SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 34
Baixar para ler offline
1
การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๗ (ขันติบารมี)
๗. จันทกุมารชาดก
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัตตรัสจันทกุมารชาดกซึ่งมีคา
เริ่มต้นว่า มีพระราชาผู้ทรงทากรรมหยาบช้า ดังนี้ เป็นต้น
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๗. จันทกุมารชาดก
ว่าด้วยจันทกุมารทรงบาเพ็ญขันติบารมี
[๙๘๒] พระเจ้าเอกราช ผู้มีกรรมหยาบช้า ประทับอยู่ในกรุงบุปผวดี ท้าวเธอตรัสถามขัณฑหาล
ปุโรหิต ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ ผู้เป็นคนหลงว่า
[๙๘๓] ท่านพราหมณ์ ท่านฉลาดในสุจริตธรรมและอาจารวินัย ขอจงบอกทางสวรรค์แก่เรา อย่าง
ที่นรชนทาบุญแล้ว จากโลกนี้ จะไปสู่สุคติภพเถิด
(ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๙๘๔] ข้าแต่สมมติเทพ เหล่านรชนให้ทานยิ่งกว่าทาน ฆ่าคนที่ไม่น่าจะฆ่า ทาบุญแล้วย่อมไปสู่
สวรรค์ได้อย่างนี้
(พระราชาตรัสว่า)
[๙๘๕] ก็ทานที่ยิ่งกว่าทานนั้นคืออะไร และคนจาพวกไหนเป็นผู้ไม่น่าจะฆ่าในโลกนี้ ขอท่านจง
บอกข้อนั้นแก่เรา เราจักบูชายัญ จักให้ทาน
(ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๙๘๖] ข้าแต่สมมติเทพ ควรบูชายัญด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา พระมเหสี ชาวนิคม โคอุสภ
ราช และม้าอาชาไนย อย่างละ ๔ ควรบูชายัญด้วยของครบอย่างละ ๔ พระเจ้าข้า
[๙๘๗] ในพระราชวังมีเสียงระเบ็งเซ็งแซ่เป็นอันเดียวกัน เพราะได้ยินคาว่า พระกุมาร พระกุมารี
และพระมเหสีจะถูกประหาร
(พระราชาตรัสว่า)
2
[๙๘๘] ขอพวกท่านจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย คือ จันทกุมาร สุริยกุมาร ภัททเสนกุมาร สูร
กุมาร และวามโคตตกุมารเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่ในที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การ
บูชายัญ”
[๙๘๙] ขอพวกเจ้าจงไปทูลพระกุมารีทั้งหลาย คือ อุปเสนากุมารี โกกิลากุมารี ทิตากุมารี และนัน
ทากุมารีเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ”
[๙๙๐] อนึ่ง พวกเจ้าจงไปทูลพระนางวิชยา พระนางเอราวดี พระนางเกศินี และพระนางสุนันทา
ผู้เป็นมเหสีของเรา ผู้ซึ่งประกอบด้วยลักษณะอันประเสริฐเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่อยู่ใน
ที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ”
[๙๙๑] พวกท่านจงไปบอกพวกคหบดีคือ ปุณณมุขคหบดี ภัททิยคหบดี สิงคาลคหบดี และวัฑฒ
คหบดีเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ”
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๙๒] คหบดีเหล่านั้นมีบุตรและภรรยามาก ต่างก็มาพร้อมกัน ณ ที่นั้น ได้กราบทูลพระราชาว่า
“ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงไว้จุก (ไว้จุก หมายถึงทาให้เป็นผู้รับใช้ ทาให้เป็นทาส) แก่ข้าพระองค์
ทั้งหมดเถิด อีกอย่างหนึ่ง ขอให้ทรงประกาศพวกข้าพระองค์เป็นข้าทาสเถิด”
(พระราชาตรัสว่า)
[๙๙๓] พวกท่านจงรีบนาช้างทั้งหลายของเรามา คือ ช้างอภยังกร ช้างนาฬาคีรี ช้างอัจจุคคตะ
ช้างวรุณทันตะ ช้างเหล่านั้นจักเป็นประโยชน์แก่การบูชายัญ
[๙๙๔] พวกท่านจงรีบไปนาม้าอัสดรของเรามา คือ ม้าเกศี ม้าสุรามุขะ ม้าปุณณกะ ม้าวินตกะ
ม้าเหล่านั้นจักเป็นประโยชน์แก่การบูชายัญ
[๙๙๕] ขอพวกท่านจงรีบไปนาเอาโคอุสภะของเรามาคือ โคยูถปติ โคอโนชะ โคนิสภะ และโคควัม
ปติ จงต้อนโคเหล่านั้นทั้งหมดเข้าเป็นหมู่ เราจักบูชายัญ จักให้ทาน
[๙๙๖] พวกท่านจงตระเตรียมยัญทุกอย่างไว้ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น เราจักบูชายัญ พวกท่านจงบังคับ
เหล่ากุมารมาว่า จงรื่นรมย์ตลอดราตรีนี้ เถิด
[๙๙๗] พวกท่านจงตั้งยัญทุกอย่างไว้ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น เราจักบูชายัญ พวกเจ้าจงไปทูลพระ
กุมาร ณ บัดนี้ วันนี้ แหละเป็นคืนสุดท้าย
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๙๘] พระมารดาเสด็จมาจากพระตาหนัก ทรงกันแสงพลางตรัสถามพระเจ้าเอกราชนี้ นั้นว่า
“ลูกรัก ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยพระโอรสทั้ง ๔ หรือ”
(พระราชากราบทูลว่า)
[๙๙๙] เมื่อจะต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคนหม่อมฉันก็สละได้ หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลายแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์
(พระราชมารดาตรัสว่า)
3
[๑๐๐๐] ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคานั้นที่ว่า “สุคติจะมีได้เพราะใช้บุตรบูชายัญ เพราะว่า นั้นเป็นทาง
ไปนรก ไม่ใช่ทางไปสวรรค์”
[๑๐๐๑] ลูกโกณฑัญญะเอ๋ย พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง นี้ เป็นทางไปสู่สุคติ และ
ทางไปสู่สุคติมิใช่เพราะใช้บุตรบูชายัญ
(พระราชากราบทูลว่า)
[๑๐๐๒] คาของอาจารย์ทั้งหลายมีว่า “หม่อมฉันจักฆ่าทั้งจันทกุมารและสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชา
ยัญด้วยบุตรทั้งหลายที่สละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์”
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๐๐๓] แม้แต่พระเจ้าวสวัตดีพระราชบิดา ได้ตรัสถามพระราชโอรสของพระองค์นั้นว่า “ลูกรัก
ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยโอรสทั้ง ๔ หรือ”
(พระราชากราบทูลว่า)
[๑๐๐๔] เมื่อจะต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคนหม่อมฉันก็สละได้ หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลายแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์
(พระราชบิดาตรัสว่า)
[๑๐๐๕] ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคานั้นที่ว่า “สุคติจะมีได้เพราะใช้บุตรบูชายัญ เพราะว่า นั้นเป็นทาง
ไปนรก มิใช่ทางไปสู่สวรรค์
[๑๐๐๖] ลูกโกณฑัญญะเอ๋ย พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง นี้ เป็นทางไปสู่สุคติ และ
ทางไปสู่สุคติมิใช่เพราะใช้บุตรบูชายัญ
(พระราชากราบทูลว่า)
[๑๐๐๗] คาของอาจารย์ทั้งหลายมีว่า “หม่อมฉันจักฆ่าทั้งจันทกุมารและสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชา
ยัญด้วยบุตรทั้งหลายที่สละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์”
(พระราชบิดาตรัสว่า)
[๑๐๐๘] ลูกโกณฑัญญะเอ๋ย พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง พ่อจงเป็นผู้มีบุตรห้อม
ล้อม รักษารัฐและชนบทเถิด
(จันทกุมารกราบทูลว่า)
[๑๐๐๙] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นข้าทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้าง
และม้าให้เขาได้
[๑๐๑๐] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้าง
ให้เขาได้
4
[๑๐๑๑] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้
เขาได้
[๑๐๑๒] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิต ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกขับ
ไล่จากแคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๑๓] พวกเจ้าพากันพร่าเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ได้ก่อทุกข์แก่เราแท้ จงปล่อยพวกพระกุมารไป
ณ บัดนี้ เถิด เราขอเลิกการใช้บุตรบูชายัญ
(ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๑๐๑๔] เมื่อก่อนทีเดียว ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์แล้วว่า การบูชายัญนี้ ทาได้ยาก เกิดได้
แสนยาก เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงทายัญที่พวกข้าพระองค์ได้ตระเตรียมไว้แล้ว ให้
กระจัดกระจายไปเล่า
[๑๐๑๕] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ
เหล่าชนผู้กาลังบูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ
(จันทกุมารกราบทูลว่า)
[๑๐๑๖] ข้าแต่สมมติเทพ เพราะเหตุไร เมื่อก่อนพระองค์จึงรับสั่งให้พวกพราหมณ์ กล่าวคาสวัสดี
แก่พวกหม่อมฉัน มาภายหลัง พระองค์จะรับสั่งฆ่าพวกหม่อมฉัน เพื่อต้องการจะบูชายัญโดยหาเหตุมิได้
[๑๐๑๗] ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อน เวลาที่พวกหม่อมฉันยังเป็นเด็กหนุ่ม พระองค์มิได้ทรงฆ่าเอง
และมิได้ทรงรับสั่งให้ผู้อื่นฆ่า บัดนี้ พวกหม่อมฉันถึงความเจริญวัยเป็นหนุ่มแน่นแล้ว มิได้คิดประทุษร้ายต่อ
พระองค์เลย เพราะเหตุไร จึงจะถูกฆ่า
[๑๐๑๘] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตร ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ขึ้นขี่ช้างและม้า ผูก
สอดเครื่องรบได้ออกรบแล้วหรือกาลังสู้รบ บุตรทั้งหลายผู้กล้าหาญดังเช่นพวกข้าพระองค์ ย่อมไม่ควรที่
จะต้องถูกฆ่าเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
[๑๐๑๙] เมื่อเมืองชายแดน หรือเมื่อพวกโจรในดงกาเริบ ชนทั้งหลายย่อมใช้คนเช่นข้าพระองค์
ข้าแต่พระบิดา แต่พวกข้าพระองค์จะถูกฆ่า ในสถานที่ที่ไม่สมควรโดยหาเหตุมิได้
[๑๐๒๐] ข้าแต่สมมติเทพ แม่นกที่เกื้อกูลเหล่าใดพากันทารังอยู่ ลูกนกทั้งหลายเป็นที่รักของแม่
นกเหล่านั้น ส่วนพระองค์รับสั่งให้ฆ่าพวกข้าพระองค์เพราะเหตุไร
[๑๐๒๑] ข้าแต่สมมติเทพ อย่าได้ทรงเชื่อขัณฑหาลปุโรหิต ขัณฑหาลปุโรหิตไม่พึงฆ่าข้าพระองค์
เพราะเขาฆ่าข้าพระองค์ได้แล้ว ก็จะพึงฆ่าพระองค์ในอันดับต่อไป
[๑๐๒๒] ข้าแต่มหาราช พระราชาทั้งหลาย ย่อมพระราชทานบ้านอย่างดี นิคมอย่างดี แม้แต่โภค
ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้น อนึ่ง พวกพราหมณ์นั้นแม้ได้ข้าวและน้าอันเลิศในตระกูล ย่อมบริโภคในตระกูล
5
[๑๐๒๓] ข้าแต่มหาราช พวกพราหมณ์ย่อมปรารถนา เพื่อประทุษร้ายต่อผู้ให้ข้าวน้าเช่นนั้นแม้
เหล่านั้น เพราะโดยมากพวกพราหมณ์แม้เหล่านี้ เป็นคนอกตัญญู พระเจ้าข้า
[๑๐๒๔] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้าง
และม้าให้เขาได้
[๑๐๒๕] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้าง
ให้เขาได้
[๑๐๒๖] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้
เขาได้
[๑๐๒๗] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกขับไล่
จากแคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๒๘] พวกเจ้าพากันพร่าเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ได้ก่อทุกข์แก่เราแท้ จงปล่อยพวกพระกุมาร
ทั้งหลายไป ณ บัดนี้ เถิด เราขอเลิกการใช้บุตรบูชายัญ
(ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๑๐๒๙] เมื่อก่อนทีเดียว ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์แล้วว่า การบูชายัญนี้ ทาได้ยาก เกิดได้
แสนยาก เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงทายัญที่พวกข้าพระองค์ได้ตระเตรียมไว้แล้ว ให้
กระจัดกระจายไปเล่า
[๑๐๓๐] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ
เหล่าชนผู้กาลังบูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ
(จันทกุมารกราบทูลว่า)
[๑๐๓๑] ข้าแต่พระราชา ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลาย จุติจากโลกนี้ แล้วย่อมไปสู่เท
วโลกดังได้ยินมา พราหมณ์จงบูชาก่อนเถิด ขอพระองค์ทรงบูชายัญตามในภายหลัง
[๑๐๓๒] ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลาย จุติจากโลกนี้ แล้วย่อมไปสู่เทวโลกดังได้ยินมา
ขอขัณฑหาลพราหมณ์ผู้นี้ แหละ จงบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลายของตนเถิด
[๑๐๓๓] ถ้าว่าขัณฑหาลพราหมณ์รู้อยู่อย่างนี้ ทาไมจึงไม่ฆ่าบุตรของตน ไม่ฆ่าคนที่เป็นญาติทุก
คนและตนเองเล่า
[๑๐๓๔] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ
เหล่าชนผู้กาลังบูชายัญอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นย่อมไปสู่นรกทุกคน
6
[๑๐๓๕] ก็ถ้าว่าคนผู้ฆ่าผู้อื่นจะบริสุทธิ์ได้ แม้คนผู้ถูกฆ่านั้นก็เข้าถึงแดนสวรรค์ได้ พวกพราหมณ์
ก็ควรฆ่าพวกพราหมณ์ และพวกคนที่เชื่อพราหมณ์เหล่านั้นด้วย
[๑๐๓๖] ดังที่ได้ยินมา พ่อเรือนและแม่เรือนผู้รักบุตรที่มีอยู่ในนครนี้ ทาไมจึงไม่ทัดทานพระราชา
ว่า “อย่าทรงฆ่าบุตรผู้เกิดแต่ตนเลย”
[๑๐๓๗] ดังที่ได้ยินมา พ่อเรือนและแม่เรือนผู้รักบุตรที่มีอยู่ในนครนี้ ทาไมจึงไม่ทัดทานพระราชา
ว่า “อย่าทรงฆ่าบุตรผู้เกิดแต่ตนเลย”
[๑๐๓๘] เราเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์แก่พระราชา และเป็นผู้เกื้อกูลแก่ชนบททั้งมวล ใครๆ ก็ไม่
พึงมีความแค้นเคืองกับเรา ชาวชนบททั้งหลายไม่ช่วยกราบทูลให้พระองค์ได้ทรงทราบเลย
[๑๐๓๙] แม่เรือนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงไปกราบทูลพระบิดาและวิงวอนขัณฑหาลพราหมณ์
ว่า “ขออย่าฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์”
[๑๐๔๐] แม่เรือนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงไปกราบทูลพระบิดาและวิงวอนขัณฑหาลพราหมณ์
ว่า “ขออย่าฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นบุคคลตัวอย่างที่หวังของชาวโลกทั้งมวล”
[๑๐๔๑] ไฉนหนอ เราพึงเกิดในตระกูลช่างรถ ตระกูลปุกกุสะ หรือในตระกูลพ่อค้า พระราชาก็ไม่
พึงรับสั่งให้ฆ่าเราในการบูชายัญวันนี้
(จันทกุมารตรัสกับพระชายาทั้งหลายว่า)
[๑๐๔๒] เจ้าผู้มีความคิดทั้งปวง จงไปหมอบลงแทบเท้า ของผู้เป็นเจ้าขัณฑหาละ เรียนว่า “เรา
มิได้เห็นความผิดเลย”
[๑๐๔๓] เจ้าผู้มีความคิดทั้งปวง จงไปหมอบลงแทบเท้า ของผู้เป็นเจ้าขัณฑหาละ เรียนว่า “ท่านผู้
เจริญ เราทั้งหลายได้ประทุษร้ายอะไรท่าน”
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๐๔๔] พระเสลาราชกุมารีผู้ควรการุณย์ทรงเห็นพระภาดาทั้งหลาย ที่เขานามาเพื่อบูชายัญ จึง
ทรงคร่าครวญว่า ได้ยินว่า พระบิดาของเราทรงปรารถนาสวรรค์ รับสั่งให้ตั้งพิธีบูชายัญขึ้น
[๑๐๔๕] พระวสุลราชนัดดากลิ้งเกลือกไปมาต่อพระพักตร์ของพระราชากราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติ
เทพ ข้าพระบาทยังเป็นเด็ก ไม่ถึงความเป็นหนุ่ม ขอพระองค์ได้ทรงโปรดอย่าฆ่าพระบิดาของข้าพระบาท
เลย”
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๔๖] วสุละ นั่นพ่อเจ้า เจ้าจงไปพร้อมกับพ่อ เจ้าพากันพร่าเพ้ออยู่ในพระราชวัง ได้ก่อทุกข์
ให้แก่เราแท้ จงปล่อยพระกุมารไป ณ บัดนี้ เถิด เราขอเลิกการใช้บุตรบูชายัญ
(ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๑๐๔๗] เมื่อก่อนทีเดียว ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์แล้วว่า “การบูชายัญนี้ ทาได้ยาก เกิดได้
แสนยาก เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงทายัญที่พวกข้าพระองค์ได้ตระเตรียมไว้แล้ว ให้
กระจัดกระจายไปเล่า
7
[๑๐๔๘] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ
เหล่าชนผู้กาลังบูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ
[๑๐๔๙] ข้าแต่พระเจ้าเอกราช ข้าพระองค์ได้ตระเตรียมจัดแจงยัญด้วยแก้วสารพัดไว้เพื่อพระองค์
แล้ว เชิญเสด็จออกเถิด พระองค์ทรงบูชายัญแล้วจักเสด็จไปสู่สวรรค์บันเทิงพระหฤทัย พระเจ้าข้า
[๑๐๕๐] หญิงสาว ๗๐๐ คนนี้ เป็นภรรยาของจันทกุมาร ต่างสยายผมร้องไห้เดินไปตามทาง
[๑๐๕๑] ส่วนหญิงอีกพวกหนึ่งก็ออกไปด้วยความเศร้าโศก เหมือนเหล่าเทวดาในอุทยานนันทวัน
ต่างสยายผมร้องไห้ไปตามทาง
(หญิง ๗๐๐ พร่าเพ้อว่า)
[๑๐๕๒] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช
[๑๐๕๓] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไป ทาความเศร้าโศกพระหฤทัยให้แก่พระมารดา
[๑๐๕๔] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไป ทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน
[๑๐๕๕] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนานดี
แล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช
[๑๐๕๖] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนานดี
แล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาไป ทาความเศร้าโศกพระหฤทัยให้แก่พระราช
ชนนี
[๑๐๕๗] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนานดี
แล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาไป ทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน
[๑๐๕๘] เมื่อก่อน พลช้างตามเสด็จจันทกุมารและสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นคอช้างตัวประเสริฐ วันนี้
จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท
[๑๐๕๙] เมื่อก่อน พลม้าตามเสด็จจันทกุมารและสุริยกุมาร ผู้เสด็จทรงขึ้นหลังม้าตัวประเสริฐ
วันนี้ จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท
[๑๐๖๐] เมื่อก่อน พลรถตามเสด็จจันทกุมารและสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นทรงรถคันประเสริฐ วันนี้
จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท
[๑๐๖๑] เมื่อก่อน จันทกุมารและสุริยกุมาร ที่ราชบุรุษเชิญเสด็จออกด้วยม้าทั้งหลายที่ตกแต่ง
เครื่องทอง วันนี้ จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท
(มหาชนเพ้อว่า)
[๑๐๖๒] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยพระโอรส ๔ พระองค์
8
[๑๐๖๓] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยพระธิดา ๔ พระองค์
[๑๐๖๔] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์
[๑๐๖๕] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยคหบดี ๔ คน
[๑๐๖๖] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยช้าง ๔ เชือก
[๑๐๖๗] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยม้า ๔ ตัว
[๑๐๖๘] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะบูชายัญด้วยโคอุสภราช ๔ ตัว
[๑๐๖๙] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะบูชายัญด้วยสัตว์ทุกจาพวกอย่างละ ๔
[๑๐๗๐] นี่ปราสาทของท่านล้วนด้วยทองคา ห้อยระย้าด้วยพวงมาลัยดอกไม้ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง
๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๑] นี่เรือนยอดของท่านล้วนด้วยทองคา ห้อยระย้าด้วยพวงมาลัยดอกไม้ บัดนี้ พระลูกเจ้า
ทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๒] นี่พระอุทยานของท่าน มีดอกไม้บานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๓] นี่ป่าอโศกของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๔] นี่ป่ากรรณิการ์ของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๕] นี่ป่าแคฝอยของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๖] นี่สวนมะม่วงของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๗๗] นี่สระโบกขรณีของท่านที่ดารดาษไปด้วยดอกบัวหลวง ดอกบัวขาว และเรือที่ขจิตด้วย
ทองคางดงามด้วยลวดลายเครือวัลย์ สุดแสนที่น่ารื่นรมย์ใจบัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อ
ปลงพระชนม์
[๑๐๗๘] นี่ช้างแก้วของท่าน เป็นช้างงามีกาลังชื่อเอราวัณ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขา
นาไปเพื่อปลงพระชนม์
9
[๑๐๗๙] นี่ม้าแก้วของท่าน เป็นม้าเร็วมีกีบไม่แตก บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไป
เพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๘๐] นี่รถม้าของท่าน เวลาแล่นไปมีเสียงดังก้องไพเราะ เหมือนเสียงนกสาลิกา สวยงาม
ตระการตาด้วยแก้ว ซึ่งเป็นที่ที่พระลูกเจ้าประทับเสด็จไป งดงามเหมือนพวกเทวดาในพระอุทยานนันทวัน
บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์
[๑๐๘๑] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยพระราชโอรสทั้ง ๔
พระองค์ ผู้งดงามทัดเทียมกับทอง มีพระวรกายอันอ่อน ชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์
[๑๐๘๒] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดาทั้ง ๔
พระองค์ ผู้งดงามทัดเทียมกับทอง มีพระวรกายอันอ่อน ชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์
[๑๐๘๓] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยพระมเหสีทั้ง ๔ พระองค์
ผู้งดงามทัดเทียมกับทอง มีพระวรกายอันอ่อน ชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์
[๑๐๘๔] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยคหบดีทั้ง ๔ คน ผู้
งดงามทัดเทียมกับทอง มีร่างกายชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์
[๑๐๘๕] คามนิคมทั้งหลายจะว่างเปล่า ไม่มีคนอยู่ กลายเป็นป่าใหญ่ไปฉันใด บุปผวดีนครก็จัก
เป็นฉันนั้น ในเมื่อจันทกุมารและสุริยกุมารถูกบูชายัญ
(พระเทวีกราบทูลว่า)
[๑๐๘๖] ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันจักกลายเป็นคนวิกลจริต ถูกขจัดความเจริญ มีร่างกายเปรอะ
เปื้ อนไปด้วยฝุ่นธุลี ถ้าเขาฆ่าจันทกุมาร ชีวิตของหม่อมฉันจะแตกสลาย
[๑๐๘๗] ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันจักกลายเป็นคนวิกลจริต ถูกขจัดความเจริญ มีร่างกายเปรอะ
เปื้ อนไปด้วยฝุ่นธุลี ถ้าเขาฆ่าสุริยกุมาร ชีวิตของหม่อมฉันจะแตกสลาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๘๘] เพราะเหตุไร สะใภ้ของเราเหล่านี้ คือ นางฆัฏฏิกา นางอุปริกขี นางโบกขรณี และนางภา
ริกา ต่างก็กล่าวปิยวาจากะกันและกัน ฟ้อนราอยู่ในสานักของพระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร จึงไม่ทาให้
ลูกๆ ของเรารื่นรมย์ได้ หญิงอื่นที่จะเสมอเหมือนกับสะใภ้ ๔ คนนั้นไม่มี
(พระเทวีคร่าครวญกับลูกสะใภ้ สาปแช่งขัณฑหาลปุโรหิตว่า)
[๑๐๘๙] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อจันทกุมารถูกเขานาไป
ฆ่า แม่ของเจ้าจงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้
[๑๐๙๐] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อสุริยกุมารถูกเขานาไปฆ่า
แม่ของเจ้าก็จงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้
[๑๐๙๑] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อจันทกุมารถูกเขานาไปฆ่า
ภรรยาของเจ้าก็จงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้
[๑๐๙๒] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อสุริยกุมารถูกเขานาไปฆ่า
ภรรยาของเจ้าก็จงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้
10
[๑๐๙๓] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ แม่
ของเจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย
[๑๐๙๔] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของชาวโลกทั้งมวล แม่ของ
เจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย
[๑๐๙๕] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์
ภรรยาของเจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย
[๑๐๙๖] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของชาวโลกทั้งมวล ภรรยา
ของเจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย
(จันทกุมารกราบทูลว่า)
[๑๐๙๗] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้าง
และม้าให้เขาได้
[๑๐๙๘] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้าง
ให้เขาได้
[๑๐๙๙] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้
เขาได้
[๑๑๐๐] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า
พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกขับไล่จาก
แคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต
[๑๑๐๑] ข้าแต่สมมติเทพ หญิงทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตร แม้จะเป็นคนยากจนก็วิงวอนขอบุตรต่อ
เทพเจ้า หญิงบางพวกละปฏิภาณ (ละปฏิภาณ หมายถึงละการแพ้ท้อง คือ ไม่ได้การแพ้ท้อง) แล้วไม่ได้บุตร
ก็มี
[๑๑๐๒] หญิงเหล่านั้นย่อมทาความหวังว่า “ขอบุตรจงเกิดแก่เรา” แต่นั้น ขอหลานๆ จงเกิดอีก
ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์รับสั่งให้ฆ่าพวกข้าพระองค์ เพื่อต้องการจะทรงบูชายัญโดยเหตุอัน
ไม่สมควร
[๑๑๐๓] ข้าแต่พระบิดา คนทั้งหลายได้บุตรด้วยการวิงวอน ขอพระองค์อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพวกข้า
พระองค์เลย ขออย่าทรงบูชายัญนี้ ด้วยบุตรทั้งหลายที่ได้มาโดยยาก
[๑๑๐๔] ข้าแต่พระบิดา คนทั้งหลายได้บุตรด้วยการวิงวอน ขอพระองค์อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพวกข้า
พระองค์เลย ขออย่าได้พรากพวกข้าพระองค์ ผู้เป็นบุตรที่ได้มาโดยยากจากมารดาเลย
[๑๑๐๕] ข้าแต่พระมารดา พระมารดาย่อมย่อยยับ เพราะทรงเลี้ยงลูกจันทกุมารด้วยความลาบาก
มาก ลูกขอกราบพระยุคลบาทของพระมารดา ขอพระราชบิดาจงทรงได้ปรโลกเถิด
11
[๑๑๐๖] เชิญพระมารดา จงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทมาให้ลูกกราบไหว้เถิด ลูกจะ
จากไป ณ บัดนี้ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช
[๑๑๐๗] เชิญพระมารดา จงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทมาให้ลูกกราบไหว้เถิด ลูกจะ
จากไป ณ บัดนี้ ทาความโศกเศร้าพระทัยให้แก่พระมารดา
[๑๑๐๘] เชิญพระมารดาจงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทมาให้ลูกกราบไหว้เถิด ลูกจะ
จากไป ณ บัดนี้ ทาความโศกเศร้าเสียใจให้แก่ประชาชน
(พระมารดาตรัสกับจันทกุมารว่า)
[๑๑๐๙] เชิญเถิด ลูกโคตมี เจ้าจงรัดเมาลีด้วยใบบัว จงประดับดอกไม้อันแซมด้วยกลีบจาปา นี่
เป็นปกติของเจ้าที่มีมาเก่าก่อน
[๑๑๑๐] เชิญเถิด เจ้าจงไล้ทาเครื่องลูบไล้ คือจันทน์แดงอันเป็นครั้งสุดท้ายของเจ้า เจ้าไล้ทาด้วย
จุรณแก่นจันทน์แดงนั้นแล้วย่อมงามในราชบริษัท
[๑๑๑๑] เชิญเถิด เจ้าจงนุ่งผ้าของชาวแคว้นกาสีเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นผ้าเนื้ อละเอียด อ่อนนุ่ม
เจ้านุ่งผ้ากาสิกพัสตร์นั้นดีแล้วย่อมงามในราชบริษัท
[๑๑๑๒] เชิญเจ้าประดับหัตถาภรณ์ อันเป็นเครื่องประดับทองคาฝังแก้วมุกดาและแก้วมณี เจ้า
ประดับหัตถาภรณ์นั้นแล้วย่อมงามในราชบริษัท
(พระเทวีกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๑๑๓] พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองรัฐเป็นทายาทของชนบท ผู้เป็นใหญ่เป็นอิสระในโลกนี้ จะไม่ทรง
ทาความสิเนหาให้เกิดในพระโอรสแน่ละหรือ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๑๔] แม้ลูกก็เป็นที่รักของเรา ตนเองก็เป็นที่รัก เธอและภรรยาทั้งหลายก็เป็นที่รักของเรา แต่
เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักฆ่าให้ได้
(พระเทวีกราบทูลว่า)
[๑๑๑๕] ข้าแต่สมมติเทพ อันดับแรก ขอพระองค์จงรับสั่งให้ฆ่าหม่อมฉันเถิด ขอทุกข์อย่าได้
ทาลายหทัยของหม่อมฉันเลย พระโอรสของพระองค์เป็นสุขุมาลชาติ ประดับแล้วงดงาม
[๑๑๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้า เชิญเถิด ขอพระองค์ได้โปรดฆ่าหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักอยู่
กับจันทกุมารในปรโลก ขอพระองค์ทรงทาบุญให้ไพบูลย์เถิด หม่อมฉันทั้ง ๒ จะท่องเที่ยวไปในปรโลก
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๑๗] จันทาผู้มีนัยน์ตาโต เจ้าอย่าชอบใจความตายเลย โคตมีบุตรถูกเราบูชายัญแล้ว ผัว พี่ผัว
น้องผัวของเจ้า เป็นอันมากเหล่านั้นจักทาให้รื่นรมย์ใจได้
[๑๑๑๘] เมื่อพระราชาได้ตรัสอย่างนี้ แล้ว พระนางจันทาเทวีทรงตีพระองค์เองด้วยฝ่าพระหัตถ์
พอทีด้วยชีวิตในโลกนี้ เราจักดื่มยาพิษตาย
[๑๑๑๙] พระญาติและมิตรผู้มีหทัยดีของพระราชาพระองค์นี้ ย่อมไม่มีแน่แท้ จึงไม่ทูลทัดทาน
พระราชาว่า อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าบุตรทั้งหลาย ผู้เกิดแต่พระอุระเลย
12
[๑๑๒๐] พระญาติและมิตรผู้มีหทัยดีของพระราชาพระองค์นี้ ย่อมไม่มีแน่แท้ จึงไม่ทูลทัดทาน
พระราชาว่า อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าบุตรผู้เกิดแต่ตนเลย
[๑๑๒๑] บุตรของหม่อมฉันเหล่านี้ ประดับพวงดอกไม้ สวมกาไลทองต้นแขน ขอพระราชาทรงบูชา
ยัญ ด้วยบุตรของหม่อมฉันเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงปล่อยบุตรโคตมีเถิด พระเจ้าข้า
[๑๑๒๒] ข้าแต่มหาราช ขอจงฆ่าหม่อมฉัน แบ่งออกเป็นร้อยส่วนแล้วบูชายัญ ๗ ส่วน ขออย่าทรง
ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์เลย
[๑๑๒๓] ข้าแต่มหาราช ขอจงฆ่าหม่อมฉัน แบ่งออกเป็นร้อยส่วนแล้วบูชายัญ ๗ ส่วน ขออย่าทรง
ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ ผู้เป็นที่มุ่งหวังของชาวโลกทั้งมวลเลย
(จันทกุมารตรัสกับพระนางจันทาเทวีว่า)
[๑๑๒๔] เครื่องประดับเป็นอันมากล้วนแต่ของดีๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์ ที่เรา
ให้แก่เจ้า ในเมื่อเจ้ากล่าวคาดี นี้ เป็นของที่เราให้แก่เจ้าเป็นครั้งสุดท้าย
(พระนางจันทากราบทูลว่า)
[๑๑๒๕] เมื่อก่อน พวงดอกไม้ที่บานเคยสวมที่พระศอ ของพระกุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับ
คมดีแล้ว จักตัดที่พระศอของพระกุมารเหล่านั้น
[๑๑๒๖] เมื่อก่อน พวงดอกไม้ที่วิจิตร เคยสวมที่พระศอของพระกุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับ
คมดีแล้ว จักตัดที่พระศอของพระกุมารแม้เหล่านั้น
[๑๑๒๗] ไม่นานหนอ ดาบจักตัดที่พระศอ ของพระราชบุตรทั้งหลาย ส่วนหทัยของเราจะยังไม่
แตก ตราบเท่าที่มีเครื่องผูกมารัดเราไว้แน่น
[๑๑๒๘] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช
[๑๑๒๙] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าพระทัยแก่พระมารดา
[๑๑๓๐] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน
[๑๑๓๑] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนาน
ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช
[๑๑๓๒] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนาน
ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าพระทัยให้แก่พระมารดา
[๑๑๓๓] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนาน
ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน
[๑๑๓๔] เมื่อเขาตกแต่งเครื่องบูชายัญครบทุกสิ่งแล้ว เมื่อจันทกุมารและสุริยกุมารประทับนั่ง เพื่อ
ประโยชน์แก่การบูชายัญ พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาละประนมพระหัตถ์ เสด็จดาเนินเวียนไปในระหว่าง
บริษัททั้งปวง ได้ทาสัจกิริยาว่า
13
[๑๑๓๕] ขัณฑหาละผู้มีปัญญาทราม ได้ทากรรมชั่วด้วยสัจจะอันใด ด้วยสัจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้า
ได้อยู่ร่วมกับพระสวามี
[๑๑๓๖] อมนุษย์ก็ดี ยักษ์ก็ดี สัตว์ที่เกิดแล้วและที่จะมาเกิดก็ดี มีอยู่ในที่นี้ ขอจงทาความ
ขวนขวายช่วยเหลือข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับพระสวามี
[๑๑๓๗] เหล่าเทวดาที่มาแล้ว ณ ที่นี้ สรรพสัตว์ที่เกิดแล้วและที่จะมาเกิด ขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าผู้
ไร้ที่พึ่งซึ่งแสวงหาที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านทั้งหลาย ขออย่าให้พวกข้าศึกชนะพระสวามีของข้าพเจ้าเลย
[๑๑๓๘] ท้าวสักกเทวราชทรงสดับเสียงคร่าครวญ ของพระนางจันทานั้นแล้วทรงกวัดแกว่งค้อน
เหล็ก ยังความกลัวให้เกิดแก่พระเจ้าเอกราชนั้นแล้ว ได้ตรัสกับพระราชาดังนี้ ว่า
[๑๑๓๙] พระราชากาลี ขอท่านจงรู้ไว้ อย่าให้เราต้องทุบเศียรของท่านด้วยค้อนเหล็กนี้ เลย ท่าน
อย่าได้ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์
[๑๑๔๐] พระราชากาลี ท่านเคยเห็นที่ไหน คนที่ปรารถนาสวรรค์ต้องฆ่าบุตร ภรรยา เศรษฐี
และคหบดีผู้ไม่คิดประทุษร้าย
[๑๑๔๑] ขัณฑหาลปุโรหิตและพระราชาได้ฟังพระดารัสของท้าวสักกะนั้นแล้ว ได้เห็นรูปอันน่า
อัศจรรย์ จึงได้แก้เครื่องจองจาสัตว์ทั้งปวงออก เหมือนแก้เครื่องจองจาสัตว์ผู้ไม่ต้องถูกฆ่าออกฉะนั้น
[๑๑๔๒] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ทุก
คนใช้ก้อนดินคนละก้อนทุ่มลง นั่นคือการฆ่าขัณฑหาลปุโรหิต
[๑๑๔๓] คนที่ทากรรมชั่วต้องตกนรกทั้งหมดฉันใด คนที่ทากรรมชั่วแล้วจากโลกนี้ ไป ก็ไม่พึงได้
การไปสู่สุคติเลยฉันนั้น
[๑๑๔๔] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกจันทกุมาร
[๑๑๔๕] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
ราชกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกจันทกุมาร
[๑๑๔๖] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
เทพบริษัททั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกพระจันทกุมาร
[๑๑๔๗] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
เทพกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกจันทกุมาร
[๑๑๔๘] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง
[๑๑๔๙] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
ราชกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง
[๑๑๕๐] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
เทพบริษัททั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง
14
[๑๑๕๑] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ
เทพกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง
[๑๑๕๒] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว ประชาชนเป็นอันมาก ต่างก็รื่นรมย์ยินดี พวก
เขาได้ประกาศความยินดีในเวลาที่จันทกุมารเสด็จเข้าสู่พระนครและได้ประกาศโฆษณาความหลุดพ้นจาก
เครื่องจองจาของสัตว์ทั้งปวงแล้ว
จันทกุมารชาดกที่ ๗ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา จันทกุมารชาดก
ว่าด้วย พระจันทกุมารทรงบาเพ็ญขันติบารมี
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คาเริ่มต้นว่า ราชาสิ ลุทฺทกมฺโม ดังนี้ .
เรื่องของพระเทวทัตนั้น มาแล้วใน สังฆเภทขันธกะ แล้วนั่นแล. เรื่องนั้น นับจาเดิมแต่เวลาที่
ท่านออกผนวชแล้ว ตราบเท่าถึงให้ปลงพระชนมชีพของพระเจ้าพิมพิสาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่
นั้นนั่นเอง.
ฝ่ายพระเทวทัต ครั้นให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูล
ว่า ดูก่อนมหาราช มโนรถของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ส่วนมโนรถของของอาตมา ก็ยังหาถึงที่สุดก่อนไม่.
พระราชาได้ทรงฟังดังนั้น จึงตรัสถามว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ก็มโนรถของท่านเป็นอย่างไร? พระเทวทัต.
ดูก่อนมหาราช เมื่อฆ่าพระทศพลแล้วอาตมาจักเป็นพระพุทธเจ้า มิใช่หรือ? พระราชาตรัสถามว่า ก็ใน
เพราะเรื่องนี้ ควรเราจะทาอย่างไรเล่า? เทวทัต. ดูก่อนมหาราช ควรจะให้นายขมังธนูทั้งหลายประชุมกัน.
พระราชาทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ จึงให้ประชุมนายขมังธนู จาพวกที่ยิงไม่ผิดพลาดรวม ๕๐๐ ตระกูล
ทรงเลือกจากคนเหล่านั้นไว้ ๓๑ คน ตรัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงทาตามคาสั่งของพระเถระ. ดังนี้ แล้ว
จึงส่งไปยังสานักพระเทวทัต. พระเทวทัตเรียกผู้เป็นใหญ่ ในบรรดาพวกนายขมังธนูเหล่านั้นมาแล้วกล่าว
อย่างนี้ ว่า ท่านผู้มีอายุ พระสมณโคดมประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ เสด็จจงกรมอยู่ในที่พักกลางวันในที่โน้น.
ส่วนท่านจงไปในที่นั้น ยิงพระสมณโคดมด้วยลูกศรอาบด้วยยาพิษ ให้สิ้นพระชนมชีพแล้ว จงกลับโดยทาง
ชื่อโน้น. พระเทวทัตนั้น ครั้นส่งนายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นไปแล้ว จึงพักนายขมังธนูไว้ในทางนั้น ๒ คน ด้วยสั่งว่า
จักมีบุรุษคนหนึ่งเดินทางมาโดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทาง
โน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตจึงวางบุรุษไว้สี่คนด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษเดินมา ๒ คน
ท่านจงปลงชีวิตบุรุษ ๒ คนนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทางชื่อโน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตวางคนไว้ ๘ คน ด้วย
สั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษ ๔ คนเดินทางมา พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง ๔ คนนั้นเสีย แล้ว
กลับโดยทางชื่อโน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตวางบุรุษไว้ ๑๖ คน ด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านไปยืนอยู่ จักมี
15
บุรุษเดินมา ๘ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง๘ คนนั้นเสีย. แล้วจงกลับมาโดยทางชื่อโน้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเทวทัตจึงทาอย่างนั้น. แก้ว่า เพราะปกปิดกรรมชั่วของตน. ได้ยินว่า
พระเทวทัตได้ทาดังนั้น เพื่อจะปกปิดกรรมชั่วของตน.
ลาดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่ ขัดดาบแล้วทางข้างซ้าย ผูกแล่งและศรไว้ข้างหลัง จับธนูใหญ่ทา
ด้วยเขาแกะ ไปยังสานักพระตถาคตเจ้า จึงยกธนูขึ้นด้วยสัญญาว่า เราจักยิงดังนี้ แล้ว จึงผูกสอดลูกศร ฉุด
สายมาเพื่อจะยิง ก็ไม่สามารถจะยิงไปได้. พระศาสดา ได้ทรงให้คร่าธนูมาแล้ว หาได้ประทานให้ยิงไปได้ไม่.
นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น เมื่อไม่อาจแม้จะยิงลูกศรไปก็ดี ลดลงก็ดี ก็ได้เป็นคนลาบากใจ เพราะสีข้างทั้งสอง
เป็นเหมือนจะหักลง น้าลายก็ไหลนองออกจากปาก. ร่างกายทั้งสิ้นเกิดแข็งกระด้าง ได้เป็นเสมือนถึงอาการ
อันเครื่องยนต์บีบคั้น. นายขมังธนูนั้นได้เป็นคนอันมรณภัย คุกคามแล้วยืนอยู่.
ลาดับนั้น พระศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ทรงเปล่งด้วยเสียงอันไพเราะ ตรัส
ปลอบนายขมังธนูว่า พ่อบุรุษผู้โง่เขลา ท่านอย่ากล่าวเลย จงมาที่นี้ เถิด. ในขณะนั้น นายขมังธนูก็ทิ้งอาวุธ
เสีย กราบลงด้วยศีรษะ แทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ล่วง
ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โดยที่เป็นคนเขลา คนหลง คนชั่วบาป. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้รู้จักคุณของพระองค์ จึง
ได้มาแล้ว เพื่อปลงพระชนมชีพของพระองค์ ตามคาเสี้ยมสอนของพระเทวทัตผู้เป็นอันธพาล. ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า. ข้าแต่พระสุคตขอพระองค์ จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่
พระองค์ผู้รู้โลก ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษให้ตนแล้ว ก็นั่งลง
ในที่สุดส่วนข้างหนึ่ง. ลาดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ยังนายขมังธนูให้ตั้งอยู่ใน
โสดาปัตติผลแล้ว ดารัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินทางไปตามทางที่พระเทวทัตชี้ให้ จงไปเสียทางอื่น
แล้วส่งนายขมังธนูนั้นไป. ก็แล้วครั้นส่งนายขมังธนูไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไป ประทับอยู่ ณ
โคนไม้ต้นหนึ่ง.
ลาดับนั้น เมื่อนายขมังธนูผู้ใหญ่มิได้กลับมา นายขมังธนูอีก ๒ คนที่คอยอยู่ก็คิดว่า อย่างไร
หนอเขาจึงล่าช้าอยู่ ออกเดินสวนทางไป. ครั้นเห็นพระทศพล ก็เข้าไปถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้าง
หนึ่ง. พระศาสดา ครั้นทรงประกาศพระอริยสัจแก่ชนทั้ง ๒ ยังเขาให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วดารัสสอนว่า
ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินไปทางที่พระเทวทัตบอก จงไปโดยทางนี้ แล้วก็ส่งเขาไป โดยอุบายนี้ เมื่อทรง
ประกาศพระอริยสัจ ยังนายขมังธนูแม้นอกนี้ ที่มานั่งเฝ้า ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ก็ทรงส่งไปโดยทาง
อื่น.
ลาดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นกลับมาถึงก่อนก็เข้าไปหาพระเทวทัตกล่าวว่า ข้าแต่พระเทวทัต
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้อาจปลงพระชนมชีพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงฤทธิ์อัน
ยิ่งใหญ่ ทรงอานุภาพอันยิ่งใหญ่. ส่วนบรรดานายขมังธนูเหล่านั้น ราพึงว่า เราทั้งหมดนั้นอาศัยพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รอดชีวิตแล้ว ก็ออกบรรพชาในสานักพระศาสดา แล้วทรงบรรลุพระอรหัตทุกท่าน.
เรื่องนี้ ได้ปรากฏในภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ได้ยินว่าพระเทวทัต ได้กระทาความพยายาม เพื่อจะปลงชีวิตชนเป็นอันมาก เพราะจิตก่อเวรในพระตถาคต
เจ้าพระองค์เดียว. แต่ชนเหล่านั้น อาศัยพระศาสดาได้รอดชีวิตแล้วทั้งสิ้น. ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากที่
16
บรรทม อันประเสริฐได้ทรงสดับถ้อยคาของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์. เสด็จ
มายังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ. เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน
พระเทวทัตก็กระทาความพยายาม เพื่อจะฆ่าชนเป็นอันมาก อาศัยเราผู้เดียว เพราะจิตมีเวรในเรา. ดังนี้ แล้ว
ได้ทรงนิ่งเสีย. เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอน จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล กรุงพาราณสีนี้ ชื่อว่าเมืองปุปผวดี. พระโอรสของพระเจ้าวสวัต
ดีทรงพระนามว่าเอกราช ได้ครองราชสมบัติในเมืองนั้น. พระราชโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่าพระจันท
กุมาร ได้ดารงตาแหน่งเป็นอุปราช พราหมณ์ชื่อว่ากัณฑหาละ (๑. บาลีเป็น ขัณฑหาละ) ได้เป็นปุโรหิต.
เขาถวายอนุศาสน์ทั้งอรรถและธรรมแด่พระราชา.
ได้ยินว่า พระราชา ครั้นทรงสดับว่า กัณฑหาละเป็นบัณฑิต ก็ทรงให้ดารงไว้ในหน้าที่ตัดสิน
อรรถคดี. ก็กัณฑหาลพราหมณ์นั้น เป็นคนมีจิตใจฝักใฝ่ในสินบน. ครั้นได้รับสินบนแล้ว ก็ตัดสินให้ผู้มิใช่
เจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นเจ้าของมิให้ได้เป็นเจ้าของ. ครั้นภายหลังวันหนึ่ง มีบุรุษผู้แพ้คดีคนหนึ่ง
โพนทนาด่าว่า อยู่ในที่เป็นที่วินิจฉัยอรรถคดี. ครั้นออกมาภายนอก เห็นพระจันทกุมารจะเสด็จมาสู่ที่เฝ้า
พระราชา ก็กราบลงแทบพระบาทแล้วร้องไห้ พระจันทกุมารนั้นถามเขาว่า เรื่องอะไรกัน บุรุษผู้เจริญ. เขา
ทูลว่า กัณฑหาลนี้ ปล้นเขาในการตัดสินความ ถึงข้าพระองค์ เมื่อเขารับสินบนแล้ว เขาก็ทาให้ถึงความพ่าย
แพ้ในอรรถคดี พระเจ้าข้า. พระจันทกุมารตรัสปลอบว่า อย่ากลัวไปเลย ดังนี้ แล้ว ก็ทรงพาบุรุษนั้นไปสู่โรง
เป็นที่วินิจฉัยอรรถคดี กระทาผู้เป็นเจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ ผู้มิใช่เจ้าของให้เป็นผู้มิใช่เจ้าของ. มหาชน
พากันแซ่ซ้องสาธุการด้วยเสียงอันดัง. พระราชา ได้ทรงสดับเสียงนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร? มีผู้ทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ได้ยินว่า มีอรรถคดีอันพระจันทกุมารทรงตัดสินแล้วโดยชอบธรรม เสียงนั้น คือเสียง
สาธุการของมหาชน. เพราะฟังเสียงนั้นพระราชา จึงเกิดปีติ.
พระจันทกุมารเสด็จมาถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลาดับ
นั้น พระราชาจึงตรัสกะท่านว่า แน่ะ พ่อได้ยินว่า เจ้าได้ตัดสินความเรื่องหนึ่งหรือ? พระจันทกุมารทูลว่า ข้า
แต่สมมติเทพ ข้าพระบาทได้ตัดสินเรื่องหนึ่ง พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้ากระนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
เจ้าคนเดียวจงยังการตัดสินอรรถคดีให้ดาเนินไปเถิด. แล้วทรงประทานหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีแก่พระกุมาร.
ผลประโยชน์ของกัณฑหาลพราหมณ์ ย่อมขาดไป. เขาก็ผูกอาฆาตประพฤติเป็นผู้เพ่งโทษ จะจับผิดในพระ
จันทกุมาร ตั้งแต่นั้นมา.
ส่วนพระราชานั้นเป็นผู้มีปัญญาอ่อน วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ได้ทรงสุบินเห็นปานนี้ ว่า ได้
ทอดพระเนตรเห็นดาวดึงส์พิภพ มีซุ้มประตูอันประดับแล้ว มีกาแพงแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีวิถีอันแล้ว
ไปด้วย ทรายทอง กว้างประมาณ ๖๐ โยชน์ ประดับไปด้วยเวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ เป็นที่รื่นรมย์ไป
ด้วยสวนมีนันทวันเป็นต้น ประกอบด้วยสระโบกขรณี อันน่ายินดี มีนันทโบกขรณีเป็นต้น มีหมู่เทพเกลื่อน
กล่น. นางเทพอัสปรเป็นอันมากก็ฟ้อนราขับร้อง และประโคมดนตรี ในเวชยันตปราสาท ในดาวดึงส์พิภพ
นั้น. พระราชาได้ทรงเห็นดังนั้น ครั้นทรงตื่นบรรทม ใคร่จะเสด็จไปสู่พิภพนั้น จึงทรงดาริว่า พรุ่งนี้ ในเวลาที่
อาจารย์กัณฑหาละมาเฝ้า เราจะถามถึงหนทางอันเป็นที่ไปยังเทวโลกแล้ว. เราจักไปสู่เทวโลกโดยทางที่
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a ๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf

๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf
๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf
๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdfmaruay songtanin
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
9789740333685
97897403336859789740333685
9789740333685CUPress
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒Tongsamut vorasan
 
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...maruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 

Semelhante a ๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf (20)

๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf
๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf
๐๓. สุวรรณสามชาดก.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
 
๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๓๓. คุตติลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
 
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
 
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
 
9789740333685
97897403336859789740333685
9789740333685
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
 
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
Ppt 1
Ppt 1Ppt 1
Ppt 1
 
๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๕๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
 

Mais de maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 

Mais de maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 

๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๗ (ขันติบารมี) ๗. จันทกุมารชาดก พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัตตรัสจันทกุมารชาดกซึ่งมีคา เริ่มต้นว่า มีพระราชาผู้ทรงทากรรมหยาบช้า ดังนี้ เป็นต้น พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๗. จันทกุมารชาดก ว่าด้วยจันทกุมารทรงบาเพ็ญขันติบารมี [๙๘๒] พระเจ้าเอกราช ผู้มีกรรมหยาบช้า ประทับอยู่ในกรุงบุปผวดี ท้าวเธอตรัสถามขัณฑหาล ปุโรหิต ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ ผู้เป็นคนหลงว่า [๙๘๓] ท่านพราหมณ์ ท่านฉลาดในสุจริตธรรมและอาจารวินัย ขอจงบอกทางสวรรค์แก่เรา อย่าง ที่นรชนทาบุญแล้ว จากโลกนี้ จะไปสู่สุคติภพเถิด (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า) [๙๘๔] ข้าแต่สมมติเทพ เหล่านรชนให้ทานยิ่งกว่าทาน ฆ่าคนที่ไม่น่าจะฆ่า ทาบุญแล้วย่อมไปสู่ สวรรค์ได้อย่างนี้ (พระราชาตรัสว่า) [๙๘๕] ก็ทานที่ยิ่งกว่าทานนั้นคืออะไร และคนจาพวกไหนเป็นผู้ไม่น่าจะฆ่าในโลกนี้ ขอท่านจง บอกข้อนั้นแก่เรา เราจักบูชายัญ จักให้ทาน (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า) [๙๘๖] ข้าแต่สมมติเทพ ควรบูชายัญด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา พระมเหสี ชาวนิคม โคอุสภ ราช และม้าอาชาไนย อย่างละ ๔ ควรบูชายัญด้วยของครบอย่างละ ๔ พระเจ้าข้า [๙๘๗] ในพระราชวังมีเสียงระเบ็งเซ็งแซ่เป็นอันเดียวกัน เพราะได้ยินคาว่า พระกุมาร พระกุมารี และพระมเหสีจะถูกประหาร (พระราชาตรัสว่า)
  • 2. 2 [๙๘๘] ขอพวกท่านจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย คือ จันทกุมาร สุริยกุมาร ภัททเสนกุมาร สูร กุมาร และวามโคตตกุมารเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่ในที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การ บูชายัญ” [๙๘๙] ขอพวกเจ้าจงไปทูลพระกุมารีทั้งหลาย คือ อุปเสนากุมารี โกกิลากุมารี ทิตากุมารี และนัน ทากุมารีเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ” [๙๙๐] อนึ่ง พวกเจ้าจงไปทูลพระนางวิชยา พระนางเอราวดี พระนางเกศินี และพระนางสุนันทา ผู้เป็นมเหสีของเรา ผู้ซึ่งประกอบด้วยลักษณะอันประเสริฐเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่อยู่ใน ที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ” [๙๙๑] พวกท่านจงไปบอกพวกคหบดีคือ ปุณณมุขคหบดี ภัททิยคหบดี สิงคาลคหบดี และวัฑฒ คหบดีเถิดว่า “ได้ยินว่า พวกท่านจงรวมกันเป็นหมู่อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ” (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า) [๙๙๒] คหบดีเหล่านั้นมีบุตรและภรรยามาก ต่างก็มาพร้อมกัน ณ ที่นั้น ได้กราบทูลพระราชาว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงไว้จุก (ไว้จุก หมายถึงทาให้เป็นผู้รับใช้ ทาให้เป็นทาส) แก่ข้าพระองค์ ทั้งหมดเถิด อีกอย่างหนึ่ง ขอให้ทรงประกาศพวกข้าพระองค์เป็นข้าทาสเถิด” (พระราชาตรัสว่า) [๙๙๓] พวกท่านจงรีบนาช้างทั้งหลายของเรามา คือ ช้างอภยังกร ช้างนาฬาคีรี ช้างอัจจุคคตะ ช้างวรุณทันตะ ช้างเหล่านั้นจักเป็นประโยชน์แก่การบูชายัญ [๙๙๔] พวกท่านจงรีบไปนาม้าอัสดรของเรามา คือ ม้าเกศี ม้าสุรามุขะ ม้าปุณณกะ ม้าวินตกะ ม้าเหล่านั้นจักเป็นประโยชน์แก่การบูชายัญ [๙๙๕] ขอพวกท่านจงรีบไปนาเอาโคอุสภะของเรามาคือ โคยูถปติ โคอโนชะ โคนิสภะ และโคควัม ปติ จงต้อนโคเหล่านั้นทั้งหมดเข้าเป็นหมู่ เราจักบูชายัญ จักให้ทาน [๙๙๖] พวกท่านจงตระเตรียมยัญทุกอย่างไว้ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น เราจักบูชายัญ พวกท่านจงบังคับ เหล่ากุมารมาว่า จงรื่นรมย์ตลอดราตรีนี้ เถิด [๙๙๗] พวกท่านจงตั้งยัญทุกอย่างไว้ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น เราจักบูชายัญ พวกเจ้าจงไปทูลพระ กุมาร ณ บัดนี้ วันนี้ แหละเป็นคืนสุดท้าย (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า) [๙๙๘] พระมารดาเสด็จมาจากพระตาหนัก ทรงกันแสงพลางตรัสถามพระเจ้าเอกราชนี้ นั้นว่า “ลูกรัก ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยพระโอรสทั้ง ๔ หรือ” (พระราชากราบทูลว่า) [๙๙๙] เมื่อจะต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคนหม่อมฉันก็สละได้ หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร ทั้งหลายแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์ (พระราชมารดาตรัสว่า)
  • 3. 3 [๑๐๐๐] ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคานั้นที่ว่า “สุคติจะมีได้เพราะใช้บุตรบูชายัญ เพราะว่า นั้นเป็นทาง ไปนรก ไม่ใช่ทางไปสวรรค์” [๑๐๐๑] ลูกโกณฑัญญะเอ๋ย พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง นี้ เป็นทางไปสู่สุคติ และ ทางไปสู่สุคติมิใช่เพราะใช้บุตรบูชายัญ (พระราชากราบทูลว่า) [๑๐๐๒] คาของอาจารย์ทั้งหลายมีว่า “หม่อมฉันจักฆ่าทั้งจันทกุมารและสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชา ยัญด้วยบุตรทั้งหลายที่สละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์” (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๐๐๓] แม้แต่พระเจ้าวสวัตดีพระราชบิดา ได้ตรัสถามพระราชโอรสของพระองค์นั้นว่า “ลูกรัก ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยโอรสทั้ง ๔ หรือ” (พระราชากราบทูลว่า) [๑๐๐๔] เมื่อจะต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคนหม่อมฉันก็สละได้ หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร ทั้งหลายแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์ (พระราชบิดาตรัสว่า) [๑๐๐๕] ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคานั้นที่ว่า “สุคติจะมีได้เพราะใช้บุตรบูชายัญ เพราะว่า นั้นเป็นทาง ไปนรก มิใช่ทางไปสู่สวรรค์ [๑๐๐๖] ลูกโกณฑัญญะเอ๋ย พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง นี้ เป็นทางไปสู่สุคติ และ ทางไปสู่สุคติมิใช่เพราะใช้บุตรบูชายัญ (พระราชากราบทูลว่า) [๑๐๐๗] คาของอาจารย์ทั้งหลายมีว่า “หม่อมฉันจักฆ่าทั้งจันทกุมารและสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชา ยัญด้วยบุตรทั้งหลายที่สละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติโลกสวรรค์” (พระราชบิดาตรัสว่า) [๑๐๐๘] ลูกโกณฑัญญะเอ๋ย พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง พ่อจงเป็นผู้มีบุตรห้อม ล้อม รักษารัฐและชนบทเถิด (จันทกุมารกราบทูลว่า) [๑๐๐๙] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นข้าทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้าง และม้าให้เขาได้ [๑๐๑๐] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้าง ให้เขาได้
  • 4. 4 [๑๐๑๑] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้ เขาได้ [๑๐๑๒] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิต ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกขับ ไล่จากแคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๑๓] พวกเจ้าพากันพร่าเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ได้ก่อทุกข์แก่เราแท้ จงปล่อยพวกพระกุมารไป ณ บัดนี้ เถิด เราขอเลิกการใช้บุตรบูชายัญ (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า) [๑๐๑๔] เมื่อก่อนทีเดียว ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์แล้วว่า การบูชายัญนี้ ทาได้ยาก เกิดได้ แสนยาก เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงทายัญที่พวกข้าพระองค์ได้ตระเตรียมไว้แล้ว ให้ กระจัดกระจายไปเล่า [๑๐๑๕] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ เหล่าชนผู้กาลังบูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ (จันทกุมารกราบทูลว่า) [๑๐๑๖] ข้าแต่สมมติเทพ เพราะเหตุไร เมื่อก่อนพระองค์จึงรับสั่งให้พวกพราหมณ์ กล่าวคาสวัสดี แก่พวกหม่อมฉัน มาภายหลัง พระองค์จะรับสั่งฆ่าพวกหม่อมฉัน เพื่อต้องการจะบูชายัญโดยหาเหตุมิได้ [๑๐๑๗] ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อน เวลาที่พวกหม่อมฉันยังเป็นเด็กหนุ่ม พระองค์มิได้ทรงฆ่าเอง และมิได้ทรงรับสั่งให้ผู้อื่นฆ่า บัดนี้ พวกหม่อมฉันถึงความเจริญวัยเป็นหนุ่มแน่นแล้ว มิได้คิดประทุษร้ายต่อ พระองค์เลย เพราะเหตุไร จึงจะถูกฆ่า [๑๐๑๘] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตร ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ขึ้นขี่ช้างและม้า ผูก สอดเครื่องรบได้ออกรบแล้วหรือกาลังสู้รบ บุตรทั้งหลายผู้กล้าหาญดังเช่นพวกข้าพระองค์ ย่อมไม่ควรที่ จะต้องถูกฆ่าเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ [๑๐๑๙] เมื่อเมืองชายแดน หรือเมื่อพวกโจรในดงกาเริบ ชนทั้งหลายย่อมใช้คนเช่นข้าพระองค์ ข้าแต่พระบิดา แต่พวกข้าพระองค์จะถูกฆ่า ในสถานที่ที่ไม่สมควรโดยหาเหตุมิได้ [๑๐๒๐] ข้าแต่สมมติเทพ แม่นกที่เกื้อกูลเหล่าใดพากันทารังอยู่ ลูกนกทั้งหลายเป็นที่รักของแม่ นกเหล่านั้น ส่วนพระองค์รับสั่งให้ฆ่าพวกข้าพระองค์เพราะเหตุไร [๑๐๒๑] ข้าแต่สมมติเทพ อย่าได้ทรงเชื่อขัณฑหาลปุโรหิต ขัณฑหาลปุโรหิตไม่พึงฆ่าข้าพระองค์ เพราะเขาฆ่าข้าพระองค์ได้แล้ว ก็จะพึงฆ่าพระองค์ในอันดับต่อไป [๑๐๒๒] ข้าแต่มหาราช พระราชาทั้งหลาย ย่อมพระราชทานบ้านอย่างดี นิคมอย่างดี แม้แต่โภค ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้น อนึ่ง พวกพราหมณ์นั้นแม้ได้ข้าวและน้าอันเลิศในตระกูล ย่อมบริโภคในตระกูล
  • 5. 5 [๑๐๒๓] ข้าแต่มหาราช พวกพราหมณ์ย่อมปรารถนา เพื่อประทุษร้ายต่อผู้ให้ข้าวน้าเช่นนั้นแม้ เหล่านั้น เพราะโดยมากพวกพราหมณ์แม้เหล่านี้ เป็นคนอกตัญญู พระเจ้าข้า [๑๐๒๔] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้าง และม้าให้เขาได้ [๑๐๒๕] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้าง ให้เขาได้ [๑๐๒๖] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้ เขาได้ [๑๐๒๗] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกขับไล่ จากแคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๒๘] พวกเจ้าพากันพร่าเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ได้ก่อทุกข์แก่เราแท้ จงปล่อยพวกพระกุมาร ทั้งหลายไป ณ บัดนี้ เถิด เราขอเลิกการใช้บุตรบูชายัญ (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า) [๑๐๒๙] เมื่อก่อนทีเดียว ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์แล้วว่า การบูชายัญนี้ ทาได้ยาก เกิดได้ แสนยาก เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงทายัญที่พวกข้าพระองค์ได้ตระเตรียมไว้แล้ว ให้ กระจัดกระจายไปเล่า [๑๐๓๐] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ เหล่าชนผู้กาลังบูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ (จันทกุมารกราบทูลว่า) [๑๐๓๑] ข้าแต่พระราชา ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลาย จุติจากโลกนี้ แล้วย่อมไปสู่เท วโลกดังได้ยินมา พราหมณ์จงบูชาก่อนเถิด ขอพระองค์ทรงบูชายัญตามในภายหลัง [๑๐๓๒] ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลาย จุติจากโลกนี้ แล้วย่อมไปสู่เทวโลกดังได้ยินมา ขอขัณฑหาลพราหมณ์ผู้นี้ แหละ จงบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลายของตนเถิด [๑๐๓๓] ถ้าว่าขัณฑหาลพราหมณ์รู้อยู่อย่างนี้ ทาไมจึงไม่ฆ่าบุตรของตน ไม่ฆ่าคนที่เป็นญาติทุก คนและตนเองเล่า [๑๐๓๔] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ เหล่าชนผู้กาลังบูชายัญอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นย่อมไปสู่นรกทุกคน
  • 6. 6 [๑๐๓๕] ก็ถ้าว่าคนผู้ฆ่าผู้อื่นจะบริสุทธิ์ได้ แม้คนผู้ถูกฆ่านั้นก็เข้าถึงแดนสวรรค์ได้ พวกพราหมณ์ ก็ควรฆ่าพวกพราหมณ์ และพวกคนที่เชื่อพราหมณ์เหล่านั้นด้วย [๑๐๓๖] ดังที่ได้ยินมา พ่อเรือนและแม่เรือนผู้รักบุตรที่มีอยู่ในนครนี้ ทาไมจึงไม่ทัดทานพระราชา ว่า “อย่าทรงฆ่าบุตรผู้เกิดแต่ตนเลย” [๑๐๓๗] ดังที่ได้ยินมา พ่อเรือนและแม่เรือนผู้รักบุตรที่มีอยู่ในนครนี้ ทาไมจึงไม่ทัดทานพระราชา ว่า “อย่าทรงฆ่าบุตรผู้เกิดแต่ตนเลย” [๑๐๓๘] เราเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์แก่พระราชา และเป็นผู้เกื้อกูลแก่ชนบททั้งมวล ใครๆ ก็ไม่ พึงมีความแค้นเคืองกับเรา ชาวชนบททั้งหลายไม่ช่วยกราบทูลให้พระองค์ได้ทรงทราบเลย [๑๐๓๙] แม่เรือนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงไปกราบทูลพระบิดาและวิงวอนขัณฑหาลพราหมณ์ ว่า “ขออย่าฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์” [๑๐๔๐] แม่เรือนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงไปกราบทูลพระบิดาและวิงวอนขัณฑหาลพราหมณ์ ว่า “ขออย่าฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นบุคคลตัวอย่างที่หวังของชาวโลกทั้งมวล” [๑๐๔๑] ไฉนหนอ เราพึงเกิดในตระกูลช่างรถ ตระกูลปุกกุสะ หรือในตระกูลพ่อค้า พระราชาก็ไม่ พึงรับสั่งให้ฆ่าเราในการบูชายัญวันนี้ (จันทกุมารตรัสกับพระชายาทั้งหลายว่า) [๑๐๔๒] เจ้าผู้มีความคิดทั้งปวง จงไปหมอบลงแทบเท้า ของผู้เป็นเจ้าขัณฑหาละ เรียนว่า “เรา มิได้เห็นความผิดเลย” [๑๐๔๓] เจ้าผู้มีความคิดทั้งปวง จงไปหมอบลงแทบเท้า ของผู้เป็นเจ้าขัณฑหาละ เรียนว่า “ท่านผู้ เจริญ เราทั้งหลายได้ประทุษร้ายอะไรท่าน” (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้ อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๐๔๔] พระเสลาราชกุมารีผู้ควรการุณย์ทรงเห็นพระภาดาทั้งหลาย ที่เขานามาเพื่อบูชายัญ จึง ทรงคร่าครวญว่า ได้ยินว่า พระบิดาของเราทรงปรารถนาสวรรค์ รับสั่งให้ตั้งพิธีบูชายัญขึ้น [๑๐๔๕] พระวสุลราชนัดดากลิ้งเกลือกไปมาต่อพระพักตร์ของพระราชากราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติ เทพ ข้าพระบาทยังเป็นเด็ก ไม่ถึงความเป็นหนุ่ม ขอพระองค์ได้ทรงโปรดอย่าฆ่าพระบิดาของข้าพระบาท เลย” (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๔๖] วสุละ นั่นพ่อเจ้า เจ้าจงไปพร้อมกับพ่อ เจ้าพากันพร่าเพ้ออยู่ในพระราชวัง ได้ก่อทุกข์ ให้แก่เราแท้ จงปล่อยพระกุมารไป ณ บัดนี้ เถิด เราขอเลิกการใช้บุตรบูชายัญ (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า) [๑๐๔๗] เมื่อก่อนทีเดียว ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์แล้วว่า “การบูชายัญนี้ ทาได้ยาก เกิดได้ แสนยาก เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงทายัญที่พวกข้าพระองค์ได้ตระเตรียมไว้แล้ว ให้ กระจัดกระจายไปเล่า
  • 7. 7 [๑๐๔๘] ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นบูชายัญแทนก็ดี และอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของ เหล่าชนผู้กาลังบูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ [๑๐๔๙] ข้าแต่พระเจ้าเอกราช ข้าพระองค์ได้ตระเตรียมจัดแจงยัญด้วยแก้วสารพัดไว้เพื่อพระองค์ แล้ว เชิญเสด็จออกเถิด พระองค์ทรงบูชายัญแล้วจักเสด็จไปสู่สวรรค์บันเทิงพระหฤทัย พระเจ้าข้า [๑๐๕๐] หญิงสาว ๗๐๐ คนนี้ เป็นภรรยาของจันทกุมาร ต่างสยายผมร้องไห้เดินไปตามทาง [๑๐๕๑] ส่วนหญิงอีกพวกหนึ่งก็ออกไปด้วยความเศร้าโศก เหมือนเหล่าเทวดาในอุทยานนันทวัน ต่างสยายผมร้องไห้ไปตามทาง (หญิง ๗๐๐ พร่าเพ้อว่า) [๑๐๕๒] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช [๑๐๕๓] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไป ทาความเศร้าโศกพระหฤทัยให้แก่พระมารดา [๑๐๕๔] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไป ทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน [๑๐๕๕] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนานดี แล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช [๑๐๕๖] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนานดี แล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาไป ทาความเศร้าโศกพระหฤทัยให้แก่พระราช ชนนี [๑๐๕๗] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนานดี แล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาไป ทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน [๑๐๕๘] เมื่อก่อน พลช้างตามเสด็จจันทกุมารและสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นคอช้างตัวประเสริฐ วันนี้ จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท [๑๐๕๙] เมื่อก่อน พลม้าตามเสด็จจันทกุมารและสุริยกุมาร ผู้เสด็จทรงขึ้นหลังม้าตัวประเสริฐ วันนี้ จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท [๑๐๖๐] เมื่อก่อน พลรถตามเสด็จจันทกุมารและสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นทรงรถคันประเสริฐ วันนี้ จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท [๑๐๖๑] เมื่อก่อน จันทกุมารและสุริยกุมาร ที่ราชบุรุษเชิญเสด็จออกด้วยม้าทั้งหลายที่ตกแต่ง เครื่องทอง วันนี้ จันทกุมารและสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดาเนินด้วยพระบาท (มหาชนเพ้อว่า) [๑๐๖๒] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยพระโอรส ๔ พระองค์
  • 8. 8 [๑๐๖๓] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยพระธิดา ๔ พระองค์ [๑๐๖๔] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์ [๑๐๖๕] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ ก็จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยคหบดี ๔ คน [๑๐๖๖] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยช้าง ๔ เชือก [๑๐๖๗] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะทรงบูชายัญด้วยม้า ๔ ตัว [๑๐๖๘] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะบูชายัญด้วยโคอุสภราช ๔ ตัว [๑๐๖๙] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้ อ จงบินไปทางทิศตะวันออกแห่งบุปผวดีนครเถิด ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จะบูชายัญด้วยสัตว์ทุกจาพวกอย่างละ ๔ [๑๐๗๐] นี่ปราสาทของท่านล้วนด้วยทองคา ห้อยระย้าด้วยพวงมาลัยดอกไม้ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๑] นี่เรือนยอดของท่านล้วนด้วยทองคา ห้อยระย้าด้วยพวงมาลัยดอกไม้ บัดนี้ พระลูกเจ้า ทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๒] นี่พระอุทยานของท่าน มีดอกไม้บานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๓] นี่ป่าอโศกของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๔] นี่ป่ากรรณิการ์ของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๕] นี่ป่าแคฝอยของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๖] นี่สวนมะม่วงของท่าน มีดอกบานสะพรั่งทุกเวลา น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๗๗] นี่สระโบกขรณีของท่านที่ดารดาษไปด้วยดอกบัวหลวง ดอกบัวขาว และเรือที่ขจิตด้วย ทองคางดงามด้วยลวดลายเครือวัลย์ สุดแสนที่น่ารื่นรมย์ใจบัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อ ปลงพระชนม์ [๑๐๗๘] นี่ช้างแก้วของท่าน เป็นช้างงามีกาลังชื่อเอราวัณ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขา นาไปเพื่อปลงพระชนม์
  • 9. 9 [๑๐๗๙] นี่ม้าแก้วของท่าน เป็นม้าเร็วมีกีบไม่แตก บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไป เพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๘๐] นี่รถม้าของท่าน เวลาแล่นไปมีเสียงดังก้องไพเราะ เหมือนเสียงนกสาลิกา สวยงาม ตระการตาด้วยแก้ว ซึ่งเป็นที่ที่พระลูกเจ้าประทับเสด็จไป งดงามเหมือนพวกเทวดาในพระอุทยานนันทวัน บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานาไปเพื่อปลงพระชนม์ [๑๐๘๑] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยพระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ ผู้งดงามทัดเทียมกับทอง มีพระวรกายอันอ่อน ชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์ [๑๐๘๒] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ผู้งดงามทัดเทียมกับทอง มีพระวรกายอันอ่อน ชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์ [๑๐๘๓] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยพระมเหสีทั้ง ๔ พระองค์ ผู้งดงามทัดเทียมกับทอง มีพระวรกายอันอ่อน ชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์ [๑๐๘๔] ทาไมหนอ พระเจ้าเอกราชผู้ทรงหลงงมงาย จักทรงบูชายัญด้วยคหบดีทั้ง ๔ คน ผู้ งดงามทัดเทียมกับทอง มีร่างกายชโลมด้วยจุรณแก่นจันทน์ [๑๐๘๕] คามนิคมทั้งหลายจะว่างเปล่า ไม่มีคนอยู่ กลายเป็นป่าใหญ่ไปฉันใด บุปผวดีนครก็จัก เป็นฉันนั้น ในเมื่อจันทกุมารและสุริยกุมารถูกบูชายัญ (พระเทวีกราบทูลว่า) [๑๐๘๖] ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันจักกลายเป็นคนวิกลจริต ถูกขจัดความเจริญ มีร่างกายเปรอะ เปื้ อนไปด้วยฝุ่นธุลี ถ้าเขาฆ่าจันทกุมาร ชีวิตของหม่อมฉันจะแตกสลาย [๑๐๘๗] ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันจักกลายเป็นคนวิกลจริต ถูกขจัดความเจริญ มีร่างกายเปรอะ เปื้ อนไปด้วยฝุ่นธุลี ถ้าเขาฆ่าสุริยกุมาร ชีวิตของหม่อมฉันจะแตกสลาย (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๘๘] เพราะเหตุไร สะใภ้ของเราเหล่านี้ คือ นางฆัฏฏิกา นางอุปริกขี นางโบกขรณี และนางภา ริกา ต่างก็กล่าวปิยวาจากะกันและกัน ฟ้อนราอยู่ในสานักของพระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร จึงไม่ทาให้ ลูกๆ ของเรารื่นรมย์ได้ หญิงอื่นที่จะเสมอเหมือนกับสะใภ้ ๔ คนนั้นไม่มี (พระเทวีคร่าครวญกับลูกสะใภ้ สาปแช่งขัณฑหาลปุโรหิตว่า) [๑๐๘๙] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อจันทกุมารถูกเขานาไป ฆ่า แม่ของเจ้าจงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้ [๑๐๙๐] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อสุริยกุมารถูกเขานาไปฆ่า แม่ของเจ้าก็จงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้ [๑๐๙๑] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อจันทกุมารถูกเขานาไปฆ่า ภรรยาของเจ้าก็จงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้ [๑๐๙๒] เจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าเสียใจใด ย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อสุริยกุมารถูกเขานาไปฆ่า ภรรยาของเจ้าก็จงประสบความโศกเศร้าเสียใจของเรานี้
  • 10. 10 [๑๐๙๓] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ แม่ ของเจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย [๑๐๙๔] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของชาวโลกทั้งมวล แม่ของ เจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย [๑๐๙๕] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ ภรรยาของเจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย [๑๐๙๖] เจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของชาวโลกทั้งมวล ภรรยา ของเจ้าก็อย่าได้เห็นลูกๆ และสามีเลย (จันทกุมารกราบทูลว่า) [๑๐๙๗] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้าง และม้าให้เขาได้ [๑๐๙๘] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้าง ให้เขาได้ [๑๐๙๙] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกจองจาด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้ เขาได้ [๑๑๐๐] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพวกข้าพระองค์เลย โปรดพระราชทานพวกข้า พระองค์ ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด ถึงแม้พวกข้าพระองค์จะถูกขับไล่จาก แคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต [๑๑๐๑] ข้าแต่สมมติเทพ หญิงทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตร แม้จะเป็นคนยากจนก็วิงวอนขอบุตรต่อ เทพเจ้า หญิงบางพวกละปฏิภาณ (ละปฏิภาณ หมายถึงละการแพ้ท้อง คือ ไม่ได้การแพ้ท้อง) แล้วไม่ได้บุตร ก็มี [๑๑๐๒] หญิงเหล่านั้นย่อมทาความหวังว่า “ขอบุตรจงเกิดแก่เรา” แต่นั้น ขอหลานๆ จงเกิดอีก ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์รับสั่งให้ฆ่าพวกข้าพระองค์ เพื่อต้องการจะทรงบูชายัญโดยเหตุอัน ไม่สมควร [๑๑๐๓] ข้าแต่พระบิดา คนทั้งหลายได้บุตรด้วยการวิงวอน ขอพระองค์อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพวกข้า พระองค์เลย ขออย่าทรงบูชายัญนี้ ด้วยบุตรทั้งหลายที่ได้มาโดยยาก [๑๑๐๔] ข้าแต่พระบิดา คนทั้งหลายได้บุตรด้วยการวิงวอน ขอพระองค์อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพวกข้า พระองค์เลย ขออย่าได้พรากพวกข้าพระองค์ ผู้เป็นบุตรที่ได้มาโดยยากจากมารดาเลย [๑๑๐๕] ข้าแต่พระมารดา พระมารดาย่อมย่อยยับ เพราะทรงเลี้ยงลูกจันทกุมารด้วยความลาบาก มาก ลูกขอกราบพระยุคลบาทของพระมารดา ขอพระราชบิดาจงทรงได้ปรโลกเถิด
  • 11. 11 [๑๑๐๖] เชิญพระมารดา จงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทมาให้ลูกกราบไหว้เถิด ลูกจะ จากไป ณ บัดนี้ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช [๑๑๐๗] เชิญพระมารดา จงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทมาให้ลูกกราบไหว้เถิด ลูกจะ จากไป ณ บัดนี้ ทาความโศกเศร้าพระทัยให้แก่พระมารดา [๑๑๐๘] เชิญพระมารดาจงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทมาให้ลูกกราบไหว้เถิด ลูกจะ จากไป ณ บัดนี้ ทาความโศกเศร้าเสียใจให้แก่ประชาชน (พระมารดาตรัสกับจันทกุมารว่า) [๑๑๐๙] เชิญเถิด ลูกโคตมี เจ้าจงรัดเมาลีด้วยใบบัว จงประดับดอกไม้อันแซมด้วยกลีบจาปา นี่ เป็นปกติของเจ้าที่มีมาเก่าก่อน [๑๑๑๐] เชิญเถิด เจ้าจงไล้ทาเครื่องลูบไล้ คือจันทน์แดงอันเป็นครั้งสุดท้ายของเจ้า เจ้าไล้ทาด้วย จุรณแก่นจันทน์แดงนั้นแล้วย่อมงามในราชบริษัท [๑๑๑๑] เชิญเถิด เจ้าจงนุ่งผ้าของชาวแคว้นกาสีเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นผ้าเนื้ อละเอียด อ่อนนุ่ม เจ้านุ่งผ้ากาสิกพัสตร์นั้นดีแล้วย่อมงามในราชบริษัท [๑๑๑๒] เชิญเจ้าประดับหัตถาภรณ์ อันเป็นเครื่องประดับทองคาฝังแก้วมุกดาและแก้วมณี เจ้า ประดับหัตถาภรณ์นั้นแล้วย่อมงามในราชบริษัท (พระเทวีกราบทูลพระราชาว่า) [๑๑๑๓] พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองรัฐเป็นทายาทของชนบท ผู้เป็นใหญ่เป็นอิสระในโลกนี้ จะไม่ทรง ทาความสิเนหาให้เกิดในพระโอรสแน่ละหรือ (พระราชาตรัสว่า) [๑๑๑๔] แม้ลูกก็เป็นที่รักของเรา ตนเองก็เป็นที่รัก เธอและภรรยาทั้งหลายก็เป็นที่รักของเรา แต่ เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักฆ่าให้ได้ (พระเทวีกราบทูลว่า) [๑๑๑๕] ข้าแต่สมมติเทพ อันดับแรก ขอพระองค์จงรับสั่งให้ฆ่าหม่อมฉันเถิด ขอทุกข์อย่าได้ ทาลายหทัยของหม่อมฉันเลย พระโอรสของพระองค์เป็นสุขุมาลชาติ ประดับแล้วงดงาม [๑๑๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้า เชิญเถิด ขอพระองค์ได้โปรดฆ่าหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักอยู่ กับจันทกุมารในปรโลก ขอพระองค์ทรงทาบุญให้ไพบูลย์เถิด หม่อมฉันทั้ง ๒ จะท่องเที่ยวไปในปรโลก (พระราชาตรัสว่า) [๑๑๑๗] จันทาผู้มีนัยน์ตาโต เจ้าอย่าชอบใจความตายเลย โคตมีบุตรถูกเราบูชายัญแล้ว ผัว พี่ผัว น้องผัวของเจ้า เป็นอันมากเหล่านั้นจักทาให้รื่นรมย์ใจได้ [๑๑๑๘] เมื่อพระราชาได้ตรัสอย่างนี้ แล้ว พระนางจันทาเทวีทรงตีพระองค์เองด้วยฝ่าพระหัตถ์ พอทีด้วยชีวิตในโลกนี้ เราจักดื่มยาพิษตาย [๑๑๑๙] พระญาติและมิตรผู้มีหทัยดีของพระราชาพระองค์นี้ ย่อมไม่มีแน่แท้ จึงไม่ทูลทัดทาน พระราชาว่า อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าบุตรทั้งหลาย ผู้เกิดแต่พระอุระเลย
  • 12. 12 [๑๑๒๐] พระญาติและมิตรผู้มีหทัยดีของพระราชาพระองค์นี้ ย่อมไม่มีแน่แท้ จึงไม่ทูลทัดทาน พระราชาว่า อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าบุตรผู้เกิดแต่ตนเลย [๑๑๒๑] บุตรของหม่อมฉันเหล่านี้ ประดับพวงดอกไม้ สวมกาไลทองต้นแขน ขอพระราชาทรงบูชา ยัญ ด้วยบุตรของหม่อมฉันเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงปล่อยบุตรโคตมีเถิด พระเจ้าข้า [๑๑๒๒] ข้าแต่มหาราช ขอจงฆ่าหม่อมฉัน แบ่งออกเป็นร้อยส่วนแล้วบูชายัญ ๗ ส่วน ขออย่าทรง ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์เลย [๑๑๒๓] ข้าแต่มหาราช ขอจงฆ่าหม่อมฉัน แบ่งออกเป็นร้อยส่วนแล้วบูชายัญ ๗ ส่วน ขออย่าทรง ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ ผู้เป็นที่มุ่งหวังของชาวโลกทั้งมวลเลย (จันทกุมารตรัสกับพระนางจันทาเทวีว่า) [๑๑๒๔] เครื่องประดับเป็นอันมากล้วนแต่ของดีๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์ ที่เรา ให้แก่เจ้า ในเมื่อเจ้ากล่าวคาดี นี้ เป็นของที่เราให้แก่เจ้าเป็นครั้งสุดท้าย (พระนางจันทากราบทูลว่า) [๑๑๒๕] เมื่อก่อน พวงดอกไม้ที่บานเคยสวมที่พระศอ ของพระกุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับ คมดีแล้ว จักตัดที่พระศอของพระกุมารเหล่านั้น [๑๑๒๖] เมื่อก่อน พวงดอกไม้ที่วิจิตร เคยสวมที่พระศอของพระกุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับ คมดีแล้ว จักตัดที่พระศอของพระกุมารแม้เหล่านั้น [๑๑๒๗] ไม่นานหนอ ดาบจักตัดที่พระศอ ของพระราชบุตรทั้งหลาย ส่วนหทัยของเราจะยังไม่ แตก ตราบเท่าที่มีเครื่องผูกมารัดเราไว้แน่น [๑๑๒๘] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา และจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช [๑๑๒๙] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา และจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าพระทัยแก่พระมารดา [๑๑๓๐] จันทกุมารและสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา และจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน [๑๑๓๑] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนาน ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนาไปบูชายัญเพื่อพระเจ้าเอกราช [๑๑๓๒] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนาน ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าพระทัยให้แก่พระมารดา [๑๑๓๓] จันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยรสเนื้ อ ที่ช่างสนานให้สรงสนาน ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกนาออกไปทาความเศร้าใจให้แก่ประชาชน [๑๑๓๔] เมื่อเขาตกแต่งเครื่องบูชายัญครบทุกสิ่งแล้ว เมื่อจันทกุมารและสุริยกุมารประทับนั่ง เพื่อ ประโยชน์แก่การบูชายัญ พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาละประนมพระหัตถ์ เสด็จดาเนินเวียนไปในระหว่าง บริษัททั้งปวง ได้ทาสัจกิริยาว่า
  • 13. 13 [๑๑๓๕] ขัณฑหาละผู้มีปัญญาทราม ได้ทากรรมชั่วด้วยสัจจะอันใด ด้วยสัจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้า ได้อยู่ร่วมกับพระสวามี [๑๑๓๖] อมนุษย์ก็ดี ยักษ์ก็ดี สัตว์ที่เกิดแล้วและที่จะมาเกิดก็ดี มีอยู่ในที่นี้ ขอจงทาความ ขวนขวายช่วยเหลือข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับพระสวามี [๑๑๓๗] เหล่าเทวดาที่มาแล้ว ณ ที่นี้ สรรพสัตว์ที่เกิดแล้วและที่จะมาเกิด ขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าผู้ ไร้ที่พึ่งซึ่งแสวงหาที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านทั้งหลาย ขออย่าให้พวกข้าศึกชนะพระสวามีของข้าพเจ้าเลย [๑๑๓๘] ท้าวสักกเทวราชทรงสดับเสียงคร่าครวญ ของพระนางจันทานั้นแล้วทรงกวัดแกว่งค้อน เหล็ก ยังความกลัวให้เกิดแก่พระเจ้าเอกราชนั้นแล้ว ได้ตรัสกับพระราชาดังนี้ ว่า [๑๑๓๙] พระราชากาลี ขอท่านจงรู้ไว้ อย่าให้เราต้องทุบเศียรของท่านด้วยค้อนเหล็กนี้ เลย ท่าน อย่าได้ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ [๑๑๔๐] พระราชากาลี ท่านเคยเห็นที่ไหน คนที่ปรารถนาสวรรค์ต้องฆ่าบุตร ภรรยา เศรษฐี และคหบดีผู้ไม่คิดประทุษร้าย [๑๑๔๑] ขัณฑหาลปุโรหิตและพระราชาได้ฟังพระดารัสของท้าวสักกะนั้นแล้ว ได้เห็นรูปอันน่า อัศจรรย์ จึงได้แก้เครื่องจองจาสัตว์ทั้งปวงออก เหมือนแก้เครื่องจองจาสัตว์ผู้ไม่ต้องถูกฆ่าออกฉะนั้น [๑๑๔๒] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ทุก คนใช้ก้อนดินคนละก้อนทุ่มลง นั่นคือการฆ่าขัณฑหาลปุโรหิต [๑๑๔๓] คนที่ทากรรมชั่วต้องตกนรกทั้งหมดฉันใด คนที่ทากรรมชั่วแล้วจากโลกนี้ ไป ก็ไม่พึงได้ การไปสู่สุคติเลยฉันนั้น [๑๑๔๔] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกจันทกุมาร [๑๑๔๕] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ ราชกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกจันทกุมาร [๑๑๔๖] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ เทพบริษัททั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกพระจันทกุมาร [๑๑๔๗] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ เทพกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันอภิเษกจันทกุมาร [๑๑๔๘] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง [๑๑๔๙] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ ราชกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง [๑๑๕๐] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ เทพบริษัททั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง
  • 14. 14 [๑๑๕๑] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว คนที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ในเวลานั้น ก็คือ เทพกัญญาทั้งหลายมาประชุมกันแล้ว ต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง [๑๑๕๒] เมื่อชนทั้งปวงพ้นจากเครื่องจองจาแล้ว ประชาชนเป็นอันมาก ต่างก็รื่นรมย์ยินดี พวก เขาได้ประกาศความยินดีในเวลาที่จันทกุมารเสด็จเข้าสู่พระนครและได้ประกาศโฆษณาความหลุดพ้นจาก เครื่องจองจาของสัตว์ทั้งปวงแล้ว จันทกุมารชาดกที่ ๗ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา จันทกุมารชาดก ว่าด้วย พระจันทกุมารทรงบาเพ็ญขันติบารมี พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี คาเริ่มต้นว่า ราชาสิ ลุทฺทกมฺโม ดังนี้ . เรื่องของพระเทวทัตนั้น มาแล้วใน สังฆเภทขันธกะ แล้วนั่นแล. เรื่องนั้น นับจาเดิมแต่เวลาที่ ท่านออกผนวชแล้ว ตราบเท่าถึงให้ปลงพระชนมชีพของพระเจ้าพิมพิสาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่ นั้นนั่นเอง. ฝ่ายพระเทวทัต ครั้นให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูล ว่า ดูก่อนมหาราช มโนรถของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ส่วนมโนรถของของอาตมา ก็ยังหาถึงที่สุดก่อนไม่. พระราชาได้ทรงฟังดังนั้น จึงตรัสถามว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ก็มโนรถของท่านเป็นอย่างไร? พระเทวทัต. ดูก่อนมหาราช เมื่อฆ่าพระทศพลแล้วอาตมาจักเป็นพระพุทธเจ้า มิใช่หรือ? พระราชาตรัสถามว่า ก็ใน เพราะเรื่องนี้ ควรเราจะทาอย่างไรเล่า? เทวทัต. ดูก่อนมหาราช ควรจะให้นายขมังธนูทั้งหลายประชุมกัน. พระราชาทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ จึงให้ประชุมนายขมังธนู จาพวกที่ยิงไม่ผิดพลาดรวม ๕๐๐ ตระกูล ทรงเลือกจากคนเหล่านั้นไว้ ๓๑ คน ตรัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงทาตามคาสั่งของพระเถระ. ดังนี้ แล้ว จึงส่งไปยังสานักพระเทวทัต. พระเทวทัตเรียกผู้เป็นใหญ่ ในบรรดาพวกนายขมังธนูเหล่านั้นมาแล้วกล่าว อย่างนี้ ว่า ท่านผู้มีอายุ พระสมณโคดมประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ เสด็จจงกรมอยู่ในที่พักกลางวันในที่โน้น. ส่วนท่านจงไปในที่นั้น ยิงพระสมณโคดมด้วยลูกศรอาบด้วยยาพิษ ให้สิ้นพระชนมชีพแล้ว จงกลับโดยทาง ชื่อโน้น. พระเทวทัตนั้น ครั้นส่งนายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นไปแล้ว จึงพักนายขมังธนูไว้ในทางนั้น ๒ คน ด้วยสั่งว่า จักมีบุรุษคนหนึ่งเดินทางมาโดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทาง โน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตจึงวางบุรุษไว้สี่คนด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษเดินมา ๒ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษ ๒ คนนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทางชื่อโน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตวางคนไว้ ๘ คน ด้วย สั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษ ๔ คนเดินทางมา พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง ๔ คนนั้นเสีย แล้ว กลับโดยทางชื่อโน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตวางบุรุษไว้ ๑๖ คน ด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านไปยืนอยู่ จักมี
  • 15. 15 บุรุษเดินมา ๘ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง๘ คนนั้นเสีย. แล้วจงกลับมาโดยทางชื่อโน้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเทวทัตจึงทาอย่างนั้น. แก้ว่า เพราะปกปิดกรรมชั่วของตน. ได้ยินว่า พระเทวทัตได้ทาดังนั้น เพื่อจะปกปิดกรรมชั่วของตน. ลาดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่ ขัดดาบแล้วทางข้างซ้าย ผูกแล่งและศรไว้ข้างหลัง จับธนูใหญ่ทา ด้วยเขาแกะ ไปยังสานักพระตถาคตเจ้า จึงยกธนูขึ้นด้วยสัญญาว่า เราจักยิงดังนี้ แล้ว จึงผูกสอดลูกศร ฉุด สายมาเพื่อจะยิง ก็ไม่สามารถจะยิงไปได้. พระศาสดา ได้ทรงให้คร่าธนูมาแล้ว หาได้ประทานให้ยิงไปได้ไม่. นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น เมื่อไม่อาจแม้จะยิงลูกศรไปก็ดี ลดลงก็ดี ก็ได้เป็นคนลาบากใจ เพราะสีข้างทั้งสอง เป็นเหมือนจะหักลง น้าลายก็ไหลนองออกจากปาก. ร่างกายทั้งสิ้นเกิดแข็งกระด้าง ได้เป็นเสมือนถึงอาการ อันเครื่องยนต์บีบคั้น. นายขมังธนูนั้นได้เป็นคนอันมรณภัย คุกคามแล้วยืนอยู่. ลาดับนั้น พระศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ทรงเปล่งด้วยเสียงอันไพเราะ ตรัส ปลอบนายขมังธนูว่า พ่อบุรุษผู้โง่เขลา ท่านอย่ากล่าวเลย จงมาที่นี้ เถิด. ในขณะนั้น นายขมังธนูก็ทิ้งอาวุธ เสีย กราบลงด้วยศีรษะ แทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ล่วง ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โดยที่เป็นคนเขลา คนหลง คนชั่วบาป. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้รู้จักคุณของพระองค์ จึง ได้มาแล้ว เพื่อปลงพระชนมชีพของพระองค์ ตามคาเสี้ยมสอนของพระเทวทัตผู้เป็นอันธพาล. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า. ข้าแต่พระสุคตขอพระองค์ จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่ พระองค์ผู้รู้โลก ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษให้ตนแล้ว ก็นั่งลง ในที่สุดส่วนข้างหนึ่ง. ลาดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ยังนายขมังธนูให้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผลแล้ว ดารัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินทางไปตามทางที่พระเทวทัตชี้ให้ จงไปเสียทางอื่น แล้วส่งนายขมังธนูนั้นไป. ก็แล้วครั้นส่งนายขมังธนูไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไป ประทับอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. ลาดับนั้น เมื่อนายขมังธนูผู้ใหญ่มิได้กลับมา นายขมังธนูอีก ๒ คนที่คอยอยู่ก็คิดว่า อย่างไร หนอเขาจึงล่าช้าอยู่ ออกเดินสวนทางไป. ครั้นเห็นพระทศพล ก็เข้าไปถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้าง หนึ่ง. พระศาสดา ครั้นทรงประกาศพระอริยสัจแก่ชนทั้ง ๒ ยังเขาให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วดารัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินไปทางที่พระเทวทัตบอก จงไปโดยทางนี้ แล้วก็ส่งเขาไป โดยอุบายนี้ เมื่อทรง ประกาศพระอริยสัจ ยังนายขมังธนูแม้นอกนี้ ที่มานั่งเฝ้า ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ก็ทรงส่งไปโดยทาง อื่น. ลาดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นกลับมาถึงก่อนก็เข้าไปหาพระเทวทัตกล่าวว่า ข้าแต่พระเทวทัต ผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้อาจปลงพระชนมชีพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงฤทธิ์อัน ยิ่งใหญ่ ทรงอานุภาพอันยิ่งใหญ่. ส่วนบรรดานายขมังธนูเหล่านั้น ราพึงว่า เราทั้งหมดนั้นอาศัยพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รอดชีวิตแล้ว ก็ออกบรรพชาในสานักพระศาสดา แล้วทรงบรรลุพระอรหัตทุกท่าน. เรื่องนี้ ได้ปรากฏในภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ได้ยินว่าพระเทวทัต ได้กระทาความพยายาม เพื่อจะปลงชีวิตชนเป็นอันมาก เพราะจิตก่อเวรในพระตถาคต เจ้าพระองค์เดียว. แต่ชนเหล่านั้น อาศัยพระศาสดาได้รอดชีวิตแล้วทั้งสิ้น. ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากที่
  • 16. 16 บรรทม อันประเสริฐได้ทรงสดับถ้อยคาของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์. เสด็จ มายังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ. เมื่อ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็กระทาความพยายาม เพื่อจะฆ่าชนเป็นอันมาก อาศัยเราผู้เดียว เพราะจิตมีเวรในเรา. ดังนี้ แล้ว ได้ทรงนิ่งเสีย. เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอน จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล กรุงพาราณสีนี้ ชื่อว่าเมืองปุปผวดี. พระโอรสของพระเจ้าวสวัต ดีทรงพระนามว่าเอกราช ได้ครองราชสมบัติในเมืองนั้น. พระราชโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่าพระจันท กุมาร ได้ดารงตาแหน่งเป็นอุปราช พราหมณ์ชื่อว่ากัณฑหาละ (๑. บาลีเป็น ขัณฑหาละ) ได้เป็นปุโรหิต. เขาถวายอนุศาสน์ทั้งอรรถและธรรมแด่พระราชา. ได้ยินว่า พระราชา ครั้นทรงสดับว่า กัณฑหาละเป็นบัณฑิต ก็ทรงให้ดารงไว้ในหน้าที่ตัดสิน อรรถคดี. ก็กัณฑหาลพราหมณ์นั้น เป็นคนมีจิตใจฝักใฝ่ในสินบน. ครั้นได้รับสินบนแล้ว ก็ตัดสินให้ผู้มิใช่ เจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นเจ้าของมิให้ได้เป็นเจ้าของ. ครั้นภายหลังวันหนึ่ง มีบุรุษผู้แพ้คดีคนหนึ่ง โพนทนาด่าว่า อยู่ในที่เป็นที่วินิจฉัยอรรถคดี. ครั้นออกมาภายนอก เห็นพระจันทกุมารจะเสด็จมาสู่ที่เฝ้า พระราชา ก็กราบลงแทบพระบาทแล้วร้องไห้ พระจันทกุมารนั้นถามเขาว่า เรื่องอะไรกัน บุรุษผู้เจริญ. เขา ทูลว่า กัณฑหาลนี้ ปล้นเขาในการตัดสินความ ถึงข้าพระองค์ เมื่อเขารับสินบนแล้ว เขาก็ทาให้ถึงความพ่าย แพ้ในอรรถคดี พระเจ้าข้า. พระจันทกุมารตรัสปลอบว่า อย่ากลัวไปเลย ดังนี้ แล้ว ก็ทรงพาบุรุษนั้นไปสู่โรง เป็นที่วินิจฉัยอรรถคดี กระทาผู้เป็นเจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ ผู้มิใช่เจ้าของให้เป็นผู้มิใช่เจ้าของ. มหาชน พากันแซ่ซ้องสาธุการด้วยเสียงอันดัง. พระราชา ได้ทรงสดับเสียงนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร? มีผู้ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้ยินว่า มีอรรถคดีอันพระจันทกุมารทรงตัดสินแล้วโดยชอบธรรม เสียงนั้น คือเสียง สาธุการของมหาชน. เพราะฟังเสียงนั้นพระราชา จึงเกิดปีติ. พระจันทกุมารเสด็จมาถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลาดับ นั้น พระราชาจึงตรัสกะท่านว่า แน่ะ พ่อได้ยินว่า เจ้าได้ตัดสินความเรื่องหนึ่งหรือ? พระจันทกุมารทูลว่า ข้า แต่สมมติเทพ ข้าพระบาทได้ตัดสินเรื่องหนึ่ง พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้ากระนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป เจ้าคนเดียวจงยังการตัดสินอรรถคดีให้ดาเนินไปเถิด. แล้วทรงประทานหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีแก่พระกุมาร. ผลประโยชน์ของกัณฑหาลพราหมณ์ ย่อมขาดไป. เขาก็ผูกอาฆาตประพฤติเป็นผู้เพ่งโทษ จะจับผิดในพระ จันทกุมาร ตั้งแต่นั้นมา. ส่วนพระราชานั้นเป็นผู้มีปัญญาอ่อน วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ได้ทรงสุบินเห็นปานนี้ ว่า ได้ ทอดพระเนตรเห็นดาวดึงส์พิภพ มีซุ้มประตูอันประดับแล้ว มีกาแพงแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีวิถีอันแล้ว ไปด้วย ทรายทอง กว้างประมาณ ๖๐ โยชน์ ประดับไปด้วยเวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ เป็นที่รื่นรมย์ไป ด้วยสวนมีนันทวันเป็นต้น ประกอบด้วยสระโบกขรณี อันน่ายินดี มีนันทโบกขรณีเป็นต้น มีหมู่เทพเกลื่อน กล่น. นางเทพอัสปรเป็นอันมากก็ฟ้อนราขับร้อง และประโคมดนตรี ในเวชยันตปราสาท ในดาวดึงส์พิภพ นั้น. พระราชาได้ทรงเห็นดังนั้น ครั้นทรงตื่นบรรทม ใคร่จะเสด็จไปสู่พิภพนั้น จึงทรงดาริว่า พรุ่งนี้ ในเวลาที่ อาจารย์กัณฑหาละมาเฝ้า เราจะถามถึงหนทางอันเป็นที่ไปยังเทวโลกแล้ว. เราจักไปสู่เทวโลกโดยทางที่