SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 6
Baixar para ler offline
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๖ อนุรุทธเถราปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๔. อนุรุทธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอนุรุทธเถระ
เกริ่นนา
ข้าพเจ้าได้ตาทิพย์ ย่อมมองเห็นได้ตลอด ๑,๐๐๐ จักรวาล ด้วยญาณในศาสนาของพระศาสดา นี้
เป็นผลแห่งการถวายดวงประทีป
(พระอนุรุทธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธะ ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่าน
รชน ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก เสด็จหลีกเร้นอยู่
[๔๒๒] ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก ได้
ประคองอัญชลี ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดว่า
[๔๒๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีความเพียรมาก ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน ขอ
พระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยเถิด ข้าพระองค์จะถวายประทีปแด่พระองค์ ผู้เข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๔๒๔] พระสยัมภูธีรเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายพระองค์นั้นทรงรับแล้ว ในครั้ง
นั้น ข้าพเจ้าได้เจาะต้นไม้ประกอบประทีปยนต์
[๔๒๕] ข้าพเจ้าได้มอบถวายไส้ตะเกียง ๑,๐๐๐ ไส้ แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ดวง
ประทีปทั้งหลายลุกโพลงอยู่ตลอด ๗ วันแล้วก็ดับไปเอง
[๔๒๖] ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้นและด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วได้ไปเกิดยัง
วิมาน
[๔๒๗] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นเทวดา วิมานที่กรรมเนรมิตไว้ดีแล้ว ย่อมรุ่งเรืองรอบด้าน นี้ เป็นผล
แห่งการถวายประทีป
[๔๒๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ารุ่งเรืองทั่วตลอดหนึ่งโยชน์โดยรอบ ย่อมปกครองเทวดาทั้งปวง นี้ เป็นผล
แห่งการถวายประทีป
[๔๒๙] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติอยู่ถึง ๓๐ กัป ไม่ว่าจะเป็นใครก็ดูหมิ่นข้าพเจ้า
ไม่ได้ นี้ เป็นผลแห่งการถวายประทีป
2
[๔๓๐] ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ชาติ และในครั้งนั้น ข้าพเจ้ามองเห็นได้ตลอดหนึ่ง
โยชน์ โดยรอบทั้งกลางวันและกลางคืน
[๔๓๑] ข้าพเจ้าได้ตาทิพย์ ย่อมมองเห็นได้ตลอด ๑,๐๐๐ จักรวาล ด้วยญาณในศาสนาของพระ
ศาสดา นี้ เป็นผลแห่งการถวายดวงประทีป
[๔๓๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ข้าพเจ้ามีจิต
ผ่องใส ได้ถวายดวงประทีปแด่พระองค์
[๔๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว
คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอนุรุทธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อนุรุทธเถราปทานที่ ๔ จบ
----------------------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
พรรณนาอนุรุทธเถราปทาน
แม้ท่านพระอนุรุทธเถระนี้ ก็ได้กระทาบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย
ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ.
พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง ไปวิหารฟังธรรมในสานักของพระศาสดา เห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง พระ
ศาสดาทรงตั้งไว้ในตาแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาตาแหน่งนั้น จึงยังมหา
ทานให้เป็นไป ๗ วันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมีภิกษุบริวารแสนหนึ่ง ในวันที่ ๗ ได้ถวายผ้าชั้นสูงสุดแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วได้ทาความปรารถนาไว้.
ฝ่ายพระศาสดาก็ได้ทรงเห็นความสาเร็จของเขาโดยไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้
เลิศแห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ใน ศาสนาของ พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล.
แม้เขาก็กระทาบุญทั้งหลายในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทาการบูชา
ด้วยประทีปอันโอฬารที่สถูปทองขนาด ๗ โยชน์ด้วยประทีปต้นและประทีปกระเบื้องกับถาดสาริดเป็นอัน
มาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัยแก่ทิพยจักษุญาณ.
เขากระทาบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ด้วยประการอย่างนี้ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาในเรือนของกุฎุมพี ณ นคร
พาราณสี.
เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสถูปทองขนาด ๑ โยชน์สาเร็จแล้ว จึงเอาถาดสาริดจานวนมาก
3
มาบรรจุให้เต็มด้วยเนยใสอันใสแจ๋วและให้วางก้อนน้าอ้อยงบก้อนหนึ่งๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบ
ปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์. ให้เอาถาดสาริดที่ตนถือบรรจุด้วยเนยใสอันใสแจ๋วให้เต็ม จุดไฟพันไส้
แล้ววางใว้บนศีรษะ เดินเวียนพระเจดีย์อยู่ตลอดคืน.
ในอัตภาพแม้นั้นก็กระทากุศลอย่างนั้นจนตลอดชีวิต แล้วบังเกิดในเทวโลก ดารงอยู่ในเทวโลก
นั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากเทวโลกนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้บังเกิดในตระกูลเข็ญใจ ในนคร
พาราณสีนั่นแหละ.
เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ. นายอันนภาระนั้นกระทาการงานเลี้ยงชีวิตอยู่ในเรือนของเศรษฐีชื่อ
ว่า สุมนะ.
วันหนึ่ง เขาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า อุปริฏฐะ ออกจากนิโรธสมาบัติ เหาะมาจากภูเขา
คันธมาทน์ ลงที่ประตูเมืองพาราณสี ห่มจีวรแล้วบิณฑบาตในนคร มีใจเลื่อมใส จึงรับบาตรแล้วใส่ภัตอัน
เป็นส่วนแบ่งที่เขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่ตน เริ่มประสงค์จะถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า.
ฝ่ายภรรยาของเขาก็ใส่ภัตอันเป็นส่วนแบ่งของตนลงในบาตรนั้นเหมือนกัน เขาจึงนาบาตรนั้น
ไปวางไว้ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า.
พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรนั้น กระทาอนุโมทนาแล้วหลีกไป.
วันนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐี อนุโมทนาด้วยเสียงอันดังว่า โอ! ทาน เป็นทาน
อย่างยิ่ง อันนายอันนภาระประดิษฐานไว้ดีแล้วในพระอุปริฏฐะ.
สุมนเศรษฐีได้ฟังดังนั้นคิดว่า ทานนี้ เท่านั้นอันเทวดาอนุโมทนาอย่างนี้ ย่อมเป็นอุดมทาน จึง
ขอส่วนบุญในทานนั้น.
ฝ่ายนายอันนภาระก็ได้ให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีนั้น ด้วยเหตุนั้น สุมนเศรษฐีจึงมีใจเลื่อมใสให้
ทรัพย์เขาพันหนึ่ง แล้วกล่าวว่า จาเดิมแต่นี้ ไป กิจด้วยการทาการงานด้วยมือของตน ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่าน
จงกระทาเรือนให้เหมาะสมแล้วอยู่ประจาเถิด.
เพราะเหตุที่บิณฑบาตอันบุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีวิบาก
อันโอฬารในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น สุมนเศรษฐีเมื่อจะไปเฝ้าพระราชา ได้พาเอานายอันนภาระนั้นไป
ด้วย.
ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรดูนายอันนภาระนั้นโดยเอื้อเฟื้ อ. เศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
เจ้า นายอันนภาระนี้ เป็นผู้ควรจะทอดพระเนตรดูทีเดียว แล้วกราบทูลกรรมที่นายอันนภาระทาในคราวนั้น
และความที่แม้ตนก็ได้ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขา.
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีแก่เขา ได้ประทานทรัพย์พันหนึ่ง แล้วทรงสั่งสถานที่สร้าง
เรือนแก่เขาว่า เธอจงสร้างเรือนอยู่ในที่โน้น.
เมื่อนายอันนภาระนั้นให้ชาระสถานที่นั้นอยู่ หม้อขุมทรัพย์ใหญ่ๆ หลายหม้อผุดขึ้นแล้ว. เขา
เห็นดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ขนทรัพย์ทั้งหมดขึ้นมา ทรงเห็นเขาทาเป็นกองไว้ จึง
ตรัสถามว่า ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ มีในเรือนของใครในนครนี้ บ้าง. ประชาชนพากันกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ ในเรือนของใครไม่มี พระเจ้าข้า.
4
พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้ จงเป็นเศรษฐีชื่อว่าอันนภารเศรษฐี ในนครนี้
แล้วทรงให้ยกฉัตรเศรษฐีแก่เขาในวันนั้นเอง.
เขาเป็นเศรษฐีแล้วกระทากรรมอันงามอยู่ชั่วอายุ แล้วบังเกิดในเทวโลกท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์ตลอดกาลนาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น จึงถือปฏิสนธิในวัง
ของพระเจ้าสุกโกทนศากยะในนครกบิลพัสดุ์.
พระญาติทั้งหลายได้ขนานนามแก่เขาผู้เกิดแล้วว่า อนุรุทธะ.
เจ้าอนุรุทธะนั้นเป็นพระกนิษฐภาดาของ พระเจ้ามหานามศากยะ เป็นโอรสของพระเจ้าอาแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เป็นผู้มีปัญญามาก. ก็พระกระยาหารของพระองค์เกิดขึ้น
เฉพาะในถาดทองเท่านั้น.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระมารดาของพระองค์ทรงดาริว่า บุตรของเราย่อมไม่รู้บทว่า "ไม่มี" เราจัก
ให้เขารู้ จึงเอาถาดทองใบหนึ่งปิด ถาดทองเปล่าๆ ใบหนึ่ง แล้วส่งไปให้แก่เธอ, ในระหว่างทาง เทวดา
ทั้งหลายทาถาดทองนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์. เจ้าอนุรุทธะนั้นมีบุญมากอย่างนี้ อันเหล่าหญิงฟ้อนราผู้
ประดับประดาแวดล้อม เสวยสมบัติใหญ่อยู่ในปราสาท ๓ หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ ประดุจเทวดา.
พระโพธิสัตว์แม้ของเราทั้งหลายจุติจากดุสิตบุรีในสมัยนั้น บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัคร
มเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงถึงความเจริญวัยโดยลาดับ ประทับอยู่ท่ามกลางเรือน ๒๙ พรรษา
แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลาดับ ทรงยับยั้งอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน
๗ สัปดาห์ แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อจะทรงกระทาการอนุเคราะห์
ชาวโลก จึงเสด็จไปยังนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน.
ในกาลนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งอามาตย์ ๑๐ คนมีบริวารคนละพันไปด้วยพระดารัส
ว่า ได้ยินว่า บุตรของเราถึงนครราชคฤห์โดยลาดับแล้ว นี่แน่ะนาย ท่านทั้งหลายจงไปนาบุตรของเรามา.
อามาตย์เหล่านั้นทั้งหมดพากันบรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. บรรดาอามาตย์เหล่านั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้าอัน พระอุทายีเถระ ทูลอาราธนาขอให้เสด็จจาริกไป ทรงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น
เสด็จออกจากนครราชคฤห์ถึงกบิลพัสดุ์บุรี แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์มิใช่น้อยในสมาคมพระญาติ แล้วตรัส
ธรรมเทศนาอันวิจิตรงดงามด้วยปาฏิหาริย์ ยังมหาชนให้ดื่มน้าอมฤตแล้ว.
ในวันที่สอง ทรงถือบาตรและจีวรประทับยืนที่ประตูพระนคร ทรงพระราพึงว่า พระพุทธเจ้าทุก
พระองค์เสด็จมาถึงนครของตระกูลแล้ว ทรงประพฤติอย่างไรหนอ ทรงทราบว่า ประพฤติเที่ยวบิณฑบาตไป
ตามลาดับตรอก จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปตามลาดับตรอก.
พระราชาทรงทราบว่า พระโอรสของพระองค์เที่ยวบิณฑบาตจึงรีบด่วนเสด็จมา ได้ทรงสดับ
ธรรมในระหว่างถนน จึงนิมนต์ให้เสด็จเข้าในนิเวศน์ของพระองค์ ได้ทรงกระทาสักการะสัมมานะใหญ่หลวง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทาการอนุเคราะห์พระญาติอันจะพึงทรงกระทาในที่นั้น แล้วทรงให้ราหุลกุมาร
บรรพชา ไม่นานนัก พระองค์เสด็จเที่ยวจาริกจากนครกบิลพัสดุ์ไปในมัลลรัฐ เสด็จถึงอนุปิยอัมพวัน.
สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชรับสั่งให้ประชุมหมู่เจ้าศากยะแล้วตรัสว่า ถ้าบุตรของเราจัก
ครองเรือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหมู่กษัตริย์เป็นบริวาร, ราหุลกุมารแม้
5
เป็นหลานของเรา ก็จักได้เที่ยวห้อมล้อมบุตรของเราพร้อมกับหมู่กษัตริย์ แม้ท่านทั้งหลายก็ย่อมรู้เรื่องราว
อันนี้ ก็บัดนี้ บุตรของเราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว กษัตริย์ทั้งหลายเท่านั้นจงเป็นบริวารของบุตรของเรา ท่าน
ทั้งหลายจงให้ทารกคนหนึ่งๆ จากตระกูลหนึ่งๆ.
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัสอย่างนี้ แล้ว ขัตติยกุมารแปดหมื่นสองพันองค์ พากันบวช
พร้อมกัน.
สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะทรงเป็นเจ้าทรัพย์ ท้าวเธอจึงเสด็จเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้
เป็นพระกนิษฐาของพระองค์ แล้วได้ตรัสคานี้ ว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ ศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงปรากฏพากันบวช
ตามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว ก็ใครๆ จากตระกูลของพวกเรา ผู้ จะออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มี
เหย้าเรือน ย่อมไม่มี ถ้าอย่างนั้น เธอจงบวชหรือพี่จักบวช.
เจ้าอนุรุทธะได้ฟังดังนั้น ไม่ยินดีในการครองเรือนมีตนเป็นที่ ๗ ออกจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเหย้า
เรือน.
ลาดับแห่งการบรรพชาของเจ้าอนุรุทธะนั้น มาแล้วใน สังฆเภทกขันธกะ นั่นแล.
ก็บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้นผู้ไปยังอนุปิยอัมพวันแล้วบวชอย่างนั้น พระภัททิยเถระ บรรลุพระ
อรหัตในภายในพรรษานั้นนั่นเอง. พระอนุรุทธเถระทาทิพยจักษุให้บังเกิด พระเทวทัตทาสมาบัติ ๘ ให้
บังเกิด พระอานันทเถระ ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระบรรลุพระอรหัตใน
ภายหลัง.
อภินีหารแห่งความปรารถนาในชาติก่อน ของพระเถระแม้ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งในอาคตสถาน
ของตนๆ.
พระอนุรุทธเถระนี้ เรียนพระกรรมฐานใน สานักของพระธรรมเสนาบดี แล้วไปยังปาจีนวังสทาย
วัน ในเจติยรัฐ บาเพ็ญสมณธรรมอยู่ ตรึกมหาปุริสวิตกได้ ๗ ข้อ ลาบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘.
พระศาสดาทรงทราบว่า พระอนุรุทธะลาบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ จึงทรงดาริว่า เราจักทา
ความดาริของอนุรุทธะให้บริบูรณ์ จึงเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาลาดไว้ ตรัส อริย
วังสปฏิปทา อันประดับด้วยการอบรมสันโดษในปัจจัย ๔ เป็นที่มายินดี ทรงทามหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้
บริบูรณ์ แล้วเหาะขึ้นสู่อากาศเสด็จไปเฉพาะเภสกลาวันนั่นแล.
พระเถระ พอเมื่อพระศาสดาเสด็จไปแล้วเท่านั้น ได้เป็นพระมหาขีณาสพมีวิชชา ๓ คิดว่า พระ
ศาสดาทรงทราบใจของเราจึงได้เสด็จมาประทานมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ก็มโนรถของเรานั้นถึง
ที่สุดแล้วได้ปรารภพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และปฏิเวธธรรมของตน จึงได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้
ว่า
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงรู้ความดาริของเรา ได้เสด็จเข้าไปหาด้วยพระฤทธิ์ทางกาย
อันสาเร็จด้วยใจ เราได้มีความดาริในกาลใด ในกาลนั้น ได้ทรงแสดงให้ยิ่งกว่านั้น.
พระพุทธเจ้าผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า ได้ทรงแสดงธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า เรารู้
ทั่วถึงธรรมของพระองค์ ยินดีในพระศาสนาอยู่ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คาสอนของพระพุทธเจ้าเราทาเสร็จ
แล้ว.
6
ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระอนุรุทธเถระนั้นไว้
ในตาแหน่งอันเลิศว่า อนุรุทธะเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์.
พระอนุรุทธเถระนั้น ครั้นได้ตาแหน่งเลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์จากสานักของพระผู้มีพระภาค
เจ้าอย่างนี้ แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติก่อน ด้วยอานาจความ
โสมนัส
นี้ เป็นผลแห่งการถวายประทีป คือบูชาด้วยประทีป อธิบายว่า ด้วยผลนี้ เราจึงบรรลุ คือได้ทา
ทิพยจักษุให้เกิดขึ้น.
จบพรรณนาอนุรุทธเถราปทาน
--------------------------------------------

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a (๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf

พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕Rose Banioki
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21Krusangworn
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...Tongsamut vorasan
 
สาวิณี
สาวิณีสาวิณี
สาวิณีsawinee37
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tongsamut vorasan
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555Carzanova
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตTaweedham Dhamtawee
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกchaichaichaiyoyoyo
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdfmaruay songtanin
 
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้Kasetsart University
 
เรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนเรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนTongsamut vorasan
 

Semelhante a (๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf (20)

พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ม.21
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
 
สาวิณี
สาวิณีสาวิณี
สาวิณี
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
 
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
 
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
 
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
 
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
 
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวก
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
 
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
 
แผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้ง
แผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้งแผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้ง
แผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้ง
 
เรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนเรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชน
 

Mais de maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

Mais de maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๖ อนุรุทธเถราปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ๔. อนุรุทธเถราปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระอนุรุทธเถระ เกริ่นนา ข้าพเจ้าได้ตาทิพย์ ย่อมมองเห็นได้ตลอด ๑,๐๐๐ จักรวาล ด้วยญาณในศาสนาของพระศาสดา นี้ เป็นผลแห่งการถวายดวงประทีป (พระอนุรุทธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๔๒๑] ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธะ ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่าน รชน ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก เสด็จหลีกเร้นอยู่ [๔๒๒] ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก ได้ ประคองอัญชลี ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดว่า [๔๒๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีความเพียรมาก ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน ขอ พระองค์ทรงอนุเคราะห์ด้วยเถิด ข้าพระองค์จะถวายประทีปแด่พระองค์ ผู้เข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ [๔๒๔] พระสยัมภูธีรเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายพระองค์นั้นทรงรับแล้ว ในครั้ง นั้น ข้าพเจ้าได้เจาะต้นไม้ประกอบประทีปยนต์ [๔๒๕] ข้าพเจ้าได้มอบถวายไส้ตะเกียง ๑,๐๐๐ ไส้ แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ดวง ประทีปทั้งหลายลุกโพลงอยู่ตลอด ๗ วันแล้วก็ดับไปเอง [๔๒๖] ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้นและด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วได้ไปเกิดยัง วิมาน [๔๒๗] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นเทวดา วิมานที่กรรมเนรมิตไว้ดีแล้ว ย่อมรุ่งเรืองรอบด้าน นี้ เป็นผล แห่งการถวายประทีป [๔๒๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ารุ่งเรืองทั่วตลอดหนึ่งโยชน์โดยรอบ ย่อมปกครองเทวดาทั้งปวง นี้ เป็นผล แห่งการถวายประทีป [๔๒๙] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติอยู่ถึง ๓๐ กัป ไม่ว่าจะเป็นใครก็ดูหมิ่นข้าพเจ้า ไม่ได้ นี้ เป็นผลแห่งการถวายประทีป
  • 2. 2 [๔๓๐] ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ชาติ และในครั้งนั้น ข้าพเจ้ามองเห็นได้ตลอดหนึ่ง โยชน์ โดยรอบทั้งกลางวันและกลางคืน [๔๓๑] ข้าพเจ้าได้ตาทิพย์ ย่อมมองเห็นได้ตลอด ๑,๐๐๐ จักรวาล ด้วยญาณในศาสนาของพระ ศาสดา นี้ เป็นผลแห่งการถวายดวงประทีป [๔๓๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ข้าพเจ้ามีจิต ผ่องใส ได้ถวายดวงประทีปแด่พระองค์ [๔๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล ได้ทราบว่า ท่านพระอนุรุทธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ อนุรุทธเถราปทานที่ ๔ จบ ---------------------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค พรรณนาอนุรุทธเถราปทาน แม้ท่านพระอนุรุทธเถระนี้ ก็ได้กระทาบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ. พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง ไปวิหารฟังธรรมในสานักของพระศาสดา เห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง พระ ศาสดาทรงตั้งไว้ในตาแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาตาแหน่งนั้น จึงยังมหา ทานให้เป็นไป ๗ วันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมีภิกษุบริวารแสนหนึ่ง ในวันที่ ๗ ได้ถวายผ้าชั้นสูงสุดแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วได้ทาความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดาก็ได้ทรงเห็นความสาเร็จของเขาโดยไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้ เลิศแห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ใน ศาสนาของ พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. แม้เขาก็กระทาบุญทั้งหลายในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทาการบูชา ด้วยประทีปอันโอฬารที่สถูปทองขนาด ๗ โยชน์ด้วยประทีปต้นและประทีปกระเบื้องกับถาดสาริดเป็นอัน มาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัยแก่ทิพยจักษุญาณ. เขากระทาบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ด้วยประการอย่างนี้ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาในเรือนของกุฎุมพี ณ นคร พาราณสี. เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสถูปทองขนาด ๑ โยชน์สาเร็จแล้ว จึงเอาถาดสาริดจานวนมาก
  • 3. 3 มาบรรจุให้เต็มด้วยเนยใสอันใสแจ๋วและให้วางก้อนน้าอ้อยงบก้อนหนึ่งๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบ ปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์. ให้เอาถาดสาริดที่ตนถือบรรจุด้วยเนยใสอันใสแจ๋วให้เต็ม จุดไฟพันไส้ แล้ววางใว้บนศีรษะ เดินเวียนพระเจดีย์อยู่ตลอดคืน. ในอัตภาพแม้นั้นก็กระทากุศลอย่างนั้นจนตลอดชีวิต แล้วบังเกิดในเทวโลก ดารงอยู่ในเทวโลก นั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากเทวโลกนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้บังเกิดในตระกูลเข็ญใจ ในนคร พาราณสีนั่นแหละ. เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ. นายอันนภาระนั้นกระทาการงานเลี้ยงชีวิตอยู่ในเรือนของเศรษฐีชื่อ ว่า สุมนะ. วันหนึ่ง เขาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า อุปริฏฐะ ออกจากนิโรธสมาบัติ เหาะมาจากภูเขา คันธมาทน์ ลงที่ประตูเมืองพาราณสี ห่มจีวรแล้วบิณฑบาตในนคร มีใจเลื่อมใส จึงรับบาตรแล้วใส่ภัตอัน เป็นส่วนแบ่งที่เขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่ตน เริ่มประสงค์จะถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาของเขาก็ใส่ภัตอันเป็นส่วนแบ่งของตนลงในบาตรนั้นเหมือนกัน เขาจึงนาบาตรนั้น ไปวางไว้ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรนั้น กระทาอนุโมทนาแล้วหลีกไป. วันนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐี อนุโมทนาด้วยเสียงอันดังว่า โอ! ทาน เป็นทาน อย่างยิ่ง อันนายอันนภาระประดิษฐานไว้ดีแล้วในพระอุปริฏฐะ. สุมนเศรษฐีได้ฟังดังนั้นคิดว่า ทานนี้ เท่านั้นอันเทวดาอนุโมทนาอย่างนี้ ย่อมเป็นอุดมทาน จึง ขอส่วนบุญในทานนั้น. ฝ่ายนายอันนภาระก็ได้ให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีนั้น ด้วยเหตุนั้น สุมนเศรษฐีจึงมีใจเลื่อมใสให้ ทรัพย์เขาพันหนึ่ง แล้วกล่าวว่า จาเดิมแต่นี้ ไป กิจด้วยการทาการงานด้วยมือของตน ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่าน จงกระทาเรือนให้เหมาะสมแล้วอยู่ประจาเถิด. เพราะเหตุที่บิณฑบาตอันบุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีวิบาก อันโอฬารในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น สุมนเศรษฐีเมื่อจะไปเฝ้าพระราชา ได้พาเอานายอันนภาระนั้นไป ด้วย. ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรดูนายอันนภาระนั้นโดยเอื้อเฟื้ อ. เศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เจ้า นายอันนภาระนี้ เป็นผู้ควรจะทอดพระเนตรดูทีเดียว แล้วกราบทูลกรรมที่นายอันนภาระทาในคราวนั้น และความที่แม้ตนก็ได้ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขา. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีแก่เขา ได้ประทานทรัพย์พันหนึ่ง แล้วทรงสั่งสถานที่สร้าง เรือนแก่เขาว่า เธอจงสร้างเรือนอยู่ในที่โน้น. เมื่อนายอันนภาระนั้นให้ชาระสถานที่นั้นอยู่ หม้อขุมทรัพย์ใหญ่ๆ หลายหม้อผุดขึ้นแล้ว. เขา เห็นดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ขนทรัพย์ทั้งหมดขึ้นมา ทรงเห็นเขาทาเป็นกองไว้ จึง ตรัสถามว่า ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ มีในเรือนของใครในนครนี้ บ้าง. ประชาชนพากันกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ เทพ ในเรือนของใครไม่มี พระเจ้าข้า.
  • 4. 4 พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้ จงเป็นเศรษฐีชื่อว่าอันนภารเศรษฐี ในนครนี้ แล้วทรงให้ยกฉัตรเศรษฐีแก่เขาในวันนั้นเอง. เขาเป็นเศรษฐีแล้วกระทากรรมอันงามอยู่ชั่วอายุ แล้วบังเกิดในเทวโลกท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ตลอดกาลนาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น จึงถือปฏิสนธิในวัง ของพระเจ้าสุกโกทนศากยะในนครกบิลพัสดุ์. พระญาติทั้งหลายได้ขนานนามแก่เขาผู้เกิดแล้วว่า อนุรุทธะ. เจ้าอนุรุทธะนั้นเป็นพระกนิษฐภาดาของ พระเจ้ามหานามศากยะ เป็นโอรสของพระเจ้าอาแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เป็นผู้มีปัญญามาก. ก็พระกระยาหารของพระองค์เกิดขึ้น เฉพาะในถาดทองเท่านั้น. ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระมารดาของพระองค์ทรงดาริว่า บุตรของเราย่อมไม่รู้บทว่า "ไม่มี" เราจัก ให้เขารู้ จึงเอาถาดทองใบหนึ่งปิด ถาดทองเปล่าๆ ใบหนึ่ง แล้วส่งไปให้แก่เธอ, ในระหว่างทาง เทวดา ทั้งหลายทาถาดทองนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์. เจ้าอนุรุทธะนั้นมีบุญมากอย่างนี้ อันเหล่าหญิงฟ้อนราผู้ ประดับประดาแวดล้อม เสวยสมบัติใหญ่อยู่ในปราสาท ๓ หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ ประดุจเทวดา. พระโพธิสัตว์แม้ของเราทั้งหลายจุติจากดุสิตบุรีในสมัยนั้น บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัคร มเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงถึงความเจริญวัยโดยลาดับ ประทับอยู่ท่ามกลางเรือน ๒๙ พรรษา แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลาดับ ทรงยับยั้งอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อจะทรงกระทาการอนุเคราะห์ ชาวโลก จึงเสด็จไปยังนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน. ในกาลนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งอามาตย์ ๑๐ คนมีบริวารคนละพันไปด้วยพระดารัส ว่า ได้ยินว่า บุตรของเราถึงนครราชคฤห์โดยลาดับแล้ว นี่แน่ะนาย ท่านทั้งหลายจงไปนาบุตรของเรามา. อามาตย์เหล่านั้นทั้งหมดพากันบรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. บรรดาอามาตย์เหล่านั้น พระผู้ มีพระภาคเจ้าอัน พระอุทายีเถระ ทูลอาราธนาขอให้เสด็จจาริกไป ทรงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น เสด็จออกจากนครราชคฤห์ถึงกบิลพัสดุ์บุรี แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์มิใช่น้อยในสมาคมพระญาติ แล้วตรัส ธรรมเทศนาอันวิจิตรงดงามด้วยปาฏิหาริย์ ยังมหาชนให้ดื่มน้าอมฤตแล้ว. ในวันที่สอง ทรงถือบาตรและจีวรประทับยืนที่ประตูพระนคร ทรงพระราพึงว่า พระพุทธเจ้าทุก พระองค์เสด็จมาถึงนครของตระกูลแล้ว ทรงประพฤติอย่างไรหนอ ทรงทราบว่า ประพฤติเที่ยวบิณฑบาตไป ตามลาดับตรอก จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปตามลาดับตรอก. พระราชาทรงทราบว่า พระโอรสของพระองค์เที่ยวบิณฑบาตจึงรีบด่วนเสด็จมา ได้ทรงสดับ ธรรมในระหว่างถนน จึงนิมนต์ให้เสด็จเข้าในนิเวศน์ของพระองค์ ได้ทรงกระทาสักการะสัมมานะใหญ่หลวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทาการอนุเคราะห์พระญาติอันจะพึงทรงกระทาในที่นั้น แล้วทรงให้ราหุลกุมาร บรรพชา ไม่นานนัก พระองค์เสด็จเที่ยวจาริกจากนครกบิลพัสดุ์ไปในมัลลรัฐ เสด็จถึงอนุปิยอัมพวัน. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชรับสั่งให้ประชุมหมู่เจ้าศากยะแล้วตรัสว่า ถ้าบุตรของเราจัก ครองเรือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหมู่กษัตริย์เป็นบริวาร, ราหุลกุมารแม้
  • 5. 5 เป็นหลานของเรา ก็จักได้เที่ยวห้อมล้อมบุตรของเราพร้อมกับหมู่กษัตริย์ แม้ท่านทั้งหลายก็ย่อมรู้เรื่องราว อันนี้ ก็บัดนี้ บุตรของเราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว กษัตริย์ทั้งหลายเท่านั้นจงเป็นบริวารของบุตรของเรา ท่าน ทั้งหลายจงให้ทารกคนหนึ่งๆ จากตระกูลหนึ่งๆ. เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัสอย่างนี้ แล้ว ขัตติยกุมารแปดหมื่นสองพันองค์ พากันบวช พร้อมกัน. สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะทรงเป็นเจ้าทรัพย์ ท้าวเธอจึงเสด็จเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้ เป็นพระกนิษฐาของพระองค์ แล้วได้ตรัสคานี้ ว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ ศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงปรากฏพากันบวช ตามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว ก็ใครๆ จากตระกูลของพวกเรา ผู้ จะออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มี เหย้าเรือน ย่อมไม่มี ถ้าอย่างนั้น เธอจงบวชหรือพี่จักบวช. เจ้าอนุรุทธะได้ฟังดังนั้น ไม่ยินดีในการครองเรือนมีตนเป็นที่ ๗ ออกจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเหย้า เรือน. ลาดับแห่งการบรรพชาของเจ้าอนุรุทธะนั้น มาแล้วใน สังฆเภทกขันธกะ นั่นแล. ก็บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้นผู้ไปยังอนุปิยอัมพวันแล้วบวชอย่างนั้น พระภัททิยเถระ บรรลุพระ อรหัตในภายในพรรษานั้นนั่นเอง. พระอนุรุทธเถระทาทิพยจักษุให้บังเกิด พระเทวทัตทาสมาบัติ ๘ ให้ บังเกิด พระอานันทเถระ ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระบรรลุพระอรหัตใน ภายหลัง. อภินีหารแห่งความปรารถนาในชาติก่อน ของพระเถระแม้ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งในอาคตสถาน ของตนๆ. พระอนุรุทธเถระนี้ เรียนพระกรรมฐานใน สานักของพระธรรมเสนาบดี แล้วไปยังปาจีนวังสทาย วัน ในเจติยรัฐ บาเพ็ญสมณธรรมอยู่ ตรึกมหาปุริสวิตกได้ ๗ ข้อ ลาบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘. พระศาสดาทรงทราบว่า พระอนุรุทธะลาบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ จึงทรงดาริว่า เราจักทา ความดาริของอนุรุทธะให้บริบูรณ์ จึงเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาลาดไว้ ตรัส อริย วังสปฏิปทา อันประดับด้วยการอบรมสันโดษในปัจจัย ๔ เป็นที่มายินดี ทรงทามหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้ บริบูรณ์ แล้วเหาะขึ้นสู่อากาศเสด็จไปเฉพาะเภสกลาวันนั่นแล. พระเถระ พอเมื่อพระศาสดาเสด็จไปแล้วเท่านั้น ได้เป็นพระมหาขีณาสพมีวิชชา ๓ คิดว่า พระ ศาสดาทรงทราบใจของเราจึงได้เสด็จมาประทานมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ก็มโนรถของเรานั้นถึง ที่สุดแล้วได้ปรารภพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และปฏิเวธธรรมของตน จึงได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้ ว่า พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงรู้ความดาริของเรา ได้เสด็จเข้าไปหาด้วยพระฤทธิ์ทางกาย อันสาเร็จด้วยใจ เราได้มีความดาริในกาลใด ในกาลนั้น ได้ทรงแสดงให้ยิ่งกว่านั้น. พระพุทธเจ้าผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า ได้ทรงแสดงธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า เรารู้ ทั่วถึงธรรมของพระองค์ ยินดีในพระศาสนาอยู่ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คาสอนของพระพุทธเจ้าเราทาเสร็จ แล้ว.
  • 6. 6 ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระอนุรุทธเถระนั้นไว้ ในตาแหน่งอันเลิศว่า อนุรุทธะเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์. พระอนุรุทธเถระนั้น ครั้นได้ตาแหน่งเลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์จากสานักของพระผู้มีพระภาค เจ้าอย่างนี้ แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติก่อน ด้วยอานาจความ โสมนัส นี้ เป็นผลแห่งการถวายประทีป คือบูชาด้วยประทีป อธิบายว่า ด้วยผลนี้ เราจึงบรรลุ คือได้ทา ทิพยจักษุให้เกิดขึ้น. จบพรรณนาอนุรุทธเถราปทาน --------------------------------------------