SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 30
Baixar para ler offline
RESILIENCE
ทางออกของการจัดการน้ําทวมที่ยั่งยืน
³Ñ°¸Ô´Ò àÂ็¹ºํÒÃا
¼ÙŒª‹Ç¹ѡÇÔ¨ÑÂ
ÈٹÈÖ¡ÉÒÁËÒ¹¤ÃáÅÐàÁ×ͧ ÇÔ·ÂÒÅÑÂÃÑ°¡Ô¨ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÃѧÊÔµ
à«Õ่§äÎŒ(上海)
¾Ñ²¹Ò¡ÒÃÊÙ‹àÁ×ͧÃдѺâÅ¡
เซี่ยงไฮ้
พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เรียบเรียง : ณัฐธิดา เย็นบํารุง
บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบํารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
ปก : ณัฐธิดา เย็นบํารุง
รูปเล่ม : ณัฐธิดา เย็นบํารุง
ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
ผู้สนับสนุน : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทนํา 1
พัฒนาการของการวางผังเมืองและการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ 2
1. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1843 - 1949 : จากเมืองเล็กไปสู่การเป็นมหานคร 2
2. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1949 – 1990 : เมืองสังคมนิยมอุตสาหกรรม 6
3. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปี 1991 – 2010 : การพัฒนาสู่เมืองระดับโลก 8
เซี่ยงไฮ้วันนี้ : สู่ศตวรรษใหม่และความท้าทาย 18
ภาคผนวก 21
1
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
หากพูดถึงเมืองที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดเมืองหนึ่งของโลก คงหนีไม่พ้นต้องพูดถึงการพัฒนา
เมืองของเซี่ยงไฮ้ ที่จากเป็นเพียงแค่หมู่บ้านเล็กๆ มาวันนี้กลับกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินระดับ
โลก ความใหญ่โตของเซี่ยงไฮ้ทัดเทียมกับเมืองใหญ่ของโลก เช่น วอชิงตัน ดี.ซี. โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ก
ปารีส ในปี 2015 เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในโลก เกือบ 24 ล้านคนในเมืองเดียว เซี่ยงไฮ้เป็น 1
ใน 4 เมืองปกครองพิเศษของจีน1
เขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล
พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง
เซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ทางใต้ของปากแม่นํ้าแยงซีในตอนกลางของชายฝั่งตะวันออกของจีน เซี่ยงไฮ้เป็นเมือง
ศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ของภูมิภาค เป็นศูนย์กลางการขนส่ง มีท่าเรือที่มีจํานวนเรือคับคั่งที่สุดใน
โลก เป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน การลงทุน รวมถึง ด้านแฟชั่น และการท่องเที่ยว โดยการผลักดันของ
รัฐบาลซึ่งให้นครเซี่ยงไฮ้ก้าวขึ้นเป็นผู้นํา ขณะนี้เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เป็นประตู
เศรษฐกิจของประเทศ และเป็นจุดเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกให้กับจีน เซี่ยงไฮ้สร้างและพัฒนาเมือง
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1990 ทําให้รัฐบาลจีนจะใช้เซี่ยงไฮ้เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้าง
เมืองอื่นๆ ในจีน ทําให้เมืองเซี่ยงไฮ้จึงกลายเป็นเมืองการศึกษาที่สําคัญแห่งหนึ่งในประเทศจีน
เซี่ยงไฮ้ก้าวหน้าเช่นทุกวันนี้ได้ กลไกสําคัญส่วนหนึ่งมาจากการสร้างเมืองที่ดี โดยเฉพาะด้าน
กายภาพ แม้ว่าด้านกายภาพจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวของการสร้างเมือง แต่การพัฒนาเมืองใหม่ขนาดใหญ่ของ
ประเทศจีนในปัจจุบันล้วนแล้วแต่เน้นการพัฒนาทางกายภาพก่อน เพราะหากเมืองมีโครงสร้างเมืองที่ดี ย่อม
เป็นสิ่งที่ดีต่อการพัฒนาเมืองในด้านอื่นๆ เช่น เสริมสร้างเศรษฐกิจเมือง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน
เมือง ดังนั้น หากศึกษาเมืองของจีนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาจึงต้องสนใจศึกษาการพัฒนาเมืองด้านกายภาพ
จะทําให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการสร้างเมืองที่จะวางเมืองนั้นให้มีทิศทาง เช่น เป็นเมืองท่า เมืองการลงทุน เป็น
ต้น บทความนี้จึงสนใจการพัฒนาเมืองของจีน โดยเฉพาะด้านกายภาพ ซึ่งจะแบ่งการพัฒนาเมืองของเซี่ยง
ไฮ้เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1843 – 1949 ยุคที่ 2 การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1949
– 1990 ยุคที่ 3 การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปี 1991 – 2010 และการสรุปบทเรียนปัจจัยความสําเร็จและ
ปัญหาของการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้
1
ปัจจุบันประเทศจีนมีเมืองที่มีรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ทั้งหมด 4 เมืองด้วยกัน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง
2
พัฒนาการของการวางผังเมืองและการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้
เมืองเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ระหว่างสองฝั่งทางเศรษฐกิจที่สําคัญของจีน ได้แก่ ชายฝั่งตะวันออกและแม่นํ้า
แยงซี เซี่ยงไฮ้ถูกกระตุ้นและพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทําให้
เซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 1840 ปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองใหญ่ระดับ
โลก จากเมืองเล็กๆ เซี่ยงไฮ้เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร การพัฒนาเซี่ยงไฮ้มีประมาณ 3 ยุค2
โดยแต่
ยุคนั้นจะสะท้อนให้เห็นว่าเซี่ยงไฮ้มีการพัฒนาของแต่ละยุคแตกต่างกันไป มีพัฒนาการและเหตุการณ์สําคัญ
ดังนี้
1. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1843 - 1949 : จากเมืองเล็กไปสู่การเป็นมหานคร
เมืองเซี่ยงไฮ้เดิมในอดีตที่เป็นเมืองค้าขายขนาดกลาง เนื่องจากสถานที่ตั้งของเมืองอยู่ติดกับแม่นํ้า
แยงซี ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสําคัญทั้งกับต่างชาติผ่านทางออกปากแม่นํ้าแยงซี เชื่อมต่อโดยตรงกับ
มหาสมุทรแปซิฟิก
ในช่วงทศวรรษที่ 1840 เซี่ยงไฮ้เปลี่ยนไปจากผลของสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ที่รัฐบาลของราชวงศ์ฉิง
หรือรัฐบาลของประเทศจีนพ่ายแพ้ต่อประเทศอังกฤษ และต้องลงนามสนธิสัญญานานกิง ในปี 1842 เพื่อยุติ
สงคราม จีนต้องเปิดเมืองท่าชายทะเล 5 แห่งได้แก่ กวางโจว เซียะเหมิน ฟูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ หรือที่
เรียกกันว่า Treaty ports รวมทั้งยกฮ่องกงให้เป็นเขตเช่าของอังกฤษด้วย ภายหลังมีฝรั่งเศสและอเมริกาเข้า
ยึดขอแบ่งพื้นที่ทําการค้าด้วย เซี่ยงไฮ้อยู่ในยุคของการเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส สอง
ประเทศได้ทําการแบ่งสัมปทานครอบครองเมืองเซี่ยงไฮ้ ภายใต้การครอบงําของสองชาติตะวันตกนี้หลายสิบ
ปี ทําให้เซี่ยงไฮ้มีการหลั่งไหลเข้ามาของคนต่างชาติและคนจีนที่ต้องการเข้ามาแสวงหาโอกาสการประกอบ
อาชีพ เซี่ยงไฮ้จึงกลายเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมทางการใช้ชีวิตการค้าที่หลากหลาย มีความเป็นอยู่แบบสากล
และการใช้ชีวิตแบบสังคมโลก (Cosmopolitanism) มาตั้งแต่สมัยนี้แล้ว
ด้วยการเป็นเมืองท่าและการอยู่ภายใต้อาณานิคมของตะวันตก ทําให้เศรษฐกิจการค้าของเมือง
เซี่ยงไฮ้ โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1920 – 1930 รุ่งเรืองมาก เรียกได้ว่าช่วงนี้ คือ ยุคทองของเซี่ยงไฮ้
(Golden era of modern shanghai) ด้วยความเจริญเติบโตการค้า ทําให้ภาคการเงินของเซี่ยงไฮ้
เจริญเติบโตตามเศรษฐกิจของเมือง2
และทําให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเศรษฐกิจภาค
ตะวันออกของโลก
2
เมืองที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมืองที่มีท่าชายฝั่ง ภาคการเงินจะเจริญเติบโตมาก เนื่องจากภาคการเงินเป็นภาคบริการที่เกิดขึ้น
เพื่อรองรับด้านเศรษฐกิจ การเงินการธนาคารโดยเฉพาะการกู้เงิน การลงทุน จึงเฟื่องฟูมากในเมืองเซี่ยงไฮ้
3
รูปที่ 1 ภาพบริเวณหาดไว่ทันเมื่อปี 1930 หลังจากที่เซี่ยงไฮ้เปิดประตูในฐานะเมืองท่า กลายเป็นศูนย์กลางทาง
เศรษฐกิจที่สําคัญของตะวันออก (ที่มา Virtual Shanghai Project, National Research Agency, Republic of France)
ย้อนกลับไปปี 1840 ที่เซี่ยงไฮ้ถูกบังคับเปิดเมืองเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ทําให้เขตพื้นที่ริมแม่นํ้าห่วงผู่
(Huangpu) ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือกลายเป็นแหล่งพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองมากที่สุด (ปัจจุบันคือบริเวณ Lao-
Cheng-Xiang เมืองเก่าของเซี่ยงไฮ้) บริเวณนี้ความยาวเกือบ 2 กิโลเมตร (รูปที่ 2) เป็นบริเวณที่
ชาวต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นพื้นที่ที่ถูกจัดไว้ให้มีแต่ชาวต่างชาติ เพื่อแยกการตั้งถิ่นฐานออกจากคนจีน
ทําให้เมืองเซี่ยงไฮ้เป็นที่มีโครงสร้างของเมืองแบบ 2 ลักษณะมาโดยตลอด
หลังจากเกิดเหตุการณ์กบฏไท้ผิง3
ซึ่งกระทบมาถึงคนจีนในเซี่ยงไฮ้ ทําให้คนจีนในเซี่ยงไฮ้หนีมาตั้ง
ถิ่นฐานในบริเวณของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ยิ่งทําให้เขตพื้นที่นี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และบริเวณดังกล่าว
ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญและเป็นพื้นที่หลักของเมืองเซี่ยงไฮ้ด้วย (รูปที่ 3 ) (รูปที่ 4)
3
เป็นกบฏครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ช่วงปี ค.ศ. 1850-1864 มีผู้นําคือ หง ซิ่วเฉฺวียน เหตุการณ์กบฏไท่ผิงนับเป็นการกบฏครั้ง
สําคัญที่รุนแรงที่สุดในยุคแห่งการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยในเหตุการณ์กบฏนี้ มีทหารและประชาชนล้มตายลงมากกว่ายี่สิบล้านคน
นับเป็นหนึ่งในเหตุวิปโยคในหน้าประวัติศาสตร์ของโลกอ่านเพิ่มได้ที่ Thaichinese.net
4
เมืองเซี่ยงไฮ้ผ่านการปกครองหลายรัฐบาลเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล
ใด เซี่ยงไฮ้ก็ถูกใช้เป็นเมืองท่าที่สําคัญในการประกอบกิจการการค้าขายและการเดินเรือผ่านทางวัฒนธรรม
ทางการค้าของรัฐบาลนั้นๆ ด้วยสาเหตุนี้เองทั้งลักษณะทางกายภาพและวัฒนธรรมของเมืองเซี่ยงไฮ้ถูก
พัฒนาขึ้นเป็นลําดับเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานทางการค้าและนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
ผู้ปกครองเมือง ส่งผลให้ภาพลักษณ์และความสําคัญของเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นไปในลักษณะของเมืองที่มีหน้าที่
ในการรับใช้ทางเศรษฐกิจ มากกว่าเป็นเมืองที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม4
กระบวนการสร้างและพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกับการพัฒนาเมือง
ใหญ่ๆ ของประเทศทางตะวันตก ทําให้ประชากร ขนาดเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ ถูกเปรียบเทียบกับการพัฒนา
เมืองของตะวันตกตั้งแต่ยุคนี้แล้ว ด้วยการพัฒนาที่เติบโตไม่แตกต่างกัน ทําให้เซี่ยงไฮ้เผชิญปัญหาของการ
เป็นเมืองใหญ่ไม่แตกต่างจากการพัฒนาเมืองแบบตะวันตก เช่น สลัม เป็นต้น แต่ความแตกต่างของการ
พัฒนาเมืองของเซี่ยงไฮ้ และประเทศตะวันตก แตกต่างกันที่เมืองของประเทศตะวันตกถูกพัฒนาด้วยปัจจัย
ภายในของประเทศ แต่เมืองเซี่ยงไฮ้ถูกพัฒนาด้วยปัจจัยภายนอก เช่น การตั้งถิ่นฐานของตะวันตก การ
เชื่อมเศรษฐกิจจากทั่วโลก
รูปที่ 2 แผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ก่อนศตวรรษที่ 19 (ที่มา the history of shanghai urban planning)
4
บทบาทของการเมืองในการออกแบบเมือง : สี่บทเรียนจาก เมืองใหม่ผู่ตง ในเซี่ยงไฮ้ เขียนโดย นน อัครประเสริฐกุล เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ
ด้านการวางแผนภาคและเมือง ประจําปี 2550 เรื่อง การฟื้นฟูเมือง
5
รูปที่ 3 แผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1853 (ที่มา Native Place, City, and Nation Regional Networks and Identities in
Shanghai, 1853-1937 Bryna Goodman)
รูปที่ 4 แผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1912 ที่มา Perry-Castañeda Library Map Collection)
6
2. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1949 – 1990 : เมืองสังคมนิยมอุตสาหกรรม
การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ยุคที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากเหมา เจ๋อตุง ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(PRC) ในปี 1949 จากความบอบชํ้าจากสงครามก่อนก่อตั้งประเทศสําเร็จ ทําให้จีนต้องเร่งพัฒนาประเทศ
อย่างเร่งด่วน หลังจากเพิ่งก่อตั้งประเทศใหม่ กําหนดให้เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองหลักในการสร้างเศรษฐกิจให้กับ
ประเทศ ใช้นโยบายมุ่งเน้นการประกอบอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต อันจะนํามาซึ่ง
ความพออยู่พอกินของส่วนรวมในแบบลัทธิคอมมิวนิสต์มากกว่าการค้าขาย ซึ่งโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจ
ลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต
ด้วยการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมหนัก ทําให้เซี่ยงไฮ้ได้เปลี่ยนจากเมืองที่เป็นศูนย์กลางการเงินไปสู่
การเป็นเมืองศูนย์กลางการผลิตที่ครบวงจร ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีควบคุมและวางแผนทุกอย่างจาก
รัฐบาลกลาง หลังจากเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมการผลิต เซี่ยงไฮ้ได้กลายเป็นเมืองแห่งการผลิต สร้างรายได้
1 ใน 6 ของรายได้ประชาติจีน ขณะที่ประชากรในเมืองมีแค่ 1% ของประชากรประเทศจีน
แม้ว่าประเทศจีนจะได้รับอิทธิพลแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต คือการลดกําลัง
การผลิตอุตสาหกรรมเบาให้เปลี่ยนเป็นมาเน้นผลิตอุตสาหกรรมหนัก แต่เซี่ยงไฮ้ยังคงทําหน้าที่เป็น
ศูนย์กลางการผลิตแบบครบวงจรได้อย่างสมดุล เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมการผลิตทางเรือ อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมสําคัญอื่นๆ คนจีนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าที่
ผลิตในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าซื้อ มีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพที่ดี เพราะมีการควบคุมการ
ผลิตจากรัฐบาลกลาง เช่น จักรยาน จักเย็บผ้า นาฬิกา และวิทยุ เป็นต้น ทําให้ความต้องการซื้อสินค้า
ภายในประเทศของคนจีนจึงมีจํานวนมาก
ในช่วงการพัฒนาของยุคเหมา เจ๋อ ตุง ตั้งแต่ปี 1949 เป็นต้นมา ประชากรในเมืองเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นถึง
2 เท่า จากช่วงต้นทศวรรษ 1950 มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน ในปี 1982 เซี่ยงไฮ้มีจํานวนประมาณถึง
12 ล้านคน (Yongjie Sha,2013) สาเหตุที่ประชากรเซี่ยงไฮ้เติบโตนอกเหนือจากการเติบโตแบบธรรมชาติ
คือ เกิดจากการที่ประชากรอพยพหลั่งไหลเข้ามาทํางานในเซี่ยงไฮ้ หลังจากที่เมืองถูกพัฒนาให้เป็นแหล่ง
อุตสาหกรรม ทําให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองขยายตัวออกไปจากเขตอุตสาหกรรมหรือใจกลาง
ของเมือง (เขตริมแม่นํ้าห่วงผู่) (รูปที่ 5) ออกไป แต่จริงๆ แล้ว พื้นที่ตรงนี้อาจจะเรียกว่าพื้นที่เมืองได้ไม่เต็ม
ปากนัก เนื่องจากบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานขนาดใหญ่ ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จึงเป็นที่อยู่อาศัย
ของคนงานที่สร้างขึ้น แต่แหล่งการใช้ชีวิต สิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ของผู้คนที่รัฐบาลจัดให้ทั้งหมดอยู่
บริเวณรอบนอก เช่น โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม และสถานบริการด้านสุขภาพ เป็นต้น
7
รูปที่ 5 แผนที่การขยายตัวของเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1840 – 1982 (ที่มา Shanghai planning and land resource
administration bureau)
ประเทศจีนใช้แนวคิดสังคมนิยมเต็มรูปแบบในการพัฒนาประเทศ บริษัทและหน่วยธุรกิจอยู่ภายใต้
การกําหนดจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามเซี่ยงไฮ้ไม่ได้พัฒนาเมืองแบบครบถ้วน สถาบันที่มีบทบาทในการ
พัฒนา เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ส่วนใหญ่ล้วนสนใจพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตมากกว่าการ
พัฒนาเมือง ส่วนบริการทางสังคมของประชากร รัฐบาลเป็นผู้จัดหาทั้งหมด ช่วงเวลาการพัฒนาเมืองของ
เซี่ยงไฮ้ รัฐบาลได้ใช้ระบบทะเบียนบ้าน หรือที่เรียกว่า hukou เป็นระบบให้ผู้ที่ย้ายออกจากเมืองเดิมของ
ตนเอง ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในเขตเมือง ผู้ที่ย้ายเข้ามาใหม่จะได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางสังคม
เช่น การเข้าถึงการรักษา การศึกษา เป็นต้น เป็นแรงจูงใจหนึ่งในการพาคนเข้ามาอยู่ในเขตเมืองและง่ายต่อ
การบริหารจัดการ
แม้จะมีจํานวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ภาคการผลิตถีบตัวสูงขึ้น แต่การขยายตัวครั้งนี้ไม่ได้ส่งผล
กระทบต่อโครงสร้างพื้นที่เมืองเท่าไหร่นัก ไม่มีการเติบโตด้านกายภาพอย่างมีนัยสําคัญเท่าที่ควร แต่พื้นที่
หลักหรือพื้นที่ใจกลางเซี่ยงไฮ้ก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคนี้ เช่น บริเวณถนนหนานจิง (Nanjing
Road) ในเวลานั้นก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่มีชื่อเสียง ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะ
กับชาวต่างชาติ ทําให้พื้นที่ดังกล่าวมีความแออัดมาก
8
ในปี 1978 ถึง ปี 1990 ยังเป็นช่วงการปฏิรูปและการเปิดประเทศจีน รัฐบาลได้พัฒนาพื้นที่ปาก
แม่นํ้าเพิร์ล (Pearl River Delta) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเสิ่นเจิ้น (Shenzhen) ให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจและ
เป็นเมืองใหม่ของจีน ส่งผลกระทบต่อเมืองเซี่ยงไฮ้ แม้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้จะ
ค่อนข้างดี แต่ขณะนั้นกลับเติบโตสู้กับพื้นที่ปากแม่นํ้าเพิร์ลไม่ได้ ความสําคัญทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ช่วง
นี้ได้ลดลง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของคนในเซี่ยงไฮ้ ณ ขณะนั้น ช่วงปี 1990
ดัชนีวัดคุณภาพชีวิตของคนเซี่ยงไฮ้ตํ่าลงเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สีเขียวต่อประชากร การบริการ
สาธารณะ เป็นต้น ความหนาแน่นในเมืองเซี่ยงไฮ้ทําให้เกิดสลัมหลายพื้นที่อีกด้วย
3. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปี 1991 – 2010 : การพัฒนาสู่เมืองระดับโลก
นโยบายเปิดประเทศของจีน ทําให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองหลักของประเทศ พร้อมๆ กับการเกิด
เมืองอีกหลายเมืองของจีน5
ในปี 1991 เมืองเซี่ยงไฮ้ได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ จากยุทธศาสตร์และ
นโยบายของรัฐบาลกลางที่ต้องการเปิดตัวให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองระดับโลก รัฐบาลได้พัฒนาเขตพื้นที่ผู่ตง
(Pudong) ซึ่งเป็นพื้นที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่นํ้าแยงซีในเมืองเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตที่สามารถติดต่อกับ
ต่างประเทศในทุกด้านได้อย่างสมบูรณ์ และเริ่มก่อตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี รวมทั้งออก
นโยบายใหม่เกี่ยวกับการตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ เตรียมรองรับเศรษฐกิจและผลักดันให้
เซี่ยงไฮ้กลายเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ของโลกในทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการค้า
 การพัฒนาเขตผู่ตง (Putong) : การดึงเอกชนไทยร่วมพัฒนาเมือง6
หลัง ค.ศ. 1978 รัฐบาลเมืองเซี่ยงไฮ้ได้รับนโยบายให้ผลักดันการพัฒนาต่อเพื่อการทําให้เซี่ยงไฮ้
กลายเป็นเมืองที่ทํารายได้สําคัญให้กับประเทศจีนยุคใหม่ ดังคํากล่าวของประธานาธิบดี เติ้ง เสี่ยว ผิง ให้
เมืองเซี่ยงไฮ้ “เป็นหัวของมังกร” เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ การคมนาคม
สะดวก มีท่าเรือ และได้รับอิทธิพลจากต่างชาติสูงจากการเป็นเขตเช่าของอังกฤษ และฝรั่งเศส เซี่ยงไฮ้
เชื่อมโยงกับตลาดโลกอยู่แล้ว และแรงงานส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ดี ต่อมาจูหรงจี (Zhu Rongji)
นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ในสมัยนั้นตอบรับแนวคิดของรัฐบาลกลาง พร้อมกับมีแนวคิดสร้างเมืองใหม่
ผู่ตง (Pudong) (รูปที่ 6 บริเวณวงกลมสีแดง) เนื่องจากมองเห็นว่าฝั่งผู่ซี (รูปที่ 6 ฝั่งซ้ายของแผนที่) มีระบบ
5
ค.ศ. 1991 จีนประกาศเปิดเมืองชายแดนจํานวน 4 เมือง ได้แก่ หม่านโจวหลี่ (ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศ
มองโกเลียและรัสเซีย) ตานตง (ในมณฑลเหลียวหนิง ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเกาหลีเหนือ) สุยเฟินเหอ (ในมณฑลเฮยหลงเจียง ซึ่งมี
ชายแดนติดกับประเทศรัสเซีย) และหุนชุน (ในมณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศรัสเซียและเกาหลีเหนือ)
6
ข้อมูลทั้งหมดจาก บทสัมภาษณ์ของคุณธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในรายการ CEOs Upclose
9
สาธารณูปโภคที่ดีและเพียงพอแล้ว จึงหันมาสนใจจะพัฒนาฝั่งผู่ตง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ว่าง เป็นท้องนา
มีโรงงานขนาดเล็กกระจัดกระจาย และเป็นที่อยู่ของชนชั้นแรงงาน แผนการพัฒนาเมืองใหม่นี้เป็นความ
คาดหวังว่าจะขยายขีดความสามารถของเมืองเซี่ยงไฮ้ และยิ่งไปกว่านั้นการสร้างเมืองใหม่นี้จะต้องเกิดขึ้น
บนพื้นฐานของความเป็นมหานครที่ไม่แตกต่างไปจาก นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน
รูปที่ 6 บริเวณเขตผู่ตง (ในวงกลมสีแดง) ของแผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1912 (ที่มา Perry-Castañeda Library Map
Collection)
วิธีเนรมิตเมืองใหม่ของเซี่ยงไฮ้ คือ จะไม่ขยายเมืองในพื้นที่เมืองเก่า เนื่องจากพื้นที่เมืองเก่าจะมีผัง
เมืองค่อนข้างเก่า รัฐบาลจีนจะขยายเมืองนั้นจะต้องใช้พื้นที่ใหม่เท่านั้น เพื่อที่จะได้วางระบบผังเมืองและ
สาธารณูปโภคใหม่ เช่น การจราจร การกําจัดนํ้าเสีย พื้นที่สาธารณะ เป็นต้น หากยังพัฒนาในเมืองเก่า ย่อม
แก้ไขผังเมืองได้ลําบาก นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้เอาจริงเอาจังกับการวางผังเมืองใหม่มาก ลงทุนจัดการ
ประกวดแบบการออกแบบเมืองใหม่ ขึ้นใน ค.ศ.1992 เชื้อเชิญสถาปนิก นักออกแบบเมืองที่มีชื่อเสียงและมี
ประสบการณ์มาเข้าร่วม ทั้งจากฝรั่งเศส อิตาลี อเมริกา อังกฤษ การประกวดครั้งนี้เป็นการประกวดแบบ
10
เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ฝั่งขวาแม่นํ้าหวงผู่ หรือเขตผู่ตง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจแห่งใหม่
หรือเป็น CBD (Central Business District) ของเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยมีย่าน “ลู่เจียจุ่ย” (Lujiazui) เป็นย่าน
ศูนย์กลาง สุดท้ายแล้วผลงานการออกแบบเมือง (รูปที่ 7) ของทีมสถาปนิกจากสถาบันการออกแบบเซี่ยงไฮ้
ได้รับเลือกให้เป็นรูปแบบในการพัฒนาเขตผู่ตง
รูปที่ 7 ผลงานการออกแบบย่านเศรษฐกิจลู่เจียจุ่ยในเมืองใหม่ผู่ตง ของทีมสถาปนิกจากสถาบันการออกแบบเซี่ยง
ไฮ้ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นแบบในการออกแบบเมือง (ที่มา Shanghai Municipality, Shanghai, China)
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP เจ้าของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและ
อาหารรายใหญ่ของไทย เริ่มลงทุนครั้งแรกในประเทศจีน โดยร่วมลงทุนในโครงการเกษตรอุตสาหกรรมที่
มณฑลกวางตุ้ง (Quangdong province) ช่วงประมาณปี 1983 CP มองหาการการลงทุนในเซี่ยงไฮ้ จึงขอ
เสนอแผนพัฒนาเมืองฝั่งผู่ตงให้กับรัฐบาลกลาง7
แต่รัฐบาลในขณะนั้นปฏิเสธข้อเสนอของ CP เนื่องจาก
รัฐบาลเห็นว่า CP ทําธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรและอาหาร อาจไม่เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการที่ดิน แต่ในขณะนั้น
ประเทศจีนเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจํานวนมาก ทํา
7
การลงทุนแล้วต้องเสนอแผนพัฒนาเมืองคู่กัน เนื่องจากรัฐบาลจีนมองว่าหากเอกชนจะลงทุนในจีน ต้องไม่ใช่แค่การลงทุนเรื่องธุรกิจ แต่จะต้อง
ทําแผนพัฒนาเมืองด้วย เพื่อให้ประชากรจีนได้รับประโยชน์ด้วย
11
ให้ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศจีนถอนตัวหมด โดยเฉพาะจากยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพราะเห็น
ว่าประเทศจีนน่าจะยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และคงจะไม่มีไปอีกนาน แต่ CP เล็งเห็นโอกาสในเมือง
เซี่ยงไฮ้ และพื้นที่ฝั่งผู่ตง แม้บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่ดินว่างเปล่า และโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดี แต่พื้นที่
ดังกล่าวเป็นพื้นที่ติดนํ้า ห่างจากฝั่งผู่ซี แค่แม่นํ้าหวงผู่กั้น ศาลาว่าการเซี่ยงไฮ้กําลังจะย้ายมาตั้งที่นี่ อีกทั้ง
กําลังจะสร้างสนามบินผู่ตงด้วย ฉะนั้น CP จึงยืนยันที่จะลงทุนต่อไป
รัฐบาลเซี่ยงไฮ้เห็นว่า CP เป็นเอกชนแห่งเดียวที่ยังเชื่อมั่นและจริงใจต่อประเทศจีน ประกอบกับ
ขณะนั้นจีนเริ่มเปลี่ยนระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากระบบวางแผนจากส่วนกลาง หันมาใช้
กลไกตลาดและเปิดประเทศมากขึ้น ผู้ว่าราชการนครเซี่ยงไฮ้จึงตอบรับแผนพัฒนาเมืองของ CP และได้มอบ
ที่ดินฝั่งผู่ตงจํานวน 250 ไร่ ให้ CP บริหารและพัฒนาเมือง เมื่อได้รับที่ดิน CP ตั้งบริษัทพัฒนาเมือง สร้าง
โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สร้างระบบไฟฟ้า นํ้าประปา และพัฒนาที่ดิน แบ่งที่ดินให้กับบริษัทต่างๆ ที่
สนใจลงทุน เช่น City Bank เป็นต้น และเก็บที่ดินส่วนหนึ่งไว้เพื่อสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หรือที่
เรียกว่า Superbrand mall ในช่วง 5 ปีแรก Superbrand mall ขาดทุนตลอด เนื่องจากฝั่งผู่ตงเป็นเมืองใหม่
และยังไม่มีคนเท่าไหร่นัก CP จึงซื้อรถบัส 60 คันเพื่อบริการคนเซี่ยงไฮ้ให้มาห้างสรรพสินค้าแบบฟรี
ประกอบกับสนามบินผู่ตง และรถไฟใต้ดินเปิดทําการ ทําให้คนเริ่มหลังไหลเข้ามาฝั่งผู่ตงมากขึ้น
ปัจจุบัน Superband mall กลายเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้ง และศูนย์กลาง
แหล่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดในผู่ตง มีคนใช้บริการกว่า 60,000 คนต่อวัน Superband mall เติบโตไปพร้อมกับ
เขตผู่ตงที่เติบโตเร็วมาก เขตผู่ตงกลายเป็นศูนย์กลางย่านธุรกิจหลักของเมือง (CBD) เป็นศูนย์กลางสถานที่
ราชการ เป็นเขตการผลิตและอุตสาหกรรม แหล่งห้างสรรพสินค้า และอาคารสํานักงานขนาดใหญ่อีก
มากมาย เขตผู่ตงได้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วภายใต้สโกแกนที่ว่า “การมีภาพลักษณ์ใหม่
ทุกปี และการเปลี่ยนแปลงที่น่าอัศจรรย์ในทุก 3 ปี” การเติบโตของเขตผู่ตงสะท้อนให้เห็นถึงความสําเร็จ
ของเมืองเซี่ยงไฮ้ในช่วงทศวรรษ 1990 – 2000 ได้ดีมาก (รูปที่ 8) เมื่อเขตพัฒนาผู่ตงเติบโตมาก เป็นผล
ทําให้ประชากรของเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นอีกมาก คือ ในปี 2011 ประชากรในเซี่ยงไฮ้ เพิ่มขึ้น เป็น 23 ล้านคนแล้ว
ซึ่งในช่วง 30 ปีประชากรของเซี่ยงไฮ้ เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว (แผนภาพที่ 1 ในภาคผนวก) ในขณะพื้นที่
เมืองเพิ่มขึ้นอีกจาก 1,000 กิโลเมตร เป็น 2,860 ตารางกิโลเมตร
12
1 2 3
รูปที่ 8 ผังเมืองรวมของเซี่ยงไฮ้ ปี 1980 – 1990 (1) ผังเมืองรวมเซี่ยงไฮ้ปี 1986 (2) ผังเมืองรวมเขตผู่ตง ปี 1991 (3) ผัง
เมืองรวมของเซี่ยงไฮ้ ปี 1990 – 2020 (ที่มา Shanghai planning and land resource administration Bureau)
รูปที่ 9 ฝั่งผู่ตงในปัจจุบัน ที่มา (Shanghai Municipality, Shanghai, China)
13
ในยุคการพัฒนาเมืองในยุคนี้ ความเป็นเมืองของเซี่ยงไฮ้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ด้านกายภาพ
มากกว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ซึ่งแตกต่างจากยุคก่อนหน้าที่ที่เมืองขยายตัวเพราะ
ประชากรมากกว่า ทําให้เกิดปัญหาการจัดการด้วย เช่น การใช้ระบบทะเบียนบ้าน (Hukou) ของรัฐบาลที่มี
ไว้ให้คนลงทะเบียนเพื่อใช้ในการดูแลด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ กลายเป็นว่ามีคนลงทะเบียนในระบบ
ทะเบียนบ้าน (hukou) เพียง 13.4 ล้านคนเท่านั้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ลงทะเบียนไว้ 12 ล้านคน ทั้งๆ ที่
เมืองเซี่ยงไฮ้มีประชากรกว่า 23 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าประชากรในเซี่ยงไอ้อีก 10 ล้านคนไม่ได้รับสิทธิ
ด้านสวัสดิการสังคมเช่นเดียวกับประชากรที่ลงทะเบียนไว้
ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนเอาจริงเอาจังกับการมุ่งสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
ในช่วงแรกรัฐบาลจีนใช้นโยบายเปลี่ยนการจัดสรรรายได้ภาษีระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น พร้อม
เปลี่ยนแผนการผลิตไปสู่แผนเศรษฐกิจระดับมหภาค และกระจายงบประมาณให้กับรัฐบาลท้องถิ่น ทําให้
รัฐบาลท้องถิ่นมีอํานาจในการตัดสินใจด้านการเงินและการบริหารเมืองมากขึ้น สามารถสร้างและพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานและดําเนินโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังดําเนินการนโยบายให้
เอกชนสามารถเช่าที่ดินและปฏิรูปที่อยู่อาศัย พร้อมเปลี่ยนระบบสวัสดิการแบบสังคมนิยมที่เคยใช้มาตลอด
เป็นระบบกลไกตลาดโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบพิเศษ การ
เปลี่ยนเป็นระบบกลไกตลาดทําให้แก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยไปได้พอสมควร เนื่องจากในช่วงปี 1980 เมือง
เซี่ยงไฮ้ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเนื่องจากต้องรอให้รัฐบาลเป็นคนลงทุน ด้วยระบบตลาดที่เข้ามาแทนที่
ทําให้รัฐบาลมีงบประมาณเหลือมากขึ้นเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของเมือง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาเขต
พื้นที่เมืองเก่าที่ทรุดโทรมได้อีกด้วย ในช่วงแผนพัฒนาตลอด 10 ปี ตั้งแต่ปี 1990 เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่
เจริญเติบโตมาก จนในศตวรรษที่ 20 เซี่ยงไฮ้ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน Shanghai world expo
ในปี 2010 (กล่องที่ 1)
14
กล่องที่ 1 Shanghai world expo ปี 2010
งาน “World Expo” หรือ “งานมหกรรมโลก” คือ งานนิทรรศการระดับโลกที่ทุกประเทศนําเอา
ความลํ้าหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และอุตสาหกรรมมา
ให้ชาวโลกได้ยลโฉม ภายใต้ธีม (Theme) หรือคอนเซ็ปต์การจัดงานที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามที่
คณะกรรมการ World Expo หรือ B.I.E กําหนด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสอดคล้องไปตามกระแสที่คนทั่ว
โลกสนใจในช่วงขณะนั้น ในปี 2010 ประเทศจีนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ครั้ง
ที่ 41 ที่นครเซี่ยงไฮ้ (งาน World Expo เริ่มจัดครั้งแรกในปี 1851 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
หลังจากนั้นก็มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าภาพเรื่อยมา โดยประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพมากที่สุดคือ
สหรัฐอเมริกา ได้จัดทั้งหมด 12 ครั้ง ส่วนเมืองที่ได้จัดงาน World Expo มากที่สุดคือ ปารีส (ฝรั่งเศส)
ได้จัดทั้งหมด 7 ครั้ง ประเทศจีนเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชียที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ รองจาก
ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศเจ้าภาพล้วนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศ
อุตสาหกรรมทั้งสิ้น (ข้อมูลจาก Wikipedia) งาน expo ที่เซี่ยงไฮ้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม
– 31 ตุลาคม 2010 เนื่องจากเมืองเซี่ยงไฮ้มีความโดดเด่นและเป็นตัวอย่างของการพัฒนาเมือง ทําให้
คณะกรรมการ World Expo กําหนดแนวคิดจัดงานครั้งนี้ว่า “Better City, Better Life” หรือ “เมืองที่
ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ดีกว่า”)
ความสําคัญของงานนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นรองเพียงมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น เนื่องจาก
ความใหญ่โตของงานที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานเอกชน
สามารถเข้าร่วมได้ โดยประเทศต่าง ๆ ใช้เวทีนี้ในการแสดงศักยภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ ความลํ้าสมัยและสร้างสรรค์เชิงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม รวมไป
ถึงเป็นเวทีให้ประเทศต่าง ๆ ได้ประชาสัมพันธ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงส่งเสริมด้าน
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย
รัฐบาลจีนให้ความสําคัญกับงานนี้มาก เพราะประเทศที่จะได้รับเป็นเจ้าภาพจะต้องเป็น
ประเทศที่มีสะท้อนความสามารถด้านการพัฒนาประเทศได้ รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณเป็นมูลค่า
มหาศาลกว่า 4 แสนล้านหยวนเพื่อเนรมิตพื้นที่จัดแสดงขนาด 5.28 ตารางกิโลเมตร บริเวณ 2 ฝั่ง
แม่นํ้าหวงผู่ รวมทั้งสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เพื่อใช้สําหรับจัดงาน สร้างทางรถไฟใต้ดินสายเฉพาะที่
วิ่งเข้าสู่พื้นที่งาน World Expo โดยตรง ปรับปรุงสะพานหลูผู่และหนันผู่ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่จัดแสดง
ทั้ง 2 ฝั่ง ตลอดจนปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค แหล่งมลพิษ วางระบบคมนาคมขนส่ง ระบบ
สารสนเทศ งานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
งาน Shanghai world expo ปี 2010 เป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ที่จีนไม่ทําให้คนทั้งโลกผิดหวัง
เนื่องจากภายในงานได้รวบรวมนวัตกรรมสิ่งอัศจรรย์เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
นํามาแสดง ทั้งได้ด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี
15

งานครั้งนี้เน้นแนวคิดการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือเมืองคาร์บอนตํ่า ซึ่งเป็น
แนวคิดการพัฒนาเมืองที่หลายเมืองทั่วโลกให้ความสําคัญ โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้ ภายในงานเน้น
ความสําคัญเรื่องการวางแผนการจัดการความน่าอยู่ภายในเมือง โดยสร้างเวทีพูดคุยเกี่ยวกับความ
ท้าทายและแนวทางการพัฒนาของเมือง โดยมีหัวข้อสําคัญดังนี้
- ชีวิตที่น่าอยู่ และเมืองแห่งความสมานฉันท์
- การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและชนบท
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับการพัฒนาเมือง
- มรดกทางวัฒนธรรม เมืองสร้างสรรค์ และการฟื้นฟูเมือง
- นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออนาคตในเมือง
- การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อเมือง
งานดังกล่าวมีคนเข้าร่วมกว่า 70 ล้านคน พร้อมกับที่เซี่ยงไฮ้ได้สะท้อนให้คนทั่วโลกเห็นแล้ว
ว่า “เซี่ยงไฮ้คือเมืองระดับโลก” เมืองที่สามารถเชื่อมได้ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลัง
พัฒนา เชื่อมตะวันตกและตะวันออก อยู่ระหว่างความรํ่ารวยและความยากจน รวมถึงเป็นทั้งอดีตและ
อนาคตของจีนด้วย แนวคิดและนวัตกรรมต่างๆ ที่แสดงให้งานน่าจะเป็นแนวคิดที่หลายประเทศใน
โลกนําไปดําเนินการได้ งาน Shanghai world expo ปี 2010 จึงเป็นงานที่สะท้อนถึงอนาคตของเมือง
ที่ดี และเมืองที่พัฒนาอย่างยืนในศตวรรษที่ 21 พร้อมสะท้อนความสําเร็จในการพัฒนาเมืองของ
ประเทศจีนด้วย ( รูปที่ 10 รูปที่ 11 และรูปที่ 12)
รูปที่ 10 ศาลาการแสดงของประเทศจีน (China Pavilion) รูปแบบศาลามาจากสถาปัตยกรรมโบราณภายใต้แนวคิด
“มงกุฎแห่งตะวันออก” (The Crown of The East) ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นนิทรรศการเล่าความเป็นมาในการพัฒนา
บ้านเมือง รวมถึงการวางผังเมือง วิธีวางแผนการปกครองของตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ชั้นที่สองเป็นส่วนที่เปิดโอกาสให้ผู้ชม
ทดลองวางผังเมืองด้วยตัวเองซึ่งเป็นลูกเล่นที่ทันสมัยและน่าสนใจ และชั้นสุดท้ายเป็นการแสดงมณฑลต่างๆ ในจีนรวมถึงฮ่องกง มา
เก๊าและไต้หวัน (ที่มา China daily website)
16
รูปที่ 11 ศาลาการแสดงของประเทศเกาหลี (Korean Pavilion) (ที่มา Expomusuem)
รูปที่ 12 การแสดงนวัตกรรมในศาลาการแสดงของประเทศแคนาดา (Canada Pavilion)
(ที่มา Expomusuem)
ข้อมูลจาก Shanghai manual a guide for sustainable urban development of the 21st
century โดย United Nations
17
จากงาน Shanghai world expo ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน เซี่ยงไฮ้ก็ยังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก
และมีคนเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เซี่ยงไฮ้ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบเต็มรูปแบบ พร้อม
ปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยของประชากร ทําให้พื้นที่อยู่อาศัยของคนเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นจาก 6.9 ตารางเมตร ต่อคน
ในปี 1992 เป็น 13.1 ตารางเมตรต่อคน แม้ว่าในเซี่ยงไฮ้จะเจริญเติบโตมากจนเรียกได้ว่าเป็นเมืองชั้นนํา
ระดับโลก แต่ก็ถูกตั้งคําถามและการวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวค่อนข้างกระทบต่อ
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และที่สําคัญคือทําให้เกิดปัญหาของคนสังคมเมือง
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเซี่ยงไฮ้ในทศวรรษที่ 1990 ทําให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแนวหน้าของ
จีน การวางผังเมืองและการออกแบบเมืองเซี่ยงไฮ้ กลายเป็นตัวอย่างของการออกแบบเมืองอื่นทั่วประเทศ
จีน เพราะโครงการการพัฒนาเมืองต่างๆ ในเมืองเซี่ยงไฮ้ประสบความสําเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเขตผู่ตง
การพัฒนาย่านสรรพสินค้า การพัฒนาถนนหนานจิง (Nanjing Road) ให้กลายเป็นถนนคนเดินที่เป็นเขต
การช็อปปิ้งขนาดใหญ่ที่สุดของเซี่ยงไฮ้ โครงการพัฒนาเขตเมืองเก่าซินเทียนตี้ (Xintiandi) การสร้างเมืองสี
เขียวและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ การสร้างห้องสมุด การสร้างโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ และโครงการอื่นๆ
อีกมากมาย จึงไม่แปลกใจเลยว่าเซี่ยงไฮ้กลายเป็นที่สุดของความเจริญเติบโตเรื่องเมืองของจีน และเป็น
ตัวอย่างการเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ระดับโลกด้วย
รูปที่ 13 เมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน (ที่มา Shanghai Municipality, Shanghai, China)
18
เซี่ยงไฮ้วันนี้ : สู่ศตวรรษใหม่และความท้าทาย
1. ย่านชานเมืองกาลังเติบโต และการพัฒนาศูนย์กลางเมือง
หากดูแผนการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ ปี 1990 – 2020 จะเห็นว่าเซี่ยงไฮ้กําลังจะเปลี่ยนแปลงเมือง 2
ด้าน ประการที่ 1 คือ เซี่ยงไฮ้มีแผนที่จะพัฒนาเขตชานเมือง ประการที่ 2 เซี่ยงไฮ้กําลังพัฒนาศูนย์กลาง
เมือง (Central city) ให้มีมาตรฐานระดับโลกด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพื้นที่
ในปี 2001 เซี่ยงไฮ้ได้จัดการประกวดการออกแบบนานาชาติ เพื่อหาแนวคิดวางแผนการพัฒนาย่านชาน
เมืองและการปรับปรุงท่าเทียบเรือใจกลางเมือง การออกแบบการพัฒนาในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณ
การพัฒนาเมืองยุคใหม่ของเซี่ยงไฮ้อีกครั้ง หลังจากที่เคยจัดประกวดการออกแบบเมืองระดับนานาชาติ เมื่อ
10 ปีก่อน เพื่อพัฒนาเขตพื้นที่ผู่ตง
แผนการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ ปี 1999 -2020 แบ่งเขตการปกครองของเมืองเซี่ยงไฮ้ออกเป็น 4 ลําดับ
ชั้น คือ ศูนย์กลางเมืองจํานวน 1 แห่ง เมืองบริวาร 9 แห่ง เมืองใหม่อีก 60 แห่ง และหมู่บ้านอีก 600 แห่ง
เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ทั้งหมด นอกจากการพัฒนาใจกลางเมืองแล้ว เซี่ยงไฮ้ยังเปิดรับงานวิจัย
เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมสําหรับการพัฒนาเมืองใหม่ และการพัฒนาหมู่บ้านด้วย ในปี 2001 –
2005 เซี่ยงไฮ้ทําโครงการที่เรียกว่า “โครงการเมืองใหม่ 1 แห่ง และโครงการเมืองทดลองอีก 9 แห่ง” ซึ่งเป็น
โครงการที่ริเริ่มโดยเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ เพื่อค้นหารูปแบบการพัฒนาเขตชานเมือง อย่างไรก็ตามเซี่ยงไฮ้
ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างในการออกแบบเมืองใหม่ เช่น สื่อและประชาชนทั่วไปรวมทั้ง
ผู้เชี่ยวชาญสนใจประเด็น “สไตล์” การออกแบบมากกว่าที่จะให้ความสําคัญที่ออกแบบเมืองที่เหมาะสม
สําหรับการพัฒนาชานเมืองจริงๆ อีกทั้งต้องออกแบบอย่างไรให้สามารถสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกรองรับ
ประชากรจํานวนมากของเซี่ยงไฮ้ได้
เซี่ยงไฮ้เดินหน้าโครงการการพัฒนาศูนย์กลางเมือง เริ่มจากโครงการปรับปรุงพื้นที่ริมนํ้า (สถาน
ที่ตั้งของงาน Shanghai world expo 2010 บริเวณริมแม่นํ้าห่วงผู่ ) และตามมาด้วยอีกหลายโครงการ เช่น
โครงการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์ การใช้พื้นที่อุตสาหกรรมเก่าให้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ใหม่ เป็นต้น ความคิด
ริเริ่มในการทําโครงการเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนสําคัญที่ช่วยกําหนดอนาคตของเซี่ยงไฮ้ และยิ่งกระตุ้นให้
มีการวางแผนและค้นหาหนทางที่ดีที่สุดสําหรับการออกแบบเมืองอีกด้วย
แผนการพัฒนาชานเมืองและการฟื้นฟูใจกลางเมือง เป็นโครงการที่ต้องทําควบคู่กันในการพัฒนา
เมือง คือ การฟื้นฟูใจกลางเมืองต้องพัฒนาเพื่อเปลี่ยนมารองรับอุตสาหกรรมตติยภูมิ (tertiary industry)
19
หรืออุตสาหกรรมบริการ8
ในขณะที่เขตชานเมืองเองต้องเปลี่ยนจากรูปแบบการทําเกษตรกรรรมแบบ
ดั้งเดิมไปสู่เกษตรกรรมที่ทันสมัย เพราะการสร้างหรือพัฒนาเมืองใหม่จะประสบความสําเร็จได้ขึ้นอยู่กับการ
สร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ และต้องไม่ละทิ้งเกษตรกรรม ต้องพัฒนาเกษตรกรรม เป็นเกษตรกรรมแนวใหม่
เพื่อให้เกิดความสมดุลในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น แผนการพัฒนาเมืองของเซี่ยงไฮ้ปี 1999 – 2020 จึง
สะท้อนให้เห็นว่าความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจครั้งใหม่ การจัดการทรัพยากรครั้งใหญ่ เป็น
แนวคิดการพัฒนาเมืองที่สนใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
2. บทเรียนของเซี่ยงไฮ้ : ความสาเร็จและปัญหาจากการพัฒนาเมือง
ในช่วงสองทศวรรษทั้งการพัฒนาเขตผู่ตง ในปี 1991 และการเป็นเจ้าภาพงาน Shanghai expo
2010 ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว บทเรียนการ
พัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้จึงเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ ดังนี้
ประการแรก รูปแบบการปกครองแบบบนลงล่าง (top-down) ของรัฐบาลที่ควบคุมและวางแผน
ทุกอย่าง ช่วยทําให้แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาเมืองได้อย่างรวดเร็ว เช่น การขาดโครงสร้าง
พื้นฐาน ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากร สิ่งแวดล้อมของเมืองยํ่าแย่ ซึ่งเป็นปัญหาของเมืองและ
ประเทศที่กําลังพัฒนา นอกจากนี้การกระจายอํานาจให้กับรัฐบาลท้องถิ่น หรือเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ให้มี
หน้าที่วางแผนและพัฒนาเมืองทั้งหมด เป็นกลไกสําคัญที่ทําให้เซี่ยงไฮ้พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
ประการที่สอง รัฐบาลใช้อานาจอย่างเหมาะสมในการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงการ
พื้นฐาน เพื่อให้ประชากรในเซี่ยงไฮ้ได้รับการบริการด้านสาธารณะที่มีมาตรฐาน และน่าพึงพอใจ ซึ่งหลาย
ประเทศกําลังพัฒนารัฐบาลไม่สามารถใช้อํานาจหรือบริหารจัดการเช่นนี้ได้
ในขณะเดียวกับการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วของเมืองในจีนย่อมมีปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหาที่
สําคัญที่สุดคือ ประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ก่อนปี 1980 อัตราที่ดินต่อหัวตํ่ากว่า 100 ตารางเมตร
แต่ปัจจุบันอัตราที่ดินต่อหัวสูงกว่า 120 ตารางเมตร จากขนาดและทรัพยากรที่ดินของเซี่ยงไฮ้ที่สูงเกินกว่า
เกณฑ์ที่เหมาะสมของประชากร สะท้อนให้เห็นว่า ทรัพยากรที่ดินถูกทําลายไปมาก พื้นที่ของเซี่ยงไฮ้มี
ประมาณ 5,000 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่นับรวมพื้นที่แม่นํ้าแยงซี และเกาะฉงชิ่ง ปัจจุบันพื้นที่ถูกใช้แล้วไป
มากกว่าครึ่ง ในขณะพื้นที่ของฮ่องกงอยู่ที่ 1,100 กิโลเมตร แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและข้อจํากัดด้าน
ภูมิศาสตร์อื่นๆ การสร้างพื้นที่จึงทําได้เพียง 25% เท่านั้น ในขณะพื้นที่ของสิงคโปร์มีเพียง 700 ตาราง
8
ในปี 1999 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมตติยภูมิ (Tertiary industry) หรืออุตสาหกรรมบริการ มีสัดส่วนทางเศรษฐกิจสูงกว่าอุตสาหกรรมทุติยภูมิ
(ตารางที่ .. ในภาคผนวก)
20
กิโลเมตร แต่ข้อจํากัดของพื้นที่ ทําให้พื้นที่ถูกใช้แค่เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 เมืองมีการพัฒนาเศรษฐกิจ
คล้ายๆ กับเซี่ยงไฮ้ แต่ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของทั้ง 2 ประเทศสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด การใช้
ที่ดินแบบไร้ประสิทธิภาพของเซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ตามมา ได้แก่ ความยั่งยืนของระบบนิเวศและ
สิ่งแวดล้อม ในปี 1990 รัฐบาลท้องถิ่นมีแผนแบ่งที่ดินเซี่ยงไฮ้ ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 สําหรับการพัฒนา
เมือง ส่วนที่ 2 สําหรับการทําเกษตร ส่วนที่ 3 สําหรับพื้นที่นิเวศสีเขียวและป่าไม้ แต่เมื่อพัฒนาเมืองแล้ว
กลับไม่สามารถแบ่งที่ดินตามลักษณะการใช้งานแบบนี้ได้ และปัจจุบันก็ไม่สามารถแบ่งที่ดินได้ในลักษณะนี้
ได้
นอกจากนี้เซี่ยงไฮ้ ยังมีปัญหา เรื่องวัฒนธรรม รวมไปถึงเรื่องประวัติศาสตร์และการพัฒนาจิต
วิญญาณของผู้คน ในคตวรรษที่ผ่านมา เซี่ยงไฮ้ได้พยายามอนุรักษ์พื้นที่และอาคารทางประวัติศาสตร์หลาย
แห่ง และพยายามตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองให้มาก อย่างไรก็ตาม การ
เห็นคุณค่านั้นยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความสูญเสีย
และกระทบต่อพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และจิตวิญญาณของเมือง
ในปี 2012 อัตราส่วนความเป็นเมืองของเซี่ยงไฮ้มีถึง 90% และประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคน
ในขณะที่แหล่งที่ดินที่ใช้สําหรับการพัฒนาเมืองตามแผนแม่บทได้ใช้ไปเกือบทั้งหมดแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน
ที่สําคัญ เช่น ทางหลวง ทางรถไฟ รถไฟใต้ดิน ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เซี่ยงไฮ้พัฒนาถึงขีดสุดแล้ว
ในขณะที่เมืองอื่นๆ ของจีน ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 15-20 ปี ในการทําให้เป็นเมืองได้
ณ เวลานี้เซี่ยงไฮ้ได้กลายเป็นเมืองระดับโลก เป็นศูนย์กลางทางการเงิน มีศักยภาพในการแข่งขันที่
สูง ดังนั้น เพื่อให้เป็นการพัฒนาเมืองอย่างสมดุลมากขึ้น เซี่ยงไฮ้ต้องแก้ไขปัญหาและพัฒนาเรื่องต่างๆ เช่น
การพัฒนาพื้นที่เมืองเก่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรเซี่ยงไฮ้ เช่น การเพิ่มการศึกษา การดูแลสุขภาพ
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในพัฒนาเมืองก้าวต่อไปของเซี่ยงไฮ้ เพราะท้ายที่สุดแล้วในฐานะเมือง
ใหญ่ระดับโลกเช่นนี้ ทรัพยากรมนุษย์ย่อมเป็นปัจจัยสําคัญที่จะขับเคลื่อนเมืองและจะช่วยให้เซี่ยงไฮ้เป็น
เมืองที่เติบโตอย่างมีสมดุลมากยิ่งขึ้น
21
ภาคผนวก
ที่ตั้งและพื้นที่
นครเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่บนชายผั่งทะเลทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออกของ
ประเทศจีน ทิศเหนือติดบริเวณปากแม่นํ้าแยงซีเกียง ทิศใต้ติดกับอ่าวหังโจว ทิศตะวันตกติดมณฑลเจียงซู
และเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับทะเลตงไห่ เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ประมาณ 6,340.5 ตร.กม. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
0.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยเป็นผืนแผ่นดิน 6,218.65 ตร.กม. และเป็นผืนนํ้า 121.85 ตร.กม. ทิศเหนือ
จรดทิศใต้คิดเป็นระยะทาง 120 ก.ม. ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกคิดเป็นระยะทาง 100 ก.ม. โดยมีแม่นํ้า
หวงผู่เป็นแม่นํ้าสายหลักและแหล่งนํ้าสําคัญไหลผ่านใจกลางเมืองเป็น ระยะทาง 80 กิโลเมตร ทําให้เซี่ยงไฮ้
เป็นเมืองสําคัญที่มีเครือข่ายเส้นทางคมนาคมที่สะดวกเป็นอย่างยิ่ง
เซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยเกาะสําคัญ 3 เกาะ คือ เกาะฉงหมิง เกาะฉางซิง และเกาะเหิงซา โดยเกาะฉง
หมิงมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด คือ 1,041.21 ตร.กม. อีกทั้งนับเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับสามของจีน ซึ่งอุดม
ด้วยแหล่งนํ้าและทะเลสาบธรรมชาติ
รูปที่ 1 แผนที่ประเทศจีนและที่ตั้งเมืองเซี่ยงไฮ้ (ที่มา World map )
เซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งใน 4 เขตการปกครองพิเศษของจีน แบ่งออกเป็น 16 เขต เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ไม่
มีใจกลางเมืองแบบหนึ่งเดียว เนื่องจากย่านสําคัญๆ กระจายอยู่ทั่วเซี่ยงไฮ้ ทุกย่านจะมีย่านใจกลางเป็นของ
ตัวเอง อย่างไรก็ตามใจกลางเมืองที่เด่นที่สุดของเซี่ยงไฮ้อยู่ระหว่างย่าน the bund และถนน Huaihai ทาง
ทิศใต้
22
รูปที่ 2 เขตพื้นที่ทั้งหมดของเมืองเซี่ยงไฮ้ (TopChinaTravel)
การเปลี่ยนแปลงทางประชากร
ปี 2014 เซี่ยงไฮ้มีประชากรประมาณ 24 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของ
ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งเมืองที่มีการเติบโตของประชากรสูง ภายในช่วง 36 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1978 –
2014 เซี่ยงไฮ้มีจํานวนประชากรเพิ่มจากเดิมกว่า 13 ล้านคน จาก 11 ล้านคน เป็น 24 ล้านคน ประชากร
ของเซี่ยงไฮ้เมืองเทียบกับเมืองใหญ่ของโลก พบว่า เมืองเซี่ยงไฮ้มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็น
รองแค่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเมืองนิวเดลี ประเทศอินเดียเท่านั้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ ปี 1993 เป็น
ต้นมา ประชากรเซี่ยงไฮ้อัตราการเติบโตติดลบมาโดยตลอด
23
-
5,000,000.00
10,000,000.00
15,000,000.00
20,000,000.00
25,000,000.00
30,000,000.00
1978
1980
1982
1984
1986
1988
1990
1992
1994
1996
1998
2000
2002
2004
2006
2008
2010
2012
2014
จํานวนประชากรเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1978 - 2014
กราฟที่ 1 แสดง จํานวนประชากรเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1978 – 2014 (ที่มา คํานวณจาก Yearbook 2014 ของ Shanghai
Municipality, Shanghai, China)
รูปที่ 3 จํานวนประชากรเมืองที่มากที่สุดในโลก 10 อันดับแรก (ที่มา The World’s Cities in 2016 by united nation)
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
Nook Kanokwan
 
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้านวิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
thkitiya
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
Sattawat Backer
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
Suphot Chaichana
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Kittichai Pinlert
 
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ทศวรรษ โตเสือ
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
Ocean'Funny Haha
 
เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)
เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)
เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)
Nicha Nichakorn
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
Sasiyada Promsuban
 

Mais procurados (20)

โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
 
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้านวิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
 
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสียปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
 
บริการจัดวางตัวบุคคล
บริการจัดวางตัวบุคคลบริการจัดวางตัวบุคคล
บริการจัดวางตัวบุคคล
 
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสียปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ระบบการศึกษาจีน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต
ระบบการศึกษาจีน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคตระบบการศึกษาจีน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต
ระบบการศึกษาจีน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต
 
โครงงานลายผ้าไหมไทย
โครงงานลายผ้าไหมไทยโครงงานลายผ้าไหมไทย
โครงงานลายผ้าไหมไทย
 
ขนมไทย
ขนมไทยขนมไทย
ขนมไทย
 
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
 
แผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงานแผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงาน
 
เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)
เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)
เรื่องผ้าไหมมัดหมี่(IS2)
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
 

Mais de FURD_RSU

เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 

Mais de FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก

  • 3. เรียบเรียง : ณัฐธิดา เย็นบํารุง บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบํารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ปก : ณัฐธิดา เย็นบํารุง รูปเล่ม : ณัฐธิดา เย็นบํารุง ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ผู้สนับสนุน : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. สารบัญ เรื่อง หน้า บทนํา 1 พัฒนาการของการวางผังเมืองและการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ 2 1. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1843 - 1949 : จากเมืองเล็กไปสู่การเป็นมหานคร 2 2. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1949 – 1990 : เมืองสังคมนิยมอุตสาหกรรม 6 3. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปี 1991 – 2010 : การพัฒนาสู่เมืองระดับโลก 8 เซี่ยงไฮ้วันนี้ : สู่ศตวรรษใหม่และความท้าทาย 18 ภาคผนวก 21
  • 5. 1 เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก หากพูดถึงเมืองที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดเมืองหนึ่งของโลก คงหนีไม่พ้นต้องพูดถึงการพัฒนา เมืองของเซี่ยงไฮ้ ที่จากเป็นเพียงแค่หมู่บ้านเล็กๆ มาวันนี้กลับกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินระดับ โลก ความใหญ่โตของเซี่ยงไฮ้ทัดเทียมกับเมืองใหญ่ของโลก เช่น วอชิงตัน ดี.ซี. โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ก ปารีส ในปี 2015 เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในโลก เกือบ 24 ล้านคนในเมืองเดียว เซี่ยงไฮ้เป็น 1 ใน 4 เมืองปกครองพิเศษของจีน1 เขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง เซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ทางใต้ของปากแม่นํ้าแยงซีในตอนกลางของชายฝั่งตะวันออกของจีน เซี่ยงไฮ้เป็นเมือง ศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ของภูมิภาค เป็นศูนย์กลางการขนส่ง มีท่าเรือที่มีจํานวนเรือคับคั่งที่สุดใน โลก เป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน การลงทุน รวมถึง ด้านแฟชั่น และการท่องเที่ยว โดยการผลักดันของ รัฐบาลซึ่งให้นครเซี่ยงไฮ้ก้าวขึ้นเป็นผู้นํา ขณะนี้เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เป็นประตู เศรษฐกิจของประเทศ และเป็นจุดเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกให้กับจีน เซี่ยงไฮ้สร้างและพัฒนาเมือง อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1990 ทําให้รัฐบาลจีนจะใช้เซี่ยงไฮ้เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้าง เมืองอื่นๆ ในจีน ทําให้เมืองเซี่ยงไฮ้จึงกลายเป็นเมืองการศึกษาที่สําคัญแห่งหนึ่งในประเทศจีน เซี่ยงไฮ้ก้าวหน้าเช่นทุกวันนี้ได้ กลไกสําคัญส่วนหนึ่งมาจากการสร้างเมืองที่ดี โดยเฉพาะด้าน กายภาพ แม้ว่าด้านกายภาพจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวของการสร้างเมือง แต่การพัฒนาเมืองใหม่ขนาดใหญ่ของ ประเทศจีนในปัจจุบันล้วนแล้วแต่เน้นการพัฒนาทางกายภาพก่อน เพราะหากเมืองมีโครงสร้างเมืองที่ดี ย่อม เป็นสิ่งที่ดีต่อการพัฒนาเมืองในด้านอื่นๆ เช่น เสริมสร้างเศรษฐกิจเมือง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน เมือง ดังนั้น หากศึกษาเมืองของจีนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาจึงต้องสนใจศึกษาการพัฒนาเมืองด้านกายภาพ จะทําให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการสร้างเมืองที่จะวางเมืองนั้นให้มีทิศทาง เช่น เป็นเมืองท่า เมืองการลงทุน เป็น ต้น บทความนี้จึงสนใจการพัฒนาเมืองของจีน โดยเฉพาะด้านกายภาพ ซึ่งจะแบ่งการพัฒนาเมืองของเซี่ยง ไฮ้เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1843 – 1949 ยุคที่ 2 การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1949 – 1990 ยุคที่ 3 การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปี 1991 – 2010 และการสรุปบทเรียนปัจจัยความสําเร็จและ ปัญหาของการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ 1 ปัจจุบันประเทศจีนมีเมืองที่มีรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ทั้งหมด 4 เมืองด้วยกัน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง
  • 6. 2 พัฒนาการของการวางผังเมืองและการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ เมืองเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ระหว่างสองฝั่งทางเศรษฐกิจที่สําคัญของจีน ได้แก่ ชายฝั่งตะวันออกและแม่นํ้า แยงซี เซี่ยงไฮ้ถูกกระตุ้นและพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทําให้ เซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 1840 ปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองใหญ่ระดับ โลก จากเมืองเล็กๆ เซี่ยงไฮ้เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร การพัฒนาเซี่ยงไฮ้มีประมาณ 3 ยุค2 โดยแต่ ยุคนั้นจะสะท้อนให้เห็นว่าเซี่ยงไฮ้มีการพัฒนาของแต่ละยุคแตกต่างกันไป มีพัฒนาการและเหตุการณ์สําคัญ ดังนี้ 1. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1843 - 1949 : จากเมืองเล็กไปสู่การเป็นมหานคร เมืองเซี่ยงไฮ้เดิมในอดีตที่เป็นเมืองค้าขายขนาดกลาง เนื่องจากสถานที่ตั้งของเมืองอยู่ติดกับแม่นํ้า แยงซี ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสําคัญทั้งกับต่างชาติผ่านทางออกปากแม่นํ้าแยงซี เชื่อมต่อโดยตรงกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงทศวรรษที่ 1840 เซี่ยงไฮ้เปลี่ยนไปจากผลของสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ที่รัฐบาลของราชวงศ์ฉิง หรือรัฐบาลของประเทศจีนพ่ายแพ้ต่อประเทศอังกฤษ และต้องลงนามสนธิสัญญานานกิง ในปี 1842 เพื่อยุติ สงคราม จีนต้องเปิดเมืองท่าชายทะเล 5 แห่งได้แก่ กวางโจว เซียะเหมิน ฟูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ หรือที่ เรียกกันว่า Treaty ports รวมทั้งยกฮ่องกงให้เป็นเขตเช่าของอังกฤษด้วย ภายหลังมีฝรั่งเศสและอเมริกาเข้า ยึดขอแบ่งพื้นที่ทําการค้าด้วย เซี่ยงไฮ้อยู่ในยุคของการเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส สอง ประเทศได้ทําการแบ่งสัมปทานครอบครองเมืองเซี่ยงไฮ้ ภายใต้การครอบงําของสองชาติตะวันตกนี้หลายสิบ ปี ทําให้เซี่ยงไฮ้มีการหลั่งไหลเข้ามาของคนต่างชาติและคนจีนที่ต้องการเข้ามาแสวงหาโอกาสการประกอบ อาชีพ เซี่ยงไฮ้จึงกลายเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมทางการใช้ชีวิตการค้าที่หลากหลาย มีความเป็นอยู่แบบสากล และการใช้ชีวิตแบบสังคมโลก (Cosmopolitanism) มาตั้งแต่สมัยนี้แล้ว ด้วยการเป็นเมืองท่าและการอยู่ภายใต้อาณานิคมของตะวันตก ทําให้เศรษฐกิจการค้าของเมือง เซี่ยงไฮ้ โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1920 – 1930 รุ่งเรืองมาก เรียกได้ว่าช่วงนี้ คือ ยุคทองของเซี่ยงไฮ้ (Golden era of modern shanghai) ด้วยความเจริญเติบโตการค้า ทําให้ภาคการเงินของเซี่ยงไฮ้ เจริญเติบโตตามเศรษฐกิจของเมือง2 และทําให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเศรษฐกิจภาค ตะวันออกของโลก 2 เมืองที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมืองที่มีท่าชายฝั่ง ภาคการเงินจะเจริญเติบโตมาก เนื่องจากภาคการเงินเป็นภาคบริการที่เกิดขึ้น เพื่อรองรับด้านเศรษฐกิจ การเงินการธนาคารโดยเฉพาะการกู้เงิน การลงทุน จึงเฟื่องฟูมากในเมืองเซี่ยงไฮ้
  • 7. 3 รูปที่ 1 ภาพบริเวณหาดไว่ทันเมื่อปี 1930 หลังจากที่เซี่ยงไฮ้เปิดประตูในฐานะเมืองท่า กลายเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจที่สําคัญของตะวันออก (ที่มา Virtual Shanghai Project, National Research Agency, Republic of France) ย้อนกลับไปปี 1840 ที่เซี่ยงไฮ้ถูกบังคับเปิดเมืองเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ทําให้เขตพื้นที่ริมแม่นํ้าห่วงผู่ (Huangpu) ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือกลายเป็นแหล่งพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองมากที่สุด (ปัจจุบันคือบริเวณ Lao- Cheng-Xiang เมืองเก่าของเซี่ยงไฮ้) บริเวณนี้ความยาวเกือบ 2 กิโลเมตร (รูปที่ 2) เป็นบริเวณที่ ชาวต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นพื้นที่ที่ถูกจัดไว้ให้มีแต่ชาวต่างชาติ เพื่อแยกการตั้งถิ่นฐานออกจากคนจีน ทําให้เมืองเซี่ยงไฮ้เป็นที่มีโครงสร้างของเมืองแบบ 2 ลักษณะมาโดยตลอด หลังจากเกิดเหตุการณ์กบฏไท้ผิง3 ซึ่งกระทบมาถึงคนจีนในเซี่ยงไฮ้ ทําให้คนจีนในเซี่ยงไฮ้หนีมาตั้ง ถิ่นฐานในบริเวณของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ยิ่งทําให้เขตพื้นที่นี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และบริเวณดังกล่าว ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญและเป็นพื้นที่หลักของเมืองเซี่ยงไฮ้ด้วย (รูปที่ 3 ) (รูปที่ 4) 3 เป็นกบฏครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ช่วงปี ค.ศ. 1850-1864 มีผู้นําคือ หง ซิ่วเฉฺวียน เหตุการณ์กบฏไท่ผิงนับเป็นการกบฏครั้ง สําคัญที่รุนแรงที่สุดในยุคแห่งการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยในเหตุการณ์กบฏนี้ มีทหารและประชาชนล้มตายลงมากกว่ายี่สิบล้านคน นับเป็นหนึ่งในเหตุวิปโยคในหน้าประวัติศาสตร์ของโลกอ่านเพิ่มได้ที่ Thaichinese.net
  • 8. 4 เมืองเซี่ยงไฮ้ผ่านการปกครองหลายรัฐบาลเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ใด เซี่ยงไฮ้ก็ถูกใช้เป็นเมืองท่าที่สําคัญในการประกอบกิจการการค้าขายและการเดินเรือผ่านทางวัฒนธรรม ทางการค้าของรัฐบาลนั้นๆ ด้วยสาเหตุนี้เองทั้งลักษณะทางกายภาพและวัฒนธรรมของเมืองเซี่ยงไฮ้ถูก พัฒนาขึ้นเป็นลําดับเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานทางการค้าและนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ผู้ปกครองเมือง ส่งผลให้ภาพลักษณ์และความสําคัญของเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นไปในลักษณะของเมืองที่มีหน้าที่ ในการรับใช้ทางเศรษฐกิจ มากกว่าเป็นเมืองที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม4 กระบวนการสร้างและพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกับการพัฒนาเมือง ใหญ่ๆ ของประเทศทางตะวันตก ทําให้ประชากร ขนาดเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ ถูกเปรียบเทียบกับการพัฒนา เมืองของตะวันตกตั้งแต่ยุคนี้แล้ว ด้วยการพัฒนาที่เติบโตไม่แตกต่างกัน ทําให้เซี่ยงไฮ้เผชิญปัญหาของการ เป็นเมืองใหญ่ไม่แตกต่างจากการพัฒนาเมืองแบบตะวันตก เช่น สลัม เป็นต้น แต่ความแตกต่างของการ พัฒนาเมืองของเซี่ยงไฮ้ และประเทศตะวันตก แตกต่างกันที่เมืองของประเทศตะวันตกถูกพัฒนาด้วยปัจจัย ภายในของประเทศ แต่เมืองเซี่ยงไฮ้ถูกพัฒนาด้วยปัจจัยภายนอก เช่น การตั้งถิ่นฐานของตะวันตก การ เชื่อมเศรษฐกิจจากทั่วโลก รูปที่ 2 แผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ก่อนศตวรรษที่ 19 (ที่มา the history of shanghai urban planning) 4 บทบาทของการเมืองในการออกแบบเมือง : สี่บทเรียนจาก เมืองใหม่ผู่ตง ในเซี่ยงไฮ้ เขียนโดย นน อัครประเสริฐกุล เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ด้านการวางแผนภาคและเมือง ประจําปี 2550 เรื่อง การฟื้นฟูเมือง
  • 9. 5 รูปที่ 3 แผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1853 (ที่มา Native Place, City, and Nation Regional Networks and Identities in Shanghai, 1853-1937 Bryna Goodman) รูปที่ 4 แผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1912 ที่มา Perry-Castañeda Library Map Collection)
  • 10. 6 2. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1949 – 1990 : เมืองสังคมนิยมอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ยุคที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากเหมา เจ๋อตุง ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ในปี 1949 จากความบอบชํ้าจากสงครามก่อนก่อตั้งประเทศสําเร็จ ทําให้จีนต้องเร่งพัฒนาประเทศ อย่างเร่งด่วน หลังจากเพิ่งก่อตั้งประเทศใหม่ กําหนดให้เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองหลักในการสร้างเศรษฐกิจให้กับ ประเทศ ใช้นโยบายมุ่งเน้นการประกอบอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต อันจะนํามาซึ่ง ความพออยู่พอกินของส่วนรวมในแบบลัทธิคอมมิวนิสต์มากกว่าการค้าขาย ซึ่งโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจ ลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต ด้วยการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมหนัก ทําให้เซี่ยงไฮ้ได้เปลี่ยนจากเมืองที่เป็นศูนย์กลางการเงินไปสู่ การเป็นเมืองศูนย์กลางการผลิตที่ครบวงจร ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีควบคุมและวางแผนทุกอย่างจาก รัฐบาลกลาง หลังจากเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมการผลิต เซี่ยงไฮ้ได้กลายเป็นเมืองแห่งการผลิต สร้างรายได้ 1 ใน 6 ของรายได้ประชาติจีน ขณะที่ประชากรในเมืองมีแค่ 1% ของประชากรประเทศจีน แม้ว่าประเทศจีนจะได้รับอิทธิพลแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต คือการลดกําลัง การผลิตอุตสาหกรรมเบาให้เปลี่ยนเป็นมาเน้นผลิตอุตสาหกรรมหนัก แต่เซี่ยงไฮ้ยังคงทําหน้าที่เป็น ศูนย์กลางการผลิตแบบครบวงจรได้อย่างสมดุล เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตทางเรือ อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมสําคัญอื่นๆ คนจีนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าที่ ผลิตในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าซื้อ มีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพที่ดี เพราะมีการควบคุมการ ผลิตจากรัฐบาลกลาง เช่น จักรยาน จักเย็บผ้า นาฬิกา และวิทยุ เป็นต้น ทําให้ความต้องการซื้อสินค้า ภายในประเทศของคนจีนจึงมีจํานวนมาก ในช่วงการพัฒนาของยุคเหมา เจ๋อ ตุง ตั้งแต่ปี 1949 เป็นต้นมา ประชากรในเมืองเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จากช่วงต้นทศวรรษ 1950 มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน ในปี 1982 เซี่ยงไฮ้มีจํานวนประมาณถึง 12 ล้านคน (Yongjie Sha,2013) สาเหตุที่ประชากรเซี่ยงไฮ้เติบโตนอกเหนือจากการเติบโตแบบธรรมชาติ คือ เกิดจากการที่ประชากรอพยพหลั่งไหลเข้ามาทํางานในเซี่ยงไฮ้ หลังจากที่เมืองถูกพัฒนาให้เป็นแหล่ง อุตสาหกรรม ทําให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองขยายตัวออกไปจากเขตอุตสาหกรรมหรือใจกลาง ของเมือง (เขตริมแม่นํ้าห่วงผู่) (รูปที่ 5) ออกไป แต่จริงๆ แล้ว พื้นที่ตรงนี้อาจจะเรียกว่าพื้นที่เมืองได้ไม่เต็ม ปากนัก เนื่องจากบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานขนาดใหญ่ ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จึงเป็นที่อยู่อาศัย ของคนงานที่สร้างขึ้น แต่แหล่งการใช้ชีวิต สิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ของผู้คนที่รัฐบาลจัดให้ทั้งหมดอยู่ บริเวณรอบนอก เช่น โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม และสถานบริการด้านสุขภาพ เป็นต้น
  • 11. 7 รูปที่ 5 แผนที่การขยายตัวของเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1840 – 1982 (ที่มา Shanghai planning and land resource administration bureau) ประเทศจีนใช้แนวคิดสังคมนิยมเต็มรูปแบบในการพัฒนาประเทศ บริษัทและหน่วยธุรกิจอยู่ภายใต้ การกําหนดจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามเซี่ยงไฮ้ไม่ได้พัฒนาเมืองแบบครบถ้วน สถาบันที่มีบทบาทในการ พัฒนา เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ส่วนใหญ่ล้วนสนใจพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตมากกว่าการ พัฒนาเมือง ส่วนบริการทางสังคมของประชากร รัฐบาลเป็นผู้จัดหาทั้งหมด ช่วงเวลาการพัฒนาเมืองของ เซี่ยงไฮ้ รัฐบาลได้ใช้ระบบทะเบียนบ้าน หรือที่เรียกว่า hukou เป็นระบบให้ผู้ที่ย้ายออกจากเมืองเดิมของ ตนเอง ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในเขตเมือง ผู้ที่ย้ายเข้ามาใหม่จะได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางสังคม เช่น การเข้าถึงการรักษา การศึกษา เป็นต้น เป็นแรงจูงใจหนึ่งในการพาคนเข้ามาอยู่ในเขตเมืองและง่ายต่อ การบริหารจัดการ แม้จะมีจํานวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ภาคการผลิตถีบตัวสูงขึ้น แต่การขยายตัวครั้งนี้ไม่ได้ส่งผล กระทบต่อโครงสร้างพื้นที่เมืองเท่าไหร่นัก ไม่มีการเติบโตด้านกายภาพอย่างมีนัยสําคัญเท่าที่ควร แต่พื้นที่ หลักหรือพื้นที่ใจกลางเซี่ยงไฮ้ก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคนี้ เช่น บริเวณถนนหนานจิง (Nanjing Road) ในเวลานั้นก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่มีชื่อเสียง ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะ กับชาวต่างชาติ ทําให้พื้นที่ดังกล่าวมีความแออัดมาก
  • 12. 8 ในปี 1978 ถึง ปี 1990 ยังเป็นช่วงการปฏิรูปและการเปิดประเทศจีน รัฐบาลได้พัฒนาพื้นที่ปาก แม่นํ้าเพิร์ล (Pearl River Delta) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเสิ่นเจิ้น (Shenzhen) ให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจและ เป็นเมืองใหม่ของจีน ส่งผลกระทบต่อเมืองเซี่ยงไฮ้ แม้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้จะ ค่อนข้างดี แต่ขณะนั้นกลับเติบโตสู้กับพื้นที่ปากแม่นํ้าเพิร์ลไม่ได้ ความสําคัญทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ช่วง นี้ได้ลดลง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของคนในเซี่ยงไฮ้ ณ ขณะนั้น ช่วงปี 1990 ดัชนีวัดคุณภาพชีวิตของคนเซี่ยงไฮ้ตํ่าลงเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สีเขียวต่อประชากร การบริการ สาธารณะ เป็นต้น ความหนาแน่นในเมืองเซี่ยงไฮ้ทําให้เกิดสลัมหลายพื้นที่อีกด้วย 3. การพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปี 1991 – 2010 : การพัฒนาสู่เมืองระดับโลก นโยบายเปิดประเทศของจีน ทําให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองหลักของประเทศ พร้อมๆ กับการเกิด เมืองอีกหลายเมืองของจีน5 ในปี 1991 เมืองเซี่ยงไฮ้ได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ จากยุทธศาสตร์และ นโยบายของรัฐบาลกลางที่ต้องการเปิดตัวให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองระดับโลก รัฐบาลได้พัฒนาเขตพื้นที่ผู่ตง (Pudong) ซึ่งเป็นพื้นที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่นํ้าแยงซีในเมืองเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตที่สามารถติดต่อกับ ต่างประเทศในทุกด้านได้อย่างสมบูรณ์ และเริ่มก่อตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี รวมทั้งออก นโยบายใหม่เกี่ยวกับการตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ เตรียมรองรับเศรษฐกิจและผลักดันให้ เซี่ยงไฮ้กลายเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ของโลกในทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการค้า  การพัฒนาเขตผู่ตง (Putong) : การดึงเอกชนไทยร่วมพัฒนาเมือง6 หลัง ค.ศ. 1978 รัฐบาลเมืองเซี่ยงไฮ้ได้รับนโยบายให้ผลักดันการพัฒนาต่อเพื่อการทําให้เซี่ยงไฮ้ กลายเป็นเมืองที่ทํารายได้สําคัญให้กับประเทศจีนยุคใหม่ ดังคํากล่าวของประธานาธิบดี เติ้ง เสี่ยว ผิง ให้ เมืองเซี่ยงไฮ้ “เป็นหัวของมังกร” เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ การคมนาคม สะดวก มีท่าเรือ และได้รับอิทธิพลจากต่างชาติสูงจากการเป็นเขตเช่าของอังกฤษ และฝรั่งเศส เซี่ยงไฮ้ เชื่อมโยงกับตลาดโลกอยู่แล้ว และแรงงานส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ดี ต่อมาจูหรงจี (Zhu Rongji) นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ในสมัยนั้นตอบรับแนวคิดของรัฐบาลกลาง พร้อมกับมีแนวคิดสร้างเมืองใหม่ ผู่ตง (Pudong) (รูปที่ 6 บริเวณวงกลมสีแดง) เนื่องจากมองเห็นว่าฝั่งผู่ซี (รูปที่ 6 ฝั่งซ้ายของแผนที่) มีระบบ 5 ค.ศ. 1991 จีนประกาศเปิดเมืองชายแดนจํานวน 4 เมือง ได้แก่ หม่านโจวหลี่ (ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศ มองโกเลียและรัสเซีย) ตานตง (ในมณฑลเหลียวหนิง ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเกาหลีเหนือ) สุยเฟินเหอ (ในมณฑลเฮยหลงเจียง ซึ่งมี ชายแดนติดกับประเทศรัสเซีย) และหุนชุน (ในมณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศรัสเซียและเกาหลีเหนือ) 6 ข้อมูลทั้งหมดจาก บทสัมภาษณ์ของคุณธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในรายการ CEOs Upclose
  • 13. 9 สาธารณูปโภคที่ดีและเพียงพอแล้ว จึงหันมาสนใจจะพัฒนาฝั่งผู่ตง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ว่าง เป็นท้องนา มีโรงงานขนาดเล็กกระจัดกระจาย และเป็นที่อยู่ของชนชั้นแรงงาน แผนการพัฒนาเมืองใหม่นี้เป็นความ คาดหวังว่าจะขยายขีดความสามารถของเมืองเซี่ยงไฮ้ และยิ่งไปกว่านั้นการสร้างเมืองใหม่นี้จะต้องเกิดขึ้น บนพื้นฐานของความเป็นมหานครที่ไม่แตกต่างไปจาก นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน รูปที่ 6 บริเวณเขตผู่ตง (ในวงกลมสีแดง) ของแผนที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1912 (ที่มา Perry-Castañeda Library Map Collection) วิธีเนรมิตเมืองใหม่ของเซี่ยงไฮ้ คือ จะไม่ขยายเมืองในพื้นที่เมืองเก่า เนื่องจากพื้นที่เมืองเก่าจะมีผัง เมืองค่อนข้างเก่า รัฐบาลจีนจะขยายเมืองนั้นจะต้องใช้พื้นที่ใหม่เท่านั้น เพื่อที่จะได้วางระบบผังเมืองและ สาธารณูปโภคใหม่ เช่น การจราจร การกําจัดนํ้าเสีย พื้นที่สาธารณะ เป็นต้น หากยังพัฒนาในเมืองเก่า ย่อม แก้ไขผังเมืองได้ลําบาก นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้เอาจริงเอาจังกับการวางผังเมืองใหม่มาก ลงทุนจัดการ ประกวดแบบการออกแบบเมืองใหม่ ขึ้นใน ค.ศ.1992 เชื้อเชิญสถาปนิก นักออกแบบเมืองที่มีชื่อเสียงและมี ประสบการณ์มาเข้าร่วม ทั้งจากฝรั่งเศส อิตาลี อเมริกา อังกฤษ การประกวดครั้งนี้เป็นการประกวดแบบ
  • 14. 10 เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ฝั่งขวาแม่นํ้าหวงผู่ หรือเขตผู่ตง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจแห่งใหม่ หรือเป็น CBD (Central Business District) ของเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยมีย่าน “ลู่เจียจุ่ย” (Lujiazui) เป็นย่าน ศูนย์กลาง สุดท้ายแล้วผลงานการออกแบบเมือง (รูปที่ 7) ของทีมสถาปนิกจากสถาบันการออกแบบเซี่ยงไฮ้ ได้รับเลือกให้เป็นรูปแบบในการพัฒนาเขตผู่ตง รูปที่ 7 ผลงานการออกแบบย่านเศรษฐกิจลู่เจียจุ่ยในเมืองใหม่ผู่ตง ของทีมสถาปนิกจากสถาบันการออกแบบเซี่ยง ไฮ้ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นแบบในการออกแบบเมือง (ที่มา Shanghai Municipality, Shanghai, China) ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP เจ้าของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและ อาหารรายใหญ่ของไทย เริ่มลงทุนครั้งแรกในประเทศจีน โดยร่วมลงทุนในโครงการเกษตรอุตสาหกรรมที่ มณฑลกวางตุ้ง (Quangdong province) ช่วงประมาณปี 1983 CP มองหาการการลงทุนในเซี่ยงไฮ้ จึงขอ เสนอแผนพัฒนาเมืองฝั่งผู่ตงให้กับรัฐบาลกลาง7 แต่รัฐบาลในขณะนั้นปฏิเสธข้อเสนอของ CP เนื่องจาก รัฐบาลเห็นว่า CP ทําธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรและอาหาร อาจไม่เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการที่ดิน แต่ในขณะนั้น ประเทศจีนเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจํานวนมาก ทํา 7 การลงทุนแล้วต้องเสนอแผนพัฒนาเมืองคู่กัน เนื่องจากรัฐบาลจีนมองว่าหากเอกชนจะลงทุนในจีน ต้องไม่ใช่แค่การลงทุนเรื่องธุรกิจ แต่จะต้อง ทําแผนพัฒนาเมืองด้วย เพื่อให้ประชากรจีนได้รับประโยชน์ด้วย
  • 15. 11 ให้ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศจีนถอนตัวหมด โดยเฉพาะจากยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพราะเห็น ว่าประเทศจีนน่าจะยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และคงจะไม่มีไปอีกนาน แต่ CP เล็งเห็นโอกาสในเมือง เซี่ยงไฮ้ และพื้นที่ฝั่งผู่ตง แม้บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่ดินว่างเปล่า และโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดี แต่พื้นที่ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ติดนํ้า ห่างจากฝั่งผู่ซี แค่แม่นํ้าหวงผู่กั้น ศาลาว่าการเซี่ยงไฮ้กําลังจะย้ายมาตั้งที่นี่ อีกทั้ง กําลังจะสร้างสนามบินผู่ตงด้วย ฉะนั้น CP จึงยืนยันที่จะลงทุนต่อไป รัฐบาลเซี่ยงไฮ้เห็นว่า CP เป็นเอกชนแห่งเดียวที่ยังเชื่อมั่นและจริงใจต่อประเทศจีน ประกอบกับ ขณะนั้นจีนเริ่มเปลี่ยนระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากระบบวางแผนจากส่วนกลาง หันมาใช้ กลไกตลาดและเปิดประเทศมากขึ้น ผู้ว่าราชการนครเซี่ยงไฮ้จึงตอบรับแผนพัฒนาเมืองของ CP และได้มอบ ที่ดินฝั่งผู่ตงจํานวน 250 ไร่ ให้ CP บริหารและพัฒนาเมือง เมื่อได้รับที่ดิน CP ตั้งบริษัทพัฒนาเมือง สร้าง โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สร้างระบบไฟฟ้า นํ้าประปา และพัฒนาที่ดิน แบ่งที่ดินให้กับบริษัทต่างๆ ที่ สนใจลงทุน เช่น City Bank เป็นต้น และเก็บที่ดินส่วนหนึ่งไว้เพื่อสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หรือที่ เรียกว่า Superbrand mall ในช่วง 5 ปีแรก Superbrand mall ขาดทุนตลอด เนื่องจากฝั่งผู่ตงเป็นเมืองใหม่ และยังไม่มีคนเท่าไหร่นัก CP จึงซื้อรถบัส 60 คันเพื่อบริการคนเซี่ยงไฮ้ให้มาห้างสรรพสินค้าแบบฟรี ประกอบกับสนามบินผู่ตง และรถไฟใต้ดินเปิดทําการ ทําให้คนเริ่มหลังไหลเข้ามาฝั่งผู่ตงมากขึ้น ปัจจุบัน Superband mall กลายเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้ง และศูนย์กลาง แหล่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดในผู่ตง มีคนใช้บริการกว่า 60,000 คนต่อวัน Superband mall เติบโตไปพร้อมกับ เขตผู่ตงที่เติบโตเร็วมาก เขตผู่ตงกลายเป็นศูนย์กลางย่านธุรกิจหลักของเมือง (CBD) เป็นศูนย์กลางสถานที่ ราชการ เป็นเขตการผลิตและอุตสาหกรรม แหล่งห้างสรรพสินค้า และอาคารสํานักงานขนาดใหญ่อีก มากมาย เขตผู่ตงได้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วภายใต้สโกแกนที่ว่า “การมีภาพลักษณ์ใหม่ ทุกปี และการเปลี่ยนแปลงที่น่าอัศจรรย์ในทุก 3 ปี” การเติบโตของเขตผู่ตงสะท้อนให้เห็นถึงความสําเร็จ ของเมืองเซี่ยงไฮ้ในช่วงทศวรรษ 1990 – 2000 ได้ดีมาก (รูปที่ 8) เมื่อเขตพัฒนาผู่ตงเติบโตมาก เป็นผล ทําให้ประชากรของเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นอีกมาก คือ ในปี 2011 ประชากรในเซี่ยงไฮ้ เพิ่มขึ้น เป็น 23 ล้านคนแล้ว ซึ่งในช่วง 30 ปีประชากรของเซี่ยงไฮ้ เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว (แผนภาพที่ 1 ในภาคผนวก) ในขณะพื้นที่ เมืองเพิ่มขึ้นอีกจาก 1,000 กิโลเมตร เป็น 2,860 ตารางกิโลเมตร
  • 16. 12 1 2 3 รูปที่ 8 ผังเมืองรวมของเซี่ยงไฮ้ ปี 1980 – 1990 (1) ผังเมืองรวมเซี่ยงไฮ้ปี 1986 (2) ผังเมืองรวมเขตผู่ตง ปี 1991 (3) ผัง เมืองรวมของเซี่ยงไฮ้ ปี 1990 – 2020 (ที่มา Shanghai planning and land resource administration Bureau) รูปที่ 9 ฝั่งผู่ตงในปัจจุบัน ที่มา (Shanghai Municipality, Shanghai, China)
  • 17. 13 ในยุคการพัฒนาเมืองในยุคนี้ ความเป็นเมืองของเซี่ยงไฮ้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ด้านกายภาพ มากกว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ซึ่งแตกต่างจากยุคก่อนหน้าที่ที่เมืองขยายตัวเพราะ ประชากรมากกว่า ทําให้เกิดปัญหาการจัดการด้วย เช่น การใช้ระบบทะเบียนบ้าน (Hukou) ของรัฐบาลที่มี ไว้ให้คนลงทะเบียนเพื่อใช้ในการดูแลด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ กลายเป็นว่ามีคนลงทะเบียนในระบบ ทะเบียนบ้าน (hukou) เพียง 13.4 ล้านคนเท่านั้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ลงทะเบียนไว้ 12 ล้านคน ทั้งๆ ที่ เมืองเซี่ยงไฮ้มีประชากรกว่า 23 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าประชากรในเซี่ยงไอ้อีก 10 ล้านคนไม่ได้รับสิทธิ ด้านสวัสดิการสังคมเช่นเดียวกับประชากรที่ลงทะเบียนไว้ ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนเอาจริงเอาจังกับการมุ่งสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ในช่วงแรกรัฐบาลจีนใช้นโยบายเปลี่ยนการจัดสรรรายได้ภาษีระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น พร้อม เปลี่ยนแผนการผลิตไปสู่แผนเศรษฐกิจระดับมหภาค และกระจายงบประมาณให้กับรัฐบาลท้องถิ่น ทําให้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอํานาจในการตัดสินใจด้านการเงินและการบริหารเมืองมากขึ้น สามารถสร้างและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและดําเนินโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังดําเนินการนโยบายให้ เอกชนสามารถเช่าที่ดินและปฏิรูปที่อยู่อาศัย พร้อมเปลี่ยนระบบสวัสดิการแบบสังคมนิยมที่เคยใช้มาตลอด เป็นระบบกลไกตลาดโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบพิเศษ การ เปลี่ยนเป็นระบบกลไกตลาดทําให้แก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยไปได้พอสมควร เนื่องจากในช่วงปี 1980 เมือง เซี่ยงไฮ้ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเนื่องจากต้องรอให้รัฐบาลเป็นคนลงทุน ด้วยระบบตลาดที่เข้ามาแทนที่ ทําให้รัฐบาลมีงบประมาณเหลือมากขึ้นเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของเมือง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาเขต พื้นที่เมืองเก่าที่ทรุดโทรมได้อีกด้วย ในช่วงแผนพัฒนาตลอด 10 ปี ตั้งแต่ปี 1990 เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่ เจริญเติบโตมาก จนในศตวรรษที่ 20 เซี่ยงไฮ้ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน Shanghai world expo ในปี 2010 (กล่องที่ 1)
  • 18. 14 กล่องที่ 1 Shanghai world expo ปี 2010 งาน “World Expo” หรือ “งานมหกรรมโลก” คือ งานนิทรรศการระดับโลกที่ทุกประเทศนําเอา ความลํ้าหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และอุตสาหกรรมมา ให้ชาวโลกได้ยลโฉม ภายใต้ธีม (Theme) หรือคอนเซ็ปต์การจัดงานที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามที่ คณะกรรมการ World Expo หรือ B.I.E กําหนด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสอดคล้องไปตามกระแสที่คนทั่ว โลกสนใจในช่วงขณะนั้น ในปี 2010 ประเทศจีนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ครั้ง ที่ 41 ที่นครเซี่ยงไฮ้ (งาน World Expo เริ่มจัดครั้งแรกในปี 1851 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นก็มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าภาพเรื่อยมา โดยประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ได้จัดทั้งหมด 12 ครั้ง ส่วนเมืองที่ได้จัดงาน World Expo มากที่สุดคือ ปารีส (ฝรั่งเศส) ได้จัดทั้งหมด 7 ครั้ง ประเทศจีนเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชียที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ รองจาก ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศเจ้าภาพล้วนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศ อุตสาหกรรมทั้งสิ้น (ข้อมูลจาก Wikipedia) งาน expo ที่เซี่ยงไฮ้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2010 เนื่องจากเมืองเซี่ยงไฮ้มีความโดดเด่นและเป็นตัวอย่างของการพัฒนาเมือง ทําให้ คณะกรรมการ World Expo กําหนดแนวคิดจัดงานครั้งนี้ว่า “Better City, Better Life” หรือ “เมืองที่ ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ดีกว่า”) ความสําคัญของงานนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นรองเพียงมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น เนื่องจาก ความใหญ่โตของงานที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานเอกชน สามารถเข้าร่วมได้ โดยประเทศต่าง ๆ ใช้เวทีนี้ในการแสดงศักยภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ ความลํ้าสมัยและสร้างสรรค์เชิงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม รวมไป ถึงเป็นเวทีให้ประเทศต่าง ๆ ได้ประชาสัมพันธ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงส่งเสริมด้าน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย รัฐบาลจีนให้ความสําคัญกับงานนี้มาก เพราะประเทศที่จะได้รับเป็นเจ้าภาพจะต้องเป็น ประเทศที่มีสะท้อนความสามารถด้านการพัฒนาประเทศได้ รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณเป็นมูลค่า มหาศาลกว่า 4 แสนล้านหยวนเพื่อเนรมิตพื้นที่จัดแสดงขนาด 5.28 ตารางกิโลเมตร บริเวณ 2 ฝั่ง แม่นํ้าหวงผู่ รวมทั้งสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เพื่อใช้สําหรับจัดงาน สร้างทางรถไฟใต้ดินสายเฉพาะที่ วิ่งเข้าสู่พื้นที่งาน World Expo โดยตรง ปรับปรุงสะพานหลูผู่และหนันผู่ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่จัดแสดง ทั้ง 2 ฝั่ง ตลอดจนปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค แหล่งมลพิษ วางระบบคมนาคมขนส่ง ระบบ สารสนเทศ งานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น งาน Shanghai world expo ปี 2010 เป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ที่จีนไม่ทําให้คนทั้งโลกผิดหวัง เนื่องจากภายในงานได้รวบรวมนวัตกรรมสิ่งอัศจรรย์เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก นํามาแสดง ทั้งได้ด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี
  • 19. 15  งานครั้งนี้เน้นแนวคิดการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือเมืองคาร์บอนตํ่า ซึ่งเป็น แนวคิดการพัฒนาเมืองที่หลายเมืองทั่วโลกให้ความสําคัญ โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้ ภายในงานเน้น ความสําคัญเรื่องการวางแผนการจัดการความน่าอยู่ภายในเมือง โดยสร้างเวทีพูดคุยเกี่ยวกับความ ท้าทายและแนวทางการพัฒนาของเมือง โดยมีหัวข้อสําคัญดังนี้ - ชีวิตที่น่าอยู่ และเมืองแห่งความสมานฉันท์ - การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและชนบท - เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับการพัฒนาเมือง - มรดกทางวัฒนธรรม เมืองสร้างสรรค์ และการฟื้นฟูเมือง - นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออนาคตในเมือง - การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อเมือง งานดังกล่าวมีคนเข้าร่วมกว่า 70 ล้านคน พร้อมกับที่เซี่ยงไฮ้ได้สะท้อนให้คนทั่วโลกเห็นแล้ว ว่า “เซี่ยงไฮ้คือเมืองระดับโลก” เมืองที่สามารถเชื่อมได้ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลัง พัฒนา เชื่อมตะวันตกและตะวันออก อยู่ระหว่างความรํ่ารวยและความยากจน รวมถึงเป็นทั้งอดีตและ อนาคตของจีนด้วย แนวคิดและนวัตกรรมต่างๆ ที่แสดงให้งานน่าจะเป็นแนวคิดที่หลายประเทศใน โลกนําไปดําเนินการได้ งาน Shanghai world expo ปี 2010 จึงเป็นงานที่สะท้อนถึงอนาคตของเมือง ที่ดี และเมืองที่พัฒนาอย่างยืนในศตวรรษที่ 21 พร้อมสะท้อนความสําเร็จในการพัฒนาเมืองของ ประเทศจีนด้วย ( รูปที่ 10 รูปที่ 11 และรูปที่ 12) รูปที่ 10 ศาลาการแสดงของประเทศจีน (China Pavilion) รูปแบบศาลามาจากสถาปัตยกรรมโบราณภายใต้แนวคิด “มงกุฎแห่งตะวันออก” (The Crown of The East) ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นนิทรรศการเล่าความเป็นมาในการพัฒนา บ้านเมือง รวมถึงการวางผังเมือง วิธีวางแผนการปกครองของตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ชั้นที่สองเป็นส่วนที่เปิดโอกาสให้ผู้ชม ทดลองวางผังเมืองด้วยตัวเองซึ่งเป็นลูกเล่นที่ทันสมัยและน่าสนใจ และชั้นสุดท้ายเป็นการแสดงมณฑลต่างๆ ในจีนรวมถึงฮ่องกง มา เก๊าและไต้หวัน (ที่มา China daily website)
  • 20. 16 รูปที่ 11 ศาลาการแสดงของประเทศเกาหลี (Korean Pavilion) (ที่มา Expomusuem) รูปที่ 12 การแสดงนวัตกรรมในศาลาการแสดงของประเทศแคนาดา (Canada Pavilion) (ที่มา Expomusuem) ข้อมูลจาก Shanghai manual a guide for sustainable urban development of the 21st century โดย United Nations
  • 21. 17 จากงาน Shanghai world expo ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน เซี่ยงไฮ้ก็ยังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก และมีคนเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เซี่ยงไฮ้ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบเต็มรูปแบบ พร้อม ปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยของประชากร ทําให้พื้นที่อยู่อาศัยของคนเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นจาก 6.9 ตารางเมตร ต่อคน ในปี 1992 เป็น 13.1 ตารางเมตรต่อคน แม้ว่าในเซี่ยงไฮ้จะเจริญเติบโตมากจนเรียกได้ว่าเป็นเมืองชั้นนํา ระดับโลก แต่ก็ถูกตั้งคําถามและการวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวค่อนข้างกระทบต่อ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และที่สําคัญคือทําให้เกิดปัญหาของคนสังคมเมือง การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเซี่ยงไฮ้ในทศวรรษที่ 1990 ทําให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแนวหน้าของ จีน การวางผังเมืองและการออกแบบเมืองเซี่ยงไฮ้ กลายเป็นตัวอย่างของการออกแบบเมืองอื่นทั่วประเทศ จีน เพราะโครงการการพัฒนาเมืองต่างๆ ในเมืองเซี่ยงไฮ้ประสบความสําเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเขตผู่ตง การพัฒนาย่านสรรพสินค้า การพัฒนาถนนหนานจิง (Nanjing Road) ให้กลายเป็นถนนคนเดินที่เป็นเขต การช็อปปิ้งขนาดใหญ่ที่สุดของเซี่ยงไฮ้ โครงการพัฒนาเขตเมืองเก่าซินเทียนตี้ (Xintiandi) การสร้างเมืองสี เขียวและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ การสร้างห้องสมุด การสร้างโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ และโครงการอื่นๆ อีกมากมาย จึงไม่แปลกใจเลยว่าเซี่ยงไฮ้กลายเป็นที่สุดของความเจริญเติบโตเรื่องเมืองของจีน และเป็น ตัวอย่างการเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ระดับโลกด้วย รูปที่ 13 เมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน (ที่มา Shanghai Municipality, Shanghai, China)
  • 22. 18 เซี่ยงไฮ้วันนี้ : สู่ศตวรรษใหม่และความท้าทาย 1. ย่านชานเมืองกาลังเติบโต และการพัฒนาศูนย์กลางเมือง หากดูแผนการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ ปี 1990 – 2020 จะเห็นว่าเซี่ยงไฮ้กําลังจะเปลี่ยนแปลงเมือง 2 ด้าน ประการที่ 1 คือ เซี่ยงไฮ้มีแผนที่จะพัฒนาเขตชานเมือง ประการที่ 2 เซี่ยงไฮ้กําลังพัฒนาศูนย์กลาง เมือง (Central city) ให้มีมาตรฐานระดับโลกด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพื้นที่ ในปี 2001 เซี่ยงไฮ้ได้จัดการประกวดการออกแบบนานาชาติ เพื่อหาแนวคิดวางแผนการพัฒนาย่านชาน เมืองและการปรับปรุงท่าเทียบเรือใจกลางเมือง การออกแบบการพัฒนาในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณ การพัฒนาเมืองยุคใหม่ของเซี่ยงไฮ้อีกครั้ง หลังจากที่เคยจัดประกวดการออกแบบเมืองระดับนานาชาติ เมื่อ 10 ปีก่อน เพื่อพัฒนาเขตพื้นที่ผู่ตง แผนการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ ปี 1999 -2020 แบ่งเขตการปกครองของเมืองเซี่ยงไฮ้ออกเป็น 4 ลําดับ ชั้น คือ ศูนย์กลางเมืองจํานวน 1 แห่ง เมืองบริวาร 9 แห่ง เมืองใหม่อีก 60 แห่ง และหมู่บ้านอีก 600 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ทั้งหมด นอกจากการพัฒนาใจกลางเมืองแล้ว เซี่ยงไฮ้ยังเปิดรับงานวิจัย เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมสําหรับการพัฒนาเมืองใหม่ และการพัฒนาหมู่บ้านด้วย ในปี 2001 – 2005 เซี่ยงไฮ้ทําโครงการที่เรียกว่า “โครงการเมืองใหม่ 1 แห่ง และโครงการเมืองทดลองอีก 9 แห่ง” ซึ่งเป็น โครงการที่ริเริ่มโดยเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ เพื่อค้นหารูปแบบการพัฒนาเขตชานเมือง อย่างไรก็ตามเซี่ยงไฮ้ ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างในการออกแบบเมืองใหม่ เช่น สื่อและประชาชนทั่วไปรวมทั้ง ผู้เชี่ยวชาญสนใจประเด็น “สไตล์” การออกแบบมากกว่าที่จะให้ความสําคัญที่ออกแบบเมืองที่เหมาะสม สําหรับการพัฒนาชานเมืองจริงๆ อีกทั้งต้องออกแบบอย่างไรให้สามารถสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกรองรับ ประชากรจํานวนมากของเซี่ยงไฮ้ได้ เซี่ยงไฮ้เดินหน้าโครงการการพัฒนาศูนย์กลางเมือง เริ่มจากโครงการปรับปรุงพื้นที่ริมนํ้า (สถาน ที่ตั้งของงาน Shanghai world expo 2010 บริเวณริมแม่นํ้าห่วงผู่ ) และตามมาด้วยอีกหลายโครงการ เช่น โครงการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์ การใช้พื้นที่อุตสาหกรรมเก่าให้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ใหม่ เป็นต้น ความคิด ริเริ่มในการทําโครงการเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนสําคัญที่ช่วยกําหนดอนาคตของเซี่ยงไฮ้ และยิ่งกระตุ้นให้ มีการวางแผนและค้นหาหนทางที่ดีที่สุดสําหรับการออกแบบเมืองอีกด้วย แผนการพัฒนาชานเมืองและการฟื้นฟูใจกลางเมือง เป็นโครงการที่ต้องทําควบคู่กันในการพัฒนา เมือง คือ การฟื้นฟูใจกลางเมืองต้องพัฒนาเพื่อเปลี่ยนมารองรับอุตสาหกรรมตติยภูมิ (tertiary industry)
  • 23. 19 หรืออุตสาหกรรมบริการ8 ในขณะที่เขตชานเมืองเองต้องเปลี่ยนจากรูปแบบการทําเกษตรกรรรมแบบ ดั้งเดิมไปสู่เกษตรกรรมที่ทันสมัย เพราะการสร้างหรือพัฒนาเมืองใหม่จะประสบความสําเร็จได้ขึ้นอยู่กับการ สร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ และต้องไม่ละทิ้งเกษตรกรรม ต้องพัฒนาเกษตรกรรม เป็นเกษตรกรรมแนวใหม่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น แผนการพัฒนาเมืองของเซี่ยงไฮ้ปี 1999 – 2020 จึง สะท้อนให้เห็นว่าความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจครั้งใหม่ การจัดการทรัพยากรครั้งใหญ่ เป็น แนวคิดการพัฒนาเมืองที่สนใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น 2. บทเรียนของเซี่ยงไฮ้ : ความสาเร็จและปัญหาจากการพัฒนาเมือง ในช่วงสองทศวรรษทั้งการพัฒนาเขตผู่ตง ในปี 1991 และการเป็นเจ้าภาพงาน Shanghai expo 2010 ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว บทเรียนการ พัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้จึงเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ ดังนี้ ประการแรก รูปแบบการปกครองแบบบนลงล่าง (top-down) ของรัฐบาลที่ควบคุมและวางแผน ทุกอย่าง ช่วยทําให้แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาเมืองได้อย่างรวดเร็ว เช่น การขาดโครงสร้าง พื้นฐาน ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากร สิ่งแวดล้อมของเมืองยํ่าแย่ ซึ่งเป็นปัญหาของเมืองและ ประเทศที่กําลังพัฒนา นอกจากนี้การกระจายอํานาจให้กับรัฐบาลท้องถิ่น หรือเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ให้มี หน้าที่วางแผนและพัฒนาเมืองทั้งหมด เป็นกลไกสําคัญที่ทําให้เซี่ยงไฮ้พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สอง รัฐบาลใช้อานาจอย่างเหมาะสมในการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงการ พื้นฐาน เพื่อให้ประชากรในเซี่ยงไฮ้ได้รับการบริการด้านสาธารณะที่มีมาตรฐาน และน่าพึงพอใจ ซึ่งหลาย ประเทศกําลังพัฒนารัฐบาลไม่สามารถใช้อํานาจหรือบริหารจัดการเช่นนี้ได้ ในขณะเดียวกับการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วของเมืองในจีนย่อมมีปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหาที่ สําคัญที่สุดคือ ประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ก่อนปี 1980 อัตราที่ดินต่อหัวตํ่ากว่า 100 ตารางเมตร แต่ปัจจุบันอัตราที่ดินต่อหัวสูงกว่า 120 ตารางเมตร จากขนาดและทรัพยากรที่ดินของเซี่ยงไฮ้ที่สูงเกินกว่า เกณฑ์ที่เหมาะสมของประชากร สะท้อนให้เห็นว่า ทรัพยากรที่ดินถูกทําลายไปมาก พื้นที่ของเซี่ยงไฮ้มี ประมาณ 5,000 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่นับรวมพื้นที่แม่นํ้าแยงซี และเกาะฉงชิ่ง ปัจจุบันพื้นที่ถูกใช้แล้วไป มากกว่าครึ่ง ในขณะพื้นที่ของฮ่องกงอยู่ที่ 1,100 กิโลเมตร แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและข้อจํากัดด้าน ภูมิศาสตร์อื่นๆ การสร้างพื้นที่จึงทําได้เพียง 25% เท่านั้น ในขณะพื้นที่ของสิงคโปร์มีเพียง 700 ตาราง 8 ในปี 1999 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมตติยภูมิ (Tertiary industry) หรืออุตสาหกรรมบริการ มีสัดส่วนทางเศรษฐกิจสูงกว่าอุตสาหกรรมทุติยภูมิ (ตารางที่ .. ในภาคผนวก)
  • 24. 20 กิโลเมตร แต่ข้อจํากัดของพื้นที่ ทําให้พื้นที่ถูกใช้แค่เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 เมืองมีการพัฒนาเศรษฐกิจ คล้ายๆ กับเซี่ยงไฮ้ แต่ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของทั้ง 2 ประเทศสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด การใช้ ที่ดินแบบไร้ประสิทธิภาพของเซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ตามมา ได้แก่ ความยั่งยืนของระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อม ในปี 1990 รัฐบาลท้องถิ่นมีแผนแบ่งที่ดินเซี่ยงไฮ้ ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 สําหรับการพัฒนา เมือง ส่วนที่ 2 สําหรับการทําเกษตร ส่วนที่ 3 สําหรับพื้นที่นิเวศสีเขียวและป่าไม้ แต่เมื่อพัฒนาเมืองแล้ว กลับไม่สามารถแบ่งที่ดินตามลักษณะการใช้งานแบบนี้ได้ และปัจจุบันก็ไม่สามารถแบ่งที่ดินได้ในลักษณะนี้ ได้ นอกจากนี้เซี่ยงไฮ้ ยังมีปัญหา เรื่องวัฒนธรรม รวมไปถึงเรื่องประวัติศาสตร์และการพัฒนาจิต วิญญาณของผู้คน ในคตวรรษที่ผ่านมา เซี่ยงไฮ้ได้พยายามอนุรักษ์พื้นที่และอาคารทางประวัติศาสตร์หลาย แห่ง และพยายามตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองให้มาก อย่างไรก็ตาม การ เห็นคุณค่านั้นยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความสูญเสีย และกระทบต่อพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และจิตวิญญาณของเมือง ในปี 2012 อัตราส่วนความเป็นเมืองของเซี่ยงไฮ้มีถึง 90% และประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคน ในขณะที่แหล่งที่ดินที่ใช้สําหรับการพัฒนาเมืองตามแผนแม่บทได้ใช้ไปเกือบทั้งหมดแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน ที่สําคัญ เช่น ทางหลวง ทางรถไฟ รถไฟใต้ดิน ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เซี่ยงไฮ้พัฒนาถึงขีดสุดแล้ว ในขณะที่เมืองอื่นๆ ของจีน ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 15-20 ปี ในการทําให้เป็นเมืองได้ ณ เวลานี้เซี่ยงไฮ้ได้กลายเป็นเมืองระดับโลก เป็นศูนย์กลางทางการเงิน มีศักยภาพในการแข่งขันที่ สูง ดังนั้น เพื่อให้เป็นการพัฒนาเมืองอย่างสมดุลมากขึ้น เซี่ยงไฮ้ต้องแก้ไขปัญหาและพัฒนาเรื่องต่างๆ เช่น การพัฒนาพื้นที่เมืองเก่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรเซี่ยงไฮ้ เช่น การเพิ่มการศึกษา การดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในพัฒนาเมืองก้าวต่อไปของเซี่ยงไฮ้ เพราะท้ายที่สุดแล้วในฐานะเมือง ใหญ่ระดับโลกเช่นนี้ ทรัพยากรมนุษย์ย่อมเป็นปัจจัยสําคัญที่จะขับเคลื่อนเมืองและจะช่วยให้เซี่ยงไฮ้เป็น เมืองที่เติบโตอย่างมีสมดุลมากยิ่งขึ้น
  • 25. 21 ภาคผนวก ที่ตั้งและพื้นที่ นครเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่บนชายผั่งทะเลทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออกของ ประเทศจีน ทิศเหนือติดบริเวณปากแม่นํ้าแยงซีเกียง ทิศใต้ติดกับอ่าวหังโจว ทิศตะวันตกติดมณฑลเจียงซู และเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับทะเลตงไห่ เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ประมาณ 6,340.5 ตร.กม. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยเป็นผืนแผ่นดิน 6,218.65 ตร.กม. และเป็นผืนนํ้า 121.85 ตร.กม. ทิศเหนือ จรดทิศใต้คิดเป็นระยะทาง 120 ก.ม. ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกคิดเป็นระยะทาง 100 ก.ม. โดยมีแม่นํ้า หวงผู่เป็นแม่นํ้าสายหลักและแหล่งนํ้าสําคัญไหลผ่านใจกลางเมืองเป็น ระยะทาง 80 กิโลเมตร ทําให้เซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองสําคัญที่มีเครือข่ายเส้นทางคมนาคมที่สะดวกเป็นอย่างยิ่ง เซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยเกาะสําคัญ 3 เกาะ คือ เกาะฉงหมิง เกาะฉางซิง และเกาะเหิงซา โดยเกาะฉง หมิงมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด คือ 1,041.21 ตร.กม. อีกทั้งนับเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับสามของจีน ซึ่งอุดม ด้วยแหล่งนํ้าและทะเลสาบธรรมชาติ รูปที่ 1 แผนที่ประเทศจีนและที่ตั้งเมืองเซี่ยงไฮ้ (ที่มา World map ) เซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งใน 4 เขตการปกครองพิเศษของจีน แบ่งออกเป็น 16 เขต เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ไม่ มีใจกลางเมืองแบบหนึ่งเดียว เนื่องจากย่านสําคัญๆ กระจายอยู่ทั่วเซี่ยงไฮ้ ทุกย่านจะมีย่านใจกลางเป็นของ ตัวเอง อย่างไรก็ตามใจกลางเมืองที่เด่นที่สุดของเซี่ยงไฮ้อยู่ระหว่างย่าน the bund และถนน Huaihai ทาง ทิศใต้
  • 26. 22 รูปที่ 2 เขตพื้นที่ทั้งหมดของเมืองเซี่ยงไฮ้ (TopChinaTravel) การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ปี 2014 เซี่ยงไฮ้มีประชากรประมาณ 24 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของ ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งเมืองที่มีการเติบโตของประชากรสูง ภายในช่วง 36 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1978 – 2014 เซี่ยงไฮ้มีจํานวนประชากรเพิ่มจากเดิมกว่า 13 ล้านคน จาก 11 ล้านคน เป็น 24 ล้านคน ประชากร ของเซี่ยงไฮ้เมืองเทียบกับเมืองใหญ่ของโลก พบว่า เมืองเซี่ยงไฮ้มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็น รองแค่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเมืองนิวเดลี ประเทศอินเดียเท่านั้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ ปี 1993 เป็น ต้นมา ประชากรเซี่ยงไฮ้อัตราการเติบโตติดลบมาโดยตลอด
  • 27. 23 - 5,000,000.00 10,000,000.00 15,000,000.00 20,000,000.00 25,000,000.00 30,000,000.00 1978 1980 1982 1984 1986 1988 1990 1992 1994 1996 1998 2000 2002 2004 2006 2008 2010 2012 2014 จํานวนประชากรเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1978 - 2014 กราฟที่ 1 แสดง จํานวนประชากรเมืองเซี่ยงไฮ้ ปี 1978 – 2014 (ที่มา คํานวณจาก Yearbook 2014 ของ Shanghai Municipality, Shanghai, China) รูปที่ 3 จํานวนประชากรเมืองที่มากที่สุดในโลก 10 อันดับแรก (ที่มา The World’s Cities in 2016 by united nation)