SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 7
Baixar para ler offline
บทเรียนจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา: เราสามารถ
สร้างการค้าที่เป็นธรรมและมีความเท่าเทียมได้อย่างไร?
โดย
เชิญ ไกรนรา
กลุ่มงานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2549
--------------------------------------------
1. ความเป็นมาของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา
ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ตกลงร่วมกันที่จะเจรจาเขตการค้าเสรีทวิภาคีเมื่อวันที่ 13
ตุลาคม 2546 และเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้แจ้งต่อสภาคองเกรสว่ามีความตั้งใจที่จะเริ่มทาการ
เจรจาโดยเริ่มจากช่วง 90 วัน เพื่อทาการหารือกับสภาคองเกรสและภาคเอกชนก่อนที่จะเริ่มทาการเจรจาจริง และเมื่อวันที่
30 มีนาคม 2547 ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศว่าการเจรจาจะเริ่มขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 2547
1.1 เหตุผลในการทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีของฝ่ายสหรัฐอเมริกา
Robert Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐ ได้นาเสนอผลประโยชน์ที่จะได้จากกลุ่มนโยบายที่มีศักยภาพด้านการค้า
และการต่างประเทศที่จะได้รับจากข้อตกลง เขายังได้พาดพิงถึงประเด็นอ่อนไหวซึ่งต้องให้ความสนใจ เช่น การค้าที่เกี่ยวกับ
ยานยนต์ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แรงงานและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่สาคัญดังนี้
1) FTA จะให้ประโยชน์แก่ผู้ผลิตด้านการเกษตรของสหรัฐซึ่งได้เรียกร้องให้ภาครัฐเดินหน้าเจรจาต่อไป ตลอด
ทั้งบริษัทเอกชนที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและบริการต่างๆ
2) สาหรับผู้ผลิตด้านการเกษตรโดยการยกเลิกหรือลดภาษีหรืออุปสรรคอื่นๆ ที่ตั้งไว้สูงของฝ่ายไทย FTA จะ
สร้างโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกอย่างมีนัยสาคัญมายังประเทศไทย
3) ในปี 2546 ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ลาดับที่ 16 สาหรับสินค้าเกษตรส่งออกจากสหรัฐ
4) FTA จะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกของสหรัฐของสินค้าและบริการต่างๆ โดยเฉพาะสาขา เทคโนโลยี
สารสนเทศ บริการทางการเงิน เครื่องเสียง ยานยนต์ และเครื่องมือทางการแพทย์
5) ในปี 2546 บริษัทเอกชนของสหรัฐได้ส่งออกสินค้ามายังไทยจานวน 232 ,000 ล้านบาท และบริการต่างๆ
จานวน 44,000 ล้านบาท
6) การรักษาสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสาหรับนักลงทุนสหรัฐในประเทศไทยเป็นลาดับความสาคัญสูงที่สุด
สาหรับภาคธุรกิจของสหรัฐ เนืองจากไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐ (ขนาด 1 ต่อ 100) ดังนั้น
ข้อตกลงโดยตัวของมันเองจะมีส่งผลกระทบน้อยต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของสหรัฐ
1.2 รูปแบบของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีของสหรัฐอเมริกา มีแนวทางปฏิบัติที่ได้ยึดถือในการเจรจา
ดังนี้
1) เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทเอกชนสหรัฐจะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษเหมือนประชาชนของประเทศเจ้าบ้านและ
คู่แข่งขันของเขาเอง
2) เพื่อจัดตั้งข้อจากัดที่ชัดเจนเกี่ยวกับกรณีการยึดกิจการของการลงทุนและเพื่อให้มั่นใจว่านักลงทุนสหรัฐ
ได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม
- 2 -
3) เพื่อให้มั่นใจว่าการโอนเงินทุนอย่างเป็นอิสระเพื่อนาเข้าและนาออกจากประเทศเจ้าบ้านโดยใช้อัตรา
แลกเปลี่ยนตลาด
4) เพื่อจากัดความสามารถของรัฐบาลเจ้าบ้านในการที่ต้องการให้นักลงทุนสหรัฐรับการปฏิบัติที่ไม่มี
ประสิทธิภาพและบิดเบือนทางการค้า
5) เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิของนักลงทุนสหรัฐในการยื่นข้อเสนอข้อขัดแย้งทางการลงทุนโดยใช้สนธิสัญญาของ
รัฐบาลภาคีสมาชิกจนกระทั่งถึงการไกล่เกลี่ยระดับนานาชาติ
6) การให้สิทธิแก่นักลงทุนสหรัฐในการจ้างบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงสุดตามที่ต้องการโดยไม่เกี่ยวข้อง
กับสัญชาติ
1.3 ประเด็นหลักของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ครอบคลุมประเด็นที่สาคัญดังนี้
1) กรอบการดาเนินงานภายใต้กฎหมาย ที่เป็นตัวกาหนดเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เช่น
กฎหมายภายในประเทศและกฎระเบียบต่างๆ กฎหมายระหว่างประเทศ แนวทางการปฏิบัติระหว่างประเทศ สนธิสัญญา
ระหว่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับพหุภาคี กฎระเบียบขององค์การการค้าโลกที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ระบบพิเศษ
เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการลงทุน และการเปิดเสรีทางการลงทุนแต่ฝ่ายเดียว และกรอบการดาเนินการของกฎหมายที่เป็น
ตัวกาหนดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระดับนานาชาติ เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ บทบาทขององค์การการค้า
โลก เช่น ข้อตกลงพหุภาคีการลงทุน ข้อตกลงทั่วไปเกี่ยวกับมาตรการด้านการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (General
Agreement on Trade related-investment measures-TRIMs) ข้อตกลงทั่วไปด้านการค้าเกี่ยวกับการบริการ (General
Agreement on trade in services-GATs) ข้อตกลงทั่วไปด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (General
Agreement on Trade-related property rights-TRIPs) และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เช่น EU NAFTA
ASEAN เป็นต้น
2) กรอบการดาเนินงานของสถาบัน
3) การจัดชั้นของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
4) หลักการของประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคม เกี่ยวกับผู้นิยมการเปิดเสรีสมัยใหม่หรือแนวคิด
ร่วมสมัยสมัยใหม่ โดยมีประเด็นสาคัญเช่น ตลาดทั่วโลก บทบาทของตลาด การที่รัฐไม่เข้าแทรกแซง การไม่มีพรมแดน การ
ไม่มีอุปสรรคทางการค้า นอกจากนี้ยังมีประเด็นบทบาทของรัฐและตลาด กลไกเพื่อสร้างความสมดุลของรัฐและตลาด และ
กฎหมายเพื่อการแข่งขันและนโยบาย และกฎหมายต่อต้านการผูกขาด เป็นต้น
5) บูรณภาพเหนือดินแดนของรัฐ: บทบาทของรัฐและตลาด
6) สิ่งแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว และ
7) รูปแบบทางกฎหมายที่เป็นธรรมสาหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
2. ประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ทีได้บังคับใช้ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา
กลุ่มประเทศที่สหรัฐอเมริกาได้ลงนามจัดทาความตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน ชิลี อเมริกากลาง
อิสราเอล จอร์แดน โมร็อคโค โอมาน ปานามา สิงคโปร์ และข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหภาพศุลกากรอาฟริกาใต้ โดยมี
ตัวอย่างประสบการณ์ด้านการค้าในบางประเทศภายหลังจากการลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว ได้แก่
2.1 ประเทศเม็กซิโก ดาเนินความร่วมมือในลักษณะ North-South Integration กับสหรัฐ โดยการเปิดเสรี
ด้านเศรษฐกิจที่สาคัญเช่น การเปิดตลาดทุน และการขจัดอุปสรรคทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ดาเนินการในฝ่ายประเทศเม็กซิโก
และพบว่าไม่ได้เก็บเกี่ยวจากการขยายตัวด้านบวกของผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศตามที่คาดหวังไว้ และการ
เจรจากับประเทศมหาอานาจมีความยากและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุข้อตกลงที่จะเปิดโอกาสให้มีการจัดทาข้อตกลงที่
เอื้อให้มีการปฏิบัติต่อประเทศเม็กซิโกเป็นกรณีพิเศษสืบเนื่องจากความแตกต่างของระดับการพัฒนา ส่งผลให้ประเทศ
เม็กซิโกและสังคมเม็กซิกันได้สูญเสียศักยภาพที่จะนาไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- 3 -
2.2 ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมินิกัน ( The US-Central America-Dominican
Republic Free Trade Agreement-CAFTA) ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นลาดับที่ 14 ของสหรัฐ และ
เป็นตลาดส่งออกลาดับที่ 2 ในลาตินอเมริกา หลังจากที่กลุ่มประเทศเหล่านี้ตัดภาษีนาเข้าสินค้าที่ค่อนข้างสูงสาหรับสินค้า
นาเข้าจากสหรัฐ ทาให้สร้างความได้เปรียบต่อฝ่ายสหรัฐและทาให้สามารถลดการขาดดุลการค้า โดยคาดว่าเมื่อการลดภาษี
ของ CAFTA เกิดผลในทางปฏิบัติจะทาให้สหรัฐส่งออกสินค้าเกษตรได้ประมาณ 60,000 ล้านบาท ต่อปี ในขณะที่กลุ่ม
ประเทศ CAFTA ได้รับประโยชน์ในในรูปของโครงการสิทธิพิเศษด้านภาษี อย่างไรก็ตามการลดภาษีที่กลุ่มประเทศ CAFTA
จะดาเนินการภายใต้ข้อตกลงจะมีผลกระทบที่น่ากลัวต่อผลการดาเนินงานด้านการค้าต่างประเทศและเศรษฐกิจ
ภายในประเทศ หรือภาคเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ
2.3 ประเทศชิลี การส่งออกของสหรัฐไปยังชิลีขยายตัวร้อยละ 33.5 ในปี 2547 ทาให้สหรัฐกลายเป็นคู่ค้าที่
สาคัญของชิลี
2.4 ประเทศสิงคโปร์ สหรัฐได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มเป็น 3 เท่า หลังจากการทาข้อตกลง FTAs กับสหรัฐเป็น
เวลา 1 ปี คิดเป็นมูลค่า 172,000 ล้านบาท
2.5 ประเทศออสเตรเลีย ภายในไตรมาสแรกตั้งแต่การทาข้อตกลง FTAs กับสหรัฐ มีผลในทางปฏิบัติ สหรัฐ
มีอัตราการขยายตัวทางการค้าร้อยละ 31.7 คิดเป็นมูลค่า 85,200 ล้านบาท
3. การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา ที่สาคัญและข้อเสนอแนะ
สามารถรวบรวมได้ดังนี้
3.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของไทย
การศึกษาเรื่อง US Bilateralism in South East Asia: A Sectoral Analysis of Market Access Issues in the Proposed
Thai-US (Bilateral) Free Trade Agreement โดย Smith Francis และ Murali Kallummal พบว่าไทยอาจได้รับส่วนต่าง
ด้านสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ FTA ไทยกับสหรัฐ เพียงเล็กน้อย และในปัจจุบันภาษีนาเข้าของของสาขาทีสาคัญของไทยก็
ต่าอยู่แล้ว ตลอดทั้งในหลายสาขาที่มีศักยภาพของไทยก็มีปัญหาที่เกี่ยวข้องมากมายในการที่จะขยายสัดส่วนการส่งออกของ
ไทย และสาขาที่ไทยอาจได้รับส่วนต่างของสิทธิพิเศษเพียงเล็กน้อยก็มีช่องว่างของสัดส่วนทางการตลาดในปัจจุบันค่อนข้าง
กว้างเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันอื่นๆ เช่น จีน (MFN สูงกว่าไทย) และในบางกรณีของเม็กซิโก (ซึ่งมีอัตราภาษีเป็นศูนย์)
ทาให้ส่วนต่างสิทธิพิเศษที่ได้รับเพียงเล็กน้อยไม่อาจส่งผลให้เกิดผลต่อการปรับปรุงสัดส่วนการตลาดของไทย
ผลที่ได้จากการขยายตลาดจะก่อให้เกิดแก่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ของสหรัฐที่มีโรงงานประกอบกิจการเพื่อการส่งออกเป็น
หลักในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยไทยอาจไม่ได้รับสิทธิพิเศษในบางสาขาซึ่งขณะนี้อยู่ในกลุ่มที่มีการขยายตัวของการส่งออกสูง
ที่สุดระหว่างปี 2542-2548 เนื่องจากสหรัฐ ได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อลดสิทธิพิเศษทางภาษี ดังนั้นสิทธิประโยชน์ด้านการ
ส่งออกของ FTA ระหว่างไทยกับสหรัฐ จะมีอายุสั้นภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากภาวการณ์แข่งขันต่างๆ ที่ไทยกาลัง
เผชิญอยู่ในตลาดสหรัฐ เพราะในความเป็นจริงสหรัฐ ก็ได้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ของไทย เช่น มาเลเซีย และ
เกาหลีใต้ และประเทศคู่แข่งขันไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้การใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น ข้อจากัดด้านเทคนิคทางการค้า
(Technical Barrier to Trade: TBTs) และ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phyto-Sanitary (SPSs)
Measures โดยสหรัฐในบางสาขาที่อยู่ในความสนใจนอกจากจะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงตลาดของไทยแล้วยังสามารถ
นาไปสู่การเพิ่มขึ้นของการนาเข้าเทคโนโลยีและสินค้าทุน ซึ่งจากการวิเคราะห์จีนเป็นประเทศคู่แข่งขันที่ใหญ่ที่สุดที่ไทย
จะต้องเผชิญในหลายสาขาในตลาดสหรัฐ ซึ่งจีนสามารถทาได้ดีกว่าไทยโดยการตัดค่าแรงงานให้ถูกกว่า
- 4 -
3.2 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักคือ
1) ผลกระทบของบริการต่างๆ และการเปิดเสรีด้านการค้าต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การท่องเที่ยว การ
ขนส่งสินค้าทางบก (ระหว่างเมือง) และบริการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บริการด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล บริการการกาจัดขยะ
บริการด้านสุขอนามัยและบริการที่คล้ายคลึงกัน การทาความสะอาดไอเสียของก๊าซต่างๆ บริการกาจัดเสียงต่างๆ บริการ
ต่างๆ เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ การปรับปรุงกฎหมาย การตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สาคัญ การ
เชื่อมโยงไปยังสินค้า โดยเน้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้อง
2) ผลกระทบของทรัพย์สินทางปัญญาต่อสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงองค์การการค้าโลกเกี่ยวกับข้อตกลงทั่วไป
ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (General Agreement on Trade-related property rights-TRIPs) ได้กาหนด
มาตรฐานระหว่างประเทศขั้นต่าเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายในประเทศเพื่อดาเนินการให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานเหล่านี้ ในปัจจุบันได้มีการเพิ่มขึ้นของการใช้มาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาที่สูงขึ้นภายใต้ TRIPs ซึ่งไม่เหมาะสม
สาหรับประเทศกาลังพัฒนา TRIPs ประกอบด้วยการยกเว้นที่สาคัญ ข้อยกเว้นต่างๆ และข้อจากัดต่างๆ เรียกว่า ความ
ยืดหยุ่น (Flexibilities) และ FTA ต่างๆ ได้พยายามลดหรือยกเลิกความยืดหยุ่นเหล่านี้และแม้กระทั่งเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่
อยู่ภายใต้ TRIPs เรียกว่า TRIPs Plus ซึ่งมีความโน้มเอียงที่เอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะเดียวกัน
ก็ขาดความสมดุลกับผู้ใช้และความต้องการพัฒนาของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามสหรัฐได้กาหนดข้อตกลง TRIPs Plus ใน
ทุก FTA ที่ทากับประเทศอื่นๆ ทาให้เกิดระบบที่ผิดปกติขึ้น ( EU และ ญี่ปุ่นก็ใช้ TRIPs Plus ด้วย)
(1) ข้อแตกต่างระหว่าง TRIPs และ TRIPs Plus ด้านสิ่งแวดล้อม
TRIPs มีนัยสาคัญเกี่ยวกับความหลายหลายทางชีวภาพ โดยให้สามารถออกสิทธิบัตรได้ในประเด็นที่
เกี่ยวกับ micro-organism non-biological and micro-biological processes และยกเว้นการออกสิทธิบัตร
เกี่ยวกับ สัตว์ พืช ที่เกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาสาหรับการผลิตพืชและสัตว์ (เกิดตามธรรมชาติ)
และการวินิจฉัย วิธีการรักษาและการผ่าตัดสาหรับการรักษามนุษย์ และสัตว์ (สาหรับเหตุผลด้าน
สาธารณสุข) ภายใต้ข้อตกลงนี้สามารถทาให้เกิดการปล้นทางชีว (Biopiracy)
TRIPs Plus นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สหรัฐมีการกาหนดมาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมาตรฐานสูง
กว่าในประเทศกาลังพัฒนา และขอให้ประเทศกาลังพัฒนาให้จัดทาระบบที่เข้มงวดขึ้นและเปิดกว้างมาก
ขึ้นเพื่อให้เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาต่างๆ ที่มีประโยชน์เพียงเล็กน้อยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
เหล่านั้น ในกรณีของไทย สหรัฐได้กาหนดขอให้เป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจานวน 10 สนธิสัญญาในข้อเสนอที่
เป็นเอกสาร ครอบคลุมทางด้าน ความหลากหลายของพืช micro-organism ซอฟแวร์ ช่องสัญญาณการ
ออกอากาศ เครื่องหมายการค้า ฟิล์ม เพลง การจดทะเบียนสิทธิบัตร เป็นต้น
(2) ข้อควรตระหนักในการเจรจา
ข้อเสนอ TRIPs Plus มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความรู้แต่โบราณเกี่ยวกับความ
หลากหลายทางชีวภาพซึ่งอาจนาไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
โดยรวม
ข้อเสนอ TRIPs Plusมีผลกระทบต่องบประมาณการพัฒนาของประเทศกาลังพัฒนาในแง่เกี่ยวกับการ
จ่ายค่า Royalties สาหรับการใช้เทคโนโลยีและการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับข้อตกลง
- 5 -
ข้อเสนอด้านทรัพย์สินทางปัญญาสามารถพบได้ไม่เพียงแต่ในบท IPR ของ FTAs แต่ยังพบได้ในการ
ลงทุน บริการต่างๆ บทนา side letters ภาคผนวก และ บทการจัดการข้อพิพาท ดังนั้นจึงควรศึกษาอย่าง
รอบคอบ
ประเทศกาลังพัฒนาควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจะรวมประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรายการไว้ใน
FTAs หรือไม่ เนื่องจากมีการกาหนดกฏและระเบียบต่างๆที่เข้มงวดไว้ใน WTO และ WIPO แล้ว
3.3 ผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาประเด็นเกี่ยวกับการบริโภคยา
สหรัฐอเมริกามักกาหนดข้อเสนอ TRIPs Plus ไว้ใน FTAs ซึ่งข้อเสนอบางข้อใน TRIPs Plus ยังไปไกลกว่ากฎหมายของ
สหรัฐเองด้วยซ้า โดยหากไทยรับข้อเสนอดังกล่าวจะส่งผลกระทบดังนี้
 บทบัญญัติห้ามการขึ้นทะเบียนยาชื่อสามัญในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากยาต้นตารับสู่ตลาด (Data exclusivity) ซึ่ง
ก่อให้เกิดอุปสรรคตัวใหม่เกี่ยวกับข้อมูลทดลองยา ซึ่งทาให้การขึ้นทะเบียนตารับยาชื่อสามัญที่ราคาถูกออกสู่ตลาด
ล่าช้าออกไป
 กฎเกณฑ์ซึ่งทาให้หน่วยงานควบคุมยาในประเทศเปลี่ยนเป็น “ผู้บังคับใช้” สิทธิบัตรด้านยา ซึ่งก่อให้เกิดอุปสรรค
เพิ่มเติม และทาให้การอนุมัติยาชื่อสามัญราคาถูกออกสู่ตลาดล่าช้าออกไป
 การขยายช่วงอายุของสิทธิบัตร ซึ่งยิ่งทาให้เกิดความล่าช้าในการแข่งขันของยาชื่อสามัญที่จะออกสู่ตลาด
 มาตรการที่อนุญาตให้นาสารต่างๆ ทีเป็นที่รู้จักกันแล้วมาจดสิทธิบัตรใหม่ได้อีกสาหรับ “การใช้ใหม่”
 ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งจากัดความสามารถของประเทศในการใช้ “มาตรการบังคับสิทธิ” เพื่อเป็นเครื่องมือทางกฎหมาย
ในการรับรองการได้บริโภคราคาถูกตามความเหมาะสมและจาเป็น
ข้อเสนอแนะในการเจรจา
 ประเทศไทยควรพยายามสงวนไว้ซึ่งสิทธิอันเป็นอธิปไตยของชาติไทยในการใช้อย่างเต็มที่ซึ่งความยืดหยุ่นทั้งปวง
ที่มีอยู่ในข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (ข้อตกลง TRIPs) ซึ่งยืนยันโดยปฏิญญาโดฮาว่าด้วยข้อตกลง
TRIPs และการสาธารณสุข เพื่อคุ้มครองสุขภาพของสาธารณชน และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ในประเด็นนี้
ประเทศไทยควรทบทวน และเพิ่มความแข็งแกร่งแก่ระบบกฎหมายที่มีใช่อยู่ในประเด็นดังต่อไปนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า
ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้บริโภคยาดังกล่าว
o ใบอนุญาตการบังคับการใช้สิทธิและการใช้สิทธิโดยรัฐบาล
o การนาเข้าซ้อน
o ข้อยกเว้นต่างๆ ในสิทธิผูกขาดทางสิทธิบัตร
o เงื่อนไขสิ่งประดิษฐ์ที่ให้สิทธิบัตร (นิยามของสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น)
o บทบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลซึ่งยืดหยุ่นได้
o นโยบายด้านการแข่งขัน
o การป้องกันการนาบทบัญญัติไม่ใช้ความรุนแรงเข้ามาไว้ในกฎหมายของชาติ
 ประเทศไทยควรพิจารณาออกใบอนุญาตบังคับใช้สิทธิกับตัวยาต้านไวรัสเอดส์สูตรสอง ตามความเหมาะสมและ
ตามความจาเป็นของภาคสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดหายารักษาโรคเอดส์ในราคาที่ซื้อได้ให้แก่ผู้ป่วยที่อาจกาลัง
ดื้อยาสูตรหนึ่งซึ่งหาได้ในราคาที่ซื้อได้ในประเทศไทยอยู่แล้ว
 ประเทศไทยต้องไม่ยอมรับข้อกาหนด TRIPs Plus ที่อาจเสนอเข้ามาในบริบทของข้อตกลงเขตการค้าเสรีระดับ
ภูมิภาคหรือระดับทวิภาคี (FTAs) เนื่องจากเนื้อหาการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไม่ใช่รูปแบบตายตัว ประเทศ
ไทยควรพิจารณาริเริ่มเสนอเนื้อหาการเจรจาของตนเองที่จะคุ้มครองสิทธิของประเทศไทย ในการใช้ความยืดหยุ่น
ของข้อตกลง TRIPs ตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก ข้อเสนอของไทยอาจรวมข้อกาหนดทั่วไปในการคุ้มครอง
สุขภาพไว้ในเนื้อหาการเจรจาด้วย
- 6 -
 ประเทศไทยจาเป็นต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการเจรจานั้นโปร่งใส
 ประเทศไทยควรอาศัยผลการศึกษาต่างๆ เพื่อประเมินผลกระทบของการใช้บทบัญญัติของข้อตกลง TRIPs Plus
ในเรื่องความมั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ “30 บาท
รักษาทุกโรค” ซึ่งเป็นที่นิยมยิ่ง จาเป็นต้องมีการวิจัยมากขึ้นอีกในเรื่องต้นทุนทางสังคม และเศรษฐกิจของ
บทบัญญัติ TRIPs Plus ในข้อตกลงเขตการค้าเสรี และการเพิ่มมาตรฐานการคุ้มครอง สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
ด้วย โดยต้องให้ประชาชนได้รับรู้ผลการศึกษาดังกล่าว และสื่ออย่างมีประสิทธิภาพให้ถึงผู้วางนโยบาย สมาชิก
รัฐสภา และสาธารณชนทั่วไป การศึกษายังต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ แต่ไม่จากัดอยู่เพียงเท่านี้
o นัยทางการเงินของราคายาที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากการคุ้มครองสิทธิบัตรที่เข้มงวดเพื่อให้โครงการ “30 บาทรักษา
ทุกโรค” เติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน
o ต้นทุนที่ใช้ในการค่อยๆ เปลี่ยนผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษา ไปเป็นการรักษาโรคเอดส์ในสูตรสองตามที่องค์การ
อนามัยโลกเสนอแนะไว้ เนื่องจากผู้ป่วยดื้อยาสูตรหนึ่ง ทั้งที่ใช้และไม่ใช้แนวทางข้อตกลง TRIPs Plus
 ประเทศไทยควรทาการสารวจและตรวจสอบว่าพันธะหน้าที่ในบทอื่นๆ ของ FTAs ที่จะเกิดขึ้นไม่ทาลาย
วัตถุประสงค์และนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งพันธะในการลงทุน การให้บริการต่างๆ การจัดหายา
ของรัฐบาล และการยุติข้อพิพาท
4. ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ
4.1 ยังไม่มีความชัดเจนว่าการทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกาจะทาให้เกิดการขยายมูลค่าการค้าซึ่ง
ประเทศที่ได้ลงนามข้อตกลงไปแล้ว เช่น เม็กซิโก และชิลี ต่างก็เป็นฝ่ายขาดดุลและสูญเสียตลาดให้แก่สหรัฐอเมริกา และ
สวัสดิการของสังคมก็ไม่ได้ดีขึ้น ในขณะที่ประเทศที่ไม่ได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี เช่น จีน และอินเดีย ต่างก็มีอัตราการ
ขยายตัวทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา
4.2 มี 3 ประเด็นหลักที่ควรให้ความสาคัญเป็นอย่างยิ่งคือ การบังคับใช้ การควบคุมเงินทุน และกลไกจัดการข้อ
พิพาท
4.3 ข้อตกลงเขตการค้าเสรีส่วนใหญ่จะเอื้อผลประโยชน์ให้แก่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จากสหรัฐอเมริกา
4.4 ขอให้มีการจัดทาประชาพิจารณ์การจัดทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีอย่างโปร่งใสและให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วน
ร่วมอย่างกว้างขวางในการร่วมคิดร่วมทา
4.5 การมีบาทที่ลดลงของนโยบายภาครัฐควรให้มีการคานวณรวมเป็นต้นทุนทางสังคม
4.6 การทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาจกลับไปสู่ระบบการล่าอาณานิคมอีกครั้งหรือไม่
5. ข้อคิดเห็นของผู้เขียน
5.1 หากการเจรจาเพื่อจัดทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาดาเนินต่อไป เห็นควรให้มีการศึกษาแนว
ทางการเจรจาอย่างรอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไป ตลอดทั้งกาหนดภาคธุรกิจหรือสาขาธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของไทยเพื่อการทะลุ
ทะลวงหรือขยายตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น ในขณะเดียวกันเห็นควรศึกษาภาคธุรกิจหรือสาขาธุรกิจที่เป็นจุดอ่อนของไทยที่
มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่าเพื่อการเตรียมการหามาตรการปกป้องให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้
5.2 ศึกษาความเหมือนและความแตกต่างในด้านเนื้อหาของข้อตกลงที่สหรัฐอเมริกาได้ตกลงกับประเทศอื่นๆ เพื่อที่
ประเทศไทยจะได้ใช้เป็นบทเรียนเพื่อการศึกษาเป็นแนวทางการเจรจา
5.3 เห็นควรให้ยึดข้อตกลงขององค์การการค้าโลกรอบโดฮา เป็นมาตรฐานในการเจรจาเนื่องจากจะส่งเสริมการปฏิบัติ
ต่อกันที่เน้นการเคารพซึ่งกันและกันและเน้นการสร้างความความเท่าเทียมกันซึ่งประเทศกาลังพัฒนาอย่างประเทศไทย
สามารถปฏิบัติได้ และไทยอาจปฏิเสธข้อเสนอที่ใช้มาตรฐานการเจรจาสูงกว่านี้เนื่องจากอาจเป็นภาระที่มากเกินไป ปฏิบัติได้
- 7 -
ยาก และอาจต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมอีกเป็นจานวนมากในขณะที่งบประมาณเพื่อการพัฒนาประเทศมี
จากัด
5.4 เห็นควรให้มีการกาหนดระยะเวลาของการบังคับใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาที่ชัดเจน และเสนอ
ให้มีการเจรจาใหม่เมื่อข้อตกลงเดิมสิ้นสุดอายุลง โดยควรมีการศึกษาผลกระทบ ผลได้ ผลเสีย ที่ครอบคลุมทุกด้านอย่าง
รอบคอบรอบเป็นฐานข้อมูลก่อนการดาเนินการเจรจาเขตการค้าเสรีรอบใหม่
--------------------------------------

Mais conteúdo relacionado

Mais de Dr.Choen Krainara

Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in MEAL in Emergencies
Certificate of Completion in MEAL in EmergenciesCertificate of Completion in MEAL in Emergencies
Certificate of Completion in MEAL in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in Emergencies
Certificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in EmergenciesCertificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in Emergencies
Certificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Introduction to Conflict Sensitivity
Introduction to Conflict SensitivityIntroduction to Conflict Sensitivity
Introduction to Conflict SensitivityDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...
Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...
Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...
Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...
Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...Dr.Choen Krainara
 

Mais de Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 
Certificate of Completion in MEAL in Emergencies
Certificate of Completion in MEAL in EmergenciesCertificate of Completion in MEAL in Emergencies
Certificate of Completion in MEAL in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in Emergencies
Certificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in EmergenciesCertificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in Emergencies
Certificate of Completion in Introduction to Needs Assessments in Emergencies
 
Introduction to Conflict Sensitivity
Introduction to Conflict SensitivityIntroduction to Conflict Sensitivity
Introduction to Conflict Sensitivity
 
Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...
Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...
Certificate of Completion in MEAL DPro Monitoring, Evaluation, Accountability...
 
Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...
Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...
Certificate of Completion in Introduction to International Humanitarian Law (...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change-Economics of Ad...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change Transitioning t...
 

บทเรียนจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา: เราสามารถสร้างการค้าที่เป็นธรรมและมีควา

  • 1. บทเรียนจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา: เราสามารถ สร้างการค้าที่เป็นธรรมและมีความเท่าเทียมได้อย่างไร? โดย เชิญ ไกรนรา กลุ่มงานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2549 -------------------------------------------- 1. ความเป็นมาของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ตกลงร่วมกันที่จะเจรจาเขตการค้าเสรีทวิภาคีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้แจ้งต่อสภาคองเกรสว่ามีความตั้งใจที่จะเริ่มทาการ เจรจาโดยเริ่มจากช่วง 90 วัน เพื่อทาการหารือกับสภาคองเกรสและภาคเอกชนก่อนที่จะเริ่มทาการเจรจาจริง และเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศว่าการเจรจาจะเริ่มขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 2547 1.1 เหตุผลในการทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีของฝ่ายสหรัฐอเมริกา Robert Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐ ได้นาเสนอผลประโยชน์ที่จะได้จากกลุ่มนโยบายที่มีศักยภาพด้านการค้า และการต่างประเทศที่จะได้รับจากข้อตกลง เขายังได้พาดพิงถึงประเด็นอ่อนไหวซึ่งต้องให้ความสนใจ เช่น การค้าที่เกี่ยวกับ ยานยนต์ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แรงงานและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่สาคัญดังนี้ 1) FTA จะให้ประโยชน์แก่ผู้ผลิตด้านการเกษตรของสหรัฐซึ่งได้เรียกร้องให้ภาครัฐเดินหน้าเจรจาต่อไป ตลอด ทั้งบริษัทเอกชนที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและบริการต่างๆ 2) สาหรับผู้ผลิตด้านการเกษตรโดยการยกเลิกหรือลดภาษีหรืออุปสรรคอื่นๆ ที่ตั้งไว้สูงของฝ่ายไทย FTA จะ สร้างโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกอย่างมีนัยสาคัญมายังประเทศไทย 3) ในปี 2546 ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ลาดับที่ 16 สาหรับสินค้าเกษตรส่งออกจากสหรัฐ 4) FTA จะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกของสหรัฐของสินค้าและบริการต่างๆ โดยเฉพาะสาขา เทคโนโลยี สารสนเทศ บริการทางการเงิน เครื่องเสียง ยานยนต์ และเครื่องมือทางการแพทย์ 5) ในปี 2546 บริษัทเอกชนของสหรัฐได้ส่งออกสินค้ามายังไทยจานวน 232 ,000 ล้านบาท และบริการต่างๆ จานวน 44,000 ล้านบาท 6) การรักษาสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสาหรับนักลงทุนสหรัฐในประเทศไทยเป็นลาดับความสาคัญสูงที่สุด สาหรับภาคธุรกิจของสหรัฐ เนืองจากไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐ (ขนาด 1 ต่อ 100) ดังนั้น ข้อตกลงโดยตัวของมันเองจะมีส่งผลกระทบน้อยต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของสหรัฐ 1.2 รูปแบบของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีของสหรัฐอเมริกา มีแนวทางปฏิบัติที่ได้ยึดถือในการเจรจา ดังนี้ 1) เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทเอกชนสหรัฐจะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษเหมือนประชาชนของประเทศเจ้าบ้านและ คู่แข่งขันของเขาเอง 2) เพื่อจัดตั้งข้อจากัดที่ชัดเจนเกี่ยวกับกรณีการยึดกิจการของการลงทุนและเพื่อให้มั่นใจว่านักลงทุนสหรัฐ ได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม
  • 2. - 2 - 3) เพื่อให้มั่นใจว่าการโอนเงินทุนอย่างเป็นอิสระเพื่อนาเข้าและนาออกจากประเทศเจ้าบ้านโดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยนตลาด 4) เพื่อจากัดความสามารถของรัฐบาลเจ้าบ้านในการที่ต้องการให้นักลงทุนสหรัฐรับการปฏิบัติที่ไม่มี ประสิทธิภาพและบิดเบือนทางการค้า 5) เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิของนักลงทุนสหรัฐในการยื่นข้อเสนอข้อขัดแย้งทางการลงทุนโดยใช้สนธิสัญญาของ รัฐบาลภาคีสมาชิกจนกระทั่งถึงการไกล่เกลี่ยระดับนานาชาติ 6) การให้สิทธิแก่นักลงทุนสหรัฐในการจ้างบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงสุดตามที่ต้องการโดยไม่เกี่ยวข้อง กับสัญชาติ 1.3 ประเด็นหลักของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ครอบคลุมประเด็นที่สาคัญดังนี้ 1) กรอบการดาเนินงานภายใต้กฎหมาย ที่เป็นตัวกาหนดเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เช่น กฎหมายภายในประเทศและกฎระเบียบต่างๆ กฎหมายระหว่างประเทศ แนวทางการปฏิบัติระหว่างประเทศ สนธิสัญญา ระหว่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับพหุภาคี กฎระเบียบขององค์การการค้าโลกที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ระบบพิเศษ เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการลงทุน และการเปิดเสรีทางการลงทุนแต่ฝ่ายเดียว และกรอบการดาเนินการของกฎหมายที่เป็น ตัวกาหนดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระดับนานาชาติ เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ บทบาทขององค์การการค้า โลก เช่น ข้อตกลงพหุภาคีการลงทุน ข้อตกลงทั่วไปเกี่ยวกับมาตรการด้านการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (General Agreement on Trade related-investment measures-TRIMs) ข้อตกลงทั่วไปด้านการค้าเกี่ยวกับการบริการ (General Agreement on trade in services-GATs) ข้อตกลงทั่วไปด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (General Agreement on Trade-related property rights-TRIPs) และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เช่น EU NAFTA ASEAN เป็นต้น 2) กรอบการดาเนินงานของสถาบัน 3) การจัดชั้นของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 4) หลักการของประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคม เกี่ยวกับผู้นิยมการเปิดเสรีสมัยใหม่หรือแนวคิด ร่วมสมัยสมัยใหม่ โดยมีประเด็นสาคัญเช่น ตลาดทั่วโลก บทบาทของตลาด การที่รัฐไม่เข้าแทรกแซง การไม่มีพรมแดน การ ไม่มีอุปสรรคทางการค้า นอกจากนี้ยังมีประเด็นบทบาทของรัฐและตลาด กลไกเพื่อสร้างความสมดุลของรัฐและตลาด และ กฎหมายเพื่อการแข่งขันและนโยบาย และกฎหมายต่อต้านการผูกขาด เป็นต้น 5) บูรณภาพเหนือดินแดนของรัฐ: บทบาทของรัฐและตลาด 6) สิ่งแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว และ 7) รูปแบบทางกฎหมายที่เป็นธรรมสาหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2. ประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ทีได้บังคับใช้ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศที่สหรัฐอเมริกาได้ลงนามจัดทาความตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน ชิลี อเมริกากลาง อิสราเอล จอร์แดน โมร็อคโค โอมาน ปานามา สิงคโปร์ และข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหภาพศุลกากรอาฟริกาใต้ โดยมี ตัวอย่างประสบการณ์ด้านการค้าในบางประเทศภายหลังจากการลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้ว ได้แก่ 2.1 ประเทศเม็กซิโก ดาเนินความร่วมมือในลักษณะ North-South Integration กับสหรัฐ โดยการเปิดเสรี ด้านเศรษฐกิจที่สาคัญเช่น การเปิดตลาดทุน และการขจัดอุปสรรคทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ดาเนินการในฝ่ายประเทศเม็กซิโก และพบว่าไม่ได้เก็บเกี่ยวจากการขยายตัวด้านบวกของผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศตามที่คาดหวังไว้ และการ เจรจากับประเทศมหาอานาจมีความยากและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุข้อตกลงที่จะเปิดโอกาสให้มีการจัดทาข้อตกลงที่ เอื้อให้มีการปฏิบัติต่อประเทศเม็กซิโกเป็นกรณีพิเศษสืบเนื่องจากความแตกต่างของระดับการพัฒนา ส่งผลให้ประเทศ เม็กซิโกและสังคมเม็กซิกันได้สูญเสียศักยภาพที่จะนาไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • 3. - 3 - 2.2 ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมินิกัน ( The US-Central America-Dominican Republic Free Trade Agreement-CAFTA) ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นลาดับที่ 14 ของสหรัฐ และ เป็นตลาดส่งออกลาดับที่ 2 ในลาตินอเมริกา หลังจากที่กลุ่มประเทศเหล่านี้ตัดภาษีนาเข้าสินค้าที่ค่อนข้างสูงสาหรับสินค้า นาเข้าจากสหรัฐ ทาให้สร้างความได้เปรียบต่อฝ่ายสหรัฐและทาให้สามารถลดการขาดดุลการค้า โดยคาดว่าเมื่อการลดภาษี ของ CAFTA เกิดผลในทางปฏิบัติจะทาให้สหรัฐส่งออกสินค้าเกษตรได้ประมาณ 60,000 ล้านบาท ต่อปี ในขณะที่กลุ่ม ประเทศ CAFTA ได้รับประโยชน์ในในรูปของโครงการสิทธิพิเศษด้านภาษี อย่างไรก็ตามการลดภาษีที่กลุ่มประเทศ CAFTA จะดาเนินการภายใต้ข้อตกลงจะมีผลกระทบที่น่ากลัวต่อผลการดาเนินงานด้านการค้าต่างประเทศและเศรษฐกิจ ภายในประเทศ หรือภาคเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ 2.3 ประเทศชิลี การส่งออกของสหรัฐไปยังชิลีขยายตัวร้อยละ 33.5 ในปี 2547 ทาให้สหรัฐกลายเป็นคู่ค้าที่ สาคัญของชิลี 2.4 ประเทศสิงคโปร์ สหรัฐได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มเป็น 3 เท่า หลังจากการทาข้อตกลง FTAs กับสหรัฐเป็น เวลา 1 ปี คิดเป็นมูลค่า 172,000 ล้านบาท 2.5 ประเทศออสเตรเลีย ภายในไตรมาสแรกตั้งแต่การทาข้อตกลง FTAs กับสหรัฐ มีผลในทางปฏิบัติ สหรัฐ มีอัตราการขยายตัวทางการค้าร้อยละ 31.7 คิดเป็นมูลค่า 85,200 ล้านบาท 3. การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา ที่สาคัญและข้อเสนอแนะ สามารถรวบรวมได้ดังนี้ 3.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของไทย การศึกษาเรื่อง US Bilateralism in South East Asia: A Sectoral Analysis of Market Access Issues in the Proposed Thai-US (Bilateral) Free Trade Agreement โดย Smith Francis และ Murali Kallummal พบว่าไทยอาจได้รับส่วนต่าง ด้านสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ FTA ไทยกับสหรัฐ เพียงเล็กน้อย และในปัจจุบันภาษีนาเข้าของของสาขาทีสาคัญของไทยก็ ต่าอยู่แล้ว ตลอดทั้งในหลายสาขาที่มีศักยภาพของไทยก็มีปัญหาที่เกี่ยวข้องมากมายในการที่จะขยายสัดส่วนการส่งออกของ ไทย และสาขาที่ไทยอาจได้รับส่วนต่างของสิทธิพิเศษเพียงเล็กน้อยก็มีช่องว่างของสัดส่วนทางการตลาดในปัจจุบันค่อนข้าง กว้างเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันอื่นๆ เช่น จีน (MFN สูงกว่าไทย) และในบางกรณีของเม็กซิโก (ซึ่งมีอัตราภาษีเป็นศูนย์) ทาให้ส่วนต่างสิทธิพิเศษที่ได้รับเพียงเล็กน้อยไม่อาจส่งผลให้เกิดผลต่อการปรับปรุงสัดส่วนการตลาดของไทย ผลที่ได้จากการขยายตลาดจะก่อให้เกิดแก่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ของสหรัฐที่มีโรงงานประกอบกิจการเพื่อการส่งออกเป็น หลักในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยไทยอาจไม่ได้รับสิทธิพิเศษในบางสาขาซึ่งขณะนี้อยู่ในกลุ่มที่มีการขยายตัวของการส่งออกสูง ที่สุดระหว่างปี 2542-2548 เนื่องจากสหรัฐ ได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อลดสิทธิพิเศษทางภาษี ดังนั้นสิทธิประโยชน์ด้านการ ส่งออกของ FTA ระหว่างไทยกับสหรัฐ จะมีอายุสั้นภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากภาวการณ์แข่งขันต่างๆ ที่ไทยกาลัง เผชิญอยู่ในตลาดสหรัฐ เพราะในความเป็นจริงสหรัฐ ก็ได้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ของไทย เช่น มาเลเซีย และ เกาหลีใต้ และประเทศคู่แข่งขันไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้การใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น ข้อจากัดด้านเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade: TBTs) และ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phyto-Sanitary (SPSs) Measures โดยสหรัฐในบางสาขาที่อยู่ในความสนใจนอกจากจะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงตลาดของไทยแล้วยังสามารถ นาไปสู่การเพิ่มขึ้นของการนาเข้าเทคโนโลยีและสินค้าทุน ซึ่งจากการวิเคราะห์จีนเป็นประเทศคู่แข่งขันที่ใหญ่ที่สุดที่ไทย จะต้องเผชิญในหลายสาขาในตลาดสหรัฐ ซึ่งจีนสามารถทาได้ดีกว่าไทยโดยการตัดค่าแรงงานให้ถูกกว่า
  • 4. - 4 - 3.2 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักคือ 1) ผลกระทบของบริการต่างๆ และการเปิดเสรีด้านการค้าต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การท่องเที่ยว การ ขนส่งสินค้าทางบก (ระหว่างเมือง) และบริการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บริการด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล บริการการกาจัดขยะ บริการด้านสุขอนามัยและบริการที่คล้ายคลึงกัน การทาความสะอาดไอเสียของก๊าซต่างๆ บริการกาจัดเสียงต่างๆ บริการ ต่างๆ เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ การปรับปรุงกฎหมาย การตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สาคัญ การ เชื่อมโยงไปยังสินค้า โดยเน้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้อง 2) ผลกระทบของทรัพย์สินทางปัญญาต่อสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงองค์การการค้าโลกเกี่ยวกับข้อตกลงทั่วไป ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (General Agreement on Trade-related property rights-TRIPs) ได้กาหนด มาตรฐานระหว่างประเทศขั้นต่าเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายในประเทศเพื่อดาเนินการให้สอดคล้องกับ มาตรฐานเหล่านี้ ในปัจจุบันได้มีการเพิ่มขึ้นของการใช้มาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาที่สูงขึ้นภายใต้ TRIPs ซึ่งไม่เหมาะสม สาหรับประเทศกาลังพัฒนา TRIPs ประกอบด้วยการยกเว้นที่สาคัญ ข้อยกเว้นต่างๆ และข้อจากัดต่างๆ เรียกว่า ความ ยืดหยุ่น (Flexibilities) และ FTA ต่างๆ ได้พยายามลดหรือยกเลิกความยืดหยุ่นเหล่านี้และแม้กระทั่งเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ อยู่ภายใต้ TRIPs เรียกว่า TRIPs Plus ซึ่งมีความโน้มเอียงที่เอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะเดียวกัน ก็ขาดความสมดุลกับผู้ใช้และความต้องการพัฒนาของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามสหรัฐได้กาหนดข้อตกลง TRIPs Plus ใน ทุก FTA ที่ทากับประเทศอื่นๆ ทาให้เกิดระบบที่ผิดปกติขึ้น ( EU และ ญี่ปุ่นก็ใช้ TRIPs Plus ด้วย) (1) ข้อแตกต่างระหว่าง TRIPs และ TRIPs Plus ด้านสิ่งแวดล้อม TRIPs มีนัยสาคัญเกี่ยวกับความหลายหลายทางชีวภาพ โดยให้สามารถออกสิทธิบัตรได้ในประเด็นที่ เกี่ยวกับ micro-organism non-biological and micro-biological processes และยกเว้นการออกสิทธิบัตร เกี่ยวกับ สัตว์ พืช ที่เกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาสาหรับการผลิตพืชและสัตว์ (เกิดตามธรรมชาติ) และการวินิจฉัย วิธีการรักษาและการผ่าตัดสาหรับการรักษามนุษย์ และสัตว์ (สาหรับเหตุผลด้าน สาธารณสุข) ภายใต้ข้อตกลงนี้สามารถทาให้เกิดการปล้นทางชีว (Biopiracy) TRIPs Plus นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สหรัฐมีการกาหนดมาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมาตรฐานสูง กว่าในประเทศกาลังพัฒนา และขอให้ประเทศกาลังพัฒนาให้จัดทาระบบที่เข้มงวดขึ้นและเปิดกว้างมาก ขึ้นเพื่อให้เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาต่างๆ ที่มีประโยชน์เพียงเล็กน้อยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เหล่านั้น ในกรณีของไทย สหรัฐได้กาหนดขอให้เป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจานวน 10 สนธิสัญญาในข้อเสนอที่ เป็นเอกสาร ครอบคลุมทางด้าน ความหลากหลายของพืช micro-organism ซอฟแวร์ ช่องสัญญาณการ ออกอากาศ เครื่องหมายการค้า ฟิล์ม เพลง การจดทะเบียนสิทธิบัตร เป็นต้น (2) ข้อควรตระหนักในการเจรจา ข้อเสนอ TRIPs Plus มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความรู้แต่โบราณเกี่ยวกับความ หลากหลายทางชีวภาพซึ่งอาจนาไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวม ข้อเสนอ TRIPs Plusมีผลกระทบต่องบประมาณการพัฒนาของประเทศกาลังพัฒนาในแง่เกี่ยวกับการ จ่ายค่า Royalties สาหรับการใช้เทคโนโลยีและการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับข้อตกลง
  • 5. - 5 - ข้อเสนอด้านทรัพย์สินทางปัญญาสามารถพบได้ไม่เพียงแต่ในบท IPR ของ FTAs แต่ยังพบได้ในการ ลงทุน บริการต่างๆ บทนา side letters ภาคผนวก และ บทการจัดการข้อพิพาท ดังนั้นจึงควรศึกษาอย่าง รอบคอบ ประเทศกาลังพัฒนาควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจะรวมประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรายการไว้ใน FTAs หรือไม่ เนื่องจากมีการกาหนดกฏและระเบียบต่างๆที่เข้มงวดไว้ใน WTO และ WIPO แล้ว 3.3 ผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาประเด็นเกี่ยวกับการบริโภคยา สหรัฐอเมริกามักกาหนดข้อเสนอ TRIPs Plus ไว้ใน FTAs ซึ่งข้อเสนอบางข้อใน TRIPs Plus ยังไปไกลกว่ากฎหมายของ สหรัฐเองด้วยซ้า โดยหากไทยรับข้อเสนอดังกล่าวจะส่งผลกระทบดังนี้  บทบัญญัติห้ามการขึ้นทะเบียนยาชื่อสามัญในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากยาต้นตารับสู่ตลาด (Data exclusivity) ซึ่ง ก่อให้เกิดอุปสรรคตัวใหม่เกี่ยวกับข้อมูลทดลองยา ซึ่งทาให้การขึ้นทะเบียนตารับยาชื่อสามัญที่ราคาถูกออกสู่ตลาด ล่าช้าออกไป  กฎเกณฑ์ซึ่งทาให้หน่วยงานควบคุมยาในประเทศเปลี่ยนเป็น “ผู้บังคับใช้” สิทธิบัตรด้านยา ซึ่งก่อให้เกิดอุปสรรค เพิ่มเติม และทาให้การอนุมัติยาชื่อสามัญราคาถูกออกสู่ตลาดล่าช้าออกไป  การขยายช่วงอายุของสิทธิบัตร ซึ่งยิ่งทาให้เกิดความล่าช้าในการแข่งขันของยาชื่อสามัญที่จะออกสู่ตลาด  มาตรการที่อนุญาตให้นาสารต่างๆ ทีเป็นที่รู้จักกันแล้วมาจดสิทธิบัตรใหม่ได้อีกสาหรับ “การใช้ใหม่”  ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งจากัดความสามารถของประเทศในการใช้ “มาตรการบังคับสิทธิ” เพื่อเป็นเครื่องมือทางกฎหมาย ในการรับรองการได้บริโภคราคาถูกตามความเหมาะสมและจาเป็น ข้อเสนอแนะในการเจรจา  ประเทศไทยควรพยายามสงวนไว้ซึ่งสิทธิอันเป็นอธิปไตยของชาติไทยในการใช้อย่างเต็มที่ซึ่งความยืดหยุ่นทั้งปวง ที่มีอยู่ในข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (ข้อตกลง TRIPs) ซึ่งยืนยันโดยปฏิญญาโดฮาว่าด้วยข้อตกลง TRIPs และการสาธารณสุข เพื่อคุ้มครองสุขภาพของสาธารณชน และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ในประเด็นนี้ ประเทศไทยควรทบทวน และเพิ่มความแข็งแกร่งแก่ระบบกฎหมายที่มีใช่อยู่ในประเด็นดังต่อไปนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้บริโภคยาดังกล่าว o ใบอนุญาตการบังคับการใช้สิทธิและการใช้สิทธิโดยรัฐบาล o การนาเข้าซ้อน o ข้อยกเว้นต่างๆ ในสิทธิผูกขาดทางสิทธิบัตร o เงื่อนไขสิ่งประดิษฐ์ที่ให้สิทธิบัตร (นิยามของสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น) o บทบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลซึ่งยืดหยุ่นได้ o นโยบายด้านการแข่งขัน o การป้องกันการนาบทบัญญัติไม่ใช้ความรุนแรงเข้ามาไว้ในกฎหมายของชาติ  ประเทศไทยควรพิจารณาออกใบอนุญาตบังคับใช้สิทธิกับตัวยาต้านไวรัสเอดส์สูตรสอง ตามความเหมาะสมและ ตามความจาเป็นของภาคสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดหายารักษาโรคเอดส์ในราคาที่ซื้อได้ให้แก่ผู้ป่วยที่อาจกาลัง ดื้อยาสูตรหนึ่งซึ่งหาได้ในราคาที่ซื้อได้ในประเทศไทยอยู่แล้ว  ประเทศไทยต้องไม่ยอมรับข้อกาหนด TRIPs Plus ที่อาจเสนอเข้ามาในบริบทของข้อตกลงเขตการค้าเสรีระดับ ภูมิภาคหรือระดับทวิภาคี (FTAs) เนื่องจากเนื้อหาการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไม่ใช่รูปแบบตายตัว ประเทศ ไทยควรพิจารณาริเริ่มเสนอเนื้อหาการเจรจาของตนเองที่จะคุ้มครองสิทธิของประเทศไทย ในการใช้ความยืดหยุ่น ของข้อตกลง TRIPs ตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก ข้อเสนอของไทยอาจรวมข้อกาหนดทั่วไปในการคุ้มครอง สุขภาพไว้ในเนื้อหาการเจรจาด้วย
  • 6. - 6 -  ประเทศไทยจาเป็นต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการเจรจานั้นโปร่งใส  ประเทศไทยควรอาศัยผลการศึกษาต่างๆ เพื่อประเมินผลกระทบของการใช้บทบัญญัติของข้อตกลง TRIPs Plus ในเรื่องความมั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ “30 บาท รักษาทุกโรค” ซึ่งเป็นที่นิยมยิ่ง จาเป็นต้องมีการวิจัยมากขึ้นอีกในเรื่องต้นทุนทางสังคม และเศรษฐกิจของ บทบัญญัติ TRIPs Plus ในข้อตกลงเขตการค้าเสรี และการเพิ่มมาตรฐานการคุ้มครอง สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ด้วย โดยต้องให้ประชาชนได้รับรู้ผลการศึกษาดังกล่าว และสื่ออย่างมีประสิทธิภาพให้ถึงผู้วางนโยบาย สมาชิก รัฐสภา และสาธารณชนทั่วไป การศึกษายังต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ แต่ไม่จากัดอยู่เพียงเท่านี้ o นัยทางการเงินของราคายาที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากการคุ้มครองสิทธิบัตรที่เข้มงวดเพื่อให้โครงการ “30 บาทรักษา ทุกโรค” เติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน o ต้นทุนที่ใช้ในการค่อยๆ เปลี่ยนผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษา ไปเป็นการรักษาโรคเอดส์ในสูตรสองตามที่องค์การ อนามัยโลกเสนอแนะไว้ เนื่องจากผู้ป่วยดื้อยาสูตรหนึ่ง ทั้งที่ใช้และไม่ใช้แนวทางข้อตกลง TRIPs Plus  ประเทศไทยควรทาการสารวจและตรวจสอบว่าพันธะหน้าที่ในบทอื่นๆ ของ FTAs ที่จะเกิดขึ้นไม่ทาลาย วัตถุประสงค์และนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งพันธะในการลงทุน การให้บริการต่างๆ การจัดหายา ของรัฐบาล และการยุติข้อพิพาท 4. ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ 4.1 ยังไม่มีความชัดเจนว่าการทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกาจะทาให้เกิดการขยายมูลค่าการค้าซึ่ง ประเทศที่ได้ลงนามข้อตกลงไปแล้ว เช่น เม็กซิโก และชิลี ต่างก็เป็นฝ่ายขาดดุลและสูญเสียตลาดให้แก่สหรัฐอเมริกา และ สวัสดิการของสังคมก็ไม่ได้ดีขึ้น ในขณะที่ประเทศที่ไม่ได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี เช่น จีน และอินเดีย ต่างก็มีอัตราการ ขยายตัวทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา 4.2 มี 3 ประเด็นหลักที่ควรให้ความสาคัญเป็นอย่างยิ่งคือ การบังคับใช้ การควบคุมเงินทุน และกลไกจัดการข้อ พิพาท 4.3 ข้อตกลงเขตการค้าเสรีส่วนใหญ่จะเอื้อผลประโยชน์ให้แก่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จากสหรัฐอเมริกา 4.4 ขอให้มีการจัดทาประชาพิจารณ์การจัดทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีอย่างโปร่งใสและให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วน ร่วมอย่างกว้างขวางในการร่วมคิดร่วมทา 4.5 การมีบาทที่ลดลงของนโยบายภาครัฐควรให้มีการคานวณรวมเป็นต้นทุนทางสังคม 4.6 การทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาจกลับไปสู่ระบบการล่าอาณานิคมอีกครั้งหรือไม่ 5. ข้อคิดเห็นของผู้เขียน 5.1 หากการเจรจาเพื่อจัดทาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาดาเนินต่อไป เห็นควรให้มีการศึกษาแนว ทางการเจรจาอย่างรอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไป ตลอดทั้งกาหนดภาคธุรกิจหรือสาขาธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของไทยเพื่อการทะลุ ทะลวงหรือขยายตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น ในขณะเดียวกันเห็นควรศึกษาภาคธุรกิจหรือสาขาธุรกิจที่เป็นจุดอ่อนของไทยที่ มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่าเพื่อการเตรียมการหามาตรการปกป้องให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ 5.2 ศึกษาความเหมือนและความแตกต่างในด้านเนื้อหาของข้อตกลงที่สหรัฐอเมริกาได้ตกลงกับประเทศอื่นๆ เพื่อที่ ประเทศไทยจะได้ใช้เป็นบทเรียนเพื่อการศึกษาเป็นแนวทางการเจรจา 5.3 เห็นควรให้ยึดข้อตกลงขององค์การการค้าโลกรอบโดฮา เป็นมาตรฐานในการเจรจาเนื่องจากจะส่งเสริมการปฏิบัติ ต่อกันที่เน้นการเคารพซึ่งกันและกันและเน้นการสร้างความความเท่าเทียมกันซึ่งประเทศกาลังพัฒนาอย่างประเทศไทย สามารถปฏิบัติได้ และไทยอาจปฏิเสธข้อเสนอที่ใช้มาตรฐานการเจรจาสูงกว่านี้เนื่องจากอาจเป็นภาระที่มากเกินไป ปฏิบัติได้
  • 7. - 7 - ยาก และอาจต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมอีกเป็นจานวนมากในขณะที่งบประมาณเพื่อการพัฒนาประเทศมี จากัด 5.4 เห็นควรให้มีการกาหนดระยะเวลาของการบังคับใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาที่ชัดเจน และเสนอ ให้มีการเจรจาใหม่เมื่อข้อตกลงเดิมสิ้นสุดอายุลง โดยควรมีการศึกษาผลกระทบ ผลได้ ผลเสีย ที่ครอบคลุมทุกด้านอย่าง รอบคอบรอบเป็นฐานข้อมูลก่อนการดาเนินการเจรจาเขตการค้าเสรีรอบใหม่ --------------------------------------