SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 130
Baixar para ler offline
ชื่อเรื่อง	 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
จัดทำ�โดย 	 ส่วนงานดัชนีและสำ�รวจ สำ�นักยุทธศาสตร์
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(องค์การมหาชน)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ISBN	 ISBN 978-974-9765-71-5
พิมพ์ครั้งที่ 1	 พฤศจิกายน 2558
จำ�นวน	 2,000 เล่ม
ราคา	 200 บาท
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ.
เป็นองค์กรของรัฐที่ท�ำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และ
สนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
มีการบริหารจัดการและกำ�หนดนโยบายโดยคณะกรรมการบริหาร
6
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
นายอุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อมองถึงมูลค่า E-Commerce ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สะท้อน
การเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตัวเลขที่ปรากฏทำ�ให้ทุกคนได้
เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของการซื้อขายออนไลน์ที่เพิ่มจากปี 2556
อย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2557 มีมูลค่าสูงถึง 2.03 ล้านล้านบาท และยัง
คงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2558
ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่น่ายินดีว่ามูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของ
ไทย สูงเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน เหนือกว่ามาเลเซีย สิงคโปร์
เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เลยทีเดียว ต้องขอบคุณ สพธอ. ที่ได้
จัดทำ�ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
E-Commerce ในทุกระดับ
7
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
8
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
นางทรงพร โกมลสุรเดช
ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การเพิ่มศักยภาพความสามารถทางการแข่งขันของประเทศนั้น
การผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมดิจิทัล ถือเป็นปัจจัยสำ�คัญที่กระทรวงฯ
คำ�นึงถึง และยังเป็นการดำ�เนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
การมีข้อมูล E-Commerce ถือเป็นการช่วยสะท้อนถึงการนำ�เทคโนโลยี
มาช่วยสนับสนุนทางการค้าอีกทางหนึ่ง อีกทั้ง กระทรวงฯ ยังได้มี
การส่งเสริมกลุ่ม SMEs ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อ
ให้เกิดการทำ� E-Commerce ได้อย่างทั่วถึง
9
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
10
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม
ประธานคณะกรรมการบริหาร
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
การซื้อขายสินค้าและบริการทางออนไลน์มีแนวโน้มจะเป็นที่นิยมเพิ่มมาก
ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ต้องการ
ความสะดวกสบาย สามารถสั่งซื้อสินค้า/บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา ข้อมูล
มูลค่า E-Commerce จึงเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำ�คัญและจำ�เป็นที่
ภาครัฐจะต้องใช้ในการกำ�หนดนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการทำ�
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถนำ�เอาข้อมูล
ดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
ในโอกาสนี้ ดิฉันในนามคณะกรรมการบริหาร สพธอ. ขอแสดงความ
ขอบคุณหน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ E-Commerce
ไทยทุกๆ ท่านที่ได้มีส่วนสำ�คัญในการสนับสนุนข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพจนทำ�ให้การสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
ปี 2558 สำ�เร็จลุล่วงไปได้โดยดี และดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อทุกท่านได้
นำ�ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ไปใช้ประโยชน์ จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวและ
การต่อยอดทางธุรกิจ E-Commerce รวมไปถึงการเตรียมความพร้อม
ของประเทศเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ E-Commerce ไทยก้าวเข้าสู่
การแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็งต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
11
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
12
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce ถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจ
สำ�คัญของโลกธุรกิจออนไลน์ในยุคปัจจุบันที่คุณสามารถค้าขายกับคนจาก
ทั่วทุกมุมโลก
ในช่วงปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยได้เข้าสู่ธุรกิจ E-Commerce มาก
ขึ้น และสภาวะการแข่งขันของธุรกิจนี้ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ภายใต้การแข่งขัน
กันอย่างดุเดือด ส่งผลให้การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในไทย
น่าจับตามองมากทีเดียว แต่คำ�ถามคือ ตัวเลขเหล่านั้น เติบโตเท่าไหร่ เกิด
อะไรขึ้นในธุรกิจบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างจริงจังเลย
ด้วยงานวิจัยฉบับนี้ การรวบรวมตัวเลขมูลค่าธุรกิจ E-Commerce
ของประเทศไทย และการสำ�รวจถึงข้อมูลเชิงลึกของการขายสินค้าผ่าน
ช่องทางออนไลน์อย่างเป็นทางการเป็น “ครั้งแรกของประเทศไทย” ภายใต้
ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นกำ�ลังสำ�คัญจากสำ�นักงานพัฒนา
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ดำ�เนินการ
สำ�รวจข้อมูลจากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งรายใหญ่และ
รายย่อยทั่วประเทศไทย และตัวเลขที่น่าสนใจเหล่านี้ก็ได้อยู่ในงานวิจัยชิ้น
สำ�คัญในมือท่านแล้วครับ
สิ่งสำ�คัญกว่าการได้มาซึ่งข้อมูล คือ ประโยชน์ของข้อมูลนั้นต่อผู้อ่าน
ผมหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันให้ธุรกิจ
ทุกขนาดในประเทศไทย “กระโจน” เข้าสู่ธุรกิจ E-Commerce อย่างมี
ข้อมูลสนับสนุน เหมือนการออกศึกโดยมีแผนที่นำ�ทางนั่นเอง
13
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
14
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
นายวรวุฒิ อุ่นใจ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ซีโอแอล จ�ำกัด (มหาชน)
ในปี 2015 นี้เป็นปีที่ E-Commerce ใน
ประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก พูดได้ว่าเป็นการ
เติบโตแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับ
หลายๆ ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเติบโตเช่นนี้
ต่อเนื่องอีกหลายปี ทั้งนี้มาจากการที่ปัจจัยต่างๆ
เช่น การมาของระบบสัญญาณ 4G,
การเข้าถึง Hi Speed Internet ที่ง่ายขึ้น,
มือถือสมาร์ตโฟนที่ราคาถูกลง และคนไทยใช้
Social Network สูงติดอันดับต้นๆ ของโลก
กระแสของ E-Commerce เริ่มเข้ามาเป็นกระแสหลักที่ทุกธุรกิจต้องการ
เข้ามาขยายช่องทางการขายผ่านช่องทางนี้ รวมถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ของรูปแบบการค้าทางออนไลน์ ดังนั้นน่าจับตามองว่าผลสำ�รวจในปีหน้าจะ
มีผลเป็นเช่นไร
ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทาง ETDA ที่ได้จัดทำ�และเผยแพร่ผลสำ�รวจนี้ต่อ
สาธารณชน เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ E-Commerce ไทย
เป็นอย่างมากที่จะนำ�ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้พัฒนาธุรกิจ E-Commerce ใน
ประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป
15
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
16
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
Miss Diana Korka
Associate Economic Affairs Officer
ICT Analysis Section, Science, Technology and ICT Branch
Division on Technology and Logistics of UNCTAD
Thailand is one of few developing economies that
compile official statistics on E-Commerce. At a global
level the volume of E-Commerce transitions is expanding
fast, with developing economies gaining prominence.
17
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
18
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
(นางสุรางคณา วายุภาพ)
ผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทคและการสื่อสาร
การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้
ด้วยจำ�นวนประชากรในภูมิภาคนี้
กว่า 580 ล้านคน
ขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้น
และปริมาณสินค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ล้วนเป็นการขยายโอกาส
ในการค้าขายออนไลน์ของไทย
ให้เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ
E-Commerce
จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าขาย
สำ�หรับผู้ประกอบการไทย
ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ
ได้อย่างทัดเทียม
อันจะเป็นการขับเคลื่อนประเทศไทย
ให้เข้าสู่ ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
ได้อย่างยั่งยืน
19
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
20
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
คำ�นำ�
ในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป็นที่ตระหนักดีว่าเป็นยุคที่มี
การน�ำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เข้ามาประยุกต์ใช้ใน
กระบวนการท�ำงานหรือการท�ำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจหรือเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ของทุกภาคส่วน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือธุรกิจ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกิจดิจิทัล
ดังนั้นการมีข้อมูลสถานภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในส่วนของมูลค่าขายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะช่วยสะท้อน
ทิศทางและแนวโน้มของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย อันจะช่วยให้
การก�ำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ สสช. เป็นหน่วยงานหลักที่จัดเก็บข้อมูลสถานภาพ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี2550เป็นต้นมาในปี2558ส�ำนักงาน
สถิติแห่งชาติได้ส่งมอบงานส�ำรวจนี้ให้กับส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. โดยเป็นการท�ำงานร่วมกันระหว่าง สสช. และ สพธอ.
นับตั้งแต่การก�ำหนดนิยาม การขยายกรอบการส�ำรวจที่ลงลึกมากขึ้น มีการขยายกลุ่ม
อุตสาหกรรมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยได้ตัวเลขมูลค่า E-Commerce
ที่ใกล้เคียงกับสภาพธุรกิจอย่างแท้จริง
รวมไปถึงการท�ำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรด้าน E-Commerce ตลอดจน
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่
หน่วยงานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD
(United Nations Conference on Trade and Development) และหน่วยงานด้าน
สถิติเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากประเทศฟินแลนด์, เกาหลีใต้ และบราซิล
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดท�ำสถิติ E-Commerce รวมทั้งก�ำหนดระเบียบ
วิธีวิจัยที่ใช้ในการจัดท�ำตัวชี้วัดที่สามารถน�ำมาเปรียบเทียบกันได้ในระดับสากล
21
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
การส�ำรวจมูลค่า E-Commerce ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ
มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทยที่มีความครอบคลุม และเป็นที่ยอมรับในระดับ
สากล สามารถน�ำมาใช้อ้างอิงหรือเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ได้ รวมถึงเพื่อให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถน�ำข้อมูลจากผลการส�ำรวจครั้ง
นี้ ไปใช้ประกอบการก�ำหนดนโยบาย การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนการ
ด�ำเนินธุรกิจทั้งในระดับองค์กรรวมถึงระดับประเทศเพื่อปรับตัวให้ทันกับสภาพเศรษฐกิจ
ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยจัดเก็บมูลค่า E-Commerce ปี 2557
และคาดการณ์มูลค่า E-Commerce ปี 2558 ด้วยการส�ำรวจกลุ่มตัวอย่างจาก
ผู้ประกอบการ E-Commerce ทั้งหมด 502,676 ราย ที่รวบรวมรายชื่อมาจากสมาคม
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และส�ำนักงาน
สถิติแห่งชาติ
การส�ำรวจครั้งนี้คงจะไม่ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากไม่ได้รับความร่วมมือจาก
ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สพธอ.จึงขอขอบพระคุณทุกหน่วยงาน
ไว้ ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือที่ดีเช่นนี้จากหน่วยงานของท่าน
ในโอกาสต่อไป
สุรางคณา วายุภาพ
ผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พฤศจิกายน 2558
22
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
23
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
24
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
25
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
สารบัญ
ค�ำน�ำ ........................................................................................... 20
สารบัญรูปภาพ............................................................................ 26
บทสรุปผู้บริหาร........................................................................... 30
ผลการส�ำรวจที่ส�ำคัญ................................................................. 23
1.	 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 – 2558.................................... 39
2.	 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย จ�ำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ........... 51
3.	 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย จ�ำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม............. 56
4.	 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย
จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce..................................... 65
5.	 ผู้ประกอบการ E-Commerce ในประเทศไทย
จ�ำแนกตามการให้บริการช่องทางการช�ำระเงิน................................................ 74
6.	 ข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ:
ประเด็นที่ส่งผลกระทบส�ำคัญต่อผู้ประกอบการ E-Commerce ไทย................ 81
ภาคผนวก.................................................................................... 86
ค�ำศัพท์..................................................................................................................... 87
ระเบียบวิธีวิจัย.......................................................................................................... 91
แบบส�ำรวจออนไลน์.................................................................................................100
แบบส�ำรวจเชิงลึก....................................................................................................120
รายชื่อคณะท�ำงานและคณะวิจัย.....................................................................................
26
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
สารบัญรูปภาพ
ภาพที่ 1	 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 - 2558.................................. 39
ภาพที่ 2	 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 จ�ำแนกตามมูลค่าที่มาจากการส�ำรวจกับมูลค่าที่เกิดจาก
	 การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (e-Auction).................................................. 41
ภาพที่ 3	 มูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของประเทศต่างๆ ปี 2557........................ 42
ภาพที่ 4	 มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C
	 ของประเทศต่างๆ ปี 2557........................................................................... 44
ภาพที่ 5	 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557
	 จ�ำแนกตามมูลค่าขายในประเทศและต่างประเทศ........................................... 46
ภาพที่ 6	 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 รายภูมิภาค
	 จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ......................................................... 47
ภาพที่ 7	 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557
	 จ�ำแนกตามลักษณะการขายสินค้า/บริการ................................................... 49
ภาพที่ 8	 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตาม
	 ประเภทผู้ประกอบการ (รวม e-Auction)...................................................... 51
ภาพที่ 9	 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 จ�ำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ................................................................ 52
ภาพที่ 10	 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 จ�ำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม (ไม่รวม e-Auction)................................. 56
ภาพที่ 11	 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 จ�ำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม (ไม่รวม e-Auction).................................. 58
27
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
ภาพที่ 12	 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 ของอุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง
	 จ�ำแนกตามประเภทสินค้าและบริการ............................................................. 61
ภาพที่ 13	 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 ของอุตสาหกรรมศิลปะ บันเทิง และนันทนาการ
	 จ�ำแนกตามประเภทสินค้าและบริการ............................................................. 63
ภาพที่ 14	 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
	 จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce
	 (ไม่รวม e-Auction)...................................................................................... 65
ภาพที่ 15	 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 รายอุตสาหกรรม
	 จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce
	 (ไม่รวม e-Auction)...................................................................................... 68
ภาพที่ 16	 แนวโน้มมูลค่า E-Commerce ปี 2558 รายอุตสาหกรรม
	 จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce
	 (ไม่รวม e-Auction)...................................................................................... 69
ภาพที่ 17	 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557
	 รายอุตสาหกรรม จ�ำแนกตามการให้บริการช่องทางการช�ำระเงิน .............. 74
ภาพที่ 18	 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557
	 จ�ำแนกตามการให้บริการช่องทางการช�ำระเงินออนไลน์............................... 75
ภาพที่ 19	 การเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญของการวิจัยในครั้งนี้............................................. 97
28
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
29
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
30
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
บทสรุปผู้บริหาร
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน
โครงข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้าและการลงทุน
ดังจะเห็นได้จาก รูปแบบการซื้อ-ขายสินค้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการซื้อขาย
สินค้าผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันรัฐบาลได้เล็งเห็นความส�ำคัญของ
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงก�ำหนดให้มีนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(Digital Economy) ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยน�ำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล
เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าผลผลิต ด้วยเหตุนี้ การมีข้อมูลสถานภาพธุรกิจ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของมูลค่าขายพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะสะท้อนถึงทิศทางและแนวโน้มของธุรกิจพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้การก�ำหนดนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี
ดิจิทัลเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ในปี 2558 ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
(สพธอ.) หรือ ETDA ได้รับพันธกิจต่อยอดจากส�ำนักงานสถิติแห่งชาติในการส�ำรวจมูลค่า
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับสภาพตลาดที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจ และ
สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการก�ำหนดนโยบายและวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ
ภาครัฐ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
ให้สามารถปรับตัวเข้ากับโครงสร้างธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นการส่งเสริมศักยภาพ
เชิงแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนต่อไป สอดคล้องกับการขับเคลื่อน
นโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาลปัจจุบัน
การส�ำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทยที่มีความครอบคลุม และเป็นที่ยอมรับในระดับ
สากล สามารถน�ำมาใช้อ้างอิงหรือเปรียบเทียบกับต่างประเทศในระดับโลกได้ รวมถึง
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถน�ำข้อมูลจากผลการ
ส�ำรวจครั้งนี้ ไปใช้ประกอบการวางนโยบาย การบริหารจัดการกลยุทธ์ การวางแผน
31
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
การด�ำเนินธุรกิจทั้งในระดับองค์กร รวมถึงระดับประเทศ เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับ
สภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในธุรกิจ E-Commerce
ให้สามารถแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ส�ำหรับกรอบประชากรที่ใช้ในการส�ำรวจครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ประกอบการ
E-Commerce รวมทั้งสิ้น 502,676 ราย โดยอ้างอิงรายชื่อจากสมาคมผู้ประกอบการ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
เมื่อทราบกรอบจ�ำนวนประชากร ใช้กระบวนการประมวลผลทางสถิติ สามารถก�ำหนด
เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการ E-Commerce ไทยได้ประมาณ 3,000
ราย
ในการส�ำรวจครั้งนี้จะท�ำการส�ำรวจมูลค่า E-Commerce ในปี 2557 และ
คาดการณ์มูลค่า E-Commerce ปี 2558 โดยมีมิติในการส�ำรวจดังนี้ มิติที่หนึ่ง ส�ำรวจ
โดยแบ่งมูลค่า E-Commerce ตามลักษณะทางธุรกิจ B2B, B2C และ B2G โดยข้อมูล
B2G จะมาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ ข้อมูล e-Auction จากส�ำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง
ภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และข้อมูลจากการส�ำรวจโดย สพธอ.
มิติที่สอง ส�ำรวจโดยแบ่งมูลค่า E-Commerce ตามรายได้ของผู้ประกอบการ
E-Commerce ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ
E-Commerce น้อยกว่า 50 ล้านบาทต่อปี และผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ
E-Commerce มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาทต่อปี มิติที่สาม ส�ำรวจโดยแบ่งมูลค่า
E-Commerce ตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรม ISIC Rev.4 (International
Standard Industrial Classification of All Economic Activities, Rev.4) แบ่งเป็น
8 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้ อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้า
ส่ง, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก, อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสาร
และการสื่อสาร, อุตสาหกรรมการประกันภัย, อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และ
นันทนาการ และอุตสาหกรรมกิจการการบริการด้านอื่นๆ ทั้งนี้อุตสาหกรรมการให้
บริการที่พัก จะใช้ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และอุตสาหกรรม
การประกันภัย จะใช้ข้อมูลจากส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบ
ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่ด�ำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้
ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
สรุปผลการส�ำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2557 และ
การคาดการณ์มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2558 ที่ส�ำคัญ เป็นดังนี้
32
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2557
ในปี 2557 ประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,033,493.36
ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.74 ของมูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด1
โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่า E-Commerce แบบ B2B จ�ำนวน 1,234,226.18 ล้านบาท
(ร้อยละ 60.69) รองลงมาคือ มูลค่า E-Commerce แบบ B2C จ�ำนวน 411,715.41
ล้านบาท (ร้อยละ 20.25) และมูลค่า E-Commerce แบบ B2G จ�ำนวน 387,551.76
ล้านบาท (ร้อยละ 19.06)
โดยในส่วนของมูลค่า E-Commerce แบบ B2G มาจาก 2 ส่วน คือ มูลค่าที่ได้จาก
การส�ำรวจ ซึ่งเป็นมูลค่าที่เกิดจากผู้ประกอบการท�ำธุรกิจ E-Commerce กับหน่วยงาน
ภาครัฐโดยตรงไม่ผ่าน e-Auction จ�ำนวน 7,496.30 ล้านบาท (ร้อยละ 0.37) และมูลค่า
ที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของภาครัฐ
(e-Auction) ที่ได้ข้อมูลจากกรมบัญชีกลางจ�ำนวน 380,055.46 ล้านบาท
(ร้อยละ 18.69)
ในส่วนของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,653,437.89
ล้านบาท(ไม่รวมe-Auction)แบ่งออกเป็นประเภทอุตสาหกรรมทั้ง8หมวดอุตสาหกรรม
(ไม่รวม e-Auction) พบว่า อุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-Commerce สูงที่สุด คือ หมวด
อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 630,159.13 ล้านบาท
(ร้อยละ 38.11) รองลงมาคือ หมวดอุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน
440,614.78 ล้านบาท (ร้อยละ 26.65), หมวดอุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
มีมูลค่าE-Commerceจ�ำนวน264,863.87ล้านบาท(ร้อยละ16.02),หมวดอุตสาหกรรม
การค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 252,627.31 ล้านบาท
(ร้อยละ15.28),หมวดอุตสาหกรรมการขนส่งมีมูลค่าE-Commerceจ�ำนวน49,668.12
ล้านบาท (ร้อยละ 3.00), หมวดอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ
มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 9,352.78 ล้านบาท (ร้อยละ 0.57), หมวดอุตสาหกรรม
กิจการการบริการด้านอื่นฯ มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 3,697.99 ล้านบาท
(ร้อยละ 0.22) และหมวดอุตสาหกรรมการประกันภัย มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน
2,453.91 ล้านบาท (ร้อยละ 0.15) ตามล�ำดับ
1 มูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด เป็นมูลค่าที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการผ่านทาง Online และ Offline ซึ่งได้มาจาก
การสำ�รวจออนไลน์ (Online Survey และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ E-Commerce (Face to Face Interview)
33
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2558
จากการคาดการณ์พบว่า ในปี 2558 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย มี
มูลค่าประมาณ 2,107,692.88 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.69 ของมูลค่าขายสินค้า
และบริการทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจาก ปี 2557 ร้อยละ 3.65 โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่า
E-Commerce แบบ B2B จ�ำนวน 1,230,160.23 ล้านบาท (ร้อยละ 58.37) ซึ่งหดตัว
ลงจาก ปี 2557 เพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.34 และเป็นมูลค่า E-Commerce แบบ
B2C จ�ำนวน 474,648.91 ล้านบาท (ร้อยละ 22.52) ซึ่งเติบโตขึ้นจาก ปี 2557 คิดเป็น
ร้อยละ 15.29 และมูลค่า E-Commerce แบบ B2G จ�ำนวน 402,883.74 ล้านบาท
(ร้อยละ 19.11) ซึ่งเติบโตขึ้นจาก ปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 3.96
โดยในส่วนของมูลค่า E-Commerce แบบ B2G ปี 2558 มาจาก 2 ส่วน คือ มูลค่า
ที่ได้จากการส�ำรวจ ซึ่งเป็นมูลค่าที่เกิดจากผู้ประกอบการท�ำธุรกิจ E-Commerce กับ
หน่วยงานภาครัฐโดยตรงไม่ผ่าน e-Auction จ�ำนวน 9,942.90 ล้านบาท (ร้อยละ 0.47)
และมูลค่าที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ของภาครัฐ (e-Auction) ที่ได้ข้อมูลจากกรมบัญชีกลางจ�ำนวน 392,940.84 ล้านบาท
(ร้อยละ 18.69)
ในส่วนของมูลค่า E-Commerce ปี 2558 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,714,752.04
ล้านบาท (ไม่รวม e-Auction) พบว่า อุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-Commerce มากที่สุด
คือ หมวดอุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 658,909.76
ล้านบาท (ร้อยละ 38.43) รองลงมาคือ หมวดอุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า
E-Commerce จ�ำนวน 350,286.83 ล้านบาท (ร้อยละ 20.43), หมวดอุตสาหกรรม
การค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 325,077.48 ล้านบาท
(ร้อยละ18.96),หมวดอุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารมีมูลค่าE-Commerce
จ�ำนวน 303,111.48 ล้านบาท (ร้อยละ 17.68), หมวดอุตสาหกรรมการขนส่ง มีมูลค่า
E-Commerce จ�ำนวน 59,572.42 ล้านบาท (ร้อยละ 3.47), หมวดอุตสาหกรรมศิลปะ
ความบันเทิง และนันทนาการ มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 11,694.22 ล้านบาท
(ร้อยละ 0.68), หมวดอุตสาหกรรมกิจการการบริการด้านอื่นๆ มีมูลค่า E-Commerce
34
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
จ�ำนวน 4,348.23 ล้านบาท (ร้อยละ 0.25) และหมวดอุตสาหกรรมการประกันภัย
มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 1,751.62 ล้านบาท (ร้อยละ 0.10) ตามล�ำดับ
จากข้อมูลสถิติที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยมีแนวโน้ม
การเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น ยกเว้น หมวดอุตสาหกรรมการผลิต และหมวดอุตสาหกรรม
การประกันภัย ทั้งนี้จากการส�ำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในเชิงลึก พบว่า
ผู้ประกอบการบางส่วนยังคงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการค้าใน
ธุรกิจ E-Commerce ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยปัจจัยภายในที่มีผลกระทบต่อ
การพัฒนาธุรกิจ E-Commerce ได้แก่ ปัจจัยด้านการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มี
ความรู้ ความสามารถในด้าน E-Commerce เนื่องจากปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญในด้านธุรกิจ
E-Commerce (เฉพาะทาง) ยังคงมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการ
ในตลาด ท�ำให้เกิดความไม่สมดุลในแง่ของแรงงาน ส่งผลให้เกิดการจ้างคนภายนอก
(Outsource) โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดต้นทุนในการด�ำเนินการ
ที่สูงขึ้น รวมถึงปัจจัยด้านการขนส่ง หากมองตามโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ใน
ขณะนี้ของประเทศ ยังคงก่อให้เกิดต้นทุนในการขนส่งที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน
ในด้านอื่นๆ
ในขณะที่ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาธุรกิจ E-Commerce ประกอบ
ด้วย ปัจจัยด้านโครงสร้างภาษีของธุรกิจ E-Commerce ที่ต้องพัฒนาให้
สอดรับกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในบัจจุบัน รวมถึงการสร้างความเข้าใจ
ในระบบการจัดเก็บภาษีแก่ผู้ประกอบการในประเทศ, ปัจจัยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและความปลอดภัย เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และมาตรการก�ำกับดูแล
ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce รวมถึงปัจจัยด้านความ
ผันผวนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ประกอบการใน
ประเทศยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ
สร้างสรรค์ สนับสนุน และส่งเสริมทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบการ
ขนส่งที่จะช่วยลดต้นทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จ�ำเป็น หรือแม้กระทั่ง One Stop
Services ด้านการดูแลธุรกิจ E-Commerce ต่างๆ ให้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและ
ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
35
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
อย่างไรก็ตาม การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
อันใกล้ รวมถึงการเพิ่มขึ้นในด้านการลงทุน ด้านการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานในประเทศของภาครัฐ ส่งผลให้ในอนาคต ธุรกิจ E-Commerce มีแนว
โน้มจะเติบโตเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการในประเทศที่จะพัฒนา
ธุรกิจ E-Commerce ให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคสินค้าผ่านระบบ
E-Commerce ให้มีช่องทางการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น มีความสะดวกสบายและปลอดภัย
ในการใช้บริการมากขึ้นด้วย
36
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
37
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
38
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
39
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
ผลการสำ�รวจที่สำ�คัญ
1. มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 - 2558
ภาพที่ 1 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 - 2558
จากภาพที่ 1 ในปี 2557 ประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce ที่นับรวมมูลค่า
e-Auction ผลส�ำรวจเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,033,493.36 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าดังกล่าว
คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของมูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด และเพิ่มขึ้นจากปี 2556
ร้อยละ 164.77 อย่างไรก็ตาม ผลการส�ำรวจ E-Commerce ในปี 2557 นี้ มีการก�ำหนด
กรอบประชากรโดยรวมผู้ประกอบการ E-Commerce ทั้งสิ้น 502,676 ราย ซึ่งเป็น
การก�ำหนดกรอบประชากรที่แตกต่างจากการส�ำรวจในปี 2556 โดยรวมผู้ประกอบการ
E-Commerce รายใหญ่ที่มีผลประกอบการ E-Commerce มากกว่าหรือเท่ากับ
50 ล้านบาทต่อปี เข้ามาในกรอบประชากรการส�ำรวจครั้งนี้ ท�ำให้ไม่สามารถ
เปรียบเทียบมูลค่า E-Commerce ในการส�ำรวจครั้งนี้กับผลการส�ำรวจในปีก่อนๆ
ที่จัดท�ำการส�ำรวจโดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติได้อย่างสมบูรณ์ ผลการส�ำรวจ
E-Commerce ในประเทศไทย ส�ำหรับปี 2558 นั้น ที่นับรวมมูลค่า e-Auction
40
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
ผลคาดการณ์เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,107,692.88 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.69 ของ
มูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด โดยจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 คิดเป็น
ร้อยละ 3.65
ปัจจัยที่ส่งผลด้านบวกให้ธุรกิจ E-Commerce มีมูลค่าที่เติบโตขึ้นหลายเท่าตัวนี้
มี 4 ปัจจัยหลัก อันได้แก่ ประการแรก การเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งใน
ช่องทาง E-Commerce หรือการขายออนไลน์ โดยผู้ประกอบการให้ความส�ำคัญของ
การขายผ่านออนไลน์มากขึ้น ประการที่สอง การลงทุนในธุรกิจ E-Commerce จาก
บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศไทย ประการที่สาม กรอบประชากร
การส�ำรวจที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงกรอบประชากรให้ครบทุกหมวดหมู่และขนาด
ของผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น ประการที่สี่ ได้รับความร่วมมือในเรื่อง
ข้อมูลมูลค่า E-Commerce จากการส�ำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
และ ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ประเทศไทยมีการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ควบคู่กับการพัฒนาด้าน
โครงข่ายโทรคมนาคมต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2555 ที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานที่
สนับสนุนธุรกิจ E-Commerce ที่ส�ำคัญทั้งการพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์ และระบบ
การช�ำระเงินออนไลน์ ผนวกกับในปี 2556 ได้มีการเริ่มใช้ 3G ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้า
ของระบบไร้สายที่สามารถใช้ได้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
ก่อให้เกิด E-Commerce ในอีกรูปแบบคือ รูปแบบ M-Commerce หรือ Mobile
Commerce ท�ำให้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 19,386,154
ล้านคน ในปี 2557 เติบโตจากปีก่อนหน้าร้อยละ 8 และเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22
ในปี 2558 (International Telecommunication Union : ITU and World Bank,
2558) ส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce หรือธุรกิจการค้าออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างก้าว
กระโดด สอดคล้องกับมูลค่า E-Commerce ที่เติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 167.44
ในปี 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 (มูลค่าดังกล่าวเป็นมูลค่า E-Commerce ที่นับ
รวมมูลค่า e-Auction) และมีสัดส่วนมูลค่า M-Commerce สูงถึงร้อยละ 12 ของมูลค่า
E-Commerce ทั้งหมด (Global Web Index, 2557)
41
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
รวมถึงในอนาคตอันใกล้ที่ประเทศไทยก�ำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital
Economy) อย่างแท้จริง มีการพัฒนาระบบไร้สายจาก 3G เป็น 4G ในปี 2558 ท�ำให้
ธุรกิจ E-Commerce ของไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นได้อีกมาก นับเป็นโอกาสส�ำคัญส�ำหรับ
ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นช่องทางเสริมในการสร้างรายได้ หรือเป็นช่องทางหลักใน
การสร้างรายได้ เนื่องจากการเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce มีต้นทุนด�ำเนินงานที่ต�่ำกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับการท�ำตลาดแบบมีหน้าร้าน เหมาะส�ำหรับผู้ประกอบการที่มี
ข้อจ�ำกัดด้านเงินลงทุน และผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจ
ภาพที่ 2 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
จำ�แนกตามมูลค่าที่มาจากการสำ�รวจกับมูลค่าที่เกิดจาก
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (e-Auction)
จากภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่า มูลค่า E-Commerce ในปี 2557 ประกอบไปด้วย
มูลค่า E-Commerce ของหมวดอุตสาหกรรมหลัก 8 หมวด เป็นจ�ำนวน 1,653,437.89
ล้านบาท และมูลค่า e-Auction เป็นจ�ำนวน 380,055.46 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ
81.31 และ 18.69 ของมูลค่า E-Commerce ในปี 2557 ตามล�ำดับ ในขณะที่มูลค่า
42
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
E-Commerce ของหมวดอุตสาหกรรมหลัก 8 หมวด ในปี 2558 คิดเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น
1,714,752.04 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 81.36 ของมูลค่า E-Commerce ในปี 2558
โดยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 3.71 โดยทั้งนี้มูลค่า e-Auction ในปี 2558
นั้น คิดเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 392,940.84 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.64 ของมูลค่า
E-Commerce ในปี 2558 โดยมูลค่า e-Auction มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557
ร้อยละ3.39ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเติบโตของมูลค่าE-Commerceของหมวดอุตสาหกรรม
หลักอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ภาพที่ 3 มูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของประเทศต่างๆ ปี 2557
ที่มา: http://data.worldbank.org , http://www.statista.com, http://www.ekosglobal.com และ
การสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 โดย สพธอ.
จากภาพที่ 3 การเปรียบเทียบมูลค่า E-Commerce เฉพาะในส่วนของมูลค่าที่เป็น
B2C กับประเทศต่างๆ นั้น เช่น สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศใน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า มูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของกลุ่มประเทศ
ที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการสื่อสารในอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา,
43
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C ทั้งสิ้น 359.3, 322.1, 118.6
และ 25.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามล�ำดับ ซึ่งประเทศดังกล่าวต่างมีมูลค่า
E-Commerce ในระดับต้นๆ ของโลกด้วยเช่นกัน โดยหากพิจารณาในระดับที่แคบลง
มา หรือในระดับอาเซียน พบว่า ประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C อยู่ใน
ล�ำดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน โดยประเทศไทยมีมูลค่า
E-Commerce แบบ B2C ทั้งสิ้น 11.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย
(9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ), สิงคโปร์ (3.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ), เวียดนาม (2.97
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ), อินโดนีเซีย (2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และฟิลิปปินส์ (2.3
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตามล�ำดับ
ปัจจัยส�ำคัญที่สนับสนุนให้มูลค่าธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยอยู่ในระดับ
ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจนถึง
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการน�ำระบบโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G และ 4G มาใช้
อย่างเป็นทางการ และเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายโทรคมนาคม
อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเข้าสู่ชีวิตประจ�ำวันของประชาชนมากขึ้น พร้อมกับ
การผลักดันธุรกิจ E-Commerce ให้เติบโตขึ้น ประกอบกับการที่เครื่องคอมพิวเตอร์
และโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนมีราคาที่ถูกลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ท�ำให้มีอัตรา
จ�ำนวนผู้เข้าถึงออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า 30 ล้านคนในปัจจุบัน2
ส่งผลให้
ผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของธุรกิจ E-Commerce
และเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างจริงจัง
รวมไปถึงการที่ประเทศไทยมีมาตรการทางภาษีที่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุน ด้วยการ
ละเว้นภาษีเป็นเวลา 5 ปีให้กับผู้ประกอบการต่างประเทศ3
ดึงดูดให้มีผู้ประกอบการ
ต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก ส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce มี
การแข่งขันกันสูงเพื่อแย่งชิงผู้บริโภคกันอย่างเข้มข้นอีกทั้งผู้ประกอบการในประเทศไทย
เริ่มมีการให้บริการซื้อสินค้าก่อน แล้วค่อยเก็บเงินเมื่อสินค้าส่งถึงผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว
หรือที่เรียกว่า ระบบการช�ำระเงินปลายทาง (Cash on delivery: COD) ท�ำให้ผู้บริโภค
2 ที่มา: Bangkokbiznews
3 สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI), http://www.boi.go.th
44
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
เปลี่ยนพฤติกรรมจากที่ไม่เคยหรือไม่กล้าซื้อของออนไลน์ หันมาจับจ่ายใช้สอยทาง
ออนไลน์จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยจะ
ก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้น�ำอาเซียนด้านธุรกิจ E-Commerce
ภาพที่ 4 มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C
ของประเทศต่างๆ ปี 2557
ที่มา: http://data.worldbank.org , http://www.statista.com, http://www.ekosglobal.com และ
การสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 โดย สพธอ.
ภาพที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบมูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C
ปี 2557 ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น,
เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ พบว่า มูลค่า
E-Commerce ต่อหัวประชากรของประเทศไทย แบบ B2C คิดเป็น 172.76 ดอลลาร์
สหรัฐฯ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าเวียดนาม (32.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ), ฟิลิปปินส์
(23.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และอินโดนีเซีย (10.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ทั้งนี้เป็นเพราะ
45
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
ทั้งสามประเทศดังกล่าว มีจ�ำนวนประชากรที่สูงกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ
ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีจ�ำนวนประชากรสูงถึง 99.14 ล้านคน และ 254.45
ล้านคนตามล�ำดับเมื่อประมวลผลเชิงสถิติจึงท�ำให้มูลค่าE-Commerceต่อหัวประชากร
ของไทย แบบ B2C สูงกว่าทั้งสามประเทศ อีกทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากร
ไทย และค่านิยมในการซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า และหลากหลาย
กว่าการซื้อจากตลาดหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป4
ส่งผลให้มูลค่า E-Commerce ของ
ประเทศไทยสูงขึ้นในปี 2557 และมีแนวโน้มสูงยิ่งขึ้นไปอีกในปี 2558
ส่วนในกรณีของมาเลเซีย แม้ว่ามูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของมาเลเซีย
จะต�่ำกว่ามูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของประเทศไทย5
แต่เนื่องจากมาเลเซียมี
จ�ำนวนประชากรเพียง 29.90 ล้านคน ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่น้อยกว่าประชากรของไทยราว
37.82 ล้านคน ส่งผลให้มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ของมาเลเซีย
(321.06 ดอลลาร์สหรัฐ) สูงกว่าประเทศไทย (172.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เช่นเดียวกัน
กับการเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้ โดยเกาหลีใต้มีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C
ต�่ำกว่าไทย แต่เนื่องจากเกาหลีใต้มีจ�ำนวนประชากรเพียง 50.42 ล้านคน ซึ่งเป็นจ�ำนวน
ที่น้อยกว่าประชากรของไทยกว่า 17.30 ล้านคน ส่งผลให้มูลค่า E-Commerce ต่อหัว
ประชากร แบบ B2C ของเกาหลีใต้ (503.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ) สูงกว่าประเทศไทยราว
3 เท่า
ส�ำหรับจีนนั้น แม้ว่าจะมีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C สูงเป็นอันดับสองรองลง
มาจากสหรัฐอเมริกา แต่เนื่องจากจีนมีจ�ำนวนประชากรกว่า 1,400 ล้านคน จึงท�ำให้
เมื่อค�ำนวณมูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ออกมาแล้ว น้อยกว่า
เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
จะเห็นได้ว่า การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย
เท่านั้นแต่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปพร้อมกันทั่วโลกโดยเฉพาะใน“สหรัฐอเมริกา”
ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้น�ำและแบบพิมพ์เขียว (Blueprint) ด้าน Platform
E-Commerce”6
4 รายงานผู้บริโภค E-Commerce 2014 in Asia โดย Nielson, http://ir.nielsen.com/files/doc_financials/Niel
sen-Global-E-Commerce-Report-August-2014.pdf
5 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ecommercemilo.com
6 ที่มา: Forbes (Beginning of Amazon and ebay)
46
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
ภาพที่ 5 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557
จำ�แนกตามมูลค่าขายในประเทศและต่างประเทศ
ภาพที่ 5 จากผลการส�ำรวจ พบว่า ร้อยละ 97.67 ของผู้ประกอบการทั้งหมด ท�ำการ
ขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในประเทศไทยเป็นหลัก และมีผู้ประกอบการเพียง
ร้อยละ 2.33 เท่านั้น ที่ท�ำการขายสินค้าและบริการ โดยการส่งออกไปยังตลาด
ต่างประเทศ สาเหตุที่ท�ำให้ธุรกิจ E-Commerce ภายในประเทศไทยยังคงขยายตัว
มาจากการที่ผู้ประกอบการในหลายๆ ภาคธุรกิจต่างเล็งเห็นความส�ำคัญในช่องทางการ
ค้าขายออนไลน์ เนื่องจากเป็นการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าและบริการโดยตรงไปยัง
ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ
ท�ำให้การด�ำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับการที่ระบบช�ำระเงินมี
การพัฒนาและมีกระบวนการที่ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมไปถึงจ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ท�ำให้ธุรกิจE-Commerceในประเทศไทย
มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
47
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
นอกจากนี้การขายสินค้าและบริการไปยังตลาดต่างประเทศ ก็มีทิศทางและ
แนวโน้มที่ดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ไม่หยุด
นิ่ง ท�ำให้การติดต่อสื่อสาร การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถท�ำได้ง่าย สะดวก
และมีต้นทุนการด�ำเนินการที่ต�่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต รวมถึงการพยายามท�ำ
สนธิสัญญาการค้าทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค (อาเซียน) และระดับสหภาพของ
หน่วยงานภาครัฐของไทย ท�ำให้ในส่วนของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของไทย
นั้นมีการพัฒนาให้สอดรับกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในอนาคตมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ด้านความต้องการในระดับโลก (Demand Side) อันเป็นผลมาจาก
การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและ
บริการ ท�ำให้ตลาดมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลายขึ้น
เปรียบเสมือนโอกาสทองของผู้ประกอบการในประเทศไทย ที่จะพัฒนารูปแบบการท�ำ
ธุรกิจ E-Commerce ให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น
ภาพที่ 6 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 จำ�แนกตามภูมิภาค
48
รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558
Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015
หากพิจารณามูลค่า E-Commerce ปี 2557 รายภูมิภาค จ�ำแนกตามขนาดของ
ผลประกอบการ ดังภาพที่ 6 พบว่า การขายสินค้าและบริการทางออนไลน์โดยส่วนใหญ่
(กว่าร้อยละ 65) มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงภาคกลาง
เป็นหลัก
โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ E-Commerce น้อยกว่า 50 ล้านบาท
ต่อปี จะท�ำการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลและ
พื้นที่ภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 86.47 โดยมีสัดส่วนของการค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และ
ปริมณฑล คิดเป็นร้อยละ 69.13 และสัดส่วนของพื้นที่ภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 17.34
ในขณะที่สัดส่วนของตลาดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
รวมเป็นร้อยละ 13.53 โดยมีสัดส่วนของการท�ำการค้าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ และภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 5.36, 3.87 และ 4.31 ตามล�ำดับ
ส่วนผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ E-Commerce มากกว่าหรือเท่ากับ
50ล้านบาทต่อปีจะขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
49
สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)
ในสัดส่วนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.88 รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 24.63)
ในขณะที่สัดส่วนของตลาดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
มีขนาดใกล้เคียงกันโดยมีสัดส่วนของการท�ำการค้าอยู่ที่ร้อยละ 10.88, 10.35
และ 10.26 ตามล�ำดับ
สาเหตุที่ท�ำให้มูลค่า E-Commerce กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
เนื่องจากกรุงเทพฯ มีระดับความพร้อมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี
สารสนเทศ การใช้อินเทอร์เน็ต การศึกษา ระบบการเงิน ตลอดจนระบบการขนส่ง
สูงกว่าพื้นที่ในภาคอื่นๆ
ภาพที่ 7 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557
จำ�แนกตามลักษณะการขายสินค้า/บริการ
จากผลการส�ำรวจ พบว่า ในปี 2557 ผู้ประกอบการ E-Commerce โดยส่วนใหญ่
สูงถึงร้อยละ 78.36 จะด�ำเนินกิจการผ่านช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก
ไม่มีภาระต้นทุนด้านการเช่าอาคารสถานที่ในการขายสินค้าและบริการ ในขณะที่
ผู้ประกอบการที่ด�ำเนินธุรกิจผ่านทางออนไลน์และมีหน้าร้านทางกายภาพ มีเพียง
ร้อยละ 21.64 เท่านั้น ดังแสดงในภาพที่ 7
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015
Thailand E commerce survey 2015

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

Thailand Digital Marketing and Trend 2014 by Pawoot
Thailand Digital Marketing and Trend 2014� by Pawoot Thailand Digital Marketing and Trend 2014� by Pawoot
Thailand Digital Marketing and Trend 2014 by Pawoot Pawoot (Pom) Pongvitayapanu
 
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561ETDAofficialRegist
 
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerceแนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน EcommercePeople Media Group Co.ltd
 
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoringผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs ScoringETDAofficialRegist
 
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
 30.03.2020  เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ... 30.03.2020  เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...ETDAofficialRegist
 
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562ETDAofficialRegist
 
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018ETDAofficialRegist
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)ETDAofficialRegist
 
Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018ETDAofficialRegist
 
20181226 etda annual_roport_2018_max
20181226 etda annual_roport_2018_max20181226 etda annual_roport_2018_max
20181226 etda annual_roport_2018_maxThosaporn Kompat
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)ETDAofficialRegist
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)ETDAofficialRegist
 
Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018ETDAofficialRegist
 
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562ETDAofficialRegist
 
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอล
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอลความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอล
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอลOBELS MFU
 

Mais procurados (20)

Thailand Digital Marketing and Trend 2014 by Pawoot
Thailand Digital Marketing and Trend 2014� by Pawoot Thailand Digital Marketing and Trend 2014� by Pawoot
Thailand Digital Marketing and Trend 2014 by Pawoot
 
A5 survey 2018 v31
A5 survey 2018 v31A5 survey 2018 v31
A5 survey 2018 v31
 
Step of E-Marketing by Pawoot
Step of E-Marketing by PawootStep of E-Marketing by Pawoot
Step of E-Marketing by Pawoot
 
Social Network Marketing Increase Sale V1 00
Social Network Marketing Increase Sale V1 00Social Network Marketing Increase Sale V1 00
Social Network Marketing Increase Sale V1 00
 
Technology & marketing trend 2011
Technology & marketing trend 2011Technology & marketing trend 2011
Technology & marketing trend 2011
 
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561
เอกสารการแถลงผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561
 
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerceแนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
 
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoringผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
 
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
 30.03.2020  เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ... 30.03.2020  เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
 
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
 
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
 
Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018
 
20181226 etda annual_roport_2018_max
20181226 etda annual_roport_2018_max20181226 etda annual_roport_2018_max
20181226 etda annual_roport_2018_max
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
 
Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018
 
Thailand data center landscape
Thailand data center landscapeThailand data center landscape
Thailand data center landscape
 
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
 
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอล
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอลความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอล
ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอล
 

Destaque

พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่Thanachart Numnonda
 
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558Mayuree Srikulwong
 
Internet usage and online shopping in thailand
Internet usage and online shopping in thailandInternet usage and online shopping in thailand
Internet usage and online shopping in thailandRabin Gupta
 
Thailand Internet user Profile 2016
Thailand Internet user Profile 2016Thailand Internet user Profile 2016
Thailand Internet user Profile 2016ETDAofficialRegist
 

Destaque (6)

E-commerce summary (2016)
E-commerce summary (2016)E-commerce summary (2016)
E-commerce summary (2016)
 
9 fundamentals for e-commerce in thailand
9 fundamentals for e-commerce in thailand9 fundamentals for e-commerce in thailand
9 fundamentals for e-commerce in thailand
 
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
 
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
 
Internet usage and online shopping in thailand
Internet usage and online shopping in thailandInternet usage and online shopping in thailand
Internet usage and online shopping in thailand
 
Thailand Internet user Profile 2016
Thailand Internet user Profile 2016Thailand Internet user Profile 2016
Thailand Internet user Profile 2016
 

Semelhante a Thailand E commerce survey 2015

Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)WiseKnow Thailand
 
Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558Thanawat Malabuppha
 
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018ETDAofficialRegist
 
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564WiseKnow Thailand
 
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)wonvisa
 
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airadaEga แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airadaElectronic Government Agency (Public Organization)
 
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFITข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFITIMC Institute
 
Thailand internet user profile 2014
Thailand internet user profile 2014Thailand internet user profile 2014
Thailand internet user profile 2014Peerasak C.
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยSoftware Park Thailand
 
Thailand Internet User Profile 2016
Thailand Internet User Profile 2016Thailand Internet User Profile 2016
Thailand Internet User Profile 2016WiseKnow Thailand
 
Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)
Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)
Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)Morraget Morraget
 
Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28Chanpen Thawornsak
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรSoftware Park Thailand
 
มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...
มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...
มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...Asina Pornwasin
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016คุณโจ kompat
 

Semelhante a Thailand E commerce survey 2015 (20)

Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
 
Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
Etda รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558
 
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2018
 
Thailand Ecommerce Trend 2019
Thailand Ecommerce Trend 2019Thailand Ecommerce Trend 2019
Thailand Ecommerce Trend 2019
 
ETDA annual report 2012
ETDA annual report 2012ETDA annual report 2012
ETDA annual report 2012
 
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564
 
Thailand e-commerce report 55
Thailand e-commerce report 55Thailand e-commerce report 55
Thailand e-commerce report 55
 
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
คู่มือส่งเสริมความรู้การทำธุรกิจไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (e-Business)
 
190828 royal council (6) passakorn
190828 royal council (6) passakorn190828 royal council (6) passakorn
190828 royal council (6) passakorn
 
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airadaEga แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
 
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFITข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT
 
Thailand internet user profile 2014
Thailand internet user profile 2014Thailand internet user profile 2014
Thailand internet user profile 2014
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
Thailand Internet User Profile 2016
Thailand Internet User Profile 2016Thailand Internet User Profile 2016
Thailand Internet User Profile 2016
 
Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)
Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)
Thailand internet user profile 2016 (ดีมาก)
 
Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28Smart Industry Newsletter Vol.28
Smart Industry Newsletter Vol.28
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
 
มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...
มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...
มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ และตลาดอุปกรณ์เครื่อ...
 
Thailand e-commerce-2009
Thailand e-commerce-2009Thailand e-commerce-2009
Thailand e-commerce-2009
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

Thailand E commerce survey 2015

  • 1.
  • 2.
  • 3.
  • 4. ชื่อเรื่อง รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 จัดทำ�โดย ส่วนงานดัชนีและสำ�รวจ สำ�นักยุทธศาสตร์ สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ISBN ISBN 978-974-9765-71-5 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2558 จำ�นวน 2,000 เล่ม ราคา 200 บาท สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
  • 5. สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นองค์กรของรัฐที่ท�ำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และ สนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ มีการบริหารจัดการและกำ�หนดนโยบายโดยคณะกรรมการบริหาร
  • 6.
  • 7. 6 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อมองถึงมูลค่า E-Commerce ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สะท้อน การเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตัวเลขที่ปรากฏทำ�ให้ทุกคนได้ เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของการซื้อขายออนไลน์ที่เพิ่มจากปี 2556 อย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2557 มีมูลค่าสูงถึง 2.03 ล้านล้านบาท และยัง คงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2558 ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่น่ายินดีว่ามูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของ ไทย สูงเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน เหนือกว่ามาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เลยทีเดียว ต้องขอบคุณ สพธอ. ที่ได้ จัดทำ�ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ E-Commerce ในทุกระดับ
  • 9. 8 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเพิ่มศักยภาพความสามารถทางการแข่งขันของประเทศนั้น การผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมดิจิทัล ถือเป็นปัจจัยสำ�คัญที่กระทรวงฯ คำ�นึงถึง และยังเป็นการดำ�เนินงานตามนโยบายของรัฐบาล การมีข้อมูล E-Commerce ถือเป็นการช่วยสะท้อนถึงการนำ�เทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนทางการค้าอีกทางหนึ่ง อีกทั้ง กระทรวงฯ ยังได้มี การส่งเสริมกลุ่ม SMEs ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อ ให้เกิดการทำ� E-Commerce ได้อย่างทั่วถึง
  • 11. 10 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานคณะกรรมการบริหาร ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) การซื้อขายสินค้าและบริการทางออนไลน์มีแนวโน้มจะเป็นที่นิยมเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ต้องการ ความสะดวกสบาย สามารถสั่งซื้อสินค้า/บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา ข้อมูล มูลค่า E-Commerce จึงเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำ�คัญและจำ�เป็นที่ ภาครัฐจะต้องใช้ในการกำ�หนดนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการทำ� ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถนำ�เอาข้อมูล ดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ในโอกาสนี้ ดิฉันในนามคณะกรรมการบริหาร สพธอ. ขอแสดงความ ขอบคุณหน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ E-Commerce ไทยทุกๆ ท่านที่ได้มีส่วนสำ�คัญในการสนับสนุนข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพจนทำ�ให้การสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 สำ�เร็จลุล่วงไปได้โดยดี และดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อทุกท่านได้ นำ�ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ไปใช้ประโยชน์ จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวและ การต่อยอดทางธุรกิจ E-Commerce รวมไปถึงการเตรียมความพร้อม ของประเทศเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ E-Commerce ไทยก้าวเข้าสู่ การแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็งต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
  • 13. 12 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce ถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจ สำ�คัญของโลกธุรกิจออนไลน์ในยุคปัจจุบันที่คุณสามารถค้าขายกับคนจาก ทั่วทุกมุมโลก ในช่วงปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยได้เข้าสู่ธุรกิจ E-Commerce มาก ขึ้น และสภาวะการแข่งขันของธุรกิจนี้ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ภายใต้การแข่งขัน กันอย่างดุเดือด ส่งผลให้การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในไทย น่าจับตามองมากทีเดียว แต่คำ�ถามคือ ตัวเลขเหล่านั้น เติบโตเท่าไหร่ เกิด อะไรขึ้นในธุรกิจบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างจริงจังเลย ด้วยงานวิจัยฉบับนี้ การรวบรวมตัวเลขมูลค่าธุรกิจ E-Commerce ของประเทศไทย และการสำ�รวจถึงข้อมูลเชิงลึกของการขายสินค้าผ่าน ช่องทางออนไลน์อย่างเป็นทางการเป็น “ครั้งแรกของประเทศไทย” ภายใต้ ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นกำ�ลังสำ�คัญจากสำ�นักงานพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ดำ�เนินการ สำ�รวจข้อมูลจากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งรายใหญ่และ รายย่อยทั่วประเทศไทย และตัวเลขที่น่าสนใจเหล่านี้ก็ได้อยู่ในงานวิจัยชิ้น สำ�คัญในมือท่านแล้วครับ สิ่งสำ�คัญกว่าการได้มาซึ่งข้อมูล คือ ประโยชน์ของข้อมูลนั้นต่อผู้อ่าน ผมหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันให้ธุรกิจ ทุกขนาดในประเทศไทย “กระโจน” เข้าสู่ธุรกิจ E-Commerce อย่างมี ข้อมูลสนับสนุน เหมือนการออกศึกโดยมีแผนที่นำ�ทางนั่นเอง
  • 15. 14 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ซีโอแอล จ�ำกัด (มหาชน) ในปี 2015 นี้เป็นปีที่ E-Commerce ใน ประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก พูดได้ว่าเป็นการ เติบโตแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับ หลายๆ ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเติบโตเช่นนี้ ต่อเนื่องอีกหลายปี ทั้งนี้มาจากการที่ปัจจัยต่างๆ เช่น การมาของระบบสัญญาณ 4G, การเข้าถึง Hi Speed Internet ที่ง่ายขึ้น, มือถือสมาร์ตโฟนที่ราคาถูกลง และคนไทยใช้ Social Network สูงติดอันดับต้นๆ ของโลก กระแสของ E-Commerce เริ่มเข้ามาเป็นกระแสหลักที่ทุกธุรกิจต้องการ เข้ามาขยายช่องทางการขายผ่านช่องทางนี้ รวมถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ของรูปแบบการค้าทางออนไลน์ ดังนั้นน่าจับตามองว่าผลสำ�รวจในปีหน้าจะ มีผลเป็นเช่นไร ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทาง ETDA ที่ได้จัดทำ�และเผยแพร่ผลสำ�รวจนี้ต่อ สาธารณชน เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ E-Commerce ไทย เป็นอย่างมากที่จะนำ�ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้พัฒนาธุรกิจ E-Commerce ใน ประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป
  • 17. 16 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 Miss Diana Korka Associate Economic Affairs Officer ICT Analysis Section, Science, Technology and ICT Branch Division on Technology and Logistics of UNCTAD Thailand is one of few developing economies that compile official statistics on E-Commerce. At a global level the volume of E-Commerce transitions is expanding fast, with developing economies gaining prominence.
  • 19. 18 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 (นางสุรางคณา วายุภาพ) ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทคและการสื่อสาร การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยจำ�นวนประชากรในภูมิภาคนี้ กว่า 580 ล้านคน ขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้น และปริมาณสินค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ล้วนเป็นการขยายโอกาส ในการค้าขายออนไลน์ของไทย ให้เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ E-Commerce จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าขาย สำ�หรับผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างทัดเทียม อันจะเป็นการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้เข้าสู่ ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ได้อย่างยั่งยืน
  • 21. 20 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 คำ�นำ� ในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป็นที่ตระหนักดีว่าเป็นยุคที่มี การน�ำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เข้ามาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการท�ำงานหรือการท�ำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจหรือเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของทุกภาคส่วน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นการมีข้อมูลสถานภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในส่วนของมูลค่าขายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะช่วยสะท้อน ทิศทางและแนวโน้มของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย อันจะช่วยให้ การก�ำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ สสช. เป็นหน่วยงานหลักที่จัดเก็บข้อมูลสถานภาพ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี2550เป็นต้นมาในปี2558ส�ำนักงาน สถิติแห่งชาติได้ส่งมอบงานส�ำรวจนี้ให้กับส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. โดยเป็นการท�ำงานร่วมกันระหว่าง สสช. และ สพธอ. นับตั้งแต่การก�ำหนดนิยาม การขยายกรอบการส�ำรวจที่ลงลึกมากขึ้น มีการขยายกลุ่ม อุตสาหกรรมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยได้ตัวเลขมูลค่า E-Commerce ที่ใกล้เคียงกับสภาพธุรกิจอย่างแท้จริง รวมไปถึงการท�ำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรด้าน E-Commerce ตลอดจน การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ หน่วยงานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development) และหน่วยงานด้าน สถิติเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากประเทศฟินแลนด์, เกาหลีใต้ และบราซิล เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดท�ำสถิติ E-Commerce รวมทั้งก�ำหนดระเบียบ วิธีวิจัยที่ใช้ในการจัดท�ำตัวชี้วัดที่สามารถน�ำมาเปรียบเทียบกันได้ในระดับสากล
  • 22. 21 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) การส�ำรวจมูลค่า E-Commerce ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทยที่มีความครอบคลุม และเป็นที่ยอมรับในระดับ สากล สามารถน�ำมาใช้อ้างอิงหรือเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ได้ รวมถึงเพื่อให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถน�ำข้อมูลจากผลการส�ำรวจครั้ง นี้ ไปใช้ประกอบการก�ำหนดนโยบาย การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนการ ด�ำเนินธุรกิจทั้งในระดับองค์กรรวมถึงระดับประเทศเพื่อปรับตัวให้ทันกับสภาพเศรษฐกิจ ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยจัดเก็บมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และคาดการณ์มูลค่า E-Commerce ปี 2558 ด้วยการส�ำรวจกลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ประกอบการ E-Commerce ทั้งหมด 502,676 ราย ที่รวบรวมรายชื่อมาจากสมาคม ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และส�ำนักงาน สถิติแห่งชาติ การส�ำรวจครั้งนี้คงจะไม่ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากไม่ได้รับความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สพธอ.จึงขอขอบพระคุณทุกหน่วยงาน ไว้ ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือที่ดีเช่นนี้จากหน่วยงานของท่าน ในโอกาสต่อไป สุรางคณา วายุภาพ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พฤศจิกายน 2558
  • 26. 25 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) สารบัญ ค�ำน�ำ ........................................................................................... 20 สารบัญรูปภาพ............................................................................ 26 บทสรุปผู้บริหาร........................................................................... 30 ผลการส�ำรวจที่ส�ำคัญ................................................................. 23 1. มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 – 2558.................................... 39 2. มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย จ�ำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ........... 51 3. มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย จ�ำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม............. 56 4. มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce..................................... 65 5. ผู้ประกอบการ E-Commerce ในประเทศไทย จ�ำแนกตามการให้บริการช่องทางการช�ำระเงิน................................................ 74 6. ข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ: ประเด็นที่ส่งผลกระทบส�ำคัญต่อผู้ประกอบการ E-Commerce ไทย................ 81 ภาคผนวก.................................................................................... 86 ค�ำศัพท์..................................................................................................................... 87 ระเบียบวิธีวิจัย.......................................................................................................... 91 แบบส�ำรวจออนไลน์.................................................................................................100 แบบส�ำรวจเชิงลึก....................................................................................................120 รายชื่อคณะท�ำงานและคณะวิจัย.....................................................................................
  • 27. 26 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 สารบัญรูปภาพ ภาพที่ 1 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 - 2558.................................. 39 ภาพที่ 2 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตามมูลค่าที่มาจากการส�ำรวจกับมูลค่าที่เกิดจาก การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (e-Auction).................................................. 41 ภาพที่ 3 มูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของประเทศต่างๆ ปี 2557........................ 42 ภาพที่ 4 มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ของประเทศต่างๆ ปี 2557........................................................................... 44 ภาพที่ 5 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 จ�ำแนกตามมูลค่าขายในประเทศและต่างประเทศ........................................... 46 ภาพที่ 6 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 รายภูมิภาค จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ......................................................... 47 ภาพที่ 7 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557 จ�ำแนกตามลักษณะการขายสินค้า/บริการ................................................... 49 ภาพที่ 8 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตาม ประเภทผู้ประกอบการ (รวม e-Auction)...................................................... 51 ภาพที่ 9 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ................................................................ 52 ภาพที่ 10 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม (ไม่รวม e-Auction)................................. 56 ภาพที่ 11 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม (ไม่รวม e-Auction).................................. 58
  • 28. 27 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) ภาพที่ 12 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 ของอุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง จ�ำแนกตามประเภทสินค้าและบริการ............................................................. 61 ภาพที่ 13 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 ของอุตสาหกรรมศิลปะ บันเทิง และนันทนาการ จ�ำแนกตามประเภทสินค้าและบริการ............................................................. 63 ภาพที่ 14 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce (ไม่รวม e-Auction)...................................................................................... 65 ภาพที่ 15 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 รายอุตสาหกรรม จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce (ไม่รวม e-Auction)...................................................................................... 68 ภาพที่ 16 แนวโน้มมูลค่า E-Commerce ปี 2558 รายอุตสาหกรรม จ�ำแนกตามขนาดของผลประกอบการ E-Commerce (ไม่รวม e-Auction)...................................................................................... 69 ภาพที่ 17 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557 รายอุตสาหกรรม จ�ำแนกตามการให้บริการช่องทางการช�ำระเงิน .............. 74 ภาพที่ 18 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557 จ�ำแนกตามการให้บริการช่องทางการช�ำระเงินออนไลน์............................... 75 ภาพที่ 19 การเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญของการวิจัยในครั้งนี้............................................. 97
  • 31. 30 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 บทสรุปผู้บริหาร การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน โครงข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้าและการลงทุน ดังจะเห็นได้จาก รูปแบบการซื้อ-ขายสินค้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการซื้อขาย สินค้าผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันรัฐบาลได้เล็งเห็นความส�ำคัญของ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงก�ำหนดให้มีนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยน�ำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าผลผลิต ด้วยเหตุนี้ การมีข้อมูลสถานภาพธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของมูลค่าขายพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะสะท้อนถึงทิศทางและแนวโน้มของธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้การก�ำหนดนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัลเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในปี 2558 ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้รับพันธกิจต่อยอดจากส�ำนักงานสถิติแห่งชาติในการส�ำรวจมูลค่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับสภาพตลาดที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจ และ สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบในการก�ำหนดนโยบายและวางแผนเชิงกลยุทธ์ของ ภาครัฐ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ให้สามารถปรับตัวเข้ากับโครงสร้างธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นการส่งเสริมศักยภาพ เชิงแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนต่อไป สอดคล้องกับการขับเคลื่อน นโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาลปัจจุบัน การส�ำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทยที่มีความครอบคลุม และเป็นที่ยอมรับในระดับ สากล สามารถน�ำมาใช้อ้างอิงหรือเปรียบเทียบกับต่างประเทศในระดับโลกได้ รวมถึง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถน�ำข้อมูลจากผลการ ส�ำรวจครั้งนี้ ไปใช้ประกอบการวางนโยบาย การบริหารจัดการกลยุทธ์ การวางแผน
  • 32. 31 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) การด�ำเนินธุรกิจทั้งในระดับองค์กร รวมถึงระดับประเทศ เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับ สภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในธุรกิจ E-Commerce ให้สามารถแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส�ำหรับกรอบประชากรที่ใช้ในการส�ำรวจครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ประกอบการ E-Commerce รวมทั้งสิ้น 502,676 ราย โดยอ้างอิงรายชื่อจากสมาคมผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อทราบกรอบจ�ำนวนประชากร ใช้กระบวนการประมวลผลทางสถิติ สามารถก�ำหนด เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการ E-Commerce ไทยได้ประมาณ 3,000 ราย ในการส�ำรวจครั้งนี้จะท�ำการส�ำรวจมูลค่า E-Commerce ในปี 2557 และ คาดการณ์มูลค่า E-Commerce ปี 2558 โดยมีมิติในการส�ำรวจดังนี้ มิติที่หนึ่ง ส�ำรวจ โดยแบ่งมูลค่า E-Commerce ตามลักษณะทางธุรกิจ B2B, B2C และ B2G โดยข้อมูล B2G จะมาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ ข้อมูล e-Auction จากส�ำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และข้อมูลจากการส�ำรวจโดย สพธอ. มิติที่สอง ส�ำรวจโดยแบ่งมูลค่า E-Commerce ตามรายได้ของผู้ประกอบการ E-Commerce ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ E-Commerce น้อยกว่า 50 ล้านบาทต่อปี และผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ E-Commerce มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาทต่อปี มิติที่สาม ส�ำรวจโดยแบ่งมูลค่า E-Commerce ตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรม ISIC Rev.4 (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities, Rev.4) แบ่งเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้ อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้า ส่ง, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก, อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร, อุตสาหกรรมการประกันภัย, อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และ นันทนาการ และอุตสาหกรรมกิจการการบริการด้านอื่นๆ ทั้งนี้อุตสาหกรรมการให้ บริการที่พัก จะใช้ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และอุตสาหกรรม การประกันภัย จะใช้ข้อมูลจากส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่ด�ำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้ ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว สรุปผลการส�ำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2557 และ การคาดการณ์มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2558 ที่ส�ำคัญ เป็นดังนี้
  • 33. 32 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2557 ในปี 2557 ประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,033,493.36 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.74 ของมูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด1 โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่า E-Commerce แบบ B2B จ�ำนวน 1,234,226.18 ล้านบาท (ร้อยละ 60.69) รองลงมาคือ มูลค่า E-Commerce แบบ B2C จ�ำนวน 411,715.41 ล้านบาท (ร้อยละ 20.25) และมูลค่า E-Commerce แบบ B2G จ�ำนวน 387,551.76 ล้านบาท (ร้อยละ 19.06) โดยในส่วนของมูลค่า E-Commerce แบบ B2G มาจาก 2 ส่วน คือ มูลค่าที่ได้จาก การส�ำรวจ ซึ่งเป็นมูลค่าที่เกิดจากผู้ประกอบการท�ำธุรกิจ E-Commerce กับหน่วยงาน ภาครัฐโดยตรงไม่ผ่าน e-Auction จ�ำนวน 7,496.30 ล้านบาท (ร้อยละ 0.37) และมูลค่า ที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของภาครัฐ (e-Auction) ที่ได้ข้อมูลจากกรมบัญชีกลางจ�ำนวน 380,055.46 ล้านบาท (ร้อยละ 18.69) ในส่วนของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,653,437.89 ล้านบาท(ไม่รวมe-Auction)แบ่งออกเป็นประเภทอุตสาหกรรมทั้ง8หมวดอุตสาหกรรม (ไม่รวม e-Auction) พบว่า อุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-Commerce สูงที่สุด คือ หมวด อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 630,159.13 ล้านบาท (ร้อยละ 38.11) รองลงมาคือ หมวดอุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 440,614.78 ล้านบาท (ร้อยละ 26.65), หมวดอุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร มีมูลค่าE-Commerceจ�ำนวน264,863.87ล้านบาท(ร้อยละ16.02),หมวดอุตสาหกรรม การค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 252,627.31 ล้านบาท (ร้อยละ15.28),หมวดอุตสาหกรรมการขนส่งมีมูลค่าE-Commerceจ�ำนวน49,668.12 ล้านบาท (ร้อยละ 3.00), หมวดอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 9,352.78 ล้านบาท (ร้อยละ 0.57), หมวดอุตสาหกรรม กิจการการบริการด้านอื่นฯ มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 3,697.99 ล้านบาท (ร้อยละ 0.22) และหมวดอุตสาหกรรมการประกันภัย มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 2,453.91 ล้านบาท (ร้อยละ 0.15) ตามล�ำดับ 1 มูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด เป็นมูลค่าที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการผ่านทาง Online และ Offline ซึ่งได้มาจาก การสำ�รวจออนไลน์ (Online Survey และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ E-Commerce (Face to Face Interview)
  • 34. 33 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2558 จากการคาดการณ์พบว่า ในปี 2558 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย มี มูลค่าประมาณ 2,107,692.88 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.69 ของมูลค่าขายสินค้า และบริการทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจาก ปี 2557 ร้อยละ 3.65 โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่า E-Commerce แบบ B2B จ�ำนวน 1,230,160.23 ล้านบาท (ร้อยละ 58.37) ซึ่งหดตัว ลงจาก ปี 2557 เพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.34 และเป็นมูลค่า E-Commerce แบบ B2C จ�ำนวน 474,648.91 ล้านบาท (ร้อยละ 22.52) ซึ่งเติบโตขึ้นจาก ปี 2557 คิดเป็น ร้อยละ 15.29 และมูลค่า E-Commerce แบบ B2G จ�ำนวน 402,883.74 ล้านบาท (ร้อยละ 19.11) ซึ่งเติบโตขึ้นจาก ปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 3.96 โดยในส่วนของมูลค่า E-Commerce แบบ B2G ปี 2558 มาจาก 2 ส่วน คือ มูลค่า ที่ได้จากการส�ำรวจ ซึ่งเป็นมูลค่าที่เกิดจากผู้ประกอบการท�ำธุรกิจ E-Commerce กับ หน่วยงานภาครัฐโดยตรงไม่ผ่าน e-Auction จ�ำนวน 9,942.90 ล้านบาท (ร้อยละ 0.47) และมูลค่าที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของภาครัฐ (e-Auction) ที่ได้ข้อมูลจากกรมบัญชีกลางจ�ำนวน 392,940.84 ล้านบาท (ร้อยละ 18.69) ในส่วนของมูลค่า E-Commerce ปี 2558 ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,714,752.04 ล้านบาท (ไม่รวม e-Auction) พบว่า อุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-Commerce มากที่สุด คือ หมวดอุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 658,909.76 ล้านบาท (ร้อยละ 38.43) รองลงมาคือ หมวดอุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 350,286.83 ล้านบาท (ร้อยละ 20.43), หมวดอุตสาหกรรม การค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 325,077.48 ล้านบาท (ร้อยละ18.96),หมวดอุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารมีมูลค่าE-Commerce จ�ำนวน 303,111.48 ล้านบาท (ร้อยละ 17.68), หมวดอุตสาหกรรมการขนส่ง มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 59,572.42 ล้านบาท (ร้อยละ 3.47), หมวดอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 11,694.22 ล้านบาท (ร้อยละ 0.68), หมวดอุตสาหกรรมกิจการการบริการด้านอื่นๆ มีมูลค่า E-Commerce
  • 35. 34 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 จ�ำนวน 4,348.23 ล้านบาท (ร้อยละ 0.25) และหมวดอุตสาหกรรมการประกันภัย มีมูลค่า E-Commerce จ�ำนวน 1,751.62 ล้านบาท (ร้อยละ 0.10) ตามล�ำดับ จากข้อมูลสถิติที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยมีแนวโน้ม การเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น ยกเว้น หมวดอุตสาหกรรมการผลิต และหมวดอุตสาหกรรม การประกันภัย ทั้งนี้จากการส�ำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในเชิงลึก พบว่า ผู้ประกอบการบางส่วนยังคงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการค้าใน ธุรกิจ E-Commerce ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยปัจจัยภายในที่มีผลกระทบต่อ การพัฒนาธุรกิจ E-Commerce ได้แก่ ปัจจัยด้านการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มี ความรู้ ความสามารถในด้าน E-Commerce เนื่องจากปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญในด้านธุรกิจ E-Commerce (เฉพาะทาง) ยังคงมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการ ในตลาด ท�ำให้เกิดความไม่สมดุลในแง่ของแรงงาน ส่งผลให้เกิดการจ้างคนภายนอก (Outsource) โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดต้นทุนในการด�ำเนินการ ที่สูงขึ้น รวมถึงปัจจัยด้านการขนส่ง หากมองตามโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ใน ขณะนี้ของประเทศ ยังคงก่อให้เกิดต้นทุนในการขนส่งที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน ในด้านอื่นๆ ในขณะที่ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาธุรกิจ E-Commerce ประกอบ ด้วย ปัจจัยด้านโครงสร้างภาษีของธุรกิจ E-Commerce ที่ต้องพัฒนาให้ สอดรับกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในบัจจุบัน รวมถึงการสร้างความเข้าใจ ในระบบการจัดเก็บภาษีแก่ผู้ประกอบการในประเทศ, ปัจจัยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและความปลอดภัย เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และมาตรการก�ำกับดูแล ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce รวมถึงปัจจัยด้านความ ผันผวนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ประกอบการใน ประเทศยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ สร้างสรรค์ สนับสนุน และส่งเสริมทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบการ ขนส่งที่จะช่วยลดต้นทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จ�ำเป็น หรือแม้กระทั่ง One Stop Services ด้านการดูแลธุรกิจ E-Commerce ต่างๆ ให้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและ ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
  • 36. 35 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) อย่างไรก็ตาม การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต อันใกล้ รวมถึงการเพิ่มขึ้นในด้านการลงทุน ด้านการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในประเทศของภาครัฐ ส่งผลให้ในอนาคต ธุรกิจ E-Commerce มีแนว โน้มจะเติบโตเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการในประเทศที่จะพัฒนา ธุรกิจ E-Commerce ให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคสินค้าผ่านระบบ E-Commerce ให้มีช่องทางการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น มีความสะดวกสบายและปลอดภัย ในการใช้บริการมากขึ้นด้วย
  • 40. 39 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) ผลการสำ�รวจที่สำ�คัญ 1. มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 - 2558 ภาพที่ 1 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2556 - 2558 จากภาพที่ 1 ในปี 2557 ประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce ที่นับรวมมูลค่า e-Auction ผลส�ำรวจเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,033,493.36 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของมูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด และเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 164.77 อย่างไรก็ตาม ผลการส�ำรวจ E-Commerce ในปี 2557 นี้ มีการก�ำหนด กรอบประชากรโดยรวมผู้ประกอบการ E-Commerce ทั้งสิ้น 502,676 ราย ซึ่งเป็น การก�ำหนดกรอบประชากรที่แตกต่างจากการส�ำรวจในปี 2556 โดยรวมผู้ประกอบการ E-Commerce รายใหญ่ที่มีผลประกอบการ E-Commerce มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาทต่อปี เข้ามาในกรอบประชากรการส�ำรวจครั้งนี้ ท�ำให้ไม่สามารถ เปรียบเทียบมูลค่า E-Commerce ในการส�ำรวจครั้งนี้กับผลการส�ำรวจในปีก่อนๆ ที่จัดท�ำการส�ำรวจโดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติได้อย่างสมบูรณ์ ผลการส�ำรวจ E-Commerce ในประเทศไทย ส�ำหรับปี 2558 นั้น ที่นับรวมมูลค่า e-Auction
  • 41. 40 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 ผลคาดการณ์เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,107,692.88 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.69 ของ มูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด โดยจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 คิดเป็น ร้อยละ 3.65 ปัจจัยที่ส่งผลด้านบวกให้ธุรกิจ E-Commerce มีมูลค่าที่เติบโตขึ้นหลายเท่าตัวนี้ มี 4 ปัจจัยหลัก อันได้แก่ ประการแรก การเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งใน ช่องทาง E-Commerce หรือการขายออนไลน์ โดยผู้ประกอบการให้ความส�ำคัญของ การขายผ่านออนไลน์มากขึ้น ประการที่สอง การลงทุนในธุรกิจ E-Commerce จาก บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศไทย ประการที่สาม กรอบประชากร การส�ำรวจที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงกรอบประชากรให้ครบทุกหมวดหมู่และขนาด ของผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น ประการที่สี่ ได้รับความร่วมมือในเรื่อง ข้อมูลมูลค่า E-Commerce จากการส�ำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประเทศไทยมีการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ควบคู่กับการพัฒนาด้าน โครงข่ายโทรคมนาคมต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2555 ที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานที่ สนับสนุนธุรกิจ E-Commerce ที่ส�ำคัญทั้งการพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์ และระบบ การช�ำระเงินออนไลน์ ผนวกกับในปี 2556 ได้มีการเริ่มใช้ 3G ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้า ของระบบไร้สายที่สามารถใช้ได้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ก่อให้เกิด E-Commerce ในอีกรูปแบบคือ รูปแบบ M-Commerce หรือ Mobile Commerce ท�ำให้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 19,386,154 ล้านคน ในปี 2557 เติบโตจากปีก่อนหน้าร้อยละ 8 และเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22 ในปี 2558 (International Telecommunication Union : ITU and World Bank, 2558) ส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce หรือธุรกิจการค้าออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างก้าว กระโดด สอดคล้องกับมูลค่า E-Commerce ที่เติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 167.44 ในปี 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 (มูลค่าดังกล่าวเป็นมูลค่า E-Commerce ที่นับ รวมมูลค่า e-Auction) และมีสัดส่วนมูลค่า M-Commerce สูงถึงร้อยละ 12 ของมูลค่า E-Commerce ทั้งหมด (Global Web Index, 2557)
  • 42. 41 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) รวมถึงในอนาคตอันใกล้ที่ประเทศไทยก�ำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) อย่างแท้จริง มีการพัฒนาระบบไร้สายจาก 3G เป็น 4G ในปี 2558 ท�ำให้ ธุรกิจ E-Commerce ของไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นได้อีกมาก นับเป็นโอกาสส�ำคัญส�ำหรับ ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นช่องทางเสริมในการสร้างรายได้ หรือเป็นช่องทางหลักใน การสร้างรายได้ เนื่องจากการเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce มีต้นทุนด�ำเนินงานที่ต�่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการท�ำตลาดแบบมีหน้าร้าน เหมาะส�ำหรับผู้ประกอบการที่มี ข้อจ�ำกัดด้านเงินลงทุน และผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจ ภาพที่ 2 มูลค่า E-Commerce ปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 จำ�แนกตามมูลค่าที่มาจากการสำ�รวจกับมูลค่าที่เกิดจาก การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (e-Auction) จากภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่า มูลค่า E-Commerce ในปี 2557 ประกอบไปด้วย มูลค่า E-Commerce ของหมวดอุตสาหกรรมหลัก 8 หมวด เป็นจ�ำนวน 1,653,437.89 ล้านบาท และมูลค่า e-Auction เป็นจ�ำนวน 380,055.46 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 81.31 และ 18.69 ของมูลค่า E-Commerce ในปี 2557 ตามล�ำดับ ในขณะที่มูลค่า
  • 43. 42 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 E-Commerce ของหมวดอุตสาหกรรมหลัก 8 หมวด ในปี 2558 คิดเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 1,714,752.04 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 81.36 ของมูลค่า E-Commerce ในปี 2558 โดยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 3.71 โดยทั้งนี้มูลค่า e-Auction ในปี 2558 นั้น คิดเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 392,940.84 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.64 ของมูลค่า E-Commerce ในปี 2558 โดยมูลค่า e-Auction มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ3.39ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเติบโตของมูลค่าE-Commerceของหมวดอุตสาหกรรม หลักอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภาพที่ 3 มูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของประเทศต่างๆ ปี 2557 ที่มา: http://data.worldbank.org , http://www.statista.com, http://www.ekosglobal.com และ การสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 โดย สพธอ. จากภาพที่ 3 การเปรียบเทียบมูลค่า E-Commerce เฉพาะในส่วนของมูลค่าที่เป็น B2C กับประเทศต่างๆ นั้น เช่น สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า มูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของกลุ่มประเทศ ที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการสื่อสารในอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา,
  • 44. 43 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C ทั้งสิ้น 359.3, 322.1, 118.6 และ 25.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามล�ำดับ ซึ่งประเทศดังกล่าวต่างมีมูลค่า E-Commerce ในระดับต้นๆ ของโลกด้วยเช่นกัน โดยหากพิจารณาในระดับที่แคบลง มา หรือในระดับอาเซียน พบว่า ประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C อยู่ใน ล�ำดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน โดยประเทศไทยมีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C ทั้งสิ้น 11.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย (9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ), สิงคโปร์ (3.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ), เวียดนาม (2.97 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ), อินโดนีเซีย (2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และฟิลิปปินส์ (2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตามล�ำดับ ปัจจัยส�ำคัญที่สนับสนุนให้มูลค่าธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยอยู่ในระดับ ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจนถึง ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการน�ำระบบโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G และ 4G มาใช้ อย่างเป็นทางการ และเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายโทรคมนาคม อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเข้าสู่ชีวิตประจ�ำวันของประชาชนมากขึ้น พร้อมกับ การผลักดันธุรกิจ E-Commerce ให้เติบโตขึ้น ประกอบกับการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนมีราคาที่ถูกลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ท�ำให้มีอัตรา จ�ำนวนผู้เข้าถึงออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า 30 ล้านคนในปัจจุบัน2 ส่งผลให้ ผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของธุรกิจ E-Commerce และเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างจริงจัง รวมไปถึงการที่ประเทศไทยมีมาตรการทางภาษีที่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุน ด้วยการ ละเว้นภาษีเป็นเวลา 5 ปีให้กับผู้ประกอบการต่างประเทศ3 ดึงดูดให้มีผู้ประกอบการ ต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก ส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce มี การแข่งขันกันสูงเพื่อแย่งชิงผู้บริโภคกันอย่างเข้มข้นอีกทั้งผู้ประกอบการในประเทศไทย เริ่มมีการให้บริการซื้อสินค้าก่อน แล้วค่อยเก็บเงินเมื่อสินค้าส่งถึงผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกว่า ระบบการช�ำระเงินปลายทาง (Cash on delivery: COD) ท�ำให้ผู้บริโภค 2 ที่มา: Bangkokbiznews 3 สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI), http://www.boi.go.th
  • 45. 44 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 เปลี่ยนพฤติกรรมจากที่ไม่เคยหรือไม่กล้าซื้อของออนไลน์ หันมาจับจ่ายใช้สอยทาง ออนไลน์จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยจะ ก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้น�ำอาเซียนด้านธุรกิจ E-Commerce ภาพที่ 4 มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ของประเทศต่างๆ ปี 2557 ที่มา: http://data.worldbank.org , http://www.statista.com, http://www.ekosglobal.com และ การสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 โดย สพธอ. ภาพที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบมูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ปี 2557 ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ พบว่า มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากรของประเทศไทย แบบ B2C คิดเป็น 172.76 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าเวียดนาม (32.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ), ฟิลิปปินส์ (23.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และอินโดนีเซีย (10.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ทั้งนี้เป็นเพราะ
  • 46. 45 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) ทั้งสามประเทศดังกล่าว มีจ�ำนวนประชากรที่สูงกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีจ�ำนวนประชากรสูงถึง 99.14 ล้านคน และ 254.45 ล้านคนตามล�ำดับเมื่อประมวลผลเชิงสถิติจึงท�ำให้มูลค่าE-Commerceต่อหัวประชากร ของไทย แบบ B2C สูงกว่าทั้งสามประเทศ อีกทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากร ไทย และค่านิยมในการซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า และหลากหลาย กว่าการซื้อจากตลาดหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป4 ส่งผลให้มูลค่า E-Commerce ของ ประเทศไทยสูงขึ้นในปี 2557 และมีแนวโน้มสูงยิ่งขึ้นไปอีกในปี 2558 ส่วนในกรณีของมาเลเซีย แม้ว่ามูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของมาเลเซีย จะต�่ำกว่ามูลค่า E-Commerce แบบ B2C ของประเทศไทย5 แต่เนื่องจากมาเลเซียมี จ�ำนวนประชากรเพียง 29.90 ล้านคน ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่น้อยกว่าประชากรของไทยราว 37.82 ล้านคน ส่งผลให้มูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ของมาเลเซีย (321.06 ดอลลาร์สหรัฐ) สูงกว่าประเทศไทย (172.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เช่นเดียวกัน กับการเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้ โดยเกาหลีใต้มีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C ต�่ำกว่าไทย แต่เนื่องจากเกาหลีใต้มีจ�ำนวนประชากรเพียง 50.42 ล้านคน ซึ่งเป็นจ�ำนวน ที่น้อยกว่าประชากรของไทยกว่า 17.30 ล้านคน ส่งผลให้มูลค่า E-Commerce ต่อหัว ประชากร แบบ B2C ของเกาหลีใต้ (503.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ) สูงกว่าประเทศไทยราว 3 เท่า ส�ำหรับจีนนั้น แม้ว่าจะมีมูลค่า E-Commerce แบบ B2C สูงเป็นอันดับสองรองลง มาจากสหรัฐอเมริกา แต่เนื่องจากจีนมีจ�ำนวนประชากรกว่า 1,400 ล้านคน จึงท�ำให้ เมื่อค�ำนวณมูลค่า E-Commerce ต่อหัวประชากร แบบ B2C ออกมาแล้ว น้อยกว่า เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น และมาเลเซีย จะเห็นได้ว่า การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย เท่านั้นแต่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปพร้อมกันทั่วโลกโดยเฉพาะใน“สหรัฐอเมริกา” ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้น�ำและแบบพิมพ์เขียว (Blueprint) ด้าน Platform E-Commerce”6 4 รายงานผู้บริโภค E-Commerce 2014 in Asia โดย Nielson, http://ir.nielsen.com/files/doc_financials/Niel sen-Global-E-Commerce-Report-August-2014.pdf 5 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ecommercemilo.com 6 ที่มา: Forbes (Beginning of Amazon and ebay)
  • 47. 46 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 ภาพที่ 5 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 จำ�แนกตามมูลค่าขายในประเทศและต่างประเทศ ภาพที่ 5 จากผลการส�ำรวจ พบว่า ร้อยละ 97.67 ของผู้ประกอบการทั้งหมด ท�ำการ ขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในประเทศไทยเป็นหลัก และมีผู้ประกอบการเพียง ร้อยละ 2.33 เท่านั้น ที่ท�ำการขายสินค้าและบริการ โดยการส่งออกไปยังตลาด ต่างประเทศ สาเหตุที่ท�ำให้ธุรกิจ E-Commerce ภายในประเทศไทยยังคงขยายตัว มาจากการที่ผู้ประกอบการในหลายๆ ภาคธุรกิจต่างเล็งเห็นความส�ำคัญในช่องทางการ ค้าขายออนไลน์ เนื่องจากเป็นการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าและบริการโดยตรงไปยัง ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ ท�ำให้การด�ำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับการที่ระบบช�ำระเงินมี การพัฒนาและมีกระบวนการที่ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมไปถึงจ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ท�ำให้ธุรกิจE-Commerceในประเทศไทย มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
  • 48. 47 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) นอกจากนี้การขายสินค้าและบริการไปยังตลาดต่างประเทศ ก็มีทิศทางและ แนวโน้มที่ดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ไม่หยุด นิ่ง ท�ำให้การติดต่อสื่อสาร การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถท�ำได้ง่าย สะดวก และมีต้นทุนการด�ำเนินการที่ต�่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต รวมถึงการพยายามท�ำ สนธิสัญญาการค้าทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค (อาเซียน) และระดับสหภาพของ หน่วยงานภาครัฐของไทย ท�ำให้ในส่วนของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของไทย นั้นมีการพัฒนาให้สอดรับกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในอนาคตมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ด้านความต้องการในระดับโลก (Demand Side) อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและ บริการ ท�ำให้ตลาดมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลายขึ้น เปรียบเสมือนโอกาสทองของผู้ประกอบการในประเทศไทย ที่จะพัฒนารูปแบบการท�ำ ธุรกิจ E-Commerce ให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น ภาพที่ 6 ร้อยละของมูลค่า E-Commerce ปี 2557 จำ�แนกตามภูมิภาค
  • 49. 48 รายงานผลการสำ�รวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2558 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2015 หากพิจารณามูลค่า E-Commerce ปี 2557 รายภูมิภาค จ�ำแนกตามขนาดของ ผลประกอบการ ดังภาพที่ 6 พบว่า การขายสินค้าและบริการทางออนไลน์โดยส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 65) มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงภาคกลาง เป็นหลัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ E-Commerce น้อยกว่า 50 ล้านบาท ต่อปี จะท�ำการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลและ พื้นที่ภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 86.47 โดยมีสัดส่วนของการค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล คิดเป็นร้อยละ 69.13 และสัดส่วนของพื้นที่ภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 17.34 ในขณะที่สัดส่วนของตลาดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมเป็นร้อยละ 13.53 โดยมีสัดส่วนของการท�ำการค้าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 5.36, 3.87 และ 4.31 ตามล�ำดับ ส่วนผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการ E-Commerce มากกว่าหรือเท่ากับ 50ล้านบาทต่อปีจะขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
  • 50. 49 สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) ในสัดส่วนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.88 รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 24.63) ในขณะที่สัดส่วนของตลาดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีขนาดใกล้เคียงกันโดยมีสัดส่วนของการท�ำการค้าอยู่ที่ร้อยละ 10.88, 10.35 และ 10.26 ตามล�ำดับ สาเหตุที่ท�ำให้มูลค่า E-Commerce กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากกรุงเทพฯ มีระดับความพร้อมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี สารสนเทศ การใช้อินเทอร์เน็ต การศึกษา ระบบการเงิน ตลอดจนระบบการขนส่ง สูงกว่าพื้นที่ในภาคอื่นๆ ภาพที่ 7 ร้อยละของผู้ประกอบการ E-Commerce ปี 2557 จำ�แนกตามลักษณะการขายสินค้า/บริการ จากผลการส�ำรวจ พบว่า ในปี 2557 ผู้ประกอบการ E-Commerce โดยส่วนใหญ่ สูงถึงร้อยละ 78.36 จะด�ำเนินกิจการผ่านช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก ไม่มีภาระต้นทุนด้านการเช่าอาคารสถานที่ในการขายสินค้าและบริการ ในขณะที่ ผู้ประกอบการที่ด�ำเนินธุรกิจผ่านทางออนไลน์และมีหน้าร้านทางกายภาพ มีเพียง ร้อยละ 21.64 เท่านั้น ดังแสดงในภาพที่ 7