SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงาน
นักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
Investigating the Acceptance of Virtual Presentation in Student Project in Multimedia
Technology Course of Undergraduate Students in Department of Information Technology at
Nakhon Pathom Rajabhat University
ปริพัส ศรีสมบูรณ์1
และ ณมน จีรังสุวรรณ2
Paripas Srisomboon1
and Namon Jeerungsuwan2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการยอมรับ และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการ
ยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Virtual Presentation) ในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้าน
มัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม โดย
ใช้แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ
โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ที่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาโครงงานนักศึกษา
ด้านมัลติมีเดียในปีการศึกษาที่ 1/2556 จํานวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัย
พบว่า การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และ
ทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจใช้รูปแบบการ
นําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบ
การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นกิจกรรมการเรียนที่ได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
คําสําคัญ: รูปแบบการยอมรับเทคโนโลยี, การนําเสนอแบบเสมือน, โครงงานนักศึกษา, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร
                                                            
1 โปรแกรมวิขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
1 Information Technology, Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajbhat University
2 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 Information and Communication Technology for Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut's University of
Technology North Bangkok
ABSTRACT
Objectives of the research study were to investigate the acceptance level and the factors that
were related to the acceptance of virtual presentation in Student Project in Multimedia Technology
course of undergraduate students by using Technology Acceptance Model (TAM). The research was
the survey research and used questionnaire to collect the data. The samples of the research were 40
undergraduate students in Department of Information Technology at Nakhon Pathom Rajabhat
University, who was enrolled in the Student Project in Multimedia Technology course on the first
semester of 2013, randomly selected using the simple random sampling. The results showed that
perceived ease of use, perceived usefulness and influencing of ICT Literacy significantly related to
the students’ attitude to use of virtual presentation of the students which significantly related to their
intention to use at the statistical level of .01. It was found from the research that the virtual
presentation was accepted by the students.
Keyword: Technology Acceptance Model (TAM), Virtual Presentation, Student Project, Information and Communication Literacy
E-mail address: paripas@hotmail.com, namon2015@gmail.com
บทนํา
ในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ระบบการศึกษา
ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้ง
การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสาร พร้อมทั้งการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอล (Digital Life) หนึ่ง
ทักษะสําคัญที่องค์กรนี้ได้กําหนดให้เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ก็คือ ทักษะด้านการ
สื่อสาร (Communication Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้สื่อสารสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิตอลและสภาพแวดล้อม
ทางดิจิตอลเพื่อสื่อสารและทํางานร่วมกัน รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางไกลสําหรับตนเองและผู้อื่น ด้วยการ
มีปฏิสัมพันธ์ให้ความร่วมมือและเผยแพร่งานร่วมกับเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลอื่นๆ สามารถสื่อสารข้อมูลและ
ความคิดไปสู่ผู้รับจํานวนมากอย่างมีประสิทธิผลโดยใช้สื่อหลากหลายรูปแบบได้ (Partnership for 21st Century
Skills, 2011)
ในส่วนของประเทศไทยได้มีการกําหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554–
2563 (National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT 2020) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร เป็นพลังขับเคลื่อนสําคัญในการนําพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญา โดยพัฒนาอย่างทั่วถึงและ
เสมอภาค ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาจึงจําเป็นต้องหาวิธีการในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารที่มีอยู่มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารซึ่งจําเป็นต่อการดํารงชีวิตใน
ศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2554)
นอกจากนี้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กําหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของคุณวุฒิระดับ
ปริญญาตรี ไว้ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการ
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะเห็นได้ว่าทักษะด้านการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นทักษะ
หนึ่งที่จําเป็นต้องพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานของผู้เรียนระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพ (กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552)
หนึ่งในทักษะด้านการสื่อสารที่สําคัญในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการนําเสนอ (Presentation Skill) ซึ่ง
เป็นทักษะที่เข้ามามีบทบาทสําคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา ซึ่งหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง
ต้องอาศัยวิธีการนําเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดําเนินงานต่าง
ๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนําเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้า
งานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนําเสนอ เพื่อนําไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ และเพื่อผลสําเร็จของการพัฒนา
งานของตน หรือขององค์กรและหน่วยต่างๆ กล่าวโดยสรุปการนําเสนอมีความสําคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุก
ประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดําเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจน เผยแพร่ความก้าวหน้าของ
งานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ (จิรวัฒน์, 2553)
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทํางานและอยู่รอดในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ ผู้เรียนจึง
จําเป็นต้องได้รับการเตรียมพร้อมด้านทักษะการนําเสนอแนวคิดหรือผลงานของตนสู่สาธารณะ ในกระบวนการ
เรียนการสอนรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Student Project in Multimedia
Technology) ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาวิจัยหรือพัฒนา
โครงงานทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยผู้เรียนจะต้องนําความรู้ที่ได้ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจาก
ตลอด 3 ปีการศึกษานํามาสร้างเป็นโครงงานที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้จริง ขั้นตอนหลังจากที่ผู้เรียนได้ผ่าน
การศึกษาจนได้หัวข้อโครงงานแล้ว ผู้เรียนจะต้องนําเสนอหัวข้อโครงงานของตนต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
และสมาชิกในห้องเรียน ในส่วนนี้ผู้สอนมีหน้าที่พัฒนาทักษะในการค้นคว้าข้อมูล กลั่นกรอง เรียบเรียงเนื้อหา
ออกแบบ สร้างสื่อนําเสนอ และดูแลฝึกฝนทักษะในการนําเสนอหน้าชั้นเรียน (Face-to-Face Presentation) ของ
ผู้เรียนทุกคน แต่เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาด้านจํานวนผู้เรียนต่อห้องเรียนที่มีปริมาณมากเฉลี่ยถึง 45 คนต่อ 1
ห้องเรียน เวลาการเรียนในห้องเรียนที่มีจํากัดอยู่ที่ 7 คาบเรียนต่อสัปดาห์ ซึ่ง 1 คาบมีเวลา 50 นาที
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2555) และข้อจํากัดด้านระยะทางที่ห่างไกล ผู้สอนจึงไม่สามารถจัดกิจกรรมใน
ห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้มีโอกาสในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการนําเสนอหน้าชั้นเรียนได้
อย่างเต็มประสิทธิภาพ และทั่วถึงได้
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังที่กล่าวข้างต้น และเพื่อเป็นการตอบรับนโยบายที่สนับสนุนการนําเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนสามารถฝึกฝนทักษะการนําเสนอของตนเอง
ผู้วิจัยจึงได้นํารูปแบบการนําเสนอแบบเสมือน (Virtual Presentation) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ในส่วนของการนําเสนอหัวข้อโครงงานของ
นักศึกษา โดยกําหนดให้ผู้เรียนแสดงความรู้พื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT
Literacy) ในการค้นหาข้อมูล การเรียบเรียงเนื้อหา การออกแบบ การผลิต และการเผยแพร่การนําเสนอหัวข้อ
โครงงานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งการนําเสนอหัวข้อโครงงานจะถูกนําเสนอในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) ที่
ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงงานที่นักศึกษา
ทํา เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา แนวคิดในการแก้ปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการดําเนินโครงงาน และการออกแบบโครงงาน
จากเหตุผลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความจําเป็นในการศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ
โครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรม
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ
การยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ตามแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี
(Technology Acceptance Model หรือ TAM) (Davis, 1989) ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ทําให้ผู้จัดการศึกษา
สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้สอนในการพิจารณาใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเพื่อเป็น
เครื่องมือในการพัฒนาทักษะด้านการนําเสนอของผู้เรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้าน
มัลติมีเดียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีต่อการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
ในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
กรอบแนวคิดการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นําแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model
หรือ TAM) ซึ่งได้พัฒนาโดยเดวิส (Davis, 1989) โดยนําตัวแปรต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกรอบแนวคิดของ
งานวิจัย จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี พบตัวแปรต่างๆ ที่สามารถ
นํามาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ดังนี้
1. การรับรู้ประโยชน์ (Perceive Usefulness: PU) หมายถึง การที่บุคคลรับรู้ว่าเทคโนโลยีที่นํามาใช้นั้น
ก่อให้เกิดประโยชน์ และถ้าหากมีการใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่จะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ซึ่งการรับรู้ประโยชน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อความตั้งใจใช้ระบบสารสนเทศ (Agarwal & Prasad, 1999; Davis et
al.,1989; Jackson et al., 1997;Venkatesh, 1999) ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสมือนเน้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะในการนําเสนอ เช่น การใช้
ระบบวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการนําเสนอความคิด ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการใช้ทักษะ
ทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ได้เรียนมาเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหา ออกแบบ ถ่ายทํา ตัดต่อ และเผยแพร่
การนําเสนอหัวข้อโครงงานของตนได้อย่างอิสระ ดังนั้นการรับรู้ประโยชน์เป็นปัจจัยสําคัญที่บ่งชี้ถึงความตั้งใจใน
การใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
2. การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (Perceive Ease of Use: PEU) หมายถึง ระดับความเชื่อของผู้ใช้ที่
คาดหวังต่อเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นและเป็นเป้าหมายจะใช้ ต้องมีความง่ายในการเรียนรู้ที่จะใช้งานและไม่
ต้องใช้ความพยายามมาก (Davis, 1989) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้เทคโนโลยี
และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้เทคโนโลยีโดยส่งผ่านการรับรู้ประโยชน์ (Agarwal & Prasad, 1999; Davis,
Bagozzi & Warshaw,1989; Jackson, Chow & Leitch, 1997; Venkatesh,1999)
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication
Technology Literacy: ICT) หมายถึง ความเข้าใจ และความสามารถในการค้นหาข้อมูล การกลั่นกรองข้อมูล
การเรียบเรียงเนื้อหา การออกแบบการนําเสนอ การผลิตสื่อการนําเสนอด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และ
ซอฟท์แวร์ และเผยแพร่การนําเสนอสู่สาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการนําเสนอจะอยู่รูปแบบของการพูด (Oral)
การเขียน (Writing) และใช้สื่อประสม (Multimedia) ที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชัน
และเสียง ซึ่งความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ใช้เทคโนโลยีอาจจะมีอิทธิพลต่อ
ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี (Partnership for 21st Century Skills, 2011)
4. ทัศนคติที่มีต่อการใช้ (Attitude Toward using: ATT) หมายถึง ทัศนคติของผู้ใช้ เป็นเจตนาที่เกิดขึ้น
จากผลของการรับรู้ถึงประโยชน์และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งหากผู้ใช้รับรู้ว่าเทคโนโลยีนั้นมี
ประโยชน์หรือใช้งานง่าย ผู้ใช้ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบนั้น ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีนั้น
(Ajzen & Fishbein, 1980)
5. พฤติกรรมความตั้งใจใช้ (Behavioral Intention to Use: BI) หมายถึงความตั้งใจที่ผู้ใช้จะพยายามใช้
งานเทคโนโลยีนั้น และความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้จะยอมรับ และมีท่าทีที่จะใช้งานเทคโนโลยีนั้นต่อไปในอนาคต
(Davis et al.,1989)
ซึ่งจากตัวแปรทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ได้มีการดัดแปลงให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ใช้ในการศึกษาการ
ยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนของนักศึกษา ซึ่งสามารถแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัยได้
ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1: กรอบแนวคิดในการวิจัย
การรับรู้ประโยชน์
(PU)
การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน
(PEU)
ทัศนคติที่มีต่อการ
ใช้ (ATT)
ความตั้งใจที่จะใช้
(BI)
ความสามารถในการใช้ ICT
(ICT) 
ผลการยอมรับ
การนําเสนอโครงงาน
แบบเสมือน
วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษา
ด้านมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ
(Survey Research) มีการดําเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาทฤษฎี และประยุกต์ใช้รูปแบบการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการศึกษา และกําหนด
รายละเอียดของรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย
ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระยะที่ 2 นักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อ
โครงงานแบบเสมือนในการเรียนการสอนรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย
ระยะที่ 3 เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อรูปแบบรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
สําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา โครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2556 จํานวน 45 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้มาจากการคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro
Yamane, 1973:125) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 40 คน เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากจากรายชื่อประชากร
ทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ
วิจัย และข้อคําถามแต่ละข้อได้มีการประยุกต์มาจากงานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบบจําลองด้านการยอมรับ
เทคโนโลยี (Technology Acceptance Model หรือ TAM) (Davis et al.,1989)
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติต่างๆ ดังนี้
1. วิเคราะห์ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย และการอภิปราย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา การมีเครื่องคอมพิวเตอร์
ใช้ การมีอินเทอร์เน็ตใช้ และประสบการณ์ในการใช้ ICT ที่เกี่ยวข้อกับการนําเสนอ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา
ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ได้ผลดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1: ข้อมูลพื้นฐานของตัวอย่าง (n = 40)
ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง จํานวน (คน) ร้อยละ
เพศ ชาย
หญิง
18
22
45
55
อายุ 12-14 ปี
15-16 ปี
17-18 ปี
19-20 ปี
21 ปี ขึ้นไป
0
0
0
1
39
0
0
0
3
97
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1
ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2
ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3
ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4
0
0
0
40
0
0
0
100
การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ มี
ไม่มี
39
1
97
3
การเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ต มี
ไม่มี
39
1
97
3
ประสบการณ์ในการใช้กล้องวีดีโอดิจิตอล มี
ไม่มี
40
0
100
0
ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสําหรับตัดต่อวิดีโอ มี
ไม่มี
40
0
100
0
ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสําหรับสร้างสื่อนําเสนอ มี
ไม่มี
40
0
100
0
ประสบการณ์ในการเผยแพร่วีดีโอบนระบบอินเตอร์เน็ต มี
ไม่มี
40
0
100
0
ประสบการณ์ในการนําเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล มี
ไม่มี
40
0
100
0
จากตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเมื่อจําแนกตามเพศ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ
55.0 เมื่อจําแนกตามอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีอายุ 21 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.0 เมื่อจําแนกตามระดับการศึกษา
พบว่านักศึกษาทุกคนศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และ
อินเทอร์เน็ตใช้ คิดเป็นร้อยละ 97.0 และเมื่อจําแนกตามประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารในการผลิตและเผยแพร่สื่อนําเสนอ และประสบการณ์ในการนําเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า
นักศึกษามีประสบการณ์ทุกคน
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบ
เสมือน ด้านการรับรู้ประโยชน์ของรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้
งานรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารที่มีอธิพลกับการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน
รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และด้านความตั้งใจในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสมือน แล้วนํามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ได้ผลดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2: ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ตามแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี
(Technology Acceptance Model: TAM)
ปัจจัย
ค่าเฉลี่ย
()
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
แปลผล
1. ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
1.1. การส่งเสริมคุณภาพของการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 3.68 0.66 มาก
1.2. ความสามารถควบคุมการนําเสนอหัวข้อโครงงานให้ดําเนินไปตามที่ต้องการได้ 3.50 0.81 มาก
1.3. การนําเสนอหัวข้อโครงงานได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น 4.35 0.70 มาก
1.4. การช่วยเตรียมความพร้อมในการนําเสนอหัวข้อโครงงานให้เป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน 4.48 0.60 มาก
1.5. การช่วยฝึกฝนทักษะในการกําหนดและเรียบเรียงเนื้อหาในการนําเสนอ 3.93 0.73 มาก
1.6. การช่วยฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีกล้องวีดีโอ 4.03 0.73 มาก
1.7. การช่วยฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ 3.68 0.73 มาก
1.8. การช่วยฝึกฝนทักษะการใช้บริการวีดีโอบนระบบอินเทอร์เน็ต 4.13 0.69 มาก
1.9. การมีประโยชน์ต่อการนําเสนอโครงงานฉบับสมบูรณ์ 4.10 0.67 มาก
1.10. การรับรู้ว่ารูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ 3.85 0.62 มาก
ค่าเฉลี่ยรวม 4.20 0.49 มาก
2. ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
2.1. วิธีการที่ง่ายในการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.00 0.60 มาก
2.2. การเรียนรู้วิธีการที่จะใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นวิธีการที่ง่าย 4.15 0.62 มาก 
2.3. การพบกับอุปสรรคอยู่บ่อยๆ ในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 3.90 0.74 มาก 
2.4. การช่วยให้นําเสนอหัวโครงงานได้ง่ายขึ้น 4.05 0.71 มาก 
2.5. การมีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการนํามาใช้ในการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.18 0.68 มาก 
2.6. การช่วยให้สามารถเรียบเรียงและนําเสนอหัวข้อโครงงานได้ง่ายขึ้น 4.28 0.72 มาก 
2.7. วิธีการนําเสนอที่ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย 4.35 0.70 มาก 
2.8. ความจําเป็นใช้ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่เคยเรียนมา 4.40 0.63 มาก 
2.9. การต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนได้ 4.43 0.64 มาก 
2.10. การรับรู้ว่าเป็นวิธีการที่ง่ายในการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.25 0.78 มาก 
ค่าเฉลี่ยรวม 4.19 0.42 มาก
3. ปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.1. การมีความสามารถในการกําหนดและเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อเตรียมพร้อมนําเสนอโครงงาน 4.30 0.65 มาก 
3.2. การมีความสามารถในการนําเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล 4.00 0.68 มาก 
3.3. การมีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทํางานทั่วไป 3.85 0.92 มาก 
3.4. การมีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการทํางานทั่วไป 4.15 0.58 มาก 
ปัจจัย
ค่าเฉลี่ย
()
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
แปลผล
3.5. การมีความรู้ในการสร้างผลงาน และใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย 4.28 0.55 มาก 
3.6. การมีความสามารถในการใช้กล้องวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถใช้ถ่ายวีดีโอ 4.28 0.60 มาก 
3.7. การมีความสามารถในการใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ 4.23 0.66 มาก 
3.8. การมีความสามารถในการใช้บริการวีดีโอบนระบบอินเตอร์เน็ต 4.28 0.64 มาก 
3.9. การมีความสามารถในการใช้โปรแกรมนําเสนอ 4.33 0.53 มาก 
3.10. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยภาพรวม 4.20 0.52 มาก 
ค่าเฉลี่ยรวม 3.96 0.51 มาก
4. ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
4.1. รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมดี 4.30 0.56 มาก 
4.2. การนําเสนอหัวข้อโครงงานจะดียิ่งขึ้นถ้าใช้วิธีการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.28 0.60 มาก 
4.3. รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเพิ่มคุณภาพการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.25 0.59 มาก 
4.4. ความรู้สึกพึงพอใจในวิธีการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.08 0.69 มาก 
4.5. การเห็นด้วยกับการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.38 0.63 มาก 
ค่าเฉลี่ยรวม 4.26 0.53 มาก
5. ปัจจัยด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
5.1. การยอมรับที่จะใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในการนําเสนอโครงงาน 4.35 0.58 มาก
5.2. ความตั้งใจที่จะใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในการนําเสนอโครงงาน 4.30 0.61 มาก
ค่าเฉลี่ยรวม 4.33 0.56 มาก
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางที่ 2 พบว่าปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้
งาน ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และปัจจัยด้านความตั้งใจใช้รูปแบบ
การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ทุกปัจจัยมีผลของค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.5 หมายความว่ากลุ่มตัวอย่างที่
ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นกับปัจจัยแต่ละด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับ
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ในตารางที่ 3
ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ
โครงงานแบบเสมือน ตามแบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
(Pearson’s Correlation Coefficient) ได้ผลดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3: ค่าสถิติบรรยาย และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
PU PEU ICT ATT BI
PU 1.000
PEU 0.686* 1.000
ICT 0.577* 0.548* 1.000
ATT 0.604* 0.772* 0.548* 1.000
BI 0.561* 0.523* 0.539* 0.703* 1.000
* p < .01
จากตารางที่ 3 พบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (PEU) รองลงมาคือด้านการรับรู้
ประโยชน์ (PU) และด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มี
ความสัมพันธ์ในระดับมากกับทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (ATT) อย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสมือน (ATT) มากที่สุดคือด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (PEU) รองลงมาคือด้านการรับรู้ประโยชน์
(PU) และด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติ
ต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (ATT) มีความสัมพันธ์ในระดับมากกับปัจจัยด้านความ
ตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (BI) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษาพบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีเครื่องคอมพิวเตอร์และ
อินเทอร์เน็ตใช้ นักศึกษาทั้งหมดมีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลิตและ
เผยแพร่สื่อนําเสนอ และมีประสบการณ์ในการนําเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล จากการศึกษาผลการยอมรับ
การใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนโดยใช้แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) พบว่า
นักศึกษามีความคิดเห็นกับปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ และปัจจัย
ด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่งผลให้นักศึกษามี
ความคิดเห็นกับปัจจัยด้านทัศนคติที่ดีในระดับมากต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความคิดเห็นกับปัจจัยด้านความตั้งใจในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบ
เสมือนอยู่ในระดับมาก และในที่สุดก็จะนําไปสู่การใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในรายวิชา
ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน
ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ และปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มี
ความสัมพันธ์ในระดับมากกับทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และทัศนคติที่
มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนมีความสัมพันธ์ในระดับมากกับปัจจัยด้านความตั้งใจ
ใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
อภิปรายผล
ผลการวิจัยการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม โดยใช้แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี
(TAM) ที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการมีความสามารถ
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแบบจําลองด้านการยอมรับ
เทคโนโลยี และด้านความตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ซึ่งผลการวิจัยเป็นไปตาม
สมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งเหตุผลที่ปัจจัยต่างๆ มีความสัมพันธ์กับผลการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสมือนมีดังนี้
1. ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Perceive
Usefulness: PU) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก
เพราะนักศึกษารับรู้ว่าเทคโนโลยีที่นํามาใช้นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ และการใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่จะ
ทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้เทคโนโลยี (Agarwal &
Prasad, 1999; Davis et al.,1989; Jackson et al., 1997; Venkatesh, 1999) ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของรูปแบบ
การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเน้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะ
ในการนําเสนอ เช่น การใช้ระบบวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการนําเสนอความคิด ส่งเสริมให้นักศึกษา
ได้มีโอกาสในการใช้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ได้เรียนมาเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหา ออกแบบ ถ่าย
ทํา ตัดต่อ และเผยแพร่การนําเสนอหัวข้อโครงงานของตนได้อย่างอิสระ ดังนั้นปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์จึงมี
ความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
2. ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Perceive
Ease of Use: PEU) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก
เพราะผู้ใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่คาดหวังว่าเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นและเป็นเป้าหมายที่จะใช้ ต้องมีความง่ายที่
จะเรียนรู้เพื่อนํามาใช้งานและไม่ต้องใช้ความพยายามมาก (Davis, 1989) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานจึงมี
ความสัมพันธ์กับทัศนคติในการยอมรับใช้เทคโนโลยี (Agarwal & Prasad, 1999; Davis, Bagozzi &
Warshaw,1989; Jackson, Chow & Leitch, 1997; Venkatesh,1999) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอ
หัวข้อโครงงานแบบเสมือนในปัจจุบันมีการออกแบบและพัฒนาขึ้นมาสําหรับผู้ใช้ในทุกระดับ ดังนั้นเทคโนโลยีที่
พัฒนาจึงเน้นเรื่องความง่ายในการใช้งาน ต้องเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน และสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่า
เทียม นักศึกษาจึงไม่มีความยากลําบากในการใช้งาน ดังนั้นปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานเทคโนโลยี
จึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
3. ปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and
Communication Technology Literacy: ICT) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ
โครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก เพราะถ้านักศึกษามีความเข้าใจ และความสามารถในการค้นหาข้อมูล การ
กลั่นกรองข้อมูล การเรียบเรียงเนื้อหา การออกแบบการนําเสนอ การผลิตสื่อการนําเสนอด้วยเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ และเผยแพร่การนําเสนอสู่สาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการนําเสนออยู่
รูปแบบของการพูด (Oral) การเขียน (Writing) และใช้สื่อประสม (Multimedia) ที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชัน และเสียง นักศึกษาจึงมีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาสร้างการนําเสนอ
หัวข้อโครงงานแบบเสมือนได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานในการทํางานในศตวรรษที่ 21 ที่
นักศึกษาต้องมี (Partnership for 21st Century Skills, 2011) ดังนั้นปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบ
การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
4. ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Attitude Toward
using: ATT) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก เพราะ
ทัศนคติของนักศึกษาที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นจากผลของการรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความ
ง่ายในการใช้เทคโนโลยี และการมีความสามารถด้านเทคโนโลยี ซึ่งหากผู้ใช้รับรู้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ ใช้
งานง่าย มีความพร้อมด้านความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ใช้ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบนั้น ซึ่งจะส่งผลต่อไปยัง
ความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นต่อไป (Ajzen & Fishbein, 1980) ดังนั้นปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบ
การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านความตั้งใจใช้รูปแบบปัจจัย
ด้านการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
5. ปัจจัยด้านพฤติกรรมความตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Behavioral
Intention to Use: BI) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนอย่างมาก
เพราะถ้านักศึกษาที่เป็นผู้ใช้ รับรู้ประโยชน์ รับรู้ความง่าย และมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอหัวข้อ
โครงงานแบบเสมือนแล้ว นักศึกษาจะมีความพร้อมและมีความตั้งใจที่จะพยายามใช้งานเทคโนโลยีนั้น จึงมี
ความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้จะมีพฤติกรรมยอมรับ และมีท่าทีที่จะใช้งานเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต (Davis et al.,1989)
ดังนั้นปัจจัยด้านพฤติกรรมความตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่
สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
1.1 ด้านสถานศึกษา ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการ
กําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการปรับปรุงการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น
1.2 ด้านผู้สอน ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้สอนสามารถเลือกใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบ
เสมือนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณาจากปัจจัยสําคัญด้านต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณา
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาทักษะด้านการนําเสนอ ซึ่งต้องเป็นเทคโนโลยีที่ผู้เรียน
ยอมรับที่จะใช้ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.3 ด้านผู้พัฒนาเทคโนโลยี ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสามารถนําไปเป็นส่วนหนึ่งใน
การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้เทคโนโลยี และรูปแบบของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ
โครงงานแบบเสมือน เพื่อทําให้ผู้ใช้ยอมรับที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยในครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนในรายวิชาอื่นว่ามีปัจจัยใดที่
มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนอย่างไร และมากน้อยเท่าใดเพื่อนําไปใช้ในการ
แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีให้ดียิ่งขึ้นไป
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยมีผลต่อการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนของนักศึกษาในสาขาอื่น
หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนําผลการวิจัยมาปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาต่อไป
2.3 ควรศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆที่น่าจะมีผลต่อการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนในแง่ของ
อิทธิพลทางตรงและทางอ้อม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนําผลการวิจัยมาปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาต่อไป
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและสารสื่อสาร
ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
จิรวัฒน์ วีรังกร. (2554). นําเสนออย่างไรให้โดนใจอาจารย์. ค้นคว้าเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556. จาก:
http://sa.ku.ac.th/project/newgrad190153.ppt
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2556). จํานวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมปีการศึกษา 2555.
ค้นคว้าเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556. จาก:http://ac.npru.ac.th/form/1351587707_346561.pdf
Agarwal, P., & Prasad, J (1997). The role of innovation characteristic and perceived voluntariness in
the acceptance of information technologies. Decision Sciences, 28. pp.557-582
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of
information technology. MIS Quarterly, 13(3). pp.319-339
Davis, F. D., Bagozzi, R., & Warshaw, P (1989). User acceptance of computer technology A
comparision of two theoretical models. Management Science, 35. pp.982-1003
Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and
research, MA: Addison-Wesley, Reading
Jackson, C., Chow, S., & Leitch, R. (1997). Toward an understanding of the behavioral intention to
use an information system. Decision Sciences. 28. pp.357-389
Partnership for 21st Century Skills. (2011). A Frame Work for 21st Century Learning. Retrieved
August 25, 2013, from http://www.p21.org/
Shin-Chih C., Shing-Han L., & Chien-Yi L. (2011). Recent Related Research in Technology
Acceptance Model: A Literature Review. Australian Journal of Business and Management
Research. 1(9). Retrieved August 25, 2013, from
http://www.ajbmr.com/articlepdf/AJBMR_19_04i1n9a14.pdf
Venkatesh, V. (1999). Creation of favorable uses perceptions: Exploring the role of intrinsic
motivation. MIS Quarterly. 23. pp.239-260
Venkatesh, V., Morris, M., Davis, G., & Davis, F. (2003). User acceptance of information technology:
Toward a unified view. MIS Quarterly. 27. pp.425–478
Yamane, Taro (1973) Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.) NewYork: Harper and Row
Publication

More Related Content

What's hot

การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่Wichit Thepprasit
 
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Educationการประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for EducationSurapon Boonlue
 
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคตPrachyanun Nilsook
 
Emerging1n
Emerging1n Emerging1n
Emerging1n Ptato Ok
 
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...PR OBEC
 
รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ.
รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ. รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ.
รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ. Ajchara Thangmo
 
Management technology in classroom for 21
Management technology in classroom for 21Management technology in classroom for 21
Management technology in classroom for 21Surapon Boonlue
 
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21Wichit Thepprasit
 
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera Supa CPC
 
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Panita Wannapiroon Kmutnb
 
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...Mudhita Ubasika
 
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์Prachyanun Nilsook
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1issaraka
 

What's hot (14)

การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
การออกแบบการเรียนการสอน ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
 
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Educationการประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
 
Digital Literacy for Teacher
Digital Literacy for TeacherDigital Literacy for Teacher
Digital Literacy for Teacher
 
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในอนาคต
 
Emerging1n
Emerging1n Emerging1n
Emerging1n
 
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัม...
 
รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ.
รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ. รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ.
รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ของ สพฐ.
 
Management technology in classroom for 21
Management technology in classroom for 21Management technology in classroom for 21
Management technology in classroom for 21
 
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
 
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
 
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
 
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
 
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 

Similar to การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้า

การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)Prachyanun Nilsook
 
การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2
การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2
การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2Prachyanun Nilsook
 
รายงานโครงงานคอม
รายงานโครงงานคอมรายงานโครงงานคอม
รายงานโครงงานคอมAi Promsopha
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...Meenarat Bunkanha
 
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...nanny2126
 
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์sichon
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์Somsak Kaeosijan
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์Ai Promsopha
 
รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22piyaphon502
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมA'llegra Crane
 
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากลการเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากลธนเดช วิไลรัตนากูล
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์Chanpen Sangsai
 
รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา โดยกอบวิทย์...
รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา  โดยกอบวิทย์...รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา  โดยกอบวิทย์...
รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา โดยกอบวิทย์...Kobwit Piriyawat
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์Onpriya May
 
รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22piyaphon502
 

Similar to การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้า (20)

การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
 
การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2
การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2
การจัดระบบ Ict อาชีวศึกษา2
 
รายงานโครงงานคอม
รายงานโครงงานคอมรายงานโครงงานคอม
รายงานโครงงานคอม
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
 
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
 
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22
 
ตัว
ตัวตัว
ตัว
 
Project Com1
Project Com1Project Com1
Project Com1
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีการเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี
 
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากลการเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล
 
Digital e book
Digital e bookDigital e book
Digital e book
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา โดยกอบวิทย์...
รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา  โดยกอบวิทย์...รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา  โดยกอบวิทย์...
รูปแบบ/วิธีการนำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มาบูรณาการในการจัดการศึกษา โดยกอบวิทย์...
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22รายงานโครงงานคอม22
รายงานโครงงานคอม22
 

การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้า

  • 1. การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงาน นักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม Investigating the Acceptance of Virtual Presentation in Student Project in Multimedia Technology Course of Undergraduate Students in Department of Information Technology at Nakhon Pathom Rajabhat University ปริพัส ศรีสมบูรณ์1 และ ณมน จีรังสุวรรณ2 Paripas Srisomboon1 and Namon Jeerungsuwan2 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการยอมรับ และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการ ยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Virtual Presentation) ในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้าน มัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม โดย ใช้แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ที่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาโครงงานนักศึกษา ด้านมัลติมีเดียในปีการศึกษาที่ 1/2556 จํานวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และ ทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจใช้รูปแบบการ นําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบ การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นกิจกรรมการเรียนที่ได้รับการยอมรับจากผู้เรียน คําสําคัญ: รูปแบบการยอมรับเทคโนโลยี, การนําเสนอแบบเสมือน, โครงงานนักศึกษา, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร                                                              1 โปรแกรมวิขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 1 Information Technology, Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajbhat University 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2 Information and Communication Technology for Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • 2. ABSTRACT Objectives of the research study were to investigate the acceptance level and the factors that were related to the acceptance of virtual presentation in Student Project in Multimedia Technology course of undergraduate students by using Technology Acceptance Model (TAM). The research was the survey research and used questionnaire to collect the data. The samples of the research were 40 undergraduate students in Department of Information Technology at Nakhon Pathom Rajabhat University, who was enrolled in the Student Project in Multimedia Technology course on the first semester of 2013, randomly selected using the simple random sampling. The results showed that perceived ease of use, perceived usefulness and influencing of ICT Literacy significantly related to the students’ attitude to use of virtual presentation of the students which significantly related to their intention to use at the statistical level of .01. It was found from the research that the virtual presentation was accepted by the students. Keyword: Technology Acceptance Model (TAM), Virtual Presentation, Student Project, Information and Communication Literacy E-mail address: paripas@hotmail.com, namon2015@gmail.com บทนํา ในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้ง การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสาร พร้อมทั้งการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอล (Digital Life) หนึ่ง ทักษะสําคัญที่องค์กรนี้ได้กําหนดให้เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ก็คือ ทักษะด้านการ สื่อสาร (Communication Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้สื่อสารสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิตอลและสภาพแวดล้อม ทางดิจิตอลเพื่อสื่อสารและทํางานร่วมกัน รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางไกลสําหรับตนเองและผู้อื่น ด้วยการ มีปฏิสัมพันธ์ให้ความร่วมมือและเผยแพร่งานร่วมกับเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลอื่นๆ สามารถสื่อสารข้อมูลและ ความคิดไปสู่ผู้รับจํานวนมากอย่างมีประสิทธิผลโดยใช้สื่อหลากหลายรูปแบบได้ (Partnership for 21st Century Skills, 2011) ในส่วนของประเทศไทยได้มีการกําหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554– 2563 (National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT 2020) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นพลังขับเคลื่อนสําคัญในการนําพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญา โดยพัฒนาอย่างทั่วถึงและ เสมอภาค ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาจึงจําเป็นต้องหาวิธีการในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มีอยู่มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารซึ่งจําเป็นต่อการดํารงชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2554)
  • 3. นอกจากนี้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กําหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของคุณวุฒิระดับ ปริญญาตรี ไว้ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะเห็นได้ว่าทักษะด้านการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นทักษะ หนึ่งที่จําเป็นต้องพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานของผู้เรียนระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพ (กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552) หนึ่งในทักษะด้านการสื่อสารที่สําคัญในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการนําเสนอ (Presentation Skill) ซึ่ง เป็นทักษะที่เข้ามามีบทบาทสําคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา ซึ่งหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ต้องอาศัยวิธีการนําเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดําเนินงานต่าง ๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนําเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้า งานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนําเสนอ เพื่อนําไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ และเพื่อผลสําเร็จของการพัฒนา งานของตน หรือขององค์กรและหน่วยต่างๆ กล่าวโดยสรุปการนําเสนอมีความสําคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุก ประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดําเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจน เผยแพร่ความก้าวหน้าของ งานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ (จิรวัฒน์, 2553) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทํางานและอยู่รอดในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ ผู้เรียนจึง จําเป็นต้องได้รับการเตรียมพร้อมด้านทักษะการนําเสนอแนวคิดหรือผลงานของตนสู่สาธารณะ ในกระบวนการ เรียนการสอนรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Student Project in Multimedia Technology) ภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาวิจัยหรือพัฒนา โครงงานทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยผู้เรียนจะต้องนําความรู้ที่ได้ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจาก ตลอด 3 ปีการศึกษานํามาสร้างเป็นโครงงานที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้จริง ขั้นตอนหลังจากที่ผู้เรียนได้ผ่าน การศึกษาจนได้หัวข้อโครงงานแล้ว ผู้เรียนจะต้องนําเสนอหัวข้อโครงงานของตนต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน และสมาชิกในห้องเรียน ในส่วนนี้ผู้สอนมีหน้าที่พัฒนาทักษะในการค้นคว้าข้อมูล กลั่นกรอง เรียบเรียงเนื้อหา ออกแบบ สร้างสื่อนําเสนอ และดูแลฝึกฝนทักษะในการนําเสนอหน้าชั้นเรียน (Face-to-Face Presentation) ของ ผู้เรียนทุกคน แต่เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาด้านจํานวนผู้เรียนต่อห้องเรียนที่มีปริมาณมากเฉลี่ยถึง 45 คนต่อ 1 ห้องเรียน เวลาการเรียนในห้องเรียนที่มีจํากัดอยู่ที่ 7 คาบเรียนต่อสัปดาห์ ซึ่ง 1 คาบมีเวลา 50 นาที (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2555) และข้อจํากัดด้านระยะทางที่ห่างไกล ผู้สอนจึงไม่สามารถจัดกิจกรรมใน ห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้มีโอกาสในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการนําเสนอหน้าชั้นเรียนได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ และทั่วถึงได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังที่กล่าวข้างต้น และเพื่อเป็นการตอบรับนโยบายที่สนับสนุนการนําเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนสามารถฝึกฝนทักษะการนําเสนอของตนเอง ผู้วิจัยจึงได้นํารูปแบบการนําเสนอแบบเสมือน (Virtual Presentation) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ในส่วนของการนําเสนอหัวข้อโครงงานของ นักศึกษา โดยกําหนดให้ผู้เรียนแสดงความรู้พื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT
  • 4. Literacy) ในการค้นหาข้อมูล การเรียบเรียงเนื้อหา การออกแบบ การผลิต และการเผยแพร่การนําเสนอหัวข้อ โครงงานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งการนําเสนอหัวข้อโครงงานจะถูกนําเสนอในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) ที่ ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงงานที่นักศึกษา ทํา เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา แนวคิดในการแก้ปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการดําเนินโครงงาน และการออกแบบโครงงาน จากเหตุผลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความจําเป็นในการศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ โครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรม วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ การยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ตามแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model หรือ TAM) (Davis, 1989) ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ทําให้ผู้จัดการศึกษา สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้สอนในการพิจารณาใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเพื่อเป็น เครื่องมือในการพัฒนาทักษะด้านการนําเสนอของผู้เรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้าน มัลติมีเดียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีต่อการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ในรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นําแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model หรือ TAM) ซึ่งได้พัฒนาโดยเดวิส (Davis, 1989) โดยนําตัวแปรต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกรอบแนวคิดของ งานวิจัย จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี พบตัวแปรต่างๆ ที่สามารถ นํามาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ดังนี้ 1. การรับรู้ประโยชน์ (Perceive Usefulness: PU) หมายถึง การที่บุคคลรับรู้ว่าเทคโนโลยีที่นํามาใช้นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์ และถ้าหากมีการใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่จะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งการรับรู้ประโยชน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อความตั้งใจใช้ระบบสารสนเทศ (Agarwal & Prasad, 1999; Davis et al.,1989; Jackson et al., 1997;Venkatesh, 1999) ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน แบบเสมือนเน้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะในการนําเสนอ เช่น การใช้ ระบบวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการนําเสนอความคิด ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการใช้ทักษะ ทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ได้เรียนมาเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหา ออกแบบ ถ่ายทํา ตัดต่อ และเผยแพร่
  • 5. การนําเสนอหัวข้อโครงงานของตนได้อย่างอิสระ ดังนั้นการรับรู้ประโยชน์เป็นปัจจัยสําคัญที่บ่งชี้ถึงความตั้งใจใน การใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 2. การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (Perceive Ease of Use: PEU) หมายถึง ระดับความเชื่อของผู้ใช้ที่ คาดหวังต่อเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นและเป็นเป้าหมายจะใช้ ต้องมีความง่ายในการเรียนรู้ที่จะใช้งานและไม่ ต้องใช้ความพยายามมาก (Davis, 1989) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้เทคโนโลยี และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้เทคโนโลยีโดยส่งผ่านการรับรู้ประโยชน์ (Agarwal & Prasad, 1999; Davis, Bagozzi & Warshaw,1989; Jackson, Chow & Leitch, 1997; Venkatesh,1999) 3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology Literacy: ICT) หมายถึง ความเข้าใจ และความสามารถในการค้นหาข้อมูล การกลั่นกรองข้อมูล การเรียบเรียงเนื้อหา การออกแบบการนําเสนอ การผลิตสื่อการนําเสนอด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และ ซอฟท์แวร์ และเผยแพร่การนําเสนอสู่สาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการนําเสนอจะอยู่รูปแบบของการพูด (Oral) การเขียน (Writing) และใช้สื่อประสม (Multimedia) ที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชัน และเสียง ซึ่งความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ใช้เทคโนโลยีอาจจะมีอิทธิพลต่อ ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี (Partnership for 21st Century Skills, 2011) 4. ทัศนคติที่มีต่อการใช้ (Attitude Toward using: ATT) หมายถึง ทัศนคติของผู้ใช้ เป็นเจตนาที่เกิดขึ้น จากผลของการรับรู้ถึงประโยชน์และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งหากผู้ใช้รับรู้ว่าเทคโนโลยีนั้นมี ประโยชน์หรือใช้งานง่าย ผู้ใช้ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบนั้น ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีนั้น (Ajzen & Fishbein, 1980) 5. พฤติกรรมความตั้งใจใช้ (Behavioral Intention to Use: BI) หมายถึงความตั้งใจที่ผู้ใช้จะพยายามใช้ งานเทคโนโลยีนั้น และความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้จะยอมรับ และมีท่าทีที่จะใช้งานเทคโนโลยีนั้นต่อไปในอนาคต (Davis et al.,1989) ซึ่งจากตัวแปรทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ได้มีการดัดแปลงให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ใช้ในการศึกษาการ ยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนของนักศึกษา ซึ่งสามารถแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1: กรอบแนวคิดในการวิจัย การรับรู้ประโยชน์ (PU) การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (PEU) ทัศนคติที่มีต่อการ ใช้ (ATT) ความตั้งใจที่จะใช้ (BI) ความสามารถในการใช้ ICT (ICT)  ผลการยอมรับ การนําเสนอโครงงาน แบบเสมือน
  • 6. วิธีดําเนินการวิจัย การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษา ด้านมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) มีการดําเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาทฤษฎี และประยุกต์ใช้รูปแบบการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการศึกษา และกําหนด รายละเอียดของรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะที่ 2 นักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อ โครงงานแบบเสมือนในการเรียนการสอนรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ระยะที่ 3 เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อรูปแบบรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน สําหรับรายวิชาโครงงานนักศึกษาด้านมัลติมีเดีย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา โครงงานนักศึกษาด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้มาจากการคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973:125) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 40 คน เลือกกลุ่ม ตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากจากรายชื่อประชากร ทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ วิจัย และข้อคําถามแต่ละข้อได้มีการประยุกต์มาจากงานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบบจําลองด้านการยอมรับ เทคโนโลยี (Technology Acceptance Model หรือ TAM) (Davis et al.,1989) การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติต่างๆ ดังนี้ 1. วิเคราะห์ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม (Correlation Coefficient)
  • 7. ผลการวิจัย และการอภิปราย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ การมีอินเทอร์เน็ตใช้ และประสบการณ์ในการใช้ ICT ที่เกี่ยวข้อกับการนําเสนอ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ได้ผลดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1: ข้อมูลพื้นฐานของตัวอย่าง (n = 40) ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง จํานวน (คน) ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 18 22 45 55 อายุ 12-14 ปี 15-16 ปี 17-18 ปี 19-20 ปี 21 ปี ขึ้นไป 0 0 0 1 39 0 0 0 3 97 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 0 0 0 40 0 0 0 100 การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ มี ไม่มี 39 1 97 3 การเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ต มี ไม่มี 39 1 97 3 ประสบการณ์ในการใช้กล้องวีดีโอดิจิตอล มี ไม่มี 40 0 100 0 ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสําหรับตัดต่อวิดีโอ มี ไม่มี 40 0 100 0 ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสําหรับสร้างสื่อนําเสนอ มี ไม่มี 40 0 100 0 ประสบการณ์ในการเผยแพร่วีดีโอบนระบบอินเตอร์เน็ต มี ไม่มี 40 0 100 0 ประสบการณ์ในการนําเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล มี ไม่มี 40 0 100 0 จากตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเมื่อจําแนกตามเพศ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 เมื่อจําแนกตามอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีอายุ 21 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.0 เมื่อจําแนกตามระดับการศึกษา พบว่านักศึกษาทุกคนศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ตใช้ คิดเป็นร้อยละ 97.0 และเมื่อจําแนกตามประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารในการผลิตและเผยแพร่สื่อนําเสนอ และประสบการณ์ในการนําเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า นักศึกษามีประสบการณ์ทุกคน
  • 8. ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบ เสมือน ด้านการรับรู้ประโยชน์ของรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้ งานรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารที่มีอธิพลกับการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และด้านความตั้งใจในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน แบบเสมือน แล้วนํามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ได้ผลดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2: ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ตามแบบจําลองด้านการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) ปัจจัย ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) แปลผล 1. ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 1.1. การส่งเสริมคุณภาพของการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 3.68 0.66 มาก 1.2. ความสามารถควบคุมการนําเสนอหัวข้อโครงงานให้ดําเนินไปตามที่ต้องการได้ 3.50 0.81 มาก 1.3. การนําเสนอหัวข้อโครงงานได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น 4.35 0.70 มาก 1.4. การช่วยเตรียมความพร้อมในการนําเสนอหัวข้อโครงงานให้เป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน 4.48 0.60 มาก 1.5. การช่วยฝึกฝนทักษะในการกําหนดและเรียบเรียงเนื้อหาในการนําเสนอ 3.93 0.73 มาก 1.6. การช่วยฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีกล้องวีดีโอ 4.03 0.73 มาก 1.7. การช่วยฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ 3.68 0.73 มาก 1.8. การช่วยฝึกฝนทักษะการใช้บริการวีดีโอบนระบบอินเทอร์เน็ต 4.13 0.69 มาก 1.9. การมีประโยชน์ต่อการนําเสนอโครงงานฉบับสมบูรณ์ 4.10 0.67 มาก 1.10. การรับรู้ว่ารูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ 3.85 0.62 มาก ค่าเฉลี่ยรวม 4.20 0.49 มาก 2. ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 2.1. วิธีการที่ง่ายในการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.00 0.60 มาก 2.2. การเรียนรู้วิธีการที่จะใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นวิธีการที่ง่าย 4.15 0.62 มาก  2.3. การพบกับอุปสรรคอยู่บ่อยๆ ในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 3.90 0.74 มาก  2.4. การช่วยให้นําเสนอหัวโครงงานได้ง่ายขึ้น 4.05 0.71 มาก  2.5. การมีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการนํามาใช้ในการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.18 0.68 มาก  2.6. การช่วยให้สามารถเรียบเรียงและนําเสนอหัวข้อโครงงานได้ง่ายขึ้น 4.28 0.72 มาก  2.7. วิธีการนําเสนอที่ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย 4.35 0.70 มาก  2.8. ความจําเป็นใช้ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่เคยเรียนมา 4.40 0.63 มาก  2.9. การต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนได้ 4.43 0.64 มาก  2.10. การรับรู้ว่าเป็นวิธีการที่ง่ายในการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.25 0.78 มาก  ค่าเฉลี่ยรวม 4.19 0.42 มาก 3. ปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3.1. การมีความสามารถในการกําหนดและเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อเตรียมพร้อมนําเสนอโครงงาน 4.30 0.65 มาก  3.2. การมีความสามารถในการนําเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล 4.00 0.68 มาก  3.3. การมีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทํางานทั่วไป 3.85 0.92 มาก  3.4. การมีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการทํางานทั่วไป 4.15 0.58 มาก 
  • 9. ปัจจัย ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) แปลผล 3.5. การมีความรู้ในการสร้างผลงาน และใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย 4.28 0.55 มาก  3.6. การมีความสามารถในการใช้กล้องวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถใช้ถ่ายวีดีโอ 4.28 0.60 มาก  3.7. การมีความสามารถในการใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ 4.23 0.66 มาก  3.8. การมีความสามารถในการใช้บริการวีดีโอบนระบบอินเตอร์เน็ต 4.28 0.64 มาก  3.9. การมีความสามารถในการใช้โปรแกรมนําเสนอ 4.33 0.53 มาก  3.10. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยภาพรวม 4.20 0.52 มาก  ค่าเฉลี่ยรวม 3.96 0.51 มาก 4. ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.1. รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมดี 4.30 0.56 มาก  4.2. การนําเสนอหัวข้อโครงงานจะดียิ่งขึ้นถ้าใช้วิธีการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.28 0.60 มาก  4.3. รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเพิ่มคุณภาพการนําเสนอหัวข้อโครงงาน 4.25 0.59 มาก  4.4. ความรู้สึกพึงพอใจในวิธีการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.08 0.69 มาก  4.5. การเห็นด้วยกับการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4.38 0.63 มาก  ค่าเฉลี่ยรวม 4.26 0.53 มาก 5. ปัจจัยด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 5.1. การยอมรับที่จะใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในการนําเสนอโครงงาน 4.35 0.58 มาก 5.2. ความตั้งใจที่จะใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในการนําเสนอโครงงาน 4.30 0.61 มาก ค่าเฉลี่ยรวม 4.33 0.56 มาก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางที่ 2 พบว่าปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้ งาน ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และปัจจัยด้านความตั้งใจใช้รูปแบบ การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ทุกปัจจัยมีผลของค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.5 หมายความว่ากลุ่มตัวอย่างที่ ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นกับปัจจัยแต่ละด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ในตารางที่ 3 ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ โครงงานแบบเสมือน ตามแบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation Coefficient) ได้ผลดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3: ค่าสถิติบรรยาย และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร PU PEU ICT ATT BI PU 1.000 PEU 0.686* 1.000 ICT 0.577* 0.548* 1.000 ATT 0.604* 0.772* 0.548* 1.000 BI 0.561* 0.523* 0.539* 0.703* 1.000 * p < .01
  • 10. จากตารางที่ 3 พบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (PEU) รองลงมาคือด้านการรับรู้ ประโยชน์ (PU) และด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มี ความสัมพันธ์ในระดับมากกับทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (ATT) อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน แบบเสมือน (ATT) มากที่สุดคือด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (PEU) รองลงมาคือด้านการรับรู้ประโยชน์ (PU) และด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติ ต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (ATT) มีความสัมพันธ์ในระดับมากกับปัจจัยด้านความ ตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (BI) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปผลการวิจัย จากผลการศึกษาพบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีเครื่องคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ตใช้ นักศึกษาทั้งหมดมีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลิตและ เผยแพร่สื่อนําเสนอ และมีประสบการณ์ในการนําเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล จากการศึกษาผลการยอมรับ การใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนโดยใช้แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นกับปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ และปัจจัย ด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่งผลให้นักศึกษามี ความคิดเห็นกับปัจจัยด้านทัศนคติที่ดีในระดับมากต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความคิดเห็นกับปัจจัยด้านความตั้งใจในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบ เสมือนอยู่ในระดับมาก และในที่สุดก็จะนําไปสู่การใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนในรายวิชา ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ และปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มี ความสัมพันธ์ในระดับมากกับทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และทัศนคติที่ มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนมีความสัมพันธ์ในระดับมากกับปัจจัยด้านความตั้งใจ ใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน อภิปรายผล ผลการวิจัยการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม โดยใช้แบบจําลองการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) ที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการมีความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแบบจําลองด้านการยอมรับ เทคโนโลยี และด้านความตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ซึ่งผลการวิจัยเป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งเหตุผลที่ปัจจัยต่างๆ มีความสัมพันธ์กับผลการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงาน แบบเสมือนมีดังนี้ 1. ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Perceive Usefulness: PU) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก
  • 11. เพราะนักศึกษารับรู้ว่าเทคโนโลยีที่นํามาใช้นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ และการใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่จะ ทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้เทคโนโลยี (Agarwal & Prasad, 1999; Davis et al.,1989; Jackson et al., 1997; Venkatesh, 1999) ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของรูปแบบ การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเน้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะ ในการนําเสนอ เช่น การใช้ระบบวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการนําเสนอความคิด ส่งเสริมให้นักศึกษา ได้มีโอกาสในการใช้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ได้เรียนมาเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหา ออกแบบ ถ่าย ทํา ตัดต่อ และเผยแพร่การนําเสนอหัวข้อโครงงานของตนได้อย่างอิสระ ดังนั้นปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์จึงมี ความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 2. ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Perceive Ease of Use: PEU) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก เพราะผู้ใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่คาดหวังว่าเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นและเป็นเป้าหมายที่จะใช้ ต้องมีความง่ายที่ จะเรียนรู้เพื่อนํามาใช้งานและไม่ต้องใช้ความพยายามมาก (Davis, 1989) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานจึงมี ความสัมพันธ์กับทัศนคติในการยอมรับใช้เทคโนโลยี (Agarwal & Prasad, 1999; Davis, Bagozzi & Warshaw,1989; Jackson, Chow & Leitch, 1997; Venkatesh,1999) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอ หัวข้อโครงงานแบบเสมือนในปัจจุบันมีการออกแบบและพัฒนาขึ้นมาสําหรับผู้ใช้ในทุกระดับ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ พัฒนาจึงเน้นเรื่องความง่ายในการใช้งาน ต้องเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน และสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่า เทียม นักศึกษาจึงไม่มีความยากลําบากในการใช้งาน ดังนั้นปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานเทคโนโลยี จึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 3. ปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology Literacy: ICT) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ โครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก เพราะถ้านักศึกษามีความเข้าใจ และความสามารถในการค้นหาข้อมูล การ กลั่นกรองข้อมูล การเรียบเรียงเนื้อหา การออกแบบการนําเสนอ การผลิตสื่อการนําเสนอด้วยเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ และเผยแพร่การนําเสนอสู่สาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการนําเสนออยู่ รูปแบบของการพูด (Oral) การเขียน (Writing) และใช้สื่อประสม (Multimedia) ที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชัน และเสียง นักศึกษาจึงมีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาสร้างการนําเสนอ หัวข้อโครงงานแบบเสมือนได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานในการทํางานในศตวรรษที่ 21 ที่ นักศึกษาต้องมี (Partnership for 21st Century Skills, 2011) ดังนั้นปัจจัยด้านการมีความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบ การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 4. ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Attitude Toward using: ATT) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนเป็นอย่างมาก เพราะ ทัศนคติของนักศึกษาที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นจากผลของการรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความ ง่ายในการใช้เทคโนโลยี และการมีความสามารถด้านเทคโนโลยี ซึ่งหากผู้ใช้รับรู้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ ใช้ งานง่าย มีความพร้อมด้านความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ใช้ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบนั้น ซึ่งจะส่งผลต่อไปยัง
  • 12. ความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นต่อไป (Ajzen & Fishbein, 1980) ดังนั้นปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้รูปแบบ การนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านความตั้งใจใช้รูปแบบปัจจัย ด้านการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน 5. ปัจจัยด้านพฤติกรรมความตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน (Behavioral Intention to Use: BI) เป็นปัจจัยที่มีผลกับการยอมรับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนอย่างมาก เพราะถ้านักศึกษาที่เป็นผู้ใช้ รับรู้ประโยชน์ รับรู้ความง่าย และมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอหัวข้อ โครงงานแบบเสมือนแล้ว นักศึกษาจะมีความพร้อมและมีความตั้งใจที่จะพยายามใช้งานเทคโนโลยีนั้น จึงมี ความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้จะมีพฤติกรรมยอมรับ และมีท่าทีที่จะใช้งานเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต (Davis et al.,1989) ดังนั้นปัจจัยด้านพฤติกรรมความตั้งใจใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่ สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการมีทัศนคติที่ดีที่มีต่อรูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1.1 ด้านสถานศึกษา ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการ กําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการปรับปรุงการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น 1.2 ด้านผู้สอน ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้สอนสามารถเลือกใช้รูปแบบการนําเสนอหัวข้อโครงงานแบบ เสมือนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณาจากปัจจัยสําคัญด้านต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาทักษะด้านการนําเสนอ ซึ่งต้องเป็นเทคโนโลยีที่ผู้เรียน ยอมรับที่จะใช้ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 1.3 ด้านผู้พัฒนาเทคโนโลยี ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสามารถนําไปเป็นส่วนหนึ่งใน การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้เทคโนโลยี และรูปแบบของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนําเสนอหัวข้อ โครงงานแบบเสมือน เพื่อทําให้ผู้ใช้ยอมรับที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นต่อไป 2. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยในครั้งต่อไป 2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนในรายวิชาอื่นว่ามีปัจจัยใดที่ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนอย่างไร และมากน้อยเท่าใดเพื่อนําไปใช้ในการ แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีให้ดียิ่งขึ้นไป 2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยมีผลต่อการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนของนักศึกษาในสาขาอื่น หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนําผลการวิจัยมาปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาต่อไป 2.3 ควรศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆที่น่าจะมีผลต่อการยอมรับการนําเสนอโครงงานแบบเสมือนในแง่ของ อิทธิพลทางตรงและทางอ้อม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนําผลการวิจัยมาปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาต่อไป
  • 13. เอกสารอ้างอิง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและสารสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ. จิรวัฒน์ วีรังกร. (2554). นําเสนออย่างไรให้โดนใจอาจารย์. ค้นคว้าเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556. จาก: http://sa.ku.ac.th/project/newgrad190153.ppt มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2556). จํานวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมปีการศึกษา 2555. ค้นคว้าเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556. จาก:http://ac.npru.ac.th/form/1351587707_346561.pdf Agarwal, P., & Prasad, J (1997). The role of innovation characteristic and perceived voluntariness in the acceptance of information technologies. Decision Sciences, 28. pp.557-582 Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3). pp.319-339 Davis, F. D., Bagozzi, R., & Warshaw, P (1989). User acceptance of computer technology A comparision of two theoretical models. Management Science, 35. pp.982-1003 Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research, MA: Addison-Wesley, Reading Jackson, C., Chow, S., & Leitch, R. (1997). Toward an understanding of the behavioral intention to use an information system. Decision Sciences. 28. pp.357-389 Partnership for 21st Century Skills. (2011). A Frame Work for 21st Century Learning. Retrieved August 25, 2013, from http://www.p21.org/ Shin-Chih C., Shing-Han L., & Chien-Yi L. (2011). Recent Related Research in Technology Acceptance Model: A Literature Review. Australian Journal of Business and Management Research. 1(9). Retrieved August 25, 2013, from http://www.ajbmr.com/articlepdf/AJBMR_19_04i1n9a14.pdf Venkatesh, V. (1999). Creation of favorable uses perceptions: Exploring the role of intrinsic motivation. MIS Quarterly. 23. pp.239-260 Venkatesh, V., Morris, M., Davis, G., & Davis, F. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly. 27. pp.425–478 Yamane, Taro (1973) Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.) NewYork: Harper and Row Publication