SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
บทความวิชาการ ครั้งที่ 2
เรื่อง กลยุทธ์ของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติ
โดย คุณธงชัย เจริญรัชเดช หลักสูตร ปรอ. รุ่นที่ 21 รหัส 6066
บทนํา
สภาพการแข่งขันที่นับวันจะทวีความรุนแรงและผันผวนมากขึ้นในปัจจุบัน เมื่อพิจารณา
ตามส่วนผสมการตลาด พบว่าความสามารถในการสร้างความแตกต่างของสินค้ากลับไม่มีความ
ชัดเจนเท่าที่ควร เพราะความหลากหลายของสินค้าที่ออกสู่ตลาด รวมถึงการแข่งขันด้านราคา กลับ
ส่งผลเสียต่อผู้ผลิตในตลาดทั้งหมด ส่วนการส่งเสริมการตลาดได้มีการพัฒนาจนไม่สามารถสร้าง
ความได้เปรียบในการค้ามากนัก ขณะที่ช่องการจัดจําหน่ายยังเป็นแนวทางการดําเนินธุรกิจเดียวที่ดู
เหมือนว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด เนื่องจากหากผู้ประกอบการมีระบบช่อง
ทางการจัดจําหน่ายที่ดี จะช่วยเพิ่มโอกาสในการจําหน่ายสินค้ามากขึ้น ช่องทางการจัดจําหน่าย
กําลังกลายเป็นแนวรบใหม่ทางการค้าของธุรกิจแทบทุกประเภท โดยมีระบบที่เข้ามามีบทบาทและ
เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจําหน่ายก็คือ ระบบโลจิสติกส์ (Logistics)
ระบบโลจิสติกส์ คือ ระบบบริหารการสั่งซื้อ การจัดเตรียมวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายและ
การจัดเก็บวัตถุดิบสินค้าระหว่างการผลิต และสินค้าสําเร็จรูป รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดกําเนิด
สินค้า ผ่านขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้
งานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยวัตถุประสงค์การทํางานในทุกขั้นตอนเพื่อสร้าง
ความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เพิ่มกําไร ลดต้นทุน เป็นหัวใจหลัก การใช้โลจิสติกส์ พบว่าระบบนี้
ไม่ได้หมายถึงการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับที่รวดเร็วเพียงอย่างเดียว แต่โลจิสติกส์ยังมีหน้าที่
ประสานกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเชื่อมโยงประโยชน์ระหว่างขั้นตอนต่างๆ ทางธุรกิจที่ได้
ร่วมมือกันอยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน โดยโลจิสติกส์จะเน้นที่การจัดซื้อสินค้า ควบคุมสินค้า
คงคลังและการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ในการนําระบบโลจิสติกส์ไปใช้ในธุรกิจของแต่ละรายอาจมี
ความแตกต่างกันบ้าง ตามขั้นตอนการดําเนินงานและแนวทางธุรกิจที่ต่างกัน ซึ่งมีการทํางานของโล
จิสติกส์หลักที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ร่วมกับธุรกิจทุกประเภทได้ โดยผู้ประกอบการจําเป็นต้อง
รู้จักและสามารถอธิบายทุกขั้นตอนการทํางานแต่ละขั้นตอนไปจนถึงการไหลเชื่อมโยงกันทั้งระบบ
เพื่อนํามาออกแบบระบบโลจิสติกส์ของตนออกมาเพื่อดูว่าช่องโหว่ของระบบการทํางานที่ทําให้
สูญเสียต้นทุนคืออะไรและจะป้ องกันหรือพัฒนาระบบไปได้อย่างไร รวมถึงทําให้ทราบว่าควร
พัฒนาขั้นตอนการทํางานใดก่อนหลัง โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการทํางานของโลจิสติกส์ 3
ส่วนหลัก คือ การสั่งซื้อ การบริหารสินค้าคงคลัง และการบริหารการขนส่งและจัดส่งสินค้า
ระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Logistics)
โดยระบบการบริหารจัดการ E-Logistics นั้น อาจจะจําแนกได้เป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ตาม
ขนาดของการเชื่อมโยง และจํานวนของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ
1. ระบบ E-Logistics ในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าภาคธุรกิจ
โดยเฉพาะธุรกิจต่างชาติและธุรกิจไทยขนาดใหญ่ได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กร
และการเชื่อมโยงกับสํานักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสํานักงานสาขา บางกิจการได้พัฒนาไปสู่
การเป็น Best Practice ซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมโยงเฉพาะองค์กร, เชื่อมกับลูกค้า หรือคู่ค้า ซึ่งจะมี
จํานวนของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในระดับธุรกิจ มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร
และเครือข่ายของธุรกิจ โดยในส่วนนี้ เป็นการนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งทางด้าน Hardware,
Software และ People ware เข้ามาใช้ในการบริหารกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางด้านโลจิสติกส์ มีทั้งที่
สั่งซื้อ/นําเข้า-ส่งออกสินค้าโดยเชื่อมโยงเป็นระบบบูรณาการทั้งด้านการเงิน-บัญชี , การตลาด , การ
บริหารงานโลจิสติกส์และระบบการสร้างมูลค่าเพิ่มต่างๆ เช่นระบบ ERP : Enterprise Resource
Planning เป็นต้น รวมถึง ระบบที่ทําการพัฒนาขึ้นมาใช้เอง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการด้านโลจิ
สติกส์ และสนองตอบกับกระบวนการทํางานของแต่ละองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง
เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาทําให้ต้นทุนทั้งด้าน Software และ Hardware ให้มีราคาพอเหมาะ
กับกิจการของคนไทยสามารถนํามาใช้ได้ซึ่งกรณีของกลุ่มบริษัท V-serve Group ซึ่งดําเนินธุรกิจ
ให้บริการ Logistics Service ก็ได้มีการพัฒนาไปสู่องค์กร e-Logistics โดยได้มีการนําเอาระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ รวมถึงการตั้งทีมพัฒนาระบบ e-Logistics
System เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ ให้กับลูกค้าที่เป็น B2C และ
B2G เช่น ระบบที่ได้พัฒนาและใช้งานแล้ว ได้แก่ ระบบ Job Electronics Online System, E-
Tracking, E-Document Center, EDI., ebXML Paperless Customs, GPS Truck Tracking , WMS
: Warehouse Management System
2. ระบบ E-Logistics ในภาครัฐ หรือระดับประเทศ ในส่วนนี้ ถือเป็นระบบที่มองใน
ภาพรวมของกระบวนการ โลจิสติกส์ในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ เช่นกับกรม
ศุลกากร , การท่าเรือฯ หรือการท่าอากาศยาน หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกํากับควบคุม
และพิธีการต่างๆ เช่นกรมศุลกากร, กรมปศุสัตว์, กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อใช้เชื่อมโยงข้อมูล
กับบริษัทขนส่ง (Carries) เช่น บริษัทเดินเรือ สายการบิน, ธนาคาร และ สถาบันการเงิน, บริษัท
ประกันภัย, ผู้ให้บริการเสริมอื่นๆ, ผู้ให้บริการด้านไอซีที เช่น ISP, Gateway โดยทิศทางการพัฒนา
ระบบ E-Logistics System ของภาครัฐควรมุ่งเน้น เพื่อการนําระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นกลไก
ขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้มีการสนองตอบและสร้างความเชื่อมั่นให้กับแต่ละหน่วยงานทั้ง
ของภาครัฐและภาคธุรกิจในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในโซ่อุปทานอย่างเป็นบูรณาการใน
รูปแบบทั้ง B2B และ B2G เพื่อให้สามารถสนองตอบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
กิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า-บริการ การจัดเก็บและการกระจายสินค้าจาก Origin Sources ไปสู่
End User โดยนัยสําคัญของ e-Logistics ควรสนองตอบต่อประการแรก เพื่อการเชื่อมโยงระบบ
เครือข่ายข้อมูลภาครัฐ และ ภาคการขนส่ง ในกระบวนการนําเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ ให้เป็น
“การบริการเบ็ดเสร็จจากหน้าต่างเดียว” (Single Window Entry) โดยบทบาทความรับผิดชอบหลัก
ของหน่วยงานต่างๆ คงเดิม (เช่น การกํากับควบคุม การทดสอบ และ การอนุมติ เป็นต้น) ประการที่
สอง มุ่งสู่การพัฒนาระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ลดและทดแทนเอกสารกระดาษ และมุ่งไปสู่
ระบบการค้าไร้กระดาษ(Paperless Trade) ทั้งธุรกรรมภาครัฐและภาคธุรกิจ ประการที่สาม พัฒนา
ระบบการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานเพื่อการทํา Data
Crossing และ ลดการตรวจสอบเอกสารกระดาษ
การนําระบบ E-Logistics ไปใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรวางแผนการใช้
เทคโนโลยีในฐานะเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการ (Logistics Strategic Management) เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการดําเนินงานโดยรวมขององค์กรเป็นการลดต้นทุนในการเก็บสินค้า เพิ่ม
ความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความพึงพอใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะก่อให้เกิด
การทํางานที่เป็นแบบบูรณาการ และทําให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ได้สามารถส่งถึงกันและ
กันได้ทันท่วงที และมีความถูกต้องแม่นยํา ลดความผิดพลาดและลดต้นทุนรวม ซึ่งลักษณะของ
ข้อมูลสารสนเทศที่ดี คือ
มีสาระและอรรถประโยชน์ (Utility)
มีความถูกต้องแม่นยํา (Accuracy)
มีความเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific)
มีความทันสมัย (Update)
มีต้นทุนที่ประหยัด (Economical)
มีความเชื่อมโยง (Online / Network)
รูปแบบของ Logistics
1. โลจิสติกส์ภายในองค์กร (Internally Integrated Logistics)
เป็นรูปแบบการจัดการ ซึ่งธุรกิจได้นําเอาระบบโลจิสติกส์ เข้าไปขับเคลื่อนใน
กระบวนการต่างๆ องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการผลิตจะประกอบด้วย Suppliers ก็คือคู่ค้า หรือ
ผู้ขายวัตถุดิบและลูกค้า (Customers) ซึ่งต่างก็มีจํานวนหลายราย โดยธุรกิจจะต้องมีการจัดการ
ความสัมพันธ์ทั้ง 2 องค์ประกอบให้สอดคล้องระหว่างวัตถุดิบที่นํามาเพื่อผลิตเป็นสินค้าสําเร็จและ
ส่งมอบให้กับ Customers โดยจะต้องมีกระบวนการต่างๆของธุรกิจ อันได้แก่ การคาดคะเนยอดขาย
, การจัดซื้อ , คลังสินค้า , กระบวนการผลิต , การตลาด และการส่งมอบ กิจกรรมทั้งหมดนี้จะต้องมี
ความเป็นบูรณาการกันโลจิสติกส์จะเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมประสานช่องว่างของรอยต่อแต่ละ
กระบวนการ โดยความผิดพลาดหรือ Problems เกิดจากกระบวนการหนึ่ง จะส่งผลกระทบเป็น
ปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องไปจนถึงลูกค้าและหรือส่งผลต่อการงอกเงยของ Inventory Growth อย่างไร
ก็ดี การแก้ปัญหานี้จะสามารถดําเนินการได้ถ้าธุรกิจได้นําระบบ VMI : Vender Managed Inventory
มาใช้ในการควบคุมความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดซื้อกระบวนการผลิตและการส่งมอบ
2. โลจิสติกส์ ระหว่างองค์กร (Externally Integrated Logistics)
เป็นรูปแบบของการนําระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงธุรกิจภายนอกองค์กรทั้งกับคู่ค้า/ผู้ขาย
วัตถุดิบ (Suppliers) และลูกค้า (Customers) โดยที่ความหมายของโลจิสติกส์มุ่งเน้นถึงการเชื่อมโยง
ปฏิสัมพันธ์ตั้งแต่ผู้ผลิตต้นนํ้าหรือ Original Source ดังนั้น การบริหารโลจิสติกส์ที่จะก่อให้เกิด
ประสิทธิภาพได้นั้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับเฉพาะผู้ที่ขายสินค้าที่เป็น Direct Suppliers เท่านั้น แต่ต้อง
สืบสาวและให้เชื่อมโยงไปถึงผู้ขายวัตถุดิบให้กับ Direct Supplier เพราะการควบคุมการส่งมอบ
วัตถุดิบจากคู่ค้าให้เป็นแบบ Just in Time ซึ่งประสบผลสําเร็จได้นั้น คู่ค้าของคู่ค้า ก็จะต้องมีการ
สถาปนาระบบ Just In Time ด้วย มิฉะนั้น ปัญหา (Problems) ที่เกิดจากผู้ขายวัตถุดิบต้นนํ้าใน
ช่วงหนึ่งช่วงใดจะส่งต่อปัญหา (Problems) เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่จนมากระทบกับธุรกิจของเราเอง
และแน่นอนปัญหา(Problems) ทั้งหมดย่อมส่งต่อไปถึงลูกค้าที่เป็น Customers และส่งผ่านไปจนถึง
ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ที่เรียกว่า Consumption Source และที่สุดปฏิกิริยาโต้ตอบจากลูกค้าของลูกค้าจะ
ส่งผลกระทบ (Effects) สะท้อนกลับไปตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) รูปแบบของโลจิสติกส์ จึง
มีการเรียงกันเป็นกระบวนการที่เชื่อมต่อ โดยมีระบบ โลจิสติกส์ระหว่างองค์กรเป็นตัวเชื่อมโยง
ให้เกิดการบูรณาการ และการเชื่อมโยงดังกล่าวนี้ จึงถูกเรียกเป็นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
หรือ Supply Chain Management
จากบริบทของการพัฒนา E-Logistics จะเข้ามามีบทบาททั้งภาครัฐ, ภาคธุรกิจ และ
ภาคอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กร จะต้องนําระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ใน
การดําเนินกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ แต่การที่ธุรกิจจะเริ่มต้นนําระบบ E-Logistics ใดๆ มาใช้
จําเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการเลือกซื้อระบบงานแต่ละระบบ โดยจะต้องครอบคลุม
การทํางาน และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งก็แล้วแต่ประเภทธุรกิจ และขนาดขององค์กร ไม่
เช่นนี้จะกลายเป็น “ค่าโง่” และความสูญเปล่าที่ทําให้เกิดต้นทุน และเป็นภาระมากกว่าที่จะช่วยลด
ภาระ ส่งผลให้แทนที่จะเป็นลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ตามที่คาดหวังไว้กลับเป็นการเพิ่ม Cost และ
เพิ่ม Lead Time โดยส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบัน ผู้พัฒนาจะพัฒนาและแยกจําหน่ายเป็น Module
เพื่อให้สามารถ Customize ให้กับลูกค้าแต่ละรายได้ (แต่ก็มีข้อจํากัดของการปรับแก้ของแต่ละ
ซอฟต์แวร์แตกต่างกัน) จึงควรมีการศึกษาข้อมูลและมีการออกแบบระบบอย่างรอบคอบ หากจะซื้อ
ทั้งระบบจากต่างประเทศก็ต้องแน่ใจว่าระบบนั้นสอดคล้องกับลักษณะการทํางานของประเทศ
ไทย และต้องมีการได้ทดลองใช้ในฟังก์ชั่นที่ต้องการ ก่อนการตัดสินใจซื้อ รวมถึงต้องพิจารณาถึง
การบริการ, การรับประกัน รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่มีผลในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่
หน่วยงานของรัฐก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ e-Logistics จะต้องให้มีการเห็นพ้องกับภาคธุรกิจในฐานะทั้ง
ที่เป็นลูกค้าและเป็นผู้รับบริการเกี่ยวกับข้อกําหนด ทางด้านเทคนิค ที่สําคัญของระบบ E-Logistics
System เช่น ระบบ Interconnection (การเชื่อมโยง) คือ การกําหนดมาตรฐานด้านการเชื่อมโยง
เครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างองค์กร เช่น ebXML, ebMS, ebXML over
SMTP, CPA ระบบ Data Exchange คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการบูรณาการข้อมูล เช่น XML
Schema, XML Namespaces รวมถึง ระบบ Content Management Metadata คือ การกําหนด
พจนานุกรมข้อมูลและ คําอธิบายรูปแบบข้อมูล หรือข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (data about
data) เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้รับคืออะไร นอกจากนี้ ต้องคํานึงถึงความสะดวกของผู้ใช้ และการ
ป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
การจัดการผู้ให้บริการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ
3PL : Third Party Logistics เป็นผู้ให้บริการภายนอกในงานโลจิสติกส์ ซึ่งเป็น
ผู้ประกอบการ ภายนอก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานหนึ่งงานใด ซึ่งมีความสามารถที่จะ
เข้ารับบทบาททํางานนั้นได้ดีกว่าที่องค์กรจะดําเนินการด้วยตนเอง โดยมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทั้ง
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การให้ผู้ประกอบการให้บริการภายนอก รับ
งานที่มีความสําคัญที่น้อยกว่าไปทํา โดยองค์กรเลือกที่จะดําเนินงานเฉพาะที่มีความสําคัญที่คุ้มค่า
กว่า โดยอาจให้คํานิยามได้ว่า ผู้ให้บริการ 3PL เป็นผู้ให้บริการงานที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์ประเภท
ต่างๆ ซึ่งการให้บริการจะต้องอาศัยทักษะและเทคโนโลยี รวมทั้ง เครือข่ายธุรกิจซึ่งสอดคล้องกับ
ลักษณะงานของผู้ว่าจ้าง โดยลักษณะงานที่ให้บริการจะมีหลากหลาย เช่น การกระจายสินค้า , การ
วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการส่งมอบสินค้า , การบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ โดยเป็นตัวแทนของผู้
ว่าจ้าง (User) กับลูกค้าหรือคู่ค้า และมีการเชื่อมโยงมีความเป็นบูรณาการที่เป็น “Logistics
Integrated Service” ซึ่งมีลักษณะการให้บริการที่ต่างกับผู้ให้บริการประเภท Subcontractor ซึ่งเป็น
รูปแบบการให้บริการแบบตัดช่วงงาน ซึ่งมีการแบ่งงานที่ไม่ซับซ้อนให้กับผู้ให้บริการภายนอก
รับเหมาไปจัดการ ซึ่งอาจเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในลักษณะที่ไม่ต้องใช้แรงงาน ,
ทักษะ หรือเทคโนโลยีมากนัก หรือเป็นงานที่ใช้ความเสี่ยงที่สูง ซึ่งจะเป็นการประหยัดกว่าให้ผู้ให้
บริการภายนอกรับงานไป อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าจ้าง อาจใช้ผู้ให้บริการประเภท 3PL หลายรายหรือใช้
บริการร่วมกับผู้ให้บริการ “Subcontract” โดยผู้ว่าจ้างยังคงเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ
เพื่อให้งานซึ่งมอบหมายให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายมีการเชื่อมโยงกัน
กิจกรรมที่สําคัญของการจัดการ Logistics หรือที่เรียกว่า “RIMS”
1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของ
กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่
อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics
2. การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) เนื่องจาก Logistics นั้น ได้
ครอบคลุมถึงกระบวนการตลาด ดังนั้นการจัดการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร จึงมีความสําคัญต่อ
Logistics ซึ่งจะตั้งอยู่บน Platform ของ Information Technology
3. การจัดการวัตถุดิบและสินค้า (Material Management) เนื่องจาก Logistics จะเกี่ยวกับ
ส่วนที่เป็นกายภาพ (Physical Part) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การ Desire รูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ วิธีการออกแบบ Packaging ของสินค้า , วิธีการที่จะเก็บรักษา และทุกกระบวนการที่
เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการผลิตต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง
4. การจัดการกิจกรรมผู้ให้บริการ Logistics Provider หรือ Carriage Provider เป็น
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคัดสรร เลือกสรร และการใช้ผู้ให้บริการ Logistics ซึ่งหมายถึง ธุรกิจผู้
ให้บริการในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Logistics เช่น ผู้ให้บริการคลังสินค้า , ผู้ให้บริการขนส่ง
ต่างๆ ทั้งการขนส่งทางบก , ทางนํ้า และทางอากาศ หรือทางท่อ , ผู้ให้บริการ Packing สินค้า ฯลฯ
ซึ่งผู้ประกอบการเข้าสู่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพได้จะต้องเข้าใจถึงวิธีการจัดการ ผู้ให้บริการ
ภายนอกหรือเรียกว่า Out sources subcontractors ซึ่งจะต้องมีเทคนิคและการจัดการ ผู้ให้บริการ
Logistics Provider จาก Subcontractors ให้กลายเป็น Business Partners และใช้เป็นกลยุทธ์ที่สําคัญ
ในการทําธุรกิจให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน (New Competition
Paradigm )
การจัดการ “RIMS” ทั้ง 4 ปัจจัยนั้น การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) จึง
เป็นงานที่มีความสําคัญสูงสุด ซึ่งจะต้องศึกษาถึง CRM หรือ Customers Relationship Management
ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การจัดการ “RIMS” ก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก ในบางทฤษฎี อาจจะเรียกว่า
5 FIRMS คือเพิ่มปัจจัย Found คือรายได้หรือทุน ซึ่งใช้ในการดําเนินการใน Logistics & Supply แต่
ผู้เขียนเห็นว่า Found ควรจัดอยู่ใน Finance Factor ซึ่งมีรายละเอียดมาก โดยบทความนี้มุ่งทําความ
เข้าใจกับผู้ศึกษาในฐานะเป็นตําราพื้นฐานของ Supply Chain เท่านั้น จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็น
Cost Centers คือ เป็นการใช้ระบบที่เรียกว่าต้นทุนรวมศูนย์ อาจกล่าวได้ว่ากระแสที่เกิดจาก
การตลาดยุคใหม่ที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์ (Market Globalization) ซึ่งเป็นตลาดในยุคโลกไร้พรมแดน
โดยมีกลไกการค้า World Trade Organization หรือ WTO , WCO (องค์กรศุลกากรโลก) หรือ
Incoterms ซึ่งล้วนแต่มีส่วนกําหนดและผลักดันบทบาท ให้ Logistics กลายเป็นกลไกการค้าโลก
โดยประโยชน์ที่สําคัญของ Logistics นอกเหนือจาก Just In Time Delivery แล้ว ยังเป็นการ Value
Chain ให้กับทุกกิจกรรมใน Supply Chain และเป็นการเพิ่มการผลิตและบริการ (Productivity) เป็น
การลดต้นทุนรวม ทําให้มีส่วนต่างของกําไร (Gain) สูงขึ้นและสามารถสนองตอบในการสร้าง
ความพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction) ทําให้ระบบการจัดการตลาดเป็น Total
Integrated Marketing นําไปสู่ World Class Business และ Global Niche คือ การวางตําแหน่งธุรกิจ
ในระดับโลก
ความแตกต่างของโลจิสติกส์ และ Supply Chain
โลจิสติกส์ เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจาก ผู้ผลิตไปยัง
ผู้บริโภค รวมถึงขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บสินค้าคงคลังด้วย ดังนั้น ทั้ง Logistics และ
Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ ยากที่จะแยกแยะ โดย Robert B.
Handfield ได้กล่าวว่า “The scope of the logistics strategy is now the entire supply chain” โดยหาก
เทียบกับร่างกายเป็น Supply Chain แล้ว หัวใจและเส้นเลือดก็อาจเปรียบเสมือนกับ Logistics โดยมี
สมองเป็นศูนย์ ควบคุม ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับระบบ IT นั่นเอง ดังนั้นในกระบวนการค้า
ปัจจุบัน โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานจะต้องไปด้วยกันหรือควบคู่กันเสมอ แต่ก็ใช่ว่า
จะ กลมกลืนเป็นส่วนเดียวกันที่เดียว เพราะหากจะมองในอีกมิติแล้วจะพบว่าโดยเนื้อแท้แล้วต่างก็
เป็นกิจกรรมคนละส่วน ต่างมีหน้าที่และดําเนินกิจกรรมที่เป็นการเฉพาะตัว เพียงแต่ว่านําบทบาท
ของทั้งสองกิจกรรมมาต่อเชื่อมกันเป็นบูรณาการ (Integration) คือเป็นแบบบูรณาการคล้ายกับการ
Merge รวมบริษัท 2 บริษัทไว้ด้วยกัน โดยแต่ละบริษัทฯ ก็ยังดําเนินธุรกิจของตนเอง ดังนั้นอาจมีผู้
เข้าใจผิดว่าหากจะพูดถึง Supply Chain ก็ใช่ว่าจะพูดถึง Logistics ในลักษณะที่แยกส่วนไม่ได้ ใน
บางตําราอาจไม่ยอมรับให้มีการแยกจัดการ Logistics ออกมาจาก Supply Chain Management แต่
ทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มีมุมมองว่า ถึงแม้ว่า ห่วงโซ่อุปทานจะเป็นเรื่องของบูรณาการ
(Integration) แต่การที่จะเข้าใจได้ถ่องแท้ เพื่อนําไปประยุกต์ใช้งานได้จริงนั้น ก็จะต้องทําความ
เข้าใจกิจกรรมของ Logistics ในลักษณะที่แยกส่วน คือ ให้เห็นความแตกต่างของ Logistics กับ
Supply Chain ให้ชัดเจนก่อน คือ อยากจะให้มอง Supply Chain ที่เป็นกระบวนการในการจัดการ
เพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตและกระบวนการทางการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลด
ต้นทุนรวมและให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องเกิดขึ้นในระหว่างองค์กร
จําเป็นที่จะต้องอาศัยเครือข่ายและการกระจายต้นทุน ที่เรียกว่า Cost Sharing ดังนั้น Supply Chain
จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรวมพลังและความร่วมมือ ทั้งในแต่ละกระบวนการภายในองค์กร
และต่างองค์กร ที่เรียกว่า Synergy ซึ่งกิจกรรมของ Supply Chain จึงต้องอาศัยผู้ให้บริการภายนอก
(Outsources) หรือ Logistics Provider ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการแต่ละกระบวนการของ Supply
Chain จะถูกเชื่อม โดยกิจกรรมของ Logistics ในการส่งต่อและการเปลี่ยนมือในการเป็นเจ้าของ
สินค้า (ชั่วขณะหนึ่ง) โดยกิจกรรมต่างๆนั้นจะมีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร เพื่อทําให้ห่วงโซ่
อุปทานเป็นห่วงโซ่ที่เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงวงแหวน แบบบูรณาการได้อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่า
หน้าที่หลักของ Logistics จึงเป็นกระบวนการที่มีกิจกรรมที่เน้นการส่งต่อของสินค้าและบริการ จึง
เป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย (Moving) การให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบและการกระจายซึ่ง
สินค้าและบริการจนถึงผู้รับหน่วยสุดท้าย โดยทั้งโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็ล้วนมีไว้เพิ่มให้
ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน (Core Competency) ดังนั้นทางโลจิ
สติกส์และซัพพลายเชน จะมีความสัมพันธ์กันและโดยข้อเท็จจริงก็ยากที่จะแยกจากกัน
บทสรุป
การพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคธุรกิจของไทย ยังมีความแตกต่างกันมาก กล่าวได้ว่า
สถานภาพการพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคบริการโลจิสติกส์ของไทย หากเป็นธุรกิจให้บริการข้ามชาติ
ก็จะมีเทคโนโลยีและความพร้อม และมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงกว่า ผู้ประกอบการคน
ไทยซึ่งส่วนใหญ่จะให้บริการโลจิสติกส์เฉพาะในส่วนของภาคการขนส่ง ซึ่งโลจิสติกส์ไม่มี
บทบาทสําคัญในธุรกิจ SMEs หรือจะมีบทบาทบ้างแต่ก็เป็นบางส่วนเท่านั้น การขาดความรู้ความ
เข้าใจในโลจิสติกส์ทําให้ช่องว่างระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และ SMEsขนาดเล็กขยายตัวมากยิ่งขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่บริหารงานโดยคนรุ่นใหม่ มีบางส่วน
ที่แสดงความพยายามที่จะทําความเข้าใจการบริหารงานโลจิสติกส์ ปัญหาความยากลําบากในการ
ปรับปรุงงานโลจิสติกส์เพราะจําเป็นต้องประสานงานกับทั้งในระดับผู้จัดการและระดับล่างซึ่งไม่มี
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลจิสติกส์ แนวความคิดของงาน Supply Chain ทั้งการจัดการโลจิสติกส์
จะสําเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ผู้บริหาร TOP Management , ผู้บริหาร-ผู้จัดการและ
ผู้ปฏิบัติงานไปจนถึงขั้นตอนในส่วนปลาย คือ การขนส่งและส่งมอบสินค้า โดยปัจจัยสําคัญซึ่ง
เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคธุรกิจก็คือปัญหาการขาดบุคลากร โดยองค์กร
ภาคเอกชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยผู้ที่มีความรู้และ
ประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์อยู่ไม่มากนักในตลาดแรงงาน ในปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษาหลายๆ
หน่วยที่เปิดหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ที่เปิดสอนในหน่วยงาน
การศึกษาส่วนใหญ่มักจะเป็นการสอนในเชิงทฤษฎีที่ไม่สามารถที่จะนําไปใช้งานได้จริงในธุรกิจ
เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้มักลอกเลียนมาจากตําราตําราของต่างประเทศ และอาจารย์ผู้สอนก็ไม่มี
ประสบการณ์ในการทํางานซึ่งเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ การตื่นตัวของภาครัฐ, เอกชนและภาค
การศึกษาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นแฟชั่นและโลจิสติกส์ถูกใช้เป็นหลักสูตรหาเงิน
ของหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งเน้นที่รายได้มากกว่าคุณภาพ ส่งผลให้เป็นนักศึกษาซึ่งจบวิชาเอกใน
สาขาวิชาด้านโลจิสติกส์มาก็ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานได้ทันที เพราะอาจารย์เองยังไม่
รู้จักโลจิสติกส์ว่าเป็นอย่างไร อ่านตําราฝรั่งแล้วทํา Power Point นักศึกษาที่จบ จึงไม่ค่อยมี
คุณภาพ ทั้งนี้ จําเป็นที่ธุรกิจแต่ละแห่งต้องทําการฝึกสอนโดยให้พนักงานที่รับเข้ามาใหม่เรียนรู้
จากการทํางาน โดยกว่าจะเริ่มมีทักษะจนเป็นงานจริงๆจําเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกอย่างตํ่า 1
ปี นอกจากนี้ การที่งานบางส่วนของโลจิสติกส์ เช่น งานขนส่งรถบรรทุก งานควบคุมโกดังเป็น
งานที่ไม่ได้รับคนซึ่งมีความรู้พื้นฐานเข้าไปทําในช่วงต้นก่อนที่จะมีการนําระบบโลจิสติกส์เข้า
มา จึงมักที่จะได้ผู้ที่ไม่มีความสามารถเท่าที่ควรมาทําหน้าที่ในด้านจัดซื้อ, ด้านขนส่ง,ด้าน
คลังสินค้า ดังนั้นภายหลังจากการนําระบบโลจิสติกส์เข้ามา คนเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์ใน
งานด้านโกดังและการขนส่งแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทําให้คนเหล่านี้เข้าใจถึงแนวความคิดในการ
บริหารงานใหม่ได้ อย่างไรก็ดี องค์กรทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจที่จะ เริ่มพัฒนาระบบ
E-Logistics ขึ้นมาใช้งาน ทั้งที่ใช้กับระบบงานขององค์กรเอง และการเชื่อมโยงกับระบบงานอื่นทั้ง
ภาครัฐ และภาคธุรกิจนั้น จําเป็นจะต้องพิจารณาเลือกใช้ทีมพัฒนาที่ไว้ใจได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่
ทันสมัย ไม่ตกยุค รวมถึงต้องคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญ และข้อกําหนดทางด้านเทคนิค ที่สําคัญ
ของระบบ E-Logistics เพื่อให้การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กร สามารถนําไปใช้งานได้
จริงตามเป้าหมายที่วางไว้ สามารถพัฒนาต่อเนื่องและรองรับการเชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์
ของหน่วยงานอื่นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
รศ.ดร.กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. “การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (SUPPLY
CHAIN & LOGISTICS MANAGEMENT)”. สํานักพิมพ์ท้อป
เว็ปไซต์สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย http://www.tnsc.com
เว็ปไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki

More Related Content

What's hot

Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
พัน พัน
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Kittichai Pinlert
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
Rapheephan Phola
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ไพบููลย์ หัดรัดชัย
 
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
พัน พัน
 
2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ
Bengelo
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
thnaporn999
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
krupornpana55
 
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
Nattapon
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
พัน พัน
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
พัน พัน
 
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
thnaporn999
 
2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม
krupornpana55
 

What's hot (20)

Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
บทที่ 4 การพยากรณ์
บทที่ 4 การพยากรณ์บทที่ 4 การพยากรณ์
บทที่ 4 การพยากรณ์
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ
 
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
 
โครงงาน ระดับ ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
โครงงาน ระดับ ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นโครงงาน ระดับ ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
โครงงาน ระดับ ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
 
2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
 
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
 
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
 
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุกสคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
 
จดหมายขอบคุณช่วยเหลือน้ำท่วมจากสำนักนายก
จดหมายขอบคุณช่วยเหลือน้ำท่วมจากสำนักนายกจดหมายขอบคุณช่วยเหลือน้ำท่วมจากสำนักนายก
จดหมายขอบคุณช่วยเหลือน้ำท่วมจากสำนักนายก
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
 
2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม2ใบกิจกรรม
2ใบกิจกรรม
 

Similar to ความสำคัญของโลจิสติกส์

ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทยปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
Punyapon Tepprasit
 
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศบทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
Prakaywan Tumsangwan
 
How platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจ
How platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจHow platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจ
How platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจ
maruay songtanin
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Settapong Malisuwan
 
การจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
การจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยการจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
การจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
Punyapon Tepprasit
 
การจัดการ..ลอจิสติกส์
การจัดการ..ลอจิสติกส์การจัดการ..ลอจิสติกส์
การจัดการ..ลอจิสติกส์
ThoughtTum
 
บทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจบทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
Prakaywan Tumsangwan
 

Similar to ความสำคัญของโลจิสติกส์ (20)

Km16-17
Km16-17Km16-17
Km16-17
 
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทยปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
 
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
 
It
ItIt
It
 
2560 project แฟรงเซฟ
2560 project แฟรงเซฟ2560 project แฟรงเซฟ
2560 project แฟรงเซฟ
 
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศบทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
 
Is201ch01 Laddawan
Is201ch01 LaddawanIs201ch01 Laddawan
Is201ch01 Laddawan
 
How platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจ
How platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจHow platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจ
How platforms reshaping business แพลตฟอร์มเปลี่ยนโฉมธุรกิจ
 
การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ของบริษัท ...
การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ของบริษัท ...การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ของบริษัท ...
การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ของบริษัท ...
 
กลยุทธ์การจัดการองค์การ บริษัทมติชน จำกัด
กลยุทธ์การจัดการองค์การ  บริษัทมติชน จำกัดกลยุทธ์การจัดการองค์การ  บริษัทมติชน จำกัด
กลยุทธ์การจัดการองค์การ บริษัทมติชน จำกัด
 
Chapter1 kc
Chapter1 kcChapter1 kc
Chapter1 kc
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
การจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
การจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยการจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
การจัดการกลยุทธ์ซัพพลายเชน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
 
OMNICONNECTTH
OMNICONNECTTHOMNICONNECTTH
OMNICONNECTTH
 
การจัดการ..ลอจิสติกส์
การจัดการ..ลอจิสติกส์การจัดการ..ลอจิสติกส์
การจัดการ..ลอจิสติกส์
 
Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11
 
บทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจบทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
บทที่ 5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
 

ความสำคัญของโลจิสติกส์

  • 1. บทความวิชาการ ครั้งที่ 2 เรื่อง กลยุทธ์ของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติ โดย คุณธงชัย เจริญรัชเดช หลักสูตร ปรอ. รุ่นที่ 21 รหัส 6066 บทนํา สภาพการแข่งขันที่นับวันจะทวีความรุนแรงและผันผวนมากขึ้นในปัจจุบัน เมื่อพิจารณา ตามส่วนผสมการตลาด พบว่าความสามารถในการสร้างความแตกต่างของสินค้ากลับไม่มีความ ชัดเจนเท่าที่ควร เพราะความหลากหลายของสินค้าที่ออกสู่ตลาด รวมถึงการแข่งขันด้านราคา กลับ ส่งผลเสียต่อผู้ผลิตในตลาดทั้งหมด ส่วนการส่งเสริมการตลาดได้มีการพัฒนาจนไม่สามารถสร้าง ความได้เปรียบในการค้ามากนัก ขณะที่ช่องการจัดจําหน่ายยังเป็นแนวทางการดําเนินธุรกิจเดียวที่ดู เหมือนว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด เนื่องจากหากผู้ประกอบการมีระบบช่อง ทางการจัดจําหน่ายที่ดี จะช่วยเพิ่มโอกาสในการจําหน่ายสินค้ามากขึ้น ช่องทางการจัดจําหน่าย กําลังกลายเป็นแนวรบใหม่ทางการค้าของธุรกิจแทบทุกประเภท โดยมีระบบที่เข้ามามีบทบาทและ เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจําหน่ายก็คือ ระบบโลจิสติกส์ (Logistics)
  • 2. ระบบโลจิสติกส์ คือ ระบบบริหารการสั่งซื้อ การจัดเตรียมวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายและ การจัดเก็บวัตถุดิบสินค้าระหว่างการผลิต และสินค้าสําเร็จรูป รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดกําเนิด สินค้า ผ่านขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ งานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยวัตถุประสงค์การทํางานในทุกขั้นตอนเพื่อสร้าง ความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เพิ่มกําไร ลดต้นทุน เป็นหัวใจหลัก การใช้โลจิสติกส์ พบว่าระบบนี้ ไม่ได้หมายถึงการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับที่รวดเร็วเพียงอย่างเดียว แต่โลจิสติกส์ยังมีหน้าที่ ประสานกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเชื่อมโยงประโยชน์ระหว่างขั้นตอนต่างๆ ทางธุรกิจที่ได้ ร่วมมือกันอยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน โดยโลจิสติกส์จะเน้นที่การจัดซื้อสินค้า ควบคุมสินค้า คงคลังและการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ในการนําระบบโลจิสติกส์ไปใช้ในธุรกิจของแต่ละรายอาจมี ความแตกต่างกันบ้าง ตามขั้นตอนการดําเนินงานและแนวทางธุรกิจที่ต่างกัน ซึ่งมีการทํางานของโล จิสติกส์หลักที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ร่วมกับธุรกิจทุกประเภทได้ โดยผู้ประกอบการจําเป็นต้อง รู้จักและสามารถอธิบายทุกขั้นตอนการทํางานแต่ละขั้นตอนไปจนถึงการไหลเชื่อมโยงกันทั้งระบบ เพื่อนํามาออกแบบระบบโลจิสติกส์ของตนออกมาเพื่อดูว่าช่องโหว่ของระบบการทํางานที่ทําให้ สูญเสียต้นทุนคืออะไรและจะป้ องกันหรือพัฒนาระบบไปได้อย่างไร รวมถึงทําให้ทราบว่าควร พัฒนาขั้นตอนการทํางานใดก่อนหลัง โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการทํางานของโลจิสติกส์ 3 ส่วนหลัก คือ การสั่งซื้อ การบริหารสินค้าคงคลัง และการบริหารการขนส่งและจัดส่งสินค้า ระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Logistics) โดยระบบการบริหารจัดการ E-Logistics นั้น อาจจะจําแนกได้เป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ตาม ขนาดของการเชื่อมโยง และจํานวนของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ 1. ระบบ E-Logistics ในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจต่างชาติและธุรกิจไทยขนาดใหญ่ได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กร และการเชื่อมโยงกับสํานักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสํานักงานสาขา บางกิจการได้พัฒนาไปสู่ การเป็น Best Practice ซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมโยงเฉพาะองค์กร, เชื่อมกับลูกค้า หรือคู่ค้า ซึ่งจะมี จํานวนของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในระดับธุรกิจ มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร
  • 3. และเครือข่ายของธุรกิจ โดยในส่วนนี้ เป็นการนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งทางด้าน Hardware, Software และ People ware เข้ามาใช้ในการบริหารกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางด้านโลจิสติกส์ มีทั้งที่ สั่งซื้อ/นําเข้า-ส่งออกสินค้าโดยเชื่อมโยงเป็นระบบบูรณาการทั้งด้านการเงิน-บัญชี , การตลาด , การ บริหารงานโลจิสติกส์และระบบการสร้างมูลค่าเพิ่มต่างๆ เช่นระบบ ERP : Enterprise Resource Planning เป็นต้น รวมถึง ระบบที่ทําการพัฒนาขึ้นมาใช้เอง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการด้านโลจิ สติกส์ และสนองตอบกับกระบวนการทํางานของแต่ละองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาทําให้ต้นทุนทั้งด้าน Software และ Hardware ให้มีราคาพอเหมาะ กับกิจการของคนไทยสามารถนํามาใช้ได้ซึ่งกรณีของกลุ่มบริษัท V-serve Group ซึ่งดําเนินธุรกิจ ให้บริการ Logistics Service ก็ได้มีการพัฒนาไปสู่องค์กร e-Logistics โดยได้มีการนําเอาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ รวมถึงการตั้งทีมพัฒนาระบบ e-Logistics System เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ ให้กับลูกค้าที่เป็น B2C และ B2G เช่น ระบบที่ได้พัฒนาและใช้งานแล้ว ได้แก่ ระบบ Job Electronics Online System, E- Tracking, E-Document Center, EDI., ebXML Paperless Customs, GPS Truck Tracking , WMS : Warehouse Management System 2. ระบบ E-Logistics ในภาครัฐ หรือระดับประเทศ ในส่วนนี้ ถือเป็นระบบที่มองใน ภาพรวมของกระบวนการ โลจิสติกส์ในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ เช่นกับกรม ศุลกากร , การท่าเรือฯ หรือการท่าอากาศยาน หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกํากับควบคุม และพิธีการต่างๆ เช่นกรมศุลกากร, กรมปศุสัตว์, กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อใช้เชื่อมโยงข้อมูล กับบริษัทขนส่ง (Carries) เช่น บริษัทเดินเรือ สายการบิน, ธนาคาร และ สถาบันการเงิน, บริษัท ประกันภัย, ผู้ให้บริการเสริมอื่นๆ, ผู้ให้บริการด้านไอซีที เช่น ISP, Gateway โดยทิศทางการพัฒนา ระบบ E-Logistics System ของภาครัฐควรมุ่งเน้น เพื่อการนําระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นกลไก ขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้มีการสนองตอบและสร้างความเชื่อมั่นให้กับแต่ละหน่วยงานทั้ง ของภาครัฐและภาคธุรกิจในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในโซ่อุปทานอย่างเป็นบูรณาการใน รูปแบบทั้ง B2B และ B2G เพื่อให้สามารถสนองตอบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ กิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า-บริการ การจัดเก็บและการกระจายสินค้าจาก Origin Sources ไปสู่ End User โดยนัยสําคัญของ e-Logistics ควรสนองตอบต่อประการแรก เพื่อการเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายข้อมูลภาครัฐ และ ภาคการขนส่ง ในกระบวนการนําเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ ให้เป็น “การบริการเบ็ดเสร็จจากหน้าต่างเดียว” (Single Window Entry) โดยบทบาทความรับผิดชอบหลัก ของหน่วยงานต่างๆ คงเดิม (เช่น การกํากับควบคุม การทดสอบ และ การอนุมติ เป็นต้น) ประการที่ สอง มุ่งสู่การพัฒนาระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ลดและทดแทนเอกสารกระดาษ และมุ่งไปสู่ ระบบการค้าไร้กระดาษ(Paperless Trade) ทั้งธุรกรรมภาครัฐและภาคธุรกิจ ประการที่สาม พัฒนา
  • 4. ระบบการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานเพื่อการทํา Data Crossing และ ลดการตรวจสอบเอกสารกระดาษ การนําระบบ E-Logistics ไปใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรวางแผนการใช้ เทคโนโลยีในฐานะเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการ (Logistics Strategic Management) เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดําเนินงานโดยรวมขององค์กรเป็นการลดต้นทุนในการเก็บสินค้า เพิ่ม ความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความพึงพอใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะก่อให้เกิด การทํางานที่เป็นแบบบูรณาการ และทําให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ได้สามารถส่งถึงกันและ กันได้ทันท่วงที และมีความถูกต้องแม่นยํา ลดความผิดพลาดและลดต้นทุนรวม ซึ่งลักษณะของ ข้อมูลสารสนเทศที่ดี คือ มีสาระและอรรถประโยชน์ (Utility) มีความถูกต้องแม่นยํา (Accuracy) มีความเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific) มีความทันสมัย (Update) มีต้นทุนที่ประหยัด (Economical) มีความเชื่อมโยง (Online / Network) รูปแบบของ Logistics
  • 5. 1. โลจิสติกส์ภายในองค์กร (Internally Integrated Logistics) เป็นรูปแบบการจัดการ ซึ่งธุรกิจได้นําเอาระบบโลจิสติกส์ เข้าไปขับเคลื่อนใน กระบวนการต่างๆ องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการผลิตจะประกอบด้วย Suppliers ก็คือคู่ค้า หรือ ผู้ขายวัตถุดิบและลูกค้า (Customers) ซึ่งต่างก็มีจํานวนหลายราย โดยธุรกิจจะต้องมีการจัดการ ความสัมพันธ์ทั้ง 2 องค์ประกอบให้สอดคล้องระหว่างวัตถุดิบที่นํามาเพื่อผลิตเป็นสินค้าสําเร็จและ ส่งมอบให้กับ Customers โดยจะต้องมีกระบวนการต่างๆของธุรกิจ อันได้แก่ การคาดคะเนยอดขาย , การจัดซื้อ , คลังสินค้า , กระบวนการผลิต , การตลาด และการส่งมอบ กิจกรรมทั้งหมดนี้จะต้องมี ความเป็นบูรณาการกันโลจิสติกส์จะเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมประสานช่องว่างของรอยต่อแต่ละ กระบวนการ โดยความผิดพลาดหรือ Problems เกิดจากกระบวนการหนึ่ง จะส่งผลกระทบเป็น ปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องไปจนถึงลูกค้าและหรือส่งผลต่อการงอกเงยของ Inventory Growth อย่างไร ก็ดี การแก้ปัญหานี้จะสามารถดําเนินการได้ถ้าธุรกิจได้นําระบบ VMI : Vender Managed Inventory มาใช้ในการควบคุมความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดซื้อกระบวนการผลิตและการส่งมอบ 2. โลจิสติกส์ ระหว่างองค์กร (Externally Integrated Logistics) เป็นรูปแบบของการนําระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงธุรกิจภายนอกองค์กรทั้งกับคู่ค้า/ผู้ขาย วัตถุดิบ (Suppliers) และลูกค้า (Customers) โดยที่ความหมายของโลจิสติกส์มุ่งเน้นถึงการเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์ตั้งแต่ผู้ผลิตต้นนํ้าหรือ Original Source ดังนั้น การบริหารโลจิสติกส์ที่จะก่อให้เกิด ประสิทธิภาพได้นั้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับเฉพาะผู้ที่ขายสินค้าที่เป็น Direct Suppliers เท่านั้น แต่ต้อง สืบสาวและให้เชื่อมโยงไปถึงผู้ขายวัตถุดิบให้กับ Direct Supplier เพราะการควบคุมการส่งมอบ วัตถุดิบจากคู่ค้าให้เป็นแบบ Just in Time ซึ่งประสบผลสําเร็จได้นั้น คู่ค้าของคู่ค้า ก็จะต้องมีการ สถาปนาระบบ Just In Time ด้วย มิฉะนั้น ปัญหา (Problems) ที่เกิดจากผู้ขายวัตถุดิบต้นนํ้าใน ช่วงหนึ่งช่วงใดจะส่งต่อปัญหา (Problems) เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่จนมากระทบกับธุรกิจของเราเอง และแน่นอนปัญหา(Problems) ทั้งหมดย่อมส่งต่อไปถึงลูกค้าที่เป็น Customers และส่งผ่านไปจนถึง ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ที่เรียกว่า Consumption Source และที่สุดปฏิกิริยาโต้ตอบจากลูกค้าของลูกค้าจะ ส่งผลกระทบ (Effects) สะท้อนกลับไปตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) รูปแบบของโลจิสติกส์ จึง มีการเรียงกันเป็นกระบวนการที่เชื่อมต่อ โดยมีระบบ โลจิสติกส์ระหว่างองค์กรเป็นตัวเชื่อมโยง ให้เกิดการบูรณาการ และการเชื่อมโยงดังกล่าวนี้ จึงถูกเรียกเป็นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Management จากบริบทของการพัฒนา E-Logistics จะเข้ามามีบทบาททั้งภาครัฐ, ภาคธุรกิจ และ ภาคอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กร จะต้องนําระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ใน การดําเนินกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ แต่การที่ธุรกิจจะเริ่มต้นนําระบบ E-Logistics ใดๆ มาใช้ จําเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการเลือกซื้อระบบงานแต่ละระบบ โดยจะต้องครอบคลุม การทํางาน และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งก็แล้วแต่ประเภทธุรกิจ และขนาดขององค์กร ไม่
  • 6. เช่นนี้จะกลายเป็น “ค่าโง่” และความสูญเปล่าที่ทําให้เกิดต้นทุน และเป็นภาระมากกว่าที่จะช่วยลด ภาระ ส่งผลให้แทนที่จะเป็นลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ตามที่คาดหวังไว้กลับเป็นการเพิ่ม Cost และ เพิ่ม Lead Time โดยส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบัน ผู้พัฒนาจะพัฒนาและแยกจําหน่ายเป็น Module เพื่อให้สามารถ Customize ให้กับลูกค้าแต่ละรายได้ (แต่ก็มีข้อจํากัดของการปรับแก้ของแต่ละ ซอฟต์แวร์แตกต่างกัน) จึงควรมีการศึกษาข้อมูลและมีการออกแบบระบบอย่างรอบคอบ หากจะซื้อ ทั้งระบบจากต่างประเทศก็ต้องแน่ใจว่าระบบนั้นสอดคล้องกับลักษณะการทํางานของประเทศ ไทย และต้องมีการได้ทดลองใช้ในฟังก์ชั่นที่ต้องการ ก่อนการตัดสินใจซื้อ รวมถึงต้องพิจารณาถึง การบริการ, การรับประกัน รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่มีผลในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ หน่วยงานของรัฐก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ e-Logistics จะต้องให้มีการเห็นพ้องกับภาคธุรกิจในฐานะทั้ง ที่เป็นลูกค้าและเป็นผู้รับบริการเกี่ยวกับข้อกําหนด ทางด้านเทคนิค ที่สําคัญของระบบ E-Logistics System เช่น ระบบ Interconnection (การเชื่อมโยง) คือ การกําหนดมาตรฐานด้านการเชื่อมโยง เครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างองค์กร เช่น ebXML, ebMS, ebXML over SMTP, CPA ระบบ Data Exchange คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการบูรณาการข้อมูล เช่น XML Schema, XML Namespaces รวมถึง ระบบ Content Management Metadata คือ การกําหนด พจนานุกรมข้อมูลและ คําอธิบายรูปแบบข้อมูล หรือข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (data about data) เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้รับคืออะไร นอกจากนี้ ต้องคํานึงถึงความสะดวกของผู้ใช้ และการ ป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกด้วย การจัดการผู้ให้บริการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ 3PL : Third Party Logistics เป็นผู้ให้บริการภายนอกในงานโลจิสติกส์ ซึ่งเป็น ผู้ประกอบการ ภายนอก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานหนึ่งงานใด ซึ่งมีความสามารถที่จะ
  • 7. เข้ารับบทบาททํางานนั้นได้ดีกว่าที่องค์กรจะดําเนินการด้วยตนเอง โดยมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทั้ง ประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การให้ผู้ประกอบการให้บริการภายนอก รับ งานที่มีความสําคัญที่น้อยกว่าไปทํา โดยองค์กรเลือกที่จะดําเนินงานเฉพาะที่มีความสําคัญที่คุ้มค่า กว่า โดยอาจให้คํานิยามได้ว่า ผู้ให้บริการ 3PL เป็นผู้ให้บริการงานที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์ประเภท ต่างๆ ซึ่งการให้บริการจะต้องอาศัยทักษะและเทคโนโลยี รวมทั้ง เครือข่ายธุรกิจซึ่งสอดคล้องกับ ลักษณะงานของผู้ว่าจ้าง โดยลักษณะงานที่ให้บริการจะมีหลากหลาย เช่น การกระจายสินค้า , การ วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการส่งมอบสินค้า , การบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ โดยเป็นตัวแทนของผู้ ว่าจ้าง (User) กับลูกค้าหรือคู่ค้า และมีการเชื่อมโยงมีความเป็นบูรณาการที่เป็น “Logistics Integrated Service” ซึ่งมีลักษณะการให้บริการที่ต่างกับผู้ให้บริการประเภท Subcontractor ซึ่งเป็น รูปแบบการให้บริการแบบตัดช่วงงาน ซึ่งมีการแบ่งงานที่ไม่ซับซ้อนให้กับผู้ให้บริการภายนอก รับเหมาไปจัดการ ซึ่งอาจเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในลักษณะที่ไม่ต้องใช้แรงงาน , ทักษะ หรือเทคโนโลยีมากนัก หรือเป็นงานที่ใช้ความเสี่ยงที่สูง ซึ่งจะเป็นการประหยัดกว่าให้ผู้ให้ บริการภายนอกรับงานไป อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าจ้าง อาจใช้ผู้ให้บริการประเภท 3PL หลายรายหรือใช้ บริการร่วมกับผู้ให้บริการ “Subcontract” โดยผู้ว่าจ้างยังคงเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ เพื่อให้งานซึ่งมอบหมายให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายมีการเชื่อมโยงกัน กิจกรรมที่สําคัญของการจัดการ Logistics หรือที่เรียกว่า “RIMS” 1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของ กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่ อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics 2. การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) เนื่องจาก Logistics นั้น ได้ ครอบคลุมถึงกระบวนการตลาด ดังนั้นการจัดการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร จึงมีความสําคัญต่อ Logistics ซึ่งจะตั้งอยู่บน Platform ของ Information Technology 3. การจัดการวัตถุดิบและสินค้า (Material Management) เนื่องจาก Logistics จะเกี่ยวกับ ส่วนที่เป็นกายภาพ (Physical Part) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การ Desire รูปแบบ ผลิตภัณฑ์ วิธีการออกแบบ Packaging ของสินค้า , วิธีการที่จะเก็บรักษา และทุกกระบวนการที่ เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการผลิตต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง 4. การจัดการกิจกรรมผู้ให้บริการ Logistics Provider หรือ Carriage Provider เป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคัดสรร เลือกสรร และการใช้ผู้ให้บริการ Logistics ซึ่งหมายถึง ธุรกิจผู้ ให้บริการในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Logistics เช่น ผู้ให้บริการคลังสินค้า , ผู้ให้บริการขนส่ง ต่างๆ ทั้งการขนส่งทางบก , ทางนํ้า และทางอากาศ หรือทางท่อ , ผู้ให้บริการ Packing สินค้า ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการเข้าสู่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพได้จะต้องเข้าใจถึงวิธีการจัดการ ผู้ให้บริการ
  • 8. ภายนอกหรือเรียกว่า Out sources subcontractors ซึ่งจะต้องมีเทคนิคและการจัดการ ผู้ให้บริการ Logistics Provider จาก Subcontractors ให้กลายเป็น Business Partners และใช้เป็นกลยุทธ์ที่สําคัญ ในการทําธุรกิจให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน (New Competition Paradigm ) การจัดการ “RIMS” ทั้ง 4 ปัจจัยนั้น การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) จึง เป็นงานที่มีความสําคัญสูงสุด ซึ่งจะต้องศึกษาถึง CRM หรือ Customers Relationship Management ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การจัดการ “RIMS” ก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก ในบางทฤษฎี อาจจะเรียกว่า 5 FIRMS คือเพิ่มปัจจัย Found คือรายได้หรือทุน ซึ่งใช้ในการดําเนินการใน Logistics & Supply แต่ ผู้เขียนเห็นว่า Found ควรจัดอยู่ใน Finance Factor ซึ่งมีรายละเอียดมาก โดยบทความนี้มุ่งทําความ เข้าใจกับผู้ศึกษาในฐานะเป็นตําราพื้นฐานของ Supply Chain เท่านั้น จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็น Cost Centers คือ เป็นการใช้ระบบที่เรียกว่าต้นทุนรวมศูนย์ อาจกล่าวได้ว่ากระแสที่เกิดจาก การตลาดยุคใหม่ที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์ (Market Globalization) ซึ่งเป็นตลาดในยุคโลกไร้พรมแดน โดยมีกลไกการค้า World Trade Organization หรือ WTO , WCO (องค์กรศุลกากรโลก) หรือ Incoterms ซึ่งล้วนแต่มีส่วนกําหนดและผลักดันบทบาท ให้ Logistics กลายเป็นกลไกการค้าโลก โดยประโยชน์ที่สําคัญของ Logistics นอกเหนือจาก Just In Time Delivery แล้ว ยังเป็นการ Value Chain ให้กับทุกกิจกรรมใน Supply Chain และเป็นการเพิ่มการผลิตและบริการ (Productivity) เป็น การลดต้นทุนรวม ทําให้มีส่วนต่างของกําไร (Gain) สูงขึ้นและสามารถสนองตอบในการสร้าง ความพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction) ทําให้ระบบการจัดการตลาดเป็น Total Integrated Marketing นําไปสู่ World Class Business และ Global Niche คือ การวางตําแหน่งธุรกิจ ในระดับโลก ความแตกต่างของโลจิสติกส์ และ Supply Chain
  • 9. โลจิสติกส์ เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจาก ผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภค รวมถึงขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บสินค้าคงคลังด้วย ดังนั้น ทั้ง Logistics และ Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ ยากที่จะแยกแยะ โดย Robert B. Handfield ได้กล่าวว่า “The scope of the logistics strategy is now the entire supply chain” โดยหาก เทียบกับร่างกายเป็น Supply Chain แล้ว หัวใจและเส้นเลือดก็อาจเปรียบเสมือนกับ Logistics โดยมี สมองเป็นศูนย์ ควบคุม ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับระบบ IT นั่นเอง ดังนั้นในกระบวนการค้า ปัจจุบัน โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานจะต้องไปด้วยกันหรือควบคู่กันเสมอ แต่ก็ใช่ว่า จะ กลมกลืนเป็นส่วนเดียวกันที่เดียว เพราะหากจะมองในอีกมิติแล้วจะพบว่าโดยเนื้อแท้แล้วต่างก็ เป็นกิจกรรมคนละส่วน ต่างมีหน้าที่และดําเนินกิจกรรมที่เป็นการเฉพาะตัว เพียงแต่ว่านําบทบาท ของทั้งสองกิจกรรมมาต่อเชื่อมกันเป็นบูรณาการ (Integration) คือเป็นแบบบูรณาการคล้ายกับการ Merge รวมบริษัท 2 บริษัทไว้ด้วยกัน โดยแต่ละบริษัทฯ ก็ยังดําเนินธุรกิจของตนเอง ดังนั้นอาจมีผู้ เข้าใจผิดว่าหากจะพูดถึง Supply Chain ก็ใช่ว่าจะพูดถึง Logistics ในลักษณะที่แยกส่วนไม่ได้ ใน บางตําราอาจไม่ยอมรับให้มีการแยกจัดการ Logistics ออกมาจาก Supply Chain Management แต่ ทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มีมุมมองว่า ถึงแม้ว่า ห่วงโซ่อุปทานจะเป็นเรื่องของบูรณาการ (Integration) แต่การที่จะเข้าใจได้ถ่องแท้ เพื่อนําไปประยุกต์ใช้งานได้จริงนั้น ก็จะต้องทําความ เข้าใจกิจกรรมของ Logistics ในลักษณะที่แยกส่วน คือ ให้เห็นความแตกต่างของ Logistics กับ Supply Chain ให้ชัดเจนก่อน คือ อยากจะให้มอง Supply Chain ที่เป็นกระบวนการในการจัดการ เพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตและกระบวนการทางการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลด ต้นทุนรวมและให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องเกิดขึ้นในระหว่างองค์กร จําเป็นที่จะต้องอาศัยเครือข่ายและการกระจายต้นทุน ที่เรียกว่า Cost Sharing ดังนั้น Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรวมพลังและความร่วมมือ ทั้งในแต่ละกระบวนการภายในองค์กร และต่างองค์กร ที่เรียกว่า Synergy ซึ่งกิจกรรมของ Supply Chain จึงต้องอาศัยผู้ให้บริการภายนอก (Outsources) หรือ Logistics Provider ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการแต่ละกระบวนการของ Supply Chain จะถูกเชื่อม โดยกิจกรรมของ Logistics ในการส่งต่อและการเปลี่ยนมือในการเป็นเจ้าของ สินค้า (ชั่วขณะหนึ่ง) โดยกิจกรรมต่างๆนั้นจะมีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร เพื่อทําให้ห่วงโซ่ อุปทานเป็นห่วงโซ่ที่เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงวงแหวน แบบบูรณาการได้อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่า หน้าที่หลักของ Logistics จึงเป็นกระบวนการที่มีกิจกรรมที่เน้นการส่งต่อของสินค้าและบริการ จึง เป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย (Moving) การให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบและการกระจายซึ่ง สินค้าและบริการจนถึงผู้รับหน่วยสุดท้าย โดยทั้งโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็ล้วนมีไว้เพิ่มให้ ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน (Core Competency) ดังนั้นทางโลจิ สติกส์และซัพพลายเชน จะมีความสัมพันธ์กันและโดยข้อเท็จจริงก็ยากที่จะแยกจากกัน
  • 10. บทสรุป การพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคธุรกิจของไทย ยังมีความแตกต่างกันมาก กล่าวได้ว่า สถานภาพการพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคบริการโลจิสติกส์ของไทย หากเป็นธุรกิจให้บริการข้ามชาติ ก็จะมีเทคโนโลยีและความพร้อม และมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงกว่า ผู้ประกอบการคน ไทยซึ่งส่วนใหญ่จะให้บริการโลจิสติกส์เฉพาะในส่วนของภาคการขนส่ง ซึ่งโลจิสติกส์ไม่มี บทบาทสําคัญในธุรกิจ SMEs หรือจะมีบทบาทบ้างแต่ก็เป็นบางส่วนเท่านั้น การขาดความรู้ความ เข้าใจในโลจิสติกส์ทําให้ช่องว่างระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และ SMEsขนาดเล็กขยายตัวมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่บริหารงานโดยคนรุ่นใหม่ มีบางส่วน ที่แสดงความพยายามที่จะทําความเข้าใจการบริหารงานโลจิสติกส์ ปัญหาความยากลําบากในการ ปรับปรุงงานโลจิสติกส์เพราะจําเป็นต้องประสานงานกับทั้งในระดับผู้จัดการและระดับล่างซึ่งไม่มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลจิสติกส์ แนวความคิดของงาน Supply Chain ทั้งการจัดการโลจิสติกส์ จะสําเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ผู้บริหาร TOP Management , ผู้บริหาร-ผู้จัดการและ ผู้ปฏิบัติงานไปจนถึงขั้นตอนในส่วนปลาย คือ การขนส่งและส่งมอบสินค้า โดยปัจจัยสําคัญซึ่ง เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคธุรกิจก็คือปัญหาการขาดบุคลากร โดยองค์กร ภาคเอกชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยผู้ที่มีความรู้และ ประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์อยู่ไม่มากนักในตลาดแรงงาน ในปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษาหลายๆ หน่วยที่เปิดหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ที่เปิดสอนในหน่วยงาน การศึกษาส่วนใหญ่มักจะเป็นการสอนในเชิงทฤษฎีที่ไม่สามารถที่จะนําไปใช้งานได้จริงในธุรกิจ เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้มักลอกเลียนมาจากตําราตําราของต่างประเทศ และอาจารย์ผู้สอนก็ไม่มี ประสบการณ์ในการทํางานซึ่งเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ การตื่นตัวของภาครัฐ, เอกชนและภาค การศึกษาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นแฟชั่นและโลจิสติกส์ถูกใช้เป็นหลักสูตรหาเงิน ของหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งเน้นที่รายได้มากกว่าคุณภาพ ส่งผลให้เป็นนักศึกษาซึ่งจบวิชาเอกใน สาขาวิชาด้านโลจิสติกส์มาก็ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานได้ทันที เพราะอาจารย์เองยังไม่ รู้จักโลจิสติกส์ว่าเป็นอย่างไร อ่านตําราฝรั่งแล้วทํา Power Point นักศึกษาที่จบ จึงไม่ค่อยมี คุณภาพ ทั้งนี้ จําเป็นที่ธุรกิจแต่ละแห่งต้องทําการฝึกสอนโดยให้พนักงานที่รับเข้ามาใหม่เรียนรู้ จากการทํางาน โดยกว่าจะเริ่มมีทักษะจนเป็นงานจริงๆจําเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกอย่างตํ่า 1 ปี นอกจากนี้ การที่งานบางส่วนของโลจิสติกส์ เช่น งานขนส่งรถบรรทุก งานควบคุมโกดังเป็น งานที่ไม่ได้รับคนซึ่งมีความรู้พื้นฐานเข้าไปทําในช่วงต้นก่อนที่จะมีการนําระบบโลจิสติกส์เข้า มา จึงมักที่จะได้ผู้ที่ไม่มีความสามารถเท่าที่ควรมาทําหน้าที่ในด้านจัดซื้อ, ด้านขนส่ง,ด้าน คลังสินค้า ดังนั้นภายหลังจากการนําระบบโลจิสติกส์เข้ามา คนเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์ใน งานด้านโกดังและการขนส่งแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทําให้คนเหล่านี้เข้าใจถึงแนวความคิดในการ บริหารงานใหม่ได้ อย่างไรก็ดี องค์กรทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจที่จะ เริ่มพัฒนาระบบ
  • 11. E-Logistics ขึ้นมาใช้งาน ทั้งที่ใช้กับระบบงานขององค์กรเอง และการเชื่อมโยงกับระบบงานอื่นทั้ง ภาครัฐ และภาคธุรกิจนั้น จําเป็นจะต้องพิจารณาเลือกใช้ทีมพัฒนาที่ไว้ใจได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัย ไม่ตกยุค รวมถึงต้องคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญ และข้อกําหนดทางด้านเทคนิค ที่สําคัญ ของระบบ E-Logistics เพื่อให้การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กร สามารถนําไปใช้งานได้ จริงตามเป้าหมายที่วางไว้ สามารถพัฒนาต่อเนื่องและรองรับการเชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของหน่วยงานอื่นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 12. เอกสารอ้างอิง รศ.ดร.กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. “การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (SUPPLY CHAIN & LOGISTICS MANAGEMENT)”. สํานักพิมพ์ท้อป เว็ปไซต์สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย http://www.tnsc.com เว็ปไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki