SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 96
Baixar para ler offline
1
CYBERSECURITY@ DIGITAL TRANSFORMATION
2
3
รายงานประจ�ำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
2017-2018 ThaiCERT Annual Report
เรียบเรียงโดย
สุรางคณา วายุภาพ, ชัยชนะ มิตรพันธ์, ศุภโชค จันทรประทิน, อุรัชฎา เกตุพรหม,
พรพรหม ประภากิตติกุล, วีรชัย ประยูรพฤกษ์, Martijn Van Der Heide, สัญญา คล่องในวัย,
อารยะ สวัสดิชัย, กรรณิกา ภัทรวิศิษฏ์สัณธ์, ทรงศักดิ์ ยงยิ่งศักดิ์ถาวร, ณัฐโชติ ดุสิตานนท์,
ฉัตรชัย จันทร์อินทร์, ยุทธนา ชนวัฒน์, เสฏฐวุฒิ แสนนาม, ปวริศ จอมสถาน,
จักรวาล องค์ทองค�ำ, นันทพงศ์ บุญถนอม, รุ่งวิทย์ จิตรส่องแสง, ธนชัย แสงไพฑูรย์,
สิริณัฐ ตั้งธรรมจิต, ภูรินทร์ หวังกีรติกานต์, วรรณิศา อนุรัตน์, พีร์นิธิ ฐานิวัฒนานนท์
ISBN: 978-616-7956-44-2
พิมพ์ครั้งที่ 2
พิมพ์จ�ำนวน 150 เล่ม
ราคา 300 บาท
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต)
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Thailand Computer Emergency Response Team (ThaiCERT)
Electronic Transactions Development Agency (ETDA)
Ministry of Digital Economy and Society
อาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า
(อาคารบี) ชั้น 20 เลขที่ 33/4
ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์: 0 2123 1212
4
5
สารบัญ
คำ�นิยม.......................................................................................................6
บทนำ�.........................................................................................................16
การโจมตีและอีเวนต์ทางไซเบอร์ที่สำ�คัญในไทย ปี 2560-2561............22
ตัวเลขสำ�คัญของไทยเซิร์ต.........................................................................24
แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2562............................................................34
ไทยเซิร์ตทำ�อะไรบ้าง...................................................................................42
เจาะลึกเคสรับมือภัยไซเบอร์ของไทยเซิร์ต...................................................52
ไทยเซิร์ตกับการสร้างกำ�ลังคนไซเบอร์ ......................................................66
ภาคผนวก..................................................................................................80
6
7
	 Cybersecurity เป็นเรื่องจำ�เป็นสำ�หรับ
ทุกคน และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันดูแลความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศ
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
รองนายกรัฐมนตรี
การปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ถือเรื่องส�ำคัญ รัฐบาลจึงได้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อม
รับมือในกรณีถูกโจมตีทางไซเบอร์ให้ทันท่วงที
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย
ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคมผลักดันแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปสู่ การปฏิบัติ
อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การผลักดันร่างกฎหมาย
ฉบับต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การพัฒนา
ก�ำลังคนให้มีความสามารถและเป็นก�ำลังหลักที่เพียง
พอต่อการแข่งขันและพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจ
ดิจิทัล
วันนี้ ภัยไซเบอร์ได้ขยายขอบเขตและสร้างความ
เสียหายรุนแรงไปทั่วโลก การสร้างก�ำลังคน
ด้านไซเบอร์จ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับประเทศไทย เพื่อ
ให้ทุกภาคส่วนของไทยพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจ
จะเกิดขึ้น
จีราวรรณ บุญเพิ่ม
ประธานกรรมการบริหาร
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
"ไทยเซิร์ต" ท�ำหน้าที่ดูแลความมั่นคงปลอดภัยบน
โลกไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเชิงรับ
และเชิงรุก อย่างไรก็ดี ทุกคนก็ต้องร่วมมือและปรับตัวให้
รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย หากไม่อยากถูกทิ้งไว้
ข้างหลัง ตามค�ำเปรียบเปรยที่ว่า "Do or Die?"
สุรางคณา วายุภาพ
ผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
16
ก้าวเล็ก
เป็นก้า
เพื่อก้าวต
17
ๆ ที่เติบโต
าวที่มั่นคง
ต่อไปในอนาคต
18
ประเทศไทยก�ำลังยกระดับเศรษฐกิจ
และสังคมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล
กลไกที่ส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเทศจึงมี
ความเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศที่มีความ
มั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนมีความ
มั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล อันจะ
ผลักดันให้ประเทศไทยมีการท�ำธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
ผลส�ำรวจมูลค่าธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยโดยส�ำนักงาน
พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)1
พบว่าปี 2560 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ2.8ล้าน
ล้านบาท และคาดการณ์ว่าปี 2561 จะมี
มูลค่าสูงถึง3.2ล้านล้านบาทคิดเป็นอัตรา
เติบโตร้อยละ 14.04 โดยประเทศไทยมี
มูลค่าธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ
Business to Consumer (B2C) กว่า 2
แสนล้านบาทและอยู่ในอันดับ1ของภูมิภาค
อาเซียนซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของ
การท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่3)พ.ศ.2562ก�ำหนด
ให้ สพธอ. ปฏิบัติหน้าที่ฐานะผู้ก�ำกับดูแล
ด้านการท�ำธุรกิจบริการด้านธุรกรรมออนไลน์
ตามท่ี่คณะกรรมการธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์มอบหมาย ซึ่งถือเป็นความ
ท้าทายที่ต้องยกระดับการท�ำงานของ
ส�ำนักงานเพื่อรองรับการจัดท�ำแผน
ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์จัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน รวมถึง
ก�ำกับดูแลธุรกิจบริการวิเคราะห์และรับรอง
มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
1
https://www.etda.or.th/publishing-detail/value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2018.html
19
20
ในขณะที่ประเทศไทยมีการพัฒนาด้าน
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภัยคุกคามไซเบอร์
เป็นภัยที่เราต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การโจมตีระบบการขโมยข้อมูลการปลอม
บัญชีโซเชียลมีเดีย และภัยคุกคามไซเบอร์
อื่น ๆ มีปรากฏให้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การ
แพร่ระบาดของ WannaCry ที่เกิดขึ้น
ทั่วโลกซึ่งชะลอขัดขวางบริการสารสนเทศ
ของหน่วยงานต่าง ๆ และส่งผลกระทบ
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ร่างรายงาน Global Cybersecurity
Index (GCI) ปี 25612
ซึ่งเป็นรายงานที่
แสดงถึงความเข้มข้นในการจัดการด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศต่าง ๆ
โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
หรือInternationalTelecommunications
Union (ITU) ประเมินค่าดัชนีความพร้อม
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ
ประเทศไทยคิดเป็น 0.796 และอยู่อันดับ
35 จาก 194 ประเทศ เทียบกับปี 2560
มีค่าดัชนีฯ 0.684 และอยู่ในอันดับที่ 22
แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในการปรับปรุง
ศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของประเทศ
2
https://www.itu.int/en/ITU-D/Cybersecurity/Documents/draft-18-00706_Global-Cybersecurity-Index-EV5_print_2.pdf
21
ภาครัฐเห็นความส�ำคัญในการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้ผลักดัน
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พ.ศ.....เพื่อรองรับ
การเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคง
และปลอดภัยซึ่งก�ำหนดให้มีส�ำนักงานคณะ
กรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
แห่งชาติท�ำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการ
ประสานและขับเคลื่อนนโยบายด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ
รายงานประจ�ำปีไทยเซิร์ตปี2560-2561
จัดท�ำสรุปเหตุการณ์ วิเคราะห์แนวโน้ม
รวบรวมสถิติภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้น
ในประเทศไทย และกิจกรรมที่ส�ำคัญของ
ไทยเซิร์ตเพื่อสร้างความตระหนักรู้และชี้ให้
เห็นถึงความส�ำคัญของการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ในภาครัฐภาคเอกชนและ
ภาคประชาสังคม ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของ
หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่เป็นสิ่งที่ทุก
ภาคส่วนต้องประคับประคองและแก้ไขปัญหา
ไปพร้อมกัน
แล้วคุณละ... พร้อมหรือยังที่จะเป็น
ส่วนหนึ่งในการยกระดับความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย
อย่างมั่นคงและยั่งยืน
22
การโจมตีและอีเวนต์ทางไซเบอร์
ที่สําคัญในไทย ปี 2560-2561
ผลักดันให้มี
คณะทํางาน
จัดการซ้อมรับมือ
APCERT Drill
ภายใต้ APCERT
อย่างเป็นทางการ
โดยมีไทยเซิร์ต
เป็นประธานคณะทํางานฯ
จัดสัปดาห์
งานสัมมนาด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
Thailand
Cybersecurity
Week 2017
จัดการแข่งขัน
ระดับประเทศ
Thailand
CTF 2017
พบการแพร่ระบาดของ
WannaCry
ในเครื่องคอมพิวเตอร์กว่า
200,000 เครื่อง
จาก 112 ประเทศ
ผ่านช่องโหว่ในโพรโทคอล SMB
เครื่องคอมพิวเตอร์
ในไทยถูกใช้เป็นฐาน
การโจมตีหน่วยงาน
โครงสร้างพื้นฐาน
สําคัญทางสารสนเทศ
และหน่วยงานอื่น ๆ
กว่า 17 ประเทศ
ข้อมูลลูกค้า
ธนาคารรวมกว่า
123,000 รายหลุด
จัดการแข่งขัน
ระดับอาเซียน
Cyber SEA Game
2017
จัดการประชุม
แนวนโยบาย
การปกป้อง
โครงสร้างพื้นฐาน
สําคัญทางสารสนเทศ
ของประเทศ
สนับสนุน
การประชุม
คณะกรรมการ
เตรียมการด้านการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
แห่งชาติครั้งที่ 1
เปิดตัว
ศูนย์ความร่วมมือ
อาเซียน - ญี่ปุ่น
เพื่อพัฒนาบุคลากร
ความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์
จัดการแข่งขัน
Thailand CTF 2018
และ Cyber SEA Game 2018
Facebook แถลง
เรื่องข้อมูลผู้ใช้หลุด
มีผลกระทบประมาณ
30 ล้านบัญชี
มัลแวร์
VPN Filter
แพร่ระบาดใน
อุปกรณ์ที่สามารถ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
(Internet of Things
: IoT) กว่า
500,000 เครื่อง
ใน 54 ประเทศ
บริษัท Mandiant
ระบุพบมัลแวร์ที่ใช้
ในการแอบส่งข้อมูล
โจมตีระบบหน่วยงาน
ภาครัฐสําคัญ
พบมัลแวร์
ที่ใช้ขุดเงิน
ดิจิทัลสกุลเงิน Monero
ส่งผลให้เครื่องทํางาน
ช้าลง มัลแวร์ดังกล่าว
ถูกดาวน์โหลด
ในประเทศไทย
กว่า 3.5 ล้านครั้ง
ผู้ให้บริการ
โทรคมนาคม
ตั้งค่าระบบเก็บข้อมูล
ไม่เหมาะสม
ทําให้สาธารณะ
สามารถเข้าถึง
ข้อมูลลูกค้า
เช่น สําเนาบัตรประชาชน
พาสปอร์ต
กว่า 46,000 ไฟล์
ตัวเลขส�ำคัญ
ของไทยเซิร์ต
25
26
ใน 2 ปีที่ผ่านมา ไทยเซิร์ตได้ด�ำเนิน
การทั้งในเชิงรุกและเชิงรับเพื่อเสริมสร้าง
ความมั่นคงปลอดภัยให้กับประเทศไทยทั้ง
การประสานเพื่อรับมือภัยคุกคามไซเบอร์
ในรูปแบบต่างๆเช่นการสร้างหน้าเว็บไซต์
ปลอมเพื่อหลอกให้เหยื่อใส่ข้อมูล(Phishing)
และการเจาะระบบเพื่อแก้ไขหน้าเว็บไซต์
สร้างความเสื่อมเสียให้กับองค์กร (Web
Defacement) รวมถึงการด�ำเนินการ
ปกป้องเว็บไซต์และตรวจจับภัยคุกคามให้กับ
หน่วยงานภาครัฐในโครงการ ThaiCERT
GMSและการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆ
เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ทั่วไปและเชิง
เทคนิค การซ้อมรับมือภัยคุกคาม
การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
โดยมีรายละเอียดสถิติที่น่าสนใจดังนี้
สถิติภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งและด�ำเนินการ
สถิติการรับแจ้งเหตุประสานงานภัยคุกคามในแต่ละปี
27
ในปี 2561 ไทยเซิร์ตได้รับแจ้งเหตุ
และประสานงานภัยคุกคาม 2,520 กรณี
ซึ่งลดลงจากปี 2560 ถึงร้อยละ 22 โดย
จ�ำนวนเหตุรับแจ้งลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่
ปี 2558 เนื่องจากหลายภาคส่วนตระหนัก
และเพิ่มการลงทุนในด้านความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ ส่งผลให้สามารถก่อตั้ง
CERT ประจ�ำภาคส่วนได้ส�ำเร็จในปี 2560
ท�ำให้ข้อมูลภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
มีการรายงานไปยัง CERT ที่เกี่ยวข้อง
โดยตรง รวมถึงการด�ำเนินการที่มี
ประสิทธิภาพมากขึ้นของ ThaiCERT GMS
ซึ่งประกอบด้วยส่วนGovernmentThreat
Monitoring (GTM) และ Government
Website Protection (GWP) ที่มีการเฝ้า
ระวังระบบ ป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ รวม
ทั้งตรวจสอบหาและแก้ไขช่องโหว่ของระบบ
เพื่อปิดช่องทางการโจมตีของผู้ประสงค์ร้าย
28
ตารางแสดงภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งสูงสุด 5 อันดับแรกในปี 2560 และ 256110
เมื่อพิจารณาภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งสูงสุด
5 อันดับแรกในปี 2560 และ 2561 ตาม
ตารางด้านบนพบว่าประเภทภัยคุกคามที่ได้
รับแจ้งสูงสุด3อันดับแรกของทั้ง2ปีคือ1.
ความพยายามบุกรุกเข้าระบบ (Intrusion
Attempts)2.การฉ้อโกงหรือหลอกลวงเพื่อ
ผลประโยชน์ (Fraud) ซึ่งส่วนใหญ่คือ
Phishing และ 3. การบุกรุกหรือเจาะระบบ
ได้ส�ำเร็จ (Intrusions) ซึ่งส่วนใหญ่คือ Web
Defacement ในขณะที่ภัยคุกคามประเภท
การโจมตีสภาพความพร้อมใช้งานของระบบ
(Availability) ซึ่งได้รับแจ้งเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในปี2560เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเนื่องจาก
พบการประกาศการโจมตีให้ส่งผลกระทบต่อ
การใช้งานเว็บไซต์จากกลุ่มที่ชื่อว่า“พลเมือง
ต้าน Single Gateway” แต่ในปี 2561 ไม่
พบความเคลื่อนไหวจากกลุ่มดังกล่าว จึงได้
รับแจ้งภัยคุกคามประเภทนี้ลดลง
2560 2561
อันดับ ประเภทภัยคุกคาม ประเภทภัยคุกคาม
1
ความพยายาม
บุกรุกเข้าระบบ
(Intrusion Attempts)
ความพยายาม
บุกรุกเข้าระบบ
(Intrusion Attempts)
2
การฉ้อโกงหรือหลอกลวง
เพื่อผลประโยชน์ (Fraud)
การฉ้อโกงหรือหลอกลวง
เพื่อผลประโยชน์ (Fraud)
3
การบุกรุกหรือเจาะระบบ
ได้ส�ำเร็จ (Intrusions)
การบุกรุกหรือเจาะระบบ
ได้ส�ำเร็จ (Intrusions)
4
การโจมตีสภาพความพร้อม
ใช้งานของระบบ
(Availability)
โปรแกรมไม่พึงประสงค์
(Malicious Code)
5
โปรแกรมไม่พึงประสงค์
(Malicious Code)
การเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล
ส�ำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต
(Information Security)
10
ค�ำอธิบายประเภทภัยคุกคามระบุในภาคผนวก ก ประเภทและตัวอย่างภัยคุกคาม
29
กราฟแสดง 5 อันดับประเทศที่แจ้งเหตุภัยคุกคามมากที่สุดในปี 2560 และ 2561
เมื่อพิจารณากราฟแสดงอันดับประเทศ
ที่แจ้งเหตุภัยคุกคามมากที่สุดในปี 2560
และ 2561 พบว่าภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่
ไทยเซิร์ตแก้ไข มาจากการตรวจพบโดย
ระบบของไทยเซิร์ตที่ที่รวบรวมข้อมูลจาก
แหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์กรในเครือข่าย ใน
ขณะประเทศที่แจ้งสูงสุดคือประเทศเยอรมนี
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภัยคุกคามในลักษณะ
IntrusionAttemptที่ระบบในประเทศไทย
โจมตีโดยการสแกนหรือพยายามสุ่ม
รหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าระบบเป้าหมายใน
ต่างประเทศ ซึ่งในกรณีนี้สาเหตุส่วนหนึ่ง
เกิดจากระบบในประเทศถูกผู้ประสงค์ร้าย
ควบคุมและใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตี
จึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องประสานแจ้งและ
ให้ค�ำแนะน�ำเจ้าของระบบเพื่อแก้ไข
30
ไทยเซิร์ตได้ให้บริการเฝ้าระวังเครือข่าย
ให้หน่วยงานภาครัฐในโครงการThaiCERT
GMS จ�ำนวน 240 หน่วยงาน โดยมัลแวร์
ที่ตรวจพบมากที่สุดติดต่อกันตั้งแต่ปี2558
ถึงปี 2561 เป็นมัลแวร์ประเภท Trojan
(ร้อยละ 60) และร้อยละ 89 ของ Trojan
ที่พบมาจากสายพันธุ์ Zeus ซึ่งสามารถดัก
ข้อมูลส�ำคัญของผู้ใช้บริการเพื่อส่งกลับให้
ผู้ประสงค์ร้าย เช่น รหัสผ่านและข้อมูล
บัตรเครดิต
ในขณะที่บริการส่วนปกป้องเว็บไซต์
(GWP) สามารถป้องกันการโจมตีได้ 6.6
ล้านครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
2561 โดยการโจมตีที่พบบ่อยที่สุด คือ
Sensitive Data Exposure ซึ่งเป็นความ
พยายามเข้าถึงข้อมูลส�ำคัญที่อาจไม่ได้รับ
การปกปิดเท่าที่ควร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ
เว็บเซิร์ฟเวอร์หรือเว็บแอปพลิเคชัน
ที่ผู้ประสงค์ร้ายสามารถน�ำไปใช้หาช่องโหว่
และเจาะระบบ
สถิติการให้บริการ ThaiCERT GMS
กราฟแสดงสถิติสัดส่วนการพบมัลแวร์ในปี 2561 โดยจ�ำแนกตามประเภท
31
นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
ปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ในช่วงกลางปี2561
ไทยเซิร์ตได้ตรวจสอบเว็บไซต์ในโครงการ
119 รายการ และพบ 538 ช่องโหว่ (เฉลี่ย
เว็บละ 5 ช่องโหว่) โดยร้อยละ 79 เป็น
ช่องโหว่ร้ายแรงที่่ถูกใช้ในการโจมตีรูปแบบ
ต่าง ๆ เช่น Cross-Site Scripting
(ร้อยละ 49) ซึ่งเป็นการแทรกค�ำสั่งเพื่อดัก
ขโมยข้อมูลจากบุคคลที่สามและInjection
(ร้อยละ 47) ซึ่งเป็นการแทรกค�ำสั่งเพื่อ
เรียกดูหรือแก้ไขฐานข้อมูลโดยมิชอบ หลัง
จากตรวจสอบ ไทยเซิร์ตได้ประสาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแนะน�ำแนวทาง
แก้ไขเพื่อปิดช่องทางโจมตีจากผู้ประสงค์ร้าย
32
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ได้ให้บริการแก่
ประชาชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและ
เอกชน ซึ่งในปี 2561 ได้ให้บริการทั้งสิ้น
19 รายการ โดยร้อยละ 47 มาจาก
หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมเช่นต�ำรวจ
ศาล หรืออัยการ และร้อยละ 42 เป็นการ
หาร่องรอยอาชญากรรม เช่น การละเมิด
ลิขสิทธิ์และการพนัน
ถึงแม้ว่าจ�ำนวนการร้องขอใช้บริการใน
ปี2561จะลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่
มีจ�ำนวนถึง30รายการแต่การตรวจพิสูจน์
ไฟล์ประเภทภาพและเสียงมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 เพื่อ
พัฒนาศักยภาพให้รองรับกับความต้องการ
ที่เพิ่มขึ้นไทยเซิร์ตได้พัฒนาบุคลากร
รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือส�ำหรับวิเคราะห์
ในด้านดังกล่าวนอกจากนี้ยังปรับเพิ่มบทบาท
เป็นผู้ให้บริการเก็บพยานหลักฐานกลางและ
สนับสนุนเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
บูรณาการในกรณีที่องค์กรขาดแคลน
เครื่องมือ
สถิติการให้บริการศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์
42%
26%
26%
5%
2560 25612559
15
14
22
8
4
6
9
33
กิจกรรมพัฒนาบุคลากรปี 2561
ในปี 2561 ไทยเซิร์ตได้จัดการอบรม
การแข่งขัน และการซ้อมรับมือภัยคุกคาม
รวมทั้งสิ้น 40 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วม 4,079
คน แบ่งเป็น บรรยายให้แก่ผู้บริหารระดับ
สูง20คน(ร้อยละ0.5)สร้างความตระหนัก
ให้แก่ประชาชนทั่วไป 2,674 คน (ร้อยละ
66) และเสริมสร้างทักษะและศักยภาพให้
แก่เจ้าหน้าที่เชิงเทคนิค 1,375 คน
(ร้อยละ 34) ทั้งนี้ไทยเซิร์ตได้จัดการอบรม
เชิงเทคนิครวม 12 ครั้ง แบ่งตามหัวข้อ
ได้แก่ การตอบสนองรับมือภัยคุกคาม การ
บริหารจัดการและนโยบาย ความมั่นคง
ปลอดภัยของเครือข่าย การตรวจพิสูจน์
พยานหลักฐานดิจิทัล การวิเคราะห์มัลแวร์
และความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ โดยประเภทหน่วยงานที่เข้าร่วม
สูงสุด3อันดับแรกคือการเงินโทรคมนาคม
และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเสริมศักยภาพ
การปกป้องของหน่วยงานโครงสร้าง
พื้นฐานส�ำคัญทางสารสนเทศของประเทศ
สอดรับกับยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 –
2564
สถิติการพัฒนาบุคลากร
04 )///(
Incident Response
Management  Policy
Network Security
Digital Forensics
Malware Analysis
Awareness
3
34
แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2562
35
36
ทีมไทยเซิร์ตได้วิเคราะห์และสรุปประเด็นส�ำคัญจากรายงานวิเคราะห์แนวโน้มด้าน
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2562 ของบริษัทต่าง ๆ เช่น ESET Kaspersky McAfee
และ Symantec เป็นต้น ซึ่งความเห็นของแต่ละบริษัทมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและ
แตกต่างกันไป โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กฎหมายและการโจมตีทาง
ไซเบอร์จะส่งผลให้หน่วยงาน
ให้ความส�ำคัญกับการดูแล
ข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น
แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2562
กฎหมายGeneralDataProtection
Regulation (GDPR) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ
เดือนพฤษภาคม 2561 ท�ำให้หน่วยงาน
ต่าง ๆ ตื่นตัวในเรื่องการรักษาข้อมูลส่วน
บุคคล เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มี
ผลบังคับใช้เฉพาะในทวีปยุโรป แต่ยังมีผล
ต่อทุกหน่วยงานทั่วโลกที่ครอบครองหรือ
จัดการข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนของ
ยุโรปด้วย นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้าน
กฎหมายในหลายประเทศ อาทิ
สหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมาย California
Consumer Privacy Act (CCPA) ภาย
หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมาย GDPR 40
วัน
ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็พยายาม
ผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคล โดยกฎหมายดังกล่าว มีเนื้อหา
ครอบคลุมการจัดเก็บรวบรวมและประมวล
ผลข้อมูลส่วนบุคคลบนพื้นฐานการยินยอม
จากเจ้าของข้อมูลตลอดจนการแจ้งเจ้าของ
ข้อมูลกรณีเกิดข้อมูลรั่วไหล
ในปีที่ผ่านมา ได้พบการรั่วไหลของ
ข้อมูลส่วนบุคคลจ�ำนวนมากจากหน่วยงาน
ต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งที่เกิดจากความผิดพลาด
ในการตั้งค่าท�ำให้ถูกเข้าถึงจากสาธารณะ
และการถูกโจมตีทางไซเบอร์เพื่อขโมย
ข้อมูล ตลอดจนมีการเผยแพร่ข้อมูล
โดยผู้ประสงค์ร้ายที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่ต้องดูแล
ข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความจ�ำเป็นต้องให้
ความส�ำคัญในการรักษาข้อมูลดังกล่าวมาก
ขึ้นพร้อมทั้งเตรียมมาตรการต่าง ๆ ในการ
ป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์
37
บทบาทของ AI
ในการป้องกัน
• เฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์ของ
หน่วยงาน โดยให้เรียนรู้พฤติกรรมของ
ผู้ใช้งานเพื่อหาเหตุการณ์ท่ี่ผิดปกติ
• จ�ำลองการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อหา
ช่องโหว่ของระบบ
บทบาทของ AI
ในการโจมตี
• ค้นหาช่องโหว่ของระบบเพื่อเลือก
เป้าหมายในการโจมตีี
• ติดตามพฤติกรรมบนโซเชียลมีเดีย
เพื่อน�ำไปหลอกลวง
การใช้เทคโนโลยี AI มีบทบาท
ในการป้องกันและโจมตีทางไซเบอร์
38
พบการโจมตีอุปกรณ์ IoT
แทนการโจมตีเราเตอร์
หลายปีที่ผ่านมาเราเตอร์ซึ่งถือเป็น
อุปกรณ์ประเภท Internet of Thing (IoT)
เป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีทางไซเบอร์
เช่น ปี 2558 มัลแวร์ Mirai เข้าควบคุมเรา
เตอร์กว่า 493,000 เครื่อง เพื่อใช้เป็นฐาน
ในการโจมตีบริษัทผู้ให้บริการเว็บ
โฮสติงในประเทศฝรั่งเศส โดยมีปริมาณ
การโจมตีสูงถึง 1.1 เทระบิตต่อวินาที3
ถือ
เป็็นหนึ่่งในการโจมตีประเภท DDoS
(Distributed-Denial-of-Service)ที่รุนแรง
ที่สุด
ในปี 2561 การโจมตีอุปกรณ์ IoT มี
ลักษณะเปลี่ยนแปลงไป โดยเปลี่ยนเป้า
การโจมตีจากเราเตอร์เป็นอุปกรณ์อื่น ๆ
ตัวอย่างเช่น ผู้ประสงค์ร้ายใช้นามแฝง
TheHackerGiraffeเข้าควบคุมเครื่องพิมพ์
(Printer) กว่า 50,000 เครื่องเพื่อสั่งการ
ให้พิมพ์กระดาษที่มีข้อความเชิญชวนให้
ติดตามช่อง PewDiePie บนเว็บไซต์
YouTube4
นอกจากนี้ยังได้เข้าควบคุม
อุปกรณ์ Google Chromecast หลายพัน
เครื่องที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ให้แสดงเนื้อหา
เชิญชวนให้ติดตามช่องPewDiePieอีกด้วย
ทั้งนี้ผู้ประสงค์ร้ายอ้างว่าการกระท�ำดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้
กับประชาชนเกี่ยวกับช่องโหว่ของอุปกรณ์
IoT
รายงานของบริษัท Symantec5
และ
บริษัท McAfee6
ยังได้ระบุเกี่ยวกับแนว
โน้มการโจมตีอุปกรณ์ IoT ในรูปแบบ
ต่าง ๆ ว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ผู้ใช้งาน
จึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ IoT ที่่่น่าเชื่อถือ
และมีกลไกในการอัปเดตแก้ไขช่องโหว่
อย่างสม�่ำเสมอ
3
https://www.thaicert.or.th/papers/general/2016/pa2016ge001.html
4
https://thehackernews.com/2018/11/pewdiepie-printer-hack.html
5
https://www.symantec.com/blogs/feature-stories/cyber-security-predictions-2019-and-beyond
6
https://securingtomorrow.mcafee.com/other-blogs/mcafee-labs/mcafee-labs-2019-threats-predictions/
39
การโจมตีผ่านผู้ผลิต
ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นการโจมตี
แบบวงกว้างที่มีประสิทธิภาพและ
ยังคงถูกใช้ในการโจมตี
ในหลายปีที่ผ่านมาเราได้พบการโจมตี
ผ่านผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายครั้ง ซึ่งเป็นการ
โจมตีผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อแอบฝังโค้ด
อันตรายในซอฟต์แวร์หรือตัวอัปเดตที่เผย
แพร่จากเจ้าของผลิตภัณฑ์เช่น ในปี 2559
พบการฝังมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธ์ุ
Notpety ในแพตช์ซอฟต์แวร์ CCleaner
เวอร์ชัน 5.33 ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 2 ล้านราย
ดาวน์โหลดแพตช์ดังกล่าวจากเซิร์ฟเวอร์
ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตามการ
โจมตีในรูปแบบนี้ไม่เหมาะกับการโจมตี
แบบเฉพาะเจาะจงเนื่องจากถูกตรวจจับได้
ง่าย แต่เป็นการโจมตีแบบวงกว้างที่มี
ประสิทธิภาพและในหลายรายงานเห็นตรง
กันว่ายังคงพบเห็นในปี 2562 หน่วยงาน
จึงควรมีกระบวนการติดตามข่าวสารการ
แจ้งเตือนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน
นอกจากนี้ในรายงาน Symantec7
ได้คาด
การณ์ว่าจะพบการโจมตีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์
เช่น การฝังโค้ดอันตรายใน Chip หรือ
เฟิร์มแวร์ของ BIOS แต่รายงานของ
Kaspersky8
คาดว่ามีโอกาสได้น้อยมาก
7
https://www.symantec.com/blogs/feature-stories/cyber-security-predictions-2019-and-beyond
8
https://securelist.com/kaspersky-security-bulletin-threat-predictions-for-2019/88878/
40
มีการปลอมบัญชีผู้ใช้งานมากขึ้น
ปัจจุบันนี้ การปลอมบัญชีโซเชียล
มีเดียสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น
การสวมรอยปลอมบัญชีบน Facebook
หรือ LINE แล้วอ้างเป็นคนรู้จัก การปลอม
อีเมลเป็นบริษัทคู่ค้าเพื่อหลอกลวงให้โอน
เงิน อันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการ
ท�ำธุรกรรมออนไลน์
ในปี 2562 ประเทศไทยผลักดัน
เศรษฐกิจดิจิทัลโดยส่งเสริมให้มีบริการ
ออนไลน์ในรูปแบบต่างๆเช่นบริการธนาคาร
ออนไลน์ บริการ e-wallet ท�ำให้การท�ำ
ธุรกรรมออนไลน์เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
แต่ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานประสบปัญหาใน
การดูแลบัญชีบริการออนไลน์หลากหลายที่
ใช้งานให้มีความมั่นคงปลอดภัย โครงการ
National Digital ID9
ออกแบบให้เชื่อมต่อ
กับระบบของหน่วยงานต่างๆท�ำให้สามารถ
ใช้บัญชีเดียวในการยืนยันตัวตนและสามารถ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้ซึ่งเป็นการ
อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำธุรกรรมออนไลน์
และง่ายต่อผู้ใช้งานในการดูแลบัญชี
อย่างไรก็ตามในการใช้งานบัญชีเดียว
เชื่อมโยงระบบต่างๆหากผู้ประสงค์ร้ายเข้า
ควบคุมบัญชีดังกล่าว ก็จะสามารถเข้าถึง
บริการต่าง ๆ ที่ใช้งานอยู่ รวมถึงบริการ
ทางการเงินที่มักตกเป็นเป้าหมาย ซึ่งจาก
สถิติการด�ำเนินการรับมือภัยคุกคามของ
ไทยเซิร์ตพบว่าภัยคุกคามที่ไทยเซิร์ตได้รับ
แจ้งสูงสุดคือการสร้างเว็บไซต์หลอกลวง
(Phishing)เพื่อขโมยข้อมูลและกลุ่มบริการ
หลักที่ตกเป็นเป้าคือกลุ่มบริการทางการเงิน
ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงควรมีความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับภัยไซเบอร์และ Cyber
Hygiene ที่เป็นแนวปฏิบัติการใช้งาน
เทคโนโลยีอย่างมั่นคงปลอดภัยรวมถึงการ
ดูแลบัญชีที่ใช้งานอย่างเหมาะสม เช่น การ
ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก ไม่เปิดเผย
รหัสผ่านให้ผู้อื่นการใช้งานการยืนยันตัวตน
แบบ 2 ขั้นตอน เพื่อยกระดับความรู้ตัวเอง
ให้เท่าทันการหลอกลวงของผู้ประสงค์ร้าย
ทั้งนี้ หน่วยงานก�ำกับและผู้ให้บริการที่
เกี่ยวข้องจ�ำเป็นต้องร่วมช่วยกันดูแลอย่าง
ใกล้ชิดและแจ้งเตือนผู้รับบริการให้หลีกเลี่ยง
การตกเป็นเหยื่อตามสถานการณ์ดังกล่าว
9
https://brandinside.asia/thai-digitalid-nationaldigitalid-electronicpaper-banking
41
42
ไทยเซิร์ต
ท�ำอะไรบ้าง
43
44
พันธกิจของไทยเซิร์ต
“ไทยเซิร์ต” ภายใต้การก�ำกับดูแล
ของ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ สพธอ.
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า“ศูนย์ประสาน
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบ
คอมพิวเตอร์ประเทศไทย” หรือ
“Thailand Computer Emergency
Response Team” (ThaiCERT) มี
พันธกิจในการแก้ไขสถานการณ์ด้านความ
มั่นคงปลอดภัยทั้งที่ได้รับแจ้งและตรวจพบ
เองในขอบเขตครอบคลุมระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ภายใต้โดเมนเนม
(Domain Name) ของประเทศไทย โดย
ท�ำงานร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้ความส�ำคัญ
กับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ภายใประเทศไทย และให้ค�ำปรึกษาแก่
หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานส�ำคัญ
ของประเทศ (Critical Infrastructure) ใน
เรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อรักษาความต่อเนื่อง
ในการด�ำเนินภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ
ไทยเซิร์ตมีภารกิจหลักในการรับมือ
กับสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ของ
ประเทศไทย ด้วยการประสานระหว่าง
บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการท�ำงาน
ที่ได้รับมาตรฐาน เทคโนโลยีทันสมัยที่น�ำ
มาประยุกต์ใช้ในงาน และเครือข่าย
ความร่วมมือจากทั่วโลก เพื่อเชื่อมโยง
การท�ำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและ
สามารถรับมือภารกิจที่ส�ำคัญได้
อย่างต่อเนื่อง
45
บริการของไทยเซิร์ต
ปัจจุบันไทยเซิร์ตให้บริการส�ำคัญเพื่อ
จัดการรับมือและป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์
เช่น บริการรับมือและจัดการสถานการณ์
ด้านความมั่นคงปลอดภัย บริการเฝ้าระวัง
และป้องกันภัยคุกคาม บริการตรวจพิสูจน์
พยานหลักฐานดิจิทัล บริการ Threat
Intelligence ซึ่งรวบรวมข้อมูลแจ้งเตือน
และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงบริการ
พัฒนาทักษะบุคลากรด้านความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อยกระดับความ
เชื่อมั่นในการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
ของประเทศไทย โดยด�ำเนินการใน 3
รูปแบบคือ
• บริการเชิงรุกเพื่อป้องกันภัยคุกคาม
(Proactive Services) เช่น การตรวจสอบ
และให้ค�ำแนะน�ำในการปิดช่องโหว่ของ
ระบบ
• บริการเชิงรับเพื่อตอบสนองภัย
คุกคาม (Reactive Services) เพื่อจ�ำกัด
ความเสียหายจากภัยคุกคามให้เหลือน้อย
ที่สุดและด�ำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
•บริการบริหารคุณภาพทางด้านความ
มั่นคงปลอดภัย (Security Quality
Management Services) ซึ่งเป็นการให้
บริการวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถ
และสร้างความตระหนักแก่บุคลากรให้รู้
เท่าทันและรับมือภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที
46
47
บริการเชิงรุกเพื่อป้องกันภัยคุกคาม
(Proactive Services)
ไทยเซิร์ตได้ปฏิบัติงานในเชิงรุกด้วย
มุ่งหวังว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด
ภัยคุกคาม และให้บริการที่มุ่งเน้นการ
สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียม
พร้อม หลีกเลี่ยง และป้องกันระบบจาก
การถูกโจมตี ซึ่งจะน�ำไปสู่การลดลงของ
สถิติภัยคุกคามร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้อย่างมี
นัยส�ำคัญ โดยการบริการเชิงรุกหลัก
ประกอบด้วยบริการแจ้งเตือนและเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารบริการเฝ้าติดตามภัยคุกคาม
บริการตรวจสอบและประเมินความมั่นคง
ปลอดภัย
• บริการแจ้งเตือนและเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสาร (Threat Intelligence)
เนื่องจากในปัจจุบันมีภัยคุกคามรูปแบบ
ใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอไทยเซิร์ตติดตามข่าวสาร
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จาก
เครือข่าย CERT และแหล่งข้อมูลที่
น่าเชื่อถือทั่วโลก โดยน�ำมาประเมินและ
วิเคราะห์ผลกระทบกับระบบสารสนเทศใน
ประเทศไทยก่อนที่จะแจ้งเตือน พร้อมทั้ง
เสนอข้อแนะน�ำในการป้องกันและแก้ไขให้
สาธารณะได้ทราบในรูปแบบข่าวสั้น(News-
Bite)บทความแจ้งเตือนบทความเชิงเทคนิค
Infographicและคลิปวิดีโอรวมถึงเผยแพร่
ข้อมูลสถิติภัยคุกคามที่ไทยเซิร์ตประสาน
งานรับมือและจัดการภัยคุกคามในแต่ละ
เดือนทางเว็บไซต์ของไทยเซิร์ต (www.
thaicert.or.th) โดยจะมีการรวบรวมและ
วิเคราะห์สถิติภัยคุกคามในแต่ละเดือนและ
เหตุการณ์ส�ำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปี เพื่อ
ก�ำหนดนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ และวางแผนป้องภัยคุกคามให้แก่
ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ
• บริการเฝ้าติดตามภัยคุกคาม
(Threat Watch)
ไทยเซิร์ตได้พัฒนาระบบ Threat
Watch เพื่อเฝ้าติดตามข้อมูลภัยคุกคาม
ตั้งแต่ปี 2557 โดยเป็นระบบที่สามารถ
รวบรวมและเฝ้าติดตามภัยคุกคามจาก
แหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์
ที่มีการเผยแพร่มัลแวร์ หรือข้อมูลรั่วไหล
จากการเจาะระบบเว็บไซต์ นอกจากนี้
ไทยเซิร์ตได้เฝ้าติดตามการข่าวจากแหล่ง
ข้อมูลต่าง ๆ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่ง
เป็นพันธมิตรกับไทยเซิร์ต แหล่งข้อมูล
ออนไลน์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
น�ำมาใช้วิเคราะห์ประเมินผล และตีความ
ให้ได้แหล่งข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับภัยคุกคาม
ไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น และน�ำไปใช้ในการ
วางแผนป้องกันหรือจัดการภัยนั้น ๆ ให้
ทันท่วงทีหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด อีก
ทั้งสามารถน�ำไปใช้เป็นแนวทางในการ
วางแผนรับมือภัยคุกคามที่อาจขึ้นในอนาคต
ได้อีกด้วย
48
•บริการตรวจสอบและประเมินความ
มั่นคงปลอดภัย(SecurityAssessment)
เป็นบริการที่จะช่วยให้หน่วยงานทราบ
ถึงช่องโหว่ของระบบสารสนเทศของตนเอง
และสามารถน�ำไปวิเคราะห์เพื่อจัดท�ำ
แผนบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk
Management Plan: RMP) และ
แผนบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ
(Business Continuity Management:
BCM) ของหน่วยงานได้
บริการเชิงรับเพื่อตอบสนองภัยคุกคาม
(Reactive Services)
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์โจมตีทาง
ไซเบอร์ไทยเซิร์ตให้การสนับสนุนแก่หน่วย
งานทั้งด้านข้อมูลและด้านเทคนิค เพื่อให้
สามารถรับมือต่อภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบ
ต่อระบบสารสนเทศของตนได้ การบริการ
เชิงรับหลักประกอบด้วย บริการรับมือและ
จัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
(Incident Handling) และบริการตรวจ
พิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล (Digital
Forensics)
•บริการรับมือและจัดการสถานการณ์
ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Incident
Handling)
ไทยเซิร์ตเป็นหน่วยงานประเภทCERT
ในระดับประเทศ ท�ำหน้าที่ให้บริการ 24x7
ในการรับแจ้งเหตุภัยคุกคาม ตรวจสอบ
และวิเคราะห์หาสาเหตุ และประสานงาน
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระงับเหตุและ
แก้ไขกรณีภัยคุกคามนั้นๆ เพื่อจ�ำกัดความ
เสียหายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมฟื้นฟูระบบ
และการให้บริการโดยเร็วที่สุด ไทยเซิร์ต
ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นตัวแทน
ประเทศไทยในเครือข่าย CERT ระหว่าง
ประเทศเช่นเครือข่ายAsiaPacificCERT
(APCERT) และ Forum of Incident
ResponseandSecurityTeams(FIRST)
นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังภัยคุกคามให้
กับหน่วยงานภาครัฐภายใต้โครงการ
ThaiCERT Government Monitoring
System (ThaiCERT GMS)
49
• บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน
ดิจิทัล (Digital Forensics)
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ท�ำหน้าที่ตรวจ
พิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลและออกรายงาน
ผลการตรวจวิเคราะห์ตามค�ำร้องขอของ
หน่วยงานรักษากฎหมาย รวมทั้งให้ค�ำ
ปรึกษาและค�ำแนะน�ำทางเทคนิคแก่เจ้า
หน้าที่ซึ่งอาจไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและ
พยานหลักฐานดิจิทัลสมัยใหม่ที่มีรูปแบบ
ต่างๆกันทั้งนี้ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์บริหาร
จัดการกระบวนการตรวจพิสูจน์อย่างเป็น
ระบบภายใต้กรอบมาตรฐานสากล เพื่อ
รักษาความต่อเนื่องของการครอบครอง
พยานหลักฐาน หรือ Chain of Custody
ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ผลการตรวจพิสูจน์มี
ความน่าเชื่อถือและสามารถน�ำไปใช้ใน
ชั้นศาลได้
บริการบริหารคุณภาพทางด้านความ
มั่นคงปลอดภัย (Security Quality
Management Services)
หมายถึงบริการสนับสนุนการบริหาร
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้าน
สารสนเทศขององค์กร ซึ่งบริการหลัก
ประกอบด้วยบริการพัฒนาทักษะบุคลากร
ด้านความมั่นคงปลอดภัย(Cybersecurity
Skills Development) และการสร้าง
ความตระหนักเรื่องความมั่นคงปลอดภัย
(Awareness Building)
• บริการพัฒนาทักษะบุคลากรด้าน
ความมั่นคงปลอดภัย (Cybersecurity
Skills Development)
ไทยเซิร์ตเล็งเห็นว่าการยกระดับความ
รู้ในเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ระบบสารสนเทศให้แก่บุคลากร ตลอดจน
ผู้บริหาร มีความส�ำคัญต่อการยกระดับ
ความเข้มแข็งของการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยในองค์กร ไทยเซิร์ตจึงได้เป็น
เจ้าภาพจัดอบรมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้
ความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งมีการ
เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งใน
และต่างประเทศมาบรรยายและแลกเปลี่ยน
ความรู้ นอกจากนี้ ไทยเซิร์ตยังได้จัดตั้ง
ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อพัฒนา
บุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
จัดการซ้อมรับมือภัยคุกคาม รวมทั้งเตรียม
ความพร้อมให้กับบุคลกรทั้งในและนอก
องค์กรที่มีความสนใจด้านการรักษาความ
มั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเข้าสอบ
ประกาศนียบัตรส�ำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ได้รับการ
ยอมรับในระดับสากล
50
• การสร้างความตระหนักเรื่องความ
มั่นคงปลอดภัย (Awareness Building)
ไทยเซิร์ตเผยแพร่ความรู้ด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่
หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และบุคคลทั่วไป โดยเป็นการเผยแพร่
ความรู้ทั้งในลักษณะการบรรยาย และการ
จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ เช่น โครงการสร้าง
ความตระหนักในการใช้อินเทอร์เน็ตให้
เสริมสร้างรายได้และรู้เท่าทันภัยคุกคาม
ไซเบอร์ (Internet for Better Life) เพื่อ
ช่วยให้ความรู้และความตระหนักในการใช้
อินเทอร์เน็ตอย่างมั่นคงปลอดภัยแก่นักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
51
52
เจาะลึกเคสรับมือ
ภัยไซเบอร์ของไทยเซิร์ต
53
การแพร่ระบาด
ของ WannaCry
ในช่วงเดือนกลางปี 2560 มีรายงาน
การแพร่ระบาดของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชื่อ
WannaCry อย่างหนักทั่วโลก โดยมัลแวร์
ดังกล่าวมีจุดประสงค์หลักคือการเข้ารหัส
ลับข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่
หากไม่จ่ายเงินตามที่เรียกจะไม่สามารถ
เปิดไฟล์ได้
สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษสําหรับมัลแวร์
นี้คือความสามารถในการกระจายตัวเอง
จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่อง
คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายได้โดย
อัตโนมัติ ผ่านช่องโหว่ระบบ SMB
(Server Message Block) ของ Windows
ผู้ใช้งานที่ไม่อัปเดตระบบปฏิบัติการ
ดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะติดมัลแวร์นี้
ช่องโหว่ที่ถูกใช้ในการแพร่กระจาย
มัลแวร์เป็นช่องโหว่ที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ
ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2560 และถึงแม้
ทาง Microsoft จะเผยแพร่อัปเดตแก้ไข
ช่องโหว่ดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม
2560แล้วแต่ยังพบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ยังไม่ได้อัปเดตแพตช์ดังกล่าวและถูกโจมตี
จากมัลแวร์นี้มากกว่า200,000เครื่องจาก
112 ประเทศ ซึ่งเกิดผลกระทบสูงต่อ
หน่วยงานสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ
ในประเทศไทยไทยเซิร์ตได้ตรวจสอบ
พบผู้ติดมัลแวร์ตัวนี้อยู่บ้างเป็นจ�ำนวน258
เครื่อง แต่ยังไม่พบการแพร่กระจายใน
วงกว้าง อย่างไรก็ตามไทยเซิร์ตได้เฝ้าระวัง
หน่วยงานส�ำคัญ รวมถึงให้ความช่วยเหลือ
และให้ค�ำแนะน�ำผู้ที่ได้รับผลกระทบ
SSD กับการตรวจพิสูจน์
พยานหลักฐานดิจิทัล
ในปี 2560 ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ ได้
รับพยานหลักฐานประเภท SSD (Solid
State Drive) เข้ามาให้ตรวจพิสูจน์มากขึ้น
เนื่องมาจากความนิยมใช้ SSD ที่เพิ่มสูงขึ้น
ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าและมีขนาดความ
จุที่น้อยกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน HDD
(Hard Disk Drive) ก็ตาม แต่ SSD มีข้อดี
และมีความสามารถอื่นๆที่เหนือกว่าHDD
หลายประการ เช่น ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า มี
ขนาดเล็กกว่าและน�้ำหนักเบากว่า มีความ
ร้อนน้อยกว่า เสียงเบากว่า ไม่มีเสียงดัง
ของจานหมุน และข้อดีที่ส�ำคัญคือ ท�ำงาน
เร็วกว่า HDD โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลใน
ต�ำแหน่งที่ต้องการอ่านหรือเขียนได้ทันที
ในขณะที่ HDD ต้องรอให้หัวอ่านเลื่อนไป
หาต�ำแหน่งข้อมูลที่ต้องการก่อน
54
เนื่องด้วย SSD ใช้หน่วยเก็บข้อมูล
ประเภท NAND Flash ซึ่งมีข้อจ�ำกัดของ
จ�ำนวนครั้งที่สามารถเขียนข้อมูลลงในหน่วย
ความจ�ำได้ หากมีการเขียนข้อมูลลงใน
หน่วยเก็บข้อมูลพื้นที่เดิมบ่อย ๆ จะท�ำให้
พื้นที่นั้นใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้น เพื่อ
แก้ปัญหาเรื่องอายุการใช้งานของ SSD จึง
ได้มีการใช้ 2 เทคนิค ดังนี้
1. Ware Leveling: เมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงเนื้อหาของไฟล์ใด ๆ เนื้อหา
ของไฟล์นั้นจะถูกย้ายไปแล้วบันทึกเป็น
ไฟล์ใหม่ลงในพื้นที่อื่นใน SSD ส่วนพื้นที่
เดิมที่เก็บเนื้อหาของไฟล์เก่าจะไป
เข้าคิวรอการเคลียร์ข้อมูล
2. Drive Trimming: หรือ
Trimming เป็นการเคลียร์ข้อมูลที่อยู่ใน
ต�ำแหน่งเก่า อาจเป็นข้อมูลที่เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงเนื้อหาไฟล์ การลบไฟล์หรือ
การฟอร์แมต เพื่อให้พื้นที่นั้นพร้อมรับการ
เขียนข้อมูลใหม่ ในระบบปฏิบัติการ
Windows7/8/10กระบวนการTrimming
ได้ตั้งค่าเริ่มต้น(Default)ให้ท�ำงานอัตโนมัติ
ตามการตั้งค่าของระบบปฏิบัติการ
(Scheduler) โดยทั่วไปมักท�ำเป็นราย
สัปดาห์
แม้ว่าเทคนิค Ware Leveling และ
Trimming จะช่วยเรื่องอายุการใช้งานของ
SSD และท�ำให้ SSD ท�ำงานได้เร็วขึ้น แต่
ส่งผลกระทบต่อการตรวจพิสูจน์ด้วย
อุปสรรคที่เกิด ได้แก่
1. การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน
ไม่สามารถใช้วิธีดั้งเดิมอีกต่อไป
วิธีดั้งเดิมในข้างต้นหมายถึง กรณีเมื่อ
ผู้เก็บรวบรวมพยานหลักฐาน ณ ที่เกิดเหตุ
พบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดทิ้งไว้ หลังจาก
ท�ำส�ำเนา Volatile Data แล้ว (โดยทั่วไป
VolatileDataหมายถึงข้อมูลที่อยู่ในRAM
ซึ่งจะหายไปเมื่อปิดคอมพิวเตอร์) ก็จะดึง
ปลั๊กที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ออก
เพื่อรักษาสภาพของข้อมูล (หากปิดเครื่อง
ด้วยวิธีปกติ จะท�ำให้มีการเขียนไฟล์และ
ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมก่อนเครื่องถูกปิดลง)
จากนั้นจึงน�ำเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อกลับ
มาวิเคราะห์ต่อไป
หากคอมพิวเตอร์ที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ใช้
SSD การดึงปลั๊กออกอย่างกะทันหันอาจ
ท�ำให้ SSD เสียหาย (Brick) อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีการจ่ายไฟเข้าไปอีกครั้ง SSD ส่วน
มากจะสามารถซ่อมแซมข้อมูลในตัวเองได้
ซึ่งในกระบวนการซ่อมแซมข้อมูลนั้นรวม
ไปถึงการท�ำ Ware Leveling และ
55
Trimmingซึ่งจะเป็นปัญหาเนื่องจากสภาพ
หลักฐาน(ข้อมูลในSSD)จะถูกเปลี่ยนแปลง
ไปแล้วเมื่อเทียบกับข้อมูลในสถานที่เกิด
เหตุ
ดังนั้นแนวทางปฏิบัติที่นิยมกันส�ำหรับ
SSD จึงเป็นการท�ำส�ำเนาข้อมูลในเครื่อง
คอมพิวเตอร์ในที่เกิดเหตุ ขณะที่เครื่อง
ก�ำลังเปิดอยู่
2. การใช้เครื่องมือป้องกันการเขียน
(Write Blocker) ไม่สามารถป้องกันการ
เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
โดยปกติ Write Blocker จะใช้
เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูล เพื่อป้องกัน
การเขียนข้อมูลลงไปในสื่อบันทึกข้อมูลนั้น
เช่นการเชื่อมต่อกับพยานหลักฐานต้นฉบับ
ในขั้นตอนการท�ำเนาข้อมูล เป็นต้น
ในกรณีของ SSD เมื่อเชื่อมต่อกับ
Write Blocker จะมีการจ่ายไฟเข้าไป
Controller ของ SSD และ Controller
อาจเริ่มกระบวนการWareLevelingและ
Trimming โดยอัตโนมัติ ท�ำให้ข้อมูลใน
พยานหลักฐานถูกเปลี่ยนแปลงดังนั้นหาก
มีการน�ำ SSD เดิมมาท�ำส�ำเนาข้อมูลซ�้ำอีก
ครั้ง อาจจะได้ค่าแฮชไม่เหมือนเดิม (ค่า
แฮชเป็นค่าที่ได้มาจากการใช้อัลกอริทึม
ค�ำนวณเนื้อหาของข้อมูล โดยหากข้อมูล
2 ชุดมีค่าแฮชตรงกัน สามารถเชื่อได้ว่า
ข้อมูลทั้ง 2 ชุดมีเนื้อหาเหมือนกันทุก
ประการ รูปแบบค่าแฮชที่นิยม เช่น MD5,
SHA1 และ SHA256)
3. อาจไม่สามารถกู้คืนข้อมูลที่ถูกลบ
ไปแล้วได้
ในกรณีของ HDD ข้อมูลที่ลบหรือ
ฟอร์แมตไปแล้วจะยังสามารถกู้คืนกลับมา
ได้ ตราบเท่าที่พื้นเก็บข้อมูลต�ำแหน่งนั้น
ยังไม่มีการเขียนทับ เนื่องจากระบบไฟล์
(เช่น NTFS หรือ FAT32) และระบบปฏิบัติ
การเพียงแค่บันทึกข้อมูลไว้ว่าพื้นที่ต�ำแหน่ง
นี้ว่าง สามารถเขียนทับได้ ท�ำให้ผู้ใช้งาน
มองไม่เห็นข้อมูลนั้นอีก แต่ข้อมูลยังมีอยู่
ที่ต�ำแหน่งเดิม
ในกรณีของSSDหากเกิดกระบวนการ
Trimming แล้ว ข้อมูลเก่าจะถูกลบออก
ไปโดยไม่สามารถกู้คืนได้อีก ซึ่งนับเป็น
อุปสรรคส�ำคัญต่อการตรวจพิสูจน์
56
การตรวจพิสูจน์
แอปพลิเคชันให้บริการดู
ภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิด
ลิขสิทธิ์บน Android TV
Box
ปี 2557 บริษัทกูเกิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์
ใหม่ในชื่อ แอนดรอยด์ทีวี ซึ่งเป็นอุปกรณ์
ที่ท�ำให้เราสามารถรับชมรายการโทรทัศน์
ภาพยนตร์ เล่นเกมส์ รวมทั้งเข้าใช้งาน
เว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์ โดยมีรูปแบบการใช้งาน 2
รูปแบบ คือ แบบติดตั้งระบบปฏิบัติการไว้
ในโทรทัศน์ และแบบกล่องเซ็ตท็อปบอกซ์
ที่เรียกว่า Android TV Box
เนื่องจากแต่ละครัวเรือนมีโทรทัศน์อยู่
แล้ว ดังนั้น Android TV Box จึงเป็นที่
นิยมมากกว่า อีกทั้งมีให้เลือกหลายยี่ห้อ
หลายราคา วิธีใช้งานค่อนข้างง่าย เพียงแค่
น�ำ Android TV Box มาเชื่อมต่อกับ
โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้งาน
ได้ ส่วนวิธีการดาวน์โหลดและใช้งาน
แอปพลิเคชันเหมือนการใช้งานสมาร์ตโฟน
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทั่วไปซึ่งหลาย
คนใช้เป็นอยู่แล้ว
ด้วยการใช้งานอย่างแพร่หลายของ
Android TV Box ส่งผลให้ผู้ประสงค์ร้าย
ใช้เป็นช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์
ซึ่งรูปแบบที่มักจะพบบ่อยคือ การเผยแพร่
แอปพลิเคชันส�ำหรับรับชมภาพยนตร์
ออนไลน์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีค่าบริการถูก
กว่าการซื้อหรือดาวน์โหลดภาพยนตร์จาก
แหล่งที่ถูกลิขสิทธิ์
ในปี 2560 ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์
ได้รับพยานหลักฐานที่เป็น Android TV
Box โดยหน่วยงานผู้ขอรับบริการขอให้
ศูนย์ฯ ตรวจพิสูจน์แอปพลิเคชันที่
ติดตั้งไว้ในพยานหลักฐาน ว่าเป็น
แอปพลิเคชันที่ให้บริการดูภาพยนตร์และ
ถ่ายทอดสดกีฬาหรือไม่ และถ่ายทอด
สัญญาณมาจากหมายเลขไอพีใด
ในการตรวจพิสูจน์ ผู้ตรวจพิสูจน์ได้ใช้
เครื่องมือท�ำส�ำเนาแอปพลิเคชันที่น่าสงสัย
ออกมาจากพยานหลักฐานเป็นไฟล์นามสกุล
APK (Android Package Kit) ซึ่งเป็น
เเพ็กเกจส�ำหรับใช้ติดตั้งโปรเเกรมต่าง ๆ
บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จากนั้น
วิเคราะห์ไฟล์ดังกล่าวเพื่อหากลไกการ
ท�ำงาน (Reverse Engineering) พบว่า
แอปพลิเคชันเรียกหน้าเว็บไซต์หนึ่งมาแสดง
ผล ผู้ตรวจพิสูจน์จึงได้ตรวจสอบเพิ่มเติม
โดยการติดตั้งและเปิดแอปพลิเคชันนั้นใน
57
แท็บเล็ตที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ของศูนย์ฯ ซึ่งจัดเตรียมไว้ส�ำหรับการ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ หลังจากเปิด
แอปพลิเคชันแล้ว พบหน้าเว็บไซต์แสดง
ส่วนที่ให้กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน
ผู้ตรวจพิสูจน์จึงกรอกชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัส
ผ่านที่ทางผู้ขอรับบริการจัดเตรียมไว้ให้พบ
ว่าสามารถรับชมภาพยนตร์และถ่ายทอด
สดกีฬาได้
จากนั้น ผู้ตรวจพิสูจน์จึงใช้เครื่องมือ
วิเคราะห์การท�ำงานของเครือข่าย พบว่า
มีสัญญาณถ่ายทอด (Streaming) มาจาก
หมายเลขไอพีทั้งในและต่างประเทศ
ศูนย์ฯได้ส่งรายงานผลการตรวจพิสูจน์
ให้หน่วยงานผู้ขอรับบริการเพื่อน�ำหมายเลข
ไอพีประสานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider: ISP) เป็น
ข้อมูลประกอบการสืบสวนสอบสวนต่อไป
58
รู้ไว้ใช่ว่า
การตรวจพิสูจน์
พยานหลักฐานดิจิทัล
ประเภทวิดีโอ
ปัจจุบัน ไฟล์ประเภทวิดีโอมีปริมาณ
สูงขึ้นจากในอดีตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็น
ผลเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และความแพร่หลายของสมาร์ตโฟน และ
ในขณะเดียวกันประชาชนยังนิยมติดกล้อง
วงจรปิดและกล้องหน้ารถมากขึ้น เพื่อ
บันทึกสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นอุบัติเหตุ
หรืออาชญากรรม ซึ่งในส่วนนี้เองที่ไฟล์
วิดีโออาจถูกน�ำมาใช้เป็นพยานหลักฐาน
ประกอบการพิจารณาคดีความ
อย่างไรก็ตาม ไฟล์วิดีโอจากอุปกรณ์
ข้างต้นมักมีข้อจ�ำกัดหลายประการ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในแง่ความคมชัดของภาพ
เป็นต้นว่าหากวิดีโอมีความละเอียดไม่เพียง
พอ จะท�ำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลตัวอักษร
ขนาดเล็ก เช่น ป้ายทะเบียนรถได้ แต่ทั้งนี้
วิดีโอดังกล่าวอาจไม่ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว
ด้วยการใช้เทคนิคปรับปรุงรูปภาพและ
วิดีโอ (Image/Video Enhancement)
เข้ามาช่วยอาจสามารถดึงข้อมูลที่ตามนุษย์
มองไม่เห็นออกมาได้บ้าง
รูปภาพและวิดีโอมีวิธีปรับปรุงทาง
ดิจิทัลอยู่หลายแบบ ที่คนทั่วไปรู้จักดีคือ
การปรับความสว่าง (Brightness) เฉดสี
(Hue) ระดับสี (Levels) หรือมุมมอง
(Perspective) นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคขั้น
สูงอื่นอีก เช่น การตัดสัญญาณภาพรบกวน
(Denoising) ขจัดความเลือนจากการ
เคลื่อนไหว (Motion Deblurring) ปรับ
เสถียรภาพของวัตถุในวิดีโอ(Stabilization)
เฉลี่ยภาพแต่ละฉาก (Frame Averaging)
หรือปรับสมดุลฮิสโทแกรม (Histogram
Equalization) ซึ่งล้วนเป็นผลจากการ
พัฒนาองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น
ผู้ตรวจพิสูจน์ต้องอาศัยทักษะและ
ประสบการณ์ในการเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม
กับปัญหาที่พบในรูปภาพหรือวิดีโอและ
เป้าหมายในการปรับปรุง
นอกเหนือจากการปรับปรุงให้คมชัด
แล้วยังมีรูปแบบการตรวจพิสูจน์อื่นอีก
ตัวอย่าง เช่น การประมาณส่วนสูงของ
ผู้ต้องสงสัยที่ปรากฏในรูปหรือวิดีโอซึ่งการ
ที่จะค�ำนวณค่าส่วนสูงได้อย่างแม่นย�ำได้
นั้น จ�ำเป็นต้องกลับไปส�ำรวจที่เกิดเหตุ
เพื่อหาวัตถุในระนาบที่จะใช้อ้างอิง ซึ่งต้อง
เป็นระนาบที่ตั้งฉากกันในทั้งสามมิติและ
อยู่ในระนาบเดียวกันกับที่ผู้ต้องสงสัยยืน
อยู่ แล้ววัดความยาววัตถุนั้น เพื่อน�ำไปใช้
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

Mais procurados (20)

รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561 รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561
 
Etda Annual Report 2019
Etda Annual Report 2019Etda Annual Report 2019
Etda Annual Report 2019
 
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoringผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
ผลวิเคราะห์โครงการ mSMEs Scoring
 
ข่าวสั้นและบทความ CYBER THREATS 2018
ข่าวสั้นและบทความ CYBER THREATS 2018ข่าวสั้นและบทความ CYBER THREATS 2018
ข่าวสั้นและบทความ CYBER THREATS 2018
 
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2019
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2019Value of e-Commerce Survey in Thailand 2019
Value of e-Commerce Survey in Thailand 2019
 
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
 30.03.2020  เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ... 30.03.2020  เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
30.03.2020 เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ...
 
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
 
Value of E-Commerce Thailand 2015
Value of E-Commerce Thailand 2015 Value of E-Commerce Thailand 2015
Value of E-Commerce Thailand 2015
 
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
Thailand Internet User Profile 2015 (Report)
 
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerceแนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
แนวคิดธุรกิจสร้างสรรค์ผ่าน Ecommerce
 
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
 
Thailand Internet user Profile 2016
Thailand Internet user Profile 2016Thailand Internet user Profile 2016
Thailand Internet user Profile 2016
 
Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018Thailand Internet User Profile 2018
Thailand Internet User Profile 2018
 
e-Government Thailand
e-Government Thailande-Government Thailand
e-Government Thailand
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
 
Thailand Internet User Profile 2016
Thailand Internet User Profile 2016Thailand Internet User Profile 2016
Thailand Internet User Profile 2016
 
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
ข้อเสนอเพ่อื การพัฒนานโยบาย Digital Economy โดยสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ...
 
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airadaEga แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
Ega แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 20140917_k.airada
 
(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 2561)
(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559   2561)(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559   2561)
(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 2561)
 

Semelhante a รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561

รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
คุณโจ kompat
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัสบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
Art Asn
 

Semelhante a รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561 (17)

รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
 
ETDA Annual Report 2016
ETDA Annual Report 2016ETDA Annual Report 2016
ETDA Annual Report 2016
 
ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555
ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555
ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555
 
ประมวลสถิติสําคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555
ประมวลสถิติสําคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555ประมวลสถิติสําคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555
ประมวลสถิติสําคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2555
 
ETDA annual report 2012
ETDA annual report 2012ETDA annual report 2012
ETDA annual report 2012
 
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดนการกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
 
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2557
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
e-Commerce
e-Commercee-Commerce
e-Commerce
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัสบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อัส
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อัส
 
Etda annual report 2018 young blood low
Etda annual report 2018 young blood lowEtda annual report 2018 young blood low
Etda annual report 2018 young blood low
 
20181226 yong annual etda 2018
20181226 yong annual etda 201820181226 yong annual etda 2018
20181226 yong annual etda 2018
 
Etda annual report 2018 young blood
Etda annual report 2018 young bloodEtda annual report 2018 young blood
Etda annual report 2018 young blood
 
Key statistics of thailand 2012
Key statistics of thailand 2012Key statistics of thailand 2012
Key statistics of thailand 2012
 
e-Goverment
e-Govermente-Goverment
e-Goverment
 
ETDA annual report 2014
ETDA annual report 2014ETDA annual report 2014
ETDA annual report 2014
 
TECHNO1
TECHNO1TECHNO1
TECHNO1
 

Mais de ETDAofficialRegist

แบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาที
แบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาทีแบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาที
แบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาที
ETDAofficialRegist
 

Mais de ETDAofficialRegist (18)

ความเสี่ยงของข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะ ภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อภาครัฐ
ความเสี่ยงของข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะ ภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อภาครัฐความเสี่ยงของข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะ ภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อภาครัฐ
ความเสี่ยงของข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะ ภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อภาครัฐ
 
Thailand Internet User Behavior 2019
Thailand Internet User Behavior 2019Thailand Internet User Behavior 2019
Thailand Internet User Behavior 2019
 
ASEAN Critical Information Infrastructure Protection Framework
ASEAN Critical Information Infrastructure Protection FrameworkASEAN Critical Information Infrastructure Protection Framework
ASEAN Critical Information Infrastructure Protection Framework
 
The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2018
The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2018The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2018
The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2018
 
Thailand Internet User Profile 2018 (English Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (English Version)Thailand Internet User Profile 2018 (English Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (English Version)
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2561 - ETDA Annual Report 2018
รายงานประจำปี สพธอ. 2561 - ETDA Annual Report 2018รายงานประจำปี สพธอ. 2561 - ETDA Annual Report 2018
รายงานประจำปี สพธอ. 2561 - ETDA Annual Report 2018
 
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
 
ETDA Annual Report 2019
ETDA Annual Report 2019ETDA Annual Report 2019
ETDA Annual Report 2019
 
ETDA Annual Report 2019
ETDA Annual Report 2019ETDA Annual Report 2019
ETDA Annual Report 2019
 
ETDA Annual Report 2019
ETDA Annual Report 2019ETDA Annual Report 2019
ETDA Annual Report 2019
 
APEC Framework for Securing the Digital Economy
APEC Framework for Securing the Digital EconomyAPEC Framework for Securing the Digital Economy
APEC Framework for Securing the Digital Economy
 
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับบริบทการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายอื่น
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับบริบทการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายอื่นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับบริบทการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายอื่น
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับบริบทการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายอื่น
 
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
 
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ตวัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต
 
แบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาที
แบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาทีแบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาที
แบบประเมินตนเองด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศภายใน 5 นาที
 
THREAT GROUP CARDS: A THREAT ACTOR ENCYCLOPEDIA
THREAT GROUP CARDS:  A THREAT ACTOR ENCYCLOPEDIATHREAT GROUP CARDS:  A THREAT ACTOR ENCYCLOPEDIA
THREAT GROUP CARDS: A THREAT ACTOR ENCYCLOPEDIA
 
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561
เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561
 
The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2017
The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2017The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2017
The Value of E-Commerce Survey in Thailand 2017
 

รายงานประจำปีไทยเซิร์ต 2560-2561

  • 1.
  • 3. 2
  • 4. 3 รายงานประจ�ำปีไทยเซิร์ต 2560-2561 2017-2018 ThaiCERT Annual Report เรียบเรียงโดย สุรางคณา วายุภาพ, ชัยชนะ มิตรพันธ์, ศุภโชค จันทรประทิน, อุรัชฎา เกตุพรหม, พรพรหม ประภากิตติกุล, วีรชัย ประยูรพฤกษ์, Martijn Van Der Heide, สัญญา คล่องในวัย, อารยะ สวัสดิชัย, กรรณิกา ภัทรวิศิษฏ์สัณธ์, ทรงศักดิ์ ยงยิ่งศักดิ์ถาวร, ณัฐโชติ ดุสิตานนท์, ฉัตรชัย จันทร์อินทร์, ยุทธนา ชนวัฒน์, เสฏฐวุฒิ แสนนาม, ปวริศ จอมสถาน, จักรวาล องค์ทองค�ำ, นันทพงศ์ บุญถนอม, รุ่งวิทย์ จิตรส่องแสง, ธนชัย แสงไพฑูรย์, สิริณัฐ ตั้งธรรมจิต, ภูรินทร์ หวังกีรติกานต์, วรรณิศา อนุรัตน์, พีร์นิธิ ฐานิวัฒนานนท์ ISBN: 978-616-7956-44-2 พิมพ์ครั้งที่ 2 พิมพ์จ�ำนวน 150 เล่ม ราคา 300 บาท สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม Thailand Computer Emergency Response Team (ThaiCERT) Electronic Transactions Development Agency (ETDA) Ministry of Digital Economy and Society อาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคารบี) ชั้น 20 เลขที่ 33/4 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์: 0 2123 1212
  • 5. 4
  • 6. 5 สารบัญ คำ�นิยม.......................................................................................................6 บทนำ�.........................................................................................................16 การโจมตีและอีเวนต์ทางไซเบอร์ที่สำ�คัญในไทย ปี 2560-2561............22 ตัวเลขสำ�คัญของไทยเซิร์ต.........................................................................24 แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2562............................................................34 ไทยเซิร์ตทำ�อะไรบ้าง...................................................................................42 เจาะลึกเคสรับมือภัยไซเบอร์ของไทยเซิร์ต...................................................52 ไทยเซิร์ตกับการสร้างกำ�ลังคนไซเบอร์ ......................................................66 ภาคผนวก..................................................................................................80
  • 7. 6
  • 8. 7 Cybersecurity เป็นเรื่องจำ�เป็นสำ�หรับ ทุกคน และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันดูแลความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี
  • 9.
  • 11. อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคมผลักดันแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปสู่ การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การผลักดันร่างกฎหมาย ฉบับต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การพัฒนา ก�ำลังคนให้มีความสามารถและเป็นก�ำลังหลักที่เพียง พอต่อการแข่งขันและพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัล
  • 12.
  • 13.
  • 14. วันนี้ ภัยไซเบอร์ได้ขยายขอบเขตและสร้างความ เสียหายรุนแรงไปทั่วโลก การสร้างก�ำลังคน ด้านไซเบอร์จ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับประเทศไทย เพื่อ ให้ทุกภาคส่วนของไทยพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจ จะเกิดขึ้น จีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • 15.
  • 16. "ไทยเซิร์ต" ท�ำหน้าที่ดูแลความมั่นคงปลอดภัยบน โลกไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเชิงรับ และเชิงรุก อย่างไรก็ดี ทุกคนก็ต้องร่วมมือและปรับตัวให้ รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย หากไม่อยากถูกทิ้งไว้ ข้างหลัง ตามค�ำเปรียบเปรยที่ว่า "Do or Die?" สุรางคณา วายุภาพ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • 19. 18 ประเทศไทยก�ำลังยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล กลไกที่ส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเทศจึงมี ความเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศที่มีความ มั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนมีความ มั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล อันจะ ผลักดันให้ประเทศไทยมีการท�ำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ผลส�ำรวจมูลค่าธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยโดยส�ำนักงาน พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)1 พบว่าปี 2560 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ2.8ล้าน ล้านบาท และคาดการณ์ว่าปี 2561 จะมี มูลค่าสูงถึง3.2ล้านล้านบาทคิดเป็นอัตรา เติบโตร้อยละ 14.04 โดยประเทศไทยมี มูลค่าธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ Business to Consumer (B2C) กว่า 2 แสนล้านบาทและอยู่ในอันดับ1ของภูมิภาค อาเซียนซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของ การท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่3)พ.ศ.2562ก�ำหนด ให้ สพธอ. ปฏิบัติหน้าที่ฐานะผู้ก�ำกับดูแล ด้านการท�ำธุรกิจบริการด้านธุรกรรมออนไลน์ ตามท่ี่คณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์มอบหมาย ซึ่งถือเป็นความ ท้าทายที่ต้องยกระดับการท�ำงานของ ส�ำนักงานเพื่อรองรับการจัดท�ำแผน ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์จัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน รวมถึง ก�ำกับดูแลธุรกิจบริการวิเคราะห์และรับรอง มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย 1 https://www.etda.or.th/publishing-detail/value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2018.html
  • 20. 19
  • 21. 20 ในขณะที่ประเทศไทยมีการพัฒนาด้าน ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภัยคุกคามไซเบอร์ เป็นภัยที่เราต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การโจมตีระบบการขโมยข้อมูลการปลอม บัญชีโซเชียลมีเดีย และภัยคุกคามไซเบอร์ อื่น ๆ มีปรากฏให้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การ แพร่ระบาดของ WannaCry ที่เกิดขึ้น ทั่วโลกซึ่งชะลอขัดขวางบริการสารสนเทศ ของหน่วยงานต่าง ๆ และส่งผลกระทบ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ร่างรายงาน Global Cybersecurity Index (GCI) ปี 25612 ซึ่งเป็นรายงานที่ แสดงถึงความเข้มข้นในการจัดการด้านความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศต่าง ๆ โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือInternationalTelecommunications Union (ITU) ประเมินค่าดัชนีความพร้อม ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ ประเทศไทยคิดเป็น 0.796 และอยู่อันดับ 35 จาก 194 ประเทศ เทียบกับปี 2560 มีค่าดัชนีฯ 0.684 และอยู่ในอันดับที่ 22 แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในการปรับปรุง ศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของประเทศ 2 https://www.itu.int/en/ITU-D/Cybersecurity/Documents/draft-18-00706_Global-Cybersecurity-Index-EV5_print_2.pdf
  • 22. 21 ภาครัฐเห็นความส�ำคัญในการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้ผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พ.ศ.....เพื่อรองรับ การเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคง และปลอดภัยซึ่งก�ำหนดให้มีส�ำนักงานคณะ กรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แห่งชาติท�ำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการ ประสานและขับเคลื่อนนโยบายด้านความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ รายงานประจ�ำปีไทยเซิร์ตปี2560-2561 จัดท�ำสรุปเหตุการณ์ วิเคราะห์แนวโน้ม รวบรวมสถิติภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ในประเทศไทย และกิจกรรมที่ส�ำคัญของ ไทยเซิร์ตเพื่อสร้างความตระหนักรู้และชี้ให้ เห็นถึงความส�ำคัญของการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ในภาครัฐภาคเอกชนและ ภาคประชาสังคม ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่เป็นสิ่งที่ทุก ภาคส่วนต้องประคับประคองและแก้ไขปัญหา ไปพร้อมกัน แล้วคุณละ... พร้อมหรือยังที่จะเป็น ส่วนหนึ่งในการยกระดับความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  • 23. 22 การโจมตีและอีเวนต์ทางไซเบอร์ ที่สําคัญในไทย ปี 2560-2561 ผลักดันให้มี คณะทํางาน จัดการซ้อมรับมือ APCERT Drill ภายใต้ APCERT อย่างเป็นทางการ โดยมีไทยเซิร์ต เป็นประธานคณะทํางานฯ จัดสัปดาห์ งานสัมมนาด้านความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Thailand Cybersecurity Week 2017 จัดการแข่งขัน ระดับประเทศ Thailand CTF 2017 พบการแพร่ระบาดของ WannaCry ในเครื่องคอมพิวเตอร์กว่า 200,000 เครื่อง จาก 112 ประเทศ ผ่านช่องโหว่ในโพรโทคอล SMB
  • 24. เครื่องคอมพิวเตอร์ ในไทยถูกใช้เป็นฐาน การโจมตีหน่วยงาน โครงสร้างพื้นฐาน สําคัญทางสารสนเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ กว่า 17 ประเทศ ข้อมูลลูกค้า ธนาคารรวมกว่า 123,000 รายหลุด จัดการแข่งขัน ระดับอาเซียน Cyber SEA Game 2017 จัดการประชุม แนวนโยบาย การปกป้อง โครงสร้างพื้นฐาน สําคัญทางสารสนเทศ ของประเทศ สนับสนุน การประชุม คณะกรรมการ เตรียมการด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แห่งชาติครั้งที่ 1 เปิดตัว ศูนย์ความร่วมมือ อาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากร ความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ จัดการแข่งขัน Thailand CTF 2018 และ Cyber SEA Game 2018 Facebook แถลง เรื่องข้อมูลผู้ใช้หลุด มีผลกระทบประมาณ 30 ล้านบัญชี มัลแวร์ VPN Filter แพร่ระบาดใน อุปกรณ์ที่สามารถ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things : IoT) กว่า 500,000 เครื่อง ใน 54 ประเทศ บริษัท Mandiant ระบุพบมัลแวร์ที่ใช้ ในการแอบส่งข้อมูล โจมตีระบบหน่วยงาน ภาครัฐสําคัญ พบมัลแวร์ ที่ใช้ขุดเงิน ดิจิทัลสกุลเงิน Monero ส่งผลให้เครื่องทํางาน ช้าลง มัลแวร์ดังกล่าว ถูกดาวน์โหลด ในประเทศไทย กว่า 3.5 ล้านครั้ง ผู้ให้บริการ โทรคมนาคม ตั้งค่าระบบเก็บข้อมูล ไม่เหมาะสม ทําให้สาธารณะ สามารถเข้าถึง ข้อมูลลูกค้า เช่น สําเนาบัตรประชาชน พาสปอร์ต กว่า 46,000 ไฟล์
  • 26. 25
  • 27. 26 ใน 2 ปีที่ผ่านมา ไทยเซิร์ตได้ด�ำเนิน การทั้งในเชิงรุกและเชิงรับเพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงปลอดภัยให้กับประเทศไทยทั้ง การประสานเพื่อรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ ในรูปแบบต่างๆเช่นการสร้างหน้าเว็บไซต์ ปลอมเพื่อหลอกให้เหยื่อใส่ข้อมูล(Phishing) และการเจาะระบบเพื่อแก้ไขหน้าเว็บไซต์ สร้างความเสื่อมเสียให้กับองค์กร (Web Defacement) รวมถึงการด�ำเนินการ ปกป้องเว็บไซต์และตรวจจับภัยคุกคามให้กับ หน่วยงานภาครัฐในโครงการ ThaiCERT GMSและการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ทั่วไปและเชิง เทคนิค การซ้อมรับมือภัยคุกคาม การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีรายละเอียดสถิติที่น่าสนใจดังนี้ สถิติภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งและด�ำเนินการ สถิติการรับแจ้งเหตุประสานงานภัยคุกคามในแต่ละปี
  • 28. 27 ในปี 2561 ไทยเซิร์ตได้รับแจ้งเหตุ และประสานงานภัยคุกคาม 2,520 กรณี ซึ่งลดลงจากปี 2560 ถึงร้อยละ 22 โดย จ�ำนวนเหตุรับแจ้งลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2558 เนื่องจากหลายภาคส่วนตระหนัก และเพิ่มการลงทุนในด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ ส่งผลให้สามารถก่อตั้ง CERT ประจ�ำภาคส่วนได้ส�ำเร็จในปี 2560 ท�ำให้ข้อมูลภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีการรายงานไปยัง CERT ที่เกี่ยวข้อง โดยตรง รวมถึงการด�ำเนินการที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้นของ ThaiCERT GMS ซึ่งประกอบด้วยส่วนGovernmentThreat Monitoring (GTM) และ Government Website Protection (GWP) ที่มีการเฝ้า ระวังระบบ ป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ รวม ทั้งตรวจสอบหาและแก้ไขช่องโหว่ของระบบ เพื่อปิดช่องทางการโจมตีของผู้ประสงค์ร้าย
  • 29. 28 ตารางแสดงภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งสูงสุด 5 อันดับแรกในปี 2560 และ 256110 เมื่อพิจารณาภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งสูงสุด 5 อันดับแรกในปี 2560 และ 2561 ตาม ตารางด้านบนพบว่าประเภทภัยคุกคามที่ได้ รับแจ้งสูงสุด3อันดับแรกของทั้ง2ปีคือ1. ความพยายามบุกรุกเข้าระบบ (Intrusion Attempts)2.การฉ้อโกงหรือหลอกลวงเพื่อ ผลประโยชน์ (Fraud) ซึ่งส่วนใหญ่คือ Phishing และ 3. การบุกรุกหรือเจาะระบบ ได้ส�ำเร็จ (Intrusions) ซึ่งส่วนใหญ่คือ Web Defacement ในขณะที่ภัยคุกคามประเภท การโจมตีสภาพความพร้อมใช้งานของระบบ (Availability) ซึ่งได้รับแจ้งเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี2560เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเนื่องจาก พบการประกาศการโจมตีให้ส่งผลกระทบต่อ การใช้งานเว็บไซต์จากกลุ่มที่ชื่อว่า“พลเมือง ต้าน Single Gateway” แต่ในปี 2561 ไม่ พบความเคลื่อนไหวจากกลุ่มดังกล่าว จึงได้ รับแจ้งภัยคุกคามประเภทนี้ลดลง 2560 2561 อันดับ ประเภทภัยคุกคาม ประเภทภัยคุกคาม 1 ความพยายาม บุกรุกเข้าระบบ (Intrusion Attempts) ความพยายาม บุกรุกเข้าระบบ (Intrusion Attempts) 2 การฉ้อโกงหรือหลอกลวง เพื่อผลประโยชน์ (Fraud) การฉ้อโกงหรือหลอกลวง เพื่อผลประโยชน์ (Fraud) 3 การบุกรุกหรือเจาะระบบ ได้ส�ำเร็จ (Intrusions) การบุกรุกหรือเจาะระบบ ได้ส�ำเร็จ (Intrusions) 4 การโจมตีสภาพความพร้อม ใช้งานของระบบ (Availability) โปรแกรมไม่พึงประสงค์ (Malicious Code) 5 โปรแกรมไม่พึงประสงค์ (Malicious Code) การเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล ส�ำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต (Information Security) 10 ค�ำอธิบายประเภทภัยคุกคามระบุในภาคผนวก ก ประเภทและตัวอย่างภัยคุกคาม
  • 30. 29 กราฟแสดง 5 อันดับประเทศที่แจ้งเหตุภัยคุกคามมากที่สุดในปี 2560 และ 2561 เมื่อพิจารณากราฟแสดงอันดับประเทศ ที่แจ้งเหตุภัยคุกคามมากที่สุดในปี 2560 และ 2561 พบว่าภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่ ไทยเซิร์ตแก้ไข มาจากการตรวจพบโดย ระบบของไทยเซิร์ตที่ที่รวบรวมข้อมูลจาก แหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์กรในเครือข่าย ใน ขณะประเทศที่แจ้งสูงสุดคือประเทศเยอรมนี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภัยคุกคามในลักษณะ IntrusionAttemptที่ระบบในประเทศไทย โจมตีโดยการสแกนหรือพยายามสุ่ม รหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าระบบเป้าหมายใน ต่างประเทศ ซึ่งในกรณีนี้สาเหตุส่วนหนึ่ง เกิดจากระบบในประเทศถูกผู้ประสงค์ร้าย ควบคุมและใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตี จึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องประสานแจ้งและ ให้ค�ำแนะน�ำเจ้าของระบบเพื่อแก้ไข
  • 31. 30 ไทยเซิร์ตได้ให้บริการเฝ้าระวังเครือข่าย ให้หน่วยงานภาครัฐในโครงการThaiCERT GMS จ�ำนวน 240 หน่วยงาน โดยมัลแวร์ ที่ตรวจพบมากที่สุดติดต่อกันตั้งแต่ปี2558 ถึงปี 2561 เป็นมัลแวร์ประเภท Trojan (ร้อยละ 60) และร้อยละ 89 ของ Trojan ที่พบมาจากสายพันธุ์ Zeus ซึ่งสามารถดัก ข้อมูลส�ำคัญของผู้ใช้บริการเพื่อส่งกลับให้ ผู้ประสงค์ร้าย เช่น รหัสผ่านและข้อมูล บัตรเครดิต ในขณะที่บริการส่วนปกป้องเว็บไซต์ (GWP) สามารถป้องกันการโจมตีได้ 6.6 ล้านครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 โดยการโจมตีที่พบบ่อยที่สุด คือ Sensitive Data Exposure ซึ่งเป็นความ พยายามเข้าถึงข้อมูลส�ำคัญที่อาจไม่ได้รับ การปกปิดเท่าที่ควร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ เว็บเซิร์ฟเวอร์หรือเว็บแอปพลิเคชัน ที่ผู้ประสงค์ร้ายสามารถน�ำไปใช้หาช่องโหว่ และเจาะระบบ สถิติการให้บริการ ThaiCERT GMS กราฟแสดงสถิติสัดส่วนการพบมัลแวร์ในปี 2561 โดยจ�ำแนกตามประเภท
  • 32. 31 นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ในช่วงกลางปี2561 ไทยเซิร์ตได้ตรวจสอบเว็บไซต์ในโครงการ 119 รายการ และพบ 538 ช่องโหว่ (เฉลี่ย เว็บละ 5 ช่องโหว่) โดยร้อยละ 79 เป็น ช่องโหว่ร้ายแรงที่่ถูกใช้ในการโจมตีรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น Cross-Site Scripting (ร้อยละ 49) ซึ่งเป็นการแทรกค�ำสั่งเพื่อดัก ขโมยข้อมูลจากบุคคลที่สามและInjection (ร้อยละ 47) ซึ่งเป็นการแทรกค�ำสั่งเพื่อ เรียกดูหรือแก้ไขฐานข้อมูลโดยมิชอบ หลัง จากตรวจสอบ ไทยเซิร์ตได้ประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแนะน�ำแนวทาง แก้ไขเพื่อปิดช่องทางโจมตีจากผู้ประสงค์ร้าย
  • 33. 32 ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ได้ให้บริการแก่ ประชาชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชน ซึ่งในปี 2561 ได้ให้บริการทั้งสิ้น 19 รายการ โดยร้อยละ 47 มาจาก หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมเช่นต�ำรวจ ศาล หรืออัยการ และร้อยละ 42 เป็นการ หาร่องรอยอาชญากรรม เช่น การละเมิด ลิขสิทธิ์และการพนัน ถึงแม้ว่าจ�ำนวนการร้องขอใช้บริการใน ปี2561จะลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ มีจ�ำนวนถึง30รายการแต่การตรวจพิสูจน์ ไฟล์ประเภทภาพและเสียงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 เพื่อ พัฒนาศักยภาพให้รองรับกับความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นไทยเซิร์ตได้พัฒนาบุคลากร รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือส�ำหรับวิเคราะห์ ในด้านดังกล่าวนอกจากนี้ยังปรับเพิ่มบทบาท เป็นผู้ให้บริการเก็บพยานหลักฐานกลางและ สนับสนุนเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิง บูรณาการในกรณีที่องค์กรขาดแคลน เครื่องมือ สถิติการให้บริการศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ 42% 26% 26% 5% 2560 25612559 15 14 22 8 4 6 9
  • 34. 33 กิจกรรมพัฒนาบุคลากรปี 2561 ในปี 2561 ไทยเซิร์ตได้จัดการอบรม การแข่งขัน และการซ้อมรับมือภัยคุกคาม รวมทั้งสิ้น 40 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วม 4,079 คน แบ่งเป็น บรรยายให้แก่ผู้บริหารระดับ สูง20คน(ร้อยละ0.5)สร้างความตระหนัก ให้แก่ประชาชนทั่วไป 2,674 คน (ร้อยละ 66) และเสริมสร้างทักษะและศักยภาพให้ แก่เจ้าหน้าที่เชิงเทคนิค 1,375 คน (ร้อยละ 34) ทั้งนี้ไทยเซิร์ตได้จัดการอบรม เชิงเทคนิครวม 12 ครั้ง แบ่งตามหัวข้อ ได้แก่ การตอบสนองรับมือภัยคุกคาม การ บริหารจัดการและนโยบาย ความมั่นคง ปลอดภัยของเครือข่าย การตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานดิจิทัล การวิเคราะห์มัลแวร์ และความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ โดยประเภทหน่วยงานที่เข้าร่วม สูงสุด3อันดับแรกคือการเงินโทรคมนาคม และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเสริมศักยภาพ การปกป้องของหน่วยงานโครงสร้าง พื้นฐานส�ำคัญทางสารสนเทศของประเทศ สอดรับกับยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 สถิติการพัฒนาบุคลากร 04 )///( Incident Response Management Policy Network Security Digital Forensics Malware Analysis Awareness 3
  • 36. 35
  • 37. 36 ทีมไทยเซิร์ตได้วิเคราะห์และสรุปประเด็นส�ำคัญจากรายงานวิเคราะห์แนวโน้มด้าน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2562 ของบริษัทต่าง ๆ เช่น ESET Kaspersky McAfee และ Symantec เป็นต้น ซึ่งความเห็นของแต่ละบริษัทมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและ แตกต่างกันไป โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กฎหมายและการโจมตีทาง ไซเบอร์จะส่งผลให้หน่วยงาน ให้ความส�ำคัญกับการดูแล ข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2562 กฎหมายGeneralDataProtection Regulation (GDPR) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2561 ท�ำให้หน่วยงาน ต่าง ๆ ตื่นตัวในเรื่องการรักษาข้อมูลส่วน บุคคล เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มี ผลบังคับใช้เฉพาะในทวีปยุโรป แต่ยังมีผล ต่อทุกหน่วยงานทั่วโลกที่ครอบครองหรือ จัดการข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนของ ยุโรปด้วย นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้าน กฎหมายในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมาย California Consumer Privacy Act (CCPA) ภาย หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมาย GDPR 40 วัน ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็พยายาม ผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคล โดยกฎหมายดังกล่าว มีเนื้อหา ครอบคลุมการจัดเก็บรวบรวมและประมวล ผลข้อมูลส่วนบุคคลบนพื้นฐานการยินยอม จากเจ้าของข้อมูลตลอดจนการแจ้งเจ้าของ ข้อมูลกรณีเกิดข้อมูลรั่วไหล ในปีที่ผ่านมา ได้พบการรั่วไหลของ ข้อมูลส่วนบุคคลจ�ำนวนมากจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งที่เกิดจากความผิดพลาด ในการตั้งค่าท�ำให้ถูกเข้าถึงจากสาธารณะ และการถูกโจมตีทางไซเบอร์เพื่อขโมย ข้อมูล ตลอดจนมีการเผยแพร่ข้อมูล โดยผู้ประสงค์ร้ายที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่ต้องดูแล ข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความจ�ำเป็นต้องให้ ความส�ำคัญในการรักษาข้อมูลดังกล่าวมาก ขึ้นพร้อมทั้งเตรียมมาตรการต่าง ๆ ในการ ป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์
  • 38. 37 บทบาทของ AI ในการป้องกัน • เฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์ของ หน่วยงาน โดยให้เรียนรู้พฤติกรรมของ ผู้ใช้งานเพื่อหาเหตุการณ์ท่ี่ผิดปกติ • จ�ำลองการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อหา ช่องโหว่ของระบบ บทบาทของ AI ในการโจมตี • ค้นหาช่องโหว่ของระบบเพื่อเลือก เป้าหมายในการโจมตีี • ติดตามพฤติกรรมบนโซเชียลมีเดีย เพื่อน�ำไปหลอกลวง การใช้เทคโนโลยี AI มีบทบาท ในการป้องกันและโจมตีทางไซเบอร์
  • 39. 38 พบการโจมตีอุปกรณ์ IoT แทนการโจมตีเราเตอร์ หลายปีที่ผ่านมาเราเตอร์ซึ่งถือเป็น อุปกรณ์ประเภท Internet of Thing (IoT) เป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น ปี 2558 มัลแวร์ Mirai เข้าควบคุมเรา เตอร์กว่า 493,000 เครื่อง เพื่อใช้เป็นฐาน ในการโจมตีบริษัทผู้ให้บริการเว็บ โฮสติงในประเทศฝรั่งเศส โดยมีปริมาณ การโจมตีสูงถึง 1.1 เทระบิตต่อวินาที3 ถือ เป็็นหนึ่่งในการโจมตีประเภท DDoS (Distributed-Denial-of-Service)ที่รุนแรง ที่สุด ในปี 2561 การโจมตีอุปกรณ์ IoT มี ลักษณะเปลี่ยนแปลงไป โดยเปลี่ยนเป้า การโจมตีจากเราเตอร์เป็นอุปกรณ์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ประสงค์ร้ายใช้นามแฝง TheHackerGiraffeเข้าควบคุมเครื่องพิมพ์ (Printer) กว่า 50,000 เครื่องเพื่อสั่งการ ให้พิมพ์กระดาษที่มีข้อความเชิญชวนให้ ติดตามช่อง PewDiePie บนเว็บไซต์ YouTube4 นอกจากนี้ยังได้เข้าควบคุม อุปกรณ์ Google Chromecast หลายพัน เครื่องที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ให้แสดงเนื้อหา เชิญชวนให้ติดตามช่องPewDiePieอีกด้วย ทั้งนี้ผู้ประสงค์ร้ายอ้างว่าการกระท�ำดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ กับประชาชนเกี่ยวกับช่องโหว่ของอุปกรณ์ IoT รายงานของบริษัท Symantec5 และ บริษัท McAfee6 ยังได้ระบุเกี่ยวกับแนว โน้มการโจมตีอุปกรณ์ IoT ในรูปแบบ ต่าง ๆ ว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ผู้ใช้งาน จึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ IoT ที่่่น่าเชื่อถือ และมีกลไกในการอัปเดตแก้ไขช่องโหว่ อย่างสม�่ำเสมอ 3 https://www.thaicert.or.th/papers/general/2016/pa2016ge001.html 4 https://thehackernews.com/2018/11/pewdiepie-printer-hack.html 5 https://www.symantec.com/blogs/feature-stories/cyber-security-predictions-2019-and-beyond 6 https://securingtomorrow.mcafee.com/other-blogs/mcafee-labs/mcafee-labs-2019-threats-predictions/
  • 40. 39 การโจมตีผ่านผู้ผลิต ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นการโจมตี แบบวงกว้างที่มีประสิทธิภาพและ ยังคงถูกใช้ในการโจมตี ในหลายปีที่ผ่านมาเราได้พบการโจมตี ผ่านผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายครั้ง ซึ่งเป็นการ โจมตีผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อแอบฝังโค้ด อันตรายในซอฟต์แวร์หรือตัวอัปเดตที่เผย แพร่จากเจ้าของผลิตภัณฑ์เช่น ในปี 2559 พบการฝังมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธ์ุ Notpety ในแพตช์ซอฟต์แวร์ CCleaner เวอร์ชัน 5.33 ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 2 ล้านราย ดาวน์โหลดแพตช์ดังกล่าวจากเซิร์ฟเวอร์ ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตามการ โจมตีในรูปแบบนี้ไม่เหมาะกับการโจมตี แบบเฉพาะเจาะจงเนื่องจากถูกตรวจจับได้ ง่าย แต่เป็นการโจมตีแบบวงกว้างที่มี ประสิทธิภาพและในหลายรายงานเห็นตรง กันว่ายังคงพบเห็นในปี 2562 หน่วยงาน จึงควรมีกระบวนการติดตามข่าวสารการ แจ้งเตือนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน นอกจากนี้ในรายงาน Symantec7 ได้คาด การณ์ว่าจะพบการโจมตีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เช่น การฝังโค้ดอันตรายใน Chip หรือ เฟิร์มแวร์ของ BIOS แต่รายงานของ Kaspersky8 คาดว่ามีโอกาสได้น้อยมาก 7 https://www.symantec.com/blogs/feature-stories/cyber-security-predictions-2019-and-beyond 8 https://securelist.com/kaspersky-security-bulletin-threat-predictions-for-2019/88878/
  • 41. 40 มีการปลอมบัญชีผู้ใช้งานมากขึ้น ปัจจุบันนี้ การปลอมบัญชีโซเชียล มีเดียสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น การสวมรอยปลอมบัญชีบน Facebook หรือ LINE แล้วอ้างเป็นคนรู้จัก การปลอม อีเมลเป็นบริษัทคู่ค้าเพื่อหลอกลวงให้โอน เงิน อันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการ ท�ำธุรกรรมออนไลน์ ในปี 2562 ประเทศไทยผลักดัน เศรษฐกิจดิจิทัลโดยส่งเสริมให้มีบริการ ออนไลน์ในรูปแบบต่างๆเช่นบริการธนาคาร ออนไลน์ บริการ e-wallet ท�ำให้การท�ำ ธุรกรรมออนไลน์เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานประสบปัญหาใน การดูแลบัญชีบริการออนไลน์หลากหลายที่ ใช้งานให้มีความมั่นคงปลอดภัย โครงการ National Digital ID9 ออกแบบให้เชื่อมต่อ กับระบบของหน่วยงานต่างๆท�ำให้สามารถ ใช้บัญชีเดียวในการยืนยันตัวตนและสามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้ซึ่งเป็นการ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำธุรกรรมออนไลน์ และง่ายต่อผู้ใช้งานในการดูแลบัญชี อย่างไรก็ตามในการใช้งานบัญชีเดียว เชื่อมโยงระบบต่างๆหากผู้ประสงค์ร้ายเข้า ควบคุมบัญชีดังกล่าว ก็จะสามารถเข้าถึง บริการต่าง ๆ ที่ใช้งานอยู่ รวมถึงบริการ ทางการเงินที่มักตกเป็นเป้าหมาย ซึ่งจาก สถิติการด�ำเนินการรับมือภัยคุกคามของ ไทยเซิร์ตพบว่าภัยคุกคามที่ไทยเซิร์ตได้รับ แจ้งสูงสุดคือการสร้างเว็บไซต์หลอกลวง (Phishing)เพื่อขโมยข้อมูลและกลุ่มบริการ หลักที่ตกเป็นเป้าคือกลุ่มบริการทางการเงิน ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงควรมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับภัยไซเบอร์และ Cyber Hygiene ที่เป็นแนวปฏิบัติการใช้งาน เทคโนโลยีอย่างมั่นคงปลอดภัยรวมถึงการ ดูแลบัญชีที่ใช้งานอย่างเหมาะสม เช่น การ ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก ไม่เปิดเผย รหัสผ่านให้ผู้อื่นการใช้งานการยืนยันตัวตน แบบ 2 ขั้นตอน เพื่อยกระดับความรู้ตัวเอง ให้เท่าทันการหลอกลวงของผู้ประสงค์ร้าย ทั้งนี้ หน่วยงานก�ำกับและผู้ให้บริการที่ เกี่ยวข้องจ�ำเป็นต้องร่วมช่วยกันดูแลอย่าง ใกล้ชิดและแจ้งเตือนผู้รับบริการให้หลีกเลี่ยง การตกเป็นเหยื่อตามสถานการณ์ดังกล่าว 9 https://brandinside.asia/thai-digitalid-nationaldigitalid-electronicpaper-banking
  • 42. 41
  • 44. 43
  • 45. 44 พันธกิจของไทยเซิร์ต “ไทยเซิร์ต” ภายใต้การก�ำกับดูแล ของ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ สพธอ. มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า“ศูนย์ประสาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบ คอมพิวเตอร์ประเทศไทย” หรือ “Thailand Computer Emergency Response Team” (ThaiCERT) มี พันธกิจในการแก้ไขสถานการณ์ด้านความ มั่นคงปลอดภัยทั้งที่ได้รับแจ้งและตรวจพบ เองในขอบเขตครอบคลุมระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ภายใต้โดเมนเนม (Domain Name) ของประเทศไทย โดย ท�ำงานร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้ความส�ำคัญ กับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ภายใประเทศไทย และให้ค�ำปรึกษาแก่ หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานส�ำคัญ ของประเทศ (Critical Infrastructure) ใน เรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหา ภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อรักษาความต่อเนื่อง ในการด�ำเนินภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ ไทยเซิร์ตมีภารกิจหลักในการรับมือ กับสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ของ ประเทศไทย ด้วยการประสานระหว่าง บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการท�ำงาน ที่ได้รับมาตรฐาน เทคโนโลยีทันสมัยที่น�ำ มาประยุกต์ใช้ในงาน และเครือข่าย ความร่วมมือจากทั่วโลก เพื่อเชื่อมโยง การท�ำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและ สามารถรับมือภารกิจที่ส�ำคัญได้ อย่างต่อเนื่อง
  • 46. 45 บริการของไทยเซิร์ต ปัจจุบันไทยเซิร์ตให้บริการส�ำคัญเพื่อ จัดการรับมือและป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ เช่น บริการรับมือและจัดการสถานการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัย บริการเฝ้าระวัง และป้องกันภัยคุกคาม บริการตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานดิจิทัล บริการ Threat Intelligence ซึ่งรวบรวมข้อมูลแจ้งเตือน และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงบริการ พัฒนาทักษะบุคลากรด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อยกระดับความ เชื่อมั่นในการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ของประเทศไทย โดยด�ำเนินการใน 3 รูปแบบคือ • บริการเชิงรุกเพื่อป้องกันภัยคุกคาม (Proactive Services) เช่น การตรวจสอบ และให้ค�ำแนะน�ำในการปิดช่องโหว่ของ ระบบ • บริการเชิงรับเพื่อตอบสนองภัย คุกคาม (Reactive Services) เพื่อจ�ำกัด ความเสียหายจากภัยคุกคามให้เหลือน้อย ที่สุดและด�ำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก •บริการบริหารคุณภาพทางด้านความ มั่นคงปลอดภัย (Security Quality Management Services) ซึ่งเป็นการให้ บริการวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถ และสร้างความตระหนักแก่บุคลากรให้รู้ เท่าทันและรับมือภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที
  • 47. 46
  • 48. 47 บริการเชิงรุกเพื่อป้องกันภัยคุกคาม (Proactive Services) ไทยเซิร์ตได้ปฏิบัติงานในเชิงรุกด้วย มุ่งหวังว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด ภัยคุกคาม และให้บริการที่มุ่งเน้นการ สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียม พร้อม หลีกเลี่ยง และป้องกันระบบจาก การถูกโจมตี ซึ่งจะน�ำไปสู่การลดลงของ สถิติภัยคุกคามร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้อย่างมี นัยส�ำคัญ โดยการบริการเชิงรุกหลัก ประกอบด้วยบริการแจ้งเตือนและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารบริการเฝ้าติดตามภัยคุกคาม บริการตรวจสอบและประเมินความมั่นคง ปลอดภัย • บริการแจ้งเตือนและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร (Threat Intelligence) เนื่องจากในปัจจุบันมีภัยคุกคามรูปแบบ ใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอไทยเซิร์ตติดตามข่าวสาร ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จาก เครือข่าย CERT และแหล่งข้อมูลที่ น่าเชื่อถือทั่วโลก โดยน�ำมาประเมินและ วิเคราะห์ผลกระทบกับระบบสารสนเทศใน ประเทศไทยก่อนที่จะแจ้งเตือน พร้อมทั้ง เสนอข้อแนะน�ำในการป้องกันและแก้ไขให้ สาธารณะได้ทราบในรูปแบบข่าวสั้น(News- Bite)บทความแจ้งเตือนบทความเชิงเทคนิค Infographicและคลิปวิดีโอรวมถึงเผยแพร่ ข้อมูลสถิติภัยคุกคามที่ไทยเซิร์ตประสาน งานรับมือและจัดการภัยคุกคามในแต่ละ เดือนทางเว็บไซต์ของไทยเซิร์ต (www. thaicert.or.th) โดยจะมีการรวบรวมและ วิเคราะห์สถิติภัยคุกคามในแต่ละเดือนและ เหตุการณ์ส�ำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปี เพื่อ ก�ำหนดนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ และวางแผนป้องภัยคุกคามให้แก่ ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ • บริการเฝ้าติดตามภัยคุกคาม (Threat Watch) ไทยเซิร์ตได้พัฒนาระบบ Threat Watch เพื่อเฝ้าติดตามข้อมูลภัยคุกคาม ตั้งแต่ปี 2557 โดยเป็นระบบที่สามารถ รวบรวมและเฝ้าติดตามภัยคุกคามจาก แหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ ที่มีการเผยแพร่มัลแวร์ หรือข้อมูลรั่วไหล จากการเจาะระบบเว็บไซต์ นอกจากนี้ ไทยเซิร์ตได้เฝ้าติดตามการข่าวจากแหล่ง ข้อมูลต่าง ๆ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่ง เป็นพันธมิตรกับไทยเซิร์ต แหล่งข้อมูล ออนไลน์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ น�ำมาใช้วิเคราะห์ประเมินผล และตีความ ให้ได้แหล่งข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับภัยคุกคาม ไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น และน�ำไปใช้ในการ วางแผนป้องกันหรือจัดการภัยนั้น ๆ ให้ ทันท่วงทีหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด อีก ทั้งสามารถน�ำไปใช้เป็นแนวทางในการ วางแผนรับมือภัยคุกคามที่อาจขึ้นในอนาคต ได้อีกด้วย
  • 49. 48 •บริการตรวจสอบและประเมินความ มั่นคงปลอดภัย(SecurityAssessment) เป็นบริการที่จะช่วยให้หน่วยงานทราบ ถึงช่องโหว่ของระบบสารสนเทศของตนเอง และสามารถน�ำไปวิเคราะห์เพื่อจัดท�ำ แผนบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management Plan: RMP) และ แผนบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) ของหน่วยงานได้ บริการเชิงรับเพื่อตอบสนองภัยคุกคาม (Reactive Services) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์โจมตีทาง ไซเบอร์ไทยเซิร์ตให้การสนับสนุนแก่หน่วย งานทั้งด้านข้อมูลและด้านเทคนิค เพื่อให้ สามารถรับมือต่อภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบ ต่อระบบสารสนเทศของตนได้ การบริการ เชิงรับหลักประกอบด้วย บริการรับมือและ จัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Incident Handling) และบริการตรวจ พิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล (Digital Forensics) •บริการรับมือและจัดการสถานการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Incident Handling) ไทยเซิร์ตเป็นหน่วยงานประเภทCERT ในระดับประเทศ ท�ำหน้าที่ให้บริการ 24x7 ในการรับแจ้งเหตุภัยคุกคาม ตรวจสอบ และวิเคราะห์หาสาเหตุ และประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระงับเหตุและ แก้ไขกรณีภัยคุกคามนั้นๆ เพื่อจ�ำกัดความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมฟื้นฟูระบบ และการให้บริการโดยเร็วที่สุด ไทยเซิร์ต ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นตัวแทน ประเทศไทยในเครือข่าย CERT ระหว่าง ประเทศเช่นเครือข่ายAsiaPacificCERT (APCERT) และ Forum of Incident ResponseandSecurityTeams(FIRST) นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังภัยคุกคามให้ กับหน่วยงานภาครัฐภายใต้โครงการ ThaiCERT Government Monitoring System (ThaiCERT GMS)
  • 50. 49 • บริการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ดิจิทัล (Digital Forensics) ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ท�ำหน้าที่ตรวจ พิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลและออกรายงาน ผลการตรวจวิเคราะห์ตามค�ำร้องขอของ หน่วยงานรักษากฎหมาย รวมทั้งให้ค�ำ ปรึกษาและค�ำแนะน�ำทางเทคนิคแก่เจ้า หน้าที่ซึ่งอาจไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและ พยานหลักฐานดิจิทัลสมัยใหม่ที่มีรูปแบบ ต่างๆกันทั้งนี้ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์บริหาร จัดการกระบวนการตรวจพิสูจน์อย่างเป็น ระบบภายใต้กรอบมาตรฐานสากล เพื่อ รักษาความต่อเนื่องของการครอบครอง พยานหลักฐาน หรือ Chain of Custody ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ผลการตรวจพิสูจน์มี ความน่าเชื่อถือและสามารถน�ำไปใช้ใน ชั้นศาลได้ บริการบริหารคุณภาพทางด้านความ มั่นคงปลอดภัย (Security Quality Management Services) หมายถึงบริการสนับสนุนการบริหาร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้าน สารสนเทศขององค์กร ซึ่งบริการหลัก ประกอบด้วยบริการพัฒนาทักษะบุคลากร ด้านความมั่นคงปลอดภัย(Cybersecurity Skills Development) และการสร้าง ความตระหนักเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (Awareness Building) • บริการพัฒนาทักษะบุคลากรด้าน ความมั่นคงปลอดภัย (Cybersecurity Skills Development) ไทยเซิร์ตเล็งเห็นว่าการยกระดับความ รู้ในเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระบบสารสนเทศให้แก่บุคลากร ตลอดจน ผู้บริหาร มีความส�ำคัญต่อการยกระดับ ความเข้มแข็งของการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยในองค์กร ไทยเซิร์ตจึงได้เป็น เจ้าภาพจัดอบรมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้ ความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งมีการ เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งใน และต่างประเทศมาบรรยายและแลกเปลี่ยน ความรู้ นอกจากนี้ ไทยเซิร์ตยังได้จัดตั้ง ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อพัฒนา บุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จัดการซ้อมรับมือภัยคุกคาม รวมทั้งเตรียม ความพร้อมให้กับบุคลกรทั้งในและนอก องค์กรที่มีความสนใจด้านการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเข้าสอบ ประกาศนียบัตรส�ำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ได้รับการ ยอมรับในระดับสากล
  • 51. 50 • การสร้างความตระหนักเรื่องความ มั่นคงปลอดภัย (Awareness Building) ไทยเซิร์ตเผยแพร่ความรู้ด้านความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป โดยเป็นการเผยแพร่ ความรู้ทั้งในลักษณะการบรรยาย และการ จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ เช่น โครงการสร้าง ความตระหนักในการใช้อินเทอร์เน็ตให้ เสริมสร้างรายได้และรู้เท่าทันภัยคุกคาม ไซเบอร์ (Internet for Better Life) เพื่อ ช่วยให้ความรู้และความตระหนักในการใช้ อินเทอร์เน็ตอย่างมั่นคงปลอดภัยแก่นักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
  • 52. 51
  • 54. 53 การแพร่ระบาด ของ WannaCry ในช่วงเดือนกลางปี 2560 มีรายงาน การแพร่ระบาดของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชื่อ WannaCry อย่างหนักทั่วโลก โดยมัลแวร์ ดังกล่าวมีจุดประสงค์หลักคือการเข้ารหัส ลับข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่ หากไม่จ่ายเงินตามที่เรียกจะไม่สามารถ เปิดไฟล์ได้ สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษสําหรับมัลแวร์ นี้คือความสามารถในการกระจายตัวเอง จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายได้โดย อัตโนมัติ ผ่านช่องโหว่ระบบ SMB (Server Message Block) ของ Windows ผู้ใช้งานที่ไม่อัปเดตระบบปฏิบัติการ ดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะติดมัลแวร์นี้ ช่องโหว่ที่ถูกใช้ในการแพร่กระจาย มัลแวร์เป็นช่องโหว่ที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2560 และถึงแม้ ทาง Microsoft จะเผยแพร่อัปเดตแก้ไข ช่องโหว่ดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2560แล้วแต่ยังพบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่ได้อัปเดตแพตช์ดังกล่าวและถูกโจมตี จากมัลแวร์นี้มากกว่า200,000เครื่องจาก 112 ประเทศ ซึ่งเกิดผลกระทบสูงต่อ หน่วยงานสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ ในประเทศไทยไทยเซิร์ตได้ตรวจสอบ พบผู้ติดมัลแวร์ตัวนี้อยู่บ้างเป็นจ�ำนวน258 เครื่อง แต่ยังไม่พบการแพร่กระจายใน วงกว้าง อย่างไรก็ตามไทยเซิร์ตได้เฝ้าระวัง หน่วยงานส�ำคัญ รวมถึงให้ความช่วยเหลือ และให้ค�ำแนะน�ำผู้ที่ได้รับผลกระทบ SSD กับการตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานดิจิทัล ในปี 2560 ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ ได้ รับพยานหลักฐานประเภท SSD (Solid State Drive) เข้ามาให้ตรวจพิสูจน์มากขึ้น เนื่องมาจากความนิยมใช้ SSD ที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าและมีขนาดความ จุที่น้อยกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน HDD (Hard Disk Drive) ก็ตาม แต่ SSD มีข้อดี และมีความสามารถอื่นๆที่เหนือกว่าHDD หลายประการ เช่น ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า มี ขนาดเล็กกว่าและน�้ำหนักเบากว่า มีความ ร้อนน้อยกว่า เสียงเบากว่า ไม่มีเสียงดัง ของจานหมุน และข้อดีที่ส�ำคัญคือ ท�ำงาน เร็วกว่า HDD โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลใน ต�ำแหน่งที่ต้องการอ่านหรือเขียนได้ทันที ในขณะที่ HDD ต้องรอให้หัวอ่านเลื่อนไป หาต�ำแหน่งข้อมูลที่ต้องการก่อน
  • 55. 54 เนื่องด้วย SSD ใช้หน่วยเก็บข้อมูล ประเภท NAND Flash ซึ่งมีข้อจ�ำกัดของ จ�ำนวนครั้งที่สามารถเขียนข้อมูลลงในหน่วย ความจ�ำได้ หากมีการเขียนข้อมูลลงใน หน่วยเก็บข้อมูลพื้นที่เดิมบ่อย ๆ จะท�ำให้ พื้นที่นั้นใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้น เพื่อ แก้ปัญหาเรื่องอายุการใช้งานของ SSD จึง ได้มีการใช้ 2 เทคนิค ดังนี้ 1. Ware Leveling: เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงเนื้อหาของไฟล์ใด ๆ เนื้อหา ของไฟล์นั้นจะถูกย้ายไปแล้วบันทึกเป็น ไฟล์ใหม่ลงในพื้นที่อื่นใน SSD ส่วนพื้นที่ เดิมที่เก็บเนื้อหาของไฟล์เก่าจะไป เข้าคิวรอการเคลียร์ข้อมูล 2. Drive Trimming: หรือ Trimming เป็นการเคลียร์ข้อมูลที่อยู่ใน ต�ำแหน่งเก่า อาจเป็นข้อมูลที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงเนื้อหาไฟล์ การลบไฟล์หรือ การฟอร์แมต เพื่อให้พื้นที่นั้นพร้อมรับการ เขียนข้อมูลใหม่ ในระบบปฏิบัติการ Windows7/8/10กระบวนการTrimming ได้ตั้งค่าเริ่มต้น(Default)ให้ท�ำงานอัตโนมัติ ตามการตั้งค่าของระบบปฏิบัติการ (Scheduler) โดยทั่วไปมักท�ำเป็นราย สัปดาห์ แม้ว่าเทคนิค Ware Leveling และ Trimming จะช่วยเรื่องอายุการใช้งานของ SSD และท�ำให้ SSD ท�ำงานได้เร็วขึ้น แต่ ส่งผลกระทบต่อการตรวจพิสูจน์ด้วย อุปสรรคที่เกิด ได้แก่ 1. การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน ไม่สามารถใช้วิธีดั้งเดิมอีกต่อไป วิธีดั้งเดิมในข้างต้นหมายถึง กรณีเมื่อ ผู้เก็บรวบรวมพยานหลักฐาน ณ ที่เกิดเหตุ พบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดทิ้งไว้ หลังจาก ท�ำส�ำเนา Volatile Data แล้ว (โดยทั่วไป VolatileDataหมายถึงข้อมูลที่อยู่ในRAM ซึ่งจะหายไปเมื่อปิดคอมพิวเตอร์) ก็จะดึง ปลั๊กที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ออก เพื่อรักษาสภาพของข้อมูล (หากปิดเครื่อง ด้วยวิธีปกติ จะท�ำให้มีการเขียนไฟล์และ ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมก่อนเครื่องถูกปิดลง) จากนั้นจึงน�ำเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อกลับ มาวิเคราะห์ต่อไป หากคอมพิวเตอร์ที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ใช้ SSD การดึงปลั๊กออกอย่างกะทันหันอาจ ท�ำให้ SSD เสียหาย (Brick) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจ่ายไฟเข้าไปอีกครั้ง SSD ส่วน มากจะสามารถซ่อมแซมข้อมูลในตัวเองได้ ซึ่งในกระบวนการซ่อมแซมข้อมูลนั้นรวม ไปถึงการท�ำ Ware Leveling และ
  • 56. 55 Trimmingซึ่งจะเป็นปัญหาเนื่องจากสภาพ หลักฐาน(ข้อมูลในSSD)จะถูกเปลี่ยนแปลง ไปแล้วเมื่อเทียบกับข้อมูลในสถานที่เกิด เหตุ ดังนั้นแนวทางปฏิบัติที่นิยมกันส�ำหรับ SSD จึงเป็นการท�ำส�ำเนาข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ในที่เกิดเหตุ ขณะที่เครื่อง ก�ำลังเปิดอยู่ 2. การใช้เครื่องมือป้องกันการเขียน (Write Blocker) ไม่สามารถป้องกันการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ โดยปกติ Write Blocker จะใช้ เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูล เพื่อป้องกัน การเขียนข้อมูลลงไปในสื่อบันทึกข้อมูลนั้น เช่นการเชื่อมต่อกับพยานหลักฐานต้นฉบับ ในขั้นตอนการท�ำเนาข้อมูล เป็นต้น ในกรณีของ SSD เมื่อเชื่อมต่อกับ Write Blocker จะมีการจ่ายไฟเข้าไป Controller ของ SSD และ Controller อาจเริ่มกระบวนการWareLevelingและ Trimming โดยอัตโนมัติ ท�ำให้ข้อมูลใน พยานหลักฐานถูกเปลี่ยนแปลงดังนั้นหาก มีการน�ำ SSD เดิมมาท�ำส�ำเนาข้อมูลซ�้ำอีก ครั้ง อาจจะได้ค่าแฮชไม่เหมือนเดิม (ค่า แฮชเป็นค่าที่ได้มาจากการใช้อัลกอริทึม ค�ำนวณเนื้อหาของข้อมูล โดยหากข้อมูล 2 ชุดมีค่าแฮชตรงกัน สามารถเชื่อได้ว่า ข้อมูลทั้ง 2 ชุดมีเนื้อหาเหมือนกันทุก ประการ รูปแบบค่าแฮชที่นิยม เช่น MD5, SHA1 และ SHA256) 3. อาจไม่สามารถกู้คืนข้อมูลที่ถูกลบ ไปแล้วได้ ในกรณีของ HDD ข้อมูลที่ลบหรือ ฟอร์แมตไปแล้วจะยังสามารถกู้คืนกลับมา ได้ ตราบเท่าที่พื้นเก็บข้อมูลต�ำแหน่งนั้น ยังไม่มีการเขียนทับ เนื่องจากระบบไฟล์ (เช่น NTFS หรือ FAT32) และระบบปฏิบัติ การเพียงแค่บันทึกข้อมูลไว้ว่าพื้นที่ต�ำแหน่ง นี้ว่าง สามารถเขียนทับได้ ท�ำให้ผู้ใช้งาน มองไม่เห็นข้อมูลนั้นอีก แต่ข้อมูลยังมีอยู่ ที่ต�ำแหน่งเดิม ในกรณีของSSDหากเกิดกระบวนการ Trimming แล้ว ข้อมูลเก่าจะถูกลบออก ไปโดยไม่สามารถกู้คืนได้อีก ซึ่งนับเป็น อุปสรรคส�ำคัญต่อการตรวจพิสูจน์
  • 57. 56 การตรวจพิสูจน์ แอปพลิเคชันให้บริการดู ภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิด ลิขสิทธิ์บน Android TV Box ปี 2557 บริษัทกูเกิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ใหม่ในชื่อ แอนดรอยด์ทีวี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ ที่ท�ำให้เราสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เล่นเกมส์ รวมทั้งเข้าใช้งาน เว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ โดยมีรูปแบบการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ แบบติดตั้งระบบปฏิบัติการไว้ ในโทรทัศน์ และแบบกล่องเซ็ตท็อปบอกซ์ ที่เรียกว่า Android TV Box เนื่องจากแต่ละครัวเรือนมีโทรทัศน์อยู่ แล้ว ดังนั้น Android TV Box จึงเป็นที่ นิยมมากกว่า อีกทั้งมีให้เลือกหลายยี่ห้อ หลายราคา วิธีใช้งานค่อนข้างง่าย เพียงแค่ น�ำ Android TV Box มาเชื่อมต่อกับ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้งาน ได้ ส่วนวิธีการดาวน์โหลดและใช้งาน แอปพลิเคชันเหมือนการใช้งานสมาร์ตโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทั่วไปซึ่งหลาย คนใช้เป็นอยู่แล้ว ด้วยการใช้งานอย่างแพร่หลายของ Android TV Box ส่งผลให้ผู้ประสงค์ร้าย ใช้เป็นช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งรูปแบบที่มักจะพบบ่อยคือ การเผยแพร่ แอปพลิเคชันส�ำหรับรับชมภาพยนตร์ ออนไลน์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีค่าบริการถูก กว่าการซื้อหรือดาวน์โหลดภาพยนตร์จาก แหล่งที่ถูกลิขสิทธิ์ ในปี 2560 ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ ได้รับพยานหลักฐานที่เป็น Android TV Box โดยหน่วยงานผู้ขอรับบริการขอให้ ศูนย์ฯ ตรวจพิสูจน์แอปพลิเคชันที่ ติดตั้งไว้ในพยานหลักฐาน ว่าเป็น แอปพลิเคชันที่ให้บริการดูภาพยนตร์และ ถ่ายทอดสดกีฬาหรือไม่ และถ่ายทอด สัญญาณมาจากหมายเลขไอพีใด ในการตรวจพิสูจน์ ผู้ตรวจพิสูจน์ได้ใช้ เครื่องมือท�ำส�ำเนาแอปพลิเคชันที่น่าสงสัย ออกมาจากพยานหลักฐานเป็นไฟล์นามสกุล APK (Android Package Kit) ซึ่งเป็น เเพ็กเกจส�ำหรับใช้ติดตั้งโปรเเกรมต่าง ๆ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จากนั้น วิเคราะห์ไฟล์ดังกล่าวเพื่อหากลไกการ ท�ำงาน (Reverse Engineering) พบว่า แอปพลิเคชันเรียกหน้าเว็บไซต์หนึ่งมาแสดง ผล ผู้ตรวจพิสูจน์จึงได้ตรวจสอบเพิ่มเติม โดยการติดตั้งและเปิดแอปพลิเคชันนั้นใน
  • 58. 57 แท็บเล็ตที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ของศูนย์ฯ ซึ่งจัดเตรียมไว้ส�ำหรับการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ หลังจากเปิด แอปพลิเคชันแล้ว พบหน้าเว็บไซต์แสดง ส่วนที่ให้กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน ผู้ตรวจพิสูจน์จึงกรอกชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัส ผ่านที่ทางผู้ขอรับบริการจัดเตรียมไว้ให้พบ ว่าสามารถรับชมภาพยนตร์และถ่ายทอด สดกีฬาได้ จากนั้น ผู้ตรวจพิสูจน์จึงใช้เครื่องมือ วิเคราะห์การท�ำงานของเครือข่าย พบว่า มีสัญญาณถ่ายทอด (Streaming) มาจาก หมายเลขไอพีทั้งในและต่างประเทศ ศูนย์ฯได้ส่งรายงานผลการตรวจพิสูจน์ ให้หน่วยงานผู้ขอรับบริการเพื่อน�ำหมายเลข ไอพีประสานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็น ข้อมูลประกอบการสืบสวนสอบสวนต่อไป
  • 59. 58 รู้ไว้ใช่ว่า การตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานดิจิทัล ประเภทวิดีโอ ปัจจุบัน ไฟล์ประเภทวิดีโอมีปริมาณ สูงขึ้นจากในอดีตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็น ผลเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความแพร่หลายของสมาร์ตโฟน และ ในขณะเดียวกันประชาชนยังนิยมติดกล้อง วงจรปิดและกล้องหน้ารถมากขึ้น เพื่อ บันทึกสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นอุบัติเหตุ หรืออาชญากรรม ซึ่งในส่วนนี้เองที่ไฟล์ วิดีโออาจถูกน�ำมาใช้เป็นพยานหลักฐาน ประกอบการพิจารณาคดีความ อย่างไรก็ตาม ไฟล์วิดีโอจากอุปกรณ์ ข้างต้นมักมีข้อจ�ำกัดหลายประการ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในแง่ความคมชัดของภาพ เป็นต้นว่าหากวิดีโอมีความละเอียดไม่เพียง พอ จะท�ำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลตัวอักษร ขนาดเล็ก เช่น ป้ายทะเบียนรถได้ แต่ทั้งนี้ วิดีโอดังกล่าวอาจไม่ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว ด้วยการใช้เทคนิคปรับปรุงรูปภาพและ วิดีโอ (Image/Video Enhancement) เข้ามาช่วยอาจสามารถดึงข้อมูลที่ตามนุษย์ มองไม่เห็นออกมาได้บ้าง รูปภาพและวิดีโอมีวิธีปรับปรุงทาง ดิจิทัลอยู่หลายแบบ ที่คนทั่วไปรู้จักดีคือ การปรับความสว่าง (Brightness) เฉดสี (Hue) ระดับสี (Levels) หรือมุมมอง (Perspective) นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคขั้น สูงอื่นอีก เช่น การตัดสัญญาณภาพรบกวน (Denoising) ขจัดความเลือนจากการ เคลื่อนไหว (Motion Deblurring) ปรับ เสถียรภาพของวัตถุในวิดีโอ(Stabilization) เฉลี่ยภาพแต่ละฉาก (Frame Averaging) หรือปรับสมดุลฮิสโทแกรม (Histogram Equalization) ซึ่งล้วนเป็นผลจากการ พัฒนาองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ผู้ตรวจพิสูจน์ต้องอาศัยทักษะและ ประสบการณ์ในการเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม กับปัญหาที่พบในรูปภาพหรือวิดีโอและ เป้าหมายในการปรับปรุง นอกเหนือจากการปรับปรุงให้คมชัด แล้วยังมีรูปแบบการตรวจพิสูจน์อื่นอีก ตัวอย่าง เช่น การประมาณส่วนสูงของ ผู้ต้องสงสัยที่ปรากฏในรูปหรือวิดีโอซึ่งการ ที่จะค�ำนวณค่าส่วนสูงได้อย่างแม่นย�ำได้ นั้น จ�ำเป็นต้องกลับไปส�ำรวจที่เกิดเหตุ เพื่อหาวัตถุในระนาบที่จะใช้อ้างอิง ซึ่งต้อง เป็นระนาบที่ตั้งฉากกันในทั้งสามมิติและ อยู่ในระนาบเดียวกันกับที่ผู้ต้องสงสัยยืน อยู่ แล้ววัดความยาววัตถุนั้น เพื่อน�ำไปใช้