SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 6
Baixar para ler offline
54
M R . P A N T I P O N T O U R 
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรม เมื่อ
วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๖
ต่อมาภายหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิ์วังเทวะเวสม์ในปี ๒๕๔๑ จึงได้มีการปรับปรุงและอนุรักษ์
ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ และได้จัดทำห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์
ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ตำหนักนี้ด้วย โดยแสดงพระประวัติของ
สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและแสดง
เรื่องราวเกี่ยวกับวังเทวะเวสม์ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด
ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗
หากจะกล่าวถึงการแลกเปลี่ยนที่นิยมใช้กันมาที่สุดก็คงหลีกไม่พ้น ”เงิน” ซึ่งหลายๆท่านอาจมีคำถามใน
ใจว่า “เงิน” ซึ่งเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนนั้น มีรูปแบบเป็นมาอย่างไร และมีมาตั้งแต่ยุคใดบ้าง ทาง
กองบรรณาธิการจะพาท่านไปรู้จัก “พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย” สถานที่ที่มีเรื่องราวของเงิน
ตราในยุคต่างๆ และประวัติที่น่าสนใจของสถานที่ที่เก็บรักษาเงิน ว่ามีความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างไรบ้าง
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนัก
ใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณ
ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา
ประวัติศาสตร์และบทบาทหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศตลอดจนเรื่อง
ราวของวังบางขุนพรหม และวังเทวะเวสม์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ
จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษา อันเป็นสิ่งยืนยัน
ถึงการสืบทอดความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตั้งแต่ครั้งเป็นบางขุนพรมยูนิเวอร์ซิ
ตี สถานเล่าเรียนศิลปวิทยาการของเจ้านายในวังบางขุนพรม จวบจน
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้นแบบการบริหารและ
การจัดการเรียนรู้ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราไทยที่สมบูรณ์
และได้มาตรฐานสากล”
พิพิธภัณฑ์ธนาคาร
แห่งประเทศไทย
55
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
เพื่ออนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึง
ความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต 
เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงิน
ตราไทย ระบบเงินตรา ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และ
สังคมในแต่ละยุคสมัย 
เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบการเงินของ
ไทย และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลาง
ของประเทศ 
เพื่อแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและ
ศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้
อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป
การจัดแสดง
การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความ
เพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของ
ผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบ
มัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ
นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัด
แสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็น
แหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย
ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุน
พรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม
โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ
ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรม































ห้องเปิดโลกเงินตราไทย (ห้องที่ 1)
ย้อนอดีตสุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้าตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ ครั้งที่ใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธ ฯลฯ เป็นสื่อกลางใน
การแลกเปลี่ยนสู่ยุคแรกเริ่มการค้าในอุษาคเนย์ จากนั้นเข้าสู่สมัยทวารวดีที่เริ่มมีเงินคราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า ห้องนี้จะจัดแสดงเงินตรา
โบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงยุคปัจจุบัน ผู้ชมจะได้พบกับระบบ Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง และบรรยากาศการค้าครั้งแผ่นดิน
กรุงศรีอยุธยา 
นอกจากนี้ ผู้ชมยังสามารถเรียนรู้เรื่องเงินตราในยุคสมัยต่าง ๆ ผ่านจอ Computer Kiosk ซึ่งมีเนื้อหาในการสืบค้นอย่างละเอียดรอบด้าน
และส่งท้ายของการเรียนรู้ในห้องเปิดโลกเงินตราด้วยตู้หยอดเหรียญกษาปณ์ที่ผู้ชมสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์โดยย่อ  แต่สามารถ
ทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนพร้อมรับเหรียญที่ระลึกวังบางขุนพรหมเป็นของฝากเพียงหยอดเหรียญ ๑๐ บาท จำนวน ๒ เหรียญ





























ห้องธนบัตรไทย (ห้องที่ 2) และห้องธนบัตรต่างประต่างประเทศ (ห้องที่ 3)
เป็นห้องที่จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตร
ธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนธนบัตรที่ระลึกชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่าเช่น
ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศตื่นตากับ Diorama จำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา สนุกกับเกม
ปริศนาธนบัตรไทยบนจอ Shadow Interactive ขนาดใหญ่ พร้อมด้วยความรู้ด้านเกี่ยวกับธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตรไทย และรู้จักโลกของนักสะสม
ธนบัตร ท้ายสุดคือห้องธนบัตรต่างประเทศรู้โลกกว้างผ่านธนบัตรต่างประเทศที่แปลกตา ทั้งธนบัตรฉบับจริงและภาพธนบัตรผ่านจอ Kiosk
Computer มาค้นหากันว่าภาพบุคคลในธนบัตรต่างประเทศนั้นเป็นใครบ้าง
56
M R . P A N T I P O N T O U R
ห้องประวัติและการดำเนินงานของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ห้องที่ 5)
สิ่งที่ผู้ชมจะได้เรียนรู้จากห้องนี้คือ เริ่มจาก ตราพระสยามเทวาธิ
ราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จุด
เด่นของห้องนี้คือ ผู้ชมจะได้พบกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะ
ออกมากล่าวต้อนรับและอธิบายบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศ
ไทยโดยสังเขป  ด้วยเทคนิคนำเสนอ Magic Vision นอกจากนี้ สิ่งจัด
แสดงที่โดดเด่นได้แก่ พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอา
นันทมหิดล ครั้งเสด็จมาที่วังบางขุนพรหมในปี ๒๔๘๙ เหรียญที่ระลึกใน
57
พิธีเปิดธนาคารแห่งประเทศไทยในปี ๒๔๘๕  พระเกรียงที่สมเด็จพระ
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร
สำนักงานใหญ่หลังปัจจุบัน
ในส่วนของเนื้อหา ผู้ชมจะได้ทราบประวัติและการดำเนินงาน
ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ ถึงปัจจุบัน วิสัยทัศน์
พันธกิจ โครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านสื่อที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น Computer
Kiosk 2D Animation และเกมสนุกๆ มากมาย ท้ายสุดของห้องนี้ได้จัด
ทำเป็นห้องเชิดชูเกียรติ










ห้องเชิดชูเกียรติ (ห้องที่ 6)
เป็นห้องที่แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทยทุกท่าน นอกจากนี้ผู้ชมยังจะได้ชมวีดิทัศน์การสัมภาษณ์ผู้
ว่าการตั้งแต่ผู้ว่าการเสนาะ อูนากูล จนถึงผู้ว่าการคนปัจจุบัน
58
M R . P A N T I P O N T O U R 
ห้องสีชมพู (ห้องที่ 8)
ในอดีตเคยเป็นห้องท้องพระโรงสำหรับอาคันตุกะสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 
ตลอดจนใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระและการพิธีต่างๆ รวมทั้งฉายภาพยนตร์ในคืนวันเสาร์  การตกแต่งห้องสีชมพูนี้งดงามกว่าห้องอื่นด้วยมีลวดลายปูนปั้น
เดินลายทองทั้งที่ผนัง กรอบของช่องเปิดและฝ้าเพดาน
ห้องบริพัตร (ห้องที่ 10)
เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้า
ฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตผู้ทานกำเนิดวังบางขุนพรม
จัดแสดงด้วยวีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณ
ประโยชน์เพื่อแผ่นดิน”  ซึ่งท่านมีพระอัจฉริยภาพทางดนตรีเป็นอย่างมาก
โดยนำเสนอด้วยเทคนิค  Ghost Box ผู้ชมจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตร
และฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่
น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน  เครื่องแก้ว 
ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตร
จำลอง  โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงใน
ฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น  จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่าง
มากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง  ประเทศอินโดนีเซีย
และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้
บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคาร
แห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์
59
จัดเป็นห้องนิทรรศการถาวร 2 ห้องในตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์คือ
ห้องเทพสถิตสถาพร และห้องบุราณสถานบูรณะ
ห้องเทพสถิตสถาพร
ตั้งอยู่ที่ชั้นล่าง ด้านทิศใต้ นำเสนอพระประวัติของสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการผ่านวีดิทัศน์ “สามแผ่นดิน สาม
ฐานันดร” นอกจากนี้ ยังมีสื่อมัลติมีเดียเล่าเรื่อง “พระประวัติ พระ
กรณียกิจ พระอัจฉริยภาพ” และลำดับเหตุการณ์ที่สะท้อนภาพบทบาทของ
เสนาบดีคู่ราชบัลลังก์ ที่พระองค์ทรงดำรงไว้ตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยความ
จงรักภักดี สื่อจัดแสดงที่โดดเด่นชวนติดตามคือ “หุ่นจำลองประกอบการ
เคลื่อนไหว วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒” เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่กระทบ
จิตใจคนไทยทุกคน เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงบทบาททางการทูตของพระองค์ที่
เต็มไปด้วยความสุขุมคัมภีรภาพและพระวิริยอุตสาหะได้เป็นอย่างดี 
ห้องบุราณสถานบูรณะ
ตั้งอยู่ชั้นล่าง ด้านทิศเหนือนำ เสนอเรื่องราวของการอนุรักษ์อาคาร
โบราณสถานของธนาคารแห่งประเทศไทย เหมาะสำหรับผู้เข้าชมที่มีความ
สนใจในงานอนุรักษ์อาคารโบราณสถานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนำเสนอ
เนื้อหานิทรรศการเกี่ยวกับแนวคิดของการอนุรักษ์อาคาร  การปฏิบัติงาน
อนุรักษ์อาคารโบราณอย่างละเอียด นอกจากนี้ผู้เข้าชมยังได้รับความรู้
“เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย” ผ่านสื่อมัลติมีเดียที่จัดทำขึ้นจากองค์ความรู้ที่รวบรวมรวมไว้
อย่างสมบูรณ์แบบ
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ณ ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์
ทั้งนี้การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ โดยท่านสามารถเข้าชมเป็นหมู่คณะโดย
การติดต่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ เพื่อจองเวลาเข้าชมโดยทำหนังสือ
ขออนุญาตเข้าชมถึงผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อยู่ที่
สามารถส่งทางไปรษณีย์ คือ 273 ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ
10200  โทร. 0-2283-5286, 6723, 5265 โทรสาร 0- 2283-5283 หรือทาง e-
mail ที่ mailto:Museum@bot.or.th” Museum@bot.or.th
โดยทางพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีระเบียบปฏิบัติในการ
เข้าชมพิพิธภัณฑ์คือ  พิพิธภัณฑ์ฯไม่เก็บค่าเข้าชม โปรดแต่งกายสุภาพ
และไม่ส่งเสียงดังในระหว่างการเข้าชม ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าใน
พิพิธภัณฑ์ฯ ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามถ่ายภาพภายในอาคารตำหนักวังบางขุน
พรหม
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของวังบาง
ขุนพรหม และวังเทวะเวสม์ สถานที่ทั้ง 2 คือแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ
บุคคลสำคัญของชาติและการเรียนรู้งานด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
อาคารโบราณสถาน พร้อมด้วยประวัติความเป็นมาของเงินตราในยุคต่างๆ
เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติ
ไทยในอดีต และอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าแห่งนี้ไว้เป็น
มรดกของชาติสืบต่อไป

Mais conteúdo relacionado

Mais de Nanthapong Sornkaew

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญNanthapong Sornkaew
 
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองkคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองNanthapong Sornkaew
 
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545Nanthapong Sornkaew
 
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯNanthapong Sornkaew
 
อากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตกอากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตกNanthapong Sornkaew
 
คำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากงคำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากงNanthapong Sornkaew
 
ประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลNanthapong Sornkaew
 
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรมkจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรมNanthapong Sornkaew
 
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่Nanthapong Sornkaew
 
Legal english ภาษาอังกฤษกฎหมาย
Legal english ภาษาอังกฤษกฎหมายLegal english ภาษาอังกฤษกฎหมาย
Legal english ภาษาอังกฤษกฎหมายNanthapong Sornkaew
 

Mais de Nanthapong Sornkaew (20)

Politics1
Politics1Politics1
Politics1
 
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
10 12-2475
10 12-247510 12-2475
10 12-2475
 
Book inter germany
Book inter germanyBook inter germany
Book inter germany
 
บทความ+ศา..
บทความ+ศา..บทความ+ศา..
บทความ+ศา..
 
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองkคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
 
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
 
Article t2
Article t2Article t2
Article t2
 
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
 
อากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตกอากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตก
 
คำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากงคำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากง
 
ประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาล
 
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรมkจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
 
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
 
V2011 4
V2011 4V2011 4
V2011 4
 
V2011 3
V2011 3V2011 3
V2011 3
 
V2011 2
V2011 2V2011 2
V2011 2
 
V2011 1
V2011 1V2011 1
V2011 1
 
V2010 9
V2010 9V2010 9
V2010 9
 
Legal english ภาษาอังกฤษกฎหมาย
Legal english ภาษาอังกฤษกฎหมายLegal english ภาษาอังกฤษกฎหมาย
Legal english ภาษาอังกฤษกฎหมาย
 

Pantipontour

  • 1. 54 M R . P A N T I P O N T O U R พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรม เมื่อ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๖ ต่อมาภายหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์วังเทวะเวสม์ในปี ๒๕๔๑ จึงได้มีการปรับปรุงและอนุรักษ์ ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ และได้จัดทำห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ตำหนักนี้ด้วย โดยแสดงพระประวัติของ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและแสดง เรื่องราวเกี่ยวกับวังเทวะเวสม์ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ หากจะกล่าวถึงการแลกเปลี่ยนที่นิยมใช้กันมาที่สุดก็คงหลีกไม่พ้น ”เงิน” ซึ่งหลายๆท่านอาจมีคำถามใน ใจว่า “เงิน” ซึ่งเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนนั้น มีรูปแบบเป็นมาอย่างไร และมีมาตั้งแต่ยุคใดบ้าง ทาง กองบรรณาธิการจะพาท่านไปรู้จัก “พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย” สถานที่ที่มีเรื่องราวของเงิน ตราในยุคต่างๆ และประวัติที่น่าสนใจของสถานที่ที่เก็บรักษาเงิน ว่ามีความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างไรบ้าง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนัก ใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์และบทบาทหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศตลอดจนเรื่อง ราวของวังบางขุนพรหม และวังเทวะเวสม์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่ง ประเทศไทยนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษา อันเป็นสิ่งยืนยัน ถึงการสืบทอดความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตั้งแต่ครั้งเป็นบางขุนพรมยูนิเวอร์ซิ ตี สถานเล่าเรียนศิลปวิทยาการของเจ้านายในวังบางขุนพรม จวบจน ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้นแบบการบริหารและ การจัดการเรียนรู้ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราไทยที่สมบูรณ์ และได้มาตรฐานสากล” พิพิธภัณฑ์ธนาคาร แห่งประเทศไทย
  • 2. 55 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่ออนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงิน ตราไทย ระบบเงินตรา ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และ สังคมในแต่ละยุคสมัย เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบการเงินของ ไทย และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลาง ของประเทศ เพื่อแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป การจัดแสดง การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความ เพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของ ผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบ มัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัด แสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็น แหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุน พรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรม ห้องเปิดโลกเงินตราไทย (ห้องที่ 1) ย้อนอดีตสุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้าตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ครั้งที่ใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธ ฯลฯ เป็นสื่อกลางใน
  • 3. การแลกเปลี่ยนสู่ยุคแรกเริ่มการค้าในอุษาคเนย์ จากนั้นเข้าสู่สมัยทวารวดีที่เริ่มมีเงินคราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า ห้องนี้จะจัดแสดงเงินตรา โบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงยุคปัจจุบัน ผู้ชมจะได้พบกับระบบ Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง และบรรยากาศการค้าครั้งแผ่นดิน กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ผู้ชมยังสามารถเรียนรู้เรื่องเงินตราในยุคสมัยต่าง ๆ ผ่านจอ Computer Kiosk ซึ่งมีเนื้อหาในการสืบค้นอย่างละเอียดรอบด้าน และส่งท้ายของการเรียนรู้ในห้องเปิดโลกเงินตราด้วยตู้หยอดเหรียญกษาปณ์ที่ผู้ชมสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์โดยย่อ  แต่สามารถ ทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนพร้อมรับเหรียญที่ระลึกวังบางขุนพรหมเป็นของฝากเพียงหยอดเหรียญ ๑๐ บาท จำนวน ๒ เหรียญ ห้องธนบัตรไทย (ห้องที่ 2) และห้องธนบัตรต่างประต่างประเทศ (ห้องที่ 3) เป็นห้องที่จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตร ธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนธนบัตรที่ระลึกชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่าเช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศตื่นตากับ Diorama จำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา สนุกกับเกม ปริศนาธนบัตรไทยบนจอ Shadow Interactive ขนาดใหญ่ พร้อมด้วยความรู้ด้านเกี่ยวกับธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตรไทย และรู้จักโลกของนักสะสม ธนบัตร ท้ายสุดคือห้องธนบัตรต่างประเทศรู้โลกกว้างผ่านธนบัตรต่างประเทศที่แปลกตา ทั้งธนบัตรฉบับจริงและภาพธนบัตรผ่านจอ Kiosk Computer มาค้นหากันว่าภาพบุคคลในธนบัตรต่างประเทศนั้นเป็นใครบ้าง 56 M R . P A N T I P O N T O U R
  • 4. ห้องประวัติและการดำเนินงานของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ห้องที่ 5) สิ่งที่ผู้ชมจะได้เรียนรู้จากห้องนี้คือ เริ่มจาก ตราพระสยามเทวาธิ ราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จุด เด่นของห้องนี้คือ ผู้ชมจะได้พบกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะ ออกมากล่าวต้อนรับและอธิบายบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศ ไทยโดยสังเขป  ด้วยเทคนิคนำเสนอ Magic Vision นอกจากนี้ สิ่งจัด แสดงที่โดดเด่นได้แก่ พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอา นันทมหิดล ครั้งเสด็จมาที่วังบางขุนพรหมในปี ๒๔๘๙ เหรียญที่ระลึกใน 57 พิธีเปิดธนาคารแห่งประเทศไทยในปี ๒๔๘๕  พระเกรียงที่สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร สำนักงานใหญ่หลังปัจจุบัน ในส่วนของเนื้อหา ผู้ชมจะได้ทราบประวัติและการดำเนินงาน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ ถึงปัจจุบัน วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านสื่อที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น Computer Kiosk 2D Animation และเกมสนุกๆ มากมาย ท้ายสุดของห้องนี้ได้จัด ทำเป็นห้องเชิดชูเกียรติ ห้องเชิดชูเกียรติ (ห้องที่ 6) เป็นห้องที่แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่ง ประเทศไทยทุกท่าน นอกจากนี้ผู้ชมยังจะได้ชมวีดิทัศน์การสัมภาษณ์ผู้ ว่าการตั้งแต่ผู้ว่าการเสนาะ อูนากูล จนถึงผู้ว่าการคนปัจจุบัน
  • 5. 58 M R . P A N T I P O N T O U R ห้องสีชมพู (ห้องที่ 8) ในอดีตเคยเป็นห้องท้องพระโรงสำหรับอาคันตุกะสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ตลอดจนใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระและการพิธีต่างๆ รวมทั้งฉายภาพยนตร์ในคืนวันเสาร์  การตกแต่งห้องสีชมพูนี้งดงามกว่าห้องอื่นด้วยมีลวดลายปูนปั้น เดินลายทองทั้งที่ผนัง กรอบของช่องเปิดและฝ้าเพดาน ห้องบริพัตร (ห้องที่ 10) เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้า ฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตผู้ทานกำเนิดวังบางขุนพรม จัดแสดงด้วยวีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณ ประโยชน์เพื่อแผ่นดิน”  ซึ่งท่านมีพระอัจฉริยภาพทางดนตรีเป็นอย่างมาก โดยนำเสนอด้วยเทคนิค  Ghost Box ผู้ชมจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตร และฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่ น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน  เครื่องแก้ว  ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตร จำลอง  โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงใน ฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น  จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่าง มากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง  ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้ บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคาร แห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์
  • 6. 59 จัดเป็นห้องนิทรรศการถาวร 2 ห้องในตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์คือ ห้องเทพสถิตสถาพร และห้องบุราณสถานบูรณะ ห้องเทพสถิตสถาพร ตั้งอยู่ที่ชั้นล่าง ด้านทิศใต้ นำเสนอพระประวัติของสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการผ่านวีดิทัศน์ “สามแผ่นดิน สาม ฐานันดร” นอกจากนี้ ยังมีสื่อมัลติมีเดียเล่าเรื่อง “พระประวัติ พระ กรณียกิจ พระอัจฉริยภาพ” และลำดับเหตุการณ์ที่สะท้อนภาพบทบาทของ เสนาบดีคู่ราชบัลลังก์ ที่พระองค์ทรงดำรงไว้ตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยความ จงรักภักดี สื่อจัดแสดงที่โดดเด่นชวนติดตามคือ “หุ่นจำลองประกอบการ เคลื่อนไหว วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒” เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่กระทบ จิตใจคนไทยทุกคน เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงบทบาททางการทูตของพระองค์ที่ เต็มไปด้วยความสุขุมคัมภีรภาพและพระวิริยอุตสาหะได้เป็นอย่างดี ห้องบุราณสถานบูรณะ ตั้งอยู่ชั้นล่าง ด้านทิศเหนือนำ เสนอเรื่องราวของการอนุรักษ์อาคาร โบราณสถานของธนาคารแห่งประเทศไทย เหมาะสำหรับผู้เข้าชมที่มีความ สนใจในงานอนุรักษ์อาคารโบราณสถานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนำเสนอ เนื้อหานิทรรศการเกี่ยวกับแนวคิดของการอนุรักษ์อาคาร  การปฏิบัติงาน อนุรักษ์อาคารโบราณอย่างละเอียด นอกจากนี้ผู้เข้าชมยังได้รับความรู้ “เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของธนาคารแห่ง ประเทศไทย” ผ่านสื่อมัลติมีเดียที่จัดทำขึ้นจากองค์ความรู้ที่รวบรวมรวมไว้ อย่างสมบูรณ์แบบ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ ทั้งนี้การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ โดยท่านสามารถเข้าชมเป็นหมู่คณะโดย การติดต่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ เพื่อจองเวลาเข้าชมโดยทำหนังสือ ขออนุญาตเข้าชมถึงผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อยู่ที่ สามารถส่งทางไปรษณีย์ คือ 273 ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200  โทร. 0-2283-5286, 6723, 5265 โทรสาร 0- 2283-5283 หรือทาง e- mail ที่ mailto:Museum@bot.or.th” Museum@bot.or.th โดยทางพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีระเบียบปฏิบัติในการ เข้าชมพิพิธภัณฑ์คือ  พิพิธภัณฑ์ฯไม่เก็บค่าเข้าชม โปรดแต่งกายสุภาพ และไม่ส่งเสียงดังในระหว่างการเข้าชม ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าใน พิพิธภัณฑ์ฯ ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามถ่ายภาพภายในอาคารตำหนักวังบางขุน พรหม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของวังบาง ขุนพรหม และวังเทวะเวสม์ สถานที่ทั้ง 2 คือแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ บุคคลสำคัญของชาติและการเรียนรู้งานด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม อาคารโบราณสถาน พร้อมด้วยประวัติความเป็นมาของเงินตราในยุคต่างๆ เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติ ไทยในอดีต และอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าแห่งนี้ไว้เป็น มรดกของชาติสืบต่อไป