SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 13
Baixar para ler offline
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๑๖ มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี
เกริ่นนา
สตรีผู้นี้ จักมีนามปรากฏว่าโคตรมี เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวิกาของ
พระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นพระมาตุจฉาบารุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ความเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายรู้ราตรีนาน
(พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๗] คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงส่องโลกให้สว่าง ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏา
คารศาลาป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
[๙๘] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉา(น้าสาว) ของพระชินเจ้า อยู่ในสานัก
ของภิกษุณี ในกรุงที่น่ารื่นรมย์นั้น
[๙๙] พร้อมด้วยภิกษุณีอีก ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีนั้น
อยู่ในที่สงัดได้ตรึก(คิด)อย่างนี้ ว่า
[๑๐๐] “การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกทั้งคู่ก็ดี ของพระราหุลก็ดี ของพระ
อานนท์ และของพระนันทะก็ดี เราจะไม่ได้เห็น
[๑๐๑] ก่อนแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ของพระอัครสาวกทั้งคู่ ของพระมหากัสสปะ ของ
พระนันทะ ของพระอานนท์ และของพระราหุล เราก็จะไม่ได้เห็นเหมือนกัน
[๑๐๒] เราผู้ที่พระโลกนาถ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้ว
นิพพาน”
[๑๐๓] ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้น แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้นก็ได้ตรึกเช่นนี้ เหมือนกัน
[๑๐๔] ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์บันลือลั่น เทพที่สถิตอยู่ในสานักภิกษุณี ถูกความเศร้า
โศกบีบคั้น
[๑๐๕] บ่นเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร หลั่งน้าตาในที่นั้น ภิกษุณีทุกรูปพร้อมด้วยเทพเหล่านั้น ได้เข้า
ไปหาพระโคตมีภิกษุณี
2
[๑๐๖] ซบศีรษะลงแทบเท้าแล้วกล่าวคานี้ ว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะหม่อมฉันมีปกติอยู่ด้วย
การเทียบเคียงในธรรมเหล่านั้น หม่อมฉันจึงได้อยู่ในที่สงัด
[๑๐๗] แผ่นดินไหวสะเทือนเลื่อนลั่น กลองทิพย์บันลือลั่น และหม่อมฉันได้ยินเสียงคร่าครวญ ข้า
แต่พระโคตมี จะต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่”
[๑๐๘] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตรมีนั้น ได้บอกถึงเหตุทุกอย่างตามที่ตนได้ตรึกแล้ว ลาดับนั้น
ภิกษุณีทุกรูปก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนตรึกแล้วกล่าวว่า
[๑๐๙] “ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจการนิพพานที่เกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงหม่อมฉัน
ทั้งหลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลที่พระพุทธเจ้าจะทรงอนุญาตก่อน
[๑๑๐] แม้หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ออกจากเรือน และจากภพพร้อมกับพระแม่เจ้า หม่อมฉัน
ทั้งหลายก็จักไปสู่เมืองอันยอดเยี่ยมคือพระนิพพาน พร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน”
[๑๑๑] พระมหาปชาบดีโคตรมีกล่าวว่า “เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ฉันจักว่าอะไรได้เล่า”
แล้วได้ออกจากสานักภิกษุณีไปพร้อมกับภิกษุณีทั้งหมดในครั้งนั้น
[๑๑๒] พระมหาปชาบดีโคตรมีภิกษุณี ได้กล่าวกับทวยเทพทั้งหลายว่า “ขอเทพทั้งหลายที่สถิตอยู่
ณ สานักภิกษุณี จงยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด การเห็นสานักภิกษุณีของข้าพเจ้านี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย
[๑๑๓] ในที่ใดไม่มีความแก่และความตาย ไม่มีการสมาคมกับสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก ไม่มี
การพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน (สถานที่ที่ไม่มี
ปัจจัยปรุงแต่ง)”
[๑๑๔] พระโอรสของพระสุคตทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคานั้น เป็นผู้อัดอั้นตันใจ
ด้วยความเศร้าโศกคร่าครวญว่า “น่าสังเวชหนอ เราทั้งหลายช่างมีบุญน้อย
[๑๑๕] สานักภิกษุณีนี้ จักว่างเปล่า เพราะเว้นจากภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้เป็นชิโนรสจะไม่
ปรากฏ เหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏในเวลาสว่าง
[๑๑๖] พระมหาปชาบดีโคตรมีจะนิพพาน พร้อมด้วยภิกษุณีอีก ๕๐๐ รูป เหมือนกับแม่น้าคงคา
ไหลไปสู่สาคร พร้อมกับแม่น้า ๕๐๐ สาย”
[๑๑๗] อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธา เห็นภิกษุณีทั้งหลายกาลังเดินไปตามถนน ได้พากันออกจาก
เรือนไปหมอบลงแทบเท้า แล้วกล่าวคานี้ กับพระโคตมีนั้นว่า
[๑๑๘] “การที่พระแม่เจ้าละทิ้งหม่อมฉันทั้งหลาย ผู้จมอยู่ในโภคะเป็นอันมาก ไม่มีที่พึ่งแล้ว
นิพพานไม่สมควร” อุบาสิกาเหล่านั้นมีความต้องการบีบคั้นจึงพร่าเพ้อ
[๑๑๙] เพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละความเศร้าโศก พระนางจึงได้ตรัสอย่างไพเราะว่า “อย่า
ร้องไห้ไปเลย ลูกทั้งหลาย วันนี้ เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย
[๑๒๐] ทุกข์ฉันกาหนดรู้แล้ว เหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ฉันเว้นขาดแล้ว นิโรธฉันได้ทาให้แจ้งแล้ว และ
มรรคฉันก็ได้อบรมดีแล้ว
3
[๑๒๑] พระศาสดาฉันก็ได้บารุงแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ภาระหนัก
(ภาระหนัก หมายถึงขันธภาระ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ฉันก็ปลงลง
ได้แล้ว ตัณหาที่เป็นเหตุนาไปสู่ภพฉันก็ถอนได้แล้ว
[๑๒๒] กุลบุตรกุลธิดาออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์
ทั้งปวง ฉันได้บรรลุแล้วโดยลาดับ
[๑๒๓] พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมของพระองค์ มิได้ย่อหย่อนยังดารงอยู่ตราบใด ตราบนั้น
เป็นเวลาสมควรแล้วที่ฉันจะนิพพาน ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงแม่เลย
[๑๒๔] พระชินเจ้า พระราหุล พระอัญญาโกณฑัญญะ พระอานนท์ และพระนันทะเป็นต้น ก็ยัง
ดารงอยู่ ขอพระสงฆ์จงมีประโยชน์สุขร่วมกัน ขอให้เดียรถีย์จงเป็นผู้มีความโง่เขลาถูกกาจัดเสียเถิด
[๑๒๕] ยศคือการย่ายีมารแห่งวงศ์พระเจ้าโอกกากราช ฉันก็ให้รุ่งเรืองแล้ว ลูกๆ ถึงเวลาที่แม่จะ
นิพพานแล้วมิใช่หรือ
[๑๒๖] ความปรารถนาที่แม่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นมาช้านานจะสาเร็จแก่แม่ในวันนี้ เวลานี้ เป็นเวลาที่
กลองอานันทเภรีบันลือเสียง ลูกเอ๋ย น้าตาจะมีประโยชน์อะไรแก่พวกลูก
[๑๒๗] ถ้าลูกทั้งหลายจะมีความเอ็นดู หรือมีความกตัญญูในมารดา ก็ขอให้ลูกทุกคนจงทาความ
เพียรให้มั่น เพื่อความดารงมั่นแห่งพระสัทธรรมเถิด
[๑๒๘] พระสัมมาพุทธเจ้า ซึ่งแม่ทูลอ้อนวอน จึงได้ทรงประทานการบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น แม่ยินดี ฉันใด ลูกทั้งหลายก็จงเจริญรอยตามความยินดีนั้น ฉันนั้นเถิด”
[๑๒๙] ครั้นพระนางพร่าสอนอุบาสิกาเหล่านั้นอย่างนี้ แล้ว มีภิกษุณีทั้งหลายห้อมล้อมเข้าเฝ้า
พระพุทธเจ้า ไหว้แล้วได้กราบทูลคานี้ ว่า
[๑๓๐] “ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเคยเป็นมารดาเลี้ยงของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า ส่วนพระองค์
เป็นบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานความสุขที่เกิดจากพระสัทธรรม ข้าแต่
พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้ที่พระองค์ทรงให้เกิดแล้ว
[๑๓๑] ข้าแต่พระสุคต พระรูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันเคยฟูมฟักให้เจริญเติบใหญ่แล้ว
ส่วนพระธรรมกายที่น่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทรงฟูมฟักให้เจริญแล้ว
[๑๓๒] พระองค์หม่อมฉันให้ดื่มน้านม อันระงับความหิวได้เพียงชั่วครู่ ส่วนหม่อมฉันพระองค์ทรง
ให้ดื่มแม้น้านม คือพระธรรมซึ่งสงบระงับได้แท้จริง
[๑๓๓] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้ หม่อมฉัน ในเพราะการเลี้ยงดูด้วยความ
ผูกพัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่า สตรีทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตรขออยู่ ก็ย่อมได้บุตรเช่นนั้น
[๑๓๔] มารดาใดของจอมนรชน มีพระเจ้ามันธาตุเป็นต้น มารดานั้นชื่อว่ายังบุตรให้จมอยู่ในห้วง
มหรรณพคือภพ ข้าแต่พระปิโยรส ส่วนหม่อมฉันผู้จมอยู่แล้ว พระองค์ทรงช่วยให้ข้ามพ้นจากสาครคือภพได้
[๑๓๕] พระนามว่า พระพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้มาโดยง่าย (แต่)พระนามว่า พุทธมารดา นี้
สตรีทั้งหลายได้มาโดยยากอย่างยิ่ง
4
[๑๓๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพุทธมารดานั้นอันหม่อมฉันได้แล้ว ปณิธานน้อยใหญ่ของ
หม่อมฉันพระองค์ก็ทรงให้สาเร็จแล้ว ทั้งหมดนั้นพระองค์ทรงให้บริบูรณ์แล้ว
[๑๓๗] หม่อมฉันปรารถนาที่จะละร่างนี้ ปรินิพพาน ข้าแต่พระวีรเจ้า ผู้ทาที่สุดแห่งทุกข์ ทรงเป็น
ผู้นา ขอพระองค์ทรงโปรดอนุญาตให้หม่อมฉันเถิด
[๑๓๘] ขอพระองค์โปรดทรงเหยียดพระยุคลบาท ที่วิจิตรด้วยลายจักร (ลายจักรก้นหอย) และธง
อันละเอียดอ่อนเหมือนดอกบัวออกเถิด หม่อมฉันจะนอบน้อมพระยุคลบาทนั้น จักขอทาความรักในบุตร
[๑๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นา หม่อมฉันจะทาสรีระคือร่างกายของพระองค์เหมือนกองทอง
อันปรากฏเหมือนทับทิม ให้เป็นอันหม่อมฉันเห็นดีแล้วจึงจะนิพพาน”
[๑๔๐] พระชินเจ้าทรงแสดงให้พระมาตุจฉาเห็นพระวรกาย ที่ประกอบด้วยพระลักษณะ ๓๒
ประการ ประดับด้วยพระรัศมีอย่างงดงาม ซึ่งเป็นเหมือนดึงดูดดวงตาของคนพาล
[๑๔๑] ลาดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตรมีนั้นได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระยุคลบาท ซึ่งเป็น
ลายจักรคล้ายดอกบัวบาน มีพระรัศมีดังดวงอาทิตย์แรกทอแสง แล้วได้กราบทูลว่า
[๑๔๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นดุจดวงอาทิตย์ของนรชน หม่อมฉันนอบน้อมพระองค์ ผู้เป็นธงแห่ง
วงศ์พระอาทิตย์ ขอพระองค์ทรงโปรดเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันในกาลสุดท้ายด้วยเถิด หม่อมฉันจะไม่ได้เห็น
พระองค์อีก
[๑๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศในโลก ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระกรุณา ธรรมดาสตรีทั้งหลายรู้กันว่ามีแต่
จะก่อโทษทุกประการ ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอพระองค์ได้โปรดยกโทษแก่หม่อมฉัน
ด้วยเถิด
[๑๔๔] อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลขอบ่อยๆ ให้สตรีทั้งหลายได้บวช ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
ถ้าโทษในข้อนั้นจะมีแก่หม่อมฉัน ขอได้โปรดยกโทษนั้นด้วยเถิด
[๑๔๕] ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งการยกโทษภิกษุณีทั้งหลาย อันหม่อมฉันสั่งสอนแล้วตามที่
พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าข้อนั้นจะมีการแนะนาผิด ขอได้โปรดยกโทษในข้อนั้นด้วยเถิด”
[๑๔๖] (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า) “โคตรมีผู้ประดับไปด้วยคุณ ชื่อว่านิพพานก็สมควรแก่เธอ
จะมีโทษอะไร เมื่อเธอบอกว่าจะลานิพพาน ตถาคตจักไปว่าอะไรเธอให้มากเล่า
[๑๔๗] เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ ไม่บกพร่อง เธอจะออกไปเสียจากโลกนี้ ก็ควร เพราะใน
เวลาสว่าง เมื่อดวงดาวหมดแสง จันทเลขาก็เห็นเลือนไป”
[๑๔๘] ภิกษุณีทั้งหลายนอกจากพระมหาปชาบดีโคตรมี พากันทาประทักษิณพระชินเจ้าผู้เลิศ
เหมือนกลุ่มดาวที่ติดตามดวงจันทร์ ทาประทักษิณภูเขาพระสุเมรุ หมอบลงแทบพระยุคลบาทแล้ว ยืนเพ่งดู
พระพักตร์ของพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า
[๑๔๙] “จักษุของหม่อมฉันไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันก็ไม่เคยอิ่มด้วย
ภาษิตของพระองค์ จิตของหม่อมฉันดวงเดียวเท่านั้นบรรลุธรรมจึงอิ่มด้วยรสแห่งธรรม
[๑๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระผู้ประเสริฐ เมื่อพระองค์บันลืออยู่ในท่ามกลางบริษัท กาจัดทิฏฐิ
มานะ ชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
5
[๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ถึงที่สุดแห่งสงคราม ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่ง
มีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระยุคลบาทยาว แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
[๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระผู้สูงสุด ชนเหล่าใดได้สดับพระดารัสของพระองค์ ซึ่งไพเราะน่า
ปลื้มใจ เผาเสียซึ่งโทษ เป็นประโยชน์เกื้อกูล แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
[๑๕๓] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันอิ่มไปด้วยการบูชาพระยุคลบาทของพระองค์ ข้ามพ้นทาง
กันดารคือสงสารได้ด้วยพระสุนทรกถาของพระองค์ผู้มีพระสิริ ฉะนั้น หม่อมฉันจึงชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี”
[๑๕๔] ลาดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตรมีผู้มีวัตรงาม ประกาศในหมู่ภิกษุสงฆ์แล้วไหว้พระราหุล
พระอานนท์ และพระนันทะแล้วได้ตรัสดังนี้ ว่า
[๑๕๕] “ดิฉันเบื่อหน่ายร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษ เป็นรังแห่งโรค เป็นสถานที่เกิดทุกข์
มีชราและมรณะเป็นโคจร
[๑๕๖] เกลื่อนกล่นไปด้วยมลทินคือซากศพต่างๆ ต้องพึ่งพาผู้อื่น ปราศจากความน่าใฝ่ใจ ฉะนั้น
ดิฉันจึงปรารถนาจะนิพพานเสีย ขอลูกๆ ทั้งหลายจงเข้าใจตามสมควรเถิด”
[๑๕๗] พระนันทเถระและพระภัททราหุล เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก หมดอาสวะ ตั้งมั่น ไม่
หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตามธรรมดาว่า
[๑๕๘] “น่าติเตียน ร่างกายที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีภาวะหวั่นไหว ปราศจากแก่นสาร เปรียบได้กับต้น
กล้วย เช่นเดียวกับพยับแดดซึ่งเป็นมายา ต่าช้าไม่มั่นคง
[๑๕๙] พระโคตรมีเถรีพระมาตุจฉาของพระชินเจ้านี้ ซึ่งได้เคยเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ยังต้องเสด็จ
นิพพาน สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนไม่เที่ยง”
[๑๖๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากของพระชินเจ้า ยังเป็นพระเสข
บุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้าตา คร่าครวญอย่างน่าเวทนาในที่นั้นว่า
[๑๖๑] “พระโคตมีเถรีตรัสอยู่หลัดๆ ก็จะเสด็จนิพพานเสียแล้ว คงอีกไม่นานเลย แม้พระพุทธเจ้า
ก็จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว”
[๑๖๒] พระโคตรมีเถรีได้ตรัสกับพระอานนท์ ผู้เชี่ยวชาญพระปริยัติธรรมที่ลึกล้าปานสาคร ฝักใฝ่
ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่าราพันอยู่ดังกล่าวมาว่า
[๑๖๓] “ลูกเอ๋ย เมื่อกาลเป็นที่ร่าเริงปรากฏแล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่ การ
นิพพานของแม่นั้นใกล้เข้ามาแล้ว
[๑๖๔] ลูกเอ๋ย พระศาสดาลูกได้ทูลให้ทรงยินยอม จึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช ลูกเอ๋ย พ่ออย่า
เสียใจไปเลย ความพยายามของพ่อต้องมีผล
[๑๖๕] ก็บทใด ที่เจ้าลัทธิทั้งหลายผู้เก่าก่อนไม่เห็น บทนั้นอันเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบรู้แจ้ง
ประจักษ์แล้ว
[๑๖๖] พ่อจงรักษาพุทธศาสนาไว้ การเห็นลูกเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ลูกเอ๋ย แม่จะไปสถานที่ที่
บุคคลไปแล้วไม่ปรากฏ
6
[๑๖๗] ในกาลบางคราว พระผู้ทรงเป็นผู้นาชั้นเลิศของโลก ทรงเปล่งวาจาแสดงธรรม ครั้งนั้น แม่
ผู้มีความอนุเคราะห์จึงกล่าววาจาที่มีความหวังว่า
[๑๖๘] “ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงทรงพระชนม์อยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จง
ดารงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงเถิด ขอพระองค์ทรงอย่าชราและ
ปรินิพพานเลย”
[๑๖๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสกับแม่ผู้กราบทูลอยู่เช่นนั้นว่า “พระนางโคตมี
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อันใครๆ ไม่ควรวิงวอน เหมือนอย่างที่เธอวิงวอนอยู่เลย”
[๑๗๐] “ก็อย่างไร พระตถาคตผู้สัพพัญญู จึงชื่อว่าอันบุคคลพึงวิงวอน และอย่างไรพระพุทธเจ้าจึง
ชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงวิงวอน พระองค์อันหม่อมฉันทูลถามถึงเหตุนั้นแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่
หม่อมฉันด้วยเถิด”
[๑๗๑] “ท่านจงดูสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเพื่อบาเพ็ญเพียร มีความบาก
บั่นมั่นคงเป็นนิตย์ เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน นี้ เป็นการวิงวอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
[๑๗๒] ต่อแต่นั้น ดิฉันไปสู่สานักของภิกษุณี อยู่คนเดียวคิดได้อย่างแจ้งชัดว่า “พระพุทธเจ้าผู้ทรง
เป็นที่พึ่ง ผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพ (ไตรภพ หมายถึงกามภพ รูปภพ อรูปภพ) ทรงพอพระทัยบริษัทที่สามัคคี
กัน
[๑๗๓] เอาเถิด เราจะนิพพาน อย่าได้พบเห็นความวิบัตินั้นเลย” ครั้นดิฉันคิดดังนี้ แล้ว ได้เข้าเฝ้า
พระฤาษีผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า)
[๑๗๔] แล้วได้กราบทูลกาลเป็นที่ปรินิพพาน กับพระผู้ทรงเป็นผู้นาวิเศษ ลาดับนั้น พระองค์ได้
ทรงอนุญาตว่า “จงรู้กาลเองเถิด พระนางโคตมี”
[๑๗๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลส
เครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๖] การที่หม่อมฉันมาในสานักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว
[๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทาให้แจ้งแล้ว
คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
[๑๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) “โคตมี คนพาลเหล่าใดมีความสงสัยในการตรัสรู้ธรรมของสตรี
ทั้งหลาย ท่านจงแสดงฤทธิ์เพื่อการละทิฏฐิของคนพาลเหล่านั้น”
[๑๗๙] ครั้งนั้น พระโคตรมีเถรีหมอบกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า แสดง
ฤทธิ์เป็นอเนกประการตามพุทธานุญาต
[๑๘๐] คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทาให้ปรากฏก็ได้ ทาให้หายไปก็
ได้ ทะลุฝา กาแพง ภูเขาก็ได้
[๑๘๑] ไปได้ไม่ติดขัด ดาลงไปในแผ่นดินเหมือนดาลงไปในน้าก็ได้ เดินไปบนน้าโดยที่น้าไม่แตก
กระจายเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้
7
[๑๘๒] นั่งขัดสมาธิลอยไปในอากาศเหมือนนางนกก็ได้ ใช้อานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
[๑๘๓] ทาสิเนรุบรรพตให้เป็นคันร่ม ทาแผ่นดินใหญ่ให้เป็นตัวร่ม พลิกเอาเบื้องล่างขึ้น เดินกั้น
ร่มไปมาในอากาศ
[๑๘๔] ได้ทาโลกให้สวยงามประหนึ่งเวลาอาทิตย์ ๖ ดวงอุทัยเหนือภูเขายุคันธร และได้ทาโลกให้
เป็นเหมือนกลุ่มตาข่ายดอกไม้ที่ยอดภูเขายุคันธร
[๑๘๕] ใช้พระหัตถ์ข้างหนึ่งกาภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ภูเขามันทาระ และภูเขาทัททระไว้ได้
ทั้งหมด เหมือนกาเมล็ดพันธุ์ผักกาด
[๑๘๖] ใช้ปลายนิ้ วพระหัตถ์บังดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้ ทัดทรงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้
เป็นพันๆ ดวง เหมือนทัดทรงพวงมาลัย
[๑๘๗] ใช้ฝ่าพระหัตถ์ข้างหนึ่งธารน้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไว้ได้ ทาฝนห่าใหญ่ให้ตกมีอาการดัง
สายน้าที่ตกจากภูเขายุคันธร
[๑๘๘] พระนางนั้นได้เนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยบริวารในท้องฟ้า แสดงเป็น
ครุฑ คชสาร ราชสีห์ ต่างบันลือร้องอยู่
[๑๘๙] พระองค์เดียวทรงเนรมิตเป็นคณะภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียว
กราบทูลพระมุนีว่า
[๑๙๐] “ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันผู้เป็นพระมาตุจฉาของพระองค์ เป็นผู้ปฏิบัติ
ตามคาสั่งสอนของพระองค์ บรรลุประโยชน์ตนโดยลาดับแล้ว ขอกราบพระยุคลบาท”
[๑๙๑] พระนาง ครั้นแสดงฤทธิ์อย่างต่างๆ แล้วลงจากท้องฟ้า ทรงไหว้พระพุทธองค์ผู้ทรงส่อง
โลกให้สว่างแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง (กราบทูลว่า)
[๑๙๒] “ข้าแต่พระมหามุนีวีรเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นา หม่อมฉันนั้นมีอายุได้ ๑๒๐ ปี เพียงเท่านี้ ก็
พอแล้ว หม่อมฉันจักนิพพาน”
[๑๙๓] ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้น ถึงความพิศวงยิ่งนักจึงได้พากันประนมมือถามว่า ข้าแต่พระแม่
เจ้า ผู้มีความบากบั่น พระแม่เจ้าได้ทาบุญอะไรไว้ จึงเป็นผู้มีฤทธิ์หาที่เปรียบมิได้”
[๑๙๔] (พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้กล่าวบุพจริยาของท่านดังต่อไปนี้ ว่า) พระชินเจ้าพระนาม
ว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นา เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป
[๑๙๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอามาตย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอานวยความสะดวกทุกอย่าง
เจริญรุ่งเรือง ร่ารวย มีทรัพย์มาก ในกรุงหงสวดี
[๑๙๖] ในกาลบางคราว ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบิดา มีหมู่ทาสีห้อมล้อมเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจ
กว่านรชน พร้อมด้วยบริวารจานวนมาก
[๑๙๗] พระชินเจ้าผู้ไม่มีอาสวะทาฝนคือธรรมให้ตกลงอยู่ เหมือนท้าววาสวะ มีกลุ่มแห่งพระรัศมี
โชติช่วง เช่นกับดวงอาทิตย์ในสารทกาล
[๑๙๘] ข้าพเจ้าเห็นแล้วทาจิตให้เลื่อมใส และได้สดับสุภาษิตของพระองค์ ได้สดับพระผู้ทรงเป็น
ผู้นาของนรชน ทรงตั้งภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจฉาไว้ในตาแหน่งที่เลิศ
8
[๑๙๙] จึงได้ถวายมหาทานและปัจจัยจานวนมากแด่พระผู้เลิศกว่านรชน ผู้คงที่พระองค์นั้น
พร้อมทั้งพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน
[๒๐๐] แล้วจึงหมอบลงแทบพระยุคลบาทได้ปรารถนาตาแหน่งนั้น ลาดับนั้น พระฤาษีผู้ประเสริฐ
(พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสในที่ประชุมใหญ่นั้นว่า
[๒๐๑] “เราจักพยากรณ์สตรีผู้ที่นิมนต์พระผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลกพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ให้เสวยและ
ฉันตลอด ๗ วัน ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๒๐๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรง
สมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๐๓] สตรีผู้นี้ จักมีนามปรากฏว่าโคตรมี เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็น
สาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๒๐๔] จักเป็นพระมาตุจฉาบารุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ความเป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายรู้ราตรีนาน”
[๒๐๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้มีใจปราโมทย์ บารุงพระชินเจ้าด้วย
ปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ตายไป
[๒๐๖] ข้าพเจ้าบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งให้สาเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทุกประการ ครอบงาพวกเทพ
เหล่าอื่นด้วยองค์ ๑๐ ประการ
[๒๐๗] คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ(ธรรมารมณ์) อายุ วรรณะ สุข และยศ
[๒๐๘] อนึ่ง รุ่งเรืองครอบงาเทพเหล่าอื่นด้วยความเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าได้เป็นพระมเหสีผู้เป็นที่รัก
ของท้าวอัมรินทราธิราชชั้นดาวดึงส์นั้น
[๒๐๙] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร เป็นผู้หวั่นไหวเพราะพายุคือกรรม จึงเกิดใน
หมู่บ้านทาสในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี
[๒๑๐] ครั้งนั้น ทาส ๕๐๐ คนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาส
ทั้งหมดในหมู่บ้านนั้น
[๒๑๑] พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ข้าพเจ้ากับญาติทุกคนเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงมีความยินดี
[๒๑๒] ข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามี เลื่อมใสแล้ว จึงช่วยกันสร้างกุฎี ๕๐๐ หลังถวาย อุปัฏฐาก
ตลอด ๔ เดือนแล้วถวายไตรจีวร
[๒๑๓] จากนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามีตายไป ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้
เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เกิดในกรุงเทวทหะ
[๒๑๔] พระชนกของข้าพเจ้าทรงพระนามว่าอัญชนศากยะ พระชนนีของข้าพเจ้าทรงพระนามว่าสุ
ลักขณา ต่อมา ข้าพเจ้าได้ไปสู่พระราชวังของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์
[๒๑๕] สตรีทุกคนเกิดในตระกูลศากยะแล้ว ได้ไปสู่พระราชวังของเจ้าศากยะทั้งหลาย ข้าพเจ้า
ประเสริฐกว่าสตรีทุกคน ได้เป็นผู้บารุงเลี้ยงพระชินเจ้า
9
[๒๑๖] พระโอรสของข้าพเจ้าพระองค์นั้น เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ได้เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นาวิเศษ ภายหลังข้าพเจ้าพร้อมด้วยนางศากิยานี ๕๐๐ นางจึงได้บวช
[๒๑๗] แล้วได้ประสบสันติสุขพร้อมด้วยนางศากิยานีผู้มีความเพียร ในครั้งนั้น ชนเหล่าใดผู้เคย
เป็นสามีของพวกข้าพเจ้าในชาติก่อน
[๒๑๘] ชนเหล่านั้น เคยทาบุญร่วมกันมา ประพฤติตามคาสอนที่ควรบูชา พระสุคตทรง
อนุเคราะห์แล้ว ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๑๙] ภิกษุณีทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก นอกจากพระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีนั้น ได้พากันเหาะขึ้นสู่
ท้องฟ้า รุ่งโรจน์ เหมือนดวงดาวทั้งหลายที่โคจรเกาะกลุ่มกันไป
[๒๒๐] ภิกษุณีเหล่านั้น เป็นผู้ศึกษาแล้วในบุญกรรม จึงแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ เหมือน
นายช่างทองที่ได้รับการศึกษาแล้ว แสดงเครื่องประดับทองคาชนิดต่างๆ
[๒๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ครั้นแสดงปาฏิหาริย์มากมายหลายอย่างแล้ว ทาพระมุนีผู้
ประเสริฐกว่าดวงอาทิตย์พร้อมทั้งบริษัทให้ทรงพอพระทัยยินดีแล้ว
[๒๒๒] ได้พากันลงจากท้องฟ้า ไหว้พระฤๅษีผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า) ผู้อันพระศาสดาผู้เป็นนระ
ผู้เลิศทรงอนุญาตแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
[๒๒๓] (ได้กราบทูลว่า) “ข้าแต่พระวีรเจ้า น่าชมเชย พระโคตรมีเถรี เป็นผู้อนุเคราะห์หม่อมฉัน
ทั้งปวง หม่อมฉันทั้งหลายถูกพระนางอบรมด้วยบุญ จึงได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
[๒๒๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้
แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๒๕] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสานักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดย
แท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทา
สาเร็จแล้ว
[๒๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทาให้
แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
[๒๒๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย เป็นผู้มีความชานาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ
(หมายถึงหูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทาให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา) และในเจโตปริยญาณ (หมายถึง
ญาณกาหนดรู้ใจผู้อื่นได้, อ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากาลังคิดอะไรอยู่ เป็นต้น)
[๒๒๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (หมายถึงความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน,
ระลึกชาติได้) ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชาระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่
มีอีก
[๒๒๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันทั้งหลายที่มีอยู่ ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสานักของพระองค์
10
[๒๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นา ทรงเป็นมหามุนี พระองค์ทรงเป็นผู้ที่หม่อมฉันทั้งหลายมีจิต
เมตตา ปฏิบัติ ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหมดนิพพานเถิด”
[๒๓๑] พระชินเจ้าได้ตรัสว่า “เมื่อเธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ว่า ‘จักนิพพาน’ เราตถาคตจะไปกล่าว
อะไรได้ ก็บัดนี้ เธอทั้งหลายจงสาคัญกาลอันสมควรเถิด
[๒๓๒] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นมีพระโคตรมีเถรีเป็นอาทิ ไหว้พระชินเจ้าแล้ว ได้พากันลุกจากที่
นั่งนั้นไป
[๒๓๓] พระธีรเจ้า ทรงเป็นผู้นาชั้นเลิศของโลกพร้อมด้วยหมู่ชนจานวนมาก ได้เสด็จไปส่งพระ
มาตุจฉาจนถึงซุ้มประตู
[๒๓๔] ครั้งนั้น พระโคตรมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทุกรูปนอกนี้ ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคล
บาทของพระศาสดา ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกแล้วกราบทูลว่า “นี้ เป็นการกราบพระยุคลบาทครั้งสุดท้าย
[๒๓๕] นี้ เป็นการเห็นพระโลกนาถครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ ซึ่ง
มีอาการดังน้าอมฤตของพระองค์อีก
[๒๓๖] ข้าแต่พระวีระผู้เลิศในโลก การกราบไหว้ของหม่อมฉัน จักไม่สัมผัสพระยุคลบาทอัน
ละเอียดอ่อนของพระองค์(อีก) วันนี้ หม่อมฉันจะนิพพาน”
[๒๓๗] พระศาสดาตรัสว่า “จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยรูปนี้ เมื่อธรรมที่เธอเห็นแล้วตามความ
เป็นจริง สังขตธรรมทั้งปวงนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ายินดี และเป็นของเลวทราม”
[๒๓๘] พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีเหล่านั้น กลับไปยังสานักของตนแล้ว นั่งขัดสมาธิ
ชั้นเดียวบนอาสนะที่ประเสริฐ
[๒๓๙] ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในที่นั้น ผู้มีความเคารพรักในพุทธศาสนา ได้สดับความเป็นไป
ของพระนาง ต่างก็เข้าไปนมัสการพระยุคลบาท
[๒๔๐] ใช้มือตบอก ร้องไห้ คร่าครวญอย่างน่าสงสาร อัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศก ล้มลงที่
ภาคพื้น ดุจเถาวัลย์ที่มีรากขาดแล้วกองลง ราพันด้วยวาจาว่า
[๒๔๑] “ข้าแต่พระแม่เจ้าผู้ประทานที่พึ่งแก่หม่อมฉันทั้งหลาย พระแม่เจ้า อย่าได้ละทิ้งหม่อมฉัน
ทั้งหลายนิพพานเลย หม่อมฉันทุกคนขอซบเศียรอ้อนวอน”
[๒๔๒] พระมหาปชาบดีเถรีลูบศีรษะของอุบาสิกาผู้มีศรัทธา มีปัญญา ซึ่งเป็นหัวหน้าของอุบาสิกา
เหล่านั้น ได้กล่าวคานี้ ว่า
[๒๔๓] “ลูกทั้งหลายเอ๋ย อย่าเลย การพร่าเพ้อซึ่งเป็นไปในบ่วงแห่งมาร สังขตธรรมทั้งปวงล้วนไม่
เที่ยง มีแต่จะหวั่นไหวพลัดพรากจากกันไป”
[๒๔๔] ต่อจากนั้น พระนางก็ละอุบาสิกาเหล่านั้นแล้ว เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ
จตุตถฌาน อันยอดเยี่ยม
[๒๔๕] แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนว
สัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลาดับ
11
[๒๔๖] แล้วพระโคตมีเถรี ก็เข้าฌานทั้งหลายโดยปฏิโลม จนถึงปฐมฌาน เข้าฌานทั้ง ๓ จนถึง
จตุตถฌาน
[๒๔๗] ครั้นออกจากจตุตถฌานแล้วไม่มีอาสวะนิพพาน เหมือนดวงประทีปหมดเชื้อดับไป ได้เกิด
แผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ผ่าลงมาจากนภากาศ
[๒๔๘] กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง เทพทั้งหลายพากันคร่าครวญ และฝนดอกไม้ก็โปรยปราย
จากอากาศลงสู่พื้นดิน
[๒๔๙] แม้ภูเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่นไหว เหมือนคนเต้นราท่ามกลางโรงเต้นรา ทะเลก็ปั่นป่วน
ครวญครางเพราะความเศร้าโศก
[๒๕๐] เทพ นาค อสูร และพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในขณะนั้นเองว่า “สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีเถรีนี้ ถึงความย่อยยับไปแล้ว”
[๒๕๑] และพระเถรีทั้งหลายผู้ทาตามคาสั่งสอนของพระศาสดา ซึ่งห้อมล้อมพระมหาปชาบดีเถรี
นี้ ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น พากันนิพพานไปแล้ว เหมือนดวงประทีปหมดเชื้อดับไป
[๒๕๒] โอ! ความประจวบกันมีความพลัดพรากเป็นที่สุด โอ! สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนไม่เที่ยง โอ!
ชีวิตมีความพินาศเป็นที่สุด การคร่าครวญได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้
[๒๕๓] ลาดับนั้น เทวดาและพรหมต่างก็เข้าไปเฝ้าพระฤาษีผู้ประเสริฐ จึงทาความประพฤติตาม
โลกธรรมสมควรแก่กาล
[๒๕๔] ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอานนท์ผู้เป็นพหูสูต มีปัญญาดุจห้วงน้ามาสั่งว่า
“อานนท์ เธอจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ถึงการปรินิพพานของพระมารดา”
[๒๕๕] ในกาลนั้น ท่านพระอานนท์หมดความแช่มชื่น มีน้าตานองนัยนา ประกาศด้วยเสียงสั่น
เครือว่า “ขอภิกษุทั้งหลายจงมาประชุมกัน
[๒๕๖] คือภิกษุทั้งหลายที่เป็นโอรสของพระสุคตทั้งที่อยู่ในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศ
เหนือ ภิกษุณีนั้นเป็นมารดาของเรา
[๒๕๗] ผู้ประคบประหงมสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เจริญ ด้วยน้านมของตน ภิกษุณีนั้น คือพระ
โคตมีเถรี ดับสนิทแล้วเหมือนดวงดาวดับแสงในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น
[๒๕๘] พระนางทรงประกาศให้รู้ว่า ‘เป็นพุทธมารดา’ แล้วนิพพาน ซึ่งเป็นที่ที่คนแม้มีดวงตา ๕
ดวงก็มองไม่เห็น แต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นผู้นาทรงเห็นได้
[๒๕๙] ขอพระโอรสของพระสุคต ผู้มีศรัทธาในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของพระมหามุนี จงทา
สักการะพุทธมารดาเถิด”
[๒๖๐] ภิกษุทั้งหลายถึงอยู่ในที่ไกลแสนไกล ได้สดับคาประกาศนั้นแล้ว ก็รีบมา บางพวกมาด้วย
พุทธานุภาพ บางพวกที่ชานาญในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ของตน
[๒๖๑] ต่างช่วยกันยกเตียงที่พระโคตรมีเถรีนอนสงบนิ่ง ขึ้นตั้งบนเรือนยอดที่ประเสริฐ สาเร็จด้วย
ทองคาล้วน งดงามน่ายินดี
12
[๒๖๒] ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ (ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ (๑) ท้าวธตรฐ (๒) ท้าววิรุฬหก (๓) ท้าว
วิรูปักษ์ (๔) ท้าวกุเวร) ต่างก็ใช้บ่ารองรับเรือนยอดไว้ เทวดาที่เหลือมีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น ก็เข้าช่วยรับ
เรือนยอดด้วย
[๒๖๓] ก็เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง วิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตขึ้น มีสีเหมือนดวงอาทิตย์ใน
สารทกาล
[๒๖๔] ภิกษุณีทั้งหมด ผู้นอนสงบนิ่งอยู่บนเตียง ในที่นั้น ก็ถูกเทพทั้งหลายแบกนาออกไป
ตามลาดับ
[๒๖๕] พื้นนภากาศถูกเพดานบังไว้ทั่ว ที่เพดานนั้นมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พร้อมทั้งดวงดาวที่
ทาด้วยทองคาประดับติดไว้
[๒๖๖] ธงปฏาก (ธงผ้า) ได้ถูกยกขึ้นประดับไว้เป็นอันมาก เครื่องคลุมดอกไม้ที่สวยงาม ดอกบัว
ในอากาศมีปลายห้อยลง ส่วนดอกไม้ที่พื้นดินมีปลายชี้ขึ้น
[๒๖๗] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ และดวงดาวทั้งหลายก็ส่องแสง อนึ่ง ดวงอาทิตย์แม้อยู่
ในเวลาเที่ยงวัน ก็เหมือนดวงจันทร์ไม่ส่องแสงให้เร่าร้อน
[๒๖๘] เทพทั้งหลายพากันบูชาด้วยของหอม และดอกไม้มีกลิ่นหอมด้วยการประโคมดนตรี ฟ้อน
รา และขับร้องอันเป็นทิพย์
[๒๖๙] นาค อสูร และพรหม ต่างก็พากันบูชาพุทธมารดาผู้นิพพานซึ่งถูกเขานาออกไปแล้ว ตาม
ความสามารถตามกาลัง
[๒๗๐] ภิกษุณีผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งนิพพานแล้วทั้งหมดถูกอัญเชิญไปข้างหน้า พระโคตมี
เถรีผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า ผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะแล้วถูกอัญเชิญไปข้างหลัง
[๒๗๑] เทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยนาค อสูร และพรหมไปข้างหน้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก
เสด็จไปข้างหลัง เพื่อบูชาพุทธมารดา
[๒๗๒] การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า หาได้เป็นเช่นการปรินิพพานของพระโคตรมีเถรีไม่ การ
ปรินิพพานของพระโคตมีเถรีอัศจรรย์ยิ่งนัก
[๒๗๓] ในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระ
สารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลาที่พระโคตรมีเถรีนิพพาน ซึ่งมีทั้งพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารี
บุตรเป็นต้น
[๒๗๔] ชนทั้งหลายช่วยกันทาจิตกาธาน ซึ่งสาเร็จด้วยไม้มีกลิ่นหอมล้วนและโปรยจุรณเครื่อง
หอม แล้วฌาปนกิจภิกษุณีเหล่านั้นบนจิตกาธานนั้นๆ
[๒๗๕] ส่วนที่เหลือถูกไฟไหม้ไปสิ้นเหลือไว้เพียงอัฐิ ก็เวลานั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจา ให้
เกิดความสังเวชว่า
[๒๗๖] “พระโคตรมีเถรีนิพพานแล้ว พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว กาหนดได้ว่า การ
ปรินิพพานของพระพุทธเจ้านี้ คงจักมีโดยกาลไม่นาน
13
[๒๗๗] จากนั้น ท่านพระอานนท์ถูกพระพุทธเจ้าทรงตักเตือน จึงได้น้อมนาอัฐิธาตุของพระโคตมี
เถรี ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนางเข้ามาถวายพระโลกนาถ
[๒๗๘] พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นฤๅษีผู้ประเสริฐ ทรงใช้พระหัตถ์ประคองอัฐิเหล่านั้น ได้ตรัสว่า
“ต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้น
[๒๗๙] ถึงจะมีลาต้นใหญ่โต ก็พึงหักทาลายไปได้ เพราะความไม่เที่ยง พระโคตรมีเถรีก็หมือนกัน
ถึงจะเป็นใหญ่กว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ปรินิพพานไปแล้ว
[๒๘๐] ดูเถิดอานนท์ พุทธมารดาแม้ปรินิพพานแล้ว เหลือเพียงสรีรธาตุ เธอไม่ควรเศร้าโศกคร่า
ครวญถึง
[๒๘๑] คนอื่นๆ ก็ไม่ควรเศร้าโศกถึง พระนางผู้ข้ามห้วงน้าคือสังสารวัฏไปแล้ว ละเว้นเหตุที่ทาให้
เดือดร้อนได้แล้ว เป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว
[๒๘๒] พระนางเป็นบัณฑิต มีปัญญามากและมีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นรัตตัญญูกว่าภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทราบอย่างนี้ เถิด
[๒๘๓] พระโคตมีเถรีเป็นผู้ชานาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๒๘๔] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุพระโคตรมีเถรีก็ชาระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็
สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๘๕] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณก็บริสุทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้น พระโคตมีเถรีนั้นอันใครๆ ไม่ควรเศร้าโศกถึง
[๒๘๖] ความเป็นไปของไฟที่ลุกโพลงขึ้น ที่ถูกแผ่นเหล็กหนาทับไว้แล้ว ดับสนิทไปตามลาดับ
ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด
[๒๘๗] คติของผู้หลุดพ้นโดยชอบแล้ว ซึ่งข้ามเครื่องผูกพันคือกามและโอฆะได้ บรรลุบทอันไม่
หวั่นไหว ย่อมไม่มี เพื่อจะให้ใครๆ รู้ได้ ก็ฉันนั้น
[๒๘๘] เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีสติปัฏฐานเป็นโคจร เธอทั้งหลายเจริญ
โพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทาที่สุดแห่งทุกข์ได้”
ได้ทราบว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗ จบ
-------------------------------
( เถรีอปทานทั้งหมด ไม่มีเนื้ อความอรรถกถาอธิบาย.)

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a (๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf

๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdfmaruay songtanin
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติgueste13f2b
 
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ  เจาะลึกอนุพุทธประวัติ  เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ เจาะลึกWataustin Austin
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรPanda Jing
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...Tongsamut vorasan
 
พระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้องพระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้องsupakitza
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdfmaruay songtanin
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกchaichaichaiyoyoyo
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 

Semelhante a (๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf (20)

45 พรรษา
45 พรรษา45 พรรษา
45 พรรษา
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
 
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ  เจาะลึกอนุพุทธประวัติ  เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
200789830 katin
200789830 katin200789830 katin
200789830 katin
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
 
พระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้องพระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้อง
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวก
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 

Mais de maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

Mais de maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๑๖ มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี เกริ่นนา สตรีผู้นี้ จักมีนามปรากฏว่าโคตรมี เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวิกาของ พระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นพระมาตุจฉาบารุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ความเป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายรู้ราตรีนาน (พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๙๗] คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงส่องโลกให้สว่าง ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏา คารศาลาป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี [๙๘] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉา(น้าสาว) ของพระชินเจ้า อยู่ในสานัก ของภิกษุณี ในกรุงที่น่ารื่นรมย์นั้น [๙๙] พร้อมด้วยภิกษุณีอีก ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีนั้น อยู่ในที่สงัดได้ตรึก(คิด)อย่างนี้ ว่า [๑๐๐] “การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกทั้งคู่ก็ดี ของพระราหุลก็ดี ของพระ อานนท์ และของพระนันทะก็ดี เราจะไม่ได้เห็น [๑๐๑] ก่อนแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ของพระอัครสาวกทั้งคู่ ของพระมหากัสสปะ ของ พระนันทะ ของพระอานนท์ และของพระราหุล เราก็จะไม่ได้เห็นเหมือนกัน [๑๐๒] เราผู้ที่พระโลกนาถ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้ว นิพพาน” [๑๐๓] ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้น แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้นก็ได้ตรึกเช่นนี้ เหมือนกัน [๑๐๔] ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์บันลือลั่น เทพที่สถิตอยู่ในสานักภิกษุณี ถูกความเศร้า โศกบีบคั้น [๑๐๕] บ่นเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร หลั่งน้าตาในที่นั้น ภิกษุณีทุกรูปพร้อมด้วยเทพเหล่านั้น ได้เข้า ไปหาพระโคตมีภิกษุณี
  • 2. 2 [๑๐๖] ซบศีรษะลงแทบเท้าแล้วกล่าวคานี้ ว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะหม่อมฉันมีปกติอยู่ด้วย การเทียบเคียงในธรรมเหล่านั้น หม่อมฉันจึงได้อยู่ในที่สงัด [๑๐๗] แผ่นดินไหวสะเทือนเลื่อนลั่น กลองทิพย์บันลือลั่น และหม่อมฉันได้ยินเสียงคร่าครวญ ข้า แต่พระโคตมี จะต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่” [๑๐๘] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตรมีนั้น ได้บอกถึงเหตุทุกอย่างตามที่ตนได้ตรึกแล้ว ลาดับนั้น ภิกษุณีทุกรูปก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนตรึกแล้วกล่าวว่า [๑๐๙] “ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจการนิพพานที่เกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงหม่อมฉัน ทั้งหลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลที่พระพุทธเจ้าจะทรงอนุญาตก่อน [๑๑๐] แม้หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ออกจากเรือน และจากภพพร้อมกับพระแม่เจ้า หม่อมฉัน ทั้งหลายก็จักไปสู่เมืองอันยอดเยี่ยมคือพระนิพพาน พร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน” [๑๑๑] พระมหาปชาบดีโคตรมีกล่าวว่า “เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ฉันจักว่าอะไรได้เล่า” แล้วได้ออกจากสานักภิกษุณีไปพร้อมกับภิกษุณีทั้งหมดในครั้งนั้น [๑๑๒] พระมหาปชาบดีโคตรมีภิกษุณี ได้กล่าวกับทวยเทพทั้งหลายว่า “ขอเทพทั้งหลายที่สถิตอยู่ ณ สานักภิกษุณี จงยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด การเห็นสานักภิกษุณีของข้าพเจ้านี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย [๑๑๓] ในที่ใดไม่มีความแก่และความตาย ไม่มีการสมาคมกับสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก ไม่มี การพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน (สถานที่ที่ไม่มี ปัจจัยปรุงแต่ง)” [๑๑๔] พระโอรสของพระสุคตทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคานั้น เป็นผู้อัดอั้นตันใจ ด้วยความเศร้าโศกคร่าครวญว่า “น่าสังเวชหนอ เราทั้งหลายช่างมีบุญน้อย [๑๑๕] สานักภิกษุณีนี้ จักว่างเปล่า เพราะเว้นจากภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้เป็นชิโนรสจะไม่ ปรากฏ เหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏในเวลาสว่าง [๑๑๖] พระมหาปชาบดีโคตรมีจะนิพพาน พร้อมด้วยภิกษุณีอีก ๕๐๐ รูป เหมือนกับแม่น้าคงคา ไหลไปสู่สาคร พร้อมกับแม่น้า ๕๐๐ สาย” [๑๑๗] อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธา เห็นภิกษุณีทั้งหลายกาลังเดินไปตามถนน ได้พากันออกจาก เรือนไปหมอบลงแทบเท้า แล้วกล่าวคานี้ กับพระโคตมีนั้นว่า [๑๑๘] “การที่พระแม่เจ้าละทิ้งหม่อมฉันทั้งหลาย ผู้จมอยู่ในโภคะเป็นอันมาก ไม่มีที่พึ่งแล้ว นิพพานไม่สมควร” อุบาสิกาเหล่านั้นมีความต้องการบีบคั้นจึงพร่าเพ้อ [๑๑๙] เพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละความเศร้าโศก พระนางจึงได้ตรัสอย่างไพเราะว่า “อย่า ร้องไห้ไปเลย ลูกทั้งหลาย วันนี้ เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย [๑๒๐] ทุกข์ฉันกาหนดรู้แล้ว เหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ฉันเว้นขาดแล้ว นิโรธฉันได้ทาให้แจ้งแล้ว และ มรรคฉันก็ได้อบรมดีแล้ว
  • 3. 3 [๑๒๑] พระศาสดาฉันก็ได้บารุงแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ภาระหนัก (ภาระหนัก หมายถึงขันธภาระ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ฉันก็ปลงลง ได้แล้ว ตัณหาที่เป็นเหตุนาไปสู่ภพฉันก็ถอนได้แล้ว [๑๒๒] กุลบุตรกุลธิดาออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ ทั้งปวง ฉันได้บรรลุแล้วโดยลาดับ [๑๒๓] พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมของพระองค์ มิได้ย่อหย่อนยังดารงอยู่ตราบใด ตราบนั้น เป็นเวลาสมควรแล้วที่ฉันจะนิพพาน ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงแม่เลย [๑๒๔] พระชินเจ้า พระราหุล พระอัญญาโกณฑัญญะ พระอานนท์ และพระนันทะเป็นต้น ก็ยัง ดารงอยู่ ขอพระสงฆ์จงมีประโยชน์สุขร่วมกัน ขอให้เดียรถีย์จงเป็นผู้มีความโง่เขลาถูกกาจัดเสียเถิด [๑๒๕] ยศคือการย่ายีมารแห่งวงศ์พระเจ้าโอกกากราช ฉันก็ให้รุ่งเรืองแล้ว ลูกๆ ถึงเวลาที่แม่จะ นิพพานแล้วมิใช่หรือ [๑๒๖] ความปรารถนาที่แม่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นมาช้านานจะสาเร็จแก่แม่ในวันนี้ เวลานี้ เป็นเวลาที่ กลองอานันทเภรีบันลือเสียง ลูกเอ๋ย น้าตาจะมีประโยชน์อะไรแก่พวกลูก [๑๒๗] ถ้าลูกทั้งหลายจะมีความเอ็นดู หรือมีความกตัญญูในมารดา ก็ขอให้ลูกทุกคนจงทาความ เพียรให้มั่น เพื่อความดารงมั่นแห่งพระสัทธรรมเถิด [๑๒๘] พระสัมมาพุทธเจ้า ซึ่งแม่ทูลอ้อนวอน จึงได้ทรงประทานการบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แม่ยินดี ฉันใด ลูกทั้งหลายก็จงเจริญรอยตามความยินดีนั้น ฉันนั้นเถิด” [๑๒๙] ครั้นพระนางพร่าสอนอุบาสิกาเหล่านั้นอย่างนี้ แล้ว มีภิกษุณีทั้งหลายห้อมล้อมเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า ไหว้แล้วได้กราบทูลคานี้ ว่า [๑๓๐] “ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเคยเป็นมารดาเลี้ยงของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า ส่วนพระองค์ เป็นบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานความสุขที่เกิดจากพระสัทธรรม ข้าแต่ พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้ที่พระองค์ทรงให้เกิดแล้ว [๑๓๑] ข้าแต่พระสุคต พระรูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันเคยฟูมฟักให้เจริญเติบใหญ่แล้ว ส่วนพระธรรมกายที่น่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทรงฟูมฟักให้เจริญแล้ว [๑๓๒] พระองค์หม่อมฉันให้ดื่มน้านม อันระงับความหิวได้เพียงชั่วครู่ ส่วนหม่อมฉันพระองค์ทรง ให้ดื่มแม้น้านม คือพระธรรมซึ่งสงบระงับได้แท้จริง [๑๓๓] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้ หม่อมฉัน ในเพราะการเลี้ยงดูด้วยความ ผูกพัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่า สตรีทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตรขออยู่ ก็ย่อมได้บุตรเช่นนั้น [๑๓๔] มารดาใดของจอมนรชน มีพระเจ้ามันธาตุเป็นต้น มารดานั้นชื่อว่ายังบุตรให้จมอยู่ในห้วง มหรรณพคือภพ ข้าแต่พระปิโยรส ส่วนหม่อมฉันผู้จมอยู่แล้ว พระองค์ทรงช่วยให้ข้ามพ้นจากสาครคือภพได้ [๑๓๕] พระนามว่า พระพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้มาโดยง่าย (แต่)พระนามว่า พุทธมารดา นี้ สตรีทั้งหลายได้มาโดยยากอย่างยิ่ง
  • 4. 4 [๑๓๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพุทธมารดานั้นอันหม่อมฉันได้แล้ว ปณิธานน้อยใหญ่ของ หม่อมฉันพระองค์ก็ทรงให้สาเร็จแล้ว ทั้งหมดนั้นพระองค์ทรงให้บริบูรณ์แล้ว [๑๓๗] หม่อมฉันปรารถนาที่จะละร่างนี้ ปรินิพพาน ข้าแต่พระวีรเจ้า ผู้ทาที่สุดแห่งทุกข์ ทรงเป็น ผู้นา ขอพระองค์ทรงโปรดอนุญาตให้หม่อมฉันเถิด [๑๓๘] ขอพระองค์โปรดทรงเหยียดพระยุคลบาท ที่วิจิตรด้วยลายจักร (ลายจักรก้นหอย) และธง อันละเอียดอ่อนเหมือนดอกบัวออกเถิด หม่อมฉันจะนอบน้อมพระยุคลบาทนั้น จักขอทาความรักในบุตร [๑๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นา หม่อมฉันจะทาสรีระคือร่างกายของพระองค์เหมือนกองทอง อันปรากฏเหมือนทับทิม ให้เป็นอันหม่อมฉันเห็นดีแล้วจึงจะนิพพาน” [๑๔๐] พระชินเจ้าทรงแสดงให้พระมาตุจฉาเห็นพระวรกาย ที่ประกอบด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับด้วยพระรัศมีอย่างงดงาม ซึ่งเป็นเหมือนดึงดูดดวงตาของคนพาล [๑๔๑] ลาดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตรมีนั้นได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระยุคลบาท ซึ่งเป็น ลายจักรคล้ายดอกบัวบาน มีพระรัศมีดังดวงอาทิตย์แรกทอแสง แล้วได้กราบทูลว่า [๑๔๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นดุจดวงอาทิตย์ของนรชน หม่อมฉันนอบน้อมพระองค์ ผู้เป็นธงแห่ง วงศ์พระอาทิตย์ ขอพระองค์ทรงโปรดเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันในกาลสุดท้ายด้วยเถิด หม่อมฉันจะไม่ได้เห็น พระองค์อีก [๑๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศในโลก ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระกรุณา ธรรมดาสตรีทั้งหลายรู้กันว่ามีแต่ จะก่อโทษทุกประการ ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอพระองค์ได้โปรดยกโทษแก่หม่อมฉัน ด้วยเถิด [๑๔๔] อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลขอบ่อยๆ ให้สตรีทั้งหลายได้บวช ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจกว่านรชน ถ้าโทษในข้อนั้นจะมีแก่หม่อมฉัน ขอได้โปรดยกโทษนั้นด้วยเถิด [๑๔๕] ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งการยกโทษภิกษุณีทั้งหลาย อันหม่อมฉันสั่งสอนแล้วตามที่ พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าข้อนั้นจะมีการแนะนาผิด ขอได้โปรดยกโทษในข้อนั้นด้วยเถิด” [๑๔๖] (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า) “โคตรมีผู้ประดับไปด้วยคุณ ชื่อว่านิพพานก็สมควรแก่เธอ จะมีโทษอะไร เมื่อเธอบอกว่าจะลานิพพาน ตถาคตจักไปว่าอะไรเธอให้มากเล่า [๑๔๗] เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ ไม่บกพร่อง เธอจะออกไปเสียจากโลกนี้ ก็ควร เพราะใน เวลาสว่าง เมื่อดวงดาวหมดแสง จันทเลขาก็เห็นเลือนไป” [๑๔๘] ภิกษุณีทั้งหลายนอกจากพระมหาปชาบดีโคตรมี พากันทาประทักษิณพระชินเจ้าผู้เลิศ เหมือนกลุ่มดาวที่ติดตามดวงจันทร์ ทาประทักษิณภูเขาพระสุเมรุ หมอบลงแทบพระยุคลบาทแล้ว ยืนเพ่งดู พระพักตร์ของพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า [๑๔๙] “จักษุของหม่อมฉันไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันก็ไม่เคยอิ่มด้วย ภาษิตของพระองค์ จิตของหม่อมฉันดวงเดียวเท่านั้นบรรลุธรรมจึงอิ่มด้วยรสแห่งธรรม [๑๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระผู้ประเสริฐ เมื่อพระองค์บันลืออยู่ในท่ามกลางบริษัท กาจัดทิฏฐิ มานะ ชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
  • 5. 5 [๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ถึงที่สุดแห่งสงคราม ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่ง มีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระยุคลบาทยาว แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี [๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระผู้สูงสุด ชนเหล่าใดได้สดับพระดารัสของพระองค์ ซึ่งไพเราะน่า ปลื้มใจ เผาเสียซึ่งโทษ เป็นประโยชน์เกื้อกูล แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี [๑๕๓] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันอิ่มไปด้วยการบูชาพระยุคลบาทของพระองค์ ข้ามพ้นทาง กันดารคือสงสารได้ด้วยพระสุนทรกถาของพระองค์ผู้มีพระสิริ ฉะนั้น หม่อมฉันจึงชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี” [๑๕๔] ลาดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตรมีผู้มีวัตรงาม ประกาศในหมู่ภิกษุสงฆ์แล้วไหว้พระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะแล้วได้ตรัสดังนี้ ว่า [๑๕๕] “ดิฉันเบื่อหน่ายร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษ เป็นรังแห่งโรค เป็นสถานที่เกิดทุกข์ มีชราและมรณะเป็นโคจร [๑๕๖] เกลื่อนกล่นไปด้วยมลทินคือซากศพต่างๆ ต้องพึ่งพาผู้อื่น ปราศจากความน่าใฝ่ใจ ฉะนั้น ดิฉันจึงปรารถนาจะนิพพานเสีย ขอลูกๆ ทั้งหลายจงเข้าใจตามสมควรเถิด” [๑๕๗] พระนันทเถระและพระภัททราหุล เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก หมดอาสวะ ตั้งมั่น ไม่ หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตามธรรมดาว่า [๑๕๘] “น่าติเตียน ร่างกายที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีภาวะหวั่นไหว ปราศจากแก่นสาร เปรียบได้กับต้น กล้วย เช่นเดียวกับพยับแดดซึ่งเป็นมายา ต่าช้าไม่มั่นคง [๑๕๙] พระโคตรมีเถรีพระมาตุจฉาของพระชินเจ้านี้ ซึ่งได้เคยเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ยังต้องเสด็จ นิพพาน สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนไม่เที่ยง” [๑๖๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากของพระชินเจ้า ยังเป็นพระเสข บุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้าตา คร่าครวญอย่างน่าเวทนาในที่นั้นว่า [๑๖๑] “พระโคตมีเถรีตรัสอยู่หลัดๆ ก็จะเสด็จนิพพานเสียแล้ว คงอีกไม่นานเลย แม้พระพุทธเจ้า ก็จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว” [๑๖๒] พระโคตรมีเถรีได้ตรัสกับพระอานนท์ ผู้เชี่ยวชาญพระปริยัติธรรมที่ลึกล้าปานสาคร ฝักใฝ่ ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่าราพันอยู่ดังกล่าวมาว่า [๑๖๓] “ลูกเอ๋ย เมื่อกาลเป็นที่ร่าเริงปรากฏแล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่ การ นิพพานของแม่นั้นใกล้เข้ามาแล้ว [๑๖๔] ลูกเอ๋ย พระศาสดาลูกได้ทูลให้ทรงยินยอม จึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช ลูกเอ๋ย พ่ออย่า เสียใจไปเลย ความพยายามของพ่อต้องมีผล [๑๖๕] ก็บทใด ที่เจ้าลัทธิทั้งหลายผู้เก่าก่อนไม่เห็น บทนั้นอันเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบรู้แจ้ง ประจักษ์แล้ว [๑๖๖] พ่อจงรักษาพุทธศาสนาไว้ การเห็นลูกเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ลูกเอ๋ย แม่จะไปสถานที่ที่ บุคคลไปแล้วไม่ปรากฏ
  • 6. 6 [๑๖๗] ในกาลบางคราว พระผู้ทรงเป็นผู้นาชั้นเลิศของโลก ทรงเปล่งวาจาแสดงธรรม ครั้งนั้น แม่ ผู้มีความอนุเคราะห์จึงกล่าววาจาที่มีความหวังว่า [๑๖๘] “ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงทรงพระชนม์อยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จง ดารงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงเถิด ขอพระองค์ทรงอย่าชราและ ปรินิพพานเลย” [๑๖๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสกับแม่ผู้กราบทูลอยู่เช่นนั้นว่า “พระนางโคตมี พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อันใครๆ ไม่ควรวิงวอน เหมือนอย่างที่เธอวิงวอนอยู่เลย” [๑๗๐] “ก็อย่างไร พระตถาคตผู้สัพพัญญู จึงชื่อว่าอันบุคคลพึงวิงวอน และอย่างไรพระพุทธเจ้าจึง ชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงวิงวอน พระองค์อันหม่อมฉันทูลถามถึงเหตุนั้นแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่ หม่อมฉันด้วยเถิด” [๑๗๑] “ท่านจงดูสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเพื่อบาเพ็ญเพียร มีความบาก บั่นมั่นคงเป็นนิตย์ เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน นี้ เป็นการวิงวอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” [๑๗๒] ต่อแต่นั้น ดิฉันไปสู่สานักของภิกษุณี อยู่คนเดียวคิดได้อย่างแจ้งชัดว่า “พระพุทธเจ้าผู้ทรง เป็นที่พึ่ง ผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพ (ไตรภพ หมายถึงกามภพ รูปภพ อรูปภพ) ทรงพอพระทัยบริษัทที่สามัคคี กัน [๑๗๓] เอาเถิด เราจะนิพพาน อย่าได้พบเห็นความวิบัตินั้นเลย” ครั้นดิฉันคิดดังนี้ แล้ว ได้เข้าเฝ้า พระฤาษีผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า) [๑๗๔] แล้วได้กราบทูลกาลเป็นที่ปรินิพพาน กับพระผู้ทรงเป็นผู้นาวิเศษ ลาดับนั้น พระองค์ได้ ทรงอนุญาตว่า “จงรู้กาลเองเถิด พระนางโคตมี” [๑๗๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลส เครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๗๖] การที่หม่อมฉันมาในสานักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว [๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล [๑๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) “โคตมี คนพาลเหล่าใดมีความสงสัยในการตรัสรู้ธรรมของสตรี ทั้งหลาย ท่านจงแสดงฤทธิ์เพื่อการละทิฏฐิของคนพาลเหล่านั้น” [๑๗๙] ครั้งนั้น พระโคตรมีเถรีหมอบกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า แสดง ฤทธิ์เป็นอเนกประการตามพุทธานุญาต [๑๘๐] คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทาให้ปรากฏก็ได้ ทาให้หายไปก็ ได้ ทะลุฝา กาแพง ภูเขาก็ได้ [๑๘๑] ไปได้ไม่ติดขัด ดาลงไปในแผ่นดินเหมือนดาลงไปในน้าก็ได้ เดินไปบนน้าโดยที่น้าไม่แตก กระจายเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้
  • 7. 7 [๑๘๒] นั่งขัดสมาธิลอยไปในอากาศเหมือนนางนกก็ได้ ใช้อานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ [๑๘๓] ทาสิเนรุบรรพตให้เป็นคันร่ม ทาแผ่นดินใหญ่ให้เป็นตัวร่ม พลิกเอาเบื้องล่างขึ้น เดินกั้น ร่มไปมาในอากาศ [๑๘๔] ได้ทาโลกให้สวยงามประหนึ่งเวลาอาทิตย์ ๖ ดวงอุทัยเหนือภูเขายุคันธร และได้ทาโลกให้ เป็นเหมือนกลุ่มตาข่ายดอกไม้ที่ยอดภูเขายุคันธร [๑๘๕] ใช้พระหัตถ์ข้างหนึ่งกาภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ภูเขามันทาระ และภูเขาทัททระไว้ได้ ทั้งหมด เหมือนกาเมล็ดพันธุ์ผักกาด [๑๘๖] ใช้ปลายนิ้ วพระหัตถ์บังดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้ ทัดทรงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้ เป็นพันๆ ดวง เหมือนทัดทรงพวงมาลัย [๑๘๗] ใช้ฝ่าพระหัตถ์ข้างหนึ่งธารน้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไว้ได้ ทาฝนห่าใหญ่ให้ตกมีอาการดัง สายน้าที่ตกจากภูเขายุคันธร [๑๘๘] พระนางนั้นได้เนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยบริวารในท้องฟ้า แสดงเป็น ครุฑ คชสาร ราชสีห์ ต่างบันลือร้องอยู่ [๑๘๙] พระองค์เดียวทรงเนรมิตเป็นคณะภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียว กราบทูลพระมุนีว่า [๑๙๐] “ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันผู้เป็นพระมาตุจฉาของพระองค์ เป็นผู้ปฏิบัติ ตามคาสั่งสอนของพระองค์ บรรลุประโยชน์ตนโดยลาดับแล้ว ขอกราบพระยุคลบาท” [๑๙๑] พระนาง ครั้นแสดงฤทธิ์อย่างต่างๆ แล้วลงจากท้องฟ้า ทรงไหว้พระพุทธองค์ผู้ทรงส่อง โลกให้สว่างแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง (กราบทูลว่า) [๑๙๒] “ข้าแต่พระมหามุนีวีรเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นา หม่อมฉันนั้นมีอายุได้ ๑๒๐ ปี เพียงเท่านี้ ก็ พอแล้ว หม่อมฉันจักนิพพาน” [๑๙๓] ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้น ถึงความพิศวงยิ่งนักจึงได้พากันประนมมือถามว่า ข้าแต่พระแม่ เจ้า ผู้มีความบากบั่น พระแม่เจ้าได้ทาบุญอะไรไว้ จึงเป็นผู้มีฤทธิ์หาที่เปรียบมิได้” [๑๙๔] (พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้กล่าวบุพจริยาของท่านดังต่อไปนี้ ว่า) พระชินเจ้าพระนาม ว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นา เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป [๑๙๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอามาตย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอานวยความสะดวกทุกอย่าง เจริญรุ่งเรือง ร่ารวย มีทรัพย์มาก ในกรุงหงสวดี [๑๙๖] ในกาลบางคราว ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบิดา มีหมู่ทาสีห้อมล้อมเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจ กว่านรชน พร้อมด้วยบริวารจานวนมาก [๑๙๗] พระชินเจ้าผู้ไม่มีอาสวะทาฝนคือธรรมให้ตกลงอยู่ เหมือนท้าววาสวะ มีกลุ่มแห่งพระรัศมี โชติช่วง เช่นกับดวงอาทิตย์ในสารทกาล [๑๙๘] ข้าพเจ้าเห็นแล้วทาจิตให้เลื่อมใส และได้สดับสุภาษิตของพระองค์ ได้สดับพระผู้ทรงเป็น ผู้นาของนรชน ทรงตั้งภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจฉาไว้ในตาแหน่งที่เลิศ
  • 8. 8 [๑๙๙] จึงได้ถวายมหาทานและปัจจัยจานวนมากแด่พระผู้เลิศกว่านรชน ผู้คงที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน [๒๐๐] แล้วจึงหมอบลงแทบพระยุคลบาทได้ปรารถนาตาแหน่งนั้น ลาดับนั้น พระฤาษีผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสในที่ประชุมใหญ่นั้นว่า [๒๐๑] “เราจักพยากรณ์สตรีผู้ที่นิมนต์พระผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลกพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ให้เสวยและ ฉันตลอด ๗ วัน ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด [๒๐๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรง สมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๒๐๓] สตรีผู้นี้ จักมีนามปรากฏว่าโคตรมี เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็น สาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น [๒๐๔] จักเป็นพระมาตุจฉาบารุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ความเป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายรู้ราตรีนาน” [๒๐๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้มีใจปราโมทย์ บารุงพระชินเจ้าด้วย ปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ตายไป [๒๐๖] ข้าพเจ้าบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งให้สาเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทุกประการ ครอบงาพวกเทพ เหล่าอื่นด้วยองค์ ๑๐ ประการ [๒๐๗] คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ(ธรรมารมณ์) อายุ วรรณะ สุข และยศ [๒๐๘] อนึ่ง รุ่งเรืองครอบงาเทพเหล่าอื่นด้วยความเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าได้เป็นพระมเหสีผู้เป็นที่รัก ของท้าวอัมรินทราธิราชชั้นดาวดึงส์นั้น [๒๐๙] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร เป็นผู้หวั่นไหวเพราะพายุคือกรรม จึงเกิดใน หมู่บ้านทาสในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี [๒๑๐] ครั้งนั้น ทาส ๕๐๐ คนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาส ทั้งหมดในหมู่บ้านนั้น [๒๑๑] พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ข้าพเจ้ากับญาติทุกคนเห็น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงมีความยินดี [๒๑๒] ข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามี เลื่อมใสแล้ว จึงช่วยกันสร้างกุฎี ๕๐๐ หลังถวาย อุปัฏฐาก ตลอด ๔ เดือนแล้วถวายไตรจีวร [๒๑๓] จากนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามีตายไป ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เกิดในกรุงเทวทหะ [๒๑๔] พระชนกของข้าพเจ้าทรงพระนามว่าอัญชนศากยะ พระชนนีของข้าพเจ้าทรงพระนามว่าสุ ลักขณา ต่อมา ข้าพเจ้าได้ไปสู่พระราชวังของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ [๒๑๕] สตรีทุกคนเกิดในตระกูลศากยะแล้ว ได้ไปสู่พระราชวังของเจ้าศากยะทั้งหลาย ข้าพเจ้า ประเสริฐกว่าสตรีทุกคน ได้เป็นผู้บารุงเลี้ยงพระชินเจ้า
  • 9. 9 [๒๑๖] พระโอรสของข้าพเจ้าพระองค์นั้น เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ได้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นาวิเศษ ภายหลังข้าพเจ้าพร้อมด้วยนางศากิยานี ๕๐๐ นางจึงได้บวช [๒๑๗] แล้วได้ประสบสันติสุขพร้อมด้วยนางศากิยานีผู้มีความเพียร ในครั้งนั้น ชนเหล่าใดผู้เคย เป็นสามีของพวกข้าพเจ้าในชาติก่อน [๒๑๘] ชนเหล่านั้น เคยทาบุญร่วมกันมา ประพฤติตามคาสอนที่ควรบูชา พระสุคตทรง อนุเคราะห์แล้ว ได้บรรลุอรหัตตผล [๒๑๙] ภิกษุณีทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก นอกจากพระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีนั้น ได้พากันเหาะขึ้นสู่ ท้องฟ้า รุ่งโรจน์ เหมือนดวงดาวทั้งหลายที่โคจรเกาะกลุ่มกันไป [๒๒๐] ภิกษุณีเหล่านั้น เป็นผู้ศึกษาแล้วในบุญกรรม จึงแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ เหมือน นายช่างทองที่ได้รับการศึกษาแล้ว แสดงเครื่องประดับทองคาชนิดต่างๆ [๒๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ครั้นแสดงปาฏิหาริย์มากมายหลายอย่างแล้ว ทาพระมุนีผู้ ประเสริฐกว่าดวงอาทิตย์พร้อมทั้งบริษัทให้ทรงพอพระทัยยินดีแล้ว [๒๒๒] ได้พากันลงจากท้องฟ้า ไหว้พระฤๅษีผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า) ผู้อันพระศาสดาผู้เป็นนระ ผู้เลิศทรงอนุญาตแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร [๒๒๓] (ได้กราบทูลว่า) “ข้าแต่พระวีรเจ้า น่าชมเชย พระโคตรมีเถรี เป็นผู้อนุเคราะห์หม่อมฉัน ทั้งปวง หม่อมฉันทั้งหลายถูกพระนางอบรมด้วยบุญ จึงได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ [๒๒๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้ แล้วอยู่อย่างอิสระ [๒๒๕] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสานักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดย แท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทา สาเร็จแล้ว [๒๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทาให้ แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล [๒๒๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย เป็นผู้มีความชานาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ (หมายถึงหูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทาให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา) และในเจโตปริยญาณ (หมายถึง ญาณกาหนดรู้ใจผู้อื่นได้, อ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากาลังคิดอะไรอยู่ เป็นต้น) [๒๒๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (หมายถึงความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้) ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชาระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่ มีอีก [๒๒๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันทั้งหลายที่มีอยู่ ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสานักของพระองค์
  • 10. 10 [๒๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นา ทรงเป็นมหามุนี พระองค์ทรงเป็นผู้ที่หม่อมฉันทั้งหลายมีจิต เมตตา ปฏิบัติ ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหมดนิพพานเถิด” [๒๓๑] พระชินเจ้าได้ตรัสว่า “เมื่อเธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ว่า ‘จักนิพพาน’ เราตถาคตจะไปกล่าว อะไรได้ ก็บัดนี้ เธอทั้งหลายจงสาคัญกาลอันสมควรเถิด [๒๓๒] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นมีพระโคตรมีเถรีเป็นอาทิ ไหว้พระชินเจ้าแล้ว ได้พากันลุกจากที่ นั่งนั้นไป [๒๓๓] พระธีรเจ้า ทรงเป็นผู้นาชั้นเลิศของโลกพร้อมด้วยหมู่ชนจานวนมาก ได้เสด็จไปส่งพระ มาตุจฉาจนถึงซุ้มประตู [๒๓๔] ครั้งนั้น พระโคตรมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทุกรูปนอกนี้ ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคล บาทของพระศาสดา ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกแล้วกราบทูลว่า “นี้ เป็นการกราบพระยุคลบาทครั้งสุดท้าย [๒๓๕] นี้ เป็นการเห็นพระโลกนาถครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ ซึ่ง มีอาการดังน้าอมฤตของพระองค์อีก [๒๓๖] ข้าแต่พระวีระผู้เลิศในโลก การกราบไหว้ของหม่อมฉัน จักไม่สัมผัสพระยุคลบาทอัน ละเอียดอ่อนของพระองค์(อีก) วันนี้ หม่อมฉันจะนิพพาน” [๒๓๗] พระศาสดาตรัสว่า “จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยรูปนี้ เมื่อธรรมที่เธอเห็นแล้วตามความ เป็นจริง สังขตธรรมทั้งปวงนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ายินดี และเป็นของเลวทราม” [๒๓๘] พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีเหล่านั้น กลับไปยังสานักของตนแล้ว นั่งขัดสมาธิ ชั้นเดียวบนอาสนะที่ประเสริฐ [๒๓๙] ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในที่นั้น ผู้มีความเคารพรักในพุทธศาสนา ได้สดับความเป็นไป ของพระนาง ต่างก็เข้าไปนมัสการพระยุคลบาท [๒๔๐] ใช้มือตบอก ร้องไห้ คร่าครวญอย่างน่าสงสาร อัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศก ล้มลงที่ ภาคพื้น ดุจเถาวัลย์ที่มีรากขาดแล้วกองลง ราพันด้วยวาจาว่า [๒๔๑] “ข้าแต่พระแม่เจ้าผู้ประทานที่พึ่งแก่หม่อมฉันทั้งหลาย พระแม่เจ้า อย่าได้ละทิ้งหม่อมฉัน ทั้งหลายนิพพานเลย หม่อมฉันทุกคนขอซบเศียรอ้อนวอน” [๒๔๒] พระมหาปชาบดีเถรีลูบศีรษะของอุบาสิกาผู้มีศรัทธา มีปัญญา ซึ่งเป็นหัวหน้าของอุบาสิกา เหล่านั้น ได้กล่าวคานี้ ว่า [๒๔๓] “ลูกทั้งหลายเอ๋ย อย่าเลย การพร่าเพ้อซึ่งเป็นไปในบ่วงแห่งมาร สังขตธรรมทั้งปวงล้วนไม่ เที่ยง มีแต่จะหวั่นไหวพลัดพรากจากกันไป” [๒๔๔] ต่อจากนั้น พระนางก็ละอุบาสิกาเหล่านั้นแล้ว เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน อันยอดเยี่ยม [๒๔๕] แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนว สัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลาดับ
  • 11. 11 [๒๔๖] แล้วพระโคตมีเถรี ก็เข้าฌานทั้งหลายโดยปฏิโลม จนถึงปฐมฌาน เข้าฌานทั้ง ๓ จนถึง จตุตถฌาน [๒๔๗] ครั้นออกจากจตุตถฌานแล้วไม่มีอาสวะนิพพาน เหมือนดวงประทีปหมดเชื้อดับไป ได้เกิด แผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ผ่าลงมาจากนภากาศ [๒๔๘] กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง เทพทั้งหลายพากันคร่าครวญ และฝนดอกไม้ก็โปรยปราย จากอากาศลงสู่พื้นดิน [๒๔๙] แม้ภูเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่นไหว เหมือนคนเต้นราท่ามกลางโรงเต้นรา ทะเลก็ปั่นป่วน ครวญครางเพราะความเศร้าโศก [๒๕๐] เทพ นาค อสูร และพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในขณะนั้นเองว่า “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีเถรีนี้ ถึงความย่อยยับไปแล้ว” [๒๕๑] และพระเถรีทั้งหลายผู้ทาตามคาสั่งสอนของพระศาสดา ซึ่งห้อมล้อมพระมหาปชาบดีเถรี นี้ ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น พากันนิพพานไปแล้ว เหมือนดวงประทีปหมดเชื้อดับไป [๒๕๒] โอ! ความประจวบกันมีความพลัดพรากเป็นที่สุด โอ! สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนไม่เที่ยง โอ! ชีวิตมีความพินาศเป็นที่สุด การคร่าครวญได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้ [๒๕๓] ลาดับนั้น เทวดาและพรหมต่างก็เข้าไปเฝ้าพระฤาษีผู้ประเสริฐ จึงทาความประพฤติตาม โลกธรรมสมควรแก่กาล [๒๕๔] ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอานนท์ผู้เป็นพหูสูต มีปัญญาดุจห้วงน้ามาสั่งว่า “อานนท์ เธอจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ถึงการปรินิพพานของพระมารดา” [๒๕๕] ในกาลนั้น ท่านพระอานนท์หมดความแช่มชื่น มีน้าตานองนัยนา ประกาศด้วยเสียงสั่น เครือว่า “ขอภิกษุทั้งหลายจงมาประชุมกัน [๒๕๖] คือภิกษุทั้งหลายที่เป็นโอรสของพระสุคตทั้งที่อยู่ในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศ เหนือ ภิกษุณีนั้นเป็นมารดาของเรา [๒๕๗] ผู้ประคบประหงมสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เจริญ ด้วยน้านมของตน ภิกษุณีนั้น คือพระ โคตมีเถรี ดับสนิทแล้วเหมือนดวงดาวดับแสงในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น [๒๕๘] พระนางทรงประกาศให้รู้ว่า ‘เป็นพุทธมารดา’ แล้วนิพพาน ซึ่งเป็นที่ที่คนแม้มีดวงตา ๕ ดวงก็มองไม่เห็น แต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นผู้นาทรงเห็นได้ [๒๕๙] ขอพระโอรสของพระสุคต ผู้มีศรัทธาในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของพระมหามุนี จงทา สักการะพุทธมารดาเถิด” [๒๖๐] ภิกษุทั้งหลายถึงอยู่ในที่ไกลแสนไกล ได้สดับคาประกาศนั้นแล้ว ก็รีบมา บางพวกมาด้วย พุทธานุภาพ บางพวกที่ชานาญในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ของตน [๒๖๑] ต่างช่วยกันยกเตียงที่พระโคตรมีเถรีนอนสงบนิ่ง ขึ้นตั้งบนเรือนยอดที่ประเสริฐ สาเร็จด้วย ทองคาล้วน งดงามน่ายินดี
  • 12. 12 [๒๖๒] ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ (ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ (๑) ท้าวธตรฐ (๒) ท้าววิรุฬหก (๓) ท้าว วิรูปักษ์ (๔) ท้าวกุเวร) ต่างก็ใช้บ่ารองรับเรือนยอดไว้ เทวดาที่เหลือมีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น ก็เข้าช่วยรับ เรือนยอดด้วย [๒๖๓] ก็เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง วิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตขึ้น มีสีเหมือนดวงอาทิตย์ใน สารทกาล [๒๖๔] ภิกษุณีทั้งหมด ผู้นอนสงบนิ่งอยู่บนเตียง ในที่นั้น ก็ถูกเทพทั้งหลายแบกนาออกไป ตามลาดับ [๒๖๕] พื้นนภากาศถูกเพดานบังไว้ทั่ว ที่เพดานนั้นมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พร้อมทั้งดวงดาวที่ ทาด้วยทองคาประดับติดไว้ [๒๖๖] ธงปฏาก (ธงผ้า) ได้ถูกยกขึ้นประดับไว้เป็นอันมาก เครื่องคลุมดอกไม้ที่สวยงาม ดอกบัว ในอากาศมีปลายห้อยลง ส่วนดอกไม้ที่พื้นดินมีปลายชี้ขึ้น [๒๖๗] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ และดวงดาวทั้งหลายก็ส่องแสง อนึ่ง ดวงอาทิตย์แม้อยู่ ในเวลาเที่ยงวัน ก็เหมือนดวงจันทร์ไม่ส่องแสงให้เร่าร้อน [๒๖๘] เทพทั้งหลายพากันบูชาด้วยของหอม และดอกไม้มีกลิ่นหอมด้วยการประโคมดนตรี ฟ้อน รา และขับร้องอันเป็นทิพย์ [๒๖๙] นาค อสูร และพรหม ต่างก็พากันบูชาพุทธมารดาผู้นิพพานซึ่งถูกเขานาออกไปแล้ว ตาม ความสามารถตามกาลัง [๒๗๐] ภิกษุณีผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งนิพพานแล้วทั้งหมดถูกอัญเชิญไปข้างหน้า พระโคตมี เถรีผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า ผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะแล้วถูกอัญเชิญไปข้างหลัง [๒๗๑] เทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยนาค อสูร และพรหมไปข้างหน้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก เสด็จไปข้างหลัง เพื่อบูชาพุทธมารดา [๒๗๒] การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า หาได้เป็นเช่นการปรินิพพานของพระโคตรมีเถรีไม่ การ ปรินิพพานของพระโคตมีเถรีอัศจรรย์ยิ่งนัก [๒๗๓] ในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระ สารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลาที่พระโคตรมีเถรีนิพพาน ซึ่งมีทั้งพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารี บุตรเป็นต้น [๒๗๔] ชนทั้งหลายช่วยกันทาจิตกาธาน ซึ่งสาเร็จด้วยไม้มีกลิ่นหอมล้วนและโปรยจุรณเครื่อง หอม แล้วฌาปนกิจภิกษุณีเหล่านั้นบนจิตกาธานนั้นๆ [๒๗๕] ส่วนที่เหลือถูกไฟไหม้ไปสิ้นเหลือไว้เพียงอัฐิ ก็เวลานั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจา ให้ เกิดความสังเวชว่า [๒๗๖] “พระโคตรมีเถรีนิพพานแล้ว พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว กาหนดได้ว่า การ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้านี้ คงจักมีโดยกาลไม่นาน
  • 13. 13 [๒๗๗] จากนั้น ท่านพระอานนท์ถูกพระพุทธเจ้าทรงตักเตือน จึงได้น้อมนาอัฐิธาตุของพระโคตมี เถรี ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนางเข้ามาถวายพระโลกนาถ [๒๗๘] พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นฤๅษีผู้ประเสริฐ ทรงใช้พระหัตถ์ประคองอัฐิเหล่านั้น ได้ตรัสว่า “ต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้น [๒๗๙] ถึงจะมีลาต้นใหญ่โต ก็พึงหักทาลายไปได้ เพราะความไม่เที่ยง พระโคตรมีเถรีก็หมือนกัน ถึงจะเป็นใหญ่กว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ปรินิพพานไปแล้ว [๒๘๐] ดูเถิดอานนท์ พุทธมารดาแม้ปรินิพพานแล้ว เหลือเพียงสรีรธาตุ เธอไม่ควรเศร้าโศกคร่า ครวญถึง [๒๘๑] คนอื่นๆ ก็ไม่ควรเศร้าโศกถึง พระนางผู้ข้ามห้วงน้าคือสังสารวัฏไปแล้ว ละเว้นเหตุที่ทาให้ เดือดร้อนได้แล้ว เป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว [๒๘๒] พระนางเป็นบัณฑิต มีปัญญามากและมีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นรัตตัญญูกว่าภิกษุณี ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทราบอย่างนี้ เถิด [๒๘๓] พระโคตมีเถรีเป็นผู้ชานาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ [๒๘๔] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุพระโคตรมีเถรีก็ชาระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็ สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๒๘๕] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณก็บริสุทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้น พระโคตมีเถรีนั้นอันใครๆ ไม่ควรเศร้าโศกถึง [๒๘๖] ความเป็นไปของไฟที่ลุกโพลงขึ้น ที่ถูกแผ่นเหล็กหนาทับไว้แล้ว ดับสนิทไปตามลาดับ ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด [๒๘๗] คติของผู้หลุดพ้นโดยชอบแล้ว ซึ่งข้ามเครื่องผูกพันคือกามและโอฆะได้ บรรลุบทอันไม่ หวั่นไหว ย่อมไม่มี เพื่อจะให้ใครๆ รู้ได้ ก็ฉันนั้น [๒๘๘] เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีสติปัฏฐานเป็นโคจร เธอทั้งหลายเจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทาที่สุดแห่งทุกข์ได้” ได้ทราบว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗ จบ ------------------------------- ( เถรีอปทานทั้งหมด ไม่มีเนื้ อความอรรถกถาอธิบาย.)