SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 139
Baixar para ler offline
ÃÒªÇÔ·ÂÒÅÑ¡ØÁÒÃᾷáË‹§»ÃÐà·Èä·Â
ÊÁÒ¤Á¡ØÁÒÃᾷáË‹§»ÃÐà·Èä·Â
Best Practice in Communication
บรรณาธิการ	 วินัดดา  ปิยะศิลป์
	 วันดี  นิงสานนท์
ISBN	978-616-91972-1-8
จัดท�ำโดย 	 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
	 สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
พิมพ์ครั้งที่  1  มกราคม 2557	 จ�ำนวน 1,000 เล่ม
ออกแบบและพิมพ์ที่
บริษัท สรรพสาร จ�ำกัด
เลขที่ 71/17 ถนนบรมราชชนนี  แขวงอรุณอมรินทร์  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพฯ  10700
โทร. 0-2435-2345 ต่อ 197
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดแห่งชาติ
วินัดดา  ปิยะศิลป์
วันดี  นิงสานนท์
Best Practice in Communication
พิมพ์ครั้งที่ 1  กรุงเทพฯ : สรรพสาร จ�ำกัด, 2557.
136 หน้า
กุมารเวชศาสตร์		 I.  ชื่อเรื่อง.
1
สารจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
แม้ว่าวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าทางไปมาก ท�ำให้การตรวจ
วินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้นกว่าในอดีต การรักษาแนวใหม่ได้ผลลัพธ์ดี น่าจะท�ำให้ผู้ป่วย
และญาติพึงพอใจมากขึ้น ข้อร้องเรียนลดลง
แต่ในความจริงกลับพบว่าปริมาณเรื่องร้องเรียนที่แพทยสภาได้รับเกี่ยวกับเวชปฏิบัติของ
แพทย์ที่ไม่เหมาะสมกลับมีปริมาณสูงขึ้น ไม่เว้นแม้แต่กุมารแพทย์ซึ่งในอดีตถูกร้องเรียนน้อยมาก
เพราะญาติไว้วางใจเสมือนเป็นแพทย์ประจ�ำครอบครัว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขาดการสื่อสารที่ดี
แพทย์ไม่เปิดโอกาสให้ซักถามและไม่ใส่ใจต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับญาติผู้ป่วย
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความส�ำคัญและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชา Communication Skills โดยเน้นการพัฒนาทักษะของอาจารย์
แพทย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน และเร่งรัดให้ทุกสถาบันฝึกอบรมต้องจัดให้มี
การเรียน การสอนวิชานี้ในระดับแพทย์ประจ�ำบ้านและนักศึกษาแพทย์ รวมทั้งปรับเปลี่ยน
วิธีการวัดผลสมรรถนะด้าน Communication Skills ของแพทย์ประจ�ำบ้าน
ต้องขอบคุณ ผศ.นพ.พนม เกตุมาน และ รศ.พญ.ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ ที่อนุญาตให้ใช้แบบ
ประเมินMedicalCounselingChecklist(MCC)และขอบคุณคณะอนุกรรมการCommunication
skills ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ด�ำเนินการรวบรวมความรู้ จัดฝึกอบรมและ
ผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนวิชานี้แก่แพทย์ประจ�ำบ้านจนส�ำเร็จ และเผยแพร่ความรู้ในวงการ
กุมารแพทย์ เพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
					ศาสตราจารย์ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
				 ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
2
บทน�ำ
	 การสื่อสารเป็นทักษะส�ำคัญในการเชื่อมโยงความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความรู้และปรับกระบวน
ความคิดให้ตรงกัน ส่งผลท�ำให้เกิดความใกล้ชิด ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ จนกลายเป็นความ
ผูกพันกันระหว่างคน 2 คน
	 ในปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัฒน์รุนแรง ท�ำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิด
ความเร่งรีบ คนในสังคมตัดทอนการสื่อสาร 2 ทางทั้งอย่างตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก
	 ในด้านการแพทย์ ปัญหาที่พบบ่อยที่ท�ำให้ขั้นตอนการรักษามีปัญหา มักเกิดจากความไม่
เข้าใจกันและสื่อสารสับสนระหว่างกลุ่มแพทย์กับญาติผู้ป่วย ระหว่างสหวิชาชีพทีมที่ให้การดูแลรักษา
ผู้ป่วย ระหว่างแพทย์ผู้รักษาหลายสาขาวิชาชีพ ระหว่างอาจารย์แพทย์กับแพทย์ประจ�ำบ้านหรือ
นักศึกษาแพทย์ น�ำมาซึ่งความคิดเห็นที่ต่างกันในรายละเอียดของวิธีการรักษาทั้งด้านประสิทธิภาพ
ความเหมาะสมต่อคนไข้แต่ละคน จากความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นมักน�ำไปสู่ความขัดแย้ง ความยุ่ง
ยากและท�ำให้บั่นทอนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รักษาที่ท�ำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นผู้รักษาในวิชาชีพ
เดียวกัน หรือต่างวิชาชีพ
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจ�ำ
บ้านและสอบ ได้มีนโยบายพัฒนาคุณสมบัติของแพทย์ประจ�ำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์โดยแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบในการผลักดันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 โดย
จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาแนวทางการสอนของอาจารย์แพทย์ให้ผสมผสานไปกับงานด้านวิชาการ เพื่อ
ให้แพทย์ประจ�ำบ้านได้ใช้ทักษะด้านนี้ในชีวิตประจ�ำวันภายใต้การดูแลของอาจารย์ และถือว่าการ
ฝึกอบรมทักษะด้านการสื่อสารเป็นงานส�ำคัญที่ทุกสถาบันฝึกอบรมจะต้องจัดกิจกรรมให้แก่แพทย์
ประจ�ำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์
					 ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
				 ประธานคณะอนุกรรมการ Communication Skills
				 รองประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
3
สารบัญ
				 หน้า
สารจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย	 1
บทน�ำ				 2
รายนามวิทยากร		 5
ตอนที่ 1 หลักการสื่อสาร		
	 1.	หลักของเวชจริยศาสตร์ด้านกุมารแพทย์	 ศ.เกียรติคุณ พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ	 9
	 2.	การสื่อสารที่ได้ผล	 ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์	 17
	 3.	สัมพันธภาพระหว่างบุคคล	 ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์	 21
	 4.	การสื่อสารกับเด็ก	 นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ 	 25
	 5.	การสื่อสารกับวัยรุ่น	 พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร 	 30
	 6.	การสื่อสารกับปู่ย่าตายาย	 พญ.อิสราภา ชื่นสุวรรณ 	 37
ตอนที่ 2 เทคนิคและขั้นตอนในการให้ค�ำปรึกษา		
	 7.	แนวทางการให้ค�ำปรึกษา 	 ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ 	 43
	 8.	เทคนิคการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ 	 นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ 	 46
	 9.	เทคนิคการสื่อสารกับวัยรุ่นเรื่อง 	 ผศ. พญ.บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์ 	 49
		Sensitive issues
	 10.	การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ	 ผศ. นพ.พนม เกตุมาน 	 56
	 11.	เทคนิคการประคับประคองจิตใจ	 ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์	 68
ตอนที่ 3 การสื่อสารในภาวะต่างๆ		
	 12.	หลักจริยธรรมและการสื่อสารใน	 พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล 	 73
		พันธุศาสตร์ทางคลินิก	
	 13.	ประเด็นทางจริยธรรมและการสื่อสาร	 นพ.วิฐารณ บุญสิทธิ 	 81
		ในผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์		
	 14.	การสื่อสารกับครอบครัวในห้วงวิกฤติ	 นพ.ดุสิต สถาวร 	 92
4
สารบัญ
				 หน้า
	 15.	การสูญเสียและความตาย	 พญ.จริยา ทะรักษา 	 103
	 16.	การสื่อสารกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย	 ผศ. พญ.กวิวัณณ์ วีรกุล	 113
	 17.	การขออนุญาตตรวจศพ	 นพ.วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล	 123
ตอนที่ 4 การจัดการเรียนการสอนวิชา Communication Skills	
	 18.	การจัดการเรียนการสอนส�ำหรับแพทย์ประจ�ำบ้าน	 127
	 19.	แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ และแบบบันทึก	 131
	 20.	ศิลปะการ Feedback แพทย์ประจ�ำบ้าน		 133
5
รายนามวิทยากร
กวิวัณณ์ วีรกุล
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว. กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด
Cert. in Clinical Fellowship in Pediatric Hematology/
Oncology (U.S.A.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ประธานศูนย์บริรักษ์ ศิริราช (Siriraj Palliative Care Center)
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
พนม เกตุมาน
พ.บ. ว.ว.จิตเวชศาสตร์ อ.ว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
Diploma of Child and Adolescent Psychiatry
(London)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
จริยา ทะรักษา
พ.บ., ว.ว.กุมารเวชศาสตร์, อ.ว.จิตเวชเด็กและวัยรุ่น
อ.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว
Certificate of Postdoctoral Fellowship Training
in Child
and Adolescent Psychiatry (U.S.A.)
อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ม.มหิดล
พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการ
และพฤติกรรม
MSc. Epidemiology MSc. Child and Adolescent
Mental Health(with Merit) (London)
Certificate Health Professions Education (USA)
หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมิทราธิราช
จิราภรณ์ อรุณากูร
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์
Certificate in Clinical Fellowship in
Adolescent Medicine (USA)
อาจารย์แพทย์ หน่วยเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
วัณเพ็ญ บุญประกอบ
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
Certificate in Child and General Psychiatry(USA)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์
Diploma American Board of Medical Genetics
(Clinical Genetics, Clinical Molecular Genetics)
ศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
หัวหน้าสาขาเวชพันธุศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
วินัดดา ปิยะศิลป์
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
อ.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว
Certificate in Deveolmental Pediatrics (USA)
นายแพทย์ทรงคุณวุฒิระดับ 11
ศาสตราจารย์คลินิก
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
6
ดุสิต สถาวร
พบ., อ.ว.กุมารเวชศาสตร์, อ.ว.เวชบ�ำบัดวิกฤต
อ.ว.กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ
Diplomate of the American Board of Pediatrics
and American Sub-board of Pediatric Critical Care
Medicine
พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หัวหน้าหน่วยโรคระบบหายใจและกุมารเวชวิกฤต
กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
วิฐารณ บุญสิทธิ
พ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1) ว.ว. กุมารเวชศาสตร์
อ.ว. จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น อ.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว
Diplomate of the American Board of General
Psychiatry and Child and Adolescent Psychiatry
รองศาสตราจารย์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็ก
และวัยรุ่น
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ม.มหิดล
บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์
Certificate in Clinical Fellowship in
Adolescent Medicine(Canada)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
หัวหน้าสาขากุมารเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์
อ.ว.ทารกแรกเกิดปริก�ำเนิด
หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
อิสราภา ชื่นสุวรรณ
พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์
ว.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตอนที่ 1
หลักการสื่อสาร
9
	 การเรียนการสอนวิชาชีพแพทย์ นอกจากความรู้ทางวิชาการการแพทย์ การฝึกฝนอบรม
ทักษะและการมีทัศนคติที่ดีแล้ว สิ่งที่จ�ำเป็นและส�ำคัญมาก คือ การเรียนการสอนด้านคุณธรรม
จริยธรรมที่จะต้องมีควบคู่ไปด้วยกันเสมอทั้งนี้เพราะแพทย์ท�ำงานเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรงในการ
ตรวจรักษาช่วยเหลือให้ผู้ป่วยหายจากโรค ซึ่งเป็นการบรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ
นอกจากนั้น แพทย์ยังมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพทั้งคนปกติและคนป่วยให้แข็ง
แรงขึ้นอีกด้วย การมีคุณธรรมและจริยธรรมจะท�ำให้แพทย์ปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติเป็นอย่างดี มี
ความระมัดระวังรอบคอบไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยและค�ำนึงถึงผลประโยชน์
ที่ผู้ป่วยจะได้รับ ในทางตรงข้าม หากแพทย์ปราศจากซึ่งคุณธรรมจริยธรรม นึกถึงแต่ประโยชน์ส่วน
ตนหรือพวกพ้องอาจละเลยในหน้าที่ไม่เอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างที่ควรจะเป็นน�ำมาซึ่งอันตรายและความ
เสียหายแก่ผู้ป่วยได้
	
	 คุณธรรมเป็นคุณค่า คุณความดีที่มีภายในจิตใจ มีจิตส�ำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ รู้จัก
ผิดถูก ชั่วดี และมีหลักการตามศีลธรรมในการตัดสินใจ ซึ่งได้เรียนรู้มาแต่เบื้องต้นของการอบรม
เลี้ยงดูและในการศึกษา ทั้งนี้ขึ้นกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนาที่ตนได้
เจริญพัฒนาขึ้นมาด้วย	
	 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ได้ให้ความเห็นของจริยธรรมว่า “ทางพุทธศาสนา จริยะ
มาจาก “จร” คือการด�ำเนินชีวิต หรือการเป็นอยู่ทั้งหมด โยงถึงธรรมชาติตามความเป็นจริงให้เกิด
ผลดี คือการปฏิบัติที่ดี หรือการด�ำเนินชีวิตที่ดี มนุษย์ต้องส�ำนึกรับผิดชอบต่อธรรมชาติต่อความจริง
ตามธรรมดาของระบบเหตุปัจจัย รับผิดชอบต่อความเป็นไปของโลก หรือต่อชะตากรรมของสังคม
ด้วยการตัดสินใจ และกระท�ำการด้วยเจตนาที่มุ่งดีโดยบริสุทธิ์”
	 ฉะนั้น จริยธรรมทางการแพทย์ตามหลักของเวชจริยศาสตร์ (principles of medical
ethics) จึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับความประพฤติของแพทย์ ที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสม
บทที่ 1
หลักของเวชจริยศาสตร์ด้านกุมารแพทย์
Principles of Medical Ethics
ศ.เกียรติคุณ พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ
วัณเพ็ญ บุญประกอบ
I
10
ที่ถูกที่ควร ไม่กระท�ำในสิ่งที่ผิด ที่ไม่สมควร
	 ความส�ำคัญของจรรยาแพทย์ได้มีมาแล้วหลายศตวรรษตั้งแต่เริ่มวิชาการ
แพทย์ในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ค�ำปฏิญาณ Hippocratic Oath
และต่อมามีปฏิญญาสากลบัญญัติขึ้น เช่น Helsinki Declaration, World
Medical Code เป็นต้น ในปัจจุบัน เกือบทั่วโลกมีบทบัญญัติจรรยาแพทย์ของ
แต่ละแห่ง โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรป
เป็นต้น แม้จะมีกฎหมายหรือ code of conduct คอยควบคุมความประพฤติและการตัดสินใจของ
แพทย์ แต่ก็ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมได้ทุกสถานการณ์ เนื่องจากปัจจุบันการแพทย์ได้เจริญ
ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากทั้งทางด้านวิชาการด้านตรวจรักษาอุปกรณ์เครื่องมือการวิจัยการใช้ยาและ
วิธีการช่วยเหลือผู้ป่วย มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และมากมายหลายวิธีการ การเรียนการสอนของ
วิชาชีพแพทย์จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความส�ำคัญในการพิจารณาน�ำเอาเรื่องของจริยธรรมเข้ามา
มากขึ้น ในหลักสูตรแพทยศาสตร์
	 ท่าน ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ได้เขียนเรื่องศิลป์และจรรยาแพทย์ไว้ในหนังสือ “แด่หมอ
ใหม่” ของชมรมแพทย์ชนบท ว่าได้มีการอบรมสอนวิชาจรรยาแพทย์แก่นักศึกษาแพทย์ มาตั้งแต่
สมัยโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี และน�ำค�ำบรรยายมาพิมพ์เป็น
หนังสือ “จรรยาแพทย์” เล่มแรกเมื่อ พ.ศ. 2451 ต่อมามีการปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ใหม่
จนถึงขั้นปริญญา บัณฑิตรุ่นแรกจบเมื่อ พ.ศ. 2471 (รับพระราชทานปริญญาบัตร 25 ตุลาคม พ.ศ.
2473) เวชบัณฑิตรุ่นแรกของคณะแพทยศาสตร์ได้กล่าวค�ำปฏิญาณตนต่อพระพักตร์ของพระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า
	 “จะเป็นผู้มีความสุจริต พากเพียร สงวนความลับของคนไข้โดยมิดชิด พากเพียรให้ฟื้นจาก
ไข้ไม่ใช้ยาหรือบ�ำบัดใดๆที่จะน�ำชื่อเสียงไม่ดีงามมาแก่วิชาชีพแพทย์มีความสุจริตยุติธรรมต่อเพื่อน
แพทย์ด้วยกัน ประพฤติตนในวิชาชีพแพทย์ให้มหาชนนับถือวิชาชีพแพทย์ด้วย”
	 พ.ศ.2495คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลได้เริ่มบรรจุหลักสูตรศิลป์และจรรยาแพทย์
ตามแนวสากลเป็นครั้งแรก และต่อมามีการเพิ่มเติมค�ำปฏิญญาส�ำหรับแพทยศาสตรบัณฑิต คือ
	 “จะประกอบอาชีพโดยใช้ศิลปวิทยา มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
รัฐธรรมนูญ มีความสักการะแก่ครูบาอาจารย์ ใช้ศิลปะวิทยาการในทางที่เป็นคุณประโยชน์ไม่เกลือก
กลั้วในโทษอกุศลธรรมชั่วร้าย จะแผ่เกียรติคุณแห่งหมู่คณะและวิชาชีพให้ไพศาล จะสมานสามัคคี
พลีประโยชน์เพื่อส่วนรวม ยึดมั่นในค�ำปฏิญญานี้ไว้ประดุจอาภรณ์อันมีค่ายิ่งชีวิต”
	 จะเห็นได้ว่า จริยธรรมนั้นมีหลักของ “ธรรม” อยู่ด้วยเสมอ อันที่จริงแล้วหลักธรรมของ
พระพุทธศาสนาได้ให้ไว้เป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจประพฤติปฏิบัติอยู่บนความเป็น
I
11
ธรรมอันมีศีลธรรมเป็นหลักเพื่อให้จิตใจมีคุณธรรมและประพฤติปฏิบัติด้วยจริยธรรมเจ้าพระยาพระ
เสด็จสุเรนทราธิบดี ได้กล่าวไว้ว่า
	 “ธรรมเป็นเครื่องรักษาความประพฤติให้เที่ยงตรงต่อประโยชน์และประสงค์ของคน คนจะ
ประกอบกิจการงานใดก็ดีจะต้องมีธรรมเป็นเครื่องยึดถือวิชาความรู้จะท�ำให้ผู้รู้มีความสามารถท�ำการ
งานต่างๆ ได้ตามความรู้ ธรรมเป็นเครื่องพาให้ผู้รู้วิชาประกอบจรรยา คือใช้วิชาความรู้โดยควรโดย
ชอบ ไม่ให้เอาวิชาไปใช้ในทางที่ผิด หรือเอาความรู้ที่มีไปกดจมให้สูญเสียเปล่า”
	 ธรรมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ธรรมทั่วไป และธรรมเฉพาะวิชาชีพ จริยธรรมทางการแพทย์จะ
ต้องมีทั้ง 2 ส่วนนี้ควบคู่กันไปเสมอ การเรียนการสอนจริยธรรมทางการแพทย์จะง่ายขึ้น และแพทย์
จะเป็นผู้มีจริยธรรมในวิชาชีพได้ดีจะต้องมีพื้นฐานของธรรม คือ เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็น
ผู้มีศีลธรรม เป็นผู้มีคุณธรรมประจ�ำใจมาแล้วก่อนเข้าศึกษา คณะแพทยศาสตร์ควรค�ำนึงถึงข้อนี้ไว้
ด้วย นอกเหนือจากการคัดเลือกเฉพาะผู้เรียนเก่ง เรียนดี มีความสามารถด้านความรู้ ด้านสังคม และ
ทัศนคติที่ดีต่อการเป็นแพทย์
พื้นฐานของคุณธรรมทั่วไป
	 พื้นฐานของคุณธรรมเป็นสิ่งส�ำคัญในความเป็นมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุข มีความ
สามัคคีเป็นองค์ธรรมอันหนึ่ง สามัคคีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ไว้ใจซึ่งกันและกัน มี
ความรับผิดชอบ เข้าใจในทัศนะมุมมองของผู้อื่นได้ เป็นต้น จะเห็นว่าเพียงหนึ่งคุณธรรมที่ยกเป็น
ตัวอย่างนี้ จ�ำเป็นต้องมีในคุณสมบัติของความเป็นแพทย์ซึ่งเป็นหมู่คณะใหญ่ มิใช่แต่บรรดาแพทย์
ด้วยกันเท่านั้นแต่ยังมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ ช่วยเหลือผู้ป่วยอีกหลายสาขา เช่น พยาบาล
ผู้ช่วยพยาบาล นักกายภาพบ�ำบัด ช่างเทคนิคเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ (เช่น เอกซเรย์) นักการ
ศึกษานักกฎหมายนักจิตวิทยานักสังคมสงเคราะห์และอื่นๆหลายโอกาสที่แพทย์จะท�ำงานประกอบ
กันเป็นทีม สหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์หลายสาขา และผู้ร่วมทีมดังได้กล่าวข้างต้น จึงจะท�ำให้
การดูแลช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยมะเร็ง
ผู้ป่วยพิการผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต เป็นต้น
	 พื้นฐานของคุณธรรมที่ต้องมีในความเป็นแพทย์คือ การมีความเมตตา กรุณา รู้จักเห็นอก
เห็นใจผู้อื่นมีความอดทนรู้จักเสียสละนึกถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้งมีความ
ซื่อสัตย์ จริงใจ รู้จักผิดชอบชั่วดี คุณธรรมเหล่านี้จะได้รับการสร้างสมอบรมสั่ง
สอนมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะจากพ่อแม่ครอบครัว และโรงเรียนเบื้องต้นก่อนเข้า
มาศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ นักศึกษาจะมีศีลธรรมพื้นฐานอยู่ประจ�ำใจและ
ประพฤติปฏิบัติมาอย่างถูกต้องเป็นปกติแล้วเมื่อมาเรียนรู้จริยธรรมเฉพาะทางการ
วัณเพ็ญ บุญประกอบ
I
12
แพทย์ก็จะด�ำเนินต่อไปได้และรับปฏิบัติเพิ่มเติมต่อไปโดยไม่ยาก ทั้งยังรู้จักเลือกเฟ้นสิ่งที่ดีและแบบ
อย่างที่ดีมาปฏิบัติได้ด้วย ในทางตรงข้าม ถ้ามีความฉลาด เรียนได้เก่ง แต่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา
ผิด เช่น ให้เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เอาเงินลาภยศเป็นที่ตั้ง หรือเด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยเคยชินกับ
การได้ด้วยวัตถุ เด็กที่ได้รับความรักความเอาใจใส่ไม่เพียงพอ ขาดการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เด็ก
เหล่านี้จะไม่มีความเห็นอกเห็นใจคน เสียสละไม่เป็น เอาความต้องการและประโยชน์ของตนมาเป็น
เรื่องใหญ่อีกทั้งกิริยามารยาทก็อาจจะกระทบกระเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องพบเห็นได้ง่ายอันเป็นลักษณะ
ที่ไม่สามารถมีจรรยาแพทย์ได้อย่างที่ต้องการ
	 ความเมตตา กรุณา เป็นองค์ธรรมที่จะหลีกเลี่ยง ไม่มี หรือไม่แสดงออกไม่ได้ ในความเป็น
แพทย์ คนเราจะมีเมตตากรุณารู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ตนเองจะต้องได้รับความรัก ความเอาใจใส่
เลี้ยงดูมาอย่างดี มีความรักผูกพันและมีความไว้วางใจผู้เลี้ยงดูมาตังแต่วัยเด็ก เพื่อสร้างความมั่นคง
ทางใจและมีความเข้มแข็งสามารถปรับตัวได้ดีเด็กจะได้รับการอบรมสั่งสอนและได้ปฏิบัติในการเป็น
“ผู้ให้” รู้จักแบ่งปัน รู้จักเคารพคารวะผู้อาวุโส มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูและ
ได้รับการปลูกฝังทัศนะคติที่ดีทั้งจากครอบครัวและโรงเรียนจึงจะมีจิตใจที่เป็นมิตรและสามารถสร้าง
มิตรภาพได้ บุคคลเหล่านี้จึงจะมีคุณสมบัติรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราปฏิบัติต่อ
ผู้ป่วยด้วยความรู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลที่มีชีวิตจิตใจสามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่กระท�ำสิ่งที่จะเป็นผลเสีย
หรืออันตรายต่อผู้ป่วย ดังพระราโชวาทของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกที่ประทานแก่แพทย์ว่า
	 “ขอให้พวกเธอจงเข้าใจและจ�ำไว้ว่า ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอมีความรู้ทางแพทย์
อย่างเดียว ฉันต้องการให้เธอเป็นคนด้วย”
	 ความอดทน เป็นคุณธรรมที่พึงมีในปุถุชน เป็นคุณสมบัติที่ท�ำให้บุคคลสามารถผ่านพ้น
อุปสรรคและประสบความส�ำเร็จได้ ผู้ที่มีความอดทนสมควรได้รับการยกย่อง วิชาชีพแพทย์ต้องการ
คุณสมบัตินี้เป็นอย่างมากเพราะแพทย์จะต้องพบปะเกี่ยวข้องกับผู้คนมากมายและผู้ป่วยหลายระดับ
แตกต่างกันไป ผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ มีความเปราะบางในอารมณ์และความอ่อนแอ
ของร่างกายและจิตใจ ที่ต้องการความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และการช่วยเหลือปลอบโยน ความ
เจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแพทย์จึงต้องพร้อมเสมอในการเผชิญกับผู้ป่วยหนักและภาวะฉุกเฉินซึ่ง
ไม่เลือกเวลาสถานที่ ทั้งต้องมีความอดทนอดกลั้นเป็นพิเศษ คุณสมบัตินี้จะต้องได้รับการฝึกฝนให้
เกิดมีขึ้นแล้วให้เป็นอุปนิสัย ในวัยเด็กจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักรอคอย รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จัก
ระงับควบคุมอารมณ์พฤติกรรมจนสามารถควบคุมตนเองได้เมื่อเจริญวัยขึ้น
	 ความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่จะได้รับการฝึกหัดมาตั้งแต่วัยประถมศึกษาเพื่อเติบโต
I
13
ขึ้นจะได้มีความซื่อตรง รับผิดชอบในหน้าที่ของตนและส่วนรวมได้ เมื่อเข้าเรียนชั้นอุดมศึกษาโดย
เฉพาะคณะแพทยศาสตร์ นักศึกษาที่มีความพร้อมในการเรียนจะมีวัยวุฒิที่สมวัย มีความรับผิดชอบ
และซื่อตรงต่อหน้าที่การเรียนและการปฏิบัติงาน มีความเข้มแข็ง อดทนต่อการเรียนที่หนักและยาก
ล�ำบากโดยเฉพาะเมื่อเข้าเรียนเวชปฏิบัติสามารถต่อต้านสิ่งเร้าที่จะมาชักจูงให้ออกไปนอกลู่นอกทาง
และเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ และไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย
	 คุณธรรม จริยธรรมดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นพอสังเขป เพราะเป็น
ลักษณะของธรรมที่พึงมีในมนุษย์ ที่จริงแล้ว ถ้าคนเรามีศีลห้าประจ�ำใจและปฏิบัติเป็นนิจสิน ก็จะมี
การด�ำเนินชีวิตได้ตามปกติ และมีจริยธรรมในการปฏิบัติสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง และจะเป็นพื้นฐานของการ
ปฏิบัติอย่างอื่นๆ ตามมาได้อย่างดีอีกด้วย ผู้ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ท�ำร้ายใครด้วยกาย วาจา ย่อมมี
ใจที่มีความเมตตา กรุณา ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขและพ้นทุกข์ การที่คนเราจะประพฤติปฏิบัติตาม
จริยธรรมย่อมจะต้องมีการควบคุมกิริยาวาจาและบังคับใจตนเองได้กว่าจะได้มีคุณสมบัติบังคับตนเอง
บังคับกิเลสตัณหาความอยากได้ส�ำเร็จ จะต้องได้รับการควบคุมจากภายนอกมาก่อน นั่นคือ การ
อบรมสั่งสอนที่ได้รับมาแต่เยาว์วัย จนในที่สุดสามารถกลายมาเป็นการควบคุมตนเองได้ รู้จักปฏิบัติ
ตามหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่โดยไม่บกพร่อง แต่นักศึกษาหรือผู้ปฏิบัติบางคนอาจจะยังไม่สามารถควบคุม
ตนได้ดีนัก คณะแพทยศาสตร์จึงต้องมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับให้กับนักศึกษาและระเบียบข้าราชการที่
จะปฏิบัติตามข้อส�ำคัญคณะครูและผู้บริหารจะต้องด�ำเนินการตามกฎเกณฑ์กฎระเบียบโดยเคร่งครัด
สม�่ำเสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติตามจริยธรรม
หลักการทางจริยธรรมที่เป็นคุณสมบัติของกุมารแพทย์
	 การจะให้นักศึกษาแพทย์ก็ดี กุมารแพทย์ก็ดี ตระหนักถึงจริยธรรมของแพทย์ในเวชปฏิบัติ
จะต้องมีพื้นฐานของคุณธรรมของมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น จึงจะสามารถรับรู้ เข้าใจและปฏิบัติตาม
จริยธรรมทางการแพทย์ต่อผู้ป่วยและต่อญาติ ต่อเพื่อนร่วมงาน และแม้กระทั่งในการท�ำการศึกษา
วิจัยได้ดีจริยธรรมทางการแพทย์ที่ส�ำคัญและพึงตระหนัก โดยทั่วไปมีดังนี้คือ
1. เคารพในความเป็นอิสระเป็นตัวเองของผู้ป่วย (Respect for autonomy)
	 ผู้ป่วยมีความสามารถในการคิดให้ตัวเองได้ และตกลงใจตัดสินเลือกเรื่องการรับการตรวจ
การรักษาเองได้ ยกเว้นในบางราย เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เป็นต้น แพทย์
ที่ดีจะต้องท�ำหน้าที่ของตนให้เต็มที่ ด้วยการตรวจอย่างมีทักษะ มีความรอบคอบ มีความรู้อย่างดีต่อ
โรคหรือภาวะนั้นๆ พร้อมที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และญาติอย่างเพียงพอในการตัดสินใจมีทักษะใน
การสื่อสารที่จะให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจได้ง่ายและตรงตามความเป็นจริง อีกทั้งมีศิลปะที่จะสื่อสาร
วัณเพ็ญ บุญประกอบ
I
14
ในสิ่งที่เป็นจริง เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย รู้จักจังหวะการให้ข้อมูล ระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบ
กระเทือนจิตใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง และรักษามารยาทในการพูดและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย
2. ไม่ท�ำสิ่งที่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อผู้ป่วย (Non-maleficence)
	 เป็นจรรยาแพทย์ที่แสดงไว้ตั้งแต่ในยุคแรกๆดังHippocraticOathว่า“ฉันจะให้การรักษา
เพื่อช่วยผู้เจ็บป่วยตามความสามารถและการตัดสินใจของฉัน แต่จะไม่ท�ำสิ่งใดที่ท�ำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บ
หรือท�ำผิดต่อเขา” นอกจากมีความเมตตากรุณาแล้ว แพทย์ควรมีหิริโอตัปปะ คือ รู้จักละอายที่จะ
กระท�ำความผิด และรู้จักเกรงกลัวบาปกรรมที่จะเกิดขึ้นในการท�ำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บพิการ หรือตาย
หรือเกิดความทุกข์วิตกกังวลจากการกระท�ำของแพทย์เอง ซึ่งการมีธรรมข้อนี้จะช่วยป้องกันการเกิด
ปัญหาในทางกฎหมายได้ด้วย
3. ปฏิบัติและกระท�ำเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย (Beneficence)
	 การมีน�้ำใจดี มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันเสียสละทางด้านการกุศลมี
ความตั้งใจที่จะท�ำแต่สิ่งที่ดีที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย แม้จะรักษาให้หายไม่ได้ แต่ก็ยังให้ความดูแลให้มี
คุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างที่ไม่สบาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่รู้ว่าโรคก�ำลังด�ำเนินไป
และใกล้เสียชีวิต ก็จะให้การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทนทุกข์ทรมานและรักษา
จิตใจให้เป็นสุขท่ามกลางความทุกข์กาย แพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยผ่านพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย
ดีอย่างมีศักดิ์ศรี และช่วยญาติให้บรรเทาความโศกเศร้าและรู้วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยได้ด้วย
4. ให้ความยุติธรรมในการดูแลรักษา (Justice)
	 แพทย์ที่ดีจะให้การตรวจรักษาช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกชาติ ศาสนา
ชั้นวรรณะ และเศรษฐานะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะปฏิเสธการตรวจรักษาไม่ได้
หากเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระท�ำการช่วยเหลือได้เต็มที่ก็ต้องให้ค�ำแนะน�ำ จัดการปรึกษาช่วย
ติดต่อให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วยในการไปพบแพทย์ที่จะสามารถช่วยเหลือรักษาได้ต่อไป
5. มีความซื่อสัตย์ (Veracity)
	 เมื่อคนเรามีความซื่อสัตย์จริงใจต่อตนเองแล้วย่อมจะท�ำหน้าที่การงานอย่างสุจริตได้แพทย์
เป็นวิชาชีพที่ต้องการคุณสมบัติข้อนี้อย่างมากเพราะการทุจริตหรือการหลอกลวงการพูดไม่จริงการ
บิดเบือนข้อมูลจะเกิดผลเสียอย่างมากต่อผู้ป่วยได้เช่นนักศึกษาแพทย์แต่งผลการตรวจเลือดขึ้นเอง
เขียนรายงานโดยไม่ได้ไปตรวจผู้ป่วย ท�ำให้แพทย์เจ้าของไข้เข้าใจผิด รักษาผิดและแนะน�ำผิดวิธี เกิด
I
15
ผลเสียหายเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้อย่างมาก แพทย์ที่กระท�ำผิดในเรื่องเหล่านี้จะมีความผิดทั้งทาง
ด้านจริยธรรมและกฎหมายแม้ในบางครั้งอาจมีเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยโดยเป็นสิ่ง
ที่ไม่คาดคิดหรือไม่ได้ตั้งใจให้เกิด แพทย์ก็ยังต้องพูดความจริงกับผู้ป่วยและญาติ อธิบายข้อมูลตาม
ความเป็นจริง และแสดงความเสียใจอย่างจริงใจด้วย
6. รักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality)
	 แพทย์ต้องรักษาความลับของผู้ป่วย และเห็นความส�ำคัญในเรื่องนี้ นอกจากเป็นเรื่องสิทธิ
ของผู้ป่วยแล้วยังเป็นมารยาทเป็นจริยธรรมของแพทย์ที่จะไม่น�ำเรื่องราวการตรวจพบก็ดีการรักษา
ก็ดีของผู้ป่วยไปเปิดเผย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่ผู้ป่วยเล่าเป็นเรื่องส่วนตัว แพทย์ต้องถือว่า
ผู้ป่วยได้ให้ความนับถือไว้วางใจจึงได้เล่าเรื่องหรือให้แพทย์ตรวจสภาพร่างกายของเขาถ้ามีเหตุจ�ำเป็น
ที่จะต้องเปิดเผยต้องได้รับค�ำยินยอมอนุญาตจากผู้ป่วยก่อนเสมอไม่ควรน�ำเรื่องผู้ป่วยไปพูดคุยหรือ
ถกเถียงแสดงความคิดเห็นกันในที่สาธารณะ และในสถานที่ที่ไม่ใช่ห้องตรวจ แม้ในการประชุมเสนอ
รายงานก็ต้องมีความระมัดระวังที่จะบรรยายเชิงวิชาการเท่านั้น ทั้งจะต้องให้เกียรติแก่ผู้ป่วยเสมอ
บทบาทและเรื่องของจริยธรรมทางการแพทย์ยังมีในเฉพาะทางอีกหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง
เกี่ยวกับเด็กการแจ้งข่าวร้ายผู้ป่วยโรคมะเร็งผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายละเอียดผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตจริยธรรม
เกี่ยวกับการวิจัย เป็นต้น ดังจะปรากฏในบทต่อๆ ไป การเรียนการสอนจริยธรรมทางการแพทย์จะ
ได้ผลดีจะต้องให้ทั้งองค์ความรู้ และการปฏิบัติให้เป็นอยู่เสมอและตลอดเวลา ครูแพทย์จะต้องส�ำนึก
ในความส�ำคัญของเรื่องนี้และสามารถโน้มน้าวปลูกฝังทัศนคติให้กับผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงานร่วมด้วย
ในทุกระดับสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อผู้ป่วยการจะให้นักศึกษา
แพทย์และแพทย์ประจ�ำบ้านรับไปท�ำตามปฏิบัติตามจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์ใกล้
ชิด และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา ชื่นชมเคารพนับถือ และปรารถนาที่จะ
เอาเป็นแบบอย่างน�ำไปปฏิบัติด้วยตนเองได้ครูคนใดมีลูกศิษย์ติดตามหรือได้ดูแลควบคุมสอนลูกศิษย์
ในการปฏิบัติ ลูกศิษย์มีโอกาสใกล้ชิดคอยช่วยเหลือ เฝ้าดู สังเกตุ การกระท�ำของครูต่อผู้ป่วยและ
ญาติอยู่เสมอๆ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะซึมซับการปฏิบัติ ทัศนคติ กิริยา มารยาทไปเป็นของตนเองได้ ใน
ปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์ในแต่ละรุ่นมีเป็นจ�ำนวนมาก มีตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม และสิ่งเร้าจูงใจให้
หันเหออกนอกลู่นอกทางได้มากจึงจ�ำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์กติกาข้อบังคับและนโยบายในการส่งเสริม
และสร้างจริยธรรมให้ชัดเจนมากขึ้น และช่วยกันควบคุมให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยการที่คน
เราจะมีจริยธรรมคุณธรรมเองได้ จะต้องอาศัยการอบรม สั่งสอน ควบคุม มีกฎกติกาภายนอกเข้ามา
เป็นข้อบังคับให้ฝึกฝนปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม�่ำเสมอจนกลายเป็นอุปนิสัย และมีคุณธรรมในตนที่
สามารถประพฤติปฏิบัติแสดงออกทางจริยธรรมได้
วัณเพ็ญ บุญประกอบ
I
16
เอกสารอ้างอิง
1.	พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). สนทนาธรรม: ชีวิต จริยธรรม กับการวิจัยทางการแพทย์. ใน: การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. กรุงเทพมหานคร:
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2544. หน้า 95.
2.	สงกรานต์ นิยมเสน. จรรยาแพทย์. จพสท 2506; 46: 725-64.
3.	เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี. จรรยาแพทย์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543
4. วัณเพ็ญ บุญประกอบ. บทบาทของแพทย์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม. ใน: โครงการสัมมนาอาจารย์แพทย์ระหว่างสถาบันเรื่องการพัฒนา
ระบบประกันคุณภาพ การสร้างเสริมจริยธรรม นักศึกษาแพทย์: แพทยสภา; 2547 ก.ย. 2; กรุงเทพมหานคร; 2547.
5.	Dickenson D, Huxtable R, Parker M. The Cambridge Medical Ethics Workbook. 2nd
ed. Cambridge: Cambridge University Press;
2010.
I
17
	 การสื่อสารของกุมารแพทย์ที่มีต่อครอบครัวและเด็กจะได้ผลดีได้ต่อเมื่อกุมารแพทย์มีความ
ปรารถนาดี อยากให้พ่อแม่รับรู้และเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร เสมอต้นเสมอ
ปลาย เข้าใจความรู้สึกและยืดหยุ่นต่อผู้ป่วยและพ่อแม่ตามความเหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
มองโลกด้านดีอยู่ในความเป็นจริงและไม่อ่อนไหวง่าย
	 จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่า แค่บุคลิกภาพที่ดีของแพทย์เท่านั้นก็ช่วยผู้ป่วยและครอบครัวได้
มากแล้ว
การให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำที่ดี จึงขึ้นกับ
	 1. เจตคติที่ดี
	 คือ มีใจอยากท�ำ มีประสบการณ์ในการให้ค�ำปรึกษาและพัฒนาตนเอง ตั้งใจท�ำให้ดี นุ่ม
นวล เห็นใจ เปิดโอกาสให้คิดไตร่ตรองและตัดสินใจด้วยตัวเอง เข้าใจถึงความรู้สึก อารมณ์ ความคิด
ของผู้ป่วยที่แต่ละคนมีความแตกต่างกันยอมรับได้ทั้งด้านบวกและด้านลบที่ผู้ป่วยเป็น โดยไม่มีอคติ
ไม่ล�ำเอียง รักษาความลับและไม่มีอคติต่อพ่อแม่ มีความจริงใจ และสนใจต่อความทุกข์และปัญหา
ของผู้ป่วยอย่างจริงจัง ความเข้าใจนี้ท�ำให้ผู้ให้ค�ำปรึกษายอมรับ พร้อมจะให้เวลาและเปิดโอกาสให้
ผู้รับค�ำปรึกษาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนเอง
	 โดยมีความเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในตัวเองที่จะต่อสู้แก้ปัญหาแต่ในภาวะที่เกิดความรู้สึกด้อย
ค่าซึ่งไม่สามารถน�ำศักยภาพมาใช้ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากขาดความมั่นใจหรือขาดความภูมิใจในตัวเอง
ท้อแท้ ขาดความกระตือรือร้น ยอมแพ้ ขาดขวัญก�ำลังใจจากบุคคลรอบตัวทั้งในและนอกครอบครัว
รวมทั้งขาดความรู้สึกถึงความมีคุณค่าของตนเองต่อสังคมการให้ค�ำปรึกษาจะช่วยกระตุ้นให้ศักยภาพ
ที่ดีนั้นถูกน�ำออกมาใช้
	
	 2. มีความรู้
	 คือ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจธรรมชาติของปัญหาที่เกิดขึ้น รู้แนวทางการรักษาในด้าน
บทที่ 2
การสื่อสารที่ได้ผล
ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
วินัดดา ปิยะศิลป์
I
18
ต่างๆ มีความรู้ด้านจิตวิทยาดีพอควรโดยเฉพาะเกี่ยวกับเทคนิคการให้ค�ำปรึกษา
การสัมภาษณ์ พลวัตของครอบครัว (family dynamics) และความสามารถใน
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ความสามารถในการประเมิน,
ความเข้าใจถึงปฏิกิริยาทางจิตใจที่จะมีผลต่อโรคหรือภาวะทางร่างกาย รวมทั้ง
ความคาดหวัง และความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
	 3. ทักษะ
	 คือ ความสามารถในการให้ค�ำปรึกษา นอกเหนือจากการมีเทคนิคให้ค�ำปรึกษาในขั้นตอน
แม่นย�ำแล้ว ยังต้องใช้ทักษะส�ำคัญประกอบด้วย	
		3.1	การสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ
			 โดยการแสดงความจริงใจ ซื่อตรง เปิดเผย ตรงไปตรงมา ให้เกียรติ เคารพความคิด
เห็น ยอมรับความรู้สึก ให้ความเป็นกันเองและเชื่อถือในค�ำพูดได้ จะส่งผลต่อคุณภาพการรักษาเป็น
อย่างมาก ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่แรกพบจึงมีความส�ำคัญ
		3.2	การสื่อสาร
			 ประกอบด้วยส่วนที่เป็นverbalและnonverbalเสมอการฟังอย่างตั้งใจ(active
listening) แสดงความตั้งใจรับฟัง สบตา ใช้ภาษาท่าทางและสรุปประเด็นเพื่อแสดงถึงความเข้าใจใน
สิ่งที่ได้รับการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมอารมณ์ปฏิกิริยาที่แสดงออกทั้งภาษากายค�ำพูดน�้ำเสียงถ้อยค�ำ
และนัยยะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ท�ำให้ผู้ให้ค�ำปรึกษาสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้พูดและสะท้อนความ
รู้สึก ท�ำให้ผู้พูดมีก�ำลังใจในการพูดต่อ เลือกใช้ค�ำถามที่เหมาะสม จดจ่อตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม รับ
ฟังความคิดเห็น สะท้อนความคิด สะท้อนความรู้สึก สะท้อนความหมายท�ำให้ผู้รับค�ำปรึกษารับรู้ว่า
ผู้ให้ค�ำปรึกษาเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ภายในค�ำพูดหรือการแสดงออกสรุปความเป็นระยะเพื่อให้
เข้าใจตรงกันให้ก�ำลังใจและเข้าใจความรู้สึก(empathy)และเมื่อจะสื่อสารออกไปควรใช้การสื่อสาร
สองทาง ใช้ภาษาพูดที่เข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ ข้อมูลถูกต้อง เหมาะสม เพียงพอในการตัดสินใจ ให้
โอกาสซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่าง หรือแก้ไขความเข้าใจผิด ปรับกรอบความคิดที่อาจบิดเบือน
ให้ตระหนักรู้และแก้ไขความเข้าใจผิด ให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจ พูดชัดเจนด้วยอาการสงบแม้เป็นการบอกข่าวร้าย ไม่พูดเร้าอารมณ์หรือก่อให้เกิดความตื่น
ตระหนก แสดงท่าทีเห็นใจ ตั้งใจจะช่วยเหลือเพื่อให้ผ่อนคลาย ลดความกังวล ภายใต้บรรยากาศเป็น
กันเอง จะเป็นรากฐานการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แม้ว่าจะพูดในลักษณะแบบเผชิญหน้า (confron-
tation) ก็ตาม
	 ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ แสดงว่าผู้ให้ค�ำปรึกษายอมรับในตัวของผู้รับค�ำปรึกษาจนเกิด
I
19
เป็นความมั่นใจที่จะเปิดเผยประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญต่อไปด้วยท่าทีเข้าใจเป็นกลางยอมรับ ไม่ตัดสิน
ผิดถูก และสะท้อนกลับให้ผู้รับค�ำปรึกษาได้มองเห็นตนเองชัดเจนขึ้น
		3.3	การส่งเสริมการสื่อสาร :
			 ทักษะสังคม เช่น การสบตา ใส่ใจ สัมผัสที่เหมาะสมถูกกาละเทศะ ให้ก�ำลังใจโดย
ใช้ทั้งภาษาท่าทางและค�ำพูด น�้ำเสียงนุ่มนวล ทวนซ�้ำ สะท้อนความรู้สึก ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับค�ำปรึกษา
รับรู้ถึงความใส่ใจ และมีก�ำลังใจในการสนทนาต่อ
			 สื่อสารสองทางที่ส่งเสริมให้ผู้รับค�ำปรึกษามีส่วนร่วมจึงควรใช้
ค�ำถามปลายปิดหรือค�ำถามปลายเปิดอย่างเหมาะสม ค�ำถามปลายเปิด
ใช้ในการถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับค�ำปรึกษาได้ส�ำรวจและบอกเล่าความ
คิด ความรู้สึกของตนเอง ให้อิสระในการตอบ มักใช้ค�ำถามว่า “อะไร”
หรือ “อย่างไร” พยายามหลีกเลี่ยงค�ำถามที่ขึ้นต้นว่า “ท�ำไม” เพราะ
ท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าถูกต�ำหนิหรือก�ำลังถูกค้นหาความผิดส่วนค�ำถามปลาย
ปิด เป็นค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงค�ำตอบที่ได้มักเป็นค�ำตอบสั้นๆ เช่น ค�ำถาม
เรื่อง “ใคร” “เมื่อไร” “ใช่หรือไม่” ให้เวลามากพอและใช้ความเงียบ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดไตร่ตรอง
		 3.4	ช่วยเชื่อมโยงปัญหา
			 การช่วยเหลือให้ผู้รับค�ำปรึกษาเกิดความเชื่อมโยงเข้าใจที่มาของปัญหาและยอมรับ
ตนเองได้ โดยใช้ทักษะ เช่น ใช้วิธีสอบถาม ให้ข้อมูล ช่วยค้นหาผลจากการกระท�ำ การตีความ การ
ชี้ให้เห็นเป็นเรื่องปกติ เปิดโอกาสให้ทบทวนย้อนกลับ การตั้งข้อสังเกตถึงความขัดแย้งกันในตัวของ
ผู้รับค�ำปรึกษา การเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมซึ่งเคยคิดในมุมหนึ่งเปลี่ยนเป็นคิดได้ในอีกมุมมองหนึ่ง
ทั้งหมดเพื่อให้ผู้รับค�ำปรึกษามีโอกาสได้กลั่นกรอง และหาค�ำตอบด้วยตัวเอง
อุปสรรคของการสื่อสารที่พบบ่อย
	 1.	 ผู้พูด
		 1.1	ไม่มีความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะท�ำให้ผู้ฟังเข้าใจข้อมูล จึงไม่ให้เวลามากพอ
			 ไม่เชื่อมโยงปัญหา ไม่เตรียมสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เลือกเวลาให้ดี ในจังหวะที่จะ
			 สื่อสารออกไป
		 1.2	ขาดทักษะและประสบการณ์ โดยเฉพาะการสื่อสารในเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือ
			 เรื่องเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภายใน ความสูญเสีย ความตาย
	 2.	 ผู้ฟัง
		 2.1	ได้ตัดสินหรือเข้าใจว่าผู้พูดได้ยึดความคิดเห็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ผู้พูดเพียง
วินัดดา ปิยะศิลป์
I
20
			 แต่บอกให้ผู้ฟังรับรู้เท่านั้น
		 2.2	รับฟังเฉพาะในส่วนที่ตัวเองต้องการอยากจะฟังเท่านั้น ไม่ว่าผู้พูดจะพูดในส่วน
			 อื่นด้วยก็ตาม
		 2.3	ไม่สามารถรับฟังข้อมูลที่แตกต่างจากตัวเองได้
		 2.4	ผู้ฟังไม่มีสมาธิมากพอในการรับฟัง
	 3.	 สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือให้เวลาไม่มากพอ
เอกสารอ้างอิง
1. http://www.directionservice.org/cadre/section4.cfm
2. http://www.helpguide.org/mental/effective_communication_skills.htm
3. http://www.amanet.org/training/seminars/The-7-Habits-of-Highly-Effective-People-for-Managers-2-Day-Workshop.aspx
4. http://cw.routledge.com/textbooks/9780415537902/data/learning/11_Communication%20Skills.pdf
I
21
บทน�ำ	
	 การสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ โดยการแสดงความจริงใจ ซื่อตรง เปิดเผย ตรงไป
ตรงมา ให้เกียรติ เคารพความคิดเห็น ยอมรับความรู้สึก ให้ความเป็นกันเองและเชื่อถือในค�ำพูดได้
จะส่งผลต่อคุณภาพการรักษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่แรกพบจึงมีความ
ส�ำคัญ
	 จาก Interpersonal theory ที่มีรากฐานมาจาก ความรัก ความผูกพันในอดีตที่ลูกมีต่อแม่
ส่งผลให้เกิดเป็นความรู้สึกมั่นคงในใจ จะส่งผลต่อการเข้าสังคมระยะยาว1
คุณภาพของความรัก
ความผูกพันจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้เลี้ยงดูที่ไวต่อความต้องการของเด็กและการแสดงออกของเด็ก
ตอบสนองอย่างมีแบบแผนแน่นอนสม�่ำเสมอ และมีความรู้สึกร่วมไปกับเด็กขณะที่เด็กเล่น คุย
หรือแม้แต่ในช่วงของความผิดหวังก็ตาม
	 เด็กจะมีความไวต่ออารมณ์ของคนที่อยู่รอบข้าง ถ้าแม่อารมณ์ดี อบอุ่น แจ่มใส เป็นมิตร
กับคนง่าย ปรับตัวง่าย สังคมดี จะท�ำให้เกิดความรัก ความผูกพันได้ง่าย ถ้าความรัก ความผูกพัน
มั่นคงเกิดขึ้นในช่วง 1 ปีแรกของชีวิตแล้ว จะส่งผลท�ำให้เด็กมีโลกภายในของตนเองดี ร่าเริง
สุขสงบ ไว้ใจ และรู้สึกมั่นคงในความรักที่แม่มีให้ จึงสามารถมอบความรัก ความไว้วางใจส่งต่อไป
ยังผู้อื่นได้แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าแม่เครียด กังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย
จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้ และไม่ไวต่อความ
ต้องการหรือความรู้สึกของเด็ก ตอบสนองความต้องการของเด็กมากบ้าง
น้อยบ้าง ขาดๆ เกินๆ คาดเดาไม่ได้ หรือไม่สนใจเด็ก ทั้งหมดจะท�ำให้
เด็กเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในใจ ไม่ไว้ใจในความรักของแม่ จะเกิดเป็น
ความผูกพันที่ไม่มั่นคง จึงไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่มั่นคงกับผู้อื่นได้
ราบรื่น1-2
	 ความผูกพันทางอารมณ์เป็นกระบวนการทางจิตใจที่ซับซ้อน
บทที่ 3
สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
Interpersonal Relationships
ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
วินัดดา ปิยะศิลป์
I
22
และต้องด�ำเนินไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย อาศัยความรู้สึกใกล้ชิด มีการบ�ำรุงดูแลเอาใจใส่ และ
มีการตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน ก่อเกิดเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่นในสังคม
เพิ่มขึ้น
Interpersonal Effectiveness1
	 Adolf Meyer ค.ศ.1957 พบว่าคนที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะมีจุดด้อยในด้านการเข้าสังคม
และ/หรือด้านการสื่อสาร ดังนั้น การช่วยเหลือคนกลุ่มนี้นอกจากจะต้องปรับแนวคิดแล้วยังต้อง
เพิ่มทักษะทั้งด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมอย่างจริงจัง จึงจะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้
และเป็นรากฐานส�ำคัญ ของ Interpersonal Theory ของ Sullivan ซึ่งเป็นลูกศิษฐ์ของ Mayer
โดยที่ Sullivan พบว่าเกือบทุกพฤติกรรมของคนที่ไปกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ไม่ดีในตัวผู้อื่น
มักมาจากการสื่อสารที่มีปัญหาทั้งสิ้น เป็นเหตุที่น�ำไปสู่ interpersonal conflict
	 หลักการปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มทักษะด้าน Interpersonal skills โดยจะแยกทักษะส�ำคัญ
ในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมออกมาเพื่อฝึกให้เข้มข้นขึ้น เช่น connecting skills,
mindfulness skills, distress tolerance, emotional regulation, communication skills
และ interpersonal effectiveness
	 หลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจ�ำบ้านควร
บรรจุการพัฒนาทักษะด้าน Interpersonal skills (communication
skills และ social skills) อย่างจริงจัง เพราะแพทย์ทุกคนเป็นผู้น�ำ
เป็นผู้พัฒนาชุมชน โดยต้องท�ำงานร่วมกับผู้อื่นตลอดเวลา
	 รายละเอียดส�ำคัญของบทที่ 1 ว่าด้วยหลักของเวชจริยศาสตร์ด้าน
กุมารแพทย์ ก็มีส่วนส�ำคัญของ Interpersonal skills ที่คนเราพึงปฎิบัติ
ต่อคนอื่นด้วยความเคารพในตัวตนของแต่ละคน ไม่ท�ำหรือพูดในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นทั้ง
ต่อหน้าและลับหลัง กระท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อผู้อื่น มีน�้ำใจดี เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ แบ่งปันเสียสละ และตั้งใจที่จะท�ำแต่สิ่งที่ดีที่มีประโยชน์ต่อคนอื่น ซื่อสัตย์ ให้ความยุติธรรม
โดยตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผล รวมทั้งรักษาความลับให้ การที่แพทย์จะแสดงพฤติกรรม
แบบนี้ได้สมบูรณ์ก็มักมาจากความคิดดีต่อผู้อื่น เห็นว่าคนเรานั้นเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข
ท�ำผิดพลาดหลายอย่างด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจแบบเดียวกับตัวเรา ในเชิงพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นชัดว่า
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ก็เป็นเพียงสมมติ ทุกคนเกิดมาเพื่อมีชีวิตแค่ชั่วคราวแล้วก็จากไปตาม
เหตุปัจจัย เกิดมาเพียงแค่เพื่อเกื้อกูลกันและกันให้ถึงที่สุด3
เมื่อคิดเช่นนี้ได้แล้วคนๆ นั้นก็จะมี
Interpersonal skills และการสื่อสารที่ดีตามมา
I
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication
Best practice in communication

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล
กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล
กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล Mansharee Srivichai
 
9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัย9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัยguest9e1b8
 
Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54
Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54
Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54Watcharapong Rintara
 
ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่
ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่
ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่duangkaew
 
27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์Papawee Laonoi
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)Kruthai Kidsdee
 
ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ว 11101
ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์  ว 11101ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์  ว 11101
ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ว 11101kooda112233
 
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯโครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯศิริพัฒน์ ธงยศ
 
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555RMUTT
 
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักPediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักAiman Sadeeyamu
 
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU PharmacyRational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU PharmacyUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว Utai Sukviwatsirikul
 
พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion)
พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion) พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion)
พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion) Dr.Sinsakchon Aunprom-me
 
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551Utai Sukviwatsirikul
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.Pongsa Pongsathorn
 

Mais procurados (20)

กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล
กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล
กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล
 
9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัย9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัย
 
Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54
Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54
Case CVA อิศวเทพ 13 ก.ค. 54
 
กิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศกิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศ
 
ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่
ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่
ป้องกันความคลาดเคลิ่อนทางยาจากยาเข้าใหม่
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
จำแนกประเภท
 
ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ว 11101
ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์  ว 11101ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์  ว 11101
ตารางกำหนดการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ว 11101
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯโครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
 
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
 
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักPediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
 
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU PharmacyRational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
 
พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion)
พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion) พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion)
พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (Milestones in Health Promotion)
 
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
 
กลุ่มการพยาบาล
กลุ่มการพยาบาลกลุ่มการพยาบาล
กลุ่มการพยาบาล
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
 

Semelhante a Best practice in communication

แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaThailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรPed emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรtaem
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานVorawut Wongumpornpinit
 
ประชุมวิชาการครั้งที่14
ประชุมวิชาการครั้งที่14ประชุมวิชาการครั้งที่14
ประชุมวิชาการครั้งที่14karan boobpahom
 
สอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออก
สอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออกสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออก
สอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออกนายสามารถ เฮียงสุข
 
การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...
การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...
การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...Utai Sukviwatsirikul
 
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...PatthanitBunmongkonp
 
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryClinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryClinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryUtai Sukviwatsirikul
 
Heritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54scienceHeritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54sciencefaiiz011132
 
Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4taem
 
จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556
จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556
จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556oryornoi
 
ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.
ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.
ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.dentyomaraj
 

Semelhante a Best practice in communication (20)

CPG warfarin use Thailand
CPG warfarin use ThailandCPG warfarin use Thailand
CPG warfarin use Thailand
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
 
CPG for hepatocellular carcinoma
CPG for hepatocellular carcinomaCPG for hepatocellular carcinoma
CPG for hepatocellular carcinoma
 
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaThailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
 
ความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพ
 
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรPed emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
 
ประชุมวิชาการครั้งที่14
ประชุมวิชาการครั้งที่14ประชุมวิชาการครั้งที่14
ประชุมวิชาการครั้งที่14
 
สอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออก
สอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออกสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออก
สอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออก
 
การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...
การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...
การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย in OB-G...
 
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
 
(16 มิ.ย. 56) service profile update
(16 มิ.ย. 56) service profile update(16 มิ.ย. 56) service profile update
(16 มิ.ย. 56) service profile update
 
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
 
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryClinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
 
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryClinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
 
Heritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54scienceHeritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54science
 
Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4
 
จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556
จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556
จดหมายข่าว อย.น้อย “จากเพื่อน..ถึงเพื่อน” ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556
 
Flood disease
Flood diseaseFlood disease
Flood disease
 
ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.
ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.
ต้นฉบับ โครงการ..งานวิชาการ๒สัมมนา พบส.
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ Utai Sukviwatsirikul
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
 

Best practice in communication

  • 2. Best Practice in Communication บรรณาธิการ วินัดดา ปิยะศิลป์ วันดี นิงสานนท์ ISBN 978-616-91972-1-8 จัดท�ำโดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2557 จ�ำนวน 1,000 เล่ม ออกแบบและพิมพ์ที่ บริษัท สรรพสาร จ�ำกัด เลขที่ 71/17 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0-2435-2345 ต่อ 197 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดแห่งชาติ วินัดดา ปิยะศิลป์ วันดี นิงสานนท์ Best Practice in Communication พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สรรพสาร จ�ำกัด, 2557. 136 หน้า กุมารเวชศาสตร์ I. ชื่อเรื่อง.
  • 3. 1 สารจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แม้ว่าวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าทางไปมาก ท�ำให้การตรวจ วินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้นกว่าในอดีต การรักษาแนวใหม่ได้ผลลัพธ์ดี น่าจะท�ำให้ผู้ป่วย และญาติพึงพอใจมากขึ้น ข้อร้องเรียนลดลง แต่ในความจริงกลับพบว่าปริมาณเรื่องร้องเรียนที่แพทยสภาได้รับเกี่ยวกับเวชปฏิบัติของ แพทย์ที่ไม่เหมาะสมกลับมีปริมาณสูงขึ้น ไม่เว้นแม้แต่กุมารแพทย์ซึ่งในอดีตถูกร้องเรียนน้อยมาก เพราะญาติไว้วางใจเสมือนเป็นแพทย์ประจ�ำครอบครัว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขาดการสื่อสารที่ดี แพทย์ไม่เปิดโอกาสให้ซักถามและไม่ใส่ใจต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับญาติผู้ป่วย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความส�ำคัญและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชา Communication Skills โดยเน้นการพัฒนาทักษะของอาจารย์ แพทย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน และเร่งรัดให้ทุกสถาบันฝึกอบรมต้องจัดให้มี การเรียน การสอนวิชานี้ในระดับแพทย์ประจ�ำบ้านและนักศึกษาแพทย์ รวมทั้งปรับเปลี่ยน วิธีการวัดผลสมรรถนะด้าน Communication Skills ของแพทย์ประจ�ำบ้าน ต้องขอบคุณ ผศ.นพ.พนม เกตุมาน และ รศ.พญ.ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ ที่อนุญาตให้ใช้แบบ ประเมินMedicalCounselingChecklist(MCC)และขอบคุณคณะอนุกรรมการCommunication skills ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ด�ำเนินการรวบรวมความรู้ จัดฝึกอบรมและ ผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนวิชานี้แก่แพทย์ประจ�ำบ้านจนส�ำเร็จ และเผยแพร่ความรู้ในวงการ กุมารแพทย์ เพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ศาสตราจารย์ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  • 4. 2 บทน�ำ การสื่อสารเป็นทักษะส�ำคัญในการเชื่อมโยงความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความรู้และปรับกระบวน ความคิดให้ตรงกัน ส่งผลท�ำให้เกิดความใกล้ชิด ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ จนกลายเป็นความ ผูกพันกันระหว่างคน 2 คน ในปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัฒน์รุนแรง ท�ำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิด ความเร่งรีบ คนในสังคมตัดทอนการสื่อสาร 2 ทางทั้งอย่างตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ในด้านการแพทย์ ปัญหาที่พบบ่อยที่ท�ำให้ขั้นตอนการรักษามีปัญหา มักเกิดจากความไม่ เข้าใจกันและสื่อสารสับสนระหว่างกลุ่มแพทย์กับญาติผู้ป่วย ระหว่างสหวิชาชีพทีมที่ให้การดูแลรักษา ผู้ป่วย ระหว่างแพทย์ผู้รักษาหลายสาขาวิชาชีพ ระหว่างอาจารย์แพทย์กับแพทย์ประจ�ำบ้านหรือ นักศึกษาแพทย์ น�ำมาซึ่งความคิดเห็นที่ต่างกันในรายละเอียดของวิธีการรักษาทั้งด้านประสิทธิภาพ ความเหมาะสมต่อคนไข้แต่ละคน จากความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นมักน�ำไปสู่ความขัดแย้ง ความยุ่ง ยากและท�ำให้บั่นทอนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รักษาที่ท�ำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นผู้รักษาในวิชาชีพ เดียวกัน หรือต่างวิชาชีพ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจ�ำ บ้านและสอบ ได้มีนโยบายพัฒนาคุณสมบัติของแพทย์ประจ�ำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์โดยแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบในการผลักดันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 โดย จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาแนวทางการสอนของอาจารย์แพทย์ให้ผสมผสานไปกับงานด้านวิชาการ เพื่อ ให้แพทย์ประจ�ำบ้านได้ใช้ทักษะด้านนี้ในชีวิตประจ�ำวันภายใต้การดูแลของอาจารย์ และถือว่าการ ฝึกอบรมทักษะด้านการสื่อสารเป็นงานส�ำคัญที่ทุกสถาบันฝึกอบรมจะต้องจัดกิจกรรมให้แก่แพทย์ ประจ�ำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ ประธานคณะอนุกรรมการ Communication Skills รองประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  • 5. 3 สารบัญ หน้า สารจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 1 บทน�ำ 2 รายนามวิทยากร 5 ตอนที่ 1 หลักการสื่อสาร 1. หลักของเวชจริยศาสตร์ด้านกุมารแพทย์ ศ.เกียรติคุณ พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ 9 2. การสื่อสารที่ได้ผล ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ 17 3. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ 21 4. การสื่อสารกับเด็ก นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ 25 5. การสื่อสารกับวัยรุ่น พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร 30 6. การสื่อสารกับปู่ย่าตายาย พญ.อิสราภา ชื่นสุวรรณ 37 ตอนที่ 2 เทคนิคและขั้นตอนในการให้ค�ำปรึกษา 7. แนวทางการให้ค�ำปรึกษา ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ 43 8. เทคนิคการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ 46 9. เทคนิคการสื่อสารกับวัยรุ่นเรื่อง ผศ. พญ.บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์ 49 Sensitive issues 10. การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ ผศ. นพ.พนม เกตุมาน 56 11. เทคนิคการประคับประคองจิตใจ ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ 68 ตอนที่ 3 การสื่อสารในภาวะต่างๆ 12. หลักจริยธรรมและการสื่อสารใน พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล 73 พันธุศาสตร์ทางคลินิก 13. ประเด็นทางจริยธรรมและการสื่อสาร นพ.วิฐารณ บุญสิทธิ 81 ในผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 14. การสื่อสารกับครอบครัวในห้วงวิกฤติ นพ.ดุสิต สถาวร 92
  • 6. 4 สารบัญ หน้า 15. การสูญเสียและความตาย พญ.จริยา ทะรักษา 103 16. การสื่อสารกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผศ. พญ.กวิวัณณ์ วีรกุล 113 17. การขออนุญาตตรวจศพ นพ.วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล 123 ตอนที่ 4 การจัดการเรียนการสอนวิชา Communication Skills 18. การจัดการเรียนการสอนส�ำหรับแพทย์ประจ�ำบ้าน 127 19. แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ และแบบบันทึก 131 20. ศิลปะการ Feedback แพทย์ประจ�ำบ้าน 133
  • 7. 5 รายนามวิทยากร กวิวัณณ์ วีรกุล พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว. กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด Cert. in Clinical Fellowship in Pediatric Hematology/ Oncology (U.S.A.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ประธานศูนย์บริรักษ์ ศิริราช (Siriraj Palliative Care Center) คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล พนม เกตุมาน พ.บ. ว.ว.จิตเวชศาสตร์ อ.ว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น Diploma of Child and Adolescent Psychiatry (London) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จริยา ทะรักษา พ.บ., ว.ว.กุมารเวชศาสตร์, อ.ว.จิตเวชเด็กและวัยรุ่น อ.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว Certificate of Postdoctoral Fellowship Training in Child and Adolescent Psychiatry (U.S.A.) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการ และพฤติกรรม MSc. Epidemiology MSc. Child and Adolescent Mental Health(with Merit) (London) Certificate Health Professions Education (USA) หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมิทราธิราช จิราภรณ์ อรุณากูร พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ Certificate in Clinical Fellowship in Adolescent Medicine (USA) อาจารย์แพทย์ หน่วยเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล วัณเพ็ญ บุญประกอบ พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น Certificate in Child and General Psychiatry(USA) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ Diploma American Board of Medical Genetics (Clinical Genetics, Clinical Molecular Genetics) ศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หัวหน้าสาขาเวชพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล วินัดดา ปิยะศิลป์ พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น อ.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว Certificate in Deveolmental Pediatrics (USA) นายแพทย์ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ศาสตราจารย์คลินิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
  • 8. 6 ดุสิต สถาวร พบ., อ.ว.กุมารเวชศาสตร์, อ.ว.เวชบ�ำบัดวิกฤต อ.ว.กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ Diplomate of the American Board of Pediatrics and American Sub-board of Pediatric Critical Care Medicine พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัวหน้าหน่วยโรคระบบหายใจและกุมารเวชวิกฤต กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิฐารณ บุญสิทธิ พ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1) ว.ว. กุมารเวชศาสตร์ อ.ว. จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น อ.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว Diplomate of the American Board of General Psychiatry and Child and Adolescent Psychiatry รองศาสตราจารย์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็ก และวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์ พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ Certificate in Clinical Fellowship in Adolescent Medicine(Canada) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หัวหน้าสาขากุมารเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ อ.ว.ทารกแรกเกิดปริก�ำเนิด หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อิสราภา ชื่นสุวรรณ พ.บ. ว.ว.กุมารเวชศาสตร์ ว.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 10.
  • 11. 9 การเรียนการสอนวิชาชีพแพทย์ นอกจากความรู้ทางวิชาการการแพทย์ การฝึกฝนอบรม ทักษะและการมีทัศนคติที่ดีแล้ว สิ่งที่จ�ำเป็นและส�ำคัญมาก คือ การเรียนการสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมที่จะต้องมีควบคู่ไปด้วยกันเสมอทั้งนี้เพราะแพทย์ท�ำงานเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรงในการ ตรวจรักษาช่วยเหลือให้ผู้ป่วยหายจากโรค ซึ่งเป็นการบรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนั้น แพทย์ยังมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพทั้งคนปกติและคนป่วยให้แข็ง แรงขึ้นอีกด้วย การมีคุณธรรมและจริยธรรมจะท�ำให้แพทย์ปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติเป็นอย่างดี มี ความระมัดระวังรอบคอบไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยและค�ำนึงถึงผลประโยชน์ ที่ผู้ป่วยจะได้รับ ในทางตรงข้าม หากแพทย์ปราศจากซึ่งคุณธรรมจริยธรรม นึกถึงแต่ประโยชน์ส่วน ตนหรือพวกพ้องอาจละเลยในหน้าที่ไม่เอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างที่ควรจะเป็นน�ำมาซึ่งอันตรายและความ เสียหายแก่ผู้ป่วยได้ คุณธรรมเป็นคุณค่า คุณความดีที่มีภายในจิตใจ มีจิตส�ำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ รู้จัก ผิดถูก ชั่วดี และมีหลักการตามศีลธรรมในการตัดสินใจ ซึ่งได้เรียนรู้มาแต่เบื้องต้นของการอบรม เลี้ยงดูและในการศึกษา ทั้งนี้ขึ้นกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนาที่ตนได้ เจริญพัฒนาขึ้นมาด้วย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ได้ให้ความเห็นของจริยธรรมว่า “ทางพุทธศาสนา จริยะ มาจาก “จร” คือการด�ำเนินชีวิต หรือการเป็นอยู่ทั้งหมด โยงถึงธรรมชาติตามความเป็นจริงให้เกิด ผลดี คือการปฏิบัติที่ดี หรือการด�ำเนินชีวิตที่ดี มนุษย์ต้องส�ำนึกรับผิดชอบต่อธรรมชาติต่อความจริง ตามธรรมดาของระบบเหตุปัจจัย รับผิดชอบต่อความเป็นไปของโลก หรือต่อชะตากรรมของสังคม ด้วยการตัดสินใจ และกระท�ำการด้วยเจตนาที่มุ่งดีโดยบริสุทธิ์” ฉะนั้น จริยธรรมทางการแพทย์ตามหลักของเวชจริยศาสตร์ (principles of medical ethics) จึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับความประพฤติของแพทย์ ที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสม บทที่ 1 หลักของเวชจริยศาสตร์ด้านกุมารแพทย์ Principles of Medical Ethics ศ.เกียรติคุณ พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ วัณเพ็ญ บุญประกอบ I
  • 12. 10 ที่ถูกที่ควร ไม่กระท�ำในสิ่งที่ผิด ที่ไม่สมควร ความส�ำคัญของจรรยาแพทย์ได้มีมาแล้วหลายศตวรรษตั้งแต่เริ่มวิชาการ แพทย์ในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ค�ำปฏิญาณ Hippocratic Oath และต่อมามีปฏิญญาสากลบัญญัติขึ้น เช่น Helsinki Declaration, World Medical Code เป็นต้น ในปัจจุบัน เกือบทั่วโลกมีบทบัญญัติจรรยาแพทย์ของ แต่ละแห่ง โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรป เป็นต้น แม้จะมีกฎหมายหรือ code of conduct คอยควบคุมความประพฤติและการตัดสินใจของ แพทย์ แต่ก็ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมได้ทุกสถานการณ์ เนื่องจากปัจจุบันการแพทย์ได้เจริญ ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากทั้งทางด้านวิชาการด้านตรวจรักษาอุปกรณ์เครื่องมือการวิจัยการใช้ยาและ วิธีการช่วยเหลือผู้ป่วย มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และมากมายหลายวิธีการ การเรียนการสอนของ วิชาชีพแพทย์จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความส�ำคัญในการพิจารณาน�ำเอาเรื่องของจริยธรรมเข้ามา มากขึ้น ในหลักสูตรแพทยศาสตร์ ท่าน ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ได้เขียนเรื่องศิลป์และจรรยาแพทย์ไว้ในหนังสือ “แด่หมอ ใหม่” ของชมรมแพทย์ชนบท ว่าได้มีการอบรมสอนวิชาจรรยาแพทย์แก่นักศึกษาแพทย์ มาตั้งแต่ สมัยโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี และน�ำค�ำบรรยายมาพิมพ์เป็น หนังสือ “จรรยาแพทย์” เล่มแรกเมื่อ พ.ศ. 2451 ต่อมามีการปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ใหม่ จนถึงขั้นปริญญา บัณฑิตรุ่นแรกจบเมื่อ พ.ศ. 2471 (รับพระราชทานปริญญาบัตร 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473) เวชบัณฑิตรุ่นแรกของคณะแพทยศาสตร์ได้กล่าวค�ำปฏิญาณตนต่อพระพักตร์ของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า “จะเป็นผู้มีความสุจริต พากเพียร สงวนความลับของคนไข้โดยมิดชิด พากเพียรให้ฟื้นจาก ไข้ไม่ใช้ยาหรือบ�ำบัดใดๆที่จะน�ำชื่อเสียงไม่ดีงามมาแก่วิชาชีพแพทย์มีความสุจริตยุติธรรมต่อเพื่อน แพทย์ด้วยกัน ประพฤติตนในวิชาชีพแพทย์ให้มหาชนนับถือวิชาชีพแพทย์ด้วย” พ.ศ.2495คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลได้เริ่มบรรจุหลักสูตรศิลป์และจรรยาแพทย์ ตามแนวสากลเป็นครั้งแรก และต่อมามีการเพิ่มเติมค�ำปฏิญญาส�ำหรับแพทยศาสตรบัณฑิต คือ “จะประกอบอาชีพโดยใช้ศิลปวิทยา มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ มีความสักการะแก่ครูบาอาจารย์ ใช้ศิลปะวิทยาการในทางที่เป็นคุณประโยชน์ไม่เกลือก กลั้วในโทษอกุศลธรรมชั่วร้าย จะแผ่เกียรติคุณแห่งหมู่คณะและวิชาชีพให้ไพศาล จะสมานสามัคคี พลีประโยชน์เพื่อส่วนรวม ยึดมั่นในค�ำปฏิญญานี้ไว้ประดุจอาภรณ์อันมีค่ายิ่งชีวิต” จะเห็นได้ว่า จริยธรรมนั้นมีหลักของ “ธรรม” อยู่ด้วยเสมอ อันที่จริงแล้วหลักธรรมของ พระพุทธศาสนาได้ให้ไว้เป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจประพฤติปฏิบัติอยู่บนความเป็น I
  • 13. 11 ธรรมอันมีศีลธรรมเป็นหลักเพื่อให้จิตใจมีคุณธรรมและประพฤติปฏิบัติด้วยจริยธรรมเจ้าพระยาพระ เสด็จสุเรนทราธิบดี ได้กล่าวไว้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องรักษาความประพฤติให้เที่ยงตรงต่อประโยชน์และประสงค์ของคน คนจะ ประกอบกิจการงานใดก็ดีจะต้องมีธรรมเป็นเครื่องยึดถือวิชาความรู้จะท�ำให้ผู้รู้มีความสามารถท�ำการ งานต่างๆ ได้ตามความรู้ ธรรมเป็นเครื่องพาให้ผู้รู้วิชาประกอบจรรยา คือใช้วิชาความรู้โดยควรโดย ชอบ ไม่ให้เอาวิชาไปใช้ในทางที่ผิด หรือเอาความรู้ที่มีไปกดจมให้สูญเสียเปล่า” ธรรมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ธรรมทั่วไป และธรรมเฉพาะวิชาชีพ จริยธรรมทางการแพทย์จะ ต้องมีทั้ง 2 ส่วนนี้ควบคู่กันไปเสมอ การเรียนการสอนจริยธรรมทางการแพทย์จะง่ายขึ้น และแพทย์ จะเป็นผู้มีจริยธรรมในวิชาชีพได้ดีจะต้องมีพื้นฐานของธรรม คือ เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็น ผู้มีศีลธรรม เป็นผู้มีคุณธรรมประจ�ำใจมาแล้วก่อนเข้าศึกษา คณะแพทยศาสตร์ควรค�ำนึงถึงข้อนี้ไว้ ด้วย นอกเหนือจากการคัดเลือกเฉพาะผู้เรียนเก่ง เรียนดี มีความสามารถด้านความรู้ ด้านสังคม และ ทัศนคติที่ดีต่อการเป็นแพทย์ พื้นฐานของคุณธรรมทั่วไป พื้นฐานของคุณธรรมเป็นสิ่งส�ำคัญในความเป็นมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุข มีความ สามัคคีเป็นองค์ธรรมอันหนึ่ง สามัคคีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ไว้ใจซึ่งกันและกัน มี ความรับผิดชอบ เข้าใจในทัศนะมุมมองของผู้อื่นได้ เป็นต้น จะเห็นว่าเพียงหนึ่งคุณธรรมที่ยกเป็น ตัวอย่างนี้ จ�ำเป็นต้องมีในคุณสมบัติของความเป็นแพทย์ซึ่งเป็นหมู่คณะใหญ่ มิใช่แต่บรรดาแพทย์ ด้วยกันเท่านั้นแต่ยังมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ ช่วยเหลือผู้ป่วยอีกหลายสาขา เช่น พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักกายภาพบ�ำบัด ช่างเทคนิคเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ (เช่น เอกซเรย์) นักการ ศึกษานักกฎหมายนักจิตวิทยานักสังคมสงเคราะห์และอื่นๆหลายโอกาสที่แพทย์จะท�ำงานประกอบ กันเป็นทีม สหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์หลายสาขา และผู้ร่วมทีมดังได้กล่าวข้างต้น จึงจะท�ำให้ การดูแลช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยพิการผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต เป็นต้น พื้นฐานของคุณธรรมที่ต้องมีในความเป็นแพทย์คือ การมีความเมตตา กรุณา รู้จักเห็นอก เห็นใจผู้อื่นมีความอดทนรู้จักเสียสละนึกถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้งมีความ ซื่อสัตย์ จริงใจ รู้จักผิดชอบชั่วดี คุณธรรมเหล่านี้จะได้รับการสร้างสมอบรมสั่ง สอนมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะจากพ่อแม่ครอบครัว และโรงเรียนเบื้องต้นก่อนเข้า มาศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ นักศึกษาจะมีศีลธรรมพื้นฐานอยู่ประจ�ำใจและ ประพฤติปฏิบัติมาอย่างถูกต้องเป็นปกติแล้วเมื่อมาเรียนรู้จริยธรรมเฉพาะทางการ วัณเพ็ญ บุญประกอบ I
  • 14. 12 แพทย์ก็จะด�ำเนินต่อไปได้และรับปฏิบัติเพิ่มเติมต่อไปโดยไม่ยาก ทั้งยังรู้จักเลือกเฟ้นสิ่งที่ดีและแบบ อย่างที่ดีมาปฏิบัติได้ด้วย ในทางตรงข้าม ถ้ามีความฉลาด เรียนได้เก่ง แต่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา ผิด เช่น ให้เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เอาเงินลาภยศเป็นที่ตั้ง หรือเด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยเคยชินกับ การได้ด้วยวัตถุ เด็กที่ได้รับความรักความเอาใจใส่ไม่เพียงพอ ขาดการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เด็ก เหล่านี้จะไม่มีความเห็นอกเห็นใจคน เสียสละไม่เป็น เอาความต้องการและประโยชน์ของตนมาเป็น เรื่องใหญ่อีกทั้งกิริยามารยาทก็อาจจะกระทบกระเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องพบเห็นได้ง่ายอันเป็นลักษณะ ที่ไม่สามารถมีจรรยาแพทย์ได้อย่างที่ต้องการ ความเมตตา กรุณา เป็นองค์ธรรมที่จะหลีกเลี่ยง ไม่มี หรือไม่แสดงออกไม่ได้ ในความเป็น แพทย์ คนเราจะมีเมตตากรุณารู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ตนเองจะต้องได้รับความรัก ความเอาใจใส่ เลี้ยงดูมาอย่างดี มีความรักผูกพันและมีความไว้วางใจผู้เลี้ยงดูมาตังแต่วัยเด็ก เพื่อสร้างความมั่นคง ทางใจและมีความเข้มแข็งสามารถปรับตัวได้ดีเด็กจะได้รับการอบรมสั่งสอนและได้ปฏิบัติในการเป็น “ผู้ให้” รู้จักแบ่งปัน รู้จักเคารพคารวะผู้อาวุโส มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูและ ได้รับการปลูกฝังทัศนะคติที่ดีทั้งจากครอบครัวและโรงเรียนจึงจะมีจิตใจที่เป็นมิตรและสามารถสร้าง มิตรภาพได้ บุคคลเหล่านี้จึงจะมีคุณสมบัติรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราปฏิบัติต่อ ผู้ป่วยด้วยความรู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลที่มีชีวิตจิตใจสามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่กระท�ำสิ่งที่จะเป็นผลเสีย หรืออันตรายต่อผู้ป่วย ดังพระราโชวาทของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกที่ประทานแก่แพทย์ว่า “ขอให้พวกเธอจงเข้าใจและจ�ำไว้ว่า ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอมีความรู้ทางแพทย์ อย่างเดียว ฉันต้องการให้เธอเป็นคนด้วย” ความอดทน เป็นคุณธรรมที่พึงมีในปุถุชน เป็นคุณสมบัติที่ท�ำให้บุคคลสามารถผ่านพ้น อุปสรรคและประสบความส�ำเร็จได้ ผู้ที่มีความอดทนสมควรได้รับการยกย่อง วิชาชีพแพทย์ต้องการ คุณสมบัตินี้เป็นอย่างมากเพราะแพทย์จะต้องพบปะเกี่ยวข้องกับผู้คนมากมายและผู้ป่วยหลายระดับ แตกต่างกันไป ผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ มีความเปราะบางในอารมณ์และความอ่อนแอ ของร่างกายและจิตใจ ที่ต้องการความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และการช่วยเหลือปลอบโยน ความ เจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแพทย์จึงต้องพร้อมเสมอในการเผชิญกับผู้ป่วยหนักและภาวะฉุกเฉินซึ่ง ไม่เลือกเวลาสถานที่ ทั้งต้องมีความอดทนอดกลั้นเป็นพิเศษ คุณสมบัตินี้จะต้องได้รับการฝึกฝนให้ เกิดมีขึ้นแล้วให้เป็นอุปนิสัย ในวัยเด็กจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักรอคอย รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จัก ระงับควบคุมอารมณ์พฤติกรรมจนสามารถควบคุมตนเองได้เมื่อเจริญวัยขึ้น ความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่จะได้รับการฝึกหัดมาตั้งแต่วัยประถมศึกษาเพื่อเติบโต I
  • 15. 13 ขึ้นจะได้มีความซื่อตรง รับผิดชอบในหน้าที่ของตนและส่วนรวมได้ เมื่อเข้าเรียนชั้นอุดมศึกษาโดย เฉพาะคณะแพทยศาสตร์ นักศึกษาที่มีความพร้อมในการเรียนจะมีวัยวุฒิที่สมวัย มีความรับผิดชอบ และซื่อตรงต่อหน้าที่การเรียนและการปฏิบัติงาน มีความเข้มแข็ง อดทนต่อการเรียนที่หนักและยาก ล�ำบากโดยเฉพาะเมื่อเข้าเรียนเวชปฏิบัติสามารถต่อต้านสิ่งเร้าที่จะมาชักจูงให้ออกไปนอกลู่นอกทาง และเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ และไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย คุณธรรม จริยธรรมดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นพอสังเขป เพราะเป็น ลักษณะของธรรมที่พึงมีในมนุษย์ ที่จริงแล้ว ถ้าคนเรามีศีลห้าประจ�ำใจและปฏิบัติเป็นนิจสิน ก็จะมี การด�ำเนินชีวิตได้ตามปกติ และมีจริยธรรมในการปฏิบัติสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง และจะเป็นพื้นฐานของการ ปฏิบัติอย่างอื่นๆ ตามมาได้อย่างดีอีกด้วย ผู้ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ท�ำร้ายใครด้วยกาย วาจา ย่อมมี ใจที่มีความเมตตา กรุณา ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขและพ้นทุกข์ การที่คนเราจะประพฤติปฏิบัติตาม จริยธรรมย่อมจะต้องมีการควบคุมกิริยาวาจาและบังคับใจตนเองได้กว่าจะได้มีคุณสมบัติบังคับตนเอง บังคับกิเลสตัณหาความอยากได้ส�ำเร็จ จะต้องได้รับการควบคุมจากภายนอกมาก่อน นั่นคือ การ อบรมสั่งสอนที่ได้รับมาแต่เยาว์วัย จนในที่สุดสามารถกลายมาเป็นการควบคุมตนเองได้ รู้จักปฏิบัติ ตามหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่โดยไม่บกพร่อง แต่นักศึกษาหรือผู้ปฏิบัติบางคนอาจจะยังไม่สามารถควบคุม ตนได้ดีนัก คณะแพทยศาสตร์จึงต้องมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับให้กับนักศึกษาและระเบียบข้าราชการที่ จะปฏิบัติตามข้อส�ำคัญคณะครูและผู้บริหารจะต้องด�ำเนินการตามกฎเกณฑ์กฎระเบียบโดยเคร่งครัด สม�่ำเสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติตามจริยธรรม หลักการทางจริยธรรมที่เป็นคุณสมบัติของกุมารแพทย์ การจะให้นักศึกษาแพทย์ก็ดี กุมารแพทย์ก็ดี ตระหนักถึงจริยธรรมของแพทย์ในเวชปฏิบัติ จะต้องมีพื้นฐานของคุณธรรมของมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น จึงจะสามารถรับรู้ เข้าใจและปฏิบัติตาม จริยธรรมทางการแพทย์ต่อผู้ป่วยและต่อญาติ ต่อเพื่อนร่วมงาน และแม้กระทั่งในการท�ำการศึกษา วิจัยได้ดีจริยธรรมทางการแพทย์ที่ส�ำคัญและพึงตระหนัก โดยทั่วไปมีดังนี้คือ 1. เคารพในความเป็นอิสระเป็นตัวเองของผู้ป่วย (Respect for autonomy) ผู้ป่วยมีความสามารถในการคิดให้ตัวเองได้ และตกลงใจตัดสินเลือกเรื่องการรับการตรวจ การรักษาเองได้ ยกเว้นในบางราย เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เป็นต้น แพทย์ ที่ดีจะต้องท�ำหน้าที่ของตนให้เต็มที่ ด้วยการตรวจอย่างมีทักษะ มีความรอบคอบ มีความรู้อย่างดีต่อ โรคหรือภาวะนั้นๆ พร้อมที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และญาติอย่างเพียงพอในการตัดสินใจมีทักษะใน การสื่อสารที่จะให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจได้ง่ายและตรงตามความเป็นจริง อีกทั้งมีศิลปะที่จะสื่อสาร วัณเพ็ญ บุญประกอบ I
  • 16. 14 ในสิ่งที่เป็นจริง เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย รู้จักจังหวะการให้ข้อมูล ระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบ กระเทือนจิตใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง และรักษามารยาทในการพูดและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย 2. ไม่ท�ำสิ่งที่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อผู้ป่วย (Non-maleficence) เป็นจรรยาแพทย์ที่แสดงไว้ตั้งแต่ในยุคแรกๆดังHippocraticOathว่า“ฉันจะให้การรักษา เพื่อช่วยผู้เจ็บป่วยตามความสามารถและการตัดสินใจของฉัน แต่จะไม่ท�ำสิ่งใดที่ท�ำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บ หรือท�ำผิดต่อเขา” นอกจากมีความเมตตากรุณาแล้ว แพทย์ควรมีหิริโอตัปปะ คือ รู้จักละอายที่จะ กระท�ำความผิด และรู้จักเกรงกลัวบาปกรรมที่จะเกิดขึ้นในการท�ำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บพิการ หรือตาย หรือเกิดความทุกข์วิตกกังวลจากการกระท�ำของแพทย์เอง ซึ่งการมีธรรมข้อนี้จะช่วยป้องกันการเกิด ปัญหาในทางกฎหมายได้ด้วย 3. ปฏิบัติและกระท�ำเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย (Beneficence) การมีน�้ำใจดี มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันเสียสละทางด้านการกุศลมี ความตั้งใจที่จะท�ำแต่สิ่งที่ดีที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย แม้จะรักษาให้หายไม่ได้ แต่ก็ยังให้ความดูแลให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างที่ไม่สบาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่รู้ว่าโรคก�ำลังด�ำเนินไป และใกล้เสียชีวิต ก็จะให้การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทนทุกข์ทรมานและรักษา จิตใจให้เป็นสุขท่ามกลางความทุกข์กาย แพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยผ่านพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย ดีอย่างมีศักดิ์ศรี และช่วยญาติให้บรรเทาความโศกเศร้าและรู้วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยได้ด้วย 4. ให้ความยุติธรรมในการดูแลรักษา (Justice) แพทย์ที่ดีจะให้การตรวจรักษาช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกชาติ ศาสนา ชั้นวรรณะ และเศรษฐานะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะปฏิเสธการตรวจรักษาไม่ได้ หากเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระท�ำการช่วยเหลือได้เต็มที่ก็ต้องให้ค�ำแนะน�ำ จัดการปรึกษาช่วย ติดต่อให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วยในการไปพบแพทย์ที่จะสามารถช่วยเหลือรักษาได้ต่อไป 5. มีความซื่อสัตย์ (Veracity) เมื่อคนเรามีความซื่อสัตย์จริงใจต่อตนเองแล้วย่อมจะท�ำหน้าที่การงานอย่างสุจริตได้แพทย์ เป็นวิชาชีพที่ต้องการคุณสมบัติข้อนี้อย่างมากเพราะการทุจริตหรือการหลอกลวงการพูดไม่จริงการ บิดเบือนข้อมูลจะเกิดผลเสียอย่างมากต่อผู้ป่วยได้เช่นนักศึกษาแพทย์แต่งผลการตรวจเลือดขึ้นเอง เขียนรายงานโดยไม่ได้ไปตรวจผู้ป่วย ท�ำให้แพทย์เจ้าของไข้เข้าใจผิด รักษาผิดและแนะน�ำผิดวิธี เกิด I
  • 17. 15 ผลเสียหายเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้อย่างมาก แพทย์ที่กระท�ำผิดในเรื่องเหล่านี้จะมีความผิดทั้งทาง ด้านจริยธรรมและกฎหมายแม้ในบางครั้งอาจมีเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยโดยเป็นสิ่ง ที่ไม่คาดคิดหรือไม่ได้ตั้งใจให้เกิด แพทย์ก็ยังต้องพูดความจริงกับผู้ป่วยและญาติ อธิบายข้อมูลตาม ความเป็นจริง และแสดงความเสียใจอย่างจริงใจด้วย 6. รักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality) แพทย์ต้องรักษาความลับของผู้ป่วย และเห็นความส�ำคัญในเรื่องนี้ นอกจากเป็นเรื่องสิทธิ ของผู้ป่วยแล้วยังเป็นมารยาทเป็นจริยธรรมของแพทย์ที่จะไม่น�ำเรื่องราวการตรวจพบก็ดีการรักษา ก็ดีของผู้ป่วยไปเปิดเผย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่ผู้ป่วยเล่าเป็นเรื่องส่วนตัว แพทย์ต้องถือว่า ผู้ป่วยได้ให้ความนับถือไว้วางใจจึงได้เล่าเรื่องหรือให้แพทย์ตรวจสภาพร่างกายของเขาถ้ามีเหตุจ�ำเป็น ที่จะต้องเปิดเผยต้องได้รับค�ำยินยอมอนุญาตจากผู้ป่วยก่อนเสมอไม่ควรน�ำเรื่องผู้ป่วยไปพูดคุยหรือ ถกเถียงแสดงความคิดเห็นกันในที่สาธารณะ และในสถานที่ที่ไม่ใช่ห้องตรวจ แม้ในการประชุมเสนอ รายงานก็ต้องมีความระมัดระวังที่จะบรรยายเชิงวิชาการเท่านั้น ทั้งจะต้องให้เกียรติแก่ผู้ป่วยเสมอ บทบาทและเรื่องของจริยธรรมทางการแพทย์ยังมีในเฉพาะทางอีกหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง เกี่ยวกับเด็กการแจ้งข่าวร้ายผู้ป่วยโรคมะเร็งผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายละเอียดผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตจริยธรรม เกี่ยวกับการวิจัย เป็นต้น ดังจะปรากฏในบทต่อๆ ไป การเรียนการสอนจริยธรรมทางการแพทย์จะ ได้ผลดีจะต้องให้ทั้งองค์ความรู้ และการปฏิบัติให้เป็นอยู่เสมอและตลอดเวลา ครูแพทย์จะต้องส�ำนึก ในความส�ำคัญของเรื่องนี้และสามารถโน้มน้าวปลูกฝังทัศนคติให้กับผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงานร่วมด้วย ในทุกระดับสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อผู้ป่วยการจะให้นักศึกษา แพทย์และแพทย์ประจ�ำบ้านรับไปท�ำตามปฏิบัติตามจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์ใกล้ ชิด และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา ชื่นชมเคารพนับถือ และปรารถนาที่จะ เอาเป็นแบบอย่างน�ำไปปฏิบัติด้วยตนเองได้ครูคนใดมีลูกศิษย์ติดตามหรือได้ดูแลควบคุมสอนลูกศิษย์ ในการปฏิบัติ ลูกศิษย์มีโอกาสใกล้ชิดคอยช่วยเหลือ เฝ้าดู สังเกตุ การกระท�ำของครูต่อผู้ป่วยและ ญาติอยู่เสมอๆ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะซึมซับการปฏิบัติ ทัศนคติ กิริยา มารยาทไปเป็นของตนเองได้ ใน ปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์ในแต่ละรุ่นมีเป็นจ�ำนวนมาก มีตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม และสิ่งเร้าจูงใจให้ หันเหออกนอกลู่นอกทางได้มากจึงจ�ำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์กติกาข้อบังคับและนโยบายในการส่งเสริม และสร้างจริยธรรมให้ชัดเจนมากขึ้น และช่วยกันควบคุมให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยการที่คน เราจะมีจริยธรรมคุณธรรมเองได้ จะต้องอาศัยการอบรม สั่งสอน ควบคุม มีกฎกติกาภายนอกเข้ามา เป็นข้อบังคับให้ฝึกฝนปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม�่ำเสมอจนกลายเป็นอุปนิสัย และมีคุณธรรมในตนที่ สามารถประพฤติปฏิบัติแสดงออกทางจริยธรรมได้ วัณเพ็ญ บุญประกอบ I
  • 18. 16 เอกสารอ้างอิง 1. พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). สนทนาธรรม: ชีวิต จริยธรรม กับการวิจัยทางการแพทย์. ใน: การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2544. หน้า 95. 2. สงกรานต์ นิยมเสน. จรรยาแพทย์. จพสท 2506; 46: 725-64. 3. เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี. จรรยาแพทย์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543 4. วัณเพ็ญ บุญประกอบ. บทบาทของแพทย์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม. ใน: โครงการสัมมนาอาจารย์แพทย์ระหว่างสถาบันเรื่องการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพ การสร้างเสริมจริยธรรม นักศึกษาแพทย์: แพทยสภา; 2547 ก.ย. 2; กรุงเทพมหานคร; 2547. 5. Dickenson D, Huxtable R, Parker M. The Cambridge Medical Ethics Workbook. 2nd ed. Cambridge: Cambridge University Press; 2010. I
  • 19. 17 การสื่อสารของกุมารแพทย์ที่มีต่อครอบครัวและเด็กจะได้ผลดีได้ต่อเมื่อกุมารแพทย์มีความ ปรารถนาดี อยากให้พ่อแม่รับรู้และเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร เสมอต้นเสมอ ปลาย เข้าใจความรู้สึกและยืดหยุ่นต่อผู้ป่วยและพ่อแม่ตามความเหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มองโลกด้านดีอยู่ในความเป็นจริงและไม่อ่อนไหวง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่า แค่บุคลิกภาพที่ดีของแพทย์เท่านั้นก็ช่วยผู้ป่วยและครอบครัวได้ มากแล้ว การให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำที่ดี จึงขึ้นกับ 1. เจตคติที่ดี คือ มีใจอยากท�ำ มีประสบการณ์ในการให้ค�ำปรึกษาและพัฒนาตนเอง ตั้งใจท�ำให้ดี นุ่ม นวล เห็นใจ เปิดโอกาสให้คิดไตร่ตรองและตัดสินใจด้วยตัวเอง เข้าใจถึงความรู้สึก อารมณ์ ความคิด ของผู้ป่วยที่แต่ละคนมีความแตกต่างกันยอมรับได้ทั้งด้านบวกและด้านลบที่ผู้ป่วยเป็น โดยไม่มีอคติ ไม่ล�ำเอียง รักษาความลับและไม่มีอคติต่อพ่อแม่ มีความจริงใจ และสนใจต่อความทุกข์และปัญหา ของผู้ป่วยอย่างจริงจัง ความเข้าใจนี้ท�ำให้ผู้ให้ค�ำปรึกษายอมรับ พร้อมจะให้เวลาและเปิดโอกาสให้ ผู้รับค�ำปรึกษาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนเอง โดยมีความเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในตัวเองที่จะต่อสู้แก้ปัญหาแต่ในภาวะที่เกิดความรู้สึกด้อย ค่าซึ่งไม่สามารถน�ำศักยภาพมาใช้ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากขาดความมั่นใจหรือขาดความภูมิใจในตัวเอง ท้อแท้ ขาดความกระตือรือร้น ยอมแพ้ ขาดขวัญก�ำลังใจจากบุคคลรอบตัวทั้งในและนอกครอบครัว รวมทั้งขาดความรู้สึกถึงความมีคุณค่าของตนเองต่อสังคมการให้ค�ำปรึกษาจะช่วยกระตุ้นให้ศักยภาพ ที่ดีนั้นถูกน�ำออกมาใช้ 2. มีความรู้ คือ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจธรรมชาติของปัญหาที่เกิดขึ้น รู้แนวทางการรักษาในด้าน บทที่ 2 การสื่อสารที่ได้ผล ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ วินัดดา ปิยะศิลป์ I
  • 20. 18 ต่างๆ มีความรู้ด้านจิตวิทยาดีพอควรโดยเฉพาะเกี่ยวกับเทคนิคการให้ค�ำปรึกษา การสัมภาษณ์ พลวัตของครอบครัว (family dynamics) และความสามารถใน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ความสามารถในการประเมิน, ความเข้าใจถึงปฏิกิริยาทางจิตใจที่จะมีผลต่อโรคหรือภาวะทางร่างกาย รวมทั้ง ความคาดหวัง และความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว 3. ทักษะ คือ ความสามารถในการให้ค�ำปรึกษา นอกเหนือจากการมีเทคนิคให้ค�ำปรึกษาในขั้นตอน แม่นย�ำแล้ว ยังต้องใช้ทักษะส�ำคัญประกอบด้วย 3.1 การสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ โดยการแสดงความจริงใจ ซื่อตรง เปิดเผย ตรงไปตรงมา ให้เกียรติ เคารพความคิด เห็น ยอมรับความรู้สึก ให้ความเป็นกันเองและเชื่อถือในค�ำพูดได้ จะส่งผลต่อคุณภาพการรักษาเป็น อย่างมาก ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่แรกพบจึงมีความส�ำคัญ 3.2 การสื่อสาร ประกอบด้วยส่วนที่เป็นverbalและnonverbalเสมอการฟังอย่างตั้งใจ(active listening) แสดงความตั้งใจรับฟัง สบตา ใช้ภาษาท่าทางและสรุปประเด็นเพื่อแสดงถึงความเข้าใจใน สิ่งที่ได้รับการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมอารมณ์ปฏิกิริยาที่แสดงออกทั้งภาษากายค�ำพูดน�้ำเสียงถ้อยค�ำ และนัยยะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ท�ำให้ผู้ให้ค�ำปรึกษาสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้พูดและสะท้อนความ รู้สึก ท�ำให้ผู้พูดมีก�ำลังใจในการพูดต่อ เลือกใช้ค�ำถามที่เหมาะสม จดจ่อตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม รับ ฟังความคิดเห็น สะท้อนความคิด สะท้อนความรู้สึก สะท้อนความหมายท�ำให้ผู้รับค�ำปรึกษารับรู้ว่า ผู้ให้ค�ำปรึกษาเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ภายในค�ำพูดหรือการแสดงออกสรุปความเป็นระยะเพื่อให้ เข้าใจตรงกันให้ก�ำลังใจและเข้าใจความรู้สึก(empathy)และเมื่อจะสื่อสารออกไปควรใช้การสื่อสาร สองทาง ใช้ภาษาพูดที่เข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ ข้อมูลถูกต้อง เหมาะสม เพียงพอในการตัดสินใจ ให้ โอกาสซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่าง หรือแก้ไขความเข้าใจผิด ปรับกรอบความคิดที่อาจบิดเบือน ให้ตระหนักรู้และแก้ไขความเข้าใจผิด ให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจ พูดชัดเจนด้วยอาการสงบแม้เป็นการบอกข่าวร้าย ไม่พูดเร้าอารมณ์หรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนก แสดงท่าทีเห็นใจ ตั้งใจจะช่วยเหลือเพื่อให้ผ่อนคลาย ลดความกังวล ภายใต้บรรยากาศเป็น กันเอง จะเป็นรากฐานการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แม้ว่าจะพูดในลักษณะแบบเผชิญหน้า (confron- tation) ก็ตาม ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ แสดงว่าผู้ให้ค�ำปรึกษายอมรับในตัวของผู้รับค�ำปรึกษาจนเกิด I
  • 21. 19 เป็นความมั่นใจที่จะเปิดเผยประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญต่อไปด้วยท่าทีเข้าใจเป็นกลางยอมรับ ไม่ตัดสิน ผิดถูก และสะท้อนกลับให้ผู้รับค�ำปรึกษาได้มองเห็นตนเองชัดเจนขึ้น 3.3 การส่งเสริมการสื่อสาร : ทักษะสังคม เช่น การสบตา ใส่ใจ สัมผัสที่เหมาะสมถูกกาละเทศะ ให้ก�ำลังใจโดย ใช้ทั้งภาษาท่าทางและค�ำพูด น�้ำเสียงนุ่มนวล ทวนซ�้ำ สะท้อนความรู้สึก ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับค�ำปรึกษา รับรู้ถึงความใส่ใจ และมีก�ำลังใจในการสนทนาต่อ สื่อสารสองทางที่ส่งเสริมให้ผู้รับค�ำปรึกษามีส่วนร่วมจึงควรใช้ ค�ำถามปลายปิดหรือค�ำถามปลายเปิดอย่างเหมาะสม ค�ำถามปลายเปิด ใช้ในการถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับค�ำปรึกษาได้ส�ำรวจและบอกเล่าความ คิด ความรู้สึกของตนเอง ให้อิสระในการตอบ มักใช้ค�ำถามว่า “อะไร” หรือ “อย่างไร” พยายามหลีกเลี่ยงค�ำถามที่ขึ้นต้นว่า “ท�ำไม” เพราะ ท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าถูกต�ำหนิหรือก�ำลังถูกค้นหาความผิดส่วนค�ำถามปลาย ปิด เป็นค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงค�ำตอบที่ได้มักเป็นค�ำตอบสั้นๆ เช่น ค�ำถาม เรื่อง “ใคร” “เมื่อไร” “ใช่หรือไม่” ให้เวลามากพอและใช้ความเงียบ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดไตร่ตรอง 3.4 ช่วยเชื่อมโยงปัญหา การช่วยเหลือให้ผู้รับค�ำปรึกษาเกิดความเชื่อมโยงเข้าใจที่มาของปัญหาและยอมรับ ตนเองได้ โดยใช้ทักษะ เช่น ใช้วิธีสอบถาม ให้ข้อมูล ช่วยค้นหาผลจากการกระท�ำ การตีความ การ ชี้ให้เห็นเป็นเรื่องปกติ เปิดโอกาสให้ทบทวนย้อนกลับ การตั้งข้อสังเกตถึงความขัดแย้งกันในตัวของ ผู้รับค�ำปรึกษา การเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมซึ่งเคยคิดในมุมหนึ่งเปลี่ยนเป็นคิดได้ในอีกมุมมองหนึ่ง ทั้งหมดเพื่อให้ผู้รับค�ำปรึกษามีโอกาสได้กลั่นกรอง และหาค�ำตอบด้วยตัวเอง อุปสรรคของการสื่อสารที่พบบ่อย 1. ผู้พูด 1.1 ไม่มีความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะท�ำให้ผู้ฟังเข้าใจข้อมูล จึงไม่ให้เวลามากพอ ไม่เชื่อมโยงปัญหา ไม่เตรียมสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เลือกเวลาให้ดี ในจังหวะที่จะ สื่อสารออกไป 1.2 ขาดทักษะและประสบการณ์ โดยเฉพาะการสื่อสารในเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือ เรื่องเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภายใน ความสูญเสีย ความตาย 2. ผู้ฟัง 2.1 ได้ตัดสินหรือเข้าใจว่าผู้พูดได้ยึดความคิดเห็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ผู้พูดเพียง วินัดดา ปิยะศิลป์ I
  • 22. 20 แต่บอกให้ผู้ฟังรับรู้เท่านั้น 2.2 รับฟังเฉพาะในส่วนที่ตัวเองต้องการอยากจะฟังเท่านั้น ไม่ว่าผู้พูดจะพูดในส่วน อื่นด้วยก็ตาม 2.3 ไม่สามารถรับฟังข้อมูลที่แตกต่างจากตัวเองได้ 2.4 ผู้ฟังไม่มีสมาธิมากพอในการรับฟัง 3. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือให้เวลาไม่มากพอ เอกสารอ้างอิง 1. http://www.directionservice.org/cadre/section4.cfm 2. http://www.helpguide.org/mental/effective_communication_skills.htm 3. http://www.amanet.org/training/seminars/The-7-Habits-of-Highly-Effective-People-for-Managers-2-Day-Workshop.aspx 4. http://cw.routledge.com/textbooks/9780415537902/data/learning/11_Communication%20Skills.pdf I
  • 23. 21 บทน�ำ การสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ โดยการแสดงความจริงใจ ซื่อตรง เปิดเผย ตรงไป ตรงมา ให้เกียรติ เคารพความคิดเห็น ยอมรับความรู้สึก ให้ความเป็นกันเองและเชื่อถือในค�ำพูดได้ จะส่งผลต่อคุณภาพการรักษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่แรกพบจึงมีความ ส�ำคัญ จาก Interpersonal theory ที่มีรากฐานมาจาก ความรัก ความผูกพันในอดีตที่ลูกมีต่อแม่ ส่งผลให้เกิดเป็นความรู้สึกมั่นคงในใจ จะส่งผลต่อการเข้าสังคมระยะยาว1 คุณภาพของความรัก ความผูกพันจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้เลี้ยงดูที่ไวต่อความต้องการของเด็กและการแสดงออกของเด็ก ตอบสนองอย่างมีแบบแผนแน่นอนสม�่ำเสมอ และมีความรู้สึกร่วมไปกับเด็กขณะที่เด็กเล่น คุย หรือแม้แต่ในช่วงของความผิดหวังก็ตาม เด็กจะมีความไวต่ออารมณ์ของคนที่อยู่รอบข้าง ถ้าแม่อารมณ์ดี อบอุ่น แจ่มใส เป็นมิตร กับคนง่าย ปรับตัวง่าย สังคมดี จะท�ำให้เกิดความรัก ความผูกพันได้ง่าย ถ้าความรัก ความผูกพัน มั่นคงเกิดขึ้นในช่วง 1 ปีแรกของชีวิตแล้ว จะส่งผลท�ำให้เด็กมีโลกภายในของตนเองดี ร่าเริง สุขสงบ ไว้ใจ และรู้สึกมั่นคงในความรักที่แม่มีให้ จึงสามารถมอบความรัก ความไว้วางใจส่งต่อไป ยังผู้อื่นได้แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าแม่เครียด กังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้ และไม่ไวต่อความ ต้องการหรือความรู้สึกของเด็ก ตอบสนองความต้องการของเด็กมากบ้าง น้อยบ้าง ขาดๆ เกินๆ คาดเดาไม่ได้ หรือไม่สนใจเด็ก ทั้งหมดจะท�ำให้ เด็กเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในใจ ไม่ไว้ใจในความรักของแม่ จะเกิดเป็น ความผูกพันที่ไม่มั่นคง จึงไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่มั่นคงกับผู้อื่นได้ ราบรื่น1-2 ความผูกพันทางอารมณ์เป็นกระบวนการทางจิตใจที่ซับซ้อน บทที่ 3 สัมพันธภาพระหว่างบุคคล Interpersonal Relationships ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ วินัดดา ปิยะศิลป์ I
  • 24. 22 และต้องด�ำเนินไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย อาศัยความรู้สึกใกล้ชิด มีการบ�ำรุงดูแลเอาใจใส่ และ มีการตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน ก่อเกิดเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่นในสังคม เพิ่มขึ้น Interpersonal Effectiveness1 Adolf Meyer ค.ศ.1957 พบว่าคนที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะมีจุดด้อยในด้านการเข้าสังคม และ/หรือด้านการสื่อสาร ดังนั้น การช่วยเหลือคนกลุ่มนี้นอกจากจะต้องปรับแนวคิดแล้วยังต้อง เพิ่มทักษะทั้งด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมอย่างจริงจัง จึงจะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้ และเป็นรากฐานส�ำคัญ ของ Interpersonal Theory ของ Sullivan ซึ่งเป็นลูกศิษฐ์ของ Mayer โดยที่ Sullivan พบว่าเกือบทุกพฤติกรรมของคนที่ไปกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ไม่ดีในตัวผู้อื่น มักมาจากการสื่อสารที่มีปัญหาทั้งสิ้น เป็นเหตุที่น�ำไปสู่ interpersonal conflict หลักการปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มทักษะด้าน Interpersonal skills โดยจะแยกทักษะส�ำคัญ ในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมออกมาเพื่อฝึกให้เข้มข้นขึ้น เช่น connecting skills, mindfulness skills, distress tolerance, emotional regulation, communication skills และ interpersonal effectiveness หลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจ�ำบ้านควร บรรจุการพัฒนาทักษะด้าน Interpersonal skills (communication skills และ social skills) อย่างจริงจัง เพราะแพทย์ทุกคนเป็นผู้น�ำ เป็นผู้พัฒนาชุมชน โดยต้องท�ำงานร่วมกับผู้อื่นตลอดเวลา รายละเอียดส�ำคัญของบทที่ 1 ว่าด้วยหลักของเวชจริยศาสตร์ด้าน กุมารแพทย์ ก็มีส่วนส�ำคัญของ Interpersonal skills ที่คนเราพึงปฎิบัติ ต่อคนอื่นด้วยความเคารพในตัวตนของแต่ละคน ไม่ท�ำหรือพูดในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นทั้ง ต่อหน้าและลับหลัง กระท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อผู้อื่น มีน�้ำใจดี เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันเสียสละ และตั้งใจที่จะท�ำแต่สิ่งที่ดีที่มีประโยชน์ต่อคนอื่น ซื่อสัตย์ ให้ความยุติธรรม โดยตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผล รวมทั้งรักษาความลับให้ การที่แพทย์จะแสดงพฤติกรรม แบบนี้ได้สมบูรณ์ก็มักมาจากความคิดดีต่อผู้อื่น เห็นว่าคนเรานั้นเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข ท�ำผิดพลาดหลายอย่างด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจแบบเดียวกับตัวเรา ในเชิงพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นชัดว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ก็เป็นเพียงสมมติ ทุกคนเกิดมาเพื่อมีชีวิตแค่ชั่วคราวแล้วก็จากไปตาม เหตุปัจจัย เกิดมาเพียงแค่เพื่อเกื้อกูลกันและกันให้ถึงที่สุด3 เมื่อคิดเช่นนี้ได้แล้วคนๆ นั้นก็จะมี Interpersonal skills และการสื่อสารที่ดีตามมา I