HRZE/4HR หมายถึง 2 เดือนแรกผูปวยจะไดยา 4 ขนานไดแก Isoniazid (H) Rifampicin (R) Pyrazinamide (Z) และ
Ethambutol (E) รับประทานทุกวัน ระยะ 4 เดือนที่เหลือจะไดยา 2 ขนานคือ Isoniazid และ Rifampicin


ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                                         7/28
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด                    ปี 2553 (EAC)
                     การซักประวัติความถี่การใช้ยาขยายหลอดลม                            99.34
                     การซักประวัติการเกิดอาการกําเริบจนต้องไปพบแพทย์                   98.70
                     การสอนและให้คําแนะนําเรื่องบุหรี่                                 62.26
ที่มา : ข้อมูลจากการประเมินการบริการคลินิกโรคหืด ณ มีนาคม 2554 สปสช., วิเคราะห์โดยสํานักพัฒนาคุณภาพบริการ
              4) การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและ
ครอบครัว ได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในชุมชนและที่บ้าน
อย่างเหมาะสม บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการปวด ด้วยยามอร์ฟีนตามความเหมาะสม และพัฒนารูปแบบเครือข่าย
บริการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง จากหน่วยบริการ ถึงที่บ้านและชุมชน มีหน่วยบริการแม่ข่ายที่เข้า
ร่วมโครงการครบทั้ง 13 สปสช.เขต รวมทั้งสิ้น 30 แห่ง และมีหน่วยบริการที่เป็นลูกข่าย จํานวน 165 แห่ง
              5) การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ผู้ป่วยตาต้อกระจก (Cataract) ในผู้ป่วยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ณ
กุมภาพันธ์ 2554 มีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ไปแล้ว จํานวน 48,869 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.09 ของเป้าหมาย 80,000
ราย
         1.2.8 การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์
               ในปีงบประมาณ 2554 สปสช. ได้ดําเนินการบริหารจัดการยาจําเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย
เป็นการสนับสนุนยารายการต่างๆ ได้แก่ ยาที่มีการประกาศใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (Compulsory licensing: CL)
ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาจําเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึงอื่นๆ เช่น ยาจิตเวช ยากําพร้า เป็นต้น ผลการดําเนินงาน
ในไตรมาสสอง มีดังนี้
               1) การเข้าถึงยา
                        1.1) ยาบัญชีจ(2)      เป็นรายการยาจําเป็นที่มีราคาสูงมากจํานวนผู้ป่วยไม่มากแต่มีปัญหาในการ
เข้าถึง จํานวนทั้งสิ้น 3,050 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.84 ของเป้าหมาย 4,305 ราย ได้แก่ ยามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย
(Letrozole), ยามะเร็งต่อมลูกหมาก-มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต-โรค
ภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ ร้อยละ 53.80, 17.25 และ 12.98 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการใช้ยา พบว่า ยามะเร็งต่อมลูกหมาก-
มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต-โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ มีมูลค่ายา
สูงสุด 63.73 ล้านบาท (ร้อยละ 37.65) รองลงมาคือ ยา Liposomal ampho 36.73 ล้านบาท (ร้อยละ 21.70) เมื่อ
เปรียบเทียบหน่วยบริการเป้าหมายที่มีการเบิกจ่ายยาไปแล้ว พบว่า กลุ่มสถาบันมะเร็งเบิกจ่ายครบตามเป้าหมาย รองลงมา
เป็นรพ.ศูนย์ ร้อยละ 96.00 และรพ.กลุ่มรพ.มหาวิทยาลัย ร้อยละ 92.86 ถ้าจําแนกตามสปสช.เขตที่มีการใช้ยา พบว่า
สปสช.เขตกรุงเทพมหานคร, เขตนครราชสีมา และเขตระยอง มีการเบิกจ่ายยาสูงสุด ร้อยละ 49.7, 6.01 และ 5.71
ตามลําดับ
                        1.2) ยาจิตเวช ได้แก่ ยาสําหรับผู้ป่วยจิตเภท, อารมณ์แปรปรวน, โรคซึมเศร้า (ในปี 2553) ส่วนใน
ปีงบประมาณ 2554 ได้เพิ่มยาสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต และPDD (Autistic and Other
pervasive developmental disordes4) มีผู้เข้าถึงยาสะสม ตั้งแต่ กรกฎาคม 2553 – มีนาคม 2554 ทั้งสิ้น 16,351 ราย
คิดเป็นร้อยละ 13.70 ของเป้าหมาย 119,371 ราย มูลค่ายาที่เบิกจ่ายไปแล้ว จํานวน 8.11 ล้านบาท กลุ่มหน่วยบริการที่มี
มูลค่าการเบิกจ่ายยาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรพ.มหาวิทยาลัย, กลุ่มรพ.สังกัดกรมสุขภาพจิต และกลุ่มรพ.ศูนย์ ร้อยละ 92.31,
88.24 และ 49.45

4
  ความผิดปกติของพัฒนาการรูปแบบหนึ่ง ที่มีความบกพร่องทางด้านทักษะสังคม ด้านการใช้ภาษาและการสื่อความหมาย หรือมีกิจกรรม ความสนใจ
ค่อนข้างจํากัดเฉพาะเรื่อง แต่ไม่เข้าเกณฑ์การวินจฉัยของโรคอื่นๆ ในกลุ่มพีดีดี
                                               ิ

ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                                                                 8/28
ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทยแผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทยTanawat Sudsuk
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.nhs0
 
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)Sakarin Habusaya
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพweeraboon wisartsakul
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)สุริยา ชื่นวิเศษ
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Tang Thowr
 
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขdentyomaraj
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.Pongsa Pongsathorn
 
คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์
คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์
คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์Utai Sukviwatsirikul
 
เงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงาน
เงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงานเงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงาน
เงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงานtepiemsak
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiChuchai Sornchumni
 
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...Borwornsom Leerapan
 

Mais procurados (18)

แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทยแผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
 
Financing for Emergency patients
Financing for Emergency patientsFinancing for Emergency patients
Financing for Emergency patients
 
สปสช.การบริหารAsthma&copd57
สปสช.การบริหารAsthma&copd57สปสช.การบริหารAsthma&copd57
สปสช.การบริหารAsthma&copd57
 
Qaพยาบาลเสนอจังหวัด
QaพยาบาลเสนอจังหวัดQaพยาบาลเสนอจังหวัด
Qaพยาบาลเสนอจังหวัด
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
 
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ. (IM โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน)
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
 
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
 
คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์
คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์
คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์
 
Service Profile Anest. KKU 2553 (sent 7 June 53)
Service Profile Anest. KKU 2553 (sent 7 June 53) Service Profile Anest. KKU 2553 (sent 7 June 53)
Service Profile Anest. KKU 2553 (sent 7 June 53)
 
เงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงาน
เงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงานเงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงาน
เงื่อนไขการดำเนินงานและการส่งผลงาน
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
 
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
 
พยาบาลกับกฎหมาย สุริน
พยาบาลกับกฎหมาย สุรินพยาบาลกับกฎหมาย สุริน
พยาบาลกับกฎหมาย สุริน
 
Service Profile Anesthesia Care Md.KKU 2013
Service Profile Anesthesia Care Md.KKU 2013Service Profile Anesthesia Care Md.KKU 2013
Service Profile Anesthesia Care Md.KKU 2013
 

Semelhante a ไตรมาส2 54

การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพsoftganz
 
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53สปสช นครสวรรค์
 
ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue 2016
ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue  2016ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue  2016
ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue 2016some163
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติUtai Sukviwatsirikul
 
Interhospital transfer
Interhospital transfer Interhospital transfer
Interhospital transfer taem
 
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdfมาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdfOldcat4
 
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตคู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตChuchai Sornchumni
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527Chuchai Sornchumni
 
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Nawanan Theera-Ampornpunt
 
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕dentalfund
 
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHCนโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHCChuchai Sornchumni
 

Semelhante a ไตรมาส2 54 (20)

การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
 
Thai2009 2
Thai2009 2Thai2009 2
Thai2009 2
 
วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖
 
ระบบสุขภาพกับสังคมไทยไม่ทิ้งกัน
ระบบสุขภาพกับสังคมไทยไม่ทิ้งกันระบบสุขภาพกับสังคมไทยไม่ทิ้งกัน
ระบบสุขภาพกับสังคมไทยไม่ทิ้งกัน
 
57 02-27เปิดประชุมp4 p
57 02-27เปิดประชุมp4 p57 02-27เปิดประชุมp4 p
57 02-27เปิดประชุมp4 p
 
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ วันที่ 26 พ.ย.53
 
ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue 2016
ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue  2016ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue  2016
ยุทธศาสตร์ Pharmacy issue 2016
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาร้านยา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๕ ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
 
Interhospital transfer
Interhospital transfer Interhospital transfer
Interhospital transfer
 
13 feb12 hiv_task_shifting
13 feb12 hiv_task_shifting13 feb12 hiv_task_shifting
13 feb12 hiv_task_shifting
 
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdfมาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
 
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตคู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
 
บท3
บท3บท3
บท3
 
แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาล
แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาลแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาล
แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาล
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527
 
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
 
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ๑๘มิย๕๕
 
Fullreport uk
Fullreport ukFullreport uk
Fullreport uk
 
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHCนโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
 
วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖
 

Mais de สปสช นครสวรรค์

คำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นว
คำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นวคำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นว
คำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นวสปสช นครสวรรค์
 
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จสปสช นครสวรรค์
 
121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์
121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์
121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์สปสช นครสวรรค์
 
18 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 56
18 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 5618 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 56
18 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 56สปสช นครสวรรค์
 
023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)
023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)
023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)สปสช นครสวรรค์
 
ประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภท
ประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภทประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภท
ประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภทสปสช นครสวรรค์
 
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภทประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภทสปสช นครสวรรค์
 

Mais de สปสช นครสวรรค์ (20)

3ข่าวรับฟังความคิดเห็น
3ข่าวรับฟังความคิดเห็น3ข่าวรับฟังความคิดเห็น
3ข่าวรับฟังความคิดเห็น
 
~$Poster รับฟังความคิดเห็น
~$Poster รับฟังความคิดเห็น~$Poster รับฟังความคิดเห็น
~$Poster รับฟังความคิดเห็น
 
Ad
AdAd
Ad
 
Ad
AdAd
Ad
 
คำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นว
คำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นวคำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นว
คำสั่งแต่งตั้ง นพ.วงษ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 3 นว
 
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ
 
121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์
121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์
121113สปสช.ขู่สอบรพ.เบิกเงินเกินจริง เดลินิวส์
 
ประกาศฯ(ฉบับที๒)
ประกาศฯ(ฉบับที๒)ประกาศฯ(ฉบับที๒)
ประกาศฯ(ฉบับที๒)
 
ผลสำรวจ สำนักงานสถิติ Oct55
ผลสำรวจ สำนักงานสถิติ Oct55ผลสำรวจ สำนักงานสถิติ Oct55
ผลสำรวจ สำนักงานสถิติ Oct55
 
18 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 56
18 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 5618 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 56
18 oct 55 แนวทางการบริหารงบ tb ปี 56
 
023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)
023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)
023125 กค(การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลัก)
 
18 oct12 การจัดทำแผนเอดส์56เขต
18 oct12 การจัดทำแผนเอดส์56เขต18 oct12 การจัดทำแผนเอดส์56เขต
18 oct12 การจัดทำแผนเอดส์56เขต
 
ประกาศจากสำนักกฎหมาย
ประกาศจากสำนักกฎหมาย ประกาศจากสำนักกฎหมาย
ประกาศจากสำนักกฎหมาย
 
ประกาศแก้ไขบุคคลภายนอก
ประกาศแก้ไขบุคคลภายนอกประกาศแก้ไขบุคคลภายนอก
ประกาศแก้ไขบุคคลภายนอก
 
ประกาศฯบริหารจัดการปี ๕๕
ประกาศฯบริหารจัดการปี ๕๕ประกาศฯบริหารจัดการปี ๕๕
ประกาศฯบริหารจัดการปี ๕๕
 
Aidsปี56สรุปภาพรวม
Aidsปี56สรุปภาพรวมAidsปี56สรุปภาพรวม
Aidsปี56สรุปภาพรวม
 
Aidsปี56สรุปภาพรวม
Aidsปี56สรุปภาพรวมAidsปี56สรุปภาพรวม
Aidsปี56สรุปภาพรวม
 
Gnewvb01 090401013958-phpapp01
Gnewvb01 090401013958-phpapp01Gnewvb01 090401013958-phpapp01
Gnewvb01 090401013958-phpapp01
 
ประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภท
ประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภทประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภท
ประกาศกระทรวงพม เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ6ประเภท
 
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภทประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
 

ไตรมาส2 54

  • 1. ผลการดําเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2554 (1 ตุลาคม – 31 มีนาคม 2554) เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหน่วยงานราชการ "ศูนย์ราชการเฉลิม พระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550" ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210 โทรศัพท์ 0 2141 4000 โทรสาร 0 2143 9730 www.nhso.go.th
  • 2.
  • 3. บทสรุปสําหรับผู้บริหาร ผลการดําเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54) …………………………… ความครอบคลุมและการใช้บริการ ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2554 พบว่า ประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพ 63.08 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 99.24 ของประชากรผู้มีสิทธิทั้งประเทศ (63.57 ล้านคน) ยังมีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ยัง ไม่ลงทะเบียนสิทธิ จํานวน 484,658 คน และกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ จํานวน 1,330,116 คน ประชากรลงทะเบียนสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47.63 ล้านคน เป็นหน่วยบริการของรัฐสังกัดสธ. ร้อยละ90.63 มีหน่วยบริการคู่สัญญา 850 แห่ง รัฐนอกสังกัด สธ. ร้อยละ 4.80 มีหน่วยบริการคู่สัญญา 83 แห่ง และเอกชน ร้อยละ 4.57 มีหน่วยบริการ คู่สัญญา 213 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่นที่เข้าร่วมในระบบฯ ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ถึง ร้อยละ 81.52 ด้านการใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้ - การใช้บริการผู้ป่วยนอก 29.51 ล้านครั้ง อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากร UC) เท่ากับ 0.62 ครั้ง/ คน/ไตรมาสแรก ส่วนผู้ป่วยในมีจํานวน 1.38 ล้านครั้ง/5.97 ล้านวัน อัตราการใช้บริการ (อัตราการนอนโรงพยาบาล) ต่อประชากร UC เท่ากับ 0.029 ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก (ข้อมูล ณ ธ.ค.54) - ผู้รับบริการอุบัติเหตุฉุกเฉินและค่าใช้จ่ายสูง จํานวน 794,247 ราย และ 122,983 ราย - การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีความครอบคลุมการให้บริการด้านต่างๆ ได้แก่ ตรวจคัดกรอง TSH ในเด็กแรกเกิด ร้อยละ 22.29 วัคซีนไข้สมองอักเสบ ร้อยละ 25.15 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ครอบคลุม ร้อยละ 14.64 การคัดกรองผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปสิทธิ UC /สิทธิอื่นๆ ร้อยละ 12.79/8.21 กองทุน หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 95.46 ครอบคลุมประชากร 51 ล้านคน (ณ ก.พ.54) - การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งสิ้น 796,468 คน ได้รบการสนับสนุนอุปกรณ์ 10,150 คน/17,769 ชิ้น และบริการฟื้นฟูฯ 164,719 คน/547,638 ครั้ง ั - บริการตติยภูมิเฉพาะด้าน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Stroke Infarction), โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction: AMI) และโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation: STEMI) มีอัตราการับไว้รักษาในรพ.ต่อประชากรแสนคน เท่ากับ (ณ ธ.ค.54) 49.13, 27.61, 21.96 และ 6.32 ตามลําดับ - การแพทย์แผนไทยมีผู้รับบริการ 293,673 คน/964,180 ครั้ง มีหน่วยบริการ 2,621 แห่ง เฉลี่ยใช้ บริการแพทย์แผนไทย 3.3 ครั้งต่อคน สถานีอนามัยมีผู้ไปใช้บริการสูงสุด ร้อยละ 71.60 - การใช้บริการผู้ป่วยโรคเฉพาะ ได้แก่ โรคเลือดออกง่าย ร้อยละ 93.38 ของเป้าหมาย 936 ราย ผู้ป่วย วัณโรคได้รับการตรวจวินิจฉัย ติดตาม และดูแลรักษา 25,529 ราย ขึ้นทะเบียนใหม่ 13,423 ราย ผู้ป่วยตาต้อกระจก ได้รบการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ ร้อยละ 61.09 ของเป้าหมาย 80,000 ราย ั - การเข้าถึงยา ได้แก่ ยาจ (2) 3,050 ราย เป็นยามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย (Letrozole) ร้อยละ 53.80, ยาจิตเวช ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรพ.มหาวิทยาลัย และกลุ่มรพ.สังกัดกรมสุขภาพจิต ร้อยละ 92.31 และ 88.24, ยารักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Clopidogrel) จํานวน 51,275 ราย และยากําพร้า จํานวน 16 คน - ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มีผู้ลงทะเบียนรายใหม่ 2,109 ราย ได้รับยาต้านไวรัส ณ ปัจจุบัน 143,398 ราย ได้รับยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน ร้อยละ 92.64 ได้รับยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา ร้อยละ 7.36 ผู้รับบริการ VCT (คลินิกให้คําปรึกษาและตรวจเลือด) 202,332 ราย ได้รับการตรวจเลือด ร้อยละ 77.90 พบผลเลือดบวก ร้อยละ 4.47 ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CD4 ร้อยละ 63.43 และตรวจค่าไวรัสในกระแสเลือด ร้อยละ 48.62 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1/6 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
  • 4. - การใช้บริการบําบัดทดแทนไต ผลการดําเนินงานภาพรวม 17,164 คน (ร้อยละ 104.97 จาก เป้าหมาย 16,351 คน) ได้แก่ การล้างไตผ่านทางช่องท้อง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การผ่าตัดเปลี่ยนไตและ ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ร้อยละ 80.42, 167.28, 4.36 และ 93.24 ของผู้ป่วยลงทะเบียน - การใช้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) มีผู้ป่วยสะสมรายใหม่ 4,138,552 ราย เป็นผู้ป่วยเบาหวาน 1,560,862 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.61 (ตามประมาณการอัตราความชุก 2,379,150 ราย) ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง จํานวน 2,577,690 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.93 (ตามประมาณการอัตราความชุก 7,378,812 ราย) การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข หน่วยบริการที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน Hospital Accreditation (HA) ได้รับการรับรอง คุณภาพ HA จํานวน 279 แห่ง (ร้อยละ 28.24) รับรองขั้นที่ 2 จํานวน 605 แห่ง (ร้อยละ 61.23) ผลการตรวจ ประเมินหน่วยบริการเพื่อขึ้นทะเบียน หน่วยบริการ ปฐมภูมิ หน่วยบริการประจําและหน่วยบริการรับส่งต่อ ในไตรมาสสอง พบผ่านเกณฑ์ (แบบไม่มีเงื่อนไขและมีเงื่อนไข) ร้อยละ 76.31, 97.33 และ 89.21 การคุ้มครองสิทธิ การให้บริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีสิทธิและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้บริการทั้งสิ้น 407,194 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสอบถามข้อมูล ร้อยละ 98.74 จําแนกเป็นประชาชนสอบถาม ร้อยละ 96.21) และผู้ให้บริการสอบถาม ร้อยละ 3.79 ส่วนเรื่องร้องเรียนได้รับการตอบสนองภายใน 30 วันทําการ ร้อยละ 95.56 และเรื่องร้องทุกข์ดําเนินการแล้วเสร็จ ร้อยละ 96.93 ได้ ป ระสานหาเตี ย งผู้ ป่ ว ยอุ บั ติ เ หตุ แ ละฉุ ก เฉิ น 2,133 ราย เป็นสิทธิ UC ร้อยละ 97.89 การชดเชยความเสียหายกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการใช้บริการสาธารณสุขในระบบ หลักประกันฯ (ตามม.41) ผู้รับบริการได้รับการชดเชย 416 ราย เป็นเงิน 48.55 ล้านบาท ส่วนผู้ให้บริการที่ได้รับ ความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขฯ ได้รับการชดเชย 275 ราย เป็นเงิน 2.79 ล้านบาท การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูก ร้องเรียน จํานวน 104 ศูนย์ ใน 76 จังหวัด ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานฯ 25 แห่ง เครือข่ายองค์กรคนพิการ ได้พัฒนาระบบบริการฟื้นฟูให้แก่ผู้พิการทางการมองเห็นภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตา บอดด้านการทําความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation & Mobility: O&M) เพื่อให้คนพิการ ตาบอดสิทธิ UC จนได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ สามารถพึ่งตนเองได้ ด้านการสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ขยายพื้นที่ดําเนินการเพิ่มขึ้นเป็น 7,432 แห่ง (ร้อยละ95.58) ครอบคลุมประชากร 51 ล้านคน การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภาพรวมได้เบิกจ่ายไปแล้ว 59,219.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.60 (ของงบกองทุนที่ได้รับ 101,057.91 ล้านบาท) โดยงบค่าบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เบิกจ่ายสูงสุด ร้อยละ 75.27 รองลงมาเป็นงบค่าบริการทางการแพทย์ ร้อยละ 60.97 โครงการริเริ่มหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2554 สปสช.ได้ริเริ่มหรือพัฒนาโครงการที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน ในการเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง เท่าเทียม มากขึ้น ได้แก่ 1) บัญชียากําพร้าเพิ่มเติมสําหรับใช้ในกรณีจําเป็น จํานวน 4 รายการ คือ ยารักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากการรับประทานอาหาร, ยาโรคคอตีบ, รักษาภาวะเป็นพิษจาก Digoxin และ ยารักษาภาวะเป็นพิษจาก สารตะกั่ว สังกะสี แมงกานีส 2) เพิ่มบัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จํานวน 71 รายการ 3) การให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในเด็ก อายุไม่เกิน 18 ปี สําหรับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคท่อน้ําดีตีบตันแต่ กําเนิด และโรคอื่นๆ ที่ทําให้เกิดภาวะตับวาย โดยการปลูกถ่ายทั้งจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต และจากผู้เสียชีวิต ภายใต้ “โครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา: ผ่าตัดปลูกถ่ายตับในเด็กที่มีภาวะตับวายแต่กําเนิด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว” 4) การปลูกถ่ายหัวใจ เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2/6 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
  • 5. สารบัญ หน้า บทที่ 1 ความครอบคลุมในระบบหลักประกันสุขภาพ 1  1.1 ความครอบคลุมการมีหลักประกันสุขภาพ 1  1.2 การใช้บริการทางการแพทย์ 3  บทที่ 2 การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข 13  2.1 สรุปสถานการณ์โรงพยาบาลคุณภาพ ตามมาตรฐาน HA 13  2.2 การพัฒนาแนวทางการตรวจประเมินหน่วยบริการตามเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจํา และหน่วยบริการรับส่งต่อ 14  2.3 การตรวจสอบชดเชยค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 14  บทที่ 3 15  การคุ้มครองสิทธิ 15  3.1 การคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 15  3.2 การดําเนินงานศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย (Patient Referral Coordinating Center) 18  3.3 การชดเชยผู้รับบริการและผู้ให้บริการ กรณีได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 19  บทที่ 4 การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี 20  4.1 การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรประชาชน 20  4.2 สนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22  4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรวิชาชีพ 23  บทที่ 5 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 24  5.1 การบริหารงบประมาณจําแนกประเภทกองทุน 24  บทที่ 6 โครงการริเริ่มหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 25  6.1 บัญชียากําพร้าเพิ่มเติมสําหรับใช้ในกรณีจําเป็น 25 6.2 บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 26 6.3 การให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในเด็ก เป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 26 6.4 ข้อเสนอการปลูกถ่ายหัวใจเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 27 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3/6 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
  • 6. สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแยกประเภทสิทธิ มีนาคม 2554 ..................................... 1 ตารางที่ 2 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแยกสังกัดของหน่วยบริการ มีนาคม 2554 ........ 2 ตารางที่ 3 หน่วยบริการคู่สัญญาและเครือข่ายหน่วยบริการฯในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ มีนาคม 2554 ............................................................................................................................................................ 2 ตารางที่ 4 การใช้บริการของผูมสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2554 (ธันวาคม 2553) .................. 3 ้ี ตารางที่ 5 จํานวนผู้รับบริการทางการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน อุบตเหตุฉกเฉิน และค่าใช้จ่ายสูง ณ มีนาคม 2554 ... 3 ัิ ุ ตารางที่ 6 งานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม) ....................................... 4 ตารางที่ 7 การให้บริการตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2550 และ 2553 .................................................. 7 ตารางที่ 8 ผลการประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม) .... 14 ตารางที่ 9 การให้บริการสอบถามข้อมูล รับเรืองร้องเรียน และรับเรื่องร้องทุกข์ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54).. 15 ่ ตารางที่ 10 เรืองที่ประชาชนสอบถามข้อมูล ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม 2554) ............................................. 15 ่ ตารางที่ 11 ให้บริการสอบถามข้อมูลผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ................................................. 16 ตารางที่ 12 การให้บริการรับเรืองร้องเรียน ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ......................................................... 17 ่ ตารางที่ 13 ให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ................................................................ 17 ตารางที่ 14 การให้บริการประสานหาเตียง ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) .......................................................... 18 ตารางที่ 15 การดําเนินงานประสานหาเตียงผูป่วยสิทธิประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ................ 18 ้ ตารางที่ 16 การจ่ายเงินชดเชยกรณีผรับบริการได้รับความเสียหาย ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54)..................... 19 ู้ ตารางที่ 17 การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผูให้บริการได้รับความเสียหาย ปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.54) ........... 19 ้ ตารางที่ 18 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ 6 พฤษภาคม 2554........................................... 24 ตารางที่ 19 รายการยากําพร้ากลุ่ม Antidotes ................................................................................................... 25 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4/6 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
  • 7. สารบัญแผนภูมิ หน้า แผนภูมิที่ 1 เปรียบเทียบอัตราการรับไว้รกษาในรพ.ในผู้ป่วย Stroke, Stroke Infarction, AMI & STEMI ไตร ั มาสแรก ปี 2553 กับ ปี 2554 6 แผนภูมิที่ 2 จํานวนผู้ตดเชื้อลงทะเบียนรายใหม่และรับยาปัจจุบันตามสูตรยา ณ มีนาคม 2554 ิ 9 แผนภูมิที่ 3 ร้อยละผลการดําเนินงานไตวายเรือรัง จําแนกประเภท ปี 2552 – มีนาคม 2554 ้ 10 แผนภูมิท่ี 4 จํานวนผู้ลงทะเบียนล้างไตผ่านทางช่องท้องสะสม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 – 31 มีนาคม 2554 10 แผนภูมิที่ 5 จํานวนผู้ป่วยลงทะเบียนฟอกเลือดสะสม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551 – 31 มีนาคม 2554 11 แผนภูมิที่ 6 ร้อยละโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จําแนกตามขั้นการรับรองคุณภาพตาม มาตรฐาน HA ปีงบประมาณ 2546 - 24 มีนาคม 2554 13 แผนภูมิที่ 7 จํานวน (ร้อยละ) การสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปี 2549 – 2554 (มีนาคม) 23 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 5/6 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. – 31 มี.ค. 54)
  • 9. บทที่ 1 ความครอบคลุมในระบบหลักประกันสุขภาพ 1.1 ความครอบคลุมการมีหลักประกันสุขภาพ 1.1.1 ความครอบคลุมผู้มีสทธิหลักประกันสุขภาพ ิ ผลการดําเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ ในไตรมาสที่สองของปี 2554 พบว่า ประชาชนไทยมี หลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิ จํานวน 63.08 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 99.24 ของ ประชากรผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพทั้งประเทศ 63.57 ล้านคน ยังมีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิ จํานวน 484,658 คน และกลุ่มรอพิสจน์สถานะ จํานวน 1,330,116 คน รายละเอียด ดังตารางที่ 1 ู ตารางที่ 1 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแยกประเภทสิทธิ มีนาคม 2554 ลําดับ ประเภทสิทธิ มีนาคม 2554 ร้อยละ 1 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47,615,352 74.90 2 ประกันสังคม 9,971,498 15.69 3 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ขรก.การเมือง 4,994,327 7.86 4 สิทธิอื่นๆ1 502,006 0.79 5 ผู้ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิ 484,658 0.76 6 รวมผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ 63,567,841 100 7 ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ...คน (1+2+3+4) 63,083,183 8 ร้อยละความครอบคลุมสิทธิ = (7*100)/6 99.24 9 บุคคลรอพิสูจน์สถานะ2 1,330,116 87.77 10 คนไทยในต่างประเทศ 15,616 *** 1.03 11 คนต่างด้าว 171,341 11.20 12 รวมประชากรอื่นๆ (9+10+11) 1,517,073 100 13 รวมประชากรทั้งประเทศ 65,084,914 หมายเหตุ : *** ข้อมูลจากสํานักทะเบียนราษฎร์ ซึ่งอาจต่ํากว่าข้อมูลของศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สํานักงานตรวจ คนเข้าเมืองและสัญชาติ (สตม) ที่มา : ศูนย์บริหารงานทะเบียน สํานักบริหารกองทุน ณ มีนาคม. 2554, สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประชากรลงทะเบียนสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage: UC) จํานวน 47.63 ล้านคน โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 43.15 ล้านคน (ร้อยละ 90.63) รัฐ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจํานวน 2.28 ล้านคน และเอกชน จํานวน 2.18 ล้านคน รายละเอียด ดังตารางที่ 2 1 ได้แก่ ทหารผ่านศึก ครูเอกชน และบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ 2 ได้แก่บุคคลที่ตาย หายสาบสูญ /ไม่พบตัวตน เลขบัตรประชาชนซ้ําซ้อน สิทธิคนไทยในต่างประเทศ รหัสบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง ย้ายไปจังหวัดอื่น และคนต่างด้าว ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
  • 10. ตารางที่ 2 จํานวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแยกสังกัดของหน่วยบริการ มีนาคม 2554 มีนาคม 2554 ประเภทสังกัด จํานวน จํานวน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 43,153,190 90.63 นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2,283,974 4.80 เอกชน 2,178,188 4.57 รวม 47,615,352 100 ที่มา : ศูนย์บริหารงานทะเบียน สํานักบริหารกองทุน ณ มีนาคม. 2554, สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1.1.2 หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หน่วยบริการคู่สัญญาซึ่งเป็นหน่วยบริการประจําในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในไตรมาสที่สอง ของ ปีงบประมาณ 2554 มีจํานวนทั้งสิ้น 1,160 แห่ง ส่วนใหญ่เป็น หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 850 แห่ง (ร้อย ละ 73.28) หน่วยบริการเอกชน 213 แห่ง (ร้อยละ 18.36) และหน่วยบริการภาครัฐนอกกระทรวงสาธารณสุข 83 แห่ง (ร้อยละ 7.17) ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบในภาพรวม รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 87.57 ของรพ. ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีคลินิกชุมชนอบอุ่นที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ถึงร้อยละ 81.52 ของคลินิกชุมชนอบอุ่นทั้งหมด รายละเอียด ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 หน่วยบริการคู่สัญญาและเครือข่ายหน่วยบริการฯในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ มีนาคม 2554 ปี 2554 (มี.ค. 54) ประเภทหน่วยบริการประจําในสังกัด แห่ง ร้อยละตามสังกัด ร้อยละภาพรวม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 850 73.28 - รพ. 831 97.76 87.57 - สอ./คลินิกชุมชนอบอุ่น 19 2.24 9.00 ภาครัฐนอกกระทรวงสาธารณสุข 83 7.17 - รพ. 75 90.36 7.90 - คลินิกชุมชนอบอุ่น 8 9.64 3.79 เอกชน 213 18.36 - รพ. 41 19.25 4.32 - คลินิกชุมชนอบอุ่น 172 80.75 81.52 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 14 1.21 - รพ. 2 14.29 0.21 - สอ./คลินิกชุมชนอบอุ่น 12 85.71 5.69 ภาพรวม 1,160 100 - รพ. 949 81.81 - คลินิกชุมชนอบอุ่น 211 18.19 ที่มา : ศูนย์บริหารงานทะเบียน สํานักบริหารกองทุน ณ มีนาคม. 2554, สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
  • 11. 1.2 การใช้บริการทางการแพทย์ 1.2.1 การใช้บริการผู้ป่วยนอก-ใน ข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ในรายงาน 0110 รง.5 เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า ในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ ธันวาคม 2553 พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจํานวน 29.51 ล้าน ครั้ง อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 0.62 ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก ส่วนผู้ป่วยในมีจํานวน 1.39 ล้านครั้ง/5,973,312 ล้านวัน อัตราการใช้บริการ (อัตราการนอนโรงพยาบาล) ต่อประชากรผู้มี สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เท่ากับ 0.029 ครั้ง/ คน/ไตรมาสแรก รายละเอียด ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 การใช้บริการของผูมีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2554 (ธันวาคม 2553) ้ รายการ จํานวนบริการ ผู้ป่วยนอก (ครั้ง) 29,512,597 จํานวนการรับบริการ ผู้ป่วยใน (ครั้ง) 1,387,205 (วัน) 5,973,312 ผู้ป่วยนอก (ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก) 0.62 อัตราการรับบริการต่อประชากรกลางปี ผู้ป่วยใน (ครั้ง/คน/ไตรมาสแรก) 0.029 ที่มา : 1) ฐานข้อมูลผูป่วยนอกรายบุคคล ณ ธันวาคม 2553 ประมวลผล 11 มิถุนายน 54 สํานักบริหารจัดสรรกองทุน สปสช., วิเคราะห์ ้ โดยสํานักนโยบายและแผน 2) ผู้ป่วยใน: คํานวณจากฐานข้อมูลผู้ป่วยในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ณ ธันวาคม 2553 หมายเหตุ : ใช้จานวนประชากรเฉลีย ตุลาคม – ธันวาคม 2553 เท่ากับ 47.57 ล้านคน ํ ่ 1.2.2 การใช้บริการทางการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน อุบัติเหตุฉกเฉิน และค่าใช้จ่ายสูง ุ ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2554 มีผู้ใช้บริการทางการแพทย์ที่ขอรับการชดเชยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข จําแนกเป็นกรณีผู้ป่วยใน จํานวน 2,237,930 ราย (เป็นผู้รับบริการในเขต ร้อยละ 84.50) จ่ายชดเชย จํานวน 15,230.01 ล้านบาท ผู้รับบริการอุบัติเหตุฉุกเฉิน จํานวน 794,247 ราย (อุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอก ร้อยละ 57.92, เด็ก แรกเกิด ร้อยละ 37.41) จ่ายชดเชย จํานวน 1,596.06 ล้านบาท และผู้รับบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง จํานวน 122,983 ราย (เป็นผู้ได้รับอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบําบัดโรค ร้อยละ 87.80) จ่ายชดเชย จํานวน 1,407.24 ล้านบาท รายละเอียด ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 จํานวนผู้รบบริการทางการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน อุบัตเิ หตุฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายสูง ณ มีนาคม 2554 ั กองทุน รายการ จํานวน (ราย) จ่ายชดเชย (บาท) ผู้ป่วยใน รับบริการในเขต 1,891,051 15,230,009,164 รับบริการข้ามเขต 42,772 1,268,946,764 อุบัติเหตุฉุกเฉินในเขต 124,839 1,229,734,367 อุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามเขต 82,544 981,260,831 ค่าพาหนะส่งต่อผูป่วยในทั่วไป ้ 93,802 82,601,577 ผู้ป่วยในกรมแพทย์ทหารเรือ/อากาศ 786 6,582,771 เจ็บป่วย/เหตุสมควรตามข้อบังคับ ม.7 1,764 34,771,048 สํารองเตียง 372 28,980,017 รวม 2,237,930 18,862,886,540 อุบัติเหตุฉุกเฉิน เด็กแรกเกิด 297,155 1,103,997,891 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
  • 12. กองทุน รายการ จํานวน (ราย) จ่ายชดเชย (บาท) สิทธิวาง ่ 22,983 201,231,787 อุบัติเหตุฉุกเฉินผูป่วยนอก ้ 460,044 263,120,449 สํารองเตียง (สิทธิว่าง) 44 5,245,937 ประกันสังคม 7 เดือน (คลอด) 1,986 10,387,436 ค่าพาหนะส่งต่อ (ผู้ป่วยนอก/สิทธิวาง) ่ 11,762 9,804,127 ประกันสังคม 3 เดือน 131 702,157 อุบัติเหตุตามข้อบังคับ ม.7 142 1,573,563 รวม 794,247 1,596,063,345 ค่าใช้จายสูง ่ Instrument-IP 107,977 1,213,711,541 ข้อเข่า 1,076 53,150,000 การใส่ขดลวดเพื่อขยายหลอดเลือดตีบ 3,341 111,753,838 โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา 1,174 10,280,873 การล้างไต/ฟอกเลือด 9,301 17,738,207 การรักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง 13 6,000 โรคติดเชื้อไวรัสทีจอประสาทตา ่ 101 600,000 รวม 122,983 1,407,240,458 ที่มา : ฐานข้อมูลชดเชยค่าบริการ ณ มีนาคม 2554 สปสช., วิเคราะห์โดยสํานักบริหารการชดเชยค่าบริการ 1.2.3 การใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนทุกสิทธิในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเป็นการจัดบริการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรคสําหรับบุคคลและครอบครัวมุ่งเน้นให้มีการการจายงบประมาณลงสู่พื้นที่อย่างเป็นธรรม ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้หน่วยบริการและสถานพยาบาลมีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการให้บริการมากขึ้นโดยจ่ายเงินตาม ผลงานและความครอบคลุมของการให้บริการ เพื่อให้เกิดการให้บริการอย่างแท้จริงและสามารถผลักดันให้มีการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพ 1) งานบริการสร้างเสริมสุขภาพ ผลการดําเนินงาน ณ มีนาคม 2554 ผลการให้บริการส่งเสริมและป้องกันโรคในด้านต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ เป้าหมาย พบว่า งานอนามัยมารดา ได้แก่ ฝากครรภ์อายุต่ํากว่า 12 สัปดาห์ มีผลงานร้อยละ 50.21 งานอนามัยเด็ก ได้แก่ การตรวจคัดกรอง TSH ในเด็กทารกแรกเกิด และความครอบคลุมการรับวัคซีน มีผลงานร้อยละ 31.94 และ 36.11 การตรวจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก, การคัดกรองความเสี่ยง และการคัดกรอง Depression ผลงานคิดเป็นร้อยละ 26.09, 54.98 และ 6.46 ตามลําดับ รายละเอียด ดังตารางที่ 6 ตารางที่ 6 งานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2554 (มีนาคม) ประเภทบริการ เป้าหมาย (ราย) ผลงาน (ราย) ผลงาน (ร้อยละ) 1. อนามัยมารดา 1) ฝากครรภ์อายุต่ํากว่า 12 สัปดาห์ 131,846 66,200 50.21 2) ฝากครรภ์สิทธิประกันสังคม 151,057 24,113 15.96 3) ตรวจหลังคลอด 228,658 43,921 19.21 4) วางแผนครอบครัว 358,341 103,618 28.92 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
  • 13. ประเภทบริการ เป้าหมาย (ราย) ผลงาน (ราย) ผลงาน (ร้อยละ) 2. อนามัยเด็ก 1) ตรวจคัดกรอง TSH ในเด็กทารกแรกเกิด 653,506 208,728 31.94 2) ความครอบคลุมการรับวัคซีน 6,249,913 2,256,578 36.11 3. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2,057,463 536,736 26.09 1) ร้อยละความครอบคลุม 15,197,565 536,736 3.53 4. คัดกรองความเสี่ยง 7,048,958 3,875,240 54.98 5. การคัดกรอง Depression 58,086 1,048 6.46 ที่มา : ฐานข้อมูล PP screening, Papsmear, ผู้ป่วยในรายบุคคล สํานักบริหารสารสนเทศการประกัน, สํานักบริหารชดเชยค่าบริการ มี.ค. 2554 สปสช., วิเคราะห์โดยกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หมายเหตุ : * ปี 2549-2552 ประชากรเป้าหมายอายุ 30, 35, 40, 45, 50, 55, 60 ปี, ปี 2553-2554 ประชากรเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี 2) กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2554 จํานวนพื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นที่เข้าร่วม โครงการ รวมทั้งสิ้น 7,423 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.46 ของพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 7,776 แห่ง ครอบคลุมประชากร 51 ล้านคน ได้รับเงินสมทบตั้งแต่ปี 2549 – 2553 จาก สปสช. ร้อยละ 72.66 จาก อบต./เทศบาล ร้อยละ 24.92 ที่เหลือเป็น การสมทบจากชุมชนและอื่นๆ) 1.2.3 การใช้บริการฟื้นฟูคนพิการ เพื่อช่วยให้คนพิการได้มีโอกาสเข้ารับบริการด้านสุขภาพและได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น การดําเนินงานภายใต้งบฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ณ พฤษภาคม 2554 มีผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพจดทะเบียน ทั้งสิ้น 796,468 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.67 ของประชากร UC การสนับสนุนค่าบริการฟื้นฟูฯ และจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยสําหรับคนพิการ มีผู้พิการได้รับการสนับสนุน อุปกรณ์ ทั้งสิ้น 10,150 คน/17,769 ชิ้น เฉลี่ยผู้พิการได้รับอุปกรณ์สนับสนุน 1.8 ชิ้นต่อคน อุปกรณ์ที่มีการใช้สูงสุด ได้แก่ เท้าเทียมที่ต้องใส่ร่วมกับขาเทียมแบบต่าง ๆ, สายเข็มขัดเทียม และแป้นสายเข็มขัด ร้อยละ 17.49, 14.78 และ 9.33 ตามลําดับ ส่วนอุปกรณ์ที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อชิ้นสูงสุด คือ รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทําด้วยโลหะ แบบปรับให้เหมาะสมกับ ความพิการได้, เบ้าขาเทียมเหนือเข่า และรถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทําด้วยโลหะ แบบปรับไม่ได้ จํานวน 5,498, 4,453 และ 4,452 บาท ตามลําดับ ด้านบริการฟื้นฟูฯ มีจํานวนผู้ใช้บริการ 164,719 คน/547,638 ครั้ง เฉลี่ยผู้พิการใช้บริการฟื้นฟู 3.3 ครั้งต่อ คน โดยกายภาพบําบัด, กิจกรรมบําบัด และจิตบําบัด มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ร้อยละ 52.02, 17.68 และ 9.77 ตามลําดับ ส่วนกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งมากที่สุด คือ Phenol block, จิตบําบัด และพฤติกรรมบําบัด จํานวน 480, 295 และ 293 บาท ตามลําดับ 1.2.4 การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ในปีงบประมาณ 2554 การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี และสามารถ ดูแลสุขภาพตนเองได้ มีหน่วยบริการปฐมภูมิที่ได้รับการตรวจประเมินขึ้นทะเบียน จํานวน 11,299 แห่ง ผ่านการตรวจ ประเมิน (ผ่านและผ่านแบบมีเงื่อนไข) จํานวน 8,622 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.31 ส่วนใหญ่เป็นหน่วยบริการสังกัดกระทรวง สาธารณสุข ร้อยละ 94.46 (ของจํานวนผ่านเกณฑ์) และเป็นที่น่ายินดีที่สปสช.เขตส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ครบหนึ่งร้อย เปอร์เซ็นต์ มีถึง 7 แห่ง และอีก 6 แห่ง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 89-99 ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 5/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
  • 14. ด้านก ่ม/พัฒนา าลังคนในระ การเพิ ากํ ะบบบริการปฐม มิ มีโรงพยาบาลชุมชนเข้าร่วมเป็นสถาบัันสมทบ จํานวน มภู 45 แหง สถาบันหลัก ่สนับสนุนวิช ห่ กที ชาการ จํานวน 13 แห่ง (คณะะแพทย์ฯ 4 แหง/รพศ.สังกัด สธ.9 แห่ง) โดย แพทย์ประจํา ห่ ยมี จํ บ้านและแพทย์ปฏิบัติงานที่ได้รับกา ติ ารอบรมเวชศาสตร์ครอบครัวเพิ่มขึ้น ในปี 2 จํานวน 6 คน จากจํานวน 11 คนในปี 2553 61 น 2550 ในปี 2554 พ พยาบาลวิชาชีพ ่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ พที รปฐมภูมิ และในโรงพยาบาลสงเสิรมสุขภาพ าบล (รพ.สต ส่ พตํ ต.) 7,689 แห่ง (ร้อยละ 77.87) รวมจํานวน 10,274 คน และในจํานวนนี้ผ่านการ 9 า รอบรมพยาบาล ลเวชปฏิบัติทั่วไป (NP) จํานวน ไ 7,415 คน (ร้อยละ 72.17) ในปี 2 ได้สนับส นนักกายภาพ าบัดให้ปฏิบัติงานในโรงพย 5 2553 สนุ พบํ บั ยาบาลชุมชน จํานวน 130 คน จ รวมเป็น 658 คน เพิมขึ้นจากปี 2550 ซึ่งมีจํานวน 381 (ร้อยละ 72.70) ป็ พิ่ น 1.2.5 การใชบริการตติยภูมิเฉพาะด้าน ช้ ผลกา าเนินงาน ณ ธันวาคม 25 ารดํ 553 การใช้บริการตติยภูมิเฉพาะด้าน โด บ ดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอ อง (Strok โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Stroke Infa ke), arction), โรค ามเนื้อหัวใ คกล้ ใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acut ย te Myoc ction: AMI) และโรคกล้ามเ ้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด ST-elev cardial Infarc เนื ลื นชนิ vation: STEM เปรียบเทียบ MI) ไตรมาาสแรก ปี 2553 กับ ปี 2554 พบว่า มีอตราการับไว้รัักษาในรพ.ต่อ 4 อั ร อประชากรแสน เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท นคน กื ในขณ ่อัตราป่วยตายลดลง ยกเว้น ณะที Stro อย่างไรก็ตาม อัตราการ รับยาละลา ่มเลือดเพิ่มขึ้นทั้ง Strok oke ต รได้ ายลิ ke Infarc และ STE รายละเอีย ดังแผนภูมที่ 1 ction EMI ยด ที ิ แผนภูมิที่ 1 เปรียบเ ยบอัตราการ บไว้รักษาในร ภู เที รรั troke, Stroke Infarction, AMI & STEM ไตรมาสแร รพ.ในผู้ป่วย St e MI รก ปี 2553 กับ ปี 2554 3 60.00  ไต ตรมาส 1-53 49.13 50.00  45.08 ไต ตรมาส 1-54 อัตราตอปชก.แสนคน 40.00  30.00  27.61 24.9 95 21 1.96 19.66 20.00  10.00  6. .38 6.32 ‐ โรคเฉ ฉพาะดาน Stroke  Strok ke infarction AMI STEMI ที่มา : ฐานข้อมูลผู้ป่วยใ ในรายบุคคล ณ ธันวาคม 2553/ /2554 สํานักบริหารสารสนเทศก ห การประกัน สปสช วิเคราะห์โดยสํานักพัฒนา ช., คุณภาพ การ พบริ 1.2.6 การใชบริการแพทยแผนไทย ช้ ย์ ผลการ าเนินงาน ณ มีนาคม 2554 มีผู้รับบริการ รดํ 4 รแพทย์แผนไทย ทั้งสิ้น 293,6 คน/964,1 ครั้ง เพิ่มขึ้ึน ย 673 180 จากไตตรมาสแรก ร้อย 14.54 คน ยละ น/18.72 ครั้ง เฉลี่ยใช้บริการแ แผนไทย 3.3 ครั้งต่อคน ส่วนใหญ่ไปรัับบริการที่สถานี แพทย์ น อนามััย และโรงพยา าบาลชุมชน ร้อ 71.60 แ 25.42 มีหน่วยบริการที่เข้าร่วมให้บริก จํานวน 2,,621 แห่ง (เป็น อยละ และ ที การ หน่วยบริการประจํา 728 แห่ง ร้อย 28.27 และหน่วยบริการ ยละ รปฐมภูมิ 1,893 แห่ง ร้อยละ 72.22) ประเภ 3 ภทการให้บริกา าร ได้แก่ นวด, ประคบ และอบสมุนไพ ร้อยละ 54.01, 35.83 และ 10.17 ตา าดับ นอกจ ้ ยังมีแม่หลังคลอดที่ได้รับ พร แ ามลํ จากนี ห ผลการดาเนินงานสร้างหลกประกันสุขภาพ วนหน้า ดํ ลั พถ้ 6/28 ปีงบปร ระมาณ 2554 (1 ต 53 – 31 มี.ค 54) ต.ค. ค.
  • 15. ฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด มารับบบริการ จํานวน 5,656 คน/19,657 ครั้ง เฉลี่ยใช้บริการ 3.5 ครั้งต่อคน ซึ่งส่วนมากไปใช้ บริการที่โรงพยาบาลชุมชน 1.2.7 การใช้บริการโรคเฉพาะ การบริหารจัดการโรคเฉพาะและบริการเฉพาะ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับการบริการให้มีคุณภาพ และเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชน โดยเฉพาะโรคหรือบริการที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงมากและ/หรือต้องได้รับบริการต่อเนื่อง ทั้งนี้หน่วยบริการที่ดําเนินการให้บริการ ได้แก่ หน่วยบริการประจําและสถานบริการอื่นตามที่ สปสช.กําหนด ณ เดือน มีนาคม 2554 สรุปความก้าวหน้าและผลการดําเนินงาน ได้ดังนี้ 1) โรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) เป็นโรคพันธุกรรมที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลด ภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มีผู้ป่วย จํานวน 874 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.38 ของ เป้าหมาย 936 ราย 2) วัณโรค (Tuberculosis) มีผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย ติดตาม และดูแลรักษา จํานวน 25,529 ราย เป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ 13,423 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาวัณโรค (สูตร CAT 1-4) จํานวน 22,971 ราย ในผู้ป่วยจํานวนนี้ได้รับยาสูตร CAT-13 จํานวน 20,635 ราย (ร้อยละ 80.51 ของผู้รับยา) ได้รับการตรวจเพาะเชื้อและ ทดสอบความไวต่อเชื้อดื้อยาวัณโรค 858 ราย (เฉพาะศูนย์ตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า) ได้รับติดตาม กํากับการรับประทานยาด้วยวิธี DOTs อย่างน้อย 1 ครั้งของการติดตามโรค จํานวน 15,458 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.55 ของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการ ตรวจคัดกรองวัณโรค จํานวน 21,213 ราย และมีอัตราการเปลี่ยนของเสมหะในระยะเข้มข้นจากบวกเป็นลบ ร้อยละ 93 3) โรคหืด (Asthma) การบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหืดมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยโรคหืดได้รับการ ดูแล รักษา ตามแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันการกําเริบของโรค โดยมีรูปแบบบริการ เพื่อสร้างกลไกการเข้าถึง ยา สูดพ่น อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ปัจจุบันมีหน่วยบริการที่มีการจัดตั้ง คลินิกดูแลผู้ป่วยโรคหืดแบบง่าย ครบทั้ง 13 สปสช.เขต รวมทั้งสิ้น 959 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.76 ของหน่วยบริการ ทั้งหมดที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการใช้บริการของผู้ป่วย ในไตรมาสแรก จํานวน 29,354 คน/70,315 ครั้ง เฉลี่ยใช้บริการคนละ 2.4 ครั้ง การให้บริการตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2553 ประเมินจากข้อมูลบริการคลินิกโรคหืดอย่างง่าย (Easy Asthma Clinic) จํานวน 35,279 ราย จากโรงพยาบาล 478 แห่ง พบว่า ในแต่ละแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด มากกว่าร้อยละ 70 ยกเว้น การสอนและให้คําแนะนํา เรื่องบุหรี่ และยังดําเนินการอย่างต่อเนื่องในปี 2554 ต่อไป รายละเอียด ดังตารางที่ 7 ตารางที่ 7 การให้บริการตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2550 และ 2553 การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2553 (EAC) การประเมินสมรรถภาพปอด 87.76 การรักษาด้วยยา ICS 79.43 การสอนและประเมินการใช้สูดยา 78.49 การซักประวัติอาการหอบในเวลากลางวัน 99.31 การซักประวัติอาการหอบในเวลากลางคืน 99.33 3 Category 1 (CAT1) : 2HRZE/4HR หมายถึง 2 เดือนแรกผูปวยจะไดยา 4 ขนานไดแก Isoniazid (H) Rifampicin (R) Pyrazinamide (Z) และ Ethambutol (E) รับประทานทุกวัน ระยะ 4 เดือนที่เหลือจะไดยา 2 ขนานคือ Isoniazid และ Rifampicin ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 7/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)
  • 16. การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2553 (EAC) การซักประวัติความถี่การใช้ยาขยายหลอดลม 99.34 การซักประวัติการเกิดอาการกําเริบจนต้องไปพบแพทย์ 98.70 การสอนและให้คําแนะนําเรื่องบุหรี่ 62.26 ที่มา : ข้อมูลจากการประเมินการบริการคลินิกโรคหืด ณ มีนาคม 2554 สปสช., วิเคราะห์โดยสํานักพัฒนาคุณภาพบริการ 4) การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและ ครอบครัว ได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในชุมชนและที่บ้าน อย่างเหมาะสม บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการปวด ด้วยยามอร์ฟีนตามความเหมาะสม และพัฒนารูปแบบเครือข่าย บริการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง จากหน่วยบริการ ถึงที่บ้านและชุมชน มีหน่วยบริการแม่ข่ายที่เข้า ร่วมโครงการครบทั้ง 13 สปสช.เขต รวมทั้งสิ้น 30 แห่ง และมีหน่วยบริการที่เป็นลูกข่าย จํานวน 165 แห่ง 5) การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ผู้ป่วยตาต้อกระจก (Cataract) ในผู้ป่วยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ณ กุมภาพันธ์ 2554 มีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ไปแล้ว จํานวน 48,869 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.09 ของเป้าหมาย 80,000 ราย 1.2.8 การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ ในปีงบประมาณ 2554 สปสช. ได้ดําเนินการบริหารจัดการยาจําเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย เป็นการสนับสนุนยารายการต่างๆ ได้แก่ ยาที่มีการประกาศใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (Compulsory licensing: CL) ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาจําเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึงอื่นๆ เช่น ยาจิตเวช ยากําพร้า เป็นต้น ผลการดําเนินงาน ในไตรมาสสอง มีดังนี้ 1) การเข้าถึงยา 1.1) ยาบัญชีจ(2) เป็นรายการยาจําเป็นที่มีราคาสูงมากจํานวนผู้ป่วยไม่มากแต่มีปัญหาในการ เข้าถึง จํานวนทั้งสิ้น 3,050 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.84 ของเป้าหมาย 4,305 ราย ได้แก่ ยามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย (Letrozole), ยามะเร็งต่อมลูกหมาก-มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต-โรค ภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ ร้อยละ 53.80, 17.25 และ 12.98 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการใช้ยา พบว่า ยามะเร็งต่อมลูกหมาก- มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต-โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ มีมูลค่ายา สูงสุด 63.73 ล้านบาท (ร้อยละ 37.65) รองลงมาคือ ยา Liposomal ampho 36.73 ล้านบาท (ร้อยละ 21.70) เมื่อ เปรียบเทียบหน่วยบริการเป้าหมายที่มีการเบิกจ่ายยาไปแล้ว พบว่า กลุ่มสถาบันมะเร็งเบิกจ่ายครบตามเป้าหมาย รองลงมา เป็นรพ.ศูนย์ ร้อยละ 96.00 และรพ.กลุ่มรพ.มหาวิทยาลัย ร้อยละ 92.86 ถ้าจําแนกตามสปสช.เขตที่มีการใช้ยา พบว่า สปสช.เขตกรุงเทพมหานคร, เขตนครราชสีมา และเขตระยอง มีการเบิกจ่ายยาสูงสุด ร้อยละ 49.7, 6.01 และ 5.71 ตามลําดับ 1.2) ยาจิตเวช ได้แก่ ยาสําหรับผู้ป่วยจิตเภท, อารมณ์แปรปรวน, โรคซึมเศร้า (ในปี 2553) ส่วนใน ปีงบประมาณ 2554 ได้เพิ่มยาสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต และPDD (Autistic and Other pervasive developmental disordes4) มีผู้เข้าถึงยาสะสม ตั้งแต่ กรกฎาคม 2553 – มีนาคม 2554 ทั้งสิ้น 16,351 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.70 ของเป้าหมาย 119,371 ราย มูลค่ายาที่เบิกจ่ายไปแล้ว จํานวน 8.11 ล้านบาท กลุ่มหน่วยบริการที่มี มูลค่าการเบิกจ่ายยาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรพ.มหาวิทยาลัย, กลุ่มรพ.สังกัดกรมสุขภาพจิต และกลุ่มรพ.ศูนย์ ร้อยละ 92.31, 88.24 และ 49.45 4 ความผิดปกติของพัฒนาการรูปแบบหนึ่ง ที่มีความบกพร่องทางด้านทักษะสังคม ด้านการใช้ภาษาและการสื่อความหมาย หรือมีกิจกรรม ความสนใจ ค่อนข้างจํากัดเฉพาะเรื่อง แต่ไม่เข้าเกณฑ์การวินจฉัยของโรคอื่นๆ ในกลุ่มพีดีดี ิ ผลการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 8/28 ปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 53 – 31 มี.ค. 54)