SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 154
Baixar para ler offline
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประวัติ
 ชาติก�ำเนิด
	 ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ เกิดตรงกับวันเสาร์ที่ 7
กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2485 ณ บ้านเลขที่ 125 หมู่ 6 ต�ำบลแสมด�ำ อ�ำเภอ
บางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายเรือง เบาใจ นางสงวน เบาใจ มี
พี่น้อง รวม 7 คน ดังนี้
	 1.	นายโกวิท วงศ์เจริญกิจ (เสียชีวิต)
	 2.	นายสนิท วงศ์เจริญกิจ (เสียชีวิต)
	 3.	นางจ�ำรูญ คุ้ยน้อย (เสียชีวิต)
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
2
	 4.	น.ส.ทองย้อย เบาใจ (เสียชีวิต)
	 5.	นายทองหล่อ เบาใจ
	 6.	ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
	 7.	ด.ช.สุธน เบาใจ (เสียชีวิต)
 คุณวุฒิการศึกษา
	 ป.กศ.ต้น, ป.กศ.สูง, ปม., กศ.บ.,ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ
โสตทัศนศึกษา, กศ.ม. (โสตทัศนศึกษา) และ กศ.ด.(เทคโนโลยีการศึกษา)
 ประวัติการศึกษา
	 ปีการศึกษา 2497 ส�ำเร็จประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดก�ำแพง
ต�ำบลแสมด�ำ อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็นจังหวัด
สมุทรสาคร)
	 ปีการศึกษา 2503 ส�ำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดสิงห์
ต�ำบลแสมด�ำ อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี
	 ปีการศึกษา 2505 ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการ
ศึกษา (ปก.ศ.ต้น) จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จังหวัดธนบุรี
	 ปีการศึกษา 2507 ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการ
ศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จังหวัดธนบุรี
	 ปีการศึกษา 2510 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษา
ศาสตร์บัณฑิต (กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จังหวัด
พระนคร
	 ปีการศึกษา 2515 ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง
วิชาเฉพาะโสตทัศนศึกษา จากวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
จังหวัดพระนคร
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 3
	 ปีการศึกษา 2516 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท การศึกษา
มหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา จาก วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
	 ปีการศึกษา 2536 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก การศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา จาก มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร
 ประวัติการรับราชการ
	 ปี พ.ศ. 2507 เข้ารับราชการ ต�ำแหน่ง ครูจัตวา อัตราเงินเดือน
600 บาท ประจ�ำอยู่ที่ โรงเรียนวัดมงคล วราราม (วัดมะเกลือ) อ�ำเภอ
บางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (เทศบาลนครธนบุรี) จนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. 2510
ได้เลื่อนวิทยฐานะ ต�ำแหน่งครูตรี เงินเดือน 900 บาท
	 ปี พ.ศ. 2516 เข้ารับราชการ ต�ำแหน่ง อาจารย์โท เงินเดือน 1,350
บาท ประจ�ำอยู่ที่ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
	 ปี พ.ศ. 2519 ต�ำแหน่ง อาจารย์เอก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กรุงเทพมหานคร
	 ปี พ.ศ. 2521 ได้เลื่อนต�ำแหน่งทางวิชาการเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ประจ�ำมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร
	 ปีพ.ศ.2545เกษียณอายุราชการณมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กรุงเทพมหานคร รวมเวลาในการรับราชการ เป็นเวลา 39 ปี
 ประสบการณ์การท�ำงาน
	 -	 เป็นครูสอนระดับชั้น ป.1 ถึง ป.7 สอนวิชาพลศึกษา และ
วิทยาศาสตร์
	 -	 เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
4
	 -	 เป็นประธานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี
พ.ศ. 2524
	 - เป็นรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ฝ่ายกิจการพิเศษ ปี พ.ศ. 2531
	 - เป็นรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ฝ่ายกิจการนิสิตและดูแล
กิจกรรมพิเศษโครงการเพชรในตม ปี พ.ศ. 2535
	 - เป็นรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ดูแลกิจกรรมพิเศษให้กับนิสิต
โครงการเพชรในตม ปี พ.ศ.2543 - 2545
 ผลงานทางวิชาการ
	 หนังสือ/ต�ำรา
		 1.	 การถ่ายท�ำภาพเบื้องต้น (ขาว-ด�ำ)
		 2.	 การถ่ายท�ำภาพสี
		 3.	 การถ่ายท�ำสไลด์และฟิล์มสตริพเพื่อการศึกษา
		 4.	 การถ่ายท�ำภาพยนตร์เพื่อการศึกษา
		 5.	 การเขียนบทเรียนส�ำเร็จรูป
		 6.	 หลักการและทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษา
		 7.	 หลักการท�ำชุดการสอน
	 เป็นบรรณาธิการวารสาร
		 1.	 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา
		 2.	 วารสารนวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา
		 3.	 วารสารนวัตกรรมทางการศึกษา
	 บทความ
		 1.	 การปฏิรูปการศึกษาไทย “นวัตกรรมของนักการศึกษาไทย”
		 2.	 ประเทศไทยจะแก้ปัญหาการคอรัปชั่นได้อย่างไร
		 3.	 ควรปฏิรูปการศึกษาในด้านใดบ้าง
		 4.	 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเว็บไซต์ด้วยสมาร์ทโฟน
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 5
		 5.	 โรงเรียนแห่งอนาคต”Crescent Girl School”
		 6.	 U-Class คืออะไร (Ubiquitous Class)
		 7.	 การวัดผลด้วยอิเลคทรอนิคส์
	 	 8.	 การออกแบบสารเพื่อการสอน(IMD)
	 	 9.	 Web Site
		 10.	คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
	 	 11. เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ครูได้หรือไม่ ?
		 12.	ฯลฯ
 ประวัติการท�ำงานอื่น ๆ
	 1.	ปี พ.ศ. 2520 - 2524 ช่วยราชการที่ สสวท. เพื่อผลิตวีดิทัศน์
ส�ำหรับอบรมครูสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลักสูตรใหม่
	 2.	ปีพ.ศ.2525-2527เป็นวิทยากรอบรมครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างบทเรียนส�ำเร็จรูปใช้สอนแทนครูทุกวิชาหลัก เช่น เลขคณิต
วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 32 เล่ม
	 3.	ปี พ.ศ. 2527 - 2529 เป็นกรรมการตรวจผลงาน เลื่อนต�ำแหน่ง
ข้าราชการสายการศึกษาและสังคมศาสตร์ ส�ำนักงานข้าราชการพลเรือน
	 4.	ปี พ.ศ. 2538 ช่วยราชการในประเทศ ส.ป.ป.ลาว โดยเป็น
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาเขียนหนังสือชื่อ นวัตกรรมและ
เทคโนโลยีการศึกษา ส�ำหรับให้นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ได้เรียนเป็นวิชาบังคับ
3 หน่วยกิต ภายใต้โครงการความช่วยเหลือของเอเซียฟาวเดชั่น
	 5.	ปี2524 - 2536 เป็นกรรมการสมาคมศิษย์เก่า มศว. และในปี
พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่า มศว.
	 6.	ปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
6
	 7.	ปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิเพื่อศิษย์เก่ามหา-
วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
	 8.	ปี พ.ศ. 2561 เป็นกรรมการ สกสค.ของคุรุสภา กระทรวง
ศึกษาธิการ ในการตรวจสื่อการสอนให้มีคุณภาพเพื่อส่งให้โรงเรียนชายแดน
ถิ่นทุรกันดาร
	 9.	ปี พ.ศ. 2532 - 2535 เป็นอนุกรรมาธิการกิจการรัฐสภา โดย
ริเริ่มตั้งสถานีโทรทัศน์รัฐสภา
และผลิตสไลด์มัลติวิชั่น บรรยายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้ผู้ที่มาศึกษาดู
งานได้ชม
	 10. ปี พ.ศ. 2542 - 2562 เป็นกรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิ
ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์ กรมสมเด็จพระ
กนิษฐาธิราชเจ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
 การศึกษาดูงานในต่างประเทศ
	 ประเทศเดนมาร์ค สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรเลีย
แคนาดา เกาหลีใต้ เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า
 งานสอนหลังเกษียณราชการ
	 ปี พ.ศ. 2545 - 2549 เป็นอาจารย์ประจ�ำหลักสูตรระดับบัณฑิต
ศึกษา สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา สอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
	 ปี พ.ศ. 2550 - 2553 เป็นอาจารย์ประจ�ำหลักสูตรระดับบัณฑิต
ศึกษา สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา สอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
	 ปี พ.ศ. 2554 - 2558 เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาโท และ
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยบูรพา
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 7
	 ปี พ.ศ. 2545 - 2561 เป็นประธานหลักสูตรเทคโนโลยีทางการ
ศึกษาและการสื่อสาร (ปริญญาเอก) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา
	 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
เด็กชายกะโปโล ที่โตมาในละแวกสวนส้ม สวนฝรั่ง และท้องทุ่งนา
หลังวัดก�ำแพง อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นเด็กเลี้ยงควาย ซึ่งมีอยู่
สองตัว เป็นของปู่พลัด เลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงานไถนา เจ้าควายสองตัวนี้มัน
แข็งแรง อดทน และซื่อสัตย์มาก สภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน เมื่อมองออก
ไปมีต้นไม้เขียวไปหมด ในฤดูหนาวก็จะหนาวทุกปี ในวัยเด็ก เมื่อปี พ.ศ.
2493 ได้เข้าเรียนชั้นเตรียมที่โรงเรียนวัดก�ำแพง ตอนนั้นอายุ 8 ขวบ จะต้อง
เข้าเรียนตามเกณฑ์บังคับของรัฐบาล เลื่อนชั้นจาก ป.เตรียม มา ป.1 ป.2
ป.3 และ ป.4 ตั้งใจเรียนบ้างไม่เรียนบ้าง ตามประสาเด็ก บ้านอยู่ห่างโรงเรียน
สักประมาณ 40 เมตร มีครูเทียมจิต เป็นครูสอนชั้นเตรียมและ ป.1 ครูประณต
สอนชั้น ป.2 ครูผาด สอนชั้น ป.3 และครูพรพรรณ สอนชั้น ป.4 ตอนนั้นมี
ครูใหญ่ชื่อเนื่อง เสียงสืบชาติ เป็นคนเงียบแต่ใจดี โรงเรียนวัดก�ำแพง มีอาคาร
เรียน 1 หลัง จ�ำนวน 3 ห้องเรียน และมีห้องครูใหญ่ ซึ่งเป็นห้องแคบ ๆ มี
กระดิ่งแขวนหน้าห้องเพื่อตีเรียกเด็กเข้าแถวเคารพธงชาติและสวดมนต์
ส่วนชั้นเตรียม และ ป.1 ต้องอาศัยศาลาวัดเรียน วันพระต้องหยุดเรียน
เพราะต้องใช้เป็นที่ท�ำบุญของชาวบ้าน เช้าเข้าเรียนจะเริ่ม 08.30 น. กลางวัน
พักตอนเวลา 11.30 น. กลับมากินข้าวที่บ้านบางครั้งก็ห่อใบตองไปกินที่
โรงเรียน ได้คุยกันกับเพื่อนสนุกดี บ่ายโมงเข้าเรียนต่อและเลิกเรียนตอนบ่าย
สามโมงเย็น หลังเลิกเรียนต้องช่วยกันกวาดและถูห้องให้สะอาด และลบ
กระดานด�ำให้เรียบร้อย วันศุกร์จะเลิกเรียนตอนบ่ายสองโมงเย็น และเข้าแถว
โลกนี้คือละคร
ถนนชีวิตของครูชานเมือง...
สู่อาจารย์มหาวิทยาลัย
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 9
ไปศาลาวัด เพื่อสวดมนตร์จนจบเล่ม จากนั้นฟังพระสอน มีนิทานสนุกมาก
เด็กรักวันศุกร์กันทุกคน (นิทานสอดแทรกคุณธรรม) พอเลิกเรียนรีบกลับบ้าน
มาเปลี่ยนเสื้อผ้าเอาไว้ใส่ไปเรียนต่อวันพรุ่งนี้ (1ชุด ใช้ 2 วัน) เปลี่ยนเสื้อผ้า
ชุดอยู่บ้านแล้วรีบออกไปเล่นกับเพื่อนที่ลานวัดเช่น ตั่งเต ลูกหิน ซ่อนหา
เป็นต้น พอใกล้มืดต้องรีบกลับมากวาด เช็ดถูบ้านให้สะอาด ส่วนพี่ชายและ
พี่สาวจะหุงข้าวท�ำกับข้าว ตักน�้ำคลองใส่โอ่งและแกว่งสารส้มให้น�้ำใส เพื่อ
ใช้อาบและหุงข้าว บ้านอยู่ริมคลองสนามชัยกว้างประมาณ 25 เมตร น�้ำใส
สะอาดมีปลาชุกชุมจะแกงปลาก็ใช้สวิงช้อนเอาที่หน้าบ้าน ประมาณ 10 นาที
ก็พอหม้อแกงแล้ว (ปัจจุบันน�้ำในคลองด�ำมาก) คลองนี้ใช้ติดต่อระหว่าง
สมุทรสาครกับธนบุรี ในประวัติศาสตร์เป็นเส้นทางที่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็น
นายท้ายเรือพระที่นั่ง พาพระเจ้าเสือ เดินทางไปสมุทรสาคร ในระหว่างนั้น
โขนเรือได้ชนต้นลูกหงอนไก่ที่โอนเข้ามาในคลองจนโขนเรือหักเพราะสภาพ
คลองคดเคี้ยวและน�้ำเชี่ยวมาก
	 กิจวัตรในวัยเด็กก็เป็นเช่นนี้ทุกวัน บางวันที่วัดมีงานศพ กลางคืนก็
จะได้ดูลิเกบ้าง ดูหนังฉายบ้าง นาน ๆ จึงจะได้ดูโขน หรือหนังสด เพราะ
คนรวยตาย บางครั้งก็มีหนังขายยาเต็กเฮงหยูมาฉายให้ดู แต่ต้องอดทน
เพราะฉายจบหนึ่งม้วนก็จะหยุดขายยาทัมใจใช้แก้ปวดหัว ยากฤษณากลั่นแก้
ปวดท้อง จากนั้นจึงจะฉายหนังม้วนต่อไป (หนังมี 3 ม้วน) เริ่มฉายตอน 2
ทุ่มครึ่ง ไปเลิก 5 ทุ่ม มีเงินก็วิ่งไปซื้ออ้อยควั่นมาเคี้ยว (ฟันแข็งแรงดีมาจน
ปัจจุบัน) อ้อยหนึ่งพวงราคา 25 สตางค์ นี่คือชีวิตวัยเด็กของ ด.ช.ไพโรจน์
เบาใจ
	 เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อายุได้ 12 ปีแล้ว ก็เข้าเรียนต่อมัธยม
ที่โรงเรียนวัดสิงห์ ในปี พ.ศ.2498 เป็นนักเรียนรุ่นที่ 2 โรงเรียนตั้งอยู่ริมทาง
รถไฟสายคลองสาน - มหาชัย อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 400 เมตร เข้าเรียน
ชั้น ม.1 ถึง ม.6 (ขณะนั้นมีถึง ม.8 แล้วก็เข้ามหาวิทยาลัย) เรียน ม.1 ครู
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
10
ประจ�ำชั้นคือครูสุกิจ ภาคสุวรรณ ม.2 คือครูประพันธ์ ม.3 คือครูทองเจือ
ม.4 คือครูอนันต์ ม.5 คือครูสุกิจ ม.6 คือครูชื้น ผ่องอักษร (สอนศีลธรรม)
ครูใหญ่ชื่อครูหงิม เกบไว้ ท่านสอนภาษาอังกฤษสนุกมาก รู้ภาษาอังกฤษ 4
ค�ำแรก คือ Stand up, Sit down, Come here and Go back ครูให้เด็กพูด
ทีละคนและแสดงท่าทางประกอบ ท�ำทีละคนจนครบ 25 คน ใครท�ำผิดก็จะ
ถูกมะเหงกเขกหัว (ไม่เจ็บหรอกเพราะครูเขกเบา ๆ ด้วยความปราณี) ครูสั้น
สอนวิชาหน้าที่พลเมือง ครูระเบียบ สอนวิชาการฝีมือ ครูอนันต์สอน
พลศึกษา (กายบริหาร) ชั่วโมงพลศึกษาส่วนมากจะแบกดินที่ขุดมาจากบ่อ
หลังโรงเรียนเพื่อน�ำมาถมหน้าเสาธงให้สูงขึ้น เพราะเดิมเป็นท้องนา เพื่อใช้
เข้าแถวตอนเช้าและเล่นฟุตบอล เมื่อดินหลังโรงเรียนหมดขุดลึกลงไป
เมตรครึ่งฝนตกลงมาน�้ำเต็มบ่อก็เอาปลาหมอเทศมาเลี้ยงไว้ท�ำอาหาร
กลางวัน
	 เมื่อก่อนจะมีวิ่งแข่งระหว่างโรงเรียนต่าง ๆ ณ สนามศุภชลาศัย
โรงเรียนของเราก็ส่งไปแข่งวิ่งหลายประเภททั้งชายและหญิง รวมเงินกัน
คนละ 3 บาท แล้วมอบให้ครูไปเช่ารถเมล์มา 3 คัน พวกเราก็เก็บส้มเขียว
หวานไปเชียร์กัน ทุกบ้านปลูกส้มกันอยู่แล้ว เก็บไปหลายเข่งเพราะเชียร์เสียง
จะได้ไม่แห้ง ตะโกนกันสุดเสียงตอนจะเข้าเส้นชัย ได้ชนะเลิศมาหลายเหรียญ
	พวกเราวิ่งเก่ง เพราะที่บ้านวิ่งไล่ควายในทุ่งนา ท�ำให้กล้ามเนื้อขา
แข็งแรง เด็กในเมืองสู้เราไม่ได้ (ขณะนั้นเรียน ม.3) กลับมาบ้านเย็นวันศุกร์
ประมาณ 18.00 น. อาบน�้ำนอนหลับตลอดคืน ตื่นเช้าขึ้นมาพูดไม่มีเสียง
หยุดเรียนไป 3 วัน จึงมีเสียง ตั้งแต่นั้นเสียงก็เปลี่ยนไปเป็นเสียงเล็กตั้งแต่นั้น
มา ตนเองก็ไม่รู้สึกอะไรเพราะเป็นเด็ก เมื่อขึ้น ม.4 จนถึง ม.6 ต้องช่วยพ่อ
แม่ค้าขาย ท�ำสวน ท�ำนา เพราะสงสารพ่อแม่ที่ท่านเหนื่อย เป็นวัยรุ่น
ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เมื่อจบชั้น ม.6 ก็ไปสอบเรียนต่อที่โรงเรียนนายสิบ
ทหารบก แต่สอบไม่ได้เพราะเขาบอกว่าตัวเล็กไป (สูง 155 ซม.) จึงไปสอบ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 11
เป็นครูที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอบข้อเขียนผ่านก็ต้องสอบ
สัมภาษณ์ อาจารย์เขาบอกว่าตัวเตี้ยไปและเสียงเล็กด้วย คงเป็นครูไม่ได้ ก็
ตอบอาจารย์ไปว่าผมรักอาชีพครูมาก บ้านผมขาดครูสอนเด็ก ผมจะตั้งใจ
เรียน คณะอาจารย์ที่สัมภาษณ์ มี 3 คน ก็คุยกันและบอกว่าจะรับให้เข้าเรียน
เด็กบ้านนอกคนนี้ดีใจมาก กลับถึงบ้านบอกพ่อแม่พี่น้องว่า ผมสอบเข้าได้
แล้ว กอดพ่อแม่แน่น (น�้ำตาซึม) รุ่งขึ้นรีบไปซื้อเครื่องแบบ นุ่งกางเกงขายาว
เป็นครั้งแรกในชีวิต อาชีพครูเริ่มเข้ามาในชีวิตทันที
	 เป็นนักเรียนฝึกหัดครู มีเพื่อนจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัด
ธนบุรี มีเพื่อนสอบได้หลายคน และสอบติด 3 คน จากโรงเรียนวัดสิงห์ การ
เรียนใช้ระบบเกรด A B C D E ไม่ใช่เปอร์เซ็นต์ เรียนอยู่ห้อง 1ช/3 เรียนอยู่
2 ปี ได้วุฒิ ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นต้น (ป.กศ.ต้น) ผลการเรียนระดับ
2.97 จึงได้รับคัดเลือกให้เรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง
(ป.กศ.สูง เทียบเท่าอนุปริญญา) วิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิชาโทคณิตศาสตร์
ชอบวิชาวิทยาศาสตร์มาก โดยเฉพาะชีววิทยา สอนโดยอาจารย์ไพรัตน์
อนุฤทธิ์ ในหมวดชีววิทยา มีหลายวิชาสอบได้ A หมด ส่วนวิชาคณิตศาสตร์
ได้ A บ้าง B บ้าง เมื่อเรียนจบแล้ว จึงไปสมัครสอบเป็นครู ที่เทศบาลนคร
ธนบุรี ในปี พ.ศ. 2508 และสอบบรรจุได้ แต่ให้มาบรรจุในเดือนกรกฎาคม
พ.ศ. 2508 จึงต้องไปช่วยพ่อแม่ท�ำมาหากิน เพราะที่บ้านมีเรือยนต์ชื่อ ไทย
หงษ์ทอง รับจ้างลากจูงเรือขนถ่านไม้ เรือน�้ำปลา และเรือเกลือ จากมหาชัย
มาส่งที่ท่าน�้ำราชวงศ์ และสพานพุทธยอดฟ้าฯ จังหวัดพระนคร เมื่อถึงเวลา
ทางการมีจดหมายเรียกตัวให้มาบรรจุเป็นครูชั้นจัตวา ได้เงินเดือน 600 บาท
(ซื้อทองให้แม่ 1 บาท เป็นเงิน 400 บาท เหลืออีก 200 บาท เก็บไว้ใช้จน
ครบเดือน) สอนอยู่ที่โรงเรียนวัดมะเกลือ ดาวคนอง อ�ำเภอบางขุนเทียน
จังหวัดธนบุรี สังกัดแผนกการศึกษา (หัวหน้าชวลิต) เทศบาลนครธนบุรี สอน
ชั้น ป.1 ถึง ป.7 สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และเป็นครูพิเศษสอนพลศึกษา
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
12
ฝึกเด็กเข้าแข่งขันกีฬาแชร์บอล ฟุตบอล และแข่งวิ่ง เด็กได้แชมป์แชร์บอล
ทั้งชายและหญิง ขณะนี้ได้เลื่อนเป็นครูชั้นตรี รู้สึกภูมิใจมาก
	 ในขณะเดียวกัน ต้องไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี ในภาคค�่ำ
(เรียกว่าภาคทไวท์ไลท์) ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เข้าเรียนเวลา
17.00 - 20.00 น. ช่วงนี้เหนื่อยมาก ๆ แต่ก็ไม่ท้อ เพื่ออนาคต เพราะต้อง
รีบไปเรียนให้ทัน ออกจากโรงเรียนบ่ายสามโมงครึ่ง ขึ้นรถเมล์ 2 ทอด ก่อน
เข้าเรียนกินข้าวราดแกง 1 จานราคาตอนนั้น จานละ 1 บาท กลับมานอนที่
บ้านพักครู เวลา 22.00 น. ท�ำเช่นนี้เป็นเวลา 2 ปีครึ่ง ก็จบ ได้วุฒิปริญญา
ตรี กศ.บ. ในปี พ.ศ. 2510 ได้เงินเดือน 900 บาท และเข้ารับพระราชทาน
ปริญญาบัตรกับ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จากนั้น
ก็ทุ่มเทการสอนและดูหนังสือไปด้วย เพื่อสอบเรียนต่อในระดับปริญญาโท
เขารับ 10 คน แต่สมัครสอบจ�ำนวน 360 คน อ่านต�ำราจนเกือบจ�ำได้ทุกหน้า
และเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาโทได้ แต่ต้องทดลองเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชาเฉพาะโสตทัศนศึกษาก่อน 1 ปี ผลการเรียน
ผ่านเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ จึงเรียนต่อในระดับปริญญาโทได้ (ได้ประกาศนียบัตร
ชั้นสูง วิชาเฉพาะโสตทัศนศึกษา ไว้อีก 1 ใบ) ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ขอลา
เข้าศึกษาต่อโดยรับเงินเดือนไปเรียน (เรียนตลอดวัน) จนเข้าสอบปริญญา
นิพนธ์มหาบัณฑิต ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 (เป็นวันมหาวิปโยคของ
ประเทศไทยพอดี)
	 หลังจากนั้น ได้ไปสมัครสอบเข้าเป็นอาจารย์ในภาควิชาโสต-
ทัศนศึกษา ฃองวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และสอบได้ จึงท�ำ
เรื่องโอนมารับราชการที่นี่ และพอดีกับมีการเปลี่ยนแปลงเป็นมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี รศ.ชม ภูมิภาค และนายบุญเกื้อ ควรหาเวช (ขณะ
นั้นเป็นนายกองค์การนักศึกษา) มีนักศึกษาจ�ำนวนมากมายสนับสนุนการเดิน
ขบวนไปที่สนามพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 เพื่อเรียกร้องขอยกฐานะเป็น
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 13
มหาวิทยาลัย จนส�ำเร็จ มีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี
คนแรก ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์โท อัตราเงินเดือน 1,350 บาท และสอน
ภาคค�่ำได้เงินเพิ่มอีก 800 บาท การไปอยู่ประสานมิตร ใช้การโอนไป อายุ
ราชการจึงนับต่อเนื่อง แต่ต้องใช้ทุนให้กรุงเทพมหานคร เดือนละ 250 บาท
และขอกราบขอบพระคุณ ท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ
นายช�ำนาญ ยุวบูรณ์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ที่ให้โอกาสครูชานเมืองเข้ามาเป็น
อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ใช้ทุนอยู่เป็นเวลา 7 ปีเศษ ก็หมดไป แต่ไม่เดือด
ร้อนทางการเงิน สอนนิสิตปริญญาโท โสตทัศนศึกษา จ�ำนวน 10 คน พร้อม
กับสอนนิสิตปริญญาตรี ในวิชาเอกอื่น ๆ ที่เรียนเป็นวิชาครูบังคับ เป็น
วิชาการท�ำอุปกรณ์การสอน สอนให้ท�ำการผนึกภาพทั้งผนึกเปียก (แผนที่)
ผนึกแห้ง (รูปภาพ) และสื่อการสอนอื่น ๆ อีกมากมาย วิชาที่สอนในระดับ
ปริญญาโท ได้แก่ วิชาการถ่ายภาพชั้นสูง การถ่ายท�ำสไลด์ ฟิล์มสตริพการ
ศึกษา และการถ่ายท�ำภาพยนตร์เพื่อการศึกษา มีนิสิตปริญญาโทอยู่รุ่นหนึ่ง
ที่ส่งภาพยนตร์เข้าประกวด ในขณะนั้นเป็นภาพยนตร์ 16 มม. โดยกรม
ประชาสัมพันธ์ เป็นเจ้าภาพและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล
ชื่อภาพยนตร์ว่า “ใครผิด” ถ่ายท�ำที่สลัมคลองเตยและได้รับรางวัลชนะเลิศ
ได้เงินมา 20,000 บาท เนื้อหาสั้น ๆ มีอยู่ว่า
	 มีเด็กชายคนหนึ่ง และเพื่อน ๆ ที่เรียนอยู่ในสลัมคลองเตย พ่อแม่
ยากจนไปโรงเรียนบ้างขาดเรียนบ้าง วันหนึ่งแม่ป่วยไม่มีเงินรักษา จึงคิดว่า
จะท�ำอย่างไรดี เขาตัดสินใจชวนเพื่อนไปขโมยสินค้าในโกดังท่าเรือเพื่อเอา
ไปขายน�ำเงินมารักษาแม่ เมื่อได้สินค้าออกมาแล้ว พอดียามเดินมาเห็นเข้า
ก็วิ่งไล่จับ พอดีมาจ๊ะเอ๋กันที่มุมโกดัง ยามก็เงื้อไม้กระบองขึ้นจะตี (เป็นภาพ
Slow motion) เด็กก็เอามือรับไว้พร้อมกับใบหน้าตกใจกลัวมาก แล้วก็ Stop
action ไว้ บนจอก็ขึ้นชื่อเรื่องว่า “ใครผิด” เรื่องก็จบเท่านี้ (ต้องการให้ผู้ชม
ตัดสินใจเองว่าใครผิด เด็กผิด ยามผิด พ่อแม่ผิด ครูผิด ผู้ดูผิด สังคมผิด หรือ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
14
รัฐบาลผิด) พวกเราช่วยกันเขียนบท ช่วยกันถ่ายท�ำและตัดต่อพร้อมบันทึก
เสียงแบบขาดแคลนเครื่องมือ มีกล้อง 3 เลนซ์ หมุนเปลี่ยนได้ และบันทึก
เสียงด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ที่ฉายไปและบันทึกเสียงตามไปสดๆ (เป็นแถบ
แม่เหล็ก) ถ้าผิดพลาดก็เริ่มต้นกันใหม่ ท�ำกันที่ตึก 3 ชั้น 3 (เป็นตึกที่อนุรักษ์
ไว้ในปัจจุบัน) เริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ 3 ทุ่ม ไปเสร็จเอา ตี 4 จากนั้นก็นอน
หลับกันที่พื้นห้องพักอาจารย์ ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ตื่นนอนตอน 8.00 น.
รีบแต่งตัวเพื่อเข้าสอนต่อ รางวัลที่ได้ ท�ำให้พวกเราหายเหนื่อย เงินที่ได้พวก
เราน�ำไปซื้ออุปกรณ์ถ่ายภาพให้ภาควิชาฯ และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฝากให้ไว้
กับหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2521 ภาควิชาเทคโนฯ ได้เปิดสอนระดับ
ปริญญาตรีวิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา และตนเองได้รับมอบให้สอน
วิชาทางโฟโต้ ได้แก่ การถ่ายภาพเบื้องต้น (ขาว - ด�ำ) การผลิตสไลด์และฟิล์ม
สตริพเพื่อการศึกษา การถ่ายท�ำภาพสี และการถ่ายท�ำภาพยนตร์เพื่อการ
ศึกษา ได้ค้นคว้าฝึกฝนทุ่มเทกับการสอนอย่างมาก เพื่อให้ลูกศิษย์เก่งทุกคน
ท�ำงานส่งมากมาย เมื่อสอนทางทฤษฎีเสร็จก็จะน�ำนิสิตออกฝึกภาคปฏิบัติ
3 - 4 วัน มหาวิทยาลัยก็สนับสนุนให้ใช้รถบัส โดยจ่ายค่าน�้ำมันและเบี้ยเลี้ยง
คนขับรถเอง ทั้งเหนื่อยและต้องรับผิดชอบดูแลรถไม่ให้เสียหาย ฝึกนิสิตรุ่น
แล้วรุ่นเล่า จนเด็กเชี่ยวชาญการถ่ายภาพ ผมขอขอบคุณท่านอาจารย์จูงใจ
แสงพันธ์ุ ที่เข้ามาช่วยร่วมดูแลเด็กเอกเทคโนฯและร่วมถ่ายภาพกับพวกเรา
เด็กเอกเทคโนฯ จะรักอาจารย์จูงใจ ทุกคนครับ ผมขอขอบคุณผู้บริหารและ
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนฯ ทุกท่านครับ โดยเฉพาะท่าน รศ.ชม ภูมิภาค
ที่ให้ก�ำลังใจในการท�ำงานมาโดยตลอด และขอขอบคุณ คุณสมเกียรติ จิระ
มงคลชัย และบริษัท โกดัก แห่งประเทศไทย จ�ำกัด ได้ช่วยให้นิสิตเอก
เทคโนโลยีทางการศึกษา ได้รับการฝึกล้างฟิล์มสี และอัดขยายภาพสี ด้วย
เครื่องที่ทันสมัย โดยการตั้งร้านชื่อ มศว โฟโต้ (ปัจจุบันก็ยังมีร้านนี้อยู่) นิสิต
หลายคน เมื่อจบการศึกษาไปแล้ว ได้ตั้งร้านโฟโต้ และร�่ำรวยกันไปหลายคน
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 15
	 การท�ำงานที่ มศว. ท�ำได้ 5 ปี ก็ได้เลื่อนเป็นอาจารย์ชั้นเอก รู้สึก
ภาคภูมิใจมาก ที่เด็กบ้านนอกคนหนึ่งในบางขุนเทียน ได้ยศสูงขนาดนี้ เพราะ
ว่าในละแวกบางขุนเทียนขณะนั้น มีชั้นเอกไม่เกิน 10 คน ในปีพ.ศ. 2521 ได้
เสนอผลงานวิชาการขอต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เป็นชั้นพิเศษ และได้
ตามความตั้งใจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้เข้า
มารับต�ำแหน่งอธิการบดี และมี รศ.ชม ภูมิภาค เป็นรองอธิการฝ่ายบริหาร
ได้รับการทาบทามให้มาเป็นประธานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และได้เข้า
มาช่วยงานเป็นเวลา 2 ปี ท�ำสไลด์ประชาสัมพันธ์แบบมัลติวิชั่น ทั้งภาคภาษา
ไทยและอังกฤษ เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนมหาวิทยาลัย เป็น
ที่รู้จักกันทั่วไป ในปี พ.ศ. 2531 รศ.ชม ภูมิภาค ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นคณบดี
คณะศึกษาศาสตร์ และได้เข้ามาช่วยงานเป็นรองคณบดีฯ จนครบวาระคณบดี
คณะศึกษาศาสตร์ จากนั้น ในปีพ.ศ. 2535 รศ.ดร.ศักดิ์ชัย นิรัญทวี เข้ามา
รับต�ำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้รับการทาบทามให้มาเป็นรอง
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
16
คณบดีฯ อีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ งานหนักและเหนื่อยมาก เพราะต้องดูแลฝ่าย
กิจกรรมพิเศษของนิสิตโครงการเพชรในตม ที่ร่วมมือกับ กอ.รมน. และ
กระทรวงศึกษาธิการ (จัดต�ำแหน่งบรรจุให้ทุกคน) นิสิตทุกคนต้องเรียนดีและ
อยู่ในเขตหมู่บ้าน อพป. ที่ยากแค้นทุรกันดาร มีหอพักให้อยู่ทุกคน นิสิตเหล่า
นี้จะต้องออกศึกษาดูงานและท�ำกิจกรรมพิเศษ ในช่วงปิดเทอม ตลอดไป 4
ปี อาจารย์ก็ต้องออกไปควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อเรียนจบ 4 ปี ก็จะได้
บรรจุเป็นครูในหมู่บ้านตนเอง ท�ำให้ครูในชนบทไม่ขาดแคลน และได้ครูสอน
เก่งทุกคน ซึ่งเป็นหน้าตาของคณะศึกษาศาสตร์มาจนทุกวันนี้ ที่ช่วยให้ชนบท
ไม่ขาดแคลนครู ในปัจจุบัน ก็ยังมีโครงการนี้อยู่
	 ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้เข้ามาเป็นคณบดี
คณะศึกษาศาสตร์ ก็ได้เข้ามาท�ำงานเป็นรองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ อีก
ครั้ง โดยดูแลโครงการเพชรในตมซึ่งได้วางระบบไว้ดีแล้วจึงท�ำงานได้ง่ายขึ้น
จนกระทั่งมาเกษียณราชการ ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งยังจ�ำได้ว่า ไปเกษียณราชการ
ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เพราะช่วงนั้น มีอาจารย์กลุ่มหนึ่ง
ต้องการไปศึกษาดูงานที่ประเทศออสเตรเลียจึงได้ติดต่อไปยังคณะศึกษา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยแคนเบอร์ร่า และมหาวิทยาลัย
ซิดนี่ เพื่อขอเข้าศึกษาดูงาน และได้รับค�ำเชิญเป็นอย่างดี เมื่อดูงานเสร็จแล้ว
จะต้องกลับมาในวันที่ 24 กันยายน 2545 แต่ตนเองได้ขอลาพักผ่อนไว้ล่วง
หน้าแล้ว อีก 6 วัน ก็ครบเกษียณราชการพอดี จึงได้ท่องเที่ยวพักผ่อนต่อไป
อีก 15 วัน ผมยังจ�ำได้ว่า พวกเราเลี้ยงส่งการเกษียณอายุราชการให้ในเรือ
ท่องเที่ยวที่อ่าวซิดนี่ ผมไม่ลืมวันนี้เลย และขอขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนด้วย
ใจจริง
	 หลังเกษียณอายุราชการแล้วได้ไปช่วยสอนปริญญาโทและปริญญา
เอก ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเวลา 4 ปี ไปช่วยสอนปริญญาโทและ
ปริญญาเอก ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 3 ปี และสอนปริญญาโทและ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 17
ปริญญาเอก ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา อีก 4 ปี นอกจากนี้ ยังช่วยสอนให้กับ
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จนถึงปี พ.ศ. 2560 ได้ผลิตนักศึกษาระดับ
ปริญญาเอก (สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสื่อสาร)จ�ำนวน 11 คน
และเรียกรุ่นนี้ว่า รุ่นเซเว่นอีเลฟเว่น เพราะมีอาจารย์สอน 7 คน และมีนิสิต
11 คน จากนั้นก็ยุติการสอน และกลับมารับใช้ทดแทนบุญคุณมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ โดยเป็นประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
และประธานมูลนิธิเพื่อศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แทนท่าน
รศ.ดร.ชม ภูมิภาค ซึ่งท่านเป็นปูชนียบุคคล ของ มศว. ที่ได้ถึงแก่กรรมไปเมื่อ
วันที่ 15 มีนาคม 2563 นอกจากนี้ ยังเข้าท�ำหน้าที่เป็นเลขาธิการสมาคม
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปี 2562) อีกด้วย
	 นี่คือถนนชีวิตของครูชานเมือง... สู่อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องใช้
ความอดทน ขยันหมั่นเพียร ประหยัด และซื่อสัตย์สุจริต ในการท�ำงานมา
ตลอดชีวิต..... ลาก่อนครับ และขออโหสิกรรมทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ ด้วย
ขอให้ท่านแข็งแรง และมีความสุขตลอดไป ทุกคน ครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
(เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2563 ในช่วงที่ไวรัสโควิด 19 ก�ำลังระบาด)
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
18
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
20
Somjai Leerawatana
	 เพิ่งสอบถามถึงท่านอาจารย์ไปเองนะ.... ขอให้ท่านไปเป็นเทวดา
กลับสู่สัมปรายภพสวรรค์ชั้นฟ้าทึ่สงบสุขเทอญ #อาจารย์เป็นครูมือ
อาชีพระดับแนวหน้าอย่างแท้จริง เป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม มีจิตเมตตาสูง
ทั้งชีวิตทุ่มเทเสียสละอุทิศตนเพื่อวงการการศึกษา เป็นอาจารย์ใน
ดวงใจของศิษย์ผู้นี้ตลอดมา รักและเคารพตลอดไป
Sujita Numsuwan
	 รักและเคารพในค�ำสั่งสอนของอาจารย์เสมอนะค่ะ เหน่ง และ
ข้าวโพดขอเป็นก�ำลังใจให้อาจารย์นะค่ะ
Paitoon Srifa
	 ส่งจิตถึงท่านอาจารย์ไพโรจน์เบาใจ ที่เคารพและรักยิ่งท่านอาจารย์
เปรียบเสมือนพี่ชายที่คอยให้ก�ำลังใจ คอยสอบถามข่าวคราว ห่วงหา
อาทรเสมอมา ท่านอาจารย์เป็นต้นแบบของนักเทคโนโลยีการศึกษา
เป็นผู้น�ำในการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็น
คุณครูอาจารย์อันเป็นที่รักแก่ศิษย์ เป็นผู้ก่อตั้งและริเริ่มในสิ่งที่เป็นคุณ
ประโยชน์ต่อแวดวงเทคโนโลยีการศึกษามาโดยตลอด ส�ำหรับตัวของ
กระผมแล้วท่านเป็นต้นแบบในเรื่องของการเขียนบทความทางวิชาการ
การจัดท�ำหนังสือ วารสาร งานวิจัย ฯลฯ และอื่นๆ อีกมากมาย ณ โอกาสนี้
ขอส่งกระแสจิตแห่งความรักและความเคารพมายังท่านอาจารย์ ครับ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 21
Ord Sprites
	 ส่งความห่วงใย ผ่าน เคารพ และ ศรัทธา ครับ..
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์
	 รักและห่วงใย ระลึกถึงท่านอาจารย์เสมอคะ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ อิงอาจ
	 รัก เคารพและนับถือครับ
Sorakrich Maneewan
	 กราบท่านอาจารย์ด้วยความเคารพ
ณัฏฐกรณ์ ปะพาน
	 เคารพรักท่านเสมอครับท่านเป็นผู้ทรงประโยชน์แก่ลูกศิษย์ทางด้าน
เทคโนโลยีการศึกษาจริงๆ
อภิภู สิทธิภูมิมงคล ดร.ไอซ์
	 เคยเรียนกับท่านตั้งแต่ปริญญาตรี เมื่อปี 2525 ท่านเป็นครูจริงๆ
ครับ ได้มีโอกาสเจอท่าน ถึงแม้ไม่บ่อย แต่ทุกครั้งที่เจอท่านยังห่วงใย
ลูกศิษย์เสมอ ท่านจ�ำเราได้เสมอ กราบคารวะอาจารย์ครับ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
22
Triwit Phijitplakas
	 เรียนถ่ายภาพและออกทริปกับอาจารย์ ท่านมีเลือดเทาแดงที่เข้มข้น
และปลูกฝังลูกศิษย์ให้รักใน มศว ท่านเป็นครูที่ช่วยเหลือและให้โอกาส
ผมในการเรียนท่านเป็นครูที่ผมรักและเคารพเสมอครับ
สุรพล บุญลือ
	 รักเคารพและคิดถึงท่านอาจารย์อยู่เสมอครับ ท่านเป็นผู้หนึ่ง ที่เป็น
บูรพาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ได้พบเจอท่านอาจารย์หลายๆ
ครั้ง ท่านเอ่ยปาก ฝากฝังนักเทคโนรุ่นใหม่ๆ ให้รักสามัคคีกัน ไม่ต้อง
คิดว่าใครมาจากสถาบันไหน เราต้องช่วยกัน ได้พบและได้คุยกับท่าน
เมื่อสงกรานต์ปีที่แล้ว านเป็นแม่งาน ตอนรดน�้ำท่าน รศ.ชม ภูมิภาค
ยังคุยกับท่านเลยว่าปีหน้าถ้าไม่มี Covid น่าจะมีงานรดน�้ำ แบบนี้อีก
ท่านบอกว่าก็ขึ้นอยู่กับพวกเราแล้ว ผมไม่ไหวแล้ว หลังจากนั้นไม่นาน
ท่านรศ.ชม ก็ได้จากไป ก็ไม่ได้พบท่านอีก
Pop Sittichoke Sanohnoi
	 ขอบคุณอาจารย์ที่เปิดทางให้เด็กคนนี้เปิดใจกับค�ำว่าวิจัย รักและ
เคารพครับ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 23
ผศ.ดร.ลักขณา สุกใส
	 รักและเคารพท่านอาจารย์ เจอท่านอาจารย์ตอนเรียนปริญญาเอก
กับ ท่านเป็นอาจารย์ที่คอยให้ก�ำลังเสมอ เวลาท้อไม่อยากเรียน ท่าน
บอกเสมอว่า ต้องท�ำให้ดีที่สุด ท�ำให้เต็มที่นะ อาจารย์จ�ำลูกศิษย์ได้
เสมอ สู้ๆๆนะคะ
เธียร ภู่ภิญโญยิ่ง
	 รักและเคารพอาจารย์ท่านเสมอ
	 อาจารย์จุดประกายให้หลายคนเรียนต่อปริญญาโท
	 อาจารย์เข้าใจศิษย์และให้ค�ำปรึกษาได้ดีมาก
	 อาจารย์ผู้ติดตามผลการเรียนของศิษย์สม�่ำเสมอ
	 อาจารย์ผู้เรียบง่าย สมรรถะเป็นแบบอย่างได้ดี
	 อาจารย์มีเสียงและน�ำเสนอมีลักษณะเฉพาะตัว
	 เคารพนับถือและศรัทธาในความเป็นครู..
	 อาจารย์ดร.ไพโรจน์เบาใจ ... อยู่เสมอ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
24
Renoo Muenpromsan
	 รัก เคารพ ท่านอาจารย์ค่ะ. เจอท่านล่าสุด พย 63 ค่ะ
Jiratip Sritha
	 ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ ได้มีโอกาสได้เรียนกับท่าน สาขา
เทคโนโลยีการศึกษา
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 25
Pop Sittichoke Sanohnoi
	 ขอบคุณอาจารย์ที่เปิดทางให้เด็กคนนี้เปิดใจกับค�ำว่าวิจัย รักและ
เคารพครับ
ครูเล็ก สวีวรรณ์
	 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของความใส่ใจในตัวลูกศิษย์ ไม่
ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดท่านยังคงรักและจดจ�ำลูกศิษย์ได้ดีเสมอ
แววตาที่เปี่ยมด้วยเมตตาและท่าทางที่แสดงออกถึงความห่วงใยของ
ท่านจะตราตรึงในหัวใจศิษย์ตลอดไป
Ranee Kuiram
	 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในทุกๆเรื่องที่ได้เรียนรู้จากการได้สัมผัส
ถึงความอ่อนโยนมีน�้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงการเอาใจใส่ความ
ห่วงใยที่มีต่อลูกศิษย์แววตาที่เปี่ยมด้วยความเมตตาและท่าทางที่
แสดงออกถึงความห่วงใยของท่านที่มีต่อลูกศิษย์จะตราตรึงในหัวใจ
ศิษย์ตลอดไป...รักอาจารย์เสมอไม่เคยลืม
Sirirat Petsangsri
	 อาจารย์ไพโรจน์ เบาใจ มีความเมตตาต่อลูกศิษย์ทุกท่านตอนเรียน
ปริญญาตรี ที่ มศว ถึงแม้ไม่ได้เรียนเอกเทคโน แต่ได้สัมผัส อาจารย์
ตอนไปค่าย ถ่ายภาพ จะได้เสมอ ถึงความใส่ใจดูแลนิสิต เป็นอย่างดี
ขอให้ท่านไปสู่สรวงสวรรค์ลูกศิษย์ รักท่านเสมอไม่เคยลืม เสียงอันเป็น
เอกลักษณ์ของท่าน
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
26
มยุรฉัตร จรัญญา
	 ค�ำไว้อาลัย ด้วยความระลึกถึง ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ท่านเสียชีวิต
เวลา 12.55 น. 23 พค 64
	 เราได้ไปกราบคารวะอาจารย์เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อาจารย์เล่าถึงงานที่ท�ำอยู่ในปัจจุบัน
ชีวิตส่วนตัว และสุขภาพว่าได้มาออกก�ำลังกายทุกวันที่นี่แหละ ความ
ห่วงใยและความเอื้ออาทรที่ท่านมีให้ลูกศิษย์คนนี้ในฐานะที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ แม้ท่านจะย้ายมหาวิทยาลัยไปก่อนที่เราจะส�ำเร็จการ
ศึกษา ท่านก็แสดงความห่วงใยเสมอมา วันนั้นท่านได้ update ความรู้
สมกับเป็นปราชญ์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาว่านี่เธอถ้าจะท�ำ
หลักสูตรอะไรนี่ต้องมีค�ำว่านวัตกรรมใส่เข้าไปด้วยนะก่อนจะกลับท่าน
กล่าวอวยพรและชื่นชมในความอุตสาหะเรียนจนส�ำเร็จ เราโชคดีแล้ว
ที่มีครูต้นแบบวิชาการที่ดี... ขอแสดงความเคารพอย่างสูงและขอแสดง
ความไว้อาลัยมา ณ ที่นี้ค่ะ
ดร. มยุรฉัตร จรัญญา 23 พ.ค. 64
ป.เอก สิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2548
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 27
Nattapon Paowana
	 รักและเคารพอาจารย์ท่านเสมอครับ
Maysa Jatuworahirun
	 รักและเคารพอาจารย์ไพโรจน์ ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ
Tuenjai Chinhad
	 ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะอาจารย์เป็นครูจริงๆ สอนลูกศิษย์ด้วยใจ
เป็นที่รักของเจ้าหน้าที่ในบัณฑิตทุกคนจ้า
ดร.รัชตาพร เสนามาตย์
	 เป็นลูกศิษย์ของท่าน ขณะนั้นท่านเป็นอาจารย์พิเศษท่านเินทางไป
สอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรานักศึกษา ป.เอก หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ท่านเอาใจใส่
ถ่ายทอดความรู้ให้เรามากมาย รักและเคารพอาจารย์ไพโรจน์ ระลึกถึง
อาจารย์เสมอค่ะ ตลอดไปค่ะ
ชัญญา ศิริศตายุ รัตนวงศ์
	 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีมีความรักและเอาใจใส่ลูกศิษย์และมีเสียง
ที่เป็นเอกลักษณ์ และสอนวิชาชีวิตในการอยู่ร่วมกัน การแบ่งปันกัน ให้
กับลูกๆ เพชรในตมทุกคน
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
28
Tom Senghaseng
	 RIP อาจารย์ถึงแก่กรรมเมื่อ 13.00 น. วันนี้ 23 พฤษภาคม 2564
Chalerm Cruze Kpp
	 ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
ไพบูลย์ เปานิล
	 ขอให้คุณพระรัตนตรัยคุ้มครองให้ อาจารย์หายเป็นปกติในเร็ววัน
..ครับ...
Chayachol Penicilin
	 ท่านคือพระผู้ให้ของศิษย์ทุกคนค่ะ ท่านเป็นครูผู้มีเมตตาสูงมาก
ท่านเข้าใจและสอนให้เราเข้าใจชีวิตและการให้ ทั้งให้คนอื่นและให้
ตัวเอง จะระลึกถึงพระคุณท่านตลอดไปค่ะ
Sukanya Tukta
	 อาจารย์ไพโรจน์ สอนวิชาถ่ายภาพตอนเรียนที่ มศว.หลายคอร์ส  
ท่านสอนลูกศิษย์ด้วยความเมตตา ตั้งใจให้ความรู้อย่างแท้จริง ท่าน
เป็นอาจารย์ที่น่ารักและใจดีมากๆ รักและเคารพอาจารย์เสมอ อาจารย์
ไพโรจน์จะอยู่ในใจเราตลอดไปค่ะ
	 ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวด้วยค่ะ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 29
Rittichai Onming
	 ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งครับ
David T. Brown
	 Our deepest condolences to you and Selene, K.Shirley
Poonsri. May he rest in peace.
Chawalert Lertchalolarn
	 เสียใจด้วย
	 ขออาจารย์สู่สุขคติ
Puwadol Poungdang
	 ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวอาจารย์ด้วยครับ ผมโชคดีได้เรียน
กับท่านวิชาถ่ายภาพได้แนวคิด เทคนิคอะไรดีๆจากท่านหลายอย่าง
เลยครับ
Anirut Satiman
	 รักและเคารพท่านอาจารย์เสมอ อาจารย์ผู้ที่มีแต่ความเมตตา
กับลูกศิษย์เสมอ มีความเป็นครู และรักศัทธาในวิชาชีพเทคโนมาโดย
ตลอด และเป็นแบบอย่างที่ดีส�ำหรับลูกศิษย์ในทุกวันนี้
	 ระลึกถึงท่านอาจารย์ครับ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
30
Kae Kattiya
	 RIP ผศ.ดร. ไพโรจน์ เบาใจ
	 อาจารย์ไพโรจน์เป็นอาจารย์ที่รักลูกศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกันมา
ตลอด เรียนถ่ายภาพกับอาจารย์สนุกมากๆ ปิดเทอมอาจารย์จะจัด
ทัศนศึกษา พาพวกเราไปถ่ายรูปตามที่ต่างๆ ใครไม่ได้ลงเรียน แค่ไป
ขออาจารย์ก็ให้ไป การไปแต่ล่ะครั้งจะได้ประสบการณ์ดี ประทับใจ และ
สนุกสนานทุกครั้ง
	 ทุกๆ เทอมที่เรียน อยู่มศวจะคอยติดตามว่าอาจารย์ไปไหนและจะ
ขอตามไปด้วยตลอด ทั้งทริปภูชี้ฟ้า, ทริป ฝนดาวตก ประทับใจมาถึง
ทุกวันนี้เลยค่ะ
	 รักและเคารพอาจารย์เสมอค่ะ
Mammy Suu
	 ขอให้อาจารย์ไปสู่ภพภูมิที่ดีและขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว
ด้วยนะคะ
	 รู้สึกโชคดีมากๆ ที่ได้เรียนโฟโต้กับอาจารย์ ทุก Class ทุก Trip
เต็มไปด้วยความสนุกสนาน สมบุกสมบัน ตื่นตาตื่นใจ เป็นการเปิดโลก
ทัศน์ (สุดๆ) สิ่งต่างๆ จะอยู่ในความทรงจ�ำของลูกศิษย์คนนี้ตลอดไป
นะคะ
สมชาย รักเรียน
	 อาจารย์ท่านใจดี มีเมตตากับลูกศิษย์ มาก ขอแสดงความเสียใจเป็น
อย่างยิ่งครับ จากนิสิต ป.โท เทคโนโลยีการศึกษาครับ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 31
Sunchai Pattanasith
	 ..เมื่อราวๆ 20 กว่าปี พวกเรา เป็นนิสิต ป. เอก มศว หลักสูตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษารุ่นที่ 4 มีซึ่งมีจ�ำนวน 9 คน พวกเราได้
รับความรู้และประสบการณ์จากคณาจารย์ของภาควิชาฯเป็นอย่างดี
ในระหว่างที่ได้ศึกษาเล่าเรียน ..โดยเฉพาะท่าน ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
ในขณะนั้น ได้สอนให้พวกเรา..มีสายเลือดความเป็นนักเทคโนโลยีการ
ศึกษาอย่างมืออาชีพ..สอนให้เกิดความมั่นใจ.เป็นนักวิชาการที่เข้ม
แข็ง..สามารถใช้ความรู้ และประสบการณ์ที่อาจารย์สอนให้เกิดแรง
บันดาลใจ และมั่นใจเดินทางแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ..โดยอาจารย์จะยกตัวอย่างกรณีศึกษาของอาจารย์ให้
พวกเราเห็นภาพได้อย่างชัดเจน..พวกเราทั้ง9 คน...ได้ส�ำเร็จการศึกษา
กันทุกคน..และสามารถน�ำความรู้ที่ได้มาพัฒนาชีวิต และสร้างสังคม
ให้มีความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน..พวกเราระลึกถึงพระคุณ
อาจารย์.มิรู้ลืม..ซึ่งในโอกาสนี้พวกเราขอส่งดวงวิญญาณท่าน รศ.ดร.
ไพโจน์ เบาใจ สู่สุขคติสัมปริยภพ..
	 ..ลูกศิษย์ทั้ง 9 คน..จะระลึกถึงพระคุณอาจารย์..
	 ท่าน รศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ อย่างมิรู้ลืม..
	 ...จาก รศ.น.ต.ดร.สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และเพื่อนร่วมรุ่น รวม 9 คน.
Yut Na
	 ขอแสดงความเสียใจด้วยอย่างยิ่ง
Nattawan Nok
	 ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
32
สุรพล บุญลือ
	 ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ด้วยครับ
Nualpan Kronkratoke
	 ขอแสดงความเสียใจกับอาจารย์และครอบครัวด้วยนะคะ
Nareerat Kook
	 ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ
Karn Ka
	 เสียใจด้วยค่ะ
Patchol PA
	 ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งค่ะ และขอให้ดวงวิญญาณของท่าน
อาจารย์ไพโรจน์ไปสู่สุคติภพด้วยเทอญ...จากศิษย์ค่ะ
Tua Jintana
	 อาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาถ่ายภาพ ให้ใด้ใช้เป็นวิชาชีพแรกใน
โลกของการท�ำงาน
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 33
วินิรณี ทัศนะเทพ
	 ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งด้วยค่ะอาจารย์
Orange Rattana
	 ขอให้ดวงวิญญาณของอาจารย์ไพโรจน์ เบาใจ ไปสู่สุคติภพด้วย
เทอญ...จากศิษย์เพชรในตม รุ่นที่ 8 อุทัยธานีค่ะ
Paisarn Kongpiromchuen
	 สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยขอแสดงความเสียใจ และอาลัย
ต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
	 คุณความดีและคุณูปการที่ท่านได้กระท�ำไว้ต่อวงการศึกษาเมื่อครั้ง
ยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงานและ
บุคลทั่วไป
	 ขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดีที่ท่าน
อาจารย์ได้กระท�ำไว้
	 ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่สุคติในสัมปราย-
ภพด้วย เทอญ
Wit San
	 คิดถึงอาจารย์ด้วยจิตคารวะ
	 ขอดวงวิญญาณอาจารย์ไปสู่สุคติภพด้วยเทอญ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
34
Sompong Jitpraneechai
	 พูดไม่ออกเลย
Rungrattana Maungkorn
	 ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ
Jirang Kumnuanta
	 My condolences to your family krub.
ดร.รัชตาพร เสนามาตย์
	 สาธุค่ะอาจารย์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 35
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
36
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 37
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
38
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 39
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
40
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 41
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
42
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 43
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
44
ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 45
บันทึกสุดท้าย ถึงคุณพ่อ
	 พ่อ เป็นผู้ชายคนเดียว ในครอบครัว ที่ลูกผูกพัน รัก และ
เติบโตมา อย่างอบอุ่น และ ใกล้ชิด
	 พ่อ เป็นคนที่สอนให้ลูก รู้จักการถ่ายภาพ ได้ออกท่องเที่ยว
ได้เปิดโลก ที่อยู่นอกเหนือจากบ้าน และ โรงเรียน
	 และ
	 พ่อ เป็นคนที่ท�ำให้ลูกอยากท�ำบุญตักบาตร ด้วยมองเห็น
ตัวอย่างที่ดี ซึ่งมีมาเสมอ ในช่วงที่เราอยู่ด้วยกัน
	…
	 กาลเวลาเปลี่ยน หลายสิ่งอาจไม่เหมือนเดิม
	 แต่ พ่อ คือ บุคคล ที่ลูกจะระลึกถึง จนวันสุดท้ายของลูก
	 หลับให้สบายนะครับ
ศิระ...
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
46
	 สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยขอแสดงความเสียใจและอาลัย
ต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
	 คุณความดีและคุณูปการที่ท่านได้กระท�ำไว้ต่อวงการศึกษา
เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงาน
และบุคคลทั่วไป
	 ขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดีที่
ท่านอาจารย์ได้กระท�ำไว้
	 ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่สุคติใน
สัมปรายภพด้วย เทอญ
	 รองศาสตราจารย์ ดร. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ
	 นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 47
	 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒขอแสดงความ
เสียใจและอาลัยยิ่งต่อการจากไปของศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ เบาใจ
ขอให้คุณความดีและความเสียสละที่ท่านได้อุทิศตนต่อมหาวิทยาลัย
สังคมและประเทศชาติมาโดยตลอดชีวิตของท่านเป็นที่ประจักษ์ต่อลูกศิษย์
เพื่อนร่วมงานวงการศึกษาของชาติและประชาชนทั่วไปเป็นบุคคลที่ทรง
คุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและด้านอื่นๆ ของประเทศ สมควรอย่างยิ่งที่จะ
บันทึกเพื่อ เชิดชูเกียรติประวัติและเป็นแบบอย่างที่ดีให้เป็นที่ประจักษ์ต่อ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวงการศึกษาและประชาชนสืบไป ขออ�ำนาจ
คุณพระรัตนไตรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ในสากลโลก ตลอดทั้งคุณงาม
ความดีที่ท่านได้กระท�ำไว้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่
สุคติในสัมปรายภพด้วยเทอญ.
	 ดร. สมบัติ คุรุพันธ์
	 นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
48
แด่...ท่านอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ
	 ครูที่แท้ มีความส�ำคัญยิ่งที่หาได้ไม่มากนักในสังคมปัจจุบัน ผม
เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ คนหนึ่ง
ที่ไม่ได้เรียนในสาขาวิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งผมอยู่ในสาขา
วิชาการประถมศึกษา แต่โชคดีที่ได้มาเรียนรู้ในรายวิชาเทคโนโลยีทาง
การศึกษาส�ำหรับครูประถมศึกษากับท่านอาจารย์ในระดับปริญญาโทเป็น
เวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา แม้เป็นเวลาที่ไม่มากนัก แต่ด้วยธรรมที่อาจารย์
มีอย่างเปลี่ยมล้น เมื่อพบกันแต่ละครั้งท่านอาจารย์มักจะถามความ
ก้าวหน้าในการเรียน ครอบครัว และการงานอยู่เสมอในทุกครั้งที่ได้พบกัน
ท่านอาจารย์เป็นคนสมาร์ท เป็นสุภาพบุรุษ มศว ซึ่งผมได้เรียนรู้ความ
เป็นครูจากค�ำสั่งสอน อบรม ชี้แนะจากท่าน ซึ่งท่านได้สั่งสอนว่าเราเป็น
ครูต้องสมาร์ท (Smart) ต้องโก้ ต้องผึ่งผาย ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ
ผู้พบเห็น ต้องเป็นคนสุภาพ และเสียสละ ซึ่งท่านอาจารย์ได้ท�ำให้เห็น
เป็นแบบอย่าง และแสดงออกถึงความเป็นครูที่แท้ให้เห็นตลอดเวลา
	 ศิษย์ขอระลึกถึงท่านอาจารย์ และรัก เคารพท่านอาจารย์ตลอด
ไปและจะท�ำประโยชน์กับส่วนรวมและวงการศึกษาตลอดไปตามค�ำสั่งสอน
ที่ท่านอาจารย์มอบให้
	 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย สุธาสิโนบล
	 หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน
	 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 49
	 ผมเป็นลูกศิษย์ของ ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ในหลักสูตรการศึกษา
บัณฑิตและการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา ท่านอบรม
สั่งสอนให้ผมเป็นนักเทคโนฯที่มีทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและความสามาถใน
การปฏิบัติ ท่านเป็นแบบอย่างของครูได้อย่างหมดจด ครองตนได้อย่าง
ไม่มีที่ติ ครองใจลูกศิษย์ได้อย่างบิดามารดาบังเกิดเกล้า ครองงานทาง
วิชาการได้อย่างสง่างามสมศักดิ์ศรีแห่งศรีนครินทร์
	 ด้วยความเคารพอย่างสูง
	 พลต�ำรวจตรี ทนัย อภิชาติเสนีย์
	 23 พ.ค.2564
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Planแผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Planinnoobecgoth
 
Digital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
Digital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยDigital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
Digital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยInfluencer TH
 
โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥everadaq
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงPa'rig Prig
 
บทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPU
บทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPUบทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPU
บทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPUwitoonSupprakit
 
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊สPreeyapat Lengrabam
 
โครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
โครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสโครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
โครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสPreeyaporn Wannamanee
 
Chapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizationsChapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizationsTeetut Tresirichod
 
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย การจัดการงานบุคคล
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย  การจัดการงานบุคคลเรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย  การจัดการงานบุคคล
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย การจัดการงานบุคคลsupatra39
 
การถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้นSuphol Sutthiyutthasenee
 
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...ธิติพล เทียมจันทร์
 
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภคการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภคUsableLabs
 
โครงงาน คอม
โครงงาน คอมโครงงาน คอม
โครงงาน คอมNuchy Geez
 
ThailandPost Presentation
ThailandPost PresentationThailandPost Presentation
ThailandPost Presentationsuperkaew
 
การขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.pptการขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.pptSuppanut Wannapong
 
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงวิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงstjohnbatch753
 
บทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการ
บทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการบทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการ
บทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการThamonwan Theerabunchorn
 

Mais procurados (20)

แผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Planแผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Plan
 
Digital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
Digital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยDigital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
Digital Resilience Workshop วิธีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคนิคการนำเสนอ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคนิคการนำเสนอความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคนิคการนำเสนอ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคนิคการนำเสนอ
 
โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
 
บทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPU
บทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPUบทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPU
บทที่ 05 พฤติกรรมผู้บริโภค รวมอธิบาย จาก วิฑูรย์ DBA 09 SPU
 
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
 
โครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
โครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสโครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
โครงงาน ความพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
 
Chapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizationsChapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizations
 
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย การจัดการงานบุคคล
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย  การจัดการงานบุคคลเรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย  การจัดการงานบุคคล
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกแหล่งจัดซื้อสินค้า การจัดจำหน่าย การจัดการงานบุคคล
 
Analysis | IKEA & MUJI
Analysis | IKEA & MUJI Analysis | IKEA & MUJI
Analysis | IKEA & MUJI
 
การถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้นการถ่ายภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพเบื้องต้น
 
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
 
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภคการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
 
โครงงาน คอม
โครงงาน คอมโครงงาน คอม
โครงงาน คอม
 
ThailandPost Presentation
ThailandPost PresentationThailandPost Presentation
ThailandPost Presentation
 
การขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.pptการขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.ppt
 
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงวิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
 
บทที่6 digital marketing
บทที่6 digital marketingบทที่6 digital marketing
บทที่6 digital marketing
 
บทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการ
บทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการบทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการ
บทที่ 2 การเป็นผู้ประกอบการ
 

Semelhante a Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai

วัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นวัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นapiromrut
 
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุขประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุขThanachart Numnonda
 
รายงาน Obec awards
รายงาน Obec awardsรายงาน Obec awards
รายงาน Obec awardsJiraporn
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานteacherhistory
 
สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]
สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]
สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]teacherhistory
 
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3PrapatsornPalmmy
 
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3Prapatsorn Chaihuay
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...Kobwit Piriyawat
 
เรขาคณิตด้วยก้านไม้
เรขาคณิตด้วยก้านไม้เรขาคณิตด้วยก้านไม้
เรขาคณิตด้วยก้านไม้Jiraprapa Suwannajak
 
การนำเสนอPower point
การนำเสนอPower pointการนำเสนอPower point
การนำเสนอPower pointyenny3484
 
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงหอย ลี่
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
โครงการ Up And Down
โครงการ Up And Downโครงการ Up And Down
โครงการ Up And DownWityaporn Pleeboot
 

Semelhante a Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai (20)

วัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นวัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่น
 
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุขประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
 
รายงาน Obec awards
รายงาน Obec awardsรายงาน Obec awards
รายงาน Obec awards
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
 
สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]
สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]
สอนโครงงาน1 [โหมดความเข้ากันได้]
 
Profile
ProfileProfile
Profile
 
Profile
ProfileProfile
Profile
 
Profile
ProfileProfile
Profile
 
Profile
ProfileProfile
Profile
 
Profile
ProfileProfile
Profile
 
Vdoclip
VdoclipVdoclip
Vdoclip
 
Vdoclip
VdoclipVdoclip
Vdoclip
 
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
 
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
แบบสำรวจงานของปาล์มมี่3
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 
เรขาคณิตด้วยก้านไม้
เรขาคณิตด้วยก้านไม้เรขาคณิตด้วยก้านไม้
เรขาคณิตด้วยก้านไม้
 
การนำเสนอPower point
การนำเสนอPower pointการนำเสนอPower point
การนำเสนอPower point
 
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
ถอดบทเรียน บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
โครงการ Up And Down
โครงการ Up And Downโครงการ Up And Down
โครงการ Up And Down
 

Mais de Dr Poonsri Vate-U-Lan

Role of ICT Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...
Role of  ICT  Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...Role of  ICT  Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...
Role of ICT Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...
นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...
นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...
Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...
Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...
Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...
Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
Pedagogical inno poonsri_23_april_2019_public
Pedagogical inno poonsri_23_april_2019_publicPedagogical inno poonsri_23_april_2019_public
Pedagogical inno poonsri_23_april_2019_publicDr Poonsri Vate-U-Lan
 
Unicef brochure by Thai students at TUP
Unicef brochure by Thai students at TUPUnicef brochure by Thai students at TUP
Unicef brochure by Thai students at TUPDr Poonsri Vate-U-Lan
 
eLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward Reeve
eLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward ReeveeLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward Reeve
eLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward ReeveDr Poonsri Vate-U-Lan
 
Writing a research article by Dr. Poonsri Vate-U-Lan
Writing a research article by Dr. Poonsri Vate-U-LanWriting a research article by Dr. Poonsri Vate-U-Lan
Writing a research article by Dr. Poonsri Vate-U-LanDr Poonsri Vate-U-Lan
 
Journal of Educational Technology 2560
Journal of Educational Technology 2560Journal of Educational Technology 2560
Journal of Educational Technology 2560Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
Internet of Things in Agriculture: a Case Study of Smart Dairy Farming in On...
Internet of Things in Agriculture: a Case Study of  Smart Dairy Farming in On...Internet of Things in Agriculture: a Case Study of  Smart Dairy Farming in On...
Internet of Things in Agriculture: a Case Study of Smart Dairy Farming in On...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...
Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...
Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...Dr Poonsri Vate-U-Lan
 
Phygital Learning Concept: From Big to Smart Data
Phygital Learning Concept: From Big to Smart DataPhygital Learning Concept: From Big to Smart Data
Phygital Learning Concept: From Big to Smart DataDr Poonsri Vate-U-Lan
 

Mais de Dr Poonsri Vate-U-Lan (20)

Yanan_Vate-U-Lan.pdf
Yanan_Vate-U-Lan.pdfYanan_Vate-U-Lan.pdf
Yanan_Vate-U-Lan.pdf
 
Liu_Vate-U-Lan.pdf
Liu_Vate-U-Lan.pdfLiu_Vate-U-Lan.pdf
Liu_Vate-U-Lan.pdf
 
Yang_Vate-U-Lan.pdf
Yang_Vate-U-Lan.pdfYang_Vate-U-Lan.pdf
Yang_Vate-U-Lan.pdf
 
Role of ICT Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...
Role of  ICT  Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...Role of  ICT  Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...
Role of ICT Improving Quality of Future Teachers: A Proposed ICT Competency...
 
นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...
นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...
นวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที...
 
Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...
Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...
Toward Understanding the Impact of Artificial Intelligence on Education: An E...
 
Poonsri pedagogy innovations_2019
Poonsri pedagogy innovations_2019Poonsri pedagogy innovations_2019
Poonsri pedagogy innovations_2019
 
Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...
Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...
Pedagogical Innovations: Lessons Learned from École 42 นวัตกรรมการสอน บทเรียน...
 
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระบ...
 
Pedagogical inno poonsri_23_april_2019_public
Pedagogical inno poonsri_23_april_2019_publicPedagogical inno poonsri_23_april_2019_public
Pedagogical inno poonsri_23_april_2019_public
 
Edtech journal 2018_2561
Edtech journal 2018_2561Edtech journal 2018_2561
Edtech journal 2018_2561
 
Unicef brochure by Thai students at TUP
Unicef brochure by Thai students at TUPUnicef brochure by Thai students at TUP
Unicef brochure by Thai students at TUP
 
Unicef brochure in Thai
Unicef brochure in ThaiUnicef brochure in Thai
Unicef brochure in Thai
 
eLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward Reeve
eLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward ReeveeLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward Reeve
eLearning in practice in Higher Education by Prof. Edward Reeve
 
Writing a research article by Dr. Poonsri Vate-U-Lan
Writing a research article by Dr. Poonsri Vate-U-LanWriting a research article by Dr. Poonsri Vate-U-Lan
Writing a research article by Dr. Poonsri Vate-U-Lan
 
Journal of Educational Technology 2560
Journal of Educational Technology 2560Journal of Educational Technology 2560
Journal of Educational Technology 2560
 
PhDeLM_TQF7_appendix_4-2
PhDeLM_TQF7_appendix_4-2PhDeLM_TQF7_appendix_4-2
PhDeLM_TQF7_appendix_4-2
 
Internet of Things in Agriculture: a Case Study of Smart Dairy Farming in On...
Internet of Things in Agriculture: a Case Study of  Smart Dairy Farming in On...Internet of Things in Agriculture: a Case Study of  Smart Dairy Farming in On...
Internet of Things in Agriculture: a Case Study of Smart Dairy Farming in On...
 
Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...
Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...
Poonsri Vate-U-Lan, Donna Quigley, Panicos Masouras: Internet of things in ag...
 
Phygital Learning Concept: From Big to Smart Data
Phygital Learning Concept: From Big to Smart DataPhygital Learning Concept: From Big to Smart Data
Phygital Learning Concept: From Big to Smart Data
 

Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai

  • 1.
  • 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประวัติ  ชาติก�ำเนิด ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ เกิดตรงกับวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2485 ณ บ้านเลขที่ 125 หมู่ 6 ต�ำบลแสมด�ำ อ�ำเภอ บางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายเรือง เบาใจ นางสงวน เบาใจ มี พี่น้อง รวม 7 คน ดังนี้ 1. นายโกวิท วงศ์เจริญกิจ (เสียชีวิต) 2. นายสนิท วงศ์เจริญกิจ (เสียชีวิต) 3. นางจ�ำรูญ คุ้ยน้อย (เสียชีวิต)
  • 4. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 2 4. น.ส.ทองย้อย เบาใจ (เสียชีวิต) 5. นายทองหล่อ เบาใจ 6. ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 7. ด.ช.สุธน เบาใจ (เสียชีวิต)  คุณวุฒิการศึกษา ป.กศ.ต้น, ป.กศ.สูง, ปม., กศ.บ.,ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ โสตทัศนศึกษา, กศ.ม. (โสตทัศนศึกษา) และ กศ.ด.(เทคโนโลยีการศึกษา)  ประวัติการศึกษา ปีการศึกษา 2497 ส�ำเร็จประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดก�ำแพง ต�ำบลแสมด�ำ อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็นจังหวัด สมุทรสาคร) ปีการศึกษา 2503 ส�ำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดสิงห์ ต�ำบลแสมด�ำ อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ปีการศึกษา 2505 ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการ ศึกษา (ปก.ศ.ต้น) จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จังหวัดธนบุรี ปีการศึกษา 2507 ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการ ศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จังหวัดธนบุรี ปีการศึกษา 2510 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษา ศาสตร์บัณฑิต (กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จังหวัด พระนคร ปีการศึกษา 2515 ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชาเฉพาะโสตทัศนศึกษา จากวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จังหวัดพระนคร
  • 5. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 3 ปีการศึกษา 2516 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท การศึกษา มหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา จาก วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2536 ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา จาก มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร  ประวัติการรับราชการ ปี พ.ศ. 2507 เข้ารับราชการ ต�ำแหน่ง ครูจัตวา อัตราเงินเดือน 600 บาท ประจ�ำอยู่ที่ โรงเรียนวัดมงคล วราราม (วัดมะเกลือ) อ�ำเภอ บางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (เทศบาลนครธนบุรี) จนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. 2510 ได้เลื่อนวิทยฐานะ ต�ำแหน่งครูตรี เงินเดือน 900 บาท ปี พ.ศ. 2516 เข้ารับราชการ ต�ำแหน่ง อาจารย์โท เงินเดือน 1,350 บาท ประจ�ำอยู่ที่ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2519 ต�ำแหน่ง อาจารย์เอก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2521 ได้เลื่อนต�ำแหน่งทางวิชาการเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจ�ำมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ.2545เกษียณอายุราชการณมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร รวมเวลาในการรับราชการ เป็นเวลา 39 ปี  ประสบการณ์การท�ำงาน - เป็นครูสอนระดับชั้น ป.1 ถึง ป.7 สอนวิชาพลศึกษา และ วิทยาศาสตร์ - เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
  • 6. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 4 - เป็นประธานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี พ.ศ. 2524 - เป็นรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ฝ่ายกิจการพิเศษ ปี พ.ศ. 2531 - เป็นรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ฝ่ายกิจการนิสิตและดูแล กิจกรรมพิเศษโครงการเพชรในตม ปี พ.ศ. 2535 - เป็นรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ดูแลกิจกรรมพิเศษให้กับนิสิต โครงการเพชรในตม ปี พ.ศ.2543 - 2545  ผลงานทางวิชาการ หนังสือ/ต�ำรา 1. การถ่ายท�ำภาพเบื้องต้น (ขาว-ด�ำ) 2. การถ่ายท�ำภาพสี 3. การถ่ายท�ำสไลด์และฟิล์มสตริพเพื่อการศึกษา 4. การถ่ายท�ำภาพยนตร์เพื่อการศึกษา 5. การเขียนบทเรียนส�ำเร็จรูป 6. หลักการและทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษา 7. หลักการท�ำชุดการสอน เป็นบรรณาธิการวารสาร 1. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา 2. วารสารนวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา 3. วารสารนวัตกรรมทางการศึกษา บทความ 1. การปฏิรูปการศึกษาไทย “นวัตกรรมของนักการศึกษาไทย” 2. ประเทศไทยจะแก้ปัญหาการคอรัปชั่นได้อย่างไร 3. ควรปฏิรูปการศึกษาในด้านใดบ้าง 4. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเว็บไซต์ด้วยสมาร์ทโฟน
  • 7. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 5 5. โรงเรียนแห่งอนาคต”Crescent Girl School” 6. U-Class คืออะไร (Ubiquitous Class) 7. การวัดผลด้วยอิเลคทรอนิคส์ 8. การออกแบบสารเพื่อการสอน(IMD) 9. Web Site 10. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 11. เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ครูได้หรือไม่ ? 12. ฯลฯ  ประวัติการท�ำงานอื่น ๆ 1. ปี พ.ศ. 2520 - 2524 ช่วยราชการที่ สสวท. เพื่อผลิตวีดิทัศน์ ส�ำหรับอบรมครูสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลักสูตรใหม่ 2. ปีพ.ศ.2525-2527เป็นวิทยากรอบรมครูสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างบทเรียนส�ำเร็จรูปใช้สอนแทนครูทุกวิชาหลัก เช่น เลขคณิต วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 32 เล่ม 3. ปี พ.ศ. 2527 - 2529 เป็นกรรมการตรวจผลงาน เลื่อนต�ำแหน่ง ข้าราชการสายการศึกษาและสังคมศาสตร์ ส�ำนักงานข้าราชการพลเรือน 4. ปี พ.ศ. 2538 ช่วยราชการในประเทศ ส.ป.ป.ลาว โดยเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาเขียนหนังสือชื่อ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีการศึกษา ส�ำหรับให้นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ได้เรียนเป็นวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต ภายใต้โครงการความช่วยเหลือของเอเซียฟาวเดชั่น 5. ปี2524 - 2536 เป็นกรรมการสมาคมศิษย์เก่า มศว. และในปี พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่า มศว. 6. ปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
  • 8. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 6 7. ปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิเพื่อศิษย์เก่ามหา- วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 8. ปี พ.ศ. 2561 เป็นกรรมการ สกสค.ของคุรุสภา กระทรวง ศึกษาธิการ ในการตรวจสื่อการสอนให้มีคุณภาพเพื่อส่งให้โรงเรียนชายแดน ถิ่นทุรกันดาร 9. ปี พ.ศ. 2532 - 2535 เป็นอนุกรรมาธิการกิจการรัฐสภา โดย ริเริ่มตั้งสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และผลิตสไลด์มัลติวิชั่น บรรยายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้ผู้ที่มาศึกษาดู งานได้ชม 10. ปี พ.ศ. 2542 - 2562 เป็นกรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์ กรมสมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  การศึกษาดูงานในต่างประเทศ ประเทศเดนมาร์ค สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า  งานสอนหลังเกษียณราชการ ปี พ.ศ. 2545 - 2549 เป็นอาจารย์ประจ�ำหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษา สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา สอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2550 - 2553 เป็นอาจารย์ประจ�ำหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษา สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา สอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปี พ.ศ. 2554 - 2558 เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยบูรพา
  • 9. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 7 ปี พ.ศ. 2545 - 2561 เป็นประธานหลักสูตรเทคโนโลยีทางการ ศึกษาและการสื่อสาร (ปริญญาเอก) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น เบญจมาภรณ์ช้างเผือก วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
  • 10. เด็กชายกะโปโล ที่โตมาในละแวกสวนส้ม สวนฝรั่ง และท้องทุ่งนา หลังวัดก�ำแพง อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นเด็กเลี้ยงควาย ซึ่งมีอยู่ สองตัว เป็นของปู่พลัด เลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงานไถนา เจ้าควายสองตัวนี้มัน แข็งแรง อดทน และซื่อสัตย์มาก สภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน เมื่อมองออก ไปมีต้นไม้เขียวไปหมด ในฤดูหนาวก็จะหนาวทุกปี ในวัยเด็ก เมื่อปี พ.ศ. 2493 ได้เข้าเรียนชั้นเตรียมที่โรงเรียนวัดก�ำแพง ตอนนั้นอายุ 8 ขวบ จะต้อง เข้าเรียนตามเกณฑ์บังคับของรัฐบาล เลื่อนชั้นจาก ป.เตรียม มา ป.1 ป.2 ป.3 และ ป.4 ตั้งใจเรียนบ้างไม่เรียนบ้าง ตามประสาเด็ก บ้านอยู่ห่างโรงเรียน สักประมาณ 40 เมตร มีครูเทียมจิต เป็นครูสอนชั้นเตรียมและ ป.1 ครูประณต สอนชั้น ป.2 ครูผาด สอนชั้น ป.3 และครูพรพรรณ สอนชั้น ป.4 ตอนนั้นมี ครูใหญ่ชื่อเนื่อง เสียงสืบชาติ เป็นคนเงียบแต่ใจดี โรงเรียนวัดก�ำแพง มีอาคาร เรียน 1 หลัง จ�ำนวน 3 ห้องเรียน และมีห้องครูใหญ่ ซึ่งเป็นห้องแคบ ๆ มี กระดิ่งแขวนหน้าห้องเพื่อตีเรียกเด็กเข้าแถวเคารพธงชาติและสวดมนต์ ส่วนชั้นเตรียม และ ป.1 ต้องอาศัยศาลาวัดเรียน วันพระต้องหยุดเรียน เพราะต้องใช้เป็นที่ท�ำบุญของชาวบ้าน เช้าเข้าเรียนจะเริ่ม 08.30 น. กลางวัน พักตอนเวลา 11.30 น. กลับมากินข้าวที่บ้านบางครั้งก็ห่อใบตองไปกินที่ โรงเรียน ได้คุยกันกับเพื่อนสนุกดี บ่ายโมงเข้าเรียนต่อและเลิกเรียนตอนบ่าย สามโมงเย็น หลังเลิกเรียนต้องช่วยกันกวาดและถูห้องให้สะอาด และลบ กระดานด�ำให้เรียบร้อย วันศุกร์จะเลิกเรียนตอนบ่ายสองโมงเย็น และเข้าแถว โลกนี้คือละคร ถนนชีวิตของครูชานเมือง... สู่อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • 11. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 9 ไปศาลาวัด เพื่อสวดมนตร์จนจบเล่ม จากนั้นฟังพระสอน มีนิทานสนุกมาก เด็กรักวันศุกร์กันทุกคน (นิทานสอดแทรกคุณธรรม) พอเลิกเรียนรีบกลับบ้าน มาเปลี่ยนเสื้อผ้าเอาไว้ใส่ไปเรียนต่อวันพรุ่งนี้ (1ชุด ใช้ 2 วัน) เปลี่ยนเสื้อผ้า ชุดอยู่บ้านแล้วรีบออกไปเล่นกับเพื่อนที่ลานวัดเช่น ตั่งเต ลูกหิน ซ่อนหา เป็นต้น พอใกล้มืดต้องรีบกลับมากวาด เช็ดถูบ้านให้สะอาด ส่วนพี่ชายและ พี่สาวจะหุงข้าวท�ำกับข้าว ตักน�้ำคลองใส่โอ่งและแกว่งสารส้มให้น�้ำใส เพื่อ ใช้อาบและหุงข้าว บ้านอยู่ริมคลองสนามชัยกว้างประมาณ 25 เมตร น�้ำใส สะอาดมีปลาชุกชุมจะแกงปลาก็ใช้สวิงช้อนเอาที่หน้าบ้าน ประมาณ 10 นาที ก็พอหม้อแกงแล้ว (ปัจจุบันน�้ำในคลองด�ำมาก) คลองนี้ใช้ติดต่อระหว่าง สมุทรสาครกับธนบุรี ในประวัติศาสตร์เป็นเส้นทางที่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็น นายท้ายเรือพระที่นั่ง พาพระเจ้าเสือ เดินทางไปสมุทรสาคร ในระหว่างนั้น โขนเรือได้ชนต้นลูกหงอนไก่ที่โอนเข้ามาในคลองจนโขนเรือหักเพราะสภาพ คลองคดเคี้ยวและน�้ำเชี่ยวมาก กิจวัตรในวัยเด็กก็เป็นเช่นนี้ทุกวัน บางวันที่วัดมีงานศพ กลางคืนก็ จะได้ดูลิเกบ้าง ดูหนังฉายบ้าง นาน ๆ จึงจะได้ดูโขน หรือหนังสด เพราะ คนรวยตาย บางครั้งก็มีหนังขายยาเต็กเฮงหยูมาฉายให้ดู แต่ต้องอดทน เพราะฉายจบหนึ่งม้วนก็จะหยุดขายยาทัมใจใช้แก้ปวดหัว ยากฤษณากลั่นแก้ ปวดท้อง จากนั้นจึงจะฉายหนังม้วนต่อไป (หนังมี 3 ม้วน) เริ่มฉายตอน 2 ทุ่มครึ่ง ไปเลิก 5 ทุ่ม มีเงินก็วิ่งไปซื้ออ้อยควั่นมาเคี้ยว (ฟันแข็งแรงดีมาจน ปัจจุบัน) อ้อยหนึ่งพวงราคา 25 สตางค์ นี่คือชีวิตวัยเด็กของ ด.ช.ไพโรจน์ เบาใจ เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อายุได้ 12 ปีแล้ว ก็เข้าเรียนต่อมัธยม ที่โรงเรียนวัดสิงห์ ในปี พ.ศ.2498 เป็นนักเรียนรุ่นที่ 2 โรงเรียนตั้งอยู่ริมทาง รถไฟสายคลองสาน - มหาชัย อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 400 เมตร เข้าเรียน ชั้น ม.1 ถึง ม.6 (ขณะนั้นมีถึง ม.8 แล้วก็เข้ามหาวิทยาลัย) เรียน ม.1 ครู
  • 12. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 10 ประจ�ำชั้นคือครูสุกิจ ภาคสุวรรณ ม.2 คือครูประพันธ์ ม.3 คือครูทองเจือ ม.4 คือครูอนันต์ ม.5 คือครูสุกิจ ม.6 คือครูชื้น ผ่องอักษร (สอนศีลธรรม) ครูใหญ่ชื่อครูหงิม เกบไว้ ท่านสอนภาษาอังกฤษสนุกมาก รู้ภาษาอังกฤษ 4 ค�ำแรก คือ Stand up, Sit down, Come here and Go back ครูให้เด็กพูด ทีละคนและแสดงท่าทางประกอบ ท�ำทีละคนจนครบ 25 คน ใครท�ำผิดก็จะ ถูกมะเหงกเขกหัว (ไม่เจ็บหรอกเพราะครูเขกเบา ๆ ด้วยความปราณี) ครูสั้น สอนวิชาหน้าที่พลเมือง ครูระเบียบ สอนวิชาการฝีมือ ครูอนันต์สอน พลศึกษา (กายบริหาร) ชั่วโมงพลศึกษาส่วนมากจะแบกดินที่ขุดมาจากบ่อ หลังโรงเรียนเพื่อน�ำมาถมหน้าเสาธงให้สูงขึ้น เพราะเดิมเป็นท้องนา เพื่อใช้ เข้าแถวตอนเช้าและเล่นฟุตบอล เมื่อดินหลังโรงเรียนหมดขุดลึกลงไป เมตรครึ่งฝนตกลงมาน�้ำเต็มบ่อก็เอาปลาหมอเทศมาเลี้ยงไว้ท�ำอาหาร กลางวัน เมื่อก่อนจะมีวิ่งแข่งระหว่างโรงเรียนต่าง ๆ ณ สนามศุภชลาศัย โรงเรียนของเราก็ส่งไปแข่งวิ่งหลายประเภททั้งชายและหญิง รวมเงินกัน คนละ 3 บาท แล้วมอบให้ครูไปเช่ารถเมล์มา 3 คัน พวกเราก็เก็บส้มเขียว หวานไปเชียร์กัน ทุกบ้านปลูกส้มกันอยู่แล้ว เก็บไปหลายเข่งเพราะเชียร์เสียง จะได้ไม่แห้ง ตะโกนกันสุดเสียงตอนจะเข้าเส้นชัย ได้ชนะเลิศมาหลายเหรียญ พวกเราวิ่งเก่ง เพราะที่บ้านวิ่งไล่ควายในทุ่งนา ท�ำให้กล้ามเนื้อขา แข็งแรง เด็กในเมืองสู้เราไม่ได้ (ขณะนั้นเรียน ม.3) กลับมาบ้านเย็นวันศุกร์ ประมาณ 18.00 น. อาบน�้ำนอนหลับตลอดคืน ตื่นเช้าขึ้นมาพูดไม่มีเสียง หยุดเรียนไป 3 วัน จึงมีเสียง ตั้งแต่นั้นเสียงก็เปลี่ยนไปเป็นเสียงเล็กตั้งแต่นั้น มา ตนเองก็ไม่รู้สึกอะไรเพราะเป็นเด็ก เมื่อขึ้น ม.4 จนถึง ม.6 ต้องช่วยพ่อ แม่ค้าขาย ท�ำสวน ท�ำนา เพราะสงสารพ่อแม่ที่ท่านเหนื่อย เป็นวัยรุ่น ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เมื่อจบชั้น ม.6 ก็ไปสอบเรียนต่อที่โรงเรียนนายสิบ ทหารบก แต่สอบไม่ได้เพราะเขาบอกว่าตัวเล็กไป (สูง 155 ซม.) จึงไปสอบ
  • 13. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 11 เป็นครูที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอบข้อเขียนผ่านก็ต้องสอบ สัมภาษณ์ อาจารย์เขาบอกว่าตัวเตี้ยไปและเสียงเล็กด้วย คงเป็นครูไม่ได้ ก็ ตอบอาจารย์ไปว่าผมรักอาชีพครูมาก บ้านผมขาดครูสอนเด็ก ผมจะตั้งใจ เรียน คณะอาจารย์ที่สัมภาษณ์ มี 3 คน ก็คุยกันและบอกว่าจะรับให้เข้าเรียน เด็กบ้านนอกคนนี้ดีใจมาก กลับถึงบ้านบอกพ่อแม่พี่น้องว่า ผมสอบเข้าได้ แล้ว กอดพ่อแม่แน่น (น�้ำตาซึม) รุ่งขึ้นรีบไปซื้อเครื่องแบบ นุ่งกางเกงขายาว เป็นครั้งแรกในชีวิต อาชีพครูเริ่มเข้ามาในชีวิตทันที เป็นนักเรียนฝึกหัดครู มีเพื่อนจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัด ธนบุรี มีเพื่อนสอบได้หลายคน และสอบติด 3 คน จากโรงเรียนวัดสิงห์ การ เรียนใช้ระบบเกรด A B C D E ไม่ใช่เปอร์เซ็นต์ เรียนอยู่ห้อง 1ช/3 เรียนอยู่ 2 ปี ได้วุฒิ ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นต้น (ป.กศ.ต้น) ผลการเรียนระดับ 2.97 จึงได้รับคัดเลือกให้เรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง เทียบเท่าอนุปริญญา) วิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิชาโทคณิตศาสตร์ ชอบวิชาวิทยาศาสตร์มาก โดยเฉพาะชีววิทยา สอนโดยอาจารย์ไพรัตน์ อนุฤทธิ์ ในหมวดชีววิทยา มีหลายวิชาสอบได้ A หมด ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ ได้ A บ้าง B บ้าง เมื่อเรียนจบแล้ว จึงไปสมัครสอบเป็นครู ที่เทศบาลนคร ธนบุรี ในปี พ.ศ. 2508 และสอบบรรจุได้ แต่ให้มาบรรจุในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2508 จึงต้องไปช่วยพ่อแม่ท�ำมาหากิน เพราะที่บ้านมีเรือยนต์ชื่อ ไทย หงษ์ทอง รับจ้างลากจูงเรือขนถ่านไม้ เรือน�้ำปลา และเรือเกลือ จากมหาชัย มาส่งที่ท่าน�้ำราชวงศ์ และสพานพุทธยอดฟ้าฯ จังหวัดพระนคร เมื่อถึงเวลา ทางการมีจดหมายเรียกตัวให้มาบรรจุเป็นครูชั้นจัตวา ได้เงินเดือน 600 บาท (ซื้อทองให้แม่ 1 บาท เป็นเงิน 400 บาท เหลืออีก 200 บาท เก็บไว้ใช้จน ครบเดือน) สอนอยู่ที่โรงเรียนวัดมะเกลือ ดาวคนอง อ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี สังกัดแผนกการศึกษา (หัวหน้าชวลิต) เทศบาลนครธนบุรี สอน ชั้น ป.1 ถึง ป.7 สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และเป็นครูพิเศษสอนพลศึกษา
  • 14. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 12 ฝึกเด็กเข้าแข่งขันกีฬาแชร์บอล ฟุตบอล และแข่งวิ่ง เด็กได้แชมป์แชร์บอล ทั้งชายและหญิง ขณะนี้ได้เลื่อนเป็นครูชั้นตรี รู้สึกภูมิใจมาก ในขณะเดียวกัน ต้องไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี ในภาคค�่ำ (เรียกว่าภาคทไวท์ไลท์) ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เข้าเรียนเวลา 17.00 - 20.00 น. ช่วงนี้เหนื่อยมาก ๆ แต่ก็ไม่ท้อ เพื่ออนาคต เพราะต้อง รีบไปเรียนให้ทัน ออกจากโรงเรียนบ่ายสามโมงครึ่ง ขึ้นรถเมล์ 2 ทอด ก่อน เข้าเรียนกินข้าวราดแกง 1 จานราคาตอนนั้น จานละ 1 บาท กลับมานอนที่ บ้านพักครู เวลา 22.00 น. ท�ำเช่นนี้เป็นเวลา 2 ปีครึ่ง ก็จบ ได้วุฒิปริญญา ตรี กศ.บ. ในปี พ.ศ. 2510 ได้เงินเดือน 900 บาท และเข้ารับพระราชทาน ปริญญาบัตรกับ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จากนั้น ก็ทุ่มเทการสอนและดูหนังสือไปด้วย เพื่อสอบเรียนต่อในระดับปริญญาโท เขารับ 10 คน แต่สมัครสอบจ�ำนวน 360 คน อ่านต�ำราจนเกือบจ�ำได้ทุกหน้า และเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาโทได้ แต่ต้องทดลองเรียนระดับ ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชาเฉพาะโสตทัศนศึกษาก่อน 1 ปี ผลการเรียน ผ่านเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ จึงเรียนต่อในระดับปริญญาโทได้ (ได้ประกาศนียบัตร ชั้นสูง วิชาเฉพาะโสตทัศนศึกษา ไว้อีก 1 ใบ) ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ขอลา เข้าศึกษาต่อโดยรับเงินเดือนไปเรียน (เรียนตลอดวัน) จนเข้าสอบปริญญา นิพนธ์มหาบัณฑิต ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 (เป็นวันมหาวิปโยคของ ประเทศไทยพอดี) หลังจากนั้น ได้ไปสมัครสอบเข้าเป็นอาจารย์ในภาควิชาโสต- ทัศนศึกษา ฃองวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และสอบได้ จึงท�ำ เรื่องโอนมารับราชการที่นี่ และพอดีกับมีการเปลี่ยนแปลงเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี รศ.ชม ภูมิภาค และนายบุญเกื้อ ควรหาเวช (ขณะ นั้นเป็นนายกองค์การนักศึกษา) มีนักศึกษาจ�ำนวนมากมายสนับสนุนการเดิน ขบวนไปที่สนามพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 เพื่อเรียกร้องขอยกฐานะเป็น
  • 15. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 13 มหาวิทยาลัย จนส�ำเร็จ มีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี คนแรก ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์โท อัตราเงินเดือน 1,350 บาท และสอน ภาคค�่ำได้เงินเพิ่มอีก 800 บาท การไปอยู่ประสานมิตร ใช้การโอนไป อายุ ราชการจึงนับต่อเนื่อง แต่ต้องใช้ทุนให้กรุงเทพมหานคร เดือนละ 250 บาท และขอกราบขอบพระคุณ ท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ นายช�ำนาญ ยุวบูรณ์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ที่ให้โอกาสครูชานเมืองเข้ามาเป็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ใช้ทุนอยู่เป็นเวลา 7 ปีเศษ ก็หมดไป แต่ไม่เดือด ร้อนทางการเงิน สอนนิสิตปริญญาโท โสตทัศนศึกษา จ�ำนวน 10 คน พร้อม กับสอนนิสิตปริญญาตรี ในวิชาเอกอื่น ๆ ที่เรียนเป็นวิชาครูบังคับ เป็น วิชาการท�ำอุปกรณ์การสอน สอนให้ท�ำการผนึกภาพทั้งผนึกเปียก (แผนที่) ผนึกแห้ง (รูปภาพ) และสื่อการสอนอื่น ๆ อีกมากมาย วิชาที่สอนในระดับ ปริญญาโท ได้แก่ วิชาการถ่ายภาพชั้นสูง การถ่ายท�ำสไลด์ ฟิล์มสตริพการ ศึกษา และการถ่ายท�ำภาพยนตร์เพื่อการศึกษา มีนิสิตปริญญาโทอยู่รุ่นหนึ่ง ที่ส่งภาพยนตร์เข้าประกวด ในขณะนั้นเป็นภาพยนตร์ 16 มม. โดยกรม ประชาสัมพันธ์ เป็นเจ้าภาพและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล ชื่อภาพยนตร์ว่า “ใครผิด” ถ่ายท�ำที่สลัมคลองเตยและได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้เงินมา 20,000 บาท เนื้อหาสั้น ๆ มีอยู่ว่า มีเด็กชายคนหนึ่ง และเพื่อน ๆ ที่เรียนอยู่ในสลัมคลองเตย พ่อแม่ ยากจนไปโรงเรียนบ้างขาดเรียนบ้าง วันหนึ่งแม่ป่วยไม่มีเงินรักษา จึงคิดว่า จะท�ำอย่างไรดี เขาตัดสินใจชวนเพื่อนไปขโมยสินค้าในโกดังท่าเรือเพื่อเอา ไปขายน�ำเงินมารักษาแม่ เมื่อได้สินค้าออกมาแล้ว พอดียามเดินมาเห็นเข้า ก็วิ่งไล่จับ พอดีมาจ๊ะเอ๋กันที่มุมโกดัง ยามก็เงื้อไม้กระบองขึ้นจะตี (เป็นภาพ Slow motion) เด็กก็เอามือรับไว้พร้อมกับใบหน้าตกใจกลัวมาก แล้วก็ Stop action ไว้ บนจอก็ขึ้นชื่อเรื่องว่า “ใครผิด” เรื่องก็จบเท่านี้ (ต้องการให้ผู้ชม ตัดสินใจเองว่าใครผิด เด็กผิด ยามผิด พ่อแม่ผิด ครูผิด ผู้ดูผิด สังคมผิด หรือ
  • 16. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 14 รัฐบาลผิด) พวกเราช่วยกันเขียนบท ช่วยกันถ่ายท�ำและตัดต่อพร้อมบันทึก เสียงแบบขาดแคลนเครื่องมือ มีกล้อง 3 เลนซ์ หมุนเปลี่ยนได้ และบันทึก เสียงด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ที่ฉายไปและบันทึกเสียงตามไปสดๆ (เป็นแถบ แม่เหล็ก) ถ้าผิดพลาดก็เริ่มต้นกันใหม่ ท�ำกันที่ตึก 3 ชั้น 3 (เป็นตึกที่อนุรักษ์ ไว้ในปัจจุบัน) เริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ 3 ทุ่ม ไปเสร็จเอา ตี 4 จากนั้นก็นอน หลับกันที่พื้นห้องพักอาจารย์ ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ตื่นนอนตอน 8.00 น. รีบแต่งตัวเพื่อเข้าสอนต่อ รางวัลที่ได้ ท�ำให้พวกเราหายเหนื่อย เงินที่ได้พวก เราน�ำไปซื้ออุปกรณ์ถ่ายภาพให้ภาควิชาฯ และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฝากให้ไว้ กับหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2521 ภาควิชาเทคโนฯ ได้เปิดสอนระดับ ปริญญาตรีวิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา และตนเองได้รับมอบให้สอน วิชาทางโฟโต้ ได้แก่ การถ่ายภาพเบื้องต้น (ขาว - ด�ำ) การผลิตสไลด์และฟิล์ม สตริพเพื่อการศึกษา การถ่ายท�ำภาพสี และการถ่ายท�ำภาพยนตร์เพื่อการ ศึกษา ได้ค้นคว้าฝึกฝนทุ่มเทกับการสอนอย่างมาก เพื่อให้ลูกศิษย์เก่งทุกคน ท�ำงานส่งมากมาย เมื่อสอนทางทฤษฎีเสร็จก็จะน�ำนิสิตออกฝึกภาคปฏิบัติ 3 - 4 วัน มหาวิทยาลัยก็สนับสนุนให้ใช้รถบัส โดยจ่ายค่าน�้ำมันและเบี้ยเลี้ยง คนขับรถเอง ทั้งเหนื่อยและต้องรับผิดชอบดูแลรถไม่ให้เสียหาย ฝึกนิสิตรุ่น แล้วรุ่นเล่า จนเด็กเชี่ยวชาญการถ่ายภาพ ผมขอขอบคุณท่านอาจารย์จูงใจ แสงพันธ์ุ ที่เข้ามาช่วยร่วมดูแลเด็กเอกเทคโนฯและร่วมถ่ายภาพกับพวกเรา เด็กเอกเทคโนฯ จะรักอาจารย์จูงใจ ทุกคนครับ ผมขอขอบคุณผู้บริหารและ คณาจารย์ภาควิชาเทคโนฯ ทุกท่านครับ โดยเฉพาะท่าน รศ.ชม ภูมิภาค ที่ให้ก�ำลังใจในการท�ำงานมาโดยตลอด และขอขอบคุณ คุณสมเกียรติ จิระ มงคลชัย และบริษัท โกดัก แห่งประเทศไทย จ�ำกัด ได้ช่วยให้นิสิตเอก เทคโนโลยีทางการศึกษา ได้รับการฝึกล้างฟิล์มสี และอัดขยายภาพสี ด้วย เครื่องที่ทันสมัย โดยการตั้งร้านชื่อ มศว โฟโต้ (ปัจจุบันก็ยังมีร้านนี้อยู่) นิสิต หลายคน เมื่อจบการศึกษาไปแล้ว ได้ตั้งร้านโฟโต้ และร�่ำรวยกันไปหลายคน
  • 17. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 15 การท�ำงานที่ มศว. ท�ำได้ 5 ปี ก็ได้เลื่อนเป็นอาจารย์ชั้นเอก รู้สึก ภาคภูมิใจมาก ที่เด็กบ้านนอกคนหนึ่งในบางขุนเทียน ได้ยศสูงขนาดนี้ เพราะ ว่าในละแวกบางขุนเทียนขณะนั้น มีชั้นเอกไม่เกิน 10 คน ในปีพ.ศ. 2521 ได้ เสนอผลงานวิชาการขอต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เป็นชั้นพิเศษ และได้ ตามความตั้งใจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้เข้า มารับต�ำแหน่งอธิการบดี และมี รศ.ชม ภูมิภาค เป็นรองอธิการฝ่ายบริหาร ได้รับการทาบทามให้มาเป็นประธานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และได้เข้า มาช่วยงานเป็นเวลา 2 ปี ท�ำสไลด์ประชาสัมพันธ์แบบมัลติวิชั่น ทั้งภาคภาษา ไทยและอังกฤษ เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนมหาวิทยาลัย เป็น ที่รู้จักกันทั่วไป ในปี พ.ศ. 2531 รศ.ชม ภูมิภาค ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ และได้เข้ามาช่วยงานเป็นรองคณบดีฯ จนครบวาระคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ จากนั้น ในปีพ.ศ. 2535 รศ.ดร.ศักดิ์ชัย นิรัญทวี เข้ามา รับต�ำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้รับการทาบทามให้มาเป็นรอง
  • 18. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 16 คณบดีฯ อีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ งานหนักและเหนื่อยมาก เพราะต้องดูแลฝ่าย กิจกรรมพิเศษของนิสิตโครงการเพชรในตม ที่ร่วมมือกับ กอ.รมน. และ กระทรวงศึกษาธิการ (จัดต�ำแหน่งบรรจุให้ทุกคน) นิสิตทุกคนต้องเรียนดีและ อยู่ในเขตหมู่บ้าน อพป. ที่ยากแค้นทุรกันดาร มีหอพักให้อยู่ทุกคน นิสิตเหล่า นี้จะต้องออกศึกษาดูงานและท�ำกิจกรรมพิเศษ ในช่วงปิดเทอม ตลอดไป 4 ปี อาจารย์ก็ต้องออกไปควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อเรียนจบ 4 ปี ก็จะได้ บรรจุเป็นครูในหมู่บ้านตนเอง ท�ำให้ครูในชนบทไม่ขาดแคลน และได้ครูสอน เก่งทุกคน ซึ่งเป็นหน้าตาของคณะศึกษาศาสตร์มาจนทุกวันนี้ ที่ช่วยให้ชนบท ไม่ขาดแคลนครู ในปัจจุบัน ก็ยังมีโครงการนี้อยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้เข้ามาเป็นคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ก็ได้เข้ามาท�ำงานเป็นรองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ อีก ครั้ง โดยดูแลโครงการเพชรในตมซึ่งได้วางระบบไว้ดีแล้วจึงท�ำงานได้ง่ายขึ้น จนกระทั่งมาเกษียณราชการ ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งยังจ�ำได้ว่า ไปเกษียณราชการ ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เพราะช่วงนั้น มีอาจารย์กลุ่มหนึ่ง ต้องการไปศึกษาดูงานที่ประเทศออสเตรเลียจึงได้ติดต่อไปยังคณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยแคนเบอร์ร่า และมหาวิทยาลัย ซิดนี่ เพื่อขอเข้าศึกษาดูงาน และได้รับค�ำเชิญเป็นอย่างดี เมื่อดูงานเสร็จแล้ว จะต้องกลับมาในวันที่ 24 กันยายน 2545 แต่ตนเองได้ขอลาพักผ่อนไว้ล่วง หน้าแล้ว อีก 6 วัน ก็ครบเกษียณราชการพอดี จึงได้ท่องเที่ยวพักผ่อนต่อไป อีก 15 วัน ผมยังจ�ำได้ว่า พวกเราเลี้ยงส่งการเกษียณอายุราชการให้ในเรือ ท่องเที่ยวที่อ่าวซิดนี่ ผมไม่ลืมวันนี้เลย และขอขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนด้วย ใจจริง หลังเกษียณอายุราชการแล้วได้ไปช่วยสอนปริญญาโทและปริญญา เอก ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเวลา 4 ปี ไปช่วยสอนปริญญาโทและ ปริญญาเอก ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 3 ปี และสอนปริญญาโทและ
  • 19. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 17 ปริญญาเอก ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา อีก 4 ปี นอกจากนี้ ยังช่วยสอนให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จนถึงปี พ.ศ. 2560 ได้ผลิตนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก (สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสื่อสาร)จ�ำนวน 11 คน และเรียกรุ่นนี้ว่า รุ่นเซเว่นอีเลฟเว่น เพราะมีอาจารย์สอน 7 คน และมีนิสิต 11 คน จากนั้นก็ยุติการสอน และกลับมารับใช้ทดแทนบุญคุณมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ โดยเป็นประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และประธานมูลนิธิเพื่อศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แทนท่าน รศ.ดร.ชม ภูมิภาค ซึ่งท่านเป็นปูชนียบุคคล ของ มศว. ที่ได้ถึงแก่กรรมไปเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563 นอกจากนี้ ยังเข้าท�ำหน้าที่เป็นเลขาธิการสมาคม ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปี 2562) อีกด้วย นี่คือถนนชีวิตของครูชานเมือง... สู่อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องใช้ ความอดทน ขยันหมั่นเพียร ประหยัด และซื่อสัตย์สุจริต ในการท�ำงานมา ตลอดชีวิต..... ลาก่อนครับ และขออโหสิกรรมทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ ด้วย ขอให้ท่านแข็งแรง และมีความสุขตลอดไป ทุกคน ครับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ (เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2563 ในช่วงที่ไวรัสโควิด 19 ก�ำลังระบาด)
  • 21.
  • 22. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 20 Somjai Leerawatana เพิ่งสอบถามถึงท่านอาจารย์ไปเองนะ.... ขอให้ท่านไปเป็นเทวดา กลับสู่สัมปรายภพสวรรค์ชั้นฟ้าทึ่สงบสุขเทอญ #อาจารย์เป็นครูมือ อาชีพระดับแนวหน้าอย่างแท้จริง เป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม มีจิตเมตตาสูง ทั้งชีวิตทุ่มเทเสียสละอุทิศตนเพื่อวงการการศึกษา เป็นอาจารย์ใน ดวงใจของศิษย์ผู้นี้ตลอดมา รักและเคารพตลอดไป Sujita Numsuwan รักและเคารพในค�ำสั่งสอนของอาจารย์เสมอนะค่ะ เหน่ง และ ข้าวโพดขอเป็นก�ำลังใจให้อาจารย์นะค่ะ Paitoon Srifa ส่งจิตถึงท่านอาจารย์ไพโรจน์เบาใจ ที่เคารพและรักยิ่งท่านอาจารย์ เปรียบเสมือนพี่ชายที่คอยให้ก�ำลังใจ คอยสอบถามข่าวคราว ห่วงหา อาทรเสมอมา ท่านอาจารย์เป็นต้นแบบของนักเทคโนโลยีการศึกษา เป็นผู้น�ำในการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็น คุณครูอาจารย์อันเป็นที่รักแก่ศิษย์ เป็นผู้ก่อตั้งและริเริ่มในสิ่งที่เป็นคุณ ประโยชน์ต่อแวดวงเทคโนโลยีการศึกษามาโดยตลอด ส�ำหรับตัวของ กระผมแล้วท่านเป็นต้นแบบในเรื่องของการเขียนบทความทางวิชาการ การจัดท�ำหนังสือ วารสาร งานวิจัย ฯลฯ และอื่นๆ อีกมากมาย ณ โอกาสนี้ ขอส่งกระแสจิตแห่งความรักและความเคารพมายังท่านอาจารย์ ครับ
  • 23. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 21 Ord Sprites ส่งความห่วงใย ผ่าน เคารพ และ ศรัทธา ครับ.. ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ รักและห่วงใย ระลึกถึงท่านอาจารย์เสมอคะ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ อิงอาจ รัก เคารพและนับถือครับ Sorakrich Maneewan กราบท่านอาจารย์ด้วยความเคารพ ณัฏฐกรณ์ ปะพาน เคารพรักท่านเสมอครับท่านเป็นผู้ทรงประโยชน์แก่ลูกศิษย์ทางด้าน เทคโนโลยีการศึกษาจริงๆ อภิภู สิทธิภูมิมงคล ดร.ไอซ์ เคยเรียนกับท่านตั้งแต่ปริญญาตรี เมื่อปี 2525 ท่านเป็นครูจริงๆ ครับ ได้มีโอกาสเจอท่าน ถึงแม้ไม่บ่อย แต่ทุกครั้งที่เจอท่านยังห่วงใย ลูกศิษย์เสมอ ท่านจ�ำเราได้เสมอ กราบคารวะอาจารย์ครับ
  • 24. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 22 Triwit Phijitplakas เรียนถ่ายภาพและออกทริปกับอาจารย์ ท่านมีเลือดเทาแดงที่เข้มข้น และปลูกฝังลูกศิษย์ให้รักใน มศว ท่านเป็นครูที่ช่วยเหลือและให้โอกาส ผมในการเรียนท่านเป็นครูที่ผมรักและเคารพเสมอครับ สุรพล บุญลือ รักเคารพและคิดถึงท่านอาจารย์อยู่เสมอครับ ท่านเป็นผู้หนึ่ง ที่เป็น บูรพาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ได้พบเจอท่านอาจารย์หลายๆ ครั้ง ท่านเอ่ยปาก ฝากฝังนักเทคโนรุ่นใหม่ๆ ให้รักสามัคคีกัน ไม่ต้อง คิดว่าใครมาจากสถาบันไหน เราต้องช่วยกัน ได้พบและได้คุยกับท่าน เมื่อสงกรานต์ปีที่แล้ว านเป็นแม่งาน ตอนรดน�้ำท่าน รศ.ชม ภูมิภาค ยังคุยกับท่านเลยว่าปีหน้าถ้าไม่มี Covid น่าจะมีงานรดน�้ำ แบบนี้อีก ท่านบอกว่าก็ขึ้นอยู่กับพวกเราแล้ว ผมไม่ไหวแล้ว หลังจากนั้นไม่นาน ท่านรศ.ชม ก็ได้จากไป ก็ไม่ได้พบท่านอีก Pop Sittichoke Sanohnoi ขอบคุณอาจารย์ที่เปิดทางให้เด็กคนนี้เปิดใจกับค�ำว่าวิจัย รักและ เคารพครับ
  • 25. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 23 ผศ.ดร.ลักขณา สุกใส รักและเคารพท่านอาจารย์ เจอท่านอาจารย์ตอนเรียนปริญญาเอก กับ ท่านเป็นอาจารย์ที่คอยให้ก�ำลังเสมอ เวลาท้อไม่อยากเรียน ท่าน บอกเสมอว่า ต้องท�ำให้ดีที่สุด ท�ำให้เต็มที่นะ อาจารย์จ�ำลูกศิษย์ได้ เสมอ สู้ๆๆนะคะ เธียร ภู่ภิญโญยิ่ง รักและเคารพอาจารย์ท่านเสมอ อาจารย์จุดประกายให้หลายคนเรียนต่อปริญญาโท อาจารย์เข้าใจศิษย์และให้ค�ำปรึกษาได้ดีมาก อาจารย์ผู้ติดตามผลการเรียนของศิษย์สม�่ำเสมอ อาจารย์ผู้เรียบง่าย สมรรถะเป็นแบบอย่างได้ดี อาจารย์มีเสียงและน�ำเสนอมีลักษณะเฉพาะตัว เคารพนับถือและศรัทธาในความเป็นครู.. อาจารย์ดร.ไพโรจน์เบาใจ ... อยู่เสมอ
  • 26. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 24 Renoo Muenpromsan รัก เคารพ ท่านอาจารย์ค่ะ. เจอท่านล่าสุด พย 63 ค่ะ Jiratip Sritha ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ ได้มีโอกาสได้เรียนกับท่าน สาขา เทคโนโลยีการศึกษา
  • 27. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 25 Pop Sittichoke Sanohnoi ขอบคุณอาจารย์ที่เปิดทางให้เด็กคนนี้เปิดใจกับค�ำว่าวิจัย รักและ เคารพครับ ครูเล็ก สวีวรรณ์ อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของความใส่ใจในตัวลูกศิษย์ ไม่ ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดท่านยังคงรักและจดจ�ำลูกศิษย์ได้ดีเสมอ แววตาที่เปี่ยมด้วยเมตตาและท่าทางที่แสดงออกถึงความห่วงใยของ ท่านจะตราตรึงในหัวใจศิษย์ตลอดไป Ranee Kuiram อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในทุกๆเรื่องที่ได้เรียนรู้จากการได้สัมผัส ถึงความอ่อนโยนมีน�้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงการเอาใจใส่ความ ห่วงใยที่มีต่อลูกศิษย์แววตาที่เปี่ยมด้วยความเมตตาและท่าทางที่ แสดงออกถึงความห่วงใยของท่านที่มีต่อลูกศิษย์จะตราตรึงในหัวใจ ศิษย์ตลอดไป...รักอาจารย์เสมอไม่เคยลืม Sirirat Petsangsri อาจารย์ไพโรจน์ เบาใจ มีความเมตตาต่อลูกศิษย์ทุกท่านตอนเรียน ปริญญาตรี ที่ มศว ถึงแม้ไม่ได้เรียนเอกเทคโน แต่ได้สัมผัส อาจารย์ ตอนไปค่าย ถ่ายภาพ จะได้เสมอ ถึงความใส่ใจดูแลนิสิต เป็นอย่างดี ขอให้ท่านไปสู่สรวงสวรรค์ลูกศิษย์ รักท่านเสมอไม่เคยลืม เสียงอันเป็น เอกลักษณ์ของท่าน
  • 28. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 26 มยุรฉัตร จรัญญา ค�ำไว้อาลัย ด้วยความระลึกถึง ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ท่านเสียชีวิต เวลา 12.55 น. 23 พค 64 เราได้ไปกราบคารวะอาจารย์เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อาจารย์เล่าถึงงานที่ท�ำอยู่ในปัจจุบัน ชีวิตส่วนตัว และสุขภาพว่าได้มาออกก�ำลังกายทุกวันที่นี่แหละ ความ ห่วงใยและความเอื้ออาทรที่ท่านมีให้ลูกศิษย์คนนี้ในฐานะที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ แม้ท่านจะย้ายมหาวิทยาลัยไปก่อนที่เราจะส�ำเร็จการ ศึกษา ท่านก็แสดงความห่วงใยเสมอมา วันนั้นท่านได้ update ความรู้ สมกับเป็นปราชญ์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาว่านี่เธอถ้าจะท�ำ หลักสูตรอะไรนี่ต้องมีค�ำว่านวัตกรรมใส่เข้าไปด้วยนะก่อนจะกลับท่าน กล่าวอวยพรและชื่นชมในความอุตสาหะเรียนจนส�ำเร็จ เราโชคดีแล้ว ที่มีครูต้นแบบวิชาการที่ดี... ขอแสดงความเคารพอย่างสูงและขอแสดง ความไว้อาลัยมา ณ ที่นี้ค่ะ ดร. มยุรฉัตร จรัญญา 23 พ.ค. 64 ป.เอก สิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2548
  • 29. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 27 Nattapon Paowana รักและเคารพอาจารย์ท่านเสมอครับ Maysa Jatuworahirun รักและเคารพอาจารย์ไพโรจน์ ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ Tuenjai Chinhad ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะอาจารย์เป็นครูจริงๆ สอนลูกศิษย์ด้วยใจ เป็นที่รักของเจ้าหน้าที่ในบัณฑิตทุกคนจ้า ดร.รัชตาพร เสนามาตย์ เป็นลูกศิษย์ของท่าน ขณะนั้นท่านเป็นอาจารย์พิเศษท่านเินทางไป สอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรานักศึกษา ป.เอก หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ท่านเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ให้เรามากมาย รักและเคารพอาจารย์ไพโรจน์ ระลึกถึง อาจารย์เสมอค่ะ ตลอดไปค่ะ ชัญญา ศิริศตายุ รัตนวงศ์ อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีมีความรักและเอาใจใส่ลูกศิษย์และมีเสียง ที่เป็นเอกลักษณ์ และสอนวิชาชีวิตในการอยู่ร่วมกัน การแบ่งปันกัน ให้ กับลูกๆ เพชรในตมทุกคน
  • 30. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 28 Tom Senghaseng RIP อาจารย์ถึงแก่กรรมเมื่อ 13.00 น. วันนี้ 23 พฤษภาคม 2564 Chalerm Cruze Kpp ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ไพบูลย์ เปานิล ขอให้คุณพระรัตนตรัยคุ้มครองให้ อาจารย์หายเป็นปกติในเร็ววัน ..ครับ... Chayachol Penicilin ท่านคือพระผู้ให้ของศิษย์ทุกคนค่ะ ท่านเป็นครูผู้มีเมตตาสูงมาก ท่านเข้าใจและสอนให้เราเข้าใจชีวิตและการให้ ทั้งให้คนอื่นและให้ ตัวเอง จะระลึกถึงพระคุณท่านตลอดไปค่ะ Sukanya Tukta อาจารย์ไพโรจน์ สอนวิชาถ่ายภาพตอนเรียนที่ มศว.หลายคอร์ส ท่านสอนลูกศิษย์ด้วยความเมตตา ตั้งใจให้ความรู้อย่างแท้จริง ท่าน เป็นอาจารย์ที่น่ารักและใจดีมากๆ รักและเคารพอาจารย์เสมอ อาจารย์ ไพโรจน์จะอยู่ในใจเราตลอดไปค่ะ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวด้วยค่ะ
  • 31. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 29 Rittichai Onming ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งครับ David T. Brown Our deepest condolences to you and Selene, K.Shirley Poonsri. May he rest in peace. Chawalert Lertchalolarn เสียใจด้วย ขออาจารย์สู่สุขคติ Puwadol Poungdang ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวอาจารย์ด้วยครับ ผมโชคดีได้เรียน กับท่านวิชาถ่ายภาพได้แนวคิด เทคนิคอะไรดีๆจากท่านหลายอย่าง เลยครับ Anirut Satiman รักและเคารพท่านอาจารย์เสมอ อาจารย์ผู้ที่มีแต่ความเมตตา กับลูกศิษย์เสมอ มีความเป็นครู และรักศัทธาในวิชาชีพเทคโนมาโดย ตลอด และเป็นแบบอย่างที่ดีส�ำหรับลูกศิษย์ในทุกวันนี้ ระลึกถึงท่านอาจารย์ครับ
  • 32. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 30 Kae Kattiya RIP ผศ.ดร. ไพโรจน์ เบาใจ อาจารย์ไพโรจน์เป็นอาจารย์ที่รักลูกศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกันมา ตลอด เรียนถ่ายภาพกับอาจารย์สนุกมากๆ ปิดเทอมอาจารย์จะจัด ทัศนศึกษา พาพวกเราไปถ่ายรูปตามที่ต่างๆ ใครไม่ได้ลงเรียน แค่ไป ขออาจารย์ก็ให้ไป การไปแต่ล่ะครั้งจะได้ประสบการณ์ดี ประทับใจ และ สนุกสนานทุกครั้ง ทุกๆ เทอมที่เรียน อยู่มศวจะคอยติดตามว่าอาจารย์ไปไหนและจะ ขอตามไปด้วยตลอด ทั้งทริปภูชี้ฟ้า, ทริป ฝนดาวตก ประทับใจมาถึง ทุกวันนี้เลยค่ะ รักและเคารพอาจารย์เสมอค่ะ Mammy Suu ขอให้อาจารย์ไปสู่ภพภูมิที่ดีและขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว ด้วยนะคะ รู้สึกโชคดีมากๆ ที่ได้เรียนโฟโต้กับอาจารย์ ทุก Class ทุก Trip เต็มไปด้วยความสนุกสนาน สมบุกสมบัน ตื่นตาตื่นใจ เป็นการเปิดโลก ทัศน์ (สุดๆ) สิ่งต่างๆ จะอยู่ในความทรงจ�ำของลูกศิษย์คนนี้ตลอดไป นะคะ สมชาย รักเรียน อาจารย์ท่านใจดี มีเมตตากับลูกศิษย์ มาก ขอแสดงความเสียใจเป็น อย่างยิ่งครับ จากนิสิต ป.โท เทคโนโลยีการศึกษาครับ
  • 33. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 31 Sunchai Pattanasith ..เมื่อราวๆ 20 กว่าปี พวกเรา เป็นนิสิต ป. เอก มศว หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษารุ่นที่ 4 มีซึ่งมีจ�ำนวน 9 คน พวกเราได้ รับความรู้และประสบการณ์จากคณาจารย์ของภาควิชาฯเป็นอย่างดี ในระหว่างที่ได้ศึกษาเล่าเรียน ..โดยเฉพาะท่าน ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ในขณะนั้น ได้สอนให้พวกเรา..มีสายเลือดความเป็นนักเทคโนโลยีการ ศึกษาอย่างมืออาชีพ..สอนให้เกิดความมั่นใจ.เป็นนักวิชาการที่เข้ม แข็ง..สามารถใช้ความรู้ และประสบการณ์ที่อาจารย์สอนให้เกิดแรง บันดาลใจ และมั่นใจเดินทางแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทั้งในประเทศ และต่างประเทศ..โดยอาจารย์จะยกตัวอย่างกรณีศึกษาของอาจารย์ให้ พวกเราเห็นภาพได้อย่างชัดเจน..พวกเราทั้ง9 คน...ได้ส�ำเร็จการศึกษา กันทุกคน..และสามารถน�ำความรู้ที่ได้มาพัฒนาชีวิต และสร้างสังคม ให้มีความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน..พวกเราระลึกถึงพระคุณ อาจารย์.มิรู้ลืม..ซึ่งในโอกาสนี้พวกเราขอส่งดวงวิญญาณท่าน รศ.ดร. ไพโจน์ เบาใจ สู่สุขคติสัมปริยภพ.. ..ลูกศิษย์ทั้ง 9 คน..จะระลึกถึงพระคุณอาจารย์.. ท่าน รศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ อย่างมิรู้ลืม.. ...จาก รศ.น.ต.ดร.สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และเพื่อนร่วมรุ่น รวม 9 คน. Yut Na ขอแสดงความเสียใจด้วยอย่างยิ่ง Nattawan Nok ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ
  • 34. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 32 สุรพล บุญลือ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ด้วยครับ Nualpan Kronkratoke ขอแสดงความเสียใจกับอาจารย์และครอบครัวด้วยนะคะ Nareerat Kook ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ Karn Ka เสียใจด้วยค่ะ Patchol PA ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งค่ะ และขอให้ดวงวิญญาณของท่าน อาจารย์ไพโรจน์ไปสู่สุคติภพด้วยเทอญ...จากศิษย์ค่ะ Tua Jintana อาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาถ่ายภาพ ให้ใด้ใช้เป็นวิชาชีพแรกใน โลกของการท�ำงาน
  • 35. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 33 วินิรณี ทัศนะเทพ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งด้วยค่ะอาจารย์ Orange Rattana ขอให้ดวงวิญญาณของอาจารย์ไพโรจน์ เบาใจ ไปสู่สุคติภพด้วย เทอญ...จากศิษย์เพชรในตม รุ่นที่ 8 อุทัยธานีค่ะ Paisarn Kongpiromchuen สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยขอแสดงความเสียใจ และอาลัย ต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ คุณความดีและคุณูปการที่ท่านได้กระท�ำไว้ต่อวงการศึกษาเมื่อครั้ง ยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงานและ บุคลทั่วไป ขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดีที่ท่าน อาจารย์ได้กระท�ำไว้ ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่สุคติในสัมปราย- ภพด้วย เทอญ Wit San คิดถึงอาจารย์ด้วยจิตคารวะ ขอดวงวิญญาณอาจารย์ไปสู่สุคติภพด้วยเทอญ
  • 36. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 34 Sompong Jitpraneechai พูดไม่ออกเลย Rungrattana Maungkorn ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ Jirang Kumnuanta My condolences to your family krub. ดร.รัชตาพร เสนามาตย์ สาธุค่ะอาจารย์
  • 37. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 35 ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
  • 39. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 37 ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
  • 41. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 39 ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
  • 43. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 41 ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
  • 45. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 43 ร�ำลึกถึงท่าน อ.ไพโรจน์
  • 47. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 45 บันทึกสุดท้าย ถึงคุณพ่อ พ่อ เป็นผู้ชายคนเดียว ในครอบครัว ที่ลูกผูกพัน รัก และ เติบโตมา อย่างอบอุ่น และ ใกล้ชิด พ่อ เป็นคนที่สอนให้ลูก รู้จักการถ่ายภาพ ได้ออกท่องเที่ยว ได้เปิดโลก ที่อยู่นอกเหนือจากบ้าน และ โรงเรียน และ พ่อ เป็นคนที่ท�ำให้ลูกอยากท�ำบุญตักบาตร ด้วยมองเห็น ตัวอย่างที่ดี ซึ่งมีมาเสมอ ในช่วงที่เราอยู่ด้วยกัน … กาลเวลาเปลี่ยน หลายสิ่งอาจไม่เหมือนเดิม แต่ พ่อ คือ บุคคล ที่ลูกจะระลึกถึง จนวันสุดท้ายของลูก หลับให้สบายนะครับ ศิระ...
  • 48. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 46 สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยขอแสดงความเสียใจและอาลัย ต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ คุณความดีและคุณูปการที่ท่านได้กระท�ำไว้ต่อวงการศึกษา เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และบุคคลทั่วไป ขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดีที่ ท่านอาจารย์ได้กระท�ำไว้ ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่สุคติใน สัมปรายภพด้วย เทอญ รองศาสตราจารย์ ดร. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
  • 49. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 47 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒขอแสดงความ เสียใจและอาลัยยิ่งต่อการจากไปของศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ เบาใจ ขอให้คุณความดีและความเสียสละที่ท่านได้อุทิศตนต่อมหาวิทยาลัย สังคมและประเทศชาติมาโดยตลอดชีวิตของท่านเป็นที่ประจักษ์ต่อลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงานวงการศึกษาของชาติและประชาชนทั่วไปเป็นบุคคลที่ทรง คุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและด้านอื่นๆ ของประเทศ สมควรอย่างยิ่งที่จะ บันทึกเพื่อ เชิดชูเกียรติประวัติและเป็นแบบอย่างที่ดีให้เป็นที่ประจักษ์ต่อ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวงการศึกษาและประชาชนสืบไป ขออ�ำนาจ คุณพระรัตนไตรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ในสากลโลก ตลอดทั้งคุณงาม ความดีที่ท่านได้กระท�ำไว้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่ สุคติในสัมปรายภพด้วยเทอญ. ดร. สมบัติ คุรุพันธ์ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 50. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 48 แด่...ท่านอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ครูที่แท้ มีความส�ำคัญยิ่งที่หาได้ไม่มากนักในสังคมปัจจุบัน ผม เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เบาใจ คนหนึ่ง ที่ไม่ได้เรียนในสาขาวิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งผมอยู่ในสาขา วิชาการประถมศึกษา แต่โชคดีที่ได้มาเรียนรู้ในรายวิชาเทคโนโลยีทาง การศึกษาส�ำหรับครูประถมศึกษากับท่านอาจารย์ในระดับปริญญาโทเป็น เวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา แม้เป็นเวลาที่ไม่มากนัก แต่ด้วยธรรมที่อาจารย์ มีอย่างเปลี่ยมล้น เมื่อพบกันแต่ละครั้งท่านอาจารย์มักจะถามความ ก้าวหน้าในการเรียน ครอบครัว และการงานอยู่เสมอในทุกครั้งที่ได้พบกัน ท่านอาจารย์เป็นคนสมาร์ท เป็นสุภาพบุรุษ มศว ซึ่งผมได้เรียนรู้ความ เป็นครูจากค�ำสั่งสอน อบรม ชี้แนะจากท่าน ซึ่งท่านได้สั่งสอนว่าเราเป็น ครูต้องสมาร์ท (Smart) ต้องโก้ ต้องผึ่งผาย ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ ผู้พบเห็น ต้องเป็นคนสุภาพ และเสียสละ ซึ่งท่านอาจารย์ได้ท�ำให้เห็น เป็นแบบอย่าง และแสดงออกถึงความเป็นครูที่แท้ให้เห็นตลอดเวลา ศิษย์ขอระลึกถึงท่านอาจารย์ และรัก เคารพท่านอาจารย์ตลอด ไปและจะท�ำประโยชน์กับส่วนรวมและวงการศึกษาตลอดไปตามค�ำสั่งสอน ที่ท่านอาจารย์มอบให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย สุธาสิโนบล หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 51. หนังสือที่ระลึก ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ 49 ผมเป็นลูกศิษย์ของ ผศ.ดร.ไพโรจน์ เบาใจ ในหลักสูตรการศึกษา บัณฑิตและการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา ท่านอบรม สั่งสอนให้ผมเป็นนักเทคโนฯที่มีทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและความสามาถใน การปฏิบัติ ท่านเป็นแบบอย่างของครูได้อย่างหมดจด ครองตนได้อย่าง ไม่มีที่ติ ครองใจลูกศิษย์ได้อย่างบิดามารดาบังเกิดเกล้า ครองงานทาง วิชาการได้อย่างสง่างามสมศักดิ์ศรีแห่งศรีนครินทร์ ด้วยความเคารพอย่างสูง พลต�ำรวจตรี ทนัย อภิชาติเสนีย์ 23 พ.ค.2564