SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 84
Baixar para ler offline
บรรณาธิการอำ�นวยการ
บรรณาธิการบริหาร
ทีมบรรณาธิการ
คณะผู้เขียน
ออกแบบรูปเล่ม
พิสูจน์อักษร
พิมพ์ครั้งที่ 1
ISBN
จัดทำ�โดย
สนับสนุนโดย
ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์
นพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์
ดร.ภญ.ธนพันธ์ สุขสอาด
ภญ.วรรณสุดา งามอรุณ
นายวิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล
บทที่ 1 | 9 เป้าหมาย และ 25 ตัวชี้วัดระดับโลก
นพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์
บทที่ 2 | สรุปสถานการณ์สำ�คัญโรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยงหลัก
นพ.วิชัย เอกพลากร ดร.ภญ.ธนพันธ์ สุขสอาด และนพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์
บทที่ 3|การขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย
	 1	 การดำ�เนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวม	
	 2	 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​	
	 3	 การขับเคลื่อนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ​
	 4	 การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย
	 5	 การควบคุมป้องกันการบริโภคยาสูบ
	 6	 การควบคุมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
	 7	 การจัดการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะอ้วนและเบาหวาน​
	 8	 ยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง​
	 9	 การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ
	 10	โอกาสในการบรรลุเป้าหมายในพ.ศ.2568​
สำ�นักโรคไม่ติดต่อ, สำ�นักควบคุมการบริโภคยาสูบ, สำ�นักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์, และศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรม
ควบคุมโรค, เครือข่ายลดเค็ม, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, ศูนย์วิจัย
ปัญหาสุรา, สำ�นักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ
เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ, กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ และสำ�นักโภชนาการ กรมอนามัย
บทที่ 4 | บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์
The Colorsleeper
สุกฤตา พุ่มดวง, จรินพร คงศรีจันทร์, หทัยชนก สุมาลี, กิตติกวิน ทองโสมสวัสดิ์
5,000 เล่ม
978-616-11-3038-1
สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
อาคารคลังพัสดุ (ถ.สาธารณสุข 6) กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ (Thai NCD network) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง
รัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลก และได้รับสนับสนุนทุนร่วมจากสำ�นักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
I
	 Noncommunicable diseases (NCDs) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ซึ่งประกอบไปด้วยโรคหลัก คือ
โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุของการ
ตายของประชากร 38 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68 ของสาเหตุการตาย
ทั้งหมดของประชากรโลก (56 ล้านคนใน พ.ศ.2555) และมากกว่า 16 ล้านคนเป็นผู้ที่เสียชีวิตในช่วง
อายุต่ำ�กว่า70 ปี หรือเรียกว่าเป็นการตายก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ�และ
ปานกลาง มีภาระโรคจากการตายก่อนวัยอันควรนี้มากถึงร้อยละ 82 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง 15 ปีข้างหน้า ที่ประมาณ
7 ล้านล้านดอลลาร์์สหรัฐ และประชากรอีกจำ�นวนหลายล้านคนที่จะยังต้องอยู่กับความยากจน
	 ในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ.2555องค์การอนามัยโลกมีข้อตกลงร่วมกันกับประเทศสมาชิกเพื่อ
กำ�หนดเป้าหมายและกรอบในการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหากลุ่มโรค NCDs ประกอบ
ด้วย 9 เป้าหมายหลัก และ 25 ตัวชี้วัด ที่จะต้องบรรลุร่วมกัน ใน พ.ศ. 2568 ซึ่งครอบคลุมประเด็น
ด้านการป้องกัน และการรักษาพยาบาล (WHO global action plan on NCDs, 2014)
	 หนังสือ “รายงานสถานการณ์โรค NCDs: มุ่งหน้าสู่เป้าหมายระดับโลก (kick off to the goals)
ฉบับนี้ เป็นฉบับที่มีเนื้อหาต่อเนื่องจาก “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม”
ใน พ.ศ. 2557 โดยจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระดับโลก ที่ประเทศไทยต้องบรรลุภายใน พ.ศ. 2568
นั่นคือเป้าหมายที่เรียกว่า “9 global NCD targets” ซึ่งในหนังสือฉบับนี้ผู้อ่านจะทราบข้อมูลเกี่ยว
กับเป้าหมาย และตัวชี้วัดเบื้องต้นในบริบทประเทศไทย, สถานการณ์โรคและปัจจัยเสี่ยงตาม 9 เป้า
หมาย, การขับเคลื่อนมาตรการและนโยบาย, โอกาสที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย ความเป็นไป
ได้ในการบรรลุ 9 เป้าหมายของประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2568 และข้อเสนอแนะที่มีต่อนโยบาย
และระบบควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย สู่การบรรลุ 9 เป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้า
	 ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำ�รายงานฉบับนี้ อาทิเช่น สำ�นัก
ควบคุมโรคไม่ติดต่อ, สำ�นักควบคุมการบริโภคยาสูบ, สำ�นักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์, ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค,
เครือข่ายลดเค็ม, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, สำ�นักวิจัย
นโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ,
กองออกกำ�ลังกาย และสำ�นักโภชนาการ กรมอนามัย
	 หวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานชิ้นนี้ จะเป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสนับสนุนและผนึก
กำ�ลังหลายภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุ 9 global NCD targets ใน พ.ศ. 2568
							 แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
III
คำ�นำ�
สารบัญ
สารบัญตาราง
สารบัญรูปภาพ
I
III
IV
V
VII
2
14
14
15
16
17
18
19
20
23
24
32
33
36
44
47
50
54
55
58
59
60
64
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
บทสรุปผู้บริหาร
บทที่ 1 :​9 เป้าหมาย และ 25 ตัวชี้วัดระดับโลก​
บทที่ 2 : ​สถานการณ์จำ�แนกตามตัวชี้วัดเบื้องต้นทั้ง 9 ตัวชี้วัด​
	 ตัวชี้วัดที่ 1​	 อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและ	
			 โรคระบบ	ทางเดินหายใจเรื้อรัง​ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 ปี
			 ลดลงร้อยละ 25
	 ตัวชี้วัดที่ 2	 ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากรต่อปี
			 ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10​​​	
	 ตัวชี้วัดที่ 3	 ความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ
			 ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10	
	 ตัวชี้วัดที่ 4	 การบริโภคเกลือหรือโซเดียมในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
			 ลดลงร้อยละ 30​
	 ตัวชี้วัดที่ 5​	 ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30​
	 ตัวชี้วัดที่ 6	 ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 25​
	 ตัวชี้วัดที่ 7	 ความชุกของโรคเบาหวานและภาวะอ้วน
			 ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่เพิ่มขึ้น​
ตัวชี้วัดที่ 8	 ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
			 ได้รับคำ�ปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และได้รับยาที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน
			 โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์อัมพาต)ไม่น้อยกว่าร้อยละ50​
	 ตัวชี้วัดที่ 9​	 การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรคไม่	
			 ติดต่อที่สำ�คัญในสถาน​บริการรัฐและเอกชนร้อยละ 80	​
บทที่ 3 : ​การขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคไม่ติดต่อ	​
	 3.1 	 การดำ�เนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวม	
	 3.2 	 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​	
	 3.3 	 การขับเคลื่อนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง กิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ​
	 3.4 	 การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย
	 3.5 	 การควบคุมป้องกันการบริโภคยาสูบ
	 3.6 	 การควบคุมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
	 3.7 	 การจัดการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะอ้วนและเบาหวาน​
	 3.8 	 ยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง​
	 3.9 	 การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ
	 3.10 โอกาสในการบรรลุเป้าหมายใน พ.ศ.2568​
บทที่ 4 : ​บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข​
IV
ตารางที่ 1A:	 4 พฤติกรรมเสี่ยง 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ 4 กลุ่มโรคตามแนวคิด
	 4x4x4 โมเดล
ตารางที่ 1B:	 รายการ 9 เป้าหมายและตัวชี้วัดระดับโลกในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
	 ภายใน พ.ศ. 2568
ตารางที่ 1C:	 รายละเอียดนิยาม แหล่งข้อมูลของ 9 เป้าหมายของการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ
	 ระดับโลกและตัวชี้วัดเบื้องต้น 9 ตัวชี้วัด ที่ใช้สำ�หรับประเทศไทย
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
2
4
8
V
รูปที่ 1A:	 กลุ่มโรคหลัก NCDs, 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ 4 ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรม 		
	 (อ้างอิงรูปที่ 1A จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม 2557)
รูปที่ 2A: 	 อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคปอดเรื้อรั้งในประชากร
	 อายุระหว่าง 30-70 พ.ศ. 2552, 2554 และ 2556 เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน
	 พ.ศ.2568 โดยใช้ พ.ศ. 2552 เป็นปีอ้างอิง
รูปที่ 2B:	 ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ลิตร) ต่อหัวประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
	 พ.ศ. 2553–2557
รูปที่ 2C:	 ความชุก (ร้อยละ) ของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
	 สำ�รวจโดย สำ�นักงานสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทย โดยใช้แบบสอบถาม GPAQ ใน
	 ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ.2568 โดย
	 ใช้ พ.ศ.2552 เป็นปีอ้างอิง
รูปที่ 2D:	 ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และเส้นแนวโน้ม พ.ศ. 2554, 2556
	 และ 2557 สำ�รวจโดยสำ�นักงานสถิติแห่งชาติเปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน
	 พ.ศ. 2568 โดยใช้ พ.ศ. 2554 เป็นปีอ้างอิง
รูปที่ 2E:	 ความชุกของความดันโลหิตสูงในประชากรไทย พ.ศ.2547 และ พ.ศ.2552 จากการสำ�รวจ
	 สุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
	 เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568 โดใช้ พ.ศ.2554 เป็นปีอ้างอิง
รูปที่ 2F:	 ความชุก (ร้อยละ) โรคเบาหวานในประชากรไทย พ.ศ. 2547 และ 2552 จากการสำ�รวจสุขภาพ
	 ประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568
	 โดยใช้ พ.ศ. 2554 เป็นปีอ้างอิง
รูปที่ 2G:	 ความชุกของประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีค่า BMI > 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรและ
	 ที่มีค่า BMI > 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร พ.ศ. 2547, 2552 และ 2557
รูปที่ 2H:	 ความชุก (ร้อยละ) ของภาวะอ้วน (BMI > 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ในประชากรไทย
	 พ.ศ. 2552 และ 2557 จากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
	 เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568 โดยใช้ พ.ศ. 2552 เป็นปีอ้างอิง
รูปที่ 3A: 	 กลไกการขับเคลื่อนงาน NCDs ในระดับจังหวัด
รูปที่ 3B: 	 ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติใน พ.ศ. 2552
รูปที่ 3C: 	 อัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ อัตราการสูบบุหรี่ และมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบ
รูปที่ 3D:	 มาตรการที่ผ่านมาและช่องทางเพิ่มประสิทธิภาพ MPOWER
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
3
14
15
16
18
19
20
21
22
34
37
51
52
สารบัญรูปภาพ
VI
VII
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
	 “รายงานสถานการณ์โรค NCDs: มุ่งหน้าสู่เป้าหมายระดับโลก (kick off to the goals) ฉบับนี้
จัดทำ�เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ข้อมูลของกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Noncommunicable disease/
NCDs) มีเนื้อหาต่อเนื่องจาก “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ใน พ.ศ.
2557 โดยจะมุ่งเน้นไปที่ 9 เป้าหมายระดับโลก (9 global NCD targets) ตามที่องค์การอนามัยโลก
ได้กำ�หนดให้เป็นกรอบในการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหากลุ่มโรค NCDs ซึ่งประกอบ
ด้วย 9 เป้าหมายหลัก และ 25 ตัวชี้วัด ที่จะต้องบรรลุร่วมกันใน พ.ศ. 2568
	 กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรถึง 38 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี หรือคิด
เป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดใน พ.ศ. 2555 และมากกว่า 16 ล้านคน
เป็นผู้ที่เสียชีวิตในช่วงอายุต่ำ�กว่า 70 ปี หรือเรียกว่าเป็นการตายก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะในกลุ่ม
ประเทศที่มีรายได้ต่ำ�และปานกลาง มีภาระโรคจากการตายก่อนวัยอันควรนี้มากถึงร้อยละ 82 ซึ่งส่ง
ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง
15 ปีข้างหน้า ที่ประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และประชากรอีกจำ�นวนหลายล้านคนที่จะยัง
ต้องอยู่กับความยากจน
	 ในขณะที่ประเทศไทยนั้น ก็เป็นอีกประเทศที่ปัญหา NCDs ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน โดย
เพิ่มขึ้นทั้งจำ�นวนผู้เสียชีวิตและสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรค NCDs จากการศึกษาภาระโรครายงาน
ว่า จำ�นวนผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs นั้นเพิ่มขึ้นจาก 314,340 คนใน พ.ศ. 2552 เป็น 349,090 คนใน
พ.ศ. 2556 หรือกล่าวได้ว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8,687.5 คนต่อปี ซึ่งสูงกว่าการ
รายงานในเล่มแรก (8,054 คนต่อปี) และสถานการณ์ของกลุ่มโรค NCDs ตาม 9 เป้าหมายหลัก โดย
ภาพรวมพบว่ารุนแรงเพิ่มขึ้นในเกือบทุกเป้าหมายที่มีการสำ�รวจความก้าวหน้าในการดำ�เนินการ
ยกเว้นเพียงเป้าหมายที่ 5 ปัจจัยเสี่ยงเรื่องการสูบบุหรี่ที่สามารถลดลงเพียงเล็กน้อยแต่ก็ยังห่างไกล
กับการที่จะบรรลุเป้าหมายใน พ.ศ. 2568 ในการที่จะลดลงให้ได้ร้อยละ 30
	 สถานการณ์ล่าสุดของประเทศไทยตาม 9 เป้าหมาย คือ 1) อัตราการตายก่อนวัยอันควรจาก
โรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นจาก 343.06 ต่อแสนคนใน พ.ศ. 2552 เป็น 355.30 ต่อแสนคนใน พ.ศ. 2556
2) ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากรต่อปีในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น
จาก6.7ลิตร/คน/ปีจากพ.ศ.2552เป็น6.9ลิตร/คน/ปีในพ.ศ.25573)ความชุกของการมีกิจกรรม
ทางกายที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.5 ใน พ.ศ. 2552 เป็น
ร้อยละ 19.2 ใน พ.ศ. 2557 4) การบริโภคเกลือและโซเดียมในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ยัง
ไม่มีการรายงานผลการสำ�รวจครั้งใหม่ยังคงใช้ผลการสำ�รวจ พ.ศ. 2552 ที่ 3,246 มก./วัน
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
VIII
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
5) ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 21.4
ใน พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 20.7 ใน พ.ศ. 2557 6) ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากร
อายุ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 24.7 ใน พ.ศ. 2557
7) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ใน พ.ศ.
2552 เป็นร้อยละ 8.9 ใน พ.ศ. 2557 และความชุกของภาวะอ้วนในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี
ขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ใน พ.ศ. 2557 ส่วนเป้าหมายที่
8 และ 9 ยังไม่มีผลการสำ�รวจอย่างเป็นทางการ แต่ด้วยระบบการดำ�เนินงานด้านระบบบริการ
สาธารณสุขที่ครอบคลุมรวมถึงระบบหลักประกันสุขภาพที่ดี ประเทศไทยจึงน่าจะบรรลุเป้า
หมายทั้งสองข้อนี้ได้
	 เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีความตระหนักและให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนิน
งานป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยมีการดำ�เนินงานทั้งในภาพรวมของโรค NCDs และ
ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะ ดังจะเห็นได้จากการมียุทธศาสตร์ระดับชาติ คือ แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถี
ชีวิตไทย และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเฉพาะอีก 3 ยุทธศาสตร์ คือ แผนยุทธศาสตร์
การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557, 2558–2562 แผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์
ระดับชาติ พ.ศ. 2554-2563 แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาภาวะน้ำ�หนักเกินและภาวะ
อ้วน พ.ศ.2553-2562 นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ยุทธศาสตร์ที่กำ�ลังอยู่ในช่วงพัฒนา คือ ร่างแผน
ยุทธศาสตร์การลดโซเดียมในประเทศไทยพ.ศ.2559-2568ร่างแผนยุทธศาสตร์หัวใจและหลอด
เลือด ร่างแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย ฉบับที่ 1 รวมทั้งร่างแผนปฏิบัติการ บูรณาการเพื่อ
ควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ พ.ศ.2559 นอกจากนี้ ยังมีการดำ�เนินการตามมาตรการที่มี
ประสิทธิผลและความคุ้มค่าสูง (Best-buy intervention) ตามข้อแนะนำ�ขององค์การอนามัย
โลก ไปแล้วหลายประเด็น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่วิกฤตปัญหาโรค NCDs ในประเทศไทยยังคง
ไม่มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคไม่ติดต่อ ความชุกของ
การป่วย และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่า
มาตรการและการดำ�เนินการต่างๆ ทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน คัดกรอง และรักษา ที่ดำ�เนิน
การเพื่อควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นยังไม่เพียงพอและมีประสิทธิผล
ระดับประชากรต่ำ� ทำ�ให้ไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาวิกฤตสุขภาพจากโรค NCDs ได้ หาก
สถานการณ์การสนับสนุนทั้งด้านนโยบายและการลงทุนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อยัง
ดำ�เนินไปแบบเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จะเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายใน
พ.ศ. 2568
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
IX
	 การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อนั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่ามีความจำ�เป็นต้องดำ�เนิน
มาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรค โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำ�มาตรการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง
ระดับประชากร (population-level interventions) เป็นหลัก จำ�เป็นต้องอาศัยอำ�นาจหน้าที่และ
ความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นนอกระบบสุขภาพซึ่งอยู่นอกอำ�นาจของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น
การดำ�เนินการทั้งหลายนี้ต้องมีทั้งการประสานงานระหว่างองค์กรภาครัฐด้วยกัน (ต่างกระทรวง)
และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งต้องการภาวะการนำ�จากผู้นำ�ภาครัฐในระดับต่างๆ ตั้งแต่
ระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น ไปถึงหน่วยบริการต่างๆ ที่จะตระหนักและ
มีพันธะรับผิดชอบ (accountability) ต่อผลลัพธ์ในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ ที่แสดงออกมา
ในรูปการสนับสนุนในแง่งบประมาณ และการจัดระบบควบคุมป้องกันโรค รวมทั้งการปรับเปลี่ยน
มาตรการเชิงนโยบายและเชิงโครงสร้าง เพื่อเอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนเพื่อ
ลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรค NCDs
	 การดำ�เนินการควบคุมป้องกันโรค NCDs นั้นเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำ�เนินการทันทีเพราะมีผลกระ
ทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจในระยะยาวโดยเฉพาะความยากจนจากการเจ็บป่วยและโอกาสในการ
แข่งขันของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ รวมทั้งต้องใช้ระยะเวลาในการก่อให้เกิดผลลัพธ์ อย่างไร
ก็ตามกระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นผู้นำ�ในการยกระดับเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อให้มี
ความสำ�คัญในระดับวาระแห่งชาติและชี้ชวนให้ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันที่จะผนึกกำ�ลังในการ
ต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนป่วยเพิ่มจากโรคที่ป้องกันได้เหล่านี้ รวมทั้งจัดการกับปัญหาและข้อ
จำ�กัดที่มีอยู่ อาทิ ภาวะผู้นำ�และความมุ่งมั่นในการจัดการปัญหา NCDs ความเป็นเจ้าของและการ
มีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ กลไกการประสานงานและบูรณาการผู้ที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ การ
บริหารจัดการและศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ข้อจำ�กัดด้านองค์ความรู้ ระบบข้อมูล การสร้าง
ความรู้ การนำ�ความรู้ไปใช้ การนำ�ยุทธศาสตร์และนโยบายไปปฏิบัติรวมถึงการติดตามประเมินผล
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
X
1
01
2
บทที่ 1
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
	 ความเคลื่อนไหวในระดับโลกเพื่อจัดการโรคไม่ติดต่อนั้น เริ่มต้นชัดเจนอย่างเป็นทางการ
ใน พ.ศ. 2543 เมื่อยุทธศาสตร์โลกเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อได้ถูกรับรองจากที่ประชุม
สมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 531 ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีการกำ�หนดขอบเขตการจัดการปัญหา โดยเน้น
ไปที่กลุ่มโรค NCDs หลัก 4 โรค 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก หรือที่เรียก
กันว่า “4x4x4 model”
	 กลุ่มโรค NCDs ที่องค์การอนามัยโลก และประเทศสมาชิกให้ความสำ�คัญในการป้องกัน
และควบคุมอย่างเร่งด่วน ตาม “4x4x4 model” คือ 4 โรคหลัก ได้แก่ 1) โรคหัวใจและหลอดเลือด
2) โรคเบาหวาน 3) โรคมะเร็ง 4) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
สำ�คัญ 4 ปัจจัย คือ 1) ภาวะไขมันในเลือดสูง 2) ภาวะความดันโลหิตสูง 3) ภาวะน้ำ�ตาลในเลือดสูง
4) ภาวะน้ำ�หนักเกินและอ้วน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้นเกิดจากการมีพฤติกรรมทางสุขภาพ
ที่ไม่เหมาะสม โดยปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมร่วมที่สำ�คัญประกอบด้วย 1) การบริโภคยาสูบ
2) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 4) การมีกิจกรรมทางกายไม่
เพียงพอ ดังแสดงในตารางที่ 1A
ตารางที่ 1A : 4 พฤติกรรมเสี่ยง 4 การเปลี่ยนแปลง และ 4 กลุ่มโรค ตามแนวคิด 4x4x4 โมเดล
	 ซึ่งหากเปรียบปัจจัยต่างๆ เหล่านี้กับต้นไม้แล้ว ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม เปรียบได้กับราก
ของต้นไม้ หรือสาเหตุเริ่มต้นของการเกิดโรค การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเป็นช่วงพัฒนาของโรค
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ซึ่งยังไม่มีอาการแสดงของโรคชัดเจนหรือช่วงภัยเงียบ
เปรียบได้กับลำ�ต้นและกลุ่มโรคNCDsเปรียบได้กับใบไม้ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากรากเหง้าและ
ต้นตอนั่นเอง ดังแสดงในรูปที่ 1A
4 พฤติกรรมเสี่ยง 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา 4 กลุ่มโรค
1. การสูบบุหรี่
2. การดื่มแอลกอฮอล์
3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
1. ไขมันในเลือดสูง
2. ความดันโลหิตสูง
3. น้ำ�ตาลในเลือดสูง
4. น้ำ�หนักเกินและโรคอ้วน
1. หัวใจและหลอดเลือด
2. เบาหวาน
3. มะเร็ง
4. ทางเดินหายใจเรื้อรัง
ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
3
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
รูปที่ 1A: กลุ่มโรคหลัก NCDs, 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ 4 ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรม 	
		 (อ้างอิงรูปที่ 1A จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม 2557)
	
	 ต่อมาใน พ.ศ. 2554 เมื่อสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบสุขภาพ
และสังคมชัดเจนมากขึ้น จึงมีฉันทามติรับรอง “ประกาศปฏิญญาการเมือง ว่าด้วยการป้องกัน
และควบคุมโรคไม่ติดต่อ”2 ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน และควบคุม
โรคไม่ติดต่อระหว่างผู้นำ�ระดับสูงของประเทศ นอกจากนี้ ประเด็นปัญหากลุ่มโรค NCDs ยังได้
ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องในเวทีเศรษฐกิจ และสังคมที่สำ�คัญระดับโลกอีกหลายเวที กระทั่งใน
พ.ศ.2558 ประเด็น NCDs ได้ถูกบรรจุลงในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Develop-
ment Goals,SDGs) ภายหลังกรอบเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development
Goals,MDGs) สิ้นสุดลงด้วย
	
	 ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.2556ที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่66มีมติรับกรอบการติดตาม
การดำ�เนินการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ หรือ Comprehensive Global Monitoring Framework
(GMF)3 ภายใต้การมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิก องค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ องค์กรเพื่อ
การพัฒนาระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อนำ�ไปใช้ติดตามแนวโน้ม และประเมิน
ความก้าวหน้าในการดำ�เนินการหลังจากการนำ�แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
ระดับโลก และแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติใช้ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยกรอบดัง
กล่าวประกอบไปด้วย 25 ตัวชี้วัดระดับโลก และ 9 เป้าหมายระดับโลก ซึ่งแบ่งตามปัจจัยหลัก 3 กลุ่ม
ได้แก่ 1) เป้าหมายด้านอัตราตายและอัตราป่วย 2) เป้าหมายด้านปัจจัยเสี่ยงหลัก ทั้งปัจจัยเสี่ยงทาง
พฤติกรรม และปัจจัยเสี่ยงทางชีววิทยา และ 3) เป้าหมายด้านระบบบริการระดับชาติ โดยเป้าหมาย
ระดับโลกทั้ง 9 รายการนั้น ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้น สนับสนุน และสร้างแรงจูงใจ ให้ประเทศสมาชิก
ใช้เป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายในการดำ�เนินการ โดยวัดความสำ�เร็จในการป้องกัน และควบคุม
โรคไม่ติดต่อใน พ.ศ. 2568 โดยเทียบกับข้อมูลอ้างอิงพื้นฐานใน พ.ศ. 2553 ดังรายละเอียดในตาราง
ที่ 1B
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจและ
หลอดเลือด
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
(ถุงลมโป่งพอง)
โรคมะเร็ง
โรค NCDs อื่นๆ
การดื่มสุรา
กิจกรรมทางกาย
ไม่เพียงพอ
การสูบบุหรี่
พฤติกรรมการบริโภค
พฤติกรรมเสี่ยง
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
• ไขมันในเลือดสูง
• ความดันโลหิตสูง
• น้ำ�ตาลในเลือดสูง
• น้ำ�หนักเกินและอ้วน
4
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตารางที่ 1B:	 รายการ 9 เป้าหมายและตัวชี้วัดระดับโลกในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ	
			 ภายใน พ.ศ. 25684
9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators)
อัตราตายและอัตราป่วย (Mortality and morbidity)
ปัจจัยเสี่ยง
พฤติกรรมเสี่ยง (Behavioural risk factors)
การเสียชีวิตก่อนวัยอัน
ควรจากโรคไม่ติดต่อ
(Premature mortality)
ตัวชี้วัดเพิ่มเติม
1. อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน (และ/หรือ)
โรคปอดเรื้อรัง ของประชากรอายุระหว่าง
30 – 70 ปี ลดลงร้อยละ 25
1. ความน่าจะเป็นในการตายของ
ประชากรอายุระหว่าง 30 – 70 ปี จาก
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอด
เรื้อรัง
2. อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งแต่ละ
ประเภทต่อประชากร 100,000 คน
ปัญหาจากการดื่ม
แอลกอฮอล์
(Harmful use of alcohol)
(หมายเหตุ: ประเทศเลือก
เป้าหมาย จากตัวชี้วัดตาม
ความเหมาะสมของบริบท
ประเทศ)
การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่
เพียงพอ
3. ความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่
เพียงพอ* ลดลงร้อยละ 10
(*หมายถึง การมีกิจกรรมทางกายระดับ
ปานกลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 150 นาทีต่อ
สัปดาห์)
2. ลดปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์
ลงร้อยละ 10
หมายเหตุ:ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา
แอลกอฮอล์ระดับโลกได้ให้คำ�นิยามปัญหา
จากการดื่มแอลกอฮอล์(Harmfuluseof
alcohol)ที่มีความหมายกว้างครอบคลุมถึง
การดื่มที่ก่อปัญหาต่อทั้งปัญหาสุขภาพและ
ปัญหาทางสังคมที่มีต่อผู้ดื่มคนรอบข้างและ
สังคมในวงกว้างรวมทั้งรูปแบบการดื่มต่างๆ
ที่สัมพันธ์กับการเพิ่มระดับความเสี่ยงที่จะก่อ
ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
3. ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์
(รวมแอลกอฮอล์ในระบบภาษีและ
นอกระบบภาษี) ต่อหัวประชากรต่อ
ปี ของประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
(หน่วยลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์)
4. ความชุกของการดื่มแอลกอฮอล์
อย่างหนักในประชากรวัยรุ่นและวัย
ผู้ใหญ่
5. อัตราการตายและอัตราการป่วย
ของประชากรวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่เกิด
จากการดื่มแอลกอฮอล์
6. ความชุกของการมีกิจกรรมทางกาย
ไม่เพียงพอในประชากรวัยรุ่น
(หมายถึง การมีกิจกรรมทางกายระดับ
ปานกลางถึงระดับมาก น้อยกว่า 60
นาทีต่อสัปดาห์)
7. ความชุกของการมีกิจกรรมทางกาย
ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 18
ปีขึ้นไป
5
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators)
การบริโภคเกลือ/โซเดียม
การบริโภคยาสูบ
4. ค่าเฉลี่ยปริมาณการบริโภคเกลือ/
โซเดียมในประชากร ลดลงร้อยละ 30*
(*ตามคำ�แนะนำ�ขององค์การอนามัย
โลกคือ น้อยกว่า 5 กรัมของเกลือ หรือ
2 กรัมของโซเดียมต่อวัน)
8. ค่าเฉลี่ยปริมาณการบริโภคเกลือ
(โซเดียมคลอไรด์) คิดเป็นกรัมต่อวัน
ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
9. ความชุกของการสูบบุหรี่ของ
ประชากรวัยรุ่น
10. ความชุกของการสูบบุหรี่ของ
ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
5. ความชุกของการบริโภคยาสูบใน
ประชากรที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป
ลดลงร้อยละ 30
ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและอ้วน
(หมายเหตุ: ประเทศเลือก
เป้าหมาย จากตัวชี้วัดตาม
ความเหมาะสมของบริบท
ประเทศ)
ตัวชี้วัดเพิ่มเติม
7. ความชุกของภาวะน้ำ�ตาลในเลือดสูง/
โรคเบาหวาน*และโรคอ้วน**ในประชากร
อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เพิ่มขึ้น
(*หมายถึง ค่า fasting plasma glucose
>7.0 mmol/L(126 mg/dl) หรือได้รับยา
ควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือด
**หมายถึงภาวะน้ำ�หนักเกิน คือ มีค่าดัชนี
มวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตาราง
เมตร และโรคอ้วน คือ มีค่าดัชนีมวลกาย
มากกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร)
6. ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูง*
ลดลงร้อยละ 25
(*หมายถึง ค่าความดันซิสโตลิค (sys-
tolic blood pressure) >140 มิลลิเมตร
ปรอท และ/หรือ ค่าความดันไดแอสโตลิค
(diastolic blood pressure) >90 มิลลิเมตร
ปรอท ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป)
11. ความชุกของภาวะความดันโลหิต
สูง*ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
(*หมายถึง ความดันซิสโตลิค (systolic
blood pressure) >140 มิลลิเมตร
ปรอท และ/หรือ ค่าความดันไดแอสโต
ลิค (diastolic blood pressure) >90
มิลลิเมตรปรอท)
12. ความชุกของภาวะน้ำ�ตาลในเลือด
สูง/โรคเบาหวานในประชากร
13. ความชุกของภาวะน้ำ�หนักเกินและ
โรคอ้วนในประชากรวัยรุ่น (กำ�หนด
เกณฑ์โดย WHO Growth Reference)
14. ความชุกของภาวะน้ำ�หนักเกินและ
โรคอ้วนในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี
ขึ้นไป
15.ค่าเฉลี่ยของปริมาณพลังงานที่ได้รับจาก
การบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวของประชากร
ที่มีอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไป(กรดไขมันอิ่มตัว
จำ�แนกตามลักษณะเฉพาะทางชีววิทยา
และการส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามคำ�
แนะนำ�ด้านโภชนาการ)
ปัจจัยเสี่ยงทางชีววิทยา (Biological risk factors)
6
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators)
การจัดระบบบริการระดับชาติ (National response system)
16. ความชุกของการบริโภคผักและ
ผลไม้ในปริมาณน้อยกว่า 1 ใน 5 ส่วน
หรือ 400 กรัม/วัน ของประชากรอายุ
ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
17.ความชุกของภาวะระดับ
คอเลสเตอรอลในเลือดสูงและค่าเฉลี่ย
ของระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือดของ
ประชากรอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไป
(หมายถึง ค่าคอเลสเตอรอลรวม (total
cholesterol) >15.0 mmol/L หรือ 190
mg/dl)
ยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
วายเฉียบพลันและโรค
หลอดเลือดสมอง
ยาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยี
ขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/
บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ
ที่สำ�คัญ
ตัวชี้วัดเพิ่มเติม
9.การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้น
พื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรค
ไม่ติดต่อที่สำ�คัญในสถานบริการรัฐและ
เอกชนร้อยละ 80
8. ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับคำ�
ปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะ
สมและรับยาเมื่อมีข้อบ่งชี้เพื่อป้องกันโรค
หัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (รวมถึงยา
ควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือด) ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 50
(มีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ
หลอดเลือดในสิบปี หรือ 10-years cardio-
vascular risk >30)
18. สัดส่วนของประชากรอายุตั้งแต่ 40
ปีขึ้นไปที่มีค่าร้อยละความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปี
มากกว่าหรือเท่ากับ 30 รวมถึงผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดหัวใจได้รับการรักษา
ด้วยยาควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือด
และได้รับคำ�ปรึกษาในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการ
เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและโรค
หลอดเลือดสมอง
19. ความสามารถในการจัดหายาที่
จำ�เป็นสำ�หรับการรักษาโรคไม่ติดต่อ
อย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และ
เกิดประสิทธิผล รวมถึงมีเทคโนโลยีขั้น
พื้นฐานในสถานพยาบาลของภาครัฐ
และเอกชน
20. การเข้าถึงวิธีการรักษาเพื่อบรรเทา
อาการปวดด้วย morphine-equivalent
ในกลุ่มยา strong opioid analgesics
(ยกเว้นยา methadone) ของประชากร
ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
21. การประกาศใช้นโยบายระดับ
ประเทศในการควบคุมปริมาณกรดไข
มันอิ่มตัวในอาหาร และหลีกเลี่ยงการใช้
น้ำ�มันประเภท partially hydrogenated
vegetable oils (PHVO) ในกระบวนการ
ผลิตอาหาร
7
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators)
22. ความสามารถในการจัดหาวัคซีน
ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV
vaccines) ในราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับการดำ�เนินการและนโยบาย
ของประเทศ
25. มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับ
อักเสบบีอย่างครอบคลุม โดยประเมิน
จากการได้รับวัคซีนครั้งที่ 3 ของเด็ก
ทารก
23. การประกาศใช้นโยบายเพื่อลดผล
กระทบต่อเด็กจากกลยุทธ์ทางการ
ตลาดด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มี
แอลกอฮอล์ ที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่ม
ตัว ไขมันทรานส์ สารให้ความหวาน
แทนน้ำ�ตาล และเกลือในปริมาณสูง
24. สัดส่วนของประชากรหญิงที่มีอายุ
ระหว่าง 30-49 ปี ซึ่งได้รับการตรวจคัด
กรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย
หนึ่งครั้ง รวมถึงการได้รับการตรวจคัด
กรองในผู้หญิงที่มีอายุนอกเหนือจาก
กลุ่มอายุดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการ
ดำ�เนินการและนโยบายของประเทศ
ใน พ.ศ. 2556 คณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเด็นโรค และปัจจัยเสี่ยง
ที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย ได้ทบทวน 9 เป้าหมายระดับโลก และคัดเลือกตัวชี้วัด
ระดับโลกที่จะนำ�มาใช้เป็นตัวชี้วัดหลักในประเทศไทย พร้อมทั้งกำ�หนดคำ�นิยาม และแหล่งข้อมูล
ที่จะนำ�มาใช้ในการติดตามผลลัพธ์ด้านการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย จากการ
ทบทวน โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับโรคไม่ติดต่อ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และ
ความเป็นไปได้ตามบริบทประเทศไทยได้สรุปกลุ่มตัวชี้วัดเบื้องต้นที่สอดคล้องกับ9เป้าหมายระดับ
โลกทั้งหมด9ตัวชี้วัดและในปีเดียวกันในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่6ของประเทศไทย
ได้มีมติรับรองให้ทั้ง 9 เป้าหมายของการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อระดับโลก ตัวชี้วัดเบื้องต้น 9 ตัว
ชี้วัด เป็นเป้าหมาย และตัวชี้วัดหลักของประเทศไทย (ตารางที่ 1C)
8
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตัวชี้วัด/เป้าหมาย แหล่งข้อมูล
การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ
ตารางที่ 1C : 	 รายละเอียดนิยาม แหล่งข้อมูลของ 9 เป้าหมายของการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ
			 ระดับโลก และตัวชี้วัดเบื้องต้น 9 ตัวชี้วัด ที่ใช้สำ�หรับประเทศไทย
อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอด
เลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และ
โรคปอดเรื้อรั้งในประชากรอายุ
ระหว่าง 30-70 ปี ลดลงร้อยละ 25
ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อ
หัวประชากรต่อปี* ในประชากรอายุ
ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10
(*หน่วยเป็นลิตรของแอลกอฮอล์
บริสุทธิ์)
1.การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก
โรคไม่ติดต่อ (Premature
mortality from NCDs)
2.ปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์
(Harmful use of alcohol )
3.การมีกิจกรรมทางกายไม่
เพียงพอ (Physical inactivity)
แหล่งข้อมูล:ข้อมูลทะเบียนการตาย
(Death registration) ของสำ�นักบริหาร
การทะเบียน และโดยสำ�นักนโยบาย
และยุทธศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ: สำ�นักนโยบายและ
ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพ
แหล่งข้อมูล: คำ�นวณจาก
(1) ข้อมูลปริมาณจำ�หน่าย ปริมาณ
ผลิตสุราพื้นเมือง และปริมาณนำ�
เข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (กรม
สรรพสามิต) และ (2) ข้อมูลประชากร
กลางปี (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ของสำ�นัก
นโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง
สาธารณสุข
ความชุกของการมีกิจกรรมทางกาย
ที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป * ลดลงร้อยละ 10
(*หมายถึง การมีกิจกรรมทาง
กายระดับปานกลางน้อยกว่าหรือ
เท่ากับ 150 นาทีต่อสัปดาห์)
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
9
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตัวชี้วัด/เป้าหมาย แหล่งข้อมูล
ความชุกของการสูบบุหรี่ใน
ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
ลดลงร้อยละ 30
ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง*
ในประชากรอายุ 18 ปี ขึ้นไป ลดลง
ร้อยละ 25
(*หมายถึง ความชุกของภาวะความ
ดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 18 ปี
ขึ้นไป ที่มีค่าค่าความดันซิสโตลิค
(systolic blood pressure)
≥ 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ค่า
ความดันไดแอสโตลิค (diastolic
blood pressure) ≥ 90 มิลลิเมตร
ปรอท และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง)
5.การบริโภคยาสูบ
(Tobacco use)
6.ความดันโลหิตสูง
(Raise blood pressure)
7.โรคเบาหวานและภาวะโรค
อ้วน (Diabetes and obesity)
4.การบริโภคเกลือและโซเดียม
(Salt/sodium intake)
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจพฤติกรรมการ
สูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร
สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ความชุกของโรคเบาหวาน*และโรค
อ้วน**ในประชากรอายุตั้งแต่18ปีขึ้น
ไปไม่เพิ่มขึ้น
(*หมายถึงความชุกของภาวะความ
น้ำ�ตาลในเลือดสูงในประชากรอายุ
18ปีขึ้นไปที่มีค่าfastingplasma
glucose≥7mmol/L(126mg/dlหรือ
ผู้ป่วยเบาหวาน
**ภาวะน้ำ�หนักเกินคือมีค่าดัชนีมวล
กายมากกว่า25kg/m2และโรคอ้วน
คือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า30kg/
m2)
การบริโภคเกลือและโซเดียมใน
ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ลดลงร้อยละ 30*
(*ตามคำ�แนะนำ�ขององค์การ
อนามัยโลกคือ น้อยกว่า 5 กรัม
ของเกลือ หรือ 2 กรัม ของโซเดียม
ต่อวัน)
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยงทางชีววิทยา
ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพ
10
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตัวชี้วัด/เป้าหมาย แหล่งข้อมูล
การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยี
ขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้
ป่วยโรคไม่ติดต่อ ในสถานบริการ
ระดับปฐมภูมิทั้งรัฐและเอกชน
ร้อยละ 80
9.ยาที่จำ�เป็นสำ�หรับการรักษาโรค
ไม่ติดต่อ รวมถึงมีเทคโนโลยีขั้นพื้น
ฐาน (Essential NCD medicines
and basic technologies to treat
major NCDs)
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจโดยองค์การ
อนามัยโลก SARA (Service
Availability and Readiness
Assessment)
ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มี
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และหลอดเลือด ได้รับคำ�ปรึกษา
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และได้
รับยาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรค
หัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 50
(มีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
หัวใจและหลอดเลือด ภายใน
10-year cardiovascular risk
มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30)
	 ใน พ.ศ. 2557 หนังสือ “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ได้ทำ�การ
ทบทวน และนำ�เสนอสถานการณ์ตาม 9 ตัวชี้วัดที่กำ�หนด และได้มีการนำ�เสนอสถานการณ์โดยใช้
เกณฑ์ของตัวชี้วัด และแหล่งข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปดังนี้5
1.	 นำ�เสนอสถานการณ์อัตราตายก่อนวัยอันควร โดยใช้ข้อมูลทะเบียนการตาย ของ
	 สำ�นักบริหารการทะเบียน และให้รหัสสาเหตุการตาย โดยสำ�นักนโยบายและ
	 ยุทธศาสตร์ และปรับสาเหตุการตายโดยใช้ข้อมูลของโครงการศึกษาภาระโรคและ
	 ปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทยซึ่งคำ�นวณโดยมีการปรับสาเหตุการตายจากข้อมูล
	 verbal autopsy
2.	 นำ�เสนอสถานการณ์ภาวะอ้วนโดยใช้เกณฑ์จาก กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-
	 Pacific perspective) ซึ่งกำ�หนดให้โรคอ้วน คือ ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass
	 Index, BMI) > 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
8.การได้รับยาเพื่อป้องกัน (โรค
หัวใจ/ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน)
และโรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) (Drug
therapy to Prevent heart
Attacks and Strokes)
แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
การจัดการระบบบริการสุขภาพ
11
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
1. 53th World Health Assembly. Prevention and control of noncommunicable diseases.
World Health Organisation; 2000 [cited 2015]; Available from: http://apps.who.int/gb/ar-
chive/pdf_files/WHA53/ResWHA53/17.pdf.
2. 66th United Nations General Assembly. Resolution adopted by the General Assembly:
66/2: Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on the Pre-
vention and Control of Non-communicable Diseases.Adopted September 19, 2011. Unit-
ed Nations 2012 [cited 2015]; Available from: http://www.un.org/en/ga/search/view_doc.
asp?symbol=%20A/RES/66/2.
3. World Healh Organization. Noncommunicable Diseases Global Monitoring Framework:
Indicator Definitions and Specifications. World Healh Organization; 2014 [cited 2015]; Avail-
able from: http://www.who.int/nmh/ncd-tools/indicators/GMF_Indicator_Definitions_Version_
NOV2014.pdf.
4.สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่6.เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย.
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2553 [cited 2015]; Available from: http://nha2013.samatcha.
org/sites/default/files/NHA6_res6_2_NCD_annex.pdf.
5. สำ�นักงานวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤต
สังคม. ทักษพล ธรรมรังสี, วีรนุช ว่องวรรธนะกุล, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, editors. นนทบุรี:
สำ�นักงานวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2557.
อ้างอิง
12
13
02
14
sNCD
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
บทที่ 2
วิชัย เอกพลากร* ธนพันธ์ สุขสอาด** และอรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์***
*ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
** แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
***ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
สถานการณ์จำ�แนกตามตัวชี้วัดเบื้องต้น
ทั้ง 9 ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่ 1	 อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง
			 โรคเบาหวานและโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
			 ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 ปี ลดลงร้อยละ 25
แหล่งข้อมูล : ​แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย
สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
รูปที่ 2A : ​ อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคปอดเรื้อรั้ง
ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 พ.ศ. 2552, 2554 และ 2556 เปรียบเทียบกับ
สถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ.2568 โดยใช้ พ.ศ. 2552 เป็นปีอ้างอิง
ปี พ.ศ.
อัตราตาย/ประชากร100,000คน
ปี
2552
50
100
150
200
250
300
350
400
0
ปี
2554
ปี
2556
ปี
2558
ปี
2560
ปี
2562
ปี
2564
ปี
2566
ปี
2568
สถานการณ์เป้าหมาย
สถานการณ์จริง
257.3
350.3
343.1
355.3
	 อัตราการตายก่อนวัยอันควรของประชากรไทยอายุระหว่าง 30-70 ปี ด้วย 4 โรคหลักของ
NCDs คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ใน
พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้เป็นปีสถานการณ์อ้างอิงในการดำ�เนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายระดับโลก
เท่ากับ 343.06 ต่อประชากรแสนคน1 ดังนั้นเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2568 ที่ต้องการลดอัตรา
ตายด้วย 4 โรคหลักของ NCDs ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 ปี (อัตราตายก่อนวัยอันควร) ลง
ร้อยละ 25 นั้น ค่าอัตราตายก่อนวัยอันควรของประชากรไทยด้วย 4 โรคหลักของ NCDs ควรต	ํ่ากว่า
257.30 ต่อประชากรแสนคน2
	 แต่สถานการณ์ที่ผ่านมาใน พ.ศ. 2554 และ 2556 พบว่าอัตราการตายก่อนวัยอันควรของ
ประชากรไทยด้วย 4 โรคหลักของ NCDs กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยมีอัตราตายเท่ากับ
350.3 และ 355.3 ต่อประชากรแสนคนตามลำ�ดับ3,4 (รูปที่ 2A) ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นจากปี
อ้างอิงเท่ากับร้อยละ 3.6
15
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตัวชี้วัดที่ 2	 ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากรต่อปีในประชากร
			 อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10
รูปที่ 2B : ​ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ลิตร) ต่อหัวประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
พ.ศ. 2553 – 2557
ปี2553
ปี2554
ปี2555
ปี2556
ปี2557
ปี2558
ปี2559
ปี2560
ปี2561
ปี2562
ปี2563
ปี2564
ปี2565
ปี2566
ปี2567
ปี2568
ปี พ.ศ.
ปริมาณ(ลิตร/คน/ปี)
6.03
6.7
7.137.096.79 6.9
สถานการณ์เป้าหมาย
สถานการณ์จริง
9
8
7
6
5
4
3
2
1
0
​	 การลดปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ลงร้อยละ 10 ประเทศไทยเลือกใช้ตัวชี้วัดเป็นปริมาณ
การบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ต่อปี โดยใช้ข้อมูลจากกรม
สรรพสามิต และสำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2553 เป็นปีสถานการณ์
อ้างอิงในการดำ�เนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายระดับโลก (วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา) โดย
พบว่าปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรต่อปี ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
เท่ากับ6.7ลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อคนต่อปีดังนั้นการจะบรรลุตามเป้าหมายการลดปริมาณการ
บริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ต่อปีลงร้อยละ 10 ใน พ.ศ. 2568 นั้น
ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรอายุตั้งแต่15ปีขึ้นไปต่อปีควรน้อยกว่า6.03ลิตร
ของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อคนต่อปี ใน พ.ศ. 25682
	 จากรูปที่2Bแสดงให้เห็นปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรไทยในช่วงตั้งแต่
พ.ศ.2553ถึงพ.ศ.2557มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยในพ.ศ.2557ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์
บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรไทยเท่ากับ 6.90 ลิตรต่อคนต่อปี5 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3 เมื่อ
เทียบกับปีอ้างอิง
16
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตัวชี้วัดที่ 3​	 ความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ
			 ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10
รูปที่ 2C :​ ความชุก (ร้อยละ) ของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปี
ขึ้นไปสำ�รวจโดยสำ�นักงานสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยใช้แบบสอบถามGPAQใน
ประชากรอายุตั้งแต่15ปีขึ้นไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายในพ.ศ.2568โดยใช้
พ.ศ.2552 เป็นปีอ้างอิง
แหล่งข้อมูล : การสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5
ความชุก(ร้อยละ)
25
20
15
10
5
0
ปี 2552 ปี 2557 ปี 2562 ปี 2568
ปี พ.ศ.
สถานการณ์เป้าหมาย
สถานการณ์จริง
18.5 19.2
16.7
	 สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอจากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจ
ร่างกาย โดยใช้เกณฑ์การมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางถึงมาก น้อยกว่า 60 นาทีต่อวัน พบว่า
ความชุกของประชาชนอายุมากกว่า15ปีที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอในพ.ศ.2552ซึ่งเป็นปีอ้างอิง
เพื่อกำ�หนดเป้าหมาย พ.ศ. 2568 เท่ากับร้อยละ 18.5 ดังนั้น ถ้าประเทศไทยจะบรรลุตามเป้าหมาย
ในการลดความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอลงร้อยละ10นั้นควรมีความชุกของประชาชน
อายุมากกว่า 15 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอไม่เกินร้อยละ 16.65 ใน พ.ศ. 25682
	 ตัวชี้วัดที่3นี้เป็นตัวชี้วัดที่สำ�คัญและบ่งบอกถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการที่
จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ป้องกัน และควบคุมโรค NCDs ตั้งแต่ในระดับตัวบุคคล ซึ่งทำ�ได้ง่าย
และใช้การลงทุนน้อยที่สุดแต่จากผลการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายพ.ศ.2557
พบว่าประชากรไทยมีแนวโน้มความชุกของการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเพิ่มขึ้นจากร้อยละ18.5
เป็น19.26 (รูปที่2C)ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ความ
สำ�เร็จในการบรรลุ 9 เป้าหมายระดับโลกในปี 2568 อย่างชัดเจน
17
NCDs
©บับที่2
“Kick off to the Goals”
ตัวชี้วัดที่ 4​	 การบริโภคเกลือและโซเดียม
			 ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30
	 จากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายใน พ.ศ. 2552 โดยใช้ข้อมูลการ
สำ�รวจการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโซเดียมที่บริโภค พบว่าค่า
มัธยฐานปริมาณโซเดียมที่บริโภคเท่ากับ3,246มิลลิกรัมต่อวัน(2,961.9–3,633.8มิลลิกรัมต่อวัน)
ดังนั้นตามเป้าหมายที่กำ�หนดให้ลดการบริโภคโซเดียมในประชากรลงร้อยละ 30 ใน พ.ศ. 2568 นั้น
ค่ามัธยฐานปริมาณการบริโภคโซเดียมในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีค่าไม่เกิน 2,434.5
มิลลิกรัมต่อวัน2
	 นอกจากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแล้ว ใน พ.ศ.2552 กอง
โภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
ทำ�การสำ�รวจปริมาณการบริโภคโซเดียมคลอไรด์ของประชากรไทยจากอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร
ที่มีส่วนประกอบของโซเดียมคลอไรด์พบว่าคนไทยได้รับโซเดียมจากการบริโภคอาหารเฉลี่ยมากถึง
4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน7
	 จากการสำ�รวจข้างต้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าประชาชนไทยมีการบริโภคเกลือและโซเดียม
ในปริมาณสูง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการบริโภคโซเดียมที่กำ�หนดให้ไม่ควรบริโภค
เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แล้วพบว่าประชาชนไทยบริโภคเกลือเกินค่ามาตรฐานกว่า 2 เท่า แม้แต่
ค่าเป้าหมายที่กำ�หนดใน พ.ศ.2568 ก็ยังมีค่าเกินมาตรฐานเช่นกัน
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าอำพร มะนูรีม
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 
แบบทดสอบฮอร์โมน
แบบทดสอบฮอร์โมนแบบทดสอบฮอร์โมน
แบบทดสอบฮอร์โมนWichai Likitponrak
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
230111167342525149 (1).pdf
230111167342525149 (1).pdf230111167342525149 (1).pdf
230111167342525149 (1).pdfnakonsitammarat
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชKanti Bkk
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงTuang Thidarat Apinya
 
แผลกดทับ
แผลกดทับแผลกดทับ
แผลกดทับtechno UCH
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 
พื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งพื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งkrurutsamee
 
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดบทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดPinutchaya Nakchumroon
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อKruthai Kidsdee
 
แผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
แผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการแผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
แผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการNattaka_Su
 
Hemophilia พาวเวอร์พอยด์
Hemophilia พาวเวอร์พอยด์Hemophilia พาวเวอร์พอยด์
Hemophilia พาวเวอร์พอยด์Tiggy Ratana
 

Mais procurados (20)

แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
 
สอนยาเสพติด.ppt
สอนยาเสพติด.pptสอนยาเสพติด.ppt
สอนยาเสพติด.ppt
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 
แบบทดสอบฮอร์โมน
แบบทดสอบฮอร์โมนแบบทดสอบฮอร์โมน
แบบทดสอบฮอร์โมน
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
230111167342525149 (1).pdf
230111167342525149 (1).pdf230111167342525149 (1).pdf
230111167342525149 (1).pdf
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
แผลกดทับ
แผลกดทับแผลกดทับ
แผลกดทับ
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
Diabetic ketoacidosis
Diabetic ketoacidosisDiabetic ketoacidosis
Diabetic ketoacidosis
 
พื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งพื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้ง
 
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดบทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
 
Ppt.dm
Ppt.dmPpt.dm
Ppt.dm
 
Ppt.เพศ
Ppt.เพศPpt.เพศ
Ppt.เพศ
 
แผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
แผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการแผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
แผ่นสไลด์ - ความหมายและความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
 
Ppt.DLP
Ppt.DLPPpt.DLP
Ppt.DLP
 
Hemophilia พาวเวอร์พอยด์
Hemophilia พาวเวอร์พอยด์Hemophilia พาวเวอร์พอยด์
Hemophilia พาวเวอร์พอยด์
 

Destaque

NCD for Golden Jubilee Medical Center
NCD for Golden Jubilee Medical CenterNCD for Golden Jubilee Medical Center
NCD for Golden Jubilee Medical CenterSoranit Siltharm
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557Chuchai Sornchumni
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsThira Woratanarat
 
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559Thira Woratanarat
 
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุขแจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุขChuchai Sornchumni
 
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมินโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิChuchai Sornchumni
 
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"Thira Woratanarat
 
ธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพChuchai Sornchumni
 
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองการพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองThira Woratanarat
 
การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นคร
การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นครการรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นคร
การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นครUtai Sukviwatsirikul
 
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559Thira Woratanarat
 
คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)
คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)
คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)Sureerut Physiotherapist
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมNattha Namm
 
Six building blocks pdf 19 มิถุนายน 2557
Six building blocks   pdf 19 มิถุนายน 2557Six building blocks   pdf 19 มิถุนายน 2557
Six building blocks pdf 19 มิถุนายน 2557Kamol Khositrangsikun
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมUtai Sukviwatsirikul
 
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisLifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisThira Woratanarat
 
แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.
แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.
แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.Utai Sukviwatsirikul
 

Destaque (20)

Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
 
NCD for Golden Jubilee Medical Center
NCD for Golden Jubilee Medical CenterNCD for Golden Jubilee Medical Center
NCD for Golden Jubilee Medical Center
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problems
 
Lifestyle and spine
Lifestyle and spineLifestyle and spine
Lifestyle and spine
 
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
 
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุขแจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
 
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมินโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
 
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
 
ธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพ
 
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองการพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
 
การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นคร
การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นครการรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นคร
การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ รัตนวดี ณ นคร
 
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2559
 
ระบบกระดูก
ระบบกระดูกระบบกระดูก
ระบบกระดูก
 
คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)
คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)
คู่มือเข่าเสื่อม(Ptจ.อุทัยธานี)
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
 
Six building blocks pdf 19 มิถุนายน 2557
Six building blocks   pdf 19 มิถุนายน 2557Six building blocks   pdf 19 มิถุนายน 2557
Six building blocks pdf 19 มิถุนายน 2557
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
 
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisLifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
 
แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.
แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.
แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่ม โดย รพ.สต.
 

Semelhante a Ncd nhes v_2016

รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554Utai Sukviwatsirikul
 
รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557
รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557
รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557Utai Sukviwatsirikul
 
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55
คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55
คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55NuFay Donnapa Sookpradit
 
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอแบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอAuamporn Junthong
 

Semelhante a Ncd nhes v_2016 (12)

รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
 
รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557
รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557
รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปี 2557
 
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
 
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
รายงานสุขภาพคนกรุงเทพ ปี 2558
 
Siiim
SiiimSiiim
Siiim
 
Siiim
SiiimSiiim
Siiim
 
คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55
คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55
คู่มือSrrt ฉบับปรับปรุง 55
 
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอแบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
 
Epidemiology of NCD
Epidemiology of NCDEpidemiology of NCD
Epidemiology of NCD
 
Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
คณะ1
คณะ1คณะ1
คณะ1
 

Mais de Chuchai Sornchumni

Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Chuchai Sornchumni
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว Chuchai Sornchumni
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCChuchai Sornchumni
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทางChuchai Sornchumni
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChuchai Sornchumni
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Chuchai Sornchumni
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศChuchai Sornchumni
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527Chuchai Sornchumni
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกาChuchai Sornchumni
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017Chuchai Sornchumni
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นChuchai Sornchumni
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกChuchai Sornchumni
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiChuchai Sornchumni
 
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHCนโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHCChuchai Sornchumni
 

Mais de Chuchai Sornchumni (20)

Precision medicine
Precision medicinePrecision medicine
Precision medicine
 
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
 
UHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn ThailandUHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn Thailand
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHC
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
 
Introduction2 publichealth
Introduction2 publichealthIntroduction2 publichealth
Introduction2 publichealth
 
Public finance
Public financePublic finance
Public finance
 
DiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSystDiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSyst
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllness
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
 
Welfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhcWelfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhc
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็น
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุก
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
 
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHCนโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
นโยบายโรคเรื้อรังกับ UHC
 

Ncd nhes v_2016

  • 1.
  • 2.
  • 3. บรรณาธิการอำ�นวยการ บรรณาธิการบริหาร ทีมบรรณาธิการ คณะผู้เขียน ออกแบบรูปเล่ม พิสูจน์อักษร พิมพ์ครั้งที่ 1 ISBN จัดทำ�โดย สนับสนุนโดย ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ นพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ดร.ภญ.ธนพันธ์ สุขสอาด ภญ.วรรณสุดา งามอรุณ นายวิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล บทที่ 1 | 9 เป้าหมาย และ 25 ตัวชี้วัดระดับโลก นพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ บทที่ 2 | สรุปสถานการณ์สำ�คัญโรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยงหลัก นพ.วิชัย เอกพลากร ดร.ภญ.ธนพันธ์ สุขสอาด และนพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ บทที่ 3|การขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย 1 การดำ�เนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวม 2 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​ 3 การขับเคลื่อนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ​ 4 การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย 5 การควบคุมป้องกันการบริโภคยาสูบ 6 การควบคุมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง 7 การจัดการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะอ้วนและเบาหวาน​ 8 ยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง​ 9 การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ 10 โอกาสในการบรรลุเป้าหมายในพ.ศ.2568​ สำ�นักโรคไม่ติดต่อ, สำ�นักควบคุมการบริโภคยาสูบ, สำ�นักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์, และศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุมโรค, เครือข่ายลดเค็ม, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, ศูนย์วิจัย ปัญหาสุรา, สำ�นักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ, กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ และสำ�นักโภชนาการ กรมอนามัย บทที่ 4 | บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ The Colorsleeper สุกฤตา พุ่มดวง, จรินพร คงศรีจันทร์, หทัยชนก สุมาลี, กิตติกวิน ทองโสมสวัสดิ์ 5,000 เล่ม 978-616-11-3038-1 สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ อาคารคลังพัสดุ (ถ.สาธารณสุข 6) กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ (Thai NCD network) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลก และได้รับสนับสนุนทุนร่วมจากสำ�นักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals”
  • 4.
  • 5. I Noncommunicable diseases (NCDs) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ซึ่งประกอบไปด้วยโรคหลัก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุของการ ตายของประชากร 38 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68 ของสาเหตุการตาย ทั้งหมดของประชากรโลก (56 ล้านคนใน พ.ศ.2555) และมากกว่า 16 ล้านคนเป็นผู้ที่เสียชีวิตในช่วง อายุต่ำ�กว่า70 ปี หรือเรียกว่าเป็นการตายก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ�และ ปานกลาง มีภาระโรคจากการตายก่อนวัยอันควรนี้มากถึงร้อยละ 82 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง 15 ปีข้างหน้า ที่ประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์์สหรัฐ และประชากรอีกจำ�นวนหลายล้านคนที่จะยังต้องอยู่กับความยากจน ในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ.2555องค์การอนามัยโลกมีข้อตกลงร่วมกันกับประเทศสมาชิกเพื่อ กำ�หนดเป้าหมายและกรอบในการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหากลุ่มโรค NCDs ประกอบ ด้วย 9 เป้าหมายหลัก และ 25 ตัวชี้วัด ที่จะต้องบรรลุร่วมกัน ใน พ.ศ. 2568 ซึ่งครอบคลุมประเด็น ด้านการป้องกัน และการรักษาพยาบาล (WHO global action plan on NCDs, 2014) หนังสือ “รายงานสถานการณ์โรค NCDs: มุ่งหน้าสู่เป้าหมายระดับโลก (kick off to the goals) ฉบับนี้ เป็นฉบับที่มีเนื้อหาต่อเนื่องจาก “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ใน พ.ศ. 2557 โดยจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระดับโลก ที่ประเทศไทยต้องบรรลุภายใน พ.ศ. 2568 นั่นคือเป้าหมายที่เรียกว่า “9 global NCD targets” ซึ่งในหนังสือฉบับนี้ผู้อ่านจะทราบข้อมูลเกี่ยว กับเป้าหมาย และตัวชี้วัดเบื้องต้นในบริบทประเทศไทย, สถานการณ์โรคและปัจจัยเสี่ยงตาม 9 เป้า หมาย, การขับเคลื่อนมาตรการและนโยบาย, โอกาสที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย ความเป็นไป ได้ในการบรรลุ 9 เป้าหมายของประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2568 และข้อเสนอแนะที่มีต่อนโยบาย และระบบควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย สู่การบรรลุ 9 เป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้า ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำ�รายงานฉบับนี้ อาทิเช่น สำ�นัก ควบคุมโรคไม่ติดต่อ, สำ�นักควบคุมการบริโภคยาสูบ, สำ�นักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์, ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, เครือข่ายลดเค็ม, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, สำ�นักวิจัย นโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ, กองออกกำ�ลังกาย และสำ�นักโภชนาการ กรมอนามัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานชิ้นนี้ จะเป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสนับสนุนและผนึก กำ�ลังหลายภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุ 9 global NCD targets ใน พ.ศ. 2568 แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals”
  • 6.
  • 7. III คำ�นำ� สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญรูปภาพ I III IV V VII 2 14 14 15 16 17 18 19 20 23 24 32 33 36 44 47 50 54 55 58 59 60 64 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” บทสรุปผู้บริหาร บทที่ 1 :​9 เป้าหมาย และ 25 ตัวชี้วัดระดับโลก​ บทที่ 2 : ​สถานการณ์จำ�แนกตามตัวชี้วัดเบื้องต้นทั้ง 9 ตัวชี้วัด​ ตัวชี้วัดที่ 1​ อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและ โรคระบบ ทางเดินหายใจเรื้อรัง​ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 ปี ลดลงร้อยละ 25 ตัวชี้วัดที่ 2 ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากรต่อปี ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10​​​ ตัวชี้วัดที่ 3 ความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10 ตัวชี้วัดที่ 4 การบริโภคเกลือหรือโซเดียมในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30​ ตัวชี้วัดที่ 5​ ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30​ ตัวชี้วัดที่ 6 ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 25​ ตัวชี้วัดที่ 7 ความชุกของโรคเบาหวานและภาวะอ้วน ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่เพิ่มขึ้น​ ตัวชี้วัดที่ 8 ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้รับคำ�ปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และได้รับยาที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์อัมพาต)ไม่น้อยกว่าร้อยละ50​ ตัวชี้วัดที่ 9​ การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรคไม่ ติดต่อที่สำ�คัญในสถาน​บริการรัฐและเอกชนร้อยละ 80 ​ บทที่ 3 : ​การขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคไม่ติดต่อ ​ 3.1 การดำ�เนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวม 3.2 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​ 3.3 การขับเคลื่อนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง กิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ​ 3.4 การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย 3.5 การควบคุมป้องกันการบริโภคยาสูบ 3.6 การควบคุมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง 3.7 การจัดการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะอ้วนและเบาหวาน​ 3.8 ยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง​ 3.9 การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ 3.10 โอกาสในการบรรลุเป้าหมายใน พ.ศ.2568​ บทที่ 4 : ​บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข​
  • 8. IV ตารางที่ 1A: 4 พฤติกรรมเสี่ยง 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ 4 กลุ่มโรคตามแนวคิด 4x4x4 โมเดล ตารางที่ 1B: รายการ 9 เป้าหมายและตัวชี้วัดระดับโลกในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ภายใน พ.ศ. 2568 ตารางที่ 1C: รายละเอียดนิยาม แหล่งข้อมูลของ 9 เป้าหมายของการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ ระดับโลกและตัวชี้วัดเบื้องต้น 9 ตัวชี้วัด ที่ใช้สำ�หรับประเทศไทย NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 2 4 8
  • 9. V รูปที่ 1A: กลุ่มโรคหลัก NCDs, 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ 4 ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรม (อ้างอิงรูปที่ 1A จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม 2557) รูปที่ 2A: อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคปอดเรื้อรั้งในประชากร อายุระหว่าง 30-70 พ.ศ. 2552, 2554 และ 2556 เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ.2568 โดยใช้ พ.ศ. 2552 เป็นปีอ้างอิง รูปที่ 2B: ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ลิตร) ต่อหัวประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2553–2557 รูปที่ 2C: ความชุก (ร้อยละ) ของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สำ�รวจโดย สำ�นักงานสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทย โดยใช้แบบสอบถาม GPAQ ใน ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ.2568 โดย ใช้ พ.ศ.2552 เป็นปีอ้างอิง รูปที่ 2D: ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และเส้นแนวโน้ม พ.ศ. 2554, 2556 และ 2557 สำ�รวจโดยสำ�นักงานสถิติแห่งชาติเปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568 โดยใช้ พ.ศ. 2554 เป็นปีอ้างอิง รูปที่ 2E: ความชุกของความดันโลหิตสูงในประชากรไทย พ.ศ.2547 และ พ.ศ.2552 จากการสำ�รวจ สุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568 โดใช้ พ.ศ.2554 เป็นปีอ้างอิง รูปที่ 2F: ความชุก (ร้อยละ) โรคเบาหวานในประชากรไทย พ.ศ. 2547 และ 2552 จากการสำ�รวจสุขภาพ ประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568 โดยใช้ พ.ศ. 2554 เป็นปีอ้างอิง รูปที่ 2G: ความชุกของประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีค่า BMI > 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรและ ที่มีค่า BMI > 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร พ.ศ. 2547, 2552 และ 2557 รูปที่ 2H: ความชุก (ร้อยละ) ของภาวะอ้วน (BMI > 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ในประชากรไทย พ.ศ. 2552 และ 2557 จากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย เปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ. 2568 โดยใช้ พ.ศ. 2552 เป็นปีอ้างอิง รูปที่ 3A: กลไกการขับเคลื่อนงาน NCDs ในระดับจังหวัด รูปที่ 3B: ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติใน พ.ศ. 2552 รูปที่ 3C: อัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ อัตราการสูบบุหรี่ และมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบ รูปที่ 3D: มาตรการที่ผ่านมาและช่องทางเพิ่มประสิทธิภาพ MPOWER NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 3 14 15 16 18 19 20 21 22 34 37 51 52 สารบัญรูปภาพ
  • 10. VI
  • 11. VII NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” “รายงานสถานการณ์โรค NCDs: มุ่งหน้าสู่เป้าหมายระดับโลก (kick off to the goals) ฉบับนี้ จัดทำ�เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ข้อมูลของกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Noncommunicable disease/ NCDs) มีเนื้อหาต่อเนื่องจาก “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ใน พ.ศ. 2557 โดยจะมุ่งเน้นไปที่ 9 เป้าหมายระดับโลก (9 global NCD targets) ตามที่องค์การอนามัยโลก ได้กำ�หนดให้เป็นกรอบในการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหากลุ่มโรค NCDs ซึ่งประกอบ ด้วย 9 เป้าหมายหลัก และ 25 ตัวชี้วัด ที่จะต้องบรรลุร่วมกันใน พ.ศ. 2568 กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรถึง 38 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี หรือคิด เป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดใน พ.ศ. 2555 และมากกว่า 16 ล้านคน เป็นผู้ที่เสียชีวิตในช่วงอายุต่ำ�กว่า 70 ปี หรือเรียกว่าเป็นการตายก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะในกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ต่ำ�และปานกลาง มีภาระโรคจากการตายก่อนวัยอันควรนี้มากถึงร้อยละ 82 ซึ่งส่ง ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วง 15 ปีข้างหน้า ที่ประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และประชากรอีกจำ�นวนหลายล้านคนที่จะยัง ต้องอยู่กับความยากจน ในขณะที่ประเทศไทยนั้น ก็เป็นอีกประเทศที่ปัญหา NCDs ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน โดย เพิ่มขึ้นทั้งจำ�นวนผู้เสียชีวิตและสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรค NCDs จากการศึกษาภาระโรครายงาน ว่า จำ�นวนผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs นั้นเพิ่มขึ้นจาก 314,340 คนใน พ.ศ. 2552 เป็น 349,090 คนใน พ.ศ. 2556 หรือกล่าวได้ว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8,687.5 คนต่อปี ซึ่งสูงกว่าการ รายงานในเล่มแรก (8,054 คนต่อปี) และสถานการณ์ของกลุ่มโรค NCDs ตาม 9 เป้าหมายหลัก โดย ภาพรวมพบว่ารุนแรงเพิ่มขึ้นในเกือบทุกเป้าหมายที่มีการสำ�รวจความก้าวหน้าในการดำ�เนินการ ยกเว้นเพียงเป้าหมายที่ 5 ปัจจัยเสี่ยงเรื่องการสูบบุหรี่ที่สามารถลดลงเพียงเล็กน้อยแต่ก็ยังห่างไกล กับการที่จะบรรลุเป้าหมายใน พ.ศ. 2568 ในการที่จะลดลงให้ได้ร้อยละ 30 สถานการณ์ล่าสุดของประเทศไทยตาม 9 เป้าหมาย คือ 1) อัตราการตายก่อนวัยอันควรจาก โรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นจาก 343.06 ต่อแสนคนใน พ.ศ. 2552 เป็น 355.30 ต่อแสนคนใน พ.ศ. 2556 2) ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากรต่อปีในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น จาก6.7ลิตร/คน/ปีจากพ.ศ.2552เป็น6.9ลิตร/คน/ปีในพ.ศ.25573)ความชุกของการมีกิจกรรม ทางกายที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.5 ใน พ.ศ. 2552 เป็น ร้อยละ 19.2 ใน พ.ศ. 2557 4) การบริโภคเกลือและโซเดียมในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ยัง ไม่มีการรายงานผลการสำ�รวจครั้งใหม่ยังคงใช้ผลการสำ�รวจ พ.ศ. 2552 ที่ 3,246 มก./วัน NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals”
  • 12. VIII NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 5) ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 21.4 ใน พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 20.7 ใน พ.ศ. 2557 6) ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากร อายุ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 24.7 ใน พ.ศ. 2557 7) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ใน พ.ศ. 2557 และความชุกของภาวะอ้วนในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ใน พ.ศ. 2557 ส่วนเป้าหมายที่ 8 และ 9 ยังไม่มีผลการสำ�รวจอย่างเป็นทางการ แต่ด้วยระบบการดำ�เนินงานด้านระบบบริการ สาธารณสุขที่ครอบคลุมรวมถึงระบบหลักประกันสุขภาพที่ดี ประเทศไทยจึงน่าจะบรรลุเป้า หมายทั้งสองข้อนี้ได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีความตระหนักและให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนิน งานป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยมีการดำ�เนินงานทั้งในภาพรวมของโรค NCDs และ ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะ ดังจะเห็นได้จากการมียุทธศาสตร์ระดับชาติ คือ แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถี ชีวิตไทย และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเฉพาะอีก 3 ยุทธศาสตร์ คือ แผนยุทธศาสตร์ การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557, 2558–2562 แผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ ระดับชาติ พ.ศ. 2554-2563 แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาภาวะน้ำ�หนักเกินและภาวะ อ้วน พ.ศ.2553-2562 นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ยุทธศาสตร์ที่กำ�ลังอยู่ในช่วงพัฒนา คือ ร่างแผน ยุทธศาสตร์การลดโซเดียมในประเทศไทยพ.ศ.2559-2568ร่างแผนยุทธศาสตร์หัวใจและหลอด เลือด ร่างแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย ฉบับที่ 1 รวมทั้งร่างแผนปฏิบัติการ บูรณาการเพื่อ ควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ พ.ศ.2559 นอกจากนี้ ยังมีการดำ�เนินการตามมาตรการที่มี ประสิทธิผลและความคุ้มค่าสูง (Best-buy intervention) ตามข้อแนะนำ�ขององค์การอนามัย โลก ไปแล้วหลายประเด็น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่วิกฤตปัญหาโรค NCDs ในประเทศไทยยังคง ไม่มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคไม่ติดต่อ ความชุกของ การป่วย และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่า มาตรการและการดำ�เนินการต่างๆ ทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน คัดกรอง และรักษา ที่ดำ�เนิน การเพื่อควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นยังไม่เพียงพอและมีประสิทธิผล ระดับประชากรต่ำ� ทำ�ให้ไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาวิกฤตสุขภาพจากโรค NCDs ได้ หาก สถานการณ์การสนับสนุนทั้งด้านนโยบายและการลงทุนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อยัง ดำ�เนินไปแบบเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จะเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายใน พ.ศ. 2568 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals”
  • 13. IX การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อนั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่ามีความจำ�เป็นต้องดำ�เนิน มาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรค โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำ�มาตรการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง ระดับประชากร (population-level interventions) เป็นหลัก จำ�เป็นต้องอาศัยอำ�นาจหน้าที่และ ความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นนอกระบบสุขภาพซึ่งอยู่นอกอำ�นาจของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น การดำ�เนินการทั้งหลายนี้ต้องมีทั้งการประสานงานระหว่างองค์กรภาครัฐด้วยกัน (ต่างกระทรวง) และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งต้องการภาวะการนำ�จากผู้นำ�ภาครัฐในระดับต่างๆ ตั้งแต่ ระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น ไปถึงหน่วยบริการต่างๆ ที่จะตระหนักและ มีพันธะรับผิดชอบ (accountability) ต่อผลลัพธ์ในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ ที่แสดงออกมา ในรูปการสนับสนุนในแง่งบประมาณ และการจัดระบบควบคุมป้องกันโรค รวมทั้งการปรับเปลี่ยน มาตรการเชิงนโยบายและเชิงโครงสร้าง เพื่อเอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนเพื่อ ลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรค NCDs การดำ�เนินการควบคุมป้องกันโรค NCDs นั้นเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำ�เนินการทันทีเพราะมีผลกระ ทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจในระยะยาวโดยเฉพาะความยากจนจากการเจ็บป่วยและโอกาสในการ แข่งขันของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ รวมทั้งต้องใช้ระยะเวลาในการก่อให้เกิดผลลัพธ์ อย่างไร ก็ตามกระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นผู้นำ�ในการยกระดับเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อให้มี ความสำ�คัญในระดับวาระแห่งชาติและชี้ชวนให้ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันที่จะผนึกกำ�ลังในการ ต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนป่วยเพิ่มจากโรคที่ป้องกันได้เหล่านี้ รวมทั้งจัดการกับปัญหาและข้อ จำ�กัดที่มีอยู่ อาทิ ภาวะผู้นำ�และความมุ่งมั่นในการจัดการปัญหา NCDs ความเป็นเจ้าของและการ มีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ กลไกการประสานงานและบูรณาการผู้ที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ การ บริหารจัดการและศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ข้อจำ�กัดด้านองค์ความรู้ ระบบข้อมูล การสร้าง ความรู้ การนำ�ความรู้ไปใช้ การนำ�ยุทธศาสตร์และนโยบายไปปฏิบัติรวมถึงการติดตามประเมินผล NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals”
  • 14. X
  • 15. 1 01
  • 16. 2 บทที่ 1 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ความเคลื่อนไหวในระดับโลกเพื่อจัดการโรคไม่ติดต่อนั้น เริ่มต้นชัดเจนอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2543 เมื่อยุทธศาสตร์โลกเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อได้ถูกรับรองจากที่ประชุม สมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 531 ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีการกำ�หนดขอบเขตการจัดการปัญหา โดยเน้น ไปที่กลุ่มโรค NCDs หลัก 4 โรค 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก หรือที่เรียก กันว่า “4x4x4 model” กลุ่มโรค NCDs ที่องค์การอนามัยโลก และประเทศสมาชิกให้ความสำ�คัญในการป้องกัน และควบคุมอย่างเร่งด่วน ตาม “4x4x4 model” คือ 4 โรคหลัก ได้แก่ 1) โรคหัวใจและหลอดเลือด 2) โรคเบาหวาน 3) โรคมะเร็ง 4) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา สำ�คัญ 4 ปัจจัย คือ 1) ภาวะไขมันในเลือดสูง 2) ภาวะความดันโลหิตสูง 3) ภาวะน้ำ�ตาลในเลือดสูง 4) ภาวะน้ำ�หนักเกินและอ้วน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้นเกิดจากการมีพฤติกรรมทางสุขภาพ ที่ไม่เหมาะสม โดยปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมร่วมที่สำ�คัญประกอบด้วย 1) การบริโภคยาสูบ 2) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 4) การมีกิจกรรมทางกายไม่ เพียงพอ ดังแสดงในตารางที่ 1A ตารางที่ 1A : 4 พฤติกรรมเสี่ยง 4 การเปลี่ยนแปลง และ 4 กลุ่มโรค ตามแนวคิด 4x4x4 โมเดล ซึ่งหากเปรียบปัจจัยต่างๆ เหล่านี้กับต้นไม้แล้ว ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม เปรียบได้กับราก ของต้นไม้ หรือสาเหตุเริ่มต้นของการเกิดโรค การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเป็นช่วงพัฒนาของโรค ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ซึ่งยังไม่มีอาการแสดงของโรคชัดเจนหรือช่วงภัยเงียบ เปรียบได้กับลำ�ต้นและกลุ่มโรคNCDsเปรียบได้กับใบไม้ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากรากเหง้าและ ต้นตอนั่นเอง ดังแสดงในรูปที่ 1A 4 พฤติกรรมเสี่ยง 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา 4 กลุ่มโรค 1. การสูบบุหรี่ 2. การดื่มแอลกอฮอล์ 3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 1. ไขมันในเลือดสูง 2. ความดันโลหิตสูง 3. น้ำ�ตาลในเลือดสูง 4. น้ำ�หนักเกินและโรคอ้วน 1. หัวใจและหลอดเลือด 2. เบาหวาน 3. มะเร็ง 4. ทางเดินหายใจเรื้อรัง ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
  • 17. 3 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” รูปที่ 1A: กลุ่มโรคหลัก NCDs, 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และ 4 ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรม (อ้างอิงรูปที่ 1A จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม 2557) ต่อมาใน พ.ศ. 2554 เมื่อสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบสุขภาพ และสังคมชัดเจนมากขึ้น จึงมีฉันทามติรับรอง “ประกาศปฏิญญาการเมือง ว่าด้วยการป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ”2 ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน และควบคุม โรคไม่ติดต่อระหว่างผู้นำ�ระดับสูงของประเทศ นอกจากนี้ ประเด็นปัญหากลุ่มโรค NCDs ยังได้ ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องในเวทีเศรษฐกิจ และสังคมที่สำ�คัญระดับโลกอีกหลายเวที กระทั่งใน พ.ศ.2558 ประเด็น NCDs ได้ถูกบรรจุลงในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Develop- ment Goals,SDGs) ภายหลังกรอบเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals,MDGs) สิ้นสุดลงด้วย ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.2556ที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่66มีมติรับกรอบการติดตาม การดำ�เนินการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ หรือ Comprehensive Global Monitoring Framework (GMF)3 ภายใต้การมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิก องค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ องค์กรเพื่อ การพัฒนาระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อนำ�ไปใช้ติดตามแนวโน้ม และประเมิน ความก้าวหน้าในการดำ�เนินการหลังจากการนำ�แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ระดับโลก และแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติใช้ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยกรอบดัง กล่าวประกอบไปด้วย 25 ตัวชี้วัดระดับโลก และ 9 เป้าหมายระดับโลก ซึ่งแบ่งตามปัจจัยหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เป้าหมายด้านอัตราตายและอัตราป่วย 2) เป้าหมายด้านปัจจัยเสี่ยงหลัก ทั้งปัจจัยเสี่ยงทาง พฤติกรรม และปัจจัยเสี่ยงทางชีววิทยา และ 3) เป้าหมายด้านระบบบริการระดับชาติ โดยเป้าหมาย ระดับโลกทั้ง 9 รายการนั้น ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้น สนับสนุน และสร้างแรงจูงใจ ให้ประเทศสมาชิก ใช้เป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายในการดำ�เนินการ โดยวัดความสำ�เร็จในการป้องกัน และควบคุม โรคไม่ติดต่อใน พ.ศ. 2568 โดยเทียบกับข้อมูลอ้างอิงพื้นฐานใน พ.ศ. 2553 ดังรายละเอียดในตาราง ที่ 1B โรคเบาหวาน โรคหัวใจและ หลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ถุงลมโป่งพอง) โรคมะเร็ง โรค NCDs อื่นๆ การดื่มสุรา กิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา • ไขมันในเลือดสูง • ความดันโลหิตสูง • น้ำ�ตาลในเลือดสูง • น้ำ�หนักเกินและอ้วน
  • 18. 4 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตารางที่ 1B: รายการ 9 เป้าหมายและตัวชี้วัดระดับโลกในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ภายใน พ.ศ. 25684 9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators) อัตราตายและอัตราป่วย (Mortality and morbidity) ปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง (Behavioural risk factors) การเสียชีวิตก่อนวัยอัน ควรจากโรคไม่ติดต่อ (Premature mortality) ตัวชี้วัดเพิ่มเติม 1. อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน (และ/หรือ) โรคปอดเรื้อรัง ของประชากรอายุระหว่าง 30 – 70 ปี ลดลงร้อยละ 25 1. ความน่าจะเป็นในการตายของ ประชากรอายุระหว่าง 30 – 70 ปี จาก สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอด เรื้อรัง 2. อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งแต่ละ ประเภทต่อประชากร 100,000 คน ปัญหาจากการดื่ม แอลกอฮอล์ (Harmful use of alcohol) (หมายเหตุ: ประเทศเลือก เป้าหมาย จากตัวชี้วัดตาม ความเหมาะสมของบริบท ประเทศ) การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่ เพียงพอ 3. ความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่ เพียงพอ* ลดลงร้อยละ 10 (*หมายถึง การมีกิจกรรมทางกายระดับ ปานกลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 150 นาทีต่อ สัปดาห์) 2. ลดปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ลงร้อยละ 10 หมายเหตุ:ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา แอลกอฮอล์ระดับโลกได้ให้คำ�นิยามปัญหา จากการดื่มแอลกอฮอล์(Harmfuluseof alcohol)ที่มีความหมายกว้างครอบคลุมถึง การดื่มที่ก่อปัญหาต่อทั้งปัญหาสุขภาพและ ปัญหาทางสังคมที่มีต่อผู้ดื่มคนรอบข้างและ สังคมในวงกว้างรวมทั้งรูปแบบการดื่มต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการเพิ่มระดับความเสี่ยงที่จะก่อ ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ 3. ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ (รวมแอลกอฮอล์ในระบบภาษีและ นอกระบบภาษี) ต่อหัวประชากรต่อ ปี ของประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (หน่วยลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์) 4. ความชุกของการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างหนักในประชากรวัยรุ่นและวัย ผู้ใหญ่ 5. อัตราการตายและอัตราการป่วย ของประชากรวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่เกิด จากการดื่มแอลกอฮอล์ 6. ความชุกของการมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอในประชากรวัยรุ่น (หมายถึง การมีกิจกรรมทางกายระดับ ปานกลางถึงระดับมาก น้อยกว่า 60 นาทีต่อสัปดาห์) 7. ความชุกของการมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  • 19. 5 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators) การบริโภคเกลือ/โซเดียม การบริโภคยาสูบ 4. ค่าเฉลี่ยปริมาณการบริโภคเกลือ/ โซเดียมในประชากร ลดลงร้อยละ 30* (*ตามคำ�แนะนำ�ขององค์การอนามัย โลกคือ น้อยกว่า 5 กรัมของเกลือ หรือ 2 กรัมของโซเดียมต่อวัน) 8. ค่าเฉลี่ยปริมาณการบริโภคเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) คิดเป็นกรัมต่อวัน ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 9. ความชุกของการสูบบุหรี่ของ ประชากรวัยรุ่น 10. ความชุกของการสูบบุหรี่ของ ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 5. ความชุกของการบริโภคยาสูบใน ประชากรที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30 ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและอ้วน (หมายเหตุ: ประเทศเลือก เป้าหมาย จากตัวชี้วัดตาม ความเหมาะสมของบริบท ประเทศ) ตัวชี้วัดเพิ่มเติม 7. ความชุกของภาวะน้ำ�ตาลในเลือดสูง/ โรคเบาหวาน*และโรคอ้วน**ในประชากร อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เพิ่มขึ้น (*หมายถึง ค่า fasting plasma glucose >7.0 mmol/L(126 mg/dl) หรือได้รับยา ควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือด **หมายถึงภาวะน้ำ�หนักเกิน คือ มีค่าดัชนี มวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตาราง เมตร และโรคอ้วน คือ มีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร) 6. ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูง* ลดลงร้อยละ 25 (*หมายถึง ค่าความดันซิสโตลิค (sys- tolic blood pressure) >140 มิลลิเมตร ปรอท และ/หรือ ค่าความดันไดแอสโตลิค (diastolic blood pressure) >90 มิลลิเมตร ปรอท ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) 11. ความชุกของภาวะความดันโลหิต สูง*ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (*หมายถึง ความดันซิสโตลิค (systolic blood pressure) >140 มิลลิเมตร ปรอท และ/หรือ ค่าความดันไดแอสโต ลิค (diastolic blood pressure) >90 มิลลิเมตรปรอท) 12. ความชุกของภาวะน้ำ�ตาลในเลือด สูง/โรคเบาหวานในประชากร 13. ความชุกของภาวะน้ำ�หนักเกินและ โรคอ้วนในประชากรวัยรุ่น (กำ�หนด เกณฑ์โดย WHO Growth Reference) 14. ความชุกของภาวะน้ำ�หนักเกินและ โรคอ้วนในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป 15.ค่าเฉลี่ยของปริมาณพลังงานที่ได้รับจาก การบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวของประชากร ที่มีอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไป(กรดไขมันอิ่มตัว จำ�แนกตามลักษณะเฉพาะทางชีววิทยา และการส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามคำ� แนะนำ�ด้านโภชนาการ) ปัจจัยเสี่ยงทางชีววิทยา (Biological risk factors)
  • 20. 6 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators) การจัดระบบบริการระดับชาติ (National response system) 16. ความชุกของการบริโภคผักและ ผลไม้ในปริมาณน้อยกว่า 1 ใน 5 ส่วน หรือ 400 กรัม/วัน ของประชากรอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 17.ความชุกของภาวะระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดสูงและค่าเฉลี่ย ของระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือดของ ประชากรอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไป (หมายถึง ค่าคอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol) >15.0 mmol/L หรือ 190 mg/dl) ยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจ วายเฉียบพลันและโรค หลอดเลือดสมอง ยาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยี ขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/ บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ ที่สำ�คัญ ตัวชี้วัดเพิ่มเติม 9.การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อที่สำ�คัญในสถานบริการรัฐและ เอกชนร้อยละ 80 8. ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับคำ� ปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะ สมและรับยาเมื่อมีข้อบ่งชี้เพื่อป้องกันโรค หัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (รวมถึงยา ควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือด) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 (มีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดในสิบปี หรือ 10-years cardio- vascular risk >30) 18. สัดส่วนของประชากรอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่มีค่าร้อยละความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปี มากกว่าหรือเท่ากับ 30 รวมถึงผู้ป่วย โรคหลอดเลือดหัวใจได้รับการรักษา ด้วยยาควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือด และได้รับคำ�ปรึกษาในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการ เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและโรค หลอดเลือดสมอง 19. ความสามารถในการจัดหายาที่ จำ�เป็นสำ�หรับการรักษาโรคไม่ติดต่อ อย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และ เกิดประสิทธิผล รวมถึงมีเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานในสถานพยาบาลของภาครัฐ และเอกชน 20. การเข้าถึงวิธีการรักษาเพื่อบรรเทา อาการปวดด้วย morphine-equivalent ในกลุ่มยา strong opioid analgesics (ยกเว้นยา methadone) ของประชากร ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 21. การประกาศใช้นโยบายระดับ ประเทศในการควบคุมปริมาณกรดไข มันอิ่มตัวในอาหาร และหลีกเลี่ยงการใช้ น้ำ�มันประเภท partially hydrogenated vegetable oils (PHVO) ในกระบวนการ ผลิตอาหาร
  • 21. 7 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 9 เป้าหมาย (Targets) 25 ตัวชี้วัด (Indicators) 22. ความสามารถในการจัดหาวัคซีน ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccines) ในราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดำ�เนินการและนโยบาย ของประเทศ 25. มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับ อักเสบบีอย่างครอบคลุม โดยประเมิน จากการได้รับวัคซีนครั้งที่ 3 ของเด็ก ทารก 23. การประกาศใช้นโยบายเพื่อลดผล กระทบต่อเด็กจากกลยุทธ์ทางการ ตลาดด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มี แอลกอฮอล์ ที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่ม ตัว ไขมันทรานส์ สารให้ความหวาน แทนน้ำ�ตาล และเกลือในปริมาณสูง 24. สัดส่วนของประชากรหญิงที่มีอายุ ระหว่าง 30-49 ปี ซึ่งได้รับการตรวจคัด กรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย หนึ่งครั้ง รวมถึงการได้รับการตรวจคัด กรองในผู้หญิงที่มีอายุนอกเหนือจาก กลุ่มอายุดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการ ดำ�เนินการและนโยบายของประเทศ ใน พ.ศ. 2556 คณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเด็นโรค และปัจจัยเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย ได้ทบทวน 9 เป้าหมายระดับโลก และคัดเลือกตัวชี้วัด ระดับโลกที่จะนำ�มาใช้เป็นตัวชี้วัดหลักในประเทศไทย พร้อมทั้งกำ�หนดคำ�นิยาม และแหล่งข้อมูล ที่จะนำ�มาใช้ในการติดตามผลลัพธ์ด้านการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย จากการ ทบทวน โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับโรคไม่ติดต่อ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และ ความเป็นไปได้ตามบริบทประเทศไทยได้สรุปกลุ่มตัวชี้วัดเบื้องต้นที่สอดคล้องกับ9เป้าหมายระดับ โลกทั้งหมด9ตัวชี้วัดและในปีเดียวกันในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่6ของประเทศไทย ได้มีมติรับรองให้ทั้ง 9 เป้าหมายของการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อระดับโลก ตัวชี้วัดเบื้องต้น 9 ตัว ชี้วัด เป็นเป้าหมาย และตัวชี้วัดหลักของประเทศไทย (ตารางที่ 1C)
  • 22. 8 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตัวชี้วัด/เป้าหมาย แหล่งข้อมูล การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ ตารางที่ 1C : รายละเอียดนิยาม แหล่งข้อมูลของ 9 เป้าหมายของการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ ระดับโลก และตัวชี้วัดเบื้องต้น 9 ตัวชี้วัด ที่ใช้สำ�หรับประเทศไทย อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอด เลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และ โรคปอดเรื้อรั้งในประชากรอายุ ระหว่าง 30-70 ปี ลดลงร้อยละ 25 ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อ หัวประชากรต่อปี* ในประชากรอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10 (*หน่วยเป็นลิตรของแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์) 1.การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก โรคไม่ติดต่อ (Premature mortality from NCDs) 2.ปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Harmful use of alcohol ) 3.การมีกิจกรรมทางกายไม่ เพียงพอ (Physical inactivity) แหล่งข้อมูล:ข้อมูลทะเบียนการตาย (Death registration) ของสำ�นักบริหาร การทะเบียน และโดยสำ�นักนโยบาย และยุทธศาสตร์ ผู้รับผิดชอบ: สำ�นักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพ แหล่งข้อมูล: คำ�นวณจาก (1) ข้อมูลปริมาณจำ�หน่าย ปริมาณ ผลิตสุราพื้นเมือง และปริมาณนำ� เข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (กรม สรรพสามิต) และ (2) ข้อมูลประชากร กลางปี (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ของสำ�นัก นโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสุข ความชุกของการมีกิจกรรมทางกาย ที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป * ลดลงร้อยละ 10 (*หมายถึง การมีกิจกรรมทาง กายระดับปานกลางน้อยกว่าหรือ เท่ากับ 150 นาทีต่อสัปดาห์) แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
  • 23. 9 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตัวชี้วัด/เป้าหมาย แหล่งข้อมูล ความชุกของการสูบบุหรี่ใน ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30 ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง* ในประชากรอายุ 18 ปี ขึ้นไป ลดลง ร้อยละ 25 (*หมายถึง ความชุกของภาวะความ ดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่มีค่าค่าความดันซิสโตลิค (systolic blood pressure) ≥ 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ค่า ความดันไดแอสโตลิค (diastolic blood pressure) ≥ 90 มิลลิเมตร ปรอท และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง) 5.การบริโภคยาสูบ (Tobacco use) 6.ความดันโลหิตสูง (Raise blood pressure) 7.โรคเบาหวานและภาวะโรค อ้วน (Diabetes and obesity) 4.การบริโภคเกลือและโซเดียม (Salt/sodium intake) แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจพฤติกรรมการ สูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ความชุกของโรคเบาหวาน*และโรค อ้วน**ในประชากรอายุตั้งแต่18ปีขึ้น ไปไม่เพิ่มขึ้น (*หมายถึงความชุกของภาวะความ น้ำ�ตาลในเลือดสูงในประชากรอายุ 18ปีขึ้นไปที่มีค่าfastingplasma glucose≥7mmol/L(126mg/dlหรือ ผู้ป่วยเบาหวาน **ภาวะน้ำ�หนักเกินคือมีค่าดัชนีมวล กายมากกว่า25kg/m2และโรคอ้วน คือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า30kg/ m2) การบริโภคเกลือและโซเดียมใน ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30* (*ตามคำ�แนะนำ�ขององค์การ อนามัยโลกคือ น้อยกว่า 5 กรัม ของเกลือ หรือ 2 กรัม ของโซเดียม ต่อวัน) แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงทางชีววิทยา ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพ
  • 24. 10 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตัวชี้วัด/เป้าหมาย แหล่งข้อมูล การมียาที่จำ�เป็นและเทคโนโลยี ขั้นพื้นฐานสำ�หรับรักษา/บริการผู้ ป่วยโรคไม่ติดต่อ ในสถานบริการ ระดับปฐมภูมิทั้งรัฐและเอกชน ร้อยละ 80 9.ยาที่จำ�เป็นสำ�หรับการรักษาโรค ไม่ติดต่อ รวมถึงมีเทคโนโลยีขั้นพื้น ฐาน (Essential NCD medicines and basic technologies to treat major NCDs) แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจโดยองค์การ อนามัยโลก SARA (Service Availability and Readiness Assessment) ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ได้รับคำ�ปรึกษา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และได้ รับยาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรค หัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 (มีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หัวใจและหลอดเลือด ภายใน 10-year cardiovascular risk มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30) ใน พ.ศ. 2557 หนังสือ “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ได้ทำ�การ ทบทวน และนำ�เสนอสถานการณ์ตาม 9 ตัวชี้วัดที่กำ�หนด และได้มีการนำ�เสนอสถานการณ์โดยใช้ เกณฑ์ของตัวชี้วัด และแหล่งข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปดังนี้5 1. นำ�เสนอสถานการณ์อัตราตายก่อนวัยอันควร โดยใช้ข้อมูลทะเบียนการตาย ของ สำ�นักบริหารการทะเบียน และให้รหัสสาเหตุการตาย โดยสำ�นักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ และปรับสาเหตุการตายโดยใช้ข้อมูลของโครงการศึกษาภาระโรคและ ปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทยซึ่งคำ�นวณโดยมีการปรับสาเหตุการตายจากข้อมูล verbal autopsy 2. นำ�เสนอสถานการณ์ภาวะอ้วนโดยใช้เกณฑ์จาก กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก (Asia- Pacific perspective) ซึ่งกำ�หนดให้โรคอ้วน คือ ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index, BMI) > 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 8.การได้รับยาเพื่อป้องกัน (โรค หัวใจ/ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน) และโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) (Drug therapy to Prevent heart Attacks and Strokes) แหล่งข้อมูล: การสำ�รวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย การจัดการระบบบริการสุขภาพ
  • 25. 11 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” 1. 53th World Health Assembly. Prevention and control of noncommunicable diseases. World Health Organisation; 2000 [cited 2015]; Available from: http://apps.who.int/gb/ar- chive/pdf_files/WHA53/ResWHA53/17.pdf. 2. 66th United Nations General Assembly. Resolution adopted by the General Assembly: 66/2: Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on the Pre- vention and Control of Non-communicable Diseases.Adopted September 19, 2011. Unit- ed Nations 2012 [cited 2015]; Available from: http://www.un.org/en/ga/search/view_doc. asp?symbol=%20A/RES/66/2. 3. World Healh Organization. Noncommunicable Diseases Global Monitoring Framework: Indicator Definitions and Specifications. World Healh Organization; 2014 [cited 2015]; Avail- able from: http://www.who.int/nmh/ncd-tools/indicators/GMF_Indicator_Definitions_Version_ NOV2014.pdf. 4.สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่6.เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย. คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2553 [cited 2015]; Available from: http://nha2013.samatcha. org/sites/default/files/NHA6_res6_2_NCD_annex.pdf. 5. สำ�นักงานวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤต สังคม. ทักษพล ธรรมรังสี, วีรนุช ว่องวรรธนะกุล, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, editors. นนทบุรี: สำ�นักงานวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2557. อ้างอิง
  • 26. 12
  • 27. 13 02
  • 28. 14 sNCD ©บับที่2 “Kick off to the Goals” บทที่ 2 วิชัย เอกพลากร* ธนพันธ์ สุขสอาด** และอรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์*** *ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ** แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ***ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สถานการณ์จำ�แนกตามตัวชี้วัดเบื้องต้น ทั้ง 9 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 1 อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 ปี ลดลงร้อยละ 25 แหล่งข้อมูล : ​แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย สำ�นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ รูปที่ 2A : ​ อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคปอดเรื้อรั้ง ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 พ.ศ. 2552, 2554 และ 2556 เปรียบเทียบกับ สถานการณ์เป้าหมายใน พ.ศ.2568 โดยใช้ พ.ศ. 2552 เป็นปีอ้างอิง ปี พ.ศ. อัตราตาย/ประชากร100,000คน ปี 2552 50 100 150 200 250 300 350 400 0 ปี 2554 ปี 2556 ปี 2558 ปี 2560 ปี 2562 ปี 2564 ปี 2566 ปี 2568 สถานการณ์เป้าหมาย สถานการณ์จริง 257.3 350.3 343.1 355.3 อัตราการตายก่อนวัยอันควรของประชากรไทยอายุระหว่าง 30-70 ปี ด้วย 4 โรคหลักของ NCDs คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ใน พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้เป็นปีสถานการณ์อ้างอิงในการดำ�เนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายระดับโลก เท่ากับ 343.06 ต่อประชากรแสนคน1 ดังนั้นเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2568 ที่ต้องการลดอัตรา ตายด้วย 4 โรคหลักของ NCDs ในประชากรอายุระหว่าง 30-70 ปี (อัตราตายก่อนวัยอันควร) ลง ร้อยละ 25 นั้น ค่าอัตราตายก่อนวัยอันควรของประชากรไทยด้วย 4 โรคหลักของ NCDs ควรต ํ่ากว่า 257.30 ต่อประชากรแสนคน2 แต่สถานการณ์ที่ผ่านมาใน พ.ศ. 2554 และ 2556 พบว่าอัตราการตายก่อนวัยอันควรของ ประชากรไทยด้วย 4 โรคหลักของ NCDs กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยมีอัตราตายเท่ากับ 350.3 และ 355.3 ต่อประชากรแสนคนตามลำ�ดับ3,4 (รูปที่ 2A) ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นจากปี อ้างอิงเท่ากับร้อยละ 3.6
  • 29. 15 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตัวชี้วัดที่ 2 ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากรต่อปีในประชากร อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10 รูปที่ 2B : ​ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ลิตร) ต่อหัวประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2553 – 2557 ปี2553 ปี2554 ปี2555 ปี2556 ปี2557 ปี2558 ปี2559 ปี2560 ปี2561 ปี2562 ปี2563 ปี2564 ปี2565 ปี2566 ปี2567 ปี2568 ปี พ.ศ. ปริมาณ(ลิตร/คน/ปี) 6.03 6.7 7.137.096.79 6.9 สถานการณ์เป้าหมาย สถานการณ์จริง 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 ​ การลดปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ลงร้อยละ 10 ประเทศไทยเลือกใช้ตัวชี้วัดเป็นปริมาณ การบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ต่อปี โดยใช้ข้อมูลจากกรม สรรพสามิต และสำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2553 เป็นปีสถานการณ์ อ้างอิงในการดำ�เนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายระดับโลก (วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา) โดย พบว่าปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรต่อปี ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ6.7ลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อคนต่อปีดังนั้นการจะบรรลุตามเป้าหมายการลดปริมาณการ บริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ต่อปีลงร้อยละ 10 ใน พ.ศ. 2568 นั้น ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรอายุตั้งแต่15ปีขึ้นไปต่อปีควรน้อยกว่า6.03ลิตร ของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อคนต่อปี ใน พ.ศ. 25682 จากรูปที่2Bแสดงให้เห็นปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรไทยในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.2553ถึงพ.ศ.2557มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยในพ.ศ.2557ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ต่อหัวประชากรไทยเท่ากับ 6.90 ลิตรต่อคนต่อปี5 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3 เมื่อ เทียบกับปีอ้างอิง
  • 30. 16 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตัวชี้วัดที่ 3​ ความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 10 รูปที่ 2C :​ ความชุก (ร้อยละ) ของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปสำ�รวจโดยสำ�นักงานสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยใช้แบบสอบถามGPAQใน ประชากรอายุตั้งแต่15ปีขึ้นไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์เป้าหมายในพ.ศ.2568โดยใช้ พ.ศ.2552 เป็นปีอ้างอิง แหล่งข้อมูล : การสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ความชุก(ร้อยละ) 25 20 15 10 5 0 ปี 2552 ปี 2557 ปี 2562 ปี 2568 ปี พ.ศ. สถานการณ์เป้าหมาย สถานการณ์จริง 18.5 19.2 16.7 สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอจากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจ ร่างกาย โดยใช้เกณฑ์การมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางถึงมาก น้อยกว่า 60 นาทีต่อวัน พบว่า ความชุกของประชาชนอายุมากกว่า15ปีที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอในพ.ศ.2552ซึ่งเป็นปีอ้างอิง เพื่อกำ�หนดเป้าหมาย พ.ศ. 2568 เท่ากับร้อยละ 18.5 ดังนั้น ถ้าประเทศไทยจะบรรลุตามเป้าหมาย ในการลดความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอลงร้อยละ10นั้นควรมีความชุกของประชาชน อายุมากกว่า 15 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอไม่เกินร้อยละ 16.65 ใน พ.ศ. 25682 ตัวชี้วัดที่3นี้เป็นตัวชี้วัดที่สำ�คัญและบ่งบอกถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการที่ จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ป้องกัน และควบคุมโรค NCDs ตั้งแต่ในระดับตัวบุคคล ซึ่งทำ�ได้ง่าย และใช้การลงทุนน้อยที่สุดแต่จากผลการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายพ.ศ.2557 พบว่าประชากรไทยมีแนวโน้มความชุกของการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเพิ่มขึ้นจากร้อยละ18.5 เป็น19.26 (รูปที่2C)ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ความ สำ�เร็จในการบรรลุ 9 เป้าหมายระดับโลกในปี 2568 อย่างชัดเจน
  • 31. 17 NCDs ©บับที่2 “Kick off to the Goals” ตัวชี้วัดที่ 4​ การบริโภคเกลือและโซเดียม ในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 30 จากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายใน พ.ศ. 2552 โดยใช้ข้อมูลการ สำ�รวจการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโซเดียมที่บริโภค พบว่าค่า มัธยฐานปริมาณโซเดียมที่บริโภคเท่ากับ3,246มิลลิกรัมต่อวัน(2,961.9–3,633.8มิลลิกรัมต่อวัน) ดังนั้นตามเป้าหมายที่กำ�หนดให้ลดการบริโภคโซเดียมในประชากรลงร้อยละ 30 ใน พ.ศ. 2568 นั้น ค่ามัธยฐานปริมาณการบริโภคโซเดียมในประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีค่าไม่เกิน 2,434.5 มิลลิกรัมต่อวัน2 นอกจากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแล้ว ใน พ.ศ.2552 กอง โภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ทำ�การสำ�รวจปริมาณการบริโภคโซเดียมคลอไรด์ของประชากรไทยจากอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีส่วนประกอบของโซเดียมคลอไรด์พบว่าคนไทยได้รับโซเดียมจากการบริโภคอาหารเฉลี่ยมากถึง 4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน7 จากการสำ�รวจข้างต้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าประชาชนไทยมีการบริโภคเกลือและโซเดียม ในปริมาณสูง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการบริโภคโซเดียมที่กำ�หนดให้ไม่ควรบริโภค เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แล้วพบว่าประชาชนไทยบริโภคเกลือเกินค่ามาตรฐานกว่า 2 เท่า แม้แต่ ค่าเป้าหมายที่กำ�หนดใน พ.ศ.2568 ก็ยังมีค่าเกินมาตรฐานเช่นกัน