SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 1
Baixar para ler offline
วิธีคิดในการคิดกระบวนระบบ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพัฒน์
1) คิดแบบปฏิจจสมุปบาท (Inter-dependent) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีวงแหวนหรือสัมพันธภาพ คือคิดแบบสืบสาวเหตุ
ปัจจัย จะอธิบายว่า สิ่งต่าง ๆ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ตัวเหตุจะมีหลายองค์ประกอบ เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดจะต้องอธิบายให้เป็น
ปัจจัยซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าจะไม่อธิบายว่า อะไรเป็นเหตุของอะไรโดยตรง คือ ไม่บอกว่าอะไรคือ first cause แต่จะ
อธิบายในแง่ของปัจจัยที่เป็น condition โดยอธิบายถึง origin และ because of ของสิ่งนั้น
2) คิดแบบขันธวิภังค์ (Analysis) เป็นการคิดแบบวิเคราะห์แยกแยะองค์ประกอบ ว่าคนประกอบด้วยขันธ์ 5 การแยกย่อย
ออกไปอย่างละเอียด เมื่อวิเคราะห์แล้ว จะเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน เช่น ชะลอม ถ้าดึงส่วนประกอบออกทีละเส้นจนหมดก็
จะไม่มีชะลอม
3) คิดแบบสามกระแส (Three Streams) คือคิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา เปรียบ
เหมือนน้ํา 3 สาย ที่ไหลออกจากน้ําตก น้ําที่ไหลนั้นไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแหลง น้ําจะมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ชีวิตของคนเราก็เป็น
เช่นนี้ เป็นอนิจจัง ถ้าเราศึกษาอย่างจริงจัง จะทําให้เข้าสภาวะสังคมว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีทฤษฎีนี้อยู่ในใจ จะ
ไม่เกิดทุกข์ สามารถเท่าทันต่อกระแส
4) คิดแบบอริยสัจ 4 (Problem Solving) คิดแบบแก้ปัญหา/แก้ทุกข์ คือการพิจารณาทุกข์ (ปัญหามีอะไรบ้าง) สมุทัย (เหตุอยู่
ที่ใด) นิโรธ (แนวทาง/เป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้) มรรค (พิจารณาวิธีการดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย) ซึ่งเรา
สามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาสิ่ง
ต่าง ๆ ได้
5) คิดแบบคุณค่าแท้-เทียม (True & Artificial Value) คิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ตัวอย่างคือ ถ้าสามารถรู้คุณค่าเทียม
ของปัจจัย 4 ได้ จะทําให้ประหยัดเงินไปได้มาก เช่น เสื้อผ้าราคาแพง ใส่ 3 วัน ก็มีกลิ่นเหมือกับเสื้อผ้าราคาถูก จึงควร
พิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงด้วย
6) คิดแบบกุศลภาวนา (Moral Development) คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุความดี คือการบําเพ็ญความดี ซึ่งจะต้อง
กระทําให้ถึงที่สุด อย่าหยุดนิ่ง อย่าสันโดษในเรื่องทําความดี เวลาความเพียรต้องไม่ย่อท้อ เวลาศึกษาหาความรู้ ทําวิจัยต้อง
ทุ่มเทเต็มที่ ไม่เฉยเมย หรือถือสันโดษ ในขณะทํางานหรือทําความดี
7) คิดแบบสามมิติ (Three Dimensions) คือการพิจารณาอะไรนั้น อย่าพิจารราเพียงด้านเดียว ต้องพิจารณาทั้งแม่ดี แม่เสีย
และพิจารณา วิธีเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างปลอดภัย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พิจารณาทั้งคุณ-โทษ-ทางออก
8) คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (Cause Effect Relation Theory) หรือทฤษฎีเสาสภา เป็นการคิดแบบสัตบุรุษ หรือมีสัปปุ
ริสธรรม อันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือให้รู้จักเหตุ (รู้หลักความจริง รู้กฎแห่งธรรมดา) รู้จักผล (รู้ความหมาย รู้ผลที่จะเกิด
สืบเนื่องจากการกระทํา) รู้จักตน (รู้ฐานะ กําลังความสามารถ คุณธรรม เป็นต้น) รู้จักประมาณ (คือความพอดี) รู้จักกาล (รู้
กาลเวลาอันเหมาะสม) รู้จักบริษัท (คือรู้จักชุมชนและที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น) และรู้จักบุคคล (รู้ความ
แตกต่างระหว่างบุคคลและรู้จักปฏิบัติต่อบุคคลนั้นด้วยดี) ก่อนที่จะทํางานอะไร
9) คิดแบบสติปัฏฐาน (Now Theory) หรือทฤษฎีจันทร์เพ็ญ คิดแบบอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องมีวิปัสสนากรรมฐานเป็น
เครื่องมือ เมื่อจะทําสิ่งใดต้องมีการตั้งสติ กําหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง
10) คิดแบบวิภัชชวาท (Dialectic Theory) คือคิดแบบด้าน แยกแยะประเด็นต่าง ๆ ไม่ทําแบบตาบอดคลําช้าง ที่มองแง่เดียว
การคิดแบบกระบวนการระบบดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฐิหรือความคิดที่ถูกต้อง อันเป็นก้าวสําคัญในการ
ดํารงชีวิตบนทางายกลาง สรุปรวมความแล้วก็คือ คิดถูกทาง ถูกวิธี มีเหตุผล และการคิดนั้นก่อให้เกิดการกระทําที่เป็นกุศล
แหล่งที่มา http://www.ldinet.org/2008/index.php?option=com_content&task=view&id=70&Itemid=32 เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2556

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a วิธีคิดในการคิดกระบวนระบบ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพัฒน์ (6)

9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
ThinkingThinking
Thinking
 

Mais de Monthon Sorakraikitikul

ความรู้ด้านเทคนิควิธีสอน
ความรู้ด้านเทคนิควิธีสอนความรู้ด้านเทคนิควิธีสอน
ความรู้ด้านเทคนิควิธีสอน
Monthon Sorakraikitikul
 
File เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญาFile เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญา
Monthon Sorakraikitikul
 

Mais de Monthon Sorakraikitikul (19)

New knowledge managemnet_infographic
New knowledge managemnet_infographicNew knowledge managemnet_infographic
New knowledge managemnet_infographic
 
Effective Teacher Education
Effective Teacher EducationEffective Teacher Education
Effective Teacher Education
 
Mba workshop thai version2
Mba workshop thai version2Mba workshop thai version2
Mba workshop thai version2
 
Workplace Spirituality
Workplace Spirituality Workplace Spirituality
Workplace Spirituality
 
Ebooks 6897
Ebooks 6897Ebooks 6897
Ebooks 6897
 
Qlf forum may2014
Qlf forum may2014Qlf forum may2014
Qlf forum may2014
 
Ed poster pim 14_mar2014
Ed poster  pim 14_mar2014Ed poster  pim 14_mar2014
Ed poster pim 14_mar2014
 
SCB Young Talent Camp 2014
SCB Young Talent Camp 2014SCB Young Talent Camp 2014
SCB Young Talent Camp 2014
 
Adecco thailand-salary-guide-2013
Adecco thailand-salary-guide-2013Adecco thailand-salary-guide-2013
Adecco thailand-salary-guide-2013
 
ความรู้ด้านเทคนิควิธีสอน
ความรู้ด้านเทคนิควิธีสอนความรู้ด้านเทคนิควิธีสอน
ความรู้ด้านเทคนิควิธีสอน
 
Brochure nov2013_Developing Learning Skills in the 21st Century
Brochure nov2013_Developing Learning Skills in the 21st CenturyBrochure nov2013_Developing Learning Skills in the 21st Century
Brochure nov2013_Developing Learning Skills in the 21st Century
 
Engaging & Leading A Multi Generation Workforce
Engaging & Leading A Multi Generation WorkforceEngaging & Leading A Multi Generation Workforce
Engaging & Leading A Multi Generation Workforce
 
Strategic planning
Strategic planningStrategic planning
Strategic planning
 
File teacher coachingmentoring
File teacher coachingmentoringFile teacher coachingmentoring
File teacher coachingmentoring
 
File เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญาFile เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญา
 
โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่น
โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นโรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่น
โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่น
 
21CSK Driving Concepts
21CSK Driving Concepts21CSK Driving Concepts
21CSK Driving Concepts
 
6 กรอบคิดของการมีศีลธรรม
6 กรอบคิดของการมีศีลธรรม6 กรอบคิดของการมีศีลธรรม
6 กรอบคิดของการมีศีลธรรม
 
ครูเรฟแนะนำครูไทย
ครูเรฟแนะนำครูไทยครูเรฟแนะนำครูไทย
ครูเรฟแนะนำครูไทย
 

วิธีคิดในการคิดกระบวนระบบ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพัฒน์

  • 1. วิธีคิดในการคิดกระบวนระบบ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพัฒน์ 1) คิดแบบปฏิจจสมุปบาท (Inter-dependent) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีวงแหวนหรือสัมพันธภาพ คือคิดแบบสืบสาวเหตุ ปัจจัย จะอธิบายว่า สิ่งต่าง ๆ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ตัวเหตุจะมีหลายองค์ประกอบ เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดจะต้องอธิบายให้เป็น ปัจจัยซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าจะไม่อธิบายว่า อะไรเป็นเหตุของอะไรโดยตรง คือ ไม่บอกว่าอะไรคือ first cause แต่จะ อธิบายในแง่ของปัจจัยที่เป็น condition โดยอธิบายถึง origin และ because of ของสิ่งนั้น 2) คิดแบบขันธวิภังค์ (Analysis) เป็นการคิดแบบวิเคราะห์แยกแยะองค์ประกอบ ว่าคนประกอบด้วยขันธ์ 5 การแยกย่อย ออกไปอย่างละเอียด เมื่อวิเคราะห์แล้ว จะเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน เช่น ชะลอม ถ้าดึงส่วนประกอบออกทีละเส้นจนหมดก็ จะไม่มีชะลอม 3) คิดแบบสามกระแส (Three Streams) คือคิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา เปรียบ เหมือนน้ํา 3 สาย ที่ไหลออกจากน้ําตก น้ําที่ไหลนั้นไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแหลง น้ําจะมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ชีวิตของคนเราก็เป็น เช่นนี้ เป็นอนิจจัง ถ้าเราศึกษาอย่างจริงจัง จะทําให้เข้าสภาวะสังคมว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีทฤษฎีนี้อยู่ในใจ จะ ไม่เกิดทุกข์ สามารถเท่าทันต่อกระแส 4) คิดแบบอริยสัจ 4 (Problem Solving) คิดแบบแก้ปัญหา/แก้ทุกข์ คือการพิจารณาทุกข์ (ปัญหามีอะไรบ้าง) สมุทัย (เหตุอยู่ ที่ใด) นิโรธ (แนวทาง/เป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้) มรรค (พิจารณาวิธีการดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย) ซึ่งเรา สามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาสิ่ง ต่าง ๆ ได้ 5) คิดแบบคุณค่าแท้-เทียม (True & Artificial Value) คิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ตัวอย่างคือ ถ้าสามารถรู้คุณค่าเทียม ของปัจจัย 4 ได้ จะทําให้ประหยัดเงินไปได้มาก เช่น เสื้อผ้าราคาแพง ใส่ 3 วัน ก็มีกลิ่นเหมือกับเสื้อผ้าราคาถูก จึงควร พิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงด้วย 6) คิดแบบกุศลภาวนา (Moral Development) คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุความดี คือการบําเพ็ญความดี ซึ่งจะต้อง กระทําให้ถึงที่สุด อย่าหยุดนิ่ง อย่าสันโดษในเรื่องทําความดี เวลาความเพียรต้องไม่ย่อท้อ เวลาศึกษาหาความรู้ ทําวิจัยต้อง ทุ่มเทเต็มที่ ไม่เฉยเมย หรือถือสันโดษ ในขณะทํางานหรือทําความดี 7) คิดแบบสามมิติ (Three Dimensions) คือการพิจารณาอะไรนั้น อย่าพิจารราเพียงด้านเดียว ต้องพิจารณาทั้งแม่ดี แม่เสีย และพิจารณา วิธีเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างปลอดภัย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พิจารณาทั้งคุณ-โทษ-ทางออก 8) คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (Cause Effect Relation Theory) หรือทฤษฎีเสาสภา เป็นการคิดแบบสัตบุรุษ หรือมีสัปปุ ริสธรรม อันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือให้รู้จักเหตุ (รู้หลักความจริง รู้กฎแห่งธรรมดา) รู้จักผล (รู้ความหมาย รู้ผลที่จะเกิด สืบเนื่องจากการกระทํา) รู้จักตน (รู้ฐานะ กําลังความสามารถ คุณธรรม เป็นต้น) รู้จักประมาณ (คือความพอดี) รู้จักกาล (รู้ กาลเวลาอันเหมาะสม) รู้จักบริษัท (คือรู้จักชุมชนและที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น) และรู้จักบุคคล (รู้ความ แตกต่างระหว่างบุคคลและรู้จักปฏิบัติต่อบุคคลนั้นด้วยดี) ก่อนที่จะทํางานอะไร 9) คิดแบบสติปัฏฐาน (Now Theory) หรือทฤษฎีจันทร์เพ็ญ คิดแบบอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องมีวิปัสสนากรรมฐานเป็น เครื่องมือ เมื่อจะทําสิ่งใดต้องมีการตั้งสติ กําหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง 10) คิดแบบวิภัชชวาท (Dialectic Theory) คือคิดแบบด้าน แยกแยะประเด็นต่าง ๆ ไม่ทําแบบตาบอดคลําช้าง ที่มองแง่เดียว การคิดแบบกระบวนการระบบดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฐิหรือความคิดที่ถูกต้อง อันเป็นก้าวสําคัญในการ ดํารงชีวิตบนทางายกลาง สรุปรวมความแล้วก็คือ คิดถูกทาง ถูกวิธี มีเหตุผล และการคิดนั้นก่อให้เกิดการกระทําที่เป็นกุศล แหล่งที่มา http://www.ldinet.org/2008/index.php?option=com_content&task=view&id=70&Itemid=32 เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2556