SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 22
Baixar para ler offline
ปี ที่ 3 ฉบับที่ 8 พฤศจิกายน 2560
i | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
ยุวดี คาดการณ์ไกล
เอกปวีณ อนุสนธิ์
ปลายฟ้า บุนนาค
ปาณัท ทองพ่วง
อุสมาน วาจิ
เอกปวีณ อนุสนธิ์
https://www.brookings.edu/wp-content/
uploads/2017/08/ccp_party_congress001.jpg
พฤศจิกายน 2560
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
http://rsu-brain.com/
Tel. (+66) 2938 8826
Fax. (+66) 2938 8864
บรรณาธิการ
ผู้ช่วยบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ
ออกแบบและจัดรูปเล่ม
ภาพปก
เผยแพร่
CONTACT US
ภาพปกใน
เอกปวีณ อนุสนธิ์
http://www.scmp.com/news/china/policies
-politics/article/1913590/stand-aside-
likonomics-heres-xiconomics-how-president
การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 ไม่เพียงแต่เป็นการประชุมที่กาหนดอนาคตของประเทศจีน 5 ปี
ต่อจากนี้ แต่ยังช่วยแสดงให้ประชาคมโลกเห็นทิศทางการเมืองระหว่างประเทศภายใต้การนาของจีนที่มีสีจิ้นผิงกุมอานาจ
(เกือบ) เบ็ดเสร็จ และยังได้รับการยกย่องให้มีสถานะเทียบเท่ากับเหมา เจ๋อตง และ เติ้ง เสียวผิง ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
คอมมิวนิสต์
ในฐานะผู้ติดตามการเมืองจีนอย่างใกล้ชิด จึงมิอาจละเลยที่จะพิจารณาถึงผู้แสดงหลักทางการเมืองระหว่างประเทศใน
ปัจจุบัน อย่างสีจิ้นผิงได้เลย เพราะสีจิ้นผิงและคณะกรรมการประจากรมการเมือง (Standing Committee) แห่งกรมการเมือง
(Politburo) อีก 6 ท่าน ต่างมีส่วนสาคัญที่จะนาพาจีนไปสู่การเป็นมหาอานาจนาระดับโลกแทนที่สหรัฐอเมริกา และ
ขณะเดียวกันก็อาจสั่นคลอนระเบียบโลกเดิมด้วย พวกเราจะต้องเผชิญกับสิ่งใดต่อไปในโลกที่ไม่แน่นอนใบนี้ สามารถพลิกไป
อ่านบทความที่ทางสถาบันคลังปัญญาฯ ได้รวบรวมและเรียบเรียงจากสถาบันคลังปัญญา (Think Tank) ระดับโลกมาให้อ่าน
เชิญติดตามค่ะ
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
ที่มาภาพ: https://www.toonpool.com/user/1949/files/superpower_china_1000705.jpg
การประชุมสมัชชาใหญ่พรรค
คอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
และทิศทางการเมืองจีนในยุค
สีจิ้ นผิงลดความเหลื่อมล้าภายใน
และก้าวนาโลกภายนอก
บทพิสูจน์ใหม่ของ
สีจิ้ นผิง
อเมริกาในยุคทรัมป์
โอกาสทางเศรษฐกิจและ
ความเสี่ยงต่อจีน
ทิศทางของ
ยุทธศาสตร์
เส้นทางสายไหม
ใหม่
1 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
และทิศทางการเมืองจีนในยุค สีจิ้ นผิง
คณะกรรมการประจากรมการเมืองชุดใหม่และสีจิ้ นผิง (กลางภาพ) เข้าร่วมการปฏิญาณตนที่
สถานที่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1921 ณ นครเซียงไฮ้ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2017
ที่มาภาพ: http://www.scmp.com/news/china/policies-politics/article/2117826/xi-jinping-top-cadres-visit-birthplace-chinas-communist
ทั่วโลกต่างเฝ้าจับตามองการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นทุก 5
ปี ที่อาคารรัฐสภาประชาชน (Great Hall of the People) จัตุรัสเทียนอันเหมิน ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่
18 ตุลาคม 2017 มีผู้แทนพรรคจากทั่วประเทศกว่า 2,300 คน เข้าร่วม การประชุมครั้งนี้มี
สาระสาคัญอยู่ 2 เรื่องคือ (1) การเลือกผู้แทนใหม่เพื่อดารงตาแหน่งสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค
คอมมิวนิสต์จีนในวาระต่อไป รวมไปถึงการแต่งตั้งผู้นาสูงสุด อย่างสี จิ้นผิงให้ดารงตาแหน่งเลขาธิการ
พรรคและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นวาระที่ 2(1)
(2) การรับรองรายงานการเมือง
ที่ระบุถึงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของจีนภายใน 5 ปีต่อจากนี้ จนถึงปี 2022 อย่างไรก็ตาม มีการ
คาดการณ์ว่าสี จิ้นผิงอาจเลื่อนประกาศการแต่งตั้งผู้สืบทอดอานาจ (successor-in-training) ในปี
2022 ออกไปก่อน หลายฝ่ายยังประเมินต่อไปว่าเขาต้องการที่จะดารงตาแหน่งต่อไปในวาระที่ 3 ด้วย
(2)
ทาไมต้องติดตามการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างใกล้ชิด?
จีนมีขนาดพื้นที่ของประเทศใหญ่เป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก มีประชากรทั่วประเทศกว่า 1.4
พันล้านคน มีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งทาให้
สหรัฐอเมริกามองจีนด้วยความหวาดระแวง(3) การประชุมครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่กาหนดชะตากรรมของ
จีนเท่านั้น แต่ยังกาหนดชะตากรรมของ
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 2
กรรมของโลกด้วย เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ที่มี
บทบาททั้งทางเศรษฐกิจและการทหารระดับโลก
สาหรับจีนในยุคสี จิ้นผิงนั้น เป็นจีนที่พยายามก้าว
เข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ แสดงให้
เห็นถึงความต้องการเป็นผู้วางระเบียบโลกใหม่ที่
แตกต่างไปจากสหรัฐฯ และปัจจัยที่จะละเลยไม่ได้
เลยในการพิจารณาถึงทิศทางการดาเนินนโยบาย
ของจีนก็คือผู้นาแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างสี จิ้
นผิงและกรมการเมือง (Politburo) ซึ่งมี
คณะกรรมการประจากรมการเมือง (Standing
Committee) ที่ประกอบด้วยผู้นาระดับสูงสุดของ
พรรคคอมมิวนิสต์จีน
สถาบัน Mercator ด้านจีนศึกษาแห่ง
ประเทศเยอรมนีหรือ MERICS โดยนาย Matthi-
as Stepan หัวหน้าฝ่ ายโครงการวิจัยว่าด้วย
นโยบายจีน ได้ ออกบทวิเคราะห์เรื่ อง
“Hardening the Party Line : The 19th
CCP
Congress will Boost Strongman Politics and
Narrow China’s Developmental Options” เมื่อ
เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาไว้ว่า การประชุมสมัชชา
ใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 นี้ อาจทาให้
สี จิ้นผิงสามารถกระชับอานาจของตนได้อย่าง
เบ็ดเสร็จ และแน่นอนว่าจะส่งผลต่อการพัฒนา
ประเทศจีนในอนาคตด้วย
บทความนี้ได้กล่าวถึงที่มาของอานาจเต็ม
มือของสี จิ้นผิงไว้อย่างน่าสนใจว่า ในการประชุม
สมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 18 เมื่อ
เดือนพฤศจิกายน 2012 สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม
ลงมติเพิ่มอานาจให้แก่ตาแหน่งเลขาธิการพรรค
และลดอานาจคณะรัฐมนตรี (State Council)
และการบริหารระดับท้องถิ่นลง ไม่เพียงแต่
ต้องการรวบอานาจการบริหารประเทศอย่าง
เด็ดขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ที่เลขาธิการ
พรรคเพียงเท่านั้น แต่เพื่อแก้ไขปัญหาความ
อ่อนแอของโครงสร้างอานาจพรรคและระเบียบ
ภายในพรรคด้วย ผู้นาระดับสูงสุดจึงเล็งเห็นว่า
จาเป็นต้องรักษาหลักการที่บังคับใช้กับเจ้าหน้าที่
พรรค (party carde) ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เพราะ
พรรคที่เข้มแข็งจะช่วยลดการคอร์รัปชันของ
เจ้าหน้าที่พรรคและย่อมนามาซึ่งการปฏิรูปที่
มั่นคง
หลังจากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ
ครั้งที่ 18 อานาจการตัดสินใจในนโยบายหลักของ
จีนจึงเปลี่ยนจากกระทรวงต่างๆ มาตกอยู่ที่กลุ่ม
ย่อยนาส่วนกลาง (Central Leading Small
Groups - CLGs) และคณะกรรมาธิการต่างๆ
โดยส่วนใหญ่สี จิ้นผิงรับหน้าที่เป็นประธาน เช่น
กลุ่มย่อยนาส่วนกลางเพื่อการปฏิรูปที่ครอบคลุม
เ ชิ ง ลึ ก ( Central Leading Small Group for
Comprehensively Deepening Reforms)
คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งชาติ (National
Security Commission) แ ล ะ ก ลุ่ ม ย่ อ ย น า
ส่วนกลางเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และ
สารสนเทศ (Central Leading Small Group for
Cybersecurity and Informatization)
เพียงวาระแรกสี จิ้ นผิงก็ประสบ
ความสาเร็จอย่างมากในการเข้าควบคุมระบบ
การเมืองของจีน ทั้งด้านการทหารในการปฏิรูป
กองทัพจีนครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ และ
ด้านการต่างประเทศในการดาเนินนโยบาย
ต่างประเทศแข็งกร้าวแบบที่จีนในยุคหู จิ่นเทา
3 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน รวมไปถึงการเข้าควบคุมสื่อ
สาธารณะอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ข่าว ตัวการ์ตูนใน
โฆษณาชวนเชื่อไปจนถึงเพลงแร็พ นอกจากนี้ สี จิ้
นผิงยังออกแคมเปญหลักอีก 3 เรื่อง คือ (1)
ก า ร ป ร า บ ป ร า ม ค อ ร์ รั ป ชั น ( 2 ) ก า ร
ประหัตประหารผู้ไม่เห็นด้วยกับพรรคอย่างเป็น
ระบบ และ (3) การปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรค
แก่ประชาชน ด้วยเหตุนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึง
มองว่าสี จิ้นผิงคือบุคคลที่เหมาะสมที่สุดในห้วง
เวลาที่จีนกาลังอ่อนแอ เขาได้รับสถานะให้เป็น
ผู้นาสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวจากคณะกรรมการกลาง
พรรคคอมมิวนิสต์จีน (core leader) เทียบเท่ากับ
ผู้นาที่ยิ่งใหญ่ของจีนอย่างเหมา เจ๋อตง, เติ้ง เสียว
ผิงและเจียง เจ๋อหมิน
สี จิ้นผิงยังได้วางเส้นทางสู่อานาจเบ็ดเสร็จ
ของตนต่อไปอีกยาวนาน โดยการแต่งตั้งผู้ภักดี
ดารงตาแหน่งในกรมการเมืองชุดใหม่จานวน 6
คน ซึ่งทุกคนมีอายุ 60 ปีขึ้นไป(4) นั่นหมายความ
ว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ตาแหน่ง
เลขาธิการพรรคในอีก 5 ปีข้างหน้าได้เลย เพราะ
เกณฑ์ของพรรคกาหนดให้ผู้ดารงตาแหน่ง
เลขาธิการพรรคอายุไม่เกิน 58 ปี อย่างไรก็ตาม
สี จิ้นผิงมีการดาเนินงานที่แตกต่างจากหู จิ่นเทาอ
ย่างสิ้นเชิง เช่น ในสมัยหู จิ่นเทาใช้หลักการ
แนะนาแบบประชาธิปไตย (democratic recom-
mendation) ในการประชุมเจ้าหน้าที่พรรคอาวุโส
400 คน เพื่อคัดเลือกผู้ท้าชิงที่เหมาะสมสาหรับ
ตาแหน่งเลขาธิการพรรคและตาแหน่งว่างอื่นๆ
ก่อนที่การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 17
จะเริ่มต้นขึ้น ในปี 2007 แต่ปี 2014 ในสมัยสี
จิ้นผิง ได้แก้ไขระบบการเลื่อนตาแหน่งใหม่ โดย
จากัดขอบเขตการคัดเลือกแบบเปิดเผย (open
selection) และลดบทบาทการใช้หลักการแนะนา
แบบประชาธิปไตย จวบจนปัจจุบันผู้นาระดับ
สูงสุดของพรรคจะเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ท้าชิงก่อน
การประชุมสมัชชาใหญ่ฯ ทั้งยังมีการแก้ไขกฎให้
เลขาธิการพรรคมีอานาจอิสระในการแต่งตั้งผู้
ภักดีดารงตาแหน่งสาคัญระดับประเทศและ
จังหวัดด้วย กล่าวคือนับแต่นั้นอานาจในการ
กากับทิศทางนโยบายและการตัดสินใจทาง
การเมืองจีนทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของสี จิ้นผิง
เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ บุคลิกความเป็นผู้นาและผลงาน
ที่โดดเด่นของสี จิ้นผิงในวาระแรกก็ส่งผลให้ที่
ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 19 มีมติเป็น
เอกฉันท์ให้บรรจุ “ความคิดของสี จิ้นผิง ว่าด้วย
สังคมนิยมแบบจีนสาหรับยุคใหม่(5)” (Xi
Jinping Thought for the New Era of Socialism
With Chinese Special Characteristics) ลงใน
ธรรมนูญพรรค สี จิ้นผิงจึงกลายเป็นผู้นาที่ทรง
อิทธิพลที่สุดอีกคนหนึ่งของจีนเทียบเท่ากับเหมา
เจ๋อตงและเติ้ง เสียวผิง ทาให้คู่แข่งทางการเมือง
หรือประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการดาเนินนโยบาย
ของเขา เผชิญกับความยากลาบากที่จะ
วิพากษ์วิจารณ์หรือท้าทายเขาในอนาคต เพราะ
การโจมตีสี จิ้ นผิงก็เหมือนโจมตีพรรค
คอมมิวนิสต์จีนไปด้วย ส่วนสาระสาคัญในการ
ดาเนินนโยบายของสี จิ้นผิง คือการเสริมสร้าง
กองทัพให้เข้มแข็ง ควบคุมการเมืองภายในยิ่งขึ้น
และยกระดับสถานะของจีนในกิจการระหว่าง
ประเทศ ความคิดของเขาจะแพร่กระจายไปยัง
โรงเรียน สื่อและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล(6)
สาหรับวาระที่ 2 ของสี จิ้นผิง เขามุ่งมั่นที่
จะเสริมสร้างสังคมนิยมแบบจีนต่อไป
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 4
สาหรับวาระที่ 2 ของสี จิ้นผิง เขามุ่งมั่นที่
จะเสริมสร้างสังคมนิยมแบบจีนต่อไปเช่นเดียวกับ
วาระแรก ส่วนประเด็นต่างๆ ในรายงานการเมือง
จากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 19 ก็
จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของพรรค
คอมมิวนิสต์และประเทศจีนในระยะยาว โดย
Stepan ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบ 5 ด้าน ได้แก่
(1) ด้านอุดมการณ์: เข้าควบคุมวิธีคิดของคน
ในประเทศ
สี จิ้นผิงพยายามที่จะเผยแพร่อุดมการณ์
บางอย่างในวงกว้างมากขึ้น เช่น “คุณค่าหลักของ
สังคมนิยม” (socialist core values) โดยสื่อของ
รัฐบาลร่วมมือกับบริษัทประชาสัมพันธ์ มี
กลุ่มเป้ าหมายหลักคือเยาวชนคนรุ่นใหม่และ
ชาวต่างชาติ นาเสนอออกมาในรูปแบบที่เข้าถึง
ง่ายอย่างอินโฟกราฟิ กส์ เพลงแร็พและวิดีโอ
รวมทั้งเข้าควบคุมเนื้อหาในสื่อออนไลน์อย่าง
เข้มข้น ไม่เพียงแต่อุดมการณ์ทางการเมืองแบบ
เสรีนิยมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพฤติกรรม คา
หยาบคาย และชีวิตหรูหราของประชาชน ด้าน
หน่วยงานหลักของรัฐอย่างคณะกรรมาธิการ
ตรวจสอบวินัยส่วนกลาง (Central Commission
for Discipline Inspection) ก็วิพากษ์วิจารณ์
มหาวิทยาลัยชั้ นนาว่า “หละหลวมด้ าน
อุดมการณ์” (ideological laxity) ดังนั้น จึงได้ตั้ง
คณะกรรมาธิการตาราเรียนแห่งชาติ (National
Textbook Commission) ในเดือนกรกฎาคม
2017 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินความเหมาะสมของ
เนื้อหาในตาราเรียน โดยเฉพาะจากต่างประเทศ
และตรวจสอบหลักสูตรการเรียนการสอนตาม
มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจทาให้ความร่วมมือด้าน
การศึกษาระหว่างประเทศจีนกับต่างประเทศลด
น้อยลง
(2) ด้านการจัดการพรรค: เสริมสร้างความ
เข้มแข็งของพรรค
สี จิ้นผิงต้องการเสริมสร้างโครงสร้างพรรค
ให้เข้มแข็ง เขาได้ก่อตั้งหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ (non
-governmental unit) และบริษัทเอกชนภายใต้
การดาเนินงานของพรรคจานวนมากในวาระแรก
ถือเป็นความพยายามที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในภาค
ธุรกิจและสังคม รวมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พรรคที่
ภักดีดารงตาแหน่งประจาในภาคส่วนต่างๆ ซึ่ง
รวมไปถึงบริษัทเอกชนที่มีเจ้าของเป็นคนจีนด้วย
เพื่อโน้มน้าวเชิงยุทธศาสตร์ แต่เจ้าหน้าที่พรรค
จานวนหนึ่งกลับไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้เท่าใดนัก
(3) ด้านประเด็นสังคม: ขจัดความยากจนและ
จัดการกับประเด็นปัญหาเร่งด่วน
สี จิ้นผิงต้องการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “สังคม
ศิวิไลซ์” (civilized society) ต่อยอดจากที่จีน
กาหนดเป้ าหมายแห่งศตวรรษเพื่อทาให้จีนเป็น
สังคมที่มีความมั่งคั่งในระดับปานกลาง
(moderately prosperous society) ภ า ย ใ น ปี
2021 โดยการทาให้ชีวิตความเป็ นอยู่ของ
ประชาชนดีขึ้น และพัฒนาเครื่องมือกลไกในการ
ขับเคลื่อนและจับตาสังคมจีนยิ่งขึ้น เช่น “ระบบ
ความน่าเชื่อถือทางสังคม” (Social Credit Sys-
tem - SCS) ใช้สาหรับรวบรวมข้อมูลบุคคลและ
ประเมินสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลยัง
จาเป็นต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนกดดัน
2 เรื่อง ได้แก่ (1) จัดการปัญหามลพิษ และ (2)
คุ้มครองความร่ารวยของประชาชน
5 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
ประชาชน ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาออกกฎหมาย
คุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแก่บุคคล อย่างไร
ก็ตาม คาถามสาคัญของการแก้ไขปัญหานี้คือ
รัฐบาลจีนจะผนวกรวมกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินกับ
แนวคิดสังคมนิยมอย่างไร ในโลกศตวรรษที่ 21
(4) ด้านเศรษฐกิจ: การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วย
นวัตกรรม
สี จิ้นผิงใช้คาว่า “ความปกติในรูปแบบ
ใหม่” (New Normal) ในแถลงการณ์ เมื่อปี
2014 เป็นคาที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจจีนที่ลดต่าลงในทางที่ดี ส่วนอีกวลี
หนึ่งที่อธิบายถึงการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจีนใน
เอกสารของพรรคคือคาว่า “การพัฒนาที่
ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” (innovation-driven
development) แสดงให้เห็นว่าจีนพยายามที่จะยก
สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ยอดของ
ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) เพื่อเป็นประเทศ
ผู้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า อุ ต ส า ห ก ร ร ม แ น ว ห น้ า
(manufacturing country) ในระดับโลก ทั้งนี้
หัวข้อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในรายงานการเมือง
อาจระบุถึงความจาเป็นที่ต้องเปลี่ยนแบบจาลอง
การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นแบบใหม่ (growth
model) ส่งเสริมภาคบริการและแปลงข้อมูลการ
ผลิตให้เป็นดิจิทัล (digitization of manufactur-
ing) ซึ่งจะช่วยปฏิรูปองค์กรวิสาหกิจที่รัฐเป็น
เจ้าของที่ไม่ประสบความสาเร็จในอนาคตได้
แต่หลายฝ่ายกลับกังวลถึงผลเสียว่าการ
พัฒนาระบบเก็บข้อมูลเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะทา
ให้รัฐบาลจีนสามารถสอดส่องพฤติกรรม
ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และจีนอาจเข้าสู่ยุค
ลัทธิเลนินแบบดิจิตอล (Digital Leninism)
กลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ
แบบเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ด้านประเทศใน
ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมองว่าสิ่งเหล่านี้ส่ง
สัญญาณให้เห็นถึงท่าทีของผู้นาระดับสูงสุดของ
พรรคต่อ 2 ประเด็น ได้แก่ (1) การลงทุนของ
บริษัทจีนในต่างประเทศ และ (2) การเข้าสู่ตลาด
จีนของบริษัทต่างชาติ
(5) ด้านนโยบายต่างประเทศ: นาจีนไปสู่ระดับ
โลก
สี จิ้นผิงได้เสนอยุทธศาสตร์เส้นทางสาย
ไหมใหม่ (One Belt One Road - OBOR) ครั้ง
แรก เมื่อปี 2013 ต่อมาในปี 2017 ในการ
ประชุม World Economic Forum ณ เมืองดาวอส
สวิตเซอร์แลนด์ เขาก็ได้กล่าวถึงบทบาทของจีนว่า
จะเป็นผู้พิทักษ์โลกาภิวัตน์และการค้าเสรี ซึ่งทา
ให้เห็นว่าจีนกาลังแสดงบทบาทในฐานะผู้แสดง
ตนพิทักษ์ความมั่นคงของโลก (global security
actor) ด้านประชาชนจีนส่วนใหญ่ต่างก็ยินดีกับ
บทบาทใหม่ของจีนในการเมืองระหว่างประเทศ
ครั้งนี้ พวกเขารู้สึกภูมิใจเมื่อประธานาธิบดีของ
ตนยืนอยู่บนเวทีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม
การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงในต่างประเทศของจีน
และการตั้งถิ่นฐาน (physical presence) ของ
พลเมืองจีนในประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทาง
การเมืองกาลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ส่วน Shi Yinhong นักวิชาการด้ าน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้รับตาแหน่งที่
ปรึกษาคณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council) ได้
เตือนว่า OBOR อาจเป็น “การร่างยุทธศาสตร์ที่
เกินจริง”
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 6
(strategic overdraft) ในแง่ของข้อผูกพันทาง
เศรษฐกิจร่วมกันกับประเทศอื่น และอาจเกิด
ความขัดแย้งด้านการทหารกับประเทศอื่น
เนื่องจากประเด็นทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของ
เส้นทาง OBOR ทั้งนี้ ในวาระที่ 2 สี จิ้นผิงอาจ
จาต้องละความพยายามในเวทีระหว่างประเทศลง
เพราะต้องดาเนินการปฏิรูปและจัดการปัญหา
เร่งด่วนภายในประเทศก่อน
การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์
จีน ครั้งที่ 19 แสดงให้เห็นถึงการกากับทิศ
ทางการดาเนินนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายใต้สี จิ้นผิง รวมไปถึงการ
กระชับอานาจเพิ่มขึ้นของเขา กระทั่งหลายฝ่าย
มองว่าสี จิ้นผิงคือจักรพรรดิแห่งจีนยุคใหม่ที่อาจ
ส่งผลให้การพัฒนาของจีนถดถอยลง เนื่องด้วย
หลายเหตุผล เช่น (1) การยึดโยงการปกครอง
ประเทศอยู่กับผู้ปกครองเพียงคนเดียว หากสี จิ้
นผิงล้มป่ วยหรือดาเนินนโยบายผิดพลาด อาจ
นามาซึ่งความล้มเหลวในการบริหารประเทศ (2)
การเสริมสร้างกฎของพรรคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น อาจ
ทาให้เจ้าหน้าที่พรรคเข้าควบคุมประชาชนอย่าง
เข้มงวด และเกิดกระแสต่อต้านพรรคได้ในที่สุด
หรือ (3) ความพยายามที่จะประคับประคอง
เศรษฐกิจให้ดีอยู่เสมอ อาจส่งผลกระทบต่อ
เสถียรภาพทางการคลังของประเทศ อย่างไรก็
ตาม มังกรยักษ์ที่พยายามจะเป็นผู้แสดงบทบาท
ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทรงอิทธิพลระดับ
โลก โดยมีจักรพรรดิอย่างสี จิ้นผิงกุมบังเหียน จึง
เป็นมังกรที่ทั่วโลกควรเฝ้ าจับตาอย่างใกล้ชิด
ต่อไป เพราะการดาเนินนโยบายใดก็ตามของจีน
จะส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นทั่วโลก รวมไปถึง
ประเทศไทยของเราด้วยเช่นกัน
เชิงอรรถ
(1) J.P. What is China’s 19th
Communist
Party congress and why does it mat-
ter?. The Economist. OCTOBER 17,
2 0 1 7 . อ อ น ไ ล น์ https://
www.economist.com/blogs/economist-
explains/2017/10/economist-explains
-11.
(2) Chris Buckley. Xi Jinping May Delay
Picking China’s Next Leader, Stoking
Speculation. The New York Times.
OCTOBER 4, 2016. ออนไลน์ https://
www.nytimes.com/2 0 1 6 / 1 0 / 0 5 /
world/asia/china-president-xi-jinping-
successor.html.
(3) Prableen Bajpai. The World’s Top 10
Economies. Investopedia. JULY 7,
2 0 1 7 . อ อ น ไ ล น์ http://
www.investopedia.com/articles/
investing/022415/worlds-top-10-
economies.asp.
7 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
(4) Tom Phillips and Benjamin
Haas. The omnipotent seven:
meet the men who make up
China’s new politburo. The
Guardian. OCTOBER 25, 2017.
อ อ น ไ ล น์ https://
w w w . t h e g u a r d i a n . c o m /
world/2017/oct/25/the-seven-
men-who-make-up-chinas-new-
politburo-xi-jinping.
(5) บีบีซีไทย. สี จิ้นผิง ขึ้นแท่นผู้นำทรงอิทธิพล
สูงสุดของจีน. BBC. 24 ตุลำคม 2560.
ออนไลน์ http://www.bbc.com/thai/
international-41732433.
(6) Chris Buckley. China En-
shrines ‘Xi Jinping Thought,’
Elevating Leader to Mao-Like
Status. The New York Times.
OCTOBER 24, 2017. ออนไลน์
h t t p s : / /
www.nytimes.com/2017/10/24/
world/asia/china-xi-jinping-
communist-party.html.
อ้ำงอิง
Matthias Stepan. Hardening
the Party Line : The 19th
CCP
Congress will Boost Strongman
Politics and Narrow China’s
Developmental Options. Merca-
tor Institute for China Stud-
ies (MERICS). AUGUST 16, 2017.
ออนไลน์ https://www.merics.org/
fileadmin/user_upload/
d o w n l o a d s / C h i n a -
Monitor/170822_Merics_China-
Monitor_41_English_Web.pdf.
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 8
ที่มาภาพ: http://cdn1.spiegel.de/images/image-1202664-640_panofree-lflz-1202664.jpg
ลดความเหลื่อมล้าภายในและก้าวนาโลกภายนอก
บทพิสูจน์ใหม่ของ สี จิ้ นผิง หลังประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์
การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ได้ปิดฉากลงแล้วในวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา
การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ที่จัดขึ้นทุก 5 ปีนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่สาคัญที่สุดและทุก
ภาคส่วนของสังคมจีนจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะมีการปรับเปลี่ยนบุคลากรในตาแหน่ง
สาคัญของกรมการเมืองโปลิตบูโรซึ่งมีผลต่อการชี้นาประเทศโดยตรง และนอกจากจะเป็นการแถลง
ผลงานในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาแล้วยังเป็นการประกาศให้ทราบถึงยุทธศาสตร์สาคัญในอนาคตอีกด้วย
ในการประชุมครั้งนี้ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เป็นที่จับตามองอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ถือเอาการ
ประชุมเป็นหมุดหมายสาคัญในการแสดงวิสัยทัศน์ของตน ในเรื่องภายในประเทศ สี จิ้นผิง ประกาศว่า
การปราบปรามคอร์รัปชันในยุคของเขาที่มีผู้ถูกลงโทษแล้วกว่า 1 ล้านคนนั้น จะดาเนินต่อไปอย่าง
เคร่งครัด และย้าว่าประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกมิได้ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไปยัง
ต่างชาติว่าต้องทบทวนความสัมพันธ์ที่มีต่อทิเบตและไต้หวัน มิฉะนั้นแล้วจะกระทบกับความสัมพันธ์ที่มี
ต่อจีน ส่วนในด้านการต่างประเทศ สี จิ้นผิง ได้ประกาศว่าจีนได้เข้าสู่ยุคใหม่ที่จะกลายเป็นผู้แสดงสาคัญ
ของโลก และความสาเร็จอันรวดเร็วของจีนภายหลังทศวรรษ 1990
9 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
คือผลลัพธ์ที่ยืนยันว่ารูปแบบของจีนนั้นคือ
ทางเลือกใหม่ที่โลกสามารถยึดเป็นแนวทางได้
ความสาเร็จและความทะเยอทะยานของจีนภายใต้
สี จิ้นผิง ยังทาให้ความคิดทางการเมืองของเขา
ได้รับการบรรจุในธรรมนูญพรรคอันเป็นแนวทาง
ในการบริหารประเทศสืบไป ที่ผ่านมามีเพียง
คาร์ล มาร์กซ์, วลาดิมีร์ เลนิน, เหมา เจ๋อตง และ
เติ้ง เสียวผิง เท่านั้นที่ได้รับเกียรตินี้ กระทั่งว่า
หลายฝ่ายได้ระบุว่า สี จิ้นผิง คือผู้นาที่ยิ่งใหญ่
ที่สุดในโลกปัจจุบัน และเป็นผู้นาจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
รองจากเหมา เจ๋อตง เท่านั้น
แม้การปกครองของจีนจะเป็นระบอบ
คอมมิวนิสต์ที่ผู้นาและนักการเมืองไม่ได้มาจาก
การเลือกตั้งทั่วไปโดยประชาชน แต่หากผู้นาและ
นักการเมืองคนใดที่ไม่ประสบความสาเร็จใน
หน้าที่และไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนแล้วก็
ยากที่จะได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคให้ดารง
ตาแหน่งต่อไป และหากมีผู้นาและนักการเมือง
จานวนมากที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนก็
ย่อมส่งผลถึงความมั่นคงของพรรคด้วยอีกทอด
หนึ่ง ฉะนั้นการที่พรรคยังคงดารงอยู่ได้โดยไม่มี
การต่อต้านจากประชาชนมากนักจึงเป็นผลสาคัญ
จากความสาเร็จในการบริหารประเทศ ที่ผ่านมา
การพัฒนาของจีนมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มอัตราการ
เติบโตของเศรษฐกิจเป็ นหลักซึ่งประสบ
ความสาเร็จอย่างดี โดยไม่ได้ให้ความสนใจในแง่
อื่น ๆ นัก เช่น การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การ
กระจายรายได้ ทาให้ชาวจีนประสบปัญหาสุขภาพ
และปัญหาสังคมที่เป็นผลจากการมุ่งพัฒนา
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามแม้จะมีปัญหาบ้างแต่แต่
โดยรวมแล้วถือว่าชีวิตชาวจีนดีขึ้นมากจากการมี
รายได้มากขึ้น ในปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น
การพัฒนาของจีนจึงได้ปรับเปลี่ยนไปเน้นที่ “การ
เติบโตอย่างยั่งยืน” มิใช่เพียง GDP อย่างเดียวอีก
ต่อไป
ตารางแสดงว่าจีนเป็ นประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก
ที่มาภาพ: http://knowledge.ckgsb.edu.cn/2017/04/10/environment/chinese-renewable-energy-policy-better-environment/
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 10
ในด้านการต่างประเทศ สิ่งที่ เติ้ง เสียว
ผิง ผู้นาที่ปฏิวัติให้จีนเข้าหาโลกและต้อนรับให้
โลกเข้าหาจีนได้วางรากฐานไว้ คือการสงวน
บทบาทให้มากที่สุดเพื่อทุ่มเทสรรพกาลังที่มีใน
การพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ แต่ในปัจจุบัน
เศรษฐกิจของจีนเติบโตขึ้นมาก คนจีนและ
ผลประโยชน์ของจีนมีกระจายอยู่ทั่วโลก และมี
กระแสเรียกร้องจากชาวจีนเองที่รู้สึกว่าประเทศ
ของตนนั้นเจริญก้าวหน้าเป็นมหาอานาจโลก
ในทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ที่ผ่านมากลับมีบทบาท
น้อยเกินไปในทางระหว่างประเทศ ฉะนั้น สี จิ้
นผิง จึงปรับเปลี่ยนท่าทีให้จีนก้าวมามีบทบาทใน
เวทีโลกมากขึ้น ดังที่เห็นว่าในยุคนี้จีนได้ตั้งกอง
ทหารประจาการนอกดินแดนและมีเรือบรรทุก
เครื่องบินเป็นครั้งแรก และในความขัดแย้งปัญหา
ข้อพิพาททะเลจีนใต้นั้นจีนก็มีท่าทีแข็งกร้าวมาก
ขึ้น การมีบทบาทมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ
แม้จะเป็นก้าวสาคัญที่รักษาผลประโยชน์ของจีนไว้
ได้ แต่ในทางกลับกันก็อาจเป็นเหตุให้นานาชาติ
มองจีนเป็นภัยคุกคามได้เช่นเดียวกัน
ความท้าทายของ สี จิ้นผิง ในยุคต่อไปนั้น
จึงมีมากอย่างที่ไม่เคยเป็ นมาก่อน ในทาง
เศรษฐกิจต้องปฏิรูปให้ความอยู่ดีกินดีกระจาย
อย่างเสมอภาคและสร้างผลกระทบในด้านอื่น ๆ
น้อยที่สุด ในทางระหว่างประเทศต้องรักษาและ
ขยายอานาจมากขึ้นโดยที่ไม่ทาให้เกิดความ
หวาดระแวงจากต่างชาติเกินไป หาก สี จิ้นผิง ซึ่ง
เป็นผู้นาที่ยิ่งใหญ่ของจีนสามารถนาประเทศ
ต่อไปได้โดยได้รับการยอมรับจากประชาชน เขาก็
จะเป็นที่จดจาในฐานะวีรบุรุษของชาติ เฉกเช่น
เหมา เจ๋อตง และ เติ้ง เสียวผิง หาไม่แล้วไม่เพียง
ตัวเขาเองที่จะพบความยากลาบาก หากแต่ความ
มั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จะได้รับ
ผลกระทบเช่นเดียวกัน
อ้างอิง
Yu Jie, head of China Foresight at LSE IDEAS, the foreign policy think tank of the London
School of Economics. China’s Communist Party must fight inequality if it wants to sur-
vive. The Washington Post. OCTOBER 23, 2017. ออนไลน์ https://
www.washingtonpost.com/news/theworldpost/wp/2017/10/23/chinas-communist-party
-must-fight-inequality-if-it-wants-to-survive/?utm_term=.6422766f47ce.
11 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
อเมริกาในยุคทรัมป์
โอกาสทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อจีน
ที่มาภาพ: https://www.chathamhouse.org/publications/twt/why-china-smiles-donald
สถาบัน Chatham House ได้เผยแพร่
บทความเรื่อง Why China smiles at Trump ที่
เขียนโดย Kerry Brown ผู้เชี่ยวชาญด้านจีน
ศึกษาของมหาวิทยาลัย King’s College และ
นักวิจัยรับเชิญของเอเชียโปรแกรม สถาบัน
Chatham House เนื้อหาเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าการ
ที่ทรัมป์ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น
ส่งผลอย่างไรต่อจีนบ้าง
ไม่ว่ามุมมองของชาวจีนต่อโดนัลด์
ทรัมป์ จะเป็ นอย่างไร มีสิ่งหนึ่งที่จีนรู้สึก
เหมือนกับคนส่วนใหญ่ของโลก คือ คิดว่าทรัมป์
คงไม่ชนะการเลือกตั้งแน่นอน เห็นได้จากสานัก
ข่าวซินหัว สานักข่าวใหญ่แห่งชาติของจีน ส่ง
ผู้สื่อข่าวหลายคนไปเฝ้ าที่สานักงานฮิลลารี
คลินตันในคืนก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งมากกว่าที่
ส่งไปเฝ้าทรัมป์ และตั้งแต่รู้ผลว่าทรัมป์ ชนะการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สี จิ้นผิงและ
ผู้นาประเทศอื่นๆ จึงเริ่มมีทิศทางในการ
มองทรัมป์ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
จีนไม่แสดงความเห็นใดๆ ต่อสิ่งที่ทรัมป์
ทา แม้กระทั่งการกระทาของทรัมป์หลังเหตุการณ์
ประท้วงชาร์ล็อตส์วิลล์ในเดือนสิงหาคม จีนก็
ยังคงเงียบ จีนเชื่อมั่นในหลักการ “การไม่
แทรกแซงกิจการของประเทศอื่นของจีน” จีนมอง
ว่ามันไม่จาเป็นต้องพูดถึง
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 12
ว่าเกิดอะไรขึ้นในสหรัฐฯ หรือไม่จาเป็นต้องพูด
ในสิ่งที่โลกภายนอกคาดหวังว่าอยากได้ยิน
นี่ไม่ได้หมายความว่าชาวจีนไม่มีความ
คิดเห็นอะไรต่อทรัมป์ พวกเขามีและชัดเจนมาก
ด้วย ชาวจีนเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบจากการ
ตัดสินใจของทรัมป์ ในทุกๆ ทาง ทั้งบวกและลบ
ทั้งท่าทีที่แข็งกร้าวของทรัมป์ ในประเด็นเกาหลี
เหนือ และการขาดดุลการค้าของเขา Steve Ban-
non อดีตหัวหน้ายุทธศาสตร์ของทรัมป์ ได้
ออกมาบอกว่า สหรัฐฯ เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี
เท่านั้นที่จะจัดการกับจีนก่อนที่จีนจะมีอานาจมาก
เกินจนยากจะจัดการได้ ซึ่งสิ่งสุดท้ายที่จีนอยาก
ได้ยินคือคาพูดยั่วยุพวกนี้ แต่จีนก็รู้อยู่ว่าทรัมป์
เป็นคนอย่างไร ทรัมป์ ก็ชอบพูดอะไรให้ได้ใจคน
อยู่แล้ว
ทรัมป์ เป็นเหมือนรางวัลล้าค่าและความ
เสี่ยงที่ยิ่งใหญ่สาหรับชาวจีน นี่แสดงถึง
ความรู้สึกไม่มั่นใจของชาวจีนต่อทรัมป์ เมื่อถาม
ความเห็นของชาวจีนคนหนึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม
ว่าเขามีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับทรัมป์ เขาตอบ
อย่างทันทีว่า เขาคิดว่าทรัมป์ทาสิ่งที่ถูกต้อง
ทรัมป์ กาลังทาสิ่งที่ส่งผลดีต่อจีน ไม่มี
ประธานาธิบดีอเมริกาคนไหนที่ขยันทาลาย
ชื่อเสียงประเทศตัวเองอย่างทรัมป์ และยิ่งส่งผล
ให้จีนดูดีในสายตาชาวโลกมากขึ้น เพียงชั่ว
ข้ามคืนจีนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นาในการ
ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
และปกป้ องการค้าเสรีเนื่องจากท่าทีแย่ๆ ไม่
แยแสของทรัมป์ต่อทั้งสองประเด็น
สี จิ้นผิงถูกมองเป็นรัฐบุรุษทันทีเมื่อเทียบ
กับทรัมป์ ที่วันๆ ยุ่งอยู่กับการไล่พนักงานของ
ตนเองออก และทวีตดูถูกอดีตพันธมิตรของตน
ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ทรัมป์ ได้ช่วยให้จีนมี
ชื่อเสียงมากขึ้น มากกว่าที่จีนเองพยายามใช้เงิน
พันล้านปอนด์ในการส่งเสริม soft power เสียอีก
ทั้งหมดนี้หมายความว่าถ้าทรัมป์ มาเยือน
จีนในช่วงปลายปีนี้ เขาจะต้องได้สัมผัสกับพิธี
ต้อนรับที่ดีแน่นอน การเยินยอแบบนี้ไม่ได้
หมายความว่าจีนชื่นชมทรัมป์ มากกว่าประเทศ
อื่นๆ ทั่วโลก แต่เข้าใจง่ายๆ ได้ว่าทรัมป์ สาคัญ
เพราะตาแหน่งของเขาและประเทศที่เขาเป็น
ประธานาธิบดีอยู่ ทรัมป์ ในฐานะปัจเจกอาจดูแย่
แต่จีนก็ไม่สามารถหลีกหนีอเมริกาที่ทรัมป์ เป็น
ประธานาธิบดีอยู่ได้ สาหรับคนจีน การมีทรัมป์
มาก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง priority หลักของเขาที่เขา
ยึดถือ นั่นคือมุ่งมั่นที่จะรักษาความสัมพันธ์ของ
อเมริกากับจีนให้เป็นปกติ
รูปแบบการทูตของทรัมป์ ได้เปิดช่องว่าง
ใหญ่ให้กับประเทศจีนเพื่อเติมเต็มได้ ขณะนี้จีนมี
โอกาสที่จะมีบทบาทในระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะ
เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการแก้ไขปัญหาเกาหลี
เหนือหรือผ่านการทาข้อตกลงการค้าใหม่ๆ
ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลียและเกาหลี
ใต้ ต่างต้องพึ่งพาด้านการรักษาความปลอดภัย
กับอเมริกา ทั้งสองประเทศกาลังระส่าระสาย ไม่
แน่ใจว่าอเมริกาจะยังพึ่งพาได้หรือไม่ และต่าง
กาลังเริ่มดาเนินการตามกลยุทธ์ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ตอนนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ กหวังพึ่ง
อเมริกาด้านความมั่นคงและพึ่งจีนในทาง
เศรษฐกิจ แต่ทุกคนก็กาลังกระจายความเสี่ยง
อย่างเต็มที่ ไม่พึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งมาก
เกินไป ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
อเมริกาเป็นเหมือนผู้รักษาความมั่นคงหลัก
13 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
ให้ภูมิภาคนี้ แต่ตั้งแต่ทรัมป์ ขึ้นมา ความมั่นใจ
ของพันธมิตรก็ระส่าระสายจากคาพูดและการ
กระทาของทรัมป์ สภาวะแบบนี้ อาจจะดู
เหมือนว่าดีต่อจีนแต่ในความเป็นจริงแล้ว จีน
เหมือนถูกสถานการณ์บังคับให้เข้ามายืนอยู่ในจุด
ที่ต้องมาเป็นผู้นาโดยที่ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับ
ด้วย ซึ่งในอดีต ผู้นาของจีนต่างสนใจแค่เรื่องใน
ประเทศ มุ่งแต่หาประโยชน์ของประเทศตัวเอง
โดยที่พยายามไม่มีบทบาทมากนักในกิจการโลก
ตอนนี้ จีนกลายเป็นผู้สนับสนุนหลักของ
โลกาภิวัตน์แล้ว และถูกมองว่าเป็ นคนที่มี
ศักยภาพที่จะมาทาหน้าที่แทนสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
จีนจะต้องคิดมากขึ้นแล้วในการที่จะทาอะไรใน
ทะเลจีนใต้เพราะการกระทาของจีนสร้าง
ผลกระทบมากขึ้น จีนไม่ใช่มหาอานาจระดับ
ภูมิภาคแล้ว แต่จีนเป็นมหาอานาจระดับโลก
แม้แต่ผู้นาที่มีความมั่นใจมากอย่างสี
จิ้นผิง ก็คงรู้สึกว่านี่เป็นบทบาทที่ท้าทายของเขา
ในฐานะผู้นาของประเทศจีน เพราะนี่เป็นครั้ง
แรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่จีนบรรลุ
เป้ าหมายที่ตนฝันถึงมานาน นั่นคือการเป็น
มหาอานาจระดับโลก กระนั้น จีนก็กาลังเริ่ม
ตระหนักขึ้นเรื่อยๆ ถึงภัยของการขึ้นมาเป็น
มหาอานาจระดับโลก
อ้างอิง
Kerry Brown. Why China smiles at
Trump. Chatham House. OCTOBER
& NOVEMBER 2017. อ อ น ไ ล น์
https://www.chathamhouse.org/
system/files/publications/twt/Why%
2 0 C h i n a % 2 0 s m i l e s % 2 0 a t %
20Donald%20Kerry%20Brown.pdf.
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 14
ทิศทางของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่
ภายใต้การนาของสีจิ้ นผิง
ที่ ม า ภ า พ : https://static.independent.co.uk/s3fs-public/styles/article_small/public/thumbnails/image/2017/01/17/13/xi-
จีนได้จัดเวทีประชุมความริเริ่มเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21
ขึ้นเป็นครั้งแรก (Belt and Road Forum) ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อ 14-15 พฤษภาคม 2017 ที่ผ่านมา มี
ผู้นาและผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุม แสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสาคัญอัน
ยิ่งยวดของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ (One Belt One Road - OBOR) จีนได้ประกาศ OBOR
ช่วงปลายปี 2013 ภายใต้การริเริ่มของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มุ่งหมายให้เส้นทางสายไหมทั้งทางบก
และทางทะเลช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุนและแผ่ขยายโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟความเร็วสูงของ
จีนไปยังประเทศกาลังพัฒนา 65 ประเทศ ในทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป
15 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017
การดาเนินยุทธศาสตร์นี้โดยสี จิ้นผิง ซึ่ง
เป็นผู้นาลาดับที่ 5 ของจีนที่ได้รับสถานะให้เป็น
ผู้นาสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวจากคณะกรรมการกลาง
พรรคคอมมิวนิสต์จีน (core leader) ทาให้เกม
ยุทธศาสตร์ที่มีสถานะระหว่างประเทศของจีนเป็น
เดิมพันนี้ น่าจับตามองไม่น้อยว่าสี จิ้นผิงจะวาง
บทบาทจีนในประชาคมระหว่างประเทศอย่างไร
OBOR จะนาจีนก้าวสู่การเป็ นผู้นาด้านการ
พัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้หรือไม่
และความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
จะราบรื่นหรือย่าแย่ลงหรือไม่ อย่างไร บท
วิเคราะห์เรื่อง Xi’s Vision for China’s Belt
and Road Initiative ชิ้นนี้ของนาย Paul Haenle
ผู้อานวยการศูนย์ Carnegie-Tsinghua สาขาใน
จีนของ Carnegie Endowment for International
Peace Think Tank ชั้นนาของสหรัฐอเมริกา ได้
ให้คาตอบไว้อย่างชัดเจน
เดิมที OBOR เริ่มต้นจากการวางกรอบ
ความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างจีนและ
ประเทศในเอเชียกลางที่ไม่เพียงแต่ช่วยสนับสนุน
ด้านเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยยกระดับความเชื่อมโยง
ในระดับภูมิภาค รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์
ระหว่างประชาชนในประเทศที่เข้าร่วม OBOR
ด้วย ซึ่งสี จิ้นผิงอธิบายถึง OBOR ว่าเป็นชุมชนที่
เปรียบเสมือนการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันทาง
ภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่มีจุดประสงค์
เดียวกัน อาทิ การยึดถือหลักอธิปไตยแห่งชาติ
และการป้ องกันศัตรูร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มก่อการ
ร้าย กลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน
แน่นอนว่าคุณลักษณะผู้นาของสี จิ้นผิงที่
แตกต่างจากผู้นาจีนในอดีต เช่น ความ
ทะเยอทะยานและความมั่นใจ ทาให้เขาสามารถ
รวมอานาจและสร้างความชอบธรรมในการ
ผลักดันยุทธศาสตร์ใหญ่อย่าง OBOR ทั้งในจีน
และระดับโลกได้เพื่อทาให้จีนกลับมายิ่งใหญ่อีก
ครั้งในเวทีระหว่างประเทศ สี จิ้นผิงได้เข้าร่วม
เวทีระหว่างประเทศหลายเวที เช่น เขาเป็นผู้นา
จีนคนแรกที่เข้าร่วมการประชุม World Econom-
ic Forum ในเดือนมกราคม 2017 ณ เมือง
ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ และการประชุมผู้นา
G20 ณ เมืองฮัมบวร์ก เยอรมนี แสดงให้เห็นว่า
เขาได้ รับความเชื่ อมั่นจากผู้ นาทั่วโลก
ขณะเดียวกันเขาก็ได้รับความไว้วางใจจาก
ประชาชนชาวจีน เพราะช่วยส่งเสริมและรักษา
ผลประโยชน์ของจีนในเวทีระหว่างประเทศไว้ได้
สี จิ้นผิงได้กล่าวถ้อยแถลงสาคัญ ณ เมือง
ดาวอส ว่าจีนจะยืนหยัดสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ
ในโลกที่มีพลวัตอย่างสูง (economic globaliza-
tion) รวมทั้งต่อต้านนโยบายการค้าแบบกีดกัน
(protectionism) เน้นย้าถึงการค้าเสรี และมุ่งเป็น
ผู้นาด้านการพัฒนาระดับโลกผ่าน OBOR สิ่ง
เหล่านี้เรียกว่าโลกาภิวัตน์แบบใหม่หรือโลกาภิ
วัตน์ 2.0 ภายใต้การนาของจีนและโลก
ตะวันออก แต่แนวคิดนี้กลับปะทะกับแนวคิดเดิม
ของโลกตะวันตกภายใต้การนาของสหรัฐอเมริกา
แม้ว่านักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ในจีน
ต่างมีความคิดเห็นว่า OBOR เป็นโครงการริเริ่ม
ทางเศรษฐกิจที่มอบประโยชน์ให้แก่ภูมิภาคและ
โลกก่อนเป็นลาดับแรก เพราะการลงทุนและการ
พัฒนาที่ลงทุนให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านของจีนจะ
ส่งผลให้ภูมิภาคเข้มแข็ง
WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 16
เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรือง แล้วต่อมาจีนถึงจะ
ได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ OBOR ยังจะช่วย
พัฒนาให้จังหวัดทางภูมิภาคตะวันตกอัน
แร้นแค้นของจีนเจริญยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นช่องทาง
ที่จีนจะระบายสินค้าส่งออกที่ล้นเกินไปยัง
ต่างประเทศด้วย จีนพยายามอธิบายว่าจีนริเริ่ม
OBOR ขึ้นมาเพียงเพื่อเป็นสถาบันที่ช่วยสะท้อน
ให้เห็นสภาวะโลกในปัจจุบัน และรับมือกับปัญหา
ร่วมสมัยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โลกตะวันตกกลับ
เคลือบแคลงสงสัยและมองว่า OBOR เป็นความ
พยายามของจีนที่จะแผ่อิทธิพลทางการเมืองและ
ภูมิยุทธศาสตร์ผ่านระเบียบโลกใหม่ การปู
เส้นทางการค้าและโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุม
หลายประเทศในฐานะ soft power ของจีนในครั้ง
นี้ อาจช่วยส่งเสริมความสามารถของจีนในการ
พัฒนาโครงการทางทหาร (hard power) ใน
อนาคตได้เช่นกัน ดังนั้น บทความของ Carnegie
-Tsinghua ชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า จีนจึงต้อง
ดาเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังและตั้งอยู่
บนแนวทางที่สอดคล้องกับประเทศมหาอานาจ
เดิมอย่างสหรัฐอเมริกาด้ วย จีนควรนา
สหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วเข้ามามี
ส่วนร่วมในเวทีของ OBOR จะต้องไม่กีดกัน
ประเทศเหล่านี้ออกไปเพื่อลดความหวาดระแวงที่
อาจนาไปสู่สงคราม
ด้ านสหรัฐอเมริกาก็จาเป็ นต้ องใช้
ยุทธศาสตร์การเกี่ยวพันอย่างสร้างสรรค์
(constructive engagement) กับ OBOR ซึ่งเป็น
แนวทางสายกลางที่ทาให้สามารถสร้างความ
ร่วมมือกับจีนและประเทศอื่นที่มีผลประโยชน์
ซ้ อนทับอยู่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้
สหรัฐอเมริกาไม่ควรมองว่าจีนเป็นศัตรู หรือ
คัดค้านข้อเสนอและหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมเหมือน
เมื่อครั้งที่จีนประกาศก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastruc-
ture Investment Bank - AIIB) เ พ ร า ะ
สหรัฐอเมริกาจะสูญเสียประโยชน์ทั้งหมด การจัด
ให้มีการประชุมทวิภาคีอย่างเป็นทางการระหว่าง
ผู้นาสหรัฐอเมริกา-จีน เช่น การประชุมร่วมกัน
ร ะ ห ว่ า ง สี จิ้ น ผิ ง แ ล ะ โ ด นั ล ด์ ท รั ม ป์
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันที่รีสอร์ท
Mar-a-Lago ณ มลรัฐฟลอริดา เมื่อเดือน
เมษายน 2017 ที่ผ่านมา ได้ช่วยเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ มี
เสถียรภาพและความเข้าใจระหว่างกันยิ่งขึ้น
ผู้เขียนมีความเห็นว่าทิศทางของระเบียบ
โลกภายใต้การนาของประเทศมหาอานาจเดิม
อย่างสหรัฐอเมริกา และประเทศที่กาลังก้าวขึ้นมา
เป็นมหาอานาจใหม่อย่างจีน คงไม่ทาให้โลกต้อง
ลุกเป็นไฟจากสงครามเหมือนในอดีต หากยังคง
มีการประชุมระหว่างกันอย่างต่อเนื่องและ
สามารถตกลงกันได้ถึงผลประโยชน์แห่งชาติของ
ทั้งสองประเทศร่วมกัน แต่ก็ต้องไม่ละเลยที่จะ
วิเคราะห์ท่าทีของผู้นาอย่างสี จิ้นผิงและโดนัลด์
ทรัมป์ ที่มีอานาจอยู่เต็มมือซึ่งอาจทาให้
สถานการณ์โลกพลิกผันก็เป็นได้
อ้างอิง
Paul Haenle. Xi’s Vision for China’s Belt and
Road Initiative. Carnegie-Tsinghua. MAY
0 9 , 2 0 1 7 . ออนไลน์ h t t p : / /
carnegietsinghua.org/2017/05/09/xi-s-
vision-for-china-s-belt-and-road-initiative-
pub-69890.
ไทยในยุคบูรพาภิวัตน์
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
เอนกทรรศน์
ศ.ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์
เศรษฐศาสตร์ บนทางสายกลาง
ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
เพ่งประชาธิปไตยโลก
พิศประชาธิปไตยไทย
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ขบวนการรัฐอิสลาม
(Islamic State)
อาทิตย์ ทองอินทร์
สั่งซื้อได้ที่ ...
1 ) ร้านหนังสือออนไลน์ : CPWIBOOKS.lnwshop.com
2) เบอร์โทรศัพท์ 02-938-8826 (ในเวลาราชการ)
3) Facebook Page : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
CPWI Bookstore
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัย
รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 จากดาริ
ของศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยความเห็นชอบ
และสนับสนุนจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย
รังสิต เนื่องด้วยความปรารถนาที่ต้องการให้เป็นคลังปัญญาด้าน
ยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีพันธกิจดังนี้
สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ชี้นาแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อการ
พัฒนาประเทศอย่างมีสุขภาวะท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค
บูรพาภิวัตน์
2. หนุนเสริมพลังความคิดและความรู้ทางวิชาการ ระหว่างสถาบัน
ทางวิชาการต่างๆ ในประเทศให้เกิดการเชื่อมโยงศึกษาต่อย่อยประเด็น
วิชาการเพื่อการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์
3. เป็นแหล่งรวมนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และผู้นาที่มี
ประสบการณ์ เพื่อร่วมระดมความคิด หาทางออกและชี้แนะแนวทาง
ยุทธศาสตร์เพื่ออภิวัฒน์ประเทศไทย
4. เปิดพื้นที่ทางความคิดและเชื่อมโยงภาคีต่างๆ ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้
และแลกเปลี่ยนความคิดอย่างสร้างสรรค์
5. เป็นสื่อกลางเผยแพร่ความรู้จากนักคิด นักยุทธศาสตร์ และ
นักวิชาการ ผ่านช่องทางสื่อสาธารณะ เพื่อให้สาธารณะสามารถเข้าถึง
เพื่อการเรียนรู้กับสังคมในวงกว้าง
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้ริเริ่มจัดทาโครงการ คลังปัญญาเพื่อการอภิวัฒน์
ประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Klangpanya” โดยการสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีความปรารถนาที่จะเป็นคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ โดยรวบรวม
นักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และผู้นาที่มีประสบการณ์ มาระดมความคิด เพื่อกรองประเด็น
ออกมาเป็นทั้งความรู้และข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์ ผ่านการจัดเวทีการประชุมต่างๆ เช่น เวทียุทธศาสตร์
ที่มีการจัดมาอย่างต่อเนื่อง
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560

แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
Aun Chun Cha Ree
 

Semelhante a World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560 (8)

บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
 
V 297
V 297V 297
V 297
 
รายงานการประชุมครั้งที่ 4 2554
รายงานการประชุมครั้งที่ 4 2554รายงานการประชุมครั้งที่ 4 2554
รายงานการประชุมครั้งที่ 4 2554
 
คำสั่งคณะกรรมการบริหาร สทน. เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
คำสั่งคณะกรรมการบริหาร สทน. เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์คำสั่งคณะกรรมการบริหาร สทน. เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
คำสั่งคณะกรรมการบริหาร สทน. เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
 
รายงานการประชุมครั้งที่ 8 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 8 54รายงานการประชุมครั้งที่ 8 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 8 54
 

Mais de Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Mais de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560

  • 1. ปี ที่ 3 ฉบับที่ 8 พฤศจิกายน 2560
  • 2. i | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 ยุวดี คาดการณ์ไกล เอกปวีณ อนุสนธิ์ ปลายฟ้า บุนนาค ปาณัท ทองพ่วง อุสมาน วาจิ เอกปวีณ อนุสนธิ์ https://www.brookings.edu/wp-content/ uploads/2017/08/ccp_party_congress001.jpg พฤศจิกายน 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 http://rsu-brain.com/ Tel. (+66) 2938 8826 Fax. (+66) 2938 8864 บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ออกแบบและจัดรูปเล่ม ภาพปก เผยแพร่ CONTACT US ภาพปกใน เอกปวีณ อนุสนธิ์ http://www.scmp.com/news/china/policies -politics/article/1913590/stand-aside- likonomics-heres-xiconomics-how-president
  • 3. การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 ไม่เพียงแต่เป็นการประชุมที่กาหนดอนาคตของประเทศจีน 5 ปี ต่อจากนี้ แต่ยังช่วยแสดงให้ประชาคมโลกเห็นทิศทางการเมืองระหว่างประเทศภายใต้การนาของจีนที่มีสีจิ้นผิงกุมอานาจ (เกือบ) เบ็ดเสร็จ และยังได้รับการยกย่องให้มีสถานะเทียบเท่ากับเหมา เจ๋อตง และ เติ้ง เสียวผิง ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก คอมมิวนิสต์ ในฐานะผู้ติดตามการเมืองจีนอย่างใกล้ชิด จึงมิอาจละเลยที่จะพิจารณาถึงผู้แสดงหลักทางการเมืองระหว่างประเทศใน ปัจจุบัน อย่างสีจิ้นผิงได้เลย เพราะสีจิ้นผิงและคณะกรรมการประจากรมการเมือง (Standing Committee) แห่งกรมการเมือง (Politburo) อีก 6 ท่าน ต่างมีส่วนสาคัญที่จะนาพาจีนไปสู่การเป็นมหาอานาจนาระดับโลกแทนที่สหรัฐอเมริกา และ ขณะเดียวกันก็อาจสั่นคลอนระเบียบโลกเดิมด้วย พวกเราจะต้องเผชิญกับสิ่งใดต่อไปในโลกที่ไม่แน่นอนใบนี้ สามารถพลิกไป อ่านบทความที่ทางสถาบันคลังปัญญาฯ ได้รวบรวมและเรียบเรียงจากสถาบันคลังปัญญา (Think Tank) ระดับโลกมาให้อ่าน เชิญติดตามค่ะ ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ ที่มาภาพ: https://www.toonpool.com/user/1949/files/superpower_china_1000705.jpg การประชุมสมัชชาใหญ่พรรค คอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 และทิศทางการเมืองจีนในยุค สีจิ้ นผิงลดความเหลื่อมล้าภายใน และก้าวนาโลกภายนอก บทพิสูจน์ใหม่ของ สีจิ้ นผิง อเมริกาในยุคทรัมป์ โอกาสทางเศรษฐกิจและ ความเสี่ยงต่อจีน ทิศทางของ ยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหม ใหม่
  • 4. 1 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 และทิศทางการเมืองจีนในยุค สีจิ้ นผิง คณะกรรมการประจากรมการเมืองชุดใหม่และสีจิ้ นผิง (กลางภาพ) เข้าร่วมการปฏิญาณตนที่ สถานที่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1921 ณ นครเซียงไฮ้ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2017 ที่มาภาพ: http://www.scmp.com/news/china/policies-politics/article/2117826/xi-jinping-top-cadres-visit-birthplace-chinas-communist ทั่วโลกต่างเฝ้าจับตามองการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นทุก 5 ปี ที่อาคารรัฐสภาประชาชน (Great Hall of the People) จัตุรัสเทียนอันเหมิน ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2017 มีผู้แทนพรรคจากทั่วประเทศกว่า 2,300 คน เข้าร่วม การประชุมครั้งนี้มี สาระสาคัญอยู่ 2 เรื่องคือ (1) การเลือกผู้แทนใหม่เพื่อดารงตาแหน่งสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค คอมมิวนิสต์จีนในวาระต่อไป รวมไปถึงการแต่งตั้งผู้นาสูงสุด อย่างสี จิ้นผิงให้ดารงตาแหน่งเลขาธิการ พรรคและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นวาระที่ 2(1) (2) การรับรองรายงานการเมือง ที่ระบุถึงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของจีนภายใน 5 ปีต่อจากนี้ จนถึงปี 2022 อย่างไรก็ตาม มีการ คาดการณ์ว่าสี จิ้นผิงอาจเลื่อนประกาศการแต่งตั้งผู้สืบทอดอานาจ (successor-in-training) ในปี 2022 ออกไปก่อน หลายฝ่ายยังประเมินต่อไปว่าเขาต้องการที่จะดารงตาแหน่งต่อไปในวาระที่ 3 ด้วย (2) ทาไมต้องติดตามการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างใกล้ชิด? จีนมีขนาดพื้นที่ของประเทศใหญ่เป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก มีประชากรทั่วประเทศกว่า 1.4 พันล้านคน มีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งทาให้ สหรัฐอเมริกามองจีนด้วยความหวาดระแวง(3) การประชุมครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่กาหนดชะตากรรมของ จีนเท่านั้น แต่ยังกาหนดชะตากรรมของ
  • 5. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 2 กรรมของโลกด้วย เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ที่มี บทบาททั้งทางเศรษฐกิจและการทหารระดับโลก สาหรับจีนในยุคสี จิ้นผิงนั้น เป็นจีนที่พยายามก้าว เข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ แสดงให้ เห็นถึงความต้องการเป็นผู้วางระเบียบโลกใหม่ที่ แตกต่างไปจากสหรัฐฯ และปัจจัยที่จะละเลยไม่ได้ เลยในการพิจารณาถึงทิศทางการดาเนินนโยบาย ของจีนก็คือผู้นาแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างสี จิ้ นผิงและกรมการเมือง (Politburo) ซึ่งมี คณะกรรมการประจากรมการเมือง (Standing Committee) ที่ประกอบด้วยผู้นาระดับสูงสุดของ พรรคคอมมิวนิสต์จีน สถาบัน Mercator ด้านจีนศึกษาแห่ง ประเทศเยอรมนีหรือ MERICS โดยนาย Matthi- as Stepan หัวหน้าฝ่ ายโครงการวิจัยว่าด้วย นโยบายจีน ได้ ออกบทวิเคราะห์เรื่ อง “Hardening the Party Line : The 19th CCP Congress will Boost Strongman Politics and Narrow China’s Developmental Options” เมื่อ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาไว้ว่า การประชุมสมัชชา ใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 นี้ อาจทาให้ สี จิ้นผิงสามารถกระชับอานาจของตนได้อย่าง เบ็ดเสร็จ และแน่นอนว่าจะส่งผลต่อการพัฒนา ประเทศจีนในอนาคตด้วย บทความนี้ได้กล่าวถึงที่มาของอานาจเต็ม มือของสี จิ้นผิงไว้อย่างน่าสนใจว่า ในการประชุม สมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 18 เมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2012 สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม ลงมติเพิ่มอานาจให้แก่ตาแหน่งเลขาธิการพรรค และลดอานาจคณะรัฐมนตรี (State Council) และการบริหารระดับท้องถิ่นลง ไม่เพียงแต่ ต้องการรวบอานาจการบริหารประเทศอย่าง เด็ดขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ที่เลขาธิการ พรรคเพียงเท่านั้น แต่เพื่อแก้ไขปัญหาความ อ่อนแอของโครงสร้างอานาจพรรคและระเบียบ ภายในพรรคด้วย ผู้นาระดับสูงสุดจึงเล็งเห็นว่า จาเป็นต้องรักษาหลักการที่บังคับใช้กับเจ้าหน้าที่ พรรค (party carde) ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เพราะ พรรคที่เข้มแข็งจะช่วยลดการคอร์รัปชันของ เจ้าหน้าที่พรรคและย่อมนามาซึ่งการปฏิรูปที่ มั่นคง หลังจากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 18 อานาจการตัดสินใจในนโยบายหลักของ จีนจึงเปลี่ยนจากกระทรวงต่างๆ มาตกอยู่ที่กลุ่ม ย่อยนาส่วนกลาง (Central Leading Small Groups - CLGs) และคณะกรรมาธิการต่างๆ โดยส่วนใหญ่สี จิ้นผิงรับหน้าที่เป็นประธาน เช่น กลุ่มย่อยนาส่วนกลางเพื่อการปฏิรูปที่ครอบคลุม เ ชิ ง ลึ ก ( Central Leading Small Group for Comprehensively Deepening Reforms) คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Commission) แ ล ะ ก ลุ่ ม ย่ อ ย น า ส่วนกลางเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และ สารสนเทศ (Central Leading Small Group for Cybersecurity and Informatization) เพียงวาระแรกสี จิ้ นผิงก็ประสบ ความสาเร็จอย่างมากในการเข้าควบคุมระบบ การเมืองของจีน ทั้งด้านการทหารในการปฏิรูป กองทัพจีนครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ และ ด้านการต่างประเทศในการดาเนินนโยบาย ต่างประเทศแข็งกร้าวแบบที่จีนในยุคหู จิ่นเทา
  • 6. 3 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน รวมไปถึงการเข้าควบคุมสื่อ สาธารณะอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ข่าว ตัวการ์ตูนใน โฆษณาชวนเชื่อไปจนถึงเพลงแร็พ นอกจากนี้ สี จิ้ นผิงยังออกแคมเปญหลักอีก 3 เรื่อง คือ (1) ก า ร ป ร า บ ป ร า ม ค อ ร์ รั ป ชั น ( 2 ) ก า ร ประหัตประหารผู้ไม่เห็นด้วยกับพรรคอย่างเป็น ระบบ และ (3) การปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรค แก่ประชาชน ด้วยเหตุนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึง มองว่าสี จิ้นผิงคือบุคคลที่เหมาะสมที่สุดในห้วง เวลาที่จีนกาลังอ่อนแอ เขาได้รับสถานะให้เป็น ผู้นาสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวจากคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีน (core leader) เทียบเท่ากับ ผู้นาที่ยิ่งใหญ่ของจีนอย่างเหมา เจ๋อตง, เติ้ง เสียว ผิงและเจียง เจ๋อหมิน สี จิ้นผิงยังได้วางเส้นทางสู่อานาจเบ็ดเสร็จ ของตนต่อไปอีกยาวนาน โดยการแต่งตั้งผู้ภักดี ดารงตาแหน่งในกรมการเมืองชุดใหม่จานวน 6 คน ซึ่งทุกคนมีอายุ 60 ปีขึ้นไป(4) นั่นหมายความ ว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ตาแหน่ง เลขาธิการพรรคในอีก 5 ปีข้างหน้าได้เลย เพราะ เกณฑ์ของพรรคกาหนดให้ผู้ดารงตาแหน่ง เลขาธิการพรรคอายุไม่เกิน 58 ปี อย่างไรก็ตาม สี จิ้นผิงมีการดาเนินงานที่แตกต่างจากหู จิ่นเทาอ ย่างสิ้นเชิง เช่น ในสมัยหู จิ่นเทาใช้หลักการ แนะนาแบบประชาธิปไตย (democratic recom- mendation) ในการประชุมเจ้าหน้าที่พรรคอาวุโส 400 คน เพื่อคัดเลือกผู้ท้าชิงที่เหมาะสมสาหรับ ตาแหน่งเลขาธิการพรรคและตาแหน่งว่างอื่นๆ ก่อนที่การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 17 จะเริ่มต้นขึ้น ในปี 2007 แต่ปี 2014 ในสมัยสี จิ้นผิง ได้แก้ไขระบบการเลื่อนตาแหน่งใหม่ โดย จากัดขอบเขตการคัดเลือกแบบเปิดเผย (open selection) และลดบทบาทการใช้หลักการแนะนา แบบประชาธิปไตย จวบจนปัจจุบันผู้นาระดับ สูงสุดของพรรคจะเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ท้าชิงก่อน การประชุมสมัชชาใหญ่ฯ ทั้งยังมีการแก้ไขกฎให้ เลขาธิการพรรคมีอานาจอิสระในการแต่งตั้งผู้ ภักดีดารงตาแหน่งสาคัญระดับประเทศและ จังหวัดด้วย กล่าวคือนับแต่นั้นอานาจในการ กากับทิศทางนโยบายและการตัดสินใจทาง การเมืองจีนทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของสี จิ้นผิง เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ บุคลิกความเป็นผู้นาและผลงาน ที่โดดเด่นของสี จิ้นผิงในวาระแรกก็ส่งผลให้ที่ ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 19 มีมติเป็น เอกฉันท์ให้บรรจุ “ความคิดของสี จิ้นผิง ว่าด้วย สังคมนิยมแบบจีนสาหรับยุคใหม่(5)” (Xi Jinping Thought for the New Era of Socialism With Chinese Special Characteristics) ลงใน ธรรมนูญพรรค สี จิ้นผิงจึงกลายเป็นผู้นาที่ทรง อิทธิพลที่สุดอีกคนหนึ่งของจีนเทียบเท่ากับเหมา เจ๋อตงและเติ้ง เสียวผิง ทาให้คู่แข่งทางการเมือง หรือประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการดาเนินนโยบาย ของเขา เผชิญกับความยากลาบากที่จะ วิพากษ์วิจารณ์หรือท้าทายเขาในอนาคต เพราะ การโจมตีสี จิ้ นผิงก็เหมือนโจมตีพรรค คอมมิวนิสต์จีนไปด้วย ส่วนสาระสาคัญในการ ดาเนินนโยบายของสี จิ้นผิง คือการเสริมสร้าง กองทัพให้เข้มแข็ง ควบคุมการเมืองภายในยิ่งขึ้น และยกระดับสถานะของจีนในกิจการระหว่าง ประเทศ ความคิดของเขาจะแพร่กระจายไปยัง โรงเรียน สื่อและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล(6) สาหรับวาระที่ 2 ของสี จิ้นผิง เขามุ่งมั่นที่ จะเสริมสร้างสังคมนิยมแบบจีนต่อไป
  • 7. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 4 สาหรับวาระที่ 2 ของสี จิ้นผิง เขามุ่งมั่นที่ จะเสริมสร้างสังคมนิยมแบบจีนต่อไปเช่นเดียวกับ วาระแรก ส่วนประเด็นต่างๆ ในรายงานการเมือง จากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯ ครั้งที่ 19 ก็ จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของพรรค คอมมิวนิสต์และประเทศจีนในระยะยาว โดย Stepan ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านอุดมการณ์: เข้าควบคุมวิธีคิดของคน ในประเทศ สี จิ้นผิงพยายามที่จะเผยแพร่อุดมการณ์ บางอย่างในวงกว้างมากขึ้น เช่น “คุณค่าหลักของ สังคมนิยม” (socialist core values) โดยสื่อของ รัฐบาลร่วมมือกับบริษัทประชาสัมพันธ์ มี กลุ่มเป้ าหมายหลักคือเยาวชนคนรุ่นใหม่และ ชาวต่างชาติ นาเสนอออกมาในรูปแบบที่เข้าถึง ง่ายอย่างอินโฟกราฟิ กส์ เพลงแร็พและวิดีโอ รวมทั้งเข้าควบคุมเนื้อหาในสื่อออนไลน์อย่าง เข้มข้น ไม่เพียงแต่อุดมการณ์ทางการเมืองแบบ เสรีนิยมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพฤติกรรม คา หยาบคาย และชีวิตหรูหราของประชาชน ด้าน หน่วยงานหลักของรัฐอย่างคณะกรรมาธิการ ตรวจสอบวินัยส่วนกลาง (Central Commission for Discipline Inspection) ก็วิพากษ์วิจารณ์ มหาวิทยาลัยชั้ นนาว่า “หละหลวมด้ าน อุดมการณ์” (ideological laxity) ดังนั้น จึงได้ตั้ง คณะกรรมาธิการตาราเรียนแห่งชาติ (National Textbook Commission) ในเดือนกรกฎาคม 2017 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินความเหมาะสมของ เนื้อหาในตาราเรียน โดยเฉพาะจากต่างประเทศ และตรวจสอบหลักสูตรการเรียนการสอนตาม มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจทาให้ความร่วมมือด้าน การศึกษาระหว่างประเทศจีนกับต่างประเทศลด น้อยลง (2) ด้านการจัดการพรรค: เสริมสร้างความ เข้มแข็งของพรรค สี จิ้นผิงต้องการเสริมสร้างโครงสร้างพรรค ให้เข้มแข็ง เขาได้ก่อตั้งหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ (non -governmental unit) และบริษัทเอกชนภายใต้ การดาเนินงานของพรรคจานวนมากในวาระแรก ถือเป็นความพยายามที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในภาค ธุรกิจและสังคม รวมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พรรคที่ ภักดีดารงตาแหน่งประจาในภาคส่วนต่างๆ ซึ่ง รวมไปถึงบริษัทเอกชนที่มีเจ้าของเป็นคนจีนด้วย เพื่อโน้มน้าวเชิงยุทธศาสตร์ แต่เจ้าหน้าที่พรรค จานวนหนึ่งกลับไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้เท่าใดนัก (3) ด้านประเด็นสังคม: ขจัดความยากจนและ จัดการกับประเด็นปัญหาเร่งด่วน สี จิ้นผิงต้องการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “สังคม ศิวิไลซ์” (civilized society) ต่อยอดจากที่จีน กาหนดเป้ าหมายแห่งศตวรรษเพื่อทาให้จีนเป็น สังคมที่มีความมั่งคั่งในระดับปานกลาง (moderately prosperous society) ภ า ย ใ น ปี 2021 โดยการทาให้ชีวิตความเป็ นอยู่ของ ประชาชนดีขึ้น และพัฒนาเครื่องมือกลไกในการ ขับเคลื่อนและจับตาสังคมจีนยิ่งขึ้น เช่น “ระบบ ความน่าเชื่อถือทางสังคม” (Social Credit Sys- tem - SCS) ใช้สาหรับรวบรวมข้อมูลบุคคลและ ประเมินสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลยัง จาเป็นต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนกดดัน 2 เรื่อง ได้แก่ (1) จัดการปัญหามลพิษ และ (2) คุ้มครองความร่ารวยของประชาชน
  • 8. 5 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 ประชาชน ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาออกกฎหมาย คุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแก่บุคคล อย่างไร ก็ตาม คาถามสาคัญของการแก้ไขปัญหานี้คือ รัฐบาลจีนจะผนวกรวมกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินกับ แนวคิดสังคมนิยมอย่างไร ในโลกศตวรรษที่ 21 (4) ด้านเศรษฐกิจ: การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรม สี จิ้นผิงใช้คาว่า “ความปกติในรูปแบบ ใหม่” (New Normal) ในแถลงการณ์ เมื่อปี 2014 เป็นคาที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจจีนที่ลดต่าลงในทางที่ดี ส่วนอีกวลี หนึ่งที่อธิบายถึงการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจีนใน เอกสารของพรรคคือคาว่า “การพัฒนาที่ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” (innovation-driven development) แสดงให้เห็นว่าจีนพยายามที่จะยก สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ยอดของ ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) เพื่อเป็นประเทศ ผู้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า อุ ต ส า ห ก ร ร ม แ น ว ห น้ า (manufacturing country) ในระดับโลก ทั้งนี้ หัวข้อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในรายงานการเมือง อาจระบุถึงความจาเป็นที่ต้องเปลี่ยนแบบจาลอง การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นแบบใหม่ (growth model) ส่งเสริมภาคบริการและแปลงข้อมูลการ ผลิตให้เป็นดิจิทัล (digitization of manufactur- ing) ซึ่งจะช่วยปฏิรูปองค์กรวิสาหกิจที่รัฐเป็น เจ้าของที่ไม่ประสบความสาเร็จในอนาคตได้ แต่หลายฝ่ายกลับกังวลถึงผลเสียว่าการ พัฒนาระบบเก็บข้อมูลเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะทา ให้รัฐบาลจีนสามารถสอดส่องพฤติกรรม ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และจีนอาจเข้าสู่ยุค ลัทธิเลนินแบบดิจิตอล (Digital Leninism) กลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ แบบเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ด้านประเทศใน ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมองว่าสิ่งเหล่านี้ส่ง สัญญาณให้เห็นถึงท่าทีของผู้นาระดับสูงสุดของ พรรคต่อ 2 ประเด็น ได้แก่ (1) การลงทุนของ บริษัทจีนในต่างประเทศ และ (2) การเข้าสู่ตลาด จีนของบริษัทต่างชาติ (5) ด้านนโยบายต่างประเทศ: นาจีนไปสู่ระดับ โลก สี จิ้นผิงได้เสนอยุทธศาสตร์เส้นทางสาย ไหมใหม่ (One Belt One Road - OBOR) ครั้ง แรก เมื่อปี 2013 ต่อมาในปี 2017 ในการ ประชุม World Economic Forum ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เขาก็ได้กล่าวถึงบทบาทของจีนว่า จะเป็นผู้พิทักษ์โลกาภิวัตน์และการค้าเสรี ซึ่งทา ให้เห็นว่าจีนกาลังแสดงบทบาทในฐานะผู้แสดง ตนพิทักษ์ความมั่นคงของโลก (global security actor) ด้านประชาชนจีนส่วนใหญ่ต่างก็ยินดีกับ บทบาทใหม่ของจีนในการเมืองระหว่างประเทศ ครั้งนี้ พวกเขารู้สึกภูมิใจเมื่อประธานาธิบดีของ ตนยืนอยู่บนเวทีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงในต่างประเทศของจีน และการตั้งถิ่นฐาน (physical presence) ของ พลเมืองจีนในประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทาง การเมืองกาลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Shi Yinhong นักวิชาการด้ าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้รับตาแหน่งที่ ปรึกษาคณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council) ได้ เตือนว่า OBOR อาจเป็น “การร่างยุทธศาสตร์ที่ เกินจริง”
  • 9. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 6 (strategic overdraft) ในแง่ของข้อผูกพันทาง เศรษฐกิจร่วมกันกับประเทศอื่น และอาจเกิด ความขัดแย้งด้านการทหารกับประเทศอื่น เนื่องจากประเด็นทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของ เส้นทาง OBOR ทั้งนี้ ในวาระที่ 2 สี จิ้นผิงอาจ จาต้องละความพยายามในเวทีระหว่างประเทศลง เพราะต้องดาเนินการปฏิรูปและจัดการปัญหา เร่งด่วนภายในประเทศก่อน การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ จีน ครั้งที่ 19 แสดงให้เห็นถึงการกากับทิศ ทางการดาเนินนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายใต้สี จิ้นผิง รวมไปถึงการ กระชับอานาจเพิ่มขึ้นของเขา กระทั่งหลายฝ่าย มองว่าสี จิ้นผิงคือจักรพรรดิแห่งจีนยุคใหม่ที่อาจ ส่งผลให้การพัฒนาของจีนถดถอยลง เนื่องด้วย หลายเหตุผล เช่น (1) การยึดโยงการปกครอง ประเทศอยู่กับผู้ปกครองเพียงคนเดียว หากสี จิ้ นผิงล้มป่ วยหรือดาเนินนโยบายผิดพลาด อาจ นามาซึ่งความล้มเหลวในการบริหารประเทศ (2) การเสริมสร้างกฎของพรรคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น อาจ ทาให้เจ้าหน้าที่พรรคเข้าควบคุมประชาชนอย่าง เข้มงวด และเกิดกระแสต่อต้านพรรคได้ในที่สุด หรือ (3) ความพยายามที่จะประคับประคอง เศรษฐกิจให้ดีอยู่เสมอ อาจส่งผลกระทบต่อ เสถียรภาพทางการคลังของประเทศ อย่างไรก็ ตาม มังกรยักษ์ที่พยายามจะเป็นผู้แสดงบทบาท ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทรงอิทธิพลระดับ โลก โดยมีจักรพรรดิอย่างสี จิ้นผิงกุมบังเหียน จึง เป็นมังกรที่ทั่วโลกควรเฝ้ าจับตาอย่างใกล้ชิด ต่อไป เพราะการดาเนินนโยบายใดก็ตามของจีน จะส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นทั่วโลก รวมไปถึง ประเทศไทยของเราด้วยเช่นกัน เชิงอรรถ (1) J.P. What is China’s 19th Communist Party congress and why does it mat- ter?. The Economist. OCTOBER 17, 2 0 1 7 . อ อ น ไ ล น์ https:// www.economist.com/blogs/economist- explains/2017/10/economist-explains -11. (2) Chris Buckley. Xi Jinping May Delay Picking China’s Next Leader, Stoking Speculation. The New York Times. OCTOBER 4, 2016. ออนไลน์ https:// www.nytimes.com/2 0 1 6 / 1 0 / 0 5 / world/asia/china-president-xi-jinping- successor.html. (3) Prableen Bajpai. The World’s Top 10 Economies. Investopedia. JULY 7, 2 0 1 7 . อ อ น ไ ล น์ http:// www.investopedia.com/articles/ investing/022415/worlds-top-10- economies.asp.
  • 10. 7 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 (4) Tom Phillips and Benjamin Haas. The omnipotent seven: meet the men who make up China’s new politburo. The Guardian. OCTOBER 25, 2017. อ อ น ไ ล น์ https:// w w w . t h e g u a r d i a n . c o m / world/2017/oct/25/the-seven- men-who-make-up-chinas-new- politburo-xi-jinping. (5) บีบีซีไทย. สี จิ้นผิง ขึ้นแท่นผู้นำทรงอิทธิพล สูงสุดของจีน. BBC. 24 ตุลำคม 2560. ออนไลน์ http://www.bbc.com/thai/ international-41732433. (6) Chris Buckley. China En- shrines ‘Xi Jinping Thought,’ Elevating Leader to Mao-Like Status. The New York Times. OCTOBER 24, 2017. ออนไลน์ h t t p s : / / www.nytimes.com/2017/10/24/ world/asia/china-xi-jinping- communist-party.html. อ้ำงอิง Matthias Stepan. Hardening the Party Line : The 19th CCP Congress will Boost Strongman Politics and Narrow China’s Developmental Options. Merca- tor Institute for China Stud- ies (MERICS). AUGUST 16, 2017. ออนไลน์ https://www.merics.org/ fileadmin/user_upload/ d o w n l o a d s / C h i n a - Monitor/170822_Merics_China- Monitor_41_English_Web.pdf.
  • 11. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 8 ที่มาภาพ: http://cdn1.spiegel.de/images/image-1202664-640_panofree-lflz-1202664.jpg ลดความเหลื่อมล้าภายในและก้าวนาโลกภายนอก บทพิสูจน์ใหม่ของ สี จิ้ นผิง หลังประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ได้ปิดฉากลงแล้วในวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ที่จัดขึ้นทุก 5 ปีนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่สาคัญที่สุดและทุก ภาคส่วนของสังคมจีนจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะมีการปรับเปลี่ยนบุคลากรในตาแหน่ง สาคัญของกรมการเมืองโปลิตบูโรซึ่งมีผลต่อการชี้นาประเทศโดยตรง และนอกจากจะเป็นการแถลง ผลงานในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาแล้วยังเป็นการประกาศให้ทราบถึงยุทธศาสตร์สาคัญในอนาคตอีกด้วย ในการประชุมครั้งนี้ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เป็นที่จับตามองอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ถือเอาการ ประชุมเป็นหมุดหมายสาคัญในการแสดงวิสัยทัศน์ของตน ในเรื่องภายในประเทศ สี จิ้นผิง ประกาศว่า การปราบปรามคอร์รัปชันในยุคของเขาที่มีผู้ถูกลงโทษแล้วกว่า 1 ล้านคนนั้น จะดาเนินต่อไปอย่าง เคร่งครัด และย้าว่าประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกมิได้ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไปยัง ต่างชาติว่าต้องทบทวนความสัมพันธ์ที่มีต่อทิเบตและไต้หวัน มิฉะนั้นแล้วจะกระทบกับความสัมพันธ์ที่มี ต่อจีน ส่วนในด้านการต่างประเทศ สี จิ้นผิง ได้ประกาศว่าจีนได้เข้าสู่ยุคใหม่ที่จะกลายเป็นผู้แสดงสาคัญ ของโลก และความสาเร็จอันรวดเร็วของจีนภายหลังทศวรรษ 1990
  • 12. 9 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 คือผลลัพธ์ที่ยืนยันว่ารูปแบบของจีนนั้นคือ ทางเลือกใหม่ที่โลกสามารถยึดเป็นแนวทางได้ ความสาเร็จและความทะเยอทะยานของจีนภายใต้ สี จิ้นผิง ยังทาให้ความคิดทางการเมืองของเขา ได้รับการบรรจุในธรรมนูญพรรคอันเป็นแนวทาง ในการบริหารประเทศสืบไป ที่ผ่านมามีเพียง คาร์ล มาร์กซ์, วลาดิมีร์ เลนิน, เหมา เจ๋อตง และ เติ้ง เสียวผิง เท่านั้นที่ได้รับเกียรตินี้ กระทั่งว่า หลายฝ่ายได้ระบุว่า สี จิ้นผิง คือผู้นาที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในโลกปัจจุบัน และเป็นผู้นาจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รองจากเหมา เจ๋อตง เท่านั้น แม้การปกครองของจีนจะเป็นระบอบ คอมมิวนิสต์ที่ผู้นาและนักการเมืองไม่ได้มาจาก การเลือกตั้งทั่วไปโดยประชาชน แต่หากผู้นาและ นักการเมืองคนใดที่ไม่ประสบความสาเร็จใน หน้าที่และไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนแล้วก็ ยากที่จะได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคให้ดารง ตาแหน่งต่อไป และหากมีผู้นาและนักการเมือง จานวนมากที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนก็ ย่อมส่งผลถึงความมั่นคงของพรรคด้วยอีกทอด หนึ่ง ฉะนั้นการที่พรรคยังคงดารงอยู่ได้โดยไม่มี การต่อต้านจากประชาชนมากนักจึงเป็นผลสาคัญ จากความสาเร็จในการบริหารประเทศ ที่ผ่านมา การพัฒนาของจีนมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มอัตราการ เติบโตของเศรษฐกิจเป็ นหลักซึ่งประสบ ความสาเร็จอย่างดี โดยไม่ได้ให้ความสนใจในแง่ อื่น ๆ นัก เช่น การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การ กระจายรายได้ ทาให้ชาวจีนประสบปัญหาสุขภาพ และปัญหาสังคมที่เป็นผลจากการมุ่งพัฒนา เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามแม้จะมีปัญหาบ้างแต่แต่ โดยรวมแล้วถือว่าชีวิตชาวจีนดีขึ้นมากจากการมี รายได้มากขึ้น ในปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น การพัฒนาของจีนจึงได้ปรับเปลี่ยนไปเน้นที่ “การ เติบโตอย่างยั่งยืน” มิใช่เพียง GDP อย่างเดียวอีก ต่อไป ตารางแสดงว่าจีนเป็ นประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก ที่มาภาพ: http://knowledge.ckgsb.edu.cn/2017/04/10/environment/chinese-renewable-energy-policy-better-environment/
  • 13. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 10 ในด้านการต่างประเทศ สิ่งที่ เติ้ง เสียว ผิง ผู้นาที่ปฏิวัติให้จีนเข้าหาโลกและต้อนรับให้ โลกเข้าหาจีนได้วางรากฐานไว้ คือการสงวน บทบาทให้มากที่สุดเพื่อทุ่มเทสรรพกาลังที่มีใน การพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ แต่ในปัจจุบัน เศรษฐกิจของจีนเติบโตขึ้นมาก คนจีนและ ผลประโยชน์ของจีนมีกระจายอยู่ทั่วโลก และมี กระแสเรียกร้องจากชาวจีนเองที่รู้สึกว่าประเทศ ของตนนั้นเจริญก้าวหน้าเป็นมหาอานาจโลก ในทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ที่ผ่านมากลับมีบทบาท น้อยเกินไปในทางระหว่างประเทศ ฉะนั้น สี จิ้ นผิง จึงปรับเปลี่ยนท่าทีให้จีนก้าวมามีบทบาทใน เวทีโลกมากขึ้น ดังที่เห็นว่าในยุคนี้จีนได้ตั้งกอง ทหารประจาการนอกดินแดนและมีเรือบรรทุก เครื่องบินเป็นครั้งแรก และในความขัดแย้งปัญหา ข้อพิพาททะเลจีนใต้นั้นจีนก็มีท่าทีแข็งกร้าวมาก ขึ้น การมีบทบาทมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ แม้จะเป็นก้าวสาคัญที่รักษาผลประโยชน์ของจีนไว้ ได้ แต่ในทางกลับกันก็อาจเป็นเหตุให้นานาชาติ มองจีนเป็นภัยคุกคามได้เช่นเดียวกัน ความท้าทายของ สี จิ้นผิง ในยุคต่อไปนั้น จึงมีมากอย่างที่ไม่เคยเป็ นมาก่อน ในทาง เศรษฐกิจต้องปฏิรูปให้ความอยู่ดีกินดีกระจาย อย่างเสมอภาคและสร้างผลกระทบในด้านอื่น ๆ น้อยที่สุด ในทางระหว่างประเทศต้องรักษาและ ขยายอานาจมากขึ้นโดยที่ไม่ทาให้เกิดความ หวาดระแวงจากต่างชาติเกินไป หาก สี จิ้นผิง ซึ่ง เป็นผู้นาที่ยิ่งใหญ่ของจีนสามารถนาประเทศ ต่อไปได้โดยได้รับการยอมรับจากประชาชน เขาก็ จะเป็นที่จดจาในฐานะวีรบุรุษของชาติ เฉกเช่น เหมา เจ๋อตง และ เติ้ง เสียวผิง หาไม่แล้วไม่เพียง ตัวเขาเองที่จะพบความยากลาบาก หากแต่ความ มั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จะได้รับ ผลกระทบเช่นเดียวกัน อ้างอิง Yu Jie, head of China Foresight at LSE IDEAS, the foreign policy think tank of the London School of Economics. China’s Communist Party must fight inequality if it wants to sur- vive. The Washington Post. OCTOBER 23, 2017. ออนไลน์ https:// www.washingtonpost.com/news/theworldpost/wp/2017/10/23/chinas-communist-party -must-fight-inequality-if-it-wants-to-survive/?utm_term=.6422766f47ce.
  • 14. 11 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 อเมริกาในยุคทรัมป์ โอกาสทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อจีน ที่มาภาพ: https://www.chathamhouse.org/publications/twt/why-china-smiles-donald สถาบัน Chatham House ได้เผยแพร่ บทความเรื่อง Why China smiles at Trump ที่ เขียนโดย Kerry Brown ผู้เชี่ยวชาญด้านจีน ศึกษาของมหาวิทยาลัย King’s College และ นักวิจัยรับเชิญของเอเชียโปรแกรม สถาบัน Chatham House เนื้อหาเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าการ ที่ทรัมป์ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ส่งผลอย่างไรต่อจีนบ้าง ไม่ว่ามุมมองของชาวจีนต่อโดนัลด์ ทรัมป์ จะเป็ นอย่างไร มีสิ่งหนึ่งที่จีนรู้สึก เหมือนกับคนส่วนใหญ่ของโลก คือ คิดว่าทรัมป์ คงไม่ชนะการเลือกตั้งแน่นอน เห็นได้จากสานัก ข่าวซินหัว สานักข่าวใหญ่แห่งชาติของจีน ส่ง ผู้สื่อข่าวหลายคนไปเฝ้ าที่สานักงานฮิลลารี คลินตันในคืนก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งมากกว่าที่ ส่งไปเฝ้าทรัมป์ และตั้งแต่รู้ผลว่าทรัมป์ ชนะการ เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สี จิ้นผิงและ ผู้นาประเทศอื่นๆ จึงเริ่มมีทิศทางในการ มองทรัมป์ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น จีนไม่แสดงความเห็นใดๆ ต่อสิ่งที่ทรัมป์ ทา แม้กระทั่งการกระทาของทรัมป์หลังเหตุการณ์ ประท้วงชาร์ล็อตส์วิลล์ในเดือนสิงหาคม จีนก็ ยังคงเงียบ จีนเชื่อมั่นในหลักการ “การไม่ แทรกแซงกิจการของประเทศอื่นของจีน” จีนมอง ว่ามันไม่จาเป็นต้องพูดถึง
  • 15. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 12 ว่าเกิดอะไรขึ้นในสหรัฐฯ หรือไม่จาเป็นต้องพูด ในสิ่งที่โลกภายนอกคาดหวังว่าอยากได้ยิน นี่ไม่ได้หมายความว่าชาวจีนไม่มีความ คิดเห็นอะไรต่อทรัมป์ พวกเขามีและชัดเจนมาก ด้วย ชาวจีนเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบจากการ ตัดสินใจของทรัมป์ ในทุกๆ ทาง ทั้งบวกและลบ ทั้งท่าทีที่แข็งกร้าวของทรัมป์ ในประเด็นเกาหลี เหนือ และการขาดดุลการค้าของเขา Steve Ban- non อดีตหัวหน้ายุทธศาสตร์ของทรัมป์ ได้ ออกมาบอกว่า สหรัฐฯ เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี เท่านั้นที่จะจัดการกับจีนก่อนที่จีนจะมีอานาจมาก เกินจนยากจะจัดการได้ ซึ่งสิ่งสุดท้ายที่จีนอยาก ได้ยินคือคาพูดยั่วยุพวกนี้ แต่จีนก็รู้อยู่ว่าทรัมป์ เป็นคนอย่างไร ทรัมป์ ก็ชอบพูดอะไรให้ได้ใจคน อยู่แล้ว ทรัมป์ เป็นเหมือนรางวัลล้าค่าและความ เสี่ยงที่ยิ่งใหญ่สาหรับชาวจีน นี่แสดงถึง ความรู้สึกไม่มั่นใจของชาวจีนต่อทรัมป์ เมื่อถาม ความเห็นของชาวจีนคนหนึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม ว่าเขามีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับทรัมป์ เขาตอบ อย่างทันทีว่า เขาคิดว่าทรัมป์ทาสิ่งที่ถูกต้อง ทรัมป์ กาลังทาสิ่งที่ส่งผลดีต่อจีน ไม่มี ประธานาธิบดีอเมริกาคนไหนที่ขยันทาลาย ชื่อเสียงประเทศตัวเองอย่างทรัมป์ และยิ่งส่งผล ให้จีนดูดีในสายตาชาวโลกมากขึ้น เพียงชั่ว ข้ามคืนจีนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นาในการ ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปกป้ องการค้าเสรีเนื่องจากท่าทีแย่ๆ ไม่ แยแสของทรัมป์ต่อทั้งสองประเด็น สี จิ้นผิงถูกมองเป็นรัฐบุรุษทันทีเมื่อเทียบ กับทรัมป์ ที่วันๆ ยุ่งอยู่กับการไล่พนักงานของ ตนเองออก และทวีตดูถูกอดีตพันธมิตรของตน ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ทรัมป์ ได้ช่วยให้จีนมี ชื่อเสียงมากขึ้น มากกว่าที่จีนเองพยายามใช้เงิน พันล้านปอนด์ในการส่งเสริม soft power เสียอีก ทั้งหมดนี้หมายความว่าถ้าทรัมป์ มาเยือน จีนในช่วงปลายปีนี้ เขาจะต้องได้สัมผัสกับพิธี ต้อนรับที่ดีแน่นอน การเยินยอแบบนี้ไม่ได้ หมายความว่าจีนชื่นชมทรัมป์ มากกว่าประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก แต่เข้าใจง่ายๆ ได้ว่าทรัมป์ สาคัญ เพราะตาแหน่งของเขาและประเทศที่เขาเป็น ประธานาธิบดีอยู่ ทรัมป์ ในฐานะปัจเจกอาจดูแย่ แต่จีนก็ไม่สามารถหลีกหนีอเมริกาที่ทรัมป์ เป็น ประธานาธิบดีอยู่ได้ สาหรับคนจีน การมีทรัมป์ มาก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง priority หลักของเขาที่เขา ยึดถือ นั่นคือมุ่งมั่นที่จะรักษาความสัมพันธ์ของ อเมริกากับจีนให้เป็นปกติ รูปแบบการทูตของทรัมป์ ได้เปิดช่องว่าง ใหญ่ให้กับประเทศจีนเพื่อเติมเต็มได้ ขณะนี้จีนมี โอกาสที่จะมีบทบาทในระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะ เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการแก้ไขปัญหาเกาหลี เหนือหรือผ่านการทาข้อตกลงการค้าใหม่ๆ ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลียและเกาหลี ใต้ ต่างต้องพึ่งพาด้านการรักษาความปลอดภัย กับอเมริกา ทั้งสองประเทศกาลังระส่าระสาย ไม่ แน่ใจว่าอเมริกาจะยังพึ่งพาได้หรือไม่ และต่าง กาลังเริ่มดาเนินการตามกลยุทธ์ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ตอนนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ กหวังพึ่ง อเมริกาด้านความมั่นคงและพึ่งจีนในทาง เศรษฐกิจ แต่ทุกคนก็กาลังกระจายความเสี่ยง อย่างเต็มที่ ไม่พึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งมาก เกินไป ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา อเมริกาเป็นเหมือนผู้รักษาความมั่นคงหลัก
  • 16. 13 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 ให้ภูมิภาคนี้ แต่ตั้งแต่ทรัมป์ ขึ้นมา ความมั่นใจ ของพันธมิตรก็ระส่าระสายจากคาพูดและการ กระทาของทรัมป์ สภาวะแบบนี้ อาจจะดู เหมือนว่าดีต่อจีนแต่ในความเป็นจริงแล้ว จีน เหมือนถูกสถานการณ์บังคับให้เข้ามายืนอยู่ในจุด ที่ต้องมาเป็นผู้นาโดยที่ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับ ด้วย ซึ่งในอดีต ผู้นาของจีนต่างสนใจแค่เรื่องใน ประเทศ มุ่งแต่หาประโยชน์ของประเทศตัวเอง โดยที่พยายามไม่มีบทบาทมากนักในกิจการโลก ตอนนี้ จีนกลายเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โลกาภิวัตน์แล้ว และถูกมองว่าเป็ นคนที่มี ศักยภาพที่จะมาทาหน้าที่แทนสหรัฐฯ ในปัจจุบัน จีนจะต้องคิดมากขึ้นแล้วในการที่จะทาอะไรใน ทะเลจีนใต้เพราะการกระทาของจีนสร้าง ผลกระทบมากขึ้น จีนไม่ใช่มหาอานาจระดับ ภูมิภาคแล้ว แต่จีนเป็นมหาอานาจระดับโลก แม้แต่ผู้นาที่มีความมั่นใจมากอย่างสี จิ้นผิง ก็คงรู้สึกว่านี่เป็นบทบาทที่ท้าทายของเขา ในฐานะผู้นาของประเทศจีน เพราะนี่เป็นครั้ง แรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่จีนบรรลุ เป้ าหมายที่ตนฝันถึงมานาน นั่นคือการเป็น มหาอานาจระดับโลก กระนั้น จีนก็กาลังเริ่ม ตระหนักขึ้นเรื่อยๆ ถึงภัยของการขึ้นมาเป็น มหาอานาจระดับโลก อ้างอิง Kerry Brown. Why China smiles at Trump. Chatham House. OCTOBER & NOVEMBER 2017. อ อ น ไ ล น์ https://www.chathamhouse.org/ system/files/publications/twt/Why% 2 0 C h i n a % 2 0 s m i l e s % 2 0 a t % 20Donald%20Kerry%20Brown.pdf.
  • 17. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 14 ทิศทางของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ ภายใต้การนาของสีจิ้ นผิง ที่ ม า ภ า พ : https://static.independent.co.uk/s3fs-public/styles/article_small/public/thumbnails/image/2017/01/17/13/xi- จีนได้จัดเวทีประชุมความริเริ่มเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 ขึ้นเป็นครั้งแรก (Belt and Road Forum) ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อ 14-15 พฤษภาคม 2017 ที่ผ่านมา มี ผู้นาและผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการประชุม แสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสาคัญอัน ยิ่งยวดของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ (One Belt One Road - OBOR) จีนได้ประกาศ OBOR ช่วงปลายปี 2013 ภายใต้การริเริ่มของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มุ่งหมายให้เส้นทางสายไหมทั้งทางบก และทางทะเลช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุนและแผ่ขยายโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟความเร็วสูงของ จีนไปยังประเทศกาลังพัฒนา 65 ประเทศ ในทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป
  • 18. 15 | WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017 การดาเนินยุทธศาสตร์นี้โดยสี จิ้นผิง ซึ่ง เป็นผู้นาลาดับที่ 5 ของจีนที่ได้รับสถานะให้เป็น ผู้นาสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวจากคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีน (core leader) ทาให้เกม ยุทธศาสตร์ที่มีสถานะระหว่างประเทศของจีนเป็น เดิมพันนี้ น่าจับตามองไม่น้อยว่าสี จิ้นผิงจะวาง บทบาทจีนในประชาคมระหว่างประเทศอย่างไร OBOR จะนาจีนก้าวสู่การเป็ นผู้นาด้านการ พัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้หรือไม่ และความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา จะราบรื่นหรือย่าแย่ลงหรือไม่ อย่างไร บท วิเคราะห์เรื่อง Xi’s Vision for China’s Belt and Road Initiative ชิ้นนี้ของนาย Paul Haenle ผู้อานวยการศูนย์ Carnegie-Tsinghua สาขาใน จีนของ Carnegie Endowment for International Peace Think Tank ชั้นนาของสหรัฐอเมริกา ได้ ให้คาตอบไว้อย่างชัดเจน เดิมที OBOR เริ่มต้นจากการวางกรอบ ความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างจีนและ ประเทศในเอเชียกลางที่ไม่เพียงแต่ช่วยสนับสนุน ด้านเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยยกระดับความเชื่อมโยง ในระดับภูมิภาค รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนในประเทศที่เข้าร่วม OBOR ด้วย ซึ่งสี จิ้นผิงอธิบายถึง OBOR ว่าเป็นชุมชนที่ เปรียบเสมือนการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันทาง ภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่มีจุดประสงค์ เดียวกัน อาทิ การยึดถือหลักอธิปไตยแห่งชาติ และการป้ องกันศัตรูร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มก่อการ ร้าย กลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แน่นอนว่าคุณลักษณะผู้นาของสี จิ้นผิงที่ แตกต่างจากผู้นาจีนในอดีต เช่น ความ ทะเยอทะยานและความมั่นใจ ทาให้เขาสามารถ รวมอานาจและสร้างความชอบธรรมในการ ผลักดันยุทธศาสตร์ใหญ่อย่าง OBOR ทั้งในจีน และระดับโลกได้เพื่อทาให้จีนกลับมายิ่งใหญ่อีก ครั้งในเวทีระหว่างประเทศ สี จิ้นผิงได้เข้าร่วม เวทีระหว่างประเทศหลายเวที เช่น เขาเป็นผู้นา จีนคนแรกที่เข้าร่วมการประชุม World Econom- ic Forum ในเดือนมกราคม 2017 ณ เมือง ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ และการประชุมผู้นา G20 ณ เมืองฮัมบวร์ก เยอรมนี แสดงให้เห็นว่า เขาได้ รับความเชื่ อมั่นจากผู้ นาทั่วโลก ขณะเดียวกันเขาก็ได้รับความไว้วางใจจาก ประชาชนชาวจีน เพราะช่วยส่งเสริมและรักษา ผลประโยชน์ของจีนในเวทีระหว่างประเทศไว้ได้ สี จิ้นผิงได้กล่าวถ้อยแถลงสาคัญ ณ เมือง ดาวอส ว่าจีนจะยืนหยัดสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ในโลกที่มีพลวัตอย่างสูง (economic globaliza- tion) รวมทั้งต่อต้านนโยบายการค้าแบบกีดกัน (protectionism) เน้นย้าถึงการค้าเสรี และมุ่งเป็น ผู้นาด้านการพัฒนาระดับโลกผ่าน OBOR สิ่ง เหล่านี้เรียกว่าโลกาภิวัตน์แบบใหม่หรือโลกาภิ วัตน์ 2.0 ภายใต้การนาของจีนและโลก ตะวันออก แต่แนวคิดนี้กลับปะทะกับแนวคิดเดิม ของโลกตะวันตกภายใต้การนาของสหรัฐอเมริกา แม้ว่านักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ในจีน ต่างมีความคิดเห็นว่า OBOR เป็นโครงการริเริ่ม ทางเศรษฐกิจที่มอบประโยชน์ให้แก่ภูมิภาคและ โลกก่อนเป็นลาดับแรก เพราะการลงทุนและการ พัฒนาที่ลงทุนให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านของจีนจะ ส่งผลให้ภูมิภาคเข้มแข็ง
  • 19. WORLD THINK TANK Monitor ตุลาคม 2017| 16 เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรือง แล้วต่อมาจีนถึงจะ ได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ OBOR ยังจะช่วย พัฒนาให้จังหวัดทางภูมิภาคตะวันตกอัน แร้นแค้นของจีนเจริญยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นช่องทาง ที่จีนจะระบายสินค้าส่งออกที่ล้นเกินไปยัง ต่างประเทศด้วย จีนพยายามอธิบายว่าจีนริเริ่ม OBOR ขึ้นมาเพียงเพื่อเป็นสถาบันที่ช่วยสะท้อน ให้เห็นสภาวะโลกในปัจจุบัน และรับมือกับปัญหา ร่วมสมัยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โลกตะวันตกกลับ เคลือบแคลงสงสัยและมองว่า OBOR เป็นความ พยายามของจีนที่จะแผ่อิทธิพลทางการเมืองและ ภูมิยุทธศาสตร์ผ่านระเบียบโลกใหม่ การปู เส้นทางการค้าและโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุม หลายประเทศในฐานะ soft power ของจีนในครั้ง นี้ อาจช่วยส่งเสริมความสามารถของจีนในการ พัฒนาโครงการทางทหาร (hard power) ใน อนาคตได้เช่นกัน ดังนั้น บทความของ Carnegie -Tsinghua ชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า จีนจึงต้อง ดาเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังและตั้งอยู่ บนแนวทางที่สอดคล้องกับประเทศมหาอานาจ เดิมอย่างสหรัฐอเมริกาด้ วย จีนควรนา สหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วเข้ามามี ส่วนร่วมในเวทีของ OBOR จะต้องไม่กีดกัน ประเทศเหล่านี้ออกไปเพื่อลดความหวาดระแวงที่ อาจนาไปสู่สงคราม ด้ านสหรัฐอเมริกาก็จาเป็ นต้ องใช้ ยุทธศาสตร์การเกี่ยวพันอย่างสร้างสรรค์ (constructive engagement) กับ OBOR ซึ่งเป็น แนวทางสายกลางที่ทาให้สามารถสร้างความ ร่วมมือกับจีนและประเทศอื่นที่มีผลประโยชน์ ซ้ อนทับอยู่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาไม่ควรมองว่าจีนเป็นศัตรู หรือ คัดค้านข้อเสนอและหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมเหมือน เมื่อครั้งที่จีนประกาศก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastruc- ture Investment Bank - AIIB) เ พ ร า ะ สหรัฐอเมริกาจะสูญเสียประโยชน์ทั้งหมด การจัด ให้มีการประชุมทวิภาคีอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้นาสหรัฐอเมริกา-จีน เช่น การประชุมร่วมกัน ร ะ ห ว่ า ง สี จิ้ น ผิ ง แ ล ะ โ ด นั ล ด์ ท รั ม ป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันที่รีสอร์ท Mar-a-Lago ณ มลรัฐฟลอริดา เมื่อเดือน เมษายน 2017 ที่ผ่านมา ได้ช่วยเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ มี เสถียรภาพและความเข้าใจระหว่างกันยิ่งขึ้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าทิศทางของระเบียบ โลกภายใต้การนาของประเทศมหาอานาจเดิม อย่างสหรัฐอเมริกา และประเทศที่กาลังก้าวขึ้นมา เป็นมหาอานาจใหม่อย่างจีน คงไม่ทาให้โลกต้อง ลุกเป็นไฟจากสงครามเหมือนในอดีต หากยังคง มีการประชุมระหว่างกันอย่างต่อเนื่องและ สามารถตกลงกันได้ถึงผลประโยชน์แห่งชาติของ ทั้งสองประเทศร่วมกัน แต่ก็ต้องไม่ละเลยที่จะ วิเคราะห์ท่าทีของผู้นาอย่างสี จิ้นผิงและโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีอานาจอยู่เต็มมือซึ่งอาจทาให้ สถานการณ์โลกพลิกผันก็เป็นได้ อ้างอิง Paul Haenle. Xi’s Vision for China’s Belt and Road Initiative. Carnegie-Tsinghua. MAY 0 9 , 2 0 1 7 . ออนไลน์ h t t p : / / carnegietsinghua.org/2017/05/09/xi-s- vision-for-china-s-belt-and-road-initiative- pub-69890.
  • 20. ไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เอนกทรรศน์ ศ.ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เศรษฐศาสตร์ บนทางสายกลาง ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State) อาทิตย์ ทองอินทร์ สั่งซื้อได้ที่ ... 1 ) ร้านหนังสือออนไลน์ : CPWIBOOKS.lnwshop.com 2) เบอร์โทรศัพท์ 02-938-8826 (ในเวลาราชการ) 3) Facebook Page : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ CPWI Bookstore
  • 21. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัย รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 จากดาริ ของศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยความเห็นชอบ และสนับสนุนจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย รังสิต เนื่องด้วยความปรารถนาที่ต้องการให้เป็นคลังปัญญาด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีพันธกิจดังนี้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ชี้นาแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อการ พัฒนาประเทศอย่างมีสุขภาวะท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค บูรพาภิวัตน์ 2. หนุนเสริมพลังความคิดและความรู้ทางวิชาการ ระหว่างสถาบัน ทางวิชาการต่างๆ ในประเทศให้เกิดการเชื่อมโยงศึกษาต่อย่อยประเด็น วิชาการเพื่อการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ 3. เป็นแหล่งรวมนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และผู้นาที่มี ประสบการณ์ เพื่อร่วมระดมความคิด หาทางออกและชี้แนะแนวทาง ยุทธศาสตร์เพื่ออภิวัฒน์ประเทศไทย 4. เปิดพื้นที่ทางความคิดและเชื่อมโยงภาคีต่างๆ ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดอย่างสร้างสรรค์ 5. เป็นสื่อกลางเผยแพร่ความรู้จากนักคิด นักยุทธศาสตร์ และ นักวิชาการ ผ่านช่องทางสื่อสาธารณะ เพื่อให้สาธารณะสามารถเข้าถึง เพื่อการเรียนรู้กับสังคมในวงกว้าง สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้ริเริ่มจัดทาโครงการ คลังปัญญาเพื่อการอภิวัฒน์ ประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Klangpanya” โดยการสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีความปรารถนาที่จะเป็นคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ โดยรวบรวม นักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และผู้นาที่มีประสบการณ์ มาระดมความคิด เพื่อกรองประเด็น ออกมาเป็นทั้งความรู้และข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์ ผ่านการจัดเวทีการประชุมต่างๆ เช่น เวทียุทธศาสตร์ ที่มีการจัดมาอย่างต่อเนื่อง
  • 22. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900