SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 33
Baixar para ler offline
บทที่ 4
การประกันชีวิต
การดาเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนล้วนตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน ดังนั้นมนุษย์เราจึงต้องหา
หนทางเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันเรื่องของรายได้ การศึกษา การประกอบ
อาชีพ ฯลฯ เมื่อครอบครัวต้องสูญเสียผู้นาหรือบุคคลที่เป็นเสาหลัก หรือขาดผู้อุปการะ หมายถึง รายได้
ที่เคยได้ประจาต้องหมดสิ้นลงทันที ภรรยาและบุตรหรือผู้ที่อยู่ในความอุปการะย่อมประสบปัญหาความ
เดือดร้อนในการดารงชีพ การประกันชีวิตเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านรายได้ของครอบครัว
ทุกชีวิตในครอบครัวสามารถดาเนินต่อไปไม่ว่าผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวจะพบกับอุปสรรคของการดาเนิน
ชีวิตอันเนื่องมาจากจากการตกงาน การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ การเป็นบุคคลทุพพลภาพ ความชราภาพ
หรือการเสียชีวิตก็ตาม
ความหมายของการประกันชีวิต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 ประกอบกับมาตรา 889 อธิบายความหมาย
ของการประกันชีวิต ไว้ว่า หมายถึง สัญญาซึ่งผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินจานวนหนึ่งให้เมื่อมีเหตุ
ในอนาคตดังระบุไว้ในสัญญา กล่าวคือ เมื่อผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตมรณะลงภายในเวลา
ตามที่ตกลงกันไว้ หรือเมื่อผู้นั้นยังทรงชีพอยู่จนถึงเวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ และในการนี้ผู้เอาประกันชีวิต
ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันชีวิต จากบทบัญญัติดังกล่าวได้มีนักวิชาการ
หลายท่านได้อธิบายความหมายของการประกันชีวิตไว้เพิ่มเติม ดังนี้
ส่วนในมุมมองของ คานาย อภิปรัชญาสกุล (2553 : 2) ได้ให้ความหมายของการประกัน
ชีวิตไว้ว่า หมายถึง การประกันต่อความสูญเสีย เสียหายอันจะเกิดแก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญา
จักชดเชยเมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสีย
อวัยวะ (Accident and Dismemberment), การประกันกรณีทุพพลภาพ (Total Disability) หรือ
การประกันสุขภาพ (Health Insurance)
ธานี วรภัทร์ (2548 : 84) ได้ให้ความหมายของการประกันชีวิตไว้ว่า หมายถึง สัญญาซึ่งผู้รับ
ประกันภัยตกลงจะใช้เงินจานวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้สืบสิทธิของเขา เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือ
ผู้ถูกเอาประกันชีวิตไว้ได้เสียชีวิตภายในเวลาหรือยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาอันได้ตกลงกันกาหนดไว้ และใน
การนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงชาระเบี้ยประกันภัย
92
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การประกันชีวิต หมายถึง การที่บุคคลกลุ่มหนึ่ง
ร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้
ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบภัยเหล่านั้นก็จะได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความ
เดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทาหน้าที่เป็นแกนกลางในการนาเงินดังกล่าว
ไปจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย นอกจากนั้นความหมายของการประกันชีวิต (Life – Insurance) ยังหมายรวมถึง
วิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งรวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต และครอบคลุม
ไปถึงการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เมื่อบุคคลใดประสบภัยเหล่านี้ จะได้รับเงินจานวนหนึ่งซึ่งเรียกว่าเงินส่วนเฉลี่ยเพื่อบรรเทาความ
เดือดร้อน ผู้รับประกันชีวิตจะทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการนาเงินส่วนเฉลี่ยไปจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย
การทาประกันชีวิตจึงเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัว หากเกิดการเสียชีวิต
เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินตามที่กาหนดไว้ในเงื่อนไขของสัญญาประกันชีวิต
เช่น หากมีชีวิตอยู่จนครบกาหนดสัญญา หรือเสียชีวิตในระหว่างสัญญา หรือทั้ง 2 กรณีรวมกัน
จะได้รับเงินตามเงื่อนไขของสัญญา ขึ้นอยู่กับแบบการประกันชีวิตที่ได้ทาประกันชีวิตไว้
ประวัติความเป็นมาของการประกันชีวิต
การเริ่มประกันชีวิตนี้ ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าได้เริ่มขึ้นเมื่อใด แต่ประเทศกรีซซึ่งมีคนนับถือ
ศาสนาแยกออกเป็นหลายนิกาย และได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนานิกายเดียวกัน ได้จัดตั้งสมาคม
ขึ้น โดยมีการเก็บเงินจากสมาชิกเป็นรายเดือน รวมถึงกาหนดว่าหากสมาชิกคนใดถึงแก่กรรม ทาง
สมาคมก็จะจัดการทาศพให้จนเป็นที่เรียบร้อย หากสมาชิกผู้ใดละเลยการจ่ายเงินค่าสมาชิก สมาคมจะ
จัดการลงโทษโดยไม่จัดการทาศพให้ ต่อมาในสมัยโรมัน มีการวิวัฒนาการเพื่อปรับปรุงสมาคมให้ดีกว่า
เดิม จึงได้รับบุคคลทั่วไปเข้ามาเป็นสมาชิก เว้นแต่ผู้มีอาชีพทหาร แต่จะสงเคราะห์ความทุกข์ยากอื่น ๆ
ให้ เช่น ความชรา ทุพพลภาพ หรือการเปลี่ยนแปลง โยกย้ายไปรับตาแหน่งหน้าที่การงานอื่น
ริชาร์ด มาติน (Richard Matin) ตัวแทนการประกันภัยทางทะเลในประเทศอังกฤษ กับ
ตัวแทนอีก 15 คน ได้ตกลงรับทาประกันชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1583 จึงได้ตก
ลงรับประกันนายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ (William Gybbons) โดยตกลงว่า นายกิบบอนส์ จะต้องจ่ายเงิน
เป็นจานวน 80 ดอลลาร์ ถ้านายกิบบอนส์ถึงแก่กรรมภายในระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินเป็นจานวน
2,000 ดอลลาร์ ซึ่งมีที่มาจากการที่คณะตัวแทนทั้ง 16 คนรวมกันจ่ายเงินให้ ต่อมาในวันที่ 19
พฤษภาคม นายกิบบอนส์ ถึงแก่กรรม ซึ่งความจริงแล้วสัญญาครบกาหนดวันที่ 20 พฤษภาคม บรรดา
93
กลุ่มตัวแทนทั้งหมดรู้สึกผิดหวังมากในการเลือกรับประกันภัยรายนี้ เนื่องจากพวกเขาคิดว่าระยะเวลา
คุ้มครองควรเป็น 28 x 12 = 336 วัน (28 วันเท่ากับ 1 เดือน) ต่อมาได้มีการฟ้องร้องศาล โดยที่สุดศาล
ตัดสินให้กลุ่มตัวแทนต้องจ่ายเงินจานวน 2,000 ดอลลาร์ให้แก่ทายาทของนายกิบบอนส์
ในปี ค.ศ. 1698 บริษัทเมอร์เซอร์แห่งประเทศอังกฤษ ได้ริเริ่มการประกันแบบบานาญหรือ
รายได้ประจา โดยมีข้อแม้ว่าผู้รับประโยชน์จะต้องเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกัน การประกัน
แบบนี้เริ่มมีการช่วยเหลือโดยรัฐบาล คือ รัฐบาลยินยอมเข้ามาค้าประกันเพราะเกรงว่าบริษัทอาจ
ล้มละลายได้
ต่อมาปี ค.ศ.1699 ได้มีสมาคมดาเนินการประกันชีวิตให้แก่บรรดาพวกแม่ม่าย และเด็กกาพร้า
ขึ้นอย่างจริงจัง โดยมีสมาชิกถึง 2,000 คน การเก็บเงินจากสมาชิกสามารถเก็บได้ถึง 1.20 ดอลลาร์ต่อ
สัปดาห์ เงินที่เก็บมาได้ถูกรวบรวมไว้เป็นกองทุน และคาดว่าอย่างน้อยเงินกองทุนควรเป็นเงินประมาณ
2,400 ดอลลาร์ เงินก้อนนี้พร้อมที่จะจ่ายให้แก่สมาชิก หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมลง ทางสมาคม
ใช้หลักในการพิจารณาเลือกสมาชิกโดยพิจารณาจากสุขภาพ อายุ แต่มีข้อแม้คือ ไม่รับประกันบุคคลที่มี
อาชีพเป็นทหาร กรณีที่สมาชิกขาดการชาระเงินค่าสมาชิกให้แก่สมาคมภายใน 7 วัน ทางสมาคมจะถือ
ว่าสัญญาขาดอายุลง จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า บริษัทที่มีการรับประกันชีวิตที่ได้ดาเนินกิจการใน
รูปของสมาคม ซึ่งเรียกว่า Equitable of live Survivorships หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Old Equitable
การดาเนินการได้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1756 โดยบุคคล 2 คน คือ นายโทมัส ซิมพ์สัน และนายเจมส์ ดอดสัน
คือ รับทาการประกันชีวิตบุคคลทั่วไป โดยอาศัยตารางมรณะเป็นหลักสาคัญการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
โดยตกลงจะจ่ายให้เท่าที่จะหาเงินได้ ในระยะที่ Old Equitable ดาเนินการนั้น ได้มีผู้พยายามคิดและ
กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของสัญญา ตัวอย่างเช่น การขาดชาระเบี้ยประกัน 30 วัน ถือว่า
กรมธรรม์นั้นขาดอายุลง
การปรับปรุงสัญญาจะกระทาภายในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้สัญญากลับมามีผลใช้บังคับ
เช่นเดิม การจ่ายเงินคืนเบี้ยประกันนี้จะจ่ายให้มากกว่าจานวนเงินเอาประกันที่ได้ชาระมา ซึ่งปัจจุบัน
เรียกว่า เงินปันผล ข้อแตกต่างของ Old Equitable กับบริษัทประกันชีวิตในปัจจุบัน คือ Old Equitable
ไม่มีตัวแทนขายประกันชีวิตหากบุคคลใดต้องการจะซื้อสัญญาประกันชีวิตสามารถติดต่อโดยตรงที่ Old
Equitable
94
วิวัฒนาการประกันชีวิตในสหรัฐอเมริกา
ในปีค.ศ. 1759 พระนิกายเพรสบีแทเรียน ในมลรัฐฟิลาเดลเฟีย ได้จัดตั้งสมาคมสาหรับช่วย
ความทุกข์ยากแก่แม่ม่ายและเด็กขึ้น ได้จัดเงินกองทุนขึ้นไว้ การรับบุคคลต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคม
อยู่ในวงจากัด เพราะรับสมาชิกเฉพาะกลุ่มของพระนิกายนี้เท่านั้น ภายหลังได้มีการขยายการรับบุคคล
อื่นเข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคม ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี ต่อมาในระยะเวลาอีก 10 ปีก็มีพระนิกาย
Episcopal จัดตั้งขึ้น การดาเนินกิจการมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพรสบีแทเรียน บริษัท Insurance
Company of North America ได้เปิดดาเนินกิจการประกันชีวิต เป็นบริษัทแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1794 การดาเนินการประกันชีวิตของบริษัทแห่งนี้ไม่ค่อยจะจริงจังมากนัก
มีการร่างกรมธรรม์บางประเภทที่คิดว่าเหมาะสมและนามาใช้ ต่อมาบริษัท เพนซินเวเนีย ได้นา
กรมธรรม์การประกันชีวิตออกมาใช้ในปี ค.ศ. 1812 และบริษัทก็ดาเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การ
กาหนดรายละเอียดของบริษัทใช้หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย แบบของกรมธรรม์ส่วนมาก
เป็นไปตามแบบการกาหนดระยะเวลา ซึ่งแตกต่างกับกรมธรรม์การกาหนดระยะเวลาในปัจจุบัน เพราะ
รายละเอียดข้อปลีกย่อยไม่สมบูรณ์ ในปีค.ศ.1815 บริษัท Massachusetts Hospital Life Insurance
ได้เปิดดาเนินกิจการประกันชีวิต และบริษัทได้ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตบางฉบับเพื่อใช้ในการดาเนิน
ธุรกิจการประกันชีวิต
ประวัติการประกันชีวิตในประเทศไทย
การประกันภัยในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้บริษัท อี๊สเอเชียติ๊ก จากัด เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท
เอควิตาเบิล ประกันภัยแห่งกรุงลอนดอนเข้ามาดาเนินธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย โดยมีสมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เอกอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้เอาประกันชีวิตถือกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ
ทอนไทน์เป็นบุคคลแรกในประเทศไทย เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน กระทรวงพาณิชย์และ
คมนาคม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการและในปี พ.ศ.2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวาง
ระเบียบราชการสานักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ กองประกันภัย ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กองควบคุม
บริษัทประกันภัย ย้ายไปสังกัดกรมทะเบียนการค้า กระทรวงเศรษฐการ ทั้งนี้เพราะนอกจากการขอจด
ทะเบียนประกอบธุรกิจประกันภัยบริษัท จะต้องขอจดทะเบียนบริษัทจากัด ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วและ
อานวยความสะดวกในการขอจดทะเบียนและการควบคุม จึงให้กองควบคุมบริษัทประกันภัย สังกัดอยู่กับ
กรมทะเบียนการค้า
95
ในปี พ.ศ.2510 หลังจากได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันชีวิตแล้วจึงได้มีการโอน
กองประกันภัย จากสังกัดเดิมไปขึ้นกับสานักงานปลัดกระทรวง ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเศรษฐการเป็น
กระทรวงพาณิชย์ ต่อมาในปี พ.ศ.2515 ได้ยกฐานะกองประกันภัย เป็นสานักงานประกันภัย และในปี
พ.ศ.2533 เปลี่ยนชื่อจากสานักงานประกันภัยเป็นกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ (สานักงาน
ประกันภัยได้รับการยกฐานะเป็นกรม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216
ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2522 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 และ
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2533 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมการประกันภัย)
ลักษณะของการประกันชีวิต
การประกันชีวิตเป็นการประกันภัยประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะของการประกันชีวิตมีความ
แตกต่างจากลักษณะของการประกันวินาศภัย ดังนี้
1. การประกันชีวิตมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ซึ่งต้องอาศัยพึ่งพิงผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูก
เอาประกันชีวิตซึ่งถึงแก่ความตาย หรือเป็นการลงทุนแบบสะสมทรัพย์
2. การประกันชีวิต วัตถุที่เอาประกันภัยคือชีวิตของบุคคลซึ่งไม่สามารถตีราคาส่วนได้เสียเป็น
มูลค่าได้ ผู้เอาประกันชีวิตจึงอาจตกลงกาหนดจานวนเงินเอาประกันชีวิตไว้เพียงใดก็ได้ ตราบที่ผู้รับประกัน
ชีวิตยอมตกลงด้วยซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับฐานานุรูปของผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิต หากผู้เอา
ประกันชีวิตกาหนดจานวนเงินเอาประกันชีวิตไว้เพียงใด ผู้รับประกันชีวิตต้องใช้เงินตามจานวนเงินเอา
ประกันชีวิตซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้น จะนาหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงเช่น
กรณีการประกันวินาศภัยมาใช้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้เอาประกันชีวิตกาหนดจานวนเงินเอาประกันชีวิต
ไว้สูง จานวนเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันชีวิตต้องชาระก็จะถูกคานวณสูงตามไปด้วย
3. กรณีเอาประกันชีวิตไว้หลายรายผู้รับประกันชีวิตทุกรายต้องใช้เงินประกันชีวิตเต็มตามจานวน
ที่ตกลงไว้ ไม่มีสิทธิแบ่งส่วนความรับผิด หรือเกี่ยงให้ผู้รับประกันชีวิตภายแรก ๆ รับผิดก่อน เหมือนดังเช่น
กรณีประกันวินาศภัยหลายราย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870 หากผู้เอาประกัน
ชีวิตเสียชีวิตเนื่องมาจากความผิดของบุคคลภายนอก ถึงแม้ผู้รับประกันชีวิตจะได้ใช้เงินตามสัญญาประกัน
ชีวิตไปแล้วก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกได้อีก เนื่องจากสัญญา
ประกันชีวิตไม่ได้มีความมุ่งหมายเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเหมือนการประกันวินาศภัยซึ่งผู้รับ
ประกันภัยสามารถเข้ารับช่วงสิทธิได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880)
96
ประโยชน์ของการประกันชีวิต
ผู้เอาประกันชีวิตเมื่อตกลงทาสัญญาประกันชีวิตย่อมหมายความว่าผู้เอาประกันชีวิตต้องการ
ได้รับประโยชน์ด้านความคุ้มครอง กล่าวคือ เมื่อมีภัยเกิดขึ้นแก่ชีวิต ทาให้ผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสีย
รายได้เนื่องจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้ตาม
จานวนที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์แล้วแต่กรณี หากผู้
เอาประกันภัยเลือกซื้อการประกันชีวิตแบบที่มีการออมทรัพย์รวมอยู่ด้วย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงิน
จานวนหนึ่งตามที่ตกลงไว้เมื่อมีชีวิตอยู่ ณ วันที่สัญญาครบกาหนด ทั้งนี้ผู้รับประกันชีวิตจัดเป็นสถาบัน
การเงินเช่นเดียวกับธนาคารและบริษัทเงินทุน การประกันชีวิตให้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ ผู้รับประกันชีวิตจะนาเงินส่วนที่เป็นเงินออมของผู้เอาประกันภัยไปลงทุนในหลักทรัพย์
เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง
หรือนาไปลงทุนซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ทาให้รัฐบาลสามารถนาเงินส่วนนี้
ไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า สนามบิน ถนนหนทาง รถไฟฟ้า ฯลฯ อันเป็นการลดภาระของรัฐบาล
ที่จะต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
ประโยชน์ของการประกันชีวิต มีดังต่อไปนี้
1. ด้านการให้ความคุ้มครอง การประกันชีวิตจะให้ประโยชน์ในด้านความคุ้มครองทันที
ที่กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับตามจานวนเงินที่เอาประกันไว้ ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมผู้รับประกันภัย
จะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้ให้แก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์
ของผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ครอบครัวของผู้เอาประกันภัยมีเงินเลี้ยงชีพต่อไปโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
นอกจากนี้การประกันชีวิตยังช่วยให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายยามเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพอีกด้วย
2. ด้านการออมทรัพย์ กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยจะแบ่งรายได้ของตนส่วนหนึ่งไว้เพื่อนามา
ชาระเบี้ยประกันภัยเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประหยัดเพื่อออมทรัพย์
3. ด้านการลงทุน จานวนเบี้ยประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยชาระให้กับผู้รับประกันภัยจะถูก
สะสมไว้เป็นเงินสารองประกันชีวิต เงินสารองนี้ผู้รับประกันภัยจะนาไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลส่วนหนึ่ง
จะนาไปลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจะนาเงินเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
4. ด้านการลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้ เบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชาระให้แก่ผู้รับ
ประกันภัยทุกปีนั้นสามารถนามาใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้ เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลที่
นามาใช้ในการพัฒนาประเทศ ส่วนหนึ่งมาจากการประกันชีวิต เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 คณะรัฐบาล
จึงได้มีมติให้เพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิมสามารถหักลดหย่อนได้ตามจานวน
97
เงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทเป็นไม่เกิน 100,000 บาท โดยกรมธรรม์ชีวิตต้องมีระยะเวลาของ
สัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
5. ด้านการลงทุน ทาให้มีหลักประกันว่าต้นทุนจะไม่สูญหายเพราะบริษัทประกันชีวิตเป็น
ผู้รับผิดชอบต่อการลงทุน และบริษัทได้รับอนุญาตให้นาไปลงทุนได้เฉพาะกิจการที่มั่นคงเท่านั้น ผู้เอา
ประกันจะได้รับเงินปันผลตามสมควร หมายความว่า รูปแบบการประกันชีวิตบางประเภท เช่น แบบ
สะสมทรัพย์ หากผู้เอาประกันมีอายุไม่มาก เงินที่ได้รับเมื่อกรมธรรม์ครบกาหนดมักจะมากกว่าจานวน
เบี้ยประกันที่ส่งรวมกันทั้งหมด นอกจากนี้การประกันชีวิตยังจัดว่าเป็นหลักทรัพย์ที่แน่นอน ไม่ว่าจะกรณี
ผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ครบกาหนด หรือเสียชีวิตระหว่างสัญญาเพียงชาระเบี้ยประกันให้ตลอดเท่านั้น
ชนิด ประเภท และแบบของการประกันชีวิต
การประกันชีวิต แบ่งได้เป็น 2 ชนิด 3 ประเภท และ 4 แบบ ดังต่อไปนี้
1. ชนิดของการประกันชีวิต
ชนิดของการประกันชีวิตแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีเงินปันผล และชนิดไม่มีเงินปันผล ดังนี้
ภาพที่ 4.1 แสดงชนิดของการประกันชีวิต
ที่มา : พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 76.
1.1 การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะสูงเนื่องจากผู้เอาประกัน
ชีวิตจะได้รับส่วนแบ่งจากเงินปันผลซึ่งได้มาจากผลกาไรการดาเนินการของผู้รับประกันภัย กล่าวอีกนัย
หนึ่ง คือ กรมธรรม์แบบที่มีส่วนร่วมในเงินปันผล เป็นการประกันชีวิตแบบที่มีเงินปันผลเป็นเงินคืนจาก
การกาหนดไว้ในแบบประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงเลือกเอาประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผลนี้ มีการ
ชนิดของการประกันชีวิต
มีเงินปันผล ไม่มีเงินปันผล
98
จ่ายเงินปันผลคืนให้ตามระยะเวลาที่ได้กาหนดไว้ในสัญญาประกันชีวิต เงินปันผลดังกล่าวอาจรวมหุ้น
ในการลงทุนของบริษัท อัตรามรณะและกาไรจากการประกอบการด้วยก็ได้
ปกติเงินปันผลได้รับการจัดสรรให้โดยเริ่มจากสิ้นปีกรมธรรม์แรก หรือปีกรมธรรม์ที่ 2
กล่าวคือ เงินปันผลที่จะแจ้งให้ทราบเมื่อสิ้นปีแรกอาจจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ เมื่อผู้ถือกรมธรรม์ชาระ
เบี้ยประกันอีกงวดหนึ่งเสียก่อน ซึ่งผู้ถือกรมธรรม์สามารถเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเงินปันผลได้ ดังนี้
1.1.1 รับเงินปันผลคืนเป็นเงินสด
1.1.2 ใช้เงินปันผลมาช่วยชาระเบี้ยประกันในงวดต่อไป
1.1.3 ฝากสะสมไว้กับบริษัทประกันชีวิต
1.1.4 ใช้เงินปันผลซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่
1.2 การประกันชีวิตชนิดไม่มีเงินปันผล อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ากว่าชนิดมีเงินปันผล
ในกรมธรรม์แบบเดียวกัน (พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 77)
1.2.1 ที่มาของเงินปันผล
เงินปันผลได้มาจากผลกาไร หรือเงินส่วนเกินที่เกิดจากการดาเนินงานของบริษัท
ดังนี้
1.2.1.1 เงินที่จัดสรรจากผลกาไรที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของบริษัท
1.2.1.2 อัตรามรณะที่เกิดขึ้นจริงจากการรับประกันชีวิตของบริษัทต่ากว่าอัตรา
มรณะที่ใช้ในการคานวณอัตราดอกเบี้ยประกันภัย
1.2.1.3 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ใช้
ในการคานวณอัตราเบี้ยประกันภัย
1.2.1.4 อัตราค่าใช้จ่ายคาดคะเนที่ใช้คานวณอัตราเบี้ยประกันภัย มีจานวนสูง
กว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
1.2.2 วิธีการจ่ายเงินปันผล
บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้เฉพาะกรมธรรม์ชนิดมีเงินปันผลเท่านั้น ซึ่งผู้เอา
ประกันภัย จะขอรับได้ 4 วิธี คือ
1.2.2.1 ซื้อจานวนเงินเอาประกันภัยเพิ่ม
1.2.2.2 หักชาระเบี้ยประกันภัยงวดถัดไป
1.2.2.3 รับเป็นเงินสด
1.2.2.4 ฝากสะสมไว้กับบริษัทโดยได้รับดอกเบี้ย
99
2. ประเภทของการประกันชีวิต
ประเภทการประกันชีวิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
ภาพที่ 4.2 แสดงประเภทของการประกันชีวิต
ที่มา : พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 78.
2.1 การประกันชีวิตประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) การประกันชีวิตประเภท
สามัญมีลักษณะเป็นการประกันชีวิตรายบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการสูญเสียรายได้ที่เกิดจาก
กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือเพื่อเป็นการออมทรัพย์สาหรับผู้เอาประกันภัยตามระยะเวลาที่ตน
ต้องการ การประกันชีวิตประเภทนี้มีจานวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง เหมาะสาหรับผู้เอาประกันภัย
ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้รับประกันภัย และมีกาหนดการชาระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ราย 6 เดือน
ราย 3 เดือน หรือรายเดือน
2.2 การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม หรือการประกันชีวิตประเภทหมู่ (Group Life Insurance)
เป็นการประกันชีวิตของบุคคลจานวนหนึ่งภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว หรือกรมธรรม์หลัก (Master Policy)
ในกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทกลุ่มมีจานวนผู้เอาประกันชีวิตรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่
จะเป็นกลุ่มลูกจ้าง พนักงานบริษัท หรือสมาชิกองค์กร สาหรับการประกันชีวิตประเภทกลุ่มนั้นนายจ้าง
อาจเป็นผู้ขอทาประกันชีวิต และชาระเบี้ยประกันชีวิตให้ ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ดูแลกรมธรรม์หลัก ส่วนลูกจ้าง
หรือพนักงานแต่ละคนจะได้รับใบสาคัญในการเอาประกันชีวิตกลุ่ม ที่เรียกว่าใบรับรอง หรือหนังสือรับรอง
การเอาประกันชีวิตจากผู้รับประกันชีวิต ซึ่งใบรับรองดังกล่าวจะระบุเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
การพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทรับประกัน
อีกกรณีหนึ่งคือทั้งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจ่าย เบี้ยประกันชีวิต ส่วนผู้รับประโยชน์ควรเป็นบุคคลที่
ประเภทของการประกันชีวิต
ประเภทสามัญ
(Ordinary Life Insurance)
ประเภทกลุ่ม
(Group Life Insurance)
ประเภทอุตสาหกรรม
(Industrial Life Insurance)
100
ผู้เอาประกันภัยระบุแต่ไม่ใช่นายจ้าง จุดมุ่งหมายของการประกันชีวิตประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองต่อ
ลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ไม่ว่าจะเนื่องจากการปฏิบัติงานในหน้าที่หรือไม่ก็ตาม
การประกันภัยประเภทนี้โดยทั่วไปจะไม่มีการตรวจสุขภาพ
สาหรับการสิ้นสุดของสัญญาการประกันชีวิตประเภทกลุ่มจะมีผลบังคับของแต่ละ
บุคคล การประกันชีวิตของพนักงานคนใด ก็ตามจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์
หนึ่งต่อไปนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มฉบับนี้หมดผลบังคับ การหยุดชาระเบี้ยประกันภัยของพนักงาน
หรือนายจ้าง การว่าจ้างของพนักงานสิ้นสุดลง หรือพนักงานนั้นสูญเสียคุณสมบัติในการเอาประกันชีวิต
2.3 การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) การประกันชีวิต
ประเภทอุตสาหกรรมมีลักษณะเป็นการประกันชีวิตรายบุคคลเช่นเดียวกับการประกันชีวิตประเภทสามัญ
แต่เป็นการประกันชีวิตเพื่อช่วยเหลือครอบครัวซึ่งมีรายได้ต่า ไม่สามารถชาระเบี้ยประกันชีวิตประเภท
สามัญได้เนื่องจากผู้เอาประกันภัยมีรายได้น้อยและการประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรมมีจานวนเงิน
เอาประกันไม่มากนัก การชาระเบี้ยประกันชีวิตของผู้เอาประกันภัยสามารถแบ่งชาระเป็นรายเดือน แต่มี
ลักษณะความคุ้มครองเช่นเดียวกับประเภทสามัญ และไม่มีการตรวจสุขภาพ ดังนั้นการประกันชีวิต
ประเภทอุตสาหกรรมจึงมีระยะเวลารอคอย คือ หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในช่วงระยะเวลารอคอย
ผู้รับประกันจะไม่จ่ายเงินชดเชยแต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชาระมาแล้วทั้งหมด
3. แบบของการประกันชีวิต
สัญญาประกันชีวิตแต่ละแบบมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป
แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบ ดังนี้
ภาพที่ 4.3 แสดงแบบของการประกันชีวิต
ที่มา : พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 79.
การประกันชีวิต
(Life Insurance)
แบบตลอดชีพ
(Whole-life)
แบบสะสมทรัพย์
(Endowment)
แบบชั่วระยะเวลา
(Term)
แบบเงินได้ประจา
(Annuities)
101
3.1 การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole-Life Insurance) คือ การประกันตลอดชีวิต
ของผู้เอาประกันภัยโดยผู้รับประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเงินที่เอาประกันภัยให้เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่
มรณกรรม โดยไม่คานึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่มรณกรรมเมื่อใด ผู้เอาประกันภัยอาจชาระเบี้ยประกัน
เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต หรือชาระเบี้ยประกันเฉพาะช่วงเวลาที่กาหนดไว้ในกรมธรรม์ เช่น 10 ปี 20 ปี
หรือขอชาระเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียวก็ได้ และเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่มรณกรรมเมื่อไรก็ตามผู้รับ
ประกันภัยจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
การประกันชีวิตแบบตลอดชีพสามารถจาแนกออกตามวิธีการจ่ายเบี้ยประกัน คือ
3.1.1 การประกันแบบตลอดชีพ ชาระเบี้ยประกันตลอดชีพ (Ordinary Whole Life
Insurance) การประกันภัยแบบนี้ผู้เอาประกันภัยชาระเบี้ยประกันภัยไปจนตลอดอายุของสัญญา หรือ
จนกว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่มรณกรรม แต่ในทางปฏิบัติหลังจาก 2–3 ปีแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะยุติ
การชาระเบี้ยประกันภัยเมื่อใดก็ได้ อาจโดยการแปรสภาพกรมธรรม์ เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสาเร็จ ทาให้
ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่มีอยู่แต่ทุนประกันที่ได้รับในกรณีเสียชีวิต
จะลดลงตามส่วน
3.1.2 การประกันแบบตลอดชีพ จากัดระยะเวลาชาระเบี้ยประกัน (Limited
Payment Whole Life Insurance) การประกันภัยตามแบบนี้ผู้เอาประกันภัยจะชาระเบี้ยประกันภัย
เฉพาะใน ชั่วระยะเวลาที่กาหนดไว้ซึ่งสั้นกว่าระยะเวลาของสัญญา คือ ผู้เอาประกันภัยไม่จาเป็นต้อง
รับภาระในการชาระเบี้ยประกันภัยตลอดชีพ เมื่อชาระเบี้ยประกันภัยครบระยะที่กาหนดไว้แล้วก็ยุติได้โดย
ยังคงได้รับความคุ้มครองเต็มตามกรมธรรม์
3.1.3 การประกันแบบตลอดชีพชาระเบี้ยประกันครั้งเดียว (Single Premium) ผู้เอา
ประกันชาระเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียว แต่ได้รับความคุ้มครองตลอดชีวิต
ลักษณะสาคัญของการประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
3.1.3.1 เหมาะสาหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้ลูกหลาน หรือผู้อยู่ในความ
รับผิดชอบของผู้เอาประกัน ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในอุปการะซึ่งต้องอาศัยรายได้จากหัวหน้าครอบครัว
3.1.3.2 ให้ความคุ้มครองระยะเวลานาน
ข้อเสียของการประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
1. ผู้เอาประกันมีความรู้สึกว่าการจ่ายเบี้ยประกันไม่มีกาหนดระยะเวลา และตัวผู้เอา
ประกันภัยเองไม่ได้รับเงินนั้นเพราะผู้รับประกันภัยจะจ่ายให้ต่อเมื่อผู้เอาประกันถึงแก่ชีวิต
2. เป็นการสร้างภาระให้กับผู้เอาประกัน เพราะถึงแม้ว่าจะเจ็บป่วย หรือไม่สามารถ
ประกอบอาชีพได้แต่ก็ยังต้องชาระเบี้ยประกัน
3. ค่าเบี้ยประกันแบบตลอดชีพมีอัตราสูงกว่าแบบชั่วระยะเวลา
102
ตัวอย่าง
อายุ 30 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท เบี้ยปีละ 2,000 บาท ชาระ 20 ปี
3.2 การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) รูปแบบนี้เป็นสัญญาประกันชีวิต
ที่ผู้รับประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเงินเอาประกันภัยให้หากผู้เอาประกันภัยถึงแก่มรณกรรม ระหว่างสัญญามีผล
บังคับหรือมีชีวิตรอดอยู่เมื่อสัญญาสิ้นผลบังคับ โดยผู้เอาประกันภัยจะชาระเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับ
ประกันภัยทุกปี ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 10 ปี 20 ปี หรืออาจชาระเบี้ยประกันครบกาหนด
ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น ชาระเบี้ยประกันภัยจนถึงอายุ 55 ปี หรืออายุ 60 ปีเป็นต้น การประกันชีวิต
แบบสะสมทรัพย์เป็นการนาเอาแบบประกันภัย 2 แบบมารวมกัน คือ แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)
และแบบสะสมทรัพย์แท้จริง (Pure Endowment)
ลักษณะของการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีลักษณะ
ของมีการกาหนดระยะเวลาของสัญญาที่แน่นอน และหากผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ครบอายุของสัญญา
ก็จะได้รับเงินซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับในส่วนของการสะสมทรัพย์แท้จริง (Pure Endowment) ซึ่งหาก
ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตระหว่างสัญญามีผลบังคับใช้อยู่ ผู้รับผลประโยชน์จะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยจากผู้รับ
ประกันภัย ซึ่งชาระให้ในส่วนของการประกันภัยแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) การประกันชีวิตแบบ
สะสมทรัพย์นี้เป็นการให้ความคุ้มครองและเป็นการออมทรัพย์รวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะได้รับเงินจานวนที่เอา
ประกันภัยไว้อย่างแน่นอน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผู้เอาประกันภัยจะต้องชาระเบี้ย
ประกันภัยสูง
ข้อดีของการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
1. การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นการให้ความคุ้มครอง และเป็นการออมทรัพย์
ของผู้เอาประกันด้วย ซึ่งจะได้รับเงินจานวนที่เอาประกันไว้อย่างแน่นอน
เริ่ม ตลอดชีวิต
เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท
ปีที่ 1 ปีที่ 20
หยุดชาระเบี้ย
ผู้เอาประกันเสียชีวิต = คนหลังได้ใช้
103
2. เหมาะสาหรับประกันเพื่อสะสมทรัพย์เป็นทุนการศึกษาของบุตรหรือผู้เอาประกัน
มีโครงการจะสะสมเงินไว้เพื่อเป็นทุนสาหรับประกอบธุรกิจในอนาคต
ข้อเสียของการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
1. ค่าเบี้ยประกันภัยสูง หากระยะแรกผู้เอาประกันภัยยังมีความสามารถในการชาระ
เบี้ยประกันภัยได้เต็มที่ แต่ภายหลังหากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นความสามารถในการชาระเบี้ยประกันอาจลดลง
หรือไม่สามารถชาระเบี้ยประกันภัยได้
2. เมื่อสัญญาครบกาหนดแล้วผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ ผู้รับประกันภัยจะคืนเงิน
ก้อนหนึ่งซึ่งมูลค่าของเงินดังกล่าวจะน้อยลง เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อหรือค่าของเงินลดลง
3. บุคคลที่ประสงค์จะได้ดอกผลจากการลงทุนในการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
มักได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการนาเงินไปลงทุนโดยตรง
ตัวอย่าง
อายุ 30 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท สัญญา 20 ปี เบี้ยปีละ 5,000 บาท ชาระ 20 ปี
4.
5.
6.
3.3 การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) ความหมายของการประกันชีวิต
แบบชั่วระยะเวลา คือ การประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองในชั่วระยะเวลาอันจากัดโดยผู้รับประกันภัย
สัญญาจะจ่ายเงินชดเชยให้หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาของสัญญา แต่ถ้าพ้นกาหนด
เริ่ม ครบสัญญา
เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท
ปีที่ 1 ปีที่ 20
มีชีวิตอยู่รับ 100,000
บาท
ผู้เอาประกัน เสียชีวิต = คนหลังได้ใช้
ผู้เอาประกัน มีชีวิตอยู่ครบ = ได้ใช้เอง
104
ระยะเวลาในการคุ้มครองไปแล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ สัญญาถือเป็นอันสิ้นสุดลงผู้เอาประกันจะไม่ได้
รับเงินชดเชย
ลักษณะของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาเป็น
การให้ความคุ้มครองเพื่อสนองความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หรือมีการกาหนด
ระยะเวลาของสัญญาที่แน่นอน เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี แต่อาจทาเป็นสัญญาระยะยาวถึง 10 ปี 20 ปี
ขึ้นอยู่กับแบบประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันชีวิตต้องชาระเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่มีการต่อสัญญาตาม
อัตราต้นทุนของการประกันชีวิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อผู้เอาประกันมีอายุมากขึ้น เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตของ
ผู้ที่มีอายุมากจะสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างอายุของสัญญา ผู้รับประโยชน์
จะได้รับจานวนเงินที่เอาประกัน แต่ถ้าผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนครบอายุของสัญญา ผู้รับประกันภัยจะไม่
ชดใช้เงินใด ๆ ให้เช่นเดียวกับการประกันวินาศภัย โดยทั่วไปการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาไม่มี
ผลประโยชน์ในด้านสะสมทรัพย์ แต่มีประโยชน์ด้านการคุ้มครองเท่านั้น จานวนเบี้ยประกันชีวิตของการ
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลามีจานวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการประกันแบบอื่น แต่ให้ความคุ้มครองสูง
สัญญาประกันชีวิตแบบนี้เหมาะกับผู้มีรายได้น้อย
ข้อดีของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา มีข้อดีดังต่อไปนี้
1. ชาระเบี้ยประกันต่า แต่ให้ความคุ้มครองสูง
2. เหมาะสาหรับสร้างความคุ้มครอง กรณีผู้เอาประกันภัยมีความสามารถในการ
ชาระเบี้ยประกันภัยต่า
3. ช่วยรับความเสี่ยงกรณีที่หัวหน้าครอบครัวมีภาระมาก
ข้อเสียของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
เมื่อครบกาหนดเวลา หรือสิ้นสุดสัญญา หากผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ผู้รับ
ประกันภัยจะไม่จ่ายเงินชดเชยให้ เนื่องจากเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชาระมาแล้วนั้นถือเป็น
ความคุ้มครอง
105
ตัวอย่าง
อายุ 30 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท สัญญา 7 ปี เบี้ยปีละ 8,000 บาท ชาระ 7 ปี
3.4 การประกันชีวิตแบบเงินได้รายปีหรือเงินได้ประจา (Annuities Insurance) การประกัน
ชีวิตแบบเงินรายปีหรือเงินได้ประจา หรือเรียกว่า การประกันแบบบานาญ คือ สัญญาที่กาหนดข้อตกลง
ไว้ว่าผู้รับประกันจะจ่ายเงินจานวนหนึ่ง เพื่อเป็นรายได้สาหรับเลี้ยงชีพให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจแบ่ง
ชาระรายงวด หรือเป็นช่วงระยะเวลาอย่างสม่าเสมอ ภายในช่วงเวลาหนึ่งจนกว่าจะเสียชีวิต โดยปกติ
จะเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันมีอายุครบสัญญาโดยผู้เอาประกันภัยต้องชาระเบี้ยประกันภัยแก่ผู้รับ
ประกันภัย หรือฝากเงินจานวนหนึ่งไว้กับผู้รับประกันภัยและไม่ถอนเงินจานวนนี้เลย แต่ให้ผู้รับประกันภัย
นาเงินจานวนนั้นไปลงทุนและชาระให้เป็นงวด เมื่อผู้เอาประกันภัยออกจากงานหรือครบเกษียณอายุ และ
จะหยุดชาระต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
ลักษณะของการประกันชีวิตแบบเงินรายปี หรือเงินได้ประจา ประกอบด้วยการ
ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจาจะให้ประโยชน์กับตัวผู้เอาประกันภัยเองโดยตรงเป็นการประกันภัยเพื่อนา
เงินจานวนหนึ่งไว้ทดแทนรายได้ที่เสียไป ซึ่งผู้รับประกันภัยจะเริ่มชาระค่าเบี้ยประกันให้ตั้งแต่วันที่ผู้เอา
ประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เช่น เมื่อผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุหรือชราภาพเกินกว่าที่จะ
ทางานหาเงินเลี้ยงชีพได้เอง การประกันชีวิตโดยทั่วไปจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เป็นเงิน
ก้อนแต่การประกันชีวิตแบบเงินได้ประจา จะแบ่งชาระให้เป็นรายงวด โดยอาจมีการชาระเป็นรายปี
หรือช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่ตกลงกัน และชาระให้จนกว่าผู้เอาประกันภัยจะเสียชีวิต การประกันภัย
แบบเงินได้ประจามีการสะสม (Savings and Investment) และการลงทุน คือ จานวนเบี้ยประกันภัยที่
เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท
ปีที่ 1 ปีที่ 7
ไม่ได้รับเงินคืน
ผู้เอาประกัน เสียชีวิต = คนหลังได้ใช้
ผู้เอาประกัน มีชีวิตอยู่ครบ = ไม่ได้รับเงินคืน
เริ่ม ครบสัญญา
106
ผู้เอาประกันภัยเก็บออมไว้สาหรับชาระให้แก่ผู้รับประกันภัย ซึ่งผู้รับประกันภัยจะเก็บเอาไว้เป็นเงินสารอง
ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนาไปลงทุนเพื่อเพิ่มดอกผล
ข้อดีของการประกันชีวิตแบบเงินรายปี หรือเงินได้ประจา
1. เหมาะสาหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง
2. ป้องกันความไม่แน่นอน สร้างความคุ้มครองภัยของการขาดรายได้ในกรณีที่มีอายุ
ยืนยาวมาก
3. เป็นส่วนหนึ่งของการประกันสังคม ช่วยให้บุคคลมีความเป็นอยู่ดี มีรายได้พอเพียง
สาหรับการเลี้ยงชีพให้สุขสบาย ช่วยให้มีรายได้ในวัยชรา ซึ่งไม่สามารถทางานหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง
อายุ 30 ปี ชาระเบี้ยเป็นรายปีไปจนอายุ 60 ปี จ่ายบานาญปีละ 50,000 บาท
สาหรับการประกันชีวิตที่มีอยู่หลายรูปแบบนั้น ชัยวัฒน์ โฆษภัทรพิมพ์ และคณะ (2551)
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบของการประกันชีวิตและตัวแบบสาหรับวิเคราะห์รูปแบบ
ของการประกันชีวิต พบว่า แบบประกันตลอดชีพ เป็นแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองการเสียชีวิตโดย
เฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตสูงสุดเท่ากับ 53.55 ปี แบบประกันชั่วระยะเวลาเป็นแบบประกันที่มีจานวนเงิน
เอาประกันชีวิตเริ่มต้นโดยเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1,030,093 บาท ส่วนแบบประกันสะสมทรัพย์เป็นแบบ
ประกันที่มีจานวนเบี้ยประกันชีวิตต่อปีโดยเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 10,750.15 บาท ส่วนอายุเริ่มต้นของการ
ประกันชีวิตโดยเฉลี่ย 28.242 ปี ผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผู้เอาประกัน ส่วนใหญ่เลือกแบบ
ประกันที่มีเงินปันผล จานวนเงินเอาประกันชีวิตเริ่มต้น โดยเฉลี่ยเท่ากับ 170,637.80 บาท และจานวน
เบี้ยประกันชีวิตโดยเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 10,067.612 บาท ส่วนใหญ่เลือกการชาระเบี้ยประกันชีวิตแบบ
รายปี
รับบานาญปีละ 50,000 บาท
อายุครบ 60 ปี
หยุดชาระเบี้ย
ในประเทศไทยจะไม่มีการขายแบบนี้แต่จะมีในลักษณะผสมกับแบบอื่น ไปขายรวมกับแบบอื่น
เริ่ม 61 62 63 64 65 66
107
สิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต
บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตโดยทั่วไปมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เอาประกันภัย
ผู้รับประกันภัย และผู้รับผลประโยชน์ บุคคลทั้ง 3 กลุ่มมีสิทธิและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้
1. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันชีวิต
ผู้รับประกันชีวิตมีสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้รับประกันชีวิต
1.1 สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่เป็นโมฆียะ กรณีผู้เอาประกันชีวิตไม่เปิดเผย
ข้อความจริงซึ่งเกรงว่าผู้รับประกันชีวิตจะเรียกเก็บเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทาสัญญา หรือ
รู้ข้อความจริงแต่ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ จะมีผลทาให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันชีวิตต้องใช้
สิทธิในการบอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือนนับแต่ผู้รับประกันชีวิตทราบมูลอันจะบอกล้างได้
แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันทาสัญญาประกันชีวิต (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
วรรคแรก และวรรคสอง) ซึ่งผลของการบอกล้างนั้นผู้รับประกันชีวิตจะคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัย
ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือทายาทเท่านั้น ไม่จาเป็นต้องคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด โดยที่เงินค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ประกันภัยนั้น ผู้รับประกันชีวิตสามารถกาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตโดยคานวณและระบุ
เป็นตารางว่าเมื่อผู้เอาประกันชีวิตชาระเบี้ยประกันไประยะเวลาเท่าใด และเป็นจานวนเงินเท่าไร
กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นจะมีราคาค่าไถ่ถอนเป็นจานวนเท่าใด ปกติแล้วเป็นจานวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัย
ซึ่งผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งไป เนื่องจากผู้รับประกันชีวิตได้หักค่าเสี่ยงภัยและค่าใช้จ่ายของตนไปก่อนแล้ว
(มานพ นาคทัต, 2540 : 586) การคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันชีวิตให้คืนแก่ผู้เอาประกันชีวิตกรณี
ผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตแล้วให้คืนแก่ทายาทของผู้เอาประกันชีวิต ไม่ใช่ผู้รับผลประโยชน์
1.2 สิทธิกรณีผู้เอาประกันชีวิตแจ้งอายุคลาดเคลื่อน กรณีผู้เอาประกันชีวิตแจ้งอายุไว้
คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้กาหนดเบี้ยประกันภัยไว้ต่ากว่าจานวนที่แท้จริง ไม่มีผลทาให้
สัญญา เป็นโมฆียะ แต่กฎหมายให้สิทธิผู้รับประกันชีวิตที่จะลดจานวนเงินในการต้องชดใช้ตามส่วน
กล่าวคือ ผู้รับประกันชีวิตคานวณใหม่ว่าหากผู้เอาประกันชีวิตชาระเบี้ยประกันภัยต่าตามที่ได้ตกลงกันไว้
เมื่อพิจารณาอายุที่แท้จริงแล้วควรจะได้เงินประกันชีวิตเท่าใด ผู้รับประกันชีวิตก็มีหน้าที่ชดใช้เพียงเท่านั้น
แต่หากอายุที่แท้จริงของผู้เอาประกันชีวิตสูงกว่าเกณฑ์ที่รับทาประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตนั้นย่อมตก
เป็นโมฆียะ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 893 วรรคสอง)
ตัวอย่างที่ 1 นายเอ มีอายุ 47 ปี แต่แถลงว่าตนมีอายุ 41 ปี เป็นเหตุให้ผู้รับประกันชีวิต
กาหนดเบี้ยภัยต่ากว่าความจริง สัญญาประกันชีวิตนี้มิได้ตกเป็นโมฆียะ เพียงแต่ผู้รับประกันชีวิตมีสิทธิ
ลดจานวนเงินที่จะใช้ลงได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 893 วรรคแรก)
108
ตัวอย่างที่ 2 นายหนึ่ง มีอายุ 57 ปี แต่แถลงว่าตนมีอายุ 53 ปี โดยปกติแล้วผู้รับประกัน
ชีวิตจะรับประกันชีวิตบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 55 ปีเท่านั้น เพราะฉะนั้นสัญญาประกันชีวิตฉบับนี้ย่อมเป็น
โมฆียะ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 893 วรรคสอง)
1.3 หน้าที่การส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อผู้รับประกันชีวิตได้รับชาระค่าเบี้ย
ประกันชีวิตจากผู้เอาประกันแล้ว เมื่อครบกาหนดระยะเวลาจะต้องทาการส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต
ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต ซึ่งกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นจะได้ใช้เป็นเอกสาร หลักฐานในการขอรับเงินชดใช้
เมื่อครบกาหนดตามสัญญาประกันชีวิต หรือเมื่อผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิต
1.4 หน้าที่การชดใช้เงินประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตเสียชีวิต
ภายในกาหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้หรือมีชีวิตอยู่จนครบกาหนดระยะเวลาที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
ผู้รับประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องใช้เงินเป็นจานวนแน่นอนตามที่ตกลงไว้ในสัญญาประกันชีวิต ในการชดใช้
เงินประกันชีวิตนั้นผู้รับประกันชีวิตจะใช้เป็นจานวนเดียว หรือแบ่งจ่ายหลายครั้งเป็นรายปี ก็ได้
ตามแต่จะตกลงกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 890)
1.5 หน้าที่คืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ การคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกัน
ชีวิตหรือหากผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตไปแล้ว ก็ต้องคืนให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันชีวิต กรณี
ผู้รับประกันชีวิตบอกล้างโมฆียกรรม(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 892 และมาตรา 865)
และเมื่อผู้รับประกันชีวิตได้รับยกเว้นไม่ต้องใช้เงินในเหตุมรณะของบุคคลเนื่องจากบุคคลถูกฆ่าตาย
โดยเจตนา (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895)
1.6 หน้าที่คืนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือออกกรมธรรม์ใช้เงินสาเร็จให้แก่
ผู้เอาประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันชีวิตบอกเลิกสัญญาโดยงดส่งเบี้ยประกันภัย หลังจากได้ส่งเบี้ยประกัน
มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 894)
2. สิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิต
ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ต่อ
ผู้เอาประกันชีวิต
2.1 สิทธิได้รับเงินชดใช้จากการประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินประกันชีวิต
เมื่อใดขึ้นอยู่กับประเภทของสัญญาประกันชีวิต ดังนี้
2.1.1 กรณีเป็นสัญญาประกันชีวิตประเภทคุ้มครองการเสียชีวิตของบุคคลอื่นเป็นหลัก
ในการใช้เงิน ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินประกันชีวิตตามจานวนที่ตกลงไว้เมื่อบุคคลซึ่งถูกเอาประกัน
ชีวิตนั้นเสียชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
Suphot Chaichana
 
รวมสรุปเนื้อหาชีววิทยา
รวมสรุปเนื้อหาชีววิทยารวมสรุปเนื้อหาชีววิทยา
รวมสรุปเนื้อหาชีววิทยา
wisita42
 
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
Sarawut Messi Single
 
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออนมวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
พัน พัน
 
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลบทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
Jariya Jaiyot
 

Mais procurados (20)

ใบความรู้เรื่องแสง
ใบความรู้เรื่องแสงใบความรู้เรื่องแสง
ใบความรู้เรื่องแสง
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
 
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๑ ความหมายและขอบข่ายปรัชญา
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๑ ความหมายและขอบข่ายปรัชญาปรัชญาตะวันตก บทที่ ๑ ความหมายและขอบข่ายปรัชญา
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๑ ความหมายและขอบข่ายปรัชญา
 
เฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
เฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
เฉลยใบงานการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
 
ค่ามาตรฐาน
ค่ามาตรฐานค่ามาตรฐาน
ค่ามาตรฐาน
 
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
 
56 กำหนดการเชิงเส้น ตอนที่1_การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
56 กำหนดการเชิงเส้น ตอนที่1_การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์56 กำหนดการเชิงเส้น ตอนที่1_การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
56 กำหนดการเชิงเส้น ตอนที่1_การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
 
รวมสรุปเนื้อหาชีววิทยา
รวมสรุปเนื้อหาชีววิทยารวมสรุปเนื้อหาชีววิทยา
รวมสรุปเนื้อหาชีววิทยา
 
แบบฝึกหัดกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
แบบฝึกหัดกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันแบบฝึกหัดกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
แบบฝึกหัดกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
 
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
 
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
 
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออนมวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
 
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรบทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
 
แบบฝึกหัดเรื่องไฟฟ้าเคมี
แบบฝึกหัดเรื่องไฟฟ้าเคมีแบบฝึกหัดเรื่องไฟฟ้าเคมี
แบบฝึกหัดเรื่องไฟฟ้าเคมี
 
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลบทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ
 
ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์
 
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
 
ทฤษฎีการเรี่ยนรู้ของแบนดูรา
ทฤษฎีการเรี่ยนรู้ของแบนดูราทฤษฎีการเรี่ยนรู้ของแบนดูรา
ทฤษฎีการเรี่ยนรู้ของแบนดูรา
 
49 ตรีโกณมิติ ตอนที่6_กฎของไซน์และโคไซน์
49 ตรีโกณมิติ ตอนที่6_กฎของไซน์และโคไซน์49 ตรีโกณมิติ ตอนที่6_กฎของไซน์และโคไซน์
49 ตรีโกณมิติ ตอนที่6_กฎของไซน์และโคไซน์
 

Destaque

การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
Manow Butnow
 
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐานบทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
chakaew4524
 
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
Rungnapa Rungnapa
 
การประกันภัย
การประกันภัย การประกันภัย
การประกันภัย
Saharat Yimpakdee
 
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัยความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
คิง เกอร์
 
การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )
Maneerat Amrapal
 
การประกันภัย (สลุตา)
การประกันภัย (สลุตา)การประกันภัย (สลุตา)
การประกันภัย (สลุตา)
Maneerat Amrapal
 

Destaque (20)

บทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัยบทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัย
 
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
 
บทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัยบทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัย
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัย
 
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
 
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐานบทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
 
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
 
การประกันภัย
การประกันภัย การประกันภัย
การประกันภัย
 
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัยความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิต
 
การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )
 
การประกันภัย (สลุตา)
การประกันภัย (สลุตา)การประกันภัย (สลุตา)
การประกันภัย (สลุตา)
 
SlideBus226
SlideBus226SlideBus226
SlideBus226
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
 

Mais de chakaew4524

Mais de chakaew4524 (9)

หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
 
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แ
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 

บทที่4การประกันชีวิต

  • 1. บทที่ 4 การประกันชีวิต การดาเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนล้วนตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน ดังนั้นมนุษย์เราจึงต้องหา หนทางเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันเรื่องของรายได้ การศึกษา การประกอบ อาชีพ ฯลฯ เมื่อครอบครัวต้องสูญเสียผู้นาหรือบุคคลที่เป็นเสาหลัก หรือขาดผู้อุปการะ หมายถึง รายได้ ที่เคยได้ประจาต้องหมดสิ้นลงทันที ภรรยาและบุตรหรือผู้ที่อยู่ในความอุปการะย่อมประสบปัญหาความ เดือดร้อนในการดารงชีพ การประกันชีวิตเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านรายได้ของครอบครัว ทุกชีวิตในครอบครัวสามารถดาเนินต่อไปไม่ว่าผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวจะพบกับอุปสรรคของการดาเนิน ชีวิตอันเนื่องมาจากจากการตกงาน การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ การเป็นบุคคลทุพพลภาพ ความชราภาพ หรือการเสียชีวิตก็ตาม ความหมายของการประกันชีวิต ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 ประกอบกับมาตรา 889 อธิบายความหมาย ของการประกันชีวิต ไว้ว่า หมายถึง สัญญาซึ่งผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินจานวนหนึ่งให้เมื่อมีเหตุ ในอนาคตดังระบุไว้ในสัญญา กล่าวคือ เมื่อผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตมรณะลงภายในเวลา ตามที่ตกลงกันไว้ หรือเมื่อผู้นั้นยังทรงชีพอยู่จนถึงเวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ และในการนี้ผู้เอาประกันชีวิต ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันชีวิต จากบทบัญญัติดังกล่าวได้มีนักวิชาการ หลายท่านได้อธิบายความหมายของการประกันชีวิตไว้เพิ่มเติม ดังนี้ ส่วนในมุมมองของ คานาย อภิปรัชญาสกุล (2553 : 2) ได้ให้ความหมายของการประกัน ชีวิตไว้ว่า หมายถึง การประกันต่อความสูญเสีย เสียหายอันจะเกิดแก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญา จักชดเชยเมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสีย อวัยวะ (Accident and Dismemberment), การประกันกรณีทุพพลภาพ (Total Disability) หรือ การประกันสุขภาพ (Health Insurance) ธานี วรภัทร์ (2548 : 84) ได้ให้ความหมายของการประกันชีวิตไว้ว่า หมายถึง สัญญาซึ่งผู้รับ ประกันภัยตกลงจะใช้เงินจานวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้สืบสิทธิของเขา เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้ถูกเอาประกันชีวิตไว้ได้เสียชีวิตภายในเวลาหรือยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาอันได้ตกลงกันกาหนดไว้ และใน การนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงชาระเบี้ยประกันภัย
  • 2. 92 จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การประกันชีวิต หมายถึง การที่บุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบภัยเหล่านั้นก็จะได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทาหน้าที่เป็นแกนกลางในการนาเงินดังกล่าว ไปจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย นอกจากนั้นความหมายของการประกันชีวิต (Life – Insurance) ยังหมายรวมถึง วิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งรวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต และครอบคลุม ไปถึงการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อบุคคลใดประสบภัยเหล่านี้ จะได้รับเงินจานวนหนึ่งซึ่งเรียกว่าเงินส่วนเฉลี่ยเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อน ผู้รับประกันชีวิตจะทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการนาเงินส่วนเฉลี่ยไปจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย การทาประกันชีวิตจึงเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัว หากเกิดการเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินตามที่กาหนดไว้ในเงื่อนไขของสัญญาประกันชีวิต เช่น หากมีชีวิตอยู่จนครบกาหนดสัญญา หรือเสียชีวิตในระหว่างสัญญา หรือทั้ง 2 กรณีรวมกัน จะได้รับเงินตามเงื่อนไขของสัญญา ขึ้นอยู่กับแบบการประกันชีวิตที่ได้ทาประกันชีวิตไว้ ประวัติความเป็นมาของการประกันชีวิต การเริ่มประกันชีวิตนี้ ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าได้เริ่มขึ้นเมื่อใด แต่ประเทศกรีซซึ่งมีคนนับถือ ศาสนาแยกออกเป็นหลายนิกาย และได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนานิกายเดียวกัน ได้จัดตั้งสมาคม ขึ้น โดยมีการเก็บเงินจากสมาชิกเป็นรายเดือน รวมถึงกาหนดว่าหากสมาชิกคนใดถึงแก่กรรม ทาง สมาคมก็จะจัดการทาศพให้จนเป็นที่เรียบร้อย หากสมาชิกผู้ใดละเลยการจ่ายเงินค่าสมาชิก สมาคมจะ จัดการลงโทษโดยไม่จัดการทาศพให้ ต่อมาในสมัยโรมัน มีการวิวัฒนาการเพื่อปรับปรุงสมาคมให้ดีกว่า เดิม จึงได้รับบุคคลทั่วไปเข้ามาเป็นสมาชิก เว้นแต่ผู้มีอาชีพทหาร แต่จะสงเคราะห์ความทุกข์ยากอื่น ๆ ให้ เช่น ความชรา ทุพพลภาพ หรือการเปลี่ยนแปลง โยกย้ายไปรับตาแหน่งหน้าที่การงานอื่น ริชาร์ด มาติน (Richard Matin) ตัวแทนการประกันภัยทางทะเลในประเทศอังกฤษ กับ ตัวแทนอีก 15 คน ได้ตกลงรับทาประกันชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1583 จึงได้ตก ลงรับประกันนายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ (William Gybbons) โดยตกลงว่า นายกิบบอนส์ จะต้องจ่ายเงิน เป็นจานวน 80 ดอลลาร์ ถ้านายกิบบอนส์ถึงแก่กรรมภายในระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินเป็นจานวน 2,000 ดอลลาร์ ซึ่งมีที่มาจากการที่คณะตัวแทนทั้ง 16 คนรวมกันจ่ายเงินให้ ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม นายกิบบอนส์ ถึงแก่กรรม ซึ่งความจริงแล้วสัญญาครบกาหนดวันที่ 20 พฤษภาคม บรรดา
  • 3. 93 กลุ่มตัวแทนทั้งหมดรู้สึกผิดหวังมากในการเลือกรับประกันภัยรายนี้ เนื่องจากพวกเขาคิดว่าระยะเวลา คุ้มครองควรเป็น 28 x 12 = 336 วัน (28 วันเท่ากับ 1 เดือน) ต่อมาได้มีการฟ้องร้องศาล โดยที่สุดศาล ตัดสินให้กลุ่มตัวแทนต้องจ่ายเงินจานวน 2,000 ดอลลาร์ให้แก่ทายาทของนายกิบบอนส์ ในปี ค.ศ. 1698 บริษัทเมอร์เซอร์แห่งประเทศอังกฤษ ได้ริเริ่มการประกันแบบบานาญหรือ รายได้ประจา โดยมีข้อแม้ว่าผู้รับประโยชน์จะต้องเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกัน การประกัน แบบนี้เริ่มมีการช่วยเหลือโดยรัฐบาล คือ รัฐบาลยินยอมเข้ามาค้าประกันเพราะเกรงว่าบริษัทอาจ ล้มละลายได้ ต่อมาปี ค.ศ.1699 ได้มีสมาคมดาเนินการประกันชีวิตให้แก่บรรดาพวกแม่ม่าย และเด็กกาพร้า ขึ้นอย่างจริงจัง โดยมีสมาชิกถึง 2,000 คน การเก็บเงินจากสมาชิกสามารถเก็บได้ถึง 1.20 ดอลลาร์ต่อ สัปดาห์ เงินที่เก็บมาได้ถูกรวบรวมไว้เป็นกองทุน และคาดว่าอย่างน้อยเงินกองทุนควรเป็นเงินประมาณ 2,400 ดอลลาร์ เงินก้อนนี้พร้อมที่จะจ่ายให้แก่สมาชิก หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมลง ทางสมาคม ใช้หลักในการพิจารณาเลือกสมาชิกโดยพิจารณาจากสุขภาพ อายุ แต่มีข้อแม้คือ ไม่รับประกันบุคคลที่มี อาชีพเป็นทหาร กรณีที่สมาชิกขาดการชาระเงินค่าสมาชิกให้แก่สมาคมภายใน 7 วัน ทางสมาคมจะถือ ว่าสัญญาขาดอายุลง จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า บริษัทที่มีการรับประกันชีวิตที่ได้ดาเนินกิจการใน รูปของสมาคม ซึ่งเรียกว่า Equitable of live Survivorships หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Old Equitable การดาเนินการได้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1756 โดยบุคคล 2 คน คือ นายโทมัส ซิมพ์สัน และนายเจมส์ ดอดสัน คือ รับทาการประกันชีวิตบุคคลทั่วไป โดยอาศัยตารางมรณะเป็นหลักสาคัญการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยตกลงจะจ่ายให้เท่าที่จะหาเงินได้ ในระยะที่ Old Equitable ดาเนินการนั้น ได้มีผู้พยายามคิดและ กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของสัญญา ตัวอย่างเช่น การขาดชาระเบี้ยประกัน 30 วัน ถือว่า กรมธรรม์นั้นขาดอายุลง การปรับปรุงสัญญาจะกระทาภายในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้สัญญากลับมามีผลใช้บังคับ เช่นเดิม การจ่ายเงินคืนเบี้ยประกันนี้จะจ่ายให้มากกว่าจานวนเงินเอาประกันที่ได้ชาระมา ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า เงินปันผล ข้อแตกต่างของ Old Equitable กับบริษัทประกันชีวิตในปัจจุบัน คือ Old Equitable ไม่มีตัวแทนขายประกันชีวิตหากบุคคลใดต้องการจะซื้อสัญญาประกันชีวิตสามารถติดต่อโดยตรงที่ Old Equitable
  • 4. 94 วิวัฒนาการประกันชีวิตในสหรัฐอเมริกา ในปีค.ศ. 1759 พระนิกายเพรสบีแทเรียน ในมลรัฐฟิลาเดลเฟีย ได้จัดตั้งสมาคมสาหรับช่วย ความทุกข์ยากแก่แม่ม่ายและเด็กขึ้น ได้จัดเงินกองทุนขึ้นไว้ การรับบุคคลต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคม อยู่ในวงจากัด เพราะรับสมาชิกเฉพาะกลุ่มของพระนิกายนี้เท่านั้น ภายหลังได้มีการขยายการรับบุคคล อื่นเข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคม ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี ต่อมาในระยะเวลาอีก 10 ปีก็มีพระนิกาย Episcopal จัดตั้งขึ้น การดาเนินกิจการมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพรสบีแทเรียน บริษัท Insurance Company of North America ได้เปิดดาเนินกิจการประกันชีวิต เป็นบริษัทแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1794 การดาเนินการประกันชีวิตของบริษัทแห่งนี้ไม่ค่อยจะจริงจังมากนัก มีการร่างกรมธรรม์บางประเภทที่คิดว่าเหมาะสมและนามาใช้ ต่อมาบริษัท เพนซินเวเนีย ได้นา กรมธรรม์การประกันชีวิตออกมาใช้ในปี ค.ศ. 1812 และบริษัทก็ดาเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การ กาหนดรายละเอียดของบริษัทใช้หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย แบบของกรมธรรม์ส่วนมาก เป็นไปตามแบบการกาหนดระยะเวลา ซึ่งแตกต่างกับกรมธรรม์การกาหนดระยะเวลาในปัจจุบัน เพราะ รายละเอียดข้อปลีกย่อยไม่สมบูรณ์ ในปีค.ศ.1815 บริษัท Massachusetts Hospital Life Insurance ได้เปิดดาเนินกิจการประกันชีวิต และบริษัทได้ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตบางฉบับเพื่อใช้ในการดาเนิน ธุรกิจการประกันชีวิต ประวัติการประกันชีวิตในประเทศไทย การประกันภัยในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้บริษัท อี๊สเอเชียติ๊ก จากัด เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท เอควิตาเบิล ประกันภัยแห่งกรุงลอนดอนเข้ามาดาเนินธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย โดยมีสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เอกอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้เอาประกันชีวิตถือกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ ทอนไทน์เป็นบุคคลแรกในประเทศไทย เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน กระทรวงพาณิชย์และ คมนาคม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการและในปี พ.ศ.2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวาง ระเบียบราชการสานักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ กองประกันภัย ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กองควบคุม บริษัทประกันภัย ย้ายไปสังกัดกรมทะเบียนการค้า กระทรวงเศรษฐการ ทั้งนี้เพราะนอกจากการขอจด ทะเบียนประกอบธุรกิจประกันภัยบริษัท จะต้องขอจดทะเบียนบริษัทจากัด ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วและ อานวยความสะดวกในการขอจดทะเบียนและการควบคุม จึงให้กองควบคุมบริษัทประกันภัย สังกัดอยู่กับ กรมทะเบียนการค้า
  • 5. 95 ในปี พ.ศ.2510 หลังจากได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันชีวิตแล้วจึงได้มีการโอน กองประกันภัย จากสังกัดเดิมไปขึ้นกับสานักงานปลัดกระทรวง ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเศรษฐการเป็น กระทรวงพาณิชย์ ต่อมาในปี พ.ศ.2515 ได้ยกฐานะกองประกันภัย เป็นสานักงานประกันภัย และในปี พ.ศ.2533 เปลี่ยนชื่อจากสานักงานประกันภัยเป็นกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ (สานักงาน ประกันภัยได้รับการยกฐานะเป็นกรม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2522 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 และ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2533 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมการประกันภัย) ลักษณะของการประกันชีวิต การประกันชีวิตเป็นการประกันภัยประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะของการประกันชีวิตมีความ แตกต่างจากลักษณะของการประกันวินาศภัย ดังนี้ 1. การประกันชีวิตมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ซึ่งต้องอาศัยพึ่งพิงผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูก เอาประกันชีวิตซึ่งถึงแก่ความตาย หรือเป็นการลงทุนแบบสะสมทรัพย์ 2. การประกันชีวิต วัตถุที่เอาประกันภัยคือชีวิตของบุคคลซึ่งไม่สามารถตีราคาส่วนได้เสียเป็น มูลค่าได้ ผู้เอาประกันชีวิตจึงอาจตกลงกาหนดจานวนเงินเอาประกันชีวิตไว้เพียงใดก็ได้ ตราบที่ผู้รับประกัน ชีวิตยอมตกลงด้วยซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับฐานานุรูปของผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิต หากผู้เอา ประกันชีวิตกาหนดจานวนเงินเอาประกันชีวิตไว้เพียงใด ผู้รับประกันชีวิตต้องใช้เงินตามจานวนเงินเอา ประกันชีวิตซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้น จะนาหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงเช่น กรณีการประกันวินาศภัยมาใช้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้เอาประกันชีวิตกาหนดจานวนเงินเอาประกันชีวิต ไว้สูง จานวนเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันชีวิตต้องชาระก็จะถูกคานวณสูงตามไปด้วย 3. กรณีเอาประกันชีวิตไว้หลายรายผู้รับประกันชีวิตทุกรายต้องใช้เงินประกันชีวิตเต็มตามจานวน ที่ตกลงไว้ ไม่มีสิทธิแบ่งส่วนความรับผิด หรือเกี่ยงให้ผู้รับประกันชีวิตภายแรก ๆ รับผิดก่อน เหมือนดังเช่น กรณีประกันวินาศภัยหลายราย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870 หากผู้เอาประกัน ชีวิตเสียชีวิตเนื่องมาจากความผิดของบุคคลภายนอก ถึงแม้ผู้รับประกันชีวิตจะได้ใช้เงินตามสัญญาประกัน ชีวิตไปแล้วก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกได้อีก เนื่องจากสัญญา ประกันชีวิตไม่ได้มีความมุ่งหมายเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเหมือนการประกันวินาศภัยซึ่งผู้รับ ประกันภัยสามารถเข้ารับช่วงสิทธิได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880)
  • 6. 96 ประโยชน์ของการประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตเมื่อตกลงทาสัญญาประกันชีวิตย่อมหมายความว่าผู้เอาประกันชีวิตต้องการ ได้รับประโยชน์ด้านความคุ้มครอง กล่าวคือ เมื่อมีภัยเกิดขึ้นแก่ชีวิต ทาให้ผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสีย รายได้เนื่องจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้ตาม จานวนที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์แล้วแต่กรณี หากผู้ เอาประกันภัยเลือกซื้อการประกันชีวิตแบบที่มีการออมทรัพย์รวมอยู่ด้วย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงิน จานวนหนึ่งตามที่ตกลงไว้เมื่อมีชีวิตอยู่ ณ วันที่สัญญาครบกาหนด ทั้งนี้ผู้รับประกันชีวิตจัดเป็นสถาบัน การเงินเช่นเดียวกับธนาคารและบริษัทเงินทุน การประกันชีวิตให้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ ผู้รับประกันชีวิตจะนาเงินส่วนที่เป็นเงินออมของผู้เอาประกันภัยไปลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง หรือนาไปลงทุนซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ทาให้รัฐบาลสามารถนาเงินส่วนนี้ ไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า สนามบิน ถนนหนทาง รถไฟฟ้า ฯลฯ อันเป็นการลดภาระของรัฐบาล ที่จะต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ประโยชน์ของการประกันชีวิต มีดังต่อไปนี้ 1. ด้านการให้ความคุ้มครอง การประกันชีวิตจะให้ประโยชน์ในด้านความคุ้มครองทันที ที่กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับตามจานวนเงินที่เอาประกันไว้ ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมผู้รับประกันภัย จะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้ให้แก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ ของผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ครอบครัวของผู้เอาประกันภัยมีเงินเลี้ยงชีพต่อไปโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น นอกจากนี้การประกันชีวิตยังช่วยให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายยามเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพอีกด้วย 2. ด้านการออมทรัพย์ กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยจะแบ่งรายได้ของตนส่วนหนึ่งไว้เพื่อนามา ชาระเบี้ยประกันภัยเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประหยัดเพื่อออมทรัพย์ 3. ด้านการลงทุน จานวนเบี้ยประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยชาระให้กับผู้รับประกันภัยจะถูก สะสมไว้เป็นเงินสารองประกันชีวิต เงินสารองนี้ผู้รับประกันภัยจะนาไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลส่วนหนึ่ง จะนาไปลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจะนาเงินเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ 4. ด้านการลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้ เบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชาระให้แก่ผู้รับ ประกันภัยทุกปีนั้นสามารถนามาใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้ เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลที่ นามาใช้ในการพัฒนาประเทศ ส่วนหนึ่งมาจากการประกันชีวิต เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 คณะรัฐบาล จึงได้มีมติให้เพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิมสามารถหักลดหย่อนได้ตามจานวน
  • 7. 97 เงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทเป็นไม่เกิน 100,000 บาท โดยกรมธรรม์ชีวิตต้องมีระยะเวลาของ สัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 5. ด้านการลงทุน ทาให้มีหลักประกันว่าต้นทุนจะไม่สูญหายเพราะบริษัทประกันชีวิตเป็น ผู้รับผิดชอบต่อการลงทุน และบริษัทได้รับอนุญาตให้นาไปลงทุนได้เฉพาะกิจการที่มั่นคงเท่านั้น ผู้เอา ประกันจะได้รับเงินปันผลตามสมควร หมายความว่า รูปแบบการประกันชีวิตบางประเภท เช่น แบบ สะสมทรัพย์ หากผู้เอาประกันมีอายุไม่มาก เงินที่ได้รับเมื่อกรมธรรม์ครบกาหนดมักจะมากกว่าจานวน เบี้ยประกันที่ส่งรวมกันทั้งหมด นอกจากนี้การประกันชีวิตยังจัดว่าเป็นหลักทรัพย์ที่แน่นอน ไม่ว่าจะกรณี ผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ครบกาหนด หรือเสียชีวิตระหว่างสัญญาเพียงชาระเบี้ยประกันให้ตลอดเท่านั้น ชนิด ประเภท และแบบของการประกันชีวิต การประกันชีวิต แบ่งได้เป็น 2 ชนิด 3 ประเภท และ 4 แบบ ดังต่อไปนี้ 1. ชนิดของการประกันชีวิต ชนิดของการประกันชีวิตแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีเงินปันผล และชนิดไม่มีเงินปันผล ดังนี้ ภาพที่ 4.1 แสดงชนิดของการประกันชีวิต ที่มา : พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 76. 1.1 การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะสูงเนื่องจากผู้เอาประกัน ชีวิตจะได้รับส่วนแบ่งจากเงินปันผลซึ่งได้มาจากผลกาไรการดาเนินการของผู้รับประกันภัย กล่าวอีกนัย หนึ่ง คือ กรมธรรม์แบบที่มีส่วนร่วมในเงินปันผล เป็นการประกันชีวิตแบบที่มีเงินปันผลเป็นเงินคืนจาก การกาหนดไว้ในแบบประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงเลือกเอาประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผลนี้ มีการ ชนิดของการประกันชีวิต มีเงินปันผล ไม่มีเงินปันผล
  • 8. 98 จ่ายเงินปันผลคืนให้ตามระยะเวลาที่ได้กาหนดไว้ในสัญญาประกันชีวิต เงินปันผลดังกล่าวอาจรวมหุ้น ในการลงทุนของบริษัท อัตรามรณะและกาไรจากการประกอบการด้วยก็ได้ ปกติเงินปันผลได้รับการจัดสรรให้โดยเริ่มจากสิ้นปีกรมธรรม์แรก หรือปีกรมธรรม์ที่ 2 กล่าวคือ เงินปันผลที่จะแจ้งให้ทราบเมื่อสิ้นปีแรกอาจจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ เมื่อผู้ถือกรมธรรม์ชาระ เบี้ยประกันอีกงวดหนึ่งเสียก่อน ซึ่งผู้ถือกรมธรรม์สามารถเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเงินปันผลได้ ดังนี้ 1.1.1 รับเงินปันผลคืนเป็นเงินสด 1.1.2 ใช้เงินปันผลมาช่วยชาระเบี้ยประกันในงวดต่อไป 1.1.3 ฝากสะสมไว้กับบริษัทประกันชีวิต 1.1.4 ใช้เงินปันผลซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ 1.2 การประกันชีวิตชนิดไม่มีเงินปันผล อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ากว่าชนิดมีเงินปันผล ในกรมธรรม์แบบเดียวกัน (พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 77) 1.2.1 ที่มาของเงินปันผล เงินปันผลได้มาจากผลกาไร หรือเงินส่วนเกินที่เกิดจากการดาเนินงานของบริษัท ดังนี้ 1.2.1.1 เงินที่จัดสรรจากผลกาไรที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของบริษัท 1.2.1.2 อัตรามรณะที่เกิดขึ้นจริงจากการรับประกันชีวิตของบริษัทต่ากว่าอัตรา มรณะที่ใช้ในการคานวณอัตราดอกเบี้ยประกันภัย 1.2.1.3 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ ในการคานวณอัตราเบี้ยประกันภัย 1.2.1.4 อัตราค่าใช้จ่ายคาดคะเนที่ใช้คานวณอัตราเบี้ยประกันภัย มีจานวนสูง กว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 1.2.2 วิธีการจ่ายเงินปันผล บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้เฉพาะกรมธรรม์ชนิดมีเงินปันผลเท่านั้น ซึ่งผู้เอา ประกันภัย จะขอรับได้ 4 วิธี คือ 1.2.2.1 ซื้อจานวนเงินเอาประกันภัยเพิ่ม 1.2.2.2 หักชาระเบี้ยประกันภัยงวดถัดไป 1.2.2.3 รับเป็นเงินสด 1.2.2.4 ฝากสะสมไว้กับบริษัทโดยได้รับดอกเบี้ย
  • 9. 99 2. ประเภทของการประกันชีวิต ประเภทการประกันชีวิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ภาพที่ 4.2 แสดงประเภทของการประกันชีวิต ที่มา : พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 78. 2.1 การประกันชีวิตประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) การประกันชีวิตประเภท สามัญมีลักษณะเป็นการประกันชีวิตรายบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการสูญเสียรายได้ที่เกิดจาก กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือเพื่อเป็นการออมทรัพย์สาหรับผู้เอาประกันภัยตามระยะเวลาที่ตน ต้องการ การประกันชีวิตประเภทนี้มีจานวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง เหมาะสาหรับผู้เอาประกันภัย ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้รับประกันภัย และมีกาหนดการชาระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือรายเดือน 2.2 การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม หรือการประกันชีวิตประเภทหมู่ (Group Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตของบุคคลจานวนหนึ่งภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว หรือกรมธรรม์หลัก (Master Policy) ในกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทกลุ่มมีจานวนผู้เอาประกันชีวิตรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มลูกจ้าง พนักงานบริษัท หรือสมาชิกองค์กร สาหรับการประกันชีวิตประเภทกลุ่มนั้นนายจ้าง อาจเป็นผู้ขอทาประกันชีวิต และชาระเบี้ยประกันชีวิตให้ ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ดูแลกรมธรรม์หลัก ส่วนลูกจ้าง หรือพนักงานแต่ละคนจะได้รับใบสาคัญในการเอาประกันชีวิตกลุ่ม ที่เรียกว่าใบรับรอง หรือหนังสือรับรอง การเอาประกันชีวิตจากผู้รับประกันชีวิต ซึ่งใบรับรองดังกล่าวจะระบุเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ การพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทรับประกัน อีกกรณีหนึ่งคือทั้งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจ่าย เบี้ยประกันชีวิต ส่วนผู้รับประโยชน์ควรเป็นบุคคลที่ ประเภทของการประกันชีวิต ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance)
  • 10. 100 ผู้เอาประกันภัยระบุแต่ไม่ใช่นายจ้าง จุดมุ่งหมายของการประกันชีวิตประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองต่อ ลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ไม่ว่าจะเนื่องจากการปฏิบัติงานในหน้าที่หรือไม่ก็ตาม การประกันภัยประเภทนี้โดยทั่วไปจะไม่มีการตรวจสุขภาพ สาหรับการสิ้นสุดของสัญญาการประกันชีวิตประเภทกลุ่มจะมีผลบังคับของแต่ละ บุคคล การประกันชีวิตของพนักงานคนใด ก็ตามจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์ หนึ่งต่อไปนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มฉบับนี้หมดผลบังคับ การหยุดชาระเบี้ยประกันภัยของพนักงาน หรือนายจ้าง การว่าจ้างของพนักงานสิ้นสุดลง หรือพนักงานนั้นสูญเสียคุณสมบัติในการเอาประกันชีวิต 2.3 การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) การประกันชีวิต ประเภทอุตสาหกรรมมีลักษณะเป็นการประกันชีวิตรายบุคคลเช่นเดียวกับการประกันชีวิตประเภทสามัญ แต่เป็นการประกันชีวิตเพื่อช่วยเหลือครอบครัวซึ่งมีรายได้ต่า ไม่สามารถชาระเบี้ยประกันชีวิตประเภท สามัญได้เนื่องจากผู้เอาประกันภัยมีรายได้น้อยและการประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรมมีจานวนเงิน เอาประกันไม่มากนัก การชาระเบี้ยประกันชีวิตของผู้เอาประกันภัยสามารถแบ่งชาระเป็นรายเดือน แต่มี ลักษณะความคุ้มครองเช่นเดียวกับประเภทสามัญ และไม่มีการตรวจสุขภาพ ดังนั้นการประกันชีวิต ประเภทอุตสาหกรรมจึงมีระยะเวลารอคอย คือ หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในช่วงระยะเวลารอคอย ผู้รับประกันจะไม่จ่ายเงินชดเชยแต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชาระมาแล้วทั้งหมด 3. แบบของการประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตแต่ละแบบมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบ ดังนี้ ภาพที่ 4.3 แสดงแบบของการประกันชีวิต ที่มา : พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 : 79. การประกันชีวิต (Life Insurance) แบบตลอดชีพ (Whole-life) แบบสะสมทรัพย์ (Endowment) แบบชั่วระยะเวลา (Term) แบบเงินได้ประจา (Annuities)
  • 11. 101 3.1 การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole-Life Insurance) คือ การประกันตลอดชีวิต ของผู้เอาประกันภัยโดยผู้รับประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเงินที่เอาประกันภัยให้เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ มรณกรรม โดยไม่คานึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่มรณกรรมเมื่อใด ผู้เอาประกันภัยอาจชาระเบี้ยประกัน เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต หรือชาระเบี้ยประกันเฉพาะช่วงเวลาที่กาหนดไว้ในกรมธรรม์ เช่น 10 ปี 20 ปี หรือขอชาระเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียวก็ได้ และเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่มรณกรรมเมื่อไรก็ตามผู้รับ ประกันภัยจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ การประกันชีวิตแบบตลอดชีพสามารถจาแนกออกตามวิธีการจ่ายเบี้ยประกัน คือ 3.1.1 การประกันแบบตลอดชีพ ชาระเบี้ยประกันตลอดชีพ (Ordinary Whole Life Insurance) การประกันภัยแบบนี้ผู้เอาประกันภัยชาระเบี้ยประกันภัยไปจนตลอดอายุของสัญญา หรือ จนกว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่มรณกรรม แต่ในทางปฏิบัติหลังจาก 2–3 ปีแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะยุติ การชาระเบี้ยประกันภัยเมื่อใดก็ได้ อาจโดยการแปรสภาพกรมธรรม์ เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสาเร็จ ทาให้ ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่มีอยู่แต่ทุนประกันที่ได้รับในกรณีเสียชีวิต จะลดลงตามส่วน 3.1.2 การประกันแบบตลอดชีพ จากัดระยะเวลาชาระเบี้ยประกัน (Limited Payment Whole Life Insurance) การประกันภัยตามแบบนี้ผู้เอาประกันภัยจะชาระเบี้ยประกันภัย เฉพาะใน ชั่วระยะเวลาที่กาหนดไว้ซึ่งสั้นกว่าระยะเวลาของสัญญา คือ ผู้เอาประกันภัยไม่จาเป็นต้อง รับภาระในการชาระเบี้ยประกันภัยตลอดชีพ เมื่อชาระเบี้ยประกันภัยครบระยะที่กาหนดไว้แล้วก็ยุติได้โดย ยังคงได้รับความคุ้มครองเต็มตามกรมธรรม์ 3.1.3 การประกันแบบตลอดชีพชาระเบี้ยประกันครั้งเดียว (Single Premium) ผู้เอา ประกันชาระเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียว แต่ได้รับความคุ้มครองตลอดชีวิต ลักษณะสาคัญของการประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 3.1.3.1 เหมาะสาหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้ลูกหลาน หรือผู้อยู่ในความ รับผิดชอบของผู้เอาประกัน ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในอุปการะซึ่งต้องอาศัยรายได้จากหัวหน้าครอบครัว 3.1.3.2 ให้ความคุ้มครองระยะเวลานาน ข้อเสียของการประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 1. ผู้เอาประกันมีความรู้สึกว่าการจ่ายเบี้ยประกันไม่มีกาหนดระยะเวลา และตัวผู้เอา ประกันภัยเองไม่ได้รับเงินนั้นเพราะผู้รับประกันภัยจะจ่ายให้ต่อเมื่อผู้เอาประกันถึงแก่ชีวิต 2. เป็นการสร้างภาระให้กับผู้เอาประกัน เพราะถึงแม้ว่าจะเจ็บป่วย หรือไม่สามารถ ประกอบอาชีพได้แต่ก็ยังต้องชาระเบี้ยประกัน 3. ค่าเบี้ยประกันแบบตลอดชีพมีอัตราสูงกว่าแบบชั่วระยะเวลา
  • 12. 102 ตัวอย่าง อายุ 30 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท เบี้ยปีละ 2,000 บาท ชาระ 20 ปี 3.2 การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) รูปแบบนี้เป็นสัญญาประกันชีวิต ที่ผู้รับประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเงินเอาประกันภัยให้หากผู้เอาประกันภัยถึงแก่มรณกรรม ระหว่างสัญญามีผล บังคับหรือมีชีวิตรอดอยู่เมื่อสัญญาสิ้นผลบังคับ โดยผู้เอาประกันภัยจะชาระเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับ ประกันภัยทุกปี ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน เช่น 10 ปี 20 ปี หรืออาจชาระเบี้ยประกันครบกาหนด ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น ชาระเบี้ยประกันภัยจนถึงอายุ 55 ปี หรืออายุ 60 ปีเป็นต้น การประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์เป็นการนาเอาแบบประกันภัย 2 แบบมารวมกัน คือ แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) และแบบสะสมทรัพย์แท้จริง (Pure Endowment) ลักษณะของการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีลักษณะ ของมีการกาหนดระยะเวลาของสัญญาที่แน่นอน และหากผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ครบอายุของสัญญา ก็จะได้รับเงินซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับในส่วนของการสะสมทรัพย์แท้จริง (Pure Endowment) ซึ่งหาก ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตระหว่างสัญญามีผลบังคับใช้อยู่ ผู้รับผลประโยชน์จะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยจากผู้รับ ประกันภัย ซึ่งชาระให้ในส่วนของการประกันภัยแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) การประกันชีวิตแบบ สะสมทรัพย์นี้เป็นการให้ความคุ้มครองและเป็นการออมทรัพย์รวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะได้รับเงินจานวนที่เอา ประกันภัยไว้อย่างแน่นอน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผู้เอาประกันภัยจะต้องชาระเบี้ย ประกันภัยสูง ข้อดีของการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 1. การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นการให้ความคุ้มครอง และเป็นการออมทรัพย์ ของผู้เอาประกันด้วย ซึ่งจะได้รับเงินจานวนที่เอาประกันไว้อย่างแน่นอน เริ่ม ตลอดชีวิต เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท ปีที่ 1 ปีที่ 20 หยุดชาระเบี้ย ผู้เอาประกันเสียชีวิต = คนหลังได้ใช้
  • 13. 103 2. เหมาะสาหรับประกันเพื่อสะสมทรัพย์เป็นทุนการศึกษาของบุตรหรือผู้เอาประกัน มีโครงการจะสะสมเงินไว้เพื่อเป็นทุนสาหรับประกอบธุรกิจในอนาคต ข้อเสียของการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 1. ค่าเบี้ยประกันภัยสูง หากระยะแรกผู้เอาประกันภัยยังมีความสามารถในการชาระ เบี้ยประกันภัยได้เต็มที่ แต่ภายหลังหากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นความสามารถในการชาระเบี้ยประกันอาจลดลง หรือไม่สามารถชาระเบี้ยประกันภัยได้ 2. เมื่อสัญญาครบกาหนดแล้วผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ ผู้รับประกันภัยจะคืนเงิน ก้อนหนึ่งซึ่งมูลค่าของเงินดังกล่าวจะน้อยลง เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อหรือค่าของเงินลดลง 3. บุคคลที่ประสงค์จะได้ดอกผลจากการลงทุนในการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ มักได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการนาเงินไปลงทุนโดยตรง ตัวอย่าง อายุ 30 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท สัญญา 20 ปี เบี้ยปีละ 5,000 บาท ชาระ 20 ปี 4. 5. 6. 3.3 การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) ความหมายของการประกันชีวิต แบบชั่วระยะเวลา คือ การประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองในชั่วระยะเวลาอันจากัดโดยผู้รับประกันภัย สัญญาจะจ่ายเงินชดเชยให้หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาของสัญญา แต่ถ้าพ้นกาหนด เริ่ม ครบสัญญา เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท ปีที่ 1 ปีที่ 20 มีชีวิตอยู่รับ 100,000 บาท ผู้เอาประกัน เสียชีวิต = คนหลังได้ใช้ ผู้เอาประกัน มีชีวิตอยู่ครบ = ได้ใช้เอง
  • 14. 104 ระยะเวลาในการคุ้มครองไปแล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ สัญญาถือเป็นอันสิ้นสุดลงผู้เอาประกันจะไม่ได้ รับเงินชดเชย ลักษณะของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาเป็น การให้ความคุ้มครองเพื่อสนองความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หรือมีการกาหนด ระยะเวลาของสัญญาที่แน่นอน เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี แต่อาจทาเป็นสัญญาระยะยาวถึง 10 ปี 20 ปี ขึ้นอยู่กับแบบประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันชีวิตต้องชาระเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่มีการต่อสัญญาตาม อัตราต้นทุนของการประกันชีวิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อผู้เอาประกันมีอายุมากขึ้น เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตของ ผู้ที่มีอายุมากจะสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างอายุของสัญญา ผู้รับประโยชน์ จะได้รับจานวนเงินที่เอาประกัน แต่ถ้าผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนครบอายุของสัญญา ผู้รับประกันภัยจะไม่ ชดใช้เงินใด ๆ ให้เช่นเดียวกับการประกันวินาศภัย โดยทั่วไปการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาไม่มี ผลประโยชน์ในด้านสะสมทรัพย์ แต่มีประโยชน์ด้านการคุ้มครองเท่านั้น จานวนเบี้ยประกันชีวิตของการ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลามีจานวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการประกันแบบอื่น แต่ให้ความคุ้มครองสูง สัญญาประกันชีวิตแบบนี้เหมาะกับผู้มีรายได้น้อย ข้อดีของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา มีข้อดีดังต่อไปนี้ 1. ชาระเบี้ยประกันต่า แต่ให้ความคุ้มครองสูง 2. เหมาะสาหรับสร้างความคุ้มครอง กรณีผู้เอาประกันภัยมีความสามารถในการ ชาระเบี้ยประกันภัยต่า 3. ช่วยรับความเสี่ยงกรณีที่หัวหน้าครอบครัวมีภาระมาก ข้อเสียของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เมื่อครบกาหนดเวลา หรือสิ้นสุดสัญญา หากผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ผู้รับ ประกันภัยจะไม่จ่ายเงินชดเชยให้ เนื่องจากเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชาระมาแล้วนั้นถือเป็น ความคุ้มครอง
  • 15. 105 ตัวอย่าง อายุ 30 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท สัญญา 7 ปี เบี้ยปีละ 8,000 บาท ชาระ 7 ปี 3.4 การประกันชีวิตแบบเงินได้รายปีหรือเงินได้ประจา (Annuities Insurance) การประกัน ชีวิตแบบเงินรายปีหรือเงินได้ประจา หรือเรียกว่า การประกันแบบบานาญ คือ สัญญาที่กาหนดข้อตกลง ไว้ว่าผู้รับประกันจะจ่ายเงินจานวนหนึ่ง เพื่อเป็นรายได้สาหรับเลี้ยงชีพให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจแบ่ง ชาระรายงวด หรือเป็นช่วงระยะเวลาอย่างสม่าเสมอ ภายในช่วงเวลาหนึ่งจนกว่าจะเสียชีวิต โดยปกติ จะเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันมีอายุครบสัญญาโดยผู้เอาประกันภัยต้องชาระเบี้ยประกันภัยแก่ผู้รับ ประกันภัย หรือฝากเงินจานวนหนึ่งไว้กับผู้รับประกันภัยและไม่ถอนเงินจานวนนี้เลย แต่ให้ผู้รับประกันภัย นาเงินจานวนนั้นไปลงทุนและชาระให้เป็นงวด เมื่อผู้เอาประกันภัยออกจากงานหรือครบเกษียณอายุ และ จะหยุดชาระต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ลักษณะของการประกันชีวิตแบบเงินรายปี หรือเงินได้ประจา ประกอบด้วยการ ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจาจะให้ประโยชน์กับตัวผู้เอาประกันภัยเองโดยตรงเป็นการประกันภัยเพื่อนา เงินจานวนหนึ่งไว้ทดแทนรายได้ที่เสียไป ซึ่งผู้รับประกันภัยจะเริ่มชาระค่าเบี้ยประกันให้ตั้งแต่วันที่ผู้เอา ประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เช่น เมื่อผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุหรือชราภาพเกินกว่าที่จะ ทางานหาเงินเลี้ยงชีพได้เอง การประกันชีวิตโดยทั่วไปจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เป็นเงิน ก้อนแต่การประกันชีวิตแบบเงินได้ประจา จะแบ่งชาระให้เป็นรายงวด โดยอาจมีการชาระเป็นรายปี หรือช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่ตกลงกัน และชาระให้จนกว่าผู้เอาประกันภัยจะเสียชีวิต การประกันภัย แบบเงินได้ประจามีการสะสม (Savings and Investment) และการลงทุน คือ จานวนเบี้ยประกันภัยที่ เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท ปีที่ 1 ปีที่ 7 ไม่ได้รับเงินคืน ผู้เอาประกัน เสียชีวิต = คนหลังได้ใช้ ผู้เอาประกัน มีชีวิตอยู่ครบ = ไม่ได้รับเงินคืน เริ่ม ครบสัญญา
  • 16. 106 ผู้เอาประกันภัยเก็บออมไว้สาหรับชาระให้แก่ผู้รับประกันภัย ซึ่งผู้รับประกันภัยจะเก็บเอาไว้เป็นเงินสารอง ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนาไปลงทุนเพื่อเพิ่มดอกผล ข้อดีของการประกันชีวิตแบบเงินรายปี หรือเงินได้ประจา 1. เหมาะสาหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง 2. ป้องกันความไม่แน่นอน สร้างความคุ้มครองภัยของการขาดรายได้ในกรณีที่มีอายุ ยืนยาวมาก 3. เป็นส่วนหนึ่งของการประกันสังคม ช่วยให้บุคคลมีความเป็นอยู่ดี มีรายได้พอเพียง สาหรับการเลี้ยงชีพให้สุขสบาย ช่วยให้มีรายได้ในวัยชรา ซึ่งไม่สามารถทางานหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง ตัวอย่าง อายุ 30 ปี ชาระเบี้ยเป็นรายปีไปจนอายุ 60 ปี จ่ายบานาญปีละ 50,000 บาท สาหรับการประกันชีวิตที่มีอยู่หลายรูปแบบนั้น ชัยวัฒน์ โฆษภัทรพิมพ์ และคณะ (2551) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบของการประกันชีวิตและตัวแบบสาหรับวิเคราะห์รูปแบบ ของการประกันชีวิต พบว่า แบบประกันตลอดชีพ เป็นแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองการเสียชีวิตโดย เฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตสูงสุดเท่ากับ 53.55 ปี แบบประกันชั่วระยะเวลาเป็นแบบประกันที่มีจานวนเงิน เอาประกันชีวิตเริ่มต้นโดยเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1,030,093 บาท ส่วนแบบประกันสะสมทรัพย์เป็นแบบ ประกันที่มีจานวนเบี้ยประกันชีวิตต่อปีโดยเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 10,750.15 บาท ส่วนอายุเริ่มต้นของการ ประกันชีวิตโดยเฉลี่ย 28.242 ปี ผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผู้เอาประกัน ส่วนใหญ่เลือกแบบ ประกันที่มีเงินปันผล จานวนเงินเอาประกันชีวิตเริ่มต้น โดยเฉลี่ยเท่ากับ 170,637.80 บาท และจานวน เบี้ยประกันชีวิตโดยเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 10,067.612 บาท ส่วนใหญ่เลือกการชาระเบี้ยประกันชีวิตแบบ รายปี รับบานาญปีละ 50,000 บาท อายุครบ 60 ปี หยุดชาระเบี้ย ในประเทศไทยจะไม่มีการขายแบบนี้แต่จะมีในลักษณะผสมกับแบบอื่น ไปขายรวมกับแบบอื่น เริ่ม 61 62 63 64 65 66
  • 17. 107 สิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตโดยทั่วไปมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้รับผลประโยชน์ บุคคลทั้ง 3 กลุ่มมีสิทธิและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ 1. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันชีวิต ผู้รับประกันชีวิตมีสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้รับประกันชีวิต 1.1 สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่เป็นโมฆียะ กรณีผู้เอาประกันชีวิตไม่เปิดเผย ข้อความจริงซึ่งเกรงว่าผู้รับประกันชีวิตจะเรียกเก็บเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทาสัญญา หรือ รู้ข้อความจริงแต่ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ จะมีผลทาให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันชีวิตต้องใช้ สิทธิในการบอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือนนับแต่ผู้รับประกันชีวิตทราบมูลอันจะบอกล้างได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันทาสัญญาประกันชีวิต (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก และวรรคสอง) ซึ่งผลของการบอกล้างนั้นผู้รับประกันชีวิตจะคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัย ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือทายาทเท่านั้น ไม่จาเป็นต้องคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด โดยที่เงินค่าไถ่ถอน กรมธรรม์ประกันภัยนั้น ผู้รับประกันชีวิตสามารถกาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตโดยคานวณและระบุ เป็นตารางว่าเมื่อผู้เอาประกันชีวิตชาระเบี้ยประกันไประยะเวลาเท่าใด และเป็นจานวนเงินเท่าไร กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นจะมีราคาค่าไถ่ถอนเป็นจานวนเท่าใด ปกติแล้วเป็นจานวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งไป เนื่องจากผู้รับประกันชีวิตได้หักค่าเสี่ยงภัยและค่าใช้จ่ายของตนไปก่อนแล้ว (มานพ นาคทัต, 2540 : 586) การคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันชีวิตให้คืนแก่ผู้เอาประกันชีวิตกรณี ผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตแล้วให้คืนแก่ทายาทของผู้เอาประกันชีวิต ไม่ใช่ผู้รับผลประโยชน์ 1.2 สิทธิกรณีผู้เอาประกันชีวิตแจ้งอายุคลาดเคลื่อน กรณีผู้เอาประกันชีวิตแจ้งอายุไว้ คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้กาหนดเบี้ยประกันภัยไว้ต่ากว่าจานวนที่แท้จริง ไม่มีผลทาให้ สัญญา เป็นโมฆียะ แต่กฎหมายให้สิทธิผู้รับประกันชีวิตที่จะลดจานวนเงินในการต้องชดใช้ตามส่วน กล่าวคือ ผู้รับประกันชีวิตคานวณใหม่ว่าหากผู้เอาประกันชีวิตชาระเบี้ยประกันภัยต่าตามที่ได้ตกลงกันไว้ เมื่อพิจารณาอายุที่แท้จริงแล้วควรจะได้เงินประกันชีวิตเท่าใด ผู้รับประกันชีวิตก็มีหน้าที่ชดใช้เพียงเท่านั้น แต่หากอายุที่แท้จริงของผู้เอาประกันชีวิตสูงกว่าเกณฑ์ที่รับทาประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตนั้นย่อมตก เป็นโมฆียะ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 893 วรรคสอง) ตัวอย่างที่ 1 นายเอ มีอายุ 47 ปี แต่แถลงว่าตนมีอายุ 41 ปี เป็นเหตุให้ผู้รับประกันชีวิต กาหนดเบี้ยภัยต่ากว่าความจริง สัญญาประกันชีวิตนี้มิได้ตกเป็นโมฆียะ เพียงแต่ผู้รับประกันชีวิตมีสิทธิ ลดจานวนเงินที่จะใช้ลงได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 893 วรรคแรก)
  • 18. 108 ตัวอย่างที่ 2 นายหนึ่ง มีอายุ 57 ปี แต่แถลงว่าตนมีอายุ 53 ปี โดยปกติแล้วผู้รับประกัน ชีวิตจะรับประกันชีวิตบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 55 ปีเท่านั้น เพราะฉะนั้นสัญญาประกันชีวิตฉบับนี้ย่อมเป็น โมฆียะ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 893 วรรคสอง) 1.3 หน้าที่การส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อผู้รับประกันชีวิตได้รับชาระค่าเบี้ย ประกันชีวิตจากผู้เอาประกันแล้ว เมื่อครบกาหนดระยะเวลาจะต้องทาการส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต ซึ่งกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นจะได้ใช้เป็นเอกสาร หลักฐานในการขอรับเงินชดใช้ เมื่อครบกาหนดตามสัญญาประกันชีวิต หรือเมื่อผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิต 1.4 หน้าที่การชดใช้เงินประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตเสียชีวิต ภายในกาหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้หรือมีชีวิตอยู่จนครบกาหนดระยะเวลาที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ผู้รับประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องใช้เงินเป็นจานวนแน่นอนตามที่ตกลงไว้ในสัญญาประกันชีวิต ในการชดใช้ เงินประกันชีวิตนั้นผู้รับประกันชีวิตจะใช้เป็นจานวนเดียว หรือแบ่งจ่ายหลายครั้งเป็นรายปี ก็ได้ ตามแต่จะตกลงกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 890) 1.5 หน้าที่คืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ การคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกัน ชีวิตหรือหากผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตไปแล้ว ก็ต้องคืนให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันชีวิต กรณี ผู้รับประกันชีวิตบอกล้างโมฆียกรรม(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 892 และมาตรา 865) และเมื่อผู้รับประกันชีวิตได้รับยกเว้นไม่ต้องใช้เงินในเหตุมรณะของบุคคลเนื่องจากบุคคลถูกฆ่าตาย โดยเจตนา (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895) 1.6 หน้าที่คืนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือออกกรมธรรม์ใช้เงินสาเร็จให้แก่ ผู้เอาประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันชีวิตบอกเลิกสัญญาโดยงดส่งเบี้ยประกันภัย หลังจากได้ส่งเบี้ยประกัน มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 894) 2. สิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ต่อ ผู้เอาประกันชีวิต 2.1 สิทธิได้รับเงินชดใช้จากการประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินประกันชีวิต เมื่อใดขึ้นอยู่กับประเภทของสัญญาประกันชีวิต ดังนี้ 2.1.1 กรณีเป็นสัญญาประกันชีวิตประเภทคุ้มครองการเสียชีวิตของบุคคลอื่นเป็นหลัก ในการใช้เงิน ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินประกันชีวิตตามจานวนที่ตกลงไว้เมื่อบุคคลซึ่งถูกเอาประกัน ชีวิตนั้นเสียชีวิต