SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 14
Baixar para ler offline
1.1 การทำเครื่องจักสาน ในประเทศไทย   มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักโบ ราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสาน ในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ . กาญจนบุรี ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณ ว่ามีอายุราว  4,000  ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบภาชนะดินเผา ที่มีร่องรอยของเครื่องจักสานปรากฎอยู่ ซึ่งนำไปสู่การสัน นิษฐานว่าเครื่องจักสานเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดิน เผาคือภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียง   อ . หนองหาน จ . อุดรธานี เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายอ่างมีร่องรอย  ของเครื่องจักสาน ประทับอยู่บนผิวด้านนอก
1.2 การทำเครื่องจักสานยุคแรกๆ   มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหา ได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถามาสานมาขัดเป็นรูป ทรงง่าย ๆ เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อ ใช้สำหรับปูลาด รองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนา มาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อ   ๆมา
1.3 การทำเครื่องจักสานยุคต่อมา   เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆขึ้น เพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและ สานกันของวัสดุที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ นั้นขึ้น ตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ประสาน กับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้น ๆ
การทำเครื่องจักสานพื้นบ้านภาคเหนือหรือล้านนาไทยนั้น ทำสืบต่อกันมาแต่โบราณ ดังมีหลักฐานปรากฏในภาพ จิตรกรรมฝาผนังหลายแห่ง เช่น ภาพชาวบ้านกับเครื่องจักสานในภาพจิตรกรรม ฝาผนังวิหารวัดพระสิงห์วรวิหารอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพชาวบ้าน กำลังนั่งสนทนากันอยู่ ข้างๆ ตัวมีภาชนะจักสานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เปี้ยด หรือกระบุงวางอยู่ รูปทรงของเปี้ยดในภาพคล้ายกับเปี้ยดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าชาวล้านนาสาน เปี้ยดใช้มานานนับร้อยปี นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสิงห์วรวิหารแล้ว ยังมีภาพของ เครื่องจักสานปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกหลายภาพ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน นอกจากนี้ วัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวของชาวเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเครื่อง จักสานที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคข้าวเหนียวหลายอย่าง เช่น ลังถึงก๋วย ซ้าหวด ก่องข้าว  กระติบข้าว แอบข้าวขันโตก ฯลฯ เครื่องจักสานเหล่านี้หลายชนิดมีลักษณะเฉพาะถิ่นโดดเด่น  เครื่องจักสานของภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ น้ำทุ่ง หรือน้ำถุ้ง  เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ยาด้วยชันและน้ำมันยาง ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ รูปร่างของน้ำ ทุ่งเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีคือ มีลักษณะคล้ายกรวยป้อมๆ ส่วนก้นมนแหลม ที่ปากมีไม้ไขว้กันเป็นหูสำหรับผูกกับเชือกเพื่อสาวน้ำทุ่งขึ้นมาจากบ่อน้ำ ความมน  แหลมของก้นน้ำทุ่งจะช่วยให้น้ำทุ่งโคลงตัวคว่ำลงให้น้ำเข้าเมื่อโยนลงไปในบ่อ นอกจากนี้ ลักษณะการสานที่แข็งแรงยังช่วยให้น้ำทุ่งมีความทนทาน แม้ในปัจจุบันจะมีผู้ผลิตน้ำทุ่งด้วยสังกะสีแต่ความคงทน และประโยชน์ใช้สอยสู้น้ำทุ่งที่สานด้วยไม้ไผ่ไม่ได้ แสดงว่าเครื่องจักสานพื้นบ้านที่คนโบราณผลิตขึ้นนั้น  เลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี           นอกจากตัวอย่างของเครื่องจักสานไม้ไผ่ภาคเหนือดังกล่าวแล้ว  ยังมีเครื่องจักสานที่ใช้ในชีวิตประจำวันอีกหลายชนิด เช่น ซ้าหวด กัวะข้าว ก่องข้าว แอบข้าว โตก ฝาชี แอบหมาก แอบเมี้ยง ซ้าชนิดต่างๆ หมวกหรือกุบ ก๋วยก๋วยก้า  ก๋วยหมู ก๋วยโจน เข่งลำไย ซ้าล้อม ซ้าตาห่าง ซ้าตาทึบ หรือบุงตีบ น้ำทุ่ง น้ำเต้ คุ วี ต่างเปี้ยด หรือบุงชนิดต่างๆ เปลเด็ก เอิบ ไซชนิดต่างๆ สุ่ม ฯลฯ 2.1เครื่องจักสานในภาคเหนือ
2.2เครื่องจักสานภาคกลาง เครื่องจักสานภาคกลางส่วนมากทำจากไม้ไผ่มากกว่าวัสดุอื่น ซึ่งแบ่งออกตามหน้าที่ใช้สอยเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นภาชนะ    ได้แก่กระบุง กระจาด กระทาย กระบา กระทอ กระพ้อม กระเชอ กระเช้า กระพอก ชะลอม ตะกร้อ ปุ้งกี๋ หลัว ตะกร้า เข่ง ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องตวง    ได้แก่กระชุ สัด กระบุง ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้ในครัวเรือน    ได้แก่พัด กระชอน ตะแกรง ฝาชี กระด้ง หวด ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องประกอบอาคารบ้านเรือน    ได้แก่ ฝาบ้าน พื้นบ้าน หลังคา ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องจับดักสัตว์และขังสัตว์น้ำ    ได้แก่ ชนาง ลอบ สุ่ม ไซ กระบัง กระจู้ กระชัง ตะข้อง ตะแกรง จั่น ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆเช่น    เสื่อลำแพน    แผงรั้ว กรงนก สุ่มไก่ เป็นต้น          นอกจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ซึ่งเป็นเครื่องจักสานที่ทำกันแพร่หลายแล้ว ในภาคกลางยังมีเครื่องจักสานที่ทำจากวัสดุอื่นๆ อีก ได้แก่ หวาย ใบลาน ใบตาล เป็นต้น  นอกจากเครื่องจักสานภาคกลางที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นแล้ว เครื่องจักสานพื้นบ้านภาคกลางยังมีรูปแบบเฉพาะถิ่นที่แตกต่างไปจากเครื่องจักสานภาคอื่นอีกหลายอย่างเช่น เครื่องจักสานที่ใช้จับดักสัตว์น้ำ ที่มีรูปร่างตามสภาพภูมิประเทศ เช่น เครื่องจักสานที่ใช้ในแม่น้ำ จะมีขนาดสูงใหญ่อย่างกระชังเลี้ยงปลาตามแม่น้ำ มีขนาดใหญ่ สานด้วยไม้ไผ่กว้างประมาณ ๑ - ๒ วา ยาวประมาณ ๒ - ๓ วา สานเป็นสี่เหลี่ยมหรือรูปไข่ มีฝาหรือไม่มีฝาก็ได้    ใช้ลอยในแม่น้ำลำคลอง โดยมีแพไม้ไผ่หรือลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นขนาบไม่ให้กระชังจม กระชังชนิดนี้ใช้เลี้ยงปลาจำพวกปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาบู่ เป็นต้น ถ้าเป็นกระชังขนาดเล็กกว่านี้จะใช้ขังปลาที่จับได้เอาไว้ขายหรือบริโภคนานๆ นอกจากกระชังแล้วยังมีเครื่องจักสานจำพวก ลอบ ไซ ที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง มักมีขนาดสูงใหญ่ตามความลึกความตื้นของแม่น้ำลำ   คลองที่ใช้เครื่องดักจับสัตว์น้ำนั้นๆ เช่น ลอบยืน ขนาดใหญ่ใช้สำหรับดักปลาตามริมแม่น้ำลำคลองมักจะสูงมาก ถ้าเป็นไซ อีจู้ สำหรับดักกุ้งตามลำคลองและทุ่งนา จะมีขนาดเล็กกว่า           นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในการจับและดักสัตว์น้ำแล้ว ยังมีเครื่องจักสานที่ใช้ในครัวเรือนอีกหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปตามประโยชน์ใช้สอย
2.3เครื่องจักสานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ            เครื่องจักสานภาคอีสานที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวที่สำคัญ คือ ก่องข้าว และกระติบ            ก่องข้าวและกระติบของชาวอีสาน ในบริเวณอีสานกลางและอีสานใต้มีรูปแบบเฉพาะตนที่ต่างกัน โดยมีรูปแบบและวิธีการสานที่เป็นของตนเองตามความนิยมของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ    ก่องข้าวที่ใช้กันในบริเวณอีสานกลาง    โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามร้อยเอ็ด ขอนแก่น นั้นมีลักษณะและรูปแบบต่างไปจากกระติบข้าวที่สานด้วยไม้ไผ่ของถิ่นอื่นๆก่องข้าวชนิดนี้คล้ายกับก่องข้าวภาคเหนือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน ฐาน ทำด้วยไม้ตามแต่จะหาได้ เป็นแผ่นไม้กากบาทไหว้กันเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับตั้ง บางทีก็แกะเป็นลวดลายเพื่อความสวยงามไปด้วย ตัวก่องข้าว สานด้วยไม้ไผ่ซ้อนกัน ๒ ชั้น เป็นรูปคล้ายโถ โดยมี ฝา รูปร่างเหมือนฝาชีครอบอีกชั้นหนึ่ง ขอบฝาจะใช้ก้านตาลเหลาเป็นแผ่นบางๆ โค้งทำขอบฝาเพื่อความคงทน การสานก่องข้าวชนิดนี้จะต้องสานตัวก่องข้าวซ้อนกัน ๒ ชั้น เพื่อให้เก็บความร้อนได้ดีโดยที่จะสานโครงชั้นในก่อนด้วยลายสองที่ก้นเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม เพื่อให้เกิดมุมสี่มุมสำหรับผูกกับไม้กากบาทที่เป็นฐานได้สะดวก เสร็จแล้วจึงสานส่วนต่อขึ้นมาเป็นตัวก่องข้าวด้วยลายขัด ( ภาษาถิ่นเรียก  " ลายกราว ")    โดยใช้ตอกตะแคงเส้นเล็กๆ จนได้ขนาดตามต้องการ แล้วจึงสานตัวก่องข้าวด้านนอกครอบอีกชั้นหนึ่งด้วยตอกปื้นเป็นลายสองยืน หรือลายสองเวียน เพื่อให้เกิดความสวยงาม ตัวก่องข้าวที่สานหุ้มนี้จะต้องสานให้ใหญ่กว่าตัวแบบภายใน แล้วพับปากก่องข้าวหุ้มกลับเข้าไปภายในเพื่อความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่งโดยใช้เส้นหวายผูกคาดไว้ภายนอกเพื่อรับขอบของฝาไปในตัว เมื่อได้ตัวก่องข้าวแล้วจึงทำฐานให้ผายออกรับกับรูปทรงของก่องข้าวด้วย ไม้ฐานนี้จะผูกติดกับส่วนก้นสี่มุมด้วยหวาย เมื่อได้ตัวก่องข้าวพร้อมฐานแล้วจึงสานฝา ซึ่งมักจะสานด้วยตอกปื้นค่อนข้างใหญ่เป็นลายต่างๆ แล้วแต่จะเรียกโดยสานเป็นรูปคล้ายฝาชี    เมื่อได้ส่วนประกอบที่สำคัญพร้อมแล้วจะต้องทำหูสำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้สะพายบ่าหรือใช้แขวน จากรูปทรงและวิธีการของก่องข้าวแบบนี้จะเห็นว่าเป็นการสร้างรูปแบบของเครื่องใช้ให้สนองประโยชน์ใช้สอยได้ดีนั่นเองก่องข้าวชนิดนี้มีความสมบูรณ์ทั้งรูปทรงที่สวยงามและใช้ประโยชน์ได้ดีด้วย            ภาชนะจักสานสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันในอีสานเหนือ คือ  " กระติบ " ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เช่นเดียวกัน แต่รูปแบบและวิธีการสานแตกต่างออกไป กระติบมีรูปร่างทรงกระบอกคล้ายกระป๋องไม่มีขา มีเพียงส่วนตัวกระติบและส่วนฝาเท่านั้น วิธีการสานจะสานด้วยตอกไม้เฮี้ยะซึ่งเป็นตอกอ่อนๆ โดยจะสานเป็นรูปทรงกระบอกให้มีความยาวเป็นสองเท่าของความสูงของตัวกระติบที่ต้องการ เสร็จแล้วต้องพับทบกลับส่วนหนึ่งไว้เป็นด้านในตัวกระติบ ก่องข้าวชนิดนี้จะสานลายด้านในและด้านนอกต่างกันคือส่วนที่จะพับทบกลับไว้ด้านในนั้นจะสานด้วยลายอำเวียน ส่วนด้านนอกที่ต้องการความสวยงามจะสานด้วยลายสองยืน หรือยกดอกเพื่อความสวยงาม ส่วนก้นจะต้องสานเป็นแผ่นกลมๆ ต่างหากแต่นำมาผนึกติดกับตัวกระติบภายหลัง ส่วนฝากระติบก็จะทำเช่นเดียวกับตัวกระติบ กระติบชนิดนี้บางครั้งอาจจะใช้ก้านตาลขดเป็นวงทำเป็นส่วนฐาน เพื่อความคงทนด้วย           อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างก่องข้างและกระติบ เกิดจากความนิยมของท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นที่ทำสืบทอดต่อๆ กันมาแต่บรรพบุรุษปัจจุบัน ก่องข้าวและกระติบยังคงรักษารูปทรงและลักษณะเฉพาะถิ่นของตนไว้ได้    เพราะผู้สานแต่ละถิ่นมักมีความถนัดและเคยชินในการทำตามแบบอย่างของตนมากกว่าที่จะเลียนแบบก่องข้าวถิ่นอื่น แม้ปัจจุบันเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสานจะมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น เพิ่มสีสันหรือนำวัสดุสมัยใหม่ เช่น พลาสติก เข้ามาประยุกต์ใช้ประกอบกับเครื่องจักสาน ซึ่งเป็นไปตามสมัยนิยมมากกว่าความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบดั้งเดิมของตน แต่ในที่สุดก่องข้าวไม้ไผ่ก็ยังเป็นที่นิยมของชาวบ้านมากกว่าภาชนะชนิดอื่น
2.4เครื่องจักสานภาคใต้              ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ใน      การทำเครื่องจักสานได้หลายชนิด เช่น ไม้ไผ่ หวาย กระจูด และ ย่านลิเภา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตเครื่องจักสานของภาคใต้ มีเครื่องจักสานหลายอย่างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่ต่างไปจากเครื่องจักสานอื่นๆ เช่นเครื่องจักสานย่านลิเภาที่ทำกันมากในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องจักสานกระจูดทำกันมากในหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และปัตตานี นอกจากนี้ก็มีเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ทำกันทั่วไปแทบทุกจังหวัด            เครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจมีหลายชนิดแต่มีเครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่สร้างตามความต้องการในการใช้สอยตามสังคมเกษตรกรรมของชาวใต้ ที่มีความสวยงาม มีลวดลายที่ประณีตและเอื้ออำนวยต่อประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีทั้งยังสัมพันธ์กับความเชื่อถือของชาวใต้อย่างน่าสนใจยิ่ง คือ กระด้ง ซึ่งชาวใต้เรียกว่า  " ด้ง "            กระด้ง หรือ ด้ง    ที่นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้มี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าว และกระด้งมอนกระด้งทั้งสองชนิดนี้สานด้วยไม้ไผ่และหวายสำหรับใช้งานเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ทำนา กระด้งปักษ์ใต้ทั้งสองชนิดเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาคอื่นอย่างเห็นได้ชัด    ทั้งด้านรูปแบบและลวดลาย           ด้านรูปแบบของกระด้งฝัดภาคใต้ต่างไปจากกระด้งทั่วๆ ไป คือ จะมีรูปกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ส่วนป้านจะกลมมน ส่วนแหลมจะรีเล็กน้อยและการทำกระด้งให้มีลักษณะรีแทนที่จะกลมก็เพื่อความสะดวกในการร่อน ฝัด และเทข้าวออกแสดงให้เห็นการสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย
ลวดลายในการสานเครื่องจักสาน ลายขัด เป็นลายพื้นฐานของเครื่องจักสานซึ่งอาจจะเป็นลวดลายเบื้องต้นของการทำเครื่องจักสานที่เก่าแก่ที่สุดก็ได้ ลักษณะของลายขัด เป็นการสร้างแรงยึดระหว่างกันด้วยการขัดกันของตอก หรือวัสดุอื่นด้วยการขัดกันระหว่างแนวตั้งหรือเส้นตั้ง และแนวนอนหรือเส้นนอน ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่า  " ลายขัด "  เป็นแม่แบบของลายสานทั้งปวง ซึ่งมีอยู่ในงานจักสานของชนชาติต่าง ๆ ทั่วไป เป็นลายที่วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นลายต่าง ๆ ตั้งแต่ลายขัดธรรมดาไปจนถึงการสานแบบยกดอกเป็นลวดลายต่าง ๆ ลักษณะโครงสร้างของลายขัดนี้เป็นลายที่มีแรงยึดมาก จึงมีความแน่น และแข็งแรงให้ความคงทนมาก จึงนิยมใช้สานประกอบกับลายอื่น ๆ ในส่วนที่ต้องการความแข็งแรง เช่นส่วนที่เป็นก้น เป็นปาก คอ ของภาชนะ เป็นต้น  3.1  ลายขัด
3.2   ลายทแยง   ลายทแยง  ลักษณะการสานคล้ายการถัก ส่วนมากใช้ตอกเส้นแบน ๆ บาง ๆเพราะการสานลายชนิดนี้ต้องการแผ่นทึบ โครงสร้างของลายทแยงจะเบียดตัวกันสนิทไม่มีเส้นตั้งหรือเส้นนอนเหมือนลายขัด เป็นลายสานที่ต้องการผิวเรียบบางสามารถสานต่อเชื่อมกันไปตามความโค้งของภาชนะที่ต้องการได้ เครื่องจักสานที่สานด้วยลายทแยงนี้ส่วนมากจะสามารถทรงรูปอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ความแข็งแรงจะไม่ทนเท่าลายขัด
3.3  ลายอิสระ ,[object Object]
3.4  ลายขด ,[object Object]
กระบวนการทำ การสาน  เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์ โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย ซึ่งมีด้วยกัน  3  วิธี คือ   -  การสานด้วยวิธีสอดขัด   -  การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง   -  การสานด้วยวิธีขดเป็นวง   4.1  การสาน
4.2  การจัก ,[object Object]
4.3  การถัก ,[object Object]

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a งานนำเสนอ3.3

เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยเครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยlove5710
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกrever39
 
บ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักบ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักPN17
 
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงบ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงPN17
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือtonsocial
 
ต งล านนา
ต งล านนาต งล านนา
ต งล านนาAlyssa Ny
 
จางหนัก
จางหนักจางหนัก
จางหนักleam2531
 

Semelhante a งานนำเสนอ3.3 (9)

เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยเครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทย
 
บทที่ 1.docx
บทที่ 1.docxบทที่ 1.docx
บทที่ 1.docx
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
 
บ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักบ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนัก
 
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงบ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือ
 
ต งล านนา
ต งล านนาต งล านนา
ต งล านนา
 
จางหนัก
จางหนักจางหนัก
จางหนัก
 
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
 

Mais de pooaoom53

งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.2
งานนำเสนอ3.2งานนำเสนอ3.2
งานนำเสนอ3.2pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3pooaoom53
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1pooaoom53
 

Mais de pooaoom53 (9)

งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1
 
งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3
 
งานนำเสนอ3.2
งานนำเสนอ3.2งานนำเสนอ3.2
งานนำเสนอ3.2
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1
 
งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1
 
งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3งานนำเสนอ3.3
งานนำเสนอ3.3
 
งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1งานนำเสนอ3.1
งานนำเสนอ3.1
 

งานนำเสนอ3.3

  • 1. 1.1 การทำเครื่องจักสาน ในประเทศไทย มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักโบ ราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสาน ในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ . กาญจนบุรี ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณ ว่ามีอายุราว 4,000 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบภาชนะดินเผา ที่มีร่องรอยของเครื่องจักสานปรากฎอยู่ ซึ่งนำไปสู่การสัน นิษฐานว่าเครื่องจักสานเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดิน เผาคือภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียง อ . หนองหาน จ . อุดรธานี เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายอ่างมีร่องรอย ของเครื่องจักสาน ประทับอยู่บนผิวด้านนอก
  • 2. 1.2 การทำเครื่องจักสานยุคแรกๆ มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหา ได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถามาสานมาขัดเป็นรูป ทรงง่าย ๆ เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อ ใช้สำหรับปูลาด รองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนา มาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อ ๆมา
  • 3. 1.3 การทำเครื่องจักสานยุคต่อมา เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆขึ้น เพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและ สานกันของวัสดุที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ นั้นขึ้น ตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ประสาน กับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้น ๆ
  • 4. การทำเครื่องจักสานพื้นบ้านภาคเหนือหรือล้านนาไทยนั้น ทำสืบต่อกันมาแต่โบราณ ดังมีหลักฐานปรากฏในภาพ จิตรกรรมฝาผนังหลายแห่ง เช่น ภาพชาวบ้านกับเครื่องจักสานในภาพจิตรกรรม ฝาผนังวิหารวัดพระสิงห์วรวิหารอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพชาวบ้าน กำลังนั่งสนทนากันอยู่ ข้างๆ ตัวมีภาชนะจักสานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เปี้ยด หรือกระบุงวางอยู่ รูปทรงของเปี้ยดในภาพคล้ายกับเปี้ยดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าชาวล้านนาสาน เปี้ยดใช้มานานนับร้อยปี นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสิงห์วรวิหารแล้ว ยังมีภาพของ เครื่องจักสานปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกหลายภาพ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน นอกจากนี้ วัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวของชาวเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเครื่อง จักสานที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคข้าวเหนียวหลายอย่าง เช่น ลังถึงก๋วย ซ้าหวด ก่องข้าว กระติบข้าว แอบข้าวขันโตก ฯลฯ เครื่องจักสานเหล่านี้หลายชนิดมีลักษณะเฉพาะถิ่นโดดเด่น เครื่องจักสานของภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ น้ำทุ่ง หรือน้ำถุ้ง เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ยาด้วยชันและน้ำมันยาง ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ รูปร่างของน้ำ ทุ่งเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีคือ มีลักษณะคล้ายกรวยป้อมๆ ส่วนก้นมนแหลม ที่ปากมีไม้ไขว้กันเป็นหูสำหรับผูกกับเชือกเพื่อสาวน้ำทุ่งขึ้นมาจากบ่อน้ำ ความมน แหลมของก้นน้ำทุ่งจะช่วยให้น้ำทุ่งโคลงตัวคว่ำลงให้น้ำเข้าเมื่อโยนลงไปในบ่อ นอกจากนี้ ลักษณะการสานที่แข็งแรงยังช่วยให้น้ำทุ่งมีความทนทาน แม้ในปัจจุบันจะมีผู้ผลิตน้ำทุ่งด้วยสังกะสีแต่ความคงทน และประโยชน์ใช้สอยสู้น้ำทุ่งที่สานด้วยไม้ไผ่ไม่ได้ แสดงว่าเครื่องจักสานพื้นบ้านที่คนโบราณผลิตขึ้นนั้น เลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี          นอกจากตัวอย่างของเครื่องจักสานไม้ไผ่ภาคเหนือดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องจักสานที่ใช้ในชีวิตประจำวันอีกหลายชนิด เช่น ซ้าหวด กัวะข้าว ก่องข้าว แอบข้าว โตก ฝาชี แอบหมาก แอบเมี้ยง ซ้าชนิดต่างๆ หมวกหรือกุบ ก๋วยก๋วยก้า ก๋วยหมู ก๋วยโจน เข่งลำไย ซ้าล้อม ซ้าตาห่าง ซ้าตาทึบ หรือบุงตีบ น้ำทุ่ง น้ำเต้ คุ วี ต่างเปี้ยด หรือบุงชนิดต่างๆ เปลเด็ก เอิบ ไซชนิดต่างๆ สุ่ม ฯลฯ 2.1เครื่องจักสานในภาคเหนือ
  • 5. 2.2เครื่องจักสานภาคกลาง เครื่องจักสานภาคกลางส่วนมากทำจากไม้ไผ่มากกว่าวัสดุอื่น ซึ่งแบ่งออกตามหน้าที่ใช้สอยเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้          เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นภาชนะ   ได้แก่กระบุง กระจาด กระทาย กระบา กระทอ กระพ้อม กระเชอ กระเช้า กระพอก ชะลอม ตะกร้อ ปุ้งกี๋ หลัว ตะกร้า เข่ง ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องตวง   ได้แก่กระชุ สัด กระบุง ฯลฯ          เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้ในครัวเรือน   ได้แก่พัด กระชอน ตะแกรง ฝาชี กระด้ง หวด ฯลฯ          เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องประกอบอาคารบ้านเรือน   ได้แก่ ฝาบ้าน พื้นบ้าน หลังคา ฯลฯ           เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องจับดักสัตว์และขังสัตว์น้ำ   ได้แก่ ชนาง ลอบ สุ่ม ไซ กระบัง กระจู้ กระชัง ตะข้อง ตะแกรง จั่น ฯลฯ          เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆเช่น   เสื่อลำแพน   แผงรั้ว กรงนก สุ่มไก่ เป็นต้น          นอกจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ซึ่งเป็นเครื่องจักสานที่ทำกันแพร่หลายแล้ว ในภาคกลางยังมีเครื่องจักสานที่ทำจากวัสดุอื่นๆ อีก ได้แก่ หวาย ใบลาน ใบตาล เป็นต้น นอกจากเครื่องจักสานภาคกลางที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นแล้ว เครื่องจักสานพื้นบ้านภาคกลางยังมีรูปแบบเฉพาะถิ่นที่แตกต่างไปจากเครื่องจักสานภาคอื่นอีกหลายอย่างเช่น เครื่องจักสานที่ใช้จับดักสัตว์น้ำ ที่มีรูปร่างตามสภาพภูมิประเทศ เช่น เครื่องจักสานที่ใช้ในแม่น้ำ จะมีขนาดสูงใหญ่อย่างกระชังเลี้ยงปลาตามแม่น้ำ มีขนาดใหญ่ สานด้วยไม้ไผ่กว้างประมาณ ๑ - ๒ วา ยาวประมาณ ๒ - ๓ วา สานเป็นสี่เหลี่ยมหรือรูปไข่ มีฝาหรือไม่มีฝาก็ได้   ใช้ลอยในแม่น้ำลำคลอง โดยมีแพไม้ไผ่หรือลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นขนาบไม่ให้กระชังจม กระชังชนิดนี้ใช้เลี้ยงปลาจำพวกปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาบู่ เป็นต้น ถ้าเป็นกระชังขนาดเล็กกว่านี้จะใช้ขังปลาที่จับได้เอาไว้ขายหรือบริโภคนานๆ นอกจากกระชังแล้วยังมีเครื่องจักสานจำพวก ลอบ ไซ ที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง มักมีขนาดสูงใหญ่ตามความลึกความตื้นของแม่น้ำลำ   คลองที่ใช้เครื่องดักจับสัตว์น้ำนั้นๆ เช่น ลอบยืน ขนาดใหญ่ใช้สำหรับดักปลาตามริมแม่น้ำลำคลองมักจะสูงมาก ถ้าเป็นไซ อีจู้ สำหรับดักกุ้งตามลำคลองและทุ่งนา จะมีขนาดเล็กกว่า          นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในการจับและดักสัตว์น้ำแล้ว ยังมีเครื่องจักสานที่ใช้ในครัวเรือนอีกหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปตามประโยชน์ใช้สอย
  • 6. 2.3เครื่องจักสานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           เครื่องจักสานภาคอีสานที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวที่สำคัญ คือ ก่องข้าว และกระติบ           ก่องข้าวและกระติบของชาวอีสาน ในบริเวณอีสานกลางและอีสานใต้มีรูปแบบเฉพาะตนที่ต่างกัน โดยมีรูปแบบและวิธีการสานที่เป็นของตนเองตามความนิยมของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ   ก่องข้าวที่ใช้กันในบริเวณอีสานกลาง   โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามร้อยเอ็ด ขอนแก่น นั้นมีลักษณะและรูปแบบต่างไปจากกระติบข้าวที่สานด้วยไม้ไผ่ของถิ่นอื่นๆก่องข้าวชนิดนี้คล้ายกับก่องข้าวภาคเหนือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน ฐาน ทำด้วยไม้ตามแต่จะหาได้ เป็นแผ่นไม้กากบาทไหว้กันเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับตั้ง บางทีก็แกะเป็นลวดลายเพื่อความสวยงามไปด้วย ตัวก่องข้าว สานด้วยไม้ไผ่ซ้อนกัน ๒ ชั้น เป็นรูปคล้ายโถ โดยมี ฝา รูปร่างเหมือนฝาชีครอบอีกชั้นหนึ่ง ขอบฝาจะใช้ก้านตาลเหลาเป็นแผ่นบางๆ โค้งทำขอบฝาเพื่อความคงทน การสานก่องข้าวชนิดนี้จะต้องสานตัวก่องข้าวซ้อนกัน ๒ ชั้น เพื่อให้เก็บความร้อนได้ดีโดยที่จะสานโครงชั้นในก่อนด้วยลายสองที่ก้นเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม เพื่อให้เกิดมุมสี่มุมสำหรับผูกกับไม้กากบาทที่เป็นฐานได้สะดวก เสร็จแล้วจึงสานส่วนต่อขึ้นมาเป็นตัวก่องข้าวด้วยลายขัด ( ภาษาถิ่นเรียก " ลายกราว ")   โดยใช้ตอกตะแคงเส้นเล็กๆ จนได้ขนาดตามต้องการ แล้วจึงสานตัวก่องข้าวด้านนอกครอบอีกชั้นหนึ่งด้วยตอกปื้นเป็นลายสองยืน หรือลายสองเวียน เพื่อให้เกิดความสวยงาม ตัวก่องข้าวที่สานหุ้มนี้จะต้องสานให้ใหญ่กว่าตัวแบบภายใน แล้วพับปากก่องข้าวหุ้มกลับเข้าไปภายในเพื่อความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่งโดยใช้เส้นหวายผูกคาดไว้ภายนอกเพื่อรับขอบของฝาไปในตัว เมื่อได้ตัวก่องข้าวแล้วจึงทำฐานให้ผายออกรับกับรูปทรงของก่องข้าวด้วย ไม้ฐานนี้จะผูกติดกับส่วนก้นสี่มุมด้วยหวาย เมื่อได้ตัวก่องข้าวพร้อมฐานแล้วจึงสานฝา ซึ่งมักจะสานด้วยตอกปื้นค่อนข้างใหญ่เป็นลายต่างๆ แล้วแต่จะเรียกโดยสานเป็นรูปคล้ายฝาชี   เมื่อได้ส่วนประกอบที่สำคัญพร้อมแล้วจะต้องทำหูสำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้สะพายบ่าหรือใช้แขวน จากรูปทรงและวิธีการของก่องข้าวแบบนี้จะเห็นว่าเป็นการสร้างรูปแบบของเครื่องใช้ให้สนองประโยชน์ใช้สอยได้ดีนั่นเองก่องข้าวชนิดนี้มีความสมบูรณ์ทั้งรูปทรงที่สวยงามและใช้ประโยชน์ได้ดีด้วย           ภาชนะจักสานสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันในอีสานเหนือ คือ " กระติบ " ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เช่นเดียวกัน แต่รูปแบบและวิธีการสานแตกต่างออกไป กระติบมีรูปร่างทรงกระบอกคล้ายกระป๋องไม่มีขา มีเพียงส่วนตัวกระติบและส่วนฝาเท่านั้น วิธีการสานจะสานด้วยตอกไม้เฮี้ยะซึ่งเป็นตอกอ่อนๆ โดยจะสานเป็นรูปทรงกระบอกให้มีความยาวเป็นสองเท่าของความสูงของตัวกระติบที่ต้องการ เสร็จแล้วต้องพับทบกลับส่วนหนึ่งไว้เป็นด้านในตัวกระติบ ก่องข้าวชนิดนี้จะสานลายด้านในและด้านนอกต่างกันคือส่วนที่จะพับทบกลับไว้ด้านในนั้นจะสานด้วยลายอำเวียน ส่วนด้านนอกที่ต้องการความสวยงามจะสานด้วยลายสองยืน หรือยกดอกเพื่อความสวยงาม ส่วนก้นจะต้องสานเป็นแผ่นกลมๆ ต่างหากแต่นำมาผนึกติดกับตัวกระติบภายหลัง ส่วนฝากระติบก็จะทำเช่นเดียวกับตัวกระติบ กระติบชนิดนี้บางครั้งอาจจะใช้ก้านตาลขดเป็นวงทำเป็นส่วนฐาน เพื่อความคงทนด้วย          อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างก่องข้างและกระติบ เกิดจากความนิยมของท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นที่ทำสืบทอดต่อๆ กันมาแต่บรรพบุรุษปัจจุบัน ก่องข้าวและกระติบยังคงรักษารูปทรงและลักษณะเฉพาะถิ่นของตนไว้ได้   เพราะผู้สานแต่ละถิ่นมักมีความถนัดและเคยชินในการทำตามแบบอย่างของตนมากกว่าที่จะเลียนแบบก่องข้าวถิ่นอื่น แม้ปัจจุบันเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสานจะมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น เพิ่มสีสันหรือนำวัสดุสมัยใหม่ เช่น พลาสติก เข้ามาประยุกต์ใช้ประกอบกับเครื่องจักสาน ซึ่งเป็นไปตามสมัยนิยมมากกว่าความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบดั้งเดิมของตน แต่ในที่สุดก่องข้าวไม้ไผ่ก็ยังเป็นที่นิยมของชาวบ้านมากกว่าภาชนะชนิดอื่น
  • 7. 2.4เครื่องจักสานภาคใต้              ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ใน     การทำเครื่องจักสานได้หลายชนิด เช่น ไม้ไผ่ หวาย กระจูด และ ย่านลิเภา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตเครื่องจักสานของภาคใต้ มีเครื่องจักสานหลายอย่างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่ต่างไปจากเครื่องจักสานอื่นๆ เช่นเครื่องจักสานย่านลิเภาที่ทำกันมากในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องจักสานกระจูดทำกันมากในหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และปัตตานี นอกจากนี้ก็มีเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ทำกันทั่วไปแทบทุกจังหวัด           เครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจมีหลายชนิดแต่มีเครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่สร้างตามความต้องการในการใช้สอยตามสังคมเกษตรกรรมของชาวใต้ ที่มีความสวยงาม มีลวดลายที่ประณีตและเอื้ออำนวยต่อประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีทั้งยังสัมพันธ์กับความเชื่อถือของชาวใต้อย่างน่าสนใจยิ่ง คือ กระด้ง ซึ่งชาวใต้เรียกว่า " ด้ง "            กระด้ง หรือ ด้ง   ที่นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้มี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าว และกระด้งมอนกระด้งทั้งสองชนิดนี้สานด้วยไม้ไผ่และหวายสำหรับใช้งานเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ทำนา กระด้งปักษ์ใต้ทั้งสองชนิดเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาคอื่นอย่างเห็นได้ชัด   ทั้งด้านรูปแบบและลวดลาย          ด้านรูปแบบของกระด้งฝัดภาคใต้ต่างไปจากกระด้งทั่วๆ ไป คือ จะมีรูปกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ส่วนป้านจะกลมมน ส่วนแหลมจะรีเล็กน้อยและการทำกระด้งให้มีลักษณะรีแทนที่จะกลมก็เพื่อความสะดวกในการร่อน ฝัด และเทข้าวออกแสดงให้เห็นการสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย
  • 8. ลวดลายในการสานเครื่องจักสาน ลายขัด เป็นลายพื้นฐานของเครื่องจักสานซึ่งอาจจะเป็นลวดลายเบื้องต้นของการทำเครื่องจักสานที่เก่าแก่ที่สุดก็ได้ ลักษณะของลายขัด เป็นการสร้างแรงยึดระหว่างกันด้วยการขัดกันของตอก หรือวัสดุอื่นด้วยการขัดกันระหว่างแนวตั้งหรือเส้นตั้ง และแนวนอนหรือเส้นนอน ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่า " ลายขัด " เป็นแม่แบบของลายสานทั้งปวง ซึ่งมีอยู่ในงานจักสานของชนชาติต่าง ๆ ทั่วไป เป็นลายที่วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นลายต่าง ๆ ตั้งแต่ลายขัดธรรมดาไปจนถึงการสานแบบยกดอกเป็นลวดลายต่าง ๆ ลักษณะโครงสร้างของลายขัดนี้เป็นลายที่มีแรงยึดมาก จึงมีความแน่น และแข็งแรงให้ความคงทนมาก จึงนิยมใช้สานประกอบกับลายอื่น ๆ ในส่วนที่ต้องการความแข็งแรง เช่นส่วนที่เป็นก้น เป็นปาก คอ ของภาชนะ เป็นต้น 3.1 ลายขัด
  • 9. 3.2 ลายทแยง ลายทแยง ลักษณะการสานคล้ายการถัก ส่วนมากใช้ตอกเส้นแบน ๆ บาง ๆเพราะการสานลายชนิดนี้ต้องการแผ่นทึบ โครงสร้างของลายทแยงจะเบียดตัวกันสนิทไม่มีเส้นตั้งหรือเส้นนอนเหมือนลายขัด เป็นลายสานที่ต้องการผิวเรียบบางสามารถสานต่อเชื่อมกันไปตามความโค้งของภาชนะที่ต้องการได้ เครื่องจักสานที่สานด้วยลายทแยงนี้ส่วนมากจะสามารถทรงรูปอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ความแข็งแรงจะไม่ทนเท่าลายขัด
  • 10.
  • 11.
  • 12. กระบวนการทำ การสาน เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์ โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ - การสานด้วยวิธีสอดขัด - การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง - การสานด้วยวิธีขดเป็นวง 4.1 การสาน
  • 13.
  • 14.