SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 68
Baixar para ler offline
คู่มือ
การดูแลสุขภาพจิตกาลังพลกองทัพบก
สาหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
2
คานา
ด้วยความห่วงใยของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ให้ความสาคัญเร่งด่วนในการ
ทนุบารุงขวัญใจของกาลังพล โดยให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทุ่มเททรัพยากร เพื่อช่วยกันในทุกๆ ด้าน หน้าที่ของทหาร
เหล่าแพทย์คืออนุรักษ์กาลังรบและครอบครัว ซึ่งมีหน้าที่จัดบริการด้านการแพทย์ให้แก่กาลังพล ทั้งที่ได้รับบาดเจ็บ
จากการปฏิบัติภารกิจ และการช่วยเหลือประชาชน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และ
ประชาชนในพื้นที่ ขวัญกาลังใจของกาลังพลทหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนาไปสู่ความสาเร็จของภารกิจ กรมแพทย์
ทหารบกตระหนักดีถึงปัจจัยนี้ ดังนั้นจึงให้มีการดูแลสุขภาวะทางจิตใจในหน่วยทหาร โดยพัฒนาระบบในการเฝ้าระวัง
ป้องกันปัญหาอันจะเกิดจากปัจจัยทางจิตใจขณะปฏิบัติภารกิจ
แนวทางที่จัดทาขึ้นนี้ต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลกองทัพบก ให้มีความรู้เกี่ยวกับ แนว
ทางการประเมินคัดกรองสุขภาวะ รวมถึงมีความสามารถในการดูแลและรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น การช่วยเหลือ
ด้านจิตใจเบื้องต้นและส่งต่อในกรณีที่มีปัญหาซับซ้อนได้ รวบรวมและเรียบเรียงโดยจิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชและ
ประสาทวิทยา กองการศึกษา วิทยาแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และกองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระ
มงกุฎเกล้า จัดทาโดยกองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กาลังพลใช้เป็นแนวทางในการ
จัดการกับความอ่อนล้าจากการรบและการดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อให้ทหารปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด
พลโท
( ธีรยุทธ ศศิประภา )
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
3
สารบัญ
หน้า
คานา
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นด้านสุขภาพจิต 4
บทที่ 2 โรคจิต (Psychosis) 7
บทที่ 3 โรคซึมเศร้า (Depression) 13
บทที่ 4 การติดสารเสพติด 17
บทที่ 5 ปฏิกิริยาจากการรบ 26
บทที่ 6 ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต 29
Post-traumatic Stress Disorder (PTSD)
บทที่ 7 การทาร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย 34
บทที่ 8 การให้สุขภาพจิตศึกษาและปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น 39
บทที่ 9 แนวทางและวิธีการใช้เครื่องมือคัดกรอง 41
บทที่ 10 การติดตามเฝ้าระวังและติดตามผล 55
ภาคผนวก แบบคัดกรองและแบบบันทึกการเฝ้าระวัง 60
4
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นด้านสุขภาพจิต
เรียบเรียงโดย พ.อ.หญิงนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล
พ.อ.อิศรา รักษ์กุล
ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในทหารกองประจาการ
1. การพยายามทาร้ายตัวเองและฆ่าตัวตาย
2. พฤติกรรมก้าวร้าว
3. อาการทางจิตอย่างเฉียบพลัน
ปัจจัยกระตุ้น
1. โรคทางกายซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการง่ายขึ้นจากความตึงเครียดจากการฝึกหนักหรือการปฏิบัติภารกิจ
เช่น โรคลมชัก โรคกระเพาะ โรคหอบหืด ร่างกายไม่แข็งแรง อาการเหล่านี้แยกได้ลาบากกับปัญหาทางจิตใจและมี
อาการทางกาย
2. บุคลิกภาพ เช่น ไม่อดทน ท่าทีต่อต้าน ไม่เคารพ ขาดความมั่นใจ
3. การปรับตัวกับภารกิจใหม่หรืออยู่เช่น เครียด เศร้า แกล้งป่วย ปรับตัวกับกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยไม่ได้ เลี่ยง
การฝึก ทาร้ายตนเอง พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
4. สติปัญญาทึบ
5. โรคทางจิตเวช เช่น โรคจิต โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน
6. การใช้สารเสพติด
7. ความผิดปกติทางเพศ เช่น แสดงท่าทางคล้ายผู้หญิง
ปัญหาเหล่านี้กาลังพลบางนายมีอาการก่อนเข้าประจาการ บางนายมีความโน้มเอียงที่จะเกิดอาการอยู่
เดิม ขบวนการฝึกทหารใหม่หรือการปฏิบัติภารกิจภายใต้ความกดดันเพียงเสริมให้เห็นปัญหาชัดเจน
แนวทางการแก้ไข
1. แยกแยะผู้มีปัญหา โดยการหาข้อมูลและสาเหตุของปัญหาร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าชุด
ปฏิบัติการ
2. ให้เวลาและความใกล้ชิดกับทหารประจาการใหม่มากขึ้น พูดคุยเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อเกิดความเข้าใจใน
แนวทางเดียวกัน
3. ใช้กิจกรรมนันทนาการมาช่วยเสริมเพื่อลดความตึงเครียด
4. อนุญาตให้โทรศัพท์หาญาติหรือให้ญาติมาเยี่ยมในกรณีจาเป็น
5. มีการประชุมทีมที่ดูแลทหารอย่างสม่าเสมอเพื่อให้เกิดการดูแลด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม
6. ทาความเข้าใจกับครอบครัว
7. ในทหารที่ป่วยเป็นโรคจิตตั้งแต่ก่อนประจาการและมียาจิตเวชกินเป็นประจาไม่ควรงดยาและกาชับให้มี
การกินยาอย่างสม่าเสมออย่าให้ขาดยาเนื่องจากจะทาให้อาการกาเริบ
5
8. ในรายที่มีปัญหาทางจิตใจควรมีระบบเพื่อนคู่หูคอยดูแลช่วยเหลือ เฝ้าระวังปัญหา และรายงาน
ผู้บังคับบัญชาทันทีหากเห็นอาการผิดปกติ
9. ผู้ที่มีปัญหาทางกายและจิตที่รุนแรงให้ส่งต่อหน่วยรักษาพยาบาลใกล้เคียง
การพยายามทาร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย
ลักษณะผู้มีแนวโน้มทาร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย
1. มีปัญหาทุกข์ใจ ประสบเหตุการณ์ร้ายในชีวิต ท้อแท้หมดหวังไม่มีที่พึ่ง หมดหนทางในชีวิต คิดว่าชีวิตไม่มี
ความหมาย มีความวิตกกังวลสูง มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นในช่วยนี้
2. เคยเป็นโรคจิตโดยเฉพาะพวกหวาดระแวงหรือหูแว่วมีเสียงคนสั่งให้ฆ่า
3. เคยมีประวัติพยายามฆ่าตัวตายแล้ว
4. ใช้สารเสพติด เช่น สุรา ยานอนหลับ ยาบ้า
5. มีบุคลิกภาพอ่อนแอ ใจน้อย ต้องพึ่งพิงคนอื่น
ถ้าสงสัยว่าจะคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ ควรถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย การถามเรื่องนี้เป็นสิ่งสาคัญ เพราะจะ
ช่วยรักษาชีวิตเขาไว้ได้ การถามเรื่องฆ่าตัวตาย ทาได้โดยใช้ชุดคาถามขั้นบันไดดังนี้
1. เมื่อพบว่ามีอารมณ์ซึมเศร้า ให้ถามต่อไปว่า “ความเศร้านั้นมากจนทาให้เบื่อชีวิต หรือไม่”
2. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดอยากตาย หรือไม่”
3. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทาหรือไม่”
4. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทาอย่างไร”
5. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทาหรือไม่”
6. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทาอย่างไร”
7. สุดท้าย ให้ถามต่อไปว่า “มีอะไรยับยั้งใจ จนทาให้ไม่ได้ทา”
คาถามสุดท้าย ไม่ว่าจะตอบอย่างไร จะเป็นปัจจัยทางบวกที่ช่วยให้เขายั้งคิด ไม่ทาในครั้งต่อไปเช่นกัน
บางคนมีความเชื่อผิดๆว่า การถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะไปกระตุ้นคนที่ยังไม่คิดไปคิดฆ่าตัวตาย หรือคนที่คิดอยาก
ตายอยู่แล้วจะเป็นการกระตุ้นให้ทา ความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง ความจริงคือ การถามไม่ได้ชักจูงหรือกระตุ้น
ให้ทา คนที่คิดจะทาอยู่แล้วจะรู้สึกดีขึ้น จนไม่ทาจริง
แนวทางการช่วยเหลือ
1. ลักษณะดังต่อไปนี้เป็นผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการทาร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย ควรเฝ้าระวังและส่งต่อ
กาลังพลไปยังหน่วยพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป
 มีโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิต หูแว่ว ประสาทหลอน การติดยาเสพติด
 มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนและยังคงมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่
 มีแผนการในการฆ่าตัวตายชัดเจน วิธีการรุนแรง มีอุปกรณ์ที่จะใช้ทาร้ายตนเองอยู่ใกล้ตัว เช่น เชือก
หรือผ้าผืนยาว ของมีคม อาวุธปืน
6
 มีสัญญาณเตือนถึงการฆ่าตัวตาย เช่น จดหมายลาตาย การเปรยว่าถ้าตัวเองไม่มีชีวิตอยู่คนรอบข้าง
จะทาอย่างไร
2. การดูแลด้านจิตใจเบื้องต้นก่อนส่งต่อ
 การพูดคุยซักถามตรงๆ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยอมรับว่ามีความทุกข์ใจและหาวิธีแก้ไข ให้ความเห็น
ใจและเข้าใจ ไม่ตาหนิ ควรมีท่าทีสน ให้ความสาคัญไม่แสดงความราคาญด้วยวิธีการฆ่าตัวตายของ
ผู้ป่วย
ชี้ให้กาลังพลเห็นว่ากาลังเกิดความลังเลภายในใจระหว่างความอยากมีชีวิตอยู่ต่อไปกับความอยากตาย
การดูแลทหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ลักษณะของพฤติกรรม
สีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร แสดงท่าทางไม่พอใจ กระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้ พูดโต้ตอบด้วยน้าเสียงห้วน
เสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ใช้คาพูดกระแทกกระทั้น วาจาหยาบคาย ตาหนิติเตียน ขู่ตะคอก ทะเลาะวิวาท ชกต่อย ทุบตี
ทาลายข้าวของ ละเมิดสิทธิผู้อื่น และลักษณะอื่นๆ เช่น มีกลิ่นสุราจากลมหายใจ มีรอยฉีดยาตามร่างกายเหมือนผู้ติด
ยาเสพติด
ข้อควรระวังเมื่อพบกาลังพลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
1. ระวังอาวุธที่ติดตัวทหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ปืน วัตถุระเบิด มีด ฯลฯ
2. ไม่ควรเข้าหาเพียงลาพังคนเดียว
3. ไม่ควรนาเข้าไปอยู่ในห้องที่ปิดหรือแคบ
4. ไม่ควรพูดด้วยเสียงที่ดัง ดุดันหรือข่มขู่
แนวทางปฏิบัติกับกาลังพลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
1. แยกผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ตึงเครียด หรือเหตุกระตุ้น
2. ผู้บังคับบัญชาต้องเผชิญสถานการณ์ด้วยความมั่นใจอย่างมีแผน ระมัดระวังและมีท่าทีสงบยอมรับ
พฤติกรรมก้าวร้าวพูดด้วยน้าเสียงอ่อนโยน ไม่ตาหนิ โดยเรียกชื่อกาลังพลให้ถูกต้องและชัดเจน และเตือนสติให้กาลัง
พลรู้ว่าเขากาลังทาอะไรและต้องการอะไร เจรจาขอปลดอาวุธด้วยความระมัดระวัง
3. ใช้คาถามปลายเปิดให้ทหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ระบายความไม่พอใจ
4. เมื่อเจรจาไม่สาเร็จให้เตรียมกาลังพลพร้อมในการจากัดพฤติกรรม
5. ขั้นตอนในการจากัดพฤติกรรม
5.1 เตรียมอุปกรณ์ เชือก ผูกมัดให้พร้อม
5.2 กาลังพลที่จะร่วมปฏิบัติการผูกมัดให้วางแผนว่าใครจะจับมือหรือขา ผู้ที่จะเป็นผู้จับควร
เก็บอาวุธที่ติดตัวหรือสิ่งของที่จะเป็นอันตรายต่อตัวเองขณะจับ
5.3 เมื่อผูกมัดเรียบร้อยแล้วนาไปแยกออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานและพูดคุยให้สงบ
5.4 ประสานกับหน่วยรักษาพยาบาลใกล้เคียงเพื่อส่งต่อ
7
บทที่ 2
โรคจิต (Psychosis)
เรียบเรียงโดย พ.ต.ณัฐพล โชคไมตรี
โรคจิตหมายถึงสภาวะที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง (out of reality) และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียการ
รับรู้ว่าตนเองผิดปกติไป (lack of insight) กลุ่มโรคทางจิตเวชที่มีอาการของโรคจิตนั้นมีหลายโรค เช่น
schizophrenia, schizophreniform disorder, brief psychotic disorder เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดของลักษณะ
อาการทางคลินิก การดาเนินโรค การพยากรณ์โรคแตกต่างกันไป สามารถให้การวินิจฉัยได้โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ของ
สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 4 ปรับปรุงเนื้อหา (DSM-IV-TR) หรือเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลกฉบับ
ที่ 10 (ICD-10)
ลักษณะอาการ
อาการโรคจิต (psychotic symptoms) เป็นอาการสาคัญของผู้ป่วยโรคจิต สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม
อาการหลัก ตามแนวคิดของ Lindamayer JP และคณะ ดังนี้
1. กลุ่มอาการชนิดบวก (positive symptoms) เป็นความผิดปรกติที่แสดงออกในด้านความผิดปกติของความคิด
การรับรู้ และพฤติกรรม ได้แก่
 อาการหลงผิด (delusion) เป็นอาการที่ผู้ป่วยมีความเชื่อผิดไปจากความเป็นจริง เป็นความเชื่อที่ฝังแน่น ไม่
ว่าจะมีหลักฐานหรือเหตุผลใดมาหักล้าง ผู้ป่วยก็ไม่เปลี่ยนความเชื่อของตน อาการหลงผิดที่พบในผู้ป่วย
สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น อาการหวาดระแวงว่ามีคนปองร้ายหรือไม่ประสงค์ดีกับตนเอง
(persecutory delusion) หลงผิดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวเชื่อมโยงกับตนเอง (delusion of
reference) หลงผิดว่าตนเองเป็นเทพหรือเป็นคนสาคัญ (grandiose delusion) อาการหลงผิดที่มี
น้าหนักในการวินิจฉัย ได้แก่ อาการหลงผิดที่มีเนื้อหาแปลกประหลาด และเป็นไปไม่ได้ (bizarre
delusion)
 อาการประสาทหลอน (hallucination) เป็นการรับรู้ทั้งที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น ซึ่งเป็นได้ทั้งการรับรู้ทางรูป รส
กลิ่น เสียง สัมผัส ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ เสียงแว่ว (auditory hallucination) มักจะได้ยินแบบเป็นเรื่องเป็น
ราวและได้ยินขณะที่ยังรู้ตัวดีอยู่ตลอด ลักษณะของหูแว่วที่มีความสาคัญ ได้แก่
- audible thoughts ได้ยินเสียงคนพูดเป็นเนื้อหาใจความเหมือนอย่างที่คิด
- voices commenting เป็นเสียงแว่วที่มีเนื้อหาวิจารณ์การกระทาต่างๆของผู้ป่วย
- voices arguing เป็นการได้ยินเสียงคนมากกว่า 2 คนถกเถียงหรือออกความเห็นกัน ซึ่งมักมี
เนื้อหาเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยเอง
8
 พฤติกรรมผิดปรกติ (disorganized behavior) ไม่เหมาะสม แปลกอย่างมาก เช่น สวมเสื้อหลายตัวทั้งที่
อากาศร้อนจัด มีการเคลื่อนไหวที่คล้ายพิธีกรรม หรือทาท่าแปลก ๆ ซ้า ๆ หรือทาท่าทางบิดเบี้ยวไม่เป็น
ธรรมชาติค้างอยู่นานหรือค้างอยู่เกือบตลอดเวลา
2. กลุ่มอาการชนิดลบ (negative symptoms) เป็นการที่ผู้ป่วยขาดในสิ่งที่คนทั่วๆไปมี ได้แก่
- Alogia พูดน้อย เนื้อหาที่พูดมีน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ
- Affective flattening การแสดงออกทางสีหน้าลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย
- Avolition-apathy ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่เฉยๆได้ทั้ง
วัน โดยไม่ทาอะไร
- Anhedonia-asociality ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนาน เก็บตัว ไม่ค่อยแสดงออก ไม่สนใจคบหาสมาคมกับใคร
3. กลุ่มอาการด้าน cognition เป็นการที่ไม่สามารถคิดแบบสรุปรวบยอดได้ ไม่สามารถคิดแบบนามธรรม ไม่รับรู้วัน
เวลา สถานที่ ความสนใจไม่ดี และความคิดหมกมุ่น ซึ่งจะแสดงออกมาให้เห็นทางคาพูดเป็นคาพูดที่ผิดปรกติ
(disorganized speech) เช่น พูดจาวกวน สับสน ไม่รู้เรื่อง ขาดความต่อเนื่อง ไม่เป็นเหตุเป็นผล
4. กลุ่มอาการตื่นเต้นกระวนกระวาย (excitement symptoms) รวมถึงการไม่ให้ความร่วมมือ การควบคุม
แรงผลักดันของตนเองไม่ได้ (poor impulse control) การไม่เป็นมิตร (hostility) และการก้าวร้าว (aggression)
5. กลุ่มอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล (depressive and anxiety symptoms)
อาการซึมเศร้า อาจเกิดขึ้นในช่วงใดของการดาเนินโรคก็ได้ อาจเกิดก่อนอาการโรคจิต (prepsychotic
depression) หรืออาจพบเมื่อหายจากอาการโรคจิต (postpsychotic depression) แล้วก็ได้ ซึ่งกลุ่มอาการซึมเศร้า
นี้ต้องแยกจากกลุ่มอาการด้านลบที่ผู้ป่วยจะมีความสนใจในตัวเองและสิ่งแวดล้อมลดลง ความรู้สึกยินดีลดลง ไม่มีพลัง
ไม่มีแรงจูงใจ เคลื่อนไหวได้ช้าเหมือนกัน แต่กลุ่มอาการด้านลบจะมีอาการเด่นชัดที่การแสดงออกทางอารมณ์ที่ลดลง
หรือเฉยเมยชัดเจนกว่า ในขณะที่กลุ่มอาการซึมเศร้าจะมีอารมณ์ซึมเศร้าที่เด่นชัด ร่วมกับมีความผิดปกติของการนอน
การอยากอาหารและมีความรู้สึกผิดด้วย
อาการวิตกกังวล พบได้บ่อยในช่วงระยะอาการนา (prodromal) และช่วงที่มีอาการทางจิตรุนแรง และอาจ
เป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคจิตได้ เช่นผู้ป่วยอาจมีอาการวิตกกังวลที่เป็นผลมาจากอาการประสาทหลอนหรือ
หวาดระแวง แต่จะพบอาการนี้ได้น้อยในช่วงที่โรคเป็นเรื้อรังแล้ว
9
เกณฑ์การวินิจฉัย อ้างอิงจากเกณฑ์ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 4 ปรับปรุงเนื้อหา (DSM-IV-TR)
 มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อขึ้นไป นาน 1 เดือน (หรืออาจน้อยกว่า 1 เดือน หากผู้ป่วยได้รับการรักษา)
1. อาการหลงผิด (Delusion)
2. อาการประสาทหลอน (Hallucination)
3. มีความผิดปกติของคาพูด (Disorganized speech)
4. มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือพฤติกรรมวุ่นวาย (Catatonic behavior หรือ
grossly disorganized behavior)
5. มีอาการด้านลบ (Negative symptom)
หมายเหตุ
1. หากอาการหลงผิดมีลักษณะแปลกประหลาด (bizarre delusion) หรืออาการประสาทหลอนมีลักษณะเป็น voice
commenting หรือ voice discussing แม้จะมีเพียงอาการเดียวก็ถือว่าเข้าเกณฑ์
2. อาการดังกล่าวส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านอาชีพ การงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นหรือการดูแลตนเอง
สาเหตุ
1. ปัจจัยทางชีวภาพ
- พันธุกรรม
- ความผิดปกติของ สารเคมีในสมอง เช่น dopamine, ลักษณะทางกายวิภาคของสมอง และการทางานของ
สมองในส่วนต่างๆ
2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า สภาพครอบครัวที่มีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง ทั้งการตาหนิ วิพากษ์วิจารณ์ ท่าทีไม่เป็น
มิตร จู้จี้มากเกินไป จะมีผลต่อการกาเริบของโรค แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ยารักษาโรคจิตเป็นการรักษาหลักของโรคในกลุ่มนี้ ในผู้ป่วยทั่วไปควรให้ยาในกลุ่มเดิม (conventional
antipsychotics) เช่น haloperidol ขนาด 5-12 มก./วัน หรือ chlorpromazine ขนาด 300-600 มก./วัน หาก
ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด extrapyramidal side effects หรือมีอาการ negative symptom เป็นอาการเด่น
อาจให้ยากลุ่มใหม่ (atypical antipsychotics) เช่น risperidone, olanzapine หรือ quetiapine ปัจจัยอื่นๆที่ควร
คานึงถึงเมื่อต้องเลือกใช้ยา เช่น ประวัติการตอบสนองต่อยา ผลข้างเคียง ชนิดของยาที่มีในสถานพยาบาล และความ
ชานาญของแพทย์ และหากผู้ป่วยมีอาการวุ่นวายหรือกระวนกระวายมาก ให้ฉีด haloperidol 5 มก. เข้ากล้าม ทุก
1-2 ชั่วโมงจนกว่าอาการสงบ โดยมากแค่ 2-3 ครั้ง ผู้ป่วยก็สงบ เพื่อลดปัญหาเรื่องผลข้างเคียงของการใช้ยา ควรเริ่ม
ใช้ยาในขนาดต่า หากผู้ป่วยไม่มีปัญหาในเรื่องผลข้างเคียงของยามากนัก ควรคงขนาดยาไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
10
ก่อนที่จะทาการประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ควรให้ยาในขนาดที่เพียงพอเป็นเวลานานอย่างน้อย 4-
6 สัปดาห์ ก่อนที่จะระบุว่าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยารักษาโรคจิตตัวใดตัวหนึ่ง
ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยโรคจิตไว้รักษาในโรงพยาบาล
- มีความเสี่ยงที่จะทาร้ายผู้อื่น
- มีความเสี่ยงที่จะทาร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย
- ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรือวุ่นวายมาก
- อาการโรคจิตเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน
- ไม่สามารถให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ หากรักษาแบบผู้ป่วยนอก
การรักษาทางจิตสังคม
1. การให้ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มป่วย และเมื่อสามารถให้การวินิจฉัยโรคที่
ชัดเจนแล้ว ควรให้ข้อมูลกับผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล เกี่ยวกับโรค สาเหตุ การดาเนินโรค การรักษาและการบริการที่
สามารถจัดหาให้แก่ผู้ป่วยได้
2. การประเมินสภาพครอบครัวของผู้ป่วยเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหากครอบครัวผู้ป่วยมีพยาธิสภาพ
3. การฝึกความชานาญในการดารงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฝึกความชานาญในการเข้าสังคม และการฟื้นฟูด้านอาชีพ
4. การเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือผู้ป่วยแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจาวันตามสมควร
11
12
13
บทที่ 3
โรคซึมเศร้า
เรียบเรียงโดย พ.ท.พลังสันติ์ จงรักษ์
โรคซึมเศร้า หรือ ภาวะซึมเศร้ารุนแรง (Major depressive disorder, Clinical depression, Major
depression, Unipolar depression) เป็นความผิดปกติของจิตใจซึ่งมีลักษณะโดยรวมคือ มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับขาด
ความเคารพตนเอง รวมทั้งมีภาวะสิ้นยินดี (anhedonia) คือไม่มีความสนใจหรือพึงพอใจในกิจกรรมที่โดยปกติเป็นที่น่า
พึงพอใจ ชื่อโรคเป็นทางการนี้ในภาษาอังกฤษ "major depressive disorder"
อาการที่พบ
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุก
อย่าง บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง รู้สึกท้อแท้
หมดหวังกับชีวิต
3. สมาธิความจาแย่ลง จะหลงลืมง่าย
4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อ
หน่ายไม่อยากทาอะไร ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้าหนักลดลงมาก
5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจา
กับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย
6. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการ
ของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย
ปัจจัยสาคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้า
1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้าหลายๆ
ครั้ง
2. สารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน
โดยมีสารที่สาคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่าลง รวมทั้งอาจมีความ
ผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความ
ผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลย์ของระบบสารเคมีเหล่านี้
3. ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทาให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่อง
ของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูก
ทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาการอาจมากจนกลายเป็น
โรคซึมเศร้าได้
14
เกณฑ์การวินิจฉัย
 มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)
 มีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 5 อาการหรือมากกว่า
1) ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
2) น้าหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้าหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญ
อาหารมาก
3) นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
4) กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
5) อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
6) รู้สึกตนเองไร้ค่า
7) สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
8) คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
* ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ
 ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ
เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่
การรักษา
การรักษาที่สาคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้เศร้า โดยเฉพาะในรายที่อาการมาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่
มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่
ช่วยทาให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจาเป็น
15
PHARMACOTHERAPY OF MAJOR DEPRESSIVE DISORDER
Suggested antidepressant dosages and adverse effects11, level1b
Antidepressant
Starting dose
(mg/day)
Usual dose range
(mg/day)
Adverse effects ที่สาคัญ
Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs)
1. fluoxetine (fulox®,
prozac®)
10-20 20-40 nausea, vomiting, dyspepsia,
abdominal pain, diarrhea, rash,
sweating, agitation, anxiety,
headache, insomnia, tremor,
sexual dysfunction, hypo natremia,
cutaneous bleeding disorder.
Discontinuation symptoms
อาจจะเกิดขึ้นได้ (except ยกเว้น
fluoxetine)
2. sertraline (zoloft®) 25-50 50-200
3. fluvoxamine (faverin®) 50-100 100-200
4. paroxetine (seroxat®) 0-20 20-40
5. escitalopram (lexapro®) 5-10 10-20
Tricyclic Antidepressants (TCA)
1. amitriptyline (tryptanol®) 25-75 75-200 sedation, often with hangover,
postural hypotension, tachycardia/
arrhythmia, dry mouth, blurred
vision, constipation, urinary
retention
2. imipramine (toflanil®) 25-75 75-200
(up-to 300 mg
for IPD)
3. nortriptyline (nortrilen®) 10-75 75-150
SSRI และ TCA เป็นชนิดที่มีใช้ในประเทศไทย
1. antidepressant ที่ควรพิจารณาเป็น first line ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ SSRI12, level1b
2. ส่วนผู้ป่วย mild depression ที่เคยมีอาการ moderate to severe depression แล้วเกิดอาการอีกครั้งในระดับ
mild ควรจะเริ่มให้ antidepressants12, level2b
3. ในผู้ป่วย moderate to severe depression ให้ antidepressant และหลังจากที่อาการทุเลาในแต่ละ episode
แล้ว ควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน12, level1b
4. ส่าหรับผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ยา fluoxetine จะมีต่ากว่ากลุ่ม TCA13, level1a
5. เมื่อได้ยาครบตามการรักษา full remission เพื่อป้องกัน withdrawal syndrome และ recurrent ให้ค่อยๆ
ลดขนาดยาลง จนหยุดยาได้11, level1b
Recommendations
1. Antidepressant ที่ควรพิจารณา เป็น first line ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ SSRI (Grade A)
2. ควรเริ่มการรักษาด้วยยารักษาโรคซึมเศร้า SSRI ในขนาดต่า โดยขนาดเริ่มต้นที่แนะน่าคือ fluoxetine 20mg/day,
sertraline 50 mg./day หรือ paroxetine 10mg/day (Grade B)
3. ควรเริ่มให้ยา antidepressant ผู้ป่วย moderate to severe depression และหลังจากที่อาการทุเลาใน แต่ละ
episode แล้วควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน (Grade A)
4. การยุติการรักษาด้วยยา หลังให้ antidepressant ถ้าคะแนนจากการประเมินด้วย 9Q<7 เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ติดต่อกัน จะถือว่ามี full remission ให้ค่อยๆ ลดยาลงประมาณ 25-50% ทุกๆ 2 สัปดาห์ ขณะลดยาควรประเมิน
ด้วย 9Q ทุกครั้งที่พบผู้ป่วย (Grade D)
16
17
บทที่ 4
การติดสารเสพติด
เรียบเรียงโดย พ.อ.พิชัย แสงชาญชัย
พ.ต.ผดุงเกียรติ เชาวนกระแสสินธุ์
Amphetamines
แอมเฟตามีนเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นที่รู้จักมานาน สารในกลุ่มนี้ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ
methamphetamine เริ่มแรกนามาใช้เป็นยารักษาอาการหอบหืดและ คัดจมูก ต่อมานามาพัฒนาใช้รักษา depression
narcolepsy ซึ่งปัจจุบันยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอยู่ เช่น methyphenidate ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น(ADHD) แต่อีก
ด้านสาร methamphetamine นี้เองที่นามาใช้เป็นสารเสพติด ทั้งการสูบ สูดดม และฉีดเข้าเส้น ส่วนยาบ้านั้น ใน 1 เม็ด
จะประกอบด้วย methamphetamine 20-25 mg (20-30%) caffeine 45-55 mg (40-60%) และแป้งกับน้าตาล
สหประชาชาติมีข้อมูลล่าสุดว่า มีการระบาดของยาบ้าเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก และมากเป็นอันดับสองรองมาจาก
กัญชา และยังแพร่หลายไปในตลาดใหม่ๆ เช่น ยุโรป แอฟริกาตะวันตก เป็นต้น ยาบ้าสามารถพบเจอได้ในทุกสังคมเมือง
ตั้งแต่เมืองใหญ่จนถึงชนบท แม้ว่าผลกระทบที่รุนแรงจะพบได้บ่อยในแถบชนบทหรือสังคมเมืองขนาดกลาง นอกจากนั้น
การใช้ยาบ้ายังสัมพันธ์กับการเกิดผลต่อเนื่องของโรคทางกายและทางจิตเวช
ผู้ที่ใช้สารแอมเฟตามีนในช่วงแรก จะทาให้รู้สึกอารมณ์ดี เบื่ออาหาร ไม่ง่วงนอน ลดอาการอ่อนเพลีย ความตั้งใจ
ดีขึ้น แต่หากใช้เป็นเวลานานและมีขนาดที่สูงจะทาให้ กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ก้าวร้าว กระตุ้นทาให้
เกิดโรคจิตจากสารเมทแอมเฟตามีน เกิดอาการหลงผิด หวาดระแวง หูแว่วได้ สามารถตรวจพบในปัสสาวะได้นาน 72
ชั่วโมงหลังจากใช้สารครั้งสุดท้าย
Amphetamine Intoxication
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. เพิ่งมีการใช้แอมเฟตามีน หรือสารในกลุ่ม (เช่น methylphenidate)
B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ (เช่น อารมณ์ครื้นเครง หรือ
เฉยเมย การเข้าสังคมเปลี่ยนแปลง ตื่นตัวอย่างมาก รู้สึกไวในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กังวล ตึงเครียดหรือโกรธ มี
พฤติกรรมซ้าๆ ตัดสินใจไม่เหมาะสม เสียการเข้าสังคมหรืองานการ) ซึ่งเกิดระหว่าง หรือหลังการใช้แอมเฟตามีน หรือสาร
ในกลุ่มไม่นาน
C. มีอาการต่อไปนี้สองข้อ (หรือมากกว่า) เกิดขึ้นในระหว่าง หรือทันทีหลังการใช้แอมเฟตามีน หรือสารในกลุ่ม
1) หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นช้า
2) ม่านตาขยาย
3) ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือต่าลง
4) เหงื่อแตก หรือหนาวสั่น
5) คลื่นไส้ หรืออาเจียน
6) มีหลักฐานว่า น้าหนักตัวลด
7) psychomotor ช้า หรือ กระวนกระวาย
8) กล้ามเนื้ออ่อนแรงหายใจช้าหรือน้อย เจ็บหน้าอก หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
9) สับสน ชัก เคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็งหรือ coma
D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
18
การรักษา
1. จัดให้อยู่บริเวณที่สงบ มีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุด
2. Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mg ต่อวัน รับประทานหรือ 10-20 mg ต่อวันฉีดเข้าหลอดเลือดดา
ตามความรุนแรง เพื่อลดอาการ agitation หรือ hyperactivity โดยให้ในระยะสั้นๆ
3. Antipsychotics ควรให้กลุ่ม high-potency เช่น haloperidol 2-10mg ต่อวัน รับประทาน หรือ 2-5 mg ต่อ
วันฉีดเข้าหลอดเลือดดา เพื่อลดอาการ agitation หรือ hyperactivity เช่นเดียวกัน หรือในรายที่มีอาการรุนแรง
โดยให้ในระยะสั้นๆ เช่นกัน
Amphetamine Withdrawal
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. มีการหยุด (หรือลดการใช้) แอมเฟตามีน (หรือสารในกลุ่ม) หลังจากการใช้อย่างมากและเป็นเวลานาน
B. มีอารมณ์ไม่แจ่มใส และมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระต่อไปนี้ สองข้อ (หรือมากกว่า) เกิดขึ้นในไม่กี่ชั่วโมงถึงสองสามวัน
หลังจากเกณฑ์ A
1) อ่อนเพลีย
2) มีฝันไม่ดี ที่เหมือนจริง
3) นอนไม่หลับ หรือหลับมาก
4) เจริญอาหารมากขึ้น
5) psychomotor ช้า หรือ กระวนกระวาย
C. อาการตามเกณฑ์ B ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน
หรือด้านอื่นๆ ที่สาคัญบกพร่องลง
D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
การรักษา
ให้การรักษาตามอาการ
1. Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mg ต่อวัน รับประทาน เพื่อลดอาการ agitation
2. ในรายที่มีอาการซึมเศร้า ให้รักษาด้วย Antidepressants
Amphetamine induced psychotic disorder
โรคจิตจากสารเมทแอมเฟตามีน จะมีอาการทางจิตที่เกิดหลังจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน กลุ่มอาการทางจิต
คล้ายกับโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง(paranoid schizophrenia) และสัมพันธ์กับปริมาณและระยะเวลาที่ใช้สาร อาการที่
พบได้มากสุดคืออาการด้านบวก ได้แก่ อาการหวาดระแวง (persecutory delusion) อาการประสาทหลอน
(hallucination) กระบวนการใช้ความคิดสับสน และอาการไม่เป็นมิตร
19
แยกจาก โรคจิตเภทโดย
1) Amphetamine induced psychotic disorder ไม่พบลักษณะอาการ negative symptoms เช่น อารมณ์เฉย
เมย (affect flattening) ความคิดไม่เชื่อมโยง (loosening of association)
2) พบ Amphetamineในการตรวจปัสสาวะขณะเกิดอาการ psychosis ประมาณ 3-5 วัน
3) อาการ psychosis จะหายหลังจากรักษาและหยุด Amphetamine
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิดที่เด่นชัด หมายเหตุ: ไม่รวมถึงอาการประสาทหลอนที่ผู้ป่วยตระหนักว่าอาการของ
ตนเป็นผลจากสาร
B. มีหลักฐานจากประวัติ การตรวจร่างกาย หรือผลทางห้องปฏิบัติการ ดังข้อ 1 หรือ 2:
1) อาการใน ข้อ A เกิดขึ้นระหว่างหรือภายในช่วงหนึ่งเดือนที่มี substance intoxication หรือ withdrawal
2) การใช้ยาเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว
C. ความผิดปกตินี้ไม่ได้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่มิได้เป็นผลมาจากสาร หลักฐานว่าอาการเหล่านี้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่
มิได้เป็นผลมาจากสาร อาจได้แก่: มีอาการก่อนการใช้สาร (หรือการใช้ยา): อาการยังคงอยู่เป็นระยะเวลานาน (เช่น เป็น
เดือน) หลังจากหมดภาวะ intoxication หรือมีอาการมากเกินกว่าที่จะเป็น เมื่อเทียบกับชนิด ปริมาณ หรือระยะเวลาที่
ใช้สาร หรืมีหลักฐานอื่นที่แนะว่ามีโรคจิตที่ไม่ขึ้นกับการใช้สาร (เช่น มีประวัติของช่วงที่มีอาการโดยไม่สัมพันธ์กับการใช้
สารอยู่เป็นระยะๆ)
D. ความผิดปกตินี้มิได้เกิดแต่เฉพาะในช่วงของ delirium
การรักษา
1. Antipsychotics เป็นยาหลักในการรักษา เช่น haloperidol 2-10 mg ต่อวัน รับประทาน เพื่อรักษาอาการ
ทางจิต ควรให้ยาจนกว่าอาการทางจิตจะหมดไป โดยทั่วไปอาการจะหายหลังจากรักษาและหยุด Amphetamine
ประมาณ 1 สัปดาห์
2. Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mg รับประทาน เพื่อลดอาการ agitation
Opioid
Opioid หมายถึง สารที่ออกฤทธิ์เหมือนกับฝิ่น หรืออนุพันธุ์ของฝิ่น แบ่งเป็น
- Exogenous Opioids แบ่งเป็นกลุ่ม Natural Opioids และ Synthetic Opioids เช่น methadone
- Endogenous Opioids เช่น endorphine
ฝิ่นเป็นที่รู้จักมานาน โดยในสมัยก่อนได้นามาทาเป็นยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ต่อมามีการสังเคราะห์เฮโรอีนขึ้น เนื่องจาก
ออกฤทธิ์เร็ว และหมดฤทธิ์เร็วจึงได้กลายเป็นสารเสพติดที่สาคัญสารหนึ่งจนถึงปัจจุบัน สารอนุพันธ์ฝิ่นสามารถเสพได้
หลายทาง เช่น การกิน สูดหรือฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าเส้น หากสูบจะออกฤทธิ์ใน 8 วินาที สารอนุพันธ์ฝิ่นทุกตัวจะถูก
ทาลายที่ตับได้เป็นสารที่ยังออกฤทธิ์ได้อยู่คือ มอร์ฟีน ค่าครึ่งชีวิตของมอร์ฟีนจะประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง สามารถตรวจได้
ในปัสสาวะถึง 48 ชั่วโมง เฮโรอีนเป็นที่มีความสามารถละลายในไขมันได้สูงจึงผ่าน blood brain barrier ได้เร็ว ออก
20
ฤทธิ์ได้เร็วที่สุด ค่าครึ่งชีวิตของเฮโรอีนเมื่อฉีดเข้าเส้นประมาณ 3 นาที ส่วนเมธาโดนจะออกฤทธิ์ช้า ระดับยาสูงสุดใช้เวลา
2-4 ชั่วโมง แต่ออกฤทธิ์ได้นานมากกว่า 24 ชั่วโมง
ดังที่กล่าวมาแล้ว สารในกลุ่มนี้ที่พบเสพติดบ่อย คือ เฮโรอีน มอร์ฟีน เมธาโดน ผู้เสพเกินขนาดจะมีอาการ
psychomotor retardation, drowsiness, slurred speech อาการรุนแรงถึงขั้นโคม่า หยุดการหายใจ และเสียชีวิตได้
Opioid Intoxication
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. เพิ่งมีการใช้ opioid ชนิดใดชนิดหนึ่ง
B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ ( เช่น อารมณ์ครื้นเครง
เริ่มต้น ตามด้วย apathy อารมณ์ไม่แจ่มใส psychomotor agitation หรือ retardation การตัดสินใจไม่ดี สูญเสียการ
เข้าสังคม หรือการงาน ) ที่เกิดขึ้นระหว่าง หรือไม่นาน หลังจากการใช้ หรือ ได้รับ opioid
B. ม่านตาหดตัว (หรือขยายจากการขาดอากาศเนื่องจากเสพยาเกินขนาดอย่างมาก) และมีอาการต่อไปนี้หนึ่งข้อ (หรือ
มากกว่า) เกิดขึ้นระหว่าง หรือไม่นาน หลังจากการใช้ หรือ ได้รับ opioid
1) ง่วง ซึม หรือ coma
2) พูดอ้อแอ้
3) ความสนใจ หรือ ความทรงจาบกพร่อง
D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
การรักษา
1. ภาวะเมาสารอนุพันธุ์ฝิ่นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นอันดับแรกควรรักษาเร่งด่วนเพื่อกู้ชีวิต โดยเฉพาะระบบการ
หายใจ
2. ยาที่ใช้คือ naloxone (opioid antagonist) 0.4-0.8 mg ทางหลอดเลือดดา ซึ่งจะออกฤทธิ์ภายใน 2 นาที เฝ้า
สังเกตอาการประมาณ 15-20 นาที หากไม่ดีขึ้นให้ยาซ้าได้อีก 1.6 mg เฝ้าสังเกตอาการประมาณ 15-20 นาที หากไม่ดี
ขึ้นให้ยาซ้าได้อีก 3.2 mg หากดีขึ้นให้ 0.4 mg ทุก 1 ชั่วโมง จนเป็นปกติ
3. ระหว่างการดูแลรักษาให้สังเกตอาการเป็นระยะๆ ใน 24 ชั่วโมง
Opioid Withdrawal
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. มีอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. หยุด ( หรือลดการใช้ ) opioid ซึ่งได้มีการใช้ปริมาณมาก เป็นเวลานาน (สองสามสัปดาห์ หรือนานกว่า)
2. มีการใช้ opioid antagonist หลังจากมีการใช้ opioid ระยะเวลาหนึ่ง
B. มีอาการต่อไปนี้ สามข้อ (หรือมากกว่า) เกิดภายในไม่กี่นาที หรือสองสามวัน หลังจากเกณฑ์ A
1. อารมณ์ไม่แจ่มใส
2. คลื่นไส้ หรืออาเจียน
3. ปวดกล้ามเนื้อ
4. น้าตาไหล หรือน้ามูกไหล
21
5. ม่านตาขยาย ขนลุก หรือเหงื่อออก
6. ท้องเสีย
7. หาวนอน
8. ไข้
9. นอนไม่หลับ
C. อาการตามเกณฑ์ B ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน
หรือด้านอื่นๆ ที่สาคัญบกพร่องลง
D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
การรักษา
1. Methadone detoxification การเริ่มให้ methadone อาจดูตามอาการและอาการแสดงจากภาวะถอน
ดังกล่าวมาข้างต้น โดยเริ่มที่ 5-20 mg ต่อวัน หลังจากปรับยาเพิ่มในขนาดที่เหมาะสมแล้ว( 20-60 mg ต่อวัน)
ให้คงขนาดยาอีก 1 สัปดาห์แล้วค่อยๆลดยาลงร้อยละ 5-10 ทุก 3-7 วัน จนหยุดยาได้ โดยทั่วไปใช้เวลาตั้งแต่
เป็นสัปดาห์ถึง 6 เดือน หรือจะใช้ Clinical Institute Narcotic Assessment(CINA) เพื่อจะได้ทราบถึงขนาดยา
ที่ควรใช้ต่อวัน
2. Clonidine detoxification ออกฤทธิ์โดยลดอาการ noradrenergic activity เริ่มต้นให้รับประทาน clonidine
เริ่มที่ 0.1 mg ทุก 4-6 ชั่วโมงในวันแรกหลังจากนั้นจะเพิ่ม clonidine วันละ 0.1-0.2 mg ต่อวันจนได้ระดับที่
เหมาะสมแล้ว คงขนาดยาไว้ 5-7 วัน ค่อยๆ ลดลง 0.1-0.2 ต่อวันจนหยุดยาได้ ควรวัดความดันโลหิตทุก 4-6
ชั่วโมง อย่างสม่าเสมอ เนื่องจาก clonidine มีผลลดความดันโลหิต หากมีภาวะความดันโลหิตต่าต้องลดยาลง
หรือหยุดยาทันที
Cannabis
กัญชาเป็นพืชที่มนุษย์เรารู้จักกันมานานมาก โดยใช้เป็นยารักษาภาวะต่างๆ เช่น อาการปวด และยังทาให้มี
อารมณ์สนุกสนาน ครื้นเครง ส่วนมากนิยมเสพโดยการสูบ หรือพบในรูปของอาหารเช่นผสมในเค้ก เมื่อสูบจะได้เกิด
อารมณ์ครื้นเครงได้ภายในไม่กี่นาทีหลังเสพ เกิดผลสูงสุดภายใน 30 นาที และคงอยู่นาน 2-4 ชั่วโมง
แต่ผลเสียที่เกิดได้แก่ อาการวิตกกังวล เวียนศีรษะ หรือมีภาวะ amotivational syndrome คือไม่มีแรงจูงใจทา
กิจกรรมต่างๆ เฉื่อยชา ไม่อยากทาอะไร อาจทาให้เกิดโรคจิตได้นาน สามารถตรวจพบกัญชาในปัสสาวะได้นาน 4 สัปดาห์
หลังจากใช้สารครั้งสุดท้าย
Cannabis Intoxication
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. เพิ่งมีการใช้กัญชา
B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ (เช่น การประสานงานของ
กล้ามเนื้อผิดปกติ ครื้นเครง กังวล รู้สีกว่าเวลาผ่านไปช้า การตัดสินใจไม่ดี แยกตัวจากสังคม) เกิดขึ้นระหว่าง หรือ ไม่นาน
หลังจากการใช้กัญชา
22
C. มีอาการแสดงต่อไปนี้สองข้อ (หรือมากกว่า) เกิดภายในสองชั่วโมงหลังการใช้กัญชา
1. ตาแดง
2. เจริญอาหารมากขึ้น
3. ปากแห้ง
4. หัวใจเต้นเร็ว
D. อาการไม่ได้เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
การรักษา
1. การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประครอง
2. สามารถใช้ยากลุ่ม Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mgต่อวัน รับประทานเพื่อลดอาการวิตกกังวล
หรือ กระวนกระวาย โดยให้ในระยะสั้นๆ
3. ในรายที่อาการรุนแรงหรือมีอาการผิดปกติทางจิตสามารถให้ยา Antipsychotics เช่น haloperidol 2-10 mg
ต่อวัน รับประทานแล้วแต่ความรุนแรง
Cannabis induced psychotic disorder
ใช้เกณฑ์การวินิจฉัย Substance induced psychotic disorder ตาม DSM IV พบได้ในคนที่เสพในปริมาณ
มากๆ มาเป็นเวลานาน แต่พบได้น้อย อาการคล้ายอาการด้านบวกของโรคจิตเภท พบอาการหูแว่ว หวาดระแวงได้ ซึ่งจะ
เป็นในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิดที่เด่นชัด หมายเหตุ: ไม่รวมถึงอาการประสาทหลอนที่ผู้ป่วยตระหนักว่าอาการของ
ตนเป็นผลจากสาร
B. มีหลักฐานจากประวัติ การตรวจร่างกาย หรือผลทางห้องปฏิบัติการ ดังข้อ 1 หรือ 2:
1) อาการใน ข้อ A เกิดขึ้นระหว่างหรือภายในช่วงหนึ่งเดือนที่มี substance intoxication หรือ withdrawal
2) การใช้ยาเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว
C. ความผิดปกตินี้ไม่ได้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่มิได้เป็นผลมาจากสาร หลักฐานว่าอาการเหล่านี้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่
มิได้เป็นผลมาจากสาร อาจได้แก่: มีอาการก่อนการใช้สาร (หรือการใช้ยา): อาการยังคงอยู่เป็นระยะเวลานาน (เช่น เป็น
เดือน) หลังจากหมดภาวะ intoxication หรือมีอาการมากเกินกว่าที่จะเป็น เมื่อเทียบกับชนิด ปริมาณ หรือระยะเวลาที่
ใช้สาร หรืมีหลักฐานอื่นที่แนะว่ามีโรคจิตที่ไม่ขึ้นกับการใช้สาร (เช่น มีประวัติของช่วงที่มีอาการโดยไม่สัมพันธ์กับการใช้
สารอยู่เป็นระยะๆ)
D. ความผิดปกตินี้มิได้เกิดแต่เฉพาะในช่วงของ delirium
การรักษา
ให้ยา Antipsychotics เช่น haloperidol 2-10 mgต่อวัน รับประทานแล้วแต่ความรุนแรง โดยให้ในระยะสั้นๆ
23
Inhalants
Inhalant intoxication
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV
A. มีการใช้สารระเหยอย่างจงใจ หรือใช้เพียงระยะสั้นแต่ขนาดสูง ในเร็วๆนี้ (ไม่รวมถึงก๊าซที่ใช้ในการดมยา และขยาย
หลอดเลือดที่ออกฤทธิ์สั้น)
B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ (เช่น ทะเลาะวิวาท จะทา
ร้ายผู้อื่น เฉยชาไร้อารมณ์ การตัดสินใจไม่ดี สูญเสียการเข้าสังคม หรือการงาน) เกิดขึ้นระหว่าง หรือ ไม่นาน หลังจากการ
ใช้หรือได้รับสารระเหย
C. มีอาการต่อไปนี้สองข้อ (หรือมากกว่า) ระหว่างหรือไม่นาน หลังจากการใช้หรือได้รับสารระเหย
1. วิงเวียน
2. อาการตากระตุกแกว่ง
3. กล้ามเนื้อทางานไม่ประสาน
4. พูดอ้อแอ้
5. เดินเซ
6. อ่อนเพลีย
7. Reflexes ลดลง
8. ภาวะกายเชื่องช้า
9. มือสั่น
10. กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วไป
11. การมองเห็นไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน
12. ภาวะกึ่งโคมา หรือโคม่า
13. อารมณ์ครื้นเครง
D. อาการไม่ได้เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
การรักษา
1) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประครอง
2) สามารถใช้ยากลุ่ม Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mgต่อวัน รับประทานเพื่อลดอาการวิตกกังวล
หรือ กระวนกระวาย โดยให้ในระยะสั้นๆ
3) ในรายที่อาการรุนแรงหรือมีอาการผิดปกติทางจิตสามารถให้ยา Antipsychotics เช่น haloperidol 2-10 mg
ต่อวัน รับประทานแล้วแต่ความรุนแรง โดยให้ในระยะสั้นๆเช่นกัน
การบาบัดอย่างย่อ (Brief Intervention-BI)
การบาบัดอย่างย่อ หรือ Brief Intervention (BI) ผู้บาบัดใช้เวลาในการพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสั้นๆระยะเวลา
เพียง 5-15 นาที เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง องค์การอนามัยโลกได้พัฒนาการบาบัดอย่างย่อใน
การเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ที่ดื่มหนักอย่างเป็นอันตราย หรือ
hazardous drinking เพื่อส่งเสริมให้ลดละเลิกการดื่มแอลกฮอล์ นับได้ว่าเป็นวิธีการที่ช่วยป้องกันการเสพติด
แอลกอฮอล์ โดยมีเทคนิคที่สาคัญ คือ FRAMES ซึ่งสามารถกระทาได้โดยบุคลากรทั่วไปที่ไม่ได้มีความชานาญในทักษะ
การให้คาปรึกษา
24
Feed Back ให้ข้อมูลสะท้อนกลับถึงความรุนแรงของปัญหาติดแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดที่ประสบอยู่ ได้แก่
ประวัติ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มาสะท้อนถึงความรุนแรงของโรค การอธิบายวิธีการแปลผล
การตรวจ สาหรับกรณีของแอลกอฮอล์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดแอลกอฮอล์
ได้แก่ SGOT/SGPT, GGT, Bilirubin, MCV เป็นต้น
Responsibility เน้นถึงความรับผิดชอบของผู้ป่วยเองในการตัดสินใจว่าจะเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติด
หรือไม่ ผู้บาบัดไม่สามารถบังคับ เป็นสิทธิของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ผู้บาบัดมีหน้าที่เพียงแนะนาสิ่งที่ดีๆ ให้
Adviceหมายถึง คาแนะนาที่เป็นประโยชน์ และจาเป็นต่อการตัดสินใจ เช่น แอลกอฮอล์และสารเสพติดมีผลต่อ
สุขภาพอย่างไรบ้าง ในกรณีที่เสพติดแล้ว (Substance dependence) การหยุดโดยเด็ดขาด (Abstinence) มีโอกาส
ประสบความสาเร็จในการเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติดมากกว่าค่อยๆลดปริมาณลง (Moderation) หากเลือกหนทาง
การค่อยๆ ลดปริมาณลง ก็ควรมีการเฝ้าติดตาม (Monitoring) ปริมาณที่ใช้หรือเสพว่าลดลงจริงหรือไม่ (Moderation)
เช่น การบันทึกปริมาณแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละวัน เป็นต้น
Menu ทางเลือกในการปฏิบัติ ไม่ควรมีมากเกินไป หรือน้อยจนเกินไป ได้แก่ การเลิกด้วยวิธีการหักดิบ การมี
กิจกรรมทดแทนต่างๆ การเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-help group) การปฏิบัติธรรม การเข้ารับการรักษาด้วยวิธี
บาบัดต่างๆ ทางการแพทย์ เป็นต้น
Empathy ความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจในตัวผู้ป่วย ว่าการติดแอลกอฮอล์และสารเสพติดเป็นโรค ไม่ใช่นิสัยไม่ดี
ยอมรับที่ผู้ป่วยอาจจะยังไม่ตระหนักกับปัญหาการติดแอลกอฮอล์และสารเสพติดเพราะยังไม่มีอาการถอนจากแอลกอฮอล์
หรือสารเสพติด หรือยังมองไม่เห็นข้อเสียจากการเสพ เข้าใจว่าโดยแท้จริงผู้ป่วยรู้สึกว่าการดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพสาร
เสพติดมีข้อดีอยู่มาก หรืออาจเสียดายความสุขที่เกิดจากแอลกอฮอล์และสารเสพติด
Self efficacy ส่งเสริมศักยภาพเดิมที่มีอยู่ในตัวผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจว่าสามารถเลิก
แอลกอฮอล์และสารเสพติดได้ ให้ความหวังและกาลังใจ
การบาบัดอย่างย่อ หรือ Brief Intervention (BI) ที่ใช้ในการเสริมสร้างแรงจูงใจให้เลิกบุหรี่และเหล้า คือ
เทคนิค 5A และ 5R โดยเทคนิค 5A ใช้ในการเข้าถึงและช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่ทั่วไป ส่วนเทคนิค 5R ใช้สาหรับผู้สูบบุหรี่
ที่ไม่มีแรงจูงใจ เทคนิค 5A มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
Ask เป็นการถามเรื่องการสูบบุหรี่ บุคลากรควรจะถามผู้ป่วยทุกคนเกี่ยวกับประวัติการสูบบุหรี่ ควรจะบันทึก
ประวัติการสูบบุหรี่ลงในประวัติผู้ป่วย แจกแจงสถานภาพของการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเป็น 1) สูบบุหรี่ 2) เลิกแล้ว 3) ไม่
เคยสูบ และอาจทาสัญลักษณ์ติดไว้ที่แฟ้มประวัติผู้ป่วยเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านทราบ
Advise บุคลากรควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียของการสูบบุหรี่ (Health risk of tobacco smoking) และ
ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ (Health benefit of tobacco cessation) พร้อมเสนอความช่วยเหลือในการเลิกบุหรี่ทุก
25
ครั้งที่มีโอกาส บุคลากรควรแนะนาผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ในการประสบผลสาเร็จในการเลิก
บุหรี่ ผู้ป่วยต้องมีความอยากเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง ดังนั้น ไม่ควรมีการบังคับให้เลิกสูบบุหรี่
Assess เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ และจะสามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วย วิธีใด
อาจพิจารณาจากประวัติการพยายามเลิกบุหรี่ในอดีต ปริมาณบุหรี่ที่สูบในปัจจุบัน ระดับความรุนแรงของการติดนิโคติน
แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ นิสัยการสูบบุหรี่ เป็นต้น
Assist เป็นการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้สาเร็จ โดยบุคลากรอธิบายถึงขั้นตอนการเลิกบุหรี่ การ
บาบัดประกอบด้วยการให้คาปรึกษา จิตสังคมบาบัด และการบาบัดทางยา หลังจากที่ได้ตกลงกับผู้ป่วยถึงแนวทางการ
เลิกบุหรี่ ก็ควรจะมีการกาหนดวันเริ่มต้นหยุดสูบบุหรี่ (quit date) ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์หลังจากตกลงใจเลิกบุหรี่เพื่อ
เตรียมตัว โดยบุคลากรสามารถแนะนาถึงแนวทางการปฏิบัติตัวในช่วงก่อนเลิกและในวันที่เลิกบุหรี่
Arrange เป็นการจัดเตรียมเพื่อการติดตามผลและช่วยเหลือ ควรจัดให้มีการติดตามผลหลังจากวันหยุดสูบ
บุหรี่ เช่น ภายในสัปดาห์แรก เนื่องจากการอดบุหรี่จะมีอาการถอนรุนแรงในช่วง 3-7 วันแรก สิ่งที่ควรทาในการติดตาม
ผล ได้แก่ แสดงความยินดีกับความสาเร็จ หากผู้ป่วยกลับไปสูบอีก ให้การจูงใจใหม่ ทบทวนสถานการณ์ และกาหนด
วันหยุดสูบบุหรี่อีกครั้ง ย้าเตือนผู้ป่วยว่า การพลั้งเผลอ (slip or lapse) เป็นบทเรียน วิเคราะห์ปัญหาและความ
พลั้งเผลอ เตรียมการรับมือล่วงหน้ากับสิ่งท้าท้าย พิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปสู่ยังโปรแกรมการบาบัดที่เข้มข้น
ในกรณีที่ผู้สูบบุหรี่ไม่มีแรงจูงใจ คือ แรงจูงใจอยู่ในขั้นที่ 1 คือ ขั้นไม่สนใจใส่ใจ (pre-contemplation) หรือ
ขั้นที่ 2 คือ ขั้นลังเลใจ (contemplation) ผู้บาบัดสามารถใช้เทคนิค 5R ในการเสริมสร้างแรงจูงใจ
Relevance เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบถึงเหตุผลจูงใจในการเลิกบุหรี่ที่มีความสอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละ
ราย โดยเฉพาะความสอดคล้องในแง่ความเสี่ยงต่อสุขภาพ โรคที่ประสบอยู่ ผลกระทบและความมั่นคงของครอบครัว
และตรวจสอบประสบการณ์ในการเลิกบุหรี่ อุปสรรคที่ทาให้ไม่ประสบความสาเร็จ
Risk เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบถึงข้อเสียของการสูบบุหรี่ บุคลากรควรเน้นสิ่งที่เป็นผลกระทบทางลบ
โดยตรงต่อผู้ป่วย
Reward เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบข้อดีของการเลิกบุหรี่ บุคลากรควรเน้นข้อดีที่สอดคล้องกับผู้ป่วย
โดยตรง
Roadblock เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบอุปสรรคในการเลิกบุหรี่ และนาเสนอความช่วยเหลือต่างๆทั้งการ
บาบัดทางยาและทักษะในการแก้ปัญหาที่ช่วยให้ผู้ป่วยก้าวข้ามอุปสรรค
Repetition บุคลากรควรกระทาการจูงใจทุกครั้งที่พบกับผู้ป่วย บุคลากรควรให้กาลังใจผู้ป่วยที่ยังเลิกไม่สาเร็จว่า ผู้
เลิกบุหรี่ได้สาเร็จส่วนใหญ่มักเคยพยายามเลิกมาหลายครั้งก่อนที่จะประสบความสาเร็จในที่สุด
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษาWC Triumph
 
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)Sakarin Habusaya
 
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุหลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุAiman Sadeeyamu
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingVai2eene K
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า
แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า
แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำNickson Butsriwong
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
ความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
4 ยารักษาโรคเบาหวาน
4 ยารักษาโรคเบาหวาน4 ยารักษาโรคเบาหวาน
4 ยารักษาโรคเบาหวานPa'rig Prig
 
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57Sirinoot Jantharangkul
 
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Watcharapong Rintara
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdf
คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdfคู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdf
คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdfSakarinHabusaya1
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 

Mais procurados (20)

9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา
 
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
 
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุหลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
 
คู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการคู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการ
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
 
แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า
แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า
แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
 
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
ความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพ
 
4 ยารักษาโรคเบาหวาน
4 ยารักษาโรคเบาหวาน4 ยารักษาโรคเบาหวาน
4 ยารักษาโรคเบาหวาน
 
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
 
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdf
คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdfคู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdf
คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข .pdf
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
 

Semelhante a คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก

Semelhante a คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก (9)

คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
งาน Tomtam
งาน Tomtamงาน Tomtam
งาน Tomtam
 
อาชีพแพทย์
อาชีพแพทย์อาชีพแพทย์
อาชีพแพทย์
 
4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด
 
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
 
สคร7
สคร7สคร7
สคร7
 
CLS for Volunteer
CLS for VolunteerCLS for Volunteer
CLS for Volunteer
 
Cls for volunteer
Cls for volunteerCls for volunteer
Cls for volunteer
 
Book club 2
Book club 2Book club 2
Book club 2
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก

  • 2. 2 คานา ด้วยความห่วงใยของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ให้ความสาคัญเร่งด่วนในการ ทนุบารุงขวัญใจของกาลังพล โดยให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทุ่มเททรัพยากร เพื่อช่วยกันในทุกๆ ด้าน หน้าที่ของทหาร เหล่าแพทย์คืออนุรักษ์กาลังรบและครอบครัว ซึ่งมีหน้าที่จัดบริการด้านการแพทย์ให้แก่กาลังพล ทั้งที่ได้รับบาดเจ็บ จากการปฏิบัติภารกิจ และการช่วยเหลือประชาชน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และ ประชาชนในพื้นที่ ขวัญกาลังใจของกาลังพลทหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนาไปสู่ความสาเร็จของภารกิจ กรมแพทย์ ทหารบกตระหนักดีถึงปัจจัยนี้ ดังนั้นจึงให้มีการดูแลสุขภาวะทางจิตใจในหน่วยทหาร โดยพัฒนาระบบในการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาอันจะเกิดจากปัจจัยทางจิตใจขณะปฏิบัติภารกิจ แนวทางที่จัดทาขึ้นนี้ต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลกองทัพบก ให้มีความรู้เกี่ยวกับ แนว ทางการประเมินคัดกรองสุขภาวะ รวมถึงมีความสามารถในการดูแลและรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น การช่วยเหลือ ด้านจิตใจเบื้องต้นและส่งต่อในกรณีที่มีปัญหาซับซ้อนได้ รวบรวมและเรียบเรียงโดยจิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชและ ประสาทวิทยา กองการศึกษา วิทยาแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และกองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระ มงกุฎเกล้า จัดทาโดยกองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กาลังพลใช้เป็นแนวทางในการ จัดการกับความอ่อนล้าจากการรบและการดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อให้ทหารปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด พลโท ( ธีรยุทธ ศศิประภา ) เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
  • 3. 3 สารบัญ หน้า คานา บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นด้านสุขภาพจิต 4 บทที่ 2 โรคจิต (Psychosis) 7 บทที่ 3 โรคซึมเศร้า (Depression) 13 บทที่ 4 การติดสารเสพติด 17 บทที่ 5 ปฏิกิริยาจากการรบ 26 บทที่ 6 ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต 29 Post-traumatic Stress Disorder (PTSD) บทที่ 7 การทาร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย 34 บทที่ 8 การให้สุขภาพจิตศึกษาและปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น 39 บทที่ 9 แนวทางและวิธีการใช้เครื่องมือคัดกรอง 41 บทที่ 10 การติดตามเฝ้าระวังและติดตามผล 55 ภาคผนวก แบบคัดกรองและแบบบันทึกการเฝ้าระวัง 60
  • 4. 4 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นด้านสุขภาพจิต เรียบเรียงโดย พ.อ.หญิงนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล พ.อ.อิศรา รักษ์กุล ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในทหารกองประจาการ 1. การพยายามทาร้ายตัวเองและฆ่าตัวตาย 2. พฤติกรรมก้าวร้าว 3. อาการทางจิตอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยกระตุ้น 1. โรคทางกายซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการง่ายขึ้นจากความตึงเครียดจากการฝึกหนักหรือการปฏิบัติภารกิจ เช่น โรคลมชัก โรคกระเพาะ โรคหอบหืด ร่างกายไม่แข็งแรง อาการเหล่านี้แยกได้ลาบากกับปัญหาทางจิตใจและมี อาการทางกาย 2. บุคลิกภาพ เช่น ไม่อดทน ท่าทีต่อต้าน ไม่เคารพ ขาดความมั่นใจ 3. การปรับตัวกับภารกิจใหม่หรืออยู่เช่น เครียด เศร้า แกล้งป่วย ปรับตัวกับกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยไม่ได้ เลี่ยง การฝึก ทาร้ายตนเอง พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 4. สติปัญญาทึบ 5. โรคทางจิตเวช เช่น โรคจิต โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน 6. การใช้สารเสพติด 7. ความผิดปกติทางเพศ เช่น แสดงท่าทางคล้ายผู้หญิง ปัญหาเหล่านี้กาลังพลบางนายมีอาการก่อนเข้าประจาการ บางนายมีความโน้มเอียงที่จะเกิดอาการอยู่ เดิม ขบวนการฝึกทหารใหม่หรือการปฏิบัติภารกิจภายใต้ความกดดันเพียงเสริมให้เห็นปัญหาชัดเจน แนวทางการแก้ไข 1. แยกแยะผู้มีปัญหา โดยการหาข้อมูลและสาเหตุของปัญหาร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าชุด ปฏิบัติการ 2. ให้เวลาและความใกล้ชิดกับทหารประจาการใหม่มากขึ้น พูดคุยเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อเกิดความเข้าใจใน แนวทางเดียวกัน 3. ใช้กิจกรรมนันทนาการมาช่วยเสริมเพื่อลดความตึงเครียด 4. อนุญาตให้โทรศัพท์หาญาติหรือให้ญาติมาเยี่ยมในกรณีจาเป็น 5. มีการประชุมทีมที่ดูแลทหารอย่างสม่าเสมอเพื่อให้เกิดการดูแลด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม 6. ทาความเข้าใจกับครอบครัว 7. ในทหารที่ป่วยเป็นโรคจิตตั้งแต่ก่อนประจาการและมียาจิตเวชกินเป็นประจาไม่ควรงดยาและกาชับให้มี การกินยาอย่างสม่าเสมออย่าให้ขาดยาเนื่องจากจะทาให้อาการกาเริบ
  • 5. 5 8. ในรายที่มีปัญหาทางจิตใจควรมีระบบเพื่อนคู่หูคอยดูแลช่วยเหลือ เฝ้าระวังปัญหา และรายงาน ผู้บังคับบัญชาทันทีหากเห็นอาการผิดปกติ 9. ผู้ที่มีปัญหาทางกายและจิตที่รุนแรงให้ส่งต่อหน่วยรักษาพยาบาลใกล้เคียง การพยายามทาร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย ลักษณะผู้มีแนวโน้มทาร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย 1. มีปัญหาทุกข์ใจ ประสบเหตุการณ์ร้ายในชีวิต ท้อแท้หมดหวังไม่มีที่พึ่ง หมดหนทางในชีวิต คิดว่าชีวิตไม่มี ความหมาย มีความวิตกกังวลสูง มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นในช่วยนี้ 2. เคยเป็นโรคจิตโดยเฉพาะพวกหวาดระแวงหรือหูแว่วมีเสียงคนสั่งให้ฆ่า 3. เคยมีประวัติพยายามฆ่าตัวตายแล้ว 4. ใช้สารเสพติด เช่น สุรา ยานอนหลับ ยาบ้า 5. มีบุคลิกภาพอ่อนแอ ใจน้อย ต้องพึ่งพิงคนอื่น ถ้าสงสัยว่าจะคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ ควรถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย การถามเรื่องนี้เป็นสิ่งสาคัญ เพราะจะ ช่วยรักษาชีวิตเขาไว้ได้ การถามเรื่องฆ่าตัวตาย ทาได้โดยใช้ชุดคาถามขั้นบันไดดังนี้ 1. เมื่อพบว่ามีอารมณ์ซึมเศร้า ให้ถามต่อไปว่า “ความเศร้านั้นมากจนทาให้เบื่อชีวิต หรือไม่” 2. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดอยากตาย หรือไม่” 3. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทาหรือไม่” 4. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทาอย่างไร” 5. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทาหรือไม่” 6. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทาอย่างไร” 7. สุดท้าย ให้ถามต่อไปว่า “มีอะไรยับยั้งใจ จนทาให้ไม่ได้ทา” คาถามสุดท้าย ไม่ว่าจะตอบอย่างไร จะเป็นปัจจัยทางบวกที่ช่วยให้เขายั้งคิด ไม่ทาในครั้งต่อไปเช่นกัน บางคนมีความเชื่อผิดๆว่า การถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะไปกระตุ้นคนที่ยังไม่คิดไปคิดฆ่าตัวตาย หรือคนที่คิดอยาก ตายอยู่แล้วจะเป็นการกระตุ้นให้ทา ความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง ความจริงคือ การถามไม่ได้ชักจูงหรือกระตุ้น ให้ทา คนที่คิดจะทาอยู่แล้วจะรู้สึกดีขึ้น จนไม่ทาจริง แนวทางการช่วยเหลือ 1. ลักษณะดังต่อไปนี้เป็นผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการทาร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย ควรเฝ้าระวังและส่งต่อ กาลังพลไปยังหน่วยพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป  มีโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิต หูแว่ว ประสาทหลอน การติดยาเสพติด  มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนและยังคงมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่  มีแผนการในการฆ่าตัวตายชัดเจน วิธีการรุนแรง มีอุปกรณ์ที่จะใช้ทาร้ายตนเองอยู่ใกล้ตัว เช่น เชือก หรือผ้าผืนยาว ของมีคม อาวุธปืน
  • 6. 6  มีสัญญาณเตือนถึงการฆ่าตัวตาย เช่น จดหมายลาตาย การเปรยว่าถ้าตัวเองไม่มีชีวิตอยู่คนรอบข้าง จะทาอย่างไร 2. การดูแลด้านจิตใจเบื้องต้นก่อนส่งต่อ  การพูดคุยซักถามตรงๆ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยอมรับว่ามีความทุกข์ใจและหาวิธีแก้ไข ให้ความเห็น ใจและเข้าใจ ไม่ตาหนิ ควรมีท่าทีสน ให้ความสาคัญไม่แสดงความราคาญด้วยวิธีการฆ่าตัวตายของ ผู้ป่วย ชี้ให้กาลังพลเห็นว่ากาลังเกิดความลังเลภายในใจระหว่างความอยากมีชีวิตอยู่ต่อไปกับความอยากตาย การดูแลทหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ลักษณะของพฤติกรรม สีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร แสดงท่าทางไม่พอใจ กระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้ พูดโต้ตอบด้วยน้าเสียงห้วน เสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ใช้คาพูดกระแทกกระทั้น วาจาหยาบคาย ตาหนิติเตียน ขู่ตะคอก ทะเลาะวิวาท ชกต่อย ทุบตี ทาลายข้าวของ ละเมิดสิทธิผู้อื่น และลักษณะอื่นๆ เช่น มีกลิ่นสุราจากลมหายใจ มีรอยฉีดยาตามร่างกายเหมือนผู้ติด ยาเสพติด ข้อควรระวังเมื่อพบกาลังพลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 1. ระวังอาวุธที่ติดตัวทหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ปืน วัตถุระเบิด มีด ฯลฯ 2. ไม่ควรเข้าหาเพียงลาพังคนเดียว 3. ไม่ควรนาเข้าไปอยู่ในห้องที่ปิดหรือแคบ 4. ไม่ควรพูดด้วยเสียงที่ดัง ดุดันหรือข่มขู่ แนวทางปฏิบัติกับกาลังพลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 1. แยกผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ตึงเครียด หรือเหตุกระตุ้น 2. ผู้บังคับบัญชาต้องเผชิญสถานการณ์ด้วยความมั่นใจอย่างมีแผน ระมัดระวังและมีท่าทีสงบยอมรับ พฤติกรรมก้าวร้าวพูดด้วยน้าเสียงอ่อนโยน ไม่ตาหนิ โดยเรียกชื่อกาลังพลให้ถูกต้องและชัดเจน และเตือนสติให้กาลัง พลรู้ว่าเขากาลังทาอะไรและต้องการอะไร เจรจาขอปลดอาวุธด้วยความระมัดระวัง 3. ใช้คาถามปลายเปิดให้ทหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ระบายความไม่พอใจ 4. เมื่อเจรจาไม่สาเร็จให้เตรียมกาลังพลพร้อมในการจากัดพฤติกรรม 5. ขั้นตอนในการจากัดพฤติกรรม 5.1 เตรียมอุปกรณ์ เชือก ผูกมัดให้พร้อม 5.2 กาลังพลที่จะร่วมปฏิบัติการผูกมัดให้วางแผนว่าใครจะจับมือหรือขา ผู้ที่จะเป็นผู้จับควร เก็บอาวุธที่ติดตัวหรือสิ่งของที่จะเป็นอันตรายต่อตัวเองขณะจับ 5.3 เมื่อผูกมัดเรียบร้อยแล้วนาไปแยกออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานและพูดคุยให้สงบ 5.4 ประสานกับหน่วยรักษาพยาบาลใกล้เคียงเพื่อส่งต่อ
  • 7. 7 บทที่ 2 โรคจิต (Psychosis) เรียบเรียงโดย พ.ต.ณัฐพล โชคไมตรี โรคจิตหมายถึงสภาวะที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง (out of reality) และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียการ รับรู้ว่าตนเองผิดปกติไป (lack of insight) กลุ่มโรคทางจิตเวชที่มีอาการของโรคจิตนั้นมีหลายโรค เช่น schizophrenia, schizophreniform disorder, brief psychotic disorder เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดของลักษณะ อาการทางคลินิก การดาเนินโรค การพยากรณ์โรคแตกต่างกันไป สามารถให้การวินิจฉัยได้โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ของ สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 4 ปรับปรุงเนื้อหา (DSM-IV-TR) หรือเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลกฉบับ ที่ 10 (ICD-10) ลักษณะอาการ อาการโรคจิต (psychotic symptoms) เป็นอาการสาคัญของผู้ป่วยโรคจิต สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม อาการหลัก ตามแนวคิดของ Lindamayer JP และคณะ ดังนี้ 1. กลุ่มอาการชนิดบวก (positive symptoms) เป็นความผิดปรกติที่แสดงออกในด้านความผิดปกติของความคิด การรับรู้ และพฤติกรรม ได้แก่  อาการหลงผิด (delusion) เป็นอาการที่ผู้ป่วยมีความเชื่อผิดไปจากความเป็นจริง เป็นความเชื่อที่ฝังแน่น ไม่ ว่าจะมีหลักฐานหรือเหตุผลใดมาหักล้าง ผู้ป่วยก็ไม่เปลี่ยนความเชื่อของตน อาการหลงผิดที่พบในผู้ป่วย สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น อาการหวาดระแวงว่ามีคนปองร้ายหรือไม่ประสงค์ดีกับตนเอง (persecutory delusion) หลงผิดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวเชื่อมโยงกับตนเอง (delusion of reference) หลงผิดว่าตนเองเป็นเทพหรือเป็นคนสาคัญ (grandiose delusion) อาการหลงผิดที่มี น้าหนักในการวินิจฉัย ได้แก่ อาการหลงผิดที่มีเนื้อหาแปลกประหลาด และเป็นไปไม่ได้ (bizarre delusion)  อาการประสาทหลอน (hallucination) เป็นการรับรู้ทั้งที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น ซึ่งเป็นได้ทั้งการรับรู้ทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ เสียงแว่ว (auditory hallucination) มักจะได้ยินแบบเป็นเรื่องเป็น ราวและได้ยินขณะที่ยังรู้ตัวดีอยู่ตลอด ลักษณะของหูแว่วที่มีความสาคัญ ได้แก่ - audible thoughts ได้ยินเสียงคนพูดเป็นเนื้อหาใจความเหมือนอย่างที่คิด - voices commenting เป็นเสียงแว่วที่มีเนื้อหาวิจารณ์การกระทาต่างๆของผู้ป่วย - voices arguing เป็นการได้ยินเสียงคนมากกว่า 2 คนถกเถียงหรือออกความเห็นกัน ซึ่งมักมี เนื้อหาเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยเอง
  • 8. 8  พฤติกรรมผิดปรกติ (disorganized behavior) ไม่เหมาะสม แปลกอย่างมาก เช่น สวมเสื้อหลายตัวทั้งที่ อากาศร้อนจัด มีการเคลื่อนไหวที่คล้ายพิธีกรรม หรือทาท่าแปลก ๆ ซ้า ๆ หรือทาท่าทางบิดเบี้ยวไม่เป็น ธรรมชาติค้างอยู่นานหรือค้างอยู่เกือบตลอดเวลา 2. กลุ่มอาการชนิดลบ (negative symptoms) เป็นการที่ผู้ป่วยขาดในสิ่งที่คนทั่วๆไปมี ได้แก่ - Alogia พูดน้อย เนื้อหาที่พูดมีน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ - Affective flattening การแสดงออกทางสีหน้าลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย - Avolition-apathy ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่เฉยๆได้ทั้ง วัน โดยไม่ทาอะไร - Anhedonia-asociality ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนาน เก็บตัว ไม่ค่อยแสดงออก ไม่สนใจคบหาสมาคมกับใคร 3. กลุ่มอาการด้าน cognition เป็นการที่ไม่สามารถคิดแบบสรุปรวบยอดได้ ไม่สามารถคิดแบบนามธรรม ไม่รับรู้วัน เวลา สถานที่ ความสนใจไม่ดี และความคิดหมกมุ่น ซึ่งจะแสดงออกมาให้เห็นทางคาพูดเป็นคาพูดที่ผิดปรกติ (disorganized speech) เช่น พูดจาวกวน สับสน ไม่รู้เรื่อง ขาดความต่อเนื่อง ไม่เป็นเหตุเป็นผล 4. กลุ่มอาการตื่นเต้นกระวนกระวาย (excitement symptoms) รวมถึงการไม่ให้ความร่วมมือ การควบคุม แรงผลักดันของตนเองไม่ได้ (poor impulse control) การไม่เป็นมิตร (hostility) และการก้าวร้าว (aggression) 5. กลุ่มอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล (depressive and anxiety symptoms) อาการซึมเศร้า อาจเกิดขึ้นในช่วงใดของการดาเนินโรคก็ได้ อาจเกิดก่อนอาการโรคจิต (prepsychotic depression) หรืออาจพบเมื่อหายจากอาการโรคจิต (postpsychotic depression) แล้วก็ได้ ซึ่งกลุ่มอาการซึมเศร้า นี้ต้องแยกจากกลุ่มอาการด้านลบที่ผู้ป่วยจะมีความสนใจในตัวเองและสิ่งแวดล้อมลดลง ความรู้สึกยินดีลดลง ไม่มีพลัง ไม่มีแรงจูงใจ เคลื่อนไหวได้ช้าเหมือนกัน แต่กลุ่มอาการด้านลบจะมีอาการเด่นชัดที่การแสดงออกทางอารมณ์ที่ลดลง หรือเฉยเมยชัดเจนกว่า ในขณะที่กลุ่มอาการซึมเศร้าจะมีอารมณ์ซึมเศร้าที่เด่นชัด ร่วมกับมีความผิดปกติของการนอน การอยากอาหารและมีความรู้สึกผิดด้วย อาการวิตกกังวล พบได้บ่อยในช่วงระยะอาการนา (prodromal) และช่วงที่มีอาการทางจิตรุนแรง และอาจ เป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคจิตได้ เช่นผู้ป่วยอาจมีอาการวิตกกังวลที่เป็นผลมาจากอาการประสาทหลอนหรือ หวาดระแวง แต่จะพบอาการนี้ได้น้อยในช่วงที่โรคเป็นเรื้อรังแล้ว
  • 9. 9 เกณฑ์การวินิจฉัย อ้างอิงจากเกณฑ์ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 4 ปรับปรุงเนื้อหา (DSM-IV-TR)  มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อขึ้นไป นาน 1 เดือน (หรืออาจน้อยกว่า 1 เดือน หากผู้ป่วยได้รับการรักษา) 1. อาการหลงผิด (Delusion) 2. อาการประสาทหลอน (Hallucination) 3. มีความผิดปกติของคาพูด (Disorganized speech) 4. มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือพฤติกรรมวุ่นวาย (Catatonic behavior หรือ grossly disorganized behavior) 5. มีอาการด้านลบ (Negative symptom) หมายเหตุ 1. หากอาการหลงผิดมีลักษณะแปลกประหลาด (bizarre delusion) หรืออาการประสาทหลอนมีลักษณะเป็น voice commenting หรือ voice discussing แม้จะมีเพียงอาการเดียวก็ถือว่าเข้าเกณฑ์ 2. อาการดังกล่าวส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านอาชีพ การงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นหรือการดูแลตนเอง สาเหตุ 1. ปัจจัยทางชีวภาพ - พันธุกรรม - ความผิดปกติของ สารเคมีในสมอง เช่น dopamine, ลักษณะทางกายวิภาคของสมอง และการทางานของ สมองในส่วนต่างๆ 2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า สภาพครอบครัวที่มีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง ทั้งการตาหนิ วิพากษ์วิจารณ์ ท่าทีไม่เป็น มิตร จู้จี้มากเกินไป จะมีผลต่อการกาเริบของโรค แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ การรักษา การรักษาด้วยยา ยารักษาโรคจิตเป็นการรักษาหลักของโรคในกลุ่มนี้ ในผู้ป่วยทั่วไปควรให้ยาในกลุ่มเดิม (conventional antipsychotics) เช่น haloperidol ขนาด 5-12 มก./วัน หรือ chlorpromazine ขนาด 300-600 มก./วัน หาก ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด extrapyramidal side effects หรือมีอาการ negative symptom เป็นอาการเด่น อาจให้ยากลุ่มใหม่ (atypical antipsychotics) เช่น risperidone, olanzapine หรือ quetiapine ปัจจัยอื่นๆที่ควร คานึงถึงเมื่อต้องเลือกใช้ยา เช่น ประวัติการตอบสนองต่อยา ผลข้างเคียง ชนิดของยาที่มีในสถานพยาบาล และความ ชานาญของแพทย์ และหากผู้ป่วยมีอาการวุ่นวายหรือกระวนกระวายมาก ให้ฉีด haloperidol 5 มก. เข้ากล้าม ทุก 1-2 ชั่วโมงจนกว่าอาการสงบ โดยมากแค่ 2-3 ครั้ง ผู้ป่วยก็สงบ เพื่อลดปัญหาเรื่องผลข้างเคียงของการใช้ยา ควรเริ่ม ใช้ยาในขนาดต่า หากผู้ป่วยไม่มีปัญหาในเรื่องผลข้างเคียงของยามากนัก ควรคงขนาดยาไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • 10. 10 ก่อนที่จะทาการประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ควรให้ยาในขนาดที่เพียงพอเป็นเวลานานอย่างน้อย 4- 6 สัปดาห์ ก่อนที่จะระบุว่าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยารักษาโรคจิตตัวใดตัวหนึ่ง ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยโรคจิตไว้รักษาในโรงพยาบาล - มีความเสี่ยงที่จะทาร้ายผู้อื่น - มีความเสี่ยงที่จะทาร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย - ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรือวุ่นวายมาก - อาการโรคจิตเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน - ไม่สามารถให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ หากรักษาแบบผู้ป่วยนอก การรักษาทางจิตสังคม 1. การให้ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มป่วย และเมื่อสามารถให้การวินิจฉัยโรคที่ ชัดเจนแล้ว ควรให้ข้อมูลกับผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล เกี่ยวกับโรค สาเหตุ การดาเนินโรค การรักษาและการบริการที่ สามารถจัดหาให้แก่ผู้ป่วยได้ 2. การประเมินสภาพครอบครัวของผู้ป่วยเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหากครอบครัวผู้ป่วยมีพยาธิสภาพ 3. การฝึกความชานาญในการดารงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฝึกความชานาญในการเข้าสังคม และการฟื้นฟูด้านอาชีพ 4. การเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือผู้ป่วยแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจาวันตามสมควร
  • 11. 11
  • 12. 12
  • 13. 13 บทที่ 3 โรคซึมเศร้า เรียบเรียงโดย พ.ท.พลังสันติ์ จงรักษ์ โรคซึมเศร้า หรือ ภาวะซึมเศร้ารุนแรง (Major depressive disorder, Clinical depression, Major depression, Unipolar depression) เป็นความผิดปกติของจิตใจซึ่งมีลักษณะโดยรวมคือ มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับขาด ความเคารพตนเอง รวมทั้งมีภาวะสิ้นยินดี (anhedonia) คือไม่มีความสนใจหรือพึงพอใจในกิจกรรมที่โดยปกติเป็นที่น่า พึงพอใจ ชื่อโรคเป็นทางการนี้ในภาษาอังกฤษ "major depressive disorder" อาการที่พบ 1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุก อย่าง บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน 2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง รู้สึกท้อแท้ หมดหวังกับชีวิต 3. สมาธิความจาแย่ลง จะหลงลืมง่าย 4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อ หน่ายไม่อยากทาอะไร ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้าหนักลดลงมาก 5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจา กับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย 6. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการ ของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ปัจจัยสาคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้า 1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้าหลายๆ ครั้ง 2. สารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สาคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่าลง รวมทั้งอาจมีความ ผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความ ผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลย์ของระบบสารเคมีเหล่านี้ 3. ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทาให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่อง ของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูก ทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาการอาจมากจนกลายเป็น โรคซึมเศร้าได้
  • 14. 14 เกณฑ์การวินิจฉัย  มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)  มีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 5 อาการหรือมากกว่า 1) ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก 2) น้าหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้าหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญ อาหารมาก 3) นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป 4) กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง 5) อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 6) รู้สึกตนเองไร้ค่า 7) สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด 8) คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย * ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ  ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่ การรักษา การรักษาที่สาคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้เศร้า โดยเฉพาะในรายที่อาการมาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่ มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ ช่วยทาให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจาเป็น
  • 15. 15 PHARMACOTHERAPY OF MAJOR DEPRESSIVE DISORDER Suggested antidepressant dosages and adverse effects11, level1b Antidepressant Starting dose (mg/day) Usual dose range (mg/day) Adverse effects ที่สาคัญ Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) 1. fluoxetine (fulox®, prozac®) 10-20 20-40 nausea, vomiting, dyspepsia, abdominal pain, diarrhea, rash, sweating, agitation, anxiety, headache, insomnia, tremor, sexual dysfunction, hypo natremia, cutaneous bleeding disorder. Discontinuation symptoms อาจจะเกิดขึ้นได้ (except ยกเว้น fluoxetine) 2. sertraline (zoloft®) 25-50 50-200 3. fluvoxamine (faverin®) 50-100 100-200 4. paroxetine (seroxat®) 0-20 20-40 5. escitalopram (lexapro®) 5-10 10-20 Tricyclic Antidepressants (TCA) 1. amitriptyline (tryptanol®) 25-75 75-200 sedation, often with hangover, postural hypotension, tachycardia/ arrhythmia, dry mouth, blurred vision, constipation, urinary retention 2. imipramine (toflanil®) 25-75 75-200 (up-to 300 mg for IPD) 3. nortriptyline (nortrilen®) 10-75 75-150 SSRI และ TCA เป็นชนิดที่มีใช้ในประเทศไทย 1. antidepressant ที่ควรพิจารณาเป็น first line ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ SSRI12, level1b 2. ส่วนผู้ป่วย mild depression ที่เคยมีอาการ moderate to severe depression แล้วเกิดอาการอีกครั้งในระดับ mild ควรจะเริ่มให้ antidepressants12, level2b 3. ในผู้ป่วย moderate to severe depression ให้ antidepressant และหลังจากที่อาการทุเลาในแต่ละ episode แล้ว ควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน12, level1b 4. ส่าหรับผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ยา fluoxetine จะมีต่ากว่ากลุ่ม TCA13, level1a 5. เมื่อได้ยาครบตามการรักษา full remission เพื่อป้องกัน withdrawal syndrome และ recurrent ให้ค่อยๆ ลดขนาดยาลง จนหยุดยาได้11, level1b Recommendations 1. Antidepressant ที่ควรพิจารณา เป็น first line ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ SSRI (Grade A) 2. ควรเริ่มการรักษาด้วยยารักษาโรคซึมเศร้า SSRI ในขนาดต่า โดยขนาดเริ่มต้นที่แนะน่าคือ fluoxetine 20mg/day, sertraline 50 mg./day หรือ paroxetine 10mg/day (Grade B) 3. ควรเริ่มให้ยา antidepressant ผู้ป่วย moderate to severe depression และหลังจากที่อาการทุเลาใน แต่ละ episode แล้วควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน (Grade A) 4. การยุติการรักษาด้วยยา หลังให้ antidepressant ถ้าคะแนนจากการประเมินด้วย 9Q<7 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ติดต่อกัน จะถือว่ามี full remission ให้ค่อยๆ ลดยาลงประมาณ 25-50% ทุกๆ 2 สัปดาห์ ขณะลดยาควรประเมิน ด้วย 9Q ทุกครั้งที่พบผู้ป่วย (Grade D)
  • 16. 16
  • 17. 17 บทที่ 4 การติดสารเสพติด เรียบเรียงโดย พ.อ.พิชัย แสงชาญชัย พ.ต.ผดุงเกียรติ เชาวนกระแสสินธุ์ Amphetamines แอมเฟตามีนเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นที่รู้จักมานาน สารในกลุ่มนี้ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ methamphetamine เริ่มแรกนามาใช้เป็นยารักษาอาการหอบหืดและ คัดจมูก ต่อมานามาพัฒนาใช้รักษา depression narcolepsy ซึ่งปัจจุบันยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอยู่ เช่น methyphenidate ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น(ADHD) แต่อีก ด้านสาร methamphetamine นี้เองที่นามาใช้เป็นสารเสพติด ทั้งการสูบ สูดดม และฉีดเข้าเส้น ส่วนยาบ้านั้น ใน 1 เม็ด จะประกอบด้วย methamphetamine 20-25 mg (20-30%) caffeine 45-55 mg (40-60%) และแป้งกับน้าตาล สหประชาชาติมีข้อมูลล่าสุดว่า มีการระบาดของยาบ้าเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก และมากเป็นอันดับสองรองมาจาก กัญชา และยังแพร่หลายไปในตลาดใหม่ๆ เช่น ยุโรป แอฟริกาตะวันตก เป็นต้น ยาบ้าสามารถพบเจอได้ในทุกสังคมเมือง ตั้งแต่เมืองใหญ่จนถึงชนบท แม้ว่าผลกระทบที่รุนแรงจะพบได้บ่อยในแถบชนบทหรือสังคมเมืองขนาดกลาง นอกจากนั้น การใช้ยาบ้ายังสัมพันธ์กับการเกิดผลต่อเนื่องของโรคทางกายและทางจิตเวช ผู้ที่ใช้สารแอมเฟตามีนในช่วงแรก จะทาให้รู้สึกอารมณ์ดี เบื่ออาหาร ไม่ง่วงนอน ลดอาการอ่อนเพลีย ความตั้งใจ ดีขึ้น แต่หากใช้เป็นเวลานานและมีขนาดที่สูงจะทาให้ กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ก้าวร้าว กระตุ้นทาให้ เกิดโรคจิตจากสารเมทแอมเฟตามีน เกิดอาการหลงผิด หวาดระแวง หูแว่วได้ สามารถตรวจพบในปัสสาวะได้นาน 72 ชั่วโมงหลังจากใช้สารครั้งสุดท้าย Amphetamine Intoxication เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. เพิ่งมีการใช้แอมเฟตามีน หรือสารในกลุ่ม (เช่น methylphenidate) B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ (เช่น อารมณ์ครื้นเครง หรือ เฉยเมย การเข้าสังคมเปลี่ยนแปลง ตื่นตัวอย่างมาก รู้สึกไวในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กังวล ตึงเครียดหรือโกรธ มี พฤติกรรมซ้าๆ ตัดสินใจไม่เหมาะสม เสียการเข้าสังคมหรืองานการ) ซึ่งเกิดระหว่าง หรือหลังการใช้แอมเฟตามีน หรือสาร ในกลุ่มไม่นาน C. มีอาการต่อไปนี้สองข้อ (หรือมากกว่า) เกิดขึ้นในระหว่าง หรือทันทีหลังการใช้แอมเฟตามีน หรือสารในกลุ่ม 1) หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นช้า 2) ม่านตาขยาย 3) ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือต่าลง 4) เหงื่อแตก หรือหนาวสั่น 5) คลื่นไส้ หรืออาเจียน 6) มีหลักฐานว่า น้าหนักตัวลด 7) psychomotor ช้า หรือ กระวนกระวาย 8) กล้ามเนื้ออ่อนแรงหายใจช้าหรือน้อย เจ็บหน้าอก หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ 9) สับสน ชัก เคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็งหรือ coma D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า
  • 18. 18 การรักษา 1. จัดให้อยู่บริเวณที่สงบ มีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุด 2. Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mg ต่อวัน รับประทานหรือ 10-20 mg ต่อวันฉีดเข้าหลอดเลือดดา ตามความรุนแรง เพื่อลดอาการ agitation หรือ hyperactivity โดยให้ในระยะสั้นๆ 3. Antipsychotics ควรให้กลุ่ม high-potency เช่น haloperidol 2-10mg ต่อวัน รับประทาน หรือ 2-5 mg ต่อ วันฉีดเข้าหลอดเลือดดา เพื่อลดอาการ agitation หรือ hyperactivity เช่นเดียวกัน หรือในรายที่มีอาการรุนแรง โดยให้ในระยะสั้นๆ เช่นกัน Amphetamine Withdrawal เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. มีการหยุด (หรือลดการใช้) แอมเฟตามีน (หรือสารในกลุ่ม) หลังจากการใช้อย่างมากและเป็นเวลานาน B. มีอารมณ์ไม่แจ่มใส และมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระต่อไปนี้ สองข้อ (หรือมากกว่า) เกิดขึ้นในไม่กี่ชั่วโมงถึงสองสามวัน หลังจากเกณฑ์ A 1) อ่อนเพลีย 2) มีฝันไม่ดี ที่เหมือนจริง 3) นอนไม่หลับ หรือหลับมาก 4) เจริญอาหารมากขึ้น 5) psychomotor ช้า หรือ กระวนกระวาย C. อาการตามเกณฑ์ B ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สาคัญบกพร่องลง D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า การรักษา ให้การรักษาตามอาการ 1. Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mg ต่อวัน รับประทาน เพื่อลดอาการ agitation 2. ในรายที่มีอาการซึมเศร้า ให้รักษาด้วย Antidepressants Amphetamine induced psychotic disorder โรคจิตจากสารเมทแอมเฟตามีน จะมีอาการทางจิตที่เกิดหลังจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน กลุ่มอาการทางจิต คล้ายกับโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง(paranoid schizophrenia) และสัมพันธ์กับปริมาณและระยะเวลาที่ใช้สาร อาการที่ พบได้มากสุดคืออาการด้านบวก ได้แก่ อาการหวาดระแวง (persecutory delusion) อาการประสาทหลอน (hallucination) กระบวนการใช้ความคิดสับสน และอาการไม่เป็นมิตร
  • 19. 19 แยกจาก โรคจิตเภทโดย 1) Amphetamine induced psychotic disorder ไม่พบลักษณะอาการ negative symptoms เช่น อารมณ์เฉย เมย (affect flattening) ความคิดไม่เชื่อมโยง (loosening of association) 2) พบ Amphetamineในการตรวจปัสสาวะขณะเกิดอาการ psychosis ประมาณ 3-5 วัน 3) อาการ psychosis จะหายหลังจากรักษาและหยุด Amphetamine เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิดที่เด่นชัด หมายเหตุ: ไม่รวมถึงอาการประสาทหลอนที่ผู้ป่วยตระหนักว่าอาการของ ตนเป็นผลจากสาร B. มีหลักฐานจากประวัติ การตรวจร่างกาย หรือผลทางห้องปฏิบัติการ ดังข้อ 1 หรือ 2: 1) อาการใน ข้อ A เกิดขึ้นระหว่างหรือภายในช่วงหนึ่งเดือนที่มี substance intoxication หรือ withdrawal 2) การใช้ยาเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว C. ความผิดปกตินี้ไม่ได้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่มิได้เป็นผลมาจากสาร หลักฐานว่าอาการเหล่านี้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่ มิได้เป็นผลมาจากสาร อาจได้แก่: มีอาการก่อนการใช้สาร (หรือการใช้ยา): อาการยังคงอยู่เป็นระยะเวลานาน (เช่น เป็น เดือน) หลังจากหมดภาวะ intoxication หรือมีอาการมากเกินกว่าที่จะเป็น เมื่อเทียบกับชนิด ปริมาณ หรือระยะเวลาที่ ใช้สาร หรืมีหลักฐานอื่นที่แนะว่ามีโรคจิตที่ไม่ขึ้นกับการใช้สาร (เช่น มีประวัติของช่วงที่มีอาการโดยไม่สัมพันธ์กับการใช้ สารอยู่เป็นระยะๆ) D. ความผิดปกตินี้มิได้เกิดแต่เฉพาะในช่วงของ delirium การรักษา 1. Antipsychotics เป็นยาหลักในการรักษา เช่น haloperidol 2-10 mg ต่อวัน รับประทาน เพื่อรักษาอาการ ทางจิต ควรให้ยาจนกว่าอาการทางจิตจะหมดไป โดยทั่วไปอาการจะหายหลังจากรักษาและหยุด Amphetamine ประมาณ 1 สัปดาห์ 2. Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mg รับประทาน เพื่อลดอาการ agitation Opioid Opioid หมายถึง สารที่ออกฤทธิ์เหมือนกับฝิ่น หรืออนุพันธุ์ของฝิ่น แบ่งเป็น - Exogenous Opioids แบ่งเป็นกลุ่ม Natural Opioids และ Synthetic Opioids เช่น methadone - Endogenous Opioids เช่น endorphine ฝิ่นเป็นที่รู้จักมานาน โดยในสมัยก่อนได้นามาทาเป็นยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ต่อมามีการสังเคราะห์เฮโรอีนขึ้น เนื่องจาก ออกฤทธิ์เร็ว และหมดฤทธิ์เร็วจึงได้กลายเป็นสารเสพติดที่สาคัญสารหนึ่งจนถึงปัจจุบัน สารอนุพันธ์ฝิ่นสามารถเสพได้ หลายทาง เช่น การกิน สูดหรือฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าเส้น หากสูบจะออกฤทธิ์ใน 8 วินาที สารอนุพันธ์ฝิ่นทุกตัวจะถูก ทาลายที่ตับได้เป็นสารที่ยังออกฤทธิ์ได้อยู่คือ มอร์ฟีน ค่าครึ่งชีวิตของมอร์ฟีนจะประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง สามารถตรวจได้ ในปัสสาวะถึง 48 ชั่วโมง เฮโรอีนเป็นที่มีความสามารถละลายในไขมันได้สูงจึงผ่าน blood brain barrier ได้เร็ว ออก
  • 20. 20 ฤทธิ์ได้เร็วที่สุด ค่าครึ่งชีวิตของเฮโรอีนเมื่อฉีดเข้าเส้นประมาณ 3 นาที ส่วนเมธาโดนจะออกฤทธิ์ช้า ระดับยาสูงสุดใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง แต่ออกฤทธิ์ได้นานมากกว่า 24 ชั่วโมง ดังที่กล่าวมาแล้ว สารในกลุ่มนี้ที่พบเสพติดบ่อย คือ เฮโรอีน มอร์ฟีน เมธาโดน ผู้เสพเกินขนาดจะมีอาการ psychomotor retardation, drowsiness, slurred speech อาการรุนแรงถึงขั้นโคม่า หยุดการหายใจ และเสียชีวิตได้ Opioid Intoxication เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. เพิ่งมีการใช้ opioid ชนิดใดชนิดหนึ่ง B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ ( เช่น อารมณ์ครื้นเครง เริ่มต้น ตามด้วย apathy อารมณ์ไม่แจ่มใส psychomotor agitation หรือ retardation การตัดสินใจไม่ดี สูญเสียการ เข้าสังคม หรือการงาน ) ที่เกิดขึ้นระหว่าง หรือไม่นาน หลังจากการใช้ หรือ ได้รับ opioid B. ม่านตาหดตัว (หรือขยายจากการขาดอากาศเนื่องจากเสพยาเกินขนาดอย่างมาก) และมีอาการต่อไปนี้หนึ่งข้อ (หรือ มากกว่า) เกิดขึ้นระหว่าง หรือไม่นาน หลังจากการใช้ หรือ ได้รับ opioid 1) ง่วง ซึม หรือ coma 2) พูดอ้อแอ้ 3) ความสนใจ หรือ ความทรงจาบกพร่อง D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า การรักษา 1. ภาวะเมาสารอนุพันธุ์ฝิ่นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นอันดับแรกควรรักษาเร่งด่วนเพื่อกู้ชีวิต โดยเฉพาะระบบการ หายใจ 2. ยาที่ใช้คือ naloxone (opioid antagonist) 0.4-0.8 mg ทางหลอดเลือดดา ซึ่งจะออกฤทธิ์ภายใน 2 นาที เฝ้า สังเกตอาการประมาณ 15-20 นาที หากไม่ดีขึ้นให้ยาซ้าได้อีก 1.6 mg เฝ้าสังเกตอาการประมาณ 15-20 นาที หากไม่ดี ขึ้นให้ยาซ้าได้อีก 3.2 mg หากดีขึ้นให้ 0.4 mg ทุก 1 ชั่วโมง จนเป็นปกติ 3. ระหว่างการดูแลรักษาให้สังเกตอาการเป็นระยะๆ ใน 24 ชั่วโมง Opioid Withdrawal เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. มีอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 1. หยุด ( หรือลดการใช้ ) opioid ซึ่งได้มีการใช้ปริมาณมาก เป็นเวลานาน (สองสามสัปดาห์ หรือนานกว่า) 2. มีการใช้ opioid antagonist หลังจากมีการใช้ opioid ระยะเวลาหนึ่ง B. มีอาการต่อไปนี้ สามข้อ (หรือมากกว่า) เกิดภายในไม่กี่นาที หรือสองสามวัน หลังจากเกณฑ์ A 1. อารมณ์ไม่แจ่มใส 2. คลื่นไส้ หรืออาเจียน 3. ปวดกล้ามเนื้อ 4. น้าตาไหล หรือน้ามูกไหล
  • 21. 21 5. ม่านตาขยาย ขนลุก หรือเหงื่อออก 6. ท้องเสีย 7. หาวนอน 8. ไข้ 9. นอนไม่หลับ C. อาการตามเกณฑ์ B ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สาคัญบกพร่องลง D. อาการไม่ได้เกิดจากผลของภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า การรักษา 1. Methadone detoxification การเริ่มให้ methadone อาจดูตามอาการและอาการแสดงจากภาวะถอน ดังกล่าวมาข้างต้น โดยเริ่มที่ 5-20 mg ต่อวัน หลังจากปรับยาเพิ่มในขนาดที่เหมาะสมแล้ว( 20-60 mg ต่อวัน) ให้คงขนาดยาอีก 1 สัปดาห์แล้วค่อยๆลดยาลงร้อยละ 5-10 ทุก 3-7 วัน จนหยุดยาได้ โดยทั่วไปใช้เวลาตั้งแต่ เป็นสัปดาห์ถึง 6 เดือน หรือจะใช้ Clinical Institute Narcotic Assessment(CINA) เพื่อจะได้ทราบถึงขนาดยา ที่ควรใช้ต่อวัน 2. Clonidine detoxification ออกฤทธิ์โดยลดอาการ noradrenergic activity เริ่มต้นให้รับประทาน clonidine เริ่มที่ 0.1 mg ทุก 4-6 ชั่วโมงในวันแรกหลังจากนั้นจะเพิ่ม clonidine วันละ 0.1-0.2 mg ต่อวันจนได้ระดับที่ เหมาะสมแล้ว คงขนาดยาไว้ 5-7 วัน ค่อยๆ ลดลง 0.1-0.2 ต่อวันจนหยุดยาได้ ควรวัดความดันโลหิตทุก 4-6 ชั่วโมง อย่างสม่าเสมอ เนื่องจาก clonidine มีผลลดความดันโลหิต หากมีภาวะความดันโลหิตต่าต้องลดยาลง หรือหยุดยาทันที Cannabis กัญชาเป็นพืชที่มนุษย์เรารู้จักกันมานานมาก โดยใช้เป็นยารักษาภาวะต่างๆ เช่น อาการปวด และยังทาให้มี อารมณ์สนุกสนาน ครื้นเครง ส่วนมากนิยมเสพโดยการสูบ หรือพบในรูปของอาหารเช่นผสมในเค้ก เมื่อสูบจะได้เกิด อารมณ์ครื้นเครงได้ภายในไม่กี่นาทีหลังเสพ เกิดผลสูงสุดภายใน 30 นาที และคงอยู่นาน 2-4 ชั่วโมง แต่ผลเสียที่เกิดได้แก่ อาการวิตกกังวล เวียนศีรษะ หรือมีภาวะ amotivational syndrome คือไม่มีแรงจูงใจทา กิจกรรมต่างๆ เฉื่อยชา ไม่อยากทาอะไร อาจทาให้เกิดโรคจิตได้นาน สามารถตรวจพบกัญชาในปัสสาวะได้นาน 4 สัปดาห์ หลังจากใช้สารครั้งสุดท้าย Cannabis Intoxication เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. เพิ่งมีการใช้กัญชา B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ (เช่น การประสานงานของ กล้ามเนื้อผิดปกติ ครื้นเครง กังวล รู้สีกว่าเวลาผ่านไปช้า การตัดสินใจไม่ดี แยกตัวจากสังคม) เกิดขึ้นระหว่าง หรือ ไม่นาน หลังจากการใช้กัญชา
  • 22. 22 C. มีอาการแสดงต่อไปนี้สองข้อ (หรือมากกว่า) เกิดภายในสองชั่วโมงหลังการใช้กัญชา 1. ตาแดง 2. เจริญอาหารมากขึ้น 3. ปากแห้ง 4. หัวใจเต้นเร็ว D. อาการไม่ได้เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า การรักษา 1. การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประครอง 2. สามารถใช้ยากลุ่ม Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mgต่อวัน รับประทานเพื่อลดอาการวิตกกังวล หรือ กระวนกระวาย โดยให้ในระยะสั้นๆ 3. ในรายที่อาการรุนแรงหรือมีอาการผิดปกติทางจิตสามารถให้ยา Antipsychotics เช่น haloperidol 2-10 mg ต่อวัน รับประทานแล้วแต่ความรุนแรง Cannabis induced psychotic disorder ใช้เกณฑ์การวินิจฉัย Substance induced psychotic disorder ตาม DSM IV พบได้ในคนที่เสพในปริมาณ มากๆ มาเป็นเวลานาน แต่พบได้น้อย อาการคล้ายอาการด้านบวกของโรคจิตเภท พบอาการหูแว่ว หวาดระแวงได้ ซึ่งจะ เป็นในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิดที่เด่นชัด หมายเหตุ: ไม่รวมถึงอาการประสาทหลอนที่ผู้ป่วยตระหนักว่าอาการของ ตนเป็นผลจากสาร B. มีหลักฐานจากประวัติ การตรวจร่างกาย หรือผลทางห้องปฏิบัติการ ดังข้อ 1 หรือ 2: 1) อาการใน ข้อ A เกิดขึ้นระหว่างหรือภายในช่วงหนึ่งเดือนที่มี substance intoxication หรือ withdrawal 2) การใช้ยาเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว C. ความผิดปกตินี้ไม่ได้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่มิได้เป็นผลมาจากสาร หลักฐานว่าอาการเหล่านี้เข้าได้ดีกว่ากับโรคจิตที่ มิได้เป็นผลมาจากสาร อาจได้แก่: มีอาการก่อนการใช้สาร (หรือการใช้ยา): อาการยังคงอยู่เป็นระยะเวลานาน (เช่น เป็น เดือน) หลังจากหมดภาวะ intoxication หรือมีอาการมากเกินกว่าที่จะเป็น เมื่อเทียบกับชนิด ปริมาณ หรือระยะเวลาที่ ใช้สาร หรืมีหลักฐานอื่นที่แนะว่ามีโรคจิตที่ไม่ขึ้นกับการใช้สาร (เช่น มีประวัติของช่วงที่มีอาการโดยไม่สัมพันธ์กับการใช้ สารอยู่เป็นระยะๆ) D. ความผิดปกตินี้มิได้เกิดแต่เฉพาะในช่วงของ delirium การรักษา ให้ยา Antipsychotics เช่น haloperidol 2-10 mgต่อวัน รับประทานแล้วแต่ความรุนแรง โดยให้ในระยะสั้นๆ
  • 23. 23 Inhalants Inhalant intoxication เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV A. มีการใช้สารระเหยอย่างจงใจ หรือใช้เพียงระยะสั้นแต่ขนาดสูง ในเร็วๆนี้ (ไม่รวมถึงก๊าซที่ใช้ในการดมยา และขยาย หลอดเลือดที่ออกฤทธิ์สั้น) B. มีพฤติกรรม หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อย่างมีความสาคัญทางการแพทย์ (เช่น ทะเลาะวิวาท จะทา ร้ายผู้อื่น เฉยชาไร้อารมณ์ การตัดสินใจไม่ดี สูญเสียการเข้าสังคม หรือการงาน) เกิดขึ้นระหว่าง หรือ ไม่นาน หลังจากการ ใช้หรือได้รับสารระเหย C. มีอาการต่อไปนี้สองข้อ (หรือมากกว่า) ระหว่างหรือไม่นาน หลังจากการใช้หรือได้รับสารระเหย 1. วิงเวียน 2. อาการตากระตุกแกว่ง 3. กล้ามเนื้อทางานไม่ประสาน 4. พูดอ้อแอ้ 5. เดินเซ 6. อ่อนเพลีย 7. Reflexes ลดลง 8. ภาวะกายเชื่องช้า 9. มือสั่น 10. กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วไป 11. การมองเห็นไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน 12. ภาวะกึ่งโคมา หรือโคม่า 13. อารมณ์ครื้นเครง D. อาการไม่ได้เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นได้ดีกว่า การรักษา 1) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประครอง 2) สามารถใช้ยากลุ่ม Benzodiazepines เช่น Diazepam 10-30 mgต่อวัน รับประทานเพื่อลดอาการวิตกกังวล หรือ กระวนกระวาย โดยให้ในระยะสั้นๆ 3) ในรายที่อาการรุนแรงหรือมีอาการผิดปกติทางจิตสามารถให้ยา Antipsychotics เช่น haloperidol 2-10 mg ต่อวัน รับประทานแล้วแต่ความรุนแรง โดยให้ในระยะสั้นๆเช่นกัน การบาบัดอย่างย่อ (Brief Intervention-BI) การบาบัดอย่างย่อ หรือ Brief Intervention (BI) ผู้บาบัดใช้เวลาในการพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสั้นๆระยะเวลา เพียง 5-15 นาที เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง องค์การอนามัยโลกได้พัฒนาการบาบัดอย่างย่อใน การเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ที่ดื่มหนักอย่างเป็นอันตราย หรือ hazardous drinking เพื่อส่งเสริมให้ลดละเลิกการดื่มแอลกฮอล์ นับได้ว่าเป็นวิธีการที่ช่วยป้องกันการเสพติด แอลกอฮอล์ โดยมีเทคนิคที่สาคัญ คือ FRAMES ซึ่งสามารถกระทาได้โดยบุคลากรทั่วไปที่ไม่ได้มีความชานาญในทักษะ การให้คาปรึกษา
  • 24. 24 Feed Back ให้ข้อมูลสะท้อนกลับถึงความรุนแรงของปัญหาติดแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดที่ประสบอยู่ ได้แก่ ประวัติ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มาสะท้อนถึงความรุนแรงของโรค การอธิบายวิธีการแปลผล การตรวจ สาหรับกรณีของแอลกอฮอล์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดแอลกอฮอล์ ได้แก่ SGOT/SGPT, GGT, Bilirubin, MCV เป็นต้น Responsibility เน้นถึงความรับผิดชอบของผู้ป่วยเองในการตัดสินใจว่าจะเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติด หรือไม่ ผู้บาบัดไม่สามารถบังคับ เป็นสิทธิของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ผู้บาบัดมีหน้าที่เพียงแนะนาสิ่งที่ดีๆ ให้ Adviceหมายถึง คาแนะนาที่เป็นประโยชน์ และจาเป็นต่อการตัดสินใจ เช่น แอลกอฮอล์และสารเสพติดมีผลต่อ สุขภาพอย่างไรบ้าง ในกรณีที่เสพติดแล้ว (Substance dependence) การหยุดโดยเด็ดขาด (Abstinence) มีโอกาส ประสบความสาเร็จในการเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติดมากกว่าค่อยๆลดปริมาณลง (Moderation) หากเลือกหนทาง การค่อยๆ ลดปริมาณลง ก็ควรมีการเฝ้าติดตาม (Monitoring) ปริมาณที่ใช้หรือเสพว่าลดลงจริงหรือไม่ (Moderation) เช่น การบันทึกปริมาณแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละวัน เป็นต้น Menu ทางเลือกในการปฏิบัติ ไม่ควรมีมากเกินไป หรือน้อยจนเกินไป ได้แก่ การเลิกด้วยวิธีการหักดิบ การมี กิจกรรมทดแทนต่างๆ การเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-help group) การปฏิบัติธรรม การเข้ารับการรักษาด้วยวิธี บาบัดต่างๆ ทางการแพทย์ เป็นต้น Empathy ความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจในตัวผู้ป่วย ว่าการติดแอลกอฮอล์และสารเสพติดเป็นโรค ไม่ใช่นิสัยไม่ดี ยอมรับที่ผู้ป่วยอาจจะยังไม่ตระหนักกับปัญหาการติดแอลกอฮอล์และสารเสพติดเพราะยังไม่มีอาการถอนจากแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติด หรือยังมองไม่เห็นข้อเสียจากการเสพ เข้าใจว่าโดยแท้จริงผู้ป่วยรู้สึกว่าการดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพสาร เสพติดมีข้อดีอยู่มาก หรืออาจเสียดายความสุขที่เกิดจากแอลกอฮอล์และสารเสพติด Self efficacy ส่งเสริมศักยภาพเดิมที่มีอยู่ในตัวผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจว่าสามารถเลิก แอลกอฮอล์และสารเสพติดได้ ให้ความหวังและกาลังใจ การบาบัดอย่างย่อ หรือ Brief Intervention (BI) ที่ใช้ในการเสริมสร้างแรงจูงใจให้เลิกบุหรี่และเหล้า คือ เทคนิค 5A และ 5R โดยเทคนิค 5A ใช้ในการเข้าถึงและช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่ทั่วไป ส่วนเทคนิค 5R ใช้สาหรับผู้สูบบุหรี่ ที่ไม่มีแรงจูงใจ เทคนิค 5A มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ Ask เป็นการถามเรื่องการสูบบุหรี่ บุคลากรควรจะถามผู้ป่วยทุกคนเกี่ยวกับประวัติการสูบบุหรี่ ควรจะบันทึก ประวัติการสูบบุหรี่ลงในประวัติผู้ป่วย แจกแจงสถานภาพของการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเป็น 1) สูบบุหรี่ 2) เลิกแล้ว 3) ไม่ เคยสูบ และอาจทาสัญลักษณ์ติดไว้ที่แฟ้มประวัติผู้ป่วยเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านทราบ Advise บุคลากรควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียของการสูบบุหรี่ (Health risk of tobacco smoking) และ ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ (Health benefit of tobacco cessation) พร้อมเสนอความช่วยเหลือในการเลิกบุหรี่ทุก
  • 25. 25 ครั้งที่มีโอกาส บุคลากรควรแนะนาผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ในการประสบผลสาเร็จในการเลิก บุหรี่ ผู้ป่วยต้องมีความอยากเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง ดังนั้น ไม่ควรมีการบังคับให้เลิกสูบบุหรี่ Assess เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ และจะสามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วย วิธีใด อาจพิจารณาจากประวัติการพยายามเลิกบุหรี่ในอดีต ปริมาณบุหรี่ที่สูบในปัจจุบัน ระดับความรุนแรงของการติดนิโคติน แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ นิสัยการสูบบุหรี่ เป็นต้น Assist เป็นการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้สาเร็จ โดยบุคลากรอธิบายถึงขั้นตอนการเลิกบุหรี่ การ บาบัดประกอบด้วยการให้คาปรึกษา จิตสังคมบาบัด และการบาบัดทางยา หลังจากที่ได้ตกลงกับผู้ป่วยถึงแนวทางการ เลิกบุหรี่ ก็ควรจะมีการกาหนดวันเริ่มต้นหยุดสูบบุหรี่ (quit date) ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์หลังจากตกลงใจเลิกบุหรี่เพื่อ เตรียมตัว โดยบุคลากรสามารถแนะนาถึงแนวทางการปฏิบัติตัวในช่วงก่อนเลิกและในวันที่เลิกบุหรี่ Arrange เป็นการจัดเตรียมเพื่อการติดตามผลและช่วยเหลือ ควรจัดให้มีการติดตามผลหลังจากวันหยุดสูบ บุหรี่ เช่น ภายในสัปดาห์แรก เนื่องจากการอดบุหรี่จะมีอาการถอนรุนแรงในช่วง 3-7 วันแรก สิ่งที่ควรทาในการติดตาม ผล ได้แก่ แสดงความยินดีกับความสาเร็จ หากผู้ป่วยกลับไปสูบอีก ให้การจูงใจใหม่ ทบทวนสถานการณ์ และกาหนด วันหยุดสูบบุหรี่อีกครั้ง ย้าเตือนผู้ป่วยว่า การพลั้งเผลอ (slip or lapse) เป็นบทเรียน วิเคราะห์ปัญหาและความ พลั้งเผลอ เตรียมการรับมือล่วงหน้ากับสิ่งท้าท้าย พิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปสู่ยังโปรแกรมการบาบัดที่เข้มข้น ในกรณีที่ผู้สูบบุหรี่ไม่มีแรงจูงใจ คือ แรงจูงใจอยู่ในขั้นที่ 1 คือ ขั้นไม่สนใจใส่ใจ (pre-contemplation) หรือ ขั้นที่ 2 คือ ขั้นลังเลใจ (contemplation) ผู้บาบัดสามารถใช้เทคนิค 5R ในการเสริมสร้างแรงจูงใจ Relevance เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบถึงเหตุผลจูงใจในการเลิกบุหรี่ที่มีความสอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละ ราย โดยเฉพาะความสอดคล้องในแง่ความเสี่ยงต่อสุขภาพ โรคที่ประสบอยู่ ผลกระทบและความมั่นคงของครอบครัว และตรวจสอบประสบการณ์ในการเลิกบุหรี่ อุปสรรคที่ทาให้ไม่ประสบความสาเร็จ Risk เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบถึงข้อเสียของการสูบบุหรี่ บุคลากรควรเน้นสิ่งที่เป็นผลกระทบทางลบ โดยตรงต่อผู้ป่วย Reward เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบข้อดีของการเลิกบุหรี่ บุคลากรควรเน้นข้อดีที่สอดคล้องกับผู้ป่วย โดยตรง Roadblock เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบอุปสรรคในการเลิกบุหรี่ และนาเสนอความช่วยเหลือต่างๆทั้งการ บาบัดทางยาและทักษะในการแก้ปัญหาที่ช่วยให้ผู้ป่วยก้าวข้ามอุปสรรค Repetition บุคลากรควรกระทาการจูงใจทุกครั้งที่พบกับผู้ป่วย บุคลากรควรให้กาลังใจผู้ป่วยที่ยังเลิกไม่สาเร็จว่า ผู้ เลิกบุหรี่ได้สาเร็จส่วนใหญ่มักเคยพยายามเลิกมาหลายครั้งก่อนที่จะประสบความสาเร็จในที่สุด