SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 7
Baixar para ler offline
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๑๘ เขมาเถริยาปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
๘. เขมาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเขมาเถรี
เกริ่นนา
พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก
(พระเขมาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘๙] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นา เสด็จอุบัติขึ้น
แล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป
[๒๙๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ ในกรุงหงสวดี เป็น
ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๒๙๑] หม่อมฉันเข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่นั้นหม่อมฉัน
เกิดความเลื่อมใส ได้ถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ
[๒๙๒] หม่อมฉันได้วิงวอนมารดาบิดาแล้ว จึงทูลนิมนต์พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นาวิเศษ พร้อมทั้ง
สาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๒๙๓] เมื่อ ๗ วันล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง ซึ่ง
สูงสุดฝ่ายภิกษุณีผู้มีปัญญามากในเอตทัคคะ
[๒๙๔] หม่อมฉันได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว มีความยินดี ทาสักการะพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระองค์นั้นอีก แล้วหมอบลงปรารถนาตาแหน่งนั้น
[๒๙๕] แต่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นตรัสกะหม่อมฉันว่า “ความปรารถนาของเธอจักสาเร็จ
สักการะที่เธอทาแล้วแก่เรา พร้อมทั้งพระสงฆ์นี้ มีผลประมาณไม่ได้
[๒๙๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรง
สมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๙๗] สตรีผู้นี้ จักเป็นภิกษุณีมีนามว่าเขมา เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็น
โอรสที่ธรรมเนรมิต จักได้ตาแหน่งอันเลิศนี้ ”
2
[๒๙๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น หม่อมฉันละกายมนุษย์
แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๙๙] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา จุติจากสวรรค์ชั้นยา
มานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จุติจาก
สวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๓๐๐] เพราะอานาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใดๆ ในภพนั้นๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของ
พระราชา
[๓๐๑] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าจักรพรรดิ และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน
[๓๐๒] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและในมนุษยโลก มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัป
เป็นอันมาก
[๓๐๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก งดงาม
น่าทัศนายิ่งนัก ทรงเห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๐๔] หม่อมฉันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
ได้ฟังธรรมที่ประณีตแล้วจึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๓๐๕] ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในศาสนาของพระวีรเจ้าพระองค์นั้นตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี ประกอบ
ความเพียร เป็นพหูสูต
[๓๐๖] ฉลาดในปัจจยาการ ชานาญในสัจจะ ๔ มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมไพเราะ ปฏิบัติตาม
สัตถุศาสน์ (สัตถุศาสน์ ในที่นี้ หมายถึง สัจจะ ๔ กัมมัฏฐาน และภาวนา)
[๓๐๗] ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ หม่อมฉันจุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
เป็นผู้มียศ เสวยสมบัติอยู่ในภพนั้นและภพอื่น
[๓๐๘] หม่อมฉันเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มีโภคะมาก มีทรัพย์มาก มีปัญญา มีรูปงาม มีบริวารชนที่
เชื่อฟัง
[๓๐๙] ด้วยกรรมและความเพียรในศาสนาของพระชินเจ้านั้น หม่อมฉันเป็นที่รักดังดวงใจ(ของ
สามี) สมบัติทุกอย่างหม่อมฉันได้โดยง่าย
[๓๑๐] ด้วยผลแห่งการปฏิบัติของหม่อมฉัน เมื่อหม่อมฉันอยู่ ณ ที่ใดๆ ผู้ที่เป็นสามีหม่อมฉันก็ไม่
ดูหมิ่น ทั้งใครอื่นๆ ก็ไม่ดูหมิ่นหม่อมฉัน
[๓๑๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่าโกนา
คมนะ ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๑๒] ครั้งนั้นเอง ชน ๓ คน คือนางธนัญชานีพราหมณี พระนางสุเมธาเถรี และหม่อมฉัน เป็น
คนของตระกูลที่สาเร็จความประสงค์ทุกอย่างในกรุงพาราณสี
[๓๑๓] หม่อมฉันทั้งหลายได้ถวายสังฆารามแก่พระมุนีหลายพันองค์ และได้สร้างวิหารอุทิศถวาย
พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสงฆ์สาวก
3
[๓๑๔] หม่อมฉันทั้งหลายทั้งหมดพากันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถึง
ความเป็นผู้เลิศด้วยยศ และเมื่อเกิดในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
[๓๑๕] ในกัปนี้ เอง พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มี
พระยศยิ่งใหญ่ ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๑๖] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด ทรง
เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๑๗] หม่อมฉันเป็นธิดาคนโตของพระองค์มีนามปรากฏว่าสมณี ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้
เลิศแล้วพอใจการบรรพชา
[๓๑๘] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่
เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๓๑๙] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์ มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๓๒๐] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา (๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุ
ทาสิกา (๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา (๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๓๒๑] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด) คือ หม่อมฉัน ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑ พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑ และคนที่ ๗ เป็น
วิสาขามหาอุบาสิกา
[๓๒๒] บางครั้งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นดังดวงอาทิตย์ของนรชน ทรงแสดงธรรมเป็น
อัศจรรย์ หม่อมฉันได้ฟังมหานิทานสูตร แล้วนามาศึกษาปฏิบัติอยู่
[๓๒๓] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น หม่อมฉันละ
กายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๒๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเป็นพระธิดาที่พอพระทัย รักใคร่ โปรดปรานของพระ
เจ้ามัททราช ในสากลนครที่อุดมสมบูรณ์
[๓๒๕] พร้อมกับในกาลที่หม่อมฉันพอเกิดมา นครนั้นได้มีแต่ความเกษมสาราญ เพราะฉะนั้น
นามว่าเขมา จึงเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันโดยคุณ
[๓๒๖] เมื่อหม่อมฉันเจริญวัยเป็นสาว มีรูปร่างและผิวพรรณงดงาม พระราชบิดาก็โปรดประทาน
หม่อมฉันแก่พระเจ้าพิมพิสาร
[๓๒๗] หม่อมฉันเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามีนั้น ยินดีแต่ในการบารุงรูปโฉม ไม่เอื้อเฟื้ อ
อย่างมากด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้ามีปกติกล่าวโทษของรูป
[๓๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงโปรดให้นักขับ ขับร้องเพลงพรรณนาพระเวฬุวันเจาะจง
หม่อมฉัน เพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันให้มีความรู้สึก
[๓๒๙] หม่อมฉันสาคัญว่าพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระสุคต เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ผู้ใด
ยังมิได้เห็น ผู้นั้นก็จัดว่ายังไม่ได้เห็นสวนนันทวัน
4
[๓๓๐] พระเวฬุวัน ซึ่งเป็นสถานที่น่าเพลิดเพลินยินดีของนรชน ผู้ใดได้เห็นแล้ว ผู้นั้นเหมือนได้
เห็นสวนนันทวัน ซึ่งเป็นสถานที่เพลิดเพลินของท้าวอัมรินทราธิราช
[๓๓๑] ท้าวสักกเทวราชและเทพทั้งหลายละสวนนันทวันแล้ว ลงมาที่พื้นปฐพี เห็นพระเวฬุวันที่น่า
รื่นรมย์แล้ว ก็อัศจรรย์ใจ มิรู้เบื่อ
[๓๓๒] พระเวฬุวันเกิดขึ้นเพราะบุญของพระราชา อันบุญญานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าประดับแล้ว
ใครเล่าจะประมวลคุณแห่งพระเวฬุวันมากล่าวให้หมดสิ้นได้
[๓๓๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังความสาเร็จแห่งสมบัติของพระเวฬุวัน ที่เสนาะโสตไพเราะจับใจ
หม่อมฉัน ใคร่จะได้ชมอุทยานนั้นจึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ
[๓๓๔] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดส่งหม่อมฉัน ผู้มุ่งจะชมอุทยานนั้น ไปพร้อมด้วยบริวาร
เป็นจานวนมาก ด้วยพระดารัสว่า
[๓๓๕] “พระนางผู้มีโภคะเป็นอันมาก เชิญไปชมพระเวฬุวันซึ่งเป็นที่สบายตา ซึ่งเปล่งปลั่งด้วย
พระรัศมีของพระสุคต สว่างไสวด้วยพระสิริตลอดเวลา”
[๓๓๖] (หม่อมฉันทูลว่า) “เมื่อใดพระมุนีเสด็จเข้ามาทรงรับบิณฑบาต ยังกรุงราชคฤห์อันยอด
เยี่ยม เมื่อนั้น หม่อมฉันจะเข้าไปชมพระเวฬุวันมหาวิหาร”
[๓๓๗] ขณะนั้น พระเวฬุวันมหาวิหาร มีสวนดอกไม้ที่แย้มบาน มีเสียงหึ่งด้วยหมู่ภมรนานาชนิด
มีเสียงนกดุเหว่าร่าร้อง ทั้งหมู่นกยูงก็ราแพน
[๓๓๘] สงัดจากเสียงอย่างอื่น ไม่พลุกพล่าน ประดับไปด้วยที่จงกรมต่างๆ สะพรั่งไปด้วยแถวแห่ง
กุฎีและมณฑป เรียงรายไปด้วยพระโยคีผู้บาเพ็ญเพียร
[๓๓๙] หม่อมฉันเมื่อเดินเที่ยวไปได้รู้สึกว่า “นัยน์ตาของเรามีประโยชน์” ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็น
ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งประกอบกิจอยู่ แล้วคิดไปว่า
[๓๔๐] ‘ภิกษุนี้ ยังอยู่ในวัยรุ่นหนุ่ม มีรูปงาม น่าปรารถนา ปฏิบัติดีอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์เช่นนี้
เหมือนคนอยู่ในที่มืด
[๓๔๑] ภิกษุนี้ มีศีรษะโล้น ห่มผ้าสังฆาฏินั่งอยู่ที่โคนไม้ ละความยินดีที่เกิดจากอารมณ์เข้าฌานอยู่
หนอ
[๓๔๒] ธรรมดาคฤหัสถ์บริโภคกามอย่างมีความสุข แก่แล้วจึงควรประพฤติธรรมอันดีงามนี้ ใน
ภายหลังมิใช่หรือ’
[๓๔๓] หม่อมฉันเข้าใจว่า ‘พระคันธกุฎีที่ประทับแห่งพระชินเจ้าว่างเปล่า’ จึงเดินเข้าไป ได้เห็น
พระชินเจ้าผู้งดงามดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๓๔๔] ประทับสาราญอยู่พระองค์เดียว มีสตรีสาวสวยพัดวีอยู่ ครั้นแล้วจึงมีความคิดผิดอย่างนี้ ว่า
‘พระผู้มีพระภาคผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นี้ มิได้เศร้าหมองเลย
[๓๔๕] หญิงสาวนั้นก็มีรัศมีเปล่งปลั่งดังทองธรรมชาติ มีหน้าตางดงามดังปทุมชาติ ริมฝีปากก็
แดงดังผลตาลึงสุก ชาเลืองมองแต่น้อย เป็นที่ติดตาตรึงใจยิ่งนัก
5
[๓๔๖] มีลาแขนงามเหมือนทองคา วงหน้าสวย ถันทั้งคู่ก็เต่งตึงดังดอกบัวตูม มีเอวคอดกลมกลึง
สะโพกผึ่งผาย ลาขาน่ายินดี มีเครื่องประดับสวยงาม
[๓๔๗] ผ้าสไบมีสีแดงแวววาว นุ่งห่มผ้าเนื้ อเกลี้ยงสีเขียว มีรูปสมบัติที่ชวนชมโดยไม่รู้เบื่อ ประดับ
ด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด’
[๓๔๘] หม่อมฉันเห็นสตรีสาวนั้นแล้วจึงคิดว่า ‘โอ! สตรีสาวคนนี้ มีรูปงามเหลือเกิน เราไม่เคย
เห็นด้วยนัยน์ตาดวงนี้ ในที่ไหนๆ มาก่อนเลย’
[๓๔๙] ขณะนั้น สตรีสาวคนนั้นถูกชราย่ายี มีผิวพรรณแปลกไป ปากอ้า ฟันหัก ผมหงอก น้าลาย
ไหล หน้าไม่สะอาด
[๓๕๐] หูตึง นัยน์ตาฝ้าฟาง ถันหย่อนยาน ไม่งาม เหี่ยวย่นทั่วกาย มีศีรษะและร่างกายสั่นงันงก
[๓๕๑] หลังงอ มีไม้เท้าเป็นเพื่อนเดิน ร่างกายซูบผอมซีดไป สั่นงันงก ล้มลงแล้วหายใจถี่ๆ
[๓๕๒] จากนั้น ความสังเวชที่ก่อให้เกิดขนพองสยองเกล้า ซึ่งไม่เคยมีก็ได้มีแก่หม่อมฉันว่า ‘น่าติ
เตียน รูปไม่สะอาดที่พวกคนเขลายินดีกัน’
[๓๕๓] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา มีจิตเบิกบานโสมนัส ทอดพระเนตร
เห็นหม่อมฉัน ผู้มีใจสังเวชแล้ว จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า
[๓๕๔] “เขมา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย ไม่สะอาด เปื่อยเน่า (มีของเหลว) ไหลเข้าและ
ไหลออก ที่พวกคนเขลาพากันยินดียิ่งนัก
[๓๕๕] เธอจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว ด้วยอารมณ์ที่ไม่งามเถิด เธอจงเจริญกายคตา
สติมากไปด้วยความเบื่อหน่ายเถิด
[๓๕๖] รูปของหญิงนี้ เป็นฉันใด รูปกายของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น รูปกายของเธอนั้นเป็นฉันใด รูป
ของหญิงนี้ ก็เป็นฉันนั้น เธอจงคลายความยินดีพอใจในกายทั้งภายในและภายนอกเถิด
[๓๕๗] จงอบรมอนิมิตตวิโมกข์ (อนิมิตตวิโมกข์ หมายถึงความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณา
เห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือหลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตาแล้วถอนนิมิตเสียได้) จงละมานานุสัยเสีย
แต่นั้นเธอจักเป็นผู้อยู่อย่างสงบ เพราะมานานุสัยสงบระงับไป
[๓๕๘] ชนเหล่าใดกาหนัดเพราะราคะเกาะติดกระแสอยู่ เหมือนแมงมุมเกาะใยอยู่ตรงกลางที่ทา
ไว้เอง ชนเหล่านั้นตัดกระแสราคะนั้นแล้ว ไม่มีความอาลัย ละกามสุข หลีกไป”
[๓๕๙] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ทรงทราบว่า หม่อมฉันมีจิตควรแล้ว จึงทรง
แสดงมหานิทานสูตรเพื่อทรงแนะนาหม่อมฉัน
[๓๖๐] หม่อมฉันได้ฟังพระสูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว จึงระลึกถึงสัญญาในกาลก่อนได้ ตั้งมั่นอยู่ใน
สัญญานั้นแล้ว ชาระธรรมจักษุ (ธรรมจักษุ หมายถึงปัญญาในมรรค ๓ คือ โสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค) ให้หมดจด
[๓๖๑] ขณะนั้น หม่อมฉันหมอบลงแทบพระยุคลบาท ของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เพื่อประสงค์จะแสดงโทษ จึงได้กราบทูลคานี้ ว่า
6
[๓๖๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระมหากรุณา หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เสด็จข้ามวัฏฏ
สงสารได้แล้ว หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานอมตธรรม หม่อมฉันขอนอบน้อม
พระองค์
[๓๖๓] หม่อมฉันจมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ หลงใหลเพราะกามราคะ พระองค์ทรงแนะนาด้วยอุบายที่
ชอบ เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ทรงแนะนา
[๓๖๔] สัตว์ทั้งหลายพลัดพรากจากประโยชน์ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่เช่นพระองค์ จึงประสบมหันตทุกข์อยู่ในสงสารสาคร
[๓๖๕] ในกาลใดหม่อมฉันยังมิได้มาเข้าเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ผู้ไม่มีข้าศึกคือ
กิเลส ทรงถึงที่สุดแห่งมรณธรรม ทรงมีธรรมที่เป็นประโยชน์อย่างดี หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น
[๓๖๖] หม่อมฉันมัวแต่ยินดีในรูป ระแวงว่าพระองค์จะไม่เป็นประโยชน์จึงมิได้เข้าเฝ้า พระองค์ผู้
ทรงมีความเกื้อกูลมาก ทรงประทานพระธรรมที่ประเสริฐ หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น”
[๓๖๗] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา มีพระสุรเสียงไพเราะและก้องกังวาน
เมื่อจะทรงใช้น้าอมฤตรดหม่อมฉันจึงตรัสว่า “ลุกขึ้นเถิดเขมา”
[๓๖๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันประณตน้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า ทาประทักษิณพระองค์แล้ว
กลับไปเฝ้าพระราชา ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนแล้วกราบทูลคานี้ ว่า
[๓๖๙] “ข้าแต่พระองค์ผู้ย่ายีข้าศึก อุบายที่พระองค์ทรงดาริแล้วโดยชอบนี้ น่าอัศจรรย์ หม่อมฉัน
ผู้ปรารถนาจะเที่ยวชมพระเวฬุวันมหาวิหาร ได้เฝ้าพระมุนีผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังป่าแล้ว
[๓๗๐] ข้าแต่พระราชา ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัย หม่อมฉันผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระมุนีตรัส
สอนแล้ว จักบวชในศาสนาของพระมุนีผู้คงที่พระองค์นั้น”
[๓๗๑] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพิมพิสาร พระองค์นั้น ทรงประคองอัญชลีตรัสว่า
“พระน้องนาง พี่อนุญาตแก่เธอ ขอการบรรพชาจงสาเร็จแก่เธอเถิด”
[๓๗๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชมาแล้วผ่านไป ๗ เดือน เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป จึงมีใจ
สังเวช
[๓๗๓] มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ฉลาดในปัจจยาการ ข้ามพ้นโอฆะ (โอฆะ หมายถึง
สังกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี ๔ คือ (๑) กาโมฆะ (๒) ภโวฆะ (๓) ทิฏโฐฆะ (๔) อวิชโชฆะ)-
๔ แล้ว ก็ได้บรรลุ
อรหัตตผล
[๓๗๔] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชานาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[๓๗๕] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชาระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไป
แล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๗๖] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทาญาณที่บริสุทธิ์ของหม่อมฉัน ล้วนเกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า
7
[๓๗๗] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย (วิสุทธิทั้งหลาย หมายถึงสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ
และทิฏฐิวิสุทธิ) คล่องแคล่วในกถาวัตถุ รู้แจ้งนัยแห่งพระอภิธรรม เชี่ยวชาญในศาสนา
[๓๗๘] จากนั้น พระราชสวามีผู้ฉลาด ตรัสถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งในโตรณวัตถุ หม่อมฉันได้
วิสัชนาโดยควรแก่กถา
[๓๗๙] ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตแล้ว ทูลถามปัญหาเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทรง
พยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น เหมือนอย่างที่หม่อมฉันพยากรณ์
[๓๘๐] พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ใน
เอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก
[๓๘๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลส
เครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๘๒] การที่หม่อมฉันมาในสานักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว
[๓๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทาให้แจ้งแล้ว
คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า พระเขมาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เขมาเถริยาปทานที่ ๘ จบ
-------------------------

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a (๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf

๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
gueste13f2b
 

Semelhante a (๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf (20)

(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๙. วิธุรชาดก.pdf
๐๙. วิธุรชาดก.pdf๐๙. วิธุรชาดก.pdf
๐๙. วิธุรชาดก.pdf
 
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
 
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
 
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
 
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
 
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๒. ลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]).docx
๓๒. ลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]).docx๓๒. ลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]).docx
๓๒. ลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]).docx
 
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
 
๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
 
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๖. ปฐมนาวาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๖. ปฐมนาวาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๖. ปฐมนาวาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๖. ปฐมนาวาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

Mais de maruay songtanin

276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

Mais de maruay songtanin (20)

277 โรมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
277 โรมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx277 โรมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
277 โรมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
275 รุจิรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
275 รุจิรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx275 รุจิรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
275 รุจิรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
274 โลลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
272 พยัคฆชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
271 อุทปานทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
270 อุลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
267 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
265 ขุรัปปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๑๘ เขมาเถริยาปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ ๘. เขมาเถริยาปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระเขมาเถรี เกริ่นนา พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก (พระเขมาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๒๘๙] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นา เสด็จอุบัติขึ้น แล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป [๒๙๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ ในกรุงหงสวดี เป็น ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก [๒๙๑] หม่อมฉันเข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่นั้นหม่อมฉัน เกิดความเลื่อมใส ได้ถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ [๒๙๒] หม่อมฉันได้วิงวอนมารดาบิดาแล้ว จึงทูลนิมนต์พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นาวิเศษ พร้อมทั้ง สาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน [๒๙๓] เมื่อ ๗ วันล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง ซึ่ง สูงสุดฝ่ายภิกษุณีผู้มีปัญญามากในเอตทัคคะ [๒๙๔] หม่อมฉันได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว มีความยินดี ทาสักการะพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระองค์นั้นอีก แล้วหมอบลงปรารถนาตาแหน่งนั้น [๒๙๕] แต่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นตรัสกะหม่อมฉันว่า “ความปรารถนาของเธอจักสาเร็จ สักการะที่เธอทาแล้วแก่เรา พร้อมทั้งพระสงฆ์นี้ มีผลประมาณไม่ได้ [๒๙๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรง สมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๒๙๗] สตรีผู้นี้ จักเป็นภิกษุณีมีนามว่าเขมา เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็น โอรสที่ธรรมเนรมิต จักได้ตาแหน่งอันเลิศนี้ ”
  • 2. 2 [๒๙๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น หม่อมฉันละกายมนุษย์ แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๒๙๙] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา จุติจากสวรรค์ชั้นยา มานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จุติจาก สวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี [๓๐๐] เพราะอานาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใดๆ ในภพนั้นๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของ พระราชา [๓๐๑] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสี ของพระเจ้าจักรพรรดิ และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน [๓๐๒] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและในมนุษยโลก มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัป เป็นอันมาก [๓๐๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก งดงาม น่าทัศนายิ่งนัก ทรงเห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว [๓๐๔] หม่อมฉันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน ได้ฟังธรรมที่ประณีตแล้วจึงออกบวชเป็นบรรพชิต [๓๐๕] ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในศาสนาของพระวีรเจ้าพระองค์นั้นตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี ประกอบ ความเพียร เป็นพหูสูต [๓๐๖] ฉลาดในปัจจยาการ ชานาญในสัจจะ ๔ มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมไพเราะ ปฏิบัติตาม สัตถุศาสน์ (สัตถุศาสน์ ในที่นี้ หมายถึง สัจจะ ๔ กัมมัฏฐาน และภาวนา) [๓๐๗] ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ หม่อมฉันจุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นผู้มียศ เสวยสมบัติอยู่ในภพนั้นและภพอื่น [๓๐๘] หม่อมฉันเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มีโภคะมาก มีทรัพย์มาก มีปัญญา มีรูปงาม มีบริวารชนที่ เชื่อฟัง [๓๐๙] ด้วยกรรมและความเพียรในศาสนาของพระชินเจ้านั้น หม่อมฉันเป็นที่รักดังดวงใจ(ของ สามี) สมบัติทุกอย่างหม่อมฉันได้โดยง่าย [๓๑๐] ด้วยผลแห่งการปฏิบัติของหม่อมฉัน เมื่อหม่อมฉันอยู่ ณ ที่ใดๆ ผู้ที่เป็นสามีหม่อมฉันก็ไม่ ดูหมิ่น ทั้งใครอื่นๆ ก็ไม่ดูหมิ่นหม่อมฉัน [๓๑๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่าโกนา คมนะ ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว [๓๑๒] ครั้งนั้นเอง ชน ๓ คน คือนางธนัญชานีพราหมณี พระนางสุเมธาเถรี และหม่อมฉัน เป็น คนของตระกูลที่สาเร็จความประสงค์ทุกอย่างในกรุงพาราณสี [๓๑๓] หม่อมฉันทั้งหลายได้ถวายสังฆารามแก่พระมุนีหลายพันองค์ และได้สร้างวิหารอุทิศถวาย พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสงฆ์สาวก
  • 3. 3 [๓๑๔] หม่อมฉันทั้งหลายทั้งหมดพากันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถึง ความเป็นผู้เลิศด้วยยศ และเมื่อเกิดในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน [๓๑๕] ในกัปนี้ เอง พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มี พระยศยิ่งใหญ่ ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว [๓๑๖] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด ทรง เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ [๓๑๗] หม่อมฉันเป็นธิดาคนโตของพระองค์มีนามปรากฏว่าสมณี ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้ เลิศแล้วพอใจการบรรพชา [๓๑๘] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่ เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี [๓๑๙] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์ มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า [๓๒๐] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา (๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุ ทาสิกา (๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา (๗) พระนางสังฆทาสิกา [๓๒๑] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด) คือ หม่อมฉัน ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑ พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑ พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑ และคนที่ ๗ เป็น วิสาขามหาอุบาสิกา [๓๒๒] บางครั้งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นดังดวงอาทิตย์ของนรชน ทรงแสดงธรรมเป็น อัศจรรย์ หม่อมฉันได้ฟังมหานิทานสูตร แล้วนามาศึกษาปฏิบัติอยู่ [๓๒๓] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น หม่อมฉันละ กายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๓๒๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเป็นพระธิดาที่พอพระทัย รักใคร่ โปรดปรานของพระ เจ้ามัททราช ในสากลนครที่อุดมสมบูรณ์ [๓๒๕] พร้อมกับในกาลที่หม่อมฉันพอเกิดมา นครนั้นได้มีแต่ความเกษมสาราญ เพราะฉะนั้น นามว่าเขมา จึงเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันโดยคุณ [๓๒๖] เมื่อหม่อมฉันเจริญวัยเป็นสาว มีรูปร่างและผิวพรรณงดงาม พระราชบิดาก็โปรดประทาน หม่อมฉันแก่พระเจ้าพิมพิสาร [๓๒๗] หม่อมฉันเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามีนั้น ยินดีแต่ในการบารุงรูปโฉม ไม่เอื้อเฟื้ อ อย่างมากด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้ามีปกติกล่าวโทษของรูป [๓๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงโปรดให้นักขับ ขับร้องเพลงพรรณนาพระเวฬุวันเจาะจง หม่อมฉัน เพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันให้มีความรู้สึก [๓๒๙] หม่อมฉันสาคัญว่าพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระสุคต เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ผู้ใด ยังมิได้เห็น ผู้นั้นก็จัดว่ายังไม่ได้เห็นสวนนันทวัน
  • 4. 4 [๓๓๐] พระเวฬุวัน ซึ่งเป็นสถานที่น่าเพลิดเพลินยินดีของนรชน ผู้ใดได้เห็นแล้ว ผู้นั้นเหมือนได้ เห็นสวนนันทวัน ซึ่งเป็นสถานที่เพลิดเพลินของท้าวอัมรินทราธิราช [๓๓๑] ท้าวสักกเทวราชและเทพทั้งหลายละสวนนันทวันแล้ว ลงมาที่พื้นปฐพี เห็นพระเวฬุวันที่น่า รื่นรมย์แล้ว ก็อัศจรรย์ใจ มิรู้เบื่อ [๓๓๒] พระเวฬุวันเกิดขึ้นเพราะบุญของพระราชา อันบุญญานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าประดับแล้ว ใครเล่าจะประมวลคุณแห่งพระเวฬุวันมากล่าวให้หมดสิ้นได้ [๓๓๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังความสาเร็จแห่งสมบัติของพระเวฬุวัน ที่เสนาะโสตไพเราะจับใจ หม่อมฉัน ใคร่จะได้ชมอุทยานนั้นจึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ [๓๓๔] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดส่งหม่อมฉัน ผู้มุ่งจะชมอุทยานนั้น ไปพร้อมด้วยบริวาร เป็นจานวนมาก ด้วยพระดารัสว่า [๓๓๕] “พระนางผู้มีโภคะเป็นอันมาก เชิญไปชมพระเวฬุวันซึ่งเป็นที่สบายตา ซึ่งเปล่งปลั่งด้วย พระรัศมีของพระสุคต สว่างไสวด้วยพระสิริตลอดเวลา” [๓๓๖] (หม่อมฉันทูลว่า) “เมื่อใดพระมุนีเสด็จเข้ามาทรงรับบิณฑบาต ยังกรุงราชคฤห์อันยอด เยี่ยม เมื่อนั้น หม่อมฉันจะเข้าไปชมพระเวฬุวันมหาวิหาร” [๓๓๗] ขณะนั้น พระเวฬุวันมหาวิหาร มีสวนดอกไม้ที่แย้มบาน มีเสียงหึ่งด้วยหมู่ภมรนานาชนิด มีเสียงนกดุเหว่าร่าร้อง ทั้งหมู่นกยูงก็ราแพน [๓๓๘] สงัดจากเสียงอย่างอื่น ไม่พลุกพล่าน ประดับไปด้วยที่จงกรมต่างๆ สะพรั่งไปด้วยแถวแห่ง กุฎีและมณฑป เรียงรายไปด้วยพระโยคีผู้บาเพ็ญเพียร [๓๓๙] หม่อมฉันเมื่อเดินเที่ยวไปได้รู้สึกว่า “นัยน์ตาของเรามีประโยชน์” ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งประกอบกิจอยู่ แล้วคิดไปว่า [๓๔๐] ‘ภิกษุนี้ ยังอยู่ในวัยรุ่นหนุ่ม มีรูปงาม น่าปรารถนา ปฏิบัติดีอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์เช่นนี้ เหมือนคนอยู่ในที่มืด [๓๔๑] ภิกษุนี้ มีศีรษะโล้น ห่มผ้าสังฆาฏินั่งอยู่ที่โคนไม้ ละความยินดีที่เกิดจากอารมณ์เข้าฌานอยู่ หนอ [๓๔๒] ธรรมดาคฤหัสถ์บริโภคกามอย่างมีความสุข แก่แล้วจึงควรประพฤติธรรมอันดีงามนี้ ใน ภายหลังมิใช่หรือ’ [๓๔๓] หม่อมฉันเข้าใจว่า ‘พระคันธกุฎีที่ประทับแห่งพระชินเจ้าว่างเปล่า’ จึงเดินเข้าไป ได้เห็น พระชินเจ้าผู้งดงามดังดวงอาทิตย์อุทัย [๓๔๔] ประทับสาราญอยู่พระองค์เดียว มีสตรีสาวสวยพัดวีอยู่ ครั้นแล้วจึงมีความคิดผิดอย่างนี้ ว่า ‘พระผู้มีพระภาคผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นี้ มิได้เศร้าหมองเลย [๓๔๕] หญิงสาวนั้นก็มีรัศมีเปล่งปลั่งดังทองธรรมชาติ มีหน้าตางดงามดังปทุมชาติ ริมฝีปากก็ แดงดังผลตาลึงสุก ชาเลืองมองแต่น้อย เป็นที่ติดตาตรึงใจยิ่งนัก
  • 5. 5 [๓๔๖] มีลาแขนงามเหมือนทองคา วงหน้าสวย ถันทั้งคู่ก็เต่งตึงดังดอกบัวตูม มีเอวคอดกลมกลึง สะโพกผึ่งผาย ลาขาน่ายินดี มีเครื่องประดับสวยงาม [๓๔๗] ผ้าสไบมีสีแดงแวววาว นุ่งห่มผ้าเนื้ อเกลี้ยงสีเขียว มีรูปสมบัติที่ชวนชมโดยไม่รู้เบื่อ ประดับ ด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด’ [๓๔๘] หม่อมฉันเห็นสตรีสาวนั้นแล้วจึงคิดว่า ‘โอ! สตรีสาวคนนี้ มีรูปงามเหลือเกิน เราไม่เคย เห็นด้วยนัยน์ตาดวงนี้ ในที่ไหนๆ มาก่อนเลย’ [๓๔๙] ขณะนั้น สตรีสาวคนนั้นถูกชราย่ายี มีผิวพรรณแปลกไป ปากอ้า ฟันหัก ผมหงอก น้าลาย ไหล หน้าไม่สะอาด [๓๕๐] หูตึง นัยน์ตาฝ้าฟาง ถันหย่อนยาน ไม่งาม เหี่ยวย่นทั่วกาย มีศีรษะและร่างกายสั่นงันงก [๓๕๑] หลังงอ มีไม้เท้าเป็นเพื่อนเดิน ร่างกายซูบผอมซีดไป สั่นงันงก ล้มลงแล้วหายใจถี่ๆ [๓๕๒] จากนั้น ความสังเวชที่ก่อให้เกิดขนพองสยองเกล้า ซึ่งไม่เคยมีก็ได้มีแก่หม่อมฉันว่า ‘น่าติ เตียน รูปไม่สะอาดที่พวกคนเขลายินดีกัน’ [๓๕๓] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา มีจิตเบิกบานโสมนัส ทอดพระเนตร เห็นหม่อมฉัน ผู้มีใจสังเวชแล้ว จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า [๓๕๔] “เขมา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย ไม่สะอาด เปื่อยเน่า (มีของเหลว) ไหลเข้าและ ไหลออก ที่พวกคนเขลาพากันยินดียิ่งนัก [๓๕๕] เธอจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว ด้วยอารมณ์ที่ไม่งามเถิด เธอจงเจริญกายคตา สติมากไปด้วยความเบื่อหน่ายเถิด [๓๕๖] รูปของหญิงนี้ เป็นฉันใด รูปกายของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น รูปกายของเธอนั้นเป็นฉันใด รูป ของหญิงนี้ ก็เป็นฉันนั้น เธอจงคลายความยินดีพอใจในกายทั้งภายในและภายนอกเถิด [๓๕๗] จงอบรมอนิมิตตวิโมกข์ (อนิมิตตวิโมกข์ หมายถึงความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณา เห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือหลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตาแล้วถอนนิมิตเสียได้) จงละมานานุสัยเสีย แต่นั้นเธอจักเป็นผู้อยู่อย่างสงบ เพราะมานานุสัยสงบระงับไป [๓๕๘] ชนเหล่าใดกาหนัดเพราะราคะเกาะติดกระแสอยู่ เหมือนแมงมุมเกาะใยอยู่ตรงกลางที่ทา ไว้เอง ชนเหล่านั้นตัดกระแสราคะนั้นแล้ว ไม่มีความอาลัย ละกามสุข หลีกไป” [๓๕๙] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ทรงทราบว่า หม่อมฉันมีจิตควรแล้ว จึงทรง แสดงมหานิทานสูตรเพื่อทรงแนะนาหม่อมฉัน [๓๖๐] หม่อมฉันได้ฟังพระสูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว จึงระลึกถึงสัญญาในกาลก่อนได้ ตั้งมั่นอยู่ใน สัญญานั้นแล้ว ชาระธรรมจักษุ (ธรรมจักษุ หมายถึงปัญญาในมรรค ๓ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค) ให้หมดจด [๓๖๑] ขณะนั้น หม่อมฉันหมอบลงแทบพระยุคลบาท ของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อประสงค์จะแสดงโทษ จึงได้กราบทูลคานี้ ว่า
  • 6. 6 [๓๖๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระมหากรุณา หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เสด็จข้ามวัฏฏ สงสารได้แล้ว หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานอมตธรรม หม่อมฉันขอนอบน้อม พระองค์ [๓๖๓] หม่อมฉันจมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ หลงใหลเพราะกามราคะ พระองค์ทรงแนะนาด้วยอุบายที่ ชอบ เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ทรงแนะนา [๓๖๔] สัตว์ทั้งหลายพลัดพรากจากประโยชน์ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอัน ยิ่งใหญ่เช่นพระองค์ จึงประสบมหันตทุกข์อยู่ในสงสารสาคร [๓๖๕] ในกาลใดหม่อมฉันยังมิได้มาเข้าเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ผู้ไม่มีข้าศึกคือ กิเลส ทรงถึงที่สุดแห่งมรณธรรม ทรงมีธรรมที่เป็นประโยชน์อย่างดี หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น [๓๖๖] หม่อมฉันมัวแต่ยินดีในรูป ระแวงว่าพระองค์จะไม่เป็นประโยชน์จึงมิได้เข้าเฝ้า พระองค์ผู้ ทรงมีความเกื้อกูลมาก ทรงประทานพระธรรมที่ประเสริฐ หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น” [๓๖๗] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา มีพระสุรเสียงไพเราะและก้องกังวาน เมื่อจะทรงใช้น้าอมฤตรดหม่อมฉันจึงตรัสว่า “ลุกขึ้นเถิดเขมา” [๓๖๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันประณตน้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า ทาประทักษิณพระองค์แล้ว กลับไปเฝ้าพระราชา ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนแล้วกราบทูลคานี้ ว่า [๓๖๙] “ข้าแต่พระองค์ผู้ย่ายีข้าศึก อุบายที่พระองค์ทรงดาริแล้วโดยชอบนี้ น่าอัศจรรย์ หม่อมฉัน ผู้ปรารถนาจะเที่ยวชมพระเวฬุวันมหาวิหาร ได้เฝ้าพระมุนีผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังป่าแล้ว [๓๗๐] ข้าแต่พระราชา ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัย หม่อมฉันผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระมุนีตรัส สอนแล้ว จักบวชในศาสนาของพระมุนีผู้คงที่พระองค์นั้น” [๓๗๑] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพิมพิสาร พระองค์นั้น ทรงประคองอัญชลีตรัสว่า “พระน้องนาง พี่อนุญาตแก่เธอ ขอการบรรพชาจงสาเร็จแก่เธอเถิด” [๓๗๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชมาแล้วผ่านไป ๗ เดือน เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป จึงมีใจ สังเวช [๓๗๓] มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ฉลาดในปัจจยาการ ข้ามพ้นโอฆะ (โอฆะ หมายถึง สังกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี ๔ คือ (๑) กาโมฆะ (๒) ภโวฆะ (๓) ทิฏโฐฆะ (๔) อวิชโชฆะ)- ๔ แล้ว ก็ได้บรรลุ อรหัตตผล [๓๗๔] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชานาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ [๓๗๕] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชาระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไป แล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๓๗๖] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณ ปฏิสัมภิทาญาณที่บริสุทธิ์ของหม่อมฉัน ล้วนเกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า
  • 7. 7 [๓๗๗] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย (วิสุทธิทั้งหลาย หมายถึงสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ และทิฏฐิวิสุทธิ) คล่องแคล่วในกถาวัตถุ รู้แจ้งนัยแห่งพระอภิธรรม เชี่ยวชาญในศาสนา [๓๗๘] จากนั้น พระราชสวามีผู้ฉลาด ตรัสถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งในโตรณวัตถุ หม่อมฉันได้ วิสัชนาโดยควรแก่กถา [๓๗๙] ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตแล้ว ทูลถามปัญหาเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทรง พยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น เหมือนอย่างที่หม่อมฉันพยากรณ์ [๓๘๐] พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ใน เอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก [๓๘๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลส เครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๓๘๒] การที่หม่อมฉันมาในสานักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว [๓๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล ได้ทราบว่า พระเขมาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ เขมาเถริยาปทานที่ ๘ จบ -------------------------