SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส.
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หน่วยที่ 2 World Wide Web
หน่วยที่ 3 กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หน่วยที่ 4 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หน่วยที่ 5 การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หน่วยที่ 6 Web Browser Program
หน่วยที่ 7 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
หน่วยที่ 8 การค้นหาข้อมูลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หน่วยที่ 9 การดาวน์โหลด และการอัพโหลดไฟล์
หน่วยที่ 10 การสนทนาและการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการทางานของอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย Protocol TCP/IP, Client -
Server , DNE , SUBNet , FTP , Telnet , E - mail , www การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล
ปฏิบัติการใช้บริการต่างๆ ในอิเทอร์เน็ตการเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ปฏิบัติการใช้อิเทอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคาว่า Interconnection Network เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่
เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
แต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และ
เสียง เป็นต้น"
กิดานันท์ มลิทอง (2540 , 321) ได้กล่าวถึงความหมายของอินเตอร์เน็ตว่าหมายถึงระบบของการเชื่อมโยง
ข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออานวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล
ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อการ
เข้าถึงแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่
สมนึก คีรีโต , สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ และสมชาย นาประเสริฐชัย (2538 , 1) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อินเตอร์เน็ตเป็น
กลุ่มเครือข่ายย่อยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (โปรโตคอล) เดียวกัน ภายใน
อินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ อาทิ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการค้นหา
ข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ จานวนมาก ข่าวสารในอินเตอร์เน็ตนับเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฎ
อยู่
นอกจากนี้ นิพันธุ์ อินทอง และอาจารี นาโค (2540, 143) ได้ให้ความหมายของอินเตอร์เน็ตในทานองเดียวกัน
ว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วน
บุคคล เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเอกชนฯ หรือเครือข่ายของ
หน่วยงานราชการ โดยมีปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการคือ
1. อินเตอร์เน็ตยอมให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายหลากหลายประเภทสื่อสารกันได้
2. ไม่มีองค์กรใดเป็นเจ้าของหรือจัดการวางระเบียบในอินเตอร์เน็ต
3. อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยจิตสานึก ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องมีมารยาทใน
การใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มี
ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน มีมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลแบบเดียวกัน ภายใน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
แม่นยาและมีประสิทธิภาพ
การบริการ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มี
ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกันภายในอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่
สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก
การใช้งานในอินเตอร์เน็ต การใช้งานหรือการบริการในอินเตอร์เน็ตมีหลายประเภทด้วยกัน กิดานันท์ มลิทอง
(2540 , หน้า 326 - 328) ได้กล่าวถึงการใช้งานในอินเตอร์เน็ต ดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronics mail : e-mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า "อี-เมล์" เป็นการรับส่ง
ข้อความผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ในข่ายงาน
เดียวกันหรือข้ามข่ายงานอื่นในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลกในทันที นอกจากข้อความที่เป็นตัวอักษรแล้ว ยังสามารถ
ส่งแฟ้มภาพและเสียงร่วมไปด้วยได้เพื่อให้ผู้รับได้อ่านทั้งตัวอักษร ดูภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงพูด
หรือเสียงเพลงประกอบด้วย
2. การถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายทอดโอนแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ
เช่น แฟ้มข่าว แฟ้มภาพ แฟ้มเสียงเพลง ฯลฯ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบรรจุลง ( download) ไว้ใน
คอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นการบรรจุนี้ ( upload) ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราส่งไปที่เครื่องบริการ
แฟ้มเพื่อให้ผู้อื่นนาไปใช้ได้เช่นกัน
3. การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลกโดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
มากมายหลายล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมีระบบหรือ
โปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มอย่างสะดวกรวดเร็วโปรแกรมที่นิยมใช้กันโปรแกรมหนึ่ง ได้แก่ อาร์คี
(archic) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใด ๆ ในอินเตอร์เน็ต
โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูล เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดก็เพียงแต่
เรียกใช้อาร์คีแล้วพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อม
รายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วก็สามารถใช้เอฟทีพีเพื่อถ่ายโอน
แฟ้มข้อมูลมาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้
2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced
Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของ
สหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ
เป็นเพียงการนาคอมพิวเตอร์จานวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูล
ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
****ในปี พ.ศ. 2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects
Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด
จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสาเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึง
ได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง
****พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนา TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้
กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทาให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ดังนั้น TCP/IP คือข้อกาหนดที่ทาให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่าง
ถูกต้อง
****พ.ศ.2529 ได้มีการกาหนดชื่อโดเมน ( Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย
(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทา
ฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จาเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียก
เว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บ
ทั้งหมด เป็นต้น
****พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( National Science Foundation - NSF) เข้ามา
ดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่
เพียงผู้เดียว ในการกาหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้
ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิม
ที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่
สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก ( Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไป
ใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่า
อินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก
(http://www.thaiall.com)
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
****พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนาอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย
ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทย
เน็ต" ( THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย
****ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC: National
Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีก
หลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย
อินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543)
3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
นับตั้งแต่ปี พ.ศ .2530 ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยี
แห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้ง 2 สถาบันเป็นการใช้บริการจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์โดยความร่วมมือกับประเทศออสเตรียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้วย
สายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ .ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้นได้ยื่นขอที่อยู่
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต sritrang.psu.th นับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรก
ของประเทศไทย
พ.ศ.2534 บริษัท DEC(Thailand) ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่
อินเทอร์เน็ตเป็น dec.co.th โดยที่ "th" เป็นส่วนที่เรียกว่าโดเมน(domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย "ลีสไลน์"(Leased Line) ซึ่งเป็นสาย
ความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย UUNET ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี
จากัด(UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะ
เริ่มแรกโดย Leased Line ความเร็ว 9600 bps(bps : bit pes second )
นับเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว
เครือข่ายโดยที่ตั้งชื่อว่า จุฬาเน็ต ( ChulaNet ) ได้ปรับปรุงด้วยความเร็วของ Leased Line จาก 9600
bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbps และ128 kbps ตามลาดับ และได้มีสถานศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อ
เครือข่าย อินเตอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบัน เอไอที ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล (
MU ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( CMU ) สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาลัยเขตเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง ( KMITL ) และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ( AU ) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทย
เน็ต (THAINET )
ปี พ .ศ.2535 เป็นปีเริ่มต้นของการจัดกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมี
ชื่อว่า เอ็นดับเบิลยูจี ( NWG : NECTEC E- mail Workking Group) โดยหน่วยงานของรัฐ คือ ศูนย์
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ( NECTEC: National Electronic and
Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเครือข่าย "ไทยสาร" (
ThaiSarn : Thai Social / Scientific and Research Network )
4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร
เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมใช้ทรัพยากรได้ ดังนั้นจึงมีการควบคุม
มาตรฐานการติดต่อโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ทาการติดต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการใช้
โปรโตคอล TCP/IP เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกรุ่นทุกแบบ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พูดคุยกันรู้เรื่อง โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน การติดต่อสื่อสารก็จะเริ่มขึ้น โดยการ
ติดต่อสื่อสารจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทาการส่งข้อมูลเราจะ
เรียกว่าเครื่องให้บริการ ( Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูล เราจะเรียกว่าเครื่องรับบริการ
(Client) ซึ่งการติดต่อในลักษณะนี้เราเรียกว่าการติดต่อแบบ Client-Server
ตัวอย่างวิธีบริการติดต่อ www บนอินเตอร์เน็ต
บริการรูปแบบหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เชื่อแน่ว่าเราทุกคนต้องเคยสัมผัสก็คือ WWW หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ
นั่นเอง การให้บริการในรูปแบบนี้คือการเรียกบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape จากเครื่อง
ของเราและระบุ URL เพื่อใช้ในการอ้างที่อยู่เก็บเว็บ เท่านี้เราก็สามารถเปิดดูเว็บได้แล้ว ดังตัวอย่าง เมื่อเรา
ระบุ URL เป็น www.bangkokcity.com ก็จะเป็นการเปิดดูเว็บไซต์ Bangkokcity.com
จากการใช้บริการ WWW ในข้างต้น ชื่อ URL ที่เราป้อนจะถูกส่งไปที่ Dns Server (Domain Name
Server) ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ URL ( ชื่อที่มีความหมาย
เช่น www.yahoo.com , www.dkt.ac.th เป็นต้น ) ให้กลายเป็นชื่อแบบตัวเลขหรือ IP Addressนั่นเอง
โดยหมายเลข IP นั้นจะถูกใช้ในการอ้างอิงตาแหน่งเครื่องในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ใน
อินเตอร์เน็ตจะมีหมายเลข IP ที่ไม่ซ้ากันทาให้เราสามารถระบุที่อยู่ของเครื่องที่เก็บเว็บที่เราต้องการเปิดดูได้
โดยเราอาจจะเปรียบหมายเลข IP เหมือนกับเลขที่บ้านของเราในการส่งจดหมาย ก็ได้
จากนั้นเมื่อเราได้เลข IP ที่เราต้องการ คาร้องขอดูเว็บของเราก็จะถูกส่งไปที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มี
หมายเลข IP นั้น และเมื่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์รับคาร้องขอจากเรา ก็จะส่งเว็บที่เก็บอยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ มา
แสดงผลที่เครื่องของเรา และนี่คือขั้นตอนทั้งหมดในการใช้บริการ WWW
5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โยงใยกันทั่วโลก มีบริการในด้านต่างๆ มากมายไว้
บริการสาหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบเครือข่ายในรูปแบบ
ต่างๆ ดังนี้
การอ่าน อินเทอร์เน็ตมีบริการอ่านบทความ ความรู้ นวนิยาย เรื่องสั้น จากหนังสือ วารสารและนิตยสาร
หนังสือพิมพ์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
การค้นคว้าข้อมูล มีบริการที่สามารถเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เรา
สามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน World Wide Web หรือ WWW เช่น เข้าไปค้นหาข้อมูลที่เป็น
ความรู้ ศัพท์ เรื่องที่กาลังเป็นที่นิยม ทั้งข้อมูล ภาพและเสียง
ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อแนะนา
บริษัท สินค้า องค์การหรือหน่วยงานต่างๆ
ส่งคาอวยพร ในเทศกาลต่างๆ มีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้คนที่รับข้อมูล
ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากมุม
ต่างๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่างๆ ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ที่รวดเร็ว
บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ (Software Download) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่ง
บริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft,ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ เพื่อ
ต้องการ Down Load โปรแกรมเพื่อไปใช้งาน เพื่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด (Explore Libraries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในระบบ
เครือข่าย Online ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่มีในห้องสมุดต่างๆ
การผ่อนคลาย มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาให้สามารถใช้บริการ
เกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น
เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ เกมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริม
ทักษะความคิดในเรื่องเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
การซื้อสินค้า (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24
ชั่วโมง
ประโยชน์ด้านความบันเทิง มีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And Listen Music)
การแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message) ผ่านระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ได้ทั่ว
โลกในเวลาอันรวดเร็ว
การสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เรียกว่า Chat สามารถพูดกันได้โดยตรง เหมาะ สาหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว
บริการตอบคาถามให้คาปรึกษา มี web board สาหรับให้คาปรึกษา หรือตอบคาถาม โดยที่ผู้ถามและ
ผู้ตอบไม่รู้จักกันหรือรู้จักกันก็ได้ มีผลดีที่บางข้อคาถามผู้ถามไม่กล้าถามใคร ก็จะมีผู้ให้คาตอบที่เป็นทาง
สว่างแก่ชีวิตได้
การเรียนทางไกล (Distance Learning) ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ และต่างประเทศมีการ
ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทาการเรียนผ่าน
ระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์ โดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทาการเรียนการสอน เช่น
วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต
(E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ต
ของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับ
เวลาใดก็ได้
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และ
เสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม
คือ Nestcape Communicator) และInternet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform
Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นwww.nu.ac.th
nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร
ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
th หมายถึง ประเทศไทย
3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่อง
คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบการสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ
ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ
ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)
4. การทางานข้ามเครื่อง (TelNet)
บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ
ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุ
ชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ใน
ลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้
สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น
6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน
หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด
7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)
เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละ
หัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อ
ออกมาให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้าง
7. คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของ
เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser
Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain
Name เช่น www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)
HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้ม
ว่า index.html หรือ index.htm เสมอ
Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต
เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer
Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมี
การจดทะเบียนที่www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th
URL(Uniform Resouire Locator) หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล
IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สาหรับการสื่อสารแบบ TCP
TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกร
รมในการติดต่อสื่อสาร ทาให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กาหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและ
อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น
ISP (Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่
จาเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง
IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทา
ธุรกรรมให้พร้อมสรรพ
E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทาธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
Hypertext คือเอกสารที่ทาการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทาให้สามารถอ่านได้หลายมิติ
Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีก
เครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากาลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload
Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกล
ออกไป
POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทาให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการ
อินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง
Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อ
ของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่าdatatan.net
IP Address คือหมายเลขรหัสประจาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้า
กันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.)
ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com
Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่าง
กัน การเข้าร่วม Mailing Listโดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่
อยู่ใน List ได้อ่านกัน
เวิลด์ไวด์เว็บ
เป็น บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่ประกอบไปด้วย ข้อความ
ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียง ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการ
กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เวิลด์ไวด์เว็บยัง เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นหารายละเอียดใน
เรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจากัด ใช้
งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทาให้ประหยัดเวลา รวมทั้งเรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทา ไปให้
ผู้คนทั่วโลกโดยผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ ได้เช่นกัน โดยเสียค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือ
บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสาคัญ ทาให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่ว
โลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ
ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบ
การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้
ทาให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสาร
สนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการ
สื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทาให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วใน
ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง (จิตเกษม พัฒนาศิริ, 2540)
จากการวิจัยดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยง ทาให้เวิลด์ไวด์เว็บกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้การติดต่อสื่อสาร
และการนาเสนอผ่านเครือข่ายทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้
เว็บเซิร์ฟเวอร์
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่
ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้ และมีโปรแกรม
ประเภท HTTPD ทาหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูล ให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์
เว็บไซต์
เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตาแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็น เว็บเพจ ต่าง ๆที่เจ้าของระบบ ได้
จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้า
กับผู้อื่น วิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วน
แรกของ URLเป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะ ของข้อมูล ว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บคั่นด้วยเครื่องหมาย
:// และส่วนที่สอง ใช้บอกตาแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ เช่น
http://www.nectec.or.th/
http://www.disney.com/ http://www.microsoft.com/
ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ และ ไฮเปอร์มีเดีย
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คาหรือวลีเรืองแสงหรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการ
ขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ และ
เมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์
เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือเว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า
ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสาคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บ
บราวเซอร์
ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือ
นอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว
ได้ด้วย
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในโลกยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการดารงชีวิตของ
มนุษย์อย่างยิ่ง เช่น การศึกษา การค้าขาย ความบันเทิง อุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้า ต้องสร้างความเชื่อมั่น ดังนั้นเมื่อ
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบให้จัดทาโครงการกฎหมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ
แห่งชาติ (National Information Technology Committee) หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการไอที
แห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC) ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ ที่กาลังดาเนินการจัดทากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย
มีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือที่
เรียกว่า เนคเทค (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency) หรือ สวทช. กระทรว
งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสานักงานเลขานะการคณะกรรมการไอที
แห่งชาติ ทาหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้ง 6 ฉบับ ดังต่อไปนี้ (www.itjournal .hypermart.net/law.html)
1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
ปัจจุบันการทาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มขึ้น และมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) จดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งไม่ได้ทาลงบนกระดาษแต่ทา
ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงจัดทาขึ้นเพื่อรองรับสถานะทาง
กฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการรับฟัง
พยานหลักฐาน และการชั่งน้าหนักพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับ
หนังสือหรือหลักฐานที่เป็นหนังสือ
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
ในการทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกากับข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นที่
น่าเชื่อถือเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อแบบธรรมดา สามารถระบุตัวบุคคลผู้ลงลายมือ
ชื่อ สามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นเห็นด้วยกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กากับ
3. กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
ปัญหาสาคัญที่เกิดขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญหาหนึ่งก็
คือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์บางประเภทอาจส่งผลกระทล
ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อปกป้องสั่งก็
คือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์บางประเภทอาจส่งผลกระทล
ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อปกป้องสังคมต่อการ
กระทาของอาชญากร โดยมีบทลงโทษอาชญากรที่กระทาผิดกฎหมาย
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law)
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 2 ทศวรรษแล้วตั้งแต่มีการ
นาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการธนาคาร เช่น บริการออนไลน์ ระบบเงิน
ฝาก ซึ่งสามารถรับฝาก ถอน หรือโอนต่างสาขาธนาคารได้ แต่เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายที่
เกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีแต่เพียงระเบียบธนาคารแห่ง
ประเทศไทย และประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการโอนเงินเท่านั้น กฎหมาย
เกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงมีขึ้นเพื่อวางกฎเกณฑ์ให้การทาธุรกรรมทางการเงิน
สามารถทาได้สะดวก ปลอดภัย อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มคอรงมากขึ้น
5. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
แม้ว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีจะก่อให้เกิดผลดี แต่ถ้านามาใช้ในทางที่ผิดย่อม
ก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น การนาข้อมูลข่าวสารไปใช้โดยไม่ชอบ การนาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้
โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนาไปใช้ในทางทุจริตเพื่อให้บุคคลนั้นเสียหาย การตรากฎหมายฉบับ
นี้จึงมีเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจากการคุกคามของบุคคลอื่น ในการนาข้อมูลส่วนตัวของ
บุคคลอื่นไปใช้ในทางที่มิชอบ
6. กฎหมายลาดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ว่าด้วยการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสาสนเทศ
อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (Universal Access Law)
ข้อมูลข่าวสารเป็นที่มาของความรู้ ความรู้จะนาไปสู่การปกครองที่ประสบความสาเร็จ
และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ แต่พัฒนาการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็วทาให้เกิดช่อว่างระหว่างผู้มีความรู้และผู้ไม่มีความรู้แตกต่างกันมากขึ้น ผลของความ
แตกต่างนี้ส่งผลให้สังคมไม่สามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่าง
เต็มที่ ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้วางหลักการที่สาคัญในการ
ใช้โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไว้ใน
มาตรา 78 ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐต้องกระจายอานาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ
ท้องถิ่นได้เอง พัฒนาการเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอด
ทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนา
จังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคานึงถึงเจตนารมณ์
ของประชาชนในจังหวัดนั้น” ดังนั้นเพื่อสนองรับต่อหลักการตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 จึงจาเป็นต้องตรากฎหมายนี้
มาตรการป้ องกันและปราบปรามอาชญากรรม
ทางคอมพิวเตอร์
มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้จัดแบ่ง
ออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
มาตรการด้านเทคโนโลยี
การต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบนี้ จะป้องกันได้โดยที่ผู้ใช้
สามารถนาระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ มาติดตั้งในการใช้งาน เช่น ระบบการตรวจจับการบุก
รุก (Intrusion Detection) หรือการติดตั้งกาแพงไฟ (Firewall) เพื่อป้องกันระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ของตนให้มีความปลอดภัย ซึ่งนอกเหนือจากการติดตั้งเทคโนโลยีแล้วการ
ตรวจสอบเพื่อประเมินความเสี่ยง เช่น การจัดให้มีระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงและการให้การ
รับรอง (Analysis Risk and Security Certification) รวมทั้งวินัยของผู้ปฏิบัติงาน ก็เป็นสิ่ง
สาคัญที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่าเสมอ มิเช่นนั้นการติดตั้งเทคโนโลยีที่มี
ประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการป้องกันปัญหาด้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ก็จะไม่ก่อให้เกิด
ประโยชน์แต่อย่างใด
มาตรการด้านกฎหมาย
มาตรการด้านกฎหมายเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้นามาใช้ในการต่อต้าน
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยการบัญญัติหรือตรากฎหมายเพื่อกาหนดว่าการกระทาใดบ้าง
ที่มีโทษทางอาญา ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกฎหมายหนึ่งในหกฉบับที่อยู่ภายใต้ความ
รับผิดชอบของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมี
สาระสาคัญ 2 ส่วนหลัก คือ
1.1 การกาหนดฐานความรับผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทาที่เป็น
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ
คอมพิวเตอร์โดยไม่มีอานาจ (Illegal Access) ความผิดฐานลักลอบดัก
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Illegal Interception) หรือความผิดฐานรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ และ
ระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (Interference Computer Data and Compute System) ความผิด
ฐานใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ (Misuse of Devices) เป็นต้น
1.2 การให้อานาจพิเศษแก่เจ้าพนักงานในการปราบปรามการกระทา
ความผิด นอกเหนือเพิ่มเติมไปจากอานาจโดยทั่วไปที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ๆ เช่น การให้
อานาจในการสั่งให้ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ อานาจในการเรียกดูข้อมูล
จราจร (Traffic Data) หรืออานาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นในบางกรณี
2. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ตราขึ้นใช้บังคับแล้ว และที่อยู่ระหว่าง
กระบวนการตรานิติบัญญัติที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือปราบปรามอาชญากรรมทาง
คอมพิวเตอร์ เช่น
2.1 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 74 ซึ่ง
กาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการดักรับไว้ หรือใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความ
ข่าวสาร หรือข้อมูลอื่นใดที่มีการสื่อสารโทรคมนาคมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.2 กฎหมายอื่นที่อยู่ระหว่างการดาเนินการ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเป็นการกาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือแปลง
บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนกาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการใช้ มีไว้เพื่อใช้ นาเข้า หรือ
ส่งออก การจาหน่ายซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมหรือแปลง และลงโทษบุคคลที่ทาการผลิต
หรือมีเครื่องมือในการผลิตบัตรดังกล่าว และบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งสาเนาหมายอาญาผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
เป็นมาตรการสาคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
ทางคอมพิวเตอร์สัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้นั้นคือ มาตรการด้านความร่วมมือกันระหว่าง
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมิได้จากัดเพียงเฉพาะหน่วยงานที่มี
หน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในด้าน
ของผู้พัฒนาระบบ หรือผู้กาหนดนโยบายก็ตาม นอกเหนือจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ต่าง ๆ แล้วสิ่งสาคัญอีกประการหนึ่งคือ ความจาเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานด้านความปลอดภัย
ของเครือข่ายเพื่อรับมือกับปัญหาฉุกเฉินด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ขึ้นโดยเฉพาะ และ
เป็นศูนย์กลางคอยให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้คาปรึกษาถึงวิธีการ หรือแนวทาง
แก้ไข ซึ่งปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค ได้
จัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศ
ไทย (Thai Computer Emergency Response Team ThaiCERT) เพื่อเป็นหน่วยงานให้ความ
ช่วยเหลือและให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการตรวจสอบและการักษาความปลอดภัย
คอมพิวเตอร์แก่ผู้ที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นหน่วยงานรับแจ้งเหตุการณ์ที่มีการ
ละเมิดความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น
มาตรการทางสังคม
ในปัจจุบันสังคมไทยกาลังเผชิญกับปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางไม่ชอบหรือ
ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งดารการเผยแพร่เนื้อหาอันไมเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสื่อ
ลามกอนาจาร ข้อความหมิ่นประมาท การชักจูงล่อลวง หลอกลวงเด็กและเยาวชนไปในทางที่
เสียหาย หรือพฤติกรรมอื่นอันเป็นภัยต่อสังคม โดยคาดการณ์ว่าการกระทา หรือพฤติกรรม
ดังกล่าวจะมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นตามสัดส่วนการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต อันส่งผลกระทบ
ต่อเด็กและเยาวชนของชาติ ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้เร่งรณรงค์ในการ
ป้องกันปัญหาดังกล่าวร่วมกันเพื่อดูแลและปกป้องเด็กและเยาวชนจากผลกระทบดังกล่าว ซึ่ง
สามารถสรุปได้ ดังต่อไปนี้
1. มาตรการเร่งด่วนของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช.) ได้มีมติเห็นชอบต่อ
มาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทาง
อินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการด้านนโยบาย
อินเทอร์เน็ตสาหรับประเทศไทย ซึ่งมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
แห่งชาติ (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานภายใต้การดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทา
หน้าที่เป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการกาหนดให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ประสานความร่วมมือตามลาดับ คือการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ใน
การสืบสวน สอบสวน และรวบรวมพนายหลักฐาน การสกัดกั้นการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่
เหมาะสม รวมทั้งการรับแจ้งเหตุเมื่อมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เช่น
1.1 การสื่อสารแห่งประเทศไทย และบริษัท ทศท.คอร์
ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) ได้กาหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการ
โทรศัพท์ทุกราย ให้ความร่วมมือในการตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์ให้บริการ
ให้ตรงกัน เพื่อบันทึกข้อมูลการบันทึกการเข้าออกจากระบบ รวมทั้งการบันทึกและเก็บข้อมูล
การใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้บริการ (Log File for User Access) พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ต้น
ทาง (Caller ID) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
1.2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) กาหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย
ระงับการเผยแพร่เนื้อหาอันมีข้อความหรือภาพที่ไม่เหมาะสม และสกัดกั้นมิให้ผู้ใช้เข้าถึง
แหล่งข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
1.3 สานักงานคณะกรรมการตารวจแห่งชาติ ให้สานักงานคณะกรรมการตารวจ
แห่งชาติประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายเทคนิคและฝ่ายกฎหมายในการจัดตั้งศูนย์
รับแจ้งเหตุบนอินเทอร์เน็ต (Hot Line) เมื่อพบเห็นการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทาง
อินเทอร์เน็ตรวมทั้งสอดส่องดูแลการให้บริการของร้านบริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มิให้เป็นในทาง
ที่ไม่ชอบ
2. มาตรการระยะยาวของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
สืบเนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย และการ
เผยแพร่สื่อลามกอนาจารทางอินเทอร์เน็ต เป็นปัญหาซึ่งมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันยังไม่
เพียงพอ คณะรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
แห่งชาติ (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทา
หน้าที่เลขานุการในการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อกาหนดฐานความผิด ป้องกันและ
ปราบปรามการกระทาผิดกล่าวคือ ร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อบรรเทา
ปัญหาสังคมและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาว
3. การดาเนินการของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
แห่งชาติ (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
3.1 การจัดทาฐานข้อมูลรวบรวมเว็บไซต์ หรือพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต
ในทางไม่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ติดตาม และเฝ้าระวังพฤติกรรมในการใช้
อินเทอร์เน็ต หรือการเผยแพร่เนื้อหารทางอินเทอร์เน็ตในทางไม่เหมาะสม
3.2 รายงานผลการสารวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประจาปี นับเนื่อง
มาตั้งแต่ปี 2543 โดยเป็นการสารวจการใช้แบบทั่งไปรวมถึงการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
3.3 การรณรงค์การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์ ด้วยการให้
ความรู้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง การปลูกฝังคุณธรรม จรรยาบรรณ หรือ
จริยธรรม นับเป็นมาตรการที่ดีที่สุดในการปกป้องเด็ก เยาวชน และสังคม จากการใช้
อินเทอร์เน็ตโดยไม่เหมาะสม หรือฝ่าฝืนต่อบรรทัดฐานและครรลองที่ดีงามของสังคม หรือฝ่า
ฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การจัดทาหนังสือท่องอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้
ประโยชน์ เป็นต้น
3.4 โครงการ Training for The Trainers สืบเนื่องจากการเตรียมความพร้อมใน
การรับมือกับปัญหาการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่
เหมาะสม ซึ่งคุกคามความสงบสุขของสังคมไทย ทาให้มีความจาเป็นต้องเตรียมความพร้อม
ของบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขานิติศาสตร์ ให้เตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว และเพื่อ
ความสัมฤทธิ์ผลในการใช้บังคับกฎหมาย การทาความเข้าใจศาสตร์ด้านวิทยาการทาง
คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบกับกฎหมายที่ตราขึ้นรองรับปัญหา
ดังกล่าว จึงจาเป็นต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจ ทางเทคนิค และกฎหมายเฉพาะ
ด้าน ดังนั้น โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ สานักงานเลขานุการ
คณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้พัฒนาโครงการ Training for The Trainers ขึ้น โดย
จัดอบรมความรู้ทั้งด้านเทคนิค นโยบาย และกฎหมายให้แก่กลุ่มบุคลากรขององค์กรต่าง
ๆ เช่น สานักงานศาลยุติธรรม สานักงานอัยการสูงสุด สภาทนายความ และหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง
3.5 การรณรงค์และสารวจเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารโดยหน่วยงาน
อื่น เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง รวมทั้งการสารวจการเผยแพร่สื่อ
อันไม่เหมาะสม ที่มีผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และสังคม
ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต
ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ตที่จัดอยู่ในรูปแบบของการล่อลวง โดยใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย (http://ictlaw.thaigov.net/ictlaws.html)
โปรแกรมรหัสลับ (Encryption Software)
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส
วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส

More Related Content

What's hot

งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1puangtong
 
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ตบทที่ 5 อินเทอร์เน็ต
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ตNattapon
 
คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7 คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7 Kru Jhair
 
สรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูล
สรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูลสรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูล
สรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูลHappy Sara
 
สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22
สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22
สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22terdtanin
 
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายบทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายxsitezaa
 
งานนำเสนอ1(ติ่ง)
งานนำเสนอ1(ติ่ง)งานนำเสนอ1(ติ่ง)
งานนำเสนอ1(ติ่ง)Paveenut
 
บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์xsitezaa
 
อินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการ
อินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการอินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการ
อินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการPrapaporn Boonplord
 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตprimpatcha
 
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet1
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet11.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet1
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet1Mevenwen Singollo
 
รายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตรายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตnatlove220
 
งานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิปงานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิปguest0b1d15e4
 

What's hot (17)

งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
ประวัติความเป็นมาของ Internet
ประวัติความเป็นมาของ Internetประวัติความเป็นมาของ Internet
ประวัติความเป็นมาของ Internet
 
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ตบทที่ 5 อินเทอร์เน็ต
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต
 
คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7 คอมม.4บทที่7
คอมม.4บทที่7
 
Internet
InternetInternet
Internet
 
สรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูล
สรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูลสรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูล
สรุปอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูล
 
บทเรียน เรื่องอินเตอร์เน็ต
บทเรียน เรื่องอินเตอร์เน็ตบทเรียน เรื่องอินเตอร์เน็ต
บทเรียน เรื่องอินเตอร์เน็ต
 
สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22
สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22
สื่อการเรียนสอนInternet.ppt22
 
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายบทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
 
งานนำเสนอ1(ติ่ง)
งานนำเสนอ1(ติ่ง)งานนำเสนอ1(ติ่ง)
งานนำเสนอ1(ติ่ง)
 
บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
บบที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
 
อินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการ
อินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการอินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการ
อินเทอร์เน็ตเพื่องานเลขานุการ
 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
 
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet1
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet11.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet1
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet1
 
รายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตรายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ต
 
งานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิปงานนำเสนอดร.นิป
งานนำเสนอดร.นิป
 
Lernning 05
Lernning 05Lernning 05
Lernning 05
 

Similar to วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตSutin Yotyavilai
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าJenchoke Tachagomain
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าJenchoke Tachagomain
 
it-10-46
it-10-46it-10-46
it-10-46buabbn
 
อินเทอร์เนด
อินเทอร์เนดอินเทอร์เนด
อินเทอร์เนดnoooom
 
Introduction to On-line Documemt Lec02
Introduction to On-line Documemt  Lec02Introduction to On-line Documemt  Lec02
Introduction to On-line Documemt Lec02Jenchoke Tachagomain
 
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งานบทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งานPiyanoot Ch
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์Kalib Karn
 
ความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ตความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ตเขมิกา กุลาศรี
 
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บบทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บTeetut Tresirichod
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตguesta2e9460
 

Similar to วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส (20)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
 
Home network
Home networkHome network
Home network
 
Internet
InternetInternet
Internet
 
Internet
InternetInternet
Internet
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
 
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้าอินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
อินเทอร์เน็ต Day2 เช้า
 
work3-21
work3-21work3-21
work3-21
 
Communication Concept
Communication ConceptCommunication Concept
Communication Concept
 
it-10-46
it-10-46it-10-46
it-10-46
 
อินเทอร์เนด
อินเทอร์เนดอินเทอร์เนด
อินเทอร์เนด
 
Powerpoint
PowerpointPowerpoint
Powerpoint
 
Introduction to On-line Documemt Lec02
Introduction to On-line Documemt  Lec02Introduction to On-line Documemt  Lec02
Introduction to On-line Documemt Lec02
 
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งานบทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
บทที่3เรื่องอินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
 
Week 2
Week 2Week 2
Week 2
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ตความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นอินเตอร์เน็ต
 
Colosoft Capsa
Colosoft CapsaColosoft Capsa
Colosoft Capsa
 
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บบทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
 
22
2222
22
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
 

More from peter dontoom

ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfpeter dontoom
 
Instruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfInstruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfpeter dontoom
 
Supervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfSupervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfpeter dontoom
 

More from peter dontoom (20)

research 653.pdf
research 653.pdfresearch 653.pdf
research 653.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
 
portfolio 66.2.pdf
portfolio 66.2.pdfportfolio 66.2.pdf
portfolio 66.2.pdf
 
supervision 65.pdf
supervision 65.pdfsupervision 65.pdf
supervision 65.pdf
 
research 65.pdf
research 65.pdfresearch 65.pdf
research 65.pdf
 
Instruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfInstruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdf
 
portfolio 2022.pdf
portfolio 2022.pdfportfolio 2022.pdf
portfolio 2022.pdf
 
Supervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfSupervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdf
 
4.3.pdf
4.3.pdf4.3.pdf
4.3.pdf
 

วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส

  • 1. วิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เนต ปวส. หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยที่ 2 World Wide Web หน่วยที่ 3 กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยที่ 4 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยที่ 5 การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยที่ 6 Web Browser Program หน่วยที่ 7 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หน่วยที่ 8 การค้นหาข้อมูลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยที่ 9 การดาวน์โหลด และการอัพโหลดไฟล์ หน่วยที่ 10 การสนทนาและการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการทางานของอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย Protocol TCP/IP, Client - Server , DNE , SUBNet , FTP , Telnet , E - mail , www การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล ปฏิบัติการใช้บริการต่างๆ ในอิเทอร์เน็ตการเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ปฏิบัติการใช้อิเทอร์เน็ต ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคาว่า Interconnection Network เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย แต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และ เสียง เป็นต้น" กิดานันท์ มลิทอง (2540 , 321) ได้กล่าวถึงความหมายของอินเตอร์เน็ตว่าหมายถึงระบบของการเชื่อมโยง ข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออานวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อการ เข้าถึงแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่ สมนึก คีรีโต , สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ และสมชาย นาประเสริฐชัย (2538 , 1) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อินเตอร์เน็ตเป็น
  • 2. กลุ่มเครือข่ายย่อยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (โปรโตคอล) เดียวกัน ภายใน อินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ อาทิ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการค้นหา ข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ จานวนมาก ข่าวสารในอินเตอร์เน็ตนับเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฎ อยู่ นอกจากนี้ นิพันธุ์ อินทอง และอาจารี นาโค (2540, 143) ได้ให้ความหมายของอินเตอร์เน็ตในทานองเดียวกัน ว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเอกชนฯ หรือเครือข่ายของ หน่วยงานราชการ โดยมีปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการคือ 1. อินเตอร์เน็ตยอมให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายหลากหลายประเภทสื่อสารกันได้ 2. ไม่มีองค์กรใดเป็นเจ้าของหรือจัดการวางระเบียบในอินเตอร์เน็ต 3. อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยจิตสานึก ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องมีมารยาทใน การใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มี ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน มีมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลแบบเดียวกัน ภายใน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยาและมีประสิทธิภาพ การบริการ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มี ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกันภายในอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่ สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก การใช้งานในอินเตอร์เน็ต การใช้งานหรือการบริการในอินเตอร์เน็ตมีหลายประเภทด้วยกัน กิดานันท์ มลิทอง (2540 , หน้า 326 - 328) ได้กล่าวถึงการใช้งานในอินเตอร์เน็ต ดังนี้ 1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronics mail : e-mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า "อี-เมล์" เป็นการรับส่ง ข้อความผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ในข่ายงาน เดียวกันหรือข้ามข่ายงานอื่นในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลกในทันที นอกจากข้อความที่เป็นตัวอักษรแล้ว ยังสามารถ ส่งแฟ้มภาพและเสียงร่วมไปด้วยได้เพื่อให้ผู้รับได้อ่านทั้งตัวอักษร ดูภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงพูด หรือเสียงเพลงประกอบด้วย 2. การถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายทอดโอนแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น แฟ้มข่าว แฟ้มภาพ แฟ้มเสียงเพลง ฯลฯ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบรรจุลง ( download) ไว้ใน คอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นการบรรจุนี้ ( upload) ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราส่งไปที่เครื่องบริการ แฟ้มเพื่อให้ผู้อื่นนาไปใช้ได้เช่นกัน 3. การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลกโดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายหลายล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมีระบบหรือ โปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มอย่างสะดวกรวดเร็วโปรแกรมที่นิยมใช้กันโปรแกรมหนึ่ง ได้แก่ อาร์คี (archic) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใด ๆ ในอินเตอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูล เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดก็เพียงแต่ เรียกใช้อาร์คีแล้วพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อม
  • 3. รายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วก็สามารถใช้เอฟทีพีเพื่อถ่ายโอน แฟ้มข้อมูลมาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้ 2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต ( Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของ สหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ เป็นเพียงการนาคอมพิวเตอร์จานวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ****ในปี พ.ศ. 2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสาเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึง ได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ****พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนา TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้ กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทาให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ดังนั้น TCP/IP คือข้อกาหนดที่ทาให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่าง ถูกต้อง ****พ.ศ.2529 ได้มีการกาหนดชื่อโดเมน ( Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทา ฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จาเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียก เว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บ ทั้งหมด เป็นต้น ****พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( National Science Foundation - NSF) เข้ามา ดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่ เพียงผู้เดียว ในการกาหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิม ที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่ สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก ( Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไป ใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก (http://www.thaiall.com) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ****พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนาอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และ
  • 4. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทย เน็ต" ( THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย ****ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีก หลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543) 3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ .2530 ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยี แห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้ง 2 สถาบันเป็นการใช้บริการจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์โดยความร่วมมือกับประเทศออสเตรียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้วย สายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ .ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้นได้ยื่นขอที่อยู่ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต sritrang.psu.th นับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรก ของประเทศไทย พ.ศ.2534 บริษัท DEC(Thailand) ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่ อินเทอร์เน็ตเป็น dec.co.th โดยที่ "th" เป็นส่วนที่เรียกว่าโดเมน(domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย "ลีสไลน์"(Leased Line) ซึ่งเป็นสาย ความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย UUNET ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จากัด(UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะ เริ่มแรกโดย Leased Line ความเร็ว 9600 bps(bps : bit pes second ) นับเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว เครือข่ายโดยที่ตั้งชื่อว่า จุฬาเน็ต ( ChulaNet ) ได้ปรับปรุงด้วยความเร็วของ Leased Line จาก 9600 bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbps และ128 kbps ตามลาดับ และได้มีสถานศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อ เครือข่าย อินเตอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบัน เอไอที ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล ( MU ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( CMU ) สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาลัยเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ( KMITL ) และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ( AU ) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทย เน็ต (THAINET ) ปี พ .ศ.2535 เป็นปีเริ่มต้นของการจัดกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมี ชื่อว่า เอ็นดับเบิลยูจี ( NWG : NECTEC E- mail Workking Group) โดยหน่วยงานของรัฐ คือ ศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ( NECTEC: National Electronic and
  • 5. Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเครือข่าย "ไทยสาร" ( ThaiSarn : Thai Social / Scientific and Research Network ) 4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมใช้ทรัพยากรได้ ดังนั้นจึงมีการควบคุม มาตรฐานการติดต่อโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ทาการติดต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการใช้ โปรโตคอล TCP/IP เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกรุ่นทุกแบบ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พูดคุยกันรู้เรื่อง โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน การติดต่อสื่อสารก็จะเริ่มขึ้น โดยการ ติดต่อสื่อสารจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทาการส่งข้อมูลเราจะ เรียกว่าเครื่องให้บริการ ( Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูล เราจะเรียกว่าเครื่องรับบริการ (Client) ซึ่งการติดต่อในลักษณะนี้เราเรียกว่าการติดต่อแบบ Client-Server ตัวอย่างวิธีบริการติดต่อ www บนอินเตอร์เน็ต บริการรูปแบบหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เชื่อแน่ว่าเราทุกคนต้องเคยสัมผัสก็คือ WWW หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ นั่นเอง การให้บริการในรูปแบบนี้คือการเรียกบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape จากเครื่อง ของเราและระบุ URL เพื่อใช้ในการอ้างที่อยู่เก็บเว็บ เท่านี้เราก็สามารถเปิดดูเว็บได้แล้ว ดังตัวอย่าง เมื่อเรา ระบุ URL เป็น www.bangkokcity.com ก็จะเป็นการเปิดดูเว็บไซต์ Bangkokcity.com จากการใช้บริการ WWW ในข้างต้น ชื่อ URL ที่เราป้อนจะถูกส่งไปที่ Dns Server (Domain Name Server) ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ URL ( ชื่อที่มีความหมาย เช่น www.yahoo.com , www.dkt.ac.th เป็นต้น ) ให้กลายเป็นชื่อแบบตัวเลขหรือ IP Addressนั่นเอง โดยหมายเลข IP นั้นจะถูกใช้ในการอ้างอิงตาแหน่งเครื่องในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ใน อินเตอร์เน็ตจะมีหมายเลข IP ที่ไม่ซ้ากันทาให้เราสามารถระบุที่อยู่ของเครื่องที่เก็บเว็บที่เราต้องการเปิดดูได้ โดยเราอาจจะเปรียบหมายเลข IP เหมือนกับเลขที่บ้านของเราในการส่งจดหมาย ก็ได้ จากนั้นเมื่อเราได้เลข IP ที่เราต้องการ คาร้องขอดูเว็บของเราก็จะถูกส่งไปที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มี หมายเลข IP นั้น และเมื่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์รับคาร้องขอจากเรา ก็จะส่งเว็บที่เก็บอยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ มา แสดงผลที่เครื่องของเรา และนี่คือขั้นตอนทั้งหมดในการใช้บริการ WWW 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โยงใยกันทั่วโลก มีบริการในด้านต่างๆ มากมายไว้ บริการสาหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบเครือข่ายในรูปแบบ ต่างๆ ดังนี้ การอ่าน อินเทอร์เน็ตมีบริการอ่านบทความ ความรู้ นวนิยาย เรื่องสั้น จากหนังสือ วารสารและนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
  • 6. การค้นคว้าข้อมูล มีบริการที่สามารถเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เรา สามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน World Wide Web หรือ WWW เช่น เข้าไปค้นหาข้อมูลที่เป็น ความรู้ ศัพท์ เรื่องที่กาลังเป็นที่นิยม ทั้งข้อมูล ภาพและเสียง ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อแนะนา บริษัท สินค้า องค์การหรือหน่วยงานต่างๆ ส่งคาอวยพร ในเทศกาลต่างๆ มีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้คนที่รับข้อมูล ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากมุม ต่างๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่างๆ ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ที่รวดเร็ว บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ (Software Download) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่ง บริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft,ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ เพื่อ ต้องการ Down Load โปรแกรมเพื่อไปใช้งาน เพื่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด (Explore Libraries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในระบบ เครือข่าย Online ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่มีในห้องสมุดต่างๆ การผ่อนคลาย มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาให้สามารถใช้บริการ เกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ เกมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริม ทักษะความคิดในเรื่องเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การซื้อสินค้า (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประโยชน์ด้านความบันเทิง มีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And Listen Music) การแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message) ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ได้ทั่ว โลกในเวลาอันรวดเร็ว การสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า Chat สามารถพูดกันได้โดยตรง เหมาะ สาหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว บริการตอบคาถามให้คาปรึกษา มี web board สาหรับให้คาปรึกษา หรือตอบคาถาม โดยที่ผู้ถามและ ผู้ตอบไม่รู้จักกันหรือรู้จักกันก็ได้ มีผลดีที่บางข้อคาถามผู้ถามไม่กล้าถามใคร ก็จะมีผู้ให้คาตอบที่เป็นทาง สว่างแก่ชีวิตได้ การเรียนทางไกล (Distance Learning) ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ และต่างประเทศมีการ ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทาการเรียนผ่าน ระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์ โดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทาการเรียนการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • 7. 6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต 1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail) เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ต ของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับ เวลาใดก็ได้ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย 2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web) เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และ เสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และInternet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นwww.nu.ac.th nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา th หมายถึง ประเทศไทย 3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบการสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload) 4. การทางานข้ามเครื่อง (TelNet) บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุ ชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที 5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat) ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ใน ลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้ สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น 6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet) เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด 7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie) เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละ
  • 8. หัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อ ออกมาให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้าง 7. คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของ เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.) HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้ม ว่า index.html หรือ index.htm เสมอ Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมี การจดทะเบียนที่www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th URL(Uniform Resouire Locator) หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สาหรับการสื่อสารแบบ TCP TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกร รมในการติดต่อสื่อสาร ทาให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กาหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น ISP (Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ จาเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทา ธุรกรรมให้พร้อมสรรพ E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทาธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
  • 9. Hypertext คือเอกสารที่ทาการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทาให้สามารถอ่านได้หลายมิติ Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีก เครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากาลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกล ออกไป POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทาให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อ ของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้ ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่าdatatan.net IP Address คือหมายเลขรหัสประจาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้า กันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่าง กัน การเข้าร่วม Mailing Listโดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่ อยู่ใน List ได้อ่านกัน เวิลด์ไวด์เว็บ เป็น บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียง ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการ กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เวิลด์ไวด์เว็บยัง เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นหารายละเอียดใน เรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจากัด ใช้ งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทาให้ประหยัดเวลา รวมทั้งเรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทา ไปให้ ผู้คนทั่วโลกโดยผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ ได้เช่นกัน โดยเสียค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือ บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสาคัญ ทาให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่ว โลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว
  • 10. ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบ การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ ทาให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสาร สนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการ สื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทาให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วใน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง (จิตเกษม พัฒนาศิริ, 2540) จากการวิจัยดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยง ทาให้เวิลด์ไวด์เว็บกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้การติดต่อสื่อสาร และการนาเสนอผ่านเครือข่ายทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้
  • 11. เว็บเซิร์ฟเวอร์ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้ และมีโปรแกรม ประเภท HTTPD ทาหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูล ให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์ เว็บไซต์ เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตาแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็น เว็บเพจ ต่าง ๆที่เจ้าของระบบ ได้ จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้า กับผู้อื่น วิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วน แรกของ URLเป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะ ของข้อมูล ว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บคั่นด้วยเครื่องหมาย :// และส่วนที่สอง ใช้บอกตาแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ เช่น http://www.nectec.or.th/ http://www.disney.com/ http://www.microsoft.com/ ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ และ ไฮเปอร์มีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คาหรือวลีเรืองแสงหรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการ ขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ และ เมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์ เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือเว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสาคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บ บราวเซอร์ ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือ นอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว ได้ด้วย กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโลกยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการดารงชีวิตของ มนุษย์อย่างยิ่ง เช่น การศึกษา การค้าขาย ความบันเทิง อุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้า ต้องสร้างความเชื่อมั่น ดังนั้นเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบให้จัดทาโครงการกฎหมาย
  • 12. เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ แห่งชาติ (National Information Technology Committee) หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการไอที แห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC) ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่กาลังดาเนินการจัดทากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย มีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือที่ เรียกว่า เนคเทค (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency) หรือ สวทช. กระทรว งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสานักงานเลขานะการคณะกรรมการไอที แห่งชาติ ทาหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง 6 ฉบับ ดังต่อไปนี้ (www.itjournal .hypermart.net/law.html) 1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) ปัจจุบันการทาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มขึ้น และมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งไม่ได้ทาลงบนกระดาษแต่ทา ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงจัดทาขึ้นเพื่อรองรับสถานะทาง กฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการรับฟัง พยานหลักฐาน และการชั่งน้าหนักพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับ หนังสือหรือหลักฐานที่เป็นหนังสือ 2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law) ในการทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกากับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นที่ น่าเชื่อถือเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อแบบธรรมดา สามารถระบุตัวบุคคลผู้ลงลายมือ ชื่อ สามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นเห็นด้วยกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กากับ 3. กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) ปัญหาสาคัญที่เกิดขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญหาหนึ่งก็ คือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์บางประเภทอาจส่งผลกระทล
  • 13. ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อปกป้องสั่งก็ คือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์บางประเภทอาจส่งผลกระทล ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อปกป้องสังคมต่อการ กระทาของอาชญากร โดยมีบทลงโทษอาชญากรที่กระทาผิดกฎหมาย 4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law) การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 2 ทศวรรษแล้วตั้งแต่มีการ นาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการธนาคาร เช่น บริการออนไลน์ ระบบเงิน ฝาก ซึ่งสามารถรับฝาก ถอน หรือโอนต่างสาขาธนาคารได้ แต่เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายที่ เกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีแต่เพียงระเบียบธนาคารแห่ง ประเทศไทย และประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการโอนเงินเท่านั้น กฎหมาย เกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงมีขึ้นเพื่อวางกฎเกณฑ์ให้การทาธุรกรรมทางการเงิน สามารถทาได้สะดวก ปลอดภัย อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มคอรงมากขึ้น 5. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) แม้ว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีจะก่อให้เกิดผลดี แต่ถ้านามาใช้ในทางที่ผิดย่อม ก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น การนาข้อมูลข่าวสารไปใช้โดยไม่ชอบ การนาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนาไปใช้ในทางทุจริตเพื่อให้บุคคลนั้นเสียหาย การตรากฎหมายฉบับ นี้จึงมีเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจากการคุกคามของบุคคลอื่น ในการนาข้อมูลส่วนตัวของ บุคคลอื่นไปใช้ในทางที่มิชอบ 6. กฎหมายลาดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ว่าด้วยการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสาสนเทศ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (Universal Access Law) ข้อมูลข่าวสารเป็นที่มาของความรู้ ความรู้จะนาไปสู่การปกครองที่ประสบความสาเร็จ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ แต่พัฒนาการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็วทาให้เกิดช่อว่างระหว่างผู้มีความรู้และผู้ไม่มีความรู้แตกต่างกันมากขึ้น ผลของความ แตกต่างนี้ส่งผลให้สังคมไม่สามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่าง เต็มที่ ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้วางหลักการที่สาคัญในการ ใช้โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไว้ใน มาตรา 78 ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐต้องกระจายอานาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ ท้องถิ่นได้เอง พัฒนาการเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอด
  • 14. ทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนา จังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคานึงถึงเจตนารมณ์ ของประชาชนในจังหวัดนั้น” ดังนั้นเพื่อสนองรับต่อหลักการตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 จึงจาเป็นต้องตรากฎหมายนี้ มาตรการป้ องกันและปราบปรามอาชญากรรม ทางคอมพิวเตอร์ มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้จัดแบ่ง ออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ มาตรการด้านเทคโนโลยี การต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบนี้ จะป้องกันได้โดยที่ผู้ใช้ สามารถนาระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ มาติดตั้งในการใช้งาน เช่น ระบบการตรวจจับการบุก รุก (Intrusion Detection) หรือการติดตั้งกาแพงไฟ (Firewall) เพื่อป้องกันระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ของตนให้มีความปลอดภัย ซึ่งนอกเหนือจากการติดตั้งเทคโนโลยีแล้วการ ตรวจสอบเพื่อประเมินความเสี่ยง เช่น การจัดให้มีระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงและการให้การ รับรอง (Analysis Risk and Security Certification) รวมทั้งวินัยของผู้ปฏิบัติงาน ก็เป็นสิ่ง สาคัญที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่าเสมอ มิเช่นนั้นการติดตั้งเทคโนโลยีที่มี ประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการป้องกันปัญหาด้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ก็จะไม่ก่อให้เกิด ประโยชน์แต่อย่างใด มาตรการด้านกฎหมาย มาตรการด้านกฎหมายเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้นามาใช้ในการต่อต้าน อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยการบัญญัติหรือตรากฎหมายเพื่อกาหนดว่าการกระทาใดบ้าง ที่มีโทษทางอาญา ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกฎหมายหนึ่งในหกฉบับที่อยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมี สาระสาคัญ 2 ส่วนหลัก คือ 1.1 การกาหนดฐานความรับผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทาที่เป็น อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ
  • 15. คอมพิวเตอร์โดยไม่มีอานาจ (Illegal Access) ความผิดฐานลักลอบดัก ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Illegal Interception) หรือความผิดฐานรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ และ ระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (Interference Computer Data and Compute System) ความผิด ฐานใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ (Misuse of Devices) เป็นต้น 1.2 การให้อานาจพิเศษแก่เจ้าพนักงานในการปราบปรามการกระทา ความผิด นอกเหนือเพิ่มเติมไปจากอานาจโดยทั่วไปที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ๆ เช่น การให้ อานาจในการสั่งให้ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ อานาจในการเรียกดูข้อมูล จราจร (Traffic Data) หรืออานาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นในบางกรณี 2. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ตราขึ้นใช้บังคับแล้ว และที่อยู่ระหว่าง กระบวนการตรานิติบัญญัติที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือปราบปรามอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์ เช่น 2.1 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 74 ซึ่ง กาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการดักรับไว้ หรือใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความ ข่าวสาร หรือข้อมูลอื่นใดที่มีการสื่อสารโทรคมนาคมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2.2 กฎหมายอื่นที่อยู่ระหว่างการดาเนินการ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเป็นการกาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือแปลง บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนกาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการใช้ มีไว้เพื่อใช้ นาเข้า หรือ ส่งออก การจาหน่ายซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมหรือแปลง และลงโทษบุคคลที่ทาการผลิต หรือมีเครื่องมือในการผลิตบัตรดังกล่าว และบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งสาเนาหมายอาญาผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เป็นมาตรการสาคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทางคอมพิวเตอร์สัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้นั้นคือ มาตรการด้านความร่วมมือกันระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมิได้จากัดเพียงเฉพาะหน่วยงานที่มี หน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในด้าน ของผู้พัฒนาระบบ หรือผู้กาหนดนโยบายก็ตาม นอกเหนือจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ แล้วสิ่งสาคัญอีกประการหนึ่งคือ ความจาเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานด้านความปลอดภัย
  • 16. ของเครือข่ายเพื่อรับมือกับปัญหาฉุกเฉินด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ขึ้นโดยเฉพาะ และ เป็นศูนย์กลางคอยให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้คาปรึกษาถึงวิธีการ หรือแนวทาง แก้ไข ซึ่งปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค ได้ จัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศ ไทย (Thai Computer Emergency Response Team ThaiCERT) เพื่อเป็นหน่วยงานให้ความ ช่วยเหลือและให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการตรวจสอบและการักษาความปลอดภัย คอมพิวเตอร์แก่ผู้ที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นหน่วยงานรับแจ้งเหตุการณ์ที่มีการ ละเมิดความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น มาตรการทางสังคม ในปัจจุบันสังคมไทยกาลังเผชิญกับปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางไม่ชอบหรือ ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งดารการเผยแพร่เนื้อหาอันไมเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสื่อ ลามกอนาจาร ข้อความหมิ่นประมาท การชักจูงล่อลวง หลอกลวงเด็กและเยาวชนไปในทางที่ เสียหาย หรือพฤติกรรมอื่นอันเป็นภัยต่อสังคม โดยคาดการณ์ว่าการกระทา หรือพฤติกรรม ดังกล่าวจะมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นตามสัดส่วนการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต อันส่งผลกระทบ ต่อเด็กและเยาวชนของชาติ ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้เร่งรณรงค์ในการ ป้องกันปัญหาดังกล่าวร่วมกันเพื่อดูแลและปกป้องเด็กและเยาวชนจากผลกระทบดังกล่าว ซึ่ง สามารถสรุปได้ ดังต่อไปนี้ 1. มาตรการเร่งด่วนของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช.) ได้มีมติเห็นชอบต่อ มาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทาง อินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการด้านนโยบาย อินเทอร์เน็ตสาหรับประเทศไทย ซึ่งมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานภายใต้การดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทา หน้าที่เป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการกาหนดให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือตามลาดับ คือการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ใน การสืบสวน สอบสวน และรวบรวมพนายหลักฐาน การสกัดกั้นการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่ เหมาะสม รวมทั้งการรับแจ้งเหตุเมื่อมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เช่น
  • 17. 1.1 การสื่อสารแห่งประเทศไทย และบริษัท ทศท.คอร์ ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) ได้กาหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการ โทรศัพท์ทุกราย ให้ความร่วมมือในการตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์ให้บริการ ให้ตรงกัน เพื่อบันทึกข้อมูลการบันทึกการเข้าออกจากระบบ รวมทั้งการบันทึกและเก็บข้อมูล การใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้บริการ (Log File for User Access) พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ต้น ทาง (Caller ID) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน 1.2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) กาหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ระงับการเผยแพร่เนื้อหาอันมีข้อความหรือภาพที่ไม่เหมาะสม และสกัดกั้นมิให้ผู้ใช้เข้าถึง แหล่งข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม 1.3 สานักงานคณะกรรมการตารวจแห่งชาติ ให้สานักงานคณะกรรมการตารวจ แห่งชาติประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายเทคนิคและฝ่ายกฎหมายในการจัดตั้งศูนย์ รับแจ้งเหตุบนอินเทอร์เน็ต (Hot Line) เมื่อพบเห็นการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทาง อินเทอร์เน็ตรวมทั้งสอดส่องดูแลการให้บริการของร้านบริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มิให้เป็นในทาง ที่ไม่ชอบ 2. มาตรการระยะยาวของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ สืบเนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย และการ เผยแพร่สื่อลามกอนาจารทางอินเทอร์เน็ต เป็นปัญหาซึ่งมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันยังไม่ เพียงพอ คณะรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทา หน้าที่เลขานุการในการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อกาหนดฐานความผิด ป้องกันและ ปราบปรามการกระทาผิดกล่าวคือ ร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อบรรเทา ปัญหาสังคมและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาว 3. การดาเนินการของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 3.1 การจัดทาฐานข้อมูลรวบรวมเว็บไซต์ หรือพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ในทางไม่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ติดตาม และเฝ้าระวังพฤติกรรมในการใช้ อินเทอร์เน็ต หรือการเผยแพร่เนื้อหารทางอินเทอร์เน็ตในทางไม่เหมาะสม
  • 18. 3.2 รายงานผลการสารวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประจาปี นับเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2543 โดยเป็นการสารวจการใช้แบบทั่งไปรวมถึงการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม 3.3 การรณรงค์การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์ ด้วยการให้ ความรู้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง การปลูกฝังคุณธรรม จรรยาบรรณ หรือ จริยธรรม นับเป็นมาตรการที่ดีที่สุดในการปกป้องเด็ก เยาวชน และสังคม จากการใช้ อินเทอร์เน็ตโดยไม่เหมาะสม หรือฝ่าฝืนต่อบรรทัดฐานและครรลองที่ดีงามของสังคม หรือฝ่า ฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การจัดทาหนังสือท่องอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้ ประโยชน์ เป็นต้น 3.4 โครงการ Training for The Trainers สืบเนื่องจากการเตรียมความพร้อมใน การรับมือกับปัญหาการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่ เหมาะสม ซึ่งคุกคามความสงบสุขของสังคมไทย ทาให้มีความจาเป็นต้องเตรียมความพร้อม ของบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขานิติศาสตร์ ให้เตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว และเพื่อ ความสัมฤทธิ์ผลในการใช้บังคับกฎหมาย การทาความเข้าใจศาสตร์ด้านวิทยาการทาง คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบกับกฎหมายที่ตราขึ้นรองรับปัญหา ดังกล่าว จึงจาเป็นต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจ ทางเทคนิค และกฎหมายเฉพาะ ด้าน ดังนั้น โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ สานักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้พัฒนาโครงการ Training for The Trainers ขึ้น โดย จัดอบรมความรู้ทั้งด้านเทคนิค นโยบาย และกฎหมายให้แก่กลุ่มบุคลากรขององค์กรต่าง ๆ เช่น สานักงานศาลยุติธรรม สานักงานอัยการสูงสุด สภาทนายความ และหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง 3.5 การรณรงค์และสารวจเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารโดยหน่วยงาน อื่น เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง รวมทั้งการสารวจการเผยแพร่สื่อ อันไม่เหมาะสม ที่มีผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และสังคม ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ตที่จัดอยู่ในรูปแบบของการล่อลวง โดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย (http://ictlaw.thaigov.net/ictlaws.html) โปรแกรมรหัสลับ (Encryption Software)