SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 15
Baixar para ler offline
ท�ำถูกครั้งเดียว
อนำคต
เปลี่ยน
ตลอดชีวิต
พบกับ 16 เรื่องราวของมหาเศรษฐีแห่งศตวรรษที่ 21
เผยความลับที่คนธรรมดาจะประสบความส�าเร็จได้ในชั่วข้ามคืน
Randall Lane
และทีมงาน Forbes
สำรบัญ
บทน�ำ v
เรื่องที่ 1
ฌอน พาร์กเกอร์, เฟซบุ๊ก (Facebook): ผู้ไม่เคยหยุดเปลี่ยนโลก 1
เรื่องที่ 2
ดรูว์ เฮาสตัน, ดรอปบ็อกซ์ (Dropbox): พอกันทีกับพายแช่แข็ง 21
เรื่องที่ 3
อีลอน มัสก์, เทสลามอเตอร์สและสเปซเอ็กซ์ (Tesla Motors and
SpaceX): เจาะความคิดไอรอนแมนตัวจริง 37
เรื่องที่ 4
เควิน ซิสตรอม, อินสตาแกรม (Instagram):
ไม่มีรายได้? ไม่มีแม้แต่ไอเดียที่จะท�ารายได้? ไม่มีปัญหา! 53
เรื่องที่ 5
แดเนียล เอ็ก, สปอตติฟาย (Spotify): ผ่าทางออกให้กับวงการเพลง 71
เรื่องที่ 6
แอรอน เลวี, บ็อกซ์ (Box): บิล เกตส์ รุ่นที่สอง 87
เรื่องที่ 7
แจ็ค ดอร์ซีย์, ทวิตเตอร์, สแควร์ (Twitter, Square):
ผู้เชี่ยวชาญทุกสายงาน 103
เรื่องที่ 8
เดวิด คาร์พ, ทัมเบลอร์ (Tumblr): โครงการศิลปะพันล้านดอลลาร์ 117
เรื่องที่ 9
นิก วู้ดแมน, โกโปร (GoPro): ผู้ร�่ารวยความตื่นเต้น 135
เรื่องที่ 10
ไบรอัน เชสกี้, แอร์บีเอ็นบี (Airbnb):
นายหน้าแห่งยุคเศรษฐกิจแบ่งปัน 149
เรื่องที่ 11
อเล็กซ์ คาร์พ, พาลันเทียร์ (Palantir): ตามติดทุกข้อมูล 161
เรื่องที่ 12
เพจมัน โนซาด, นักลงทุนใจบุญ (Angel Investor):
ซินเดอเรลลาแห่งซิลิคอนวัลเลย์ 181
เรื่องที่ 13
อีแวน สปีเกล, สแนปแชท (Snapchat): เดิมพันด้วยเงิน 3 พันล้าน 199
เรื่องที่ 14
ปาล์มเมอร์ ลัคกี้, ออคคูลัส วีอาร์ (Oculus VR):
ระบบเสมือนจริงกับขุมทรัพย์ที่จับต้องได้ 219
เรื่องที่ 15
อาดี ทาทาร์โก้, เฮาซ์ (Houzz): ทลายก�าแพงทางเพศ 235
เรื่องที่ 16
แยน คูม, วอทส์แอพ (Whatsapp): โฉมหน้าของนักล่าฝัน 249
- V -
บทน�ำ
ฌอน พาร์กเกอร์ ซุกตัวอยู่ในมุมมืด สายตาที่ว่างเปล่าของเขาคือสายตา
ของคนที่แทบจะไม่รู้จักใครเลยในงานที่เต็มไปด้วยแขกเหรื่อมากมายที่งาน
สังสรรค์สื่อมวลชน ณ คลับมังกี้บาร์ในนิวยอร์กเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2011
แต่เพราะนับตั้งแต่ผมกลับมาท�าหน้าที่บรรณาธิการ ฌอนคือคนแรกที่ได้
ขึ้นปกนิตยสารฟอร์บส ฉบับสองสัปดาห์ก่อน ผมจึงคิดว่าควรจะเข้าไป
แนะน�าตัวกับเขาสักหน่อย
“ผมรู้อยู่แล้วว่าคุณเป็นใคร”ฌอนตอบผมพร้อมทั้งโต้กลับด้วยการ
เล่าประวัติส่วนตัวของผมสั้นๆ สถานะทางการตลาดของฟอร์บส และ
เป้าหมายส�าหรับนิตยสารฉบับนี้ที่ผมเคยพูดเอาไว้ จากนั้นเขาจึงอธิบาย
เกี่ยวกับอุปนิสัยหมกมุ่นของเขา (ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ) คล้ายกับก�าลังร�าพึง
ร�าพันกับตัวเอง ซึ่งผมสามารถสรุปใจความได้ในค�าเดียวว่า ขอบคุณ
บทความที่ขึ้นหน้าปกของนิตยสารฟอร์บส ไม่ได้ใช้ค�าพูดหวานๆ
ถึงฌอน เพราะบทความนี้แสดงให้เห็นว่าชายหนุ่มที่ช่วยสร้างแนปสเตอร์
เฟซบุ๊ก และสปอตติฟายให้เกิดขึ้นมาผู้นี้เต็มไปด้วยนิสัยประหลาดและ
ข้อบกพร่องมากมาย แต่ก่อนที่โลกจะได้เห็นบทความที่ว่า (ซึ่งมีผู้อ่าน
ออนไลน์กว่า700,000ครั้งและผู้อ่านฉบับพิมพ์อีกนับล้าน)คนทั่วโลกต่าง
ก็มองเห็นเขาในฐานะตัวร้ายที่แสดงโดยจัสติน ทิมเบอร์เลก ในภาพยนตร์
เรื่องเดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก(เป็นภาพยนตร์ที่เล่าถึงการก่อตั้งเฟซบุ๊กและการ
ฟ้องร้องคดีความที่เกี่ยวข้อง)ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นฝีมือการก�ากับของเดวิด
ฟินเชอร์ แม้แต่มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เองยังยอมรับว่าบทของภาพยนตร์
เรื่องนี้ไม่แฟร์กับตัวจริงของฌอนสักเท่าไร
- VI -
ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต
ภาพของนักธุรกิจผู้ชั่วร้ายท�าให้ฌอนตัดสินใจขังตัวเองอยู่ในห้อง
ของโรงแรมเพนนินซูล่าในลอสแองเจลิสอยู่นานถึงสองเดือน พร้อมกับ
น�้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นถึง 30 ปอนด์
คู่หมั้นวัย22ปีของฌอนช่วยให้เขาผ่านพ้นช่วงภาวะซึมเศร้าและ
ลดน�้าหนักได้ส�าเร็จวันนี้ฌอนก�าลังยืนอยู่ตรงหน้าผมเขารู้สึกว่าตัวเองยิ่ง
ใหญ่ขึ้นนับร้อยเท่า เช่นเดียวกับที่เหล่าผู้กล้าหนุ่มสาวในยุคดิจิตอลอีก
หลายคนที่ไม่สนใจกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เลือกที่จะเปลี่ยนแปลง
โฉมหน้าของอุตสาหกรรมและวิถีแห่งการสร้างความร�่ารวย
หลังจากที่ผมคุยกับฌอนได้เพียงหนึ่งวัน สตีฟ จ็อบส์ ก็จากไป
อย่างไม่มีวันกลับสตีฟคือผู้ที่เป็นสัญลักษณ์ของอัศวินยุคใหม่เขาเป็นหนึ่ง
ในสามเสาหลักของนักธุรกิจที่พลิกวงการเทคโนโลยีร่วมกับบิล เกตส์ และ
ไมเคิล เดลล์ โดยสมัยที่ทั้งสามคนยังหนุ่ม พวกเขาได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็น
ว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนโลกได้ วันนี้สตีฟเสียชีวิตไปแล้ว บิลท�างาน
เป็นนักการกุศลเต็มตัว ในขณะที่บริษัทของไมเคิล เดลล์ ในสายตาคน
รุ่นใหม่รวมไปถึงแอปเปิลและไมโครซอฟต์ ถูกมองว่าเป็นเพียงเหยื่อตัว
อ้วนพีแทนที่จะเป็นนักล่าผู้หิวกระหาย
เรื่องราวที่ผมพูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ครึ่งแรกของยุคคอมพิวเตอร์
ในอเมริกาเต็มไปด้วยคลื่นลูกใหม่ที่ถาโถมเข้ามาแทนคลื่นลูกเก่าหลังจาก
ผมเรียบจบมหาวิทยาลัยในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ผมได้ท�างานกับฟอร์บส
และได้มีโอกาสได้เขียนบทความเกี่ยวกับคนในยุคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ซึ่งเป็น
กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและชอบท�าธุรกิจส่วนตัวมากกว่าไต่
บันไดองค์กร คนในยุคนั้นท�าให้เราได้เห็นฟองสบู่ของธุรกิจอินเทอร์เน็ตใน
ยุคแรกซึ่งเป็นการขึ้นชกระหว่างคู่ต่อสู้รายต่างๆจนในที่สุดเราจึงได้ผู้ชนะ
ที่ยิ่งใหญ่เหลืออยู่แค่ไม่กี่ราย
- VII -
บทน�ำ
แต่ส�าหรับการขึ้นชกในยกนี้แรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังนั้นยิ่งทวี
ความรุนแรงขึ้นไปอีกหลายเท่า คนรุ่นใหม่ในยุคนี้ไม่ใช่แค่คุ้นเคยกับ
เทคโนโลยีเท่านั้น แต่พวกเขาไม่เคยแม้แต่ได้สัมผัสกับโลกที่ไร้ซึ่ง
อินเทอร์เน็ตนี่คือสิ่งที่ท�าให้คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการหยุดแค่เพียงการเป็นผู้ชนะ
ในโลกของเทคโนโลยีเท่านั้น เพราะธุรกิจทุกวงกำรในทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ดนตรี หรือการขนส่ง ดังนั้น
ธุรกิจทุกหนแห่งจึงพร้อมที่จะให้คนเหล่านี้เข้ามาตักตวงความส�าเร็จ
แน่นอนว่าสิ่งดึงดูดใจอีกอย่างหนึ่งนอกจากความส�าเร็จก็คือ เงิน
ในอนาคตเราคงจะได้เห็นในที่สุดว่าธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะเป็นเพียง
แค่ฟองสบู่ทางเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ แต่ถ้าคุณรู้ว่าแอพส�าหรับแชร์
รถรับส่งสาธารณะอย่างอูเบอร์ที่มีอายุแค่ 5 ปีเท่านั้น มีมูลค่าประเมินใน
การระดมทุนสูงถึง 17,000 ล้านดอลลาร์ คุณก็คงจะรู้สึกว่าฟองสบู่คงไม่
แตกง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก�าลังได้เห็นเครื่องจักร
สร้างความร�่ารวยที่มหัศจรรย์ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มาร์ค
ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กในวัย30ปีมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
รวมประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ มาร์คอาจจะเรียกได้ว่าเป็นฮีโร่ของ
เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ แต่เขาไม่ใช่คนเดียวที่ร�่ารวยขึ้นมาจากเทคโนโลยี มี
ชาวอเมริกันกว่าสิบคนที่ติดท�าเนียบมหาเศรษฐีพันล้านด้วยตนเองในช่วง
5ปีที่ผ่านมาทั้งที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะสมัครเป็นประธานาธิบดีได้ด้วยซ�้า
ยิ่งไปกว่านั้นคนในกลุ่มนี้ไม่คิดว่าความร�่ารวยระดับนี้เป็นเรื่องแปลกอะไร
และรู้สึกว่าตนเองควรได้รับสิทธินั้นอยู่แล้ว
ในขณะเดียวกันความหนุ่มสาวนั้นไม่ใช่ข้อเสียเปรียบอีกต่อไปซึ่ง
ถือเป็นการเปลี่ยนอารยธรรมของมนุษย์จากหน้ามือเป็นหลังมือในอดีตไม่
ว่าคุณจะเป็นช่างตีเหล็กหรือนักกฎหมายความฉลาดและประสบการณ์จะ
- VIII -
ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต
ท�าให้คุณค่าของตัวเองเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ในช่วง
ยี่สิบปีที่ผ่านมาถ้าจะหาช่างสักคนมาซ่อมคอมพิวเตอร์ของคุณ แน่นอนว่า
คุณอยากจะได้ช่างซ่อมอายุ25มากกว่าอายุ55เมื่อสักสิบปีก่อนนักลงทุน
ต้องการคนวัยหนุ่มสาวที่ “โตมากับยุคดิจิตอล” มากกว่าคนที่อยู่ใน
อุตสาหกรรมนี้มานานแต่มีเงื่อนไขก็คือคนหนุ่มสาวเหล่านี้ต้องถูกจับคู่กับ
“ผู้ใหญ่” ที่ท�างานเป็น แต่ในปัจจุบันไม่มีใครสนใจว่าจะต้องมีผู้ใหญ่คอย
คุมอีกต่อไปแล้วคนวัยหนุ่มสาวคือผู้ที่จะเข้ามาจัดการทุกอย่างด้วยตนเอง
สิ่งที่แตกต่างจากผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์(กองทุนที่มุ่งหาก�าไร
สูงสุดโดยใช้เครื่องมือการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน) ซึ่งกวาดก�าไรได้
นับพันล้านโดยที่ไม่ต้องสร้างสรรค์อะไรขึ้นมาเองเลย(นอกจากท�าธุรกรรม
ทางการเงินที่ซับซ้อนและสุดท้ายก็ท�าให้ทุกอย่างพังพินาศ) ก็คือไม่มีใคร
รังเกียจคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ในทางตรงกันข้าม คนทั่วไปมองการที่พวกเขา
เหมาเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวเดินทางข้ามประเทศว่าเป็นเรื่องที่เท่มาก
ฮีโร่เกิดขึ้นจากความเชื่อว่าความส�าเร็จเกิดขึ้นจากตนเองนักลงทุน
ให้ความส�าคัญกับไอเดียและการลงมือท�ามากกว่าเส้นสายและฝีปากใน
การขาย เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณจะได้เห็นว่าความส�าเร็จนั้นเกิดขึ้น
กับวัยรุ่นที่ใช้เวลาเรียนรู้การเป็นแฮกเกอร์ มากกว่ากับคนที่มีชื่อพ่อตัวเอง
สลักอยู่บนป้ายเกียรติยศของมหาวิทยาลัยการกีดกันทางเพศยังคงมีให้เห็น
อยู่ในแวดวงนักเขียนโปรแกรม (จริงๆ แล้วเราไม่ได้ตั้งใจจะให้หนังสือเล่ม
มีแต่เรื่องราวของผู้ชายอย่างเดียวแต่มีผู้หญิงน้อยมากที่มีโอกาสสร้างธุรกิจ
สตาร์ทอัพขนาดใหญ่ในวงการเทคโนโลยี)
แต่ถ้าคุณได้ลองคุยกับแยน คูม หรือเพจมัน โนซาด หรือแดเนียล
เอ็ก คุณจะได้รู้ว่าความฝันในการสร้างความร�่ารวยนั้นมีโอกาสกลายเป็น
ความจริงได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การเล่นเส้นสายอย่างเดียวที่ผมเคย
เห็นก็มาจากการที่คุณเป็นเพื่อนร่วมห้อง เป็นคู่ซี้ หรืออยู่ในกลุ่มเพื่อน
- IX -
บทน�ำ
เดียวกันกับคนเก่งๆ เท่านั้น (ในช่วงทศวรรษ 2010 ไม่มีต�าแหน่งอะไรที่จะ
มีความหมายดีไปกว่า “ผู้ก่อตั้งบริษัท”) คงเป็นเรื่องยากที่คุณจะไม่ชอบ
ขี้หน้าใครสักคนถ้าคุณก�าลังตามหาความฝันเดียวกัน
อย่างไรก็ตามส�าหรับผม สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในทุกเรื่องราวของ
หนังสือเล่มนี้ ซึ่งผมอยากปรบมือให้ดังๆ ก็คือความกล้าท�าในสิ่งที่ตนเชื่อ
การฟื้นตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 เป็นไปอย่างช้า
มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งส�าหรับตลาดงานในขณะที่คนอื่นมองเห็นโลกที่หยุด
นิ่งอยู่กับที่คนกลุ่มนี้กลับมองเห็นเหมืองทองอยู่ข้างหน้าและที่ส�าคัญก็คือ
พวกเขาลงมือท�ำ พวกเขาต้องการที่จะรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ได้ลงมือท�าไป
มากกว่าที่จะมาเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ท�า
สตีฟจ็อบส์,บิลเกตส์และไมเคิลเดลล์ท�าให้การดรอปเรียนกลาง
คันกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ส�าหรับคนในกลุ่มนี้ มันคือความเท่ มันคือ
ตราแห่งเกียรติยศ(อีแวนสปีเกลผู้ก่อตั้งบริษัทสแนปแชทดรอปเรียนจาก
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกลางห้องเรียน ทั้งๆ ที่เหลืออีกแค่หนึ่งเดือนก็จะ
เรียนจบ… เพราะเขายึดถือในหลักการของตัวเอง)
แทบจะไม่มีใครเลยในหนังสือเล่มนี้ที่ไม่เคยสัมผัสกับความล้ม
เหลวอันที่จริงแล้วนักลงทุนเองมองว่าความล้มเหลวถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง
และพวกเขามักจะร่วมลงทุนหลังจากที่คุณเคยโชคดีพอที่จะท�าผิดพลาดกับ
เงินของคนอื่นมาแล้วระบบนิเวศทั้งหมดของการร่วมลงทุนมีพื้นฐานอยู่บน
ความผิดพลาด โอกาสประสบความส�าเร็จเพียงแค่หนึ่งในสิบนั้นเพียง
พอแล้ว ตราบเท่าที่ความส�าเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความส�าเร็จที่จะพลิกโฉม
วงการขอแค่ถูกสักครั้งก็เกินพอความส�าเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกิดจากคนที่ไม่
กลัวความล้มเหลว นี่คือทัศนคติแบบอเมริกันจ๋าที่เป็นเหตุผลว่าท�าไม
นวัตกรรมส่วนใหญ่ในยุคอินเทอร์เน็ตถึงได้มีต้นก�าเนิดมาจากประเทศนี้
- X -
ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต
ผมขอยกเครดิตให้กับนักเขียนและนักวิเคราะห์ของฟอร์บส ที่ยก
เรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมา และท�าให้เราได้รู้จักกับเหล่าปรมาจารย์มหาเศรษฐี
ยุคดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นจอร์จ แอนเดอส์, วิคตอเรีย บาร์เร็ต, เจฟฟ์
เบอร์โควิชี,สตีฟเบอร์โทนี,เอแบรมบราวน์,เจ.เจ.โคเลา,แฮนนาเอลเลียท,
เดวิด อีวอลท์, โทมิโอ เจอรอน, แอนดี กรีนเบิร์ก, ไรอัน แม็ค, พาร์มี
โอลสัน และเอริค ซาวิทซ์ ตัวอักษรแทบจะทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้คือ
ผลงานของพวกคุณ
ผมขอขอบคุณทีมงานของเพนกวินส์พอร์ทโฟลิโอ เอเดรียน
แซคไฮม์, นาตาลี ฮอบาเชฟสกี และวิล ไวส์เซอร์ ที่เข้าใจในทันทีถึงพลัง
และความส�าคัญของเรื่องราวที่เรารวบรวมขึ้นมา และท�างานได้รวดเร็ว
ไม่ต่างจากธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อให้หนังสือเล่มนี้ออกวางแผงได้ ผมขอ
ขอบคุณทีมงานสองคนของฟอร์บส เป็นพิเศษ ได้แก่ ลูอิส ดวอร์คิน
เจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ระดับสูงของฟอร์บส การที่เขากลับมาท�างานที่
ฟอร์บสเมื่อ4ปีที่แล้วท�าให้เรากลับมาให้ความส�าคัญกับบทความเกี่ยวกับ
ผู้ประกอบการอีกครั้ง ลูอิสคือผู้สร้างรากฐานให้กับทุกเรื่องราวในหนังสือ
เล่มนี้ และอีกคนหนึ่งคือ บรูซ อัพบิน บรรณาธิการบริหารที่ดูแลบทความ
ด้านเทคโนโลยีของฟอร์บสคนคนนี้คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวเกือบทั้งหมด
ที่คุณจะได้อ่าน
ตลอด3ปีที่ผ่านมางานของผมได้ท�าให้ผมมองเห็นคลื่นลูกใหม่ที่
ก�าลังก่อตัวขึ้น การที่ฟอร์บสเป็นนิตยสารชื่อดังที่เผยแพร่เรื่องราวของโลก
ธุรกิจ ท�าให้ผมได้มองเห็นโลกนี้กว้างขึ้นด้วย เรื่องราวเกือบทั้งหมดใน
หนังสือเล่มนี้มาจากบทความแนะน�าในนิตยสารฟอร์บสและส่วนใหญ่เป็น
บทความที่ขึ้นหน้าปกนิตยสาร นอกจากนี้ผมยังได้ท�าการปรับปรุงเนื้อหา
แต่ละเรื่อง เพื่อให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนและถูกต้อง ของสิ่งที่เกิดขึ้น ณ
วันที่เราส่งต้นฉบับให้กับโรงพิมพ์ ผมจัดเรียงเรื่องราวตามล�าดับเวลา โดย
- XI -
บทน�ำ
ดูจากช่วงเวลาที่แต่ละบริษัทเริ่มเป็นที่รู้จัก เราใช้
เวลาเพียงแค่สามปีในการรวบรวมเรื่องราวเหล่านี้
ถึงแม้ว่าหัวใจหลักของแต่ละเรื่องราวนั้นจะเหมือน
กัน แต่คุณจะเห็นได้ว่าตัวเลขมูลค่าของแต่ละ
บริษัทนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ผมขอย้อนกลับมาที่เพื่อนร่วมปาร์ตี้ของ
ผม ฌอน พาร์กเกอร์ แน่นอนว่าบทพูดของเขาที่
ทุกคนจ�าได้จากหนังเดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก คือ
ค�าแนะน�าที่เขาให้กับมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ในการ
ประชุมครั้งแรก “เงินแค่ล้านเดียวมันยังไม่สุด นายรู้ไหมว่าอะไรที่ชั้นเรียก
ว่าสุดๆ ไปเลย? เงินพันล้านไงล่ะ” ฌอนบอกกับผมว่าค�าพูดทั้งหมดนี้มัน
เรื่องแต่งทั้งเพ เขาไม่เคยพูดอะไรแบบนั้น และถึงแม้ว่าเขาจะพูดมันจริงๆ
หลังจากที่คุณอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณก็จะรู้ว่าค�าพูดนี้มันไร้สาระสิ้นดี ใน
ดินแดนของหนุ่มสาวที่ร�่ารวยจากเทคโนโลยี เงินพันล้านไม่ใช่เรื่องสุดยอด
อีกต่อไปแล้ว มันต้องเงินหมื่นล้านต่างหาก
— แรนดอล เลน, สิงหาคม 2014
@RandallLane
ในดินแดนของ
หนุ่มสาวที่ร�่ารวย
จากเทคโนโลยี เงิน
พันล้านไม่ใช่เรื่อง
สุดยอดอีกต่อไปแล้ว
มันต้องเงินหมื่น
ล้านต่างหาก
- 1 -
เรื่องที่ 1
ฌอน พำร์กเกอร์, เฟซบุ๊ก (Facebook):
ผู้ไม่เคยหยุดเปลี่ยนโลก
ฌอน พาร์กเกอร์ คือตัวแทนวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต เขาเปลี่ยน
ตัวเองจากการเป็นแฮกเกอร์มือสมัครเล่นมาเป็นมหาเศรษฐีที่ยังคงท�า
เงินได้ไม่หยุดหย่อน ฌอนเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะหนุ่มวัยรุ่นผู้ก่อตั้ง
เว็บไซต์แนปสเตอร์ เว็บไซต์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกือบจะท�าให้
อุตสาหกรรมเพลงต้องพังพินาศ และท�าให้ตัวเขาเองเฉียดเข้าใกล้คุก
กับโดนค�าสั่งฟ้องล้มละลาย
จากนั้นฌอนก็ได้เป็นประธานบริษัทอายุยี่สิบกว่าๆ ของ
เฟซบุ๊ก ซึ่งมีหน้าที่เป็น “ผู้ใหญ่” คอยดูแลมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (ซีอีโอ
และผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊ก) เขายึดต�าแหน่งผู้ร้ายของวงการดิจิตอลเอา
ไว้อย่างถาวร ถึงแม้ว่าเขาจะท�าเงินให้ตัวเองได้หลายพันล้านดอลลาร์
ก็ตาม
ในปี 2011 หลังจากที่ฌอนเพิ่งถูกตีตราว่าเป็นผู้ร้ายแห่งโลก
เทคโนโลยีไปหมาดๆ ในภาพยนตร์เรื่อง เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ของ
ผู้ก�ากับเดวิด ฟินเชอร์ ฌอนก็เข้ารับการผ่าตัด เขากลายร่างเป็นฤๅษี
เก็บตัวอยู่ในห้องของโรงแรมเพนนินซูล่าในเมืองลอสแองเจลิสเพื่อ
พักฟื้นร่างกายเป็นเวลาถึงสองเดือน เมื่อสตีเวน เบอร์โทนี ตามหา
ฌอนจนเจอเพื่อนัดสัมภาษณ์ สตีเวนจึงได้รู้ซึ้งถึงค�ากล่าวที่ว่า เงินซื้อ
ความสุขไม่ได้
- 2 -
ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต
หลังจากที่ฌอนฟื้นฟูสภาพจิตใจกลับมา เขาก็ได้เชิญสตีเวนไป
นั่งพูดคุยกันสั้นๆ ที่บ้านทาวน์เฮาส์ราคา 20 ล้านดอลลาร์ของเขาที่
กรีนวิชวิลเลจในนิวยอร์ก การนัดสัมภาษณ์ในคราวนั้นแปลงสภาพ
เป็นการร่วมรับประทานอาหารญี่ปุ่นมื้อค�่าอันหรูหรา และหลังจากเหล้า
สาเกราคาแพงหมดไปสองขวด ทั้งสองคนก็ต่อด้วยการนั่งเครื่องบิน
เจ็ทเช่าเหมาล�าไปยังฝั่งตะวันตกของอเมริกา โดยฌอนเล่ากลับไปกลับ
มาถึงเรื่องที่เขาก�าลังสนใจในขณะนั้น นั่นคือ แอร์ไทม์ บริการแชร์คลิป
วิดีโอที่เขาเก็บเป็นความลับไว้อย่างดีและล่มไม่เป็นท่าในเวลาต่อมา
แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ชายคนนี้เก่งเรื่องการคิดท�า
เรื่องใหม่ๆ และไม่คิดมากถ้าอะไรบางอย่างจะไม่เป็นไปตามที่วางแผน
ไว้ ฌอนยังเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังสปอตติฟาย ซึ่งก็คือแนปสเตอร์ที่กลับ
ชาติมาเกิดแบบถูกกฎหมาย โดยในปี 2014 สปอตติฟายมีมูลค่า
ประเมินมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์
ฌอนพาร์กเกอร์ในรถยนต์ออดี้เอส6ที่ซ่อนเครื่องยนต์ของแลมโบกินี่ไว้
ภายในก�าลังขับแหวกสายหมอกยามค�่าคืนบนสะพานโกลเดนเกตมุ่งหน้า
ไปยังบ้านพักบนพื้นที่ 18 เอเคอร์ของเขาในเมืองมารินเคาน์ตี มือซีดขาว
ข้างหนึ่งของฌอนจับอยู่บนพวงมาลัย ในขณะที่มืออีกข้างก�าลังเลือกเพลง
นับพันๆ เพลงที่เขาอัพโหลดเก็บไว้ในเครื่องเสียงของรถ
อดีตประธานของเฟซบุ๊กผ่านพ้นวันที่ยุ่งวุ่นวายไปอีกวันหนึ่งตลอด
10 ชั่วโมงที่ผ่านมา เขาสัมภาษณ์ผู้สมัครสองคนในต�าแหน่งรองประธาน
บริษัทสตาร์ทอัพแห่งใหม่เกี่ยวกับบริการด้านวิดีโอใช้เวลาหลายชั่วโมงตอบ
อีเมลเกี่ยวกับสปอตติฟายซึ่งเป็นบริการเพลงที่เขาอยู่เบื้องหลังและนัดเจอ
กับคนที่เขาเล็งให้เข้ารับต�าแหน่งซีอีโอส�าหรับแอพการกุศลแอพใหม่ของ
เฟซบุ๊กในชื่อ คอสเซส
- 3 -
ฌอน พาร์กเกอร์, เฟซบุ๊ก
ในวันเดียวกันนี้ เขายังติดต่อจองคิววงดนตรีและคุยกับร้านต่างๆ
เพื่อเตรียมงานหมั้นของตัวเองที่จะจัดขึ้นในรัฐนิวเจอร์ซีย์ มันเป็นคืน
เดียวกันกับที่เฮอริเคนไอรีนเข้าถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ท�าให้นักร้อง
ชื่อดังที่จ้างไว้อย่างเลนนีคราวิทซ์ต้องติดค้างอยู่ที่รัฐนอร์ธแคโรไลนาฌอน
จึงเลือกให้วงโคลด์วอร์คิดส์มาเล่นแทน)หลังจากนั้นเขาก็ออกจากที่ท�างาน
เพื่อไปรับประทานอาหารค�่ากับแจ็ค ดอร์ซีย์ ซีอีโอของบริษัทให้บริการ
ช�าระเงินสแควร์และทวิตเตอร์ซึ่งเป็นคู่แข่งของเฟซบุ๊กกว่าเขาจะมาส่งผม
ที่โรงแรมก็ปาเข้าไป5ทุ่มครึ่งแล้วแต่ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมเพียงแค่ครึ่งวัน
ของฌอนเท่านั้น
ฌอนใช้เวลาอีก 6 ชั่วโมงต่อมาระดมส่งอีเมลอย่างต่อเนื่อง แล้ว
เปลี่ยนมาเปิดดูหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา เมื่อช่วงบ่ายของเมื่อวาน (หรือ
วันเดียวกันนี่แหละ ถ้าคุณนับตามเวลานอนของฌอน) เพิ่งมีข่าวการจาก
ไปของสตีฟ จ็อบส์ จนกระทั่งประมาณ 6 โมงเช้าฌอนจึงโพสต์ค�ากล่าว
ของนักปรัชญา อาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์ “เรามองดูความตายของศัตรูของ
เราด้วยความเสียใจ เช่นเดียวกับที่เรารู้สึกกับเพื่อนของเรา เราเสียดายที่
พวกเขาจะไม่ได้เห็นความส�าเร็จของเรา” โพสต์นี้รั่วถึงมือนักข่าวทันที
เว็บไซต์ข่าวกอสซิปชื่อกอว์เกอร์ กล่าวหาฌอนว่าก�าลังเต้นร�าดีใจบน
หลุมศพของสตีฟจ็อบส์ฌอนส่งอีเมลถึงเว็บไซต์กอว์เกอร์ว่าที่เขาโพสต์นั้น
เขาต้องการสรรเสริญสตีฟจ็อบส์ซึ่งเป็นไอดอลของเขามานานและเพิ่งได้
เป็นคู่แข่งกันเมื่อเร็วๆ นี้เอง ฌอนเข้านอนตอนเกือบ 7 โมงเช้า
อีก 4 ชั่วโมงต่อมา ฌอนก็ตื่นขึ้นมาและพร้อมท�ากิจกรรมเหมือน
ทุกๆ วันอีกครั้ง
ความไม่แน่นอนความบ้าบิ่นและนิสัยที่คาดเดาไม่ได้ของฌอนท�า
ให้เขาไม่ถูกกับบรรดานักลงทุนเท่าไรนักเขาถูกไล่ออกจากบริษัทสามแห่ง
ที่เขาช่วยสร้างขึ้นมาหลังจากที่แต่ละบริษัทเริ่มท�าก�าไรได้ไม่นาน ดัสติน
- 4 -
ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต
มอสโกวิทซ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กกล่าวว่า “เขาถูกมองว่าเป็นคนที่คาดเดา
อะไรไม่ได้ ในขณะที่นักลงทุนต้องการให้ทุกอย่างอยู่ใต้การควบคุม” แต่
นักลงทุนชอบไอเดียใหญ่ๆ และฌอนก็มีไอเดียเหล่านั้น
รีด ฮอฟฟ์แมน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ลิงกต์อิน (เว็บไซต์หางานที่ใหญ่
ที่สุดในโลก) เรียกฌอนว่า “คนน่ารังเกียจที่มีวิสัยทัศน์” ถ้ามองในแง่ของ
ความเจ้าเล่ห์เพทุบายในห้องประชุม ตัวฌอนเองนั้นไม่ได้เป็นเหมือนใน
ภาพยนตร์เรื่องเดอะโซเชียลเน็ตเวิร์กเลยชามาธพาลีหะพิทยาอดีตซีอีโอ
ด้านพัฒนาองค์กรของเฟซบุ๊กกล่าวว่า“บทหนังจ�าเป็นต้องมีตัวร้ายแต่นั่น
ไม่ใช่สิ่งที่เขาเป็น ตัวจริงของเขานั้นตรงกันข้ามกับในหนังเลย”
ถ้ามองกันลึกๆแล้วฌอนพาร์กเกอร์ก็เป็นเหมือนสารเร่งปฏิกิริยา
ที่อยู่ในรูปของมนุษย์เขาคือคนที่ช่วยเร่งให้เกิดไอเดียใหม่ซึ่งฌอนได้พิสูจน์
ให้เห็นมาตลอดสองทศวรรษว่าเขาสามารถช่วยให้บริษัทต่างๆ พลิกโฉม
วงการธุรกิจได้ส�าเร็จขณะที่ฌอนอายุเพียงแค่19ปีเขาสร้างความปั่นป่วน
ให้กับอุตสาหกรรมเพลงในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์แชร์เพลงที่ชื่อว่า
แนปสเตอร์ อีกสองปีต่อมาบริการสมุดรายชื่อแบบออนไลน์ของเขาที่ชื่อ
พลาโซก็ได้แสดงให้เห็นถึงพลังของการโฆษณาในโลกยุคดิจิตอลฌอนผลัก
ดันเป้าหมายนี้ให้เดินหน้าไปอีกขั้นในต�าแหน่งประธานของเฟซบุ๊กด้วยวัย
เพียง 24 ปี โดยช่วยให้โซเชียลเน็ตเวิร์กตัวนี้กลายเป็นบริษัทธุรกิจ
อินเทอร์เน็ตที่ส�าคัญที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีใครท�าได้มาก่อนจริงอยู่ที่หลังจาก
ประสบความส�าเร็จทั้งสามบริษัทได้ไล่เขาออกแต่นั่นเกิดขึ้นหลังจากที่ฌอน
ในวัย 31 ปีมีสินทรัพย์ทั้งหมดรวมเป็นมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
และนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น
ในปี2011ฌอนสร้างความปั่นป่วนให้กับวงการจัดจ�าหน่ายเพลง
อีกครั้งเขาน�าบริการสตรีมมิ่งเพลงจากสวีเดนที่มีชื่อว่าสปอตติฟายมายัง
อเมริกา พร้อมทั้งวางแผนน�าเอาบริการนี้มารวมกับเฟซบุ๊กเพื่อเจาะตลาด

Mais conteúdo relacionado

Mais de Piyapong Sirisutthanant

ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfPiyapong Sirisutthanant
 
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdfฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdfPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยPiyapong Sirisutthanant
 
How to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sampleHow to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything samplePiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่นตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่นPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อยตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อยPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัดตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัดPiyapong Sirisutthanant
 
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่นPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKRตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKRPiyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็นตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็นPiyapong Sirisutthanant
 

Mais de Piyapong Sirisutthanant (20)

ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
 
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdfฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
 
AI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่างAI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่าง
 
LHTL_Sample.pdf
LHTL_Sample.pdfLHTL_Sample.pdf
LHTL_Sample.pdf
 
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
 
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
 
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
 
You canlearnanything sample
You canlearnanything sampleYou canlearnanything sample
You canlearnanything sample
 
Successful peopleact sample
Successful peopleact sampleSuccessful peopleact sample
Successful peopleact sample
 
AI SUPERPOWERS_Sample
AI SUPERPOWERS_SampleAI SUPERPOWERS_Sample
AI SUPERPOWERS_Sample
 
How to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sampleHow to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sample
 
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่นตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
 
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อยตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
 
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัดตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
 
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKRตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
 
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็นตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
 

ตัวอย่างหนังสือ ทำถูกครั้งเดียว อนาคตเปลี่ยนตลอดชีวิต

  • 1. ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคต เปลี่ยน ตลอดชีวิต พบกับ 16 เรื่องราวของมหาเศรษฐีแห่งศตวรรษที่ 21 เผยความลับที่คนธรรมดาจะประสบความส�าเร็จได้ในชั่วข้ามคืน Randall Lane และทีมงาน Forbes
  • 2. สำรบัญ บทน�ำ v เรื่องที่ 1 ฌอน พาร์กเกอร์, เฟซบุ๊ก (Facebook): ผู้ไม่เคยหยุดเปลี่ยนโลก 1 เรื่องที่ 2 ดรูว์ เฮาสตัน, ดรอปบ็อกซ์ (Dropbox): พอกันทีกับพายแช่แข็ง 21 เรื่องที่ 3 อีลอน มัสก์, เทสลามอเตอร์สและสเปซเอ็กซ์ (Tesla Motors and SpaceX): เจาะความคิดไอรอนแมนตัวจริง 37 เรื่องที่ 4 เควิน ซิสตรอม, อินสตาแกรม (Instagram): ไม่มีรายได้? ไม่มีแม้แต่ไอเดียที่จะท�ารายได้? ไม่มีปัญหา! 53 เรื่องที่ 5 แดเนียล เอ็ก, สปอตติฟาย (Spotify): ผ่าทางออกให้กับวงการเพลง 71 เรื่องที่ 6 แอรอน เลวี, บ็อกซ์ (Box): บิล เกตส์ รุ่นที่สอง 87 เรื่องที่ 7 แจ็ค ดอร์ซีย์, ทวิตเตอร์, สแควร์ (Twitter, Square): ผู้เชี่ยวชาญทุกสายงาน 103
  • 3. เรื่องที่ 8 เดวิด คาร์พ, ทัมเบลอร์ (Tumblr): โครงการศิลปะพันล้านดอลลาร์ 117 เรื่องที่ 9 นิก วู้ดแมน, โกโปร (GoPro): ผู้ร�่ารวยความตื่นเต้น 135 เรื่องที่ 10 ไบรอัน เชสกี้, แอร์บีเอ็นบี (Airbnb): นายหน้าแห่งยุคเศรษฐกิจแบ่งปัน 149 เรื่องที่ 11 อเล็กซ์ คาร์พ, พาลันเทียร์ (Palantir): ตามติดทุกข้อมูล 161 เรื่องที่ 12 เพจมัน โนซาด, นักลงทุนใจบุญ (Angel Investor): ซินเดอเรลลาแห่งซิลิคอนวัลเลย์ 181 เรื่องที่ 13 อีแวน สปีเกล, สแนปแชท (Snapchat): เดิมพันด้วยเงิน 3 พันล้าน 199 เรื่องที่ 14 ปาล์มเมอร์ ลัคกี้, ออคคูลัส วีอาร์ (Oculus VR): ระบบเสมือนจริงกับขุมทรัพย์ที่จับต้องได้ 219 เรื่องที่ 15 อาดี ทาทาร์โก้, เฮาซ์ (Houzz): ทลายก�าแพงทางเพศ 235 เรื่องที่ 16 แยน คูม, วอทส์แอพ (Whatsapp): โฉมหน้าของนักล่าฝัน 249
  • 4. - V - บทน�ำ ฌอน พาร์กเกอร์ ซุกตัวอยู่ในมุมมืด สายตาที่ว่างเปล่าของเขาคือสายตา ของคนที่แทบจะไม่รู้จักใครเลยในงานที่เต็มไปด้วยแขกเหรื่อมากมายที่งาน สังสรรค์สื่อมวลชน ณ คลับมังกี้บาร์ในนิวยอร์กเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2011 แต่เพราะนับตั้งแต่ผมกลับมาท�าหน้าที่บรรณาธิการ ฌอนคือคนแรกที่ได้ ขึ้นปกนิตยสารฟอร์บส ฉบับสองสัปดาห์ก่อน ผมจึงคิดว่าควรจะเข้าไป แนะน�าตัวกับเขาสักหน่อย “ผมรู้อยู่แล้วว่าคุณเป็นใคร”ฌอนตอบผมพร้อมทั้งโต้กลับด้วยการ เล่าประวัติส่วนตัวของผมสั้นๆ สถานะทางการตลาดของฟอร์บส และ เป้าหมายส�าหรับนิตยสารฉบับนี้ที่ผมเคยพูดเอาไว้ จากนั้นเขาจึงอธิบาย เกี่ยวกับอุปนิสัยหมกมุ่นของเขา (ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ) คล้ายกับก�าลังร�าพึง ร�าพันกับตัวเอง ซึ่งผมสามารถสรุปใจความได้ในค�าเดียวว่า ขอบคุณ บทความที่ขึ้นหน้าปกของนิตยสารฟอร์บส ไม่ได้ใช้ค�าพูดหวานๆ ถึงฌอน เพราะบทความนี้แสดงให้เห็นว่าชายหนุ่มที่ช่วยสร้างแนปสเตอร์ เฟซบุ๊ก และสปอตติฟายให้เกิดขึ้นมาผู้นี้เต็มไปด้วยนิสัยประหลาดและ ข้อบกพร่องมากมาย แต่ก่อนที่โลกจะได้เห็นบทความที่ว่า (ซึ่งมีผู้อ่าน ออนไลน์กว่า700,000ครั้งและผู้อ่านฉบับพิมพ์อีกนับล้าน)คนทั่วโลกต่าง ก็มองเห็นเขาในฐานะตัวร้ายที่แสดงโดยจัสติน ทิมเบอร์เลก ในภาพยนตร์ เรื่องเดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก(เป็นภาพยนตร์ที่เล่าถึงการก่อตั้งเฟซบุ๊กและการ ฟ้องร้องคดีความที่เกี่ยวข้อง)ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นฝีมือการก�ากับของเดวิด ฟินเชอร์ แม้แต่มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เองยังยอมรับว่าบทของภาพยนตร์ เรื่องนี้ไม่แฟร์กับตัวจริงของฌอนสักเท่าไร
  • 5. - VI - ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต ภาพของนักธุรกิจผู้ชั่วร้ายท�าให้ฌอนตัดสินใจขังตัวเองอยู่ในห้อง ของโรงแรมเพนนินซูล่าในลอสแองเจลิสอยู่นานถึงสองเดือน พร้อมกับ น�้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นถึง 30 ปอนด์ คู่หมั้นวัย22ปีของฌอนช่วยให้เขาผ่านพ้นช่วงภาวะซึมเศร้าและ ลดน�้าหนักได้ส�าเร็จวันนี้ฌอนก�าลังยืนอยู่ตรงหน้าผมเขารู้สึกว่าตัวเองยิ่ง ใหญ่ขึ้นนับร้อยเท่า เช่นเดียวกับที่เหล่าผู้กล้าหนุ่มสาวในยุคดิจิตอลอีก หลายคนที่ไม่สนใจกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เลือกที่จะเปลี่ยนแปลง โฉมหน้าของอุตสาหกรรมและวิถีแห่งการสร้างความร�่ารวย หลังจากที่ผมคุยกับฌอนได้เพียงหนึ่งวัน สตีฟ จ็อบส์ ก็จากไป อย่างไม่มีวันกลับสตีฟคือผู้ที่เป็นสัญลักษณ์ของอัศวินยุคใหม่เขาเป็นหนึ่ง ในสามเสาหลักของนักธุรกิจที่พลิกวงการเทคโนโลยีร่วมกับบิล เกตส์ และ ไมเคิล เดลล์ โดยสมัยที่ทั้งสามคนยังหนุ่ม พวกเขาได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็น ว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนโลกได้ วันนี้สตีฟเสียชีวิตไปแล้ว บิลท�างาน เป็นนักการกุศลเต็มตัว ในขณะที่บริษัทของไมเคิล เดลล์ ในสายตาคน รุ่นใหม่รวมไปถึงแอปเปิลและไมโครซอฟต์ ถูกมองว่าเป็นเพียงเหยื่อตัว อ้วนพีแทนที่จะเป็นนักล่าผู้หิวกระหาย เรื่องราวที่ผมพูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ครึ่งแรกของยุคคอมพิวเตอร์ ในอเมริกาเต็มไปด้วยคลื่นลูกใหม่ที่ถาโถมเข้ามาแทนคลื่นลูกเก่าหลังจาก ผมเรียบจบมหาวิทยาลัยในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ผมได้ท�างานกับฟอร์บส และได้มีโอกาสได้เขียนบทความเกี่ยวกับคนในยุคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ซึ่งเป็น กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและชอบท�าธุรกิจส่วนตัวมากกว่าไต่ บันไดองค์กร คนในยุคนั้นท�าให้เราได้เห็นฟองสบู่ของธุรกิจอินเทอร์เน็ตใน ยุคแรกซึ่งเป็นการขึ้นชกระหว่างคู่ต่อสู้รายต่างๆจนในที่สุดเราจึงได้ผู้ชนะ ที่ยิ่งใหญ่เหลืออยู่แค่ไม่กี่ราย
  • 6. - VII - บทน�ำ แต่ส�าหรับการขึ้นชกในยกนี้แรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังนั้นยิ่งทวี ความรุนแรงขึ้นไปอีกหลายเท่า คนรุ่นใหม่ในยุคนี้ไม่ใช่แค่คุ้นเคยกับ เทคโนโลยีเท่านั้น แต่พวกเขาไม่เคยแม้แต่ได้สัมผัสกับโลกที่ไร้ซึ่ง อินเทอร์เน็ตนี่คือสิ่งที่ท�าให้คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการหยุดแค่เพียงการเป็นผู้ชนะ ในโลกของเทคโนโลยีเท่านั้น เพราะธุรกิจทุกวงกำรในทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ดนตรี หรือการขนส่ง ดังนั้น ธุรกิจทุกหนแห่งจึงพร้อมที่จะให้คนเหล่านี้เข้ามาตักตวงความส�าเร็จ แน่นอนว่าสิ่งดึงดูดใจอีกอย่างหนึ่งนอกจากความส�าเร็จก็คือ เงิน ในอนาคตเราคงจะได้เห็นในที่สุดว่าธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะเป็นเพียง แค่ฟองสบู่ทางเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ แต่ถ้าคุณรู้ว่าแอพส�าหรับแชร์ รถรับส่งสาธารณะอย่างอูเบอร์ที่มีอายุแค่ 5 ปีเท่านั้น มีมูลค่าประเมินใน การระดมทุนสูงถึง 17,000 ล้านดอลลาร์ คุณก็คงจะรู้สึกว่าฟองสบู่คงไม่ แตกง่ายๆ อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก�าลังได้เห็นเครื่องจักร สร้างความร�่ารวยที่มหัศจรรย์ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กในวัย30ปีมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ รวมประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ มาร์คอาจจะเรียกได้ว่าเป็นฮีโร่ของ เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ แต่เขาไม่ใช่คนเดียวที่ร�่ารวยขึ้นมาจากเทคโนโลยี มี ชาวอเมริกันกว่าสิบคนที่ติดท�าเนียบมหาเศรษฐีพันล้านด้วยตนเองในช่วง 5ปีที่ผ่านมาทั้งที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะสมัครเป็นประธานาธิบดีได้ด้วยซ�้า ยิ่งไปกว่านั้นคนในกลุ่มนี้ไม่คิดว่าความร�่ารวยระดับนี้เป็นเรื่องแปลกอะไร และรู้สึกว่าตนเองควรได้รับสิทธินั้นอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันความหนุ่มสาวนั้นไม่ใช่ข้อเสียเปรียบอีกต่อไปซึ่ง ถือเป็นการเปลี่ยนอารยธรรมของมนุษย์จากหน้ามือเป็นหลังมือในอดีตไม่ ว่าคุณจะเป็นช่างตีเหล็กหรือนักกฎหมายความฉลาดและประสบการณ์จะ
  • 7. - VIII - ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต ท�าให้คุณค่าของตัวเองเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ในช่วง ยี่สิบปีที่ผ่านมาถ้าจะหาช่างสักคนมาซ่อมคอมพิวเตอร์ของคุณ แน่นอนว่า คุณอยากจะได้ช่างซ่อมอายุ25มากกว่าอายุ55เมื่อสักสิบปีก่อนนักลงทุน ต้องการคนวัยหนุ่มสาวที่ “โตมากับยุคดิจิตอล” มากกว่าคนที่อยู่ใน อุตสาหกรรมนี้มานานแต่มีเงื่อนไขก็คือคนหนุ่มสาวเหล่านี้ต้องถูกจับคู่กับ “ผู้ใหญ่” ที่ท�างานเป็น แต่ในปัจจุบันไม่มีใครสนใจว่าจะต้องมีผู้ใหญ่คอย คุมอีกต่อไปแล้วคนวัยหนุ่มสาวคือผู้ที่จะเข้ามาจัดการทุกอย่างด้วยตนเอง สิ่งที่แตกต่างจากผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์(กองทุนที่มุ่งหาก�าไร สูงสุดโดยใช้เครื่องมือการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน) ซึ่งกวาดก�าไรได้ นับพันล้านโดยที่ไม่ต้องสร้างสรรค์อะไรขึ้นมาเองเลย(นอกจากท�าธุรกรรม ทางการเงินที่ซับซ้อนและสุดท้ายก็ท�าให้ทุกอย่างพังพินาศ) ก็คือไม่มีใคร รังเกียจคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ในทางตรงกันข้าม คนทั่วไปมองการที่พวกเขา เหมาเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวเดินทางข้ามประเทศว่าเป็นเรื่องที่เท่มาก ฮีโร่เกิดขึ้นจากความเชื่อว่าความส�าเร็จเกิดขึ้นจากตนเองนักลงทุน ให้ความส�าคัญกับไอเดียและการลงมือท�ามากกว่าเส้นสายและฝีปากใน การขาย เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณจะได้เห็นว่าความส�าเร็จนั้นเกิดขึ้น กับวัยรุ่นที่ใช้เวลาเรียนรู้การเป็นแฮกเกอร์ มากกว่ากับคนที่มีชื่อพ่อตัวเอง สลักอยู่บนป้ายเกียรติยศของมหาวิทยาลัยการกีดกันทางเพศยังคงมีให้เห็น อยู่ในแวดวงนักเขียนโปรแกรม (จริงๆ แล้วเราไม่ได้ตั้งใจจะให้หนังสือเล่ม มีแต่เรื่องราวของผู้ชายอย่างเดียวแต่มีผู้หญิงน้อยมากที่มีโอกาสสร้างธุรกิจ สตาร์ทอัพขนาดใหญ่ในวงการเทคโนโลยี) แต่ถ้าคุณได้ลองคุยกับแยน คูม หรือเพจมัน โนซาด หรือแดเนียล เอ็ก คุณจะได้รู้ว่าความฝันในการสร้างความร�่ารวยนั้นมีโอกาสกลายเป็น ความจริงได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การเล่นเส้นสายอย่างเดียวที่ผมเคย เห็นก็มาจากการที่คุณเป็นเพื่อนร่วมห้อง เป็นคู่ซี้ หรืออยู่ในกลุ่มเพื่อน
  • 8. - IX - บทน�ำ เดียวกันกับคนเก่งๆ เท่านั้น (ในช่วงทศวรรษ 2010 ไม่มีต�าแหน่งอะไรที่จะ มีความหมายดีไปกว่า “ผู้ก่อตั้งบริษัท”) คงเป็นเรื่องยากที่คุณจะไม่ชอบ ขี้หน้าใครสักคนถ้าคุณก�าลังตามหาความฝันเดียวกัน อย่างไรก็ตามส�าหรับผม สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในทุกเรื่องราวของ หนังสือเล่มนี้ ซึ่งผมอยากปรบมือให้ดังๆ ก็คือความกล้าท�าในสิ่งที่ตนเชื่อ การฟื้นตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 เป็นไปอย่างช้า มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งส�าหรับตลาดงานในขณะที่คนอื่นมองเห็นโลกที่หยุด นิ่งอยู่กับที่คนกลุ่มนี้กลับมองเห็นเหมืองทองอยู่ข้างหน้าและที่ส�าคัญก็คือ พวกเขาลงมือท�ำ พวกเขาต้องการที่จะรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ได้ลงมือท�าไป มากกว่าที่จะมาเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ท�า สตีฟจ็อบส์,บิลเกตส์และไมเคิลเดลล์ท�าให้การดรอปเรียนกลาง คันกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ส�าหรับคนในกลุ่มนี้ มันคือความเท่ มันคือ ตราแห่งเกียรติยศ(อีแวนสปีเกลผู้ก่อตั้งบริษัทสแนปแชทดรอปเรียนจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกลางห้องเรียน ทั้งๆ ที่เหลืออีกแค่หนึ่งเดือนก็จะ เรียนจบ… เพราะเขายึดถือในหลักการของตัวเอง) แทบจะไม่มีใครเลยในหนังสือเล่มนี้ที่ไม่เคยสัมผัสกับความล้ม เหลวอันที่จริงแล้วนักลงทุนเองมองว่าความล้มเหลวถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง และพวกเขามักจะร่วมลงทุนหลังจากที่คุณเคยโชคดีพอที่จะท�าผิดพลาดกับ เงินของคนอื่นมาแล้วระบบนิเวศทั้งหมดของการร่วมลงทุนมีพื้นฐานอยู่บน ความผิดพลาด โอกาสประสบความส�าเร็จเพียงแค่หนึ่งในสิบนั้นเพียง พอแล้ว ตราบเท่าที่ความส�าเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความส�าเร็จที่จะพลิกโฉม วงการขอแค่ถูกสักครั้งก็เกินพอความส�าเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกิดจากคนที่ไม่ กลัวความล้มเหลว นี่คือทัศนคติแบบอเมริกันจ๋าที่เป็นเหตุผลว่าท�าไม นวัตกรรมส่วนใหญ่ในยุคอินเทอร์เน็ตถึงได้มีต้นก�าเนิดมาจากประเทศนี้
  • 9. - X - ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต ผมขอยกเครดิตให้กับนักเขียนและนักวิเคราะห์ของฟอร์บส ที่ยก เรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมา และท�าให้เราได้รู้จักกับเหล่าปรมาจารย์มหาเศรษฐี ยุคดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นจอร์จ แอนเดอส์, วิคตอเรีย บาร์เร็ต, เจฟฟ์ เบอร์โควิชี,สตีฟเบอร์โทนี,เอแบรมบราวน์,เจ.เจ.โคเลา,แฮนนาเอลเลียท, เดวิด อีวอลท์, โทมิโอ เจอรอน, แอนดี กรีนเบิร์ก, ไรอัน แม็ค, พาร์มี โอลสัน และเอริค ซาวิทซ์ ตัวอักษรแทบจะทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้คือ ผลงานของพวกคุณ ผมขอขอบคุณทีมงานของเพนกวินส์พอร์ทโฟลิโอ เอเดรียน แซคไฮม์, นาตาลี ฮอบาเชฟสกี และวิล ไวส์เซอร์ ที่เข้าใจในทันทีถึงพลัง และความส�าคัญของเรื่องราวที่เรารวบรวมขึ้นมา และท�างานได้รวดเร็ว ไม่ต่างจากธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อให้หนังสือเล่มนี้ออกวางแผงได้ ผมขอ ขอบคุณทีมงานสองคนของฟอร์บส เป็นพิเศษ ได้แก่ ลูอิส ดวอร์คิน เจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ระดับสูงของฟอร์บส การที่เขากลับมาท�างานที่ ฟอร์บสเมื่อ4ปีที่แล้วท�าให้เรากลับมาให้ความส�าคัญกับบทความเกี่ยวกับ ผู้ประกอบการอีกครั้ง ลูอิสคือผู้สร้างรากฐานให้กับทุกเรื่องราวในหนังสือ เล่มนี้ และอีกคนหนึ่งคือ บรูซ อัพบิน บรรณาธิการบริหารที่ดูแลบทความ ด้านเทคโนโลยีของฟอร์บสคนคนนี้คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวเกือบทั้งหมด ที่คุณจะได้อ่าน ตลอด3ปีที่ผ่านมางานของผมได้ท�าให้ผมมองเห็นคลื่นลูกใหม่ที่ ก�าลังก่อตัวขึ้น การที่ฟอร์บสเป็นนิตยสารชื่อดังที่เผยแพร่เรื่องราวของโลก ธุรกิจ ท�าให้ผมได้มองเห็นโลกนี้กว้างขึ้นด้วย เรื่องราวเกือบทั้งหมดใน หนังสือเล่มนี้มาจากบทความแนะน�าในนิตยสารฟอร์บสและส่วนใหญ่เป็น บทความที่ขึ้นหน้าปกนิตยสาร นอกจากนี้ผมยังได้ท�าการปรับปรุงเนื้อหา แต่ละเรื่อง เพื่อให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนและถูกต้อง ของสิ่งที่เกิดขึ้น ณ วันที่เราส่งต้นฉบับให้กับโรงพิมพ์ ผมจัดเรียงเรื่องราวตามล�าดับเวลา โดย
  • 10. - XI - บทน�ำ ดูจากช่วงเวลาที่แต่ละบริษัทเริ่มเป็นที่รู้จัก เราใช้ เวลาเพียงแค่สามปีในการรวบรวมเรื่องราวเหล่านี้ ถึงแม้ว่าหัวใจหลักของแต่ละเรื่องราวนั้นจะเหมือน กัน แต่คุณจะเห็นได้ว่าตัวเลขมูลค่าของแต่ละ บริษัทนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผมขอย้อนกลับมาที่เพื่อนร่วมปาร์ตี้ของ ผม ฌอน พาร์กเกอร์ แน่นอนว่าบทพูดของเขาที่ ทุกคนจ�าได้จากหนังเดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก คือ ค�าแนะน�าที่เขาให้กับมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ในการ ประชุมครั้งแรก “เงินแค่ล้านเดียวมันยังไม่สุด นายรู้ไหมว่าอะไรที่ชั้นเรียก ว่าสุดๆ ไปเลย? เงินพันล้านไงล่ะ” ฌอนบอกกับผมว่าค�าพูดทั้งหมดนี้มัน เรื่องแต่งทั้งเพ เขาไม่เคยพูดอะไรแบบนั้น และถึงแม้ว่าเขาจะพูดมันจริงๆ หลังจากที่คุณอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณก็จะรู้ว่าค�าพูดนี้มันไร้สาระสิ้นดี ใน ดินแดนของหนุ่มสาวที่ร�่ารวยจากเทคโนโลยี เงินพันล้านไม่ใช่เรื่องสุดยอด อีกต่อไปแล้ว มันต้องเงินหมื่นล้านต่างหาก — แรนดอล เลน, สิงหาคม 2014 @RandallLane ในดินแดนของ หนุ่มสาวที่ร�่ารวย จากเทคโนโลยี เงิน พันล้านไม่ใช่เรื่อง สุดยอดอีกต่อไปแล้ว มันต้องเงินหมื่น ล้านต่างหาก
  • 11.
  • 12. - 1 - เรื่องที่ 1 ฌอน พำร์กเกอร์, เฟซบุ๊ก (Facebook): ผู้ไม่เคยหยุดเปลี่ยนโลก ฌอน พาร์กเกอร์ คือตัวแทนวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต เขาเปลี่ยน ตัวเองจากการเป็นแฮกเกอร์มือสมัครเล่นมาเป็นมหาเศรษฐีที่ยังคงท�า เงินได้ไม่หยุดหย่อน ฌอนเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะหนุ่มวัยรุ่นผู้ก่อตั้ง เว็บไซต์แนปสเตอร์ เว็บไซต์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกือบจะท�าให้ อุตสาหกรรมเพลงต้องพังพินาศ และท�าให้ตัวเขาเองเฉียดเข้าใกล้คุก กับโดนค�าสั่งฟ้องล้มละลาย จากนั้นฌอนก็ได้เป็นประธานบริษัทอายุยี่สิบกว่าๆ ของ เฟซบุ๊ก ซึ่งมีหน้าที่เป็น “ผู้ใหญ่” คอยดูแลมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊ก) เขายึดต�าแหน่งผู้ร้ายของวงการดิจิตอลเอา ไว้อย่างถาวร ถึงแม้ว่าเขาจะท�าเงินให้ตัวเองได้หลายพันล้านดอลลาร์ ก็ตาม ในปี 2011 หลังจากที่ฌอนเพิ่งถูกตีตราว่าเป็นผู้ร้ายแห่งโลก เทคโนโลยีไปหมาดๆ ในภาพยนตร์เรื่อง เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ของ ผู้ก�ากับเดวิด ฟินเชอร์ ฌอนก็เข้ารับการผ่าตัด เขากลายร่างเป็นฤๅษี เก็บตัวอยู่ในห้องของโรงแรมเพนนินซูล่าในเมืองลอสแองเจลิสเพื่อ พักฟื้นร่างกายเป็นเวลาถึงสองเดือน เมื่อสตีเวน เบอร์โทนี ตามหา ฌอนจนเจอเพื่อนัดสัมภาษณ์ สตีเวนจึงได้รู้ซึ้งถึงค�ากล่าวที่ว่า เงินซื้อ ความสุขไม่ได้
  • 13. - 2 - ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต หลังจากที่ฌอนฟื้นฟูสภาพจิตใจกลับมา เขาก็ได้เชิญสตีเวนไป นั่งพูดคุยกันสั้นๆ ที่บ้านทาวน์เฮาส์ราคา 20 ล้านดอลลาร์ของเขาที่ กรีนวิชวิลเลจในนิวยอร์ก การนัดสัมภาษณ์ในคราวนั้นแปลงสภาพ เป็นการร่วมรับประทานอาหารญี่ปุ่นมื้อค�่าอันหรูหรา และหลังจากเหล้า สาเกราคาแพงหมดไปสองขวด ทั้งสองคนก็ต่อด้วยการนั่งเครื่องบิน เจ็ทเช่าเหมาล�าไปยังฝั่งตะวันตกของอเมริกา โดยฌอนเล่ากลับไปกลับ มาถึงเรื่องที่เขาก�าลังสนใจในขณะนั้น นั่นคือ แอร์ไทม์ บริการแชร์คลิป วิดีโอที่เขาเก็บเป็นความลับไว้อย่างดีและล่มไม่เป็นท่าในเวลาต่อมา แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ชายคนนี้เก่งเรื่องการคิดท�า เรื่องใหม่ๆ และไม่คิดมากถ้าอะไรบางอย่างจะไม่เป็นไปตามที่วางแผน ไว้ ฌอนยังเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังสปอตติฟาย ซึ่งก็คือแนปสเตอร์ที่กลับ ชาติมาเกิดแบบถูกกฎหมาย โดยในปี 2014 สปอตติฟายมีมูลค่า ประเมินมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ ฌอนพาร์กเกอร์ในรถยนต์ออดี้เอส6ที่ซ่อนเครื่องยนต์ของแลมโบกินี่ไว้ ภายในก�าลังขับแหวกสายหมอกยามค�่าคืนบนสะพานโกลเดนเกตมุ่งหน้า ไปยังบ้านพักบนพื้นที่ 18 เอเคอร์ของเขาในเมืองมารินเคาน์ตี มือซีดขาว ข้างหนึ่งของฌอนจับอยู่บนพวงมาลัย ในขณะที่มืออีกข้างก�าลังเลือกเพลง นับพันๆ เพลงที่เขาอัพโหลดเก็บไว้ในเครื่องเสียงของรถ อดีตประธานของเฟซบุ๊กผ่านพ้นวันที่ยุ่งวุ่นวายไปอีกวันหนึ่งตลอด 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา เขาสัมภาษณ์ผู้สมัครสองคนในต�าแหน่งรองประธาน บริษัทสตาร์ทอัพแห่งใหม่เกี่ยวกับบริการด้านวิดีโอใช้เวลาหลายชั่วโมงตอบ อีเมลเกี่ยวกับสปอตติฟายซึ่งเป็นบริการเพลงที่เขาอยู่เบื้องหลังและนัดเจอ กับคนที่เขาเล็งให้เข้ารับต�าแหน่งซีอีโอส�าหรับแอพการกุศลแอพใหม่ของ เฟซบุ๊กในชื่อ คอสเซส
  • 14. - 3 - ฌอน พาร์กเกอร์, เฟซบุ๊ก ในวันเดียวกันนี้ เขายังติดต่อจองคิววงดนตรีและคุยกับร้านต่างๆ เพื่อเตรียมงานหมั้นของตัวเองที่จะจัดขึ้นในรัฐนิวเจอร์ซีย์ มันเป็นคืน เดียวกันกับที่เฮอริเคนไอรีนเข้าถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ท�าให้นักร้อง ชื่อดังที่จ้างไว้อย่างเลนนีคราวิทซ์ต้องติดค้างอยู่ที่รัฐนอร์ธแคโรไลนาฌอน จึงเลือกให้วงโคลด์วอร์คิดส์มาเล่นแทน)หลังจากนั้นเขาก็ออกจากที่ท�างาน เพื่อไปรับประทานอาหารค�่ากับแจ็ค ดอร์ซีย์ ซีอีโอของบริษัทให้บริการ ช�าระเงินสแควร์และทวิตเตอร์ซึ่งเป็นคู่แข่งของเฟซบุ๊กกว่าเขาจะมาส่งผม ที่โรงแรมก็ปาเข้าไป5ทุ่มครึ่งแล้วแต่ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมเพียงแค่ครึ่งวัน ของฌอนเท่านั้น ฌอนใช้เวลาอีก 6 ชั่วโมงต่อมาระดมส่งอีเมลอย่างต่อเนื่อง แล้ว เปลี่ยนมาเปิดดูหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา เมื่อช่วงบ่ายของเมื่อวาน (หรือ วันเดียวกันนี่แหละ ถ้าคุณนับตามเวลานอนของฌอน) เพิ่งมีข่าวการจาก ไปของสตีฟ จ็อบส์ จนกระทั่งประมาณ 6 โมงเช้าฌอนจึงโพสต์ค�ากล่าว ของนักปรัชญา อาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์ “เรามองดูความตายของศัตรูของ เราด้วยความเสียใจ เช่นเดียวกับที่เรารู้สึกกับเพื่อนของเรา เราเสียดายที่ พวกเขาจะไม่ได้เห็นความส�าเร็จของเรา” โพสต์นี้รั่วถึงมือนักข่าวทันที เว็บไซต์ข่าวกอสซิปชื่อกอว์เกอร์ กล่าวหาฌอนว่าก�าลังเต้นร�าดีใจบน หลุมศพของสตีฟจ็อบส์ฌอนส่งอีเมลถึงเว็บไซต์กอว์เกอร์ว่าที่เขาโพสต์นั้น เขาต้องการสรรเสริญสตีฟจ็อบส์ซึ่งเป็นไอดอลของเขามานานและเพิ่งได้ เป็นคู่แข่งกันเมื่อเร็วๆ นี้เอง ฌอนเข้านอนตอนเกือบ 7 โมงเช้า อีก 4 ชั่วโมงต่อมา ฌอนก็ตื่นขึ้นมาและพร้อมท�ากิจกรรมเหมือน ทุกๆ วันอีกครั้ง ความไม่แน่นอนความบ้าบิ่นและนิสัยที่คาดเดาไม่ได้ของฌอนท�า ให้เขาไม่ถูกกับบรรดานักลงทุนเท่าไรนักเขาถูกไล่ออกจากบริษัทสามแห่ง ที่เขาช่วยสร้างขึ้นมาหลังจากที่แต่ละบริษัทเริ่มท�าก�าไรได้ไม่นาน ดัสติน
  • 15. - 4 - ท�ำถูกครั้งเดียว อนำคตเปลี่ยนตลอดชีวิต มอสโกวิทซ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กกล่าวว่า “เขาถูกมองว่าเป็นคนที่คาดเดา อะไรไม่ได้ ในขณะที่นักลงทุนต้องการให้ทุกอย่างอยู่ใต้การควบคุม” แต่ นักลงทุนชอบไอเดียใหญ่ๆ และฌอนก็มีไอเดียเหล่านั้น รีด ฮอฟฟ์แมน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ลิงกต์อิน (เว็บไซต์หางานที่ใหญ่ ที่สุดในโลก) เรียกฌอนว่า “คนน่ารังเกียจที่มีวิสัยทัศน์” ถ้ามองในแง่ของ ความเจ้าเล่ห์เพทุบายในห้องประชุม ตัวฌอนเองนั้นไม่ได้เป็นเหมือนใน ภาพยนตร์เรื่องเดอะโซเชียลเน็ตเวิร์กเลยชามาธพาลีหะพิทยาอดีตซีอีโอ ด้านพัฒนาองค์กรของเฟซบุ๊กกล่าวว่า“บทหนังจ�าเป็นต้องมีตัวร้ายแต่นั่น ไม่ใช่สิ่งที่เขาเป็น ตัวจริงของเขานั้นตรงกันข้ามกับในหนังเลย” ถ้ามองกันลึกๆแล้วฌอนพาร์กเกอร์ก็เป็นเหมือนสารเร่งปฏิกิริยา ที่อยู่ในรูปของมนุษย์เขาคือคนที่ช่วยเร่งให้เกิดไอเดียใหม่ซึ่งฌอนได้พิสูจน์ ให้เห็นมาตลอดสองทศวรรษว่าเขาสามารถช่วยให้บริษัทต่างๆ พลิกโฉม วงการธุรกิจได้ส�าเร็จขณะที่ฌอนอายุเพียงแค่19ปีเขาสร้างความปั่นป่วน ให้กับอุตสาหกรรมเพลงในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์แชร์เพลงที่ชื่อว่า แนปสเตอร์ อีกสองปีต่อมาบริการสมุดรายชื่อแบบออนไลน์ของเขาที่ชื่อ พลาโซก็ได้แสดงให้เห็นถึงพลังของการโฆษณาในโลกยุคดิจิตอลฌอนผลัก ดันเป้าหมายนี้ให้เดินหน้าไปอีกขั้นในต�าแหน่งประธานของเฟซบุ๊กด้วยวัย เพียง 24 ปี โดยช่วยให้โซเชียลเน็ตเวิร์กตัวนี้กลายเป็นบริษัทธุรกิจ อินเทอร์เน็ตที่ส�าคัญที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีใครท�าได้มาก่อนจริงอยู่ที่หลังจาก ประสบความส�าเร็จทั้งสามบริษัทได้ไล่เขาออกแต่นั่นเกิดขึ้นหลังจากที่ฌอน ในวัย 31 ปีมีสินทรัพย์ทั้งหมดรวมเป็นมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ และนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ในปี2011ฌอนสร้างความปั่นป่วนให้กับวงการจัดจ�าหน่ายเพลง อีกครั้งเขาน�าบริการสตรีมมิ่งเพลงจากสวีเดนที่มีชื่อว่าสปอตติฟายมายัง อเมริกา พร้อมทั้งวางแผนน�าเอาบริการนี้มารวมกับเฟซบุ๊กเพื่อเจาะตลาด