SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 38
Baixar para ler offline
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   1




      ลังกากถา
ว่าด้วยข้อคิด ของดีศรีลังกา
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   2




ที่ปรึกษา :
พระเทพโพธิวิเทศ                 พระเทพกิตติโสภณ
พระเทพกิตติโมลี                 พระวิเทศธรรมรังษี
พระสุนทรพุทธิวิเทศ              พระวิเทศธรรมกวี
พระครูวิสิฐธรรมรส               พระครูวินัยธรดร.สมุทร ถาวรธมฺโม
พระครูสังฆรักษ์อําพล สุธีโร     พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี
พระมหาอุดม ปภงฺกโร              พระอาจารย์น้าว นนฺทิโย
พระมหาเอกชัย สญฺญโต             พระมหามนตรี คุตฺตธมฺโม
พระวิญญู สิรญาโณ                ดร.อมร แสงมณี
ดร.เสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี
ภาพโดย :
พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี          พระมหาทํานอง แสงชมพู
พระมหาอเนก อเนกาสี              พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ
พิสูจน์อักษร :
พระมหาสัญชัย ชยสิทฺธิโก ป.ธ.๙   พระมหาสินชัย สิริธมฺโม ป.ธ.๗
พระบัญชาสิทธิ์ ชุตินฺธโร
ปก/รูปเล่ม : นิรันดร รันระนา
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   3




                                                      คานา
      “เกาะลังกานี้เป็นของพระพุทธเจ้าเอง เป็นเสมือนคลังเต็มไปด้วยแก้ว ๓ ประการ ดังนั้น ความเป็นอยู่ของ
พวกมิจฉาทิฐิจะไม่ถาวรไปได้เลย เหมือนการอยู่ของพวกยักษ์ในสมัยโบราณไม่ถาวร ฉะนั้น ” หนังสือปูชาวลี
      ผู้เขียนมีความประทับใจในผู้คนและประเทศศรีลังกามากจากการได้พบปะพูดคุยในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่
ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และสหรัฐอเมริกา ชาวศรีลังกามี ความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีอัธยาศัยดียิ้มแย้มแจ่มใส
ประกอบกับเคยศึกษาประวัติของท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ผู้อุทิศชีวิตเพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสน า ความ
ประทับใจจึงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ เหตุนี้จึงปรารภอยู่ในใจว่า ถ้าเวลาและโอกาสอํานวยจะเดินทางไปศรีลังกา
       ปีพ.ศ.๒๕๕๔ มีการจัดประชุมสัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศทั่วโลก ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล พระ
ธรรมทูตสายต่างประเทศจากทวีปต่างๆ เดินทางมาร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้        พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี
เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “มีพระคุณเจ้าและญาติธรรมอยากจะไปนมัสการพุทธสถาน
ในศรีลังกา และท่านจะนําคณะไปนมัสการพุทธสถานในลังกา มีความสนใจอยากไปด้วยไหม ” เนื่องจากจะต้อง
เดินทางกลับประเทศไทยในระยะเวลานั้นอยู่แล้ว ผู้เขียนจึงตอบตกลงอย่างไม่ลังเลสงสัย
         เมื่อเดินทางไปศรีลังกาได้สัมผัสบรรยากาศ สถานที่ และผู้คน ยิ่งเพิ่มคว ามประทับใจ ได้ข้อคิด และ
มองเห็นของดีที่ชาวศรีลังกามี คิดว่าน่าจะนําสิ่งที่ได้พบจากประสบการณ์ตรงและการศึกษาของตนเอง               มา
แลกเปลี่ยนกันบ้าง เพื่อเป็นคติข้อคิดให้ท่านทั้งหลายที่มีความสนใจในประเทศแห่งนี้ได้ เรียนรู้ร่วมกัน ผู้เขียน
ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ บุคคล สถานที่ และประเทศ เพราะมีผู้รอบรู้หลายท่านเขียนไว้
แล้ว ซึ่งหาอ่านได้ทั่วไป
      หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผู้อ่านจะได้ข้อคิด คติเตือนใจเสมือนลังกาเป็นบทเรียนเล่ม
ใหญ่ให้เราสามารถนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้ในฐานะพุทธศาสนิกชนเช่นเดียวกัน
                                                  ด้วยความปรารถนาดี
                                                         ปิยเมธี
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   4




เกริ่นนา
       ขอกล่าวคําทักทายที่ชาวสิงหลพูดเวลาพบกันว่า อายุบวร แปลว่า ขอให้อายุยืนยาว ก่อนจะกล่าวถึงข้อคิด
และของดีศรีลังกา อยากจะ นําประวัติและความเป็นมาของดินแดนของคนฝ่ามือแดงมาเล่าสู่กันฟังให้ทราบพอ
สังเขปว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทําไม ทําไม ? ถึงเรียกประเทศแห่งนี้ว่า ศรีลังกา ใครเป็นบรรพบุรุษของชาวสิงหล
? ตลอดถึงข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับชาวศรีลังกา ฉะนั้น เราอย่ามัวเสียเวลาอยู่เลย ไปศึกษาด้วยกันเลย
ดีกว่า




ประเทศหลากนาม
       สมัยเป็นนักเรียนภาษาบาลีศึกษาวิธีแต่งฉันท์เห็นคําว่า ประเทศซีลอน ถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก เพราะไม่รู้ว่า
เป็นประเทศอะไร อยู่ที่ไหน พอรู้ตอนหลังว่า ศรีลังกา กับ ซีลอน เป็นประเทศเดียวกันจึงถึงบางอ้ อ ชาวพุทธที่
ศึกษาพระพุทธศาสนาคงเคยได้ยินคําว่า นิกายลังกาวงศ์ คือพร          ะพุทธศาสนาที่ไทยรับเอาจากศรีลังกาในสมัย
สุโขทัย มาดูกันว่าศรีลังกามีกี่นาม
        ชาวไทยส่วนมากเรียกประเทศนี้ว่า “ ลังกา” แปลว่า เกาะ ส่วนนักศึกษาภาษาบาลี และตัวผู้เขียนเองรู้จักใน
นาม “ ตัมพะปัณณิทวีป” แปลว่า เกาะของคนมีฝ่ามือแดง ก็ยังมีชื่ออื่นอีกที่เรียกกัน เช่น “ลังกาทวีป” และ “สิงหล
ทวีป” ส่วนชาวยุโรปเรียกว่า ซีลอน (CEYLON) ผู้รู้กล่าวว่า น่าจะมาจากคําว่า ซีแลนด์ (Sea Land) ดินแดนที่
ล้อมรอบไปด้วยทะเล แต่เรียกไปเรียกมากลายเป็น ซีลอน (Ceylon) นับๆ ดูชื่อก็มีมากโข แถมในตํานานยังกล่าวไว้
อีกว่า ในพระพุทธเจ้าแต่ละสมัยก็ชื่อไม่เหมือนกัน เช่น
              - สมัยพระกกุสันโธพุทธเจ้า เรียกว่า โอชทีปะ หรือ โอชทวีป
              - สมัยพระโกนาคมพุทธเจ้า เรียกว่า วรทีปะ หรือ วรทวีป
              - สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า เรียกว่า มัณฑทีปะ หรือ มัณฑทวีป
       สรุปแล้ว แต่โบราณเรียก ลังกา สมัยอังกฤษปกครอง เรียก ซีลอน เมื่อได้รับเอกราชแล้ว จึง
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   5


ใช้ชื่อเดิมแล้วเติมคําว่า ศรี ไปข้างหน้าเป็นศรีลังกา แปลว่า เกาะที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
บรรพบุรุษของชาวสิงหล
        ถ้าใครเคยไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)ในพระบรมมหาราชวัง มีโอกาสเดินชมผนังกําแพง
รอบในวัดจะเห็นภาพวาดมหากาพย์รามเกียรติ์เรื่องราวการสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ จะเห็นภาพหนุมานฆ่า
ท้าวทศกัณฐ์ เผากรุงลงกา ซึ่งกรุงนี้คนส่วนมากลงความเห็นว่า ศรีลังกา เมื่อนึกถึงเรื่องรามเกียรติ์ครั้งใด ทําให้นึก
ถึงกรุงลงกาพระราชวังของทศกัณฐ์ด้วย แต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ใช่ต้นตระกูลของชาวศรีลังกา
         ในตํานานบอกไว้ว่า บรรพบุรุษของชาวลังกา คือ เจ้าชายวิชัย ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสิงหพาหุ
และพระนางสิงหสีวลี แห่งเมืองสิงหบุรี มีพระอนุชา ๑ พระองค์ นามว่า เจ้าชายสุมิตตะ เจ้าชายวิชัยเป็นคนเสเพล
ดื้อรั้น พระองค์พร้อมบริวาร ๗๐๐ คน ชอบเบียดเบียนรังแกชาวบ้าน จนทําให้พระราชบิดาอดทนต่อพฤติกรรมไม่
ไหว จึงจั บโกนหัวเสียครึ่งหนึ่งเพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเป็นคนไม่ดี และเนรเทศทั้งหมดลงเรือไปถึงท่าเรือสุปปารกะ
(ปัจจุบันคือ โสปาระ เมืองบอมเบย์ ) ไปถึงที่นั้น เจ้าชายพร้อมสมุนก็ไม่ทิ้งนิสัยเดิมยังเที่ยว ก่อความไม่สงบอีก จึง
ถูกจับเนรเทศลงเรืออีกรอบจนไปขึ้นที่เกาะลังกา วันที่เจ้าชายวิชัยขึ้นเกาะลังกา ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน ทั้งมีตํานานเล่าว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสกับท้าวสักกะพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า “โอ
ท้าวสักกะ! ธรรมของเราจะประดิษฐานในเกาะลังกา และในวันนี้เอง เจ้าฟ้าชายองค์โตของพระเจ้าสิงหพาหุกษัตริย์
แห่งสิงหบุรีในประเทศลาละ เสด็จขึ้ นฝั่งที่เกาะนั้นพร้อมด้วยราชบริพาร ๗๐๐ คน และจะเสวยราชสมบัติในเกาะ
นั้น ดังนั้น ขอพระองค์จงปกปักรักษาเจ้าฟ้าชายนั้นพร้อมทั้งบริวารและทั้งเกาะลังกานั้นด้วยเถิด” หลังจากขึ้นเกาะ
แล้ว เจ้าชายวิชัย ได้ปราบชาวพื้นเมือง ตั้งเมืองหลวง สถาปนาพระองค์
เป็นปฐมกษัตริย์ของประเทศศรีลังกา
      เกริ่นนํามาซะเนิ่นนาน ขอนําท่านทั้งหลาย ดื่มดํากับข้อคิด และ
ของดีศรีลังกาได้แล้ว ณ บัดเดี๋ยวนี้


                                 ภาค ๑
                      ข้อคิด ๘ ส. ของชาวศรีลังกา
- ส.ที่ ๑ คือ สังฆมิตตา หรือพระนางสังฆมิตตาเถรี
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   6


          พระนามของพระนางสังฆมิตตาเถรียังปรากฎเด่นชัดอยู่ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มิใช่เพราะพ ระ
นางเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชผู้เกรียงไกร แต่เพราะวีรกรรมที่พระนางนําภิกษุณีสงฆ์และกิ่งพระ
ศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานไว้ในศรีลังกานั้นต่างหากเล่า ที่ทําให้พุทธศาสนิกชนจดจําความดีงามอันนั้นอย่างที่เขา
ว่า “อยู่เพื่อตนเอง อยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่ชั่วนิรันดร์”
       หลังจากการทําสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฎลีบุตรเสร็จ แล้ว ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทํา
ให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปรึกษากับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ และ ทรงส่งพระธรรมทูต ๙ สายออกไปเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในทิศานุทิศ รวมถึงทรงส่ง พระมหินทเถระพร้อมคณะเดินทางไปประกาศพระพุทธศาสนาใน
เกาะตัมพปัณณิทวีปด้วย
        พระมหินทเถระเสด็จไปเกาะลังกาพบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะในวันเพ็ญกลางเดือน ๗ ที่ภูเขามิสสกะ
(ปัจจุบันเรียกว่า มิหินตะเล)ในขณะที่พระราชาเสด็จออกไปล่าเนื้อ ทรงสนทนาปราศัยทดลองสติปัญญาซึ่งกันและ
กันจนเกิดความเลื่อมใสใจศรัทธา จากนั้นพระมหินทเถระก็แสดงธรรมโปรดพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพร้อมทั้งข้า
ราชบริพารจนเกิดความศรัทธาในพระรัตนตรัย จนพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้ถวายพระราชอุทยานมหาเมฆวันให้
เป็นที่อยู่ของพระมหาเถระพร้อมคณะ ซึ่งต่อมาอุทยานแห่งนี้กลายเป็นวัด “มหาวิหาร”
       พระมหินทเถระกล่าวกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะว่า ถ้าอยากให้พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกา
อย่างแท้จริง ต้ องให้กุลบุตรในเกาะนี้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในพระศาสนา ซึ่งต่อมาพระราชนั ดดาของพระเจ้าเท
วานัมปิยติสสะทรงพระนามว่าอริฎฐและคนอื่นๆ อีก ๕๕ คน ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
       ในเวลาต่อมาพระนางเจ้าอนุฬา พระราชินีรองและพระสนมกํานัลแสดงความประสงค์จะอุปสมบทเป็นพระ
ภิกษุณีบ้าง เมื่อพระมหินทเถระทราบจึงถวายคําแนะนําให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงส่งราชทูตไปสํานักของ
พระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อทูลขอให้พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะเดินทางไปยังเกาะลังกาพร้อมทั้งนํากิ่งพระศรี
มหาโพธิ์ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไปปลูกยังลังกาด้วย        เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์และเป็นสิริมงคลแก่ผู้
สักการะบูชา ซึ่งกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ที่พระนางนําไปปลูกยังอยู่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธลังกาจนถึงปัจจุบันนี้
มีอายุกว่า ๒,๓๐๐ ปี
        ในคัมภีร์อรรถกถาสมันตปาสาทิกากล่าวถึงการเสด็จไปเกาะลังกาของพระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะที่
นํากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกที่เมืองอนุราธปุระ พร้อมทั้งทําการอุปสมบทพระนางอนุฬาและพระสนม เป็น
พิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่อลังการน่าเลื่อมใสอันแสดงออกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ คือ พระ
เจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมีต่อพระพุทธศาสนา เห็นถึงความเสียสละ อันยิ่งใหญ่ของพระมหิ
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   7


นทเถระและพระนางสังฆมิตตาเถรีแล้วควรที่เราอนุชนรุ่นหลังควรเอาเป็นแบบอย่างในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ต่อไป ขอจบส.ที่ ๑ ด้วยกฤษณาสอนน้องคําฉันท์ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
ที่ว่า
                       พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
               โททนต์เสน่งคง         สําคัญหมายในกายมี
               นรชาติวางวาย          มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
               สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา
               ความดีก็ปรากฎ         กิติยศก็ฤาชา
               ความชั่วก็นินทา       ทุรยศยินขจรฯ
     ทุกวันนี้ชาวศรีลังกาจะมีพิธีแห่พระนางสังฆมิตตาเถรี เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่พระนางทําไว้ และ
แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อพระนาง
- ส.ที่ ๒ คือ สัทธา มีศรัทธาอย่างแรงกล้า
ในพระพุทธศาสนา
        เมื่อ มีโอกาสเดินทางไป ประเทศ
ศรีลังกา ดินแดนพระพุทธศาสนา ๒,๓๐๐
ปี ความประทับใจ แรก หรือเฟิร์ส อิม
เพรสชั่น (First Impression) คือ ความ
ศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุทธศาสนา
และกล้าแสดงออกให้ เห็น (กล้าคิด กล้ า
พูด กล้าทําในสิ่งที่ ถูกต้อง ) เป็นต้นว่า
พระพุทธรูปปางสมาธิสีขาวที่ประดิษฐาน
ไว้ภายในสนามบินแห่งชาติ เมืองโคลัมโบให้คนเดินทางไป-มาได้เคารพกราบไหว้ และสิ่งที่ประทับใจอีกประการ
หนึ่ง คือ ภายในสนามบินจะมีร้านหนังสือธรรมะ พร้อมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้ให้คนได้เลือก อ่าน
และซื้อหาติดตัวเป็นที่ระลึก
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   8


        สมัยที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษาอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาประวัติของวีรบุรุษชาวพุทธศรี
ลังกา นามว่า อนาคาริกะ ธรรมปาละ ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ (Mahabodhi Society) และเป็นผู้มีส่วนสําคัญในการ
ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ ที่ชาวพุทธทั่วโลกไม่ควรลืมคุณูปการของท่าน เกิดความเลื่อมใสใจศรัทธา
มากในปณิธานการทํางาน ก ารเสียสละอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาของท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ถึงกับตั้งจิต
อธิษฐานก่อนท่านมรณภาพว่า “จะขอเกิดอีก ๒๕ ชาติ ในตระกูลพราหมณ์ เพื่อทางานให้พระพุทธศาสนา” แม้ใน
ประเทศศรีลังกา เองตามหัวเมืองต่างๆ จะมีรูปปั้นของท่านตามทางสี่แ ยกไว้ให้คนกราบไหว้ ไม่ต่างจาก ประเทศ
อินเดียทีปั้นรูปของท่านมหาตมะ คานธี ไว้ให้คนสักการะตามหัวเมืองต่างๆ
         ่
        ก่อนจะเดินทางไป เยือน ศรี
ลังกา(เดินทางระหว่างวันที่ ๕ – ๑๒
ก . พ . ๒๕๕๔ ) ไ ด้ศึกษา
ประวัติศาสตร์ของประเทศ และ
พระพุทธศาสนา ทําให้ทราบว่า
ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้าไป
ประดิษฐานใน ดินแดนคน มี ฝ่ามือ
แดง ซึ่ง พระมหินทเถระ (พระราช
โอรสของพระเจ้าอโ ศกมหาราช )
และคณะนํา พระสัทธรรมไปมอบ
แด่ชาวสิงหล จนพระพุทธศาสนาเป็นปึ กแผ่นมั่นคง ตั้งแต่บัดนั้น จนถึง บัด นี้ พระพุทธศาสนาในศรีลังกาได้ผ่าน
มรสุมจากการรุกราน ด้วยวิธี ต่างๆ ของชา ติตะวันตก (โปรตุเก ส, ฮอลันดา และชาวอังกฤษ )และศาสนาที่
ชาวตะวันตกนํา เข้าไป แต่ด้วยความศรัทธาของชาวสิงหลที่มีต่อพระพุทธศาสนาอย่าง มั่นคง(อจลสัทธา ) ทําให้
สามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
       ผลงานที่ชาวศรีลังกาแสดงออก ถึงความรักและศรัทธา ต่อพระพุทธศาสนา นั้นมีมากมาย เช่น การ ออกมา
ปกป้องเมื่อพระพุทธศาสนา มีภัย คุกคาม หรือถูกลบหลู่ ด้วยชาวต่างชาติ ต่างศาสนา ที่ไม่ เคารพหรือ เข้าใจ ใน
วัฒนธรรมประเพณี เช่น การที่ชาวต่างชาติหรือคนไม่มีศาสนาไปนั่งบนบ่าของพระพุทธรูปแล้วถ่ายภาพโฆษณาไป
ทั่วโลก เป็นต้น
     สิ่งหนึงทีผู้เขียนจําได้ดี คือ การที่สหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชา(วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
            ่ ่
ของพระพุทธเจ้า )เป็น วัน สําคัญของโลก ก็เป็นผลงาน ชิ้นโบว์แดง ของชาวศรีลังกาที่ช่วยกันเรียกร้อง ให้องค์กร
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   9


ระดับโลกยอมรับ โดยรัฐบาลศรีลังกาเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ ๕๔ ปีพ.ศ.๒๕๔๒ และเมื่อวั นที่ ๑๕
ธันวาคม ๒๕๔๒ สหประชาชาติจึงมีมติให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสากลของโลก และที่สําคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง
คือ การปฏิบัติต่อพระพุทธรูปเสมือนหนึ่งพระพุทธเจ้า เช่น การกางมุ้งให้พระพุทธรูปยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม และ
ระเบียบเรื่องการถ่ายภาพที่ห้ามหันหลังให้พระพุทธรูป เพราะถือว่าไม่ให้ความเคารพ
       เมื่อ กล่าวถึงศรัทธา ของชาวสิงหล ทําให้นึกถึงอุบาสกธรรม หรือธรรมะของอุบาสกอุบาสิกาที่ควรมี ชาว
                                                                  พุทธคงจํากันได้ ดีถึงคุณสมบัติอันสําคัญ
                                                                  ๕ ข้อ แต่ขอนํามากล่าวไว้ในที่นี้ เพียง ๓
                                                                  ข้อ คือ
                                                                            -       มีสัทธา (ศรัทธา ) คื อ มี
                                                                    ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น เชื่อ
                                                                    ในกฎแห่งกรรม ว่าทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว
                                                                    เชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
                                                                    เป็นต้น
                                                                     -      มีศีล คือ มี สติสามารถ
ควบคุมความประพฤติทางกาย วาจาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
                 - ไม่ถื อมงคลตื่นข่าว เป็นกระต่ายตื่นตูม มุ่งหวังผลจากการกระทา และการงาน มิใช่จากโชคลาง
และสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
        เมื่อเห็นความศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุ ทธศาสนาแล้ว ก็ได้แต่รําพึงกับ ตัวเองว่า เรามีศรัทธาแบบเขา
ไหม และสามาร ถจะรักษาพระศาสนาไว้ได้ ไหม ถ้ามีวิกฤติ พระพุทธศาสนา เกิดขึ้น ขออย่าให้ศรัทธาของเราเป็น
เช่นศรัทธาหัวเต่าเลย แต่จงเป็นศรัทธาที่เดินเคียงคู่กับปัญญา จะได้นําพาพระศาสนาและประเทศชาติอยู่รอด
ปลอดภัย
                     ศรัทธาดี       ต้องมี ปัญญาจับ
       ช่วยกํากับ            พร้อมกันไป ไม่ห่างเหิน
       หากศรัทธา             ขาดปัญญา      หมดเจริญ
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   10


       เหมือนเรือเดิน         ไร้หางเสือ     เพลียหลงทาง


- ส.ที่ ๓ คือ สาธุ เสน่ห์ของชาวศรีลังกา
        มีคําโบราณกล่าวไว้ ว่า เวลาทําบุญขอให้ตั้งจิต อธิษฐานว่า เกิดชาติใด ภพใด ขออย่าให้เกิดเป็น “พระลังกา
ม้าอินเดีย เมียฮินดู หมูไทย ไก่จีน ” ทําไมนะเหรอ ? เพราะชาวลังกานั้น ถ้าจะบวชเป็นพระ ต้อง คิดให้รอบคอบ
เพราะเมื่อบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ ส่วนม้าอินเดีย เมียฮินดู คนที่เคยไปประเทศอินเดียคงเข้าใจว่า เกิดเป็นม้า
อินเดีย และเมียฮินดูมันลําบากแค่ไหน ส่วนหมูไทย และไก่จีนคงทราบกันดีว่า หัวหมู และไก่นั้น เมื่อถึงเทศกาล
สําคัญจะถูกเฉียดนําไปเซ่นไหว้เทพเจ้าประจํา
          เกริ่นมาซะนาน เพื่อจะ พูดถึง เสน่ห์ ที่สําคั ญอีกประการหนึ่งของชาวพุทธลังกา คือคําว่า สาธุ ทําไมถึงเป็น
เสน่ห์แค่พูดว่าสาธุ ไม่เห็นจะยากเย็นตรงไหน หลายท่านอาจตั้งคําถามในใจ ไม่เป็นไร เดี๋ยวจะไขข้อข้องใจให้
คลายสงสัย เมื่อผู้เขียนเป็นนัก ศึกษาอยู่เมืองพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศอินเดีย บ่อยครั้ งที่ได้
พบชาวสิงหลเดินทางมานมัสการสังเชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
สิ่งที่ได้ยินประจําคือเสียงสาธุ การที่ชาวลังกาตั้งใจเปล่งออกมาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ตอนเช้าๆ ชาวศรีลังกาใส่
ชุดสีขาวเข้าแถวเดินไปเจดีย์พุทธคยา ต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีพระภิกษุเดินนําหน้า พูดธรรมะให้ฟัง ญาติโยมก็
พร้อมกล่าวคําว่า สาธุ สาธุ สาธุ ฯลฯ ตลอดทาง
                                                                     ในนิทานธรรมบท มีบ่อยครั้งที่พระภิกษุทํา
                                                            ความดีแล้วพระพุทธเจ้าจะยกย่องสดุดี ด้วยตรัสคําว่า
                                                            สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว ดีแล้ว เธอทาดีแล้ว คําว่า สาธุ
                                                            แปลว่า ดีแล้ว เป็นการอนุโมทนากับสิ่งที่คนอื่นทําดี
                                                            เป็นบุญอย่างหนึ่ง ภาษาพระเรียกว่า ปัตตานุโมทนา
                                                            มัย บุญสําเร็จด้วยการอนุโมทนายินดีกับ ความดีที่ คน
                                                            อื่นทํา ฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า อย่าคร้านอนุโมทนาบุญ
                                                            ทําให้นึกถึงคําพูดของพระเดชพระคุณพระเทพโพธิ
วิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา อินเดีย ซึ่งมีคนมาถามความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับการสร้างวัด ไทยในแดนพุทธ
ภูมซึ่งมีวัดเกิดขึ้นมากมาย ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ใครทาดี เราอนุโมทนาด้วย”
    ิ
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   11


        ในพระไตรปิฎกมีเรื่องเล่าว่า มีชายคนหนึ่งไปฟัง ธรรมจากพระพุทธเจ้า หลังจากฟังแล้ว เกิดความเลื่อมใส
ศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงไปขออนุญาตภรรยาออกบวช ครั้นบวชแล้ว ประเพณีในสมัยนั้นเมื่อภรรยาเป็นหม้าย จะ ถูก
ริบเข้าหลวงเป็นสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
      วันหนึ่ง นายมาลาการเก็บดอกบัวมาถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ทรงมอบดอกบัวให้กับ พระมเหสี
และสนมทุกพระองค์ พร้อมทั้งทรงยื่นดอกบัวให้สนมนางนั้นด้วย เมื่อนางรับดอกบัว แล้ว ยิ้มด้วยความดีใจ แต่เมื่อ
รับมาแล้วดมกลับร้องไห้ ทําให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงตรัสถาม
     พระนางทูลตอบว่า ดีใจที่ได้รับพระราชทานดอกบัว แต่ที่ร้องไห้ เพราะกลิ่น หอมของดอกบัวคล้ายกับกลิ่น
ปากของอดีตสามี ซึ่งตอนนี้ท่านบวชเป็นสมณะ ศากยะบุตรอยู่
                                                                     พระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงสัยว่า
                                                           จะมีด้วยเหรอ ? คนที่กลิ่นปากหอม คล้ายกลิ่น
                                                           ดอกบัว ลองไม่เคี้ยวไม้สีฟันสักวันคงเหม็น
                                                           น่าดู ยิ่งสมัยนี้ถ้าไม่ได้แปรงฟันคงไม่มีใคร
                                                           กล้าสนทนากับคนอื่น ทรงต้องการที่จะ
                                                           พิสูจน์ ว่าจริงหรือไม่ จึงให้ข้าราชบริพารไป
                                                           กราบ นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระรูปนั้นมา
                                                           ฉันภัตตาหารในพระราชวัง เมื่อฉันภัตตาหาร
                                                           เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าทรง ทราบความ
ประสงค์ของพระราชาจึงเปิดโอกาสให้พระรูปนั้นอนุโมทนา ทันทีที่พระรูปนั้นเปิดปากพูด กลิ่นหอมก็ฟุ้งไปทั่ว
พระนคร จนทําให้พระเจ้าปเสนทิโกศลแปลกพระทัย และทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระรูปนี้ในอดีตชาติได้ทํากรรม
อันใดไว้
      พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยว่า ในอดีตชาติ พระรูปนี้ ไม่ได้ทําอะไรมาก มาย เพียงแต่เวลาที่คนทําความดี จะ
กล่าวอนุโมทนาสาธุกับเขา คือ ยินดีกับความดีที่คนอื่นทํา
       การกล่าว สาธุ กับการทําความดีของคนอื่น นอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้คนทําความดี ตามหลักที่ว่า
ปัคคัณเห ปั คคะหาระหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง แล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้จิตใจของผู้กล่าว ไม่ริษยาในเมื่อคนอื่น
ทําดีและได้ดีอีกด้วย
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   12




- ส.ที่ ๔ คือ สวดมนต์เก่ง
        “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ” พวกเราได้ยินคําพูดนี้บ่อยๆ คนส่วนมากก็ยังไม่เข้าใจว่ามี
ความหมายอย่างไร บางคนอาจจะคิดเลยเถิดไปว่าเป็นเพียงคําคล้องจองที่พระนิยมพูด ในต่างประเทศ มีการวิจัย
จากสถาบันชั้นนําหลายแห่ง ทั่วโลกเกี่ยวกับการสวดมนต์ ว่ามี ผลดีต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เพราะในขณะที่
สวดนั้น จิตใจของผู้สวดจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ ไม่วอกแวก วุ่นวาย ทั้งการสวดมนต์ยังเสมือนเป็นการออกกําลัง
กายอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย เพราะการเปล่งเสียงสวดอักขระแต่ละตัวนั้น เนื่องจาก อักขระแต่ละตัวมีที่เกิด
ไม่เหมือนกัน เช่น ก ไก่ เกิดที่คอ , ป ปลา เกิดที่ริมฝีปาก เป็นต้น จึงเท่ากับ เป็นการ ออกกําลังกายไปในตัวด้วย
ในขณะที่สวดนั้น ถ้าจิตเป็นสมาธิคือ ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่กับสิ่งที่สวด จะทําให้จิตใจ สะอาด สว่าง สงบ เมื่อใจสงบไม่
มีสิ่งรบกวน(กิเลส) กายก็พลอยสงบระงับไปด้วย ปราชญ์จึงบอกว่า “ออกกาลังกายต้องเคลื่อนไหว ออกกาลังใจต้อง
หยุดนิ่ง”
         วันที่คณะผู้เขียน เดินทางไป สักการะพระ
ธาตุเขี้ยวแก้ว ณ วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว กว่าจะผ่าน
ด่านเข้าไปภายในวัดต้องตรวจกัน หลาย ครั้ง
โดยเฉพาะฆราวาส สําหรับพระภิกษุสาเณรผ่าน
สบาย โชคดีที่ไกด์ทัวร์ประสานงานไว้เรียบร้อย
แล้ว คณะจึงผ่านเข้าไปเดิ นชมภายในบริเวณวัด ที่
มีการป้องกันอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันภัยที่จะ
เกิดขึ้นจากผู้ที่ต้องก ารจะทําลายศูนย์รวมจิตใจ
ของชาวลังกา เดินชมไปแต่ละชั้นของตึกที่แสดง
เกี่ยวกับพระธาตุเขี้ยวแก้ว ไม่ว่าจะเป็นงาช้าง เชือกที่
เคยใช้ในพิธีแห่พระธาตุ เขี้ยวแก้ว สมบัติอันมีค่าที่
คนถอดบูชาพระธาตุเขี้ยวแก้ว ที่ทางรัฐบาลนํามา
แสดงไว้ให้ชม
      พอใกล้ถึงเวลาที่เขาจะเปิดให้คนเข้าไป
สักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว คณะของพวกเราก็ขึ้นไป
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   13


บนชั้นสองของหอที่เก็บพระธาตุเขี้ยวแก้ว มีชาวศรีลังกานั่ง สมาธิบ้าง นั่งสวดมนต์บ้าง (การนั่งของชาวลังกา
ส่วนมากจะนิยมเหยียดขา เคยเห็นชาวลังกานั่งฟัง พระเทศน์ ประนมมือ และเหยียดเท้าไปทางพระ คนที่ไม่เข้าใจ
อาจเกิดอกุศลจิตคิดไม่ดีกับเขาว่าไม่เคารพพระ แต่สาหรับชาวลังกาแล้วจิตใจที่เคารพเป็นสิ่งสาคัญ)รอเวลาที่จะเข้า
ชมสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว
        ผู้เขียนนั่งกราบไปทางที่เก็บพระธาตุ ฯ และนั่ง หลับตาทํา สมาธิ ในขณะนั้นก็ ได้ยินเสียงสวดมนต์บทต่างๆ
เช่น บทมงคลสูตร กรณียเมตตสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ฟังเสียงสวดมนต์ของชาวศรีลังกาแล้ว รู้สึกปีติ และมีความสุข
เพราะสวดมนต์เป็นจังหวะ จึงหน่วงเหนี่ยวเอาเสียงสวดมนต์มาเป็นอารมณ์ในการทําสมาธิ ทําให้จิตใจเบิกบาน
แช่มชื่นดี
                                                                      เมื่อนังสมาธิพอสมควรแล้ว จึงลืมตาขึ้นและ
                                                                             ่
                                                             เหลือบมองไปทางคณะสวดมนต์ชาวลังกา พร้อม
                                                             ทั้งยิ้มให้ พวกเขาจึงเข้ามาทําความเคารพ และ
                                                             ทักทาย สอบถาม สาระทุกข์สุกดิบ จึงทําให้รู้ว่า ชาว
                                                             ศรีลังกากลุ่มนี้เดินทางมาจากที่ไกล ห่างจากเมือง
                                                             แคนดี้เกือบ ๑๐๐ กิโลเมตร แต่เดินทางมาสักการะ
                                                             พระธาตุเป็นประจําทุกปีติดต่อกันเป็นเวลา ๔๕ ปี
                                                             แล้ว เหมือนเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งของตระกูล
                                                             ที่ถือปฏิบัติมายาวนาน สนทนากัน พักใหญ่ก็ได้เวลา
เข้าไปกราบพระธาตุเขี้ยว แก้ว จึงต้องไปเข้าแถว เพื่อเข้ากราบนมัสการพระธาตุ ฯ ภายในห้องซึ่งต้องผ่านประตู
หลายประตู วันนั้นคณะผู้เขี ยนเป็นคณะที่ ๒ ที่ได้เข้าไปกราบพระธาตุฯ ภายใน แต่มีเวลาไม่นานในการนมัสการ
เพราะต้องเอื้อเฟื้อแก่คณะอื่นที่รอคิวยาวเหยียดด้วย เพียงเวลาแค่ไม่กี่นาที กับการไหว้พระธาตุฯ ก็ทําให้ มีความสุข
ใจทุกครั้งที่นึกถึง
       ผู้เขียนประทับใจชาวสิงหลที่ปลูกฝังการสวดมนต์ให้กับบุตรหลาน และคนในครอบครัว เพราะทุกคนใน
ครอบครัว ไม่ว่าจะตัวเล็กไม่กี่ขวบก็ สามารถสวดมนต์สูตรต่างๆ ได้ไม่แพ้ พระภิกษุ เลยทีเดียว การสวดมนต์เก่งจึง
เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวศรีลังกาที่ชาวพุทธไทยเราควรเอาเป็นแบบอ ย่าง เพราะอย่างน้อย ถ้ามีคนถามชาว
พุทธไทยว่า อะไร คือ สัญลักษณ์ของชาวพุทธไทย อย่างน้อยเราก็ตอบเขาได้ว่า สวดมนต์เก่ง ไม่ใช่นินทาเก่ง มีชาว
พุทธบางท่านเคยบอกว่า เป็นชาวพุทธสบาย ง่ายๆ ไม่ต้องถืออะไร อันนี้ต้องระวัง เพราะถ้าไม่ยึดถือปฏิบัติอะไร
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   14


เลย ก็คงไม่ต่างจาก คนที่ไม่มีศาสนา ฉะนั้น ชาวพุทธไทยอย่างน้อยก็ต้องมีเอกลักษณ์อะไรสักอย่างที่จะโชว์
ชาวโลกได้ว่าเราก็มีดี


- ส.ที่ ๕ คือ ใส่ชุดขาว เอกลักษณ์ของชาวพุทธลังกา
         การแต่งชุดขาวไปวัดดูเหมือนจะเป็น เรื่องปกติของชาวพุทธลังกา วันที่ผู้เขียนเดินทางไปชมวัดกัลยาณี ใน
เมืองโคลัมโบ เห็นชาวพุทธลังกาใส่ชุดขาว พาลูกหลานไปเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกคนต่างแต่งกายด้วย
ชุดขาว เป็นภาพประทับใจที่หาดูได้ยากในประเทศอื่น คณะแสวงบุญต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความประทับใจที่
ได้เห็นภาพเด็กๆ ตั้งแต่เล็กจนโตมาศึกษาพระพุทธศาสนา มีครูทั้ งพระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสอนในวิชาต่างๆ
ที่เด็กๆ ควรรู้ ผู้เขียนเดินดู ไปตามห้องเรียนต่างๆ แต่ก็ไม่กล้าเข้าไปทักทายอะไรมากมายเนื่องจากยังอยู่ในชั่วโมง
เรียนของเด็กๆ แต่ก็เห็นถึงความตั้งใจเรียนของพวกเรา
                                                                  ผู้เขียนบวชเรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จนถึง
                                                          ปัจจุบัน อายุ ๓๓ ปี ยังไม่เคย เห็น นักเรียน
                                                          พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มากมายอย่างนี้ ถามพระภิกษุ
                                                          ชาวศรีลังกาที่นําคณะเราไปเยี่ยมชมวัด ท่านกล่าวว่า มี
                                                          นักเรียนประมาณ ๕,๐๐๐ คน ฟังแล้วได้แต่นึก
                                                          อนุโมทนาและเกิดแรงบันดาลใจว่าบ้านเราน่าจะเอาเป็น
                                                          แบบอย่าง วัดหลายวัดในเมืองไทย และมหาจุ ฬาลงกรณ
                                                          ราชวิทยาลัยก็จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
มากว่า ๕๐ ปี เหมือนกัน ถ้าผู้เขียนจําไม่ผิดก็ได้ไอเดียมาจากประเทศศรีลังกานี้
        เคยสังเกตชาวพุทธจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางไปไหว้พระในประเทศอินเดีย ผู้เขียนมีความประทับใจชาว
พุทธลังกาเป็นพิเศษ ในความมีระ เบียบวินัย เช่น การแต่งกายด้วยชุดขาวเหมือนกัน หมด การเข้าแถวเป็นระเบียบ
เรียบร้อย การเปล่งวาจาสาธุการพร้อมกัน และการสวดมนต์ เป็นต้น การ ปฏิบัติ ได้เช่นนี้ แสดงว่า ได้รับการฝึกฝน
อบรมมาอย่างดีจนกลายเป็นอุปนิสัย เห็นภาพอันประทับใจแล้วก็ได้แต่นึกถึงพุทธพจน์ที่ “ทันโต เสฎโฐ มะนุสเสสุ
ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เป็นผู้ประเสริฐ ” แต่การฝึกมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ทําได้ยากที่สุด โดยเฉพาะตัวเรา
แต่ถ้าใครฝึกได้ก็เป็นยอดมนุษย์อย่างเช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู มหาตมะ คานธี มาติน ลูเธ่อร์ คิงส์ และมหาบุรุษอีก
หลายท่านบนโลกใบนี้
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   15


       มีสุภาษิตจีนเกี่ยวกับการฝึกกาย ฝึกจิตว่า
              "จงระวังความคิด                เพราะความคิดจะกลายเป็นความประพฤติ
       จงระวังความประพฤติ                    เพราะความประพฤติจะกลายเป็นความเคยชิน
       จงระวังความเคยชิน                     เพราะความเคยชินจะกลายเป็นนิสัย
       จงระวังนิสัย                          เพราะนิสัยจะกลายเป็นสันดาน
       จงระวังสันดาน                         เพราะสันดานจะกาหนดชะตากรรมตลอดชีวิต"


- ส.ที่ ๖ คือ สมาธิ หรือพระพุทธรูปปางสมาธิ นิยมสร้างในศรีลังกา
         นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาเตือนสติไว้ว่า "ไหว้พระพุทธ ระวังอย่า
สะดุดเอาทองคา ไหว้พระธรรม ระวังอย่าขยาคัมภีร์ใบลานเปล่า ไหว้พระสงฆ์
ระวัง ไปหลงลูกชาวบ้าน " เป็นสิ่งที่เราควรระวังอย่างยิ่งในการปรับความคิด
ของเราให้เป็นสัมมาทิฎฐิ คือ มองทุกอย่างด้วยความเข้าใจ พระพุทธรูปถือว่า
เป็นสื่อในการดึง คนให้ เข้าถึง สัจจธรรม เป็นเจดีย์อย่างหนึ่ง ที่ควรเคารพบูชา
เรียกว่า อุทเทสิกเจดีย์ คือ สร้าง อุทิศ เจาะจงพระพุท ธเจ้า หรือจะบอกว่า เป็น
เสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ก็ไม่ผิด             ชาวพุทธไทยให้ความเคารพ
พระพุทธรูปมากและนิยมสร้างถวายวัดต่างๆ พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็น
ปางที่ชาวไทยนิยมสร้างไว้บูชาสักการะ เพราะมีความเชื่อว่า สามารถเอาชนะ
ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้
         ในประเทศศรีลังกา ผู้เขียนเห็นชาวพุทธลังกานิยมสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ, ปางไสยาสน์, ปางรําพึง และ
ปางแสดงสัจธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ ไม่ทราบว่ามีเหตุผลประการใดจึ งนิยมสร้าง
พระพุทธรูปปางนี้ แต่ผู้เขียนสรุปเองในใจว่า คนศรีลังกาคงต้องการ สื่อหรือสอนประชาชน ว่า ควรมีสมาธิ หรือ
ตั้งใจทําสิ่งต่างๆในชีวิต เพราะสมาธิหรือความตั้งใจมั่นนั้นมีความสําคัญอย่างมากในการดําเนินชีวิตประจําวัน ถ้า
นั้นคือวัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ถือว่าเป็นกุสโลบายที่ชาญฉลาดมาก เพราะไปที่ไหนจะเห็นแต่
พระพุทธรูปปางนี้ บางเมืองสร้างไว้บนยอ ดเขาสูงเด่นเห็นสง่า มองเห็นพระพุทธรูปปางสมาธิทีไรเหมือน
พระพุทธเจ้าเตือนสติว่า จงมีสมาธิเดี๋ยวนี้
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   16


      สมาธิ (Meditation) แปลว่า ความตั้งมั่นสม่ําเสมอ คือ จิตใจที่ตั้งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทุกศาสนามีการ
ทําสมาธิ แต่สมาธิในพระพุทธศาสนาแตกต่างจาก สมาธิในศาสนาอื่ น เพราะสมาธิในพุทธศาสนา เรียกว่า
สัมมาสมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ ถูกต้อง หรือสมาธิชอบ หมายถึง การทําสมาธิที่ทําจนได้ฌาน เพื่อเอาเป็นบาท
ฐานในการเจริญปัญญา เพื่อใช้เป็นดาบประหัตประหารกับกิเลสตัณหา ต่อไป คุณลักษณะของสัมมาสมาธิ คือ
สะมาหิโต ปะริสุทโธ และกัมมะนีโย คือ
     - สะมาหิโต แปลว่า ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สัดส่ายไปนั้นมานี้เหมือนลิง เปรียบเช่นน้ําตกที่ไหลลงจากภูเขา
และไหลไ ปทางเดียวกัน มีพลังมหาศาล สามารถจะพัดพาเอาสิ่งต่างๆ ที่ขวางหน้าไปได้ จนถึงสามารถผลิต
กระแสไฟฟ้าได้ด้วย จิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ย่อมมีพลังในการ ทํากิจต่างๆ ในชีวิตประจําวัน เช่น อ่านหนังสือก็จําได้
ง่าย
       - ปะริสุทโธ แปลว่า บริสุทธิ์ คือ จิตที่ปราศจากอารมณ์ขุ่นหมัว เช่น โลภ โกรธ หลงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นกับ
น้ําในหนองที่ตะกอนนอนก้นแล้ว สามารถมองเห็นกุ้ง หอย ปู ปลา จิตที่บริสุทธิ์ย่อมมองเห็นอารมณ์ต่างๆ ที่ ผ่าน
เข้ามาได้อย่างชัดเจน
         - กัมมะนีโย แปลว่า ควรแก่การงาน เหมาะสําหรับใช้งาน คือ ควรแก่การทํางานทางด้านปัญญา โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจิตที่เป็นสัมมาสมาธิจะ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล งานที่ออกมาจึงละเอียด
ประณีต และไม่บกพร่อง
       พระพุทธรูปอีกปางหนึ่งที่เห็นทั่วไปในศรีลังกา คือ
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ สําหรับผู้เขียน เมื่อเห็นพระพุทธรูปปางนี้
แล้ว ได้ข้อคิดว่า ควรพักผ่อนบ้าง ไม่ใช่ทํางานจนไม่ได้พักผ่อน
หรือพักผ่อนจนไม่ได้ทํางาน สรุปแล้วทุกคนก็ต้องจัดสรรปันส่วน
เวลาในการใช้ชีวิตให้ลงตัว เหมาะสมกับแต่ละคนไป เพราะเราต่าง
ได้เวลามา ๒๔ ชั่วโมงเท่ากันหมด
        โดยส่วนตัว เวลาที่กราบไหว้พระพุทธรูปครั้งใด ก็เหมือน
ท่านเตือนสติเราอยู่ตลอดเวลา เช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ เตือนให้เรามีสมาธิหรือตั้งใจกับสิ่งที่ทํา , พระพุทธรูป
ปางไสยาสน์เตือนให้เราจัดสรรเวลาพักผ่อนให้ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย , สําหรับคนไทยที่นิยมสร้าง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย นั้นคือการเตือนสติให้เราเอาชนะมารหรือจัดการกับสิ่งไม่ดี ในใจของเราให้ได้ เสียก่อน นี้
แหละคือคัมภีรธรรมที่แฝงอยู่ในพระพุทธรูปที่เรากราบไหว้
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   17


       บางคนยังถามต่อไปอีกว่า ทําไมหัวแหลม , หูยาว, หน้ายิ้ม , และตามองต่ํา สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปริศนาธรรมที่
ปราชญ์ท่านต้องการสอนเรา หัวแหลม คือ ให้ใช้เหตุผล ใช้ปัญญาในการดําเนินชีวิต , หูยาว คือ ให้เป็นคนหนัก
แน่น ตรวจสอบก่อน ไม่หูเบาเชื่อง่าย, หน้ายิ้ม หมายถึง ให้เป็นคนยิ้มแย่มแจ่มใส หรือมีจิตใจสดชื่นแจ่ มใส และอีก
ประการหนึ่งที่สําคัญว่า ทําไมตามองต่ํา คือ ให้ดูตัว เอง อ่านตัวเองให้มากๆ อย่างที่เขาว่า “ดูตัวเองให้ออก บอก
ตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น”
- ส.ที่ ๗ คือ สรณังกร หรือสามเณรสรณังกร
        ธรรมดาของสรรพสิ่ง ในโลกนี้ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไป บางคราวเจริ ญขึ้น บางคราวก็เสื่อมลง
พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็ไม่สามารถหลีกพ้นกฏธรรมดาข้อนี้ไปได้ บางสมัยเจริญรุ่งเรือง บางสมัยก็เสื่อมโทรม
ลงไป แต่พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็ไม่สิ้นคนดีที่เกิดมาช่วยกอบกู้ พระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้น อีก
บุคคลที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาในประวัติศาสตร์การฟื้นฟู ศาสนา คือ สามเณรสรณังกร ชีวประวัติ ของท่านเป็นชีวิตที่
น่าศึกษาเรียนรู้ อย่างยิ่ง โดยเฉพาะพระภิกษุที่ทําหน้าที่เป็นพระธรรมทูตเผยแผ่พระศาสนา เพราะบุคคลท่านนี้เกิด
มาเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ผู้เขียนขอนําประวัติและผลงานการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกามาเล่าสู่
กันฟังโดยย่อ ดังต่อไปนี้
      เด็กชายสรณังกร เกิดวันอาทิตย์ ปีเถาะ พ .ศ.๒๒๔๒ ณ หมู่บ้านชื่อ แวลิวิฎะ (Valivita) แขวงเมืองตุมปะเน
(Tumpane) ท่านเกิดในตระกูลกุลตุงคะ ซึ่งเป็นตระกูลชั้นสูงชั้นอํามาตย์ เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นนั้น
       ท่านสรณังกรมีความสนใจในทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย กอร์ปทั้งมีความเลื่อมใสศรัทธาใน
พระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ประสงค์ที่จะออกบวชตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่
บิดามารดาไม่ยอมอนุญาต แต่ท่านก็ไม่ลดละ ความตั้งใจจริงในการออก
บวช แสดงความมุ่งมั่นจนบิดามาร ดายอมอนุญาตให้บวชเมื่อท่านอายุ ๑๖
ปี โดยได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรจากพระสุริยโกทเถระ
       เมื่อบวชแล้ วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทั้ง ภาค ปริยัติและ
ภาคปฏิบัติ โดยได้ ออกแสวงหาอาจารย์เพื่อ ศึกษาภาษาบาลี และธรรมะ
ท่านเป็นคนมีความวิริยะอุตสาหะสนใจในการศึกษาจึงทําให้ ไม่ช้านานก็
แตกฉานในภาษาสิงหล บาลี และสันสกฤต
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   18


        เมื่อมีความรู้พอ เอาตัวรอดแล้ว สามเณรสรณังกรพร้อมคณะสีลวัตรที่ท่านตั้งขึ้นกับศิษย์ จาริกไปตามคาม
นิคมน้อยใหญ่เพื่อสั่งสอนประชาชนให้เข้าใจธรรมะ และฟื้นฟูการบิณฑบาตซึ่งหายไปจากประเทศศรีลังกา ด้วย
ข้อวัตรปฏิบัติและ การเทศนาที่สามารถนําไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวัน ทําให้ประชาชนให้ความสนใจและ
เลื่อมใส แต่เป็นธรรมดาของการทํางานย่อมมีปัญหาอุปสรรค เมื่อท่านมีคนเลื่อมใสมากขึ้น จึงทําให้พระภิกษุคณะ
เดิมไม่พอใจจนเกิดเป็นความกันขึ้นถึงโรงศาล และคณะสามเณรสรณังกรเป็นฝ่ายแพ้
       ต่อมามีพระฮินดูรูปหนึ่งเดินทางมาจากประเทศอินเ ดีย เพื่อเที่ยวชมเมืองอนุราธ ปุระ พระเจ้านเรนทรสิงห์
ทรงทราบจึงรับสั่งให้นิมนต์พระฮินดูรูปนั้นเข้าไปในพระราชวัง เพราะทรง ปรารถนา จะทราบความเป็นไปของ
พระพุทธศาสนาในอินเดีย แต่พระฮินดูรูปนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระพุท ธศาสนาเลย จึงมีพระราชประสงค์จะให้
พระลังกาแสดงความสามารถให้นักบวชต่างชาติได้เห็น ทรงอาราธนาให้คัดเลือกพระนักเทศน์มาแสดงธรรมใน
พระราชวัง แต่ไม่มีใครสามารถแสดงธรรมให้นักบวชต่างศาสนาฟังได้ จนทําให้พระเจ้านเรนทรสิงห์ทรงกลุ้ม
พระทัย อํามาตย์ท่านหนึ่งจึงกราบทูลเสนอว่า มีสามเณรสรณังกรสามารถแสดงธรรมได้ เพราะเป็นผู้แตกฉานใน
ธรรมะ พระเจ้านเรนทรสิงห์จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปนิมนต์มาเทศน์ สามเณรรับนิม นต์และเดินทางลงมาเทศน์ ด้วย
ความสามารถที่ฝึกฝนมา สามเณรกล่าวคาถาภาษาบาลี และอธิบายเป็นภาษาสิงหล พร้อมทั้งแปลให้นักบวชฮินดู
ฟังเป็นภาษาสันสกฤษ คนที่มาประชุมสโมสรในวันนั้นต่างทึ่งในอัจฉริยภาพข้อนี้
      นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สามเณรสรณังกรจึงเป็นที่ยอมรับ นับถือของบุคคลทั่วไป พระเจ้านเรนทรสิงห์ เองก็
ทรงศรัทธาในสามเณรเป็นอย่างมาก การดําเนินงานเผยแผ่ พระศาสนา จึงสามารถขยายขอบข่ายออกไปได้กว้าง
เพราะมีเพื่อนร่วมงานคอยช่วยเหลือ ท่านได้ร่างกฎระเบียบของคณะสีลวัตร ว่าด้วยการนุ่งห่ม การทําวัตรสวดมนต์
และการบิณฑบาต เป็นต้น ในเวลาที่ว่างท่านก็แต่งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เช่น สารัตถะสังคหะ มหาโพธิวังสะ
ฯลฯ
       เมื่อทําการเผยแผ่พระศาสนาไปได้ระยะหนึ่ง สามเณรสรณังกรก็มี
ความคิดว่า การจะประดิษฐานพระศาสนาให้เป็นปึ กแผ่น มั่นคงนั้น ต้องมีการ
อุปสมบทเป็นพระภิกษุของชาวลังกาเอง จึงทูลขอความช่วยเหลือให้พระเจ้า
แผ่นดินช่วยเป็นธุระในเรื่องแสวงหาพระภิกษุมาอุปสมบทให้สามเณรและชาว
ลังกา พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ทรงเป็นธุระในการส่งราชทูตไปสืบหา
พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทในประเทศต่างๆ             แต่การอุปสมบทพิธีก็มา
บรรลุผลสําเร็จในรัชกาลของพระเจ้ากิตติศิริราชสิงห์ทรงส่งราชทูต ให้เดินทาง
ไปขอให้คณะสงฆ์จากสยามประเทศ มาช่วยฟื้นฟูการพระศาสนา ในสมัยกรุง
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   19


ศรีอยุธยา โดยพระเจ้าบรมโกศทรงส่งคณะพระธรรมทูตไทยชุดแรกโดยการนําของพระอุบาลีมหาเถระ มีพระภิกษุ
๑๘ รูป สามเณร ๘ รูป ไปให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวลังกาเป็นพระภิกษุสงฆ์ ถึง ๗๐๐ รูป เป็นสามเณร
๓,๐๐๐ รูป และสามเณรสรณังกรก็ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และต่อมาท่านได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นสมเด็จ
พระสังฆราชสรณังกร สังฆราชรูปแรก และรูปสุดท้ายของศรีลังกา
       สมเด็จพระสังฆราชสรณังกรทรงทํางานเผยแผ่พระศาสนาจนมีพระชนมายุได้ ๘๑ พรรษา เป็นธรรมดาของ
สังขารร่างกาย พระองค์ทรงพระประชวร ในขณะที่ประชวรมีพระประสงค์จะสดับพระธรรมเทศนา คณะลูกศิษย์
ได้นิมนต์ให้พระมาเทศน์ ขณะกําลังสดับพระธรรมเทศนาอยู่นั้น พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยอาการสงบ พระเจ้า
แผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดให้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ พร้อมทั้งรับสั่งให้สร้างเจดีย์สําหรับ
บรรจุพระอัฐิธาตุซึ่งต่อมาเรียกว่า สรณังกรเจดีย์
       สมเด็จพระสังฆราชสรณังกร จึงถือว่า เป็นแบบอย่างของการทํางานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง การ
ทํางานของท่านมีปัญหาอุปสรรคมากมาย บางครั้งถึงกับต้องขึ้นโรงศาล บางครั้งถูกลอบฆ่าจากคนต่างศาสนา แต่
ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ท่านเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ยึดหลักที่พระพุทธเจ้าทรงทําไว้
เป็นแบบอย่างที่ว่า ทรงเอาชนะทุกอย่างด้วยความดี จึงทําให้พระพุทธศาสนาในศรีลังกากลับมาเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง
         ถ้าผู้อ่านอยากศึกษา เรื่องราวชีวประวัติ โดยละเอียด ของสามเณรสรณังกร สามารถหาอ่านได้จาก หนังสือ
ประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ ในลังกาทวีป ของกรมพระยาดํารงราชานุภาพ , พระพุทธศาสนาในศรีลังกา ของ ชู
ศักดิ์ ทิพย์เกษร และหนังสือสยามวงศ์ในลังกา ของสยาม แสนขัติ เป็นต้น
- ส.ที่ ๘ คือ สยามวงศ์นิกาย
       ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเส มือนผ้าขาวที่ไม่มีรอยด่างดํา เกี่ยวกับ การรบราฆ่าฟัน แต่พระพุทธศาสนา
กลับเป็น ศาสนทูตที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศต่างๆ ในแทบเอเชีย ได้เป็นอย่างดี เมื่อเดินทางไปประเทศ
แห่งใดไม่ว่าจะเป็นพม่า กัมพูชา ลาว ศรีลังกา และอินเดีย ทําให้เกิดความปลาบปลื้มใจว่า เราในฐานะชาวพุทธมี
ความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมไม่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมพันธไมตรีทางพระพุทธศาสนาระหว่าง
ไทยกับศรีลังกาเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้น ในสมัยสุโขทัย ประเทศไทยเป็นฝ่ายรับความช่วยเหลือด้านพระศาสนาจาก
ลังกา แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยได้นําพระพุทธศาสนากลับไปมอบให้ศรีลังกาดังเดิม
     มีอยู่บางสมัยที่พ ระพุทธศาสนา ในศรีลังกาซบเทราลงไป เพราะถูก ปัญหาทั้งภายนอกทั้งภายในรุมเร้า จน
แทบจะเอาตัวไม่รอด ในสมัยนั้นประเทศศรีลังกาได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศไทยทางด้านการพระศาสนา
ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา   20


ประเทศไทยได้ส่งพระอุบาลีพร้อมทั้งคณะไปฟื้นฟูพระศาสนาที่ลังกา โดยเดินทางไป ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่
สามเณรสรณังกรและชาวลังกาเป็นจํานวนมาก จนทําให้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ขึ้นและดํารงอยู่จนถึงปัจจุบัน
                                 พระอุบาลีมหาเถระพร้อมทั้งคณะถือว่าเป็นพระธรรมทูตชุดแรก (ถ้าเป็นสมัยนี้ก็
                         เป็นสิ้นค้าOTOP ชั้นเยี่ยม)ที่ไทยส่งออกไปประกาศพระศาสนาในต่างแดน ท่านและคณะ
                         ไม่เพียงแต่ให้การอุปสมบทกุลบุตรชาวสิงหลเท่านั้น แต่ท่านยังได้ฟื้นฟูวินัยนิยมพระบรม
                         พุทธานุญาตให้แก่พระสงฆ์ลังกา ที่ท่านอุปสมบท ให้ ได้เห็นเป็นแบบอย่าง เช่น การ
                         อธิษฐานเข้าพรรษา การปวารณาออกพรรษา การทอดถวายกฐิน อุปสมบทวิธี การแสดง
                         อาบัติ การถวายสังฆทาน การสวดมนต์ การแสดงอาบัติ และอื่นๆ เรียกได้ว่า ท่านเป็น
                         แป้นพิมพ์หรือต้นแบบที่ดีในการประพฤติปฏิบัติ ดังมีกลอนนิรนามว่า
                        การสั่งสอน คนทั้งหลาย ให้มีธรรม
             พูดให้จํา               ทําให้ดู       อยู่ให้เห็น
             การทําดี                ให้เขาดู       นี้จําเป็น
             อยู่ให้เห็น             ว่ามีสุข       ทุกเวลา
                        เพียงการพูด ให้เขาจํา       แต่ทําทราม
             พูดร้อยคํา              มันตกต่ํา      แล้วไร้ค่า
             ทําให้ดู                เพียงครั้งเดียว มีราคา
             จงอุตส่าห์              ทําให้ดู       อยู่ให้เห็น
        พระอุบาลีมหาเถระทํางานเผยแผ่พระศาสนาในลังกาอยู่ไม่กี่ปีก็ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ เมื่อพ .ศ.
๒๒๙๙ กษัตริย์ลังกาโปรดให้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านอย่างสมเกียรติ กล่าวได้ว่า ท่านตายในระหว่าง
ปฏิบัติหน้าที่ ถ้าเป็นทหารก็ต้องมีธงชาติคลุมโลงศพ
     กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทรงส่งคณะพระอุบาลีไปให้กุลบุตรชาวลังกา
บรรพชาอุปสมบท พร้อมทั้งอบรมด้านวินัยบัญญัติก่อน หลังจากนั้นพระองค์ก็ส่งคณะพระธรรมทูตชุดที่ ๒ มีพระ
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชChoengchai Rattanachai
 
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชChoengchai Rattanachai
 
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)Choengchai Rattanachai
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถChoengchai Rattanachai
 
พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1wanpenrd
 
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1page
ใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1pageใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1page
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4page
ใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4pageใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4page
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
9789740333685
97897403336859789740333685
9789740333685CUPress
 
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4pageทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนChoengchai Rattanachai
 
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิวิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิdektupluang
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชChoengchai Rattanachai
 
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1krunoree.wordpress.com
 
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1pageทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1pagePrachoom Rangkasikorn
 

Mais procurados (16)

เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1
 
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1page
ใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1pageใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1page
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-1page
 
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4page
ใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4pageใบความรู้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4page
ใบความรู้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ป.3+450+dltvsocp3+54soc p03f 29-4page
 
9789740333685
97897403336859789740333685
9789740333685
 
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4pageทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
 
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
 
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิวิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
 
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1pageทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
 

Semelhante a ลังกากถา โดย ปิยเมธี

ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกาลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกาWat Pasantidhamma
 
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมsupreedada
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์sangworn
 
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทยการนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทยRung Kru
 
พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1wanpenrd
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์Ning Rommanee
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์Ning Rommanee
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์Ning Rommanee
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์A'mp Minoz
 
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าพระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Semelhante a ลังกากถา โดย ปิยเมธี (20)

คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)
คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)
คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)
 
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกาลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
 
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทยการนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
 
Aksorn 3
Aksorn 3Aksorn 3
Aksorn 3
 
พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
Ppt16 (1)
Ppt16 (1)Ppt16 (1)
Ppt16 (1)
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
 
มิลินทปัญหา
มิลินทปัญหามิลินทปัญหา
มิลินทปัญหา
 
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าพระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
พระราชประวัติของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า
 
Aksorn 2
Aksorn 2Aksorn 2
Aksorn 2
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 

Mais de หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง

ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารีท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารีหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกาหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกาหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
รายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
รายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
รายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามรายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณกำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์
หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์
หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 

Mais de หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง (20)

ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารีท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
 
นิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรติ
นิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรตินิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรติ
นิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรติ
 
Buddhajayanti2,600
Buddhajayanti2,600Buddhajayanti2,600
Buddhajayanti2,600
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
 
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
 
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
 
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
 
รายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
รายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
รายงานการประชุมกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามรายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
 
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณกำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
 
หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์
หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์
หนังสือพิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์
 
ที่ สทส.024 2554(ประชุมวิสามัญ๕๔)
ที่ สทส.024 2554(ประชุมวิสามัญ๕๔)ที่ สทส.024 2554(ประชุมวิสามัญ๕๔)
ที่ สทส.024 2554(ประชุมวิสามัญ๕๔)
 
จดหมายแจ้งข่าวจัดงานวันมหารำลึก
จดหมายแจ้งข่าวจัดงานวันมหารำลึกจดหมายแจ้งข่าวจัดงานวันมหารำลึก
จดหมายแจ้งข่าวจัดงานวันมหารำลึก
 
บริจาคสวดพระอภิธรรมพระเทพโพธิวิเทศ
บริจาคสวดพระอภิธรรมพระเทพโพธิวิเทศบริจาคสวดพระอภิธรรมพระเทพโพธิวิเทศ
บริจาคสวดพระอภิธรรมพระเทพโพธิวิเทศ
 
การประชุมที่เคปทาวน์1999
การประชุมที่เคปทาวน์1999การประชุมที่เคปทาวน์1999
การประชุมที่เคปทาวน์1999
 
อินเดียแดนมหัศจรรย์
อินเดียแดนมหัศจรรย์อินเดียแดนมหัศจรรย์
อินเดียแดนมหัศจรรย์
 
ปริวาสกรรม ของ สมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๒๕๕๔
ปริวาสกรรม ของ สมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๒๕๕๔ปริวาสกรรม ของ สมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๒๕๕๔
ปริวาสกรรม ของ สมัชชาสงฆ์ไทยฯ ๒๕๕๔
 
คำแสดงตนเป็นพุทธมามกะ(วัดพุทธานุสรณ์)
คำแสดงตนเป็นพุทธมามกะ(วัดพุทธานุสรณ์)คำแสดงตนเป็นพุทธมามกะ(วัดพุทธานุสรณ์)
คำแสดงตนเป็นพุทธมามกะ(วัดพุทธานุสรณ์)
 

ลังกากถา โดย ปิยเมธี

  • 1. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 1 ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิด ของดีศรีลังกา
  • 2. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 2 ที่ปรึกษา : พระเทพโพธิวิเทศ พระเทพกิตติโสภณ พระเทพกิตติโมลี พระวิเทศธรรมรังษี พระสุนทรพุทธิวิเทศ พระวิเทศธรรมกวี พระครูวิสิฐธรรมรส พระครูวินัยธรดร.สมุทร ถาวรธมฺโม พระครูสังฆรักษ์อําพล สุธีโร พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี พระมหาอุดม ปภงฺกโร พระอาจารย์น้าว นนฺทิโย พระมหาเอกชัย สญฺญโต พระมหามนตรี คุตฺตธมฺโม พระวิญญู สิรญาโณ ดร.อมร แสงมณี ดร.เสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี ภาพโดย : พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี พระมหาทํานอง แสงชมพู พระมหาอเนก อเนกาสี พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ พิสูจน์อักษร : พระมหาสัญชัย ชยสิทฺธิโก ป.ธ.๙ พระมหาสินชัย สิริธมฺโม ป.ธ.๗ พระบัญชาสิทธิ์ ชุตินฺธโร ปก/รูปเล่ม : นิรันดร รันระนา
  • 3. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 3 คานา “เกาะลังกานี้เป็นของพระพุทธเจ้าเอง เป็นเสมือนคลังเต็มไปด้วยแก้ว ๓ ประการ ดังนั้น ความเป็นอยู่ของ พวกมิจฉาทิฐิจะไม่ถาวรไปได้เลย เหมือนการอยู่ของพวกยักษ์ในสมัยโบราณไม่ถาวร ฉะนั้น ” หนังสือปูชาวลี ผู้เขียนมีความประทับใจในผู้คนและประเทศศรีลังกามากจากการได้พบปะพูดคุยในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และสหรัฐอเมริกา ชาวศรีลังกามี ความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีอัธยาศัยดียิ้มแย้มแจ่มใส ประกอบกับเคยศึกษาประวัติของท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ผู้อุทิศชีวิตเพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสน า ความ ประทับใจจึงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ เหตุนี้จึงปรารภอยู่ในใจว่า ถ้าเวลาและโอกาสอํานวยจะเดินทางไปศรีลังกา ปีพ.ศ.๒๕๕๔ มีการจัดประชุมสัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศทั่วโลก ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล พระ ธรรมทูตสายต่างประเทศจากทวีปต่างๆ เดินทางมาร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “มีพระคุณเจ้าและญาติธรรมอยากจะไปนมัสการพุทธสถาน ในศรีลังกา และท่านจะนําคณะไปนมัสการพุทธสถานในลังกา มีความสนใจอยากไปด้วยไหม ” เนื่องจากจะต้อง เดินทางกลับประเทศไทยในระยะเวลานั้นอยู่แล้ว ผู้เขียนจึงตอบตกลงอย่างไม่ลังเลสงสัย เมื่อเดินทางไปศรีลังกาได้สัมผัสบรรยากาศ สถานที่ และผู้คน ยิ่งเพิ่มคว ามประทับใจ ได้ข้อคิด และ มองเห็นของดีที่ชาวศรีลังกามี คิดว่าน่าจะนําสิ่งที่ได้พบจากประสบการณ์ตรงและการศึกษาของตนเอง มา แลกเปลี่ยนกันบ้าง เพื่อเป็นคติข้อคิดให้ท่านทั้งหลายที่มีความสนใจในประเทศแห่งนี้ได้ เรียนรู้ร่วมกัน ผู้เขียน ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ บุคคล สถานที่ และประเทศ เพราะมีผู้รอบรู้หลายท่านเขียนไว้ แล้ว ซึ่งหาอ่านได้ทั่วไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผู้อ่านจะได้ข้อคิด คติเตือนใจเสมือนลังกาเป็นบทเรียนเล่ม ใหญ่ให้เราสามารถนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้ในฐานะพุทธศาสนิกชนเช่นเดียวกัน ด้วยความปรารถนาดี ปิยเมธี
  • 4. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 4 เกริ่นนา ขอกล่าวคําทักทายที่ชาวสิงหลพูดเวลาพบกันว่า อายุบวร แปลว่า ขอให้อายุยืนยาว ก่อนจะกล่าวถึงข้อคิด และของดีศรีลังกา อยากจะ นําประวัติและความเป็นมาของดินแดนของคนฝ่ามือแดงมาเล่าสู่กันฟังให้ทราบพอ สังเขปว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทําไม ทําไม ? ถึงเรียกประเทศแห่งนี้ว่า ศรีลังกา ใครเป็นบรรพบุรุษของชาวสิงหล ? ตลอดถึงข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับชาวศรีลังกา ฉะนั้น เราอย่ามัวเสียเวลาอยู่เลย ไปศึกษาด้วยกันเลย ดีกว่า ประเทศหลากนาม สมัยเป็นนักเรียนภาษาบาลีศึกษาวิธีแต่งฉันท์เห็นคําว่า ประเทศซีลอน ถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก เพราะไม่รู้ว่า เป็นประเทศอะไร อยู่ที่ไหน พอรู้ตอนหลังว่า ศรีลังกา กับ ซีลอน เป็นประเทศเดียวกันจึงถึงบางอ้ อ ชาวพุทธที่ ศึกษาพระพุทธศาสนาคงเคยได้ยินคําว่า นิกายลังกาวงศ์ คือพร ะพุทธศาสนาที่ไทยรับเอาจากศรีลังกาในสมัย สุโขทัย มาดูกันว่าศรีลังกามีกี่นาม ชาวไทยส่วนมากเรียกประเทศนี้ว่า “ ลังกา” แปลว่า เกาะ ส่วนนักศึกษาภาษาบาลี และตัวผู้เขียนเองรู้จักใน นาม “ ตัมพะปัณณิทวีป” แปลว่า เกาะของคนมีฝ่ามือแดง ก็ยังมีชื่ออื่นอีกที่เรียกกัน เช่น “ลังกาทวีป” และ “สิงหล ทวีป” ส่วนชาวยุโรปเรียกว่า ซีลอน (CEYLON) ผู้รู้กล่าวว่า น่าจะมาจากคําว่า ซีแลนด์ (Sea Land) ดินแดนที่ ล้อมรอบไปด้วยทะเล แต่เรียกไปเรียกมากลายเป็น ซีลอน (Ceylon) นับๆ ดูชื่อก็มีมากโข แถมในตํานานยังกล่าวไว้ อีกว่า ในพระพุทธเจ้าแต่ละสมัยก็ชื่อไม่เหมือนกัน เช่น - สมัยพระกกุสันโธพุทธเจ้า เรียกว่า โอชทีปะ หรือ โอชทวีป - สมัยพระโกนาคมพุทธเจ้า เรียกว่า วรทีปะ หรือ วรทวีป - สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า เรียกว่า มัณฑทีปะ หรือ มัณฑทวีป สรุปแล้ว แต่โบราณเรียก ลังกา สมัยอังกฤษปกครอง เรียก ซีลอน เมื่อได้รับเอกราชแล้ว จึง
  • 5. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 5 ใช้ชื่อเดิมแล้วเติมคําว่า ศรี ไปข้างหน้าเป็นศรีลังกา แปลว่า เกาะที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง บรรพบุรุษของชาวสิงหล ถ้าใครเคยไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)ในพระบรมมหาราชวัง มีโอกาสเดินชมผนังกําแพง รอบในวัดจะเห็นภาพวาดมหากาพย์รามเกียรติ์เรื่องราวการสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ จะเห็นภาพหนุมานฆ่า ท้าวทศกัณฐ์ เผากรุงลงกา ซึ่งกรุงนี้คนส่วนมากลงความเห็นว่า ศรีลังกา เมื่อนึกถึงเรื่องรามเกียรติ์ครั้งใด ทําให้นึก ถึงกรุงลงกาพระราชวังของทศกัณฐ์ด้วย แต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ใช่ต้นตระกูลของชาวศรีลังกา ในตํานานบอกไว้ว่า บรรพบุรุษของชาวลังกา คือ เจ้าชายวิชัย ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสิงหพาหุ และพระนางสิงหสีวลี แห่งเมืองสิงหบุรี มีพระอนุชา ๑ พระองค์ นามว่า เจ้าชายสุมิตตะ เจ้าชายวิชัยเป็นคนเสเพล ดื้อรั้น พระองค์พร้อมบริวาร ๗๐๐ คน ชอบเบียดเบียนรังแกชาวบ้าน จนทําให้พระราชบิดาอดทนต่อพฤติกรรมไม่ ไหว จึงจั บโกนหัวเสียครึ่งหนึ่งเพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเป็นคนไม่ดี และเนรเทศทั้งหมดลงเรือไปถึงท่าเรือสุปปารกะ (ปัจจุบันคือ โสปาระ เมืองบอมเบย์ ) ไปถึงที่นั้น เจ้าชายพร้อมสมุนก็ไม่ทิ้งนิสัยเดิมยังเที่ยว ก่อความไม่สงบอีก จึง ถูกจับเนรเทศลงเรืออีกรอบจนไปขึ้นที่เกาะลังกา วันที่เจ้าชายวิชัยขึ้นเกาะลังกา ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับ ขันธปรินิพพาน ทั้งมีตํานานเล่าว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสกับท้าวสักกะพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า “โอ ท้าวสักกะ! ธรรมของเราจะประดิษฐานในเกาะลังกา และในวันนี้เอง เจ้าฟ้าชายองค์โตของพระเจ้าสิงหพาหุกษัตริย์ แห่งสิงหบุรีในประเทศลาละ เสด็จขึ้ นฝั่งที่เกาะนั้นพร้อมด้วยราชบริพาร ๗๐๐ คน และจะเสวยราชสมบัติในเกาะ นั้น ดังนั้น ขอพระองค์จงปกปักรักษาเจ้าฟ้าชายนั้นพร้อมทั้งบริวารและทั้งเกาะลังกานั้นด้วยเถิด” หลังจากขึ้นเกาะ แล้ว เจ้าชายวิชัย ได้ปราบชาวพื้นเมือง ตั้งเมืองหลวง สถาปนาพระองค์ เป็นปฐมกษัตริย์ของประเทศศรีลังกา เกริ่นนํามาซะเนิ่นนาน ขอนําท่านทั้งหลาย ดื่มดํากับข้อคิด และ ของดีศรีลังกาได้แล้ว ณ บัดเดี๋ยวนี้ ภาค ๑ ข้อคิด ๘ ส. ของชาวศรีลังกา - ส.ที่ ๑ คือ สังฆมิตตา หรือพระนางสังฆมิตตาเถรี
  • 6. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 6 พระนามของพระนางสังฆมิตตาเถรียังปรากฎเด่นชัดอยู่ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มิใช่เพราะพ ระ นางเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชผู้เกรียงไกร แต่เพราะวีรกรรมที่พระนางนําภิกษุณีสงฆ์และกิ่งพระ ศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานไว้ในศรีลังกานั้นต่างหากเล่า ที่ทําให้พุทธศาสนิกชนจดจําความดีงามอันนั้นอย่างที่เขา ว่า “อยู่เพื่อตนเอง อยู่แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่ชั่วนิรันดร์” หลังจากการทําสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฎลีบุตรเสร็จ แล้ว ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทํา ให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปรึกษากับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ และ ทรงส่งพระธรรมทูต ๙ สายออกไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในทิศานุทิศ รวมถึงทรงส่ง พระมหินทเถระพร้อมคณะเดินทางไปประกาศพระพุทธศาสนาใน เกาะตัมพปัณณิทวีปด้วย พระมหินทเถระเสด็จไปเกาะลังกาพบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะในวันเพ็ญกลางเดือน ๗ ที่ภูเขามิสสกะ (ปัจจุบันเรียกว่า มิหินตะเล)ในขณะที่พระราชาเสด็จออกไปล่าเนื้อ ทรงสนทนาปราศัยทดลองสติปัญญาซึ่งกันและ กันจนเกิดความเลื่อมใสใจศรัทธา จากนั้นพระมหินทเถระก็แสดงธรรมโปรดพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพร้อมทั้งข้า ราชบริพารจนเกิดความศรัทธาในพระรัตนตรัย จนพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้ถวายพระราชอุทยานมหาเมฆวันให้ เป็นที่อยู่ของพระมหาเถระพร้อมคณะ ซึ่งต่อมาอุทยานแห่งนี้กลายเป็นวัด “มหาวิหาร” พระมหินทเถระกล่าวกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะว่า ถ้าอยากให้พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกา อย่างแท้จริง ต้ องให้กุลบุตรในเกาะนี้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในพระศาสนา ซึ่งต่อมาพระราชนั ดดาของพระเจ้าเท วานัมปิยติสสะทรงพระนามว่าอริฎฐและคนอื่นๆ อีก ๕๕ คน ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ในเวลาต่อมาพระนางเจ้าอนุฬา พระราชินีรองและพระสนมกํานัลแสดงความประสงค์จะอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุณีบ้าง เมื่อพระมหินทเถระทราบจึงถวายคําแนะนําให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงส่งราชทูตไปสํานักของ พระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อทูลขอให้พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะเดินทางไปยังเกาะลังกาพร้อมทั้งนํากิ่งพระศรี มหาโพธิ์ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไปปลูกยังลังกาด้วย เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ สักการะบูชา ซึ่งกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ที่พระนางนําไปปลูกยังอยู่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธลังกาจนถึงปัจจุบันนี้ มีอายุกว่า ๒,๓๐๐ ปี ในคัมภีร์อรรถกถาสมันตปาสาทิกากล่าวถึงการเสด็จไปเกาะลังกาของพระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะที่ นํากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกที่เมืองอนุราธปุระ พร้อมทั้งทําการอุปสมบทพระนางอนุฬาและพระสนม เป็น พิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่อลังการน่าเลื่อมใสอันแสดงออกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ คือ พระ เจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมีต่อพระพุทธศาสนา เห็นถึงความเสียสละ อันยิ่งใหญ่ของพระมหิ
  • 7. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 7 นทเถระและพระนางสังฆมิตตาเถรีแล้วควรที่เราอนุชนรุ่นหลังควรเอาเป็นแบบอย่างในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อไป ขอจบส.ที่ ๑ ด้วยกฤษณาสอนน้องคําฉันท์ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ที่ว่า พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สําคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ความดีก็ปรากฎ กิติยศก็ฤาชา ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจรฯ ทุกวันนี้ชาวศรีลังกาจะมีพิธีแห่พระนางสังฆมิตตาเถรี เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่พระนางทําไว้ และ แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อพระนาง - ส.ที่ ๒ คือ สัทธา มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ในพระพุทธศาสนา เมื่อ มีโอกาสเดินทางไป ประเทศ ศรีลังกา ดินแดนพระพุทธศาสนา ๒,๓๐๐ ปี ความประทับใจ แรก หรือเฟิร์ส อิม เพรสชั่น (First Impression) คือ ความ ศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุทธศาสนา และกล้าแสดงออกให้ เห็น (กล้าคิด กล้ า พูด กล้าทําในสิ่งที่ ถูกต้อง ) เป็นต้นว่า พระพุทธรูปปางสมาธิสีขาวที่ประดิษฐาน ไว้ภายในสนามบินแห่งชาติ เมืองโคลัมโบให้คนเดินทางไป-มาได้เคารพกราบไหว้ และสิ่งที่ประทับใจอีกประการ หนึ่ง คือ ภายในสนามบินจะมีร้านหนังสือธรรมะ พร้อมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้ให้คนได้เลือก อ่าน และซื้อหาติดตัวเป็นที่ระลึก
  • 8. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 8 สมัยที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษาอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาประวัติของวีรบุรุษชาวพุทธศรี ลังกา นามว่า อนาคาริกะ ธรรมปาละ ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ (Mahabodhi Society) และเป็นผู้มีส่วนสําคัญในการ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ ที่ชาวพุทธทั่วโลกไม่ควรลืมคุณูปการของท่าน เกิดความเลื่อมใสใจศรัทธา มากในปณิธานการทํางาน ก ารเสียสละอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาของท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ถึงกับตั้งจิต อธิษฐานก่อนท่านมรณภาพว่า “จะขอเกิดอีก ๒๕ ชาติ ในตระกูลพราหมณ์ เพื่อทางานให้พระพุทธศาสนา” แม้ใน ประเทศศรีลังกา เองตามหัวเมืองต่างๆ จะมีรูปปั้นของท่านตามทางสี่แ ยกไว้ให้คนกราบไหว้ ไม่ต่างจาก ประเทศ อินเดียทีปั้นรูปของท่านมหาตมะ คานธี ไว้ให้คนสักการะตามหัวเมืองต่างๆ ่ ก่อนจะเดินทางไป เยือน ศรี ลังกา(เดินทางระหว่างวันที่ ๕ – ๑๒ ก . พ . ๒๕๕๔ ) ไ ด้ศึกษา ประวัติศาสตร์ของประเทศ และ พระพุทธศาสนา ทําให้ทราบว่า ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้าไป ประดิษฐานใน ดินแดนคน มี ฝ่ามือ แดง ซึ่ง พระมหินทเถระ (พระราช โอรสของพระเจ้าอโ ศกมหาราช ) และคณะนํา พระสัทธรรมไปมอบ แด่ชาวสิงหล จนพระพุทธศาสนาเป็นปึ กแผ่นมั่นคง ตั้งแต่บัดนั้น จนถึง บัด นี้ พระพุทธศาสนาในศรีลังกาได้ผ่าน มรสุมจากการรุกราน ด้วยวิธี ต่างๆ ของชา ติตะวันตก (โปรตุเก ส, ฮอลันดา และชาวอังกฤษ )และศาสนาที่ ชาวตะวันตกนํา เข้าไป แต่ด้วยความศรัทธาของชาวสิงหลที่มีต่อพระพุทธศาสนาอย่าง มั่นคง(อจลสัทธา ) ทําให้ สามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ผลงานที่ชาวศรีลังกาแสดงออก ถึงความรักและศรัทธา ต่อพระพุทธศาสนา นั้นมีมากมาย เช่น การ ออกมา ปกป้องเมื่อพระพุทธศาสนา มีภัย คุกคาม หรือถูกลบหลู่ ด้วยชาวต่างชาติ ต่างศาสนา ที่ไม่ เคารพหรือ เข้าใจ ใน วัฒนธรรมประเพณี เช่น การที่ชาวต่างชาติหรือคนไม่มีศาสนาไปนั่งบนบ่าของพระพุทธรูปแล้วถ่ายภาพโฆษณาไป ทั่วโลก เป็นต้น สิ่งหนึงทีผู้เขียนจําได้ดี คือ การที่สหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชา(วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ่ ่ ของพระพุทธเจ้า )เป็น วัน สําคัญของโลก ก็เป็นผลงาน ชิ้นโบว์แดง ของชาวศรีลังกาที่ช่วยกันเรียกร้อง ให้องค์กร
  • 9. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 9 ระดับโลกยอมรับ โดยรัฐบาลศรีลังกาเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ ๕๔ ปีพ.ศ.๒๕๔๒ และเมื่อวั นที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ สหประชาชาติจึงมีมติให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสากลของโลก และที่สําคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ การปฏิบัติต่อพระพุทธรูปเสมือนหนึ่งพระพุทธเจ้า เช่น การกางมุ้งให้พระพุทธรูปยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม และ ระเบียบเรื่องการถ่ายภาพที่ห้ามหันหลังให้พระพุทธรูป เพราะถือว่าไม่ให้ความเคารพ เมื่อ กล่าวถึงศรัทธา ของชาวสิงหล ทําให้นึกถึงอุบาสกธรรม หรือธรรมะของอุบาสกอุบาสิกาที่ควรมี ชาว พุทธคงจํากันได้ ดีถึงคุณสมบัติอันสําคัญ ๕ ข้อ แต่ขอนํามากล่าวไว้ในที่นี้ เพียง ๓ ข้อ คือ - มีสัทธา (ศรัทธา ) คื อ มี ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น เชื่อ ในกฎแห่งกรรม ว่าทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว เชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นต้น - มีศีล คือ มี สติสามารถ ควบคุมความประพฤติทางกาย วาจาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น - ไม่ถื อมงคลตื่นข่าว เป็นกระต่ายตื่นตูม มุ่งหวังผลจากการกระทา และการงาน มิใช่จากโชคลาง และสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น เมื่อเห็นความศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุ ทธศาสนาแล้ว ก็ได้แต่รําพึงกับ ตัวเองว่า เรามีศรัทธาแบบเขา ไหม และสามาร ถจะรักษาพระศาสนาไว้ได้ ไหม ถ้ามีวิกฤติ พระพุทธศาสนา เกิดขึ้น ขออย่าให้ศรัทธาของเราเป็น เช่นศรัทธาหัวเต่าเลย แต่จงเป็นศรัทธาที่เดินเคียงคู่กับปัญญา จะได้นําพาพระศาสนาและประเทศชาติอยู่รอด ปลอดภัย ศรัทธาดี ต้องมี ปัญญาจับ ช่วยกํากับ พร้อมกันไป ไม่ห่างเหิน หากศรัทธา ขาดปัญญา หมดเจริญ
  • 10. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 10 เหมือนเรือเดิน ไร้หางเสือ เพลียหลงทาง - ส.ที่ ๓ คือ สาธุ เสน่ห์ของชาวศรีลังกา มีคําโบราณกล่าวไว้ ว่า เวลาทําบุญขอให้ตั้งจิต อธิษฐานว่า เกิดชาติใด ภพใด ขออย่าให้เกิดเป็น “พระลังกา ม้าอินเดีย เมียฮินดู หมูไทย ไก่จีน ” ทําไมนะเหรอ ? เพราะชาวลังกานั้น ถ้าจะบวชเป็นพระ ต้อง คิดให้รอบคอบ เพราะเมื่อบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ ส่วนม้าอินเดีย เมียฮินดู คนที่เคยไปประเทศอินเดียคงเข้าใจว่า เกิดเป็นม้า อินเดีย และเมียฮินดูมันลําบากแค่ไหน ส่วนหมูไทย และไก่จีนคงทราบกันดีว่า หัวหมู และไก่นั้น เมื่อถึงเทศกาล สําคัญจะถูกเฉียดนําไปเซ่นไหว้เทพเจ้าประจํา เกริ่นมาซะนาน เพื่อจะ พูดถึง เสน่ห์ ที่สําคั ญอีกประการหนึ่งของชาวพุทธลังกา คือคําว่า สาธุ ทําไมถึงเป็น เสน่ห์แค่พูดว่าสาธุ ไม่เห็นจะยากเย็นตรงไหน หลายท่านอาจตั้งคําถามในใจ ไม่เป็นไร เดี๋ยวจะไขข้อข้องใจให้ คลายสงสัย เมื่อผู้เขียนเป็นนัก ศึกษาอยู่เมืองพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศอินเดีย บ่อยครั้ งที่ได้ พบชาวสิงหลเดินทางมานมัสการสังเชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน สิ่งที่ได้ยินประจําคือเสียงสาธุ การที่ชาวลังกาตั้งใจเปล่งออกมาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ตอนเช้าๆ ชาวศรีลังกาใส่ ชุดสีขาวเข้าแถวเดินไปเจดีย์พุทธคยา ต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีพระภิกษุเดินนําหน้า พูดธรรมะให้ฟัง ญาติโยมก็ พร้อมกล่าวคําว่า สาธุ สาธุ สาธุ ฯลฯ ตลอดทาง ในนิทานธรรมบท มีบ่อยครั้งที่พระภิกษุทํา ความดีแล้วพระพุทธเจ้าจะยกย่องสดุดี ด้วยตรัสคําว่า สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว ดีแล้ว เธอทาดีแล้ว คําว่า สาธุ แปลว่า ดีแล้ว เป็นการอนุโมทนากับสิ่งที่คนอื่นทําดี เป็นบุญอย่างหนึ่ง ภาษาพระเรียกว่า ปัตตานุโมทนา มัย บุญสําเร็จด้วยการอนุโมทนายินดีกับ ความดีที่ คน อื่นทํา ฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า อย่าคร้านอนุโมทนาบุญ ทําให้นึกถึงคําพูดของพระเดชพระคุณพระเทพโพธิ วิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา อินเดีย ซึ่งมีคนมาถามความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับการสร้างวัด ไทยในแดนพุทธ ภูมซึ่งมีวัดเกิดขึ้นมากมาย ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ใครทาดี เราอนุโมทนาด้วย” ิ
  • 11. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 11 ในพระไตรปิฎกมีเรื่องเล่าว่า มีชายคนหนึ่งไปฟัง ธรรมจากพระพุทธเจ้า หลังจากฟังแล้ว เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงไปขออนุญาตภรรยาออกบวช ครั้นบวชแล้ว ประเพณีในสมัยนั้นเมื่อภรรยาเป็นหม้าย จะ ถูก ริบเข้าหลวงเป็นสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล วันหนึ่ง นายมาลาการเก็บดอกบัวมาถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ทรงมอบดอกบัวให้กับ พระมเหสี และสนมทุกพระองค์ พร้อมทั้งทรงยื่นดอกบัวให้สนมนางนั้นด้วย เมื่อนางรับดอกบัว แล้ว ยิ้มด้วยความดีใจ แต่เมื่อ รับมาแล้วดมกลับร้องไห้ ทําให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงตรัสถาม พระนางทูลตอบว่า ดีใจที่ได้รับพระราชทานดอกบัว แต่ที่ร้องไห้ เพราะกลิ่น หอมของดอกบัวคล้ายกับกลิ่น ปากของอดีตสามี ซึ่งตอนนี้ท่านบวชเป็นสมณะ ศากยะบุตรอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงสัยว่า จะมีด้วยเหรอ ? คนที่กลิ่นปากหอม คล้ายกลิ่น ดอกบัว ลองไม่เคี้ยวไม้สีฟันสักวันคงเหม็น น่าดู ยิ่งสมัยนี้ถ้าไม่ได้แปรงฟันคงไม่มีใคร กล้าสนทนากับคนอื่น ทรงต้องการที่จะ พิสูจน์ ว่าจริงหรือไม่ จึงให้ข้าราชบริพารไป กราบ นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระรูปนั้นมา ฉันภัตตาหารในพระราชวัง เมื่อฉันภัตตาหาร เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าทรง ทราบความ ประสงค์ของพระราชาจึงเปิดโอกาสให้พระรูปนั้นอนุโมทนา ทันทีที่พระรูปนั้นเปิดปากพูด กลิ่นหอมก็ฟุ้งไปทั่ว พระนคร จนทําให้พระเจ้าปเสนทิโกศลแปลกพระทัย และทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระรูปนี้ในอดีตชาติได้ทํากรรม อันใดไว้ พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยว่า ในอดีตชาติ พระรูปนี้ ไม่ได้ทําอะไรมาก มาย เพียงแต่เวลาที่คนทําความดี จะ กล่าวอนุโมทนาสาธุกับเขา คือ ยินดีกับความดีที่คนอื่นทํา การกล่าว สาธุ กับการทําความดีของคนอื่น นอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้คนทําความดี ตามหลักที่ว่า ปัคคัณเห ปั คคะหาระหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง แล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้จิตใจของผู้กล่าว ไม่ริษยาในเมื่อคนอื่น ทําดีและได้ดีอีกด้วย
  • 12. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 12 - ส.ที่ ๔ คือ สวดมนต์เก่ง “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ” พวกเราได้ยินคําพูดนี้บ่อยๆ คนส่วนมากก็ยังไม่เข้าใจว่ามี ความหมายอย่างไร บางคนอาจจะคิดเลยเถิดไปว่าเป็นเพียงคําคล้องจองที่พระนิยมพูด ในต่างประเทศ มีการวิจัย จากสถาบันชั้นนําหลายแห่ง ทั่วโลกเกี่ยวกับการสวดมนต์ ว่ามี ผลดีต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เพราะในขณะที่ สวดนั้น จิตใจของผู้สวดจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ ไม่วอกแวก วุ่นวาย ทั้งการสวดมนต์ยังเสมือนเป็นการออกกําลัง กายอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย เพราะการเปล่งเสียงสวดอักขระแต่ละตัวนั้น เนื่องจาก อักขระแต่ละตัวมีที่เกิด ไม่เหมือนกัน เช่น ก ไก่ เกิดที่คอ , ป ปลา เกิดที่ริมฝีปาก เป็นต้น จึงเท่ากับ เป็นการ ออกกําลังกายไปในตัวด้วย ในขณะที่สวดนั้น ถ้าจิตเป็นสมาธิคือ ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่กับสิ่งที่สวด จะทําให้จิตใจ สะอาด สว่าง สงบ เมื่อใจสงบไม่ มีสิ่งรบกวน(กิเลส) กายก็พลอยสงบระงับไปด้วย ปราชญ์จึงบอกว่า “ออกกาลังกายต้องเคลื่อนไหว ออกกาลังใจต้อง หยุดนิ่ง” วันที่คณะผู้เขียน เดินทางไป สักการะพระ ธาตุเขี้ยวแก้ว ณ วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว กว่าจะผ่าน ด่านเข้าไปภายในวัดต้องตรวจกัน หลาย ครั้ง โดยเฉพาะฆราวาส สําหรับพระภิกษุสาเณรผ่าน สบาย โชคดีที่ไกด์ทัวร์ประสานงานไว้เรียบร้อย แล้ว คณะจึงผ่านเข้าไปเดิ นชมภายในบริเวณวัด ที่ มีการป้องกันอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันภัยที่จะ เกิดขึ้นจากผู้ที่ต้องก ารจะทําลายศูนย์รวมจิตใจ ของชาวลังกา เดินชมไปแต่ละชั้นของตึกที่แสดง เกี่ยวกับพระธาตุเขี้ยวแก้ว ไม่ว่าจะเป็นงาช้าง เชือกที่ เคยใช้ในพิธีแห่พระธาตุ เขี้ยวแก้ว สมบัติอันมีค่าที่ คนถอดบูชาพระธาตุเขี้ยวแก้ว ที่ทางรัฐบาลนํามา แสดงไว้ให้ชม พอใกล้ถึงเวลาที่เขาจะเปิดให้คนเข้าไป สักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว คณะของพวกเราก็ขึ้นไป
  • 13. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 13 บนชั้นสองของหอที่เก็บพระธาตุเขี้ยวแก้ว มีชาวศรีลังกานั่ง สมาธิบ้าง นั่งสวดมนต์บ้าง (การนั่งของชาวลังกา ส่วนมากจะนิยมเหยียดขา เคยเห็นชาวลังกานั่งฟัง พระเทศน์ ประนมมือ และเหยียดเท้าไปทางพระ คนที่ไม่เข้าใจ อาจเกิดอกุศลจิตคิดไม่ดีกับเขาว่าไม่เคารพพระ แต่สาหรับชาวลังกาแล้วจิตใจที่เคารพเป็นสิ่งสาคัญ)รอเวลาที่จะเข้า ชมสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว ผู้เขียนนั่งกราบไปทางที่เก็บพระธาตุ ฯ และนั่ง หลับตาทํา สมาธิ ในขณะนั้นก็ ได้ยินเสียงสวดมนต์บทต่างๆ เช่น บทมงคลสูตร กรณียเมตตสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ฟังเสียงสวดมนต์ของชาวศรีลังกาแล้ว รู้สึกปีติ และมีความสุข เพราะสวดมนต์เป็นจังหวะ จึงหน่วงเหนี่ยวเอาเสียงสวดมนต์มาเป็นอารมณ์ในการทําสมาธิ ทําให้จิตใจเบิกบาน แช่มชื่นดี เมื่อนังสมาธิพอสมควรแล้ว จึงลืมตาขึ้นและ ่ เหลือบมองไปทางคณะสวดมนต์ชาวลังกา พร้อม ทั้งยิ้มให้ พวกเขาจึงเข้ามาทําความเคารพ และ ทักทาย สอบถาม สาระทุกข์สุกดิบ จึงทําให้รู้ว่า ชาว ศรีลังกากลุ่มนี้เดินทางมาจากที่ไกล ห่างจากเมือง แคนดี้เกือบ ๑๐๐ กิโลเมตร แต่เดินทางมาสักการะ พระธาตุเป็นประจําทุกปีติดต่อกันเป็นเวลา ๔๕ ปี แล้ว เหมือนเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งของตระกูล ที่ถือปฏิบัติมายาวนาน สนทนากัน พักใหญ่ก็ได้เวลา เข้าไปกราบพระธาตุเขี้ยว แก้ว จึงต้องไปเข้าแถว เพื่อเข้ากราบนมัสการพระธาตุ ฯ ภายในห้องซึ่งต้องผ่านประตู หลายประตู วันนั้นคณะผู้เขี ยนเป็นคณะที่ ๒ ที่ได้เข้าไปกราบพระธาตุฯ ภายใน แต่มีเวลาไม่นานในการนมัสการ เพราะต้องเอื้อเฟื้อแก่คณะอื่นที่รอคิวยาวเหยียดด้วย เพียงเวลาแค่ไม่กี่นาที กับการไหว้พระธาตุฯ ก็ทําให้ มีความสุข ใจทุกครั้งที่นึกถึง ผู้เขียนประทับใจชาวสิงหลที่ปลูกฝังการสวดมนต์ให้กับบุตรหลาน และคนในครอบครัว เพราะทุกคนใน ครอบครัว ไม่ว่าจะตัวเล็กไม่กี่ขวบก็ สามารถสวดมนต์สูตรต่างๆ ได้ไม่แพ้ พระภิกษุ เลยทีเดียว การสวดมนต์เก่งจึง เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวศรีลังกาที่ชาวพุทธไทยเราควรเอาเป็นแบบอ ย่าง เพราะอย่างน้อย ถ้ามีคนถามชาว พุทธไทยว่า อะไร คือ สัญลักษณ์ของชาวพุทธไทย อย่างน้อยเราก็ตอบเขาได้ว่า สวดมนต์เก่ง ไม่ใช่นินทาเก่ง มีชาว พุทธบางท่านเคยบอกว่า เป็นชาวพุทธสบาย ง่ายๆ ไม่ต้องถืออะไร อันนี้ต้องระวัง เพราะถ้าไม่ยึดถือปฏิบัติอะไร
  • 14. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 14 เลย ก็คงไม่ต่างจาก คนที่ไม่มีศาสนา ฉะนั้น ชาวพุทธไทยอย่างน้อยก็ต้องมีเอกลักษณ์อะไรสักอย่างที่จะโชว์ ชาวโลกได้ว่าเราก็มีดี - ส.ที่ ๕ คือ ใส่ชุดขาว เอกลักษณ์ของชาวพุทธลังกา การแต่งชุดขาวไปวัดดูเหมือนจะเป็น เรื่องปกติของชาวพุทธลังกา วันที่ผู้เขียนเดินทางไปชมวัดกัลยาณี ใน เมืองโคลัมโบ เห็นชาวพุทธลังกาใส่ชุดขาว พาลูกหลานไปเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกคนต่างแต่งกายด้วย ชุดขาว เป็นภาพประทับใจที่หาดูได้ยากในประเทศอื่น คณะแสวงบุญต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความประทับใจที่ ได้เห็นภาพเด็กๆ ตั้งแต่เล็กจนโตมาศึกษาพระพุทธศาสนา มีครูทั้ งพระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสอนในวิชาต่างๆ ที่เด็กๆ ควรรู้ ผู้เขียนเดินดู ไปตามห้องเรียนต่างๆ แต่ก็ไม่กล้าเข้าไปทักทายอะไรมากมายเนื่องจากยังอยู่ในชั่วโมง เรียนของเด็กๆ แต่ก็เห็นถึงความตั้งใจเรียนของพวกเรา ผู้เขียนบวชเรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จนถึง ปัจจุบัน อายุ ๓๓ ปี ยังไม่เคย เห็น นักเรียน พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มากมายอย่างนี้ ถามพระภิกษุ ชาวศรีลังกาที่นําคณะเราไปเยี่ยมชมวัด ท่านกล่าวว่า มี นักเรียนประมาณ ๕,๐๐๐ คน ฟังแล้วได้แต่นึก อนุโมทนาและเกิดแรงบันดาลใจว่าบ้านเราน่าจะเอาเป็น แบบอย่าง วัดหลายวัดในเมืองไทย และมหาจุ ฬาลงกรณ ราชวิทยาลัยก็จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มากว่า ๕๐ ปี เหมือนกัน ถ้าผู้เขียนจําไม่ผิดก็ได้ไอเดียมาจากประเทศศรีลังกานี้ เคยสังเกตชาวพุทธจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางไปไหว้พระในประเทศอินเดีย ผู้เขียนมีความประทับใจชาว พุทธลังกาเป็นพิเศษ ในความมีระ เบียบวินัย เช่น การแต่งกายด้วยชุดขาวเหมือนกัน หมด การเข้าแถวเป็นระเบียบ เรียบร้อย การเปล่งวาจาสาธุการพร้อมกัน และการสวดมนต์ เป็นต้น การ ปฏิบัติ ได้เช่นนี้ แสดงว่า ได้รับการฝึกฝน อบรมมาอย่างดีจนกลายเป็นอุปนิสัย เห็นภาพอันประทับใจแล้วก็ได้แต่นึกถึงพุทธพจน์ที่ “ทันโต เสฎโฐ มะนุสเสสุ ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เป็นผู้ประเสริฐ ” แต่การฝึกมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ทําได้ยากที่สุด โดยเฉพาะตัวเรา แต่ถ้าใครฝึกได้ก็เป็นยอดมนุษย์อย่างเช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู มหาตมะ คานธี มาติน ลูเธ่อร์ คิงส์ และมหาบุรุษอีก หลายท่านบนโลกใบนี้
  • 15. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 15 มีสุภาษิตจีนเกี่ยวกับการฝึกกาย ฝึกจิตว่า "จงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็นความประพฤติ จงระวังความประพฤติ เพราะความประพฤติจะกลายเป็นความเคยชิน จงระวังความเคยชิน เพราะความเคยชินจะกลายเป็นนิสัย จงระวังนิสัย เพราะนิสัยจะกลายเป็นสันดาน จงระวังสันดาน เพราะสันดานจะกาหนดชะตากรรมตลอดชีวิต" - ส.ที่ ๖ คือ สมาธิ หรือพระพุทธรูปปางสมาธิ นิยมสร้างในศรีลังกา นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาเตือนสติไว้ว่า "ไหว้พระพุทธ ระวังอย่า สะดุดเอาทองคา ไหว้พระธรรม ระวังอย่าขยาคัมภีร์ใบลานเปล่า ไหว้พระสงฆ์ ระวัง ไปหลงลูกชาวบ้าน " เป็นสิ่งที่เราควรระวังอย่างยิ่งในการปรับความคิด ของเราให้เป็นสัมมาทิฎฐิ คือ มองทุกอย่างด้วยความเข้าใจ พระพุทธรูปถือว่า เป็นสื่อในการดึง คนให้ เข้าถึง สัจจธรรม เป็นเจดีย์อย่างหนึ่ง ที่ควรเคารพบูชา เรียกว่า อุทเทสิกเจดีย์ คือ สร้าง อุทิศ เจาะจงพระพุท ธเจ้า หรือจะบอกว่า เป็น เสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ก็ไม่ผิด ชาวพุทธไทยให้ความเคารพ พระพุทธรูปมากและนิยมสร้างถวายวัดต่างๆ พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็น ปางที่ชาวไทยนิยมสร้างไว้บูชาสักการะ เพราะมีความเชื่อว่า สามารถเอาชนะ ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ ในประเทศศรีลังกา ผู้เขียนเห็นชาวพุทธลังกานิยมสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ, ปางไสยาสน์, ปางรําพึง และ ปางแสดงสัจธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ พระพุทธรูปปางสมาธิ ไม่ทราบว่ามีเหตุผลประการใดจึ งนิยมสร้าง พระพุทธรูปปางนี้ แต่ผู้เขียนสรุปเองในใจว่า คนศรีลังกาคงต้องการ สื่อหรือสอนประชาชน ว่า ควรมีสมาธิ หรือ ตั้งใจทําสิ่งต่างๆในชีวิต เพราะสมาธิหรือความตั้งใจมั่นนั้นมีความสําคัญอย่างมากในการดําเนินชีวิตประจําวัน ถ้า นั้นคือวัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ถือว่าเป็นกุสโลบายที่ชาญฉลาดมาก เพราะไปที่ไหนจะเห็นแต่ พระพุทธรูปปางนี้ บางเมืองสร้างไว้บนยอ ดเขาสูงเด่นเห็นสง่า มองเห็นพระพุทธรูปปางสมาธิทีไรเหมือน พระพุทธเจ้าเตือนสติว่า จงมีสมาธิเดี๋ยวนี้
  • 16. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 16 สมาธิ (Meditation) แปลว่า ความตั้งมั่นสม่ําเสมอ คือ จิตใจที่ตั้งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทุกศาสนามีการ ทําสมาธิ แต่สมาธิในพระพุทธศาสนาแตกต่างจาก สมาธิในศาสนาอื่ น เพราะสมาธิในพุทธศาสนา เรียกว่า สัมมาสมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ ถูกต้อง หรือสมาธิชอบ หมายถึง การทําสมาธิที่ทําจนได้ฌาน เพื่อเอาเป็นบาท ฐานในการเจริญปัญญา เพื่อใช้เป็นดาบประหัตประหารกับกิเลสตัณหา ต่อไป คุณลักษณะของสัมมาสมาธิ คือ สะมาหิโต ปะริสุทโธ และกัมมะนีโย คือ - สะมาหิโต แปลว่า ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สัดส่ายไปนั้นมานี้เหมือนลิง เปรียบเช่นน้ําตกที่ไหลลงจากภูเขา และไหลไ ปทางเดียวกัน มีพลังมหาศาล สามารถจะพัดพาเอาสิ่งต่างๆ ที่ขวางหน้าไปได้ จนถึงสามารถผลิต กระแสไฟฟ้าได้ด้วย จิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ย่อมมีพลังในการ ทํากิจต่างๆ ในชีวิตประจําวัน เช่น อ่านหนังสือก็จําได้ ง่าย - ปะริสุทโธ แปลว่า บริสุทธิ์ คือ จิตที่ปราศจากอารมณ์ขุ่นหมัว เช่น โลภ โกรธ หลงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นกับ น้ําในหนองที่ตะกอนนอนก้นแล้ว สามารถมองเห็นกุ้ง หอย ปู ปลา จิตที่บริสุทธิ์ย่อมมองเห็นอารมณ์ต่างๆ ที่ ผ่าน เข้ามาได้อย่างชัดเจน - กัมมะนีโย แปลว่า ควรแก่การงาน เหมาะสําหรับใช้งาน คือ ควรแก่การทํางานทางด้านปัญญา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งจิตที่เป็นสัมมาสมาธิจะ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล งานที่ออกมาจึงละเอียด ประณีต และไม่บกพร่อง พระพุทธรูปอีกปางหนึ่งที่เห็นทั่วไปในศรีลังกา คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ สําหรับผู้เขียน เมื่อเห็นพระพุทธรูปปางนี้ แล้ว ได้ข้อคิดว่า ควรพักผ่อนบ้าง ไม่ใช่ทํางานจนไม่ได้พักผ่อน หรือพักผ่อนจนไม่ได้ทํางาน สรุปแล้วทุกคนก็ต้องจัดสรรปันส่วน เวลาในการใช้ชีวิตให้ลงตัว เหมาะสมกับแต่ละคนไป เพราะเราต่าง ได้เวลามา ๒๔ ชั่วโมงเท่ากันหมด โดยส่วนตัว เวลาที่กราบไหว้พระพุทธรูปครั้งใด ก็เหมือน ท่านเตือนสติเราอยู่ตลอดเวลา เช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ เตือนให้เรามีสมาธิหรือตั้งใจกับสิ่งที่ทํา , พระพุทธรูป ปางไสยาสน์เตือนให้เราจัดสรรเวลาพักผ่อนให้ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย , สําหรับคนไทยที่นิยมสร้าง พระพุทธรูปปางมารวิชัย นั้นคือการเตือนสติให้เราเอาชนะมารหรือจัดการกับสิ่งไม่ดี ในใจของเราให้ได้ เสียก่อน นี้ แหละคือคัมภีรธรรมที่แฝงอยู่ในพระพุทธรูปที่เรากราบไหว้
  • 17. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 17 บางคนยังถามต่อไปอีกว่า ทําไมหัวแหลม , หูยาว, หน้ายิ้ม , และตามองต่ํา สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปริศนาธรรมที่ ปราชญ์ท่านต้องการสอนเรา หัวแหลม คือ ให้ใช้เหตุผล ใช้ปัญญาในการดําเนินชีวิต , หูยาว คือ ให้เป็นคนหนัก แน่น ตรวจสอบก่อน ไม่หูเบาเชื่อง่าย, หน้ายิ้ม หมายถึง ให้เป็นคนยิ้มแย่มแจ่มใส หรือมีจิตใจสดชื่นแจ่ มใส และอีก ประการหนึ่งที่สําคัญว่า ทําไมตามองต่ํา คือ ให้ดูตัว เอง อ่านตัวเองให้มากๆ อย่างที่เขาว่า “ดูตัวเองให้ออก บอก ตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น” - ส.ที่ ๗ คือ สรณังกร หรือสามเณรสรณังกร ธรรมดาของสรรพสิ่ง ในโลกนี้ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไป บางคราวเจริ ญขึ้น บางคราวก็เสื่อมลง พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็ไม่สามารถหลีกพ้นกฏธรรมดาข้อนี้ไปได้ บางสมัยเจริญรุ่งเรือง บางสมัยก็เสื่อมโทรม ลงไป แต่พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็ไม่สิ้นคนดีที่เกิดมาช่วยกอบกู้ พระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้น อีก บุคคลที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาในประวัติศาสตร์การฟื้นฟู ศาสนา คือ สามเณรสรณังกร ชีวประวัติ ของท่านเป็นชีวิตที่ น่าศึกษาเรียนรู้ อย่างยิ่ง โดยเฉพาะพระภิกษุที่ทําหน้าที่เป็นพระธรรมทูตเผยแผ่พระศาสนา เพราะบุคคลท่านนี้เกิด มาเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ผู้เขียนขอนําประวัติและผลงานการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกามาเล่าสู่ กันฟังโดยย่อ ดังต่อไปนี้ เด็กชายสรณังกร เกิดวันอาทิตย์ ปีเถาะ พ .ศ.๒๒๔๒ ณ หมู่บ้านชื่อ แวลิวิฎะ (Valivita) แขวงเมืองตุมปะเน (Tumpane) ท่านเกิดในตระกูลกุลตุงคะ ซึ่งเป็นตระกูลชั้นสูงชั้นอํามาตย์ เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นนั้น ท่านสรณังกรมีความสนใจในทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย กอร์ปทั้งมีความเลื่อมใสศรัทธาใน พระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ประสงค์ที่จะออกบวชตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่ บิดามารดาไม่ยอมอนุญาต แต่ท่านก็ไม่ลดละ ความตั้งใจจริงในการออก บวช แสดงความมุ่งมั่นจนบิดามาร ดายอมอนุญาตให้บวชเมื่อท่านอายุ ๑๖ ปี โดยได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรจากพระสุริยโกทเถระ เมื่อบวชแล้ วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทั้ง ภาค ปริยัติและ ภาคปฏิบัติ โดยได้ ออกแสวงหาอาจารย์เพื่อ ศึกษาภาษาบาลี และธรรมะ ท่านเป็นคนมีความวิริยะอุตสาหะสนใจในการศึกษาจึงทําให้ ไม่ช้านานก็ แตกฉานในภาษาสิงหล บาลี และสันสกฤต
  • 18. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 18 เมื่อมีความรู้พอ เอาตัวรอดแล้ว สามเณรสรณังกรพร้อมคณะสีลวัตรที่ท่านตั้งขึ้นกับศิษย์ จาริกไปตามคาม นิคมน้อยใหญ่เพื่อสั่งสอนประชาชนให้เข้าใจธรรมะ และฟื้นฟูการบิณฑบาตซึ่งหายไปจากประเทศศรีลังกา ด้วย ข้อวัตรปฏิบัติและ การเทศนาที่สามารถนําไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวัน ทําให้ประชาชนให้ความสนใจและ เลื่อมใส แต่เป็นธรรมดาของการทํางานย่อมมีปัญหาอุปสรรค เมื่อท่านมีคนเลื่อมใสมากขึ้น จึงทําให้พระภิกษุคณะ เดิมไม่พอใจจนเกิดเป็นความกันขึ้นถึงโรงศาล และคณะสามเณรสรณังกรเป็นฝ่ายแพ้ ต่อมามีพระฮินดูรูปหนึ่งเดินทางมาจากประเทศอินเ ดีย เพื่อเที่ยวชมเมืองอนุราธ ปุระ พระเจ้านเรนทรสิงห์ ทรงทราบจึงรับสั่งให้นิมนต์พระฮินดูรูปนั้นเข้าไปในพระราชวัง เพราะทรง ปรารถนา จะทราบความเป็นไปของ พระพุทธศาสนาในอินเดีย แต่พระฮินดูรูปนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระพุท ธศาสนาเลย จึงมีพระราชประสงค์จะให้ พระลังกาแสดงความสามารถให้นักบวชต่างชาติได้เห็น ทรงอาราธนาให้คัดเลือกพระนักเทศน์มาแสดงธรรมใน พระราชวัง แต่ไม่มีใครสามารถแสดงธรรมให้นักบวชต่างศาสนาฟังได้ จนทําให้พระเจ้านเรนทรสิงห์ทรงกลุ้ม พระทัย อํามาตย์ท่านหนึ่งจึงกราบทูลเสนอว่า มีสามเณรสรณังกรสามารถแสดงธรรมได้ เพราะเป็นผู้แตกฉานใน ธรรมะ พระเจ้านเรนทรสิงห์จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปนิมนต์มาเทศน์ สามเณรรับนิม นต์และเดินทางลงมาเทศน์ ด้วย ความสามารถที่ฝึกฝนมา สามเณรกล่าวคาถาภาษาบาลี และอธิบายเป็นภาษาสิงหล พร้อมทั้งแปลให้นักบวชฮินดู ฟังเป็นภาษาสันสกฤษ คนที่มาประชุมสโมสรในวันนั้นต่างทึ่งในอัจฉริยภาพข้อนี้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สามเณรสรณังกรจึงเป็นที่ยอมรับ นับถือของบุคคลทั่วไป พระเจ้านเรนทรสิงห์ เองก็ ทรงศรัทธาในสามเณรเป็นอย่างมาก การดําเนินงานเผยแผ่ พระศาสนา จึงสามารถขยายขอบข่ายออกไปได้กว้าง เพราะมีเพื่อนร่วมงานคอยช่วยเหลือ ท่านได้ร่างกฎระเบียบของคณะสีลวัตร ว่าด้วยการนุ่งห่ม การทําวัตรสวดมนต์ และการบิณฑบาต เป็นต้น ในเวลาที่ว่างท่านก็แต่งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เช่น สารัตถะสังคหะ มหาโพธิวังสะ ฯลฯ เมื่อทําการเผยแผ่พระศาสนาไปได้ระยะหนึ่ง สามเณรสรณังกรก็มี ความคิดว่า การจะประดิษฐานพระศาสนาให้เป็นปึ กแผ่น มั่นคงนั้น ต้องมีการ อุปสมบทเป็นพระภิกษุของชาวลังกาเอง จึงทูลขอความช่วยเหลือให้พระเจ้า แผ่นดินช่วยเป็นธุระในเรื่องแสวงหาพระภิกษุมาอุปสมบทให้สามเณรและชาว ลังกา พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ทรงเป็นธุระในการส่งราชทูตไปสืบหา พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทในประเทศต่างๆ แต่การอุปสมบทพิธีก็มา บรรลุผลสําเร็จในรัชกาลของพระเจ้ากิตติศิริราชสิงห์ทรงส่งราชทูต ให้เดินทาง ไปขอให้คณะสงฆ์จากสยามประเทศ มาช่วยฟื้นฟูการพระศาสนา ในสมัยกรุง
  • 19. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 19 ศรีอยุธยา โดยพระเจ้าบรมโกศทรงส่งคณะพระธรรมทูตไทยชุดแรกโดยการนําของพระอุบาลีมหาเถระ มีพระภิกษุ ๑๘ รูป สามเณร ๘ รูป ไปให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวลังกาเป็นพระภิกษุสงฆ์ ถึง ๗๐๐ รูป เป็นสามเณร ๓,๐๐๐ รูป และสามเณรสรณังกรก็ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และต่อมาท่านได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นสมเด็จ พระสังฆราชสรณังกร สังฆราชรูปแรก และรูปสุดท้ายของศรีลังกา สมเด็จพระสังฆราชสรณังกรทรงทํางานเผยแผ่พระศาสนาจนมีพระชนมายุได้ ๘๑ พรรษา เป็นธรรมดาของ สังขารร่างกาย พระองค์ทรงพระประชวร ในขณะที่ประชวรมีพระประสงค์จะสดับพระธรรมเทศนา คณะลูกศิษย์ ได้นิมนต์ให้พระมาเทศน์ ขณะกําลังสดับพระธรรมเทศนาอยู่นั้น พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยอาการสงบ พระเจ้า แผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดให้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ พร้อมทั้งรับสั่งให้สร้างเจดีย์สําหรับ บรรจุพระอัฐิธาตุซึ่งต่อมาเรียกว่า สรณังกรเจดีย์ สมเด็จพระสังฆราชสรณังกร จึงถือว่า เป็นแบบอย่างของการทํางานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง การ ทํางานของท่านมีปัญหาอุปสรรคมากมาย บางครั้งถึงกับต้องขึ้นโรงศาล บางครั้งถูกลอบฆ่าจากคนต่างศาสนา แต่ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ท่านเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ยึดหลักที่พระพุทธเจ้าทรงทําไว้ เป็นแบบอย่างที่ว่า ทรงเอาชนะทุกอย่างด้วยความดี จึงทําให้พระพุทธศาสนาในศรีลังกากลับมาเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าผู้อ่านอยากศึกษา เรื่องราวชีวประวัติ โดยละเอียด ของสามเณรสรณังกร สามารถหาอ่านได้จาก หนังสือ ประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ ในลังกาทวีป ของกรมพระยาดํารงราชานุภาพ , พระพุทธศาสนาในศรีลังกา ของ ชู ศักดิ์ ทิพย์เกษร และหนังสือสยามวงศ์ในลังกา ของสยาม แสนขัติ เป็นต้น - ส.ที่ ๘ คือ สยามวงศ์นิกาย ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเส มือนผ้าขาวที่ไม่มีรอยด่างดํา เกี่ยวกับ การรบราฆ่าฟัน แต่พระพุทธศาสนา กลับเป็น ศาสนทูตที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศต่างๆ ในแทบเอเชีย ได้เป็นอย่างดี เมื่อเดินทางไปประเทศ แห่งใดไม่ว่าจะเป็นพม่า กัมพูชา ลาว ศรีลังกา และอินเดีย ทําให้เกิดความปลาบปลื้มใจว่า เราในฐานะชาวพุทธมี ความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมไม่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมพันธไมตรีทางพระพุทธศาสนาระหว่าง ไทยกับศรีลังกาเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้น ในสมัยสุโขทัย ประเทศไทยเป็นฝ่ายรับความช่วยเหลือด้านพระศาสนาจาก ลังกา แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยได้นําพระพุทธศาสนากลับไปมอบให้ศรีลังกาดังเดิม มีอยู่บางสมัยที่พ ระพุทธศาสนา ในศรีลังกาซบเทราลงไป เพราะถูก ปัญหาทั้งภายนอกทั้งภายในรุมเร้า จน แทบจะเอาตัวไม่รอด ในสมัยนั้นประเทศศรีลังกาได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศไทยทางด้านการพระศาสนา
  • 20. ลังกากถา ว่าด้วยข้อคิดและของดีศรีลังกา 20 ประเทศไทยได้ส่งพระอุบาลีพร้อมทั้งคณะไปฟื้นฟูพระศาสนาที่ลังกา โดยเดินทางไป ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ สามเณรสรณังกรและชาวลังกาเป็นจํานวนมาก จนทําให้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ขึ้นและดํารงอยู่จนถึงปัจจุบัน พระอุบาลีมหาเถระพร้อมทั้งคณะถือว่าเป็นพระธรรมทูตชุดแรก (ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ เป็นสิ้นค้าOTOP ชั้นเยี่ยม)ที่ไทยส่งออกไปประกาศพระศาสนาในต่างแดน ท่านและคณะ ไม่เพียงแต่ให้การอุปสมบทกุลบุตรชาวสิงหลเท่านั้น แต่ท่านยังได้ฟื้นฟูวินัยนิยมพระบรม พุทธานุญาตให้แก่พระสงฆ์ลังกา ที่ท่านอุปสมบท ให้ ได้เห็นเป็นแบบอย่าง เช่น การ อธิษฐานเข้าพรรษา การปวารณาออกพรรษา การทอดถวายกฐิน อุปสมบทวิธี การแสดง อาบัติ การถวายสังฆทาน การสวดมนต์ การแสดงอาบัติ และอื่นๆ เรียกได้ว่า ท่านเป็น แป้นพิมพ์หรือต้นแบบที่ดีในการประพฤติปฏิบัติ ดังมีกลอนนิรนามว่า การสั่งสอน คนทั้งหลาย ให้มีธรรม พูดให้จํา ทําให้ดู อยู่ให้เห็น การทําดี ให้เขาดู นี้จําเป็น อยู่ให้เห็น ว่ามีสุข ทุกเวลา เพียงการพูด ให้เขาจํา แต่ทําทราม พูดร้อยคํา มันตกต่ํา แล้วไร้ค่า ทําให้ดู เพียงครั้งเดียว มีราคา จงอุตส่าห์ ทําให้ดู อยู่ให้เห็น พระอุบาลีมหาเถระทํางานเผยแผ่พระศาสนาในลังกาอยู่ไม่กี่ปีก็ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ เมื่อพ .ศ. ๒๒๙๙ กษัตริย์ลังกาโปรดให้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านอย่างสมเกียรติ กล่าวได้ว่า ท่านตายในระหว่าง ปฏิบัติหน้าที่ ถ้าเป็นทหารก็ต้องมีธงชาติคลุมโลงศพ กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทรงส่งคณะพระอุบาลีไปให้กุลบุตรชาวลังกา บรรพชาอุปสมบท พร้อมทั้งอบรมด้านวินัยบัญญัติก่อน หลังจากนั้นพระองค์ก็ส่งคณะพระธรรมทูตชุดที่ ๒ มีพระ