SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 20
Baixar para ler offline
บทที่ 4
เรื่อง การสร้างออบเจ็กต์
1. เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างออบเจ็กต์
ออบเจกต์ คือ เส้นและรูปทรงต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้นใน PageMaker 7.0 เพื่อเพิ่มสีสันในงาน
ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ โดยการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ใน Toolbox แสดงเป็นปุ่มต่าง ๆ ได้เรียกใช้ ร่วมกับ
คาสั่งอื่น ๆ บ่อยที่สุด หากไม่ปรากฏบนหน้าจอ ดังรูปที่ 4.1 สามารถเรียกใช้งานได้ที่ Show Tools
จากเมนูคาสั่ง Window และถ้าไม่อยากให้แสดงบนหน้าจอภาพ ก็สามารถจัดเก็บได้โดยเลือกที่ Hide
Tools
รูปที่ 4.1 แสดงการเรียกใช้กล่องเครื่องมือจากคาสั่ง Window > Show Tools ออกมาใช้งาน
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
รูปที่ 4.2 แสดงการจัดเก็บกล่องเครื่องมือจากคาสั่ง Window > Hide Tools
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
รูปที่ 4.3 แสดงลักษณะรูปร่างของปุ่มเครื่องมือที่มีอยู่ใน Toolbox
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
1.1 ชนิดและการใช้งานของเครื่องมือในการสร้างออบเจ็กต์
ภายในกล่องเครื่องมือจะประกอบไปด้วยเครื่องมือที่ให้เราได้ใช้งานเกี่ยวกับ การจัดการกับ
ข้อความและรูปภาพ และสามารถสร้างรูปทรงต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ในการจัดหน้าสิ่งพิมพ์ เพื่อให้สิ่งพิมพ์
ออกมาโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ เครื่องมือแต่ละชนิดมีชื่อเรียกเฉพาะ และมีขีดความสามารถ
ใช้งานที่แตกต่างกัน
เมื่อต้องการนาเครื่องมือใด ๆ มาใช้จาเป็นต้องเลือกเครื่องมือเหล่านั้นก่อน โดยเลือกคลิกที่
ตาแหน่งของเครื่องมือที่ต้องการในกล่องเครื่องมือ Toolbox จากนั้นตัวชี้เมาส์ก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งขึ้นอยู่
กับชนิดของเครื่องมือที่เลือก ดังต่อไปนี้
Pointer Tool ใช้สาหรับเลือกภาพหรือกรอบการพิมพ์ข้อมูลเพื่อเคลื่อนย้าย
ตาแหน่ง หรือเพื่อการเปลี่ยนขนาด เพื่อการคัดลอกหรือลบทิ้ง
โดยที่ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร
Text Tool เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับตัวอักษรเท่านั้น เช่น สาหรับพิมพ์หรือแก้ไข
ข้อความต่าง ๆ โดยที่ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย
(I – Beam)
Cropping Tool ใช้ซ่อนบางส่วนของภาพ ใช้สาหรับลบชิ้นส่วนของภาพออก
โดยที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปเครื่องหมาย Cropping Tool
Rotating Tool ใช้หมุนวัตถุหรือข้อความ
Line Tool ใช้สาหรับลากเส้นในแนวตั้งฉาก
โดยที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกากบาท (+)
Constrained – Line Tool เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกากบาท (+)
ใช้ลากเส้นตรง ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
และเส้นที่ทามุมเอียง 45 องศา
Rectangle Tool ใช้ในการสร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เมาส์จะเปลี่ยนเป็น
เครื่องหมายกากบาท (+) ถ้าต้องการสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้กด Shift
ค้างไว้ในขณะที่ลากเมาส์
Rectangle Frame Tool ใช้สร้างกรอบรูปสี่เหลี่ยมเพื่อพิมพ์ข้อความ
Ellipse Tool ใช้สร้างรูปวงกลมหรือวงรี เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย
กากบาท (+) สาหรับวงกลมให้กด Shift ขณะลากเมาส์
Ellipse Frame Tool ใช้สร้างกรอบรูปวงกลมหรือวงรีเพื่อพิมพ์ข้อความ
Polygon Tool ใช้สร้างรูปหลายเหลี่ยม
Polygon Frame Tool ใช้สร้างกรอบรูปหลายเหลี่ยมเพื่อพิมพ์ข้อความ
Hand Tool ใช้เลื่อนพื้นที่หน้ากระดาษบนพื้นที่หน้าจอในขณะทางาน
Zoom Tool ใช้กาหนดขนาดในการมองภาพ
2. การวาดรูปเส้นตรง
การวาดรูปเส้นตรงบนหน้ากระดาษด้วยโปรแกรม PageMaker 7.0 มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือสาหรับวาดรูปเส้นตรง Constrained – Line Tool
ตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นรูปกากบาท (+) ดังรูปที่ 4.4
รูปที่ 4.4 แสดงการวาดเส้นตรง ขั้นตอนที่ 1 ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาท
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 2 เลือกรูปแบบเส้นด้วยคาสั่ง Element > Stroke > Costom
รูปที่ 4.5 แสดง การเลือกรูปแบบเส้น
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 3 เลือกรูปแบบเส้น (คลิกเลือกรูปแบบเส้นตรง)
รูปที่ 4.6 แสดงขั้นตอนการเลือกกาหนดค่าของเส้นใน Custom Stroke
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 4 ที่ Stroke Weight ใส่ตัวเลขเพื่อกาหนดความหนาของเส้น
ขั้นตอนที่ 5 เลือก Transparent background (ปกติตัวเลือกนี้ถูกเลือกอยู่ก่อนแล้ว)
ขั้นตอนที่ 6 คลิก OK
ขั้นตอนที่ 7 เริ่มลากเส้นตรงด้วยการคลิกเมาส์ลากไปตรง ๆ จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด
ตามที่ต้องการ แล้วปล่อยเมาส์ ก็จะได้เส้นตรง ดังรูปที่ 4.7
รูปที่ 4.7 แสดงการลากเมาส์เพื่อวาดเส้นตรง
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
2.1 การเปลี่ยนสีให้กับเส้น
สามารถเปลี่ยนสีให้กับเส้นเพื่อความสวยงามได้ ตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิก คลิกที่เส้น และ คลิกคาสั่ง Window
ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่ Show Colors
รูปที่ 4.8 แสดงการเลือกคาสั่งเพื่อเปลี่ยนสีให้กับเส้น
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
จะปรากฏแท็บสีให้เลือกรายการต่าง ๆ ดังรูปที่ 4.9
ขั้นตอนที่ 3 คลิกปุ่มเส้นขอบ
ขั้นตอนที่ 4 คลิกเลือกสีที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5 คลิกปุ่มเพื่อเลือกเปอร์เซ็นต์ความเข้มจางของสีเส้น
รูปที่ 4.9 แสดงขั้นตอนการกาหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเส้น
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
รูปที่ 4.10 แสดงตัวอย่างเส้นและสีเส้นที่ได้วาดขึ้น
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
2.2 การรวมกลุ่มเส้นด้วย Element > Group
หลังจากที่ได้วาดรูปเส้นขึ้นมาเป็นรูปของตารางแล้ว สังเกตุได้ว่ามีเส้นประกอบเข้าด้วยกัน
จานวนหลาย ๆ เส้น เราควรกรุ๊ป (Group) คือ การรวมเส้นเหล่านั้นให้ป็นเนื้อเดียวกันได้ด้วย
เครื่องมือ ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิก
ขั้นตอนที่ 2 คลิกเมาส์ลากคลุมพื้นที่ตารางทั้งหมด
รูปที่ 4.11 แสดงการคลิกเมาส์ลากคลุมเส้นที่เป็นตารางทั้งหมด
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 3 คลิกที่ เมนู Elements > Group ก็จะได้ ตารางที่ประกอบด้วยเส้นรวมกันเป็น
เนื้อเดียวกัน ดังรูปที่ 4.12
รูปที่ 4.12 แสดงการกรุ๊ป (Group) เส้นเพื่อรวมเป็นเส้นเดียวกัน
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
3. การวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
วาดรูปสี่เหลี่ยมได้โดยการใช้เครื่องมือจากปุ่ม Rectangle Tool ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือสาหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม ตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะ
เปลี่ยนไปเป็นรูปกากบาท (+) ดังรูปที่ 4.13
รูปที่ 4.13 แสดงการวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ขั้นตอนที่ 1 ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาท
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 2 วางตัวชี้เมาส์ในจุดที่เริ่มต้นสร้างรูปสี่เหลี่ยมบนหน้าจอภาพ คลิกเมาส์ลากใน
แนวเฉียงจะได้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขึ้นมา หากต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้กดปุ่ม Shift จาก
คีย์บอร์ด กดค้างเอาไว้ขณะที่ทาการลากเมาส์ ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดเท่ากันทั้งสี่ด้าน ดังรูป
ที่ 4.14
รูปที่ 4.14 แสดงวิธีการวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในขั้นตอนที่ 2
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
3.1 การเปลี่ยนขนาดของรูปสี่เหลี่ยม
หลังจากที่ได้วาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขึ้นมาแล้ว หากต้องการที่จะเปลี่ยนขนาดของรูปสี่เหลี่ยม
ที่ได้สร้างไว้แล้วให้มีขนาดที่โตขึ้นหรือเล็กลง สามารถทาได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกที่ปุ่มเครื่องมือ Pointer Tool สาหรับเลือกรูปภาพ ตัวชี้เมาส์ก็จะ
เปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ให้เราชี้ไปที่เส้นของรูป จะปรากฏจุด Handie เห็นเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีดา
อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม และที่จุดตรงกลางของด้านแต่ละด้าน (อาการอย่างนี้ เรียกว่า เกิดอาการ Active)
ดังรูปที่ 4.15
รูปที่ 4.15 แสดงขั้นตอนของการใช้เครื่องมือ Pointer Tool เลือกรูปภาพ
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 2 กดตัวชี้เมาส์ไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งของจุด Handle ลูกศรจะเปลี่ยนเป็น ลูกศรชี้สอง
ทิศ (Double Head Arrow) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการย่อ – ขยาย ให้กดเมาส์ลากเข้าไปในรูปจะเป็น
การย่อ และลากเมาส์ออกจะเป็นการขยาย หากต้องการย่อ/ขยายให้เป็นสัดส่วนกับรูปเดิม ให้กดปุ่ม
Shift ที่คีย์บอร์ด ไว้ขณะที่ทาการย่อหรือขยายรูป ดังรูปที่ 4.16
รูปที่ 4.16 แสดงการย่อหรือขยายรูป
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
3.2 การเปลี่ยนขนาดเส้นให้กับรูปด้วยคาสั่ง Stroke
การวาดรูปโดยทั่ว ๆ ไป โปรแกรมจะกาหนดความหนาของเส้นขอบมาให้เท่ากับ 1pt. หาก
ต้องการให้เส้นรอบรูปเป็นเส้นหนาหรือบาง สามารถทาได้ด้วยคาสั่ง Stroke ซึ่งเป็นคาสั่งที่ทางาน
เกี่ยวกับเส้น ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือ Pointer Tool สาหรับเลือกรูปภาพ คลิกเมาส์ที่เส้น
รอบรูปของสี่เหลี่ยม
ขั้นตอนที่ 2 คลิกคาสั่ง Element > Stroke ก็จะมีรายการของ Stroke ให้เราได้เลือกระดับ
ขนาดของเส้นที่ต้องการ ดังรูปที่ 4.17
รูปที่ 4.17 แสดงรายการของคาสั่ง Stroke ให้เราได้เลือกรายการขนาดของเส้นได้ตามต้องการ
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 3 คลิกเลือกขนาดของ เส้น (Stroke) ตามที่ต้องการแล้ว ขนาดเส้นของรูปสี่เหลี่ยม
ก็เปลี่ยนเป็นเส้นหนากว่าเดิมตามที่เลือก คือ 6 pt ตามที่ต้องการ ดังรูปที่ 4.18
รูปที่ 4.18 แสดงรูปสี่เหลี่ยมที่ได้เปลี่ยนขนาดของเส้นตามที่ต้องการ
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
3.3 การเปลี่ยนมุมให้กับรูปสี่เหลี่ยมด้วยคาสั่ง Rounded Corners
บางครั้งเราต้องการให้รูปสี่เหลี่ยมที่เราสร้างขึ้นเป็นสี่เหลี่ยมที่มีมุมโค้งเพื่อเพิ่มความสวยงาม
ให้กับภาพ สามารถทาได้ ตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือ Pointer Tool สาหรับเลือกรูปภาพ คลิกเมาส์ที่เส้น
รอบรูปของสี่เหลี่ยม
ขั้นตอนที่ 2 คลิกคาสั่ง ด้วยคาสั่ง Element > Rounded Corners ดังรูปที่ 4.19
รูปที่ 4.19 แสดงการคลิกเมนู Element > Rounded Corners
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
คลิกที่ Rounded Corners ก็จะปรากฏเป็นไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Rounded Corners ให้เราเลือก
รูปแบบของมุมได้ ดังรูปที่ 4.20
รูปที่ 4.20 แสดงการเลือกรูปแบบของมุมจาก Rounded Corners
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 3 คลิกเลือกรูปแบบของมุมตามที่ต้องการ แล้วคลิก OK ก็จะได้มุมของรูปสี่เหลี่ยม
เปลี่ยนไปเป็นมุมมนตามที่เลือก ดังรูปที่ 4.21
รูปที่ 4.21 แสดงมุมของสี่เหลี่ยมได้เปลี่ยนไปเป็นมุมมนดังที่เลือก
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
4. การจัดกลุ่มออบเจ็กต์
4.1 การรวมกลุ่มออบเจ็กต์
หลังจากที่ได้สร้างออบเจ็กต์ขึ้นมาหลาย ๆ ชิ้น สามารถนาออบเจ็กต์เหล่านั้นมารวมกลุ่มกัน
ให้เป็นออบเจ็กต์ชิ้นเดียว เพื่อต้องการทางานให้รวดเร็วขึ้น สามารถรวมกลุ่มออบเจ็กต์เข้าด้วยกันได้
ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 กด Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วเลือกออบเจ็กต์ที่ต้องการนามารวมกัน ทีละตัว
จนครบจานวนของออบเจ็กต์ที่จะนามารวมกันทุกตัว แล้วถึงปล่อยมือจากปุ่ม Shift
ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element > Group
รูปที่ 4.22 แสดงการเลือกและรวมกลุ่มออบเจ็กต์
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
4.2 การยกเลิกกลุ่มออบเจ็กต์
ยกเลิกการจัดกลุ่มออบเจ็กต์สามารถยกเลิกได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการแยกออกจากกัน
ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element >Ungroup
4.3 การล็อกออบเจ็กต์
ในกรณีที่ได้จัดตาแหน่งที่วางออบเจ็กต์เป็นที่เรียบร้อยแล้วและไม่ต้องการให้ออบเจ็กต์เปลี่ยน
ตาแหน่งหรือไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายสามารถทาได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการล็อก
ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element > Lock Position จากนั้นทดลองเคลื่อนย้าย
ออบเจ็กต์ จะพบว่าไม่สามารถเคลื่อนย้ายออบเจ็กต์ได้
4.4 การยกเลิกการล็อกออบเจ็กต์
ยกเลิกการล็อกออบเจ็กต์สามารถยกเลิกได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการปลดล็อก
ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element >Unlock
4.5 การจัดตาแหน่งการวางออบเจ็กต์
ในกรณีที่มีออบเจ็กต์ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป และต้องการจัดวางตาแหน่งออบเจ็กต์เหล่านั้นไว้
ด้วยกันสามารถทาได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม
รูปที่ 4.23 แสดงการคลิกปุ่ม Text Tool
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการจัดวางตาแหน่ง ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
รูปที่ 4.24 แสดงการเลือกออบเจ็กต์
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element > Align Object จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ดังรูปที่
4.23
รูปที่ 4.25 แสดงไดอะล็อกบอกซ์ของ Align Object
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ขั้นตอนที่ 4 เลือกตาแหน่งที่ต้องการแล้วคลิก OK จะได้ผลลัพธ์ที่เลือกได้ดังรูปที่ 4.24
รูปที่ 4.26 แสดงตาแหน่งของการวางออบเจ็กต์ตามที่เลือก
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
4.6 การลบวัตถุและรูปทรง
วัตถุที่สร้างไว้แล้วถ้าไม่ต้องการสามารถลบออกไปได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 คลิกปุ่ม จาก Toolbox เลือกที่ขอบของวัตถุที่ต้องการ เมื่อกรอบรูปปรากฏจุด
Hendle สีดาเล็ก ๆ อยู่รอบชิ้นงาน ก็สามารถลบออกได้ด้วย การคลิกขวาที่กรอบภาพแล้วเลือก Cut
หรือกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด
วิธีที่ 2 โดยการคลิกเมาส์ลากคลุมสร้างกรอบสี่เหลี่ยมเส้นประให้คลุมรูปหรือชุดข้อความที่
ต้องการลบ จากนั้นปล่อยเมาส์ที่กดไว้ คลิกขวาที่เส้นกรอบภาพแล้วเลือก Cut หรือกดปุ่ม Delete ที่
คีย์บอร์ด
รูปที่ 4.27 แสดงการสร้างกรอบสี่เหลี่ยมเส้นประคลุมวัตถุที่ต้องการเลือกเพื่อลบ
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
5. การคัดลอกออบเจ็กต์
สามารถคัดลอกออบเจ็กต์ต่าง ๆ ได้โดยใช้คาสั่ง Copy จาก เมนูคาสั่ง Edit ดังนี้
5.1 การใช้คาสั่ง Copy คัดลอกออบเจ็กต์
สามารถทาได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม เพื่อเลือกออบเจ็กต์ที่ต้องการคัดลอก
ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่ Edit > Copy
รูปที่ 4.28 แสดงการคัดลอกออบเจ็กต์
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
5.2 การใช้คาสั่ง Paste วางออบเจ็กต์
นาออบเจ็กต์ที่ได้จากการ Copy มาวางหรือแทรกในเอกสารสิ่งพิมพ์ที่กาลังจัดอยู่ สามารถทา
ได้ดังนี้
รูปที่ 4.29 แสดงการวางออบเจ็กต์
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
5.3 การใช้คาสั่ง Paste Multiple…
เป็นการนาข้อความหรือวัตถุออกมาหลาย ๆ ชิ้นหรือหลาย ๆ ข้อความ มาวางในหน้าสิ่งพิมพ์
หลังจากที่ได้ คัดลอกข้อความหรือรูปภาพมาแล้ว ต้องการที่จะวางเป็นจานวนหลาย ๆ ชิ้นสามารถทา
ได้ด้วยวิธีการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกที่ Edit
ขั้นตอนที่ 2 เลือกที่ Paste Multiple
ขั้นตอนที่ 3 คลิกเลือกจานวนของออบเจ็กต์ที่ต้องการวางบนหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ 4 คลิก OK
รูปที่ 4.30 แสดงขั้นตอนการ ใช้คาสั่ง Paste Multiple
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
5.4 การหมุนรูปภาพด้วย Rotating Tool
ในกรณีที่ต้องการหมุนวัตถุตามรูปแบบที่ต้องการสามารถทาได้ โดยคลิกปุ่ม จาก
Toolbox เลือกวัตถุที่ต้องการ และทาตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม Rotating Tool จาก Toolbox
ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่รูปภาพที่ต้องการหมุนเพื่อกาหนดจุดหมุนค้างไว้แล้วลากเมาส์ออกเพื่อทา
การหมุน ปรับองศาการวางได้เป็นอิสระ ถ้าหาดเรากดปุ่ม Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ขณะที่ลากเมาส์
หมุน ก็จะเป็นการหมุนไปทีละ 45 องศา
รูปที่ 4.31 แสดงการหมุนรูปภาพด้วยเครื่องมือ Rotating Tool
(ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
ใบงานที่ 4.1
กาหนดเวลาในการปฏิบัติงาน 180 นาที
จุดประสงค์ของงาน
1. นาเครื่องมือออบเจ็กต์มาใช้งาน
2. พิมพ์อักษรและข้อความได้
3. ตกแต่งสีตัวอักษรและข้อความได้
4. มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานได้
กิจกรรม
คาสั่ง ให้นักศึกษาทาสมุดบันทึก ดังนี้
สมุดบันทึก
1. คลิกเมนู File > new กาหนด Document Setup ตามที่กาหนด
2. ให้กาหนดแบ่งครึ่งหน้าโดยลากเส้น Guide ที่ตาแหน่ง เลขที่ 4.1 ให้เลือกเครื่องพิมพ์
ตัวอักษรขนาด 18 พิมพ์ตามตัวอย่างให้ปรับให้พอดีกับช่องที่แบ่ง
3 ให้ตกแต่งโดยลากเส้นตั้งฉาก เพื่อตกแต่งโดยลากใต้ชื่อแล้วให้คลิกเลือกที่เส้นให้
คัดลอกเส้นคลิก Edit>copy และ Edit>Paste multiple กาหนดตามตัวอย่าง คลิก OK จะได้เส้น 3
เส้นให้ลากล้อมวัตถุทั้งหมด แล้วคลิกเมนู Element เลือก Group ตัวข้อความและเส้นเป็นวัตถุ
เดียวกัน
4 ทาการคัดลอกเพิ่ม คลิก Edit>copy และ Edit>Paste multiple โดยเพิ่มจานวน 6
Copies จะได้ข้อความเพิ่ม ลากล้อมทั้งหมด คลิกเมนู Element เลือก Group ให้คัดลอกมาไว้ทาง
ด้านขวา
5. คลิกเมนู Edit>Copy คลิก Edit>Paste ลากย้ายมาทางด้านขวา เพื่อจัดวางแนวให้
ตรงกัน
6. ลากล้อมทั้งหมด คลิกเมนู Element>Align Objects เลือกตามแนวที่วาง ให้ตกแต่ง
หัวข้อใส่รูปภาพตามต้องการ ให้ทาหน้า 2 ตามต้องการ ตามตัวอย่าง ให้ทาการบันทึกงาน
File>Save จะได้งาน 2 หน้า
เกณฑ์การพิจารณา
1. สะกดคาถูกต้อง
2. ใช้แบบตัวอักษรถูกต้อง
3. ใช้ขนาดของตัวอักษรถูกต้อง
4. ตกแต่งสีข้อความสวยงาม
5. ปฏิบัติงานเสร็จตามเวลาที่กาหนด

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

คู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUp
คู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUpคู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUp
คู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUp
SKETCHUP HOME
 
ใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพ
ใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพ
ใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพ
Nimanong Nim
 

Mais procurados (20)

คู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUp
คู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUpคู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUp
คู่มือ Dynamic Component และการจัดการ Component ขั้นสูงในโปรแกรม SketchUp
 
1.3 การทำงานด้านต่างๆของโปรแกรม sketch up 2015
1.3 การทำงานด้านต่างๆของโปรแกรม sketch up 20151.3 การทำงานด้านต่างๆของโปรแกรม sketch up 2015
1.3 การทำงานด้านต่างๆของโปรแกรม sketch up 2015
 
เครื่องมือที่ใช้วาดภาพในโปรแกรม Paint
เครื่องมือที่ใช้วาดภาพในโปรแกรม Paintเครื่องมือที่ใช้วาดภาพในโปรแกรม Paint
เครื่องมือที่ใช้วาดภาพในโปรแกรม Paint
 
การใช้โปรแกรม Paint
การใช้โปรแกรม Paintการใช้โปรแกรม Paint
การใช้โปรแกรม Paint
 
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 20151.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
 
ใบความรู้ที่ 3 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
ใบความรู้ที่  3 การใช้เครื่องมือวาดภาพใบความรู้ที่  3 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
ใบความรู้ที่ 3 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
 
Word3
Word3Word3
Word3
 
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรมคู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
 
วัตถุObject
วัตถุObjectวัตถุObject
วัตถุObject
 
Photoshop cs3
Photoshop cs3Photoshop cs3
Photoshop cs3
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3
 
ใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพ
ใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพ
ใบความรู้ที่ 2เครื่องมือตกแต่งภาพ
 
Lesson 4 2
Lesson 4 2Lesson 4 2
Lesson 4 2
 
Desing
DesingDesing
Desing
 
Photoshop7
Photoshop7Photoshop7
Photoshop7
 
คู่มือการใช้งาน Photoshop cs
คู่มือการใช้งาน Photoshop csคู่มือการใช้งาน Photoshop cs
คู่มือการใช้งาน Photoshop cs
 
Selection tool Ps CS5
Selection tool Ps CS5Selection tool Ps CS5
Selection tool Ps CS5
 
Powerpoint
PowerpointPowerpoint
Powerpoint
 
Unit 8
Unit 8Unit 8
Unit 8
 
เครื่องมือที่ใช้ลงสีในโปรแกรม Paint
เครื่องมือที่ใช้ลงสีในโปรแกรม Paintเครื่องมือที่ใช้ลงสีในโปรแกรม Paint
เครื่องมือที่ใช้ลงสีในโปรแกรม Paint
 

Semelhante a Unit 4

โปรแกรม Paint
โปรแกรม Paintโปรแกรม Paint
โปรแกรม Paint
guestf00501
 
C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003
C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003
C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003
karnpitcha jeerasiri
 
Photoshop cs
Photoshop csPhotoshop cs
Photoshop cs
noismart
 
ใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path tool
ใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path toolใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path tool
ใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path tool
Suda Sangtong
 
ใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอป
ใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอปใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอป
ใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอป
Nimanong Nim
 
Lesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
Lesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพLesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
Lesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
Errorrrrr
 

Semelhante a Unit 4 (20)

โปรแกรม Paint
โปรแกรม Paintโปรแกรม Paint
โปรแกรม Paint
 
แนะนำ Adobe photo shop 7
แนะนำ Adobe photo shop 7แนะนำ Adobe photo shop 7
แนะนำ Adobe photo shop 7
 
C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003
C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003
C:\Users\Karnpitcha\Ms Power Point2003\Teach Power Point2003
 
Lesson2
Lesson2Lesson2
Lesson2
 
การใส่รูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษร
การใส่รูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษรการใส่รูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษร
การใส่รูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษร
 
การแทรกรูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษร
การแทรกรูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษรการแทรกรูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษร
การแทรกรูปภาพและการประดิษฐ์ตัวอักษร
 
Photoshop cs
Photoshop csPhotoshop cs
Photoshop cs
 
ใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path tool
ใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path toolใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path tool
ใบงานที่ 22 สร้างตัวอักษรได้ดั่งใจด้วย path tool
 
ใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอป
ใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอปใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอป
ใบความรู้ที่ 1รู้จักโฟโต้ชอป
 
ใบความรู้ที่ 8 เครื่องมือไลน์และเครื่องมือเคิร์ฟ
ใบความรู้ที่ 8 เครื่องมือไลน์และเครื่องมือเคิร์ฟใบความรู้ที่ 8 เครื่องมือไลน์และเครื่องมือเคิร์ฟ
ใบความรู้ที่ 8 เครื่องมือไลน์และเครื่องมือเคิร์ฟ
 
Unit 12
Unit 12Unit 12
Unit 12
 
Lesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
Lesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพLesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
Lesson 7 การใช้เครื่องมือวาดภาพ
 
How to sai
How to saiHow to sai
How to sai
 
Lesson2
Lesson2Lesson2
Lesson2
 
Unit 2
Unit 2Unit 2
Unit 2
 
Photoshop ict
Photoshop ictPhotoshop ict
Photoshop ict
 
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่3
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่3พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่3
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่3
 
Animation flash
Animation flashAnimation flash
Animation flash
 
ใบความรู้ที่ 15 เทคนิคการใช้เครื่องมือในโปรแกรมเพ้นท์
ใบความรู้ที่ 15 เทคนิคการใช้เครื่องมือในโปรแกรมเพ้นท์ใบความรู้ที่ 15 เทคนิคการใช้เครื่องมือในโปรแกรมเพ้นท์
ใบความรู้ที่ 15 เทคนิคการใช้เครื่องมือในโปรแกรมเพ้นท์
 
Unit 15
Unit 15Unit 15
Unit 15
 

Mais de Comcmpoly

โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ขอขอบคุณพี...
โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗  ขอขอบคุณพี...โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗  ขอขอบคุณพี...
โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ขอขอบคุณพี...
Comcmpoly
 
Com-basic Shortcourse
Com-basic ShortcourseCom-basic Shortcourse
Com-basic Shortcourse
Comcmpoly
 

Mais de Comcmpoly (17)

แผนการสอนหลักสูตรระยะสั้น
แผนการสอนหลักสูตรระยะสั้นแผนการสอนหลักสูตรระยะสั้น
แผนการสอนหลักสูตรระยะสั้น
 
Eport158
Eport158Eport158
Eport158
 
โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ขอขอบคุณพี...
โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗  ขอขอบคุณพี...โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗  ขอขอบคุณพี...
โครงการรณรงค์เสริมสร้างสุขภาพและกำลังใจผู้พิการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ขอขอบคุณพี...
 
Unit 18
Unit 18Unit 18
Unit 18
 
Unit 17
Unit 17Unit 17
Unit 17
 
Unit 16
Unit 16Unit 16
Unit 16
 
Unit 14
Unit 14Unit 14
Unit 14
 
Unit 11
Unit 11Unit 11
Unit 11
 
Unit 13
Unit 13Unit 13
Unit 13
 
Unit 10
Unit 10Unit 10
Unit 10
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7
 
Unit 6
Unit 6Unit 6
Unit 6
 
Unit 5
Unit 5Unit 5
Unit 5
 
Unit 3
Unit 3Unit 3
Unit 3
 
unit 1
unit 1unit 1
unit 1
 
P1
P1P1
P1
 
Com-basic Shortcourse
Com-basic ShortcourseCom-basic Shortcourse
Com-basic Shortcourse
 

Unit 4

  • 1. บทที่ 4 เรื่อง การสร้างออบเจ็กต์ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างออบเจ็กต์ ออบเจกต์ คือ เส้นและรูปทรงต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้นใน PageMaker 7.0 เพื่อเพิ่มสีสันในงาน ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ โดยการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ใน Toolbox แสดงเป็นปุ่มต่าง ๆ ได้เรียกใช้ ร่วมกับ คาสั่งอื่น ๆ บ่อยที่สุด หากไม่ปรากฏบนหน้าจอ ดังรูปที่ 4.1 สามารถเรียกใช้งานได้ที่ Show Tools จากเมนูคาสั่ง Window และถ้าไม่อยากให้แสดงบนหน้าจอภาพ ก็สามารถจัดเก็บได้โดยเลือกที่ Hide Tools รูปที่ 4.1 แสดงการเรียกใช้กล่องเครื่องมือจากคาสั่ง Window > Show Tools ออกมาใช้งาน (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) รูปที่ 4.2 แสดงการจัดเก็บกล่องเครื่องมือจากคาสั่ง Window > Hide Tools (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 2. รูปที่ 4.3 แสดงลักษณะรูปร่างของปุ่มเครื่องมือที่มีอยู่ใน Toolbox (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) 1.1 ชนิดและการใช้งานของเครื่องมือในการสร้างออบเจ็กต์ ภายในกล่องเครื่องมือจะประกอบไปด้วยเครื่องมือที่ให้เราได้ใช้งานเกี่ยวกับ การจัดการกับ ข้อความและรูปภาพ และสามารถสร้างรูปทรงต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ในการจัดหน้าสิ่งพิมพ์ เพื่อให้สิ่งพิมพ์ ออกมาโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ เครื่องมือแต่ละชนิดมีชื่อเรียกเฉพาะ และมีขีดความสามารถ ใช้งานที่แตกต่างกัน เมื่อต้องการนาเครื่องมือใด ๆ มาใช้จาเป็นต้องเลือกเครื่องมือเหล่านั้นก่อน โดยเลือกคลิกที่ ตาแหน่งของเครื่องมือที่ต้องการในกล่องเครื่องมือ Toolbox จากนั้นตัวชี้เมาส์ก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งขึ้นอยู่ กับชนิดของเครื่องมือที่เลือก ดังต่อไปนี้ Pointer Tool ใช้สาหรับเลือกภาพหรือกรอบการพิมพ์ข้อมูลเพื่อเคลื่อนย้าย ตาแหน่ง หรือเพื่อการเปลี่ยนขนาด เพื่อการคัดลอกหรือลบทิ้ง โดยที่ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร Text Tool เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับตัวอักษรเท่านั้น เช่น สาหรับพิมพ์หรือแก้ไข ข้อความต่าง ๆ โดยที่ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย (I – Beam) Cropping Tool ใช้ซ่อนบางส่วนของภาพ ใช้สาหรับลบชิ้นส่วนของภาพออก โดยที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปเครื่องหมาย Cropping Tool Rotating Tool ใช้หมุนวัตถุหรือข้อความ
  • 3. Line Tool ใช้สาหรับลากเส้นในแนวตั้งฉาก โดยที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกากบาท (+) Constrained – Line Tool เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกากบาท (+) ใช้ลากเส้นตรง ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง และเส้นที่ทามุมเอียง 45 องศา Rectangle Tool ใช้ในการสร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เมาส์จะเปลี่ยนเป็น เครื่องหมายกากบาท (+) ถ้าต้องการสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้กด Shift ค้างไว้ในขณะที่ลากเมาส์ Rectangle Frame Tool ใช้สร้างกรอบรูปสี่เหลี่ยมเพื่อพิมพ์ข้อความ Ellipse Tool ใช้สร้างรูปวงกลมหรือวงรี เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย กากบาท (+) สาหรับวงกลมให้กด Shift ขณะลากเมาส์ Ellipse Frame Tool ใช้สร้างกรอบรูปวงกลมหรือวงรีเพื่อพิมพ์ข้อความ Polygon Tool ใช้สร้างรูปหลายเหลี่ยม Polygon Frame Tool ใช้สร้างกรอบรูปหลายเหลี่ยมเพื่อพิมพ์ข้อความ Hand Tool ใช้เลื่อนพื้นที่หน้ากระดาษบนพื้นที่หน้าจอในขณะทางาน Zoom Tool ใช้กาหนดขนาดในการมองภาพ
  • 4. 2. การวาดรูปเส้นตรง การวาดรูปเส้นตรงบนหน้ากระดาษด้วยโปรแกรม PageMaker 7.0 มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือสาหรับวาดรูปเส้นตรง Constrained – Line Tool ตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นรูปกากบาท (+) ดังรูปที่ 4.4 รูปที่ 4.4 แสดงการวาดเส้นตรง ขั้นตอนที่ 1 ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาท (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 2 เลือกรูปแบบเส้นด้วยคาสั่ง Element > Stroke > Costom รูปที่ 4.5 แสดง การเลือกรูปแบบเส้น (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 5. ขั้นตอนที่ 3 เลือกรูปแบบเส้น (คลิกเลือกรูปแบบเส้นตรง) รูปที่ 4.6 แสดงขั้นตอนการเลือกกาหนดค่าของเส้นใน Custom Stroke (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 4 ที่ Stroke Weight ใส่ตัวเลขเพื่อกาหนดความหนาของเส้น ขั้นตอนที่ 5 เลือก Transparent background (ปกติตัวเลือกนี้ถูกเลือกอยู่ก่อนแล้ว) ขั้นตอนที่ 6 คลิก OK ขั้นตอนที่ 7 เริ่มลากเส้นตรงด้วยการคลิกเมาส์ลากไปตรง ๆ จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ตามที่ต้องการ แล้วปล่อยเมาส์ ก็จะได้เส้นตรง ดังรูปที่ 4.7 รูปที่ 4.7 แสดงการลากเมาส์เพื่อวาดเส้นตรง (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 6. 2.1 การเปลี่ยนสีให้กับเส้น สามารถเปลี่ยนสีให้กับเส้นเพื่อความสวยงามได้ ตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิก คลิกที่เส้น และ คลิกคาสั่ง Window ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่ Show Colors รูปที่ 4.8 แสดงการเลือกคาสั่งเพื่อเปลี่ยนสีให้กับเส้น (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) จะปรากฏแท็บสีให้เลือกรายการต่าง ๆ ดังรูปที่ 4.9 ขั้นตอนที่ 3 คลิกปุ่มเส้นขอบ ขั้นตอนที่ 4 คลิกเลือกสีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 5 คลิกปุ่มเพื่อเลือกเปอร์เซ็นต์ความเข้มจางของสีเส้น รูปที่ 4.9 แสดงขั้นตอนการกาหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเส้น (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) รูปที่ 4.10 แสดงตัวอย่างเส้นและสีเส้นที่ได้วาดขึ้น (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 7. 2.2 การรวมกลุ่มเส้นด้วย Element > Group หลังจากที่ได้วาดรูปเส้นขึ้นมาเป็นรูปของตารางแล้ว สังเกตุได้ว่ามีเส้นประกอบเข้าด้วยกัน จานวนหลาย ๆ เส้น เราควรกรุ๊ป (Group) คือ การรวมเส้นเหล่านั้นให้ป็นเนื้อเดียวกันได้ด้วย เครื่องมือ ตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิก ขั้นตอนที่ 2 คลิกเมาส์ลากคลุมพื้นที่ตารางทั้งหมด รูปที่ 4.11 แสดงการคลิกเมาส์ลากคลุมเส้นที่เป็นตารางทั้งหมด (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 3 คลิกที่ เมนู Elements > Group ก็จะได้ ตารางที่ประกอบด้วยเส้นรวมกันเป็น เนื้อเดียวกัน ดังรูปที่ 4.12 รูปที่ 4.12 แสดงการกรุ๊ป (Group) เส้นเพื่อรวมเป็นเส้นเดียวกัน (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 8. 3. การวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก วาดรูปสี่เหลี่ยมได้โดยการใช้เครื่องมือจากปุ่ม Rectangle Tool ตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือสาหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม ตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะ เปลี่ยนไปเป็นรูปกากบาท (+) ดังรูปที่ 4.13 รูปที่ 4.13 แสดงการวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ขั้นตอนที่ 1 ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาท (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 2 วางตัวชี้เมาส์ในจุดที่เริ่มต้นสร้างรูปสี่เหลี่ยมบนหน้าจอภาพ คลิกเมาส์ลากใน แนวเฉียงจะได้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขึ้นมา หากต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้กดปุ่ม Shift จาก คีย์บอร์ด กดค้างเอาไว้ขณะที่ทาการลากเมาส์ ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดเท่ากันทั้งสี่ด้าน ดังรูป ที่ 4.14 รูปที่ 4.14 แสดงวิธีการวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในขั้นตอนที่ 2 (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 9. 3.1 การเปลี่ยนขนาดของรูปสี่เหลี่ยม หลังจากที่ได้วาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขึ้นมาแล้ว หากต้องการที่จะเปลี่ยนขนาดของรูปสี่เหลี่ยม ที่ได้สร้างไว้แล้วให้มีขนาดที่โตขึ้นหรือเล็กลง สามารถทาได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกที่ปุ่มเครื่องมือ Pointer Tool สาหรับเลือกรูปภาพ ตัวชี้เมาส์ก็จะ เปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ให้เราชี้ไปที่เส้นของรูป จะปรากฏจุด Handie เห็นเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีดา อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม และที่จุดตรงกลางของด้านแต่ละด้าน (อาการอย่างนี้ เรียกว่า เกิดอาการ Active) ดังรูปที่ 4.15 รูปที่ 4.15 แสดงขั้นตอนของการใช้เครื่องมือ Pointer Tool เลือกรูปภาพ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 2 กดตัวชี้เมาส์ไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งของจุด Handle ลูกศรจะเปลี่ยนเป็น ลูกศรชี้สอง ทิศ (Double Head Arrow) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการย่อ – ขยาย ให้กดเมาส์ลากเข้าไปในรูปจะเป็น การย่อ และลากเมาส์ออกจะเป็นการขยาย หากต้องการย่อ/ขยายให้เป็นสัดส่วนกับรูปเดิม ให้กดปุ่ม Shift ที่คีย์บอร์ด ไว้ขณะที่ทาการย่อหรือขยายรูป ดังรูปที่ 4.16 รูปที่ 4.16 แสดงการย่อหรือขยายรูป (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 10. 3.2 การเปลี่ยนขนาดเส้นให้กับรูปด้วยคาสั่ง Stroke การวาดรูปโดยทั่ว ๆ ไป โปรแกรมจะกาหนดความหนาของเส้นขอบมาให้เท่ากับ 1pt. หาก ต้องการให้เส้นรอบรูปเป็นเส้นหนาหรือบาง สามารถทาได้ด้วยคาสั่ง Stroke ซึ่งเป็นคาสั่งที่ทางาน เกี่ยวกับเส้น ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือ Pointer Tool สาหรับเลือกรูปภาพ คลิกเมาส์ที่เส้น รอบรูปของสี่เหลี่ยม ขั้นตอนที่ 2 คลิกคาสั่ง Element > Stroke ก็จะมีรายการของ Stroke ให้เราได้เลือกระดับ ขนาดของเส้นที่ต้องการ ดังรูปที่ 4.17 รูปที่ 4.17 แสดงรายการของคาสั่ง Stroke ให้เราได้เลือกรายการขนาดของเส้นได้ตามต้องการ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 3 คลิกเลือกขนาดของ เส้น (Stroke) ตามที่ต้องการแล้ว ขนาดเส้นของรูปสี่เหลี่ยม ก็เปลี่ยนเป็นเส้นหนากว่าเดิมตามที่เลือก คือ 6 pt ตามที่ต้องการ ดังรูปที่ 4.18 รูปที่ 4.18 แสดงรูปสี่เหลี่ยมที่ได้เปลี่ยนขนาดของเส้นตามที่ต้องการ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 11. 3.3 การเปลี่ยนมุมให้กับรูปสี่เหลี่ยมด้วยคาสั่ง Rounded Corners บางครั้งเราต้องการให้รูปสี่เหลี่ยมที่เราสร้างขึ้นเป็นสี่เหลี่ยมที่มีมุมโค้งเพื่อเพิ่มความสวยงาม ให้กับภาพ สามารถทาได้ ตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่มเครื่องมือ Pointer Tool สาหรับเลือกรูปภาพ คลิกเมาส์ที่เส้น รอบรูปของสี่เหลี่ยม ขั้นตอนที่ 2 คลิกคาสั่ง ด้วยคาสั่ง Element > Rounded Corners ดังรูปที่ 4.19 รูปที่ 4.19 แสดงการคลิกเมนู Element > Rounded Corners (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) คลิกที่ Rounded Corners ก็จะปรากฏเป็นไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Rounded Corners ให้เราเลือก รูปแบบของมุมได้ ดังรูปที่ 4.20 รูปที่ 4.20 แสดงการเลือกรูปแบบของมุมจาก Rounded Corners (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 12. ขั้นตอนที่ 3 คลิกเลือกรูปแบบของมุมตามที่ต้องการ แล้วคลิก OK ก็จะได้มุมของรูปสี่เหลี่ยม เปลี่ยนไปเป็นมุมมนตามที่เลือก ดังรูปที่ 4.21 รูปที่ 4.21 แสดงมุมของสี่เหลี่ยมได้เปลี่ยนไปเป็นมุมมนดังที่เลือก (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) 4. การจัดกลุ่มออบเจ็กต์ 4.1 การรวมกลุ่มออบเจ็กต์ หลังจากที่ได้สร้างออบเจ็กต์ขึ้นมาหลาย ๆ ชิ้น สามารถนาออบเจ็กต์เหล่านั้นมารวมกลุ่มกัน ให้เป็นออบเจ็กต์ชิ้นเดียว เพื่อต้องการทางานให้รวดเร็วขึ้น สามารถรวมกลุ่มออบเจ็กต์เข้าด้วยกันได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม ขั้นตอนที่ 2 กด Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วเลือกออบเจ็กต์ที่ต้องการนามารวมกัน ทีละตัว จนครบจานวนของออบเจ็กต์ที่จะนามารวมกันทุกตัว แล้วถึงปล่อยมือจากปุ่ม Shift ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element > Group
  • 13. รูปที่ 4.22 แสดงการเลือกและรวมกลุ่มออบเจ็กต์ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) 4.2 การยกเลิกกลุ่มออบเจ็กต์ ยกเลิกการจัดกลุ่มออบเจ็กต์สามารถยกเลิกได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการแยกออกจากกัน ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element >Ungroup 4.3 การล็อกออบเจ็กต์ ในกรณีที่ได้จัดตาแหน่งที่วางออบเจ็กต์เป็นที่เรียบร้อยแล้วและไม่ต้องการให้ออบเจ็กต์เปลี่ยน ตาแหน่งหรือไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายสามารถทาได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการล็อก ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element > Lock Position จากนั้นทดลองเคลื่อนย้าย ออบเจ็กต์ จะพบว่าไม่สามารถเคลื่อนย้ายออบเจ็กต์ได้
  • 14. 4.4 การยกเลิกการล็อกออบเจ็กต์ ยกเลิกการล็อกออบเจ็กต์สามารถยกเลิกได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการปลดล็อก ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element >Unlock 4.5 การจัดตาแหน่งการวางออบเจ็กต์ ในกรณีที่มีออบเจ็กต์ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป และต้องการจัดวางตาแหน่งออบเจ็กต์เหล่านั้นไว้ ด้วยกันสามารถทาได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม รูปที่ 4.23 แสดงการคลิกปุ่ม Text Tool (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 2 คลิกเลือกกลุ่มออบเจ็กต์ที่ต้องการจัดวางตาแหน่ง ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป รูปที่ 4.24 แสดงการเลือกออบเจ็กต์ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 15. ขั้นตอนที่ 3 เลือกคลิกที่ เมนู Element > Align Object จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ดังรูปที่ 4.23 รูปที่ 4.25 แสดงไดอะล็อกบอกซ์ของ Align Object (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) ขั้นตอนที่ 4 เลือกตาแหน่งที่ต้องการแล้วคลิก OK จะได้ผลลัพธ์ที่เลือกได้ดังรูปที่ 4.24 รูปที่ 4.26 แสดงตาแหน่งของการวางออบเจ็กต์ตามที่เลือก (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) 4.6 การลบวัตถุและรูปทรง วัตถุที่สร้างไว้แล้วถ้าไม่ต้องการสามารถลบออกไปได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 คลิกปุ่ม จาก Toolbox เลือกที่ขอบของวัตถุที่ต้องการ เมื่อกรอบรูปปรากฏจุด Hendle สีดาเล็ก ๆ อยู่รอบชิ้นงาน ก็สามารถลบออกได้ด้วย การคลิกขวาที่กรอบภาพแล้วเลือก Cut หรือกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด วิธีที่ 2 โดยการคลิกเมาส์ลากคลุมสร้างกรอบสี่เหลี่ยมเส้นประให้คลุมรูปหรือชุดข้อความที่ ต้องการลบ จากนั้นปล่อยเมาส์ที่กดไว้ คลิกขวาที่เส้นกรอบภาพแล้วเลือก Cut หรือกดปุ่ม Delete ที่ คีย์บอร์ด
  • 16. รูปที่ 4.27 แสดงการสร้างกรอบสี่เหลี่ยมเส้นประคลุมวัตถุที่ต้องการเลือกเพื่อลบ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) 5. การคัดลอกออบเจ็กต์ สามารถคัดลอกออบเจ็กต์ต่าง ๆ ได้โดยใช้คาสั่ง Copy จาก เมนูคาสั่ง Edit ดังนี้ 5.1 การใช้คาสั่ง Copy คัดลอกออบเจ็กต์ สามารถทาได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม เพื่อเลือกออบเจ็กต์ที่ต้องการคัดลอก ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่ Edit > Copy รูปที่ 4.28 แสดงการคัดลอกออบเจ็กต์ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 17. 5.2 การใช้คาสั่ง Paste วางออบเจ็กต์ นาออบเจ็กต์ที่ได้จากการ Copy มาวางหรือแทรกในเอกสารสิ่งพิมพ์ที่กาลังจัดอยู่ สามารถทา ได้ดังนี้ รูปที่ 4.29 แสดงการวางออบเจ็กต์ (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553) 5.3 การใช้คาสั่ง Paste Multiple… เป็นการนาข้อความหรือวัตถุออกมาหลาย ๆ ชิ้นหรือหลาย ๆ ข้อความ มาวางในหน้าสิ่งพิมพ์ หลังจากที่ได้ คัดลอกข้อความหรือรูปภาพมาแล้ว ต้องการที่จะวางเป็นจานวนหลาย ๆ ชิ้นสามารถทา ได้ด้วยวิธีการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกที่ Edit ขั้นตอนที่ 2 เลือกที่ Paste Multiple ขั้นตอนที่ 3 คลิกเลือกจานวนของออบเจ็กต์ที่ต้องการวางบนหน้ากระดาษ ขั้นตอนที่ 4 คลิก OK รูปที่ 4.30 แสดงขั้นตอนการ ใช้คาสั่ง Paste Multiple (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 18. 5.4 การหมุนรูปภาพด้วย Rotating Tool ในกรณีที่ต้องการหมุนวัตถุตามรูปแบบที่ต้องการสามารถทาได้ โดยคลิกปุ่ม จาก Toolbox เลือกวัตถุที่ต้องการ และทาตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คลิกปุ่ม Rotating Tool จาก Toolbox ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่รูปภาพที่ต้องการหมุนเพื่อกาหนดจุดหมุนค้างไว้แล้วลากเมาส์ออกเพื่อทา การหมุน ปรับองศาการวางได้เป็นอิสระ ถ้าหาดเรากดปุ่ม Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ขณะที่ลากเมาส์ หมุน ก็จะเป็นการหมุนไปทีละ 45 องศา รูปที่ 4.31 แสดงการหมุนรูปภาพด้วยเครื่องมือ Rotating Tool (ที่มา : สุรีรัตน์ ทักษะวสุ, 2553)
  • 19. ใบงานที่ 4.1 กาหนดเวลาในการปฏิบัติงาน 180 นาที จุดประสงค์ของงาน 1. นาเครื่องมือออบเจ็กต์มาใช้งาน 2. พิมพ์อักษรและข้อความได้ 3. ตกแต่งสีตัวอักษรและข้อความได้ 4. มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานได้ กิจกรรม คาสั่ง ให้นักศึกษาทาสมุดบันทึก ดังนี้ สมุดบันทึก 1. คลิกเมนู File > new กาหนด Document Setup ตามที่กาหนด 2. ให้กาหนดแบ่งครึ่งหน้าโดยลากเส้น Guide ที่ตาแหน่ง เลขที่ 4.1 ให้เลือกเครื่องพิมพ์ ตัวอักษรขนาด 18 พิมพ์ตามตัวอย่างให้ปรับให้พอดีกับช่องที่แบ่ง 3 ให้ตกแต่งโดยลากเส้นตั้งฉาก เพื่อตกแต่งโดยลากใต้ชื่อแล้วให้คลิกเลือกที่เส้นให้ คัดลอกเส้นคลิก Edit>copy และ Edit>Paste multiple กาหนดตามตัวอย่าง คลิก OK จะได้เส้น 3 เส้นให้ลากล้อมวัตถุทั้งหมด แล้วคลิกเมนู Element เลือก Group ตัวข้อความและเส้นเป็นวัตถุ เดียวกัน 4 ทาการคัดลอกเพิ่ม คลิก Edit>copy และ Edit>Paste multiple โดยเพิ่มจานวน 6 Copies จะได้ข้อความเพิ่ม ลากล้อมทั้งหมด คลิกเมนู Element เลือก Group ให้คัดลอกมาไว้ทาง ด้านขวา 5. คลิกเมนู Edit>Copy คลิก Edit>Paste ลากย้ายมาทางด้านขวา เพื่อจัดวางแนวให้ ตรงกัน 6. ลากล้อมทั้งหมด คลิกเมนู Element>Align Objects เลือกตามแนวที่วาง ให้ตกแต่ง หัวข้อใส่รูปภาพตามต้องการ ให้ทาหน้า 2 ตามต้องการ ตามตัวอย่าง ให้ทาการบันทึกงาน File>Save จะได้งาน 2 หน้า
  • 20. เกณฑ์การพิจารณา 1. สะกดคาถูกต้อง 2. ใช้แบบตัวอักษรถูกต้อง 3. ใช้ขนาดของตัวอักษรถูกต้อง 4. ตกแต่งสีข้อความสวยงาม 5. ปฏิบัติงานเสร็จตามเวลาที่กาหนด