SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 23
Baixar para ler offline
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ฉบับที่
ธันวาคม
Source: www.economist.com/news/21631826-world-numbers-top-growers
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
บทบรรณาธิการ
สวัสดีปีใหม่ 2559 ค่ะ
และแล้วปี 2558 ก็เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อมองย้อนกลับไปก็ถือว่าเป็นปีที่เกิดเรื่องราว
มากมายในโลกของเรา
ช่วงต้นปีทุกคนยังจับจ้องอยู่ที่วิกฤตเศรษฐกิจยุโรป โดยเฉพาะปัญหาหนี้กรีซ พอกลางปี
ความสนใจก็เปลี่ยนมาสู่การขยายพื้นที่ของกลุ่ม IS จากกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่เป็นที่รู้จักนัก ค่อยๆยึด
ครองพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆจนครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ในตะวันออกกลาง
จากกลางปีถึงปลายปี เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในเมืองต่างๆของโลก ไม่ว่ากรุงเทพ เบรุต
ปารีส ฯลฯ อย่างไม่คาดคิด จนปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งการก่อการร้ายทั่วโลกก็ว่าได้ สมรภูมิของ
การก่อการร้ายได้ขยายตัวออกจากตะวันออกกลางไปยังเมืองใหญ่ทั่วโลก
สาหรับเดือนธันวาคมนี้ World Think Tank Monitors เดินทางมาถึงฉบับที่ 7 แล้ว สถาบัน
คลังปัญญายังคงติดตามความเคลื่อนไหวของ Think Tank ชั้นนาจากทั่วโลกเช่นเคย มีทั้งการ
วิเคราะห์เบื้องหลังความสาเร็จขององค์กรก่อการร้ายชั้นนาของโลกอย่าง IS กับ Al-Qaeda จาก
สถาบัน Carnegie ประจาตะวันออกกลาง และการเล่าถึงมิตรภาพและความร่วมมือในอดีตระหว่าง
จีนกับโลกมุสลิม ในบทความของ Middle East Institute
ด้าน Brookings และ Chatham House ได้หยิบยกเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศโลกมา
นาเสนอ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของจีนที่ลุกขึ้นมามีบทบาทเชิงรุกในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง
ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ปารีส เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
และการนาเสนอความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเนื้อสัตว์กับปัญหาโลกร้อน ตามลาดับ
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ท่านจะได้พบใน World Think Tank Monitors ฉบับที่ 7 นี้
ขอบคุณที่ติดตามกันตลอดปีที่ผ่านมา แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าค่ะ
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สารบัญ
หน้า
บทบรรณาธิการ
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในภูมิภาคยุโรป 1
 CHATHAM HOUSE 1
 BRUEGEL 2
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา 4
 RAND 4
 BROOKINGS 5
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ด้านภูมิภาคตะวันออกกลาง 7
 CARNEGIE MIDDLE EAST CENTER 7
 MIDDLE EAST INSTITUTE 9
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย 12
 CARNEGIE-TSINGHUA CENTER 12
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในประเทศไทย 16
 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL STRATEGIES DEVELOPMENT 16
1
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Think Tank ในภูมิภาคยุโรป
CHATHAM HOUSE
BRUEGEL
เรียบเรียงโดย จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย
CHATHAM HOUSE
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร:
การเตรียมความพร้อมเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์
สถาบัน Chatham House ได้ทาการศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ โดยพบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ของมนุษย์เป็นปัจจัยสาคัญที่
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภาคปศุสัตว์เป็นภาคส่วนที่มีอัตราการ
ปล่อยก๊าซพิษมากถึง 15% ของการปล่อยก๊าซทั่วโลกซึ่งเทียบเท่าได้กับการปล่อยไอเสียจาก
ยานพาหนะทั้งหมดในโลก และหากสามารถลดการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกลงได้ จะช่วยลดอุณหภูมิ
โลกลงได้ถึง 2 องศาเซลเซียส ดังนั้น การเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณที่
เหมาะสมนอกจากจะนามาซึ่งการมีสุขภาพดีแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการปล่อยมลพิษที่จะก่อให้เกิด
ภาวะโลกร้อนได้ไม่น้อยเช่นกัน
ปัจจุบันการบริโภคเนื้อสัตว์ของคนทั่วโลกจัดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยการ
บริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไปก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง
และโรคเบาหวาน ซึ่งหากไม่ได้รับการควบคุม การบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 75%
ภายในปี ค.ศ.2050
ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเชื่อมโยงกับ
ประเด็นด้านอาหารของ Chatham House ทาให้ได้ข้อค้นพบที่สาคัญ ดังนี้
 ประชาชนทั่วโลกมีความตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาหารและการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศอยู่ในระดับต่ามาก ในขณะที่การสร้างความตระหนักรู้เพียงอย่างเดียวอาจ
ไม่เพียงพอที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
 รัฐบาลควรมีบทบาทในการเป็นผู้นาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของ
ประชาชนผ่านการกาหนดนโยบายหรือบังคับใช้มาตรการต่างๆ
 แม้หัวข้อในประเด็นดังกล่าวจะซับซ้อนแต่จาเป็นต้องสื่อสารให้สาธารณชนเข้าใจได้ง่าย
2
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นกุญแจสาคัญในการสร้างความตระหนักเรื่องการบริโภคอาหารที่
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเผยแพร่ข้อมูลและการสนับสนุนจากแหล่งที่
เชื่อถือได้จะเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเนื้อสัตว์ได้ง่ายขึ้นและมีการ
ต่อต้านน้อยลง
นอกจากนี้ นักวิจัยของ Chatham House ยังได้เสนอข้อแนะนาเพื่อให้เกิดการปรับแนว
ทางการบริโภคเนื้อสัตว์อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลกตลอดจนยังช่วยลดผลกระทบ
ต่อสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรมไว้ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่
1. สนับสนุนให้มีการแทรกแซงโดยภาครัฐผ่านนโยบายต่างๆ เช่น การจัดการค่าใช้จ่ายด้าน
สุขภาพ การกาหนดกรอบการลดการปล่อยก๊าซ
2. เริ่มต้นการอภิปรายระดับชาติเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อสัตว์และการเพิ่มความตระหนัก
ของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาของการบริโภคเกินจาเป็น เพื่อสร้างบทบาทการมีส่วนร่วม
ของสื่อ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจที่รับผิดชอบ
3. กาหนดกลยุทธ์ซึ่งนาไปสู่แผนปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดทั้งสร้างกระบวนการติดตามผลการ
ดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง
BRUEGEL
ปฏิกิริยาของบริษัทลูกหนี้ในอาเซียน
เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องทาให้ธนาคารกลาง
สหรัฐฯ ต้องประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ต่าลง
ทาให้ภาคเอกชนของประเทศต่างๆ ในเอเชียได้ประโยชน์อย่างมากจากการกู้ยืมเงินมาลงทุน
โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน ส่งผลให้ในปัจจุบัน หนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับที่สูงถึง 80% ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมอาเซียน (ASEAN Gross Domestic Product) ดังนั้น คาถามสาคัญที่เกิดขึ้นจึงมี
2 ประเด็น คือ
 บริษัทเอกชนในอาเซียนจะสามารถรับมือกับรายได้ที่ลดลงจากจะชะลอตัวของเศรษฐกิจ
จีนได้หรือไม่
 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบบริษัทเอกชนใน
อาเซียนอย่างไร
จากประเด็นข้างต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเด็นคาถามที่สองทาให้อาเซียนต้องเผชิญกับ
ปัญหาด้านความเชื่อมั่นในการจัดหาแหล่งเงินทุนและการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศตลอดทั้งยังส่งผล
กระทบถึงภาคธุรกิจใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ซึ่งพบว่า
บริษัทเอกชนในประเทศเหล่านี้ล้วนมีหนี้สะสมจานวนมาก และต่างประสบปัญหาในการชาระหนี้
แทบทั้งสิ้น
3
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ทั้งนี้ จากการสารวจข้อมูล พบว่า บริษัทในอินโดนีเซียเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
จากการปรับนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการชะลอการบริโภคของจีน โดยตัวเลข
การส่งออกลดลงถึง 60% และมีหนี้ภาคเอกชนในสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับทุนสารองเงินตรา
ต่างประเทศที่อินโดนีเซียมีอยู่
กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณเตือนสาหรับอาเซียน เพราะแม้อาเซียนจะเป็น
ตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ แต่ก็จาเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ในโลกธุรกิจ
ที่ปัจจุบันยังมีสหรัฐฯ และจีนเป็นผู้นา
เอกสารอ้างอิง
Alica gacria-herrero. Indebted ASEAN companies will feel Fed’s rate rise. Bruegel.
ออนไลน์: http://bruegel.org/2015/12/indebted-asean-companies-will-feel-feds-rate-rise/
Antony Froggatt, Catherine Happer and Laura Wellesley. Changing Climate, Changing
Diets: Pathways to Lower Meat Consumption. Chathum House. ออนไลน์ https://www.
chathamhouse.org/publication/changing-climate-changing-diets
4
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา
RAND
BROOKINGS
เรียบเรียงโดย ปลายฟ้ า บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย
RAND
การตอบโต้ของจีนต่อการปฏิบัติของสหรัฐที่อ้างหลักการเดินเรืออย่างเสรี
ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถาบัน Rand ได้นาเสนอบทความเรื่อง How will China respond
to future U.S. Freedom of Navigation Operations? ของ Timothy R. Heath โดยมีประเด็น
น่าสนใจดังนี้
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2015 สหรัฐลุกล้าเข้าไปในอาณาเขตของจีน ด้วยการนาเรือรบไป
ลาดตระเวนบริเวณรอบๆเกาะเทียมที่จีนสร้างขึ้นและจีนอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตในบริเวณทะเลจีนใต้
ซึ่งสหรัฐปฏิบัติการโดยอ้างหลักการเดินเรืออย่างเสรี(Freedom of Navigation) จีนไม่พอใจต่อ
เหตุการณ์นี้อย่างมากแต่ตอบโต้ด้วยความรอบคอบ โดยการประณามในสื่อสาธารณะและส่งเรือรบ
สองลาเพื่อประกบติดตามเรือรบของสหรัฐ จากเหตุการณ์นี้เจ้าหน้าที่ของสหรัฐยืนยันว่าในอนาคตจะ
ดาเนินการในลักษณะนี้อีกโดยยึดหลักของการเดินเรืออย่างเสรี ในขณะที่จีนได้ออกมาตอบโต้ว่า จีน
จะตอบโต้ขั้นเด็ดขาดหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกในอนาคต
การที่สหรัฐประกาศว่าจะตรึงกาลังทหารของตนไว้ในน่านน้าสากลบริเวณทะเลจีนใต้ ยิ่ง
สะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของบริเวณนี้ในด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์การเดินเรือ และอานาจ
ของสหรัฐในการแทรกแซงหากเกิดกรณีฉุกเฉินในเอเชีย ด้านจีนนั้น การควบคุมน่านน้าบริเวณ
ดังกล่าวเป็นสิ่งสาคัญเพื่อรักษาความปลอดภัยบริเวณปีกทางใต้ของประเทศที่มีความอ่อนแออยู่ และ
ช่วยส่งเสริมการแสวงหาพื้นที่สาหรับการจับปลาและเป็นแหล่งแร่ รวมถึงยังลดความสามารถของ
สหรัฐในการแทรกแซงในภูมิภาคนี้
ครั้งหนึ่ง ประธานาธิบดีโอบามากล่าวสุนทรพจน์ว่า สหรัฐมีผลประโยชน์ต่อการสนับสนุน
หลักการพื้นฐานของการเดินเรืออย่างเสรี และการไหลอย่างเสรีของการค้า อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนออกมาให้สัมภาษณ์ว่าชาวจีนจะไม่ยอมให้ใครละเมิดอานาจอธิปไตย
ของจีนรวมถึงสิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้
ซึ่งท่าทีการตอบโต้ของจีนถือเป็นสิ่งสาคัญอย่างมากเพราะหากใช้กาลังทางทหารในการตอบ
โต้ก็จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทาให้เกิดการปะทะกันจริงๆ และหากเกิดการปะทะกันจริงๆ
กองทัพเรือของจีนน่าจะต้องสูญเสียอย่างมากจากเงื้อมมือของสหรัฐ และอาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย
กับการเมืองภายในจีนด้วย แต่หากจีนไม่ทาการตอบโต้ใดๆ ก็อาจจะแสดงให้เห็นถึงการขาดความ
มั่นใจหรือกลัวอานาจของสหรัฐ ซึ่งจะยิ่งทาให้อีกฝ่ายได้ใจและยิ่งคุกคามหนักขึ้นอีก และอาจจะส่งผล
5
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
กระทบต่อการพยายามวางตาแหน่งของจีนในการเป็นผู้นาในภูมิภาคนี้ ดังนั้น จีนจึงได้มีการศึกษาเพื่อ
เตรียมรับมือและตอบโต้การปฏิบัติการของสหรัฐในอนาคต โดยในระยะสั้นจีนพยายามรักษา
ความสัมพันธ์ที่คงที่และหลีกเลี่ยงการปะทะที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ตน แต่ในระยะยาว
สถานการณ์จะยิ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีกสาหรับสหรัฐ เนื่องจากจีนกาลังสร้างกองทัพของตนใน
บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ และคาดจะแล้วเสร็จในอนาคตไม่ไกล ซึ่งจะทาให้จีนมีฐานทัพที่ใหญ่ขึ้นใน
บริเวณนี้และมีเรือหลากหลายมากขึ้นสาหรับรักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่ง รวมถึงมีกลุ่มทหาร
ประจาการบริเวณนี้ พร้อมกับขีปนาวุธและเครื่องบินรบ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะนาไปสู่วิกฤติและ
ความขัดแย้งมากขึ้น รวมถึงความท้าทายจะยิ่งมีความซับซ้อนและทวีความสาคัญมากขึ้นในปีที่กาลัง
จะมาถึงนี้
BROOKINGS
จีนกับบทบาทใหม่ในเวทีลดโลกร้อน
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถาบัน Brookings ได้จับตาเวทีการประชุม Paris Climate Summit
และได้นาเสนอประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของจีนบนเวทีดังกล่าวที่เปลี่ยนแปลงไปดังนี้
การกล่าวสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ในการประชุม Paris Climate Summit
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2015 ที่ผ่านมา เป็นที่จับตาของทุกคน เนื่องจากจีนเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือน
กระจกมากอันดับแรกของโลก และยังเป็นบทบาทใหม่ที่จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นาในการลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก ซึ่งการประชุมที่ปารีสในครั้งนี้ บทบาทและท่าทีของจีนได้เปลี่ยนไปจากเมื่อการประชุมที่
เมืองโคเปนเฮเกน เมื่อปี 2009 จากที่เป็นเพียงผู้เข้าร่วมการประชุมและไม่มีบทบาทใดๆ มากนัก จน
เมื่อหลายปีก่อน ประเทศตะวันตกเคยมีมุขล้อจีนว่าเป็น Mr.No ที่ปฏิเสธข้อเสนอของตะวันตกในเรื่อง
โลกร้อน มาครั้งนี้ จีนก้าวขึ้นมาเป็นหัวหอกในการจัดตั้งรัฐบาลโลกเพื่อดูแลประเด็นเรื่องโลกร้อน
โดยเฉพาะ และสุนทรพจน์ที่ สี จิ้นผิง กล่าวในงานนั้น ก็แสดงถึงความกระตือรือร้นที่จะมีบทบาทใน
การรับผิดชอบเรื่องนี้มากขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่ง
พื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ วิสัยทัศน์ของ สี จิ้นผิง ที่มองเห็นความสาคัญของความร่วมมือ
ระหว่างประเทศมากขึ้นนั่นเอง
เมื่อปีที่แล้ว จีนและสหรัฐ ทาให้ทั้งโลกตะลึงด้วยการเซ็นสัญญาความร่วมมือในเรื่องโลกร้อนและ
พลังงานสะอาด ความสาคัญของสัญญานี้คือจีนประกาศตกลงที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วเรียกร้องในหลายปีที่ผ่านมา ภายใต้ข้อตกลงนี้ จีนยังตกลง
6
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่จะใช้พลังงานทางเลือกที่ไม่ใช่น้ามันและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น จากเดิมที่ใช้แค่ร้อยละ 20 ของ
ทั้งหมด นั่นหมายความว่าจีนจะต้องเพิ่มความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของตน 1000 กิกะวัตต์
ภายใน 15 ปี ซึ่งจะเท่ากับความสามารถการผลิตของสหรัฐในขณะนี้
ขณะที่การเจรจาเรื่องโลกร้อนระหว่างประเทศต่างๆ ในประเด็นเรื่องเงินทุน(Climate finance)
นั้นมีความล่าช้า จีนก็ได้ก้าวขึ้นมาดาเนินการอย่างจริงจัง อย่างแรกคือ เมื่อปี 2014 จีนได้เพิ่มการ
สนับสนุนเป็นสองเท่าให้กับกองทุนด้านความร่วมมือด้านภูมิอากาศในประเทศกาลังพัฒนา (South-
South Climate Cooperation Fund) เเละล่าสุดยังได้มีข้อตกลงที่จะช่วยเหลืออีก 2 หมื่นล้านหยวน
(3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อส่งเสริมเเนวคิดริเริ่มเรื่องคาร์บอนต่าในประเทศกาลังพัฒนา ที่
ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวประชากรยังน้อยกว่าสหรัฐอยู่มาก นี่ได้เเสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของจีนที่จะเเก้
ไขปัญหาระดับโลกอย่างจริงจัง
เอกสารอ้างอิง
Qi Ye, Tong Wu. China’s “yes” to new role in climate battle. Brookings. ออนไลน์:
http://www.brookings.edu/research/articles/2015/12/04-chinas-yes-new-role-climate-battle-qi-
wu
Timothy R. Heath. How will China respond to future U.S. Freedom of VNavigation
Operation. Rand. ออนไลน์: http://www.rand.org/blog/2015/10/how-will-china-respond-to-future-
us-freedom-of-navigation.html
7
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Think Tank ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
CARNEGIE MIDDLE EAST CENTER
เรียบเรียงโดย ปาณัท ทองพ่วง ผู้ช่วยนักวิจัย
CARNEGIE MIDDLE EAST CENTER
เบื้องหลังการเติบโตของ IS และ Al-Qaeda
ในเดือนธันวาคม Carnegie Middle East Center ได้เสนอบทความเรื่อง ISIS and Al-
Qaeda’s Expansion: Q&A With Dalia Ghanem-Yazbeck เป็นข้อเขียนในลักษณะถาม – ตอบ
คาถามจากผู้อ่านเกี่ยวกับว่า อะไรอยู่เบื้องหลังการขยายตัวของกลุ่ม IS และ Al-Qaeda ซึ่งมีตัวอย่าง
ประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
ข้อแรก บทความดังกล่าววิเคราะห์ว่า การขยายตัวของ IS ส่วนมากจะประสบ
ความสาเร็จในประเทศที่เป็นรัฐล้มเหลว (failed state) ที่ซึ่งรัฐอ่อนแอ บริการสาธารณะและบริการ
ทางความมั่นคงจากรัฐอ่อนแอ มีสงคราม ความขัดแย้ง การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในภายนอก
ประเทศยืดเยื้อ เช่น ลิเบีย ภายหลังการโค่นกัดดาฟีในปี 2011 ก็เอื้อให้ IS ขยายตัวได้ นอกจากลิเบีย
เยเมน ไนจีเรีย อัฟกานิสถาน ก็ตกอยู่ในสภาพรัฐอ่อนแอเช่นกัน กลุ่ม IS จึงอาศัยช่องว่างที่รัฐไม่
สามารถทาหน้าที่บริการประชาชนได้ดีพอ เสนอตนเป็นผู้ให้การคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน ให้งานให้
เงิน (จากการเข้าร่วมรบ) และมอบสาธารณูปการให้ประชาชนแทนรัฐ ทาให้ IS เติบโตได้
ขณะที่ในประเทศที่มีรัฐเข้มแข็งและมีระบบความมั่นคงที่เข้มแข็งเด็ดขาด พบว่า IS ไม่
สามารถรอดอยู่ได้ เช่น ในอัลจีเรีย พบว่าเครือข่ายของ IS ในอัลจีเรียชื่อ jund El Khilafa ซึ่ง
ลักพาตัวคนฝรั่งเศสไป ถูกปราบลงโดยหน่วยความมั่นคงของอัลจีเรียในเวลาไม่ถึงสามเดือนหลังการ
ลักพาตัว และต่อมากลุ่มก่อการร้ายอีกกลุ่มซึ่งก้าวขึ้นมาแทนที่ El Khilafa ก็ถูกกาจัดลงในสองสามวัน
หลังจากนั้น
บทเรียนที่เราดึงมาใช้ได้คือ IS จะใช้โอกาสจากความสับสน ขัดแย้ง วุ่นวายในพื้นที่
แทรกตัวเข้ามา “ดึงมวลชน” ให้หันมาเข้าร่วม ดังนั้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ของเรา จึง
มิใช่ไม่มีโอกาสที่ IS จะแทรกตัวเข้ามาปฏิบัติการ ยิ่งไม่กี่วันหลังเหตุระเบิดในปารีสเมื่อเดือน
พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลุ่มก่อการร้ายมาเลเซียที่มีฐานในฟิลิปปินส์ตอนใต้ออกมาเผยแพร่คลิปประกาศ
จัดตั้งเครือข่าย IS สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการ โดยมีแผนจะรวมกลุ่มก่อการร้าย
ของอาเซียนอย่างเจมาห์ อิสลามิยาห์และอาบูไซยาฟ ในมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
8
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สอง บทความนี้กล่าวว่ามีการแข่งขันระหว่าง IS กับ Al-Qaeda เพื่อผูกขาดวงการ
นักรบจิฮาดในโลก โดยดูจากว่า ไม่กี่วันหลังการโจมตีเบรุตและปารีสของ IS ก็มีการโจมตี
โรงแรมในประเทศมาลีโดย Al-Qaeda เป็นการแย่งชิงพื้นที่สื่อระหว่างกัน การแข่งขันระหว่างสอง
กลุ่มนี้คือ การแย่งมวลชน แย่งบุคลากร แข่ง “ยี่ห้อ” คล้ายกับสองบริษัทที่ทาการตลาดแย่งลูกค้ากัน
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ไม่มีใครเถียงว่า IS ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรก่อการร้ายอันดับหนึ่งของโลกแล้ว
เหตุผลหลักที่ทาให้ IS มาถึงจุดนี้ได้ถูกมองว่า อยู่ที่ทักษะและยุทธศาสตร์ชั้นยอดในการใช้
สื่อประชาสัมพันธ์องค์กร มากเสียยิ่งกว่าอานาจทางทหาร ทาให้ได้รับการยอมรับจากคน
หลากหลายตั้งแต่คนตะวันออกกลางที่เป็นเหยื่อสงคราม จนถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนมีความสามารถมี
การศึกษาสูงจากทั่วโลก
ขณะที่ Al-Qaeda แม้เสียสถานะองค์กรก่อการร้ายอันดับหนึ่งไปแล้ว แต่ก็ยังคงได้รับความ
เคารพในหมู่นักรบจิฮาดในฐานะองค์กรแม่ของ IS ในฐานะองค์กรจิฮาดองค์กรแรกที่ประสบ
ความสาเร็จมหาศาล ทาการก่อการร้ายโจมตีตะวันตกครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา (9/11)
สาม บทความนี้วิเคราะห์เหตุที่กลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ อย่าง Boko Haram ในไนจีเรีย
และ Al-Shabaab ในแอฟริกาตะวันออกประกาศสวามิภักดิ์ต่อ IS (เมื่อหนึ่งถึงสองเดือนที่ผ่านมา)
ว่าเป็นเพราะ “ยี่ห้อ” IS นั้นติดตลาดระดับโลกไปแล้ว เปรียบเหมือนแมคโดนัลด์หรือโคคา-โคลา IS
ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่องค์กรก่อการร้ายที่มียี่ห้อติดหูชาวโลกและเป็นที่หวาดกลัวของโลก
ตะวันตกและอาหรับ แต่ยังยึดครองดินแดนใหญ่โต มีธงชาติ เพลงชาติ และแม้กระทั่งสกุล
เงิน(ดินาร์ทองคา) ของตนด้วย กลุ่มก่อการร้ายทั่วโลกจึงอยากเชื่อมโยงตนเองเป็นแฟรน
ไชส์ของ IS เพื่อเพิ่มชื่อเสียง และช่วยให้ระดมคนสนับสนุน เงินทุนเข้ากลุ่มของตนได้ง่ายขึ้น
สี่ บทความเสนอความคิดบางอย่างเกี่ยวกับการจัดการกับเรื่องกลุ่มหัวรุนแรง
อิสลามว่า จุดหลักอยู่ที่ความสามารถในการสร้างวาทกรรมตอบโต้ เพราะนี่คือสงคราม
ความคิด นี่คือสงครามโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ IS วันนี้เป็นเจ้าแห่งทักษะเหล่านี้และ
ฉะนั้นกาลังชนะสงครามนี้ ความสาเร็จของ IS อยู่ที่ความสามารถในการทาสงครามความคิด
สร้างพลังดึงดูด มากกว่าความสามารถในการรบจริง โลกอาหรับเวลานี้กาลังเผชิญความ
เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การใช้ทหารนั้นช่วยแก้ปัญหาเพียงเฉพาะหน้า แต่มิใช่คาตอบที่จะนา
สันติภาพมาสู่ดินแดนนี้ ตรงข้ามกลับทาให้สันติภาพห่างไกลออกไปทุกที และจะนาโลก
อาหรับกลับไปสู่ยุคแห่งเผด็จการในที่สุด ในการให้คาแนะนาหรือเสนอทางออกใดๆ ต้อง
ตระหนักไว้ว่า แต่ละประเทศต่างมีบริบททางการเมือง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนของตน จึงไม่มี
คาตอบเดียวที่จะใช้ได้กับทั้งภูมิภาค นอกจากนี้ ต้องทางานร่วมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ มิใช่ไป
ต่อต้านทาลายพวกเขา และในอีกด้าน สังคมตะวันตกต้องเร่งทบทวนมาตรการหลอมรวมทางสังคม
9
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ตะวันตกรุ่นใหม่มองคนมุสลิมและโลกมุสลิมดีกว่าเพียง “ผู้ก่อการร้าย” บทเรียนสาหรับยุโรปและ
ตะวันออกกลางข้างต้นนี้ จะดีมากถ้าเราใช้มองย้อนกลับมาสู่แนวทางแก้ปัญหาในชายแดน
ใต้ของไทยด้วย

 MIDDLE EAST INSTITUTE
เมื่อจีนเป็นพันธมิตรกับอิสลาม
สถาบัน Middle East Institute ได้เสนอบทความเรื่อง When Islam Was an Ally: China’s
Changing Concepts of Islamic State and Islamic World เขียนโดย John T. Chen นักศึกษา
ปริญญาเอก ภาคประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขาได้ไล่เรียงความเปลี่ยนแปลงของมุมมอง
ของรัฐจีนต่อ “รัฐอิสลาม” และ “โลกมุสลิม” ตั้งแต่ยุคปลายราชวงศ์ชิง มาในยุคสาธารณรัฐ(ยุคกว๋อ
มินตั๋ง) ต้นยุคคอมมิวนิสต์ ถึงยุคร่วมสมัย ทาให้เห็นว่า “จีน” กับ “มุสลิม” ไม่ได้เป็นสิ่งที่ขัดแย้ง
กันอย่างเดียวอย่างที่รู้สึกกันในปัจจุบัน แต่ยังมีความร่วมมือกันที่ปรากฏหลักฐานใน
ประวัติศาสตร์อยู่ไม่น้อย
บทความนี้กล่าวว่า เหตุที่ปัจจุบันเวลาพูดถึงจีนกับอิสลาม คนจะนึกถึงความขัดแย้ง การกด
ขี่ของจีนต่อมุสลิม เป็นเพราะไปมองแต่กรณีอุยกูร์ในซินเจียง แต่จริงๆแล้ว นอกจากคนอุยกูร์ในซิ
นเจียง จีนยังมีคนมุสลิมอีกพวกอยู่กระจายทั่วไปและมีบทบาทในการเมืองจีนมาแต่โบราณคือ ชาว
หุย (Hui) ซึ่งเมื่อเราดูประวัติศาสตร์จีน ก็จะพบว่ามีความร่วมมือระหว่างชาวหุยกับชาวฮั่นอยู่ โดย
ชาวหุยเป็นเหมือนสายใยที่จีนใช้เชื่อมกับโลกมุสลิมภายนอก อย่างนายพลเจิ้งเหอที่นากอง
เรือจีนในช่วงศตวรรษที่ 15 ก็เป็นชาวหุย
เอกสารจีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19-ต้นศตวรรษที่ 20 เรียกอาณาจักรอิสลามซึ่งในยุคนั้นมี
หนึ่งเดียวคืออาณาจักรออตโตมานว่า huihuiguo ซึ่งใช้คาว่า hui คาเดียวกับที่เรียกชาวหุย ซึ่ง
แสดงว่าจีนยอมรับสายใยระหว่างมุสลิมในจีนกับมุสลิมภายนอกว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่เป็นพวก
เดียวกันในทางศาสนา
หลังจากออตโตมานล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรอิสลามที่
รวมเป็นหนึ่ง แตกออกเป็นประเทศอิสลามเกิดใหม่หลายๆประเทศ โลกอิสลามเปลี่ยนจากขั้วเดียว
(unipolar) มาเป็นหลายขั้ว (multipolar) จีนก็เปลี่ยนมาเรียกประเทศมุสลิมเหล่านี้แต่ละประเทศว่า
huijiaoguo ซึ่งใกล้เคียงกับคาว่า “รัฐอิสลาม” ให้ความหมายที่เป็นรัฐสมัยใหม่ที่ใช้เขตแดนเป็นเส้น
แบ่งกลุ่มคนเข้ามาเป็นพวกเดียวกัน มากกว่าเพียงการเป็นพวกเดียวกันเพราะศาสนาอย่างเดียว
เหมือนเดิม และจีนก็ใช้คาว่า huijiao shijie ที่แปลว่าโลกอิสลามหรือ Muslim World เวลาต้องการ
พูดถึงประชาคมอิสลามโดยรวม
10
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
การใช้คาต่างๆเหล่านี้แสดงถึงมุมมองของจีนต่อ “รัฐอิสลาม” และ “โลกมุสลิม” ที่เปลี่ยนไป
ตามความเปลี่ยนแปลงในโลกมุสลิม
นอกจากดูที่การใช้คาแล้ว มุมมองของจีนต่อมุสลิมยังเห็นได้จากความร่วมมือระหว่างชาวฮั่น
กับชาวหุย โดยชาวฮั่นใช้ชาวหุยเป็นสะพานเชื่อมในการต่างประเทศกับโลกมุสลิมในยุคต่างๆ
เช่น จีนยุคกว๋อมินตั๋ง ในสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ส่งคณะผู้แทนชาวหุยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับโลก
มุสลิมยังมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮาร์ในอียิปต์ และเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ที่เมกกะ ปัญญาชนของพรรคกว๋อมินตั๋ง
วาดภาพคนมุสลิมในจีนเป็น “พลังบวก” ในประวัติศาสตร์จีน
ในยุคคอมมิวนิสต์ ชาวหุยมีบทบาทในการต่างประเทศจีนอีกครั้ง โดยในปี 1955 โจว
เอินไหลนา Da Pusheng หนึ่งใน “4 อิหม่ามคนสาคัญ” ของชาวหุยร่วมคณะไปเข้าร่วมการประชุมสุด
ยอดแอฟริกัน-เอเชียที่บันดุง อินโดนีเซียด้วย (ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดใน
สงครามเย็น) เพื่อแสดงว่าจีนเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับมุสลิม เพราะต้องการได้เสียงสนับสนุนจาก
ประเทศมุสลิม โดยเฉพาะอียิปต์ (ยุคประธานาธิบดีกามาล นัสเซอร์) ให้สนับสนุนจีนคอมมิวนิสต์ให้ได้
ที่นั่งของจีนในสหประชาชาติแทนไต้หวัน (แต่ไม่ประสบความสาเร็จกระทั่งสหรัฐเปลี่ยนมาฟื้น
ความสัมพันธ์กับจีน)
อย่างไรก็ตาม เมื่อจีนหลุดพ้นจากยุคปฏิวัติวัฒนธรรม เข้าสู่ยุค pragmatism หลังจากฟื้นฟู
ความสัมพันธ์กับอเมริกาและเติ้งเสี่ยวผิงปรับ-เปิ ดประเทศ (gaige-kaifang) แล้ว นโยบายการ
ต่างประเทศจีนก็เข้าสู่ยุค ideological minimalism คือจีนหันหน้าออกจากการใช้อุดมการณ์ –ทั้ง
อุดมการณ์การเมืองและศาสนาในการกาหนดนโยบายต่างประเทศ จากนั้นมาความสัมพันธ์ของจีนกับ
โลกอิสลามและชาวมุสลิมจึงจากัดอยู่เพียงเรื่องความมั่นคงและการพัฒนาเป็นหลัก มิได้คบค้า
กันด้วยการอาศัยสายใยทางศาสนาอิสลามอีกต่อไป
ในปี 2012 องค์การ OIC ร่วมกับ Chinese Academy of Social Sciences และกระทรวงการ
ต่างประเทศจีน เป็นเจ้าภาพจัดประชุม International Congress on China and The Muslim World ที่
ปักกิ่ง อันแสดงว่าความสนใจในเรื่องอิสลามของจีนในทางวิชาการ ทางวัฒนธรรม และทางการเมือง
ยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อจีนในยุคนี้มิได้คบค้ากับโลกมุสลิมด้วยสายใยทางศาสนาแล้ว ชาว
มุสลิมในจีนหรือชาวหุยก็มิได้มีบทบาทในการเมือง-การต่างประเทศของจีนเหมือนในอดีตอีก
ต่อไป
11
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เอกสารอ้างอิง
Dalia Ghanem-Yazbeck. ISIS and Al-Qaeda’s Expansion: Q&A With Dalia Ghanem-
Yazbeck. Carnegie Middle East Center ออนไลน์: http://carnegie-mec.org/2015/12/14/expert-
answers-questions-about-isis-and-al-qaeda-s-expansion/in9u.
John T. Chen. When Islam Was an Ally: China’s Changing Concepts of Islamic State
and Islamic World. Middle East Institute. ออนไลน์ http://www.mei.edu/content/map/when-islam-
was-ally-china%E2%80%99s-changing-concepts-islamic-state-and-islamic-world.
12
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย
CARNEGIE-TSINGHUA CENTER
เรียบเรียงโดย ปาณัท ทองพ่วง ผู้ช่วยนักวิจัย
CARNEGIE-TSINGHUA CENTER
จีนควรเร่งสร้าง “พันธมิตร” แข่งกับสหรัฐ
สถาบัน Carnegie-Tsinghua ได้เสนอบทความของ Yan Xuetong คณบดี Institute of Mod-
ern International Relations แห่งมหาวิทยาลัยชิงหัวและประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน Car-
negie-Tsinghua เรื่อง Inside the China-US Competition for Strategic Partners ซึ่งมีประเด็นที่
น่าสนใจเกี่ยวกับความคิดของนักวิชาการจีน คือ
หนึ่ง Yan Xuetong เสนอแนวนโยบายด้านการต่างประเทศจีนในยุคนี้ว่า จีนต้องเพิ่ม
“พันธมิตร” ในเวทีโลกถ้าต้องการจะแข่งกับสหรัฐขึ้นมาเป็นมหาอานาจโลก พันธมิตรในที่นี้
เขาย้าว่ามิใช่เพียงแต่พันธมิตรทางเศรษฐกิจ ที่มักเรียกกันในยุคนี้ว่าความสัมพันธ์แบบ “พันธมิตรเชิง
ยุทธศาสตร์ (strategic partnership)” แต่ต้องเป็นพันธมิตรที่ต้องไปถึงขั้นร่วมมือกันทางทหาร
อย่างเดียวกับที่สหรัฐมีมายาวนานกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
เพราะปัจจุบันแม้จะดูเหมือนว่าจีนได้สร้างมิตรประเทศขึ้นมาตามหลังสหรัฐได้อย่างรวดเร็ว คือมี
ความสัมพันธ์ระดับพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์กับราว 70 ประเทศ และมีจานวนของประเทศในโลกที่มีคู่
ค้าอันดับหนึ่งเป็นจีนมากกว่าที่มีคู่ค้าอันดับหนึ่งเป็นสหรัฐแล้วในขณะนี้ (มากกว่าเกือบเท่าตัว และมี
แนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ) แต่นั่นเป็นความสัมพันธ์ที่เน้นเศรษฐกิจนาเป็นหลัก ตามหลักการ “สร้าง
เสริมสายสัมพันธ์ทางการเมือง ด้วยแนวทางเศรษฐกิจ (yi-jing-cu-zheng)” ซึ่งจีนยึดถือเป็นหลัก
ในการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติมาตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิงเปิดประเทศในทศวรรษ 1980 อย่างไรก็
ตาม ในแง่จานวนพันธมิตรทางทหารแล้ว จีนเทียบสหรัฐไม่ได้เลย เพราะในปัจจุบัน ขณะที่สหรัฐมี
พันธมิตรตามสนธิสัญญาหรือ treaty allies (คือมีความร่วมมือทางการทหารด้วย) กับกว่า 60 ประเทศ
แต่จีนมีพันธมิตรแบบเดียวกันนี้เพียงหนึ่งประเทศในปัจจุบัน คือ กับปากีสถาน ซึ่งเพิ่งลงนามยกระดับ
ความสัมพันธ์กันไปเมื่อต้นปี 2015 นี้ Yan Xuetong จึงเรียกร้องให้รัฐบาลจีนเพิ่มจานวน “พันธมิตร
ทางทหาร” ให้มากขึ้น
สอง เขาได้ประเมินศักยภาพของประเทศต่างๆในโลกนี้ที่จีนน่าจะมีโอกาสไปสร้าง
ความสัมพันธ์แบบพันธมิตรด้วย กัมพูชา ลาว และสมาชิกอีกห้าประเทศ(ไม่นับจีน)ขององค์การความ
ร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) คือ รัสเซีย คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และคีร์กิซสถาน นั้นถูก
ประเมินในที่นี้ว่า “มีศักยภาพ” ที่จีนจะยกระดับความสัมพันธ์ให้เป็นพันธมิตรเต็มขั้นแบบปากีสถานได้
13
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ขณะที่ในจานวนเพื่อนบ้านของจีนนั้น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และที่น่าสนใจมากคือ
เกาหลีเหนือ ถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีโอกาสน้อยที่สุดที่จีนจะไปยกระดับเป็นพันธมิตร
เต็มขั้นด้วยได้ สามประเทศแรกนั้นเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะถือเป็นพันธมิตรใกล้ชิดสนิทสนมของ
สหรัฐ (เวียดนามด้วยในปัจจุบัน) แต่เกาหลีเหนือนั้น คนภายนอกทั่วไปมักคิดว่าจีนเป็นมหามิตรคน
เดียวของเกาหลีเหนือในโลกนี้ แต่บทความนี้กล่าวว่าแม้จีนกับเกาหลีเหนือจะยังคงมีสนธิสัญญา
มิตรภาพ ความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่มันก็ได้กลายเป็นเสือกระดาษมากขึ้นทุก
ที สองประเทศนี้ไม่ได้จัดการประชุมระดับผู้นารัฐหรือมีความสัมพันธ์ทางทหารกันในรอบหลายปีมานี้
อย่างไรก็ตาม Yan Xuetong กล่าวว่าจีนอาจจะเฝ้ารอให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในในประเทศกลุ่ม
หลังนี้ ให้กระแสภายในบวกกับจีนขึ้นก่อน แล้วค่อยไปกระชับสัมพันธ์ก็ได้ เช่น ในปีหน้าจะมีการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีในฟิลิปปินส์ ซึ่งอาจจะได้ผู้นาที่มีทัศนคติที่ดีกับจีนมากกว่านายอาควิโนก็ได้
สาม Yan Xuetong ได้ให้ข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจสาหรับคนไทยและอาเซียนว่า เขาเห็นว่า
การที่เขาเสนอให้จีนไปสร้างพันธมิตรกับชาติเพื่อนบ้านที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอยู่ด้วย (เช่น
ฟิลิปปินส์) นั้นเป็นไปได้ เพราะอาศัยช่องที่ว่า ชาติอาเซียนนั้นไม่ต้องการให้ภูมิภาคของตนถูก
ครอบงาทางการทหารจากมหาอานาจภายนอก ไม่ว่าจีน ไม่ว่าสหรัฐ ดังนั้นในสภาพปัจจุบันที่
ครึ่งหนึ่งของภูมิภาคตกอยู่ใต้อิทธิพลของสหรัฐ ทางออกเดียวที่จะช่วยให้อาเซียนยังคงรักษาความ
มั่นคงในภูมิภาคของตนไว้ให้เป็นอิสระ และลดการผูกติดกับสหรัฐหรือภัยคุกคามจากสหรัฐหรือจีนก็
คืออาเซียนจะต้องการสร้างพันธมิตรทางทหารกับจีนบ้าง เพื่อมาคาน มาถ่วงดุลกับอิทธิพลสหรัฐ
สรุปคือการเป็นพันธมิตรกับทั้งจีนและสหรัฐคือทางรอด ที่จะคงความเป็นอิสระของอาเซียนนั่นเอง
ข้อสามนี้ น่าสนใจสาหรับคนไทยและอาเซียน เพราะแสดงว่าจีนเข้าใจสถานการณ์ของชาติ
อาเซียนดีมาก และเขาก็ใช้ความรู้นั้นมากาหนดยุทธศาสตร์ที่จะมาสัมพันธ์กับเราด้วย แล้วเราหล่ะ รู้
เรื่องเขาดีแค่ไหน? มีอะไรไปสู้หรือยัง?
ประเมินอนาคตหุ้นส่วนจีน-รัสเซีย ในเอเชียกลาง
บทความชิ้นนี้ของ Carnegie-Tsinghua เขียนโดยนักวิชาการสองคนของสถาบันชื่อ Wang
Tao และ Rachel Yampolsky คาถามหลักที่สองคนนี้สนใจก็ตามหัวข้อเรื่องคือ หุ้นส่วนระหว่างจีน
กับรัสเซียในเรื่องผลประโยชน์ในเอเชียกลางนั้นจะยั่งยืนไปได้สักเท่าไร ซึ่งถึงตรงนี้ ทาให้เห็น
ประเด็นอย่างน้อยสองสามประการ ดังนี้
ประการแรก จากที่เราพอรู้มาว่าจีนกับรัสเซียเป็นสองมหาอานาจที่แข่งอิทธิพลกัน
อยู่ในที ในภูมิภาคเอเชียกลาง หัวข้อเรื่องนี้ก็ทาให้เราได้รู้ว่าในเรื่องเอเชียกลาง นอกจากแข่งกันแล้ว
จีนกับรัสเซียก็ยังมีความร่วมมือกันอยู่ในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ในปัจจุบัน เช่น ในการเยือน
รัสเซียครั้งที่ห้าของสีจิ้นผิงนับแต่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 นี้ สีได้บรรลุ
14
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
กับปูติน ในการประสานโครงการ One Belt One Road ของจีนกับ Eurasian Economic Union
(EEU) ที่รัสเซียเป็นแกนนา เป็นต้น
ประการที่สอง บทความชิ้นนี้ทาให้เรารู้ว่าอย่างไรก็ตามจีนก็ต้องรักษาและเพิ่มพูน
อิทธิพลของตนในเอเชียกลาง เพราะเพียงแค่ในทางเศรษฐกิจ เอเชียกลางมีความสาคัญกับ
เศรษฐกิจจีนมากและจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมากกว่าครึ่งของการนาเข้าก๊าซธรรมชาติของ
จีนมาจากเอเชียกลาง โดยส่งผ่านโครงข่ายท่อส่งก๊าซที่จีนไปสร้างเชื่อมไว้จากเอเชียกลางสู่
จีน เพียงแค่เรื่องนี้จีนก็คงเสียเอเชียกลางไปไม่ได้แล้ว เพราะหมายถึงเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน
ซึ่งเป็นปัจจัยหลักรองรับไม่ว่าจะเรื่องชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของคนจีน การขยายเศรษฐกิจ การ
ขยายกองทัพ และอื่นๆ แต่ไม่เท่านั้นในทางการค้า ปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของเอเชียกลาง
แล้ว ปี 2014 เป็นปีแรกที่มูลค่าการค้าระหว่างเอเชียกลางกับจีน (5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)
แซงหน้ามูลค่าการค้าระหว่างเอเชียกลางกับรัสเซีย และในทางการลงทุน จีนยังลงทุนในเอเชีย
กลางสูงถึงสามหมื่นห้าพันล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2005-2014 โดยลงทุนมากในการสร้างโครงข่าย
ท่อส่งก๊าซธรรมชาติและน้ามันขนาดมหึมา การลงทุนในการสารวจหาแหล่งก๊าซและน้ามัน ลงทุน
สร้างโรงพลังงาน โดยสรุป ข้อมูลเหล่านี้ทาให้เรารู้ชัดถึงความสาคัญที่เอเชียกลางและจีนมีต่อกัน
และกันในเวลานี้
ประการที่สาม บทความนี้ชี้ว่า ความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนทางธุรกิจและการเมืองของ
จีนกับรัสเซียในเอเชียกลางที่เป็นอยู่เวลานี้ก็อาจมีปัญหาได้ในวันข้างหน้า เพราะปัจจัย
ต่างๆ เช่น หนึ่ง จีนกับรัสเซียมองความสัมพันธ์ระหว่างกันและมองเอเชียกลางต่างกัน
รัสเซียเห็นความใกล้ชิดของตนกับปักกิ่งที่เพิ่มขึ้นในสองสามปีนี้ ในฐานะสัญลักษณ์ของวาทกรรม
ต่อต้านตะวันตก หลังรัสเซียถูกคว่าบาตรจากการบุกยูเครนเมื่อต้นปี 2014 EEU ที่รัสเซียเป็นแกน
นานั้น ก็หวังสร้างเป็นตลาดร่วมทางเลือกแทนอียู แต่จีนไม่ได้อยากให้ความสัมพันธ์ของตนกับ
รัสเซียเป็นเหมือนการต่อต้านตะวันตกขนาดนั้น เพราะถึงที่สุดแล้ว กล่าวได้ว่าจีนไม่ได้ต้องการ
หรือไม่พร้อมที่จะหักกับตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐ ในเวลานี้เหมือนที่ปูตินทา นอกจากนี้ รัสเซียกับ
จีนยังมองเอเชียกลางต่างกัน รัสเซียยังคงมองเอเชียกลางเป็น “สวนหลังบ้านของตน” ที่ต้อง
ปกป้องจากการรุกคืบของตะวันตก แต่เอเชียกลางสาหรับจีนคือประตูที่จะเชื่อมจีนเข้ากับตะวันตก
คืออิฐก้อนแรกของถนนสาย OBOR ที่จะเป็นเส้นทางสายไหมใหม่ เชื่อมการค้า การติดต่อ การ
คมนาคม จากจีนสู่ตะวันตก ดังนั้นในระยะยาว ยุทธศาสตร์ของจีนกับรัสเซียต่อเอเชียกลางก็คง
ต่างกัน
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ บทความนี้บอกว่า หัวใจของหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจของจีนกับ
รัสเซียนั้นอยู่ที่ข้อตกลงก๊าซ จีน-รัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นในยามที่เศรษฐกิจรัสเซียอ่อนแอหลังจาก
ถูกคว่าบาตรจากตะวันตกซึ่งเป็นผู้ซื้อก๊าซหลักเดิมของรัสเซีย จากการที่รัสเซียบุกยูเครน
15
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ได้สาเร็จ แต่ในอนาคตเมื่อวันเวลาที่ยากลาบากของเศรษฐกิจรัสเซียผ่านไป กลุ่มอุตสาหกรรมน้ามัน
และนักการเมืองรัสเซียอาจลุกขึ้นมาต่อต้านผลประโยชน์ของจีนในพลังงานของรัสเซียได้
โดยสรุป จีนกับรัสเซียขณะนี้ยังร่วมมือกันอยู่ในเอเชียกลาง แต่ก็มีแนวโน้มที่จะขัดแย้ง
กันในอนาคตได้เพราะไม่ลงรอยกันอยู่หลายเรื่อง ซึ่งว่าไปแล้วก็ทาให้น่าคิดว่านี่คงเป็นธรรมชาติของ
ความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ที่การมีตะวันตกเป็นศัตรูร่วมเป็นปัจจัยหลัก
ที่ทาให้สองชาตินี้ “ถูกบังคับ” ให้หันเข้าหากัน เป็น “พันธมิตรในยามลาบาก” เท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่
ผ่อนคลายความขัดแย้งกับตะวันตกได้แล้ว หรือเมื่อฝ่ายหนึ่งมีทางเลือกอื่น ก็มักจะพบว่าสองชาตินี้ที่
แท้แล้วไม่ได้ชอบกันเอาเสียเลย
เอกสารอ้างอิง
Wang Tao and Rachel Yampolsky. Will China and Russia’s Partnership in Central Asia
Last?. Carnegie-Tsinghua. ออนไลน์: http://carnegietsinghua.org/2015/09/21/will-china-and-
russia-s-partnership-in-central-asia-last/iixd
Yan Xuetong. Inside the China-US Competition for Strategic Partners. Carnegie-
Tsinghua. ออนไลน์: http://carnegietsinghua.org/2015/10/29/inside-china-u.s.-competition-for-
strategic-partners/ilcr
16
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Think Tank ในประเทศไทย
 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL STRATEGIES
DEVELOPMENT
เรียบเรียงโดย ปลายฟ้ า บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ในเดือนธันวาคมนี้ งานวิจัยภายใต้สถาบันคลังปัญญาฯ เรื่อง ทุนทางสังคมกับการปฏิรูป
ประเทศไทย โดย รศ.ดร. สายฝน สุเอียนเมธี ได้สาเร็จลงแล้ว ในโอกาสนี้ สถาบันคลังปัญญา
ฯ จึงขอนาภาพรวมของงานวิจัยชิ้นนี้มานาเสนอแก่ผู้อ่านทุกท่าน ดังนี้
ปัญหาของสังคมไทย เป็นปัญหาที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
มายาวนาน เช่น ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ปัญหาการจัดการ
ขยะ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง รากแท้ของปัญหาดังกล่าว คือการไม่พึ่งตนเองของ
ประชาชน เนื่องจากรัฐเข้าไปจัดการชีวิตให้ตั้งแต่เกิดจนตาย จากงานวิจัยพบว่า พื้นที่ที่อานาจรัฐ
เข้าถึง สามารถลงไปควบคุมจัดการได้ พื้นที่นั้นประชาชนจะไม่สร้างระบบการพึ่งตนเอง รอเพียงการ
จัดการจากรัฐ แต่หากพื้นที่ใดที่อานาจรัฐเข้าไม่ถึงหรือเข้าถึงได้ยาก ชุมชนจะสร้างระบบการพึ่งพา
ตนเองในด้านต่างๆ ได้ โดยทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นจะถูกดึงออกมาใช้ประโยชน์ใน
การขับเคลื่อนเพื่อการสร้างระบบการจัดการตนเอง และเกิดเป็นทุนทางสังคมใหม่ขึ้น ซึ่งทุนทาง
สังคมนี้เองที่จะเป็นปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมจนนาไปสู่การปฏิรูปประเทศ
ทุนทางสังคมคืออะไร
ผู้วิจัยได้สรุปไว้ว่า ทุนทางสังคม หมายถึง ทุนชุมชนเดิมที่มีอยู่แล้วและทุนทางสังคมที่สร้าง
ขึ้นใหม่ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ทุนทางสังคมที่มีลักษณะรูปธรรม เช่น สมาคม
เครือข่ายทางสังคม กลุ่มทางสังคม ส่วนแบบนามธรรม หมายถึงระบบคุณค่า ค่านิยม เช่น ความเชื่อ
ภูมิปัญญา รวมถึงพื้นที่ทางสังคม และการเคลื่อนไหวในสังคมด้วย
17
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ตัวอย่างทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมในต่างประเทศ
ญี่ปุ่น
ทุนทางสังคมในบริบทสังคมญี่ปุ่นนั้น คือ ธรรมเนียมปฏิบัติ ความเชื่อ และระบบคุณค่า โดย
คนญี่ปุ่นให้ความสาคัญกับสานึกความเป็นกลุ่ม และสังคมญี่ปุ่นมีความเป็นระเบียบ เคร่งครัด รู้จัก
พึ่งตนเอง รวมถึงเสียสละให้แก่กลุ่มของตนเอง
ปัจจัยที่ทาให้เกิดทุนทางสังคมของญี่ปุ่นนั้นมีหลายอย่าง เช่น การเกิดภัยพิบัติร้ายแรง ที่ทา
ให้ประชาชนทั่วประเทศได้ตระหนักถึงความสาคัญของกิจกรรมช่วยเหลือสังคม จึงเกิดกลุ่ม
อาสาสมัครจานวนมากมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนนาไปสู่ทุนทางสังคมใหม่ คือ การออกกฎหมาย
เพื่อรับรององค์กรไม่แสวงหาผลกาไร ซึ่งในญี่ปุ่นนั้นมีองค์กรไม่แสวงหาผลกาไรมากมาย โดยเป็น
การดึงเอาพลังความสามารถของภาคประชาชนเข้ามารับผิดชอบการให้บริการสาธารณะแทนรัฐ ทา
ให้สามารถลดภาระรัฐได้ โดยเฉพาะรัฐบาลท้องถิ่น ตัวอย่างองค์กรไม่แสวงหาผลกาไรที่เกิดขึ้น เช่น
องค์กร Human Care ซึ่งมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ และสมาคมละแวกบ้าน เกิดจากการรวมตัว
กันของคนในละแวกบ้านเดียวกัน ร่วมสร้างกฎกติกาชุมชน ดูแลความเป็นระเบียบในชุมชน
เครือข่ายสังคมปลอดภัย ดูแลด้านสุขภาพสวัสดิการ การศึกษา เด็ก สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา
รวมถึงการเกิดวัฒนธรรมการรับมือภัยพิบัติ หมายถึง บรรทัดฐานที่คนในสังคมยึดถือในการปฏิบัติ
ช่วงก่อนเผชิญภัยพิบัติ ขณะเผชิญ และภัยพิบัติ ได้แก่ การรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สาธารณะ
ให้ความสาคัญกับการวางแผนเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ การพึ่งตนเอง เป็นต้น
เกาหลีใต้
ทุนเดิมของเกาหลีใต้นั้น คือ การที่คนในสังคมมีสานึกร่วม มีความเหนียวแน่นและความ
รับผิดชอบต่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาคพลเมืองและองค์กรศาสนาที่ออกมาช่วยขับเคลื่อน
จนหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 1997 ได้เกิดระบบคุณค่าใหม่ เกิดระบบการจ้างงาน มีการคิด
อย่างมีเหตุผล และเกิดความเหนียวแน่นของสังคมมากขึ้น รวมถึงองค์กรภาคประชาชนที่เกิดขึ้น
มากมายเพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการ
เปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย
เหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 1997 ทาให้เกาหลีใต้เกิดการเคลื่อนไหวจากพลเมืองและ
องค์กรทางศาสนา โดยพลเมืองในเกาหลีใต้นาทองที่เก็บไว้ออกมาถึง 227 ตัน ให้เห็นเป็น
หลักประกันในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อกู้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ รวมถึง
สร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินต่างประเทศที่ปล่อยกู้ให้เกาหลีใต้ หลังจากเกิดวิกฤตินี้ คน
ตกงานและไร้บ้านมีจานวนเพิ่มขึ้น เกิดความขัดแย้งระหว่างคนมีงานทากับคนไม่มีงานทา จึงเป็น
การกระตุ้นให้องค์กรภาคประชาชนและองค์กรทางศาสนา ออกมามีบทบาทในการช่วยเหลือและ
เยียวยาสังคม เพื่อช่วยลดภาระองค์กรภาครัฐ จากเหตุการณ์นี้ทาให้เกิดองค์กรภาคประชาชนขึ้นมา
หลากหลายรูปแบบ ถือเป็นทุนทางสังคมของเกาหลีใต้
18
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ทุนทางสังคมในประเทศไทย
ทุนทางสังคมก้าวขึ้นมามีบทบาทที่เห็นได้ชัดเจนคือหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 1997 ผลจาก
วิกฤติเศรษฐกิจทาให้รัฐบาลไม่สามารถดูแลประชาชนได้ ประชาชนจึงต้องมีการรวมกลุ่มกันเองใน
รูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตนเอง ในขณะเดียวกัน เมื่อรัฐเห็นแล้วว่า ภาคประชาชนสังคมทางาน
ได้ดี จึงได้ส่งเสริมโดยการประกาศโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งทาให้ประชาชนได้พบปะ
มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นในชุมชน ทาให้เกิดระบบคุณค่าใหม่ๆ เช่น สร้างระบบสวัสดิการชุมชน
กองทุนการเงินเพื่อคนในชุมชน กองทุนเพื่อสังคม กองทุนสวัสดิการ โดยต่อมาได้พัฒนามาเป็น
เครือข่ายภาคประชาชน เช่น เครือข่ายสวัสดิการชุมชน เครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ติด เครือข่ายส่งเสริมสุขภาพชุมชน และมีการนาระบบคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นฐานและ
เครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สร้างอาชีพ
สร้างรายได้ และสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นถือเป็น ทุนทางสังคม ที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศ และแบ่ง
เบาภาระขององค์กรรัฐ เพื่อพัฒนาและปฏิรูปประเทศนั่นเอง
การนาทุนทางสังคมมาใช้ในการปฏิรูปประเทศไทย
ลักษณะทุนทางสังคมที่ควรนามาใช้ในการปฏิรูปมี 3 ลักษณะ ดังนี้
 อุดมการณ์ร่วม ซึ่งเป็นตัวปลุกสานึกร่วมที่ชุมชนมีอยู่ร่วมกัน
 สานึกร่วม เป็นสานึกในการแก้ไขปัญหาของส่วนรวม
 ปฏิบัติการร่วม ซึ่งจะนาไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการ
ชีวิตประจาวันและทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสาธารณะ
ทุนทางสังคมทั้ง 3 ลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ชุมชน ท้องถิ่น หรือจังหวัดเผชิญ
ปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของคนใน
ชุมชน ปัญหาภัยพิบัติ เป็นต้น และต้องมีความคล้ายคลึงกันทางความเชื่อ วัฒนธรรม จารีต
ประเพณีด้วย
แนวทางการปฏิบัติในการปฏิรูปสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
ข้อเสนอต่อการปฏิรูปในระดับท้องถิ่น1
1. ท้องถิ่นควรใช้ทุนเดิมที่มีในชุมชน โดยเฉพาะองค์กรอาสาสมัคร กลุ่มเครือข่ายทางสังคม
ในการขับเคลื่อนหรือปฏิบัติประเด็นสาธารณะ รวมถึงสร้างพื้นที่สาธารณะ และสนับสนุน
งบประมาณในการสร้างพื้นที่สาธารณะ
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเปลี่ยนวิธีคิดในการทางานร่วมกับชุมชน ยกตัวอย่าง
รูปแบบการทางานของเทศบาลแห่งมหานครโซล กล่าวคือ เปลี่ยนจากเดิมที่องค์กรปกครองส่วน
_____________________________
1
ท้องถิ่นในที่นี้หมายรวมถึงองค์กรและบุคคลภาคีที่ตั้งอยู่ในชุมชนนั้น เช่น ผู้นาชุมชน พระ นายกองค์การบริหาร
ส่วนตาบล กลุ่มทางสังคม โรงเรียน ฯลฯ
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558

แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
Kruthai Kidsdee
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
Taraya Srivilas
 
4. development plane
4. development plane4. development plane
4. development plane
chanok
 
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
domwitlism
 
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันตินโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
suthat22
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
banlangkhao
 
บ้านเพชร พระราม 2 --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1
บ้านเพชร พระราม 2  --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1บ้านเพชร พระราม 2  --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1
บ้านเพชร พระราม 2 --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1
freelance
 

Semelhante a World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558 (20)

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหารเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
 
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
 
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิมการผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
 
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 
กุดชุม
กุดชุมกุดชุม
กุดชุม
 
4. development plane
4. development plane4. development plane
4. development plane
 
Asean thai handout
Asean thai handoutAsean thai handout
Asean thai handout
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
 
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
 
กลุ่ม4
กลุ่ม4กลุ่ม4
กลุ่ม4
 
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันตินโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
บ้านเพชร พระราม 2 --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1
บ้านเพชร พระราม 2  --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1บ้านเพชร พระราม 2  --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1
บ้านเพชร พระราม 2 --เศรษฐกิจพอเพียงวิถีแห่งความสมดุลpart1
 

Mais de Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Mais de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558

  • 2. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต บทบรรณาธิการ สวัสดีปีใหม่ 2559 ค่ะ และแล้วปี 2558 ก็เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อมองย้อนกลับไปก็ถือว่าเป็นปีที่เกิดเรื่องราว มากมายในโลกของเรา ช่วงต้นปีทุกคนยังจับจ้องอยู่ที่วิกฤตเศรษฐกิจยุโรป โดยเฉพาะปัญหาหนี้กรีซ พอกลางปี ความสนใจก็เปลี่ยนมาสู่การขยายพื้นที่ของกลุ่ม IS จากกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่เป็นที่รู้จักนัก ค่อยๆยึด ครองพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆจนครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ในตะวันออกกลาง จากกลางปีถึงปลายปี เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในเมืองต่างๆของโลก ไม่ว่ากรุงเทพ เบรุต ปารีส ฯลฯ อย่างไม่คาดคิด จนปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งการก่อการร้ายทั่วโลกก็ว่าได้ สมรภูมิของ การก่อการร้ายได้ขยายตัวออกจากตะวันออกกลางไปยังเมืองใหญ่ทั่วโลก สาหรับเดือนธันวาคมนี้ World Think Tank Monitors เดินทางมาถึงฉบับที่ 7 แล้ว สถาบัน คลังปัญญายังคงติดตามความเคลื่อนไหวของ Think Tank ชั้นนาจากทั่วโลกเช่นเคย มีทั้งการ วิเคราะห์เบื้องหลังความสาเร็จขององค์กรก่อการร้ายชั้นนาของโลกอย่าง IS กับ Al-Qaeda จาก สถาบัน Carnegie ประจาตะวันออกกลาง และการเล่าถึงมิตรภาพและความร่วมมือในอดีตระหว่าง จีนกับโลกมุสลิม ในบทความของ Middle East Institute ด้าน Brookings และ Chatham House ได้หยิบยกเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศโลกมา นาเสนอ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของจีนที่ลุกขึ้นมามีบทบาทเชิงรุกในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ปารีส เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และการนาเสนอความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเนื้อสัตว์กับปัญหาโลกร้อน ตามลาดับ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ท่านจะได้พบใน World Think Tank Monitors ฉบับที่ 7 นี้ ขอบคุณที่ติดตามกันตลอดปีที่ผ่านมา แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าค่ะ ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ
  • 3. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สารบัญ หน้า บทบรรณาธิการ ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในภูมิภาคยุโรป 1  CHATHAM HOUSE 1  BRUEGEL 2 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา 4  RAND 4  BROOKINGS 5 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ด้านภูมิภาคตะวันออกกลาง 7  CARNEGIE MIDDLE EAST CENTER 7  MIDDLE EAST INSTITUTE 9 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย 12  CARNEGIE-TSINGHUA CENTER 12 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจจาก Think Tank ในประเทศไทย 16  สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL STRATEGIES DEVELOPMENT 16
  • 4. 1 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Think Tank ในภูมิภาคยุโรป CHATHAM HOUSE BRUEGEL เรียบเรียงโดย จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย CHATHAM HOUSE การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร: การเตรียมความพร้อมเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ สถาบัน Chatham House ได้ทาการศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ โดยพบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ของมนุษย์เป็นปัจจัยสาคัญที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภาคปศุสัตว์เป็นภาคส่วนที่มีอัตราการ ปล่อยก๊าซพิษมากถึง 15% ของการปล่อยก๊าซทั่วโลกซึ่งเทียบเท่าได้กับการปล่อยไอเสียจาก ยานพาหนะทั้งหมดในโลก และหากสามารถลดการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกลงได้ จะช่วยลดอุณหภูมิ โลกลงได้ถึง 2 องศาเซลเซียส ดังนั้น การเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณที่ เหมาะสมนอกจากจะนามาซึ่งการมีสุขภาพดีแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการปล่อยมลพิษที่จะก่อให้เกิด ภาวะโลกร้อนได้ไม่น้อยเช่นกัน ปัจจุบันการบริโภคเนื้อสัตว์ของคนทั่วโลกจัดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยการ บริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไปก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน ซึ่งหากไม่ได้รับการควบคุม การบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 75% ภายในปี ค.ศ.2050 ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเชื่อมโยงกับ ประเด็นด้านอาหารของ Chatham House ทาให้ได้ข้อค้นพบที่สาคัญ ดังนี้  ประชาชนทั่วโลกมีความตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาหารและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศอยู่ในระดับต่ามาก ในขณะที่การสร้างความตระหนักรู้เพียงอย่างเดียวอาจ ไม่เพียงพอที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค  รัฐบาลควรมีบทบาทในการเป็นผู้นาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของ ประชาชนผ่านการกาหนดนโยบายหรือบังคับใช้มาตรการต่างๆ  แม้หัวข้อในประเด็นดังกล่าวจะซับซ้อนแต่จาเป็นต้องสื่อสารให้สาธารณชนเข้าใจได้ง่าย
  • 5. 2 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต  แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นกุญแจสาคัญในการสร้างความตระหนักเรื่องการบริโภคอาหารที่ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเผยแพร่ข้อมูลและการสนับสนุนจากแหล่งที่ เชื่อถือได้จะเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเนื้อสัตว์ได้ง่ายขึ้นและมีการ ต่อต้านน้อยลง นอกจากนี้ นักวิจัยของ Chatham House ยังได้เสนอข้อแนะนาเพื่อให้เกิดการปรับแนว ทางการบริโภคเนื้อสัตว์อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลกตลอดจนยังช่วยลดผลกระทบ ต่อสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรมไว้ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ 1. สนับสนุนให้มีการแทรกแซงโดยภาครัฐผ่านนโยบายต่างๆ เช่น การจัดการค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพ การกาหนดกรอบการลดการปล่อยก๊าซ 2. เริ่มต้นการอภิปรายระดับชาติเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อสัตว์และการเพิ่มความตระหนัก ของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาของการบริโภคเกินจาเป็น เพื่อสร้างบทบาทการมีส่วนร่วม ของสื่อ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจที่รับผิดชอบ 3. กาหนดกลยุทธ์ซึ่งนาไปสู่แผนปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดทั้งสร้างกระบวนการติดตามผลการ ดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง BRUEGEL ปฏิกิริยาของบริษัทลูกหนี้ในอาเซียน เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องทาให้ธนาคารกลาง สหรัฐฯ ต้องประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ต่าลง ทาให้ภาคเอกชนของประเทศต่างๆ ในเอเชียได้ประโยชน์อย่างมากจากการกู้ยืมเงินมาลงทุน โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน ส่งผลให้ในปัจจุบัน หนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับที่สูงถึง 80% ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมอาเซียน (ASEAN Gross Domestic Product) ดังนั้น คาถามสาคัญที่เกิดขึ้นจึงมี 2 ประเด็น คือ  บริษัทเอกชนในอาเซียนจะสามารถรับมือกับรายได้ที่ลดลงจากจะชะลอตัวของเศรษฐกิจ จีนได้หรือไม่  การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบบริษัทเอกชนใน อาเซียนอย่างไร จากประเด็นข้างต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเด็นคาถามที่สองทาให้อาเซียนต้องเผชิญกับ ปัญหาด้านความเชื่อมั่นในการจัดหาแหล่งเงินทุนและการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศตลอดทั้งยังส่งผล กระทบถึงภาคธุรกิจใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ซึ่งพบว่า บริษัทเอกชนในประเทศเหล่านี้ล้วนมีหนี้สะสมจานวนมาก และต่างประสบปัญหาในการชาระหนี้ แทบทั้งสิ้น
  • 6. 3 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งนี้ จากการสารวจข้อมูล พบว่า บริษัทในอินโดนีเซียเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการปรับนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการชะลอการบริโภคของจีน โดยตัวเลข การส่งออกลดลงถึง 60% และมีหนี้ภาคเอกชนในสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับทุนสารองเงินตรา ต่างประเทศที่อินโดนีเซียมีอยู่ กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณเตือนสาหรับอาเซียน เพราะแม้อาเซียนจะเป็น ตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ แต่ก็จาเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ในโลกธุรกิจ ที่ปัจจุบันยังมีสหรัฐฯ และจีนเป็นผู้นา เอกสารอ้างอิง Alica gacria-herrero. Indebted ASEAN companies will feel Fed’s rate rise. Bruegel. ออนไลน์: http://bruegel.org/2015/12/indebted-asean-companies-will-feel-feds-rate-rise/ Antony Froggatt, Catherine Happer and Laura Wellesley. Changing Climate, Changing Diets: Pathways to Lower Meat Consumption. Chathum House. ออนไลน์ https://www. chathamhouse.org/publication/changing-climate-changing-diets
  • 7. 4 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา RAND BROOKINGS เรียบเรียงโดย ปลายฟ้ า บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย RAND การตอบโต้ของจีนต่อการปฏิบัติของสหรัฐที่อ้างหลักการเดินเรืออย่างเสรี ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถาบัน Rand ได้นาเสนอบทความเรื่อง How will China respond to future U.S. Freedom of Navigation Operations? ของ Timothy R. Heath โดยมีประเด็น น่าสนใจดังนี้ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2015 สหรัฐลุกล้าเข้าไปในอาณาเขตของจีน ด้วยการนาเรือรบไป ลาดตระเวนบริเวณรอบๆเกาะเทียมที่จีนสร้างขึ้นและจีนอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตในบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งสหรัฐปฏิบัติการโดยอ้างหลักการเดินเรืออย่างเสรี(Freedom of Navigation) จีนไม่พอใจต่อ เหตุการณ์นี้อย่างมากแต่ตอบโต้ด้วยความรอบคอบ โดยการประณามในสื่อสาธารณะและส่งเรือรบ สองลาเพื่อประกบติดตามเรือรบของสหรัฐ จากเหตุการณ์นี้เจ้าหน้าที่ของสหรัฐยืนยันว่าในอนาคตจะ ดาเนินการในลักษณะนี้อีกโดยยึดหลักของการเดินเรืออย่างเสรี ในขณะที่จีนได้ออกมาตอบโต้ว่า จีน จะตอบโต้ขั้นเด็ดขาดหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกในอนาคต การที่สหรัฐประกาศว่าจะตรึงกาลังทหารของตนไว้ในน่านน้าสากลบริเวณทะเลจีนใต้ ยิ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของบริเวณนี้ในด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์การเดินเรือ และอานาจ ของสหรัฐในการแทรกแซงหากเกิดกรณีฉุกเฉินในเอเชีย ด้านจีนนั้น การควบคุมน่านน้าบริเวณ ดังกล่าวเป็นสิ่งสาคัญเพื่อรักษาความปลอดภัยบริเวณปีกทางใต้ของประเทศที่มีความอ่อนแออยู่ และ ช่วยส่งเสริมการแสวงหาพื้นที่สาหรับการจับปลาและเป็นแหล่งแร่ รวมถึงยังลดความสามารถของ สหรัฐในการแทรกแซงในภูมิภาคนี้ ครั้งหนึ่ง ประธานาธิบดีโอบามากล่าวสุนทรพจน์ว่า สหรัฐมีผลประโยชน์ต่อการสนับสนุน หลักการพื้นฐานของการเดินเรืออย่างเสรี และการไหลอย่างเสรีของการค้า อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนออกมาให้สัมภาษณ์ว่าชาวจีนจะไม่ยอมให้ใครละเมิดอานาจอธิปไตย ของจีนรวมถึงสิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ ซึ่งท่าทีการตอบโต้ของจีนถือเป็นสิ่งสาคัญอย่างมากเพราะหากใช้กาลังทางทหารในการตอบ โต้ก็จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทาให้เกิดการปะทะกันจริงๆ และหากเกิดการปะทะกันจริงๆ กองทัพเรือของจีนน่าจะต้องสูญเสียอย่างมากจากเงื้อมมือของสหรัฐ และอาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย กับการเมืองภายในจีนด้วย แต่หากจีนไม่ทาการตอบโต้ใดๆ ก็อาจจะแสดงให้เห็นถึงการขาดความ มั่นใจหรือกลัวอานาจของสหรัฐ ซึ่งจะยิ่งทาให้อีกฝ่ายได้ใจและยิ่งคุกคามหนักขึ้นอีก และอาจจะส่งผล
  • 8. 5 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กระทบต่อการพยายามวางตาแหน่งของจีนในการเป็นผู้นาในภูมิภาคนี้ ดังนั้น จีนจึงได้มีการศึกษาเพื่อ เตรียมรับมือและตอบโต้การปฏิบัติการของสหรัฐในอนาคต โดยในระยะสั้นจีนพยายามรักษา ความสัมพันธ์ที่คงที่และหลีกเลี่ยงการปะทะที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ตน แต่ในระยะยาว สถานการณ์จะยิ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีกสาหรับสหรัฐ เนื่องจากจีนกาลังสร้างกองทัพของตนใน บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ และคาดจะแล้วเสร็จในอนาคตไม่ไกล ซึ่งจะทาให้จีนมีฐานทัพที่ใหญ่ขึ้นใน บริเวณนี้และมีเรือหลากหลายมากขึ้นสาหรับรักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่ง รวมถึงมีกลุ่มทหาร ประจาการบริเวณนี้ พร้อมกับขีปนาวุธและเครื่องบินรบ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะนาไปสู่วิกฤติและ ความขัดแย้งมากขึ้น รวมถึงความท้าทายจะยิ่งมีความซับซ้อนและทวีความสาคัญมากขึ้นในปีที่กาลัง จะมาถึงนี้ BROOKINGS จีนกับบทบาทใหม่ในเวทีลดโลกร้อน เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถาบัน Brookings ได้จับตาเวทีการประชุม Paris Climate Summit และได้นาเสนอประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของจีนบนเวทีดังกล่าวที่เปลี่ยนแปลงไปดังนี้ การกล่าวสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ในการประชุม Paris Climate Summit เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2015 ที่ผ่านมา เป็นที่จับตาของทุกคน เนื่องจากจีนเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือน กระจกมากอันดับแรกของโลก และยังเป็นบทบาทใหม่ที่จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นาในการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก ซึ่งการประชุมที่ปารีสในครั้งนี้ บทบาทและท่าทีของจีนได้เปลี่ยนไปจากเมื่อการประชุมที่ เมืองโคเปนเฮเกน เมื่อปี 2009 จากที่เป็นเพียงผู้เข้าร่วมการประชุมและไม่มีบทบาทใดๆ มากนัก จน เมื่อหลายปีก่อน ประเทศตะวันตกเคยมีมุขล้อจีนว่าเป็น Mr.No ที่ปฏิเสธข้อเสนอของตะวันตกในเรื่อง โลกร้อน มาครั้งนี้ จีนก้าวขึ้นมาเป็นหัวหอกในการจัดตั้งรัฐบาลโลกเพื่อดูแลประเด็นเรื่องโลกร้อน โดยเฉพาะ และสุนทรพจน์ที่ สี จิ้นผิง กล่าวในงานนั้น ก็แสดงถึงความกระตือรือร้นที่จะมีบทบาทใน การรับผิดชอบเรื่องนี้มากขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่ง พื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ วิสัยทัศน์ของ สี จิ้นผิง ที่มองเห็นความสาคัญของความร่วมมือ ระหว่างประเทศมากขึ้นนั่นเอง เมื่อปีที่แล้ว จีนและสหรัฐ ทาให้ทั้งโลกตะลึงด้วยการเซ็นสัญญาความร่วมมือในเรื่องโลกร้อนและ พลังงานสะอาด ความสาคัญของสัญญานี้คือจีนประกาศตกลงที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วเรียกร้องในหลายปีที่ผ่านมา ภายใต้ข้อตกลงนี้ จีนยังตกลง
  • 9. 6 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะใช้พลังงานทางเลือกที่ไม่ใช่น้ามันและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น จากเดิมที่ใช้แค่ร้อยละ 20 ของ ทั้งหมด นั่นหมายความว่าจีนจะต้องเพิ่มความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของตน 1000 กิกะวัตต์ ภายใน 15 ปี ซึ่งจะเท่ากับความสามารถการผลิตของสหรัฐในขณะนี้ ขณะที่การเจรจาเรื่องโลกร้อนระหว่างประเทศต่างๆ ในประเด็นเรื่องเงินทุน(Climate finance) นั้นมีความล่าช้า จีนก็ได้ก้าวขึ้นมาดาเนินการอย่างจริงจัง อย่างแรกคือ เมื่อปี 2014 จีนได้เพิ่มการ สนับสนุนเป็นสองเท่าให้กับกองทุนด้านความร่วมมือด้านภูมิอากาศในประเทศกาลังพัฒนา (South- South Climate Cooperation Fund) เเละล่าสุดยังได้มีข้อตกลงที่จะช่วยเหลืออีก 2 หมื่นล้านหยวน (3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อส่งเสริมเเนวคิดริเริ่มเรื่องคาร์บอนต่าในประเทศกาลังพัฒนา ที่ ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวประชากรยังน้อยกว่าสหรัฐอยู่มาก นี่ได้เเสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของจีนที่จะเเก้ ไขปัญหาระดับโลกอย่างจริงจัง เอกสารอ้างอิง Qi Ye, Tong Wu. China’s “yes” to new role in climate battle. Brookings. ออนไลน์: http://www.brookings.edu/research/articles/2015/12/04-chinas-yes-new-role-climate-battle-qi- wu Timothy R. Heath. How will China respond to future U.S. Freedom of VNavigation Operation. Rand. ออนไลน์: http://www.rand.org/blog/2015/10/how-will-china-respond-to-future- us-freedom-of-navigation.html
  • 10. 7 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Think Tank ในภูมิภาคตะวันออกกลาง CARNEGIE MIDDLE EAST CENTER เรียบเรียงโดย ปาณัท ทองพ่วง ผู้ช่วยนักวิจัย CARNEGIE MIDDLE EAST CENTER เบื้องหลังการเติบโตของ IS และ Al-Qaeda ในเดือนธันวาคม Carnegie Middle East Center ได้เสนอบทความเรื่อง ISIS and Al- Qaeda’s Expansion: Q&A With Dalia Ghanem-Yazbeck เป็นข้อเขียนในลักษณะถาม – ตอบ คาถามจากผู้อ่านเกี่ยวกับว่า อะไรอยู่เบื้องหลังการขยายตัวของกลุ่ม IS และ Al-Qaeda ซึ่งมีตัวอย่าง ประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ ข้อแรก บทความดังกล่าววิเคราะห์ว่า การขยายตัวของ IS ส่วนมากจะประสบ ความสาเร็จในประเทศที่เป็นรัฐล้มเหลว (failed state) ที่ซึ่งรัฐอ่อนแอ บริการสาธารณะและบริการ ทางความมั่นคงจากรัฐอ่อนแอ มีสงคราม ความขัดแย้ง การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในภายนอก ประเทศยืดเยื้อ เช่น ลิเบีย ภายหลังการโค่นกัดดาฟีในปี 2011 ก็เอื้อให้ IS ขยายตัวได้ นอกจากลิเบีย เยเมน ไนจีเรีย อัฟกานิสถาน ก็ตกอยู่ในสภาพรัฐอ่อนแอเช่นกัน กลุ่ม IS จึงอาศัยช่องว่างที่รัฐไม่ สามารถทาหน้าที่บริการประชาชนได้ดีพอ เสนอตนเป็นผู้ให้การคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน ให้งานให้ เงิน (จากการเข้าร่วมรบ) และมอบสาธารณูปการให้ประชาชนแทนรัฐ ทาให้ IS เติบโตได้ ขณะที่ในประเทศที่มีรัฐเข้มแข็งและมีระบบความมั่นคงที่เข้มแข็งเด็ดขาด พบว่า IS ไม่ สามารถรอดอยู่ได้ เช่น ในอัลจีเรีย พบว่าเครือข่ายของ IS ในอัลจีเรียชื่อ jund El Khilafa ซึ่ง ลักพาตัวคนฝรั่งเศสไป ถูกปราบลงโดยหน่วยความมั่นคงของอัลจีเรียในเวลาไม่ถึงสามเดือนหลังการ ลักพาตัว และต่อมากลุ่มก่อการร้ายอีกกลุ่มซึ่งก้าวขึ้นมาแทนที่ El Khilafa ก็ถูกกาจัดลงในสองสามวัน หลังจากนั้น บทเรียนที่เราดึงมาใช้ได้คือ IS จะใช้โอกาสจากความสับสน ขัดแย้ง วุ่นวายในพื้นที่ แทรกตัวเข้ามา “ดึงมวลชน” ให้หันมาเข้าร่วม ดังนั้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ของเรา จึง มิใช่ไม่มีโอกาสที่ IS จะแทรกตัวเข้ามาปฏิบัติการ ยิ่งไม่กี่วันหลังเหตุระเบิดในปารีสเมื่อเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลุ่มก่อการร้ายมาเลเซียที่มีฐานในฟิลิปปินส์ตอนใต้ออกมาเผยแพร่คลิปประกาศ จัดตั้งเครือข่าย IS สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการ โดยมีแผนจะรวมกลุ่มก่อการร้าย ของอาเซียนอย่างเจมาห์ อิสลามิยาห์และอาบูไซยาฟ ในมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
  • 11. 8 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สอง บทความนี้กล่าวว่ามีการแข่งขันระหว่าง IS กับ Al-Qaeda เพื่อผูกขาดวงการ นักรบจิฮาดในโลก โดยดูจากว่า ไม่กี่วันหลังการโจมตีเบรุตและปารีสของ IS ก็มีการโจมตี โรงแรมในประเทศมาลีโดย Al-Qaeda เป็นการแย่งชิงพื้นที่สื่อระหว่างกัน การแข่งขันระหว่างสอง กลุ่มนี้คือ การแย่งมวลชน แย่งบุคลากร แข่ง “ยี่ห้อ” คล้ายกับสองบริษัทที่ทาการตลาดแย่งลูกค้ากัน อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ไม่มีใครเถียงว่า IS ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรก่อการร้ายอันดับหนึ่งของโลกแล้ว เหตุผลหลักที่ทาให้ IS มาถึงจุดนี้ได้ถูกมองว่า อยู่ที่ทักษะและยุทธศาสตร์ชั้นยอดในการใช้ สื่อประชาสัมพันธ์องค์กร มากเสียยิ่งกว่าอานาจทางทหาร ทาให้ได้รับการยอมรับจากคน หลากหลายตั้งแต่คนตะวันออกกลางที่เป็นเหยื่อสงคราม จนถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนมีความสามารถมี การศึกษาสูงจากทั่วโลก ขณะที่ Al-Qaeda แม้เสียสถานะองค์กรก่อการร้ายอันดับหนึ่งไปแล้ว แต่ก็ยังคงได้รับความ เคารพในหมู่นักรบจิฮาดในฐานะองค์กรแม่ของ IS ในฐานะองค์กรจิฮาดองค์กรแรกที่ประสบ ความสาเร็จมหาศาล ทาการก่อการร้ายโจมตีตะวันตกครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา (9/11) สาม บทความนี้วิเคราะห์เหตุที่กลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ อย่าง Boko Haram ในไนจีเรีย และ Al-Shabaab ในแอฟริกาตะวันออกประกาศสวามิภักดิ์ต่อ IS (เมื่อหนึ่งถึงสองเดือนที่ผ่านมา) ว่าเป็นเพราะ “ยี่ห้อ” IS นั้นติดตลาดระดับโลกไปแล้ว เปรียบเหมือนแมคโดนัลด์หรือโคคา-โคลา IS ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่องค์กรก่อการร้ายที่มียี่ห้อติดหูชาวโลกและเป็นที่หวาดกลัวของโลก ตะวันตกและอาหรับ แต่ยังยึดครองดินแดนใหญ่โต มีธงชาติ เพลงชาติ และแม้กระทั่งสกุล เงิน(ดินาร์ทองคา) ของตนด้วย กลุ่มก่อการร้ายทั่วโลกจึงอยากเชื่อมโยงตนเองเป็นแฟรน ไชส์ของ IS เพื่อเพิ่มชื่อเสียง และช่วยให้ระดมคนสนับสนุน เงินทุนเข้ากลุ่มของตนได้ง่ายขึ้น สี่ บทความเสนอความคิดบางอย่างเกี่ยวกับการจัดการกับเรื่องกลุ่มหัวรุนแรง อิสลามว่า จุดหลักอยู่ที่ความสามารถในการสร้างวาทกรรมตอบโต้ เพราะนี่คือสงคราม ความคิด นี่คือสงครามโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ IS วันนี้เป็นเจ้าแห่งทักษะเหล่านี้และ ฉะนั้นกาลังชนะสงครามนี้ ความสาเร็จของ IS อยู่ที่ความสามารถในการทาสงครามความคิด สร้างพลังดึงดูด มากกว่าความสามารถในการรบจริง โลกอาหรับเวลานี้กาลังเผชิญความ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การใช้ทหารนั้นช่วยแก้ปัญหาเพียงเฉพาะหน้า แต่มิใช่คาตอบที่จะนา สันติภาพมาสู่ดินแดนนี้ ตรงข้ามกลับทาให้สันติภาพห่างไกลออกไปทุกที และจะนาโลก อาหรับกลับไปสู่ยุคแห่งเผด็จการในที่สุด ในการให้คาแนะนาหรือเสนอทางออกใดๆ ต้อง ตระหนักไว้ว่า แต่ละประเทศต่างมีบริบททางการเมือง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนของตน จึงไม่มี คาตอบเดียวที่จะใช้ได้กับทั้งภูมิภาค นอกจากนี้ ต้องทางานร่วมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ มิใช่ไป ต่อต้านทาลายพวกเขา และในอีกด้าน สังคมตะวันตกต้องเร่งทบทวนมาตรการหลอมรวมทางสังคม
  • 12. 9 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ตะวันตกรุ่นใหม่มองคนมุสลิมและโลกมุสลิมดีกว่าเพียง “ผู้ก่อการร้าย” บทเรียนสาหรับยุโรปและ ตะวันออกกลางข้างต้นนี้ จะดีมากถ้าเราใช้มองย้อนกลับมาสู่แนวทางแก้ปัญหาในชายแดน ใต้ของไทยด้วย   MIDDLE EAST INSTITUTE เมื่อจีนเป็นพันธมิตรกับอิสลาม สถาบัน Middle East Institute ได้เสนอบทความเรื่อง When Islam Was an Ally: China’s Changing Concepts of Islamic State and Islamic World เขียนโดย John T. Chen นักศึกษา ปริญญาเอก ภาคประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขาได้ไล่เรียงความเปลี่ยนแปลงของมุมมอง ของรัฐจีนต่อ “รัฐอิสลาม” และ “โลกมุสลิม” ตั้งแต่ยุคปลายราชวงศ์ชิง มาในยุคสาธารณรัฐ(ยุคกว๋อ มินตั๋ง) ต้นยุคคอมมิวนิสต์ ถึงยุคร่วมสมัย ทาให้เห็นว่า “จีน” กับ “มุสลิม” ไม่ได้เป็นสิ่งที่ขัดแย้ง กันอย่างเดียวอย่างที่รู้สึกกันในปัจจุบัน แต่ยังมีความร่วมมือกันที่ปรากฏหลักฐานใน ประวัติศาสตร์อยู่ไม่น้อย บทความนี้กล่าวว่า เหตุที่ปัจจุบันเวลาพูดถึงจีนกับอิสลาม คนจะนึกถึงความขัดแย้ง การกด ขี่ของจีนต่อมุสลิม เป็นเพราะไปมองแต่กรณีอุยกูร์ในซินเจียง แต่จริงๆแล้ว นอกจากคนอุยกูร์ในซิ นเจียง จีนยังมีคนมุสลิมอีกพวกอยู่กระจายทั่วไปและมีบทบาทในการเมืองจีนมาแต่โบราณคือ ชาว หุย (Hui) ซึ่งเมื่อเราดูประวัติศาสตร์จีน ก็จะพบว่ามีความร่วมมือระหว่างชาวหุยกับชาวฮั่นอยู่ โดย ชาวหุยเป็นเหมือนสายใยที่จีนใช้เชื่อมกับโลกมุสลิมภายนอก อย่างนายพลเจิ้งเหอที่นากอง เรือจีนในช่วงศตวรรษที่ 15 ก็เป็นชาวหุย เอกสารจีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19-ต้นศตวรรษที่ 20 เรียกอาณาจักรอิสลามซึ่งในยุคนั้นมี หนึ่งเดียวคืออาณาจักรออตโตมานว่า huihuiguo ซึ่งใช้คาว่า hui คาเดียวกับที่เรียกชาวหุย ซึ่ง แสดงว่าจีนยอมรับสายใยระหว่างมุสลิมในจีนกับมุสลิมภายนอกว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่เป็นพวก เดียวกันในทางศาสนา หลังจากออตโตมานล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรอิสลามที่ รวมเป็นหนึ่ง แตกออกเป็นประเทศอิสลามเกิดใหม่หลายๆประเทศ โลกอิสลามเปลี่ยนจากขั้วเดียว (unipolar) มาเป็นหลายขั้ว (multipolar) จีนก็เปลี่ยนมาเรียกประเทศมุสลิมเหล่านี้แต่ละประเทศว่า huijiaoguo ซึ่งใกล้เคียงกับคาว่า “รัฐอิสลาม” ให้ความหมายที่เป็นรัฐสมัยใหม่ที่ใช้เขตแดนเป็นเส้น แบ่งกลุ่มคนเข้ามาเป็นพวกเดียวกัน มากกว่าเพียงการเป็นพวกเดียวกันเพราะศาสนาอย่างเดียว เหมือนเดิม และจีนก็ใช้คาว่า huijiao shijie ที่แปลว่าโลกอิสลามหรือ Muslim World เวลาต้องการ พูดถึงประชาคมอิสลามโดยรวม
  • 13. 10 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต การใช้คาต่างๆเหล่านี้แสดงถึงมุมมองของจีนต่อ “รัฐอิสลาม” และ “โลกมุสลิม” ที่เปลี่ยนไป ตามความเปลี่ยนแปลงในโลกมุสลิม นอกจากดูที่การใช้คาแล้ว มุมมองของจีนต่อมุสลิมยังเห็นได้จากความร่วมมือระหว่างชาวฮั่น กับชาวหุย โดยชาวฮั่นใช้ชาวหุยเป็นสะพานเชื่อมในการต่างประเทศกับโลกมุสลิมในยุคต่างๆ เช่น จีนยุคกว๋อมินตั๋ง ในสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ส่งคณะผู้แทนชาวหุยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับโลก มุสลิมยังมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮาร์ในอียิปต์ และเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ที่เมกกะ ปัญญาชนของพรรคกว๋อมินตั๋ง วาดภาพคนมุสลิมในจีนเป็น “พลังบวก” ในประวัติศาสตร์จีน ในยุคคอมมิวนิสต์ ชาวหุยมีบทบาทในการต่างประเทศจีนอีกครั้ง โดยในปี 1955 โจว เอินไหลนา Da Pusheng หนึ่งใน “4 อิหม่ามคนสาคัญ” ของชาวหุยร่วมคณะไปเข้าร่วมการประชุมสุด ยอดแอฟริกัน-เอเชียที่บันดุง อินโดนีเซียด้วย (ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดใน สงครามเย็น) เพื่อแสดงว่าจีนเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับมุสลิม เพราะต้องการได้เสียงสนับสนุนจาก ประเทศมุสลิม โดยเฉพาะอียิปต์ (ยุคประธานาธิบดีกามาล นัสเซอร์) ให้สนับสนุนจีนคอมมิวนิสต์ให้ได้ ที่นั่งของจีนในสหประชาชาติแทนไต้หวัน (แต่ไม่ประสบความสาเร็จกระทั่งสหรัฐเปลี่ยนมาฟื้น ความสัมพันธ์กับจีน) อย่างไรก็ตาม เมื่อจีนหลุดพ้นจากยุคปฏิวัติวัฒนธรรม เข้าสู่ยุค pragmatism หลังจากฟื้นฟู ความสัมพันธ์กับอเมริกาและเติ้งเสี่ยวผิงปรับ-เปิ ดประเทศ (gaige-kaifang) แล้ว นโยบายการ ต่างประเทศจีนก็เข้าสู่ยุค ideological minimalism คือจีนหันหน้าออกจากการใช้อุดมการณ์ –ทั้ง อุดมการณ์การเมืองและศาสนาในการกาหนดนโยบายต่างประเทศ จากนั้นมาความสัมพันธ์ของจีนกับ โลกอิสลามและชาวมุสลิมจึงจากัดอยู่เพียงเรื่องความมั่นคงและการพัฒนาเป็นหลัก มิได้คบค้า กันด้วยการอาศัยสายใยทางศาสนาอิสลามอีกต่อไป ในปี 2012 องค์การ OIC ร่วมกับ Chinese Academy of Social Sciences และกระทรวงการ ต่างประเทศจีน เป็นเจ้าภาพจัดประชุม International Congress on China and The Muslim World ที่ ปักกิ่ง อันแสดงว่าความสนใจในเรื่องอิสลามของจีนในทางวิชาการ ทางวัฒนธรรม และทางการเมือง ยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อจีนในยุคนี้มิได้คบค้ากับโลกมุสลิมด้วยสายใยทางศาสนาแล้ว ชาว มุสลิมในจีนหรือชาวหุยก็มิได้มีบทบาทในการเมือง-การต่างประเทศของจีนเหมือนในอดีตอีก ต่อไป
  • 14. 11 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เอกสารอ้างอิง Dalia Ghanem-Yazbeck. ISIS and Al-Qaeda’s Expansion: Q&A With Dalia Ghanem- Yazbeck. Carnegie Middle East Center ออนไลน์: http://carnegie-mec.org/2015/12/14/expert- answers-questions-about-isis-and-al-qaeda-s-expansion/in9u. John T. Chen. When Islam Was an Ally: China’s Changing Concepts of Islamic State and Islamic World. Middle East Institute. ออนไลน์ http://www.mei.edu/content/map/when-islam- was-ally-china%E2%80%99s-changing-concepts-islamic-state-and-islamic-world.
  • 15. 12 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย CARNEGIE-TSINGHUA CENTER เรียบเรียงโดย ปาณัท ทองพ่วง ผู้ช่วยนักวิจัย CARNEGIE-TSINGHUA CENTER จีนควรเร่งสร้าง “พันธมิตร” แข่งกับสหรัฐ สถาบัน Carnegie-Tsinghua ได้เสนอบทความของ Yan Xuetong คณบดี Institute of Mod- ern International Relations แห่งมหาวิทยาลัยชิงหัวและประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน Car- negie-Tsinghua เรื่อง Inside the China-US Competition for Strategic Partners ซึ่งมีประเด็นที่ น่าสนใจเกี่ยวกับความคิดของนักวิชาการจีน คือ หนึ่ง Yan Xuetong เสนอแนวนโยบายด้านการต่างประเทศจีนในยุคนี้ว่า จีนต้องเพิ่ม “พันธมิตร” ในเวทีโลกถ้าต้องการจะแข่งกับสหรัฐขึ้นมาเป็นมหาอานาจโลก พันธมิตรในที่นี้ เขาย้าว่ามิใช่เพียงแต่พันธมิตรทางเศรษฐกิจ ที่มักเรียกกันในยุคนี้ว่าความสัมพันธ์แบบ “พันธมิตรเชิง ยุทธศาสตร์ (strategic partnership)” แต่ต้องเป็นพันธมิตรที่ต้องไปถึงขั้นร่วมมือกันทางทหาร อย่างเดียวกับที่สหรัฐมีมายาวนานกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพราะปัจจุบันแม้จะดูเหมือนว่าจีนได้สร้างมิตรประเทศขึ้นมาตามหลังสหรัฐได้อย่างรวดเร็ว คือมี ความสัมพันธ์ระดับพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์กับราว 70 ประเทศ และมีจานวนของประเทศในโลกที่มีคู่ ค้าอันดับหนึ่งเป็นจีนมากกว่าที่มีคู่ค้าอันดับหนึ่งเป็นสหรัฐแล้วในขณะนี้ (มากกว่าเกือบเท่าตัว และมี แนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ) แต่นั่นเป็นความสัมพันธ์ที่เน้นเศรษฐกิจนาเป็นหลัก ตามหลักการ “สร้าง เสริมสายสัมพันธ์ทางการเมือง ด้วยแนวทางเศรษฐกิจ (yi-jing-cu-zheng)” ซึ่งจีนยึดถือเป็นหลัก ในการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติมาตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิงเปิดประเทศในทศวรรษ 1980 อย่างไรก็ ตาม ในแง่จานวนพันธมิตรทางทหารแล้ว จีนเทียบสหรัฐไม่ได้เลย เพราะในปัจจุบัน ขณะที่สหรัฐมี พันธมิตรตามสนธิสัญญาหรือ treaty allies (คือมีความร่วมมือทางการทหารด้วย) กับกว่า 60 ประเทศ แต่จีนมีพันธมิตรแบบเดียวกันนี้เพียงหนึ่งประเทศในปัจจุบัน คือ กับปากีสถาน ซึ่งเพิ่งลงนามยกระดับ ความสัมพันธ์กันไปเมื่อต้นปี 2015 นี้ Yan Xuetong จึงเรียกร้องให้รัฐบาลจีนเพิ่มจานวน “พันธมิตร ทางทหาร” ให้มากขึ้น สอง เขาได้ประเมินศักยภาพของประเทศต่างๆในโลกนี้ที่จีนน่าจะมีโอกาสไปสร้าง ความสัมพันธ์แบบพันธมิตรด้วย กัมพูชา ลาว และสมาชิกอีกห้าประเทศ(ไม่นับจีน)ขององค์การความ ร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) คือ รัสเซีย คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และคีร์กิซสถาน นั้นถูก ประเมินในที่นี้ว่า “มีศักยภาพ” ที่จีนจะยกระดับความสัมพันธ์ให้เป็นพันธมิตรเต็มขั้นแบบปากีสถานได้
  • 16. 13 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ขณะที่ในจานวนเพื่อนบ้านของจีนนั้น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และที่น่าสนใจมากคือ เกาหลีเหนือ ถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีโอกาสน้อยที่สุดที่จีนจะไปยกระดับเป็นพันธมิตร เต็มขั้นด้วยได้ สามประเทศแรกนั้นเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะถือเป็นพันธมิตรใกล้ชิดสนิทสนมของ สหรัฐ (เวียดนามด้วยในปัจจุบัน) แต่เกาหลีเหนือนั้น คนภายนอกทั่วไปมักคิดว่าจีนเป็นมหามิตรคน เดียวของเกาหลีเหนือในโลกนี้ แต่บทความนี้กล่าวว่าแม้จีนกับเกาหลีเหนือจะยังคงมีสนธิสัญญา มิตรภาพ ความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่มันก็ได้กลายเป็นเสือกระดาษมากขึ้นทุก ที สองประเทศนี้ไม่ได้จัดการประชุมระดับผู้นารัฐหรือมีความสัมพันธ์ทางทหารกันในรอบหลายปีมานี้ อย่างไรก็ตาม Yan Xuetong กล่าวว่าจีนอาจจะเฝ้ารอให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในในประเทศกลุ่ม หลังนี้ ให้กระแสภายในบวกกับจีนขึ้นก่อน แล้วค่อยไปกระชับสัมพันธ์ก็ได้ เช่น ในปีหน้าจะมีการ เลือกตั้งประธานาธิบดีในฟิลิปปินส์ ซึ่งอาจจะได้ผู้นาที่มีทัศนคติที่ดีกับจีนมากกว่านายอาควิโนก็ได้ สาม Yan Xuetong ได้ให้ข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจสาหรับคนไทยและอาเซียนว่า เขาเห็นว่า การที่เขาเสนอให้จีนไปสร้างพันธมิตรกับชาติเพื่อนบ้านที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอยู่ด้วย (เช่น ฟิลิปปินส์) นั้นเป็นไปได้ เพราะอาศัยช่องที่ว่า ชาติอาเซียนนั้นไม่ต้องการให้ภูมิภาคของตนถูก ครอบงาทางการทหารจากมหาอานาจภายนอก ไม่ว่าจีน ไม่ว่าสหรัฐ ดังนั้นในสภาพปัจจุบันที่ ครึ่งหนึ่งของภูมิภาคตกอยู่ใต้อิทธิพลของสหรัฐ ทางออกเดียวที่จะช่วยให้อาเซียนยังคงรักษาความ มั่นคงในภูมิภาคของตนไว้ให้เป็นอิสระ และลดการผูกติดกับสหรัฐหรือภัยคุกคามจากสหรัฐหรือจีนก็ คืออาเซียนจะต้องการสร้างพันธมิตรทางทหารกับจีนบ้าง เพื่อมาคาน มาถ่วงดุลกับอิทธิพลสหรัฐ สรุปคือการเป็นพันธมิตรกับทั้งจีนและสหรัฐคือทางรอด ที่จะคงความเป็นอิสระของอาเซียนนั่นเอง ข้อสามนี้ น่าสนใจสาหรับคนไทยและอาเซียน เพราะแสดงว่าจีนเข้าใจสถานการณ์ของชาติ อาเซียนดีมาก และเขาก็ใช้ความรู้นั้นมากาหนดยุทธศาสตร์ที่จะมาสัมพันธ์กับเราด้วย แล้วเราหล่ะ รู้ เรื่องเขาดีแค่ไหน? มีอะไรไปสู้หรือยัง? ประเมินอนาคตหุ้นส่วนจีน-รัสเซีย ในเอเชียกลาง บทความชิ้นนี้ของ Carnegie-Tsinghua เขียนโดยนักวิชาการสองคนของสถาบันชื่อ Wang Tao และ Rachel Yampolsky คาถามหลักที่สองคนนี้สนใจก็ตามหัวข้อเรื่องคือ หุ้นส่วนระหว่างจีน กับรัสเซียในเรื่องผลประโยชน์ในเอเชียกลางนั้นจะยั่งยืนไปได้สักเท่าไร ซึ่งถึงตรงนี้ ทาให้เห็น ประเด็นอย่างน้อยสองสามประการ ดังนี้ ประการแรก จากที่เราพอรู้มาว่าจีนกับรัสเซียเป็นสองมหาอานาจที่แข่งอิทธิพลกัน อยู่ในที ในภูมิภาคเอเชียกลาง หัวข้อเรื่องนี้ก็ทาให้เราได้รู้ว่าในเรื่องเอเชียกลาง นอกจากแข่งกันแล้ว จีนกับรัสเซียก็ยังมีความร่วมมือกันอยู่ในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ในปัจจุบัน เช่น ในการเยือน รัสเซียครั้งที่ห้าของสีจิ้นผิงนับแต่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 นี้ สีได้บรรลุ
  • 17. 14 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กับปูติน ในการประสานโครงการ One Belt One Road ของจีนกับ Eurasian Economic Union (EEU) ที่รัสเซียเป็นแกนนา เป็นต้น ประการที่สอง บทความชิ้นนี้ทาให้เรารู้ว่าอย่างไรก็ตามจีนก็ต้องรักษาและเพิ่มพูน อิทธิพลของตนในเอเชียกลาง เพราะเพียงแค่ในทางเศรษฐกิจ เอเชียกลางมีความสาคัญกับ เศรษฐกิจจีนมากและจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมากกว่าครึ่งของการนาเข้าก๊าซธรรมชาติของ จีนมาจากเอเชียกลาง โดยส่งผ่านโครงข่ายท่อส่งก๊าซที่จีนไปสร้างเชื่อมไว้จากเอเชียกลางสู่ จีน เพียงแค่เรื่องนี้จีนก็คงเสียเอเชียกลางไปไม่ได้แล้ว เพราะหมายถึงเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักรองรับไม่ว่าจะเรื่องชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของคนจีน การขยายเศรษฐกิจ การ ขยายกองทัพ และอื่นๆ แต่ไม่เท่านั้นในทางการค้า ปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของเอเชียกลาง แล้ว ปี 2014 เป็นปีแรกที่มูลค่าการค้าระหว่างเอเชียกลางกับจีน (5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) แซงหน้ามูลค่าการค้าระหว่างเอเชียกลางกับรัสเซีย และในทางการลงทุน จีนยังลงทุนในเอเชีย กลางสูงถึงสามหมื่นห้าพันล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2005-2014 โดยลงทุนมากในการสร้างโครงข่าย ท่อส่งก๊าซธรรมชาติและน้ามันขนาดมหึมา การลงทุนในการสารวจหาแหล่งก๊าซและน้ามัน ลงทุน สร้างโรงพลังงาน โดยสรุป ข้อมูลเหล่านี้ทาให้เรารู้ชัดถึงความสาคัญที่เอเชียกลางและจีนมีต่อกัน และกันในเวลานี้ ประการที่สาม บทความนี้ชี้ว่า ความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนทางธุรกิจและการเมืองของ จีนกับรัสเซียในเอเชียกลางที่เป็นอยู่เวลานี้ก็อาจมีปัญหาได้ในวันข้างหน้า เพราะปัจจัย ต่างๆ เช่น หนึ่ง จีนกับรัสเซียมองความสัมพันธ์ระหว่างกันและมองเอเชียกลางต่างกัน รัสเซียเห็นความใกล้ชิดของตนกับปักกิ่งที่เพิ่มขึ้นในสองสามปีนี้ ในฐานะสัญลักษณ์ของวาทกรรม ต่อต้านตะวันตก หลังรัสเซียถูกคว่าบาตรจากการบุกยูเครนเมื่อต้นปี 2014 EEU ที่รัสเซียเป็นแกน นานั้น ก็หวังสร้างเป็นตลาดร่วมทางเลือกแทนอียู แต่จีนไม่ได้อยากให้ความสัมพันธ์ของตนกับ รัสเซียเป็นเหมือนการต่อต้านตะวันตกขนาดนั้น เพราะถึงที่สุดแล้ว กล่าวได้ว่าจีนไม่ได้ต้องการ หรือไม่พร้อมที่จะหักกับตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐ ในเวลานี้เหมือนที่ปูตินทา นอกจากนี้ รัสเซียกับ จีนยังมองเอเชียกลางต่างกัน รัสเซียยังคงมองเอเชียกลางเป็น “สวนหลังบ้านของตน” ที่ต้อง ปกป้องจากการรุกคืบของตะวันตก แต่เอเชียกลางสาหรับจีนคือประตูที่จะเชื่อมจีนเข้ากับตะวันตก คืออิฐก้อนแรกของถนนสาย OBOR ที่จะเป็นเส้นทางสายไหมใหม่ เชื่อมการค้า การติดต่อ การ คมนาคม จากจีนสู่ตะวันตก ดังนั้นในระยะยาว ยุทธศาสตร์ของจีนกับรัสเซียต่อเอเชียกลางก็คง ต่างกัน อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ บทความนี้บอกว่า หัวใจของหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจของจีนกับ รัสเซียนั้นอยู่ที่ข้อตกลงก๊าซ จีน-รัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นในยามที่เศรษฐกิจรัสเซียอ่อนแอหลังจาก ถูกคว่าบาตรจากตะวันตกซึ่งเป็นผู้ซื้อก๊าซหลักเดิมของรัสเซีย จากการที่รัสเซียบุกยูเครน
  • 18. 15 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้สาเร็จ แต่ในอนาคตเมื่อวันเวลาที่ยากลาบากของเศรษฐกิจรัสเซียผ่านไป กลุ่มอุตสาหกรรมน้ามัน และนักการเมืองรัสเซียอาจลุกขึ้นมาต่อต้านผลประโยชน์ของจีนในพลังงานของรัสเซียได้ โดยสรุป จีนกับรัสเซียขณะนี้ยังร่วมมือกันอยู่ในเอเชียกลาง แต่ก็มีแนวโน้มที่จะขัดแย้ง กันในอนาคตได้เพราะไม่ลงรอยกันอยู่หลายเรื่อง ซึ่งว่าไปแล้วก็ทาให้น่าคิดว่านี่คงเป็นธรรมชาติของ ความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ที่การมีตะวันตกเป็นศัตรูร่วมเป็นปัจจัยหลัก ที่ทาให้สองชาตินี้ “ถูกบังคับ” ให้หันเข้าหากัน เป็น “พันธมิตรในยามลาบาก” เท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ ผ่อนคลายความขัดแย้งกับตะวันตกได้แล้ว หรือเมื่อฝ่ายหนึ่งมีทางเลือกอื่น ก็มักจะพบว่าสองชาตินี้ที่ แท้แล้วไม่ได้ชอบกันเอาเสียเลย เอกสารอ้างอิง Wang Tao and Rachel Yampolsky. Will China and Russia’s Partnership in Central Asia Last?. Carnegie-Tsinghua. ออนไลน์: http://carnegietsinghua.org/2015/09/21/will-china-and- russia-s-partnership-in-central-asia-last/iixd Yan Xuetong. Inside the China-US Competition for Strategic Partners. Carnegie- Tsinghua. ออนไลน์: http://carnegietsinghua.org/2015/10/29/inside-china-u.s.-competition-for- strategic-partners/ilcr
  • 19. 16 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Think Tank ในประเทศไทย  สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL STRATEGIES DEVELOPMENT เรียบเรียงโดย ปลายฟ้ า บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย ในเดือนธันวาคมนี้ งานวิจัยภายใต้สถาบันคลังปัญญาฯ เรื่อง ทุนทางสังคมกับการปฏิรูป ประเทศไทย โดย รศ.ดร. สายฝน สุเอียนเมธี ได้สาเร็จลงแล้ว ในโอกาสนี้ สถาบันคลังปัญญา ฯ จึงขอนาภาพรวมของงานวิจัยชิ้นนี้มานาเสนอแก่ผู้อ่านทุกท่าน ดังนี้ ปัญหาของสังคมไทย เป็นปัญหาที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง มายาวนาน เช่น ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ปัญหาการจัดการ ขยะ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง รากแท้ของปัญหาดังกล่าว คือการไม่พึ่งตนเองของ ประชาชน เนื่องจากรัฐเข้าไปจัดการชีวิตให้ตั้งแต่เกิดจนตาย จากงานวิจัยพบว่า พื้นที่ที่อานาจรัฐ เข้าถึง สามารถลงไปควบคุมจัดการได้ พื้นที่นั้นประชาชนจะไม่สร้างระบบการพึ่งตนเอง รอเพียงการ จัดการจากรัฐ แต่หากพื้นที่ใดที่อานาจรัฐเข้าไม่ถึงหรือเข้าถึงได้ยาก ชุมชนจะสร้างระบบการพึ่งพา ตนเองในด้านต่างๆ ได้ โดยทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นจะถูกดึงออกมาใช้ประโยชน์ใน การขับเคลื่อนเพื่อการสร้างระบบการจัดการตนเอง และเกิดเป็นทุนทางสังคมใหม่ขึ้น ซึ่งทุนทาง สังคมนี้เองที่จะเป็นปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมจนนาไปสู่การปฏิรูปประเทศ ทุนทางสังคมคืออะไร ผู้วิจัยได้สรุปไว้ว่า ทุนทางสังคม หมายถึง ทุนชุมชนเดิมที่มีอยู่แล้วและทุนทางสังคมที่สร้าง ขึ้นใหม่ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ทุนทางสังคมที่มีลักษณะรูปธรรม เช่น สมาคม เครือข่ายทางสังคม กลุ่มทางสังคม ส่วนแบบนามธรรม หมายถึงระบบคุณค่า ค่านิยม เช่น ความเชื่อ ภูมิปัญญา รวมถึงพื้นที่ทางสังคม และการเคลื่อนไหวในสังคมด้วย
  • 20. 17 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ตัวอย่างทุนทางสังคมกับการปฏิรูปสังคมในต่างประเทศ ญี่ปุ่น ทุนทางสังคมในบริบทสังคมญี่ปุ่นนั้น คือ ธรรมเนียมปฏิบัติ ความเชื่อ และระบบคุณค่า โดย คนญี่ปุ่นให้ความสาคัญกับสานึกความเป็นกลุ่ม และสังคมญี่ปุ่นมีความเป็นระเบียบ เคร่งครัด รู้จัก พึ่งตนเอง รวมถึงเสียสละให้แก่กลุ่มของตนเอง ปัจจัยที่ทาให้เกิดทุนทางสังคมของญี่ปุ่นนั้นมีหลายอย่าง เช่น การเกิดภัยพิบัติร้ายแรง ที่ทา ให้ประชาชนทั่วประเทศได้ตระหนักถึงความสาคัญของกิจกรรมช่วยเหลือสังคม จึงเกิดกลุ่ม อาสาสมัครจานวนมากมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนนาไปสู่ทุนทางสังคมใหม่ คือ การออกกฎหมาย เพื่อรับรององค์กรไม่แสวงหาผลกาไร ซึ่งในญี่ปุ่นนั้นมีองค์กรไม่แสวงหาผลกาไรมากมาย โดยเป็น การดึงเอาพลังความสามารถของภาคประชาชนเข้ามารับผิดชอบการให้บริการสาธารณะแทนรัฐ ทา ให้สามารถลดภาระรัฐได้ โดยเฉพาะรัฐบาลท้องถิ่น ตัวอย่างองค์กรไม่แสวงหาผลกาไรที่เกิดขึ้น เช่น องค์กร Human Care ซึ่งมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ และสมาคมละแวกบ้าน เกิดจากการรวมตัว กันของคนในละแวกบ้านเดียวกัน ร่วมสร้างกฎกติกาชุมชน ดูแลความเป็นระเบียบในชุมชน เครือข่ายสังคมปลอดภัย ดูแลด้านสุขภาพสวัสดิการ การศึกษา เด็ก สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา รวมถึงการเกิดวัฒนธรรมการรับมือภัยพิบัติ หมายถึง บรรทัดฐานที่คนในสังคมยึดถือในการปฏิบัติ ช่วงก่อนเผชิญภัยพิบัติ ขณะเผชิญ และภัยพิบัติ ได้แก่ การรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สาธารณะ ให้ความสาคัญกับการวางแผนเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ การพึ่งตนเอง เป็นต้น เกาหลีใต้ ทุนเดิมของเกาหลีใต้นั้น คือ การที่คนในสังคมมีสานึกร่วม มีความเหนียวแน่นและความ รับผิดชอบต่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาคพลเมืองและองค์กรศาสนาที่ออกมาช่วยขับเคลื่อน จนหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 1997 ได้เกิดระบบคุณค่าใหม่ เกิดระบบการจ้างงาน มีการคิด อย่างมีเหตุผล และเกิดความเหนียวแน่นของสังคมมากขึ้น รวมถึงองค์กรภาคประชาชนที่เกิดขึ้น มากมายเพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการ เปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย เหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 1997 ทาให้เกาหลีใต้เกิดการเคลื่อนไหวจากพลเมืองและ องค์กรทางศาสนา โดยพลเมืองในเกาหลีใต้นาทองที่เก็บไว้ออกมาถึง 227 ตัน ให้เห็นเป็น หลักประกันในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อกู้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ รวมถึง สร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินต่างประเทศที่ปล่อยกู้ให้เกาหลีใต้ หลังจากเกิดวิกฤตินี้ คน ตกงานและไร้บ้านมีจานวนเพิ่มขึ้น เกิดความขัดแย้งระหว่างคนมีงานทากับคนไม่มีงานทา จึงเป็น การกระตุ้นให้องค์กรภาคประชาชนและองค์กรทางศาสนา ออกมามีบทบาทในการช่วยเหลือและ เยียวยาสังคม เพื่อช่วยลดภาระองค์กรภาครัฐ จากเหตุการณ์นี้ทาให้เกิดองค์กรภาคประชาชนขึ้นมา หลากหลายรูปแบบ ถือเป็นทุนทางสังคมของเกาหลีใต้
  • 21. 18 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ทุนทางสังคมในประเทศไทย ทุนทางสังคมก้าวขึ้นมามีบทบาทที่เห็นได้ชัดเจนคือหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 1997 ผลจาก วิกฤติเศรษฐกิจทาให้รัฐบาลไม่สามารถดูแลประชาชนได้ ประชาชนจึงต้องมีการรวมกลุ่มกันเองใน รูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตนเอง ในขณะเดียวกัน เมื่อรัฐเห็นแล้วว่า ภาคประชาชนสังคมทางาน ได้ดี จึงได้ส่งเสริมโดยการประกาศโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งทาให้ประชาชนได้พบปะ มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นในชุมชน ทาให้เกิดระบบคุณค่าใหม่ๆ เช่น สร้างระบบสวัสดิการชุมชน กองทุนการเงินเพื่อคนในชุมชน กองทุนเพื่อสังคม กองทุนสวัสดิการ โดยต่อมาได้พัฒนามาเป็น เครือข่ายภาคประชาชน เช่น เครือข่ายสวัสดิการชุมชน เครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ ติด เครือข่ายส่งเสริมสุขภาพชุมชน และมีการนาระบบคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นฐานและ เครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นถือเป็น ทุนทางสังคม ที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศ และแบ่ง เบาภาระขององค์กรรัฐ เพื่อพัฒนาและปฏิรูปประเทศนั่นเอง การนาทุนทางสังคมมาใช้ในการปฏิรูปประเทศไทย ลักษณะทุนทางสังคมที่ควรนามาใช้ในการปฏิรูปมี 3 ลักษณะ ดังนี้  อุดมการณ์ร่วม ซึ่งเป็นตัวปลุกสานึกร่วมที่ชุมชนมีอยู่ร่วมกัน  สานึกร่วม เป็นสานึกในการแก้ไขปัญหาของส่วนรวม  ปฏิบัติการร่วม ซึ่งจะนาไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการ ชีวิตประจาวันและทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสาธารณะ ทุนทางสังคมทั้ง 3 ลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ชุมชน ท้องถิ่น หรือจังหวัดเผชิญ ปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของคนใน ชุมชน ปัญหาภัยพิบัติ เป็นต้น และต้องมีความคล้ายคลึงกันทางความเชื่อ วัฒนธรรม จารีต ประเพณีด้วย แนวทางการปฏิบัติในการปฏิรูปสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ ข้อเสนอต่อการปฏิรูปในระดับท้องถิ่น1 1. ท้องถิ่นควรใช้ทุนเดิมที่มีในชุมชน โดยเฉพาะองค์กรอาสาสมัคร กลุ่มเครือข่ายทางสังคม ในการขับเคลื่อนหรือปฏิบัติประเด็นสาธารณะ รวมถึงสร้างพื้นที่สาธารณะ และสนับสนุน งบประมาณในการสร้างพื้นที่สาธารณะ 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเปลี่ยนวิธีคิดในการทางานร่วมกับชุมชน ยกตัวอย่าง รูปแบบการทางานของเทศบาลแห่งมหานครโซล กล่าวคือ เปลี่ยนจากเดิมที่องค์กรปกครองส่วน _____________________________ 1 ท้องถิ่นในที่นี้หมายรวมถึงองค์กรและบุคคลภาคีที่ตั้งอยู่ในชุมชนนั้น เช่น ผู้นาชุมชน พระ นายกองค์การบริหาร ส่วนตาบล กลุ่มทางสังคม โรงเรียน ฯลฯ