SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 10
Baixar para ler offline
คีรีวง
ธวัช ลาภูศรี
ผู้แทนเมืองคีรีวง
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ความเป็ นเมืองที่ก้าวกระโดด
| 2
คีรีวง
ความเป็ นเมืองที่ก้าวกระโดด
ผู้เขียน ธวัช ลาภูศรี
บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ถอดความ จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
ปก จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
รูปเล่ม จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
ปีที่เผยแพร่ มกราคม 2560
เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้สนับสนุน สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
| 3
คีรีวง
ความเป็ นเมืองที่ก้าวกระโดด
g
ท่ามกลางกระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งทาให้คลื่นมวลชน
พยายามเสาะแสวงหาและเดินทางไปยังสถานที่ซึ่งยังคงมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เพื่อ
สัมผัสความงามที่เมืองใหญ่ไม่มีนั้น คีรีวง หมู่บ้านท่ามกลางหุบเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางแห่งใหม่สาหรับนักท่องเที่ยวจานวนมาก
พร้อมๆ โอกาสด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้ามา ชุมชนคีรีวง
เริ่มเปิดตนเองสู่โลกภายนอกและพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิถีชีวิตของผู้คนที่
เดิมแนบชิดกับธรรมชาติ เลี้ยงชีพแบบพออยู่พอกิน และมีความสัมพันธ์กันฉันเครือญาติ ได้
เปลี่ยนแปลงมาเป็นวิถีชีวิตที่มีสิ่งอานวยความสะดวก มีโอกาสสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และมี
ระบบความสัมพันธ์เชิงธุรกิจมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนามาทั้งโอกาสและความท้าทายหลาย
ประการมาสู่หมู่บ้านคีรีวงในปัจจุบัน
| 4
รู้จักคีรีวง
คีรีวงเป็นชุมชนหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในตาบลกาโลน อาเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบ
ไปด้วย 4 หมู่บ้าน คือ บ้านคีรีวง บ้านคีรีทอง บ้านขุนคีรี และบ้านคีรีธรรม เฉพาะบ้านคีรีวง มีพื้นที่
ประมาณ 2,569 ไร่
ชุมชนคีรีวงมีความพิเศษด้านภูมิศาสตร์โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ราบแอ่งกระทะซึ่งรายล้อมไปด้วย
ภูเขาสูง อันได้แก่ เขาใหญ่ เขาหน้าล้อน เขาในไฮ และเขาสันสวรรค์ ทั้งยังมีลาธารไหลทอดผ่านกลาง
หมู่บ้านตลอดแนว นอกจากนั้น ชุมชนคีรีวงยังตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบคาบสมุทร ได้รับอิทธิพลจาก
ลมมรสุมทั้งจากฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ทาให้ในแต่ละปีจึงมีเพียง 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดู
ฝน โดยฤดูฝนจะกินระยะเวลานานถึง 9 เดือน ชุมชนคีรีวงจึงมีปริมาณน้าฝนอยู่ในเกณฑ์สูง
ด้านการประกอบอาชีพ ชาวคีรีวงส่วนมากเป็นเกษตรกร มีจานวนราว 641 คน หรือคิดเป็นร้อย
ละ 80.93 ของประชากรทั้งหมด ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ สาหรับข้อมูล
ด้านการศึกษา ชาวบ้านส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้ ทว่ากว่าครึ่งหนึ่งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพียงระดับประถมศึกษา ปัจจุบันชาวคีรีวงจึงให้ความสาคัญกับการศึกษามากขึ้นและเริ่มส่งเสริมให้บุตร
หลานได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งโรงเรียนในพื้นที่อย่างโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 ได้
ดาเนินการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้านการกาหนด
หลักสูตรจนนามาสู่การจัดสอนวิชาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการดารงเอกลักษณ์ของ
ชุมชน และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ในแง่ของศาสนาและวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่ชาวคีรีวงเกือบทั้งหมดนับถือพุทธศาสนา ประเพณี
และวัฒนธรรมส่วนมากจึงมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน โดยประเพณี
ที่ชาวคีรีวงถือปฏิบัติอยู่เป็นประจา ได้แก่ งานทาบุญอาบน้าคนแก่ (บุญเดือนห้า – สงกรานต์) งาน
เข้าพรรษา (บุญเดือนแปด) งานบุญวันสารท (บุญเดือนสิบ) และงานบุญออกพรรษา (บุญเดือนสิบเอ็ด)
รวมไปถึงงานทาบุญตักบาตรระลึกถึงมหันตภัยจากน้าท่วมปี พ.ศ. 2531 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน
ของทุกปีเพื่อทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น
| 5
คีรีวง: ชนบทที่เปลี่ยนสู่เมือง
- พัฒนาการด้านการคมนาคม
ในอดีต ช่วงก่อน พ.ศ. 2505 ชาวบ้านคีรีวงติดต่อกับโลกภายนอกโดยทางน้าเป็นหลัก
มีพาหนะคือ “เรือเหนือ” การติดต่อกับภายนอกด้วยการใช้เรือนี้ส่วนใหญ่เป็นการลาเลียงผลไม้ที่
ผลิตได้ เช่น ทุเรียน มังคุด สะตอ ลูกเนียง หมาก และพลู ไปแลกเปลี่ยนข้าวปลาอาหารอื่นๆ
บริเวณอาเภอปากพนัง อาเภอหัวไทร และอาเภอเชียรใหญ่ ส่วนการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยอาศัย
เส้นทางบกก็มีอยู่บ้างแต่น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่ต้องบุกผ่านโคลนและพื้นที่สูง
ชัน อย่างไรก็ตาม อุทกภัยครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2505 ทาให้ลาน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรหลักตื้นเขิน
จนไม่สามารถใช้ได้อีก ชาวคีรีวงจึงหันมาบุกเบิกเส้นทางบกแทน โดยพยายามสร้างถนนออก
จากหมู่บ้านเพื่อเชื่อมต่อกับถนนภายนอกด้วยการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน และภายหลัง
สานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้ดาเนินงานสร้างและปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐาน ทาให้ใน
ปัจจุบันการเดินทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปยังคีรีวงโดยทางรถยนต์ ใช้เวลาเพียง 30
นาที คีรีวงจึงกลายเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับเมืองและโลกภายนอกอย่างสมบูรณ์
- เกษตรกรรมที่มุ่งสู่การพาณิชย์
เศรษฐกิจของชาวบ้านคีรีวงในอดีตพึ่งพาภาคเกษตรกรรมโดยการทาสวนผลไม้เป็น
หลักเช่นเดียวกับในปัจจุบัน ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนมีสวนผลไม้เป็นของตนเอง วิธีการ
เพาะปลูกซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยก่อนคือ “สวนสมรม” หมายถึง สวนที่มีผลไม้นานาชนิดปลูก
รวมกันโดยอาศัยทาเลบริเวณเชิงเขาเพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติช่วยเกื้อหนุน
ผลผลิตที่ปลูก ต่อมาคนรุ่นหลังเริ่มคัดเลือกเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีมาขยายพันธุ์และนาพืชพันธุ์ดี
จากภายนอกมาปลูกขยายพันธุ์เพิ่มเติม ทาให้ผลผลิตด้านการเกษตรของคีรีวงมีคุณภาพสูงขึ้น
จนเป็นที่ต้องการของตลาดจานวนมาก ทาให้ในปัจจุบัน การเกษตรกรรมของชาวคีรีวง
เปลี่ยนแปลงไปเป็นการผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น
ต่างจากสมัยก่อนที่มักเป็นการผลิตแล้วนาไป
แลกเปลี่ยนเพื่อการยังชีพและยังไม่มีการใช้
นวัตกรรมพัฒนาผลผลิตเท่าใดนัก โดยพืชพันธุ์ที่
นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ สะตอ ลูกเนียง หมาก
ขนุน จาปาดะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด
เงาะ เป็นต้น โดยผลไม้ที่มีชื่อเสียงและคุณภาพสูงคือ มังคุด
| 6
- การเติบโตของการท่องเที่ยว
ในช่วง 5 – 10 ปีที่ผ่านมา คีรีวงเริ่มเป็นที่รู้จักของโลกภายนอกมากขึ้นจากการบอกต่อ
ของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่เคยมาเยือนผ่านช่องทางของสังคมออนไลน์ ทั้งใน
เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค รวมไปถึงรายการโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ หลายคนที่ได้ยินเรื่องราว ได้เห็น
ภาพธรรมชาติที่สวยงาม ต่างก็อยากจะเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศของหมู่บ้านคีรีวง หมู่บ้านที่
ได้รับการขนานนามว่าเป็นพื้นที่ที่มีอากาศดีที่สุดในประเทศไทย อุดมไปด้วยพืชผักผลไม้ ลาธาร
ใสสะอาด ธรรมชาติที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ การท่องเที่ยวของคีรีวงจึงเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ในเวลาเพียงไม่กี่ปี สิ่งที่เกิดตามมาก็คือ ธุรกิจชุมชน ชาวบ้านที่ไม่มีสวนผลไม้หรือแม้แต่ผู้ที่มี
สวนแต่ต้องการรายได้เสริมต่างก็เริ่มประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นของตนเอง บ้างก็ขาย
อาหารตามสั่ง บ้างก็ขายของฝาก บ้างก็ปรับเปลี่ยนบ้านเพื่อเป็นที่พักรับรองนักท่องเที่ยวใน
ลักษณะโฮมสเตย์ หากมีเงินทุนมากก็สร้างรีสอร์ทที่มีคุณภาพสูงและสามารถรองรับ
นักท่องเที่ยวได้จานวนมากขึ้น ทั้งนี้ ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากการท่องเที่ยวขยายมา
สู่หมู่บ้านคีรีวงจนมีนักท่องเที่ยวเข้ามาแทบทั้งปี ส่งผลให้ที่พักในหมู่บ้านคีรีวงเพิ่มจานวนขึ้น
มากมายในเวลาอันรวดเร็ว การเติบโตของการท่องเที่ยวนี้ทาให้เศรษฐกิจในหมู่บ้านก็ดีขึ้น สร้าง
รายได้ให้ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง
ความท้าทายสาหรับคีรีวงในปัจจุบัน
ความเป็นเมืองที่รุกคืบเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มิได้นาพาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในทางวัฒนะมาสู่
คีรีวงเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ยังทาให้คีรีวงในปัจจุบันต้อง
เผชิญกับปัญหาซึ่งเป็นความท้าทายหลายประการที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต
ดั้งเดิมของคนในพื้นที่ ปัญหาเหล่านี้ ได้แก่
| 7
1. การรุกล้าพื้นที่สาธารณะและเขตชลประทาน กระแสการท่องเที่ยวที่ทาให้คีรีวงเป็นที่รู้จักอย่าง
กว้างขวางในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่เพื่อรองรับการ
ท่องเที่ยวขึ้นบริเวณสองฝั่งริมแม่น้าเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี มากจนกระทั่งเขตหน้าอาคารร้านค้ารุก
ล้าพื้นที่ถนน บดบังทางเดินทางเท้า อีกทั้งยังมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลประเภทน้าเสีย น้าล้างจานปล่อย
ลงสู่แหล่งน้าของชุมชนโดยไม่มีจุดพักหรือบ่อพักน้าเสียใดๆ ด้วยเหตุที่บ้านคีรีวงเป็นชุมชนต้น
น้า หากไม่มีการจัดการปัญหาการรุกล้าพื้นที่และควบคุมการปล่อยของเสียอย่างเป็น
กิจจะลักษณะ ในอนาคตแหล่งน้าสาธารณะของชุมชนซึ่งมีความสาคัญทั้งต่อการดารงชีวิตและ
การท่องเที่ยวอาจเสื่อมโทรมลงจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป
2. ขยะมูลฝอยล้นพื้นที่ เมื่อความเป็นเมืองหรือการเติบโตของการท่องเที่ยวไปถึงสถานที่ใด ย่อม
มิใช่เรื่องแปลกหากสถานที่นั้นจะมีปัญหาขยะเกิดขึ้น บรรดาครัวเรือนดั้งเดิม และครัวเรือน
ต่างๆ ที่ปรับตัวเป็นโฮมสเตย์ รีสอร์ท ร้านค้า หรือร้านอาหารในชุมชน รวมไปถึงนักท่องเที่ยว
จากภายนอกที่เข้ามา ได้สร้างขยะเพิ่มจากเดิมหลายเท่าตัวขึ้นในหมู่บ้านคีรีวง ซึ่งจนถึงปัจจุบัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ยังไม่สามารถจัดการกาจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิผลทาให้ชุมชนต้อง
เผชิญกับปัญหาขยะตกค้างมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ หมู่บ้านคีรีวงมีปริมาณขยะ 8 ตันต่อวัน
แต่มีรถเก็บขยะเทศบาลมาเก็บเพียงสัปดาห์ละครั้ง รถ 1 คัน บรรจุขยะได้ 2 ตัน แต่ละครั้งใช้รถ
2 คัน จึงเก็บไปได้เพียง 4 ตันเท่านั้น ทาให้มีขยะเหลือตกค้างในพื้นที่มากถึง 54 ตันต่อสัปดาห์
3. ระบบการจราจร ช่วงปีใหม่ของ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา คีรีวงได้ประสบปัญหาการจราจรติดขัด
อย่างคาดไม่ถึงอันเนื่องมาจากรถของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจานวนมาก การสัญจรที่ปกติ
ใช้เวลาราว 5 นาที กลับต้องใช้เวลากว่า 15 – 30 นาที ระยะทางจากจุดทางเข้าหมู่บ้านถึง
หมู่บ้านนั้นยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ปกติใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที แต่ช่วงเทศกาลกลับ
ต้องใช้เวลาถึง 3 – 4 ชั่วโมง ชุมชนจึงเริ่มมีการวางแผนปฏิรูปการจราจรจนปัญหาบรรเทาลง
แต่ก็ยังหลงเหลือปัญหาการจราจรอยู่บ้างจากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่จอดรถกีดขวางบริเวณข้าง
ทางซึ่งไม่ใช่ที่จอด อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องที่จอดรถได้กลายมาเป็นปัญหาอีกอย่างในปัจจุบัน
กล่าวคือ ในระยะหลังมีขบวนรถบัสของนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านจานวนมาก โดยยังไม่มี
การกาหนดพื้นที่จอดรถไว้ชัดเจน อีกทั้งรถที่จอดรอผู้โดยสารยังนิยมติดเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลา
หลายชั่วโมง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและมลภาวะทางเสียงตามมา
4. การขาดการวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ทุกวันนี้หมู่บ้านคีรีวงมีนักท่องเที่ยวเดิน
ทางเข้ามาจานวนมากในเวลาอันรวดเร็วเพื่อตามรอยกระทู้แนะนาจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เนต
ทาให้ชุมชนยังไม่สามารถวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างทันการณ์ เช่น การจัดทาแผนที่
| 8
บอกเส้นทาง ป้ายแนะนาประวัติและรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดทา
แหล่งข้อมูลเบื้องต้นอาทิ ข้อมูลที่พัก โฮมสเตย์ สินค้าชุมชนเพื่อบริการนักท่องเที่ยว
5. การขาดแคลนน้า แม้จะเป็นชุมชนต้นน้า แต่คีรีวงก็ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ารุนแรงขึ้นใน
ทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พ.ศ. 2559 นี้ ที่ฝนไม่ตกนาน 3 – 4 เดือน จนกระทั่งชาวบ้านเริ่ม
ไม่มีน้าประปาหมู่บ้านใช้ และต้องไปพึ่งบ่อน้าบาดาลที่ขุดกันเอง นอกจากนี้ยังมีปัญหาการแย่ง
กันใช้น้าจากการที่ชาวบ้านซึ่งมีบ้านหรือสวนอยู่บริเวณต้นน้าสูบน้ามาใช้มากเกินไปจนเหลือไม่
เพียงพอสาหรับบ้านเรือนของชาวบ้านที่อยู่ปลายน้าอีกด้วย
6. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวคีรีวง การเดินทางเข้ามาของบุคคลภายนอกจานวนมากเพื่อชื่นชมใน
ความงามของธรรมชาติของบ้านคีรีวง แม้จะทาให้คนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยากจะ
ปฏิเสธได้ว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านอยู่ไม่น้อย หลายครั้งนักท่องเที่ยว
ยืนถ่ายภาพกลางสะพาน กลางถนน กีดขวางการจราจรของชาวบ้านที่สัญจรไปมา หลายครั้งก็
ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
7. ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่เปลี่ยนไป เดิมที ความสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในชุมชนคีรี
วงมีลักษณะเป็นแบบเครือญาติ ผู้คนรู้จักกันทั่วทั้งหมู่บ้าน เมื่อมีกิจกรรมสาธารณะใดๆ ก็มัก
ได้รับความร่วมมือที่ดีเสมอ แต่ปัจจุบัน การขัดผลประโยชน์ด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวได้สร้าง
ความไม่ลงรอยกันระหว่างคนในชุมชนให้ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างน่ากังวล การระดมความร่วมมือ
ใดๆ ในกิจกรรมหรือโครงการสาธารณะที่แต่ละบุคคลเห็นว่าส่งผลกระทบต่อตนเองกลายเป็นสิ่ง
ที่กระทาได้ยากยิ่ง ภัยคุกคามทั้งหมดในข้างต้นจึงกลายมาเป็นปัญหาเรื้อรังที่ชุมชนไม่สามารถ
หาข้อยุติในการแก้ไขได้จนถึงขณะนี้
ความห่วงใยของคนในพื้นที่ต่ออนาคตของคีรีวง
ผลกระทบที่สร้างความสูญเสียจากปัญหานานัปการที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นนับเป็นสิ่งที่ชาวคีรีวง
ต้องแลกมากับโอกาสด้านการท่องเที่ยวและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง อย่างไรก็ดี คนคีรีวง
จานวนหนึ่งก็มิได้นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีการรวมกลุ่มเล็กๆ ของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ซึ่งมี
วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนวางรากฐาน
เศรษฐกิจของคีรีวงให้เข้มแข็งและการกระจายสินค้าบ้านคีรีวงให้คนไทยได้รู้จักมากขึ้น ด้านการจัดการ
กับความท้าทายที่ชุมชนเผชิญอยู่ในขณะนี้ ผู้แทนกลุ่มได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแต่ละด้านไว้ ดังนี้
| 9
1. แนวทางการแก้ปัญหาการรุกล้าพื้นที่สาธารณะและเขตชลประทาน สิ่งปลูกสร้างใหม่ที่จะ
เกิดขึ้นควรได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนควร
กาหนดระยะของสิ่งปลูกสร้างไม่ให้หนาแน่นจนเกินไป เช่น ในระยะ 100 เมตรอาจอนุญาตให้มี
ร้านค้าได้ไม่เกิน 3 ร้าน นอกจากนี้ ควรสงวนพื้นที่สองฝั่งคลองไว้เป็นสวนสาธารณะให้ชาวบ้าน
นักท่องเที่ยวได้ใช้ประโยชน์อาทิ ออกกาลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ
2. แนวทางการจัดการขยะ ปัจจุบันยังไม่มีข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาขยะตกค้าง แต่ได้มีการเสนอให้มี
การคัดแยกขยะอย่างจริงจัง ซึ่งอาจช่วยลดระยะเวลาการทางานของเจ้าหน้าที่และลดปริมาณ
ขยะลงได้ ทุกวันนี้ ขยะที่รอการจัดเก็บมีทั้งเศษผลไม้ เปลือกผลไม้และเศษอาหารปะปนรวมกับ
ขยะแห้งทั่วไป ซึ่งชาวบ้านจะใส่ถุงดานามาวางไว้บริเวณริมถนน กว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาเก็บไป
กาจัด ขยะก็จะเกิดการเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นสร้างความรบกวนอย่างมาก นอกจากนี้ ปัจจัยที่
ก่อให้เกิดขยะจานวนมากอีกอย่างก็คือนักท่องเที่ยว ดังนั้น จุดท่องเที่ยวต่างๆ จึงควรจัดทาป้าย
แจ้งให้ชัดเจนหรือประกาศแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบเรื่องเงื่อนไขการทิ้งขยะ และควรขอความ
ร่วมมือให้นักท่องเที่ยวนาขยะกลับไปทิ้งยังสถานที่ที่ได้เดินทางมา หรือหากไม่สะดวกนากลับ
อาจมีการคิดราคาขยะนั้น โดยเริ่มต้นที่ราคาชิ้นละ 10 บาท หรือตามแต่หมู่บ้านจะตั้งกติกา
ขึ้นมา รายได้ที่ได้มาจากการเก็บขยะนี้ก็นามาใช้พัฒนาหมู่บ้านต่อไป
3. แนวทางการปฏิรูปการจราจรในหมู่บ้าน หากมีการจัดพื้นที่จอดรถบัสท่องเที่ยวที่เข้ามายัง
หมู่บ้าน แล้วให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเดินเท้าไปยังสถานที่ใกล้เคียง ระหว่างการเดินเท้าได้
แวะซื้อของกินของฝากสองข้างทาง ย่อมช่วยกระจายรายได้ให้พ่อค้าแม่ค้าได้อีกทางหนึ่ง
สาหรับการเดินทางไปที่พักหรือสถานที่ที่ไกลออกไป อาจมีการจัดรถสองแถวให้บริการอานวย
ความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งก็ช่วยกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านได้อีกเช่นกัน ทั้งยังช่วย
ลดปัญหาการจราจรติดขัด รถโดนชน ขีดข่วน ลดปัญหามลพิษต่างๆ และยังส่งเสริมให้เกิด
ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในพื้นทีกับนักท่องเที่ยวไปในเวลาเดียวกัน
4. แนวทางการวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ปัจจุบันได้มีการจัดทาเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค
ที่มีชื่อว่า Kiriwong Village เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของหมู่บ้านคีรีวงไว้ เช่น ประวัติศาสตร์
บ้านคีรีวง สถานที่ท่องเที่ยว รายละเอียดร้านค้า ร้านอาหาร รีสอร์ทและที่พัก เพื่อเป็นช่องทาง
หนึ่งในการอานวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ
| 10
5. แนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้า วิกฤตการขาดแคลนน้าจะเบาบางลง หากมีการ
จัดเตรียมสถานที่กักเก็บน้าหรือบ่อพักน้า ขนาดกว้าง 10 เมตร จานวน 2 – 3 บ่อ ต่อหมู่บ้าน
ก่อนช่วงฝนแล้งจะมาถึง จะช่วยให้หมู่บ้านมีน้าเหลือไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง นอกจากนี้ควรมีการ
ติดตั้งมิเตอร์น้า บ้านใดใช้น้ามากน้อยก็จ่ายตามจานวนที่ใช้ แผนสารองเหล่านี้จะช่วยบรรเทา
ความเดือดร้อนของชาวบ้านให้ลดน้อยลง
แม้จะย้อนเวลาให้คีรีวงกลับไปบริสุทธิ์เช่นในอดีตไม่ได้ แต่ปัจจุบันคนในพื้นที่จานวนไม่น้อยก็
เริ่มตื่นตัวที่จะกระทาการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่กาลังเกิดขึ้นและร่วมกาหนดอนาคตของคีรีวง
โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือต้องการเห็นคีรีวงพัฒนาสู่ความเป็นเมืองที่ไม่กลืนกินวิถีชีวิตชาวบ้านและ
ยังคงไว้ซึ่งธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชุมชนได้อย่างยั่งยืน

Mais conteúdo relacionado

Mais de FURD_RSU

เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
FURD_RSU
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
FURD_RSU
 
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
FURD_RSU
 

Mais de FURD_RSU (20)

นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
 
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
 
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
 

คีรีวง ความเป็นเมืองที่ก้าวกระโดด

  • 2. | 2 คีรีวง ความเป็ นเมืองที่ก้าวกระโดด ผู้เขียน ธวัช ลาภูศรี บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ถอดความ จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ปก จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ รูปเล่ม จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ปีที่เผยแพร่ มกราคม 2560 เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้สนับสนุน สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 3. | 3 คีรีวง ความเป็ นเมืองที่ก้าวกระโดด g ท่ามกลางกระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งทาให้คลื่นมวลชน พยายามเสาะแสวงหาและเดินทางไปยังสถานที่ซึ่งยังคงมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เพื่อ สัมผัสความงามที่เมืองใหญ่ไม่มีนั้น คีรีวง หมู่บ้านท่ามกลางหุบเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางแห่งใหม่สาหรับนักท่องเที่ยวจานวนมาก พร้อมๆ โอกาสด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้ามา ชุมชนคีรีวง เริ่มเปิดตนเองสู่โลกภายนอกและพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิถีชีวิตของผู้คนที่ เดิมแนบชิดกับธรรมชาติ เลี้ยงชีพแบบพออยู่พอกิน และมีความสัมพันธ์กันฉันเครือญาติ ได้ เปลี่ยนแปลงมาเป็นวิถีชีวิตที่มีสิ่งอานวยความสะดวก มีโอกาสสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และมี ระบบความสัมพันธ์เชิงธุรกิจมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนามาทั้งโอกาสและความท้าทายหลาย ประการมาสู่หมู่บ้านคีรีวงในปัจจุบัน
  • 4. | 4 รู้จักคีรีวง คีรีวงเป็นชุมชนหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในตาบลกาโลน อาเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบ ไปด้วย 4 หมู่บ้าน คือ บ้านคีรีวง บ้านคีรีทอง บ้านขุนคีรี และบ้านคีรีธรรม เฉพาะบ้านคีรีวง มีพื้นที่ ประมาณ 2,569 ไร่ ชุมชนคีรีวงมีความพิเศษด้านภูมิศาสตร์โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ราบแอ่งกระทะซึ่งรายล้อมไปด้วย ภูเขาสูง อันได้แก่ เขาใหญ่ เขาหน้าล้อน เขาในไฮ และเขาสันสวรรค์ ทั้งยังมีลาธารไหลทอดผ่านกลาง หมู่บ้านตลอดแนว นอกจากนั้น ชุมชนคีรีวงยังตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบคาบสมุทร ได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมทั้งจากฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ทาให้ในแต่ละปีจึงมีเพียง 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดู ฝน โดยฤดูฝนจะกินระยะเวลานานถึง 9 เดือน ชุมชนคีรีวงจึงมีปริมาณน้าฝนอยู่ในเกณฑ์สูง ด้านการประกอบอาชีพ ชาวคีรีวงส่วนมากเป็นเกษตรกร มีจานวนราว 641 คน หรือคิดเป็นร้อย ละ 80.93 ของประชากรทั้งหมด ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ สาหรับข้อมูล ด้านการศึกษา ชาวบ้านส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้ ทว่ากว่าครึ่งหนึ่งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพียงระดับประถมศึกษา ปัจจุบันชาวคีรีวงจึงให้ความสาคัญกับการศึกษามากขึ้นและเริ่มส่งเสริมให้บุตร หลานได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งโรงเรียนในพื้นที่อย่างโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 ได้ ดาเนินการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้านการกาหนด หลักสูตรจนนามาสู่การจัดสอนวิชาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการดารงเอกลักษณ์ของ ชุมชน และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ในแง่ของศาสนาและวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่ชาวคีรีวงเกือบทั้งหมดนับถือพุทธศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมส่วนมากจึงมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน โดยประเพณี ที่ชาวคีรีวงถือปฏิบัติอยู่เป็นประจา ได้แก่ งานทาบุญอาบน้าคนแก่ (บุญเดือนห้า – สงกรานต์) งาน เข้าพรรษา (บุญเดือนแปด) งานบุญวันสารท (บุญเดือนสิบ) และงานบุญออกพรรษา (บุญเดือนสิบเอ็ด) รวมไปถึงงานทาบุญตักบาตรระลึกถึงมหันตภัยจากน้าท่วมปี พ.ศ. 2531 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปีเพื่อทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น
  • 5. | 5 คีรีวง: ชนบทที่เปลี่ยนสู่เมือง - พัฒนาการด้านการคมนาคม ในอดีต ช่วงก่อน พ.ศ. 2505 ชาวบ้านคีรีวงติดต่อกับโลกภายนอกโดยทางน้าเป็นหลัก มีพาหนะคือ “เรือเหนือ” การติดต่อกับภายนอกด้วยการใช้เรือนี้ส่วนใหญ่เป็นการลาเลียงผลไม้ที่ ผลิตได้ เช่น ทุเรียน มังคุด สะตอ ลูกเนียง หมาก และพลู ไปแลกเปลี่ยนข้าวปลาอาหารอื่นๆ บริเวณอาเภอปากพนัง อาเภอหัวไทร และอาเภอเชียรใหญ่ ส่วนการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยอาศัย เส้นทางบกก็มีอยู่บ้างแต่น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่ต้องบุกผ่านโคลนและพื้นที่สูง ชัน อย่างไรก็ตาม อุทกภัยครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2505 ทาให้ลาน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรหลักตื้นเขิน จนไม่สามารถใช้ได้อีก ชาวคีรีวงจึงหันมาบุกเบิกเส้นทางบกแทน โดยพยายามสร้างถนนออก จากหมู่บ้านเพื่อเชื่อมต่อกับถนนภายนอกด้วยการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน และภายหลัง สานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้ดาเนินงานสร้างและปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐาน ทาให้ใน ปัจจุบันการเดินทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปยังคีรีวงโดยทางรถยนต์ ใช้เวลาเพียง 30 นาที คีรีวงจึงกลายเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับเมืองและโลกภายนอกอย่างสมบูรณ์ - เกษตรกรรมที่มุ่งสู่การพาณิชย์ เศรษฐกิจของชาวบ้านคีรีวงในอดีตพึ่งพาภาคเกษตรกรรมโดยการทาสวนผลไม้เป็น หลักเช่นเดียวกับในปัจจุบัน ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนมีสวนผลไม้เป็นของตนเอง วิธีการ เพาะปลูกซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยก่อนคือ “สวนสมรม” หมายถึง สวนที่มีผลไม้นานาชนิดปลูก รวมกันโดยอาศัยทาเลบริเวณเชิงเขาเพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติช่วยเกื้อหนุน ผลผลิตที่ปลูก ต่อมาคนรุ่นหลังเริ่มคัดเลือกเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีมาขยายพันธุ์และนาพืชพันธุ์ดี จากภายนอกมาปลูกขยายพันธุ์เพิ่มเติม ทาให้ผลผลิตด้านการเกษตรของคีรีวงมีคุณภาพสูงขึ้น จนเป็นที่ต้องการของตลาดจานวนมาก ทาให้ในปัจจุบัน การเกษตรกรรมของชาวคีรีวง เปลี่ยนแปลงไปเป็นการผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น ต่างจากสมัยก่อนที่มักเป็นการผลิตแล้วนาไป แลกเปลี่ยนเพื่อการยังชีพและยังไม่มีการใช้ นวัตกรรมพัฒนาผลผลิตเท่าใดนัก โดยพืชพันธุ์ที่ นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ สะตอ ลูกเนียง หมาก ขนุน จาปาดะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด เงาะ เป็นต้น โดยผลไม้ที่มีชื่อเสียงและคุณภาพสูงคือ มังคุด
  • 6. | 6 - การเติบโตของการท่องเที่ยว ในช่วง 5 – 10 ปีที่ผ่านมา คีรีวงเริ่มเป็นที่รู้จักของโลกภายนอกมากขึ้นจากการบอกต่อ ของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่เคยมาเยือนผ่านช่องทางของสังคมออนไลน์ ทั้งใน เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค รวมไปถึงรายการโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ หลายคนที่ได้ยินเรื่องราว ได้เห็น ภาพธรรมชาติที่สวยงาม ต่างก็อยากจะเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศของหมู่บ้านคีรีวง หมู่บ้านที่ ได้รับการขนานนามว่าเป็นพื้นที่ที่มีอากาศดีที่สุดในประเทศไทย อุดมไปด้วยพืชผักผลไม้ ลาธาร ใสสะอาด ธรรมชาติที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ การท่องเที่ยวของคีรีวงจึงเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในเวลาเพียงไม่กี่ปี สิ่งที่เกิดตามมาก็คือ ธุรกิจชุมชน ชาวบ้านที่ไม่มีสวนผลไม้หรือแม้แต่ผู้ที่มี สวนแต่ต้องการรายได้เสริมต่างก็เริ่มประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นของตนเอง บ้างก็ขาย อาหารตามสั่ง บ้างก็ขายของฝาก บ้างก็ปรับเปลี่ยนบ้านเพื่อเป็นที่พักรับรองนักท่องเที่ยวใน ลักษณะโฮมสเตย์ หากมีเงินทุนมากก็สร้างรีสอร์ทที่มีคุณภาพสูงและสามารถรองรับ นักท่องเที่ยวได้จานวนมากขึ้น ทั้งนี้ ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากการท่องเที่ยวขยายมา สู่หมู่บ้านคีรีวงจนมีนักท่องเที่ยวเข้ามาแทบทั้งปี ส่งผลให้ที่พักในหมู่บ้านคีรีวงเพิ่มจานวนขึ้น มากมายในเวลาอันรวดเร็ว การเติบโตของการท่องเที่ยวนี้ทาให้เศรษฐกิจในหมู่บ้านก็ดีขึ้น สร้าง รายได้ให้ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายสาหรับคีรีวงในปัจจุบัน ความเป็นเมืองที่รุกคืบเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มิได้นาพาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในทางวัฒนะมาสู่ คีรีวงเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ยังทาให้คีรีวงในปัจจุบันต้อง เผชิญกับปัญหาซึ่งเป็นความท้าทายหลายประการที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ดั้งเดิมของคนในพื้นที่ ปัญหาเหล่านี้ ได้แก่
  • 7. | 7 1. การรุกล้าพื้นที่สาธารณะและเขตชลประทาน กระแสการท่องเที่ยวที่ทาให้คีรีวงเป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวางในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่เพื่อรองรับการ ท่องเที่ยวขึ้นบริเวณสองฝั่งริมแม่น้าเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี มากจนกระทั่งเขตหน้าอาคารร้านค้ารุก ล้าพื้นที่ถนน บดบังทางเดินทางเท้า อีกทั้งยังมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลประเภทน้าเสีย น้าล้างจานปล่อย ลงสู่แหล่งน้าของชุมชนโดยไม่มีจุดพักหรือบ่อพักน้าเสียใดๆ ด้วยเหตุที่บ้านคีรีวงเป็นชุมชนต้น น้า หากไม่มีการจัดการปัญหาการรุกล้าพื้นที่และควบคุมการปล่อยของเสียอย่างเป็น กิจจะลักษณะ ในอนาคตแหล่งน้าสาธารณะของชุมชนซึ่งมีความสาคัญทั้งต่อการดารงชีวิตและ การท่องเที่ยวอาจเสื่อมโทรมลงจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป 2. ขยะมูลฝอยล้นพื้นที่ เมื่อความเป็นเมืองหรือการเติบโตของการท่องเที่ยวไปถึงสถานที่ใด ย่อม มิใช่เรื่องแปลกหากสถานที่นั้นจะมีปัญหาขยะเกิดขึ้น บรรดาครัวเรือนดั้งเดิม และครัวเรือน ต่างๆ ที่ปรับตัวเป็นโฮมสเตย์ รีสอร์ท ร้านค้า หรือร้านอาหารในชุมชน รวมไปถึงนักท่องเที่ยว จากภายนอกที่เข้ามา ได้สร้างขยะเพิ่มจากเดิมหลายเท่าตัวขึ้นในหมู่บ้านคีรีวง ซึ่งจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ยังไม่สามารถจัดการกาจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิผลทาให้ชุมชนต้อง เผชิญกับปัญหาขยะตกค้างมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ หมู่บ้านคีรีวงมีปริมาณขยะ 8 ตันต่อวัน แต่มีรถเก็บขยะเทศบาลมาเก็บเพียงสัปดาห์ละครั้ง รถ 1 คัน บรรจุขยะได้ 2 ตัน แต่ละครั้งใช้รถ 2 คัน จึงเก็บไปได้เพียง 4 ตันเท่านั้น ทาให้มีขยะเหลือตกค้างในพื้นที่มากถึง 54 ตันต่อสัปดาห์ 3. ระบบการจราจร ช่วงปีใหม่ของ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา คีรีวงได้ประสบปัญหาการจราจรติดขัด อย่างคาดไม่ถึงอันเนื่องมาจากรถของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจานวนมาก การสัญจรที่ปกติ ใช้เวลาราว 5 นาที กลับต้องใช้เวลากว่า 15 – 30 นาที ระยะทางจากจุดทางเข้าหมู่บ้านถึง หมู่บ้านนั้นยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ปกติใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที แต่ช่วงเทศกาลกลับ ต้องใช้เวลาถึง 3 – 4 ชั่วโมง ชุมชนจึงเริ่มมีการวางแผนปฏิรูปการจราจรจนปัญหาบรรเทาลง แต่ก็ยังหลงเหลือปัญหาการจราจรอยู่บ้างจากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่จอดรถกีดขวางบริเวณข้าง ทางซึ่งไม่ใช่ที่จอด อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องที่จอดรถได้กลายมาเป็นปัญหาอีกอย่างในปัจจุบัน กล่าวคือ ในระยะหลังมีขบวนรถบัสของนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านจานวนมาก โดยยังไม่มี การกาหนดพื้นที่จอดรถไว้ชัดเจน อีกทั้งรถที่จอดรอผู้โดยสารยังนิยมติดเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลา หลายชั่วโมง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและมลภาวะทางเสียงตามมา 4. การขาดการวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ทุกวันนี้หมู่บ้านคีรีวงมีนักท่องเที่ยวเดิน ทางเข้ามาจานวนมากในเวลาอันรวดเร็วเพื่อตามรอยกระทู้แนะนาจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เนต ทาให้ชุมชนยังไม่สามารถวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างทันการณ์ เช่น การจัดทาแผนที่
  • 8. | 8 บอกเส้นทาง ป้ายแนะนาประวัติและรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดทา แหล่งข้อมูลเบื้องต้นอาทิ ข้อมูลที่พัก โฮมสเตย์ สินค้าชุมชนเพื่อบริการนักท่องเที่ยว 5. การขาดแคลนน้า แม้จะเป็นชุมชนต้นน้า แต่คีรีวงก็ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ารุนแรงขึ้นใน ทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พ.ศ. 2559 นี้ ที่ฝนไม่ตกนาน 3 – 4 เดือน จนกระทั่งชาวบ้านเริ่ม ไม่มีน้าประปาหมู่บ้านใช้ และต้องไปพึ่งบ่อน้าบาดาลที่ขุดกันเอง นอกจากนี้ยังมีปัญหาการแย่ง กันใช้น้าจากการที่ชาวบ้านซึ่งมีบ้านหรือสวนอยู่บริเวณต้นน้าสูบน้ามาใช้มากเกินไปจนเหลือไม่ เพียงพอสาหรับบ้านเรือนของชาวบ้านที่อยู่ปลายน้าอีกด้วย 6. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวคีรีวง การเดินทางเข้ามาของบุคคลภายนอกจานวนมากเพื่อชื่นชมใน ความงามของธรรมชาติของบ้านคีรีวง แม้จะทาให้คนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยากจะ ปฏิเสธได้ว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านอยู่ไม่น้อย หลายครั้งนักท่องเที่ยว ยืนถ่ายภาพกลางสะพาน กลางถนน กีดขวางการจราจรของชาวบ้านที่สัญจรไปมา หลายครั้งก็ ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น 7. ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่เปลี่ยนไป เดิมที ความสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในชุมชนคีรี วงมีลักษณะเป็นแบบเครือญาติ ผู้คนรู้จักกันทั่วทั้งหมู่บ้าน เมื่อมีกิจกรรมสาธารณะใดๆ ก็มัก ได้รับความร่วมมือที่ดีเสมอ แต่ปัจจุบัน การขัดผลประโยชน์ด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวได้สร้าง ความไม่ลงรอยกันระหว่างคนในชุมชนให้ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างน่ากังวล การระดมความร่วมมือ ใดๆ ในกิจกรรมหรือโครงการสาธารณะที่แต่ละบุคคลเห็นว่าส่งผลกระทบต่อตนเองกลายเป็นสิ่ง ที่กระทาได้ยากยิ่ง ภัยคุกคามทั้งหมดในข้างต้นจึงกลายมาเป็นปัญหาเรื้อรังที่ชุมชนไม่สามารถ หาข้อยุติในการแก้ไขได้จนถึงขณะนี้ ความห่วงใยของคนในพื้นที่ต่ออนาคตของคีรีวง ผลกระทบที่สร้างความสูญเสียจากปัญหานานัปการที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นนับเป็นสิ่งที่ชาวคีรีวง ต้องแลกมากับโอกาสด้านการท่องเที่ยวและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง อย่างไรก็ดี คนคีรีวง จานวนหนึ่งก็มิได้นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีการรวมกลุ่มเล็กๆ ของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนวางรากฐาน เศรษฐกิจของคีรีวงให้เข้มแข็งและการกระจายสินค้าบ้านคีรีวงให้คนไทยได้รู้จักมากขึ้น ด้านการจัดการ กับความท้าทายที่ชุมชนเผชิญอยู่ในขณะนี้ ผู้แทนกลุ่มได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแต่ละด้านไว้ ดังนี้
  • 9. | 9 1. แนวทางการแก้ปัญหาการรุกล้าพื้นที่สาธารณะและเขตชลประทาน สิ่งปลูกสร้างใหม่ที่จะ เกิดขึ้นควรได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนควร กาหนดระยะของสิ่งปลูกสร้างไม่ให้หนาแน่นจนเกินไป เช่น ในระยะ 100 เมตรอาจอนุญาตให้มี ร้านค้าได้ไม่เกิน 3 ร้าน นอกจากนี้ ควรสงวนพื้นที่สองฝั่งคลองไว้เป็นสวนสาธารณะให้ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวได้ใช้ประโยชน์อาทิ ออกกาลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ 2. แนวทางการจัดการขยะ ปัจจุบันยังไม่มีข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาขยะตกค้าง แต่ได้มีการเสนอให้มี การคัดแยกขยะอย่างจริงจัง ซึ่งอาจช่วยลดระยะเวลาการทางานของเจ้าหน้าที่และลดปริมาณ ขยะลงได้ ทุกวันนี้ ขยะที่รอการจัดเก็บมีทั้งเศษผลไม้ เปลือกผลไม้และเศษอาหารปะปนรวมกับ ขยะแห้งทั่วไป ซึ่งชาวบ้านจะใส่ถุงดานามาวางไว้บริเวณริมถนน กว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาเก็บไป กาจัด ขยะก็จะเกิดการเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นสร้างความรบกวนอย่างมาก นอกจากนี้ ปัจจัยที่ ก่อให้เกิดขยะจานวนมากอีกอย่างก็คือนักท่องเที่ยว ดังนั้น จุดท่องเที่ยวต่างๆ จึงควรจัดทาป้าย แจ้งให้ชัดเจนหรือประกาศแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบเรื่องเงื่อนไขการทิ้งขยะ และควรขอความ ร่วมมือให้นักท่องเที่ยวนาขยะกลับไปทิ้งยังสถานที่ที่ได้เดินทางมา หรือหากไม่สะดวกนากลับ อาจมีการคิดราคาขยะนั้น โดยเริ่มต้นที่ราคาชิ้นละ 10 บาท หรือตามแต่หมู่บ้านจะตั้งกติกา ขึ้นมา รายได้ที่ได้มาจากการเก็บขยะนี้ก็นามาใช้พัฒนาหมู่บ้านต่อไป 3. แนวทางการปฏิรูปการจราจรในหมู่บ้าน หากมีการจัดพื้นที่จอดรถบัสท่องเที่ยวที่เข้ามายัง หมู่บ้าน แล้วให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเดินเท้าไปยังสถานที่ใกล้เคียง ระหว่างการเดินเท้าได้ แวะซื้อของกินของฝากสองข้างทาง ย่อมช่วยกระจายรายได้ให้พ่อค้าแม่ค้าได้อีกทางหนึ่ง สาหรับการเดินทางไปที่พักหรือสถานที่ที่ไกลออกไป อาจมีการจัดรถสองแถวให้บริการอานวย ความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งก็ช่วยกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านได้อีกเช่นกัน ทั้งยังช่วย ลดปัญหาการจราจรติดขัด รถโดนชน ขีดข่วน ลดปัญหามลพิษต่างๆ และยังส่งเสริมให้เกิด ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในพื้นทีกับนักท่องเที่ยวไปในเวลาเดียวกัน 4. แนวทางการวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ปัจจุบันได้มีการจัดทาเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค ที่มีชื่อว่า Kiriwong Village เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของหมู่บ้านคีรีวงไว้ เช่น ประวัติศาสตร์ บ้านคีรีวง สถานที่ท่องเที่ยว รายละเอียดร้านค้า ร้านอาหาร รีสอร์ทและที่พัก เพื่อเป็นช่องทาง หนึ่งในการอานวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ
  • 10. | 10 5. แนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้า วิกฤตการขาดแคลนน้าจะเบาบางลง หากมีการ จัดเตรียมสถานที่กักเก็บน้าหรือบ่อพักน้า ขนาดกว้าง 10 เมตร จานวน 2 – 3 บ่อ ต่อหมู่บ้าน ก่อนช่วงฝนแล้งจะมาถึง จะช่วยให้หมู่บ้านมีน้าเหลือไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง นอกจากนี้ควรมีการ ติดตั้งมิเตอร์น้า บ้านใดใช้น้ามากน้อยก็จ่ายตามจานวนที่ใช้ แผนสารองเหล่านี้จะช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนของชาวบ้านให้ลดน้อยลง แม้จะย้อนเวลาให้คีรีวงกลับไปบริสุทธิ์เช่นในอดีตไม่ได้ แต่ปัจจุบันคนในพื้นที่จานวนไม่น้อยก็ เริ่มตื่นตัวที่จะกระทาการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่กาลังเกิดขึ้นและร่วมกาหนดอนาคตของคีรีวง โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือต้องการเห็นคีรีวงพัฒนาสู่ความเป็นเมืองที่ไม่กลืนกินวิถีชีวิตชาวบ้านและ ยังคงไว้ซึ่งธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชุมชนได้อย่างยั่งยืน