SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 12
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา  จิตวิทยานับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Psychology) แขนงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทเกี่ยวข้องต่อมนุษย์ในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความรู้หรือไม่มีความรูทางด้านนี้เลยก็ตาม จิตวิทยานั้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเราในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัว ครอบครัว การประกอบสัมมาอาชีพ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น วิชาจิตวิทยานั้นจะมุ่งศึกษาเกี่ยวกับทางด้านของ พฤติกรรม (Behavior) ของบุคคลในทุกแง่มุม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จนเกิดความสุข ความสำเร็จ และมีความสุขได้ในสังคม
ทั้งนี้แล้ว คนโดยส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า “จิตวิทยา” มักจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ยาก ไม่น่าศึกษาค้นคว้า แต่ความจริงแล้วนั้น วิชาจิตวิทยาเป็นวิชาที่ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านความคิดและการแสดงออก หรือ บุคลิกภาพ (Personality) ที่ดี ที่เหมาะสม และเกิดการยอมรับในสังคมอีกด้วยมีจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าจิตวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องลึกลับของจิต วิญญาณ ไสยาศาสตร์ หรือการอ่านจิตใจของมนุษย์ ซึ่งจากความเข้าใจข้างต้นทำให้เกิดความรู้สึก 2 ประการ คือ1. พยายามที่จะศึกษาจิตวิทยาเพื่อที่อยากมีความสามารถในการเดาใจหรืออ่านใจผู้อื่นได้ และ2. เกิดความหวาดระแวงในตัวบุคคลที่เรียนจิตวิทยาว่า จะสามารถอ่านใจว่าตนมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรทั้งนี้อาจเนื่องมาจากรากศัพท์ของคำว่า Psychology ก็เป็นได้
ความหมายของจิตวิทยา จิตวิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ Psyche + LogosPsyche ในภาษากรีกหมายถึง Mind or Soul นั่นคือ วิญญาณ หรือจิตLogos หมายถึง Science of Study นั่นคือ วิชาการและการศึกษาหาความรู้ดังนั้น เมื่อศัพท์ทั้งสองมารวมกันจนกลายเป็น Psychology จึงหมายความถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ (A study of the soul) ทั้งนี้เนื่องจากสมัยกรีกโบราณนั้นถือว่าเป็นยุคเริ่มแรกของการศึกษาทางจิตวิทยา ซึ่งนักปรัชญาสมัยนั้นได้พยายามค้นคว้าถึงความสำคัญและความมีอิทธิพลของวิญญาณ (Soul) ต่อการกระทำของมนุษย์ 
     แต่ทั้งนี้วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ ดังนั้นในปลายศตวรรษที่ 19 นักปรัชญารุ่นใหม่จึงเปลี่ยนแนวทางในการศึกษาค้นคว้ามาเป็นศึกษาถึง พฤติกรรม (Behavior) โดยให้ความสำคัญเฉพาะประสบการณ์นอกจากนั้นแล้ว ในยุคนี้ยังได้ให้ความสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการนำระเบียบวิธีการต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งหลายอีกด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จิตวิทยาจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ดังนั้น ในปัจจุบันความหมายของจิตวิทยานั้นจึงหมายความว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรม และกระบวนการทางสมองของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
     คำว่า พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกต่าง ๆ ทางร่างกาย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่ปรากฏออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ ใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ โดยแบ่งออกได้อีก 2 ลักษณะ ได้แก่1) แบบโมลาร์ (molar) เป็นพฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ฯลฯ2) แบบโมเลคิวลาร์ (molecular) เป็นพฤติกรรมภายนอกที่จะรับรู้ได้ โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเพียงอย่างเดียว เช่น ความดันเลือด คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ การเต้นของชีพจร เป็นต้น
2. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) หรือกระบวนการทางจิต (mental process) หมายถึง พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตา หรือไม่สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบได้โดยตรง เช่น ความรู้สึก อารมณ์ ความจำ การคิด การวิเคราะห์หาเหตุผล ประสบการณ์ ฯลฯ ทั้งพฤติกรร สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นั่นคือ พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดการแสดงออกของพฤติกรรมภายนอก เช่น ถ้าพฤติกรรมภายในไม่มีความสุข มีแต่ความเศร้าหมอง ก็จะแสดงออกทางสีหน้า แววตา ท่าทาง เป็นต้นดังนั้น การที่จะเข้าใจบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นจะทำความเข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ฯลฯ ให้ชัดเจนเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่จะต้องสังเกตศึกษาพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกมาด้วยเช่นกัน นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุก ๆ อย่างนั้นย่อมมีเหตุแห่งพฤติกรรม และสาเหตุแค่เพียงประการเดียวก็สามารถจำแนกออกมาเป็นพฤติกรรมได้หลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับพฤติกรรมรูปแบบเดียว ก็อาจจะมาจากหลากหลายสาเหตุ
ความเป็นมาของจิตวิทยาจิตวิทยาเป็นวิชาที่มีการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณเมื่อราว 384-322 ก่อนคริสตกาล โดยนักปรัชญาคนสำคัญ อาทิ เพลโต (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotel) ได้พยายามทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความเชื่อที่ตรงกัน นั่นคือ มนุษย์มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ร่างกาย (Body) และวิญญาณ (Soul) โดยที่องค์ประกอบทางวิญญาณจะมีอิทธิพลที่สามารถควบคุมองค์ประกอบทางร่างกาย
     ดังนั้น การที่จะเข้าใจในมนุษย์ได้นั้นจะต้องทำความเข้าใจกับวิญญาณหรือสามารถอธิบายวิญญาณได้ชัดเจนเสียก่อน แต่ถึงกระนั้น ในยุคกรีกโบราณได้มีการอธิบายถึงวิญญาณในแนวทางของปรัชญาเสียมากกว่าในแง่ของวิทยาศาสตร์ โดยคำตอบที่ปรากฏออกมาเกี่ยวกับวิญญาณนั้นมีการประสานระหว่างเหตุผลทางความคิดกับความเชื่อทางศาสนาในขณะนั้น ด้วยวิธีการเช่นนี้เอง ทำให้คำอธิบายที่ออกมานั้นมีความไม่แน่นอน และเกิดความหลากหลายไม่ชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันวิธีการเช่นนี้ถูกเรียกว่า อาร์มแชร์ (Armchair method)   เพราะเป็นวิธีการหาคำตอบแบบนั่งอยู่กับที่ ไม่มีการค้นคว้าทดลอง หรือพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ให้สามารถเห็นได้จริงแต่จากแนวคิดทางปรัชญาดังกล่าวทำให้ในระยะหลังเกิดแนวคิดทางจิตวิทยาซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. แนวคิดที่มีรากฐานเน้นทางปรัชญา เมื่อยุคสมัยได้เข้ามาสู่ความเจริญแห่งวิทยาศาสตร์ วิธีการค้นคว้าหาคำอธิบายเกี่ยวกับวิญญาณจึงได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่สามารถหาคำอธิบายได้กระจ่างชัด ดังนั้น ในยุคหลังนี้ นักจิตวิทยาจึงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับ จิต (Mind) แทน และทฤษฎีที่เชื่อว่าจิตเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์เรียกว่า Animism  ดังเช่น จอห์น ล็อค (John Lock) นักปรัชญาชาวอังกฤษที่ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิต โดยอธิบายว่า จิต คือความรู้ตัว (Conscious)  จิตของมนุษย์แต่แรกเริ่มบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว แต่สิ่งแวดล้อมเป็นผลให้จิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป เหมือนกับการแต้มสีลงบนผ้าขาวนั้น คำอธิบายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ล็อคให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของบุคคลที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม คำอธิบายดังกล่าวก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็น
2. แนวคิดที่มีรากฐานเน้นทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา วงการทางวิทยาศาสตร์ได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผลให้นักจิตวิทยาในยุคใหม่เปลี่ยนแนวทางการศึกษาจากจิตใจ (Mind) มาเป็นการศึกษาพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้จริง นอกจากนี้ยังสามารถนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการอธิบายได้ชัดเจนด้วย โดยบุคคลที่มีบทบาทความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ คือ วิลเฮล์ม แมกซ์วุนต์ (Wilhelm Max Wundt) นักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งกลุ่มจิตวิทยาแนวทฤษฎีโครงสร้างของจิต (Structuralism) โดยได้จัดตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาเมื่อปี ค.ศ. 1879 ในประเทศเยอรมนี ทำให้วงการจิตวิทยาเริ่มมีการทดลองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกในโลก แต่วุนต์มุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมภายใน ตลอดจนวิธีการที่นำมาศึกษาค้นคว้ายังมีข้อบกพร่อง จึงยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร
     วงการจิตวิทยาได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง เมื่อ จอห์น บี.วัตสัน (John B.Watson) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ตั้งกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Bahaviorism) ได้มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้หรือพฤติกรรมภายนอก ผลงานการศึกษาของวัตสันนี้เอง ทำให้จิตวิทยาได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม หรือ พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science)   จนถึงปัจจุบัน
อ่างอิง จิตวิทยาทั่วไป จิราภา เต็งไตรรัตน์ ภาควิชาจิตวิทยาคณะศิลปะศาสตร์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542  พิมพ์ครั้งที่  1 จัดทำโดย นายสีรพงศ์  แป้นสุขา   ห้อง 10  รหัส  521121014 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา   คณะครุศาสตร์

Mais conteúdo relacionado

Destaque

ข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไป
ข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไปข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไป
ข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไป
Pijak Insawang
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
peter dontoom
 
พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2
พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2
พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2
Kobchai Khamboonruang
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
Padvee Academy
 
ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)
ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)
ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)
Aom S
 
รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
ประกายทิพย์ แซ่กี่
 

Destaque (12)

ข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไป
ข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไปข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไป
ข้อสอบกระบวนวิชา Psy1001 (pc 103) จิตวิทยาทั่วไป
 
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
แนวข้อสอบ  100  ข้อแนวข้อสอบ  100  ข้อ
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
 
พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2
พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2
พื้นฐานทางสรีรวิทยาของพฤติกรรม Present2
 
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
 
ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)
ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)
ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์ (บันทึกอัตโนมัติ)
 
พุทธในออสเตรเลีย2
พุทธในออสเตรเลีย2พุทธในออสเตรเลีย2
พุทธในออสเตรเลีย2
 
รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
 

Semelhante a ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

บทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Present
บทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Presentบทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Present
บทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Present
Kobchai Khamboonruang
 
Social psychology1
Social psychology1Social psychology1
Social psychology1
csmithikrai
 
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth025cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
Mai Amino
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
maymymay
 
Psychology1
Psychology1Psychology1
Psychology1
New Born
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไขจิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
tuphung
 

Semelhante a ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา (20)

บทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Present
บทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Presentบทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Present
บทนำเกี่ยวกับจิตวิทยา Present
 
การให้คำปรึกษา (Students consulting)
การให้คำปรึกษา (Students consulting)การให้คำปรึกษา (Students consulting)
การให้คำปรึกษา (Students consulting)
 
Social psychology1
Social psychology1Social psychology1
Social psychology1
 
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth025cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
ThinkingThinking
Thinking
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
 
Affective2
Affective2Affective2
Affective2
 
Psychology1
Psychology1Psychology1
Psychology1
 
Psychology1
Psychology1Psychology1
Psychology1
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไขจิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

  • 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา  จิตวิทยานับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Psychology) แขนงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทเกี่ยวข้องต่อมนุษย์ในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความรู้หรือไม่มีความรูทางด้านนี้เลยก็ตาม จิตวิทยานั้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเราในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัว ครอบครัว การประกอบสัมมาอาชีพ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น วิชาจิตวิทยานั้นจะมุ่งศึกษาเกี่ยวกับทางด้านของ พฤติกรรม (Behavior) ของบุคคลในทุกแง่มุม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จนเกิดความสุข ความสำเร็จ และมีความสุขได้ในสังคม
  • 2. ทั้งนี้แล้ว คนโดยส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า “จิตวิทยา” มักจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ยาก ไม่น่าศึกษาค้นคว้า แต่ความจริงแล้วนั้น วิชาจิตวิทยาเป็นวิชาที่ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านความคิดและการแสดงออก หรือ บุคลิกภาพ (Personality) ที่ดี ที่เหมาะสม และเกิดการยอมรับในสังคมอีกด้วยมีจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าจิตวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องลึกลับของจิต วิญญาณ ไสยาศาสตร์ หรือการอ่านจิตใจของมนุษย์ ซึ่งจากความเข้าใจข้างต้นทำให้เกิดความรู้สึก 2 ประการ คือ1. พยายามที่จะศึกษาจิตวิทยาเพื่อที่อยากมีความสามารถในการเดาใจหรืออ่านใจผู้อื่นได้ และ2. เกิดความหวาดระแวงในตัวบุคคลที่เรียนจิตวิทยาว่า จะสามารถอ่านใจว่าตนมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรทั้งนี้อาจเนื่องมาจากรากศัพท์ของคำว่า Psychology ก็เป็นได้
  • 3. ความหมายของจิตวิทยา จิตวิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ Psyche + LogosPsyche ในภาษากรีกหมายถึง Mind or Soul นั่นคือ วิญญาณ หรือจิตLogos หมายถึง Science of Study นั่นคือ วิชาการและการศึกษาหาความรู้ดังนั้น เมื่อศัพท์ทั้งสองมารวมกันจนกลายเป็น Psychology จึงหมายความถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ (A study of the soul) ทั้งนี้เนื่องจากสมัยกรีกโบราณนั้นถือว่าเป็นยุคเริ่มแรกของการศึกษาทางจิตวิทยา ซึ่งนักปรัชญาสมัยนั้นได้พยายามค้นคว้าถึงความสำคัญและความมีอิทธิพลของวิญญาณ (Soul) ต่อการกระทำของมนุษย์ 
  • 4. แต่ทั้งนี้วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ ดังนั้นในปลายศตวรรษที่ 19 นักปรัชญารุ่นใหม่จึงเปลี่ยนแนวทางในการศึกษาค้นคว้ามาเป็นศึกษาถึง พฤติกรรม (Behavior) โดยให้ความสำคัญเฉพาะประสบการณ์นอกจากนั้นแล้ว ในยุคนี้ยังได้ให้ความสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการนำระเบียบวิธีการต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งหลายอีกด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จิตวิทยาจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ดังนั้น ในปัจจุบันความหมายของจิตวิทยานั้นจึงหมายความว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรม และกระบวนการทางสมองของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
  • 5. คำว่า พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกต่าง ๆ ทางร่างกาย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่ปรากฏออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ ใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ โดยแบ่งออกได้อีก 2 ลักษณะ ได้แก่1) แบบโมลาร์ (molar) เป็นพฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ฯลฯ2) แบบโมเลคิวลาร์ (molecular) เป็นพฤติกรรมภายนอกที่จะรับรู้ได้ โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเพียงอย่างเดียว เช่น ความดันเลือด คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ การเต้นของชีพจร เป็นต้น
  • 6. 2. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) หรือกระบวนการทางจิต (mental process) หมายถึง พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตา หรือไม่สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบได้โดยตรง เช่น ความรู้สึก อารมณ์ ความจำ การคิด การวิเคราะห์หาเหตุผล ประสบการณ์ ฯลฯ ทั้งพฤติกรร สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นั่นคือ พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดการแสดงออกของพฤติกรรมภายนอก เช่น ถ้าพฤติกรรมภายในไม่มีความสุข มีแต่ความเศร้าหมอง ก็จะแสดงออกทางสีหน้า แววตา ท่าทาง เป็นต้นดังนั้น การที่จะเข้าใจบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นจะทำความเข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ฯลฯ ให้ชัดเจนเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่จะต้องสังเกตศึกษาพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกมาด้วยเช่นกัน นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุก ๆ อย่างนั้นย่อมมีเหตุแห่งพฤติกรรม และสาเหตุแค่เพียงประการเดียวก็สามารถจำแนกออกมาเป็นพฤติกรรมได้หลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับพฤติกรรมรูปแบบเดียว ก็อาจจะมาจากหลากหลายสาเหตุ
  • 7. ความเป็นมาของจิตวิทยาจิตวิทยาเป็นวิชาที่มีการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณเมื่อราว 384-322 ก่อนคริสตกาล โดยนักปรัชญาคนสำคัญ อาทิ เพลโต (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotel) ได้พยายามทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความเชื่อที่ตรงกัน นั่นคือ มนุษย์มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ร่างกาย (Body) และวิญญาณ (Soul) โดยที่องค์ประกอบทางวิญญาณจะมีอิทธิพลที่สามารถควบคุมองค์ประกอบทางร่างกาย
  • 8. ดังนั้น การที่จะเข้าใจในมนุษย์ได้นั้นจะต้องทำความเข้าใจกับวิญญาณหรือสามารถอธิบายวิญญาณได้ชัดเจนเสียก่อน แต่ถึงกระนั้น ในยุคกรีกโบราณได้มีการอธิบายถึงวิญญาณในแนวทางของปรัชญาเสียมากกว่าในแง่ของวิทยาศาสตร์ โดยคำตอบที่ปรากฏออกมาเกี่ยวกับวิญญาณนั้นมีการประสานระหว่างเหตุผลทางความคิดกับความเชื่อทางศาสนาในขณะนั้น ด้วยวิธีการเช่นนี้เอง ทำให้คำอธิบายที่ออกมานั้นมีความไม่แน่นอน และเกิดความหลากหลายไม่ชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันวิธีการเช่นนี้ถูกเรียกว่า อาร์มแชร์ (Armchair method)   เพราะเป็นวิธีการหาคำตอบแบบนั่งอยู่กับที่ ไม่มีการค้นคว้าทดลอง หรือพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ให้สามารถเห็นได้จริงแต่จากแนวคิดทางปรัชญาดังกล่าวทำให้ในระยะหลังเกิดแนวคิดทางจิตวิทยาซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
  • 9. 1. แนวคิดที่มีรากฐานเน้นทางปรัชญา เมื่อยุคสมัยได้เข้ามาสู่ความเจริญแห่งวิทยาศาสตร์ วิธีการค้นคว้าหาคำอธิบายเกี่ยวกับวิญญาณจึงได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่สามารถหาคำอธิบายได้กระจ่างชัด ดังนั้น ในยุคหลังนี้ นักจิตวิทยาจึงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับ จิต (Mind) แทน และทฤษฎีที่เชื่อว่าจิตเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์เรียกว่า Animism  ดังเช่น จอห์น ล็อค (John Lock) นักปรัชญาชาวอังกฤษที่ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิต โดยอธิบายว่า จิต คือความรู้ตัว (Conscious)  จิตของมนุษย์แต่แรกเริ่มบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว แต่สิ่งแวดล้อมเป็นผลให้จิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป เหมือนกับการแต้มสีลงบนผ้าขาวนั้น คำอธิบายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ล็อคให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของบุคคลที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม คำอธิบายดังกล่าวก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็น
  • 10. 2. แนวคิดที่มีรากฐานเน้นทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา วงการทางวิทยาศาสตร์ได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผลให้นักจิตวิทยาในยุคใหม่เปลี่ยนแนวทางการศึกษาจากจิตใจ (Mind) มาเป็นการศึกษาพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้จริง นอกจากนี้ยังสามารถนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการอธิบายได้ชัดเจนด้วย โดยบุคคลที่มีบทบาทความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ คือ วิลเฮล์ม แมกซ์วุนต์ (Wilhelm Max Wundt) นักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งกลุ่มจิตวิทยาแนวทฤษฎีโครงสร้างของจิต (Structuralism) โดยได้จัดตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาเมื่อปี ค.ศ. 1879 ในประเทศเยอรมนี ทำให้วงการจิตวิทยาเริ่มมีการทดลองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกในโลก แต่วุนต์มุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมภายใน ตลอดจนวิธีการที่นำมาศึกษาค้นคว้ายังมีข้อบกพร่อง จึงยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร
  • 11. วงการจิตวิทยาได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง เมื่อ จอห์น บี.วัตสัน (John B.Watson) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ตั้งกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Bahaviorism) ได้มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้หรือพฤติกรรมภายนอก ผลงานการศึกษาของวัตสันนี้เอง ทำให้จิตวิทยาได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม หรือ พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science)   จนถึงปัจจุบัน
  • 12. อ่างอิง จิตวิทยาทั่วไป จิราภา เต็งไตรรัตน์ ภาควิชาจิตวิทยาคณะศิลปะศาสตร์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542 พิมพ์ครั้งที่ 1 จัดทำโดย นายสีรพงศ์ แป้นสุขา ห้อง 10 รหัส 521121014 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์