SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 2
Baixar para ler offline
เก็บมาเล่าสู่กันฟัง...เรื่อง 
2 สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย 
อ่านบทความวิจัยภาษาอังกฤษ 
โดย ทนพ. เมธี ศรีประพันธ์ไม่ยากอย่างที่คิด 
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ ในเนื้อหาฉบับที่แล้ว ผมได้เขียนแนะนำ�เกี่ยวกับเทคนิคและเคล็ดลับในการอ่าน 
บทความวิจัยภาษาอังกฤษเบื้องต้น โดยได้อธิบายในส่วนของการดูหัวข้อเรื่อง (Title) และการพิจารณาส่วนต่างๆ ของบทคัดย่อ (Abstract) 
และได้พาทุกท่านเข้าไปสู่ส่วนบทนำ� หรือ ‘Introduction’ โดยให้ตัวอย่างของประโยคหรือวลีภาษาอังกฤษ รวมถึงยกตัวอย่างประกอบให้ท่านผู้ 
อ่านได้ลองติดตามไปแล้ว 
• อ่านต่อหน้า 3 
ในตอนที่ 4 นี้ ผมจะกล่าวถึงส่วนต่อไปที่เราพบในบทความวิจัยภาษา 
อังกฤษ โดยฉบับนี้จะกล่าวใน 2 ส่วน คือ ‘Materials and Methods’ และ 
‘Results’ 
เรามาเริ่มกันในส่วนแรกของฉบับนี้ คือ ส่วน Materials and Methods 
ส่วนนี้นับว่าเป็นส่วนสำ�คัญอีกส่วนหนึ่งเลย เนื่องจากจะอธิบายถึงระเบียบ 
วิธีวิจัย วิธีการศึกษา วิธีการวิเคราะห์ผล ที่สำ�คัญคือ เราจะรู้วิธีการทำ� 
ปฏิบัติการแต่ละอย่างว่าใช้น้ำ�ยาอะไร เตรียมน้ำ�ยาอย่างไร ทำ�การทดลอง 
อย่างไร ใช้ condition อะไรในการทำ�ปฏิบัติการก็จากการอ่านส่วนนี้ล่ะครับ 
ในบางครั้งส่วนนี้อาจไม่ได้เขียนว่า Materials and Methods เสมอไป 
บางวารสารวิชาการอาจใช้คำ�ว่า ‘Patients and Methods’ หรือ ใช้แค่คำ� 
ว่า ‘Methods’ ครับ (ขึ้นอยู่กับลักษณะของบทความวิชาการแต่ละประเภท) 
การอ่านในส่วนนี้ไม่ยากครับ ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายวิธีการทำ�ปฏิบัติ 
การที่ใช้ในการศึกษาของบทความวิชาการนั้นๆ ที่สำ�คัญคือ การนำ�วิธีการ 
ศึกษาวิจัยจากบทความวิชาการไปใช้ในการศึกษางานวิจัยของเรา จะต้อง 
อ่านดีๆ อย่าลืมว่าถ้าใช้น้ำ�ยาคนละตัวกับที่เราทำ�การศึกษา บาง condition 
อาจใช้ไม่ได้นะครับ เราต้องหา condition ใหม่เอง เพียงแค่ใช้งานวิจัยก่อน 
หน้าเป็นแนวทางหรือเข็มทิศเฉยๆ จุดที่ต้องระวังอีกอย่างคือ การวิเคราะห์ 
ผลการวิจัยครับ ต้องพิจารณาว่าใช้สถิติตัวไหน เหมาะสมหรือไม่ นำ�มาใช้ 
ในการวเิคราะหใ์นงานวจิยัของเราทีมี่วธิกีารศกึษาใกลเ้คยีงกบังานวจิัยก่อน 
หน้าได้หรือไม่ 
ส่วนนี้ขอฝากไว้กับผู้ที่ต้องทำ�วิจัยทางอณูชีววิทยาครับ ถ้าเป็นบทความ 
วิจัยในสาขานี้ ในส่วนนี้จะบอกลำ�ดับเบสของ primers ที่ใช้ทำ� PCR ไว้ ยังไง 
ก่อนใช้ primers ก็ตรวจเช็คดีๆ ก่อนนะครับ เพราะอาจมีบางตำ�แหน่งพิมพ์ 
ผิด หรือข้อมูลของ PCR product อาจคลาดเคลื่อนได้ครับ (จากประสบการณ์ 
ส่วนตัวของผมและเพือ่นๆ ครับ) ที่สำ�คัญ condition ที่ใชใ้นบทความกับงาน 
วิจัยที่เราจะทำ�นั้น ถ้าเป็นน้ำ�ยาเดียวกันกับที่ผู้วิจัยทำ� ก็สามารถทำ�ตามได้ 
แต่ถ้าเปลี่ยนน้ำ�ยา หรือเครื่องมือแล้วไซร้ ควรหา condition ไว้ใช้สำ�หรับ 
ของเราเองครับ 
เราลองมาดูประโยคหรือวลีที่เราสามารถพบได้ในส่วนนี้ครับ 
อธิบายกลุ่มตัวอย่าง หรือคนไข้ในการศึกษา (Subjects) 
พยายามหากลุ่มคำ�หรือประโยคต่อไปนี้ครับ 
อธิบายวิธีการดำ�เนินการศึกษา 
จะไม่มีรูปแบบของประโยคหรือวลีที่ชัดเจนในส่วนนี้ครับ ส่วนใหญ่ 
เป็นการบรรยายวิธีดำ�เนินการของงานวิจัยนั้นๆ โดยจะบอกถึงน้ำ�ยาที่ 
ใช้ (บอกบริษัทหรือยี่ห้อที่ใช้) วิธีการเตรียมตัวอย่างตรวจ วิธีการ 
ตรวจวัด การบันทึกผล การวิเคราะห์ผลการตรวจ ซึ่งจะบอกเป็นลำ�ดับ 
ขั้นตอนไป โดยเราอาจสังเกตจากคำ�ต่างๆ เช่น ‘First, Next, Then, After 
that, Later’ เป็นต้น 
ในท้ายสุดของส่วนนี้ผู้ทำ�การวิจัยจะบอกสถิติที่ใช้ในการศึกษาในงาน 
วิจัยนั้นๆ ซึ่งมีหลายรูปแบบครับ ผมจะไม่ขอกล่าวในตรงนี้ แต่ถ้าจะหา 
ว่างานวิจัยใช้สถิติอะไรเราสามารถไปยังส่วนท้ายๆ ของ Materials and 
Methods ได้เลยครับ โดยเรามักพบกลุ่มประโยควลีที่บอกว่า 
(ชื่อสถิติที่ใช้) + was/were + used/computed/calculated/performed+ .................. 
เราลองมาดูตัวอย่างจากบทความวิจัยภาษาอังกฤษกันครับ 
ในส่วน หมายเลข 1 
จะบอกวิธีการนำ�คนไข้เข้า 
มาศึกษาในงานวิจัยนี้ครับ 
ว่ามีเกณฑ์การคัดเลือกเข้า 
ศึกษาอย่างไร เกณฑ์คัด 
เลือกออกจากการศึกษา 
อย่างไร ใช้คนไข้ในการ 
ศึกษานี้ทั้งสิ้นกี่ราย 
ส่วน หมายเลข 
2 จะบอกถึงวิธีการ 
ดำ�เนินการศึกษา การ 
ตรวจวัด วิธีการทดลอง 
ที่ใช้ในงานวิจัย ถ้า 
วิธีก าร ศึก ษ า ไ ม่ไ ด้ 
เป็นการพัฒนาขึ้นมา 
เอง กล่าวคือนำ�วิธีการ 
ศึกษามาจากคนอื่น 
ต้องมีการอ้างอิง (Ref-erence) 
ด้วยครับ 
ส่วน ห ม า ย เ ล ข 
3 จะบอกถึงสถิติ 
ที่ใช้ในงานวิจัย ที่ 
สำ�คัญ ถ้างานวิจัย 
มีการทำ�ในคนหรือ 
สัตว์ทดลองจะต้อง 
มีการแสดงผลการ 
พิจารณาจริยธรรมในงานวิจัยด้วยครับ (Ethics statement) ในบางบทความ 
ส่วนข้อมูลจริยธรรมจะแสดงในส่วนหมายเลข 1 หลังจากวิธีการนำ�คนไข้หรือ 
subjects เข้ามาศึกษาครับ
www.amtt.org 3 
นับจากวันที่ 29 มิถุนายน 2500 จนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีนักเทคนิค 
การแพทย์ไทยที่ปฏิบัติงานอยู่ในงานสาธารณสุขมานานถึง 55 ปีแล้ว 
งานของห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วย 
ความรู้ทางวิชาการและปฏิบัติการไปพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี 
ทางการแพทย์ที่รองรับการปฏิบัติงานที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพที่สูงขึ้น 
และได้มาตรฐานงานคุณภาพ ที่มุ่งเน้นการให้บริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว 
ทันการใช้งาน เป็นวิชาชีพที่มีการกำ�กับด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้ง 
มีมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ที่ทำ�ให้ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ 
เทคนิคการแพทย์เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ 
นักเทคนิคการแพทย์ยังคงมุ่งมั่นในงานวิชาชีพของตน เห็นได้จากงานประชุมวิชาการประจำ� 
ปีของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ที่มีจำ�นวนผู้เข้าร่วมงานมากขึ้นทุกปี รวมทั้งบริษัท 
ต่างๆ ที่มาร่วมงานนิทรรศการเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ 
ส่งเสริมงานของนักเทคนิคการแพทย์ไทยให้ก้าวไกล ก้าวทันเทคโนโลยีที่เป็นสากล 
เช่นเดียวกับสมาคมเทคนิคการแพทย์ที่มวลหมู่สมาชิกให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ 
สมาชิกจึงเป็นส่วนสำ�คัญของการบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ความร่วมมือจากสมาชิกอย่าง 
ต่อเนื่อง ความสมานสามัคคี เกื้อกูล สนับสนุนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น 
ร่วมกันรักษาจรรยาแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ประชาชน การเผยแพร่ข้อมูลทางเทคนิคการ 
แพทย์ รวมทั้งการร่วมพัฒนาสาธารณประโยชน์ จึงช่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพให้ก้าวหน้า 
ยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาและรักษาระดับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามมาตรฐานสากล สมาคมฯ จึง 
เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ในปีนี้เราได้ร่วมกันกำ�หนดสีแดงเลือดนก 
และดอกราชาวดีให้เป็นสัญลักษณ์แห่งวิชาชีพ เรามีเพลงดุริยาราชาวดีเป็นเพลงแห่งวิชาชีพเทคนิค 
การแพทย์ไทย เป็นความภาคภูมิใจในวิชาชีพอย่างยิ่ง 
วันที่ 29 มิถุนายนนี้ ขอเชิญห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์จัดกิจกรรมเนื่องในวันเทคนิค 
การแพทย์ไทย และส่งผลงานมายังสมาคมฯ เพื่อการเผยแพร่และสมาคมฯ จะจัดรางวัลให้ ขอให้ 
ทุกท่านได้ทำ�หน้าที่ของวิชาชีพอย่างภาคภูมิ 
ศิริรัตน์ ตันสกุล บรรณาธิการ 
สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย 
The Association of Medical Technologists of Thailand 
บรรณาธิการบริหาร 
รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ 
บรรณาธิการ 
ทนพญ.ศิริรัตน์ ตันสกุล 
กองบรรณาธิการ 
ทนพญ.พรสุรี พงษ์สุชาติ 
ทนพ.เมธี ศรีประพันธ์ 
อ.ทนพ.ธนสาร ศิริรัตน์ 
อ.สุชา ทวีสิทธิ์ 
วิชาการ 
ดร.ปาลนี อัมรานนท์ 
ประสานการผลิต 
ทนพญ.พรสุรี พงษ์สุชาติ 
สถานที่ติดต่อ 
บรรณาธิการจุลสารสมาคมเทคนิคการแพทย์ฯ 
154 อาคารจุฬาพัฒน์ 1 จุฬาลงกรณ์ ซอย 12 
ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน 
กรุงเทพฯ 10330 
โทรศัพท์ 02-2181081 โทรสาร 02-2181082 
• ต่อจากหน้า 2 
เป็นอย่างไรบ้างครับ สำ�หรับส่วนที่เป็น Materials and Methods เรา 
มาดูกันต่อในส่วนที่เป็น Results หรือผลการวิจัยต่อเลยครับ 
ในส่วนนี้จะบอกถึงผลของการศึกษาวิจัยทั้งหมด ซึ่งจะสอดคล้องกับ 
จุดประสงค์ของงานวิจัยและคำ�ถามวิจัยนั้นๆ โดยการนำ�เสนอผลการวิจัย 
ทำ�ได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นการอธิบายเป็นข้อความ ตาราง กราฟ แผนภูมิ 
ต่างๆ นอกจากนั้นถ้ามีการใช้สถิติมาประกอบการแสดงผลการวิจัย จะมีการ 
บอกผลการวิจัยว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำ�คัญหรือไม่ โดยมีค่าสถิติประกอบ 
หรือแสดงไว้ด้วย เช่น p<0.05 เป็นต้น 
การเขียนผลการวิจัย ผู้เขียนมักเริ่มต้นด้วยบทนำ�เข้าสู่ผลการวิจัยก่อน 
ซึ่งจะเป็นการบรรยายข้อมูลของ subjects วิธีการศึกษาวิจัย ตัวแปรที่ศึกษา 
หรือข้อความที่นำ�ไปสู่การอธิบายผลที่เป็นตาราง กราฟ แผนภูมิ จากนั้น 
จึงบรรยายผลการทดลองเป็นลำ�ดับขั้นตอนไปตามวิธีการทดลองที่เขียน 
ในส่วน Materials and Methods 
ในส่วนประโยคหรือวลีภาษาอังกฤษ ที่พบในการบอกผลการวิจัยมัก 
ขึ้นต้นด้วย 
It was found that +.................................... 
This study found that +............................. 
In this study, it was found that +................... 
นอกจากนั้นยังเจอคำ�ที่บอกผลการศึกษาว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง พบอะไร 
ไม่พบอะไร แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ทั่วไป มักเจอคำ�ต่อไปนี้ 
‘Increase, decrease, was/were found,’ เป็นต้น 
การบอกถึงผลที่แสดงในตาราง/กราฟ/แผนภูมิ มักเจอคำ�ศัพท์ว่า Table/ 
graph/chart + shows/displays/illustrates/ depicts/summarizes 
+................ เป็นต้น 
เราลองมาดูตัวอย่างบางส่วนจากบทความวิชาการเลยครับ 
จากตัวอย่างในส่วน results ส่วนที่ผมขีดเส้นสีแดงคือ ส่วนที่บอก 
ผลของการวิจัยครับ ถ้าสังเกตจะพบว่ามีคำ�ศัพท์ต่างๆ ที่บอกถึงผลของ 
การศึกษาว่าเป็นอย่างไร เช่น no significantly difference, different be-tween......., 
significantly decreased เป็นต้น ถ้ามีการใช้สถิติเข้ามาประกอบ 
แล้วจะมีการบอกค่านัยสำ�คัญทางสถิติในส่วนนี้เลย (มักพบในบทความวิจัย 
ทั่วไป) นอกจากนั้นการเสนอผลการวิจัยยังแสดงในรูปของตารางได้ด้วยครับ 
(ดังตัวอย่างข้างต้น) 
เป็นอย่างไรบ้างครับสำ�หรับเนื้อหาในฉบับนี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ 
ให้กับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านนะครับ ไว้ฉบับหน้าเราจะมาคุยกันในส่วน 
สุดท้าย คือ ส่วน ‘Discussion and Conclusion’ และผมจะกล่าวถึงความ 
สำ�คัญของบรรณานุกรม หรือ References ที่อยู่ท้ายของบทความวิจัยครับ 
ว่ามีความสำ�คัญอย่างไร ทำ�ไมถึงมองข้ามไม่ได้ และเราจะได้ประโยชน์อะไร 
จากการอ่านตรงส่วนนี้ครับ 
ไว้พบกันฉบับหน้าครับ....สวัสดีครับ

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4

รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
NuTty Quiz
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
peerapit
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
Pum Pep
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
Pum Pep
 
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
Tassanee Lerksuthirat
 
2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed
ssuser8b5bea
 

Semelhante a อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4 (20)

รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
สาระแกนกลาง
สาระแกนกลางสาระแกนกลาง
สาระแกนกลาง
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting process
 
รายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seekerรายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seeker
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
 
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
 
มูลนิธิโทเร
มูลนิธิโทเรมูลนิธิโทเร
มูลนิธิโทเร
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai
 
Chapter15630505256
Chapter15630505256Chapter15630505256
Chapter15630505256
 
Intro bio5 2560
Intro bio5 2560Intro bio5 2560
Intro bio5 2560
 
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed
 
13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
13.ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
 
4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
4.11 ระเบียบหอสมุดคณะแพทย์
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 

Mais de Mahidol University, Thailand

Mais de Mahidol University, Thailand (11)

How to use primer blast for checking primer specificity
How to use primer blast for checking primer specificityHow to use primer blast for checking primer specificity
How to use primer blast for checking primer specificity
 
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
การทำปฏิบัติการนอกสถานที่ (Out room lab diagnosis)
 
Laboratory diagnosis of viral infection
Laboratory diagnosis of viral infectionLaboratory diagnosis of viral infection
Laboratory diagnosis of viral infection
 
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
 
บทความ Youtube เวปที่มากกว่าบันเทิง
บทความ Youtube เวปที่มากกว่าบันเทิงบทความ Youtube เวปที่มากกว่าบันเทิง
บทความ Youtube เวปที่มากกว่าบันเทิง
 
Bacteria identification
Bacteria identificationBacteria identification
Bacteria identification
 
Stem cell and gene therapy
Stem cell and gene therapyStem cell and gene therapy
Stem cell and gene therapy
 
Regulation of gene expression
Regulation of gene expressionRegulation of gene expression
Regulation of gene expression
 
Mutation and DNA repair
Mutation and DNA repairMutation and DNA repair
Mutation and DNA repair
 
PCR primer design
PCR primer designPCR primer design
PCR primer design
 
Principle of PCR
Principle of PCR Principle of PCR
Principle of PCR
 

อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4

  • 1. เก็บมาเล่าสู่กันฟัง...เรื่อง 2 สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย อ่านบทความวิจัยภาษาอังกฤษ โดย ทนพ. เมธี ศรีประพันธ์ไม่ยากอย่างที่คิด สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ ในเนื้อหาฉบับที่แล้ว ผมได้เขียนแนะนำ�เกี่ยวกับเทคนิคและเคล็ดลับในการอ่าน บทความวิจัยภาษาอังกฤษเบื้องต้น โดยได้อธิบายในส่วนของการดูหัวข้อเรื่อง (Title) และการพิจารณาส่วนต่างๆ ของบทคัดย่อ (Abstract) และได้พาทุกท่านเข้าไปสู่ส่วนบทนำ� หรือ ‘Introduction’ โดยให้ตัวอย่างของประโยคหรือวลีภาษาอังกฤษ รวมถึงยกตัวอย่างประกอบให้ท่านผู้ อ่านได้ลองติดตามไปแล้ว • อ่านต่อหน้า 3 ในตอนที่ 4 นี้ ผมจะกล่าวถึงส่วนต่อไปที่เราพบในบทความวิจัยภาษา อังกฤษ โดยฉบับนี้จะกล่าวใน 2 ส่วน คือ ‘Materials and Methods’ และ ‘Results’ เรามาเริ่มกันในส่วนแรกของฉบับนี้ คือ ส่วน Materials and Methods ส่วนนี้นับว่าเป็นส่วนสำ�คัญอีกส่วนหนึ่งเลย เนื่องจากจะอธิบายถึงระเบียบ วิธีวิจัย วิธีการศึกษา วิธีการวิเคราะห์ผล ที่สำ�คัญคือ เราจะรู้วิธีการทำ� ปฏิบัติการแต่ละอย่างว่าใช้น้ำ�ยาอะไร เตรียมน้ำ�ยาอย่างไร ทำ�การทดลอง อย่างไร ใช้ condition อะไรในการทำ�ปฏิบัติการก็จากการอ่านส่วนนี้ล่ะครับ ในบางครั้งส่วนนี้อาจไม่ได้เขียนว่า Materials and Methods เสมอไป บางวารสารวิชาการอาจใช้คำ�ว่า ‘Patients and Methods’ หรือ ใช้แค่คำ� ว่า ‘Methods’ ครับ (ขึ้นอยู่กับลักษณะของบทความวิชาการแต่ละประเภท) การอ่านในส่วนนี้ไม่ยากครับ ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายวิธีการทำ�ปฏิบัติ การที่ใช้ในการศึกษาของบทความวิชาการนั้นๆ ที่สำ�คัญคือ การนำ�วิธีการ ศึกษาวิจัยจากบทความวิชาการไปใช้ในการศึกษางานวิจัยของเรา จะต้อง อ่านดีๆ อย่าลืมว่าถ้าใช้น้ำ�ยาคนละตัวกับที่เราทำ�การศึกษา บาง condition อาจใช้ไม่ได้นะครับ เราต้องหา condition ใหม่เอง เพียงแค่ใช้งานวิจัยก่อน หน้าเป็นแนวทางหรือเข็มทิศเฉยๆ จุดที่ต้องระวังอีกอย่างคือ การวิเคราะห์ ผลการวิจัยครับ ต้องพิจารณาว่าใช้สถิติตัวไหน เหมาะสมหรือไม่ นำ�มาใช้ ในการวเิคราะหใ์นงานวจิยัของเราทีมี่วธิกีารศกึษาใกลเ้คยีงกบังานวจิัยก่อน หน้าได้หรือไม่ ส่วนนี้ขอฝากไว้กับผู้ที่ต้องทำ�วิจัยทางอณูชีววิทยาครับ ถ้าเป็นบทความ วิจัยในสาขานี้ ในส่วนนี้จะบอกลำ�ดับเบสของ primers ที่ใช้ทำ� PCR ไว้ ยังไง ก่อนใช้ primers ก็ตรวจเช็คดีๆ ก่อนนะครับ เพราะอาจมีบางตำ�แหน่งพิมพ์ ผิด หรือข้อมูลของ PCR product อาจคลาดเคลื่อนได้ครับ (จากประสบการณ์ ส่วนตัวของผมและเพือ่นๆ ครับ) ที่สำ�คัญ condition ที่ใชใ้นบทความกับงาน วิจัยที่เราจะทำ�นั้น ถ้าเป็นน้ำ�ยาเดียวกันกับที่ผู้วิจัยทำ� ก็สามารถทำ�ตามได้ แต่ถ้าเปลี่ยนน้ำ�ยา หรือเครื่องมือแล้วไซร้ ควรหา condition ไว้ใช้สำ�หรับ ของเราเองครับ เราลองมาดูประโยคหรือวลีที่เราสามารถพบได้ในส่วนนี้ครับ อธิบายกลุ่มตัวอย่าง หรือคนไข้ในการศึกษา (Subjects) พยายามหากลุ่มคำ�หรือประโยคต่อไปนี้ครับ อธิบายวิธีการดำ�เนินการศึกษา จะไม่มีรูปแบบของประโยคหรือวลีที่ชัดเจนในส่วนนี้ครับ ส่วนใหญ่ เป็นการบรรยายวิธีดำ�เนินการของงานวิจัยนั้นๆ โดยจะบอกถึงน้ำ�ยาที่ ใช้ (บอกบริษัทหรือยี่ห้อที่ใช้) วิธีการเตรียมตัวอย่างตรวจ วิธีการ ตรวจวัด การบันทึกผล การวิเคราะห์ผลการตรวจ ซึ่งจะบอกเป็นลำ�ดับ ขั้นตอนไป โดยเราอาจสังเกตจากคำ�ต่างๆ เช่น ‘First, Next, Then, After that, Later’ เป็นต้น ในท้ายสุดของส่วนนี้ผู้ทำ�การวิจัยจะบอกสถิติที่ใช้ในการศึกษาในงาน วิจัยนั้นๆ ซึ่งมีหลายรูปแบบครับ ผมจะไม่ขอกล่าวในตรงนี้ แต่ถ้าจะหา ว่างานวิจัยใช้สถิติอะไรเราสามารถไปยังส่วนท้ายๆ ของ Materials and Methods ได้เลยครับ โดยเรามักพบกลุ่มประโยควลีที่บอกว่า (ชื่อสถิติที่ใช้) + was/were + used/computed/calculated/performed+ .................. เราลองมาดูตัวอย่างจากบทความวิจัยภาษาอังกฤษกันครับ ในส่วน หมายเลข 1 จะบอกวิธีการนำ�คนไข้เข้า มาศึกษาในงานวิจัยนี้ครับ ว่ามีเกณฑ์การคัดเลือกเข้า ศึกษาอย่างไร เกณฑ์คัด เลือกออกจากการศึกษา อย่างไร ใช้คนไข้ในการ ศึกษานี้ทั้งสิ้นกี่ราย ส่วน หมายเลข 2 จะบอกถึงวิธีการ ดำ�เนินการศึกษา การ ตรวจวัด วิธีการทดลอง ที่ใช้ในงานวิจัย ถ้า วิธีก าร ศึก ษ า ไ ม่ไ ด้ เป็นการพัฒนาขึ้นมา เอง กล่าวคือนำ�วิธีการ ศึกษามาจากคนอื่น ต้องมีการอ้างอิง (Ref-erence) ด้วยครับ ส่วน ห ม า ย เ ล ข 3 จะบอกถึงสถิติ ที่ใช้ในงานวิจัย ที่ สำ�คัญ ถ้างานวิจัย มีการทำ�ในคนหรือ สัตว์ทดลองจะต้อง มีการแสดงผลการ พิจารณาจริยธรรมในงานวิจัยด้วยครับ (Ethics statement) ในบางบทความ ส่วนข้อมูลจริยธรรมจะแสดงในส่วนหมายเลข 1 หลังจากวิธีการนำ�คนไข้หรือ subjects เข้ามาศึกษาครับ
  • 2. www.amtt.org 3 นับจากวันที่ 29 มิถุนายน 2500 จนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีนักเทคนิค การแพทย์ไทยที่ปฏิบัติงานอยู่ในงานสาธารณสุขมานานถึง 55 ปีแล้ว งานของห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วย ความรู้ทางวิชาการและปฏิบัติการไปพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี ทางการแพทย์ที่รองรับการปฏิบัติงานที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และได้มาตรฐานงานคุณภาพ ที่มุ่งเน้นการให้บริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการใช้งาน เป็นวิชาชีพที่มีการกำ�กับด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้ง มีมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ที่ทำ�ให้ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ เทคนิคการแพทย์เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ นักเทคนิคการแพทย์ยังคงมุ่งมั่นในงานวิชาชีพของตน เห็นได้จากงานประชุมวิชาการประจำ� ปีของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ที่มีจำ�นวนผู้เข้าร่วมงานมากขึ้นทุกปี รวมทั้งบริษัท ต่างๆ ที่มาร่วมงานนิทรรศการเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ ส่งเสริมงานของนักเทคนิคการแพทย์ไทยให้ก้าวไกล ก้าวทันเทคโนโลยีที่เป็นสากล เช่นเดียวกับสมาคมเทคนิคการแพทย์ที่มวลหมู่สมาชิกให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ สมาชิกจึงเป็นส่วนสำ�คัญของการบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ความร่วมมือจากสมาชิกอย่าง ต่อเนื่อง ความสมานสามัคคี เกื้อกูล สนับสนุนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ร่วมกันรักษาจรรยาแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ประชาชน การเผยแพร่ข้อมูลทางเทคนิคการ แพทย์ รวมทั้งการร่วมพัฒนาสาธารณประโยชน์ จึงช่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพให้ก้าวหน้า ยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาและรักษาระดับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามมาตรฐานสากล สมาคมฯ จึง เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ในปีนี้เราได้ร่วมกันกำ�หนดสีแดงเลือดนก และดอกราชาวดีให้เป็นสัญลักษณ์แห่งวิชาชีพ เรามีเพลงดุริยาราชาวดีเป็นเพลงแห่งวิชาชีพเทคนิค การแพทย์ไทย เป็นความภาคภูมิใจในวิชาชีพอย่างยิ่ง วันที่ 29 มิถุนายนนี้ ขอเชิญห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์จัดกิจกรรมเนื่องในวันเทคนิค การแพทย์ไทย และส่งผลงานมายังสมาคมฯ เพื่อการเผยแพร่และสมาคมฯ จะจัดรางวัลให้ ขอให้ ทุกท่านได้ทำ�หน้าที่ของวิชาชีพอย่างภาคภูมิ ศิริรัตน์ ตันสกุล บรรณาธิการ สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย The Association of Medical Technologists of Thailand บรรณาธิการบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ บรรณาธิการ ทนพญ.ศิริรัตน์ ตันสกุล กองบรรณาธิการ ทนพญ.พรสุรี พงษ์สุชาติ ทนพ.เมธี ศรีประพันธ์ อ.ทนพ.ธนสาร ศิริรัตน์ อ.สุชา ทวีสิทธิ์ วิชาการ ดร.ปาลนี อัมรานนท์ ประสานการผลิต ทนพญ.พรสุรี พงษ์สุชาติ สถานที่ติดต่อ บรรณาธิการจุลสารสมาคมเทคนิคการแพทย์ฯ 154 อาคารจุฬาพัฒน์ 1 จุฬาลงกรณ์ ซอย 12 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02-2181081 โทรสาร 02-2181082 • ต่อจากหน้า 2 เป็นอย่างไรบ้างครับ สำ�หรับส่วนที่เป็น Materials and Methods เรา มาดูกันต่อในส่วนที่เป็น Results หรือผลการวิจัยต่อเลยครับ ในส่วนนี้จะบอกถึงผลของการศึกษาวิจัยทั้งหมด ซึ่งจะสอดคล้องกับ จุดประสงค์ของงานวิจัยและคำ�ถามวิจัยนั้นๆ โดยการนำ�เสนอผลการวิจัย ทำ�ได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นการอธิบายเป็นข้อความ ตาราง กราฟ แผนภูมิ ต่างๆ นอกจากนั้นถ้ามีการใช้สถิติมาประกอบการแสดงผลการวิจัย จะมีการ บอกผลการวิจัยว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำ�คัญหรือไม่ โดยมีค่าสถิติประกอบ หรือแสดงไว้ด้วย เช่น p<0.05 เป็นต้น การเขียนผลการวิจัย ผู้เขียนมักเริ่มต้นด้วยบทนำ�เข้าสู่ผลการวิจัยก่อน ซึ่งจะเป็นการบรรยายข้อมูลของ subjects วิธีการศึกษาวิจัย ตัวแปรที่ศึกษา หรือข้อความที่นำ�ไปสู่การอธิบายผลที่เป็นตาราง กราฟ แผนภูมิ จากนั้น จึงบรรยายผลการทดลองเป็นลำ�ดับขั้นตอนไปตามวิธีการทดลองที่เขียน ในส่วน Materials and Methods ในส่วนประโยคหรือวลีภาษาอังกฤษ ที่พบในการบอกผลการวิจัยมัก ขึ้นต้นด้วย It was found that +.................................... This study found that +............................. In this study, it was found that +................... นอกจากนั้นยังเจอคำ�ที่บอกผลการศึกษาว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง พบอะไร ไม่พบอะไร แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ทั่วไป มักเจอคำ�ต่อไปนี้ ‘Increase, decrease, was/were found,’ เป็นต้น การบอกถึงผลที่แสดงในตาราง/กราฟ/แผนภูมิ มักเจอคำ�ศัพท์ว่า Table/ graph/chart + shows/displays/illustrates/ depicts/summarizes +................ เป็นต้น เราลองมาดูตัวอย่างบางส่วนจากบทความวิชาการเลยครับ จากตัวอย่างในส่วน results ส่วนที่ผมขีดเส้นสีแดงคือ ส่วนที่บอก ผลของการวิจัยครับ ถ้าสังเกตจะพบว่ามีคำ�ศัพท์ต่างๆ ที่บอกถึงผลของ การศึกษาว่าเป็นอย่างไร เช่น no significantly difference, different be-tween......., significantly decreased เป็นต้น ถ้ามีการใช้สถิติเข้ามาประกอบ แล้วจะมีการบอกค่านัยสำ�คัญทางสถิติในส่วนนี้เลย (มักพบในบทความวิจัย ทั่วไป) นอกจากนั้นการเสนอผลการวิจัยยังแสดงในรูปของตารางได้ด้วยครับ (ดังตัวอย่างข้างต้น) เป็นอย่างไรบ้างครับสำ�หรับเนื้อหาในฉบับนี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ให้กับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านนะครับ ไว้ฉบับหน้าเราจะมาคุยกันในส่วน สุดท้าย คือ ส่วน ‘Discussion and Conclusion’ และผมจะกล่าวถึงความ สำ�คัญของบรรณานุกรม หรือ References ที่อยู่ท้ายของบทความวิจัยครับ ว่ามีความสำ�คัญอย่างไร ทำ�ไมถึงมองข้ามไม่ได้ และเราจะได้ประโยชน์อะไร จากการอ่านตรงส่วนนี้ครับ ไว้พบกันฉบับหน้าครับ....สวัสดีครับ