SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 121
Baixar para ler offline
  1
  2
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
วิสัยทัศน์
“เพื่อนแท้ผู้ประกอบการส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนสู่สากล”
พันธกิจ
“ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมวิสาหกิจ
ชุมชนผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีด
ความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล”
  3
คําแนะนําในการใช้คู่มือ
คู่มือเล่มนี้จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
และแนวทางการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของกิจการ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับทราบถึงสถานภาพ
ปัจจุบันของกิจการของตน และจะสามารถนําไปเป็นแนวทางในการกําหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อรองรับประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กําลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทําให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันแบบเดิม
เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมของสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ คู่แข่งของกิจการจะไม่จํากัดอยู่เพียงแต่ภายในประเทศ
เท่านั้น แต่จะกลายเป็นผู้ประกอบการในอาเซียนอีก 9 ประเทศ รวมถึงลูกค้าและตลาดด้วย ซึ่งจะเพิ่มจํานวนเป็น
เกือบ 600 ล้านคน ในด้านการผลิตเองก็เช่นกัน ผู้ประกอบการจะสามารถขยายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ
ในอาเซียนได้และในทํานองเดียวกัน ก็จะมีประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาตั้งฐานการผลิตในบ้านเราเช่นกัน ทั้งหมดที่
เกิดขึ้นนี้ดูเหมือนจะเป็นโอกาสในการทํากําไรอันมหาศาลและสร้างการเติบโตให้แก่กิจการ แต่ในมุมกลับก็
สามารถเป็นภัยคุกคามแก่กิจการได้เช่นกันหากไม่มีการเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้
ดังนั้นแล้ว เมื่อสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการก็จําเป็นที่จะต้องเข้าใจในสิ่ง
เหล่านี้ให้ถ่องแท้คู่มือเล่มนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไว้ในบทที่ 1 ถึง
บทที่ 5 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนําไปหาความรู้ต่อยอดต่อไปได้ ในบทถัดมาจะเป็นเนื้อหาโครงการฯ
แนวคิดทฤษฎีในการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของกิจการโดยใช้โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas :
BMC) เป็นเครื่องมือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงหลักการก่อนจะนําไปสู่การประเมินจริง และในบทที่
8 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายได้รวบรวมแบบฟอร์มต่างๆ ที่ได้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์ถึงสถานะ
ของกิจการของตน และจัดทําแผนที่กลยุทธ์ (Business Roadmap) ของกิจการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใน
ระยะสองสามปีข้างหน้า
ท้ายที่สุดนี้ การวิเคราะห์และประเมินจะไม่เกิดผลใดๆ เลย หากผู้ประกอบการเองไม่ได้นําไปต่อ
ยอดและขยายผลให้บุคลากรในองค์กรทราบ เพื่อที่ทุกคนในองค์กรจะได้มีส่วนช่วยในการวางแผนและมีความ
พร้อมเพียงพอที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทุกท่านตระหนักถึง
ความสําคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และสามารถต่อยอดความรู้เพื่อนําไปประยุกต์ใช้กับกิจการได้อย่าง
เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยในภายภาคหน้าต่อไป
  4
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 ภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 1
บทที่ 2 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) รายสาขาอุตสาหกรรม 6
- อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป 9
- อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 11
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 13
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง 18
- อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 16
- อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 18
- อุตสาหกรรมสินค้า Lifestyle 20
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 22
- อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 24
- อุตสาหกรรมก่อสร้าง 26
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันรายประเทศ 28
- ความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 30
- ประเทศบรูไน 31
- ประเทศกัมพูชา 34
- ประเทศอินโดนีเซีย 37
- ประเทศลาว 40
- ประเทศมาเลเซีย 43
- ประเทศเมียนมาร์ 46
- ประเทศฟิลิปปินส์ 49
- ประเทศสิงคโปร์ 52
- ประเทศเวียดนาม 55
บทที่ 4 กรณีศึกษาผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จในการเชื่อมโยงธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน 58
o บริษัท เครือซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)
o บริษัท นํ้าตาลมิตรผล จํากัด (มหาชน)
o บริษัท เอ็ม.อี.เมทดิเทค จํากัด
  5
o บริษัท ที ไทย แสน็ค ฟู้ดส์ จํากัด
o บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จํากัด
o บริษัท มาซูม่า (ประเทศไทย) จํากัด
o บริษัท นีโอ สุกี้ ไทย เรสเตอร์รองส์ จํากัด
บทที่ 5 เรื่องสําคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องทําก่อนเปิดเสรีอาเซียน 66
- 10 เรื่องสําคัญที่ SMEs ต้องทําก่อนเปิดเสรีอาเซียน 66
- คุณรู้จัก AEC ดีแค่ไหน และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ AEC 69
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมและสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคม 71
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
- โครงการสร้างและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) 71
- กลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกและรับ 74
บทที่ 7 การจัดทําแผนที่ธุรกิจเชิงรุกหรือรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 77
- หลักคิดและรูปแบบการสร้างโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจ (Business Model Canvas) 81
- การจัดทําแผนที่ธุรกิจ (AEC Business Roadmap) 98
- ตัวอย่างแผนที่ธุรกิจของวิสาหกิจ 100
บทที่8 แบบฟอร์มสําหรับผู้ประกอบการจัดทําแผนที่ธุรกิจและกลยุทธ์รุกรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 101
o แบบฟอร์มที่ 8.1 รูปแบบหรือโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจในปี 2554 – 2555
o แบบฟอร์มที่ 8.2 แนวโน้มของโอกาสและอุปสรรคจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
o แบบฟอร์มที่ 8.3 สรุปโอกาสและอุปสรรคเพื่อจัดทํากลยุทธ์เชิงรุกและรับ
o แบบฟอร์มที่ 8.4 รูปแบบหรือโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจในปี 2554 – 2555
o แบบฟอร์มที่ 8.5 โครงสร้างแผนที่ธุรกิจฉบับรุกและรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
o แบบฟอร์มที่ 8.6 กลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับของวิสาหกิจ
o แบบฟอร์มที่ 8.7 ตัวเลือกกลยุทธ์หรือปัจจัยเชื่อมโยง
o แบบฟอร์มที่ 8.8 ความต้องการการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานของภาครัฐ
  6
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญา
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 มีประเทศ
สมาชิกรวม 10 ประเทศ แบ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน
เดิม 6 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนิเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปิ นส์ สิงคโปร์ และไทย และประเทศ
สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์
และเวียดนาม หรื อเรี ยกสั้ นๆ ว่า กลุ่ม CLMV
(Cambodia, Lao, Myanmar, Vietnam)
อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อัน
นํามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมและเมื่อการค้าระหว่าง
ประเทศของโลกมีแนวโน้มกีดกันทางการค้ารุนแรงขึ้น ทําให้อาเซียนหันมามุ่งเน้นการกระชับและขยายความ
ร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้นอย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก3ประการดังนี้
- ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค
- รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
- เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดําเนินงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนมีความคืบหน้ามา
ตามลําดับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทําเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 การเจรจา
เพื่อเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนในภูมิภาคจนถึงปัจจุบัน ผู้นําอาเซียนได้มุ่งให้ความสําคัญกับการ
ดําเนินการเพื่อนําไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งเร็วขึ้นกว่ากําหนดการเดิมที่
ผู้นําอาเซียนได้เคยประกาศแสดงเจตนารมณ์ไว้ตามแถลงการณ์บาหลีถึง 5 ปี
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมความ
มั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมี กฎบัตรอาเซียน
(ASEAN Charter) เป็นกรอบหรือพื้นฐานทางกฎหมายรองรับซึ่งจะสร้างกฎเกณฑ์สําหรับองค์กรอาเซียนให้
สมาชิกมีพันธกิจที่จะต้องปฏิบัติตาม (Legal Binding)
ในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งเป็นเสาหลักที่จะ
เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558เพื่อนําไปสู่การเป็นตลาดและฐาน
บทที่ 1 ภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 
  7
การผลิตร่วมกัน(Single Market and Single Production Base) และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการการลงทุนเงิน
ลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรี รวมทั้งผู้บริโภคจะสามารถเลือกสรรสินค้าและบริการได้อย่างหลากหลายภายใน
ภูมิภาคและสามารถเดินทางในอาเซียนได้อย่างสะดวกและเสรีมากยิ่งขึ้นสิ่งเหล่านี้นับเป็นความท้าทายที่สําคัญของ
อาเซียนที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจและช่วยกันนําพาอาเซียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
แนวทางการนําร่องสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แนวทางการนําร่องการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจเริ่มต้นจากการทดลองเร่งรัดการรวมกลุ่มใน 12
สาขาสําคัญของอาเซียน (12 Priority Integration Sectors) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า
และบริการในสาขาต่างๆ ดังกล่าวได้อย่างเสรี และสร้างการรวมกลุ่มในด้านการผลิตและการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อ
ส่งเสริมการเป็นฐานการผลิตร่วมของอาเซียน และมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากแนวทาง
ดังกล่าวจึงได้กําหนดประเทศผู้ประสานงานหลัก(CountryCoordinators)ในแต่ละสาขาดังนี้
ประเทศ สาขา
อินโดนิเซีย 1. ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ 2. ผลิตภัณฑ์ไม้
มาเลเซีย 3. ผลิตภัณฑ์ยาง 4. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
พม่า 5. ผลิตภัณฑ์เกษตร 6. ผลิตภัณฑ์ประมง
ฟิลิปปินส์ 7. อิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ 8. เทคโนโลยี
สารสนเทศ
9. สุขภาพ
ไทย 10. การท่องเที่ยว 11. การบิน
เวียดนาม 12. โลจิสติกส์
เหตุผลในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียนจําเป็นต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มภายในหรือเร่งจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเนื่องจาก
กระแสโลกาภิวัฒน์ และแนวโน้มการทําข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น ทําให้
อาเซียนต้องเร่งแสดงบทบาทการรวมกลุ่มด้วยความมั่นคงมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และปรับปรุงการดําเนินงานให้
ทันกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสการแข่งขันทางการค้าและการแข่งขันเพื่อดึงดูด
การลงทุนโดยตรงที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มจะถ่ายโอนไปสู่ประเทศเศรษฐกิจใหม่มาก
ขึ้น เช่น ประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย เป็นต้น
  8
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทาง
เศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก เนื่องจากส่งเสริมให้เกิดการเปิดเสรีการ
เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกที่ลึกซึ้งและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการค้าสินค้า การค้า
บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงาน รวมถึงความร่วมมือด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
เพื่อลดอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนามาตรฐานการครองชีพและความกินดี
อยู่ดีของประชาชนภายในประเทศและลดช่องว่างการเหลื่อมลํ้าทางสังคมให้น้อยลง
ปัจจัยสําคัญต่อความสําเร็จของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ความสําเร็จของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคขึ้นอยู่กับปัจจัยสําคัญหลายประการ แต่สิ่ง
หนึ่งที่น่าจะมีส่วนสําคัญต่อการดําเนินงานนั้นน่าจะเป็น ความเป็นหนึ่งเดียวกันของประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม
ที่จะต้องยึดมั่นและถือมั่นเป้ าหมายในระดับภูมิภาคกันอย่างจริงจัง ยอมสละผลประโยชน์บางประการของแต่ละ
ประเทศเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมในระดับภูมิภาคร่วมกัน มิเช่นนั้นแล้วก็ไม่อาจผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มทาง
เศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นได้
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้เห็น
ผลเป็นรูปธรรมและสร้างขีดความสามารถทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคให้โดดเด่น ได้แก่
1) โครงสร้างพื้นฐานภายในภูมิภาค โดยเฉพาะระบบการขนส่งที่จะต้องเชื่อมโยงถึงกันในระดับ
ภูมิภาค เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้คนได้อย่างสะดวกตลอดเส้นทาง รวมถึงการอํานวยความสะดวก
ณ จุดผ่านแดนต่างๆ และส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจังในสาขาที่มีผลเชื่อมโยงต่อการพัฒนาสาขาอื่นๆ (Spin
Over Effect) ในอาเซียน เช่น สาขาพลังงาน สาขาการคมนาคม และการศึกษา เป็นต้น
2) นโยบายร่วมในระดับภูมิภาค อาเซียนจําเป็นต้องพิจารณาแนวทางการกําหนดนโยบายด้าน
เศรษฐกิจร่วมกันในระดับภูมิภาคเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง รวมถึงสร้างผลประโยชน์
ร่วมกันในระดับภูมิภาค ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศจะต้องให้ความสําคัญกับการปรับปรุงกฎเกณฑ์
กฎระเบียบหรือกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับความตกลงอาเซียนที่มีอยู่
3) กลไกการตัดสินใจ อาเซียนควรพิจารณารูปแบบการตัดสินใจแบบอื่นๆ ในการพิจารณากําหนด
นโยบายหรือตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมภายในของอาเซียน นอกเหนือจากระบบฉันทามติ (Consensus) ที่ใช้มา
ตั้งแต่เริ่มต้นของการรวมตัวทางเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้มีการนําเอาระบบ
เสียงส่วนใหญ่ (Majority Vote) มาใช้กับกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน แต่สมาชิกคงต้องหารือที่จะกําหนด
แนวทางและขอบเขตของระบบเสียงส่วนใหญ่เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการพิจารณาเรื่องสําคัญๆ ที่
ประเทศสมาชิกจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน
  9
4) การสร้างสังคมกฎระเบียบ อาเซียนจําเป็นต้องพัฒนาไปสู่สังคมกฎระเบียบ (Rule-based
Society) และสร้างนโยบายด้านการค้าและการลงทุนที่สอดประสานในระดับภูมิภาคโดยใช้จุดแข็งของประเทศ
สมาชิกให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างขีดความสามารถและข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้กับอาเซียน รวมถึง
เน้นยํ้าการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกอย่างเคร่งครัด
องค์ประกอบสําคัญของ AEC Blueprint
การรวมกลุ่มประเทศอาเซียนได้จัดทําแผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆหรือพิมพ์เขียว
เพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ส่วนหลัก ซึ่งอ้างอิงมาจาก
เป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2(BaliConcordII)
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
(1) การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว (Single Market & Production Base) โดยให้มีการ
เคลื่อนย้ายสินค้า บริการการลงทุน แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ได้แก่ การยกเลิกภาษี
ศุลกากร การยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) กําหนดมาตรฐานอาเซียน การปรับปรุงกฎว่าด้วย
  10
แหล่งกําเนิดสินค้าการอํานวยความสะดวกทางการค้าการปรับประสานพิธีการศุลกากรการจัดตั้ง ASEANSingle
Windowปรับประสานมาตรฐานและลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าและการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน
(2) การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง (Highly Competitive Economies
Region) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะให้ความสําคัญกับประเด็น
ด้านนโยบายอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น การมีกฎหมายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ) และความร่วมมือด้าน
พลังงาน มาตรการภาษีที่เหมาะสม (Taxation) การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันในประเทศ (Equitable Economic
Development) สนับสนุนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การลดช่องว่างระดับการ
พัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Initiative for ASEAN
Integration (IAI) และ ASEAN-help-ASEAN Program เป็นต้น
(4)การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก(IntegrationintoGlobalEconomy)เน้นการปรับประสานนโยบาย
เศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเช่นการจัดทําเขตการค้าเสรี การให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนภายใต้
เขตการลงทุนอาเซียน(IAI)กับนักลงทุนภายนอกอาเซียนและการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิตจําหน่ายเป็นต้น
สรุปพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AECBlueprint)
การเป็นตลาดเดียว ฐานการ
ผลิตร่วมกัน
ส่งเสริมขีดความสามารถใน
การแข่งขัน
การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอ
ภาค
การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจ
โลก
 เปิดเสรีทางการค้าสินค้า(AFTA)
 เปิดเสรีการค้าบริการ(AFAS)
 เปิดเสรีการลงทุน (AIA)
 เคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่าง
กันได้ดีขึ้น
 เปิดเสรีการเคลื่อนย้าย
แรงงานฝีมือ
 รวมกลุ่มสาขาสําคัญ
 ส่งเสริมการสร้างความสามารถ
ในด้านต่างๆได้แก่
- นโยบายการแข่งขัน
- การคุ้มครองผู้บริโภค
- ทรัพย์สินทางปัญญา
- กฎระเบียบภาษีอากร
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เช่นการเงินการขนส่งและ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 ส่งเสริมการรวมกลุ่มทาง
เศรษฐกิจของสมาชิกและลด
ช่องว่างของระดับการพัฒนา
ระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่เช่น
- การพัฒนา SMEs
- แผนงานการริเริ่มการ
รวมตัวอาเซียน
- Initiative for ASEAN
Integration: IAI
 ส่งเสริมการรวมกลุ่มเข้ากับ
ประชาคมโลก โดยเน้นการ
ปรับประสานนโยบาย
เศรษฐกิจของอาเซียนกับ
ประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น
- การจัดทําเขตการค้าเสรี
- การสร้างเครือข่ายในด้าน
การผลิตและจําหน่าย เป็น
ต้น
แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้
บทที่ 2 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis)
รายสาขาอุตสาหกรรม
  11
SWOTAnalysisเป็นการวิเคราะห์สภาพอุตสาหกรรม
หรือหน่วยงานในปัจจุบันเพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ
อุปสรรคที่อาจส่งผลต่อการดําเนินงาน คําว่า SWOT ย่อมาจาก
ประเด็นที่ต้องมีการวิเคราะห์ ได้แก่ S-Strength (จุดแข็ง) W-
Weakness (จุดอ่อน) O-Opportunity (โอกาส) และ T-Threat
(อุปสรรค) ทฤษฎีนี้คิดค้นขึ้นโดย อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert
Humphrey) ได้นําเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัย
สแตนฟอร์ดในช่วงทศวรรษที่ 1960–1970
หลักการสําคัญของ SWOT Analysis คือ การวิเคราะห์โดยการสํารวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ
สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก เพื่อให้รู้จักตนเองและรู้จักสภาพแวดล้อมในการทําธุรกิจ ในการ
วิเคราะห์นี้จะช่วยให้ผู้บริหารในอุตสาหกรรมนั้นๆทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการ
เปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อธุรกิจของตน ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์
อย่างมากในการกําหนดวิสัยทัศน์พันธกิจกลยุทธ์และแผนการดําเนินการต่างๆที่เหมาะสมต่อไป
สําหรับความหมายและคําจํากัดความของการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นมีดังต่อไปนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
จุดแข็ง (Strength) คือ ผลกระทบทางด้านบวกที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัทหรือเป็น
ข้อได้เปรียบในการดําเนินธุรกิจ หรืออาจหมายถึงการดําเนินงานภายในบริษัทที่สามารถกระทําได้ดี กล่าว
โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจทุกแห่งควรต้องทราบถึงความสามารถที่เป็นจุดเด่นของตนเอง ซึ่งต้องมีการพิจารณาใน
ทุกๆ องค์ประกอบ เช่น การตลาด การบริหาร การเงิน การผลิต การวิจัยและพัฒนา เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์หาจุด
แข็งเพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์หรือแนวทางในการดําเนินงานต่างๆ ให้ตนเองมีความโดดเด่นหรือสร้าง
ภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่ คุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัท วิสัยทัศน์ของ
ผู้บริหาร ฐานะทางการเงินที่มั่นคง เป็นต้น
จุดอ่อน (Weakness) คือ ผลกระทบทางด้านลบที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัทหรือข้อ
เสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจ หรืออาจหมายถึงการดําเนินงานภายในบริษัทที่ไม่สามารถกระทําได้ดี และส่งผล
ให้บริษัทเกิดความเสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจได้ ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่ ต้นทุนทางการผลิตที่สูงกว่าคู่
แข่งขัน ปัญหาด้านพนักงานขาย ภาพลักษณ์ของบริษัท เป็นต้น
  12
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
โอกาส(Opportunity)หมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของบริษัทหรือ
อาจหมายถึงผลกระทบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกของธุรกิจที่ส่งผลทางด้านบวกต่อการดําเนินธุรกิจ ผู้บริหาร
จะต้องมีการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่เสมอเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้รวมทั้ง
ต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกเช่นภาวะเศรษฐกิจสังคมการเมืองกฎหมายเทคโนโลยี
และการแข่งขันอยู่เป็นระยะๆเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้
อุปสรรค (Threat) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามหรือมีผลเสียต่อการดําเนินงานของ
บริษัท หรืออาจหมายถึงผลกระทบด้านลบของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อการดําเนินธุรกิจ ซึ่งผู้บริหาร
จําเป็นต้องระมัดระวังในสิ่งที่เป็นข้อจํากัดของการดําเนินธุรกิจเนื่องจากเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียหายได้เราไม่
สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อจํากัดหรืออุปสรรคเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นได้แต่ถ้าเรามีการวิเคราะห์และคาดการณ์
ล่วงหน้าถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เราก็จะสามารถหาทางป้ องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยลงไปได้
ตัวอย่างของอุปสรรคจากภายนอก ได้แก่ ภัยธรรมชาติต่างๆ ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง ต้นทุนทางพลังงานที่
สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจได้ว่าปัจจัยแต่ละอย่างเหล่านี้มีอิทธิพลต่อบริษัท
อย่างไร จุดแข็งของบริษัทจะเป็นความสามารถภายในที่นําไปใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้ าหมาย ในขณะที่
จุดอ่อนจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจทําลายผลการดําเนินงาน โอกาสภายนอกจะเป็นสถานการณ์ที่ส่งเสริม
โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย และในทางกลับกันอุปสรรคจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย
ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการวิเคราะห์ SWOT
1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในบริษัท
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในบริษัทจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและ
ความสามารถภายในบริษัทในทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท แหล่งที่มาเบื้องต้นของ
ข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้าน
โครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทํางานและทรัพยากรในการบริหารงาน ซึ่งได้แก่ คน
เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดําเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์และผล
ของกลยุทธ์ที่ได้กําหนดไว้ก่อนหน้านี้ด้วย
  13
จุดแข็งของบริษัท คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ในบริษัทนั้นเอง ว่าปัจจัยใดที่
เป็นข้อได้เปรียบหรือเป็นจุดเด่นที่นํามาพัฒนาได้และควรดํารงไว้เพื่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัท
ส่วนจุดอ่อนของบริษัทนั้น เป็นปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ในบริษัท ว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด
ความเสียเปรียบ ซึ่งจําเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป
2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกบริษัท
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกบริษัทนั้น จะทําให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการ
ดําเนินธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศ เช่น ด้าน
เศรษฐกิจ (เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน งบประมาณ) ด้านสังคม (เช่น ระดับการศึกษา
และอัตราการรู้หนังสือของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี) ด้านการเมือง (เช่น
พระราชบัญญัติ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายทางการเมือง) ด้านเทคโนโลยี (เช่น นวัตกรรมการผลิต พัฒนาการ
ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์) เป็นต้น
โอกาสจากสภาพแวดล้อมจะเป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบทั้ง
ทางตรงและทางอ้อมต่อการดําเนินธุรกิจและสามารถนําข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้บริษัทเข้มแข็งขึ้น สําหรับ
อุปสรรคจากสภาพแวดล้อมจะเป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหาย
ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งบริษัทจําเป็นต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพบริษัทให้มีความแข็งแกร่งและมีความ
พร้อมที่จะเผชิญกับผลกระทับดังกล่าว
ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT รายสาขาอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
  14
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นําในการผลิตอาหารและ
เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโรงงานแปรรูป
อาหารกว่า 10,000 ราย ในจํานวนนี้เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กกว่า
ร้อยละ 85 วัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปอาหารส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบใน
ประเทศที่มีราคาถูก มีผลผลิตปริมาณมาก และจะมีการแปรรูปขั้นต้นไม่
ใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่สินค้าคุณภาพที่มีราคาสูงและต้องใช้
เทคโนโลยีระดับสูงส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนําเข้าจากต่างประเทศเช่นวัตถุเจือปนอาหารวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสปลา
ทะเล ฯลฯ แนวโน้มการนําเข้าวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารในโรงงานมีการนําเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน
ทิศทางเดียวกับการขยายตัวของการส่งออกอาหารแปรรูปของไทย โดยเฉพาะการนําเข้าส่วนผสมเพื่อนํามาผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ และส่วนผสมที่มีคุณภาพสูงสําหรับสินค้าพรีเมี่ยม นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของ
ช่องทางกระจายสินค้าและการดําเนินชีวิตของผู้บริโภคทําให้ธุรกิจผลิตอาหารแปรรูปพร้อมรับประทานและอาหาร
แช่แข็งขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อาหารส่งออกสําคัญที่มีการส่งออกขยายตัวดี สําหรับสินค้าที่นําพาการส่งออกอาหารของไทย
ขยายตัวอยู่ในกลุ่มสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเป็นหลัก เช่น กุ้ง ทูน่ากระป๋ องและแปรรูป ปลา
กระป๋ องและแปรรูป ไก่และสัตว์ปีก รวมทั้งผักผลไม้กระป๋ องและแปรรูป
ทูน่ากระป๋ องและทูน่าแปรรูปเป็นสินค้าที่มีศักยภาพของไทยด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและความ
พร้อมทางด้านทักษะฝีมือแรงงาน ประกอบกับเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีปัญหาด้านสุขอนามัยและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อ
สุขภาพทําให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี
เนื้อไก่แปรรูป ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นผู้ส่งออกไก่แปรรูปที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือที่สุดในโลก
เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยสามารถรองรับคําสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยัง
มีการควบคุมมาตรฐานสินค้าและมีมาตรการป้องกันโรคอย่างเป็นระบบจึงมีผลตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี
กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพค่อนข้างสูง แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะเผชิญกับ
ปัญหารอบด้านโดยเฉพาะตลาดหลักคือสหรัฐอเมริกาที่ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)เก็บภาษีนําเข้ากุ้งและ
มาตรการวางเงินคํ้าประกันล่วงหน้า(C-bond)ส่งผลต่อสภาวะการแข่งขันและก่อให้เกิดต้นทุนแก่ผู้ส่งออกกุ้งของไทย
เป้ าหมายและประโยชน์ที่คาดหวังในการเข้าสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อ การนําเข้า
วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน และการทํา Contract Farming / การสร้าง
มาตรฐานอาเซียนโดยการอิงกับมาตรฐานของไทย/การขยายตลาดไปใน
ประเทศเพื่อนบ้านและผลิตภัณฑ์อาหารที่ยังขาดแคลน / การขยายฐาน
  15
การผลิตในอาเซียน เพื่อประโยชน์ด้านต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน ตลาด Logistics ฯลฯ / รวมทั้งการสร้างความร่วมมือ
กันกับประเทศในอาเซียนในการทําตลาดนอกกลุ่ม ดังนั้น การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ
ปรับปรุงกฎระเบียบมาตรฐานต่างๆให้ทันสมัยให้สอดรับกับนโยบาย“ครัวไทยสู่ครัวโลก”และการสนับสนุนต่าง
ๆของภาครัฐอาทิ กฎระเบียบการนําเข้าศูนย์ทดสอบมาตรฐานการพัฒนาค้นคว้าวิจัยใหม่ๆฯลฯ
การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
จุดแข็ง
(Strengths)
1. ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ปริมาณการผลิตอาหารในประเทศมี
มากเพียงพอที่จะสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้โดยเฉพาะปลาทูน่า
2. อาหารไทยมีความหลากหลายทั้งชนิดและประเภทอาหาร อันเนื่องมาจากความแตกต่าง ของ
ภูมินิเวศทําให้ได้ผลิตภัณฑ์นานาชนิด
3. อาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ เนื่องจากมีองค์ประกอบของสมุนไพรหลายชนิดและส่วน
ประกอบหลายอย่างที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
4. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทยรายใหญ่มีศักยภาพในการพัฒนาระบบการผลิตให้ได้
มาตรฐานระดับสากลเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกเสรีได้
จุดอ่อน
(Weaknesses)
1. ยังไม่มีแผนการจัดการและดูแลด้านความมั่นคงทางอาหาร
2. มีหน่วยงานจํานวนมากในการกํากับดูแลระบบอาหารไทย โดยขาดการประสานงานที่ดี
ระหว่างหน่วยงาน ยึดติดกับกรอบภาระหน้าที่ และไม่มีระบบการวางแผนร่วมกัน
3. การดําเนินงานตามแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกแผนยังไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร
เนื่องด้วยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องจํานวนมาก ต่างมีแผนงานโครงการที่ซํ้าซ้อนไม่ต่อเชื่อมกัน ไม่
สามารถรวมเป็นเครือข่ายระหว่างองค์กรเอกชนและองค์กรประชาชน
4. การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในระบบอาหารยังไม่เกิดผลอย่างจริงจัง มีช่องว่างและความ
ซํ้าซ้อนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหาร
5. การพัฒนาระบบอาหารไทยยังไม่มีการใช้องค์ความรู้เป็นฐานอย่างเต็มที่ ขาดกระบวนการวิจัย
และพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
โอกาส
(Opportunities)
1. ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ทําให้ประเทศต่างๆต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันทางการค้า ทํา
ให้ผู้ผลิตอาหารต้องมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผลิตได้ตามมาตรฐาน
2. กระแสความตื่นตัวในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
3. การกําหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความสําคัญกับธุรกิจอาหารของรัฐบาล เช่น ผ่าน
ธุรกิจท่องเที่ยว นโยบายเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมุ่งสู่การเป็นครัวโลก นโยบายส่งเสริม
ธุรกิจอาหารให้ขยายรูปแบบจัดตั้งร้านอาหารและภัตตาคาร ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารฮา
ลาล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้เข้มแข็ง
  16
4. มีหน่วยงานที่มีศักยภาพในการสนับสนุนงบประมาณการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับระบบอาหาร
อุปสรรค
(Threats)
1. ทุนธรรมชาติพื้นฐานเริ่มมีจํากัดและมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ประชากรเพิ่มมากขึ้น อันจะทําให้
เกิดภาวะความไม่สมดุลของปริมาณอาหารกับจํานวนประชากรในอนาคต
2. การใช้เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหารที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยมุ่งเพื่อการเพิ่ม
ผลผลิตอาหารจํานวนมากทําให้ความหลากหลายทางธรรมชาติลดลง
3. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งมุ่งเน้นระบบการค้าแบบตลาดเสรี ทําให้
มีภาวการณ์แข่งขันสูง
กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมปลายนํ้าของระบบ
โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ซึ่งเน้นการใช้แรงงานเข้มข้น (Labor
Intensive) ไม่จําเป็นต้องลงทุนสูงและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมาก
แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้ค่อนข้างสูง ซึ่งเทคโนโลยีการผลิต
ส่วนใหญ่ยังใช้เครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานมานานแต่ก็ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่
มีมูลค่าการส่งออกสูง นอกจากนี้ แรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ ผลิตภัณฑ์ที่
ได้จึงมีความประณีตและเป็ นที่ต้องการของตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เสื้อผ้าสําเร็จรูปจากการทอ และเสื้อผ้าสําเร็จรูปจากการถัก
สําหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมไหม
อุตสาหกรรมนอนวูฟแวร์ ซึ่งผลิตผ้าอ้อมเด็ก ชุดผ่าตัดของแพทย์ ผลิตภัณฑ์ไว้ใช้ในโรงพยาบาล และ
อุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อการเคหะ เป็นต้น ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานโดยผลิตตามคําสั่ง
ซื้อ (OEM) แต่ผลจากค่าแรงที่สูงขึ้นทําให้ผู้ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่ง
ให้มีการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างสินค้าที่เป็นตราสินค้า (Brand Name) ของไทยเอง และพัฒนา
เทคโนโลยีการผลิตให้มีความรวดเร็วและแม่นยําขึ้น
การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
จุดแข็ง
(Strengths)
1. มาตรฐานการผลิตและฝีมือแรงงานไทยดีกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แรงงานมีฝีมือ
ทักษะสูง พัฒนาฝีมือได้เร็ว มีคุณภาพการผลิต ความประณีตและสามารถทํารูปแบบที่
  17
ตลาดต้องการได้
2. ไทยมีห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมครบถ้วน ทั้งอุตสาหกรรมต้นนํ้า กลางนํ้า และ
ปลายนํ้า
3. ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ ประสบการณ์ ความพร้อมมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน
4. ความเชื่อมั่นในคุณภาพ มาตรฐานการผลิต แรงงาน และสิ่งแวดล้อมของไทยมี
ภาพลักษณ์ดีในตลาดโลก
จุดอ่อน
(Weaknesses)
1. ต้นทุนแรงงานสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
2. การขาดแคลนแรงงาน
3. ต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์สูง ขาดระบบการขนส่งทางราง
4. ผลกระทบด้านราคาสินค้าที่มีการนําเข้าจากอาเซียนด้วยกันซึ่งมีต้นทุนตํ่ากว่า
5. ผู้ประกอบการยังไม่มีตราสินค้าเป็นของตนเอง ขาดการออกแบบพัฒนา
6. ขาดการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมกลางนํ้าและปลายนํ้า
โอกาส
(Opportunities)
1. ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีต้นทุนแรงงานตํ่ากว่าไทย
2. ไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางของแหลมอินโดจีน
3. ใช้CLMV เป็นฐานการส่งออกไปนอก AEC เพื่อประโยชน์จากสถานะ Least Developed
Countries: LDCs
4. การรับและแบ่งงานตามความถนัดในสายโซ่อุปทาน (Supply & Value Chain) มีความ
ร่วมมือในการผลิตร่วมกันและใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ในการประกอบร่วมกัน โดยใช้จุดแข็ง
ของแต่ละประเทศ
อุปสรรค
(Threats)
1. ประเทศอื่นในอาเซียนก็ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน
2. มีการแข่งขันมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่อาศัย
การใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นสําคัญ เน้นการจ้างงานช่างฝีมือภายในประเทศและประมาณร้อยละ 90 เป็น
  18
ผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่ทําการผลิตเพื่อส่งออก วัตถุดิบของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ คือ ไม้ยางพารา จึง
เกิดการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการเกษตรด้วย
ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้ปลูกยางพารามากที่สุดในโลกและมีการนําไม้ยางพารามาใช้ประโยชน์
อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องของไม้ยางพาราเกิดขึ้นในประเทศเป็นจํานวนมาก
ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมย่อย 3 ส่วน คือ
1. อุตสาหกรรมต้นนํ้า เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการปลูกไม้ยางพาราทั้งหมด ได้แก่ การโค่นไม้
ยางพารา การชักลากไม้การเลื่อยไม้เป็นท่อน และการขนย้ายไม้จากสวนยางพาราไปจนถึงโรงเลื่อยไม้
2. อุตสาหกรรมกลางนํ้าประกอบด้วยโรงเลื่อยไม้โรงอบไม้โรงงานผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด
3. อุตสาหกรรมปลายนํ้า ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน กับกลุ่มผลิตเครื่องเรือน
โดยอุตสาหกรรมนี้จะนําแผ่นชิ้นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัดมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสําเร็จรูป
ตลาดส่งออกที่สําคัญของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แต่ปัจจุบัน
มูลค่าการส่งออกกลับมีอัตราการเติบโตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อ
เทียบกับประเทศคู่ค้าหลัก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เป็นแรงกดดันกระทบ
โดยตรง ซึ่งก็คือคู่แข่งจากประเทศเวียดนาม จีน และมาเลเซียที่
หันมาสนใจการส่งออกเฟอร์นิเจอร์อย่างจริงจัง โดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ
และมีการทําการตลาดเชิงรุก
การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
จุดแข็ง
(Strengths)
1. อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ไม้สักป่าปลูก มีความพร้อมทั้งต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า
2. แหล่งวัตถุดิบธรรมชาติในประเทศไทยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. การรวมกันเป็น Cluster ที่มีประสิทธิภาพ
จุดอ่อน
(Weaknesses)
1. ผู้ประกอบการไทยยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการตลาด รวมถึงการทําตลาด
ต่างประเทศระดับโลก และการทําการตลาดเชิงรุกและการสร้างตราสินค้าอย่างจริงจัง
2. ขาดการลงทุนและการวิจัยพัฒนาด้านการออกแบบ
3. ขาดแคลนนักออกแบบทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในการออกแบบให้เหมาะสมกับ
ตลาดสากล หรือตลาดแต่ละประเทศ รวมทั้งยังไม่สามารถออกแบบเชิงพาณิชย์ได้ดีพอ
4. อุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) เช่น ไม้Veneer เหล็ก ผ้า หนัง Fitting
  19
กระจก ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงยังจําเป็นต้องพึ่งการนําเข้า ทําให้ความสามารถ
การแข่งขันในตลาดโลกลดลง
5. ต้นทุนรวมอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าโสหุ้ย ของประเทศ
ไทยสูงกว่าคู่แข่งขันมาก เช่น ประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย
โอกาส
(Opportunities)
1. ภาพลักษณ์ของสินค้าไทยดีที่ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในสายตาของผู้ซื้อต่างประเทศ
2. อุปสงค์ของตลาดอาเซียน เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการก่อสร้างเอื้อแก่
การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทย
อุปสรรค
(Threats)
1. ความไม่แน่นอนของความต้องการของตลาดที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในแต่ละแถบภูมิภาค
2. มีคู่แข่งขันรายใหม่ๆในอาเซียนเข้ามาในตลาดโลกซึ่งเวียดนามเริ่มก้าวมาเป็นคู่แข่งสําคัญ
3. ราคาวัตถุดิบผันผวนสูงตามกลไกตลาดและขาดแคลนในบางครั้งเนื่องจากวัตถุดิบขึ้นอยู่
กับฤดูกาล อีกทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบหลายรายหันไปส่งออกให้ประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ราคา
สูงกว่าได้จึงมีอํานาจในการต่อรองมากกว่า
กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสําคัญมาก ซึ่งยางพาราถือ
เป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ อีกทั้งประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถปลูกยางได้ ด้วยสภาพ
อากาศที่เหมาะสมทําให้ผลผลิตยางของประเทศไทยมีปริมาณมากและมีคุณภาพที่ดี และเป็นที่ต้องการใน
ตลาดโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อุตสาหกรรมยางในประเทศไทยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมต้นนํ้าที่ทําหน้าที่ผลิต
วัตถุดิบ ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่งมาตรฐาน และนํ้ายางข้น (อุตสาหกรรมยางดิบและอุตสาหกรรมนํ้ายาง
ข้น) ส่วนอุตสาหกรรมปลายนํ้ามีหน้าที่ผลิตตัวผลิตภัณฑ์ยางให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมต้นนํ้า
ของยางยังมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งผลิตยางสังเคราะห์ อุตสาหกรรมเคมีซึ่งผลิตสารเคมียาง
และอุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอซึ่งผลิตวัตถุเสริมแรง
ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตยางพาราประมาณ 3 ล้านตัน
ต่อปี โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางดังกล่าวในรูปของยางแปรรูปขั้นต้นสูงถึง
ร้อยละ 90 (คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 51 ของมูลค่าการส่งออกยางทั้งหมด)
และที่เหลือเพียงร้อยละ 10 นํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้าง
มูลค่าเพิ่ม แต่มีมูลค่าถึงร้อยละ 49 ของทั้งหมด เนื่องจากภาคการผลิตของ
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางยังขาดการเชื่อมโยงและไม่เอื้อต่อกัน ดังนั้น
  20
หากมีการกําหนดทิศทางอุตสาหกรรมยางและมีการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบในการแปรรูปยางดิบไปเป็น
ผลิตภัณฑ์ยาง จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น
การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
จุดแข็ง
(Strengths)
1. ไทยปลูกยางและส่งออกวัตถุดิบยางธรรมชาติเป็นจํานวนมาก
2. ไทยมีศักยภาพและมีความสามารถในการแข่งขันสูงในเรื่องการผลิตและการแปรรูป
ยางพารา โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก
ต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า 20 ปี
จุดอ่อน
(Weaknesses)
1. ต้นทุนนํ้ายางข้นของไทยอยู่ในระดับสูง เนื่องจากโครงสร้างการปลูกยางของไทยเป็น
เกษตรกรรายย่อย จึงมีต้นทุนการรวบรวมวัตถุดิบและค่าขนส่งสูง
2. ระบบโลจิสติกส์ในการส่งออกของไทยเสียเปรียบคู่แข่งสําคัญอย่างประเทศมาเลเซีย
3. เทคโนโลยีการผลิตยังล้าหลังกว่าคู่แข่งอย่างประเทศมาเลเซีย
4. ขาดความพร้อมด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น แม่พิมพ์แบบจุ่ม อะไหล่เครื่องจักร ซึ่ง
ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ
5. ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของยางธรรมชาติ
6. กฎหมายถุงมือยางของไทยมีความเข้มงวดและบังคับให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในไทยเท่านั้น
โอกาส
(Opportunities)
1. แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียน จีน และอินเดีย ส่งผลให้มี
ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น ช่วยทดแทนความต้องการใช้ยางพาราของสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่ยังมีความผันผวนตามภาวะทางเศรษฐกิจ
2. การตื่นตัวและให้ความสําคัญในการป้องกันรักษาสุขภาพทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาค
ครัวเรือน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
เป็นต้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมถุงมือยางมีการเติบโตดีขึ้น
อุปสรรค
(Threats)
1. ราคายางพารามีความผันผวนสูงและราคามีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงกว่าราคายางสังเคราะห์
2. ผู้ผลิตยางรถยนต์พยายามคิดค้นเทคโนโลยีการพัฒนายางสังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติ
ทดแทนยางธรรมชาติได้มากขึ้น เนื่องจากราคายางธรรมชาติมีความผันผวนสูงกว่าราคา
ยางสังเคราะห์มาก ประกอบกับอุปทานยางสังเคราะห์สามารถตอบสนองอุปสงค์ได้
รวดเร็วกว่ายางธรรมชาติ
3. การแข่งขันรุนแรงขึ้น มีผู้ผลิตรายใหม่เกิดขึ้น
4. การนําเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ
  21
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนได้ถูกกําหนดจาก
ภาครัฐให้เป็ นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมยานยนต์และ
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้นนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีการ
พัฒนาเคียงคู่กันมาตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องประดับตกแต่ง
ยนต์มีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากปัจจุบันผู้ใช้รถยนต์มีแนวโน้มที่จะตกแต่งรถยนต์
ของตนเองมากขึ้น และเนื่องจากยานยนต์ต่างๆ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคจึงหันมาให้ความสนใจกับการ
ตกแต่งและซ่อมแซมรถยนต์ใช้แล้วมากกว่าซื้อใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคจึงขึ้นอยู่กับ
รสนิยมเป็นสําคัญ
สําหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้น สิ่งที่มีผลต่อยอดจําหน่ายคือ อายุการใช้งานของรถยนต์ที่ใช้
ชิ้นส่วนนั้นๆ เนื่องจากอะไหล่รถยนต์เป็นสินค้าที่ใช้ร่วมกับรถยนต์ (Complement Product) เมื่อรถยนต์มีอายุ
การใช้งานมากขึ้นก็ยิ่งมีความจําเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ทดแทนชิ้นส่วนที่เสื่อมอายุการใช้งานไป อย่างไรก็ตาม
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีทําให้อายุการใช้งานของอะไหล่รถยนต์ยืนยาวขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ในชิ้นส่วนต่างๆ
เพื่อการทดแทนเริ่มลดลง
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สามารถจําแนกตามระดับโครงสร้างการผลิตและลําดับได้ดังนี้
1. ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 1 (First Tier) เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทอุปกรณ์ป้อนโรงงานประกอบ
รถยนต์และรถจักรยานยนต์โดยตรง ซึ่งบริษัทต้องควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้สั่งซื้อกําหนด เช่น
เครื่องยนต์เบรค ล้อ ระบบอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น
2. ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 2 (Second Tier) เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนย่อยหรือจัดหาวัตถุดิบเพื่อป้อนผู้ผลิต
ชิ้นส่วนลําดับที่ 1 เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและโลหะการ พลาสติก ยาง เหล็ก เป็นต้น
3. ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 3 (Third Tier) เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาวัตถุดิบป้อนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 1
และ 2
การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
จุดแข็ง 1. ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีความชํานาญสูงในการผลิต แรงงานมีประสบการณ์
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC
เปิดแนวรุก บุก AEC

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

สรุปทฤษฎีการเรียนรู้
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้สรุปทฤษฎีการเรียนรู้
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้Mod DW
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sarawut Tikummul
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบwiraja
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกChainarong Maharak
 
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2sonsukda
 
นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรมNU
 
การแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมการแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมmedfai
 
ชุดกิจกรรมการย่อย64
ชุดกิจกรรมการย่อย64ชุดกิจกรรมการย่อย64
ชุดกิจกรรมการย่อย64Oui Nuchanart
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพณัฐะ หิรัญ
 
สังเกตการสอน
สังเกตการสอนสังเกตการสอน
สังเกตการสอนeafbie
 
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญาภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญาSophinyaDara
 
บทที่ 1 พันธุกรรม
บทที่ 1 พันธุกรรมบทที่ 1 พันธุกรรม
บทที่ 1 พันธุกรรมPinutchaya Nakchumroon
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีParichart Ampon
 
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวมการศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวมSupakdee Wannatong
 
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติNU
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการTwatchai Tangutairuang
 

Mais procurados (20)

สรุปทฤษฎีการเรียนรู้
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้สรุปทฤษฎีการเรียนรู้
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
 
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
 
นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรม
 
การแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมการแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสม
 
ย่อยอาหาร
ย่อยอาหารย่อยอาหาร
ย่อยอาหาร
 
ชุดกิจกรรมการย่อย64
ชุดกิจกรรมการย่อย64ชุดกิจกรรมการย่อย64
ชุดกิจกรรมการย่อย64
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
 
สังเกตการสอน
สังเกตการสอนสังเกตการสอน
สังเกตการสอน
 
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญาภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
 
บทที่ 1 พันธุกรรม
บทที่ 1 พันธุกรรมบทที่ 1 พันธุกรรม
บทที่ 1 พันธุกรรม
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
 
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวมการศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม
 
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
 
Cippa model
Cippa modelCippa model
Cippa model
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 

Destaque

Swot1 ผลวิเคราะห์
Swot1 ผลวิเคราะห์Swot1 ผลวิเคราะห์
Swot1 ผลวิเคราะห์nang_phy29
 
การวิเครา Swot
การวิเครา Swotการวิเครา Swot
การวิเครา Swotjanjirapansri
 
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL DrDanai Thienphut
 
โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...
โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...
โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...Dp' Warissara
 
Black Canyon
Black CanyonBlack Canyon
Black CanyonSasirada
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinksตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinksNattakorn Sunkdon
 
AEC Project: ฟาร์มโชคชัย
AEC Project: ฟาร์มโชคชัยAEC Project: ฟาร์มโชคชัย
AEC Project: ฟาร์มโชคชัยSMEfriend
 
การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014
การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014
การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014Wanida Kook
 
การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานSatapon Yosakonkun
 
10 ประเทศอาเซียน
10 ประเทศอาเซียน10 ประเทศอาเซียน
10 ประเทศอาเซียนSumintra Boonsri
 

Destaque (15)

Swot1 ผลวิเคราะห์
Swot1 ผลวิเคราะห์Swot1 ผลวิเคราะห์
Swot1 ผลวิเคราะห์
 
การวิเครา Swot
การวิเครา Swotการวิเครา Swot
การวิเครา Swot
 
บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
บทคัดย่อสำหรับผู้บริหารบทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
 
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ..เส้นทางสู่อนาคตด้วย CBL
 
โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...
โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...
โครงงานคอม สื่อการเรียนรู้เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AE...
 
Swot analysis
Swot analysisSwot analysis
Swot analysis
 
Black Canyon
Black CanyonBlack Canyon
Black Canyon
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinksตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
ตัวอย่างแผนธุรกิจHerby drinks
 
AEC Project: ฟาร์มโชคชัย
AEC Project: ฟาร์มโชคชัยAEC Project: ฟาร์มโชคชัย
AEC Project: ฟาร์มโชคชัย
 
B004
B004B004
B004
 
วิเคราะห์Swotเบื้องต้น
วิเคราะห์Swotเบื้องต้นวิเคราะห์Swotเบื้องต้น
วิเคราะห์Swotเบื้องต้น
 
การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014
การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014
การตัดสินใจในการลงทุนโครงการ Revised24042014
 
Starbucks case study
Starbucks case studyStarbucks case study
Starbucks case study
 
การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
 
10 ประเทศอาเซียน
10 ประเทศอาเซียน10 ประเทศอาเซียน
10 ประเทศอาเซียน
 

Semelhante a เปิดแนวรุก บุก AEC

ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aecปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ AecMudhita Ubasika
 
141104 intro to mice for dusit college nov 8
141104 intro to mice for dusit college nov 8141104 intro to mice for dusit college nov 8
141104 intro to mice for dusit college nov 8Chuta Tharachai
 
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...Punyapon Tepprasit
 
Thailand 4.0 Reality or Hype
Thailand 4.0 Reality or HypeThailand 4.0 Reality or Hype
Thailand 4.0 Reality or HypeIMC Institute
 
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554TISA
 
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจคู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจSompop Petkleang
 
เส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AEC
เส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AECเส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AEC
เส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AECDNTMb Inc.
 
คู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจ
คู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจคู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจ
คู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจsmartthaibiz stb
 
งานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AEC
งานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AECงานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AEC
งานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AECPatteera Somsong
 
Nec53(ใหม่)1
Nec53(ใหม่)1Nec53(ใหม่)1
Nec53(ใหม่)1wutichai
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิตคู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิตMobile_Clinic
 
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการRuangvate Meesup
 
Introducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trends
Introducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trendsIntroducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trends
Introducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trendsSarinee Achavanuntakul
 
คู่มือผู้ประกอบการ SME
คู่มือผู้ประกอบการ SMEคู่มือผู้ประกอบการ SME
คู่มือผู้ประกอบการ SMEsmartthaibiz stb
 
การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่
การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่
การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่Utai Sukviwatsirikul
 
DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ
 DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ
DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จWeera Chearanaipanit
 
Content สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากล
Content สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากลContent สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากล
Content สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากลwutichai
 
หนังสือเชิญ (1)
หนังสือเชิญ (1)หนังสือเชิญ (1)
หนังสือเชิญ (1)Apichaya Savetvijit
 

Semelhante a เปิดแนวรุก บุก AEC (20)

ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aecปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
 
141104 intro to mice for dusit college nov 8
141104 intro to mice for dusit college nov 8141104 intro to mice for dusit college nov 8
141104 intro to mice for dusit college nov 8
 
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
 
Thailand 4.0 Reality or Hype
Thailand 4.0 Reality or HypeThailand 4.0 Reality or Hype
Thailand 4.0 Reality or Hype
 
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
Afta and labour article 14 tisa pro talk 4-2554
 
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจคู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
 
เส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AEC
เส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AECเส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AEC
เส้นทางกาสร้างธุรกิจต้อนรับ AEC
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
คู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจ
คู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจคู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจ
คู่มือพัฒนาพี่เลี้ยงธุรกิจ
 
งานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AEC
งานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AECงานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AEC
งานบรรยาย HR North Forum ครั้งที่ 5 HR for AEC
 
Nec53(ใหม่)1
Nec53(ใหม่)1Nec53(ใหม่)1
Nec53(ใหม่)1
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิตคู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
 
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
 
Introducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trends
Introducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trendsIntroducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trends
Introducing "Sustainable Banking Network Thailand" and trends
 
คู่มือผู้ประกอบการ SME
คู่มือผู้ประกอบการ SMEคู่มือผู้ประกอบการ SME
คู่มือผู้ประกอบการ SME
 
การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่
การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่
การขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่
 
DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ
 DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ
DBD smart trade association การเสริมสร้างและบริหารเครือข่ายสู่ความสำเร็จ
 
B2B_Brochure_240316_15.51
B2B_Brochure_240316_15.51B2B_Brochure_240316_15.51
B2B_Brochure_240316_15.51
 
Content สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากล
Content สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากลContent สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากล
Content สรุปหัวใจหลัก sm es ไทยก้าวไกลสู่สากล
 
หนังสือเชิญ (1)
หนังสือเชิญ (1)หนังสือเชิญ (1)
หนังสือเชิญ (1)
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

เปิดแนวรุก บุก AEC

  • 2.   2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วิสัยทัศน์ “เพื่อนแท้ผู้ประกอบการส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนสู่สากล” พันธกิจ “ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมวิสาหกิจ ชุมชนผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีด ความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล”
  • 3.   3 คําแนะนําในการใช้คู่มือ คู่มือเล่มนี้จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และแนวทางการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของกิจการ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับทราบถึงสถานภาพ ปัจจุบันของกิจการของตน และจะสามารถนําไปเป็นแนวทางในการกําหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อรองรับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กําลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทําให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันแบบเดิม เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมของสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ คู่แข่งของกิจการจะไม่จํากัดอยู่เพียงแต่ภายในประเทศ เท่านั้น แต่จะกลายเป็นผู้ประกอบการในอาเซียนอีก 9 ประเทศ รวมถึงลูกค้าและตลาดด้วย ซึ่งจะเพิ่มจํานวนเป็น เกือบ 600 ล้านคน ในด้านการผลิตเองก็เช่นกัน ผู้ประกอบการจะสามารถขยายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนได้และในทํานองเดียวกัน ก็จะมีประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาตั้งฐานการผลิตในบ้านเราเช่นกัน ทั้งหมดที่ เกิดขึ้นนี้ดูเหมือนจะเป็นโอกาสในการทํากําไรอันมหาศาลและสร้างการเติบโตให้แก่กิจการ แต่ในมุมกลับก็ สามารถเป็นภัยคุกคามแก่กิจการได้เช่นกันหากไม่มีการเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ ดังนั้นแล้ว เมื่อสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการก็จําเป็นที่จะต้องเข้าใจในสิ่ง เหล่านี้ให้ถ่องแท้คู่มือเล่มนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไว้ในบทที่ 1 ถึง บทที่ 5 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนําไปหาความรู้ต่อยอดต่อไปได้ ในบทถัดมาจะเป็นเนื้อหาโครงการฯ แนวคิดทฤษฎีในการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของกิจการโดยใช้โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas : BMC) เป็นเครื่องมือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงหลักการก่อนจะนําไปสู่การประเมินจริง และในบทที่ 8 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายได้รวบรวมแบบฟอร์มต่างๆ ที่ได้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์ถึงสถานะ ของกิจการของตน และจัดทําแผนที่กลยุทธ์ (Business Roadmap) ของกิจการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใน ระยะสองสามปีข้างหน้า ท้ายที่สุดนี้ การวิเคราะห์และประเมินจะไม่เกิดผลใดๆ เลย หากผู้ประกอบการเองไม่ได้นําไปต่อ ยอดและขยายผลให้บุคลากรในองค์กรทราบ เพื่อที่ทุกคนในองค์กรจะได้มีส่วนช่วยในการวางแผนและมีความ พร้อมเพียงพอที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทุกท่านตระหนักถึง ความสําคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และสามารถต่อยอดความรู้เพื่อนําไปประยุกต์ใช้กับกิจการได้อย่าง เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยในภายภาคหน้าต่อไป
  • 4.   4 สารบัญ หน้า บทที่ 1 ภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 1 บทที่ 2 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) รายสาขาอุตสาหกรรม 6 - อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป 9 - อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 11 - อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 13 - อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง 18 - อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 16 - อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 18 - อุตสาหกรรมสินค้า Lifestyle 20 - อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 22 - อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 24 - อุตสาหกรรมก่อสร้าง 26 บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันรายประเทศ 28 - ความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 30 - ประเทศบรูไน 31 - ประเทศกัมพูชา 34 - ประเทศอินโดนีเซีย 37 - ประเทศลาว 40 - ประเทศมาเลเซีย 43 - ประเทศเมียนมาร์ 46 - ประเทศฟิลิปปินส์ 49 - ประเทศสิงคโปร์ 52 - ประเทศเวียดนาม 55 บทที่ 4 กรณีศึกษาผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จในการเชื่อมโยงธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน 58 o บริษัท เครือซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) o บริษัท นํ้าตาลมิตรผล จํากัด (มหาชน) o บริษัท เอ็ม.อี.เมทดิเทค จํากัด
  • 5.   5 o บริษัท ที ไทย แสน็ค ฟู้ดส์ จํากัด o บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จํากัด o บริษัท มาซูม่า (ประเทศไทย) จํากัด o บริษัท นีโอ สุกี้ ไทย เรสเตอร์รองส์ จํากัด บทที่ 5 เรื่องสําคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องทําก่อนเปิดเสรีอาเซียน 66 - 10 เรื่องสําคัญที่ SMEs ต้องทําก่อนเปิดเสรีอาเซียน 66 - คุณรู้จัก AEC ดีแค่ไหน และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ AEC 69 บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมและสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคม 71 เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) - โครงการสร้างและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) 71 - กลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกและรับ 74 บทที่ 7 การจัดทําแผนที่ธุรกิจเชิงรุกหรือรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 77 - หลักคิดและรูปแบบการสร้างโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจ (Business Model Canvas) 81 - การจัดทําแผนที่ธุรกิจ (AEC Business Roadmap) 98 - ตัวอย่างแผนที่ธุรกิจของวิสาหกิจ 100 บทที่8 แบบฟอร์มสําหรับผู้ประกอบการจัดทําแผนที่ธุรกิจและกลยุทธ์รุกรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 101 o แบบฟอร์มที่ 8.1 รูปแบบหรือโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจในปี 2554 – 2555 o แบบฟอร์มที่ 8.2 แนวโน้มของโอกาสและอุปสรรคจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) o แบบฟอร์มที่ 8.3 สรุปโอกาสและอุปสรรคเพื่อจัดทํากลยุทธ์เชิงรุกและรับ o แบบฟอร์มที่ 8.4 รูปแบบหรือโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจในปี 2554 – 2555 o แบบฟอร์มที่ 8.5 โครงสร้างแผนที่ธุรกิจฉบับรุกและรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน o แบบฟอร์มที่ 8.6 กลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับของวิสาหกิจ o แบบฟอร์มที่ 8.7 ตัวเลือกกลยุทธ์หรือปัจจัยเชื่อมโยง o แบบฟอร์มที่ 8.8 ความต้องการการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานของภาครัฐ
  • 6.   6 อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 มีประเทศ สมาชิกรวม 10 ประเทศ แบ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน เดิม 6 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปิ นส์ สิงคโปร์ และไทย และประเทศ สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรื อเรี ยกสั้ นๆ ว่า กลุ่ม CLMV (Cambodia, Lao, Myanmar, Vietnam) อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อัน นํามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมและเมื่อการค้าระหว่าง ประเทศของโลกมีแนวโน้มกีดกันทางการค้ารุนแรงขึ้น ทําให้อาเซียนหันมามุ่งเน้นการกระชับและขยายความ ร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้นอย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก3ประการดังนี้ - ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค - รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค - เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดําเนินงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนมีความคืบหน้ามา ตามลําดับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทําเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 การเจรจา เพื่อเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนในภูมิภาคจนถึงปัจจุบัน ผู้นําอาเซียนได้มุ่งให้ความสําคัญกับการ ดําเนินการเพื่อนําไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งเร็วขึ้นกว่ากําหนดการเดิมที่ ผู้นําอาเซียนได้เคยประกาศแสดงเจตนารมณ์ไว้ตามแถลงการณ์บาหลีถึง 5 ปี ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมความ มั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมี กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นกรอบหรือพื้นฐานทางกฎหมายรองรับซึ่งจะสร้างกฎเกณฑ์สําหรับองค์กรอาเซียนให้ สมาชิกมีพันธกิจที่จะต้องปฏิบัติตาม (Legal Binding) ในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งเป็นเสาหลักที่จะ เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558เพื่อนําไปสู่การเป็นตลาดและฐาน บทที่ 1 ภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 
  • 7.   7 การผลิตร่วมกัน(Single Market and Single Production Base) และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการการลงทุนเงิน ลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรี รวมทั้งผู้บริโภคจะสามารถเลือกสรรสินค้าและบริการได้อย่างหลากหลายภายใน ภูมิภาคและสามารถเดินทางในอาเซียนได้อย่างสะดวกและเสรีมากยิ่งขึ้นสิ่งเหล่านี้นับเป็นความท้าทายที่สําคัญของ อาเซียนที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจและช่วยกันนําพาอาเซียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ แนวทางการนําร่องสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แนวทางการนําร่องการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจเริ่มต้นจากการทดลองเร่งรัดการรวมกลุ่มใน 12 สาขาสําคัญของอาเซียน (12 Priority Integration Sectors) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และบริการในสาขาต่างๆ ดังกล่าวได้อย่างเสรี และสร้างการรวมกลุ่มในด้านการผลิตและการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อ ส่งเสริมการเป็นฐานการผลิตร่วมของอาเซียน และมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากแนวทาง ดังกล่าวจึงได้กําหนดประเทศผู้ประสานงานหลัก(CountryCoordinators)ในแต่ละสาขาดังนี้ ประเทศ สาขา อินโดนิเซีย 1. ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ 2. ผลิตภัณฑ์ไม้ มาเลเซีย 3. ผลิตภัณฑ์ยาง 4. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม พม่า 5. ผลิตภัณฑ์เกษตร 6. ผลิตภัณฑ์ประมง ฟิลิปปินส์ 7. อิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์ 8. เทคโนโลยี สารสนเทศ 9. สุขภาพ ไทย 10. การท่องเที่ยว 11. การบิน เวียดนาม 12. โลจิสติกส์ เหตุผลในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาเซียนจําเป็นต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มภายในหรือเร่งจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเนื่องจาก กระแสโลกาภิวัฒน์ และแนวโน้มการทําข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น ทําให้ อาเซียนต้องเร่งแสดงบทบาทการรวมกลุ่มด้วยความมั่นคงมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และปรับปรุงการดําเนินงานให้ ทันกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสการแข่งขันทางการค้าและการแข่งขันเพื่อดึงดูด การลงทุนโดยตรงที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มจะถ่ายโอนไปสู่ประเทศเศรษฐกิจใหม่มาก ขึ้น เช่น ประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย เป็นต้น
  • 8.   8 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทาง เศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก เนื่องจากส่งเสริมให้เกิดการเปิดเสรีการ เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกที่ลึกซึ้งและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการค้าสินค้า การค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงาน รวมถึงความร่วมมือด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน เพื่อลดอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนามาตรฐานการครองชีพและความกินดี อยู่ดีของประชาชนภายในประเทศและลดช่องว่างการเหลื่อมลํ้าทางสังคมให้น้อยลง ปัจจัยสําคัญต่อความสําเร็จของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ความสําเร็จของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคขึ้นอยู่กับปัจจัยสําคัญหลายประการ แต่สิ่ง หนึ่งที่น่าจะมีส่วนสําคัญต่อการดําเนินงานนั้นน่าจะเป็น ความเป็นหนึ่งเดียวกันของประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม ที่จะต้องยึดมั่นและถือมั่นเป้ าหมายในระดับภูมิภาคกันอย่างจริงจัง ยอมสละผลประโยชน์บางประการของแต่ละ ประเทศเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมในระดับภูมิภาคร่วมกัน มิเช่นนั้นแล้วก็ไม่อาจผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นได้ นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้เห็น ผลเป็นรูปธรรมและสร้างขีดความสามารถทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคให้โดดเด่น ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐานภายในภูมิภาค โดยเฉพาะระบบการขนส่งที่จะต้องเชื่อมโยงถึงกันในระดับ ภูมิภาค เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้คนได้อย่างสะดวกตลอดเส้นทาง รวมถึงการอํานวยความสะดวก ณ จุดผ่านแดนต่างๆ และส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจังในสาขาที่มีผลเชื่อมโยงต่อการพัฒนาสาขาอื่นๆ (Spin Over Effect) ในอาเซียน เช่น สาขาพลังงาน สาขาการคมนาคม และการศึกษา เป็นต้น 2) นโยบายร่วมในระดับภูมิภาค อาเซียนจําเป็นต้องพิจารณาแนวทางการกําหนดนโยบายด้าน เศรษฐกิจร่วมกันในระดับภูมิภาคเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง รวมถึงสร้างผลประโยชน์ ร่วมกันในระดับภูมิภาค ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศจะต้องให้ความสําคัญกับการปรับปรุงกฎเกณฑ์ กฎระเบียบหรือกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับความตกลงอาเซียนที่มีอยู่ 3) กลไกการตัดสินใจ อาเซียนควรพิจารณารูปแบบการตัดสินใจแบบอื่นๆ ในการพิจารณากําหนด นโยบายหรือตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมภายในของอาเซียน นอกเหนือจากระบบฉันทามติ (Consensus) ที่ใช้มา ตั้งแต่เริ่มต้นของการรวมตัวทางเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้มีการนําเอาระบบ เสียงส่วนใหญ่ (Majority Vote) มาใช้กับกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน แต่สมาชิกคงต้องหารือที่จะกําหนด แนวทางและขอบเขตของระบบเสียงส่วนใหญ่เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการพิจารณาเรื่องสําคัญๆ ที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน
  • 9.   9 4) การสร้างสังคมกฎระเบียบ อาเซียนจําเป็นต้องพัฒนาไปสู่สังคมกฎระเบียบ (Rule-based Society) และสร้างนโยบายด้านการค้าและการลงทุนที่สอดประสานในระดับภูมิภาคโดยใช้จุดแข็งของประเทศ สมาชิกให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างขีดความสามารถและข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้กับอาเซียน รวมถึง เน้นยํ้าการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกอย่างเคร่งครัด องค์ประกอบสําคัญของ AEC Blueprint การรวมกลุ่มประเทศอาเซียนได้จัดทําแผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆหรือพิมพ์เขียว เพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ส่วนหลัก ซึ่งอ้างอิงมาจาก เป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2(BaliConcordII) ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (1) การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว (Single Market & Production Base) โดยให้มีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการการลงทุน แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ได้แก่ การยกเลิกภาษี ศุลกากร การยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) กําหนดมาตรฐานอาเซียน การปรับปรุงกฎว่าด้วย
  • 10.   10 แหล่งกําเนิดสินค้าการอํานวยความสะดวกทางการค้าการปรับประสานพิธีการศุลกากรการจัดตั้ง ASEANSingle Windowปรับประสานมาตรฐานและลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าและการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน (2) การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง (Highly Competitive Economies Region) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะให้ความสําคัญกับประเด็น ด้านนโยบายอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น การมีกฎหมายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ) และความร่วมมือด้าน พลังงาน มาตรการภาษีที่เหมาะสม (Taxation) การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันในประเทศ (Equitable Economic Development) สนับสนุนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การลดช่องว่างระดับการ พัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Initiative for ASEAN Integration (IAI) และ ASEAN-help-ASEAN Program เป็นต้น (4)การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก(IntegrationintoGlobalEconomy)เน้นการปรับประสานนโยบาย เศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเช่นการจัดทําเขตการค้าเสรี การให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนภายใต้ เขตการลงทุนอาเซียน(IAI)กับนักลงทุนภายนอกอาเซียนและการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิตจําหน่ายเป็นต้น สรุปพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AECBlueprint) การเป็นตลาดเดียว ฐานการ ผลิตร่วมกัน ส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอ ภาค การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจ โลก  เปิดเสรีทางการค้าสินค้า(AFTA)  เปิดเสรีการค้าบริการ(AFAS)  เปิดเสรีการลงทุน (AIA)  เคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่าง กันได้ดีขึ้น  เปิดเสรีการเคลื่อนย้าย แรงงานฝีมือ  รวมกลุ่มสาขาสําคัญ  ส่งเสริมการสร้างความสามารถ ในด้านต่างๆได้แก่ - นโยบายการแข่งขัน - การคุ้มครองผู้บริโภค - ทรัพย์สินทางปัญญา - กฎระเบียบภาษีอากร - การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการเงินการขนส่งและ เทคโนโลยีสารสนเทศ  ส่งเสริมการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของสมาชิกและลด ช่องว่างของระดับการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่เช่น - การพัฒนา SMEs - แผนงานการริเริ่มการ รวมตัวอาเซียน - Initiative for ASEAN Integration: IAI  ส่งเสริมการรวมกลุ่มเข้ากับ ประชาคมโลก โดยเน้นการ ปรับประสานนโยบาย เศรษฐกิจของอาเซียนกับ ประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น - การจัดทําเขตการค้าเสรี - การสร้างเครือข่ายในด้าน การผลิตและจําหน่าย เป็น ต้น แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ บทที่ 2 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) รายสาขาอุตสาหกรรม
  • 11.   11 SWOTAnalysisเป็นการวิเคราะห์สภาพอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานในปัจจุบันเพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคที่อาจส่งผลต่อการดําเนินงาน คําว่า SWOT ย่อมาจาก ประเด็นที่ต้องมีการวิเคราะห์ ได้แก่ S-Strength (จุดแข็ง) W- Weakness (จุดอ่อน) O-Opportunity (โอกาส) และ T-Threat (อุปสรรค) ทฤษฎีนี้คิดค้นขึ้นโดย อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้นําเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ดในช่วงทศวรรษที่ 1960–1970 หลักการสําคัญของ SWOT Analysis คือ การวิเคราะห์โดยการสํารวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก เพื่อให้รู้จักตนเองและรู้จักสภาพแวดล้อมในการทําธุรกิจ ในการ วิเคราะห์นี้จะช่วยให้ผู้บริหารในอุตสาหกรรมนั้นๆทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อธุรกิจของตน ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ อย่างมากในการกําหนดวิสัยทัศน์พันธกิจกลยุทธ์และแผนการดําเนินการต่างๆที่เหมาะสมต่อไป สําหรับความหมายและคําจํากัดความของการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นมีดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จุดแข็ง (Strength) คือ ผลกระทบทางด้านบวกที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัทหรือเป็น ข้อได้เปรียบในการดําเนินธุรกิจ หรืออาจหมายถึงการดําเนินงานภายในบริษัทที่สามารถกระทําได้ดี กล่าว โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจทุกแห่งควรต้องทราบถึงความสามารถที่เป็นจุดเด่นของตนเอง ซึ่งต้องมีการพิจารณาใน ทุกๆ องค์ประกอบ เช่น การตลาด การบริหาร การเงิน การผลิต การวิจัยและพัฒนา เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์หาจุด แข็งเพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์หรือแนวทางในการดําเนินงานต่างๆ ให้ตนเองมีความโดดเด่นหรือสร้าง ภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่ คุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัท วิสัยทัศน์ของ ผู้บริหาร ฐานะทางการเงินที่มั่นคง เป็นต้น จุดอ่อน (Weakness) คือ ผลกระทบทางด้านลบที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัทหรือข้อ เสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจ หรืออาจหมายถึงการดําเนินงานภายในบริษัทที่ไม่สามารถกระทําได้ดี และส่งผล ให้บริษัทเกิดความเสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจได้ ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่ ต้นทุนทางการผลิตที่สูงกว่าคู่ แข่งขัน ปัญหาด้านพนักงานขาย ภาพลักษณ์ของบริษัท เป็นต้น
  • 12.   12 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส(Opportunity)หมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของบริษัทหรือ อาจหมายถึงผลกระทบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกของธุรกิจที่ส่งผลทางด้านบวกต่อการดําเนินธุรกิจ ผู้บริหาร จะต้องมีการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่เสมอเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้รวมทั้ง ต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกเช่นภาวะเศรษฐกิจสังคมการเมืองกฎหมายเทคโนโลยี และการแข่งขันอยู่เป็นระยะๆเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ อุปสรรค (Threat) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามหรือมีผลเสียต่อการดําเนินงานของ บริษัท หรืออาจหมายถึงผลกระทบด้านลบของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อการดําเนินธุรกิจ ซึ่งผู้บริหาร จําเป็นต้องระมัดระวังในสิ่งที่เป็นข้อจํากัดของการดําเนินธุรกิจเนื่องจากเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียหายได้เราไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อจํากัดหรืออุปสรรคเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นได้แต่ถ้าเรามีการวิเคราะห์และคาดการณ์ ล่วงหน้าถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เราก็จะสามารถหาทางป้ องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยลงไปได้ ตัวอย่างของอุปสรรคจากภายนอก ได้แก่ ภัยธรรมชาติต่างๆ ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง ต้นทุนทางพลังงานที่ สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจได้ว่าปัจจัยแต่ละอย่างเหล่านี้มีอิทธิพลต่อบริษัท อย่างไร จุดแข็งของบริษัทจะเป็นความสามารถภายในที่นําไปใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้ าหมาย ในขณะที่ จุดอ่อนจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจทําลายผลการดําเนินงาน โอกาสภายนอกจะเป็นสถานการณ์ที่ส่งเสริม โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย และในทางกลับกันอุปสรรคจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการวิเคราะห์ SWOT 1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในบริษัท การประเมินสภาพแวดล้อมภายในบริษัทจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและ ความสามารถภายในบริษัทในทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท แหล่งที่มาเบื้องต้นของ ข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้าน โครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทํางานและทรัพยากรในการบริหารงาน ซึ่งได้แก่ คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดําเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์และผล ของกลยุทธ์ที่ได้กําหนดไว้ก่อนหน้านี้ด้วย
  • 13.   13 จุดแข็งของบริษัท คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ในบริษัทนั้นเอง ว่าปัจจัยใดที่ เป็นข้อได้เปรียบหรือเป็นจุดเด่นที่นํามาพัฒนาได้และควรดํารงไว้เพื่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัท ส่วนจุดอ่อนของบริษัทนั้น เป็นปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ในบริษัท ว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด ความเสียเปรียบ ซึ่งจําเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป 2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกบริษัท การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกบริษัทนั้น จะทําให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการ ดําเนินธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศ เช่น ด้าน เศรษฐกิจ (เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน งบประมาณ) ด้านสังคม (เช่น ระดับการศึกษา และอัตราการรู้หนังสือของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี) ด้านการเมือง (เช่น พระราชบัญญัติ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายทางการเมือง) ด้านเทคโนโลยี (เช่น นวัตกรรมการผลิต พัฒนาการ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์) เป็นต้น โอกาสจากสภาพแวดล้อมจะเป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบทั้ง ทางตรงและทางอ้อมต่อการดําเนินธุรกิจและสามารถนําข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้บริษัทเข้มแข็งขึ้น สําหรับ อุปสรรคจากสภาพแวดล้อมจะเป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งบริษัทจําเป็นต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพบริษัทให้มีความแข็งแกร่งและมีความ พร้อมที่จะเผชิญกับผลกระทับดังกล่าว ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT รายสาขาอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
  • 14.   14 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นําในการผลิตอาหารและ เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโรงงานแปรรูป อาหารกว่า 10,000 ราย ในจํานวนนี้เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กกว่า ร้อยละ 85 วัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปอาหารส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบใน ประเทศที่มีราคาถูก มีผลผลิตปริมาณมาก และจะมีการแปรรูปขั้นต้นไม่ ใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่สินค้าคุณภาพที่มีราคาสูงและต้องใช้ เทคโนโลยีระดับสูงส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนําเข้าจากต่างประเทศเช่นวัตถุเจือปนอาหารวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสปลา ทะเล ฯลฯ แนวโน้มการนําเข้าวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารในโรงงานมีการนําเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ทิศทางเดียวกับการขยายตัวของการส่งออกอาหารแปรรูปของไทย โดยเฉพาะการนําเข้าส่วนผสมเพื่อนํามาผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ และส่วนผสมที่มีคุณภาพสูงสําหรับสินค้าพรีเมี่ยม นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของ ช่องทางกระจายสินค้าและการดําเนินชีวิตของผู้บริโภคทําให้ธุรกิจผลิตอาหารแปรรูปพร้อมรับประทานและอาหาร แช่แข็งขยายตัวอย่างรวดเร็ว อาหารส่งออกสําคัญที่มีการส่งออกขยายตัวดี สําหรับสินค้าที่นําพาการส่งออกอาหารของไทย ขยายตัวอยู่ในกลุ่มสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเป็นหลัก เช่น กุ้ง ทูน่ากระป๋ องและแปรรูป ปลา กระป๋ องและแปรรูป ไก่และสัตว์ปีก รวมทั้งผักผลไม้กระป๋ องและแปรรูป ทูน่ากระป๋ องและทูน่าแปรรูปเป็นสินค้าที่มีศักยภาพของไทยด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและความ พร้อมทางด้านทักษะฝีมือแรงงาน ประกอบกับเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีปัญหาด้านสุขอนามัยและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อ สุขภาพทําให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี เนื้อไก่แปรรูป ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นผู้ส่งออกไก่แปรรูปที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือที่สุดในโลก เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยสามารถรองรับคําสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยัง มีการควบคุมมาตรฐานสินค้าและมีมาตรการป้องกันโรคอย่างเป็นระบบจึงมีผลตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพค่อนข้างสูง แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะเผชิญกับ ปัญหารอบด้านโดยเฉพาะตลาดหลักคือสหรัฐอเมริกาที่ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)เก็บภาษีนําเข้ากุ้งและ มาตรการวางเงินคํ้าประกันล่วงหน้า(C-bond)ส่งผลต่อสภาวะการแข่งขันและก่อให้เกิดต้นทุนแก่ผู้ส่งออกกุ้งของไทย เป้ าหมายและประโยชน์ที่คาดหวังในการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อ การนําเข้า วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน และการทํา Contract Farming / การสร้าง มาตรฐานอาเซียนโดยการอิงกับมาตรฐานของไทย/การขยายตลาดไปใน ประเทศเพื่อนบ้านและผลิตภัณฑ์อาหารที่ยังขาดแคลน / การขยายฐาน
  • 15.   15 การผลิตในอาเซียน เพื่อประโยชน์ด้านต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน ตลาด Logistics ฯลฯ / รวมทั้งการสร้างความร่วมมือ กันกับประเทศในอาเซียนในการทําตลาดนอกกลุ่ม ดังนั้น การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ ปรับปรุงกฎระเบียบมาตรฐานต่างๆให้ทันสมัยให้สอดรับกับนโยบาย“ครัวไทยสู่ครัวโลก”และการสนับสนุนต่าง ๆของภาครัฐอาทิ กฎระเบียบการนําเข้าศูนย์ทดสอบมาตรฐานการพัฒนาค้นคว้าวิจัยใหม่ๆฯลฯ การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป จุดแข็ง (Strengths) 1. ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ปริมาณการผลิตอาหารในประเทศมี มากเพียงพอที่จะสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้โดยเฉพาะปลาทูน่า 2. อาหารไทยมีความหลากหลายทั้งชนิดและประเภทอาหาร อันเนื่องมาจากความแตกต่าง ของ ภูมินิเวศทําให้ได้ผลิตภัณฑ์นานาชนิด 3. อาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ เนื่องจากมีองค์ประกอบของสมุนไพรหลายชนิดและส่วน ประกอบหลายอย่างที่มีคุณค่าทางอาหารสูง 4. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทยรายใหญ่มีศักยภาพในการพัฒนาระบบการผลิตให้ได้ มาตรฐานระดับสากลเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกเสรีได้ จุดอ่อน (Weaknesses) 1. ยังไม่มีแผนการจัดการและดูแลด้านความมั่นคงทางอาหาร 2. มีหน่วยงานจํานวนมากในการกํากับดูแลระบบอาหารไทย โดยขาดการประสานงานที่ดี ระหว่างหน่วยงาน ยึดติดกับกรอบภาระหน้าที่ และไม่มีระบบการวางแผนร่วมกัน 3. การดําเนินงานตามแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกแผนยังไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เนื่องด้วยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องจํานวนมาก ต่างมีแผนงานโครงการที่ซํ้าซ้อนไม่ต่อเชื่อมกัน ไม่ สามารถรวมเป็นเครือข่ายระหว่างองค์กรเอกชนและองค์กรประชาชน 4. การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในระบบอาหารยังไม่เกิดผลอย่างจริงจัง มีช่องว่างและความ ซํ้าซ้อนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหาร 5. การพัฒนาระบบอาหารไทยยังไม่มีการใช้องค์ความรู้เป็นฐานอย่างเต็มที่ ขาดกระบวนการวิจัย และพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โอกาส (Opportunities) 1. ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ทําให้ประเทศต่างๆต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันทางการค้า ทํา ให้ผู้ผลิตอาหารต้องมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผลิตได้ตามมาตรฐาน 2. กระแสความตื่นตัวในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก 3. การกําหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความสําคัญกับธุรกิจอาหารของรัฐบาล เช่น ผ่าน ธุรกิจท่องเที่ยว นโยบายเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมุ่งสู่การเป็นครัวโลก นโยบายส่งเสริม ธุรกิจอาหารให้ขยายรูปแบบจัดตั้งร้านอาหารและภัตตาคาร ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารฮา ลาล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้เข้มแข็ง
  • 16.   16 4. มีหน่วยงานที่มีศักยภาพในการสนับสนุนงบประมาณการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับระบบอาหาร อุปสรรค (Threats) 1. ทุนธรรมชาติพื้นฐานเริ่มมีจํากัดและมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ประชากรเพิ่มมากขึ้น อันจะทําให้ เกิดภาวะความไม่สมดุลของปริมาณอาหารกับจํานวนประชากรในอนาคต 2. การใช้เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหารที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยมุ่งเพื่อการเพิ่ม ผลผลิตอาหารจํานวนมากทําให้ความหลากหลายทางธรรมชาติลดลง 3. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งมุ่งเน้นระบบการค้าแบบตลาดเสรี ทําให้ มีภาวการณ์แข่งขันสูง กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมปลายนํ้าของระบบ โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ซึ่งเน้นการใช้แรงงานเข้มข้น (Labor Intensive) ไม่จําเป็นต้องลงทุนสูงและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมาก แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้ค่อนข้างสูง ซึ่งเทคโนโลยีการผลิต ส่วนใหญ่ยังใช้เครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานมานานแต่ก็ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ มีมูลค่าการส่งออกสูง นอกจากนี้ แรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ ผลิตภัณฑ์ที่ ได้จึงมีความประณีตและเป็ นที่ต้องการของตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เสื้อผ้าสําเร็จรูปจากการทอ และเสื้อผ้าสําเร็จรูปจากการถัก สําหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมไหม อุตสาหกรรมนอนวูฟแวร์ ซึ่งผลิตผ้าอ้อมเด็ก ชุดผ่าตัดของแพทย์ ผลิตภัณฑ์ไว้ใช้ในโรงพยาบาล และ อุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อการเคหะ เป็นต้น ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานโดยผลิตตามคําสั่ง ซื้อ (OEM) แต่ผลจากค่าแรงที่สูงขึ้นทําให้ผู้ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่ง ให้มีการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างสินค้าที่เป็นตราสินค้า (Brand Name) ของไทยเอง และพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตให้มีความรวดเร็วและแม่นยําขึ้น การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม จุดแข็ง (Strengths) 1. มาตรฐานการผลิตและฝีมือแรงงานไทยดีกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แรงงานมีฝีมือ ทักษะสูง พัฒนาฝีมือได้เร็ว มีคุณภาพการผลิต ความประณีตและสามารถทํารูปแบบที่
  • 17.   17 ตลาดต้องการได้ 2. ไทยมีห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมครบถ้วน ทั้งอุตสาหกรรมต้นนํ้า กลางนํ้า และ ปลายนํ้า 3. ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ ประสบการณ์ ความพร้อมมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน 4. ความเชื่อมั่นในคุณภาพ มาตรฐานการผลิต แรงงาน และสิ่งแวดล้อมของไทยมี ภาพลักษณ์ดีในตลาดโลก จุดอ่อน (Weaknesses) 1. ต้นทุนแรงงานสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 2. การขาดแคลนแรงงาน 3. ต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์สูง ขาดระบบการขนส่งทางราง 4. ผลกระทบด้านราคาสินค้าที่มีการนําเข้าจากอาเซียนด้วยกันซึ่งมีต้นทุนตํ่ากว่า 5. ผู้ประกอบการยังไม่มีตราสินค้าเป็นของตนเอง ขาดการออกแบบพัฒนา 6. ขาดการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมกลางนํ้าและปลายนํ้า โอกาส (Opportunities) 1. ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีต้นทุนแรงงานตํ่ากว่าไทย 2. ไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางของแหลมอินโดจีน 3. ใช้CLMV เป็นฐานการส่งออกไปนอก AEC เพื่อประโยชน์จากสถานะ Least Developed Countries: LDCs 4. การรับและแบ่งงานตามความถนัดในสายโซ่อุปทาน (Supply & Value Chain) มีความ ร่วมมือในการผลิตร่วมกันและใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ในการประกอบร่วมกัน โดยใช้จุดแข็ง ของแต่ละประเทศ อุปสรรค (Threats) 1. ประเทศอื่นในอาเซียนก็ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน 2. มีการแข่งขันมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่อาศัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นสําคัญ เน้นการจ้างงานช่างฝีมือภายในประเทศและประมาณร้อยละ 90 เป็น
  • 18.   18 ผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่ทําการผลิตเพื่อส่งออก วัตถุดิบของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ คือ ไม้ยางพารา จึง เกิดการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการเกษตรด้วย ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้ปลูกยางพารามากที่สุดในโลกและมีการนําไม้ยางพารามาใช้ประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องของไม้ยางพาราเกิดขึ้นในประเทศเป็นจํานวนมาก ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมย่อย 3 ส่วน คือ 1. อุตสาหกรรมต้นนํ้า เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการปลูกไม้ยางพาราทั้งหมด ได้แก่ การโค่นไม้ ยางพารา การชักลากไม้การเลื่อยไม้เป็นท่อน และการขนย้ายไม้จากสวนยางพาราไปจนถึงโรงเลื่อยไม้ 2. อุตสาหกรรมกลางนํ้าประกอบด้วยโรงเลื่อยไม้โรงอบไม้โรงงานผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด 3. อุตสาหกรรมปลายนํ้า ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน กับกลุ่มผลิตเครื่องเรือน โดยอุตสาหกรรมนี้จะนําแผ่นชิ้นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัดมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสําเร็จรูป ตลาดส่งออกที่สําคัญของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แต่ปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกกลับมีอัตราการเติบโตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อ เทียบกับประเทศคู่ค้าหลัก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากการ เปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เป็นแรงกดดันกระทบ โดยตรง ซึ่งก็คือคู่แข่งจากประเทศเวียดนาม จีน และมาเลเซียที่ หันมาสนใจการส่งออกเฟอร์นิเจอร์อย่างจริงจัง โดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ และมีการทําการตลาดเชิงรุก การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จุดแข็ง (Strengths) 1. อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ไม้สักป่าปลูก มีความพร้อมทั้งต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า 2. แหล่งวัตถุดิบธรรมชาติในประเทศไทยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การรวมกันเป็น Cluster ที่มีประสิทธิภาพ จุดอ่อน (Weaknesses) 1. ผู้ประกอบการไทยยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการตลาด รวมถึงการทําตลาด ต่างประเทศระดับโลก และการทําการตลาดเชิงรุกและการสร้างตราสินค้าอย่างจริงจัง 2. ขาดการลงทุนและการวิจัยพัฒนาด้านการออกแบบ 3. ขาดแคลนนักออกแบบทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในการออกแบบให้เหมาะสมกับ ตลาดสากล หรือตลาดแต่ละประเทศ รวมทั้งยังไม่สามารถออกแบบเชิงพาณิชย์ได้ดีพอ 4. อุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) เช่น ไม้Veneer เหล็ก ผ้า หนัง Fitting
  • 19.   19 กระจก ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงยังจําเป็นต้องพึ่งการนําเข้า ทําให้ความสามารถ การแข่งขันในตลาดโลกลดลง 5. ต้นทุนรวมอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าโสหุ้ย ของประเทศ ไทยสูงกว่าคู่แข่งขันมาก เช่น ประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย โอกาส (Opportunities) 1. ภาพลักษณ์ของสินค้าไทยดีที่ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในสายตาของผู้ซื้อต่างประเทศ 2. อุปสงค์ของตลาดอาเซียน เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการก่อสร้างเอื้อแก่ การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทย อุปสรรค (Threats) 1. ความไม่แน่นอนของความต้องการของตลาดที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในแต่ละแถบภูมิภาค 2. มีคู่แข่งขันรายใหม่ๆในอาเซียนเข้ามาในตลาดโลกซึ่งเวียดนามเริ่มก้าวมาเป็นคู่แข่งสําคัญ 3. ราคาวัตถุดิบผันผวนสูงตามกลไกตลาดและขาดแคลนในบางครั้งเนื่องจากวัตถุดิบขึ้นอยู่ กับฤดูกาล อีกทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบหลายรายหันไปส่งออกให้ประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ราคา สูงกว่าได้จึงมีอํานาจในการต่อรองมากกว่า กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสําคัญมาก ซึ่งยางพาราถือ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ อีกทั้งประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถปลูกยางได้ ด้วยสภาพ อากาศที่เหมาะสมทําให้ผลผลิตยางของประเทศไทยมีปริมาณมากและมีคุณภาพที่ดี และเป็นที่ต้องการใน ตลาดโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อุตสาหกรรมยางในประเทศไทยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมต้นนํ้าที่ทําหน้าที่ผลิต วัตถุดิบ ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่งมาตรฐาน และนํ้ายางข้น (อุตสาหกรรมยางดิบและอุตสาหกรรมนํ้ายาง ข้น) ส่วนอุตสาหกรรมปลายนํ้ามีหน้าที่ผลิตตัวผลิตภัณฑ์ยางให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมต้นนํ้า ของยางยังมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งผลิตยางสังเคราะห์ อุตสาหกรรมเคมีซึ่งผลิตสารเคมียาง และอุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอซึ่งผลิตวัตถุเสริมแรง ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตยางพาราประมาณ 3 ล้านตัน ต่อปี โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางดังกล่าวในรูปของยางแปรรูปขั้นต้นสูงถึง ร้อยละ 90 (คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 51 ของมูลค่าการส่งออกยางทั้งหมด) และที่เหลือเพียงร้อยละ 10 นํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่ม แต่มีมูลค่าถึงร้อยละ 49 ของทั้งหมด เนื่องจากภาคการผลิตของ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางยังขาดการเชื่อมโยงและไม่เอื้อต่อกัน ดังนั้น
  • 20.   20 หากมีการกําหนดทิศทางอุตสาหกรรมยางและมีการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบในการแปรรูปยางดิบไปเป็น ผลิตภัณฑ์ยาง จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง จุดแข็ง (Strengths) 1. ไทยปลูกยางและส่งออกวัตถุดิบยางธรรมชาติเป็นจํานวนมาก 2. ไทยมีศักยภาพและมีความสามารถในการแข่งขันสูงในเรื่องการผลิตและการแปรรูป ยางพารา โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก ต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า 20 ปี จุดอ่อน (Weaknesses) 1. ต้นทุนนํ้ายางข้นของไทยอยู่ในระดับสูง เนื่องจากโครงสร้างการปลูกยางของไทยเป็น เกษตรกรรายย่อย จึงมีต้นทุนการรวบรวมวัตถุดิบและค่าขนส่งสูง 2. ระบบโลจิสติกส์ในการส่งออกของไทยเสียเปรียบคู่แข่งสําคัญอย่างประเทศมาเลเซีย 3. เทคโนโลยีการผลิตยังล้าหลังกว่าคู่แข่งอย่างประเทศมาเลเซีย 4. ขาดความพร้อมด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น แม่พิมพ์แบบจุ่ม อะไหล่เครื่องจักร ซึ่ง ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ 5. ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของยางธรรมชาติ 6. กฎหมายถุงมือยางของไทยมีความเข้มงวดและบังคับให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในไทยเท่านั้น โอกาส (Opportunities) 1. แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียน จีน และอินเดีย ส่งผลให้มี ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น ช่วยทดแทนความต้องการใช้ยางพาราของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่ยังมีความผันผวนตามภาวะทางเศรษฐกิจ 2. การตื่นตัวและให้ความสําคัญในการป้องกันรักษาสุขภาพทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาค ครัวเรือน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมถุงมือยางมีการเติบโตดีขึ้น อุปสรรค (Threats) 1. ราคายางพารามีความผันผวนสูงและราคามีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงกว่าราคายางสังเคราะห์ 2. ผู้ผลิตยางรถยนต์พยายามคิดค้นเทคโนโลยีการพัฒนายางสังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติ ทดแทนยางธรรมชาติได้มากขึ้น เนื่องจากราคายางธรรมชาติมีความผันผวนสูงกว่าราคา ยางสังเคราะห์มาก ประกอบกับอุปทานยางสังเคราะห์สามารถตอบสนองอุปสงค์ได้ รวดเร็วกว่ายางธรรมชาติ 3. การแข่งขันรุนแรงขึ้น มีผู้ผลิตรายใหม่เกิดขึ้น 4. การนําเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ
  • 21.   21 กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนได้ถูกกําหนดจาก ภาครัฐให้เป็ นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมยานยนต์และ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้นนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีการ พัฒนาเคียงคู่กันมาตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องประดับตกแต่ง ยนต์มีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากปัจจุบันผู้ใช้รถยนต์มีแนวโน้มที่จะตกแต่งรถยนต์ ของตนเองมากขึ้น และเนื่องจากยานยนต์ต่างๆ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคจึงหันมาให้ความสนใจกับการ ตกแต่งและซ่อมแซมรถยนต์ใช้แล้วมากกว่าซื้อใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคจึงขึ้นอยู่กับ รสนิยมเป็นสําคัญ สําหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้น สิ่งที่มีผลต่อยอดจําหน่ายคือ อายุการใช้งานของรถยนต์ที่ใช้ ชิ้นส่วนนั้นๆ เนื่องจากอะไหล่รถยนต์เป็นสินค้าที่ใช้ร่วมกับรถยนต์ (Complement Product) เมื่อรถยนต์มีอายุ การใช้งานมากขึ้นก็ยิ่งมีความจําเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ทดแทนชิ้นส่วนที่เสื่อมอายุการใช้งานไป อย่างไรก็ตาม พัฒนาการด้านเทคโนโลยีทําให้อายุการใช้งานของอะไหล่รถยนต์ยืนยาวขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ในชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อการทดแทนเริ่มลดลง การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สามารถจําแนกตามระดับโครงสร้างการผลิตและลําดับได้ดังนี้ 1. ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 1 (First Tier) เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทอุปกรณ์ป้อนโรงงานประกอบ รถยนต์และรถจักรยานยนต์โดยตรง ซึ่งบริษัทต้องควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้สั่งซื้อกําหนด เช่น เครื่องยนต์เบรค ล้อ ระบบอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น 2. ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 2 (Second Tier) เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนย่อยหรือจัดหาวัตถุดิบเพื่อป้อนผู้ผลิต ชิ้นส่วนลําดับที่ 1 เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและโลหะการ พลาสติก ยาง เหล็ก เป็นต้น 3. ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 3 (Third Tier) เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาวัตถุดิบป้อนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนลําดับที่ 1 และ 2 การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ จุดแข็ง 1. ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีความชํานาญสูงในการผลิต แรงงานมีประสบการณ์