SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 49
Baixar para ler offline
 
	
  
d.
bootcamp
bootleg(Thai translation ฉบับภาษาไทย)
Check this out —
It’s the d.school bootcamp bootleg.
คู่มือเล่มนี้เขียนและรวมรวมขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการช่วยนำกระบวนการ Design
Thinking ไปใช้งานจริง คู่มือนี้เป็นคู่มือที่ไม่ได้ใช้สำหรับแค่การอ่าน แต่เหมาะ
สำหรับการนำไปใช้และทดลองจริงด้วยตัวท่านเอง เราคัดสรรขั้นตอนและวิธีการ
ออกแบบที่สำคัญจากกระบวนการ Design Thinking มารวมรวมในคู่มือฉบับนี้ ซึ่ง
กระบวนการและวิธีการเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้าง 7 ทัศนคติ (กล่าวถึงใน
หน้าถัดไป) ที่สำคัญต่อมุมมองของนักออกแบบเพื่อความเปลี่ยนแปลง
คู่มือฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา โดยเราได้ถอดความรู้จากการสอนวิชา
“Design Thinking Bootcamp” ซึ่งเป็นวิชาขั้นพื้นฐานของเรา มาพัฒนาจากคู่มือ
ฉบับแรกที่ได้เขียนขึ้นเมื่อปี 2009 โดยได้นำสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการสอนมาปรับ
เนื้อหาบางส่วนและเพิ่มเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆเข้ามา นอกจากนี้เนื้อหาการเรียนรู้
ในคู่มือนี้ยังเกิดจากการรวบรวมและถอดความรู้จากบุคคลและองค์กรที่แตกต่าง
หลากหลายทั้งผู้ทีีทำงานเกี่ยวข้องกับทางสถาบัน d.school โดยตรงและผู้ที่ทำงาน
ออกแบบอยู่ในที่ที่ห่างไกลออกไป ทางคณะทำงานสถาบัน d.school จึงขอขอบคุณ
ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการทำให้คู่มือเล่มนี้เกิดขึ้นได้
ทุกคนสามารถเข้าถึงและแบ่งปันคู่มือฉบับนี้กับผู้อื่นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเราหวังว่า
ทุกท่านจะได้ประโยชน์ในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานจริง เราขอเพียงให้ทุกท่านทำ
ตามข้อบังคับที่บัญญัติไว้ใน Creative Commons license (Attribution-
NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported License) ที่ระบุการใช้งานเพื่อ
เป็นการศึกษาและให้กับสาธารณะ ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อบัญญัติเพิ่มได้ที่ http://
creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/3.0/
ทางเรายินดีที่จะรับฟังคำแนะนำและความคิดเห็นต่อคู่มือฉบับนี้ กรุณาแบ่งปันเรื่อง
ราวจากการใช้คู่มือในการปฏิบัติงานจริง ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เป็นประโยชน์ ควร
ปรับปรุง หรือแม้กระทั่งวิธีการใหม่ที่ท่านได้ค้นพบด้วยตัวเอง เขียนหาเราได้ที่:
bootleg@dschool.stanford.edu
ขอบคุณ,
The d.school
A note to the Stanford d.school team and readers—
ข้อความถึงทีมงาน Stanford d.school และผู้อ่าน
Thank you the Stanford d.school team for letting us translate the d.school
bootleg bootcamp in Thai. This translation of the d.school bootcamp
bootleg is a collective effort from a group of Stanford Alumni who have
taken classes at the Stanford d.school as well as design thinking
practitioners in Thailand who have all benefited from applying the Design
Thinking process to tackle both social impact and business challenges. This
effort is an attempt to make this tool more accessible to the Thai audience.
We hope that the Thai translation of the d.school bootcamp bootleg will be
valuable to our Thai audience and if there is anything that could be better
improved please e-mail to share your feedback at bootlegthai@gmail.com.
Thank you!
Viria Vichit-Vadakan +
Translators & Editors team
ขอขอบคุณ ทีมงานจาก d.school มหาวิทยาลัย Stanford ที่ได้ให้ความไว้วางใจใน
การแปลคู่มือ Design Thinking คู่มือฉบับนี้เป็นความร่วมมือจากศิษย์เก่าจาก
มหาวิทยาลัย Stanford และกระบวนกรที่ได้รับประโยชน์จากการนำกระบวนการ
Design Thinking ไปปรับใช้ในส่วนการทำงานในการแก้ปัญหาทั้งโจทย์ทางสังคม
และทางธุรกิจ
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการแปลฉบับนี้จะเป็นประโยชน์หรับท่านผู้อ่าน และหาก
ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำอย่างไรสามารถติดต่อเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่
bootlegthai@gmail.com
ขอบคุณ,
วิริยา วิจิตรวาทการ
+ ทีมงานผู้แปลและผู้เรียบเรียง
A thank you note to translators and editors—
ข้อความขอบคุณผู้แปลและผู้เรียบเรียง
Thank you to all our translators and editors. This translation would not have been
successful without the help of our committed translators and editors.
ขอขอบคุณผู้แปลและผู้เรียบเรียงทุกท่าน คู่มือการแปลชุดนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่ได้รับ
ความช่วยเหลือและความตั้งใจจากผู้แปลและผู้เรียบเรียงทุกท่าน
ผู้แปล Translators
วิริยา วิจิตรวาทการ Viria Vichit-Vadakan
เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล May Sripatanaskul
กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Kaweewut Temphuwapat
ชูวิญญาณ์ จิตติกุลดิลก Chuwinya Chittikuladilok
ปณิธิตา วิทยศรีเจริญ Panithita Vithayasricharoen
ปิธน วิทยศรีเจริญ Pete Vithayasricharoen
ผู้เรียบเรียง Editors
วีระพงศ์ โก Werapong Goo
พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ Prowpannarai Mallikamarl
แพรวา สาธุธรรม Praewa Satutum
กิตติศักดิ์ ปัญญาจิรกุล Kittisuk Panyajirakul
ขอขอบคุณหน่วยงาน G-Lab, ALA, และ TSEO ที่ทำงานร่วมกันในการขยายคู่มือการแปลฉบับ
นี้ให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง
Thank you our partners G-Lab, ALA, and TSEO for helping to spread
awareness of d.school bootleg bootcamp Thai translation
Partners
ศูนย์นวัตกรรมสังคม G-Lab วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสศตร์
(G-Lab, School of Global Studies, Thammasat University) www.sgs.tu.ac.th,
Asian Leadership Academy (ALA) www.asianleadershipacademy.com, และ
สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (Thai Social Enterprise Office) www.tseo.or.th
ให้ความสำคัญกับการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายการ
เข้าใจคนหรือกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งโดยการ
เอาใจเขามาใส่ใจเราและการฟังความคิดเห็นจาก
กลุ่มเป้าหมายตลอดทั้งกระบวนการออกแบบเป็น
พื้นฐานที่สำคัญในการออกแบบที่ดี
การร่วมมือร่วมใจ
รวมตัวนวัตกรที่มีประสบการณ์ พื้นเพและ
ทัศนคติที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์
มุมมองและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ก่อตัวจากความ
หลากหลายของทีม
ให้ความสำคัญกับการทดลอง
การสร้างตัวต้นแบบ (prototype) ไม่ได้ทำเพียง
เพื่อพิสูจน์ไอเดียของคุณเท่านั้น แต่เราสร้างแบบ
จำลองเพื่อการคิดต่อยอดและเรียนรู้เกี่ยวกับไอ
เดียของเรามากขึ้นระหว่างกระบวนการ	
การสร้าง Prototype เป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรนำ
มาบูรณาการใช้ตลอดทั้งกระบวนการสร้างสรรค์
นวัตกรรม
สื่อให้เห็นโดยไม่ต้องบอก	
สื่อสารความคิดได้อย่างมีพลังและมีความหมายด้วยการ
สร้างประสบการณ์ผ่านสื่อรูปภาพและการเล่าเรื่องที่สนุก
และเป็นประโยชน์
คำนึงถึงทั้งกระบวนการ	
รู้ว่าเราอยู่ตรงไหนในกระบวนการออกแบบ
เรากำลังใช้วิธีการอะไรในขั้นตอนนั้น และ
เป้าหมายที่เราต้องการคืออะไร
ตั้งกรอบปัญหาให้ชัด	
สร้างกรอบวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจนเพื่อ
กระตุ้นการออกความคิดเห็นที่สร้างสรรค์
ต่อโจทย์ที่ท้าทาย
เน้นการลงมือทำ	
กระบวนการ Design Thinking เป็นกระบวนการที่
เน้นการเรียนรู้จากการลงมือทำมากกว่าการคิด
อย่างเดียว
d.mindsets
MODE
การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย คืออะไร
ทำไมต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย?
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือ การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (empathy) เป็นพื้นฐานที่สำคัญในกระบวนการ Design
Thinking 	
	
เราสามารถทำได้โดย	
- การสังเกตการณ์ คือการสังเกตพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายในสภาพแวดล้อมจริง
- การมีส่วนร่วมและการพูดคุย คือการพูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อเรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจเป็นการนัด
สัมภาษณ์หรือการแวะเยี่ยมอย่างสั้นๆโดยไม่ได้บอกล่วงหน้าก็ได้
-  ร่วมประสบการณ์จริง คือการเข้าไปสัมผัสประสบการณ์เดียวกับที่กลุ่มเป้าหมายสัมผัสในบริบทจริง	
หน้าที่สำคัญของเราคือการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เราออกแบบให้ เนื่องจากปัญหาที่เราพยายามแก้ไขส่วนใหญ่
ไม่ใช่ปัญหาของตัวเราเองแต่เป็นปัญหาของผู้อื่น ดังนั้นการที่จะออกแบบหรือพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้า
หมาย เราต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใครและสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือให้ความสำคัญ
คืออะไร	
การสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมจริงช่วยให้เราเข้าใจความรู้สึก ความคิด ความ
ต้องการและการตัดสินใจของพวกเขาได้ดีขึ้น การสังเกตทำให้เรามองเห็นประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
จากการกระทำและคำพูด ซึ่งจะทำให้คุณสามารถแปลความหมายที่จับต้องไม่ได้จากประสบการณ์เหล่านั้นไปสู่ความ
เข้าใจที่ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงพฤติกรรมของผู้ใช้เหล่านี้นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถแก้
ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากกว่าที่คุณ
คิด เพราะจิตของเรามักจะกรองข้อมูลที่สำคัญบางอย่างทิ้งไปโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้ที่จะมอง
โลกด้วยมุมองที่สดใหม่และใจที่เปิดกว้าง -- เราสามารถพัฒนาความสามารถนี้ผ่านเครื่องมือและกระบวนทรรศน์
ของ human-centered design	
	
นอกจากนี้ การเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้เราได้รู้ถึงค่านิยมและความคิดของ
พวกเขาได้ดีขึ้น ในบางครั้งตัวกลุ่มเป้าหมายเองอาจไม่รู้ชัดถึงค่านิยมและความคิดของตนเอง การเข้าไปคลุกคลีกับ
ผู้ใช้อย่างใกล้ชิดสามารถทำให้เราค้นพบความคิดและความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ได้อย่างน่าประหลาดใจ เรื่องราวที่พวก
เขาเล่าเป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อของพวกเขาได้เป็นอย่างดี (ถึงแม้ว่ามันจะแตกต่างกับสิ่งที่เขาทำจริงๆ) การ
ออกแบบที่ดีเกิดขึ้นจากการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงค่านิยมและความเชื่อของผู้ใช้นี่เอง	
เราเข้าไปคลุกคลีเพื่อ (๑) ค้นหาความต้องการที่พวกเขาอาจจะรู้หรือไม่รู้ตัว (๒) ชี้นำวิถีการพัฒนานวัตกรรม (๓)
เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่ใช่คือใคร (๔) ค้นพบอารมณ์ที่เป็นรากฐานของพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย	
นอกจากการคุยและสังเกตผู้ใช้แล้ว เราควรจะเข้าไปลองสัมผัสประสบการณ์โดยตรงในเรื่องที่เรากำลังพยายาม
แก้ไข เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้ของเราพบเจออยู่อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
MODE
:: 1 ::
การตั้งกรอบปัญหา (define) เกิดขึ้นเมื่อเราสังเคราะห์สิ่งที่ได้ค้นพบจากขั้นตอนการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
(empathize) ไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา เป้าหมายสำคัญของการตั้งกรอบปัญหา
คือการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและบริบทของปัญหาให้ได้หยั่งลึกมากยิ่งขึ้น และนำความเข้าใจที่ลึกซึ้งนี้มาตั้ง
โจทย์ปัญหาที่นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ (actionable problem statement) ซึ่งกรอบปัญหานี้ควรจะเน้นไปที่กลุ่มเป้า
หมายที่เฉพาะเจาะจงและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าไปคลุกคลีทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้	
	
ดังนั้น แทนที่สักแต่ว่าตั้งโจทย์ปัญหาขึ้นมาเพื่อจะทำอะไรบางอย่าง เราควรตั้งกรอบปัญหาบนพื้นฐานของความรู้
ความเข้าใจจากการได้ไปใช้ประสบการณ์ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย โจทย์ปัญหาที่ตั้งขึ้นอย่างมีความหมายและความ
เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งนี้เป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในกระบวนการการออกแบบวิธี
การแก้ปัญหา	
การตั้งกรอบปัญหาเป็นหัวใจหลักในกระบวนการออกแบบเพราะมันช่วยให้เรามองเห็นโจทย์ปัญหาสำคัญที่เราจะ
มุ่งเน้นในการแก้ไขได้อย่างชัดเจน ในหลายกรณีเราอาจจะต้องปรับโจทย์ปัญหาใหม่หลังจากได้เพิ่มพูนความ
เข้าใจใหม่ ๆ ที่ลึกซึ้งมากขึ้นระหว่างกระบวนการออกแบบของเรา กรอบปัญหาที่ตั้งอย่างเฉพาะเจาะจงและมี
ความหมายจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการคิดค้นไอเดียสร้างสรรค์ในการหาทางออกให้ปัญหาต่อไป	
	
กรอบปัญหาที่ดีคือโจทย์ปัญหาที่ 	
•  โฟกัสขอบเขตของปัญหาให้พุ่งไปที่ประเด็นที่สำคัญ	
•  สามารถจุดประกายไอเดียจากคนในทีม	
•  เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการประเมินไอเดียต่างๆได้	
•  สามารถทำให้สมาชิกในทีมคิดและตัดสินใจด้วยตนเองได้ไปคู่ขนานกันได้	
•  เปิดกว้างต่อการระดมความคิดโดยคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “เราจะ. . .ได้อย่างไร” (how might we…?)	
•  สามารถจับใจคนที่เราพบเจอ	
•  ช่วยวางขอบเขตการทำงานที่เป็นไปได้ในเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่กว้างจนเกินไป	
•  ช่วยชี้นำแนวทางการสร้างนวัตกรรม
การตั้งกรอบปัญหา คืออะไร
ทำไมต้องตั้งกรอบปัญหา
ตั้งกรอบปัญหา
MODE
:: 2 ::
การระดมความคิด (ideate) คือขั้นตอนในกระบวนการออกแบบซึ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ไอเดียที่จะตอบโจทย์
ปัญหาที่แตกต่างหลากหลายรวมไปถึงความคิดแปลกใหม่จากแนวคิดเดิมๆ กระบวนการนี้เป็นขั้นตอนที่เราเน้น
การ “เปิดกว้าง”สำหรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ เราไม่ควรจำกัดขอบเขตความคิดของตัวเองด้วยความกังวลในตัว
แนวคิดและผลงานสุดท้ายในขั้นตอนนี้ เป้าหมายของการระดมความคิดคือการได้ทั้ง “ปริมาณ” และ “ความ
หลากหลาย” ของความคิดวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆให้มากที่สุด	
ไอเดียที่ได้จากการระดมความคิดในขั้นตอนนี้ สามารถนำไปสร้างตัวต้นแบบ (prototype) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย
ได้ทดลองจริงในขั้นตอนถัดไป
การระดมความคิดเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการตีกรอบปัญหาไปสู่การสร้างสรรค์หาหนทางแก้ไข้ปัญหา
(solutions) สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เราใช้การระดมความคิดในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อ	
	
•  ก้าวข้ามทางออกเดิมๆหรือ solution ที่ชัดเจนอยู่แล้วไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ	
•  ใช้มุมมองความคิดและจุดแข็งที่แตกต่างต่างหลากหลายของคนในทีมให้เป็นประโยชน์	
•  ค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน	
•  สร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ที่เน้นทั้งการได้ปริมาณความคิดที่มากและมีความหลากหลายสูง	
	
ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการใดก็ตามในการระดมความคิด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือให้มีความเข้าใจชัดเจนว่า ขั้นตอนไหนที่
ทีมงานกำลังเน้นการระดมความคิดในเชิงปริมาณ และขั้นตอนไหนที่ทางทีมกำลังประเมินคุณภาพของไอเดียทั้ง
หลาย เราควรจัดแจงขั้นตอนให้แยกกันอย่างชัดเจน 	
	
การระดมความคิด คืออะไร
ทำไมถึงต้องระดมความคิด
ระดมความคิด
MODE
:: 3 ::
โดยทั่วไปแล้ว เรามักนึกถึงการสร้างต้นแบบในแง่ของการทดสอบเชิงฟังก์ชั่นหรือการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เรา
สามารถสร้างต้นแบบเพื่อเหตุผลอื่นๆได้ดังต่อไปนี้
•  การสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (empathy gaining): การสร้างต้นแบบเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้าง
ความเข้าใจปัญหาและกล่มเป้าหมายให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น แม้กระทั้งตั้งแต่ขั้นตอนก่อนที่จะสร้างหนทางในการแก้
ปัญหา (Pre-solution phase)
•  การสำรวจ (exploration): สร้างต้นแบบเพื่อ “การคิด” ผ่านการสร้างแบบจำลองความคิดหลายๆแบบเพื่อ
ทำการเปรียบเทียบการตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 	
•  การทดสอบ (testing): สร้างต้นแบบ (และบริบทแวดล้อมของต้นแบบ) เพื่อทดสอบและขัดเกลาหนทางแก้
ปัญหาร่วมกับผู้ใช้ 	
•  การสร้างแรงบันดาลใจ​ (inspiration): เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น (เช่นสมาชิกในทีม ลูกค้า
ผู้ใช้ นักลงทุน) โดยการสร้างต้นแบบที่สื่อถึงวิสัยทัศน์ของเรา	
	
เราสร้างต้นแบบเพื่อ:	
•  การเรียนรู้: การสื่อความหมายทางภาพสามารถสื่อความหมายได้มีประสิทธิภาพกว่าตัวหนังสือและคำอธิบาย
หากภาพหนึ่งภาพสามารถสื่อความหมายได้เท่ากับหนึ่งพันคำ ต้นแบบหนึ่งชิ้นก็สามารถสื่อความหมายได้
เท่ากับรูปภาพหนึ่งพันรูป	
•  การแก้ไขข้อขัดแย้ง: ต้นแบบเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่ช่วยในการระดมความคิด และการขจัดความคลุมเครือ
และสร้างความชัดเจนในการสื่อสาร 	
•  การเริ่มบทสนทนา: ต้นแบบช่วยในการจุดประกายให้เกิดบทสนทนาที่หลากหลายร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย 	
•  การล้มเหลวที่รวดเร็วโดยไม่เจ็บตัว: การสร้างต้นแบบอย่างหยาบขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถทดสอบ
ไอเดียจำนวนมากได้โดยไม่เสียเวลาและเงินมากนักในช่วงเริ่มต้น	
•  กระบวนการพัฒนาหนทางแก้ไขปัญหา: การสร้างต้นแบบช่วยให้คุณสามารถย่อยปัญหาใหญ่ให้มีขนาดเล็ก
ลง และจัดการได้ง่ายขึ้น
การสร้างต้นแบบ (prototype) คือการแปลงความคิดออกมาแสดงให้เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบทาง
กายภาพใดก็ได้ที่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ เช่น การสื่อสารผ่านกระดาษโน้ต Post-It การแสดงละคร พื้นที่
วัตถุสิ่งของ อินเตอร์เฟส หรือแม้แต่การเขียนสตอรี่บอร์ด โดยความละเอียดของต้นแบบที่สร้างขึ้นควรล้อไปกับ
ความก้าวหน้าของโครงการหรือกระบวนการออกแบบได้อย่างเหมาะสม โดยในช่วงแรกนั้น ควรสร้างต้นแบบ
อย่างหยาบที่สร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้นมาก่อน เพื่อที่จะได้สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆและพิจารณาความเป็น
ไปได้อื่นๆที่หลากหลาย	
	
ต้นแบบจะประสบความสำเร็จที่สุดก็ต่อเมื่อ ผู้คน (ทีมออกแบบ ผู้ใช้ และคนอื่นๆ) สามารถสัมผัสประสบการณ์
และมีปฏิสัมพันธ์กับตัวต้นแบบได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
และสามารถนำไปสู่หนทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ	
ต้นแบบ คืออะไร
ทำไมเราถึงสร้างต้นแบบ
ต้นแบบ
MODE
•  เพื่อพัฒนาปรับปรุงต้นแบบและหนทางแก้ปัญหา (Solution)ให้ดีขึ้น โดยการทดสอบจะช่วยชี้นำการกลับไป
พัฒนาและปรับปรุงแบบจำลองในรอบใหม่ (Iterate) 	
•  เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น การทดสอบเป็นโอกาสให้เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยการสังเกต
และการพูดคุยหรือมีส่วนร่วม ซึ่งบ่อยครั้งเรามักจะได้มุมมองที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน 	
•  เพื่อทดสอบและปรับปรุงกรอบปัญหา ในบางครั้งการทดสอบไม่ได้เป็นการวัดแต่เพียงว่าสิ่งที่เราคิดค้นนั้นจะตอบ
โจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้นได้หรือไม่แต่เป็นการทดสอบว่าโจทย์ปัญหาที่ตั้งนั้นถูกหรือผิด 	
การทดสอบคือโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนาไอเดียของเราให้ดียิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาและปรับแก้อย่างไม่หยุดนิ่ง (Iterative) โดยการนำต้นแบบที่มีความละเอียดต่ำมาทดลองกับกลุ่มเป้า
หมายในบริบทจริงหรือเสมือนจริงเพื่อทดสอบว่าความเข้าใจของเราเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้เรา
ควรสร้างต้นแบบราวกับว่าเรารู้ว่าเราทำถูก แต่ทดสอบให้เหมือนกับว่าเรารู้ว่าเราจะมีจุดผิดพลาด
การทดสอบคืออะไร
ทำไมต้องทดสอบ
ทดสอบ
MODE
:: 5 ::
คิดแบบผู้เริ่มต้น
METHOD
ทำไมต้องคิดแบบผู้เริ่มต้น (Beginner’s mindset)
คิดแบบมือใหม่ทำอย่างไร
เราทุกคนล้วนมีประสบการณ์ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญของตัวเองที่สั่งสมมา ซึ่งคุณลักษณะเฉพาะเหล่านี้
เป็นสิ่งที่มีค่ามากในกระบวนการการออกแบบ อย่างไรก็ตามเราควรเลือกใช้สมบัติล้ำค่าเหล่านี้เฉพาะในช่วง
เวลาที่เหมาะสมอย่างเจตนา ในบางครั้งสมมุติฐานหรือมุมมองที่คุณยึดถืออาจเป็นเพียงมายาคติหรือเป็นการ
ด่วนตัดสิน จนทำเป็นข้อจำกัดต่อการสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ลึกซึ้ง การคิดแบบผู้เริ่มต้นจึงเป็นการ
ป้องกันไม่ให้เกิดการด่วนตัดสิน และช่วยให้สามารถออกแบบได้อย่างสดใหม่มีชีวิตชีวา	
อย่าด่วนตัดสิน (Don’t judge) เฝ้าคอยสังเกตและคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายโดยปราศจากอคติต่อการกระทำ
สถานการณ์ การตัดสินใจ และปัญหาของพวกเขา	
ตั้งคำถามเกี่ยวกับทุกสิ่ง (Question everything) ถามแม้กระทั่งสิ่งที่คุณคิดว่ารู้คำตอบอยู่แล้ว การตั้งคำถาม
ช่วยให้เราได้เรียนรู้ถึงวิธีการมองโลกของกลุ่มเป้าหมาย ลองคิดถึงเด็ก 4 ขวบที่คอยถามว่า “ทำไม” เกี่ยวกับทุก
สิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา และ ให้ถามว่า “ทำไม” ต่อไปอีกหลังจากได้รับคำตอบจากคำถาม “ทำไม” ก่อนหน้า
แล้ว	
ช่างสงสัยในทุกสิ่ง (Be truly curious) กระตือรือร้นที่จะแสดงความสงสัยใคร่รู้ออกมา ทั้งในสถานการณ์ที่คุ้น
เคยหรือไม่คุ้นชิน	
มองหาแบบแผน (Find patterns) หาความเชื่อมโยงและธีมหรือหัวข้อที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นระหว่างการมี
ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย	
รับฟังอย่างตั้งใจ (Listen. Really) อย่ายึดติดกับแผนที่คุณวางไว้มากเกินไป ปล่อยให้ตัวคุณได้ซึมซับกับ
เหตุการณ์ตรงหน้าอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายพูดให้คุณฟัง และวิธีที่พวกเขาพูด โดยไม่พะวงถึง
แต่สิ่งที่คุณกำลังจะพูดต่อไป	
:: 6 ::
ทำไมต้องถามว่า อะไร? | อย่างไร? | ทำไม?
วิธีการถาม อะไร? |อย่างไร? | ทำไม?
ในระหว่างขั้นตอนการเฝ้าสังเกตกลุ่มเป้าหมาย การถามว่า อะไร? | อย่างไร? | ทำไม? เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณ
ทำการสังเกตได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น คำถามง่ายๆเหล่านี้ช่วยให้เราเปลี่ยนจากการสังเกตเพียงสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่
การสังเกตที่ลึกซึ่งลงไปให้เห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างอารมณ์หรือแรงขับดันที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่คุณกำลังเฝ้า
สังเกต การถามเช่นนี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปถ่ายจากการลงพื้นที่ได้อย่างดี โดยจะช่วยทั้งในการ
สังเคราะห์และการชี้นำแนวทางในการค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่อไป
การเตรียมการ: นำกระดาษมา 1 แผ่น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน แล้วเขียน: อะไร?,อย่างไร?, และ ทำไม?
เริ่มจากการสังเกตสิ่งที่เป็นรูปธรรม (อะไร):
บุคคลที่เราสังเกตอยู่ กำลังทำอะไรในเหตุการณ์นี้หรือในรูปภาพนี้ เขียนอธิบายด้วยคำคุณศัพท์และคำอธิบายเชิง
เปรียบเทียบ	
เคลื่อนไปสู่การทำความเข้าใจ (อย่างไร):
บุคคลที่เราสังเกตทำสิ่งที่เขากำลังอยู่ด้วยกริยาท่าทางอย่างไร ต้องใช้ความพยายามมากหรือไม่ ดูเร่งรีบหรือเปล่า
มีสีหน้าเจ็บปวดหรือไม่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบในทางบวกหรือลบต่อบุคคลนั้น ใช้หลายๆวลีและประโยคที่
อธิบายได้อย่างชัดเจน	
ก้าวสู่การวิเคราะห์และตีความ (ทำไม):
ทำไมบุคคลที่เราสังเกตจึงทำสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ และทำไมจึงมีอากัปกริยาเช่นนั้น โดยปกติในขั้นตอนนี้จะต้องใช้
การตีความและการคาดเดา(ที่สมเหตุสมผล)ถึงแรงจูงใจและอารมณ์ในสถานการณ์นั้นๆ เครื่องมือนี้จะช่วยเผย
สมมุติฐานที่จะคุณควรจะนำมาทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย และบ่อยครั้งยังช่วยทำให้ค้นพบสิ่งที่ไม่คาดคิดในเหตุกา
รณ์นั้นๆอีกด้วย
อะไร? | อย่างไร? | ทำไม?
METHOD
:: 7 ::
การใช้กล้องเพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
METHOD
ทำไมจึงใช้กล้องเพื่อช่วยศึกษา
เราจะใช้กล้องเพื่อช่วยศึกษาได้อย่างไร
ในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เราอยากเข้าใจการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของพวกเขาในบริบทจริงในชีวิต
ของกลุ่มเป้าหมาย การใช้กล้องเป็นตัวช่วยในการศึกษาชีวิตทำให้เราเข้าใจประสบการณ์ของพวกเขาผ่าน
สายตาของกลุ่มเป้าหมายเอง และอาจช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมของพวกเขาที่โดยปกติแล้วคุณอาจไม่
สามารถเข้าถึงได้
1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจจะเรียนรู้จากมุมมองของพวกเขา
2. อธิบายจุดประสงค์ของในการศึกษาโดยสังเขป และขอความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายว่าสามารถถ่ายภาพ
ประสบการณ์ต่างๆในชีวิตของพวกเขาได้หรือไม่ และขออนุญาตใช้ภาพที่เขาถ่ายไว้	
3. ให้กล้องแก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งบอกหัวข้อและความต้องการของเรา ตัวอย่างเช่น “เราอยากเข้าใจว่าชีวิต
ใน 1 วันของคุณเป็นอย่างไร โดยช่วยถือกล้องตัวนี้ไปติดกับคุณตลอดเวลา และถ่ายรูปประสบการณ์ต่างๆที่คุณ
คิดว่าสำคัญ” หรือ “ช่วยถ่ายทอดประสบการณ์(ประจำวันตอนเช้า) ของคุณผ่านกล้องตัวนี้ได้ไหม” หรือ “ช่วย
ถ่ายรุปสิ่งที่อยู่ในครัวที่มีความหมายต่อคุณ” สิ่งที่สำคัญคือเราควรตั้งกรอบของคำถามให้กว้างกว่าสิ่งที่คุณคิด
ว่าเป็นขอบเขตปัญหา เพื่อขยายการเรียนรู้ถึงบริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจค้นพบสิ่งใหม่ๆที่น่าสนใจทีอาจมี
ความเชื่อมโยงกับกรอบปัญหาที่เราสนใจ	
4.หลังจากนั้น ขอให้กลุ่มเป้าหมายเล่าเรื่องราวจากรูปภาพเหล่านั้นและอธิบายความสำคัญของสิ่งต่างๆที่พวกเขา
บันทึกภาพไว้ ผู้สัมภาษณ์ควรตั้งคำถามที่ทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกและประสบการณ์ที่พวกเขาบอกเล่าผ่าน
ภาพถ่ายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
:: 8 ::
การเตรียมตัวเพื่อสัมภาษณ์
ทำไมต้องเตรียมการสัมภาษณ์
จะเตรียมการสัมภาษณ์อย่างไร
	
เวลาที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายทุกนาทีมีค่ามาก เราควรใช้เวลาที่มีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แม้ว่าเราควรจะเปิด
พื้นที่ให้กับการพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติและลื่นไหลไปตามที่หัวข้อที่กลุ่มเป้าหมายพาเราไป แต่เราก็ไม่ควร
ปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะเตรียมการสัมภาษณ์ล่วงหน้า การเตรียมการสัมภาษณเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยโดย
เฉพาะการสัมภาษณ์เพื่อติดตามผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย (เช่น หลังจากที่ได้ทดสอบแบบจำลองแล้ว) คุณ
อาจไม่ได้ถามทุกคำถามที่เตรียมมา แต่อย่างน้อยก็ควรมีแผนการเผื่อไว้ก่อน
ระดมความคิดสำหรับการตั้งคำถาม	
เขียนคำถามที่เป็นไปได้ทุกคำถามที่ทีมคิดออก พยายามต่อยอดจากความคิดของคนในทีม เพื่อให้ได้มาซึ่งหัวข้อ
คำถามที่สำคัญและมีความหมาย	
	
มองหาธีมและจัดลำดับความสำคัญ	
	
ขั้นตอนนี้คล้ายกับการจัดกลุ่มในขั้นตอนการสังเคราะห์ข้อมุล เรามองหาธีมได้โดยการหาหัวข้อสำคัญที่เชื่อมโยง
กลุ่มคำถามที่เกี่ยวเนื่องกันเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นให้พิจารณาลำดับคำถามที่จะทำให้การสนทนาลื่นไหลได้อย่าง
เป็นธรรมชาติที่สุด การทำแบบนี้สามารถช่วยให้คุณสัมภาษณ์ได้อย่างเป็นระบบและมีทิศทาง และลดความเสี่ยง
ที่จะเกิดบทสนทนาที่สะเปะสะปะกับกลุ่มเป้าหมายของเรา	
ขัดเกลาคำถาม	
หลังจากที่คุณจัดกลุ่มคำถามตามธีมและจัดลำดับความสำคัญแล้ว เราอาจพบว่ามีบางคำถามที่ซ้ำซ้อนหรือดู
แปลกไม่เข้าพวกกับคำถามอื่นๆสักเท่าไหร่ ให้ลองใช้เวลาสักครู่ในการทบทวนคำถามและเปิดทางพื้นที่มากขึ้น
ให้แก่คำถามที่ขึ้นต้นด้วย “ทำไม...” หรือคำถามที่เน้นเรื่องราวเช่น “ช่วยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งสุดท้าย
ที่คุณ....” และคำถามที่เน้นการเข้าถึงความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย
:: 9 ::
METHOD
การสัมภาษณ์เพื่อเข้าใจ
สัมภาษณ์อย่างไร
เราต้องการเข้าใจถึงความคิด ความรู้สึกและแรงจูงใจของผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อที่จะเรียนรู้ว่าจะสร้างสรรค์ทางออก
เพื่อตอบโจทย์เขาหรือเธอได้อย่างไร เมื่อเราเข้าใจการตัดสินใจและพฤติกรรมของบุคคลนั้น เราก็จะสามารถค้นพบ
ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงและสามารถออกแบบเพื่อสนองความต้องการเหล่านั้นได้
ถามว่า ”ทำไม” แม้ในสิ่งที่คุณคิดว่ารู้คำตอบอยู่แล้ว คุณก็ควรที่จะถามว่าทำไมพวกเขาจึงทำหรือพูดแบบนั้น
เพราะบางครั้งคำตอบที่ได้รับก็อาจทำให้คุณประหลาดใจ บทสนทนาที่เกิดขึ้นจากคำถามหนึ่งคำถามควรดำเนินต่อ
เนื่องไปเรื่อยๆ เท่าที่เห็นสมควร	
	
ไม่พูดว่า “โดยปกติแล้ว” ในการถามคำถาม แต่ควรถามถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น “ช่วยเล่า
ให้ฟังหน่อยสิ(ครับ/ค่ะ) ถึงครั้งสุดท้ายที่คุณ... “	
กระตุ้นให้เล่าเรื่อง การเล่าเรื่องเปิดเผยวิธีการคิดและการมองโลกของผู้คน ไม่ว่าเรื่องเล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ตาม
ดังนั้นจึงควรถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดการเล่าเรื่อง	
มองหาสิ่งที่ขัดแย้งกัน บางครั้งสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายพูดและสิ่งที่พวกเขากระทำอาจแตกต่างกัน ความขัดแย้งแบบนี้มัก
จะซ่อนข้อมูลลึกๆที่น่าสนใจบางอย่างไว้	
ให้ความสนใจกับอวัจนภาษา ให้สังเกตภาษากายและอารมณ์ของผู้พูดให้ดี	
อย่ากลัวความเงียบ ผุ้สัมภาษณ์มักรู้สึกว่าจะต้องถามคำถามถัดไปเมื่อเกิดความเงียบระหว่างการสนทนา แต่หาก
คุณลองปล่อยให้อีกฝ่ายหยุดคิดเงียบๆระหว่างการสนทนา ผู้ถูกสัมภาษณ์ก็จะมีเวลาไตร่ตรองถึงสิ่งที่เขาเพิ่งพูดไป
และอาจเผยถึงข้อมูลที่ลึกซึ้งกว่าเดิม	
ไม่ชี้นำคำตอบ แม้ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะหยุดคิดก่อนตอบคำถาม คุณก็ไม่ควรช่วยเหลือพวกเขาโดยการแนะคำตอบ
เพราะอาจทำให้ผู้ถูกถามตอบคำถามในสิ่งที่ตรงกับความคาดหวังของคุณเองโดยไม่ได้ตั้งใจ	
ถามคำถามอย่างเป็นกลาง “คุณคิดอย่างไรกับการซื้อของขวัญให้คู่ครอง?” เป็นคำถามที่ดีกว่า “คุณไม่คิดหรือ
ว่าการช็อปปิ้งเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม” เพราะคำถามแรกไม่ได้ชี้นำว่ามีคำตอบที่ถูกต้องอยู่แล้ว	
ไม่ถามคำถามที่มีแค่สองตัวเลือก ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถตอบคำถามแบบนี้ได้ด้วยคำเพียงหนึ่งคำ คุณต้องการบท
สนทนาที่เต็มไปด้วยเรื่องราว	
ใช้เพียง 10 คำในหนึ่งคำถาม ถามคำถามที่กระชับ ประกอบด้วยคำไม่เกินสิบคำ เพราะผู้ถูกสัมภาษณ์อาจงุนงงกับ
คำถามที่ยืดยาวจนเกินไป
ถามทีละคำถาม และถามทีละคน ยับยั้งความอยากที่จะระดมคำถามใส่ผู้ถูกสัมภาษณ์แบบพรั่งพรู	
เตรียมพร้อมที่จะเก็บข้อมูล พยายามไปสัมภาษณ์เป็นคู่ทุกครั้ง ถ้าไม่สามารถเป็นไปได้ก็ควรจะใช้เครื่องอัดเสียง
(voice recorder) มันเป็นไปได้ยากที่จะสัมภาษณ์และปฏิสัมพันธ์กับผู้ถูกสัมถาษณ์ โดยที่จดรายละเอียดไปในเวลา
เดียวกัน	
นำเสนอ
โปรเจกต์
แนะนำ
ตัวเอง
สร้างความ
สัมพันธ์
กระตุ้น
เรื่องราว
สำรวจ
ความรู้สึก
สอบถาม
เพิ่มติม
ขอบคุณ
และสรุป
เวลา
METHOD
ทำไมถึงต้องสัมภาษณ์
:: 10 ::
เราสัมภาษณ์และพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจความต้องการและค้นหาสิ่งที่สำคัญในชีวิตของพวก
เขา นอกจากนี้เรายังสามารถหาแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาที่พวกเขาใช้และเรียนรู้กรอบความคิด
ของพวกเขา บ่อยครั้งเมื่อเราสังเกตหรือสนทนากับกลุ่มเป้าหมายที่สุดโต่ง เราจะพบว่าเราสามารถเห็นถึงความ
ต้องการและวิธีการแก้ปัญหาของพวกเขาได้ชัดเจนกว่าคนทั่วไป ซึ่งช่วยให้เราค้นพบความต้องการที่สำคัญและมี
ความหมายที่เราอาจไม่สามารถเห็นได้เมื่อเราเข้าหากลุ่มเป้าหมายทั่วไป สิ่งที่น่าสนใจก็คือความต้องการที่เรา
ได้รับรู้จากกลุ่มคนสุดโต่ง มักเป็นความต้องการของผู้คนส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน
กลุ่มเป้าหมายที่สุดโต่ง
ทำไมถึงต้องเข้าหา ‘กลุ่มเป้าหมายที่สุดโต่ง’?
:: 11 :: photo: flickr/bitchcakesny
•  กำหนดว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายสุดโต่ง	
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการเริ่มต้นค้นหากลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่งคือการเลือกแง่มุมของโจทย์ที่เราสนใจ ทำลิ
สต์ของแง่มุมต่างๆที่เราต้องการเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาของเรา จากนั้นเราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าใครบ้างที่
เข้าข่ายเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่งในแง่มุมดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังออกแบบประสบการณ์ใหม่ใน
การจ่ายตลาด คุณอาจลองพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ดังนี้: สินค้าถูกจัดวางอย่างไร วิธีการจ่ายเงินเป็นอย่างไร
คนตัดสินใจซื้อของอย่างไร และนำของกลับบ้านอย่างไร ฯลฯ จากนั้นเมื่อเราเริ่มพิจารณาปัจจัยต่างๆ ทีละข้อ เริ่ม
ต้นจากการจัดวางสินค้าภายในร้าน เราสามารถสอบถามข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายหลายๆ ประเภท เช่น คนที่ซื้อ
ของเป็นประจำ, คนที่ใช้รถเข็นของในห้างสรรพสินค้าเพื่อเก็บสิ่งของที่รีไซเคิลได้, คนที่ทำหน้าที่เลือกสินค้าให้กับ
ร้านค้าออนไลน์, คนที่พาเด็กๆ ไปซื้อของด้วย หรือคนที่ไม่ไปจ่ายตลาดเลย	
	
•  การปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มสุดโต่ง	
สังเกตและสัมภาษณ์กลุ่มสุดโต่งเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ มองหาวิธีแก้ปัญหาของพวกเขา หรือพฤติกรรม
สุดโต่งอื่นๆ ที่อาจเป็นแรงบันดาลใจหรือเผยถึงข้อมูลที่สำคัญบางอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน	
	
•  มองหาความสุดโต่งในเราทุกคน	
เมื่อเราได้ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่งแล้ว เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เราได้รับมา เพื่อดูว่า
ข้อมูลเหล่านั้นสามารถสะท้อนหรือนำมาใช้ในการออกแบบให้กับกลุ่มเป้าหมายหลักได้อย่างไร โดยเราสามารถ
ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจและต่อยอดความคิดนอกกรอบของเราออกไป 	
	
METHOD
เราควรมีส่วนร่วมกับ ‘กลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่ง’ อย่างไร?
ความเข้าใจด้วยเหตุการณ์ที่คล้ายกัน
:: 12 :: photos: flickr/xcode, flickr/watt_dabney
ระหว่างขั้นตอนการทำความเข้าใจปัญหา การเลือกใช้สถานการณ์เสมือนสามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการ
เข้าถึงข้อมูลสำคัญที่ไม่อาจเห็นได้อย่างชัดเจนจากวิธีการแบบตรงไปตรงมา เครื่องมือนี้สามารถนำมาซึ่งแรง
บันดาลใจ หนทางที่จะหลุดไปจากกรอบเดิมๆ มุมมองสดใหม่สำหรับการออกแบบ และวิธีการแก้ปัญหาที่น่า
สนใจ เมื่อการสังเกตแบบตรงไปตรงมาไม่สามารถทำได้โดยง่าย
•  ระบุประเด็นที่สนใจ	
พูดคุยกับสมาชิกในทีมเกี่ยวกับคุณลักษณะของปัญหาของกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ถ้า
เรากำลังศึกษาเกี่ยวกับโรงพยาบาล เราอาจจะมุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาระยะเวลาการรอรับบริการที่กิน
เวลานานเกินไป เราควรพยายามมองหาประเด็นที่อาจมีความคล้ายคลึงกับปัญหาการรอคิวนานในโรงพยาบาล
โดยสถานการณ์เสมือนควรจะมีความคล้ายคลึงมากพอที่จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจถึงที่มาของปัญหา
หรือความต้องการและสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับปัญหาของตนเองได้	
•  ระดมความคิดค้นหาสถานการณ์เสมือน	
หลังจากถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาการรอคิวนานในโรงพยาบาล หากเรามองว่าปัญหาการบริการลูกค้าในโรง
พยาบาลเป็นประเด็นสำคัญในโจทย์การออกแบบ เราควรมองหาตัวอย่างสถานที่ที่มีการบริการลูกค้าที่ดีเลิศหรือ
สถานที่ที่การบริการลูกค้าควรได้รับการปรับปรุง โดยเราควรเข้าไปสำรวจดูสถานที่ตัวอย่างนั้นหรือทำการ
สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ดังกล่าว
	
•  สร้างพื้นที่เก็บแรงบันดาลใจ	
รวบรวมรูปภาพของสถานที่ตัวอย่างรวมไปถึงคำพูดที่น่าสนใจซึ่งได้มาจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
สถานที่นั้นๆ แล้วนำไปแปะไว้บนบอร์ดตัวอย่าง โดยรูปภาพและคำพูดเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจ
หรือที่มาของความต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการขั้นต่อๆ ไปในการออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหา
METHOD
ทำไมจึงต้องใช้การทำความเข้าใจสถานการณ์เสมือน?
เราจะทำความเข้าใจด้วยสถานการณ์เสมือนได้อย่างไร?
การเล่าเรื่องและจับใจความ
:: 13 ::
จุดมุ่งหมายของการเล่าเรื่องหรือแบ่งปันเรื่องราวภายในกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 ข้อ ข้อที่หนึ่ง เพื่อให้สมาชิกในกลุ่ม
ได้แบ่งปันเรื่องราวที่แต่ละคนได้พบเห็นหรือได้ฟังมาจากพื้นที่สำรวจ ถึงแม้ว่าทุกคนในกลุ่มจะลงสำรวจในพื้นที่
เดียวกัน แต่ประสบการณ์ของแต่ละคนที่ได้รับอาจแตกต่างกันได้ เพราะฉะนั้นการแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้เป็น
สิ่งที่มีค่าในการทำงาน ข้อที่สอง เพื่อวิเคราะห์หรือค้นพบประเด็นที่ซ่อนเร้นที่เกิดขึ้นก็ต่อเมือเราได้รับฟังเรื่องราว
ที่สมาชิกคนอื่นในกลุ่มแบ่งปัน ข้อที่สาม เพื่อรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจจากการลงพื้นที่ ซึ่งเป็นจุด
เริ่มต้นของกระบวนการเติมเต็มพื้นที่แห่งข้อมูล (space saturation)
ทำไมจึงต้องใช้การเล่าเรื่องและจับใจความ?
เราควรเล่าเรื่องราวที่โดดเด่นและอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เราสังเกตเห็นและได้ยินจากการลงพื้นที่เพื่อเข้าใจกลุ่มเป้า
หมาย ในกระบวนการนี้ เราจะใช้กระดาษ post-it เป็นอุปกรณ์หลักในการเติมเต็มพื้นที่แห่งข้อมูล (space
saturation) โดยเริ่มจากสมาชิกในกลุ่มผลัดกัน ‘เล่าเรื่อง’ ที่ตนเองได้พบระหว่างการลงพื้นที่หรือการสัมภาษณ์
กลุ่มเป้าหมาย ระหว่างที่สมาชิกคนหนึ่งกำลังเล่าเรื่องอยู่นั้น สมาชิกคนที่เหลือก็จะทำการ ‘จับใจความ’ ด้วยการ
จดบันทึกข้อความที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์หรือบันทึกสิ่งที่ทำให้รู้สึกประหลาดใจ โดยในระหว่างการจับใจ
ความ เราจะใช้กระดาษ post-it หนึ่งแผ่นเพื่อบันทึกหนึ่งข้อความหรือหนึ่งเหตุการณ์ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เล่าเรื่อง
ของตนเองแล้ว ลำดับต่อไปคือ การจัดกลุ่มกระดาษ post-it เหล่านั้นเพื่อสะท้อนถึงรูปแบบหรือหัวข้อโดยรวม
(อ่านวิธีการเพิ่มเติมที่กระบวนการ ‘เติมเต็มและจัดหมวดหมู่ – Saturation and Group’) จุดมุ่งหมายสุดท้ายของ
เราก็คือการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าเขาคือใครและต้องการอะไร
เราจะทำการเล่าเรื่องและจับใจความได้อย่างไร?
METHOD
การเติมเต็มและจัดหมวด
หมู่
:: 14 ::
การ ‘เติมเต็ม’ พื้นที่แห่งข้อมูลคือการเขียนเล่าข้อคิดและประสบการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์หรือการลงสำรวจ
พื้นที่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการแปรความคิดออกมาเป็นสิ่งที่เรามองเห็นและจับต้องได้ จากนั้นเมื่อเราทำการ ‘จัด
หมวดหมู่’ ข้อมูลที่เราได้รับมา เราจะสามารถมองเห็นรูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูลได้ง่ายขึ้น และทำให้เรา
สามารถระบุความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและที่มาของความต้องการ ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่การออกแบบวิธีแก้ไข
ปัญหาได้
ทำไมจึงต้องใช้การเติมเต็มและจัดหมวดหมู่?
เป้าหมายของกระบวนการนี้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาและเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลเชิงลึกซึ่งมีประโยชน์ต่อ
การออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป ในการ ‘เติมเต็มและจัดหมวดหมู่’ เราใช้กระดาษ post-it ในการแสดง
ข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ (อ่านวิธีการเพิ่มเติมที่กระบวนการ ‘การเล่าเรื่องและจับใจความ’) นอกจากนี้ บนพื้นที่แห่ง
ข้อมูลควรมีรูปภาพของพื้นที่ที่ได้ไปสำรวจ, บุคคลที่เราได้พบและพูดคุยด้วย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์หรือสถานการณ์
ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นในขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ เราควรเริ่มจากการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลและรูปภาพต่างๆ ที่ได้
รับมาจากพื้นที่สำรวจ โดยที่เราอาจสังเกตได้ว่าข้อมูลหลายๆ อย่างที่ได้มาระหว่างการสัมภาษณ์หรือการลงพื้นที่
อาจมีความเหมือนหรือความคล้ายคลึงกัน ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างหมวดหมู่ ดังนั้น
ในขั้นตอนการจัดหมวดหมู่นี้ เราสามารถทดลองจัดข้อมูลในหลายๆ รูปแบบเพื่อที่จะค้นหาที่มาของความ
ต้องการซึ่งอาจพบได้หลากหลายในแต่ละกรณี
ตัวอย่างของการจัดกลุ่มข้อมูล เช่น เราอาจสังเกตว่าข้อมูลหลายๆ อย่างที่ได้ระหว่างการสัมภาษณ์หรือการลงพื้น
ที่สำรวจจะมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกปลอดภัย ดังนั้น สิ่งที่เราควรคำนึงถึงในขั้นตอนต่อไป คือ การพยายาม
คิดนอกกรอบและหาจุดเชื่อมโยงไปสู่ที่มาของความต้องการเช่น “ความรู้สึกปลอดภัยมักขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังอยู่
กับใคร มากกว่าเรากำลังอยู่สถานที่ไหน”
เราจะทำการเติมเต็มและจัดหมวดหมู่ได้อย่างไร?
METHOD
แผนภูมิแห่งความเข้าใจ
การออกแบบที่ดีเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อบุคคลที่เรากำลังทำการออกแบบให้ เครื่องมือที่เราสามารถ
ใช้ในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายนั้นมีมากมาย แผนภูมิแห่งความเข้าใจก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราสามารถ
ใช้เพื่อทำความเข้าใจ, วิเคราะห์สิ่งที่เราค้นพบจากกลุ่มเป้าหมายและค้นหาที่มาของความต้องการซึ่งเราหรือกลุ่ม
เป้าหมายอาจไม่ได้คาดคิดมาก่อน
ทำไมจึงต้องใช้แผนภูมิแห่งความเข้าใจ?
ถอดเรื่องราว: เริ่มต้นจากการสร้างแผนภูมิ 4 ช่องบนกระดาษหรือกระดานดำ โดยแต่ละช่องจะแสดงถึงประเภทของ
ข้อมูลที่แตกต่างกัน จากนั้นแบ่งประเภทของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์หรือจากการสำรวจพื้นที่ลงในช่องข้อมูล
ตามประเภทที่เหมาะสม โดยเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อมูลที่เรามีควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ประเภทใด คือ
	
พูด 	
– ตัวอย่างประโยคหรือคำพูดที่กลุ่มเป้าหมายสื่อสารออกมา
	
ทำ 	
– การกระทำหรือพฤติกรรมที่สังเกตเห็นระหว่างการสัมภาษณ์
	
คิด 	
– กลุ่มเป้าหมายมีความคิดอย่างไร? ความคิดเหล่านี้สามารถเชื่อมไปสู่ความเชื่อของพวกเขาได้อย่างไร?
รู้สึก 	
– กลุ่มเป้าหมายมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร?	
สิ่งหนึ่งที่เราควรระลึกเสมอ คือ ความคิด ความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจน
ข้อมูลเหล่านี้มักมาจากการสังเกตและพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างถี่ถ้วน โดยข้อมูลดังกล่าวอาจมาในรูปแบบของ
ท่าทางการแสดงออกของกลุ่มเป้าหมายขณะที่ทำการสัมภาษณ์ หรือลักษณะน้ำเสียงและคำพูดที่ใช้
ระบุความต้องการ: ความต้องการ (Needs) คือ สิ่งที่ตอบสนองต่อความจำเป็นมนุษย์ในด้านอารมณ์และกายภาพ
ความต้องการเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของการออกแบบ สิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงไว้เสมอ คือ ความต้องการใน
ที่นี้ ไม่ใช่ คำนาม หรือวิธีการแก้ไขปัญหา แต่ความต้องการในที่นี้เป็น กริยา ซึ่งหมายถึงกิจกรรมหรือสิ่งที่กลุ่มเป้า
หมายต้องการความช่วยเหลือ เราสามารถระบุความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้จากข้อมูลที่ได้รับมาโดยตรงจาก
การสัมภาษณ์หรือจากการสังเกตข้อมูลที่มีความขัดแย้งภายในตัวเอง เช่น ความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่กลุ่มเป้าหมาย
พูดกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกระทำ จากนั้น เขียนความต้องการที่เราได้มาลงบนด้านข้างของแผนภูมิแห่งความเข้าใจ
เข้าใจที่มาอย่างแจ่มแจ้ง: ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) คือ ข้อเท็จจริงหรือความเข้าใจซึ่งสังเคราะห์ได้จาก
ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสัมภาษณ์หรือการลงพื้นที่สำรวจ โดยที่มาของความต้องการเหล่านี้อาจเกิดจากข้อมูลที่มี
ลักษณะตรงข้ามกันหรือมีความขัดแย้งกัน หรืออาจเกิดจากที่เราตั้งคำถามว่า “ทำไม” ต่อกลุ่มเป้าหมายเมื่อเราสังเกต
เห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ ในการสร้างแผนภูมิแห่งความเข้าใจ เราเขียนที่มาของความต้องการที่ค้นพบตรงด้านข้าง
ของแผนภูมิ และนำมาใช้ประกอบการค้นหาคำตอบต่อโจทย์ปัญหาที่ได้รับต่อไป
METHOD
เราใช้แผนภูมิแห่งความเข้าใจอย่างไร?
:: 15 ::
แผนภูมิการเดินทาง
:: 16 ::
การสร้างแผนภูมิการเดินทางเป็นวิธีการวิเคราะห์ขั้นตอนของกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยเป็นการทำความ
เข้าใจต่อตัวบุคคลหรือกระบวนการต่างๆ ผ่านประสบการณ์หรือการเดินทางในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งรายละเอียดที่
เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงที่มาของความต้องการได้ แผนภูมิการเดินทางนี้สามารถนำ
ไปใช้กับกระบวนการทำความเข้าใจในงานของเราเองหรือสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสิ่งที่เรา
ค้นพบให้กับผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน
ทำไมจึงต้องใช้แผนภูมิการเดินทาง?
เราสร้างแผนภูมิขึ้นเพื่อบันทึกข้อสังเกตหลายๆ อย่าง เช่น การสร้างแผนภูมิที่แสดงถึงการใช้ชีวิตประจำวันของ
กลุ่มเป้าหมาย, แผนภูมิที่แสดงถึงประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือแผนภูมิแสดงการเดินทางของผลิตภัณฑ์
ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตจนไปถึงมือของผู้ใช้
เราควรพยายามเลือกสร้างแผนภูมิของกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เราต้องการออกแบบแนวทาง
การแก้ไข ตัวอย่างเช่น เมื่อเราต้องการศึกษากิจวัตรการรับประทานอาหารเช้าของกลุ่มเป้าหมาย เราสามารถเก็บ
ข้อมูลเกี่ยวกับทุกๆ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายในตอนเช้าของกลุ่มเป้าหมายภายในหนึ่งเดือน,
ใครที่กลุ่มเป้าหมายไปออกกำลังด้วย, กลุ่มเป้าหมายมาจากไหนและไปออกกำลังกายที่ใด หรือในกรณีที่นัก
ออกแบบต้องการพัฒนาเว็บไซต์จัดหาคู่ เราสามารถบันทึกบทสนทนาที่เกิดขึ้นทุกเวลาระหว่างบุคคลสองคนก่อน
ที่ทั้งคู่จะได้พบกันเป็นครั้งแรก
สิ่งสำคัญในการสร้างแผนภูมิการเดินทาง คือ การทำความเข้าใจในตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องการบันทึกโดยไม่
ละเลยต่อกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปิดม่านกันแดดก่อนรับประทานอาหารเช้า เนื่องจากสิ่งที่อาจดู
เป็นเรื่องไม่สำคัญหรือไม่มีความหมายนี้ อาจเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจได้
เราสามารถสร้างแผนภูมิการเดินทางจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรง หรืออาจให้กลุ่มเป้าหมายสร้าง
แผนภูมิขึ้นมาเองแล้วอธิบายให้ฟัง แผนภูมิการเดินทางอาจอยู่ในรูปแบบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามเวลา,
รูปภาพที่บอกเล่าเรื่องราว, หรือแผนภูมิขนานแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน จากนั้นเราควรมองหารูปแบบ
ที่คล้ายกันหรือความผิดปกติของเหตุการณ์แล้วตอบคำถามว่าทำไมเหตุการณ์เหล่านั้นจึงเกิดขึ้น นอกจากนั้นเรา
ควรพยายามทำความเข้าใจและมองหาจุดเชื่อมต่อของแต่ละเหตุการณ์ เพราะบ่อยครั้งที่การสังเกตและการ
ทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ผนวกกับความรู้ของนักออกแบบสามารถช่วยเชื่อมไปถึงที่มาของความต้องการได้
เราจะใช้แผนภูมิการเดินทางได้อย่างไร?
METHOD
เขาคือใคร?
:: 17 ::
ในหลายๆ ครั้ง เมื่อเราออกไปสัมภาษณ์ เราจะได้ข้อมูลจำนวนมากซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคลของกลุ่มเป้า
หมาย แต่บางส่วนของข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญหรือไม่น่าสนใจ กระบวนการ ‘เขาคือใคร?’
จึงได้รับการนำมาใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อสังเกตที่เป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายโดยการสร้างตัว
ละครใหม่ขึ้นมาหนึ่งคน เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด บุคคลที่เราสร้างขึ้นมาใหม่นี้จะช่วยให้สมาชิก
ในกลุ่มสามารถให้ความสำคัญต่อลักษณะบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อการออกแบบเท่านั้น และจะทำให้งานสามารถ
ดำเนินต่อไปได้
ทำไมจึงต้องใช้กระบวนการ ‘เขาคือใคร’?
เราจะใช้กระบวนการ ‘เขาคือใคร’ ได้อย่างไร?
เราสร้างบุคคลสมมติขึ้นมาโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายหรือการลงพื้นที่สำรวจ โดย
บุคคลสมมติที่สร้างขึ้นจะมีคุณลักษณะทั่วไป, แนวโน้มในการดำรงชีวิต และลักษณะเฉพาะอื่นๆ ที่นักออกแบบค้น
พบ ในการสร้างบุคคลสมมตินี้ เราจำเป็นต้องถอดเรื่องราวที่ได้รับมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและค้นหา
ความเหมือนของข้อมูลในแง่มุมต่างๆ เช่น เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส, อาชีพ, ลักษณะนิสัยหรือแรงบันดาลใจ
เป็นต้น นอกจากนี้สมาชิกในทีมควรแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มเติมข้อมูล
อื่นๆ ที่คิดว่ามีความน่าสนใจ ถึงแม้ว่าข้อมูลนั้นๆ อาจไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรงเราก็ควรใส่ข้อมูลนั้น
เข้าไปในตัวบุคคลสมมตินี้ ท้ายสุดแล้วเราควรตั้งชื่อให้กับบุคคลสมมติคนดังกล่าวและสอบถามความคิดเห็นกับ
ทุกคนในกลุ่มว่าเห็นด้วยกับคุณลักษณะของบุคคลสมมติที่สร้างขึ้นมาหรือไม่
METHOD
แฟรงคิน
	
•  อายุ 38 ปี	
•  สถานะ หย่า	
•  ลูก 2 คน	
•  มีโรคเบาหวาน	
•  ทำอาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยในคลินิก	
•  ชอบกินและทำอาหาร	
•  มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพตัวเอง
และผู้อื่น
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg
Design Thinking Bootcamp Bootleg

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

Một số bệnh lý liên quan đến vùng rốn
Một số bệnh lý liên quan đến vùng rốnMột số bệnh lý liên quan đến vùng rốn
Một số bệnh lý liên quan đến vùng rốn
Ngoại Khoa Thực Hành
 
Chapter 4 ct nguc - page 148 - 182
Chapter 4   ct nguc - page 148 - 182Chapter 4   ct nguc - page 148 - 182
Chapter 4 ct nguc - page 148 - 182
Tưởng Lê Văn
 
SIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNG
SIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNGSIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNG
SIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNG
SoM
 
ITエンジニアに易しいUI/UXデザイン
ITエンジニアに易しいUI/UXデザインITエンジニアに易しいUI/UXデザイン
ITエンジニアに易しいUI/UXデザイン
Roy Kim
 
ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติ
ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติ
ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติ
guestaecfb
 

Mais procurados (20)

サービスにおけるビジュアルデザインの役割
サービスにおけるビジュアルデザインの役割サービスにおけるビジュアルデザインの役割
サービスにおけるビジュアルデザインの役割
 
Chapter 1 landscape of design
Chapter 1 landscape of designChapter 1 landscape of design
Chapter 1 landscape of design
 
Một số bệnh lý liên quan đến vùng rốn
Một số bệnh lý liên quan đến vùng rốnMột số bệnh lý liên quan đến vùng rốn
Một số bệnh lý liên quan đến vùng rốn
 
Ứng dụng kỹ thuật chụp niệu đạo bàng quang ngược dòng trước ghép thận, Huỳnh ...
Ứng dụng kỹ thuật chụp niệu đạo bàng quang ngược dòng trước ghép thận, Huỳnh ...Ứng dụng kỹ thuật chụp niệu đạo bàng quang ngược dòng trước ghép thận, Huỳnh ...
Ứng dụng kỹ thuật chụp niệu đạo bàng quang ngược dòng trước ghép thận, Huỳnh ...
 
ĐÁNH GIÁ KẾT QUẢ PHẪU THUẬT BIẾN DẠNG QUAY SẤP CẲNG TAY VÀ CO RÚT GẤP CỔ TAY ...
ĐÁNH GIÁ KẾT QUẢ PHẪU THUẬT BIẾN DẠNG QUAY SẤP CẲNG TAY VÀ CO RÚT GẤP CỔ TAY ...ĐÁNH GIÁ KẾT QUẢ PHẪU THUẬT BIẾN DẠNG QUAY SẤP CẲNG TAY VÀ CO RÚT GẤP CỔ TAY ...
ĐÁNH GIÁ KẾT QUẢ PHẪU THUẬT BIẾN DẠNG QUAY SẤP CẲNG TAY VÀ CO RÚT GẤP CỔ TAY ...
 
Chapter 4 ct nguc - page 148 - 182
Chapter 4   ct nguc - page 148 - 182Chapter 4   ct nguc - page 148 - 182
Chapter 4 ct nguc - page 148 - 182
 
SIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNG
SIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNGSIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNG
SIÊU ÂM ÂM ĐẠO - CỔ TỬ CUNG VÀ TỬ CUNG
 
Chapter 4 empathize
Chapter 4 empathizeChapter 4 empathize
Chapter 4 empathize
 
Kỹ thuật chụp cắt lớp vi tính ruột non
Kỹ thuật chụp cắt lớp vi tính ruột nonKỹ thuật chụp cắt lớp vi tính ruột non
Kỹ thuật chụp cắt lớp vi tính ruột non
 
Verkko-opetuksen digitaaliset työkalut 3.5.22.pdf
Verkko-opetuksen digitaaliset työkalut 3.5.22.pdfVerkko-opetuksen digitaaliset työkalut 3.5.22.pdf
Verkko-opetuksen digitaaliset työkalut 3.5.22.pdf
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
เอกสารประกอบหลักสูตร การผลิตหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้
เอกสารประกอบหลักสูตร การผลิตหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้เอกสารประกอบหลักสูตร การผลิตหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้
เอกสารประกอบหลักสูตร การผลิตหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้
 
用戶體驗服務設計工作坊 第一天(共五天)
用戶體驗服務設計工作坊 第一天(共五天)用戶體驗服務設計工作坊 第一天(共五天)
用戶體驗服務設計工作坊 第一天(共五天)
 
หน่วยที่ 7 การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์บนเครือข่าย
หน่วยที่ 7 การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์บนเครือข่ายหน่วยที่ 7 การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์บนเครือข่าย
หน่วยที่ 7 การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์บนเครือข่าย
 
ITエンジニアに易しいUI/UXデザイン
ITエンジニアに易しいUI/UXデザインITエンジニアに易しいUI/UXデザイン
ITエンジニアに易しいUI/UXデザイン
 
Tone&manner sheet
Tone&manner sheetTone&manner sheet
Tone&manner sheet
 
UIデザインの基本
UIデザインの基本UIデザインの基本
UIデザインの基本
 
QUY TRÌNH ĐỌC CT BUNG- DR TRUONG.pdf
QUY TRÌNH ĐỌC CT BUNG- DR TRUONG.pdfQUY TRÌNH ĐỌC CT BUNG- DR TRUONG.pdf
QUY TRÌNH ĐỌC CT BUNG- DR TRUONG.pdf
 
Arduino vs STEM from INEX
Arduino vs STEM from INEXArduino vs STEM from INEX
Arduino vs STEM from INEX
 
ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติ
ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติ
ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานทางสถิติ
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

Design Thinking Bootcamp Bootleg

  • 1.     d. bootcamp bootleg(Thai translation ฉบับภาษาไทย)
  • 2. Check this out — It’s the d.school bootcamp bootleg. คู่มือเล่มนี้เขียนและรวมรวมขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการช่วยนำกระบวนการ Design Thinking ไปใช้งานจริง คู่มือนี้เป็นคู่มือที่ไม่ได้ใช้สำหรับแค่การอ่าน แต่เหมาะ สำหรับการนำไปใช้และทดลองจริงด้วยตัวท่านเอง เราคัดสรรขั้นตอนและวิธีการ ออกแบบที่สำคัญจากกระบวนการ Design Thinking มารวมรวมในคู่มือฉบับนี้ ซึ่ง กระบวนการและวิธีการเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้าง 7 ทัศนคติ (กล่าวถึงใน หน้าถัดไป) ที่สำคัญต่อมุมมองของนักออกแบบเพื่อความเปลี่ยนแปลง คู่มือฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา โดยเราได้ถอดความรู้จากการสอนวิชา “Design Thinking Bootcamp” ซึ่งเป็นวิชาขั้นพื้นฐานของเรา มาพัฒนาจากคู่มือ ฉบับแรกที่ได้เขียนขึ้นเมื่อปี 2009 โดยได้นำสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการสอนมาปรับ เนื้อหาบางส่วนและเพิ่มเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆเข้ามา นอกจากนี้เนื้อหาการเรียนรู้ ในคู่มือนี้ยังเกิดจากการรวบรวมและถอดความรู้จากบุคคลและองค์กรที่แตกต่าง หลากหลายทั้งผู้ทีีทำงานเกี่ยวข้องกับทางสถาบัน d.school โดยตรงและผู้ที่ทำงาน ออกแบบอยู่ในที่ที่ห่างไกลออกไป ทางคณะทำงานสถาบัน d.school จึงขอขอบคุณ ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการทำให้คู่มือเล่มนี้เกิดขึ้นได้ ทุกคนสามารถเข้าถึงและแบ่งปันคู่มือฉบับนี้กับผู้อื่นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเราหวังว่า ทุกท่านจะได้ประโยชน์ในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานจริง เราขอเพียงให้ทุกท่านทำ ตามข้อบังคับที่บัญญัติไว้ใน Creative Commons license (Attribution- NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported License) ที่ระบุการใช้งานเพื่อ เป็นการศึกษาและให้กับสาธารณะ ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อบัญญัติเพิ่มได้ที่ http:// creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/3.0/ ทางเรายินดีที่จะรับฟังคำแนะนำและความคิดเห็นต่อคู่มือฉบับนี้ กรุณาแบ่งปันเรื่อง ราวจากการใช้คู่มือในการปฏิบัติงานจริง ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เป็นประโยชน์ ควร ปรับปรุง หรือแม้กระทั่งวิธีการใหม่ที่ท่านได้ค้นพบด้วยตัวเอง เขียนหาเราได้ที่: bootleg@dschool.stanford.edu ขอบคุณ, The d.school
  • 3. A note to the Stanford d.school team and readers— ข้อความถึงทีมงาน Stanford d.school และผู้อ่าน Thank you the Stanford d.school team for letting us translate the d.school bootleg bootcamp in Thai. This translation of the d.school bootcamp bootleg is a collective effort from a group of Stanford Alumni who have taken classes at the Stanford d.school as well as design thinking practitioners in Thailand who have all benefited from applying the Design Thinking process to tackle both social impact and business challenges. This effort is an attempt to make this tool more accessible to the Thai audience. We hope that the Thai translation of the d.school bootcamp bootleg will be valuable to our Thai audience and if there is anything that could be better improved please e-mail to share your feedback at bootlegthai@gmail.com. Thank you! Viria Vichit-Vadakan + Translators & Editors team ขอขอบคุณ ทีมงานจาก d.school มหาวิทยาลัย Stanford ที่ได้ให้ความไว้วางใจใน การแปลคู่มือ Design Thinking คู่มือฉบับนี้เป็นความร่วมมือจากศิษย์เก่าจาก มหาวิทยาลัย Stanford และกระบวนกรที่ได้รับประโยชน์จากการนำกระบวนการ Design Thinking ไปปรับใช้ในส่วนการทำงานในการแก้ปัญหาทั้งโจทย์ทางสังคม และทางธุรกิจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการแปลฉบับนี้จะเป็นประโยชน์หรับท่านผู้อ่าน และหาก ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำอย่างไรสามารถติดต่อเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่ bootlegthai@gmail.com ขอบคุณ, วิริยา วิจิตรวาทการ + ทีมงานผู้แปลและผู้เรียบเรียง
  • 4. A thank you note to translators and editors— ข้อความขอบคุณผู้แปลและผู้เรียบเรียง Thank you to all our translators and editors. This translation would not have been successful without the help of our committed translators and editors. ขอขอบคุณผู้แปลและผู้เรียบเรียงทุกท่าน คู่มือการแปลชุดนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่ได้รับ ความช่วยเหลือและความตั้งใจจากผู้แปลและผู้เรียบเรียงทุกท่าน ผู้แปล Translators วิริยา วิจิตรวาทการ Viria Vichit-Vadakan เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล May Sripatanaskul กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Kaweewut Temphuwapat ชูวิญญาณ์ จิตติกุลดิลก Chuwinya Chittikuladilok ปณิธิตา วิทยศรีเจริญ Panithita Vithayasricharoen ปิธน วิทยศรีเจริญ Pete Vithayasricharoen ผู้เรียบเรียง Editors วีระพงศ์ โก Werapong Goo พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ Prowpannarai Mallikamarl แพรวา สาธุธรรม Praewa Satutum กิตติศักดิ์ ปัญญาจิรกุล Kittisuk Panyajirakul ขอขอบคุณหน่วยงาน G-Lab, ALA, และ TSEO ที่ทำงานร่วมกันในการขยายคู่มือการแปลฉบับ นี้ให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง Thank you our partners G-Lab, ALA, and TSEO for helping to spread awareness of d.school bootleg bootcamp Thai translation Partners ศูนย์นวัตกรรมสังคม G-Lab วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสศตร์ (G-Lab, School of Global Studies, Thammasat University) www.sgs.tu.ac.th, Asian Leadership Academy (ALA) www.asianleadershipacademy.com, และ สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (Thai Social Enterprise Office) www.tseo.or.th
  • 5. ให้ความสำคัญกับการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายการ เข้าใจคนหรือกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งโดยการ เอาใจเขามาใส่ใจเราและการฟังความคิดเห็นจาก กลุ่มเป้าหมายตลอดทั้งกระบวนการออกแบบเป็น พื้นฐานที่สำคัญในการออกแบบที่ดี การร่วมมือร่วมใจ รวมตัวนวัตกรที่มีประสบการณ์ พื้นเพและ ทัศนคติที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์ มุมมองและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ก่อตัวจากความ หลากหลายของทีม ให้ความสำคัญกับการทดลอง การสร้างตัวต้นแบบ (prototype) ไม่ได้ทำเพียง เพื่อพิสูจน์ไอเดียของคุณเท่านั้น แต่เราสร้างแบบ จำลองเพื่อการคิดต่อยอดและเรียนรู้เกี่ยวกับไอ เดียของเรามากขึ้นระหว่างกระบวนการ การสร้าง Prototype เป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรนำ มาบูรณาการใช้ตลอดทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ นวัตกรรม สื่อให้เห็นโดยไม่ต้องบอก สื่อสารความคิดได้อย่างมีพลังและมีความหมายด้วยการ สร้างประสบการณ์ผ่านสื่อรูปภาพและการเล่าเรื่องที่สนุก และเป็นประโยชน์ คำนึงถึงทั้งกระบวนการ รู้ว่าเราอยู่ตรงไหนในกระบวนการออกแบบ เรากำลังใช้วิธีการอะไรในขั้นตอนนั้น และ เป้าหมายที่เราต้องการคืออะไร ตั้งกรอบปัญหาให้ชัด สร้างกรอบวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจนเพื่อ กระตุ้นการออกความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ต่อโจทย์ที่ท้าทาย เน้นการลงมือทำ กระบวนการ Design Thinking เป็นกระบวนการที่ เน้นการเรียนรู้จากการลงมือทำมากกว่าการคิด อย่างเดียว d.mindsets
  • 6. MODE การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย คืออะไร ทำไมต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย? การเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือ การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (empathy) เป็นพื้นฐานที่สำคัญในกระบวนการ Design Thinking เราสามารถทำได้โดย - การสังเกตการณ์ คือการสังเกตพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายในสภาพแวดล้อมจริง - การมีส่วนร่วมและการพูดคุย คือการพูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อเรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจเป็นการนัด สัมภาษณ์หรือการแวะเยี่ยมอย่างสั้นๆโดยไม่ได้บอกล่วงหน้าก็ได้ -  ร่วมประสบการณ์จริง คือการเข้าไปสัมผัสประสบการณ์เดียวกับที่กลุ่มเป้าหมายสัมผัสในบริบทจริง หน้าที่สำคัญของเราคือการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เราออกแบบให้ เนื่องจากปัญหาที่เราพยายามแก้ไขส่วนใหญ่ ไม่ใช่ปัญหาของตัวเราเองแต่เป็นปัญหาของผู้อื่น ดังนั้นการที่จะออกแบบหรือพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้า หมาย เราต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใครและสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือให้ความสำคัญ คืออะไร การสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมจริงช่วยให้เราเข้าใจความรู้สึก ความคิด ความ ต้องการและการตัดสินใจของพวกเขาได้ดีขึ้น การสังเกตทำให้เรามองเห็นประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น จากการกระทำและคำพูด ซึ่งจะทำให้คุณสามารถแปลความหมายที่จับต้องไม่ได้จากประสบการณ์เหล่านั้นไปสู่ความ เข้าใจที่ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงพฤติกรรมของผู้ใช้เหล่านี้นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถแก้ ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากกว่าที่คุณ คิด เพราะจิตของเรามักจะกรองข้อมูลที่สำคัญบางอย่างทิ้งไปโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้ที่จะมอง โลกด้วยมุมองที่สดใหม่และใจที่เปิดกว้าง -- เราสามารถพัฒนาความสามารถนี้ผ่านเครื่องมือและกระบวนทรรศน์ ของ human-centered design นอกจากนี้ การเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้เราได้รู้ถึงค่านิยมและความคิดของ พวกเขาได้ดีขึ้น ในบางครั้งตัวกลุ่มเป้าหมายเองอาจไม่รู้ชัดถึงค่านิยมและความคิดของตนเอง การเข้าไปคลุกคลีกับ ผู้ใช้อย่างใกล้ชิดสามารถทำให้เราค้นพบความคิดและความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ได้อย่างน่าประหลาดใจ เรื่องราวที่พวก เขาเล่าเป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อของพวกเขาได้เป็นอย่างดี (ถึงแม้ว่ามันจะแตกต่างกับสิ่งที่เขาทำจริงๆ) การ ออกแบบที่ดีเกิดขึ้นจากการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงค่านิยมและความเชื่อของผู้ใช้นี่เอง เราเข้าไปคลุกคลีเพื่อ (๑) ค้นหาความต้องการที่พวกเขาอาจจะรู้หรือไม่รู้ตัว (๒) ชี้นำวิถีการพัฒนานวัตกรรม (๓) เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่ใช่คือใคร (๔) ค้นพบอารมณ์ที่เป็นรากฐานของพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากการคุยและสังเกตผู้ใช้แล้ว เราควรจะเข้าไปลองสัมผัสประสบการณ์โดยตรงในเรื่องที่เรากำลังพยายาม แก้ไข เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้ของเราพบเจออยู่อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย MODE :: 1 ::
  • 7. การตั้งกรอบปัญหา (define) เกิดขึ้นเมื่อเราสังเคราะห์สิ่งที่ได้ค้นพบจากขั้นตอนการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (empathize) ไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา เป้าหมายสำคัญของการตั้งกรอบปัญหา คือการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและบริบทของปัญหาให้ได้หยั่งลึกมากยิ่งขึ้น และนำความเข้าใจที่ลึกซึ้งนี้มาตั้ง โจทย์ปัญหาที่นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ (actionable problem statement) ซึ่งกรอบปัญหานี้ควรจะเน้นไปที่กลุ่มเป้า หมายที่เฉพาะเจาะจงและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าไปคลุกคลีทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ดังนั้น แทนที่สักแต่ว่าตั้งโจทย์ปัญหาขึ้นมาเพื่อจะทำอะไรบางอย่าง เราควรตั้งกรอบปัญหาบนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจจากการได้ไปใช้ประสบการณ์ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย โจทย์ปัญหาที่ตั้งขึ้นอย่างมีความหมายและความ เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งนี้เป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในกระบวนการการออกแบบวิธี การแก้ปัญหา การตั้งกรอบปัญหาเป็นหัวใจหลักในกระบวนการออกแบบเพราะมันช่วยให้เรามองเห็นโจทย์ปัญหาสำคัญที่เราจะ มุ่งเน้นในการแก้ไขได้อย่างชัดเจน ในหลายกรณีเราอาจจะต้องปรับโจทย์ปัญหาใหม่หลังจากได้เพิ่มพูนความ เข้าใจใหม่ ๆ ที่ลึกซึ้งมากขึ้นระหว่างกระบวนการออกแบบของเรา กรอบปัญหาที่ตั้งอย่างเฉพาะเจาะจงและมี ความหมายจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการคิดค้นไอเดียสร้างสรรค์ในการหาทางออกให้ปัญหาต่อไป กรอบปัญหาที่ดีคือโจทย์ปัญหาที่ •  โฟกัสขอบเขตของปัญหาให้พุ่งไปที่ประเด็นที่สำคัญ •  สามารถจุดประกายไอเดียจากคนในทีม •  เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการประเมินไอเดียต่างๆได้ •  สามารถทำให้สมาชิกในทีมคิดและตัดสินใจด้วยตนเองได้ไปคู่ขนานกันได้ •  เปิดกว้างต่อการระดมความคิดโดยคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “เราจะ. . .ได้อย่างไร” (how might we…?) •  สามารถจับใจคนที่เราพบเจอ •  ช่วยวางขอบเขตการทำงานที่เป็นไปได้ในเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่กว้างจนเกินไป •  ช่วยชี้นำแนวทางการสร้างนวัตกรรม การตั้งกรอบปัญหา คืออะไร ทำไมต้องตั้งกรอบปัญหา ตั้งกรอบปัญหา MODE :: 2 ::
  • 8. การระดมความคิด (ideate) คือขั้นตอนในกระบวนการออกแบบซึ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ไอเดียที่จะตอบโจทย์ ปัญหาที่แตกต่างหลากหลายรวมไปถึงความคิดแปลกใหม่จากแนวคิดเดิมๆ กระบวนการนี้เป็นขั้นตอนที่เราเน้น การ “เปิดกว้าง”สำหรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ เราไม่ควรจำกัดขอบเขตความคิดของตัวเองด้วยความกังวลในตัว แนวคิดและผลงานสุดท้ายในขั้นตอนนี้ เป้าหมายของการระดมความคิดคือการได้ทั้ง “ปริมาณ” และ “ความ หลากหลาย” ของความคิดวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆให้มากที่สุด ไอเดียที่ได้จากการระดมความคิดในขั้นตอนนี้ สามารถนำไปสร้างตัวต้นแบบ (prototype) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้ทดลองจริงในขั้นตอนถัดไป การระดมความคิดเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการตีกรอบปัญหาไปสู่การสร้างสรรค์หาหนทางแก้ไข้ปัญหา (solutions) สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เราใช้การระดมความคิดในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อ •  ก้าวข้ามทางออกเดิมๆหรือ solution ที่ชัดเจนอยู่แล้วไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ •  ใช้มุมมองความคิดและจุดแข็งที่แตกต่างต่างหลากหลายของคนในทีมให้เป็นประโยชน์ •  ค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน •  สร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ที่เน้นทั้งการได้ปริมาณความคิดที่มากและมีความหลากหลายสูง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการใดก็ตามในการระดมความคิด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือให้มีความเข้าใจชัดเจนว่า ขั้นตอนไหนที่ ทีมงานกำลังเน้นการระดมความคิดในเชิงปริมาณ และขั้นตอนไหนที่ทางทีมกำลังประเมินคุณภาพของไอเดียทั้ง หลาย เราควรจัดแจงขั้นตอนให้แยกกันอย่างชัดเจน การระดมความคิด คืออะไร ทำไมถึงต้องระดมความคิด ระดมความคิด MODE :: 3 ::
  • 9. โดยทั่วไปแล้ว เรามักนึกถึงการสร้างต้นแบบในแง่ของการทดสอบเชิงฟังก์ชั่นหรือการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เรา สามารถสร้างต้นแบบเพื่อเหตุผลอื่นๆได้ดังต่อไปนี้ •  การสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (empathy gaining): การสร้างต้นแบบเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้าง ความเข้าใจปัญหาและกล่มเป้าหมายให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น แม้กระทั้งตั้งแต่ขั้นตอนก่อนที่จะสร้างหนทางในการแก้ ปัญหา (Pre-solution phase) •  การสำรวจ (exploration): สร้างต้นแบบเพื่อ “การคิด” ผ่านการสร้างแบบจำลองความคิดหลายๆแบบเพื่อ ทำการเปรียบเทียบการตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย •  การทดสอบ (testing): สร้างต้นแบบ (และบริบทแวดล้อมของต้นแบบ) เพื่อทดสอบและขัดเกลาหนทางแก้ ปัญหาร่วมกับผู้ใช้ •  การสร้างแรงบันดาลใจ​ (inspiration): เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น (เช่นสมาชิกในทีม ลูกค้า ผู้ใช้ นักลงทุน) โดยการสร้างต้นแบบที่สื่อถึงวิสัยทัศน์ของเรา เราสร้างต้นแบบเพื่อ: •  การเรียนรู้: การสื่อความหมายทางภาพสามารถสื่อความหมายได้มีประสิทธิภาพกว่าตัวหนังสือและคำอธิบาย หากภาพหนึ่งภาพสามารถสื่อความหมายได้เท่ากับหนึ่งพันคำ ต้นแบบหนึ่งชิ้นก็สามารถสื่อความหมายได้ เท่ากับรูปภาพหนึ่งพันรูป •  การแก้ไขข้อขัดแย้ง: ต้นแบบเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่ช่วยในการระดมความคิด และการขจัดความคลุมเครือ และสร้างความชัดเจนในการสื่อสาร •  การเริ่มบทสนทนา: ต้นแบบช่วยในการจุดประกายให้เกิดบทสนทนาที่หลากหลายร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย •  การล้มเหลวที่รวดเร็วโดยไม่เจ็บตัว: การสร้างต้นแบบอย่างหยาบขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถทดสอบ ไอเดียจำนวนมากได้โดยไม่เสียเวลาและเงินมากนักในช่วงเริ่มต้น •  กระบวนการพัฒนาหนทางแก้ไขปัญหา: การสร้างต้นแบบช่วยให้คุณสามารถย่อยปัญหาใหญ่ให้มีขนาดเล็ก ลง และจัดการได้ง่ายขึ้น การสร้างต้นแบบ (prototype) คือการแปลงความคิดออกมาแสดงให้เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบทาง กายภาพใดก็ได้ที่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ เช่น การสื่อสารผ่านกระดาษโน้ต Post-It การแสดงละคร พื้นที่ วัตถุสิ่งของ อินเตอร์เฟส หรือแม้แต่การเขียนสตอรี่บอร์ด โดยความละเอียดของต้นแบบที่สร้างขึ้นควรล้อไปกับ ความก้าวหน้าของโครงการหรือกระบวนการออกแบบได้อย่างเหมาะสม โดยในช่วงแรกนั้น ควรสร้างต้นแบบ อย่างหยาบที่สร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้นมาก่อน เพื่อที่จะได้สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆและพิจารณาความเป็น ไปได้อื่นๆที่หลากหลาย ต้นแบบจะประสบความสำเร็จที่สุดก็ต่อเมื่อ ผู้คน (ทีมออกแบบ ผู้ใช้ และคนอื่นๆ) สามารถสัมผัสประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับตัวต้นแบบได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสามารถนำไปสู่หนทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ต้นแบบ คืออะไร ทำไมเราถึงสร้างต้นแบบ ต้นแบบ MODE
  • 10. •  เพื่อพัฒนาปรับปรุงต้นแบบและหนทางแก้ปัญหา (Solution)ให้ดีขึ้น โดยการทดสอบจะช่วยชี้นำการกลับไป พัฒนาและปรับปรุงแบบจำลองในรอบใหม่ (Iterate) •  เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น การทดสอบเป็นโอกาสให้เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยการสังเกต และการพูดคุยหรือมีส่วนร่วม ซึ่งบ่อยครั้งเรามักจะได้มุมมองที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน •  เพื่อทดสอบและปรับปรุงกรอบปัญหา ในบางครั้งการทดสอบไม่ได้เป็นการวัดแต่เพียงว่าสิ่งที่เราคิดค้นนั้นจะตอบ โจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้นได้หรือไม่แต่เป็นการทดสอบว่าโจทย์ปัญหาที่ตั้งนั้นถูกหรือผิด การทดสอบคือโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนาไอเดียของเราให้ดียิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาและปรับแก้อย่างไม่หยุดนิ่ง (Iterative) โดยการนำต้นแบบที่มีความละเอียดต่ำมาทดลองกับกลุ่มเป้า หมายในบริบทจริงหรือเสมือนจริงเพื่อทดสอบว่าความเข้าใจของเราเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้เรา ควรสร้างต้นแบบราวกับว่าเรารู้ว่าเราทำถูก แต่ทดสอบให้เหมือนกับว่าเรารู้ว่าเราจะมีจุดผิดพลาด การทดสอบคืออะไร ทำไมต้องทดสอบ ทดสอบ MODE :: 5 ::
  • 11. คิดแบบผู้เริ่มต้น METHOD ทำไมต้องคิดแบบผู้เริ่มต้น (Beginner’s mindset) คิดแบบมือใหม่ทำอย่างไร เราทุกคนล้วนมีประสบการณ์ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญของตัวเองที่สั่งสมมา ซึ่งคุณลักษณะเฉพาะเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีค่ามากในกระบวนการการออกแบบ อย่างไรก็ตามเราควรเลือกใช้สมบัติล้ำค่าเหล่านี้เฉพาะในช่วง เวลาที่เหมาะสมอย่างเจตนา ในบางครั้งสมมุติฐานหรือมุมมองที่คุณยึดถืออาจเป็นเพียงมายาคติหรือเป็นการ ด่วนตัดสิน จนทำเป็นข้อจำกัดต่อการสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ลึกซึ้ง การคิดแบบผู้เริ่มต้นจึงเป็นการ ป้องกันไม่ให้เกิดการด่วนตัดสิน และช่วยให้สามารถออกแบบได้อย่างสดใหม่มีชีวิตชีวา อย่าด่วนตัดสิน (Don’t judge) เฝ้าคอยสังเกตและคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายโดยปราศจากอคติต่อการกระทำ สถานการณ์ การตัดสินใจ และปัญหาของพวกเขา ตั้งคำถามเกี่ยวกับทุกสิ่ง (Question everything) ถามแม้กระทั่งสิ่งที่คุณคิดว่ารู้คำตอบอยู่แล้ว การตั้งคำถาม ช่วยให้เราได้เรียนรู้ถึงวิธีการมองโลกของกลุ่มเป้าหมาย ลองคิดถึงเด็ก 4 ขวบที่คอยถามว่า “ทำไม” เกี่ยวกับทุก สิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา และ ให้ถามว่า “ทำไม” ต่อไปอีกหลังจากได้รับคำตอบจากคำถาม “ทำไม” ก่อนหน้า แล้ว ช่างสงสัยในทุกสิ่ง (Be truly curious) กระตือรือร้นที่จะแสดงความสงสัยใคร่รู้ออกมา ทั้งในสถานการณ์ที่คุ้น เคยหรือไม่คุ้นชิน มองหาแบบแผน (Find patterns) หาความเชื่อมโยงและธีมหรือหัวข้อที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นระหว่างการมี ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย รับฟังอย่างตั้งใจ (Listen. Really) อย่ายึดติดกับแผนที่คุณวางไว้มากเกินไป ปล่อยให้ตัวคุณได้ซึมซับกับ เหตุการณ์ตรงหน้าอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายพูดให้คุณฟัง และวิธีที่พวกเขาพูด โดยไม่พะวงถึง แต่สิ่งที่คุณกำลังจะพูดต่อไป :: 6 ::
  • 12. ทำไมต้องถามว่า อะไร? | อย่างไร? | ทำไม? วิธีการถาม อะไร? |อย่างไร? | ทำไม? ในระหว่างขั้นตอนการเฝ้าสังเกตกลุ่มเป้าหมาย การถามว่า อะไร? | อย่างไร? | ทำไม? เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณ ทำการสังเกตได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น คำถามง่ายๆเหล่านี้ช่วยให้เราเปลี่ยนจากการสังเกตเพียงสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่ การสังเกตที่ลึกซึ่งลงไปให้เห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างอารมณ์หรือแรงขับดันที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่คุณกำลังเฝ้า สังเกต การถามเช่นนี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปถ่ายจากการลงพื้นที่ได้อย่างดี โดยจะช่วยทั้งในการ สังเคราะห์และการชี้นำแนวทางในการค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่อไป การเตรียมการ: นำกระดาษมา 1 แผ่น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน แล้วเขียน: อะไร?,อย่างไร?, และ ทำไม? เริ่มจากการสังเกตสิ่งที่เป็นรูปธรรม (อะไร): บุคคลที่เราสังเกตอยู่ กำลังทำอะไรในเหตุการณ์นี้หรือในรูปภาพนี้ เขียนอธิบายด้วยคำคุณศัพท์และคำอธิบายเชิง เปรียบเทียบ เคลื่อนไปสู่การทำความเข้าใจ (อย่างไร): บุคคลที่เราสังเกตทำสิ่งที่เขากำลังอยู่ด้วยกริยาท่าทางอย่างไร ต้องใช้ความพยายามมากหรือไม่ ดูเร่งรีบหรือเปล่า มีสีหน้าเจ็บปวดหรือไม่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบในทางบวกหรือลบต่อบุคคลนั้น ใช้หลายๆวลีและประโยคที่ อธิบายได้อย่างชัดเจน ก้าวสู่การวิเคราะห์และตีความ (ทำไม): ทำไมบุคคลที่เราสังเกตจึงทำสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ และทำไมจึงมีอากัปกริยาเช่นนั้น โดยปกติในขั้นตอนนี้จะต้องใช้ การตีความและการคาดเดา(ที่สมเหตุสมผล)ถึงแรงจูงใจและอารมณ์ในสถานการณ์นั้นๆ เครื่องมือนี้จะช่วยเผย สมมุติฐานที่จะคุณควรจะนำมาทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย และบ่อยครั้งยังช่วยทำให้ค้นพบสิ่งที่ไม่คาดคิดในเหตุกา รณ์นั้นๆอีกด้วย อะไร? | อย่างไร? | ทำไม? METHOD :: 7 ::
  • 13. การใช้กล้องเพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ METHOD ทำไมจึงใช้กล้องเพื่อช่วยศึกษา เราจะใช้กล้องเพื่อช่วยศึกษาได้อย่างไร ในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เราอยากเข้าใจการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของพวกเขาในบริบทจริงในชีวิต ของกลุ่มเป้าหมาย การใช้กล้องเป็นตัวช่วยในการศึกษาชีวิตทำให้เราเข้าใจประสบการณ์ของพวกเขาผ่าน สายตาของกลุ่มเป้าหมายเอง และอาจช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมของพวกเขาที่โดยปกติแล้วคุณอาจไม่ สามารถเข้าถึงได้ 1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจจะเรียนรู้จากมุมมองของพวกเขา 2. อธิบายจุดประสงค์ของในการศึกษาโดยสังเขป และขอความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายว่าสามารถถ่ายภาพ ประสบการณ์ต่างๆในชีวิตของพวกเขาได้หรือไม่ และขออนุญาตใช้ภาพที่เขาถ่ายไว้ 3. ให้กล้องแก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งบอกหัวข้อและความต้องการของเรา ตัวอย่างเช่น “เราอยากเข้าใจว่าชีวิต ใน 1 วันของคุณเป็นอย่างไร โดยช่วยถือกล้องตัวนี้ไปติดกับคุณตลอดเวลา และถ่ายรูปประสบการณ์ต่างๆที่คุณ คิดว่าสำคัญ” หรือ “ช่วยถ่ายทอดประสบการณ์(ประจำวันตอนเช้า) ของคุณผ่านกล้องตัวนี้ได้ไหม” หรือ “ช่วย ถ่ายรุปสิ่งที่อยู่ในครัวที่มีความหมายต่อคุณ” สิ่งที่สำคัญคือเราควรตั้งกรอบของคำถามให้กว้างกว่าสิ่งที่คุณคิด ว่าเป็นขอบเขตปัญหา เพื่อขยายการเรียนรู้ถึงบริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจค้นพบสิ่งใหม่ๆที่น่าสนใจทีอาจมี ความเชื่อมโยงกับกรอบปัญหาที่เราสนใจ 4.หลังจากนั้น ขอให้กลุ่มเป้าหมายเล่าเรื่องราวจากรูปภาพเหล่านั้นและอธิบายความสำคัญของสิ่งต่างๆที่พวกเขา บันทึกภาพไว้ ผู้สัมภาษณ์ควรตั้งคำถามที่ทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกและประสบการณ์ที่พวกเขาบอกเล่าผ่าน ภาพถ่ายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น :: 8 ::
  • 14. การเตรียมตัวเพื่อสัมภาษณ์ ทำไมต้องเตรียมการสัมภาษณ์ จะเตรียมการสัมภาษณ์อย่างไร เวลาที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายทุกนาทีมีค่ามาก เราควรใช้เวลาที่มีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แม้ว่าเราควรจะเปิด พื้นที่ให้กับการพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติและลื่นไหลไปตามที่หัวข้อที่กลุ่มเป้าหมายพาเราไป แต่เราก็ไม่ควร ปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะเตรียมการสัมภาษณ์ล่วงหน้า การเตรียมการสัมภาษณเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยโดย เฉพาะการสัมภาษณ์เพื่อติดตามผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย (เช่น หลังจากที่ได้ทดสอบแบบจำลองแล้ว) คุณ อาจไม่ได้ถามทุกคำถามที่เตรียมมา แต่อย่างน้อยก็ควรมีแผนการเผื่อไว้ก่อน ระดมความคิดสำหรับการตั้งคำถาม เขียนคำถามที่เป็นไปได้ทุกคำถามที่ทีมคิดออก พยายามต่อยอดจากความคิดของคนในทีม เพื่อให้ได้มาซึ่งหัวข้อ คำถามที่สำคัญและมีความหมาย มองหาธีมและจัดลำดับความสำคัญ ขั้นตอนนี้คล้ายกับการจัดกลุ่มในขั้นตอนการสังเคราะห์ข้อมุล เรามองหาธีมได้โดยการหาหัวข้อสำคัญที่เชื่อมโยง กลุ่มคำถามที่เกี่ยวเนื่องกันเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นให้พิจารณาลำดับคำถามที่จะทำให้การสนทนาลื่นไหลได้อย่าง เป็นธรรมชาติที่สุด การทำแบบนี้สามารถช่วยให้คุณสัมภาษณ์ได้อย่างเป็นระบบและมีทิศทาง และลดความเสี่ยง ที่จะเกิดบทสนทนาที่สะเปะสะปะกับกลุ่มเป้าหมายของเรา ขัดเกลาคำถาม หลังจากที่คุณจัดกลุ่มคำถามตามธีมและจัดลำดับความสำคัญแล้ว เราอาจพบว่ามีบางคำถามที่ซ้ำซ้อนหรือดู แปลกไม่เข้าพวกกับคำถามอื่นๆสักเท่าไหร่ ให้ลองใช้เวลาสักครู่ในการทบทวนคำถามและเปิดทางพื้นที่มากขึ้น ให้แก่คำถามที่ขึ้นต้นด้วย “ทำไม...” หรือคำถามที่เน้นเรื่องราวเช่น “ช่วยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งสุดท้าย ที่คุณ....” และคำถามที่เน้นการเข้าถึงความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย :: 9 :: METHOD
  • 15. การสัมภาษณ์เพื่อเข้าใจ สัมภาษณ์อย่างไร เราต้องการเข้าใจถึงความคิด ความรู้สึกและแรงจูงใจของผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อที่จะเรียนรู้ว่าจะสร้างสรรค์ทางออก เพื่อตอบโจทย์เขาหรือเธอได้อย่างไร เมื่อเราเข้าใจการตัดสินใจและพฤติกรรมของบุคคลนั้น เราก็จะสามารถค้นพบ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงและสามารถออกแบบเพื่อสนองความต้องการเหล่านั้นได้ ถามว่า ”ทำไม” แม้ในสิ่งที่คุณคิดว่ารู้คำตอบอยู่แล้ว คุณก็ควรที่จะถามว่าทำไมพวกเขาจึงทำหรือพูดแบบนั้น เพราะบางครั้งคำตอบที่ได้รับก็อาจทำให้คุณประหลาดใจ บทสนทนาที่เกิดขึ้นจากคำถามหนึ่งคำถามควรดำเนินต่อ เนื่องไปเรื่อยๆ เท่าที่เห็นสมควร ไม่พูดว่า “โดยปกติแล้ว” ในการถามคำถาม แต่ควรถามถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น “ช่วยเล่า ให้ฟังหน่อยสิ(ครับ/ค่ะ) ถึงครั้งสุดท้ายที่คุณ... “ กระตุ้นให้เล่าเรื่อง การเล่าเรื่องเปิดเผยวิธีการคิดและการมองโลกของผู้คน ไม่ว่าเรื่องเล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นจึงควรถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดการเล่าเรื่อง มองหาสิ่งที่ขัดแย้งกัน บางครั้งสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายพูดและสิ่งที่พวกเขากระทำอาจแตกต่างกัน ความขัดแย้งแบบนี้มัก จะซ่อนข้อมูลลึกๆที่น่าสนใจบางอย่างไว้ ให้ความสนใจกับอวัจนภาษา ให้สังเกตภาษากายและอารมณ์ของผู้พูดให้ดี อย่ากลัวความเงียบ ผุ้สัมภาษณ์มักรู้สึกว่าจะต้องถามคำถามถัดไปเมื่อเกิดความเงียบระหว่างการสนทนา แต่หาก คุณลองปล่อยให้อีกฝ่ายหยุดคิดเงียบๆระหว่างการสนทนา ผู้ถูกสัมภาษณ์ก็จะมีเวลาไตร่ตรองถึงสิ่งที่เขาเพิ่งพูดไป และอาจเผยถึงข้อมูลที่ลึกซึ้งกว่าเดิม ไม่ชี้นำคำตอบ แม้ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะหยุดคิดก่อนตอบคำถาม คุณก็ไม่ควรช่วยเหลือพวกเขาโดยการแนะคำตอบ เพราะอาจทำให้ผู้ถูกถามตอบคำถามในสิ่งที่ตรงกับความคาดหวังของคุณเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ถามคำถามอย่างเป็นกลาง “คุณคิดอย่างไรกับการซื้อของขวัญให้คู่ครอง?” เป็นคำถามที่ดีกว่า “คุณไม่คิดหรือ ว่าการช็อปปิ้งเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม” เพราะคำถามแรกไม่ได้ชี้นำว่ามีคำตอบที่ถูกต้องอยู่แล้ว ไม่ถามคำถามที่มีแค่สองตัวเลือก ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถตอบคำถามแบบนี้ได้ด้วยคำเพียงหนึ่งคำ คุณต้องการบท สนทนาที่เต็มไปด้วยเรื่องราว ใช้เพียง 10 คำในหนึ่งคำถาม ถามคำถามที่กระชับ ประกอบด้วยคำไม่เกินสิบคำ เพราะผู้ถูกสัมภาษณ์อาจงุนงงกับ คำถามที่ยืดยาวจนเกินไป ถามทีละคำถาม และถามทีละคน ยับยั้งความอยากที่จะระดมคำถามใส่ผู้ถูกสัมภาษณ์แบบพรั่งพรู เตรียมพร้อมที่จะเก็บข้อมูล พยายามไปสัมภาษณ์เป็นคู่ทุกครั้ง ถ้าไม่สามารถเป็นไปได้ก็ควรจะใช้เครื่องอัดเสียง (voice recorder) มันเป็นไปได้ยากที่จะสัมภาษณ์และปฏิสัมพันธ์กับผู้ถูกสัมถาษณ์ โดยที่จดรายละเอียดไปในเวลา เดียวกัน นำเสนอ โปรเจกต์ แนะนำ ตัวเอง สร้างความ สัมพันธ์ กระตุ้น เรื่องราว สำรวจ ความรู้สึก สอบถาม เพิ่มติม ขอบคุณ และสรุป เวลา METHOD ทำไมถึงต้องสัมภาษณ์ :: 10 ::
  • 16. เราสัมภาษณ์และพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจความต้องการและค้นหาสิ่งที่สำคัญในชีวิตของพวก เขา นอกจากนี้เรายังสามารถหาแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาที่พวกเขาใช้และเรียนรู้กรอบความคิด ของพวกเขา บ่อยครั้งเมื่อเราสังเกตหรือสนทนากับกลุ่มเป้าหมายที่สุดโต่ง เราจะพบว่าเราสามารถเห็นถึงความ ต้องการและวิธีการแก้ปัญหาของพวกเขาได้ชัดเจนกว่าคนทั่วไป ซึ่งช่วยให้เราค้นพบความต้องการที่สำคัญและมี ความหมายที่เราอาจไม่สามารถเห็นได้เมื่อเราเข้าหากลุ่มเป้าหมายทั่วไป สิ่งที่น่าสนใจก็คือความต้องการที่เรา ได้รับรู้จากกลุ่มคนสุดโต่ง มักเป็นความต้องการของผู้คนส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน กลุ่มเป้าหมายที่สุดโต่ง ทำไมถึงต้องเข้าหา ‘กลุ่มเป้าหมายที่สุดโต่ง’? :: 11 :: photo: flickr/bitchcakesny •  กำหนดว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายสุดโต่ง สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการเริ่มต้นค้นหากลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่งคือการเลือกแง่มุมของโจทย์ที่เราสนใจ ทำลิ สต์ของแง่มุมต่างๆที่เราต้องการเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาของเรา จากนั้นเราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าใครบ้างที่ เข้าข่ายเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่งในแง่มุมดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังออกแบบประสบการณ์ใหม่ใน การจ่ายตลาด คุณอาจลองพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ดังนี้: สินค้าถูกจัดวางอย่างไร วิธีการจ่ายเงินเป็นอย่างไร คนตัดสินใจซื้อของอย่างไร และนำของกลับบ้านอย่างไร ฯลฯ จากนั้นเมื่อเราเริ่มพิจารณาปัจจัยต่างๆ ทีละข้อ เริ่ม ต้นจากการจัดวางสินค้าภายในร้าน เราสามารถสอบถามข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายหลายๆ ประเภท เช่น คนที่ซื้อ ของเป็นประจำ, คนที่ใช้รถเข็นของในห้างสรรพสินค้าเพื่อเก็บสิ่งของที่รีไซเคิลได้, คนที่ทำหน้าที่เลือกสินค้าให้กับ ร้านค้าออนไลน์, คนที่พาเด็กๆ ไปซื้อของด้วย หรือคนที่ไม่ไปจ่ายตลาดเลย •  การปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มสุดโต่ง สังเกตและสัมภาษณ์กลุ่มสุดโต่งเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ มองหาวิธีแก้ปัญหาของพวกเขา หรือพฤติกรรม สุดโต่งอื่นๆ ที่อาจเป็นแรงบันดาลใจหรือเผยถึงข้อมูลที่สำคัญบางอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน •  มองหาความสุดโต่งในเราทุกคน เมื่อเราได้ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่งแล้ว เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เราได้รับมา เพื่อดูว่า ข้อมูลเหล่านั้นสามารถสะท้อนหรือนำมาใช้ในการออกแบบให้กับกลุ่มเป้าหมายหลักได้อย่างไร โดยเราสามารถ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจและต่อยอดความคิดนอกกรอบของเราออกไป METHOD เราควรมีส่วนร่วมกับ ‘กลุ่มเป้าหมายแบบสุดโต่ง’ อย่างไร?
  • 17. ความเข้าใจด้วยเหตุการณ์ที่คล้ายกัน :: 12 :: photos: flickr/xcode, flickr/watt_dabney ระหว่างขั้นตอนการทำความเข้าใจปัญหา การเลือกใช้สถานการณ์เสมือนสามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการ เข้าถึงข้อมูลสำคัญที่ไม่อาจเห็นได้อย่างชัดเจนจากวิธีการแบบตรงไปตรงมา เครื่องมือนี้สามารถนำมาซึ่งแรง บันดาลใจ หนทางที่จะหลุดไปจากกรอบเดิมๆ มุมมองสดใหม่สำหรับการออกแบบ และวิธีการแก้ปัญหาที่น่า สนใจ เมื่อการสังเกตแบบตรงไปตรงมาไม่สามารถทำได้โดยง่าย •  ระบุประเด็นที่สนใจ พูดคุยกับสมาชิกในทีมเกี่ยวกับคุณลักษณะของปัญหาของกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ถ้า เรากำลังศึกษาเกี่ยวกับโรงพยาบาล เราอาจจะมุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาระยะเวลาการรอรับบริการที่กิน เวลานานเกินไป เราควรพยายามมองหาประเด็นที่อาจมีความคล้ายคลึงกับปัญหาการรอคิวนานในโรงพยาบาล โดยสถานการณ์เสมือนควรจะมีความคล้ายคลึงมากพอที่จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจถึงที่มาของปัญหา หรือความต้องการและสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับปัญหาของตนเองได้ •  ระดมความคิดค้นหาสถานการณ์เสมือน หลังจากถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาการรอคิวนานในโรงพยาบาล หากเรามองว่าปัญหาการบริการลูกค้าในโรง พยาบาลเป็นประเด็นสำคัญในโจทย์การออกแบบ เราควรมองหาตัวอย่างสถานที่ที่มีการบริการลูกค้าที่ดีเลิศหรือ สถานที่ที่การบริการลูกค้าควรได้รับการปรับปรุง โดยเราควรเข้าไปสำรวจดูสถานที่ตัวอย่างนั้นหรือทำการ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ดังกล่าว •  สร้างพื้นที่เก็บแรงบันดาลใจ รวบรวมรูปภาพของสถานที่ตัวอย่างรวมไปถึงคำพูดที่น่าสนใจซึ่งได้มาจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ สถานที่นั้นๆ แล้วนำไปแปะไว้บนบอร์ดตัวอย่าง โดยรูปภาพและคำพูดเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจ หรือที่มาของความต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการขั้นต่อๆ ไปในการออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหา METHOD ทำไมจึงต้องใช้การทำความเข้าใจสถานการณ์เสมือน? เราจะทำความเข้าใจด้วยสถานการณ์เสมือนได้อย่างไร?
  • 18. การเล่าเรื่องและจับใจความ :: 13 :: จุดมุ่งหมายของการเล่าเรื่องหรือแบ่งปันเรื่องราวภายในกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 ข้อ ข้อที่หนึ่ง เพื่อให้สมาชิกในกลุ่ม ได้แบ่งปันเรื่องราวที่แต่ละคนได้พบเห็นหรือได้ฟังมาจากพื้นที่สำรวจ ถึงแม้ว่าทุกคนในกลุ่มจะลงสำรวจในพื้นที่ เดียวกัน แต่ประสบการณ์ของแต่ละคนที่ได้รับอาจแตกต่างกันได้ เพราะฉะนั้นการแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้เป็น สิ่งที่มีค่าในการทำงาน ข้อที่สอง เพื่อวิเคราะห์หรือค้นพบประเด็นที่ซ่อนเร้นที่เกิดขึ้นก็ต่อเมือเราได้รับฟังเรื่องราว ที่สมาชิกคนอื่นในกลุ่มแบ่งปัน ข้อที่สาม เพื่อรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจจากการลงพื้นที่ ซึ่งเป็นจุด เริ่มต้นของกระบวนการเติมเต็มพื้นที่แห่งข้อมูล (space saturation) ทำไมจึงต้องใช้การเล่าเรื่องและจับใจความ? เราควรเล่าเรื่องราวที่โดดเด่นและอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เราสังเกตเห็นและได้ยินจากการลงพื้นที่เพื่อเข้าใจกลุ่มเป้า หมาย ในกระบวนการนี้ เราจะใช้กระดาษ post-it เป็นอุปกรณ์หลักในการเติมเต็มพื้นที่แห่งข้อมูล (space saturation) โดยเริ่มจากสมาชิกในกลุ่มผลัดกัน ‘เล่าเรื่อง’ ที่ตนเองได้พบระหว่างการลงพื้นที่หรือการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย ระหว่างที่สมาชิกคนหนึ่งกำลังเล่าเรื่องอยู่นั้น สมาชิกคนที่เหลือก็จะทำการ ‘จับใจความ’ ด้วยการ จดบันทึกข้อความที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์หรือบันทึกสิ่งที่ทำให้รู้สึกประหลาดใจ โดยในระหว่างการจับใจ ความ เราจะใช้กระดาษ post-it หนึ่งแผ่นเพื่อบันทึกหนึ่งข้อความหรือหนึ่งเหตุการณ์ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เล่าเรื่อง ของตนเองแล้ว ลำดับต่อไปคือ การจัดกลุ่มกระดาษ post-it เหล่านั้นเพื่อสะท้อนถึงรูปแบบหรือหัวข้อโดยรวม (อ่านวิธีการเพิ่มเติมที่กระบวนการ ‘เติมเต็มและจัดหมวดหมู่ – Saturation and Group’) จุดมุ่งหมายสุดท้ายของ เราก็คือการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าเขาคือใครและต้องการอะไร เราจะทำการเล่าเรื่องและจับใจความได้อย่างไร? METHOD
  • 19. การเติมเต็มและจัดหมวด หมู่ :: 14 :: การ ‘เติมเต็ม’ พื้นที่แห่งข้อมูลคือการเขียนเล่าข้อคิดและประสบการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์หรือการลงสำรวจ พื้นที่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการแปรความคิดออกมาเป็นสิ่งที่เรามองเห็นและจับต้องได้ จากนั้นเมื่อเราทำการ ‘จัด หมวดหมู่’ ข้อมูลที่เราได้รับมา เราจะสามารถมองเห็นรูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูลได้ง่ายขึ้น และทำให้เรา สามารถระบุความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและที่มาของความต้องการ ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่การออกแบบวิธีแก้ไข ปัญหาได้ ทำไมจึงต้องใช้การเติมเต็มและจัดหมวดหมู่? เป้าหมายของกระบวนการนี้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาและเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลเชิงลึกซึ่งมีประโยชน์ต่อ การออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป ในการ ‘เติมเต็มและจัดหมวดหมู่’ เราใช้กระดาษ post-it ในการแสดง ข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ (อ่านวิธีการเพิ่มเติมที่กระบวนการ ‘การเล่าเรื่องและจับใจความ’) นอกจากนี้ บนพื้นที่แห่ง ข้อมูลควรมีรูปภาพของพื้นที่ที่ได้ไปสำรวจ, บุคคลที่เราได้พบและพูดคุยด้วย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์หรือสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นในขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ เราควรเริ่มจากการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลและรูปภาพต่างๆ ที่ได้ รับมาจากพื้นที่สำรวจ โดยที่เราอาจสังเกตได้ว่าข้อมูลหลายๆ อย่างที่ได้มาระหว่างการสัมภาษณ์หรือการลงพื้นที่ อาจมีความเหมือนหรือความคล้ายคลึงกัน ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างหมวดหมู่ ดังนั้น ในขั้นตอนการจัดหมวดหมู่นี้ เราสามารถทดลองจัดข้อมูลในหลายๆ รูปแบบเพื่อที่จะค้นหาที่มาของความ ต้องการซึ่งอาจพบได้หลากหลายในแต่ละกรณี ตัวอย่างของการจัดกลุ่มข้อมูล เช่น เราอาจสังเกตว่าข้อมูลหลายๆ อย่างที่ได้ระหว่างการสัมภาษณ์หรือการลงพื้น ที่สำรวจจะมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกปลอดภัย ดังนั้น สิ่งที่เราควรคำนึงถึงในขั้นตอนต่อไป คือ การพยายาม คิดนอกกรอบและหาจุดเชื่อมโยงไปสู่ที่มาของความต้องการเช่น “ความรู้สึกปลอดภัยมักขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังอยู่ กับใคร มากกว่าเรากำลังอยู่สถานที่ไหน” เราจะทำการเติมเต็มและจัดหมวดหมู่ได้อย่างไร? METHOD
  • 20. แผนภูมิแห่งความเข้าใจ การออกแบบที่ดีเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อบุคคลที่เรากำลังทำการออกแบบให้ เครื่องมือที่เราสามารถ ใช้ในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายนั้นมีมากมาย แผนภูมิแห่งความเข้าใจก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราสามารถ ใช้เพื่อทำความเข้าใจ, วิเคราะห์สิ่งที่เราค้นพบจากกลุ่มเป้าหมายและค้นหาที่มาของความต้องการซึ่งเราหรือกลุ่ม เป้าหมายอาจไม่ได้คาดคิดมาก่อน ทำไมจึงต้องใช้แผนภูมิแห่งความเข้าใจ? ถอดเรื่องราว: เริ่มต้นจากการสร้างแผนภูมิ 4 ช่องบนกระดาษหรือกระดานดำ โดยแต่ละช่องจะแสดงถึงประเภทของ ข้อมูลที่แตกต่างกัน จากนั้นแบ่งประเภทของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์หรือจากการสำรวจพื้นที่ลงในช่องข้อมูล ตามประเภทที่เหมาะสม โดยเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อมูลที่เรามีควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ประเภทใด คือ พูด – ตัวอย่างประโยคหรือคำพูดที่กลุ่มเป้าหมายสื่อสารออกมา ทำ – การกระทำหรือพฤติกรรมที่สังเกตเห็นระหว่างการสัมภาษณ์ คิด – กลุ่มเป้าหมายมีความคิดอย่างไร? ความคิดเหล่านี้สามารถเชื่อมไปสู่ความเชื่อของพวกเขาได้อย่างไร? รู้สึก – กลุ่มเป้าหมายมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร? สิ่งหนึ่งที่เราควรระลึกเสมอ คือ ความคิด ความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจน ข้อมูลเหล่านี้มักมาจากการสังเกตและพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างถี่ถ้วน โดยข้อมูลดังกล่าวอาจมาในรูปแบบของ ท่าทางการแสดงออกของกลุ่มเป้าหมายขณะที่ทำการสัมภาษณ์ หรือลักษณะน้ำเสียงและคำพูดที่ใช้ ระบุความต้องการ: ความต้องการ (Needs) คือ สิ่งที่ตอบสนองต่อความจำเป็นมนุษย์ในด้านอารมณ์และกายภาพ ความต้องการเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของการออกแบบ สิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงไว้เสมอ คือ ความต้องการใน ที่นี้ ไม่ใช่ คำนาม หรือวิธีการแก้ไขปัญหา แต่ความต้องการในที่นี้เป็น กริยา ซึ่งหมายถึงกิจกรรมหรือสิ่งที่กลุ่มเป้า หมายต้องการความช่วยเหลือ เราสามารถระบุความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้จากข้อมูลที่ได้รับมาโดยตรงจาก การสัมภาษณ์หรือจากการสังเกตข้อมูลที่มีความขัดแย้งภายในตัวเอง เช่น ความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่กลุ่มเป้าหมาย พูดกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกระทำ จากนั้น เขียนความต้องการที่เราได้มาลงบนด้านข้างของแผนภูมิแห่งความเข้าใจ เข้าใจที่มาอย่างแจ่มแจ้ง: ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) คือ ข้อเท็จจริงหรือความเข้าใจซึ่งสังเคราะห์ได้จาก ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสัมภาษณ์หรือการลงพื้นที่สำรวจ โดยที่มาของความต้องการเหล่านี้อาจเกิดจากข้อมูลที่มี ลักษณะตรงข้ามกันหรือมีความขัดแย้งกัน หรืออาจเกิดจากที่เราตั้งคำถามว่า “ทำไม” ต่อกลุ่มเป้าหมายเมื่อเราสังเกต เห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ ในการสร้างแผนภูมิแห่งความเข้าใจ เราเขียนที่มาของความต้องการที่ค้นพบตรงด้านข้าง ของแผนภูมิ และนำมาใช้ประกอบการค้นหาคำตอบต่อโจทย์ปัญหาที่ได้รับต่อไป METHOD เราใช้แผนภูมิแห่งความเข้าใจอย่างไร? :: 15 ::
  • 21. แผนภูมิการเดินทาง :: 16 :: การสร้างแผนภูมิการเดินทางเป็นวิธีการวิเคราะห์ขั้นตอนของกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยเป็นการทำความ เข้าใจต่อตัวบุคคลหรือกระบวนการต่างๆ ผ่านประสบการณ์หรือการเดินทางในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งรายละเอียดที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงที่มาของความต้องการได้ แผนภูมิการเดินทางนี้สามารถนำ ไปใช้กับกระบวนการทำความเข้าใจในงานของเราเองหรือสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสิ่งที่เรา ค้นพบให้กับผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน ทำไมจึงต้องใช้แผนภูมิการเดินทาง? เราสร้างแผนภูมิขึ้นเพื่อบันทึกข้อสังเกตหลายๆ อย่าง เช่น การสร้างแผนภูมิที่แสดงถึงการใช้ชีวิตประจำวันของ กลุ่มเป้าหมาย, แผนภูมิที่แสดงถึงประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือแผนภูมิแสดงการเดินทางของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตจนไปถึงมือของผู้ใช้ เราควรพยายามเลือกสร้างแผนภูมิของกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เราต้องการออกแบบแนวทาง การแก้ไข ตัวอย่างเช่น เมื่อเราต้องการศึกษากิจวัตรการรับประทานอาหารเช้าของกลุ่มเป้าหมาย เราสามารถเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับทุกๆ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายในตอนเช้าของกลุ่มเป้าหมายภายในหนึ่งเดือน, ใครที่กลุ่มเป้าหมายไปออกกำลังด้วย, กลุ่มเป้าหมายมาจากไหนและไปออกกำลังกายที่ใด หรือในกรณีที่นัก ออกแบบต้องการพัฒนาเว็บไซต์จัดหาคู่ เราสามารถบันทึกบทสนทนาที่เกิดขึ้นทุกเวลาระหว่างบุคคลสองคนก่อน ที่ทั้งคู่จะได้พบกันเป็นครั้งแรก สิ่งสำคัญในการสร้างแผนภูมิการเดินทาง คือ การทำความเข้าใจในตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องการบันทึกโดยไม่ ละเลยต่อกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเปิดม่านกันแดดก่อนรับประทานอาหารเช้า เนื่องจากสิ่งที่อาจดู เป็นเรื่องไม่สำคัญหรือไม่มีความหมายนี้ อาจเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจได้ เราสามารถสร้างแผนภูมิการเดินทางจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรง หรืออาจให้กลุ่มเป้าหมายสร้าง แผนภูมิขึ้นมาเองแล้วอธิบายให้ฟัง แผนภูมิการเดินทางอาจอยู่ในรูปแบบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามเวลา, รูปภาพที่บอกเล่าเรื่องราว, หรือแผนภูมิขนานแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน จากนั้นเราควรมองหารูปแบบ ที่คล้ายกันหรือความผิดปกติของเหตุการณ์แล้วตอบคำถามว่าทำไมเหตุการณ์เหล่านั้นจึงเกิดขึ้น นอกจากนั้นเรา ควรพยายามทำความเข้าใจและมองหาจุดเชื่อมต่อของแต่ละเหตุการณ์ เพราะบ่อยครั้งที่การสังเกตและการ ทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ผนวกกับความรู้ของนักออกแบบสามารถช่วยเชื่อมไปถึงที่มาของความต้องการได้ เราจะใช้แผนภูมิการเดินทางได้อย่างไร? METHOD
  • 22. เขาคือใคร? :: 17 :: ในหลายๆ ครั้ง เมื่อเราออกไปสัมภาษณ์ เราจะได้ข้อมูลจำนวนมากซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคลของกลุ่มเป้า หมาย แต่บางส่วนของข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญหรือไม่น่าสนใจ กระบวนการ ‘เขาคือใคร?’ จึงได้รับการนำมาใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อสังเกตที่เป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายโดยการสร้างตัว ละครใหม่ขึ้นมาหนึ่งคน เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด บุคคลที่เราสร้างขึ้นมาใหม่นี้จะช่วยให้สมาชิก ในกลุ่มสามารถให้ความสำคัญต่อลักษณะบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อการออกแบบเท่านั้น และจะทำให้งานสามารถ ดำเนินต่อไปได้ ทำไมจึงต้องใช้กระบวนการ ‘เขาคือใคร’? เราจะใช้กระบวนการ ‘เขาคือใคร’ ได้อย่างไร? เราสร้างบุคคลสมมติขึ้นมาโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายหรือการลงพื้นที่สำรวจ โดย บุคคลสมมติที่สร้างขึ้นจะมีคุณลักษณะทั่วไป, แนวโน้มในการดำรงชีวิต และลักษณะเฉพาะอื่นๆ ที่นักออกแบบค้น พบ ในการสร้างบุคคลสมมตินี้ เราจำเป็นต้องถอดเรื่องราวที่ได้รับมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและค้นหา ความเหมือนของข้อมูลในแง่มุมต่างๆ เช่น เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส, อาชีพ, ลักษณะนิสัยหรือแรงบันดาลใจ เป็นต้น นอกจากนี้สมาชิกในทีมควรแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มเติมข้อมูล อื่นๆ ที่คิดว่ามีความน่าสนใจ ถึงแม้ว่าข้อมูลนั้นๆ อาจไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรงเราก็ควรใส่ข้อมูลนั้น เข้าไปในตัวบุคคลสมมตินี้ ท้ายสุดแล้วเราควรตั้งชื่อให้กับบุคคลสมมติคนดังกล่าวและสอบถามความคิดเห็นกับ ทุกคนในกลุ่มว่าเห็นด้วยกับคุณลักษณะของบุคคลสมมติที่สร้างขึ้นมาหรือไม่ METHOD แฟรงคิน •  อายุ 38 ปี •  สถานะ หย่า •  ลูก 2 คน •  มีโรคเบาหวาน •  ทำอาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยในคลินิก •  ชอบกินและทำอาหาร •  มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพตัวเอง และผู้อื่น