SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 20
Baixar para ler offline
รักประชาชนรักหมออนามัย E-Book
วารสารหมออนามัย ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๕ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๗ ISBN ๐๘๕๘-๒๙๑๒
12. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรสาธารณสุข
ศาสตร์ : มาตรฐานวิชาชีพหมออนามัย
9. ผ่าประเด็นร้อน “ภาระงานและระบบ	
ข้อมูล” รพ.สต./หมออนามัย
16.ถอดรหัส “เครือข่ายหมออนามัยปฏิรูป
ประเทศไทย” (ตอนที่2)
	 ปัญหาต่างๆในสังคมไทย ซับซ้อนและแยบยลมากขึ้น
และมีจังหวะก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลง (Dynamicity) ถี่เร็ว
มากขึ้น สังคมไทยทั้งระบบใหญ่และระบบย่อยต่างๆต้องมีการ
ปรับตัวเพื่อรับมือและตามทันความคาดหวัง และความท้าทาย
ของสังคม
	 ปมประเด็นบางเรื่องเป็นเพียงแค่ความเสี่ยงของ
หมออนามัย เช่น สภาพคล่องทางการเงิน การถูกตรวจสอบ
ของสตง. หรือการถูกฟ้องร้อง, ร้องเรียนของผู้ป่วย
	 ปมประเด็นบางเรื่องพัฒนาจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง
แล้วในขณะนี้ เช่น เรื่องภาระงาน , การขาดแคลนบุคลากร
และสภาวะสมองไหลไปสู่ท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่รู้สึกว่า
คุณภาพชีวิตดีกว่า
	 ทั้งเรื่อง“ความเสี่ยงและปัญหา”เป็นปมประเด็นที่หมอ
อนามัยต้องเข้าใจ และเตรียมรับมือให้ได้
	 หมออนามัยฉบับนี้นำ�เสนอมุมมองด้านการปฏิรูประบบ
สุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
รวมทั้งเรื่องระบบบริการปฐมภูมิ และระบบรายงานที่กำ�ลังเป็น
ข่าวร้อนอยู่ในสื่อและ social media ต่างๆในขณะนี้
	 เราอยากได้ข้อคิดและบทความที่ “ติดดิน และใกล้ชิด”
กับความรู้สึกและความต้องการของหมออนามัยมาลงบ้าง ขณะ
นี้หวังใจว่าท่านที่ถูกทาบทาม และมีไฟ ใคร่คิดเขียน จะคว้า
ปากกามาร่วมทำ�ให้วารสารเกิดมิติ “แห่งความเป็นเจ้าของร่วม
กัน” อย่างแท้จริงมากขึ้น ขอเชิญชวนนะครับ....
หมออนามัย 2
3.ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ…กลไกหลัก
ในการพัฒนาสุขภาพชุมชนยั่งยืน
Editor’Talk
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ
	 .....วันคืนล่วงเลย....
หมออนามัย 3
ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ… กลไกหลักในการพัฒนาสุขภาพชุมชนยั่งยืน
นายแพทย์ ชูชัย ศรชำ�นิ
สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นยุทธศาสตร์ และกลไก
สำ�คัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ
	 ระบบบริการปฐมภูมิช่วยทำ�ให้ระบบบริการสาธารณสุข
มีประสิทธิภาพและมีผลลัพธ์สุขภาพที่ดี ด้วยค่าใช้จ่ายไม่สูงเกิน
ไป สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำ�เป็นของ
ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเชิงประจักษ์ของนานาประเทศ
บ่งชี้ว่า ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิเอื้อต่อการเข้าถึงบริการ
สุขภาพที่จำ�เป็นและสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพแก่ประชาชน
และยังพบว่าความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ มี
ความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะสุขภาพของประชาชนในประเทศ
และยังมีบทบาทสำ�คัญในการทำ�ให้ ระบบสุขภาพของชุมชนและ
การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะสำ�หรับ
กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้ประสบภาวะยากลำ�บากและด้อย
โอกาสในสังคม ทั้งในเขตเมือง และพื้นที่ชนบท 1
	 สำ�หรับประเทศไทยมีงานวิจัยหลายชิ้น ระบุว่าหน่วย
บริการปฐมภูมิมีบทบาทหลักในการสร้างความเป็นธรรมในการ
เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำ�เป็นของประชาชน และประชาชนที่เข้า
ถึงบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำ�บล) มากขึ้นตามลำ�ดับ 2
	 ขอบฟ้าใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของระบบบริการ
สาธารณสุข
ด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่มีการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการขนส่งการเดินทางที่รวดเร็ว การ
สื่อสารโทรคม เครือข่ายทางสังคม การมีคนชั้นกลางรุ่นใหม่เกิด
ขึ้นในชนบท แบบแผนการใช้ชีวิตของผู้คน (Lifestyle) ปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจและสังคมนี้ก่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อ
ปัจจัยบ่งชี้สุขภาพประชาชน (Social determinants of health)
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็กำ�ลังจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อันจะมีการไหลเวียนอย่างเสรี
ได้ ของเศรษฐกิจ ภาคบริการสาธารณสุข – ธุรกิจบริการสุขภาพ
และวิชาชีพทางด้านสุขภาพอันจะก่อผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน
โรคและภาระโรคการจัดการสุขภาพในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย
ทั้งในเขตเมืองชานเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆมีแรงกดดันด้าน
อุปสงค์ การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น
ส่งผลต่อภาระความเจ็บป่วยและความเสื่อมจากอายุที่มีมากขึ้นใน
ขณะที่คนมีชีวิตแบบความเป็นเมืองมากขึ้นผู้ป่วยสูงอายุผู้เป็นโรค
เรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส คนชั้นกลางในเมือง หรือคนที่อยู่ใน
ชนบทแต่ใช้ชีวิตแบบเมือง กลางวันเข้ามาในเมืองทำ�งานในสถาน
ประกอบการ กลางคืนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านที่อยู่ขอบชายเมือง มี
ผลต่อการให้ความหมายของ“ความต้องการด้านสุขภาพ(Health
needs)”ที่ไม่ใช่เพียงการรักษาโรคให้หายป่วยอย่างครอบคลุมทั่ว
ถึงเท่านั้นแต่จะมีความหมายถึงการจัดการสุขภาพในระดับชุมชน
ครอบครัวในด้านการป้องกันความเสื่อมการส่งเสริมสุขภาพและ
สร้างความหลากหลายของทางเลือกที่จะให้บริการ
1
Starfield B, Leiyu Shi, Macinko J. Contribution of Primary Care to Health
Systems and Health. 2005;83:457-502.
2
สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์, วิวัฒน์ พุทธวรรณไชย, วิศรี วายุรกุล, จรรยา ภัทรอาชาชัย. รายงาน
ฉบับสมบูรณ์ โครงการ ปฏิบัติงานวิชาการการวิจัยเอกสารวิชาการทบทวนองค์ความรู้ เรื่อง
ระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มกราคม 2555
หมออนามัย 4
ภาพที่ 1 ความคาดหวัง และภาพฟ้าใหม่แห่งบริการสุขภาพ
	 การสร้างสรรค์สู่อนาคตของระบบบริการปฐมภูมิที่ดี จึง
ต้องมองถึง ขอบฟ้าใหม่แห่งบริการปฐมภูมิ (New horizon of
primary health care)
	 แนวคิดการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในยุค Infor-
mationageนี้ต้องเปลี่ยนจากการให้บริการเพื่อสำ�หรับโรคหรือ
อาการเฉียบพลันใช้ความเชี่ยวชาญที่แยกส่วนในการใช้เทคโนโลยี
โรงพยาบาล ไม่ต้องบูรณาการกับภาคประชาชนหรือภาคบริการ
สาธารณะอื่นมากนักเปลี่ยนมาเป็นบริการที่ออกแบบและสามารถ
วางแผนไว้ล่วงหน้าได้(Plannedcare)เชื่อมโยงข้อมูลการบริการ
ในโรงพยาบาล กับ บริการปฐมภูมิที่วางแผนล่วงหน้าไว้แล้ว โดย
เฉพาะสำ�หรับการดูแลโรคเรื้อรัง ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต การใช้
ชีวิต และความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ผู้พิการ
	 ระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่อนาคต
ต้องให้ความสำ�คัญกับสุขภาพในมิติที่กว้างกว่าบริการทางการ
แพทย์พื้นฐาน (Not just only primary medical care) จะต้อง
ให้ความสำ�คัญกับการเข้าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาวะที่จำ�เป็นของ
ประชาชนอย่างถ้วนหน้า และมองการปฏิบัติการในพื้นที่บริการ
(District health system integration) ในการนำ�ไปสู่ความเป็น
ธรรมด้านสุขภาพ ทั้งที่หน่วยบริการ (คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุข
ภาพตำ�บล) และในชุมชน (ชุมชนตามขอบเขตภูมิศาสตร์ และ
ชุมชนเครือข่ายสังคม) ทั้งประเภทบริการ
	 ที่จัดให้แบบต่อหน้า (Face to face health service)
และผ่านทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Delivery of services,
information and technology, eHealth) แก่ชุมชนเป้าหมาย
อนาคตของระบบบริการปฐมภูมิ
	 บริการทางด้านสาธารณสุข เป็นประเด็นที่ต้องให้ความ
สำ�คัญมากขึ้น เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากร
สาธารณะเพื่อสุขภาพเพื่อความอยู่ดีมีสุข(Healthandwellbe-
ing) สวัสดิการสังคม (Social health welfare) การช่วยเหลือ
ทางสังคม (Social support) การแพทย์เสริมกันและการแพทย์
ทางเลือก (Complementary and alternative medicine)
และบริการทางการแพทย์สำ�หรับโรคอันเนื่องมากจากเงื่อนไขของ
อาหารการเป็นอยู่ของประชาชน(Chronicnoncommunicable
diseases) โดยมีการปรับสอดคล้องกับความจำ�เป็นด้านสุขภาพ
ของประชาชน(Responsivenesstomedicalandnonmedi-
cal health needs) กระจายอำ�นาจการบริหาร ภารกิจ และผู้
ปฏิบัติงานแก่ท้องถิ่นและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการ รวม
ถึงมีการทำ�งานเป็นทีมของบุคลากรด้านวิชาชีพ ที่มีทักษะความ
สามารถ(Skilledworkforce)เชื่อมประสานกับองค์กรต่างๆและ
ชุมชนที่มีนำ�ในลักษณะผู้จัดการสุขภาพ (Community health
manager) ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสังคมซึ่งจะเอื้อต่อ
การมีสุขภาพดีของประชาชน (Financing and system perfor-
mance) 3
	 จากการทบทวนเอกสาร และรายงานองค์การอนามัย
โลก4
แสดงให้เห็นว่า หน่วยบริการปฐมภูมิเดี่ยวๆ จะเติบโตเข้ม
แข็งได้ยาก จึงเสนอให้พัฒนาเป็นลักษณะแบบเครือข่ายอำ�เภอ
เข้มแข็ง (District Health System) เพื่อให้เกิดเครือข่ายบริการ
ในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้
โรงพยาบาลอำ�เภอเป็นแม่ข่ายของโรงพยาบาลคู่สัญญาในระบบ
หลักประกันสุขภาพ(ContractingUnitforPrimaryCare:CUP)
โดยให้มีคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ที่มีตัวแทนจากทั้งฝ่ายโรง
พยาบาลแม่ข่าย และตัวแทนของสถานีอนามัยลูกข่าย
ระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทย การพัฒนาที่ผ่าน
มาและการก้าวสู่อนาคต
	 แม้ว่ารายงานการเข้าใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิของ
ประชาชนมีแนวโน้มจำ�นวนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่
เสมอ เกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการที่ครบถ้วน
หรือระบบบริการก็ไม่สามารถให้บริการแก่คนที่อยู่นอกเขตรับผิด
ชอบ ผู้คนที่เดินทาง นักศึกษา คนต่างด้าวพิสูจน์สิทธิ์ ประชาชน
ในพื้นที่รับผิดชอบหนึ่งซึ่งอาจจะเข้าถึงบริการสุขภาพได้ดี ก็จะ
มีพฤติกรรมไปใช้บริการในหลายที่หลายแห่ง (Shopping care)
3
Rohde J, Cousens S, Chopra M, et al. 30 years after Alma-Ata: has primary
health care worked in countries? Lancet 2008; 372: 950–61
4
World Health Organization. Everybody business : strengthening health
systems to improve health outcomes : WHO’s framework for action. Geneva,
Switzerland: WHO Document Production Services; 2006..
หมออนามัย 5
ทำ�ให้เกิดปรากฏการณ์ยาหลากหลายที่บ้าน (Poly pharmacy)
จนต้องทำ�การรณรงค์โครงการไข่แลกยาเป็นต้น
	 ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การจัดบริการ
สาธารณสุขส่วนใหญ่ของระบบบริการปฐมภูมิอยู่ในภาครัฐ โดย
หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข (ร้อย
ละ 94.75) หน่วยบริการประจำ�ภาครัฐ จะมีการบริหารจัดการ
เป็นลักษณะเครือข่ายบริการปฐมภูมิโดยมีหน่วยบริหารจัดการ
กลางขึ้นกับโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีพัฒนาการการ
บริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิในรูปแบบระบบบริการสุขภาพ
ระดับอำ�เภอ (District Health System: DHS) เริ่มมีความชัดเจน
มากขึ้น จากนโยบายการสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุข ร่วม
กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สปสช. สสส. และ สพช. โดยในปี 2556
กระทรวงสาธารณสุขมีการประกาศนโยบาย DHS เป็นนโยบาย
สำ�คัญของการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิอย่างเป็นเครือข่าย
ตารางที่ 1 จำ�นวนหน่วยบริการประจำ� และหน่วยบริการปฐม
ภูมิภาครัฐและภาคเอกชน ปี 2547 – 2556 ในระบบหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ
	
	
	
	 กลไกการบริหารจัดการเครือข่ายปฐมภูมิ คือหน่วย
บริการประจำ� ซึ่งทำ�หน้าที่เป็นหน่วยคู่สัญญาของบริการปฐมภูมิ
(Contracting Unit for Primary Care : CUP) โดยส่วนใหญ่ใช้
การบริหารจัดการที่ใช้โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางในปัจจุบันแม้จะ
มีการทำ�งานในรูปแบบ DHS มากขึ้น โดยมีสาธารณสุขอำ�เภอ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และภาคประชาชนเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่าย
แต่ในความเป็นจริงแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างในเชิงการจัดการ
ร่วมกันค่อนข้างมาก กล่าวคือในบางพื้นที่ที่กลไก DHS อ่อนแอ
ก็ทำ�ให้มีปัญหาการบริหารจัดการ
	 จากการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการใน
ระบบบริการปฐมภูมิ ปี 2552-2556 พบว่าหน่วยบริการประจำ�มี
แนวโน้มการผ่านเกณฑ์มากขึ้นกล่าวคือในปี2552มีหน่วยบริการ
ที่มา : สำ�นักบริหารงานทะเบียน สปสช.
ประจำ�ผ่านเกณฑ์ร้อยละ28.17ผ่านแบบมีเงื่อนไขร้อยละ68.01
และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ2.82และในปี2556พบว่าหน่วยบริการ
ประจำ�ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 55.70 ผ่านแบบมีเงื่อนไข
ร้อยละ 44.12 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 0.18 โดยเกณฑ์ที่ผ่าน
ส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ด้านบุคลากร
	 สำ�หรับหน่วยบริการปฐมภูมิจากปี2552มีหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 4.49 ผ่านแบบมีเงื่อนไขร้อยละ 54.58
และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40.67 และในปี 2556 พบว่าหน่วย
บริการปฐมภูมิผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 16.01 ผ่านแบบมี
เงื่อนไขร้อยละ 78.91 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 5.07 โดยเกณฑ์
ที่ผ่านส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ด้านบุคลากร
	 ภาพรวมของจำ�นวนบุคลากร และการกระจายของ
บุคลากรไปในหน่วยบริการประจำ� หน่วยบริการปฐมภูมิจะมีแนว
โน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ยังขาดการบูรณาการแนวคิดการดูแลต่อเนื่อง มี
ขีดขั้นของความเป็นวิชาชีพแต่ละวิชาชีพ
ตารางที่ 2 จำ�นวนกำ�ลังคนด้านสุขภาพ ของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) ปี 2554
	 บุคลากรที่ให้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่ คือ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาล ส่วน
กลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นั้นเป็นบุคลากรสนับสนุนจาก
หน่วยบริการประจำ� ส่วนใหญ่จะทำ�หน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำ�กับ
คุณภาพการบริการ และให้บริการเป็นบางเวลาที่หน่วยบริการ
ปฐมภูมิ ที่ปฏิบัติประจำ�ทุกวันส่วนใหญ่มักจะอยู่ในหน่วยบริการ
ปฐมภูมิในเขตเมือง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล
	 ในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยแพทย์
เวชศาสตร์ครอบครัว และ สปสช. ได้ลงนามความร่วมมือพัฒนา
งานเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการ
ปฐมภูมิ โดยขณะนั้นตั้งเป้าหมายเพิ่มการผลิตแพทย์ FM (In-
service training 3 ปี/วุฒิบัตร FM) ปีละ 200 คน จานวน 5 รุ่น
ที่มา:การสำ�รวจของสำ�นักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล
(สป. รพ.สต.) ปี 2554
โดย สปสช.สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมของแพทย์
ที่เข้าร่วมโครงการ ปีที่ 1 ไม่เกิน 120,000 บาท ปีที่ 2 ไม่เกิน
240,000 บาท และปีที่ 3 ไม่เกิน 360,000 บาท (โดยมีสัญญารับ
ทุน หลังจบหลักสูตรการศึกษาต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อเนื่องอีก
3 ปี ) รวมทั้งสนับสนุนงบแก่สถานที่ปฏิบัติงานและสถาบันหลัก
แห่งละ 50,000 บาท/คน/ปี (ถัวเฉลี่ยงบที่ใช้ 1 ล้านบาท/แพทย์
ที่เข้าร่วมโครงการ 1 คน) ผลการดาเนินงานครบ 5 รุ่นแล้วพบว่า
มีแพทย์ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการน้อย โดยมีแพทย์เข้ารับ
การฝึกอบรมรวม 5 รุ่น จำ�นวน 93 คน ซึ่งในจำ�นวนนี้มี 20 คน ที่
ได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากทุนสมเด็จย่า และทุน กว. โดยเมื่อ
จบแล้วต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดาร
	 ในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยแพทย์
เวชศาสตร์ครอบครัว และ สปสช. ได้พัฒนาโครงการใหม่ รับ
แพทย์จบใหม่เข้าร่วมโครงการ เข้าฝึกอบรมแบบ In-service
training โดยระหว่างเพิ่มพูนทักษะใน รพศ./รพท.นับเป็นระยะ
เวลาฝึกอบรม 1 ปี และปฏิบัติงาน/ฝึกอบรมใน รพช. 2 ปี จบแล้ว
มีสิทธิสอบวุฒิบัตร สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว โครงการนี้ สปสช.
สนับสนุนงบประมาณบางส่วนให้แก่สถาบันพระบรมราชชนก
ในการบริหารจัดการโครงการ สาหรับแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ
สถาบันหลัก/สถาบันปฏิบัติงาน ไม่ได้รับงบสนับสนุน ผลการ
ดำ�เนินงาน มีแพทย์สมัครเข้าร่วมโครงการ ปี 2555 จำ�นวน 92
คน และปี 2556 จำ�นวน 58 คน
ตารางที่ 3 การกระจายตัวของกำ�ลังคนด้านสุขภาพ ในปี 2553
	
	 พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนพ.ศ.25565
ได้ก่อให้เกิดวิชาชีพใหม่ ที่ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิ คือ
“วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน” ซึ่งในกฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยว
กับวิชาชีพนี้ว่า เป็น วิชาชีพที่กระทำ�ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมใน
ที่มา : สำ�นักงานวิจัยและพัฒนากำ�ลังคนด้านสุขภาพ สำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์
กระทรวงสาธารณสุข : 2553.
ชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุม
โรค การตรวจประเมินและการบำ�บัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้
ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การอาชีวอนามัยและ
อนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยใน
ชุมชนโดยนำ�หลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ แต่ไม่รวมถึงการ
ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
	 ซึ่งเข้าใจได้ว่าวิชาชีพใหม่นี้จะต้องทำ�งานอย่างใกล้ชิดกับ
ทีมสหสาขาวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ และจะใช้ความเป็น
วิชาชีพแห่งตนในการเชื่อมร้อยกับงานบริการสาธารณสุขในชุมชน
ร่วมกับพยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพ ที่มีการกระจายตัวไป
ปฏิบัติงานที่หน่วยบริการปฐมภูมิ
ภาพที่ 2 จำ�นวนพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในระบบบริการ
ปฐมภูมิ ปี 2549-2555
	 วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่นานาชาติเรียกว่าPublic
HealthProfessionalกำ�ลังเป็นวิชาชีพที่นักพัฒนาระบบสุขภาพ
แนวคิพัฒนาระบบสุขภาพยั่งยืน สนใจกันอย่างมาก และได้มีการ
ออกประกาศของกรรมาธิการภายใต้องค์กราอนามัยโลกเกี่ยวกับ
สมรรถนะหลักของวิชาชีพนี้ 6
ซึ่งมี 8 ด้าน ด้านละ 3 ระดับ ตาม
ความความรับผิดชอบ ดังภาพ
5
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๑๘ ก หน้า ๑๙ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
6
Core Competencies for Public Health Professionals. Revised and Adopted
by the Council on Linkages Between Academia and Public Health Practice:
June 26, 2014
หมออนามัย 6
หมออนามัย 7
บทสรุป
	 การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้มีความเข้มแข็งจำ�เป็น
ต้องมีการวางระบบรากฐานทั้งเรื่องกำ�ลังคน7
ระบบบริการระบบ
สนับสนุนอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยผู้นำ�ที่มีวิสัยทัศน์ในการวาง
ระบบ เตรียมคน เพื่อให้ระบบมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำ�เป็น
ต้องมีการวางแผนร่วมกันของเครือข่าย กำ�หนดเป้าหมาย ทิศทาง
ในการขับเคลื่อนงาน การสนับสนุนด้านทรัพยากรอื่นๆ ได้ แก่
ภาพที่ 3 สมรรถนะหลักของวิชาชีพการสาธารณสุข
7
Preparing the 21st century global healthcare workforce. BMJ 2005; 330 8
Alford J: Engaging public sector clients: from service-delivery to co-
production. London: Palgrave MacMillan; 2009. Ch.2 Clients in the Public
Sector pp.30-49
ระบบสนับสนุนในภาพรวมเช่นยาเวชภัณฑ์ระบบชันสูตรที่เครือ
ข่ายปฐมภูมิไม่จาเป็นต้องลงทุนหรือจัดหาเอง แต่สามารถ Pool
รวมกันและบริหารจัดการเพื่อใช้ทรัพยากร
ร่วมกันอย่างคุ้มค่า
	 เรื่องที่สำ�คัญจึงต้องมีการปฏิรูประบบ
ครั้งใหญ่ คิดใหม่เกี่ยวกับระบบบริการ
สาธารณสุขปฐมภูมิให้เข้มแข็ง เพื่อให้
ประชาชนมีระดับของสุขภาวะสูงขึ้นมี
ความเป็นธรรมมากขึ้น ตอบสนองต่อความ
ต้องการและอุปสงค์ทางด้าน สุขภาพต่อ
ประชาชนได้ดี ปกป้องประชาชนทั้งทาง
ด้านค่าใช้จ่ายทางการเงินและการปกป้อง
ทางสังคม และบริการมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น องค์การอนามัยโลก แนะนำ�ไว้ดังนี้
	 1. การพัฒนาศักยภาพ ความรู้ และ
ทักษะ เกี่ยวกับการดูแลโรค การจัดการวัต
กรรมใหม่ในสนับสนุนการจัดการสุขภาพ
ด้วยตนเอง (Self management sup-
ports) ของบุคลากร และ หน่วยบริการใน
การรองรับสภาพปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยน
ไป หรือแนวโน้มกลยุทธ์การดูแลสุขภาพที่
เปลี่ยนแปลงไป ก็ยังเป็นสิ่งท้าทายในการ
พัฒนาระบบต่อไป สมรรถนะที่จำ�เป็นตาม
คำ�แนะนำ�ขององค์การอนามัยโลก ได้แก่
	 1.1 ทักษะและความรู้ความสามารถ
ในการดูแลสุขภาพโดยผู้ป่วยและผู้ดูแล
เป็นศูนย์กลาง ที่รับรู้ตอบสนองต่อความ
คาดหวัง ค่านิยม วัฒนธรรมท้องถิ่นของ
ประชาชน ประสานการติดต่อเพื่อให้เข้าถึง
ง่ายเพื่อลดความป่วยความปวดความกังวล
ความสามารถในการสื่อสารและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
ฝึกให้มีทัศนคติในการร่วมตัดสินใจไม่ใช่ตัดสินใจจากฝ่ายวิชาชีพ
ฝ่ายเดียว การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย
ความพิการ ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุข พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
	 1.2 การสร้างความผูกพันในการพัฒนาสุขภาพกับ
ประชาชน (People engagement) การเป็นหุ้นส่วนกับองค์กร
ภายนอก
ที่มา : Core Competencies for Public Health Professionals. Revised and Adopted by the Council on
Linkages Between Academia and Public Health Practice: June 26, 2014.
หมออนามัย 8
	 1.3กระบวนการพัฒนาคุณภาพและการใช้เครื่องมือเกี่ยว
กับคุณภาพการดูแลสุขภาพประชาชน
	 1.4เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีการสื่อสารเทคโนโลยี
เพื่อการจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเองที่บ้านหรือในชุมชน
	 1.5 การสาธารณสุขชุมชน
	 2.การพัฒนารูปแบบการจัดและส่งมอบบริการ(Deliv-
ery Designs) ทางเลือกแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Mobile care
หรือConveniencecareการพัฒนาอสม.ให้เป็นProfessional
caregiversการจัดบริการแบบAmbulatorycareที่โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำ�บล หรือ Medical Home Ward เต็มรูปแบบ
โดย สปสช. เปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการร่วมให้
บริการคุณภาพแบบใหม่
	 3.การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารที่ได้มีการพัฒนามาแล้วในระบบต่างๆ เช่น JHCIS,
HospXP, HCIS ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเพื่อสุขภาพ
ประชาชน โดยเทคโนโลยี Cloud computing ที่พัฒนาร่วมกับ
กสทช. ในการใช้ประโยชน์ของระบบสื่อสารไร้สาย 3.9 G ที่กำ�ลัง
พัฒนาอยู่
9
Radford K, Shortall S: Socially enterprising communities: their dynamics and readiness for service innovation. Ch. 5. In Community co-production: social
enterprise in remote and rural areas. Edited by Farmer J, Hill C, Muñoz S-A. Northampton MA: Edward Elgar; 2012:93-109.
	 4.การจัดการทางด้านยาวัคซีนและเทคโนโลยีที่จำ�เป็น
สำ�หรับการตรวจวินิจฉัย คัดกรองโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่
กลุ่มโรคเมตาโบลิค โรคอุบัติใหม่ หรือความเจ็บป่วยอันเกิดจาก
พิษสิ่งแวดล้อม ให้มีระบบการขนส่ง การสั่ง บัญชีการใช้ที่ทันสมัย
และการมียาไทยที่พร้อมใช้เพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชน
	 5.การจัดการทางการเงิน ที่มีแผนการใช้จ่ายเพื่อ
สนับสนุนช่วยเหลือการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้าน หรือการจัดการ
สุขภาพด้วยตัวเองได้ที่ในชุมชน และมีแผนการบริหารภาค
รายรับจากแหล่งต่างๆ ทั้งกองทุนที่มาจากภายนอกภาคบริการ
สาธารณสุข และในระบบสาธารณสุขต่างๆ
	 6.การจัดการให้เกิดการบริบาลระบบที่ดีและมีภาวะ
ผู้นำ� ในการที่จะให้บริการปฐมภูมิเป็นที่ยอมรับ มีมาตรฐานสูงใน
ความสามารถการจัดการสุขภาพชุมชนและความสามารถในด้าน
การดูแลรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค เช่น มีคณะผุ้จัดทำ�แผน
สุขภาพชุมชนที่เก่งและมีวิสัยทัศน์ การเป็นผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง
การสร้างระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ9
ที่เอากิจการเพื่อสังคม
หรือกิจการที่รับผิดชอบต่อสังคมมาผสมผสานในการก่อประโยชน์
สุขแก่ประชาชาชน
กองบรรณาธิการวารสารหมออนามัย
หมออนามัย 9
	 หนึ่ง จาก “line group เครือข่ายหมออนามัย”
ทีมงานสถานีอนามัยต�ำบลทะนง อ�ำเภอโพทะเลและสมาคมหมอ
อนามัยจังหวัดพิจิตร มีโอกาสน�ำเสนอข้อมูลสภาพปัญหาด้าน
ระบบข้อมูลข่าวสารต่อกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 21 มีนาคม
2557 ที่ผ่านมา และ คิดว่านี่คือผลสะท้อนที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น
เพื่อ“ปลดล็อคหมอนามัยคืนสู่ชุมชน มากกว่าการท�ำงานแลก
เงิน” จากการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหา พบว่า
	 1.การให้บริการเน้นหนักด้านการรักษาพยาบาลสร้าง
induce demand ให้กับบริการสุขภาพและสร้างทัศนคติพึ่งพิง
บริการให้กับประชาชน
	 2.การน�ำเอางาน KPI มาผูกไว้กับการจ่ายเงินแบบ P4P
และน�ำเอาการให้บริการ (service base) ไปผูกติดกับการ
ประเมิน (ซึ่งในความเป็นจริงมีวิธีการประเมินหลากหลายวิธี)
ท�ำให้หมออนามัย/สอ. เร่งเพิ่ม visit จนกลายเป็นข้อมูลฟองสบู่
ที่ท�ำให้ visit เพิ่มขึ้นมากกว่า 90 ล้านครั้ง/ปี (เฉพาะบริการปฐม
ภูมิ ไม่รวมระบบอื่นและภาคเอกชน)
3. จากข้อ 1+2 แล้ว กิจกรรมที่ส่วนกลางพยายามผลักดันให้หมอ
อนามัยท�ำ ทั้งๆที่อาจจะส่งผลกระทบต่อ “ระบบสุขภาพชุมชน”
คือ “การคัดกรองแห่งชาติ” ที่มีมากกว่า 30-40 รายการ ที่ไม่
สามารถอธิบายสภาวะสุขภาพของบุคคล ที่มีพลวัตรหรือความ
แปรปรวนอย่างมากได้แล้ว ยังกลายมาเป็นภาระที่ต้องท�ำให้หมอ
อนามัยนั่งกรอกข้อมูลการคัดกรองที่เกือบจะหาวิธีแก้ไขปัญหา
ให้กับชาวบ้านไม่ได้เลย โดยเฉพาะการกรอกข้อมูลผ่านระบบ
online มีมากกว่า 10 ระบบ โดยไม่สามารถใช้ฐานข้อมูลที่สถานี
อนามัยมีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้ได้เงินค่าคัดกรองเพียงน้อย
นิด และให้ผู้บริหารระดับต่างๆ น�ำเอาไปใช้เพื่อเติบโตขึ้นสู่ที่สูง
4.การท�ำงานแลกเงินน�ำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Distortion effect หรือ
“ภาวะบิดเบือนทัศนคติ” เกิดสภาพหมออนามัยที่ท�ำงานข้อมูล
เก่งและท�ำงานเป็น “หมออนามัยหน้าจอ” กรอกข้อมูลหาเงิน
เข้าหน่วยบริการ วงประชุมแลกเปลี่ยนการชี้แจงกลายเป็นเวที
เพิ่มทักษะการท�ำงานแลกเงิน หาวิธีการสอยเงินมากกว่าการ
พัฒนาจิตใจพัฒนาจิตวิญญาณ พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ
ประชาชน สร้างความโลภกัดกร่อนชีวิตและจิตวิญญาณ สิ่ง
เหล่านี้ก�ำลังบิดเบือนความเข้าใจ คุณค่าและลดทอนศักยภาพ
ของหมออนามัยจนถดถอยเหลือเพียง “เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล”
ละเลยการพัฒนาศักยภาพของหมออนามัยโดยเฉพาะความ
สามารถในความเป็นมนุษย์และการท�ำงานสร้างสรรค์เพื่อเสริม
สร้างสุขภาพและป้องกันโรค ท�ำให้งาน ชีวิต และการเรียนรู้ของ
หมออนามัยห่างไกลจากความเป็นมนุษย์มากยิ่งๆ
	 สอง นโยบายด้านการปฏิรูประบบข้อมูลข่าวสาร การ
ที่มา
ผ่าประเด็นร้อน“ภาระงานและระบบข้อมูล” รพ.สต./หมออนามัย
หมออนามัย 10
ประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ วันที่ 15-17 มิถุนายน 2557 ณ จังหวัดบุรีรัมย์
	 “ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ เป็นต้นไปจะยกเลิกรายงานของ
สถานีอนามัย (รพ.สต.) ทั้งหมดให้คงเหลือเท่าที่จ�ำเป็นเท่านั้น
เพราะหมออนามัยมีภาระงานเยอะมากในการคีย์ข้อมูลแลกเงิน
เป็นหมออนามัยหน้าจอ จนเยี่ยมบ้านไม่เป็น....”
	 ตรวจสอบข้อเท็จจริง จาก “line group พอ.49
วสส.ขอนแก่น”
1.หมออนามัย IT สสจ....
	 “Software ที่ใช้บันทึกบริการของ สปสช. โดยตรง
ส�ำหรับ รพ.สต.แทบไม่มีครับ มีบ้าง เช่น ระบบขึ้นทะเบียนสิทธิ์
online”
	 “Software เป็นของคนอื่น แต่ต้องออกข้อมูลที่ สปสช.
ต้องการได้ คือ 21 แฟ้ม”
	 “นอกจากนี้ สธ.ยังก�ำหนด 43 แฟ้มข้อมูลขึ้นมา ให้
หน่วยบริการต้องบันทึกข้อมูลเพิ่ม”
	 “คัดกรอง 90% ผมฟันธงเลยว่า make ข้อมูลทุกแห่ง
ขึ้นอยู่กับว่า make มากหรือน้อยเท่านั้น”
	 “ส่วนหนึ่งที่อยากให้ท�ำคือ สร้างระบบตรวจสอบคู่
ขนานโดยไม่ใช้ข้อมูลในระบบ หรืออาจเป็นระบบประเมินความ
น่าเชื่อถือของข้อมูลก็ได้ อาจท�ำโดยการสุ่มส�ำรวจโดยบุคคล
ภายนอก ร่วมกับวิธีอื่นๆ”
2. หมออนามัย IT สสจ....
	 “Software ไม่มีปัญหาแต่มีปัญหาตรงนโยบายครับที่
เอาผลงานเป็นตัวตั้งคิดเงินเพิ่มต่างๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี
ครับ คนท�ำมากได้มาก คนท�ำน้อยได้น้อย แต่ปัญหามันเกิดที่มีผล
งานในระบบ แต่ประชาชนไม่ได้รับบริการนั้นเนื่องจากเป้าหมาย
ที่สูง เช่น การคัดกรองเป้าหมายร้อยละ 90 ท�ำให้มีการบันทึก
ข้อมูลที่ไม่ได้ให้บริการจริง ซึ่งหมายความว่าประชาชนไม่ได้
ประโยชน์ (ไม่ได้เกิดทุกที่)
	 “ประเด็นเกณฑ์ชี้วัดที่ก�ำหนดบางตัวการประเมินผลใน
พื้นที่ท�ำได้ล�ำบาก เช่น กรณีดูแลตั้งครรภ์คุณภาพ 5 ครั้ง ซึ่งพบ
ว่าข้อมูลการฝากครรภ์หายไปบางส่วนจากการไปฝากคลีนิค ฝาก
มาจากจังหวัดอื่นแล้วมาคลอดที่เรา ซึ่งถ้าอยากได้ผลงานต้อง
บันทึกข้อมูลจากสมุดบันทึก หากไม่มีก็อาจนั่งเทียนเอา”
	 “ประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องก็น่าจะเกี่ยวกับค่าข้อมูล/การ
ตรวจสอบ เราได้ข้อมูลมาจ�ำนวนมากในงานส่งเสริมสุขภาพ
ป้องกันโรค แต่กลับพบว่าประชาชนสุขภาพไม่ได้ดีขึ้น เพราะ
ประชาชนไม่ได้รับสิ่งนั้นจริงหรือสิ่งที่ท�ำมันไม่ได้หรือท�ำแต่ไม่มี
คุณภาพ อันนี้ต้องมีระบบตรวจสอบความถูกต้อง(ไม่ใช่ตรวจที่
ตัวข้อมูล)ที่แหล่งข้อมูลครับว่าเกิดบริการจริงเป็นบริการที่มี
คุณภาพจริง และบันทึกข้อมูลถูกต้องจริง ถ้าที่ไหนท�ำได้ดีต้องได้
ดี และที่ไหนท�ำไม่ดี ก็ไม่ควรได้รับ โดยการตรวจสอบอย่างเข้ม
ข้นที่ outcome / impact”
ยกเลิกรายงานของ รพ.สต.ท�ำได้จริงหรือ.......
	 “ไก่ : อภิศักด์ เข็มพิลา” หมออนามัย IT หัวก้าวหน้า
เขียนใน http://apisak-nhso.blogspot.com/ ได้มีเรื่องราวที่	
น่าสนใจ รวมทั้งทางออกของประเด็นร้อน ว่า
	 “ผมพยายามสร้างความเข้าใจเรื่องความส�ำคัญของ
ข้อมูลด้านสาธารณสุขมาได้ระยะเวลาหนึ่ง (นานพอสมควร) ผม
ขอแสดงความชื่นชมกับหน่วยบริการ (ผมเชื่อว่าเกินครึ่ง) ที่
พยายามเข้าใจและเห็นความส�ำคัญในเรื่องข้อมูล และพยายาม
ปรับเปลี่ยนและน�ำข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากขึ้น
ได้มีการด�ำเนินการเรื่อง OP/PP Individual Data มาตั้งแต่ปี
2551-2552 (หากจ�ำไม่ได้ขออภัย) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ
“สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลของหน่วยบริการ”
แต่ความรู้สึกบางหน่วยบริการกลับมองว่านั่นคือ “ภาระที่เพิ่มขึ้น”
	 สมัยก่อน หลังจากหรือขณะบริการ เราบันทึกการ
บริการผ่านเอกสาร เช่น รบ.1 ก.01, วค.04, 0110 รง.5, ระบบ
คลังยา, สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (จ�ำชื่อรายงานไม่ได้ครับ) จาก
นั้น สรุปข้อมูลส่งส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอ(สสอ.) และส่งต่อ
ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นรายงาน 400, 504, 505, 506
และอื่นๆ อีกมากมาย เราบอกว่าเรามีเวลาลงพื้นที่ให้บริการ
Community Service
	 ปัจจุบัน เรามีโปรแกรมช่วยบันทึกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น
ค่ายใด JHCIS (ผมทัน HCIS นะใช้ฐานข้อมูล MS Access 97),
HOSxP PCU, ... และสามารถส่งออกข้อมูล 18 แฟ้มได้ 21 แฟ้ม
ได้ ตอนนี้ 43 แฟ้มก็ได้แล้ว รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่เราบันทึกใน
ระบบที่ว่าและส่งออกเป็น“มาตรฐานแฟ้มที่กระทรวง
สาธารณสุขก�ำหนด” แต่เราก�ำลังบอกว่า “นี่คือภาระ” ท�ำให้ไม่
สามารถลงพื้นที่ให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ผมชวนให้กลับมาตอบค�ำถามที่ว่า..“ข้อมูลเหล่านี้ใครได้
ประโยชน์มากที่สุด”	
	 มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่รู้ว่าเด็กในพื้นที่ฉีดวัคซีนอะไร
แล้ว เราเคยให้วัคซีนอะไรไป ?
	 เอ.. เค้า ANC แล้วกี่ครั้ง T1 (วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
เข็ม 1) หรือยัง T2 หรือยัง ?
	 โรคอะไรเยอะที่สุดในพื้นที่เราขณะนี้ ?
	 ยาเราเหลือใน stock เท่าไร ?
	 …………………………………………………………… ?
	 …………………………………………………………… ?
	
	 ข้อมูลที่เป็นแฟ้มมาตรฐานเราต้องส่งใครอีก? ส�ำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดครับ (สสจ.) ผมถามว่า สสจ.จะรับได้หรือไม่ว่า
“(รพ.สต.)ไม่ต้องส่งข้อมูลนะ เราเชื่อท่าน เราใช้วิธีส�ำรวจได้” ผม
เชื่อว่า สสจ.เองคงไม่ Happy หรอกครับ เพราะระดับนโยบาย
เองก็ต้องใช้ข้อมูลเช่นเดียวกัน เพื่อวางแผนประเมินผล และอื่นๆ
ยาเท่าไร ความครอบคลุม โน่น นี่ นั่น เยอะไปหมดตาม KPI ที่
กระทรวงก�ำหนด
	 ผมมองว่า.. หาก(รพ.สต.) ไม่ส่งข้อมูลให้ สปสช. เพราะ
มองว่า สปสช.คือ ตัวป่วน !! ที่ท�ำให้ภาระมากขึ้น ผมถามกลับไป
ว่า “จริงเหรอครับ” ??
	 เพราะท่านก็ต้องส่งข้อมูลไปยังระดับนโยบายในจังหวัด
อยู่ดี ท่านอาจโชคดีที่มีคน IT ระดับจังหวัดมีแรงผลัก “ห้ามขอ
รายงานหน่วยบริการเพิ่มเติม หากดึงได้จากระบบข้อมูล
กลาง”(ขอชมเชยตัวอย่าง สสจ.บุรีรัมย์ )
	 นี่สิครับ“ลดงานหรือลดภาระด้านข้อมูลหรือเอกสาร
จริง” เพราะดึงข้อมูลจาก 21/43 แฟ้ม หรือฐานข้อมูลที่มี แต่
หากท่านอยู่ในจังหวัดที่ต้องพัฒนาขอข้อมูลหน่วยบริการทุก
อย่างที่ตอบโจทย์ตอบ KPI ของกระทรวง โดยไม่สนใจสิ่งที่ท่าน
บันทึกในโปรแกรม ผมว่านี่แหละครับ ปัญหาที่แท้จริง !!
	 ค�ำถามหรือข้อเสนอแนะต่อ สปสช.ช่วงแรกๆ คือ
โปรแกรมเยอะ !! ท�ำไมไม่ดึงจากข้อมูลที่มี ซึ่งตอนนี้หลักๆ คือ 
e-Claim ดึงจาก 12 แฟ้มเดิม แปลงเป็น 16 แฟ้ม เพื่อตอบโจทย์
IPD และการจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 21 แฟ้ม “โครงสร้างมาตรฐาน
แฟ้ม โดย สนย.กระทรวงสาธารณสุข” เพื่อตอบโจทย์ OP/PP
การบันทึกอื่นๆ เนื่องจาก ข้อ 1 และ 2 ไม่มีข้อมูล
	 ต่อมาเริ่มมีเสียงบอกว่าต้องส่ง 21 แฟ้มให้ สปสช. นี่แหละ
ท�ำให้เกิดปัญหาไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่
อย่างที่บอกครับ สปสช. สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบข้อมูล
รวมทั้งต้องใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการสนับสนุนเพิ่มเติมในสิ่งที่
เกิดผลกระทบด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น QOF,
P4P, ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ดึงได้จาก 21 แฟ้มหรือ 43 แฟ้มหรือ Data
Center ของจังหวัด โดยไม่ต้องขอข้อมูลใหม่มากนัก
	 วิวัฒนาการเป็นล�ำดับของการพัฒนาข้อมูลก็เป็นไปครับ
อุปสรรคก็มีเป็นธรรมดาแต่สิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นมากกว่านี้คือ
	 หน่วยบริการสามารถน�ำข้อมูลมาวางแผนการให้บริการ
ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น
	 สสอ.ช่วยน้องๆ (รพ.สต.)เฝ้าระวังข้อมูล
	 CUP ช่วยน้องๆ ฝ่าฟันอุปสรรคและเชื่อมโยงข้อมูลใน
รูปของ DHS (District Health System) และจัดสรรงบประมาณ
อย่างที่ควรจะเป็น
	 สสจ.ดึงข้อมูลไปใช้เชิงนโยบาย ประกาศลดรายงาน
เอกสารไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มี (หากเป็นไปได้) พัฒนาผู้นิเทศ
งานให้เข้าใจระบบข้อมูลมากกว่าถามหาแฟ้มเอกสาร
	 สปสช.ดึงข้อมูลจากสสจ.ไปใช้ในการบริหารงบประมาณ
ที่เกี่ยวข้อง หรือหาวิธีการวัดที่ win win มากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้าง
ความเข้าใจร่วมกันครับ
หมออนามัย 11
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์
: มาตรฐานวิชาชีพ หมออนามัย
สงครามชัย ลีทองดี
	 กฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน หรือ พ.ร.บ.
วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 มีอีกประเด็นที่ต้อง
ใส่ใจไม่น้อย นั่นคือมาตรฐานการจัดการศึกษาในหลักสูตรที่
เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เนื่องจากหลักสูตรเป็นกรอบ
การกำ�หนดความรู้ความสามารถของผู้
ประกอบวิชาชีพ และอำ�นาจหน้าที่
ของสภาการสาธารณสุขชุมชน
ในฐานะองค์กรควบคุมวิชาชีพ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
ศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ที่
กำ�หนดไว้และอาจจะสรุป
ได้กล่าวคือ
	 1) การให้ความ
เห็นชอบหลักสูตรการ
ศึกษาด้านการสาธารณสุข
ชุมชน
	 2) การรับรองปริญญา
ในวิชาชีพการสาธารณสุข
	 3) การรับรองหลักสูตรของ
สถาบันฝึกอบรม1
	 4) การรับรองวิทยฐานะของสถาบันการศึกษา
ที่ทำ�การสอนและฝึกอบรม
	 อำ�นาจหน้าที่ทั้งสี่ประการนี้เกี่ยวข้องกับบทบาทและ
ความรับผิดชอบของสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขทั้งหลาย
ที่ต้องนำ�มาพิจารณาใคร่ครวญให้ดี และเกี่ยวข้องกับผู้สำ�เร็จการ
ศึกษาทั้งมวล ด้วยเพราะในการขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพจำ�เป็นต้องระบุว่าผู้สำ�เร็จการศึกษาในปริญญา
ใด จากสถาบันใด ที่สามารถมาขอขึ้นทะเบียนได้ วารสารหมอ
อนามัยฉบับนี้จึงต้องนำ�ข้อเท็จจริงและสถานการณ์
ในประเด็นดังกล่าว มากล่าวถึงเพราะ
เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้ปฏิบัติ
งานในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพ
ตามกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่
ได้
มาตรฐานหลักสูตร
คือมาตรฐานการเป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพ
การจัดทำ�มาตรฐาน
หลักสูตรด้านการสาธารณสุข
ชุมชน สภาสาธารณสุขชุมชน
(ซึ่งปัจจุบันเป็นองค์ประกอบตาม
บทเฉพาะกาลมาตรา50)กำ�ลังดำ�เนิน
การเรื่องนี้ และพร้อมกันนี้ สภาคณบดีคณะ
สาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย ก็กำ�ลังขยับใน
ประเด็นนี้อย่างเข้มข้น
		 ผู้เขียนยกประเด็นนี้มาแม้ว่าอาจจะดูว่า
หนักไปนิดหนึ่งแต่จำ�เป็นต้องทำ�ความเข้าใจอย่างง่ายๆให้หมอ
อนามัยเข้าใจว่าเรื่องนี้สำ�คัญ สำ�คัญในประเด็นว่าปริญญาหรือ
บทนำ�
1
มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556
หมออนามัย 12
ประกาศนียบัตรที่ท่านได้รับมาแล้วนั้น จะได้รับการรับรองว่า
สามารถมาสมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพได้หรือไม่
ตรงนี้ขอบอกว่ายังไม่ได้พูดว่าจะขอขึ้นทะเบียนวิธีไหน ระหว่าง
สอบขึ้นทะเบียนหรือรับขึ้นทะเบียนวิธีที่แล้วแต่จะกำ�หนด ซึ่ง
ประเด็นนี้ต้องคุยอีกยาว
	 แต่เอาแค่เริ่มต้นก่อนว่าสภาการสาธารณสุขชุมชน จะ
ยอมรับปริญญาที่จบมาให้มาขึ้นทะเบียนได้ไหมเสียก่อน ไม่มีใคร
ตอบได้นอกจากสภาการสาธารณสุขชุมชน และปัจจุบันผมก็เชื่อ
ว่ายังไม่ได้หยิบประเด็นนี้มาพูดกัน เพราะว่าเป็นช่วงเริ่มแรกและ
ตอนนี้ต่างเก็บข้อมูลรอดูท่าทีกันอยู่ เรื่องนี้ทางสภาคณบดีคณะ
สาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ขับเคลื่อนโดยใช้ช่องทางการ
วิจัยเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือเรียกง่ายๆ ว่า
มคอ. ด้านสาธารณสุขศาสตร์ที่ทางสำ�นักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษาหรือสกอ.มอบหมายให้ทำ�วิจัยในการเดินหน้าไปก่อน
แต่อย่างไรก็ดี สถาบันอุดมศึกษาเองก็ยังมีข้อจำ�กัดว่า หลักสูตรที่
สถาบันต่างก็ใช้ในการผลิตบัณฑิตที่ใช้อยู่นั้นยังมีความหลากหลาย
ไม่เป็นเอกภาพ ผลการวิจัยแม้ว่าทำ�ออกมาได้ดีในระดับหนึ่งยัง
เป็นการทำ�แบบ “เกรงใจ” กันและกันอยู่พอสมควร พูดง่ายๆยัง
ไม่กล้าฟันธงลงไปว่า หลักสูตรวิชาชีพด้านการสาธารณสุขชุมชน
หน้าตาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำ�ไม
ต้องมีหลักสูตรแบบให้เลือกทั้งสองทางคือ เชิงวิชาการกับเชิง
วิชาชีพออกมาในผลการวิจัยแน่นอนหลายสถาบันการศึกษาต่าง
ก็เตรียมๆเพื่อรองรับการปรับตรงนี้ต่างก็รอดูอยู่ว่าจะออกมาในรูป
แบบใด
	 ผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนแบบข้ามคืนไม่ใช่
เรื่องง่ายแต่อย่างไรก็ดีก็เริ่มมีแนวคิดและการออกแบบว่าหลักสูตร
เชิงวิชาชีพด้านการสาธารณสุขชุมชนจะมีหน้าตาอย่างไร เรื่องนี้
เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและอดทนก่อนจะเปลี่ยนผ่าน ทั้งที่หลายท่าน
อยากให้เกิดแบบทันทีแต่ต้องยอมรับว่ากว่าจะปรับเปลี่ยนแนวคิด
และระบบแบบเดิมๆของผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบใหม่คงต้องใช้เวลา
สักระยะหนึ่ง
	 ตารางภาพรวมที่นำ�มาเสนอในท้ายบทความนี้เป็นกรอบ
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์ที่เป็น
ผลจากการศึกษาในเบื้องต้นเชื่อว่าเป็นกรอบที่จะใช้เป็นแนวทาง
จัดหลักสูตรด้านสาธารณสุขเกือบร้อยละ 90
	 อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น นี่คือมาตรฐานที่จะกำ�หนดขึ้น
หมออนามัย 13
ใหม่แต่สำ�หรับผู้ที่สำ�เร็จการศึกษาแต่เดิมก่อนมาตรฐานนี้จะบังคับ
ใช้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีหลักสูตรในที่ใดจะสมบูรณ์ตามนี้ เพราะเพิ่ง
ออกแบบ ดังนั้นประเด็นที่น่าคิดคือ แล้วจะทำ�อย่างไรสำ�หรับผู้
ที่จบในหลักสูตรที่แตกต่างและหลากหลายในการจัดการเพื่อให้
มาขอขึ้นทะเบียนเพื่อการออกใบอนุญาต เป็นเรื่องที่น่าติดตาม
และเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในข่ายการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการ
สาธารณสุขชุมชน ต้องจับตาดูและติดตามอย่างไม่พลาด เพราะ
อาจจะส่งผลต่อการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่คาดหวังไว้ อาจจะไม่
สมหวังก็เป็นได้
	สรุป
	 หลักสูตรเป็นมาตรฐานหรือกรอบในการผลิตคนที่จะจบ
ออกไปเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นสิ่งที่จำ�เป็นที่จะประกาศหรือ
แสดงให้สังคมเห็นว่ามาตรฐานความเป็นวิชาชีพอยู่ตรงไหน ซึ่งใน
แต่ละวิชาชีพให้ความสำ�คัญกับการออกแบบหรือจัดทำ�หลักสูตร
หมออนามัย 14
อย่างมาก มาตรฐานด้านสาธารณสุขศาสตร์ที่ได้มีการวิจัยและ
กำ�หนดออกมานี้นั้นจะเป็นบทพิสูจน์ว่าวิชาชีพการสาธารณสุขเป็น
อีกมาตรฐานหนึ่งที่มีความสำ�คัญไม่น้อยกว่าวิชาชีพอื่นๆ
	 กฎหมายวิชาชีพกว่าจะได้มาก็ยากเย็นแสนเข็ญ แต่สิ่ง
ที่ยากยิ่งกว่าคือการปรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้เข้ามาขอขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและได้รับใบ
อนุญาตนั้นยากกว่า เพราะมีอยู่อย่างหลากหลายเสียเหลือเกิน
ยิ่งไปกว่านั้นการปรับหลักสูตรของสถาบันการศึกษาให้มาตรฐาน
เดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สำ�คัญคือแนวคิดและการวางจังหวะก้าว
เดินเป็นสิ่งที่น่าจับตาอย่างไม่กระพริบเพราะอาจจะหมายถึงการ
ตกขบวนรถด่วนเที่ยวนี้เลยก็อาจจะเป็นได้
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.) ด้านสาธารณสุขศาสตร์
หมออนามัย 15
ถอดรหัส “เครือข่ายหมออนามัยปฏิรูปประเทศไทย”
(ตอนที่ 2) กองบรรณาธิการ
	 ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงปาฐกถาพิเศษของศาสตราจารย์
นายแพทย์ประเวศ วะสี เรื่อง “เครือข่ายหมออนามัยปฏิรูป
ประเทศไทย”ว่าควรมีการถักทอเครือข่ายที่มีอยู่แล้วหาโอกาสมา
พุดคุยกันประชุมกันเพื่อเล่าเรื่องดีงามของหมออนามัยในพื้นที่กับ
การทำ�งานดูแลสุขภาพประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น เนื่องจากเครือ
ข่ายคน 4-5 หมื่นคน มีพลังยิ่งกว่ามหาวิทยาลัยใดๆ เพราะรู้จัก
ทุกตารางเมตรของประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตมีศักดิ์ศรีมี
คุณค่าของความเป็นคนเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ทำ�งานเพื่อเพื่อน
มนุษยชาติ และอาจารย์ได้ทิ้งท้ายว่า“หวังว่าปีหน้าจะมีอะไร
ก้าวหน้าในเรื่องราวเหล่านี้”
เริ่มต้นการขยับเคลื่อนที่เป็นเครือข่าย
	 ปัจจุบันหมออนามัยมีการรวม
กลุ่มเป็นองค์กร อย่างน้อย 4 กลุ่มใหญ่ๆ
ได้แก่ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
สมาคมหมออนามัย มูลนิธิเครือข่าย
หมออนามัยสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข
ฯ ยังไม่นับรวมสมาคมหมออนามัยของ
แต่ละจังหวัดแต่ละกลุ่มมีภารกิจต่างกัน
แต่มีเป้าหมายไม่ต่างกัน การเริ่มต้นพูด
คุยจึงเริ่มจากความจริงใจเปิดใจต่อกันว่าเมื่อ
รวมกลุ่มแล้วจะมีพลัง ในการที่จะเปลี่ยนแปลง
หรือปฏิรูปให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น
การหารือครั้งที่หนึ่ง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรม
ริชมอนด์
	 เป็นครั้งแรกของการหารือแลกเปลี่ยนประเด็นจึงเปิด
กว้างเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและมีส่วนร่วมในพัฒนาระบบ
สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับหมออนามัยซึ่งที่ใกล้เคียงที่สุดคือเครือข่าย
สุขภาพระดับอำ�เภอหรือDistrictHealthSystem(DHS) กับเรื่อง
บริการปฐมภูมิ ครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการทีมงานชมรมสาธารณสุข
แห่งประเทศไทยและนักวิชาการหมออนามัยในมหาวิทยาลัย กับ
อาจารย์หมอที่คลุกคลีกับหมออนามัยมาเนิ่นนานคือ รศ.นพ.สุร
เกียรติ อาชานานุภาพ ดร.นพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพและทีมงาน ได้
ข้อสรุปเบื้องต้นคือ
	 การสร้างผู้นำ�ด้านสุขภาพเพื่อจัดการปัญหาของชุมชนคือ
สาธารณสุขอำ�เภอ (สสอ.) ผู้ช่วยสาธารณสุข อำ�เภอ
(ผช.สสอ.)ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุข
ภาพตำ�บล (รพ.สต.) ในหลักสูตร DHML
(DistrictHealthSystemManagement
Learning) การประชุมเชิงปฏิบัติการ
(workshop)ระยะสั้นของผอ.รพ.สต./
นวก.สธ.จับมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
โดยอาจมีโจทย์แก้ปัญหาใน 4 เรื่อง คือ
เด็กผ้สูงอายุผู้พิการโรคเรื้อรัง คัดเลือก
พื้นที่กรณีตัวอย่างดีๆเพื่อให้ได้แลกเปลี่ยน
และปรับทัศนคติ การเรียนรู้แนวใหม่ การ
สร้างคุณค่า เปลี่ยนมุมมอง
การพัฒนาศักยภาพหมออนามัย(คล้ายหมออนามัย
หมออนามัย 16
ติดปีก กับนักสุขภาพครอบครัว (นสค.))ร่วมกับวิทยาลัยการ
สาธารณสุขสิริธรหรือวิทยาลัยพยาบาลในพื้นที่ทั่วประเทศ
	 การพัฒนาวิชาการของหมออนามัยเรื่องR2Rที่สอดคล้อง
กับปัญหาของพื้นที่ ระยะเวลา 3 ปีร่วมกับหน่วยงานตระกูล ส
(สสส./สปสช./สพช./สวรส.) เป็นต้น
การหารือครั้งที่สอง วันที่ 4 มีนาคม 2557 ณ สำ�นัก
นโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.
	 การหารือครั้งนี้เป็นแบบไม่เป็นทางการกับมูลนิธิเครือข่าย
หมออนามัย ได้มีการแลกเปลี่ยนประเด็นเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับ
การมีส่วนร่วมในระบบบริการปฐมภูมิของเครือข่ายหมออนามัย
กับการพัฒนาศักยภาพต่อยอดหมออนามัย ซึ่งมูลนิธิเครือข่าย
หมออนามัยมีความสนใจ เรื่องของการประชาพิจารณ์และรับฟัง
ความคิดเห็นทั่วไปตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา
18(13) จากหมออนามัยและสาธารณสุขอำ�เภอ
การหารือครั้งที่สาม วันที่ 7 มีนาคม 2557 ณ สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข (สวรส.)
	 การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือแลกเปลี่ยนระหว่าง
สมาคมหมออนามัย นักวิชาการ สปสช. สสส. สวรสและมูลนิธิ
เครือข่ายหมออนามัย โดยมีประเด็นหารือเรื่อง ที่มาและความ
สำ�คัญในการพัฒนาศักยภาพหมออนามัย
	 ข้อเสนอเชิงพัฒนาการพัฒนาศักยภาพหมออนามัย และ
ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อการพัฒนาศักยภาพหมออนามัย
การดำ�เนินการใน 2 แนวทาง คือ 	
	 แนวทางที่1 ดำ�เนินตามแผนของหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ
ที่มีแผนอยู่แล้ว เช่น โครงการของ สปสช./ สช.
	 แนวทางที่ 2 พัฒนาโครงการพัฒนาศักภาพหมออนามัย
แบบมีส่วนร่วม ตามแผนภาพ
	 และให้นัดหารือครั้งต่อไปโดยชื่อ ประชุมเชิงปฎิบัติการ
เพื่อกำ�หนดเป้าหมายการดำ�เนินการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
คณะกรรมการ/ตัวแทนของสมาคมหมออนามัย มูลนิธิเครือข่าย
หมออนามัย ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมวิชาชีพ
สาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงาน/องค์กรที่ทำ�งานที่เกี่ยวข้องในการ
สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพ
ชุมชนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
(สำ�นัก 1 กับ สำ�นัก 7) สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง
ชาติ (สช.) สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบัน
พระบรมราชชนก รูปแบบการดำ�เนินการ เป็นการประชุมแลก
เปลี่ยน/ให้ความเห็น ประชุมกลุ่มย่อย นำ�เสนอกรอบการดำ�เนิน
การหรือแผนปฏิบัติการ
การหารือครั้งที่สี่ วันที่ 21 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมอมารี
แอร์พอต ดอนเมือง
	 ครั้งนี้ได้นำ�เสนอ (ร่าง) โครงการพัฒนาเครือข่ายทาง
ปัญญาของหมออนามัยสู่การสร้างสุขภาวะชุมชนแนวใหม่(2557-
2559) โดยกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกและ
ประเทศไทย ส่งผลต่อประเทศในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง และสุขภาพ สังคมไทยกำ�ลังก้าวย่างเข้าสู่ยุค
“พหุลักษณ์”เต็มตัว และกำ�ลังเผชิญกับสิ่งท้าทายอย่างใหม่ ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและระบาดวิทยาสังคม-เศรษฐกิจ
โลกาภิวัตน์และการค้าโลก นโยบายต่าง ๆ ตลอดทั้งเทคโนโลยี
และองค์ความรู้ใหม่ และส่งผลกระทบต่อบทบาทที่คาดหวังของ
หมออนามัย ซึ่งกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter for Health
Promotion)กล่าวถึง5กลวิธีหลักในการส่งเสริมสุขภาพประกอบ
ด้วย การสร้างนโยบายสาธารณะ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ การ
เสริมสร้างกิจกรรมของชุมชน การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
การให้ความสำ�คัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนา มุ่งสู่
หมออนามัย 17
หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
Chuchai Sornchumni
 
Integrated care การดูแลแบบบูรณาการ
Integrated care การดูแลแบบบูรณาการIntegrated care การดูแลแบบบูรณาการ
Integrated care การดูแลแบบบูรณาการ
maruay songtanin
 
รายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
รายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
รายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โปรตอน บรรณารักษ์
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
Apichat kon
 

Mais procurados (20)

ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
 
Integrated care การดูแลแบบบูรณาการ
Integrated care การดูแลแบบบูรณาการIntegrated care การดูแลแบบบูรณาการ
Integrated care การดูแลแบบบูรณาการ
 
District health system
District health systemDistrict health system
District health system
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
 
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
คู่มือ PCA  เล่มฟ้าคู่มือ PCA  เล่มฟ้า
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
 
หนังสือเสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพอำเภอ
หนังสือเสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพอำเภอหนังสือเสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพอำเภอ
หนังสือเสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพอำเภอ
 
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุขอาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
 
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
 
รายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
รายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
รายงานวิจัยการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
 
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ(รสอ.)/DHSฉบับประเทศไทย
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ(รสอ.)/DHSฉบับประเทศไทยการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ(รสอ.)/DHSฉบับประเทศไทย
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ(รสอ.)/DHSฉบับประเทศไทย
 
Thai2009 2
Thai2009 2Thai2009 2
Thai2009 2
 
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
 
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
 
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอแบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
 
District Health System : DHS
District Health System : DHSDistrict Health System : DHS
District Health System : DHS
 
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการ แพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการแพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการแพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกับการบูรณาการ แพทย์แผนไทยในกลไกทีมหมอครอบครัว เขตสุข...
 
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
 
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciationการเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
การเยี่ยมเสริมพลัง DHS-PCA Appreciation
 

Semelhante a หมออนามัยVol.5

ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
weeraboon wisartsakul
 
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Nawanan Theera-Ampornpunt
 
Introduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of EpidemiologyIntroduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of Epidemiology
Ultraman Taro
 

Semelhante a หมออนามัยVol.5 (20)

ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
 
Introduction2 publichealth
Introduction2 publichealthIntroduction2 publichealth
Introduction2 publichealth
 
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
 
Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)
Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)
Health Informatics for Health Service Systems (March 11, 2024)
 
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
 
สาธารณสุขเขตเมือง
สาธารณสุขเขตเมืองสาธารณสุขเขตเมือง
สาธารณสุขเขตเมือง
 
Utilization management
Utilization managementUtilization management
Utilization management
 
Respiratory dzmnt
Respiratory dzmntRespiratory dzmnt
Respiratory dzmnt
 
นักจัดการสาธารณสุขศตวรรษที่ 21 พิษณุโลก
นักจัดการสาธารณสุขศตวรรษที่ 21 พิษณุโลกนักจัดการสาธารณสุขศตวรรษที่ 21 พิษณุโลก
นักจัดการสาธารณสุขศตวรรษที่ 21 พิษณุโลก
 
คู่มือการจัดการคดีทางการแพทย์(สำหรับแพทย์จบใหม่)
คู่มือการจัดการคดีทางการแพทย์(สำหรับแพทย์จบใหม่)คู่มือการจัดการคดีทางการแพทย์(สำหรับแพทย์จบใหม่)
คู่มือการจัดการคดีทางการแพทย์(สำหรับแพทย์จบใหม่)
 
Introduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of EpidemiologyIntroduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of Epidemiology
 
Health Systems IV: Health Informatics
Health Systems IV: Health InformaticsHealth Systems IV: Health Informatics
Health Systems IV: Health Informatics
 
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
 
Telemedicine (December 26, 2019)
Telemedicine (December 26, 2019)Telemedicine (December 26, 2019)
Telemedicine (December 26, 2019)
 
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
The Future of Thai Health Systems: Healthcare Quality Management and Control ...
 
Communty diagnosis
Communty diagnosisCommunty diagnosis
Communty diagnosis
 
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
 
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพการทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
 
Access&quality of care
Access&quality of careAccess&quality of care
Access&quality of care
 
Epidemiology
EpidemiologyEpidemiology
Epidemiology
 

Mais de Chuchai Sornchumni

ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
Chuchai Sornchumni
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
Chuchai Sornchumni
 

Mais de Chuchai Sornchumni (20)

Precision medicine
Precision medicinePrecision medicine
Precision medicine
 
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
 
UHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn ThailandUHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn Thailand
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHC
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
 
Public finance
Public financePublic finance
Public finance
 
DiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSystDiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSyst
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllness
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
 
Welfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhcWelfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhc
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็น
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุก
 
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
 
ธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพ
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
 

หมออนามัยVol.5

  • 1. รักประชาชนรักหมออนามัย E-Book วารสารหมออนามัย ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๕ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๗ ISBN ๐๘๕๘-๒๙๑๒
  • 2. 12. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรสาธารณสุข ศาสตร์ : มาตรฐานวิชาชีพหมออนามัย 9. ผ่าประเด็นร้อน “ภาระงานและระบบ ข้อมูล” รพ.สต./หมออนามัย 16.ถอดรหัส “เครือข่ายหมออนามัยปฏิรูป ประเทศไทย” (ตอนที่2) ปัญหาต่างๆในสังคมไทย ซับซ้อนและแยบยลมากขึ้น และมีจังหวะก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลง (Dynamicity) ถี่เร็ว มากขึ้น สังคมไทยทั้งระบบใหญ่และระบบย่อยต่างๆต้องมีการ ปรับตัวเพื่อรับมือและตามทันความคาดหวัง และความท้าทาย ของสังคม ปมประเด็นบางเรื่องเป็นเพียงแค่ความเสี่ยงของ หมออนามัย เช่น สภาพคล่องทางการเงิน การถูกตรวจสอบ ของสตง. หรือการถูกฟ้องร้อง, ร้องเรียนของผู้ป่วย ปมประเด็นบางเรื่องพัฒนาจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง แล้วในขณะนี้ เช่น เรื่องภาระงาน , การขาดแคลนบุคลากร และสภาวะสมองไหลไปสู่ท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่รู้สึกว่า คุณภาพชีวิตดีกว่า ทั้งเรื่อง“ความเสี่ยงและปัญหา”เป็นปมประเด็นที่หมอ อนามัยต้องเข้าใจ และเตรียมรับมือให้ได้ หมออนามัยฉบับนี้นำ�เสนอมุมมองด้านการปฏิรูประบบ สุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน รวมทั้งเรื่องระบบบริการปฐมภูมิ และระบบรายงานที่กำ�ลังเป็น ข่าวร้อนอยู่ในสื่อและ social media ต่างๆในขณะนี้ เราอยากได้ข้อคิดและบทความที่ “ติดดิน และใกล้ชิด” กับความรู้สึกและความต้องการของหมออนามัยมาลงบ้าง ขณะ นี้หวังใจว่าท่านที่ถูกทาบทาม และมีไฟ ใคร่คิดเขียน จะคว้า ปากกามาร่วมทำ�ให้วารสารเกิดมิติ “แห่งความเป็นเจ้าของร่วม กัน” อย่างแท้จริงมากขึ้น ขอเชิญชวนนะครับ.... หมออนามัย 2 3.ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ…กลไกหลัก ในการพัฒนาสุขภาพชุมชนยั่งยืน Editor’Talk นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ .....วันคืนล่วงเลย....
  • 3. หมออนามัย 3 ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ… กลไกหลักในการพัฒนาสุขภาพชุมชนยั่งยืน นายแพทย์ ชูชัย ศรชำ�นิ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นยุทธศาสตร์ และกลไก สำ�คัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ ระบบบริการปฐมภูมิช่วยทำ�ให้ระบบบริการสาธารณสุข มีประสิทธิภาพและมีผลลัพธ์สุขภาพที่ดี ด้วยค่าใช้จ่ายไม่สูงเกิน ไป สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำ�เป็นของ ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเชิงประจักษ์ของนานาประเทศ บ่งชี้ว่า ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิเอื้อต่อการเข้าถึงบริการ สุขภาพที่จำ�เป็นและสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพแก่ประชาชน และยังพบว่าความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ มี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะสุขภาพของประชาชนในประเทศ และยังมีบทบาทสำ�คัญในการทำ�ให้ ระบบสุขภาพของชุมชนและ การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะสำ�หรับ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้ประสบภาวะยากลำ�บากและด้อย โอกาสในสังคม ทั้งในเขตเมือง และพื้นที่ชนบท 1 สำ�หรับประเทศไทยมีงานวิจัยหลายชิ้น ระบุว่าหน่วย บริการปฐมภูมิมีบทบาทหลักในการสร้างความเป็นธรรมในการ เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำ�เป็นของประชาชน และประชาชนที่เข้า ถึงบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บล) มากขึ้นตามลำ�ดับ 2 ขอบฟ้าใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของระบบบริการ สาธารณสุข ด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่มีการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการขนส่งการเดินทางที่รวดเร็ว การ สื่อสารโทรคม เครือข่ายทางสังคม การมีคนชั้นกลางรุ่นใหม่เกิด ขึ้นในชนบท แบบแผนการใช้ชีวิตของผู้คน (Lifestyle) ปัจจัยด้าน เศรษฐกิจและสังคมนี้ก่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อ ปัจจัยบ่งชี้สุขภาพประชาชน (Social determinants of health) ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็กำ�ลังจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อันจะมีการไหลเวียนอย่างเสรี ได้ ของเศรษฐกิจ ภาคบริการสาธารณสุข – ธุรกิจบริการสุขภาพ และวิชาชีพทางด้านสุขภาพอันจะก่อผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน โรคและภาระโรคการจัดการสุขภาพในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองชานเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆมีแรงกดดันด้าน อุปสงค์ การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น ส่งผลต่อภาระความเจ็บป่วยและความเสื่อมจากอายุที่มีมากขึ้นใน ขณะที่คนมีชีวิตแบบความเป็นเมืองมากขึ้นผู้ป่วยสูงอายุผู้เป็นโรค เรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส คนชั้นกลางในเมือง หรือคนที่อยู่ใน ชนบทแต่ใช้ชีวิตแบบเมือง กลางวันเข้ามาในเมืองทำ�งานในสถาน ประกอบการ กลางคืนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านที่อยู่ขอบชายเมือง มี ผลต่อการให้ความหมายของ“ความต้องการด้านสุขภาพ(Health needs)”ที่ไม่ใช่เพียงการรักษาโรคให้หายป่วยอย่างครอบคลุมทั่ว ถึงเท่านั้นแต่จะมีความหมายถึงการจัดการสุขภาพในระดับชุมชน ครอบครัวในด้านการป้องกันความเสื่อมการส่งเสริมสุขภาพและ สร้างความหลากหลายของทางเลือกที่จะให้บริการ 1 Starfield B, Leiyu Shi, Macinko J. Contribution of Primary Care to Health Systems and Health. 2005;83:457-502. 2 สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์, วิวัฒน์ พุทธวรรณไชย, วิศรี วายุรกุล, จรรยา ภัทรอาชาชัย. รายงาน ฉบับสมบูรณ์ โครงการ ปฏิบัติงานวิชาการการวิจัยเอกสารวิชาการทบทวนองค์ความรู้ เรื่อง ระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มกราคม 2555
  • 4. หมออนามัย 4 ภาพที่ 1 ความคาดหวัง และภาพฟ้าใหม่แห่งบริการสุขภาพ การสร้างสรรค์สู่อนาคตของระบบบริการปฐมภูมิที่ดี จึง ต้องมองถึง ขอบฟ้าใหม่แห่งบริการปฐมภูมิ (New horizon of primary health care) แนวคิดการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในยุค Infor- mationageนี้ต้องเปลี่ยนจากการให้บริการเพื่อสำ�หรับโรคหรือ อาการเฉียบพลันใช้ความเชี่ยวชาญที่แยกส่วนในการใช้เทคโนโลยี โรงพยาบาล ไม่ต้องบูรณาการกับภาคประชาชนหรือภาคบริการ สาธารณะอื่นมากนักเปลี่ยนมาเป็นบริการที่ออกแบบและสามารถ วางแผนไว้ล่วงหน้าได้(Plannedcare)เชื่อมโยงข้อมูลการบริการ ในโรงพยาบาล กับ บริการปฐมภูมิที่วางแผนล่วงหน้าไว้แล้ว โดย เฉพาะสำ�หรับการดูแลโรคเรื้อรัง ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต การใช้ ชีวิต และความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่อนาคต ต้องให้ความสำ�คัญกับสุขภาพในมิติที่กว้างกว่าบริการทางการ แพทย์พื้นฐาน (Not just only primary medical care) จะต้อง ให้ความสำ�คัญกับการเข้าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาวะที่จำ�เป็นของ ประชาชนอย่างถ้วนหน้า และมองการปฏิบัติการในพื้นที่บริการ (District health system integration) ในการนำ�ไปสู่ความเป็น ธรรมด้านสุขภาพ ทั้งที่หน่วยบริการ (คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำ�บล) และในชุมชน (ชุมชนตามขอบเขตภูมิศาสตร์ และ ชุมชนเครือข่ายสังคม) ทั้งประเภทบริการ ที่จัดให้แบบต่อหน้า (Face to face health service) และผ่านทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Delivery of services, information and technology, eHealth) แก่ชุมชนเป้าหมาย อนาคตของระบบบริการปฐมภูมิ บริการทางด้านสาธารณสุข เป็นประเด็นที่ต้องให้ความ สำ�คัญมากขึ้น เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากร สาธารณะเพื่อสุขภาพเพื่อความอยู่ดีมีสุข(Healthandwellbe- ing) สวัสดิการสังคม (Social health welfare) การช่วยเหลือ ทางสังคม (Social support) การแพทย์เสริมกันและการแพทย์ ทางเลือก (Complementary and alternative medicine) และบริการทางการแพทย์สำ�หรับโรคอันเนื่องมากจากเงื่อนไขของ อาหารการเป็นอยู่ของประชาชน(Chronicnoncommunicable diseases) โดยมีการปรับสอดคล้องกับความจำ�เป็นด้านสุขภาพ ของประชาชน(Responsivenesstomedicalandnonmedi- cal health needs) กระจายอำ�นาจการบริหาร ภารกิจ และผู้ ปฏิบัติงานแก่ท้องถิ่นและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการ รวม ถึงมีการทำ�งานเป็นทีมของบุคลากรด้านวิชาชีพ ที่มีทักษะความ สามารถ(Skilledworkforce)เชื่อมประสานกับองค์กรต่างๆและ ชุมชนที่มีนำ�ในลักษณะผู้จัดการสุขภาพ (Community health manager) ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสังคมซึ่งจะเอื้อต่อ การมีสุขภาพดีของประชาชน (Financing and system perfor- mance) 3 จากการทบทวนเอกสาร และรายงานองค์การอนามัย โลก4 แสดงให้เห็นว่า หน่วยบริการปฐมภูมิเดี่ยวๆ จะเติบโตเข้ม แข็งได้ยาก จึงเสนอให้พัฒนาเป็นลักษณะแบบเครือข่ายอำ�เภอ เข้มแข็ง (District Health System) เพื่อให้เกิดเครือข่ายบริการ ในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้ โรงพยาบาลอำ�เภอเป็นแม่ข่ายของโรงพยาบาลคู่สัญญาในระบบ หลักประกันสุขภาพ(ContractingUnitforPrimaryCare:CUP) โดยให้มีคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ที่มีตัวแทนจากทั้งฝ่ายโรง พยาบาลแม่ข่าย และตัวแทนของสถานีอนามัยลูกข่าย ระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทย การพัฒนาที่ผ่าน มาและการก้าวสู่อนาคต แม้ว่ารายงานการเข้าใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิของ ประชาชนมีแนวโน้มจำ�นวนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ เสมอ เกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการที่ครบถ้วน หรือระบบบริการก็ไม่สามารถให้บริการแก่คนที่อยู่นอกเขตรับผิด ชอบ ผู้คนที่เดินทาง นักศึกษา คนต่างด้าวพิสูจน์สิทธิ์ ประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบหนึ่งซึ่งอาจจะเข้าถึงบริการสุขภาพได้ดี ก็จะ มีพฤติกรรมไปใช้บริการในหลายที่หลายแห่ง (Shopping care) 3 Rohde J, Cousens S, Chopra M, et al. 30 years after Alma-Ata: has primary health care worked in countries? Lancet 2008; 372: 950–61 4 World Health Organization. Everybody business : strengthening health systems to improve health outcomes : WHO’s framework for action. Geneva, Switzerland: WHO Document Production Services; 2006..
  • 5. หมออนามัย 5 ทำ�ให้เกิดปรากฏการณ์ยาหลากหลายที่บ้าน (Poly pharmacy) จนต้องทำ�การรณรงค์โครงการไข่แลกยาเป็นต้น ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การจัดบริการ สาธารณสุขส่วนใหญ่ของระบบบริการปฐมภูมิอยู่ในภาครัฐ โดย หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข (ร้อย ละ 94.75) หน่วยบริการประจำ�ภาครัฐ จะมีการบริหารจัดการ เป็นลักษณะเครือข่ายบริการปฐมภูมิโดยมีหน่วยบริหารจัดการ กลางขึ้นกับโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีพัฒนาการการ บริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิในรูปแบบระบบบริการสุขภาพ ระดับอำ�เภอ (District Health System: DHS) เริ่มมีความชัดเจน มากขึ้น จากนโยบายการสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุข ร่วม กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สปสช. สสส. และ สพช. โดยในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุขมีการประกาศนโยบาย DHS เป็นนโยบาย สำ�คัญของการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิอย่างเป็นเครือข่าย ตารางที่ 1 จำ�นวนหน่วยบริการประจำ� และหน่วยบริการปฐม ภูมิภาครัฐและภาคเอกชน ปี 2547 – 2556 ในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ กลไกการบริหารจัดการเครือข่ายปฐมภูมิ คือหน่วย บริการประจำ� ซึ่งทำ�หน้าที่เป็นหน่วยคู่สัญญาของบริการปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary Care : CUP) โดยส่วนใหญ่ใช้ การบริหารจัดการที่ใช้โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางในปัจจุบันแม้จะ มีการทำ�งานในรูปแบบ DHS มากขึ้น โดยมีสาธารณสุขอำ�เภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่าย แต่ในความเป็นจริงแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างในเชิงการจัดการ ร่วมกันค่อนข้างมาก กล่าวคือในบางพื้นที่ที่กลไก DHS อ่อนแอ ก็ทำ�ให้มีปัญหาการบริหารจัดการ จากการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการใน ระบบบริการปฐมภูมิ ปี 2552-2556 พบว่าหน่วยบริการประจำ�มี แนวโน้มการผ่านเกณฑ์มากขึ้นกล่าวคือในปี2552มีหน่วยบริการ ที่มา : สำ�นักบริหารงานทะเบียน สปสช. ประจำ�ผ่านเกณฑ์ร้อยละ28.17ผ่านแบบมีเงื่อนไขร้อยละ68.01 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ2.82และในปี2556พบว่าหน่วยบริการ ประจำ�ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 55.70 ผ่านแบบมีเงื่อนไข ร้อยละ 44.12 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 0.18 โดยเกณฑ์ที่ผ่าน ส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ด้านบุคลากร สำ�หรับหน่วยบริการปฐมภูมิจากปี2552มีหน่วยบริการ ปฐมภูมิ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 4.49 ผ่านแบบมีเงื่อนไขร้อยละ 54.58 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40.67 และในปี 2556 พบว่าหน่วย บริการปฐมภูมิผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 16.01 ผ่านแบบมี เงื่อนไขร้อยละ 78.91 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 5.07 โดยเกณฑ์ ที่ผ่านส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ด้านบุคลากร ภาพรวมของจำ�นวนบุคลากร และการกระจายของ บุคลากรไปในหน่วยบริการประจำ� หน่วยบริการปฐมภูมิจะมีแนว โน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ยังขาดการบูรณาการแนวคิดการดูแลต่อเนื่อง มี ขีดขั้นของความเป็นวิชาชีพแต่ละวิชาชีพ ตารางที่ 2 จำ�นวนกำ�ลังคนด้านสุขภาพ ของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) ปี 2554 บุคลากรที่ให้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาล ส่วน กลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นั้นเป็นบุคลากรสนับสนุนจาก หน่วยบริการประจำ� ส่วนใหญ่จะทำ�หน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำ�กับ คุณภาพการบริการ และให้บริการเป็นบางเวลาที่หน่วยบริการ ปฐมภูมิ ที่ปฏิบัติประจำ�ทุกวันส่วนใหญ่มักจะอยู่ในหน่วยบริการ ปฐมภูมิในเขตเมือง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล ในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว และ สปสช. ได้ลงนามความร่วมมือพัฒนา งานเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการ ปฐมภูมิ โดยขณะนั้นตั้งเป้าหมายเพิ่มการผลิตแพทย์ FM (In- service training 3 ปี/วุฒิบัตร FM) ปีละ 200 คน จานวน 5 รุ่น ที่มา:การสำ�รวจของสำ�นักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (สป. รพ.สต.) ปี 2554
  • 6. โดย สปสช.สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมของแพทย์ ที่เข้าร่วมโครงการ ปีที่ 1 ไม่เกิน 120,000 บาท ปีที่ 2 ไม่เกิน 240,000 บาท และปีที่ 3 ไม่เกิน 360,000 บาท (โดยมีสัญญารับ ทุน หลังจบหลักสูตรการศึกษาต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อเนื่องอีก 3 ปี ) รวมทั้งสนับสนุนงบแก่สถานที่ปฏิบัติงานและสถาบันหลัก แห่งละ 50,000 บาท/คน/ปี (ถัวเฉลี่ยงบที่ใช้ 1 ล้านบาท/แพทย์ ที่เข้าร่วมโครงการ 1 คน) ผลการดาเนินงานครบ 5 รุ่นแล้วพบว่า มีแพทย์ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการน้อย โดยมีแพทย์เข้ารับ การฝึกอบรมรวม 5 รุ่น จำ�นวน 93 คน ซึ่งในจำ�นวนนี้มี 20 คน ที่ ได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากทุนสมเด็จย่า และทุน กว. โดยเมื่อ จบแล้วต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดาร ในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว และ สปสช. ได้พัฒนาโครงการใหม่ รับ แพทย์จบใหม่เข้าร่วมโครงการ เข้าฝึกอบรมแบบ In-service training โดยระหว่างเพิ่มพูนทักษะใน รพศ./รพท.นับเป็นระยะ เวลาฝึกอบรม 1 ปี และปฏิบัติงาน/ฝึกอบรมใน รพช. 2 ปี จบแล้ว มีสิทธิสอบวุฒิบัตร สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว โครงการนี้ สปสช. สนับสนุนงบประมาณบางส่วนให้แก่สถาบันพระบรมราชชนก ในการบริหารจัดการโครงการ สาหรับแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ สถาบันหลัก/สถาบันปฏิบัติงาน ไม่ได้รับงบสนับสนุน ผลการ ดำ�เนินงาน มีแพทย์สมัครเข้าร่วมโครงการ ปี 2555 จำ�นวน 92 คน และปี 2556 จำ�นวน 58 คน ตารางที่ 3 การกระจายตัวของกำ�ลังคนด้านสุขภาพ ในปี 2553 พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนพ.ศ.25565 ได้ก่อให้เกิดวิชาชีพใหม่ ที่ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิ คือ “วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน” ซึ่งในกฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยว กับวิชาชีพนี้ว่า เป็น วิชาชีพที่กระทำ�ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมใน ที่มา : สำ�นักงานวิจัยและพัฒนากำ�ลังคนด้านสุขภาพ สำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข : 2553. ชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุม โรค การตรวจประเมินและการบำ�บัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การอาชีวอนามัยและ อนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยใน ชุมชนโดยนำ�หลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ แต่ไม่รวมถึงการ ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ซึ่งเข้าใจได้ว่าวิชาชีพใหม่นี้จะต้องทำ�งานอย่างใกล้ชิดกับ ทีมสหสาขาวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ และจะใช้ความเป็น วิชาชีพแห่งตนในการเชื่อมร้อยกับงานบริการสาธารณสุขในชุมชน ร่วมกับพยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพ ที่มีการกระจายตัวไป ปฏิบัติงานที่หน่วยบริการปฐมภูมิ ภาพที่ 2 จำ�นวนพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในระบบบริการ ปฐมภูมิ ปี 2549-2555 วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่นานาชาติเรียกว่าPublic HealthProfessionalกำ�ลังเป็นวิชาชีพที่นักพัฒนาระบบสุขภาพ แนวคิพัฒนาระบบสุขภาพยั่งยืน สนใจกันอย่างมาก และได้มีการ ออกประกาศของกรรมาธิการภายใต้องค์กราอนามัยโลกเกี่ยวกับ สมรรถนะหลักของวิชาชีพนี้ 6 ซึ่งมี 8 ด้าน ด้านละ 3 ระดับ ตาม ความความรับผิดชอบ ดังภาพ 5 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๑๘ ก หน้า ๑๙ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ 6 Core Competencies for Public Health Professionals. Revised and Adopted by the Council on Linkages Between Academia and Public Health Practice: June 26, 2014 หมออนามัย 6
  • 7. หมออนามัย 7 บทสรุป การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้มีความเข้มแข็งจำ�เป็น ต้องมีการวางระบบรากฐานทั้งเรื่องกำ�ลังคน7 ระบบบริการระบบ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยผู้นำ�ที่มีวิสัยทัศน์ในการวาง ระบบ เตรียมคน เพื่อให้ระบบมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำ�เป็น ต้องมีการวางแผนร่วมกันของเครือข่าย กำ�หนดเป้าหมาย ทิศทาง ในการขับเคลื่อนงาน การสนับสนุนด้านทรัพยากรอื่นๆ ได้ แก่ ภาพที่ 3 สมรรถนะหลักของวิชาชีพการสาธารณสุข 7 Preparing the 21st century global healthcare workforce. BMJ 2005; 330 8 Alford J: Engaging public sector clients: from service-delivery to co- production. London: Palgrave MacMillan; 2009. Ch.2 Clients in the Public Sector pp.30-49 ระบบสนับสนุนในภาพรวมเช่นยาเวชภัณฑ์ระบบชันสูตรที่เครือ ข่ายปฐมภูมิไม่จาเป็นต้องลงทุนหรือจัดหาเอง แต่สามารถ Pool รวมกันและบริหารจัดการเพื่อใช้ทรัพยากร ร่วมกันอย่างคุ้มค่า เรื่องที่สำ�คัญจึงต้องมีการปฏิรูประบบ ครั้งใหญ่ คิดใหม่เกี่ยวกับระบบบริการ สาธารณสุขปฐมภูมิให้เข้มแข็ง เพื่อให้ ประชาชนมีระดับของสุขภาวะสูงขึ้นมี ความเป็นธรรมมากขึ้น ตอบสนองต่อความ ต้องการและอุปสงค์ทางด้าน สุขภาพต่อ ประชาชนได้ดี ปกป้องประชาชนทั้งทาง ด้านค่าใช้จ่ายทางการเงินและการปกป้อง ทางสังคม และบริการมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น องค์การอนามัยโลก แนะนำ�ไว้ดังนี้ 1. การพัฒนาศักยภาพ ความรู้ และ ทักษะ เกี่ยวกับการดูแลโรค การจัดการวัต กรรมใหม่ในสนับสนุนการจัดการสุขภาพ ด้วยตนเอง (Self management sup- ports) ของบุคลากร และ หน่วยบริการใน การรองรับสภาพปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยน ไป หรือแนวโน้มกลยุทธ์การดูแลสุขภาพที่ เปลี่ยนแปลงไป ก็ยังเป็นสิ่งท้าทายในการ พัฒนาระบบต่อไป สมรรถนะที่จำ�เป็นตาม คำ�แนะนำ�ขององค์การอนามัยโลก ได้แก่ 1.1 ทักษะและความรู้ความสามารถ ในการดูแลสุขภาพโดยผู้ป่วยและผู้ดูแล เป็นศูนย์กลาง ที่รับรู้ตอบสนองต่อความ คาดหวัง ค่านิยม วัฒนธรรมท้องถิ่นของ ประชาชน ประสานการติดต่อเพื่อให้เข้าถึง ง่ายเพื่อลดความป่วยความปวดความกังวล ความสามารถในการสื่อสารและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล ฝึกให้มีทัศนคติในการร่วมตัดสินใจไม่ใช่ตัดสินใจจากฝ่ายวิชาชีพ ฝ่ายเดียว การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย ความพิการ ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุข พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 1.2 การสร้างความผูกพันในการพัฒนาสุขภาพกับ ประชาชน (People engagement) การเป็นหุ้นส่วนกับองค์กร ภายนอก ที่มา : Core Competencies for Public Health Professionals. Revised and Adopted by the Council on Linkages Between Academia and Public Health Practice: June 26, 2014.
  • 8. หมออนามัย 8 1.3กระบวนการพัฒนาคุณภาพและการใช้เครื่องมือเกี่ยว กับคุณภาพการดูแลสุขภาพประชาชน 1.4เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีการสื่อสารเทคโนโลยี เพื่อการจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเองที่บ้านหรือในชุมชน 1.5 การสาธารณสุขชุมชน 2.การพัฒนารูปแบบการจัดและส่งมอบบริการ(Deliv- ery Designs) ทางเลือกแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Mobile care หรือConveniencecareการพัฒนาอสม.ให้เป็นProfessional caregiversการจัดบริการแบบAmbulatorycareที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำ�บล หรือ Medical Home Ward เต็มรูปแบบ โดย สปสช. เปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการร่วมให้ บริการคุณภาพแบบใหม่ 3.การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารที่ได้มีการพัฒนามาแล้วในระบบต่างๆ เช่น JHCIS, HospXP, HCIS ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเพื่อสุขภาพ ประชาชน โดยเทคโนโลยี Cloud computing ที่พัฒนาร่วมกับ กสทช. ในการใช้ประโยชน์ของระบบสื่อสารไร้สาย 3.9 G ที่กำ�ลัง พัฒนาอยู่ 9 Radford K, Shortall S: Socially enterprising communities: their dynamics and readiness for service innovation. Ch. 5. In Community co-production: social enterprise in remote and rural areas. Edited by Farmer J, Hill C, Muñoz S-A. Northampton MA: Edward Elgar; 2012:93-109. 4.การจัดการทางด้านยาวัคซีนและเทคโนโลยีที่จำ�เป็น สำ�หรับการตรวจวินิจฉัย คัดกรองโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ กลุ่มโรคเมตาโบลิค โรคอุบัติใหม่ หรือความเจ็บป่วยอันเกิดจาก พิษสิ่งแวดล้อม ให้มีระบบการขนส่ง การสั่ง บัญชีการใช้ที่ทันสมัย และการมียาไทยที่พร้อมใช้เพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชน 5.การจัดการทางการเงิน ที่มีแผนการใช้จ่ายเพื่อ สนับสนุนช่วยเหลือการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้าน หรือการจัดการ สุขภาพด้วยตัวเองได้ที่ในชุมชน และมีแผนการบริหารภาค รายรับจากแหล่งต่างๆ ทั้งกองทุนที่มาจากภายนอกภาคบริการ สาธารณสุข และในระบบสาธารณสุขต่างๆ 6.การจัดการให้เกิดการบริบาลระบบที่ดีและมีภาวะ ผู้นำ� ในการที่จะให้บริการปฐมภูมิเป็นที่ยอมรับ มีมาตรฐานสูงใน ความสามารถการจัดการสุขภาพชุมชนและความสามารถในด้าน การดูแลรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค เช่น มีคณะผุ้จัดทำ�แผน สุขภาพชุมชนที่เก่งและมีวิสัยทัศน์ การเป็นผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง การสร้างระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ9 ที่เอากิจการเพื่อสังคม หรือกิจการที่รับผิดชอบต่อสังคมมาผสมผสานในการก่อประโยชน์ สุขแก่ประชาชาชน
  • 9. กองบรรณาธิการวารสารหมออนามัย หมออนามัย 9 หนึ่ง จาก “line group เครือข่ายหมออนามัย” ทีมงานสถานีอนามัยต�ำบลทะนง อ�ำเภอโพทะเลและสมาคมหมอ อนามัยจังหวัดพิจิตร มีโอกาสน�ำเสนอข้อมูลสภาพปัญหาด้าน ระบบข้อมูลข่าวสารต่อกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา และ คิดว่านี่คือผลสะท้อนที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น เพื่อ“ปลดล็อคหมอนามัยคืนสู่ชุมชน มากกว่าการท�ำงานแลก เงิน” จากการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหา พบว่า 1.การให้บริการเน้นหนักด้านการรักษาพยาบาลสร้าง induce demand ให้กับบริการสุขภาพและสร้างทัศนคติพึ่งพิง บริการให้กับประชาชน 2.การน�ำเอางาน KPI มาผูกไว้กับการจ่ายเงินแบบ P4P และน�ำเอาการให้บริการ (service base) ไปผูกติดกับการ ประเมิน (ซึ่งในความเป็นจริงมีวิธีการประเมินหลากหลายวิธี) ท�ำให้หมออนามัย/สอ. เร่งเพิ่ม visit จนกลายเป็นข้อมูลฟองสบู่ ที่ท�ำให้ visit เพิ่มขึ้นมากกว่า 90 ล้านครั้ง/ปี (เฉพาะบริการปฐม ภูมิ ไม่รวมระบบอื่นและภาคเอกชน) 3. จากข้อ 1+2 แล้ว กิจกรรมที่ส่วนกลางพยายามผลักดันให้หมอ อนามัยท�ำ ทั้งๆที่อาจจะส่งผลกระทบต่อ “ระบบสุขภาพชุมชน” คือ “การคัดกรองแห่งชาติ” ที่มีมากกว่า 30-40 รายการ ที่ไม่ สามารถอธิบายสภาวะสุขภาพของบุคคล ที่มีพลวัตรหรือความ แปรปรวนอย่างมากได้แล้ว ยังกลายมาเป็นภาระที่ต้องท�ำให้หมอ อนามัยนั่งกรอกข้อมูลการคัดกรองที่เกือบจะหาวิธีแก้ไขปัญหา ให้กับชาวบ้านไม่ได้เลย โดยเฉพาะการกรอกข้อมูลผ่านระบบ online มีมากกว่า 10 ระบบ โดยไม่สามารถใช้ฐานข้อมูลที่สถานี อนามัยมีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้ได้เงินค่าคัดกรองเพียงน้อย นิด และให้ผู้บริหารระดับต่างๆ น�ำเอาไปใช้เพื่อเติบโตขึ้นสู่ที่สูง 4.การท�ำงานแลกเงินน�ำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Distortion effect หรือ “ภาวะบิดเบือนทัศนคติ” เกิดสภาพหมออนามัยที่ท�ำงานข้อมูล เก่งและท�ำงานเป็น “หมออนามัยหน้าจอ” กรอกข้อมูลหาเงิน เข้าหน่วยบริการ วงประชุมแลกเปลี่ยนการชี้แจงกลายเป็นเวที เพิ่มทักษะการท�ำงานแลกเงิน หาวิธีการสอยเงินมากกว่าการ พัฒนาจิตใจพัฒนาจิตวิญญาณ พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ ประชาชน สร้างความโลภกัดกร่อนชีวิตและจิตวิญญาณ สิ่ง เหล่านี้ก�ำลังบิดเบือนความเข้าใจ คุณค่าและลดทอนศักยภาพ ของหมออนามัยจนถดถอยเหลือเพียง “เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล” ละเลยการพัฒนาศักยภาพของหมออนามัยโดยเฉพาะความ สามารถในความเป็นมนุษย์และการท�ำงานสร้างสรรค์เพื่อเสริม สร้างสุขภาพและป้องกันโรค ท�ำให้งาน ชีวิต และการเรียนรู้ของ หมออนามัยห่างไกลจากความเป็นมนุษย์มากยิ่งๆ สอง นโยบายด้านการปฏิรูประบบข้อมูลข่าวสาร การ ที่มา ผ่าประเด็นร้อน“ภาระงานและระบบข้อมูล” รพ.สต./หมออนามัย
  • 10. หมออนามัย 10 ประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ วันที่ 15-17 มิถุนายน 2557 ณ จังหวัดบุรีรัมย์ “ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ เป็นต้นไปจะยกเลิกรายงานของ สถานีอนามัย (รพ.สต.) ทั้งหมดให้คงเหลือเท่าที่จ�ำเป็นเท่านั้น เพราะหมออนามัยมีภาระงานเยอะมากในการคีย์ข้อมูลแลกเงิน เป็นหมออนามัยหน้าจอ จนเยี่ยมบ้านไม่เป็น....” ตรวจสอบข้อเท็จจริง จาก “line group พอ.49 วสส.ขอนแก่น” 1.หมออนามัย IT สสจ.... “Software ที่ใช้บันทึกบริการของ สปสช. โดยตรง ส�ำหรับ รพ.สต.แทบไม่มีครับ มีบ้าง เช่น ระบบขึ้นทะเบียนสิทธิ์ online” “Software เป็นของคนอื่น แต่ต้องออกข้อมูลที่ สปสช. ต้องการได้ คือ 21 แฟ้ม” “นอกจากนี้ สธ.ยังก�ำหนด 43 แฟ้มข้อมูลขึ้นมา ให้ หน่วยบริการต้องบันทึกข้อมูลเพิ่ม” “คัดกรอง 90% ผมฟันธงเลยว่า make ข้อมูลทุกแห่ง ขึ้นอยู่กับว่า make มากหรือน้อยเท่านั้น” “ส่วนหนึ่งที่อยากให้ท�ำคือ สร้างระบบตรวจสอบคู่ ขนานโดยไม่ใช้ข้อมูลในระบบ หรืออาจเป็นระบบประเมินความ น่าเชื่อถือของข้อมูลก็ได้ อาจท�ำโดยการสุ่มส�ำรวจโดยบุคคล ภายนอก ร่วมกับวิธีอื่นๆ” 2. หมออนามัย IT สสจ.... “Software ไม่มีปัญหาแต่มีปัญหาตรงนโยบายครับที่ เอาผลงานเป็นตัวตั้งคิดเงินเพิ่มต่างๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ครับ คนท�ำมากได้มาก คนท�ำน้อยได้น้อย แต่ปัญหามันเกิดที่มีผล งานในระบบ แต่ประชาชนไม่ได้รับบริการนั้นเนื่องจากเป้าหมาย ที่สูง เช่น การคัดกรองเป้าหมายร้อยละ 90 ท�ำให้มีการบันทึก ข้อมูลที่ไม่ได้ให้บริการจริง ซึ่งหมายความว่าประชาชนไม่ได้ ประโยชน์ (ไม่ได้เกิดทุกที่) “ประเด็นเกณฑ์ชี้วัดที่ก�ำหนดบางตัวการประเมินผลใน พื้นที่ท�ำได้ล�ำบาก เช่น กรณีดูแลตั้งครรภ์คุณภาพ 5 ครั้ง ซึ่งพบ ว่าข้อมูลการฝากครรภ์หายไปบางส่วนจากการไปฝากคลีนิค ฝาก มาจากจังหวัดอื่นแล้วมาคลอดที่เรา ซึ่งถ้าอยากได้ผลงานต้อง บันทึกข้อมูลจากสมุดบันทึก หากไม่มีก็อาจนั่งเทียนเอา” “ประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องก็น่าจะเกี่ยวกับค่าข้อมูล/การ ตรวจสอบ เราได้ข้อมูลมาจ�ำนวนมากในงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค แต่กลับพบว่าประชาชนสุขภาพไม่ได้ดีขึ้น เพราะ ประชาชนไม่ได้รับสิ่งนั้นจริงหรือสิ่งที่ท�ำมันไม่ได้หรือท�ำแต่ไม่มี คุณภาพ อันนี้ต้องมีระบบตรวจสอบความถูกต้อง(ไม่ใช่ตรวจที่ ตัวข้อมูล)ที่แหล่งข้อมูลครับว่าเกิดบริการจริงเป็นบริการที่มี คุณภาพจริง และบันทึกข้อมูลถูกต้องจริง ถ้าที่ไหนท�ำได้ดีต้องได้ ดี และที่ไหนท�ำไม่ดี ก็ไม่ควรได้รับ โดยการตรวจสอบอย่างเข้ม ข้นที่ outcome / impact” ยกเลิกรายงานของ รพ.สต.ท�ำได้จริงหรือ....... “ไก่ : อภิศักด์ เข็มพิลา” หมออนามัย IT หัวก้าวหน้า เขียนใน http://apisak-nhso.blogspot.com/ ได้มีเรื่องราวที่ น่าสนใจ รวมทั้งทางออกของประเด็นร้อน ว่า “ผมพยายามสร้างความเข้าใจเรื่องความส�ำคัญของ ข้อมูลด้านสาธารณสุขมาได้ระยะเวลาหนึ่ง (นานพอสมควร) ผม ขอแสดงความชื่นชมกับหน่วยบริการ (ผมเชื่อว่าเกินครึ่ง) ที่ พยายามเข้าใจและเห็นความส�ำคัญในเรื่องข้อมูล และพยายาม ปรับเปลี่ยนและน�ำข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ได้มีการด�ำเนินการเรื่อง OP/PP Individual Data มาตั้งแต่ปี 2551-2552 (หากจ�ำไม่ได้ขออภัย) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ “สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลของหน่วยบริการ” แต่ความรู้สึกบางหน่วยบริการกลับมองว่านั่นคือ “ภาระที่เพิ่มขึ้น” สมัยก่อน หลังจากหรือขณะบริการ เราบันทึกการ บริการผ่านเอกสาร เช่น รบ.1 ก.01, วค.04, 0110 รง.5, ระบบ คลังยา, สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (จ�ำชื่อรายงานไม่ได้ครับ) จาก นั้น สรุปข้อมูลส่งส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอ(สสอ.) และส่งต่อ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นรายงาน 400, 504, 505, 506 และอื่นๆ อีกมากมาย เราบอกว่าเรามีเวลาลงพื้นที่ให้บริการ Community Service ปัจจุบัน เรามีโปรแกรมช่วยบันทึกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ค่ายใด JHCIS (ผมทัน HCIS นะใช้ฐานข้อมูล MS Access 97), HOSxP PCU, ... และสามารถส่งออกข้อมูล 18 แฟ้มได้ 21 แฟ้ม ได้ ตอนนี้ 43 แฟ้มก็ได้แล้ว รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่เราบันทึกใน ระบบที่ว่าและส่งออกเป็น“มาตรฐานแฟ้มที่กระทรวง
  • 11. สาธารณสุขก�ำหนด” แต่เราก�ำลังบอกว่า “นี่คือภาระ” ท�ำให้ไม่ สามารถลงพื้นที่ให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง ผมชวนให้กลับมาตอบค�ำถามที่ว่า..“ข้อมูลเหล่านี้ใครได้ ประโยชน์มากที่สุด” มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่รู้ว่าเด็กในพื้นที่ฉีดวัคซีนอะไร แล้ว เราเคยให้วัคซีนอะไรไป ? เอ.. เค้า ANC แล้วกี่ครั้ง T1 (วัคซีนป้องกันบาดทะยัก เข็ม 1) หรือยัง T2 หรือยัง ? โรคอะไรเยอะที่สุดในพื้นที่เราขณะนี้ ? ยาเราเหลือใน stock เท่าไร ? …………………………………………………………… ? …………………………………………………………… ? ข้อมูลที่เป็นแฟ้มมาตรฐานเราต้องส่งใครอีก? ส�ำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดครับ (สสจ.) ผมถามว่า สสจ.จะรับได้หรือไม่ว่า “(รพ.สต.)ไม่ต้องส่งข้อมูลนะ เราเชื่อท่าน เราใช้วิธีส�ำรวจได้” ผม เชื่อว่า สสจ.เองคงไม่ Happy หรอกครับ เพราะระดับนโยบาย เองก็ต้องใช้ข้อมูลเช่นเดียวกัน เพื่อวางแผนประเมินผล และอื่นๆ ยาเท่าไร ความครอบคลุม โน่น นี่ นั่น เยอะไปหมดตาม KPI ที่ กระทรวงก�ำหนด ผมมองว่า.. หาก(รพ.สต.) ไม่ส่งข้อมูลให้ สปสช. เพราะ มองว่า สปสช.คือ ตัวป่วน !! ที่ท�ำให้ภาระมากขึ้น ผมถามกลับไป ว่า “จริงเหรอครับ” ?? เพราะท่านก็ต้องส่งข้อมูลไปยังระดับนโยบายในจังหวัด อยู่ดี ท่านอาจโชคดีที่มีคน IT ระดับจังหวัดมีแรงผลัก “ห้ามขอ รายงานหน่วยบริการเพิ่มเติม หากดึงได้จากระบบข้อมูล กลาง”(ขอชมเชยตัวอย่าง สสจ.บุรีรัมย์ ) นี่สิครับ“ลดงานหรือลดภาระด้านข้อมูลหรือเอกสาร จริง” เพราะดึงข้อมูลจาก 21/43 แฟ้ม หรือฐานข้อมูลที่มี แต่ หากท่านอยู่ในจังหวัดที่ต้องพัฒนาขอข้อมูลหน่วยบริการทุก อย่างที่ตอบโจทย์ตอบ KPI ของกระทรวง โดยไม่สนใจสิ่งที่ท่าน บันทึกในโปรแกรม ผมว่านี่แหละครับ ปัญหาที่แท้จริง !! ค�ำถามหรือข้อเสนอแนะต่อ สปสช.ช่วงแรกๆ คือ โปรแกรมเยอะ !! ท�ำไมไม่ดึงจากข้อมูลที่มี ซึ่งตอนนี้หลักๆ คือ  e-Claim ดึงจาก 12 แฟ้มเดิม แปลงเป็น 16 แฟ้ม เพื่อตอบโจทย์ IPD และการจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 21 แฟ้ม “โครงสร้างมาตรฐาน แฟ้ม โดย สนย.กระทรวงสาธารณสุข” เพื่อตอบโจทย์ OP/PP การบันทึกอื่นๆ เนื่องจาก ข้อ 1 และ 2 ไม่มีข้อมูล ต่อมาเริ่มมีเสียงบอกว่าต้องส่ง 21 แฟ้มให้ สปสช. นี่แหละ ท�ำให้เกิดปัญหาไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่ อย่างที่บอกครับ สปสช. สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบข้อมูล รวมทั้งต้องใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการสนับสนุนเพิ่มเติมในสิ่งที่ เกิดผลกระทบด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น QOF, P4P, ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ดึงได้จาก 21 แฟ้มหรือ 43 แฟ้มหรือ Data Center ของจังหวัด โดยไม่ต้องขอข้อมูลใหม่มากนัก วิวัฒนาการเป็นล�ำดับของการพัฒนาข้อมูลก็เป็นไปครับ อุปสรรคก็มีเป็นธรรมดาแต่สิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นมากกว่านี้คือ หน่วยบริการสามารถน�ำข้อมูลมาวางแผนการให้บริการ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น สสอ.ช่วยน้องๆ (รพ.สต.)เฝ้าระวังข้อมูล CUP ช่วยน้องๆ ฝ่าฟันอุปสรรคและเชื่อมโยงข้อมูลใน รูปของ DHS (District Health System) และจัดสรรงบประมาณ อย่างที่ควรจะเป็น สสจ.ดึงข้อมูลไปใช้เชิงนโยบาย ประกาศลดรายงาน เอกสารไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มี (หากเป็นไปได้) พัฒนาผู้นิเทศ งานให้เข้าใจระบบข้อมูลมากกว่าถามหาแฟ้มเอกสาร สปสช.ดึงข้อมูลจากสสจ.ไปใช้ในการบริหารงบประมาณ ที่เกี่ยวข้อง หรือหาวิธีการวัดที่ win win มากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้าง ความเข้าใจร่วมกันครับ หมออนามัย 11
  • 12. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ : มาตรฐานวิชาชีพ หมออนามัย สงครามชัย ลีทองดี กฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน หรือ พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 มีอีกประเด็นที่ต้อง ใส่ใจไม่น้อย นั่นคือมาตรฐานการจัดการศึกษาในหลักสูตรที่ เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เนื่องจากหลักสูตรเป็นกรอบ การกำ�หนดความรู้ความสามารถของผู้ ประกอบวิชาชีพ และอำ�นาจหน้าที่ ของสภาการสาธารณสุขชุมชน ในฐานะองค์กรควบคุมวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ที่ กำ�หนดไว้และอาจจะสรุป ได้กล่าวคือ 1) การให้ความ เห็นชอบหลักสูตรการ ศึกษาด้านการสาธารณสุข ชุมชน 2) การรับรองปริญญา ในวิชาชีพการสาธารณสุข 3) การรับรองหลักสูตรของ สถาบันฝึกอบรม1 4) การรับรองวิทยฐานะของสถาบันการศึกษา ที่ทำ�การสอนและฝึกอบรม อำ�นาจหน้าที่ทั้งสี่ประการนี้เกี่ยวข้องกับบทบาทและ ความรับผิดชอบของสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขทั้งหลาย ที่ต้องนำ�มาพิจารณาใคร่ครวญให้ดี และเกี่ยวข้องกับผู้สำ�เร็จการ ศึกษาทั้งมวล ด้วยเพราะในการขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพจำ�เป็นต้องระบุว่าผู้สำ�เร็จการศึกษาในปริญญา ใด จากสถาบันใด ที่สามารถมาขอขึ้นทะเบียนได้ วารสารหมอ อนามัยฉบับนี้จึงต้องนำ�ข้อเท็จจริงและสถานการณ์ ในประเด็นดังกล่าว มากล่าวถึงเพราะ เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้ปฏิบัติ งานในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพ ตามกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ มาตรฐานหลักสูตร คือมาตรฐานการเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพ การจัดทำ�มาตรฐาน หลักสูตรด้านการสาธารณสุข ชุมชน สภาสาธารณสุขชุมชน (ซึ่งปัจจุบันเป็นองค์ประกอบตาม บทเฉพาะกาลมาตรา50)กำ�ลังดำ�เนิน การเรื่องนี้ และพร้อมกันนี้ สภาคณบดีคณะ สาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย ก็กำ�ลังขยับใน ประเด็นนี้อย่างเข้มข้น ผู้เขียนยกประเด็นนี้มาแม้ว่าอาจจะดูว่า หนักไปนิดหนึ่งแต่จำ�เป็นต้องทำ�ความเข้าใจอย่างง่ายๆให้หมอ อนามัยเข้าใจว่าเรื่องนี้สำ�คัญ สำ�คัญในประเด็นว่าปริญญาหรือ บทนำ� 1 มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 หมออนามัย 12
  • 13. ประกาศนียบัตรที่ท่านได้รับมาแล้วนั้น จะได้รับการรับรองว่า สามารถมาสมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพได้หรือไม่ ตรงนี้ขอบอกว่ายังไม่ได้พูดว่าจะขอขึ้นทะเบียนวิธีไหน ระหว่าง สอบขึ้นทะเบียนหรือรับขึ้นทะเบียนวิธีที่แล้วแต่จะกำ�หนด ซึ่ง ประเด็นนี้ต้องคุยอีกยาว แต่เอาแค่เริ่มต้นก่อนว่าสภาการสาธารณสุขชุมชน จะ ยอมรับปริญญาที่จบมาให้มาขึ้นทะเบียนได้ไหมเสียก่อน ไม่มีใคร ตอบได้นอกจากสภาการสาธารณสุขชุมชน และปัจจุบันผมก็เชื่อ ว่ายังไม่ได้หยิบประเด็นนี้มาพูดกัน เพราะว่าเป็นช่วงเริ่มแรกและ ตอนนี้ต่างเก็บข้อมูลรอดูท่าทีกันอยู่ เรื่องนี้ทางสภาคณบดีคณะ สาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ขับเคลื่อนโดยใช้ช่องทางการ วิจัยเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือเรียกง่ายๆ ว่า มคอ. ด้านสาธารณสุขศาสตร์ที่ทางสำ�นักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาหรือสกอ.มอบหมายให้ทำ�วิจัยในการเดินหน้าไปก่อน แต่อย่างไรก็ดี สถาบันอุดมศึกษาเองก็ยังมีข้อจำ�กัดว่า หลักสูตรที่ สถาบันต่างก็ใช้ในการผลิตบัณฑิตที่ใช้อยู่นั้นยังมีความหลากหลาย ไม่เป็นเอกภาพ ผลการวิจัยแม้ว่าทำ�ออกมาได้ดีในระดับหนึ่งยัง เป็นการทำ�แบบ “เกรงใจ” กันและกันอยู่พอสมควร พูดง่ายๆยัง ไม่กล้าฟันธงลงไปว่า หลักสูตรวิชาชีพด้านการสาธารณสุขชุมชน หน้าตาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำ�ไม ต้องมีหลักสูตรแบบให้เลือกทั้งสองทางคือ เชิงวิชาการกับเชิง วิชาชีพออกมาในผลการวิจัยแน่นอนหลายสถาบันการศึกษาต่าง ก็เตรียมๆเพื่อรองรับการปรับตรงนี้ต่างก็รอดูอยู่ว่าจะออกมาในรูป แบบใด ผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนแบบข้ามคืนไม่ใช่ เรื่องง่ายแต่อย่างไรก็ดีก็เริ่มมีแนวคิดและการออกแบบว่าหลักสูตร เชิงวิชาชีพด้านการสาธารณสุขชุมชนจะมีหน้าตาอย่างไร เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและอดทนก่อนจะเปลี่ยนผ่าน ทั้งที่หลายท่าน อยากให้เกิดแบบทันทีแต่ต้องยอมรับว่ากว่าจะปรับเปลี่ยนแนวคิด และระบบแบบเดิมๆของผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบใหม่คงต้องใช้เวลา สักระยะหนึ่ง ตารางภาพรวมที่นำ�มาเสนอในท้ายบทความนี้เป็นกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์ที่เป็น ผลจากการศึกษาในเบื้องต้นเชื่อว่าเป็นกรอบที่จะใช้เป็นแนวทาง จัดหลักสูตรด้านสาธารณสุขเกือบร้อยละ 90 อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น นี่คือมาตรฐานที่จะกำ�หนดขึ้น หมออนามัย 13 ใหม่แต่สำ�หรับผู้ที่สำ�เร็จการศึกษาแต่เดิมก่อนมาตรฐานนี้จะบังคับ ใช้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีหลักสูตรในที่ใดจะสมบูรณ์ตามนี้ เพราะเพิ่ง ออกแบบ ดังนั้นประเด็นที่น่าคิดคือ แล้วจะทำ�อย่างไรสำ�หรับผู้ ที่จบในหลักสูตรที่แตกต่างและหลากหลายในการจัดการเพื่อให้ มาขอขึ้นทะเบียนเพื่อการออกใบอนุญาต เป็นเรื่องที่น่าติดตาม และเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในข่ายการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการ สาธารณสุขชุมชน ต้องจับตาดูและติดตามอย่างไม่พลาด เพราะ อาจจะส่งผลต่อการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่คาดหวังไว้ อาจจะไม่ สมหวังก็เป็นได้ สรุป หลักสูตรเป็นมาตรฐานหรือกรอบในการผลิตคนที่จะจบ ออกไปเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นสิ่งที่จำ�เป็นที่จะประกาศหรือ แสดงให้สังคมเห็นว่ามาตรฐานความเป็นวิชาชีพอยู่ตรงไหน ซึ่งใน แต่ละวิชาชีพให้ความสำ�คัญกับการออกแบบหรือจัดทำ�หลักสูตร
  • 14. หมออนามัย 14 อย่างมาก มาตรฐานด้านสาธารณสุขศาสตร์ที่ได้มีการวิจัยและ กำ�หนดออกมานี้นั้นจะเป็นบทพิสูจน์ว่าวิชาชีพการสาธารณสุขเป็น อีกมาตรฐานหนึ่งที่มีความสำ�คัญไม่น้อยกว่าวิชาชีพอื่นๆ กฎหมายวิชาชีพกว่าจะได้มาก็ยากเย็นแสนเข็ญ แต่สิ่ง ที่ยากยิ่งกว่าคือการปรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ให้เข้ามาขอขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและได้รับใบ อนุญาตนั้นยากกว่า เพราะมีอยู่อย่างหลากหลายเสียเหลือเกิน ยิ่งไปกว่านั้นการปรับหลักสูตรของสถาบันการศึกษาให้มาตรฐาน เดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สำ�คัญคือแนวคิดและการวางจังหวะก้าว เดินเป็นสิ่งที่น่าจับตาอย่างไม่กระพริบเพราะอาจจะหมายถึงการ ตกขบวนรถด่วนเที่ยวนี้เลยก็อาจจะเป็นได้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.) ด้านสาธารณสุขศาสตร์
  • 16. ถอดรหัส “เครือข่ายหมออนามัยปฏิรูปประเทศไทย” (ตอนที่ 2) กองบรรณาธิการ ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงปาฐกถาพิเศษของศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เรื่อง “เครือข่ายหมออนามัยปฏิรูป ประเทศไทย”ว่าควรมีการถักทอเครือข่ายที่มีอยู่แล้วหาโอกาสมา พุดคุยกันประชุมกันเพื่อเล่าเรื่องดีงามของหมออนามัยในพื้นที่กับ การทำ�งานดูแลสุขภาพประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น เนื่องจากเครือ ข่ายคน 4-5 หมื่นคน มีพลังยิ่งกว่ามหาวิทยาลัยใดๆ เพราะรู้จัก ทุกตารางเมตรของประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตมีศักดิ์ศรีมี คุณค่าของความเป็นคนเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ทำ�งานเพื่อเพื่อน มนุษยชาติ และอาจารย์ได้ทิ้งท้ายว่า“หวังว่าปีหน้าจะมีอะไร ก้าวหน้าในเรื่องราวเหล่านี้” เริ่มต้นการขยับเคลื่อนที่เป็นเครือข่าย ปัจจุบันหมออนามัยมีการรวม กลุ่มเป็นองค์กร อย่างน้อย 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมหมออนามัย มูลนิธิเครือข่าย หมออนามัยสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ฯ ยังไม่นับรวมสมาคมหมออนามัยของ แต่ละจังหวัดแต่ละกลุ่มมีภารกิจต่างกัน แต่มีเป้าหมายไม่ต่างกัน การเริ่มต้นพูด คุยจึงเริ่มจากความจริงใจเปิดใจต่อกันว่าเมื่อ รวมกลุ่มแล้วจะมีพลัง ในการที่จะเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น การหารือครั้งที่หนึ่ง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรม ริชมอนด์ เป็นครั้งแรกของการหารือแลกเปลี่ยนประเด็นจึงเปิด กว้างเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและมีส่วนร่วมในพัฒนาระบบ สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับหมออนามัยซึ่งที่ใกล้เคียงที่สุดคือเครือข่าย สุขภาพระดับอำ�เภอหรือDistrictHealthSystem(DHS) กับเรื่อง บริการปฐมภูมิ ครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการทีมงานชมรมสาธารณสุข แห่งประเทศไทยและนักวิชาการหมออนามัยในมหาวิทยาลัย กับ อาจารย์หมอที่คลุกคลีกับหมออนามัยมาเนิ่นนานคือ รศ.นพ.สุร เกียรติ อาชานานุภาพ ดร.นพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพและทีมงาน ได้ ข้อสรุปเบื้องต้นคือ การสร้างผู้นำ�ด้านสุขภาพเพื่อจัดการปัญหาของชุมชนคือ สาธารณสุขอำ�เภอ (สสอ.) ผู้ช่วยสาธารณสุข อำ�เภอ (ผช.สสอ.)ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำ�บล (รพ.สต.) ในหลักสูตร DHML (DistrictHealthSystemManagement Learning) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop)ระยะสั้นของผอ.รพ.สต./ นวก.สธ.จับมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ โดยอาจมีโจทย์แก้ปัญหาใน 4 เรื่อง คือ เด็กผ้สูงอายุผู้พิการโรคเรื้อรัง คัดเลือก พื้นที่กรณีตัวอย่างดีๆเพื่อให้ได้แลกเปลี่ยน และปรับทัศนคติ การเรียนรู้แนวใหม่ การ สร้างคุณค่า เปลี่ยนมุมมอง การพัฒนาศักยภาพหมออนามัย(คล้ายหมออนามัย หมออนามัย 16
  • 17. ติดปีก กับนักสุขภาพครอบครัว (นสค.))ร่วมกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิริธรหรือวิทยาลัยพยาบาลในพื้นที่ทั่วประเทศ การพัฒนาวิชาการของหมออนามัยเรื่องR2Rที่สอดคล้อง กับปัญหาของพื้นที่ ระยะเวลา 3 ปีร่วมกับหน่วยงานตระกูล ส (สสส./สปสช./สพช./สวรส.) เป็นต้น การหารือครั้งที่สอง วันที่ 4 มีนาคม 2557 ณ สำ�นัก นโยบายและยุทธศาสตร์ สธ. การหารือครั้งนี้เป็นแบบไม่เป็นทางการกับมูลนิธิเครือข่าย หมออนามัย ได้มีการแลกเปลี่ยนประเด็นเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับ การมีส่วนร่วมในระบบบริการปฐมภูมิของเครือข่ายหมออนามัย กับการพัฒนาศักยภาพต่อยอดหมออนามัย ซึ่งมูลนิธิเครือข่าย หมออนามัยมีความสนใจ เรื่องของการประชาพิจารณ์และรับฟัง ความคิดเห็นทั่วไปตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 18(13) จากหมออนามัยและสาธารณสุขอำ�เภอ การหารือครั้งที่สาม วันที่ 7 มีนาคม 2557 ณ สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข (สวรส.) การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือแลกเปลี่ยนระหว่าง สมาคมหมออนามัย นักวิชาการ สปสช. สสส. สวรสและมูลนิธิ เครือข่ายหมออนามัย โดยมีประเด็นหารือเรื่อง ที่มาและความ สำ�คัญในการพัฒนาศักยภาพหมออนามัย ข้อเสนอเชิงพัฒนาการพัฒนาศักยภาพหมออนามัย และ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อการพัฒนาศักยภาพหมออนามัย การดำ�เนินการใน 2 แนวทาง คือ แนวทางที่1 ดำ�เนินตามแผนของหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ที่มีแผนอยู่แล้ว เช่น โครงการของ สปสช./ สช. แนวทางที่ 2 พัฒนาโครงการพัฒนาศักภาพหมออนามัย แบบมีส่วนร่วม ตามแผนภาพ และให้นัดหารือครั้งต่อไปโดยชื่อ ประชุมเชิงปฎิบัติการ เพื่อกำ�หนดเป้าหมายการดำ�เนินการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย คณะกรรมการ/ตัวแทนของสมาคมหมออนามัย มูลนิธิเครือข่าย หมออนามัย ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมวิชาชีพ สาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงาน/องค์กรที่ทำ�งานที่เกี่ยวข้องในการ สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพ ชุมชนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) (สำ�นัก 1 กับ สำ�นัก 7) สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ (สช.) สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบัน พระบรมราชชนก รูปแบบการดำ�เนินการ เป็นการประชุมแลก เปลี่ยน/ให้ความเห็น ประชุมกลุ่มย่อย นำ�เสนอกรอบการดำ�เนิน การหรือแผนปฏิบัติการ การหารือครั้งที่สี่ วันที่ 21 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมอมารี แอร์พอต ดอนเมือง ครั้งนี้ได้นำ�เสนอ (ร่าง) โครงการพัฒนาเครือข่ายทาง ปัญญาของหมออนามัยสู่การสร้างสุขภาวะชุมชนแนวใหม่(2557- 2559) โดยกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกและ ประเทศไทย ส่งผลต่อประเทศในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสุขภาพ สังคมไทยกำ�ลังก้าวย่างเข้าสู่ยุค “พหุลักษณ์”เต็มตัว และกำ�ลังเผชิญกับสิ่งท้าทายอย่างใหม่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและระบาดวิทยาสังคม-เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์และการค้าโลก นโยบายต่าง ๆ ตลอดทั้งเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ และส่งผลกระทบต่อบทบาทที่คาดหวังของ หมออนามัย ซึ่งกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter for Health Promotion)กล่าวถึง5กลวิธีหลักในการส่งเสริมสุขภาพประกอบ ด้วย การสร้างนโยบายสาธารณะ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ การ เสริมสร้างกิจกรรมของชุมชน การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การให้ความสำ�คัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนา มุ่งสู่ หมออนามัย 17