SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
1มิถุนายน 2559 •
54
7
10
9
11
17
2
14
สวทช. มอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง แก่ กฟผ.
สวทช. - สสส. และภาคีเครือข่าย หนุนเวที
“นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”
สวทช. ก.วิทย์ ร่วมกับ STS Forum และ JETRO
จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค
กรมการข้าว ร่วมกับ สวทช. เปิดหมู่บ้าน
ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าว
สวทช. รับมอบเกียรติบัตรหน่วยงาน
ผู้ใช้เสื้อผ้าลดโลกร้อน CoolMode
กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารปี 59
ITAP สวทช. ร่วมกับ มจธ. นำ� 4 ผู้ประกอบการนำ�เสนอ
นวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุ
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News
บทความ Article
เทคโนโลยีจากมันสมองคนไทย
“Active PAK
TM
ถุงหายใจได้”
2 nstda • มิถุนายน 2559
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
สวทช. มอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง แก่ กฟผ.
เพื่อพัฒนาต่อยอดยานยนต์ประหยัดพลังงาน
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3 มิถุนายน 2559 ณ สำ�นักงานกลาง กฟผ. บางกรวย นนทบุรี - ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ส่งมอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าจากการดัดแปลงรถยนต์
ใช้แล้ว จำ�นวน 1 คัน โดยมีนายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับมอบ เพื่อ
นำ�ไปใช้งาน และจะเก็บผลทดสอบสำ�หรับนำ�ไปปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ย้ำ�ความสำ�เร็จครั้ง
นี้จะช่วยกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดมลภาวะ และสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศต่อไป
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นหนึ่งใน
อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล โดยได้รับการบรรจุในอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบาย
สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค โดยเมื่อปี พ.ศ. 2553 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดริเริ่มใน
การพัฒนารถยนต์นั่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งขณะนั้นยานยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่ด้วยเล็งเห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่
น่าจะก้าวเข้ามาในอนาคต จึงได้ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยแก่ สวทช. และ สวทช. สมทบอีกส่วนหนึ่ง เพื่อดำ�เนินการวิจัยพัฒนาดัดแปลง และออกแบบ
ชิ้นส่วนภายในรถยนต์จากเครื่องยนต์สันดาป เป็นรถยนต์ไฟฟ้า จำ�นวน 2 คัน” 
3มิถุนายน 2559 •
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
“สวทช. ได้ดำ�เนินการพัฒนาและดัดแปลงชิ้นส่วนสำ�คัญต่างๆ อาทิ มอเตอร์และไดร์ฟ การวางแบตเตอรี่พร้อมระบบระบายอากาศ ระบบ
บริหารจัดการแบตเตอรี่ Inverter การออกแบบอีซียู ระบบ Drive by wire การดัดแปลงตัวถังและการจัดวางอุปกรณ์ และติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเก็บข้อมูล
จนกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบและสามารถใช้ในการขับเคลื่อนได้จริง รวมทั้งดำ�เนินการจดทะเบียนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ในวันนี้จึงได้ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวให้แก่ กฟผ. เพื่อนำ�ไปใช้งาน และจะได้นำ�ผลการทดสอบเก็บข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี
ในอนาคตต่อไป โดยผมเชื่อมั่นว่า ความสำ�เร็จจากความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศในการสร้างและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัย
ไทยที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ช่วยลดมลภาวะ และสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศต่อไป”
4 nstda • มิถุนายน 2559
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
สวทช. ก.วิทย์ ร่วมกับ STS Forum และ
JETRO จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค
“ASEAN – Japan Workshop in Thailand : Innovation, Science,
and Technology for Sustainable Development”
9 มิถุนายน2559- โรงแรมดุสิตธานี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
ร่วมกับ Science and Technology in Society forum (STS forum) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดงานสัมมนาระดับ
ภูมิภาค “ASEAN - Japan Workshop in Thailand : Innovation, Science, and Technology for Sustainable Development” เพื่อเป็นเวทีผนึกกำ�ลัง
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างมิติใหม่ของเวทีระดมความคิดนับแต่ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) อันจะเป็นกลไกเสริมในการ
ริเริ่ม หารือ และสร้างเครือข่ายแก้ไขปัญหาใหม่ๆ อันเป็นผลพวงจากการใช้งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นการสานต่อความสำ�เร็จจากการจัด
สัมมนาระดับภูมิภาค 2 ครั้งที่ผ่านมาที่สิงคโปร์ และมาเลเซีย ในปี 2014 และ 2015 ตามลำ�ดับ การสัมมนาที่กรุงเทพครั้งนี้นับเป็นการสัมมนาภายนอก
ญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำ�คัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากกลุ่ม
ประเทศอาเซียนและญี่ปุ่นเข้าร่วมสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านนวัตกรรมที่จะเชื่อมโยง ระหว่างกลุ่ม SMEs และบริษัท
ระดับโลก (Global Company) ในการเข้าสู่ AEC และการพัฒนากำ�ลังคนเพื่อยกระดับความร่วมมือและการแข่งขันด้วยการใช้นวัตกรรม ระหว่างกลุ่ม
ประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22042-nstda
5มิถุนายน 2559 •
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
9 มิถุนายน 2559 : ที่ห้องประชุมสังเวียน อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ประเทศไทย (Software Park Thailand) หรือซอฟต์แวร์พาร์ค สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคี
เครือข่าย จัดพิธีมอบทุนให้กับผู้เข้าร่วม “โครงการบ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สังคม : Active Citizen
: Geek so Good” โดยมี นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำ�นวยการ
ซอฟต์แวร์พาร์ค นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ รองผู้อำ�นวยการซอฟต์แวร์พาร์ค และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำ�นวยการ
สำ�นักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมพิธี พร้อมทั้ง
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จาก 14 ทีมทั่วประเทศร่วมนำ�เสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรับทุนสนับสนุน
มูลค่ารวมกว่า 5 แสนบาท สำ�หรับนำ�ไปพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงเพื่อแก้ปัญหาในสังคมต่อไป
สวทช. - สสส. และภาคีเครือข่าย
หนุนเวที “นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”
4 ทีม คว้าทุนกว่าครึ่งล้าน! ต่อยอดนวัตกรรม
ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสังคม
6 nstda • มิถุนายน 2559
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
โดยภายหลังมีการนำ�เสนอผลงานต่อคณะกรรมการครบทั้ง14 ทีม แล้ว ผลปรากฎว่า4 ทีมที่ได้รับทุนเพื่อต่อยอดนวัตกรรมสู่การนำ�ไปใช้จริง ได้แก่
1. ผลงาน “เว็บไซต์แนะนำ�การหางานสำ�หรับผู้พิการ” ของทีม Enabled จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลาง
ช่วยหางานสำ�หรับผู้พิการ ให้ตรงกับความต้องการของผู้พิการและผู้จ้างงาน เพื่อพัฒนาคนพิการสู้ตลาดสากล
2. ผลงาน “เครื่อง ขอ.ขวด” เปลี่ยนขวดเป็นเงิน เพื่อเด็กกำ�พร้าและยากไร้ ของทีม CSMJU78 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพลตฟอร์มเพื่อสังคม
ด้วยการเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกเป็นเงินด้วยเครื่อง “ขอขวด” เพื่อให้ประชาชนที่บริจาคขวดสามารถสะสมแต้มรับสินค้า รายได้ส่วนหนึ่งหัก
ให้กับมูลนิธิแสงไทยดรุณเพื่อเด็กกำ�พร้ายากไร้
3. ผลงาน “วัคซีน พ็อกเก็ต”(VaccinePocket) ของทีมPrimeSoft จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แอปพลิเคชันบันทึกการรับวัคซีน
สำ�หรับเด็กวัย 1-3 ปี สำ�รองข้อมูลบนระบบคลาวด์ โดยสามารถแจ้งเตือนเมื่อครบกำ�หนดรับวัคซีนครั้งต่อไป
4. ผลงาน “Light Life” ของทีม You light up! my life จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น แอปพลิเคชันสำ�หรับป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ
การพยายามทำ�ร้ายตนเอง พร้อมทั้งคำ�แนะนำ�ในการปฏิบัติตนให้พ้นจากภาวะเสี่ยง บทความให้กำ�ลังใจ รวมถึงสายด่วนสุขภาพจิตที่สามารถ
ติดต่อขอรับการช่วยเหลือได้ 
นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการมอบทุน ให้กับทั้ง14 ทีมที่เข้าร่วมนำ�เสนอผลงานต่อคณะกรรมการในครั้งนี้ เพื่อนำ�ไปเป็นทุนในการพัฒนานวัตกรรม
ต้นแบบ รวมมูลค่าทุนทั้งสิ้นกว่า 5 แสนบาทด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/visit-km/22043-geek-so-good
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
7มิถุนายน 2559 •
13 มิถุนายน 2559 : กรมการข้าว ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน
“วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โครงการหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปี 2559” ณ หมู่ที่ 6
ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งนับเป็นหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งที่ 21 และเป็นแห่งแรกในพื้นที่ภาคใต้ จากการ
ดำ�เนินโครงการ “การส่งเสริมระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” ที่เริ่มต้นตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ด
พันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชน การอบรมผู้ตรวจประเมินคุณภาพแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และการอบรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
เมล็ดพันธุ์ข้าวเบื้องต้น ทำ�ให้สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ
สูงที่ผ่านการรับรองให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ส่งผลต่อข้าวไทยทุกเมล็ดให้มีคุณภาพสูงขึ้น เกิดอาชีพ
เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และก่อเกิดธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยั่งยืนต่อไป
กรมการข้าว ร่วมกับ สวทช.
เปิดหมู่บ้านส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าว
ณ ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง
8 nstda • มิถุนายน 2559
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี60.21 ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง
13.12 ล้านไร่ ทำ�ให้มีความต้องการเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกปีละประมาณ
1.1 ล้านตัน ในอัตราเฉลี่ยที่ใช้เพาะปลูก 15 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีภาครัฐและผู้
ประกอบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ประมาณ 600,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 55%
และชาวนาบางส่วนเก็บเมล็ดพันธุ์ เพื่อใช้ปลูกเองอีกประมาณ300,000 ตัน หรือ
คิดเป็น 27% ทำ�ให้ชาวนามีความต้องการซื้อหาเมล็ดพันธุ์ข้าวอีกประมาณ ปีละ
200,000 ตัน หรือคิดเป็น 18% ของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
2557 กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) มูลนิธิข้าวไทย ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสำ�นักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การ
มหาชน) (สวก.) จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการผลิต
เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิกในหมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์
ข้าว ชมรมและสมาคมผู้รวบรวมและจำ�หน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว และศูนย์ข้าวชุมชน
ให้สามารถเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง และกระจายเมล็ดพันธุ์
ข้าวให้เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ให้ความ
สำ�คัญกับการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมข้าว โดยเน้นการวิจัยและพัฒนา
ตั้งแต่ต้นน้ำ� กลางน้ำ� และปลายน้ำ� อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความร่วมมือกับกรม
การข้าวและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการใช้เทคโนโลยีด้านจีโนมในการพัฒนาพันธุ์
ข้าวนาน้ำ�ฝนและนาชลประทานให้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต โดยเพิ่มความ
ต้านทานโรคและแมลงที่สำ�คัญ และให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต โดยร่วมกับกรมการข้าว อาทิ การ
ใช้เทคโนโลยีไอทีหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคเกษตร
เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรไทยแบบพกพา หรือ TAMIS เพื่อ
ช่วยในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการตรวจประเมินคุณภาพข้าวไทย สำ�หรับใช้
ติดตามผลการปลูก ประมาณการช่วงเวลาผลผลิตที่พร้อมเก็บเกี่ยว การบูรณาการ
ข้อมูลและสร้างแบบจำ�ลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร จะช่วยสนับสนุน
การทำ�โซนนิ่งภาคการเกษตรให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยการบูรณาการ
ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ด้านราคา
แหล่งรับซื้อ มีการสร้างโมเดลที่ช่วยในการกำ�หนดพื้นที่เหมาะสมสำ�หรับปลูก
พืชเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวบริเวณที่ดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว
และขาดทุนอยู่ในปัจจุบัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ Agri-Map แผนที่
บริหารจัดการเชิงรุกของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การพัฒนาโปรแกรมตรวจวัด
สีใบข้าว แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำ�หรับคำ�นวณหาปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนและ
โพแทสเซียมที่เหมาะกับความต้องการของต้นข้าว โปรแกรมการคำ�นวณการผสม
ปุ๋ยเคมีให้ได้ปุ๋ยผสมตามสูตรที่มีธาตุอาหารหลัก N, P, K ที่ต้องการ การพัฒนา
เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน
การผลิตในภาคเกษตร เช่น เครื่องสีข้าวชุมชน การพัฒนาสารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุม
โรคและแมลงศัตรู เพื่อการผลิตที่ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการ
แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เป็นต้น  
สำ�หรับปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เนื่องจากขาดความ
เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต และผู้จำ�หน่าย รวมถึงความนิยมในการเลือกใช้พันธุ์ข้าว
ของเกษตรกรที่มีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกปี ตลอดจนระบบการควบคุมคุณภาพ
เมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลง และการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์เบื้องต้น ยัง
ขาดผู้เชี่ยวชาญ จำ�เป็นต้องสร้างผู้ตรวจแปลงและผู้ตรวจวิเคราะห์คุณภาพเมล็ด
พันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการ สวทช. เห็นความสำ�คัญของปัญหาดังกล่าว จึง
ได้สนับสนุนงบประมาณให้กรมการข้าวดำ�เนินการ 4 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชน
จำ�นวน 60 แห่ง 
กิจกรรมที่ 2 การอบรมผู้ตรวจประเมินคุณภาพแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์
จำ�นวน 130 คน
กิจกรรมที่ 3 การอบรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
เบื้องต้น จำ�นวน 70 คน 
กิจกรรมที่ 4 การจัดตั้งหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 แห่ง 
นอกจากนี้ สวทช. ที่สนับสนุนเครื่องคัดและทำ�ความสะอาดเมล็ดพันธุ์
ข้าว และเครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ ทำ�ให้เกิดการ
จัดตั้งหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ในวัน
นี้ หมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จ.พัทลุง มีเกษตรกร จำ�นวน 50 ราย
พื้นที่การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 500 ไร่ โดยมีแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ กข49
ชัยนาท 1 และพันธุ์ปทุมธานี 1 จำ�นวน 250 ตัน เพื่อกระจายให้กับเกษตรกรใน
พื้นที่ จ.พัทลุง และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
9มิถุนายน 2559 •
15 มิ.ย. 59 กรุงเทพฯ : สำ�นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่ง
ชาติ (สำ�นักงาน กสทช.) ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี เผยผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำ�ปี 2558 และประมาณการปี 2559 พบว่า ตลาดสื่อสารปี 2559 มูลค่า
เฉียด 6 แสนล้านบาท เติบโต 11.5% จากอานิสงส์ของ 4G และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐ ดันการเข้าถึงบริการสื่อสาร
ความเร็วสูง เพิ่มการใช้งานดาต้าเติบโต ขณะที่ตลาดอุปกรณ์โทรศัพท์ใช้สายดั้งเดิม (Conventional Handset) และโทรศัพท์
เคลื่อนที่แบบ Feature Phone ส่อแววหมดตลาด ด้านสภาวะเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำ�คัญที่ทำ�ให้มูลค่าตลาดพลาดเป้า
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22046-nstda
สำ�นักงาน กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผย
ผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารปี 59
ตลาดยังสดใส โต 11.5% ผลพวงจาก 4G และดิจิทัลอีโคโนมี
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
10 nstda • มิถุนายน 2559
17 มิ.ย. 59 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) โดยนางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. รับมอบเกียรติบัตร CoolMode (คูลโหมด) หรือ
เสื้อผ้าลดโลกร้อน ในฐานะหน่วยงานผู้ใช้เสื้อผ้า CoolMode จากโครงการส่งเสริมการพัฒนาเสื้อผ้าลดโลกร้อน ในพิธีมอบ
เกียรติบัตรและการสัมมนา “เสื้อผ้า CoolMode กับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ” ซึ่งจัดขึ้นโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซ
เรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ โดยมีคุณสุทธินีย์ พู่ผกา
ผู้อำ�นวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำ�นวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซ
เรือนกระจก (องค์การมหาชน) และคุณเจนจบ สุขสด ผู้อำ�นวยการฝ่ายคุณภาพสิ่งแวดล้อมและห้องปฏิบัติการ กรมควบคุม
มลพิษ ร่วมเป็นผู้มอบเกียรติบัตร พร้อมกับบริษัทผู้พัฒนาเสื้อผ้า และหน่วยงานผู้ใช้เสื้อผ้า CoolMode อีกหลายหน่วยงาน
สวทช. รับมอบเกียรติบัตรหน่วยงาน
ผู้ใช้เสื้อผ้าลดโลกร้อน CoolMode
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
11มิถุนายน 2559 •
ITAP สวทช. ร่วมกับ มจธ.
นำ� 4 ผู้ประกอบการนำ�เสนอ
นวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุ
ในงาน Healthcare 2016
ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรม
สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) นำ� 4 ผู้ประกอบการในโครงการ
“พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำ�หรับผู้สูงอายุ” เสนอนวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุในงาน
“Health Care 2016 สร้างสุขผู้สูงวัย” ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สาธารสุข และองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างวันที่ 16 - 19 มิถุนายน 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประกอบ
ด้วย เฟอร์นิเจอร์ตู้อเนกประสงค์สำ�หรับผู้สูงอายุ เฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง (outdoor) สำ�หรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์กล่องข้าว
สำ�หรับผู้สูงอายุ และเครื่องออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้สูงอายุ โดยทุกผลงาน ล้วนตอบโจทย์พฤติกรรมในแง่การใช้งานของ
ผู้สูงอายุ ด้วยการออกแบบบนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของ ABLE lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในเรื่องการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการการใช้งานที่แท้จริงของผู้สูงอายุ
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
12 nstda • มิถุนายน 2559
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำ�หรับผู้สูงอายุที่นำ�มาแสดง ได้แก่ 
•	 อุปกรณ์กล่องข้าวสำ�หรับผู้สูงอายุ โดย
บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำ�กัด
บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำ�กัด ให้
ความสำ�คัญกับการใช้วัดสุประเภท 100% Pure Bio-
Plastic ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ร่วมทำ�การศึกษา
ถึงความต้องการและประสบการณ์ที่ผู้สูงอายุต้องการ
จากการใข้งานกล่องข้าว ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็น
ถึงองค์ประกอบของรูปแบบที่ส่งต่อการPsychological
Factor เป็นอย่างมาก อาทิ ความรู้สึกของการเป็น
ภาชนะเก็บอาหารมากกว่าการเป็นภาชนะสำ�หรับรับ
ประทานอาหาร ซึ่งในปัจจบุันยังไม่มีผลิตภัณฑ์ในตลาด
ที่ให้ความสำ�คัญกับประเด็นนี้ การออกแบบกล่องข้าวที่
สามารถเก็บอาหาร(FoodContainer) และพร้อมที่จะแปร
สภาพเป็นภาชนะบนโต๊ะอาหาร(Tableware) ออกมา จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเติม
เต็มความรู้สึกทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง
•	 อุปกรณ์ออกกำ�ลังภายในบ้านสำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท มาราธอน
(ประเทศไทย) จำ�กัด
บริษัท มาราธอน(ประเทศไทย) จำ�กัด และABLElab ได้ร่วมมือในการ
ศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่ต่อเนื่องในการออก
กำ�ลังกายของผู้สูงอายุ รวมถึงประยุกต์ผลการศึกษาดังกล่าวมาสู่การออกแบบ
นวัตกรรมของ Physical Interface ในรูปแบบใหม่ให้
กับเครื่องออกกำ�ลังกายที่ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถ
เพลิดเพลินกับcontent คู่ขนานกับการออกกำ�ลังกาย
แต่ในขณะเดียวกันระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นเอ็น
ของร่างกายจะทำ�การตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อเครื่อง
ออกกำ�ลังกาย ทำ�ให้การออกกำ�ลังมีประสิทธิภาพถึง
แม้ว่าผู้สูงอายุจะเพลิดเพลินอยู่กับ content รอบข้าง
ในขณะใช้เครื่องออกกำ�ลังกายก็ตาม
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
13มิถุนายน 2559 •
•	 เฟอร์นิเจอร์ตู้วางรองเท้าอเนกประสงค์
สำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท แกรนด์ดิส จำ�กัด
เนื่องด้วยปัญหาในเชิงสรีระและความ
สามารถทางด้านร่างกายที่ลดลง การสวมใส่รองเท้า
จึงเป็นเรื่องยากลำ�บากของผู้สูงอายุ และที่สำ�คัญจาก
การศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้ม
จากการยืนใส่รองเท้ามาก ทางบริษัท แกรนด์ดิส
จำ�กัด และABLElab จึงได้เล็งเห็นถึงโอกาสทางการ
ออกแบบตู้เก็บรองเท้าอเนกประสงค์นี้ขึ้น โดยได้นำ�
เสนอแนวทางการออกแบบหน้าบานตู้ในรูปแบบที่เปิด
ง่าย ใช้งานสะดวก รวมถึงเพิ่มเติมพื้นที่นั่งสำ�หรับใส่
รองเท้าเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหกล้ม อีกทั้งยังใส่แนวคิด
การใช้ตู้เก็บรองเท้าดังกล่าวเพื่อการตกแต่งพื้นที่
บริเวณทางเข้าบ้านอีกด้วย
•	 เฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง(outdoor) สำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท อุตสาหกรรม
ดีสวัสดิ์ จำ�กัด
โครงการพัฒนาสินค้าสำ�หรับผู้สูงอายุนั้น สามารถพัฒนารูปแบบได้
หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันกำ�ลังเป็นที่จับตามองของหลายประเทศ ซึ่งทาง บริษัท
อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำ�กัด ได้มองว่าตลาดกลุ่มนี้เป็นตลาดที่มีความสำ�คัญจึงได้
เข้าร่วมโครงการกับ ITAP เพื่อที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้ชัดเจนขึ้น โดยเฟอร์นิเจอร์
ของบริษัทเป็นเฟอร์นิเจอร์สนาม ซึ่งน่าจะเป็นการดีที่จะให้ผู้สูงอายุใช้เวลานอก
บ้านมากขึ้น ซึ่งได้เพิ่มเติมสิ่งที่สำ�คัญลงไป อย่าง ชุด wa collection เป็นชุดที่
ออกแบบมาเป็นชุดสนามที่มีขนาดเล็ก น้ำ�หนักไม่มาก สามารถจัดวางและเคลื่อน
ย้ายได้สะดวก และยังมีทั้งแบบมีท้าวแขนและไม่ท้าวแขนในชุดเดียวกัน รวมทั้ง
มีที่วางเท้าซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นโต๊ะกาแฟ หรือ
ที่รองเท้าหรือแม้แต่ที่นั่งได้ ซึ่งน่าจะสะดวกกับการ
ใช้สอยสำ�หรับผู้สูงอายุ และอีกชิ้นคือ เฟอร์นิเจอร์
เก้าอี้ผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถช่วยในการขยับร่างกาย
เพื่อเคลื่อนย้ายไปที่โต๊ะง่ายขึ้น และยังมีชิ้นที่เป็นไม้
สักสั้งหมดซึ่งสามารถใช้ใด้ทั้งภายนอกภายในและ
แม้แต่ในห้องน้ำ�
ผู้ประกอบการที่สนใจ เปิดรับสมัคร
ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ สำ�หรับปี 2559
- 2560 จำ�นวน 10 ราย รับใบสมัครฯ ได้ที่คณะ
ทำ�งานโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและ
นวัตกรรม(ITAP) สวทช. คุณชนากานต์ สันตยานนท์
คุณวลัยรัตน์ จังเจริญจิตต์กุล และ คุณพนิตา
ศรีประย่า โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1381 หรือ
อีเมล chanaghan@nstda.or.th
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
14 nstda • มิถุนายน 2559
“Active PAK
TM
ถุงหายใจได้”
เทคโนโลยีจากมันสมองคนไทย
นักวิจัย สวทช. วิจัยและพัฒนา “ถุงหายใจได้” เพื่อเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ให้มีอายุยืนยาวขึ้น
เฉลี่ย 7-8 วัน ช่วยรักษาคุณค่าสารอาหาร และลดอัตราการเน่าเสียในขณะวางจำ�หน่ายที่ร้าน
ปัจจุบันมีการนำ�ไปใช้จริงแล้วที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ�ของไทย
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
15มิถุนายน 2559 •
ผัก ผลไม้ ยังคงมีชีวิตหลังถูกเก็บเกี่ยว มีการหายใจและคายน้ำ� อันมีส่วนทำ�ให้เกิดการเสื่อมสภาพและเน่าเสียได้ ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่า
หลายท่านมักประสบปัญหาในการเลือกซื้อผักผลไม้สดที่ไม่ได้คุณภาพ และไม่สามารถเก็บไว้รับประทานที่บ้านได้นานตามที่ต้องการ ปัจจุบัน
ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้แล้ว ด้วยนวัตกรรม “Active PAKTM ถุงหายใจได้” ที่ช่วยคงความสดของผักผลไม้ได้นานยิ่งขึ้น และตอบโจทย์
ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันได้ดีทีเดียว
“ActivePAKTM” ถุงหายใจได้ พัฒนาโดยทีมวิจัยInno-freshpack ของสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกว่าจะพัฒนาจนถึง Active PAKTM รุ่นปัจจุบันนั้น ทีมวิจัยฯ ได้ทำ�งานวิจัยและพัฒนากันมาอย่าง
ต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยมีการรับโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรมผักผลไม้สด มีการพัฒนาและร่วมทดสอบกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดย
ถุงได้รับการออกแบบให้มีลักษณะใสด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ จึงไม่ทำ�ให้เกิดฝ้าขณะเก็บรักษา ทำ�ให้ผู้บริโภคสามารถมองเห็นสินค้าได้
พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพให้กับผู้บริโภค
หลักการทำ�งานของ Active PAKTM จะสร้างสภาวะรักษาความสดภายในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถสร้างบรรยากาศดัดแปลงแบบสมดุล
จึงคงความสด คุณค่า รสชาติ ของผักผลไม้สดได้นานสูงสุด 2-5 เท่า เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบทั่วไป ซึ่งถุงพลาสติกโดยทั่วไปจะมีการ
เจาะรูถุง ทำ�ให้ผักผลไม้เหี่ยวจากการสูญเสียน้ำ� แต่สำ�หรับถุงActivePAKTM จะช่วยยืดอายุให้ผักสดนานขึ้น7-14 วัน นอกจากนี้ยังสามารถ
ช่วยรักษาคุณค่าสารอาหาร ลดอัตราการเน่าเสียในขณะวางจำ�หน่ายที่ร้าน และการนำ�ไปเก็บรักษาต่อเพื่อการบริโภค โดยช่วยลดการสูญเสีย
ของผักลงประมาณ 7-8% ซึ่งเป็นการลดขยะ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
16 nstda • มิถุนายน 2559
และในวันนี้ นวัตกรรมเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ Active PAKTM หรือถุงหายใจได้ดังกล่าว มีการนำ�ไปใช้ประโยชน์จริงแล้วใน
ภาคอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ผู้ผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์พลาสติก และผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้งาน
อย่าง เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ เพื่อใช้สำ�หรับคงความสดของผักที่วางจำ�หน่ายบนชั้นวางได้ยาวนานยิ่งขึ้นเฉลี่ย 7-8 วัน เทียบกับถุง
พลาสติกทั่วไปเจาะรู ที่ใส่ผักได้เพียง3 วันเท่านั้น นับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสและยืดระยะเวลาการขายผักให้เกษตรกรที่ปลูกผักในพื้นที่ห่างไกล
สามารถส่งสินค้าเข้ามาจำ�หน่ายในส่วนกลางหรือสาขาทั่วประเทศ สุดท้ายคือผู้บริโภคได้ผักที่สด รสชาติดี คงคุณค่าทางโภชนาการ เหมือน
เก็บมาจากไร่มากที่สุด
นับเป็นความสำ�เร็จอย่างมากของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาคเอกชนเห็นความสำ�คัญของการนำ�
ผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ย่อมจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพิ่มมากขึ้น
ลดการนำ�เข้าหรือการใช้งานเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และต้นทุนของการผลิตจะถูกลง เหล่านี้ล้วนมีผลให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถ
ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้
17มิถุนายน 2559 •
กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) ขอเชิญผู้สนใจเข้าอบรมหลักสูตร “การสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ”
เจาะลึกอินโฟกราฟิกที่ดี การสร้างสื่อในยุคเทคโนโลยี Digital Content เพื่อนำ�เสนอข้อมูลที่ซับซ้อน ปริมาณเนื้อหาที่มีมากในเวลาจำ�กัดให้สวยงาม เข้าใจง่าย
ด้วยองค์ประกอบศิลป์ และเสริมภาพลักษณ์ให้องค์กร ด้วยสื่อให้โดนใจเน้นการ Pick Up พร้อมเทคนิค Trick & Tip เบื้องหลังการออกแบบการทำ�อินโฟกราฟิก
• รุ่นที่ 8 ระหว่างวันที่ 27 - 28 กรกฏาคม 2559 • รุ่นที่ 9 ระหว่างวันที่ 24 - 25 สิงหาคม 2559 • รุ่นที่ 10 ระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2559
พิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรับส่วนลด 10 % เหลือเพียงท่านละ 13,500 บาท จากปกติ 15,000 บาท
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิทยาการ สวทช. โทรศัพท์ 0 2644 8150 โทรสาร 0 2644 8110
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับสนองพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระ
ประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
และกิจกรรม การประชุมโครงการ Global Young Scientist Summit (GYSS) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางวิชาการ อีกทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้
ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ จากประสบการณ์จริงของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับสากล
สวทช. จึงขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ สมัครเข้ารับการคัดเลือก เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมผู้ได้รับ
รางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาเคมี ประจำ�ปี 2560 และกิจกรรม การประชุม Global Young Scientist Summit (GYSS 2017)
ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีกิจกรรมนำ�
เสนอผลงาน การบรรยายพิเศษ และการเสวนากลุ่มย่อยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากนักวิทยาศาสตร์ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Laureate) และ
นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลชั้นนำ�ของโลก
        • ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559
        • ข้อมูลโครงการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้
        	 + โครงการ การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ที่ http://www.nstda.or.th/lindau
	 + โครงการ Global Young Scientist Summit (GYSS) ที่ http://www.nstda.or.th/gyss
        • รับสมัครทางออนไลน์ที่ www.nstda.or.th/lindau/pdys
        • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2529 7100 ต่อ 77206  77224  7225 อีเมล pdys@nstda.or.th
        • ดูรายละเอียดของกิจกรรมเพิ่มเติมที่ http://www.lindau-nobel.org และ http://www.gyss-one-north.sg 
การอบรมหลักสูตร “การสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ”
สวทช. เชิญชวนเยาวชนไทย ร่วมโครงการการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล
ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และโครงการ Global Young Scientist Summit ณ
สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำ�ปี 2560

More Related Content

What's hot

พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&Dพลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&DNational Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

What's hot (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&Dพลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
 
Startup Thailand 2016 FACTSHEET
Startup Thailand 2016 FACTSHEETStartup Thailand 2016 FACTSHEET
Startup Thailand 2016 FACTSHEET
 
NSTDA Annual Report 2014
NSTDA Annual Report 2014NSTDA Annual Report 2014
NSTDA Annual Report 2014
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 
Thai ICT Conceptualization
Thai ICT ConceptualizationThai ICT Conceptualization
Thai ICT Conceptualization
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 
NECTEC Annual Report 2014
NECTEC Annual Report 2014NECTEC Annual Report 2014
NECTEC Annual Report 2014
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
Open nstda ประตูสู่นวัตกรรม
Open nstda ประตูสู่นวัตกรรมOpen nstda ประตูสู่นวัตกรรม
Open nstda ประตูสู่นวัตกรรม
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 

Similar to NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559

วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนวิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนpiyapornnok
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
59 ssh e news
59 ssh e news59 ssh e news
59 ssh e newsshm-nstda
 

Similar to NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559 (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนวิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
 
E news-june-2018-final
E news-june-2018-finalE news-june-2018-final
E news-june-2018-final
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
 
59 ssh e news
59 ssh e news59 ssh e news
59 ssh e news
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (14)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559

  • 1. 1มิถุนายน 2559 • 54 7 10 9 11 17 2 14 สวทช. มอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง แก่ กฟผ. สวทช. - สสส. และภาคีเครือข่าย หนุนเวที “นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” สวทช. ก.วิทย์ ร่วมกับ STS Forum และ JETRO จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค กรมการข้าว ร่วมกับ สวทช. เปิดหมู่บ้าน ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าว สวทช. รับมอบเกียรติบัตรหน่วยงาน ผู้ใช้เสื้อผ้าลดโลกร้อน CoolMode กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารปี 59 ITAP สวทช. ร่วมกับ มจธ. นำ� 4 ผู้ประกอบการนำ�เสนอ นวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุ กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News บทความ Article เทคโนโลยีจากมันสมองคนไทย “Active PAK TM ถุงหายใจได้”
  • 2. 2 nstda • มิถุนายน 2559 กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 สวทช. มอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง แก่ กฟผ. เพื่อพัฒนาต่อยอดยานยนต์ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3 มิถุนายน 2559 ณ สำ�นักงานกลาง กฟผ. บางกรวย นนทบุรี - ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ส่งมอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าจากการดัดแปลงรถยนต์ ใช้แล้ว จำ�นวน 1 คัน โดยมีนายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับมอบ เพื่อ นำ�ไปใช้งาน และจะเก็บผลทดสอบสำ�หรับนำ�ไปปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ย้ำ�ความสำ�เร็จครั้ง นี้จะช่วยกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดมลภาวะ และสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศต่อไป ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นหนึ่งใน อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล โดยได้รับการบรรจุในอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบาย สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค โดยเมื่อปี พ.ศ. 2553 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดริเริ่มใน การพัฒนารถยนต์นั่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งขณะนั้นยานยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่ด้วยเล็งเห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่ น่าจะก้าวเข้ามาในอนาคต จึงได้ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยแก่ สวทช. และ สวทช. สมทบอีกส่วนหนึ่ง เพื่อดำ�เนินการวิจัยพัฒนาดัดแปลง และออกแบบ ชิ้นส่วนภายในรถยนต์จากเครื่องยนต์สันดาป เป็นรถยนต์ไฟฟ้า จำ�นวน 2 คัน” 
  • 3. 3มิถุนายน 2559 • กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 “สวทช. ได้ดำ�เนินการพัฒนาและดัดแปลงชิ้นส่วนสำ�คัญต่างๆ อาทิ มอเตอร์และไดร์ฟ การวางแบตเตอรี่พร้อมระบบระบายอากาศ ระบบ บริหารจัดการแบตเตอรี่ Inverter การออกแบบอีซียู ระบบ Drive by wire การดัดแปลงตัวถังและการจัดวางอุปกรณ์ และติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเก็บข้อมูล จนกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบและสามารถใช้ในการขับเคลื่อนได้จริง รวมทั้งดำ�เนินการจดทะเบียนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในวันนี้จึงได้ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวให้แก่ กฟผ. เพื่อนำ�ไปใช้งาน และจะได้นำ�ผลการทดสอบเก็บข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี ในอนาคตต่อไป โดยผมเชื่อมั่นว่า ความสำ�เร็จจากความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศในการสร้างและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัย ไทยที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ช่วยลดมลภาวะ และสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศต่อไป”
  • 4. 4 nstda • มิถุนายน 2559 กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 สวทช. ก.วิทย์ ร่วมกับ STS Forum และ JETRO จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค “ASEAN – Japan Workshop in Thailand : Innovation, Science, and Technology for Sustainable Development” 9 มิถุนายน2559- โรงแรมดุสิตธานี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับ Science and Technology in Society forum (STS forum) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดงานสัมมนาระดับ ภูมิภาค “ASEAN - Japan Workshop in Thailand : Innovation, Science, and Technology for Sustainable Development” เพื่อเป็นเวทีผนึกกำ�ลัง ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างมิติใหม่ของเวทีระดมความคิดนับแต่ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) อันจะเป็นกลไกเสริมในการ ริเริ่ม หารือ และสร้างเครือข่ายแก้ไขปัญหาใหม่ๆ อันเป็นผลพวงจากการใช้งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นการสานต่อความสำ�เร็จจากการจัด สัมมนาระดับภูมิภาค 2 ครั้งที่ผ่านมาที่สิงคโปร์ และมาเลเซีย ในปี 2014 และ 2015 ตามลำ�ดับ การสัมมนาที่กรุงเทพครั้งนี้นับเป็นการสัมมนาภายนอก ญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำ�คัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากกลุ่ม ประเทศอาเซียนและญี่ปุ่นเข้าร่วมสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านนวัตกรรมที่จะเชื่อมโยง ระหว่างกลุ่ม SMEs และบริษัท ระดับโลก (Global Company) ในการเข้าสู่ AEC และการพัฒนากำ�ลังคนเพื่อยกระดับความร่วมมือและการแข่งขันด้วยการใช้นวัตกรรม ระหว่างกลุ่ม ประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22042-nstda
  • 5. 5มิถุนายน 2559 • กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 9 มิถุนายน 2559 : ที่ห้องประชุมสังเวียน อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ประเทศไทย (Software Park Thailand) หรือซอฟต์แวร์พาร์ค สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคี เครือข่าย จัดพิธีมอบทุนให้กับผู้เข้าร่วม “โครงการบ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สังคม : Active Citizen : Geek so Good” โดยมี นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำ�นวยการ ซอฟต์แวร์พาร์ค นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ รองผู้อำ�นวยการซอฟต์แวร์พาร์ค และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมพิธี พร้อมทั้ง ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จาก 14 ทีมทั่วประเทศร่วมนำ�เสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรับทุนสนับสนุน มูลค่ารวมกว่า 5 แสนบาท สำ�หรับนำ�ไปพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงเพื่อแก้ปัญหาในสังคมต่อไป สวทช. - สสส. และภาคีเครือข่าย หนุนเวที “นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” 4 ทีม คว้าทุนกว่าครึ่งล้าน! ต่อยอดนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสังคม
  • 6. 6 nstda • มิถุนายน 2559 กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 โดยภายหลังมีการนำ�เสนอผลงานต่อคณะกรรมการครบทั้ง14 ทีม แล้ว ผลปรากฎว่า4 ทีมที่ได้รับทุนเพื่อต่อยอดนวัตกรรมสู่การนำ�ไปใช้จริง ได้แก่ 1. ผลงาน “เว็บไซต์แนะนำ�การหางานสำ�หรับผู้พิการ” ของทีม Enabled จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลาง ช่วยหางานสำ�หรับผู้พิการ ให้ตรงกับความต้องการของผู้พิการและผู้จ้างงาน เพื่อพัฒนาคนพิการสู้ตลาดสากล 2. ผลงาน “เครื่อง ขอ.ขวด” เปลี่ยนขวดเป็นเงิน เพื่อเด็กกำ�พร้าและยากไร้ ของทีม CSMJU78 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพลตฟอร์มเพื่อสังคม ด้วยการเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกเป็นเงินด้วยเครื่อง “ขอขวด” เพื่อให้ประชาชนที่บริจาคขวดสามารถสะสมแต้มรับสินค้า รายได้ส่วนหนึ่งหัก ให้กับมูลนิธิแสงไทยดรุณเพื่อเด็กกำ�พร้ายากไร้ 3. ผลงาน “วัคซีน พ็อกเก็ต”(VaccinePocket) ของทีมPrimeSoft จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แอปพลิเคชันบันทึกการรับวัคซีน สำ�หรับเด็กวัย 1-3 ปี สำ�รองข้อมูลบนระบบคลาวด์ โดยสามารถแจ้งเตือนเมื่อครบกำ�หนดรับวัคซีนครั้งต่อไป 4. ผลงาน “Light Life” ของทีม You light up! my life จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น แอปพลิเคชันสำ�หรับป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ การพยายามทำ�ร้ายตนเอง พร้อมทั้งคำ�แนะนำ�ในการปฏิบัติตนให้พ้นจากภาวะเสี่ยง บทความให้กำ�ลังใจ รวมถึงสายด่วนสุขภาพจิตที่สามารถ ติดต่อขอรับการช่วยเหลือได้  นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการมอบทุน ให้กับทั้ง14 ทีมที่เข้าร่วมนำ�เสนอผลงานต่อคณะกรรมการในครั้งนี้ เพื่อนำ�ไปเป็นทุนในการพัฒนานวัตกรรม ต้นแบบ รวมมูลค่าทุนทั้งสิ้นกว่า 5 แสนบาทด้วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/visit-km/22043-geek-so-good
  • 7. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 7มิถุนายน 2559 • 13 มิถุนายน 2559 : กรมการข้าว ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โครงการหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปี 2559” ณ หมู่ที่ 6 ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งนับเป็นหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งที่ 21 และเป็นแห่งแรกในพื้นที่ภาคใต้ จากการ ดำ�เนินโครงการ “การส่งเสริมระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” ที่เริ่มต้นตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ด พันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชน การอบรมผู้ตรวจประเมินคุณภาพแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และการอบรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ เมล็ดพันธุ์ข้าวเบื้องต้น ทำ�ให้สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ สูงที่ผ่านการรับรองให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ส่งผลต่อข้าวไทยทุกเมล็ดให้มีคุณภาพสูงขึ้น เกิดอาชีพ เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และก่อเกิดธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยั่งยืนต่อไป กรมการข้าว ร่วมกับ สวทช. เปิดหมู่บ้านส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าว ณ ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง
  • 8. 8 nstda • มิถุนายน 2559 กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี60.21 ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 13.12 ล้านไร่ ทำ�ให้มีความต้องการเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกปีละประมาณ 1.1 ล้านตัน ในอัตราเฉลี่ยที่ใช้เพาะปลูก 15 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีภาครัฐและผู้ ประกอบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ประมาณ 600,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 55% และชาวนาบางส่วนเก็บเมล็ดพันธุ์ เพื่อใช้ปลูกเองอีกประมาณ300,000 ตัน หรือ คิดเป็น 27% ทำ�ให้ชาวนามีความต้องการซื้อหาเมล็ดพันธุ์ข้าวอีกประมาณ ปีละ 200,000 ตัน หรือคิดเป็น 18% ของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) มูลนิธิข้าวไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสำ�นักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การ มหาชน) (สวก.) จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิกในหมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าว ชมรมและสมาคมผู้รวบรวมและจำ�หน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว และศูนย์ข้าวชุมชน ให้สามารถเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง และกระจายเมล็ดพันธุ์ ข้าวให้เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ให้ความ สำ�คัญกับการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมข้าว โดยเน้นการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ต้นน้ำ� กลางน้ำ� และปลายน้ำ� อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความร่วมมือกับกรม การข้าวและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการใช้เทคโนโลยีด้านจีโนมในการพัฒนาพันธุ์ ข้าวนาน้ำ�ฝนและนาชลประทานให้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต โดยเพิ่มความ ต้านทานโรคและแมลงที่สำ�คัญ และให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต โดยร่วมกับกรมการข้าว อาทิ การ ใช้เทคโนโลยีไอทีหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคเกษตร เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรไทยแบบพกพา หรือ TAMIS เพื่อ ช่วยในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการตรวจประเมินคุณภาพข้าวไทย สำ�หรับใช้ ติดตามผลการปลูก ประมาณการช่วงเวลาผลผลิตที่พร้อมเก็บเกี่ยว การบูรณาการ ข้อมูลและสร้างแบบจำ�ลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร จะช่วยสนับสนุน การทำ�โซนนิ่งภาคการเกษตรให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยการบูรณาการ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ด้านราคา แหล่งรับซื้อ มีการสร้างโมเดลที่ช่วยในการกำ�หนดพื้นที่เหมาะสมสำ�หรับปลูก พืชเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวบริเวณที่ดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว และขาดทุนอยู่ในปัจจุบัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ Agri-Map แผนที่ บริหารจัดการเชิงรุกของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การพัฒนาโปรแกรมตรวจวัด สีใบข้าว แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำ�หรับคำ�นวณหาปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนและ โพแทสเซียมที่เหมาะกับความต้องการของต้นข้าว โปรแกรมการคำ�นวณการผสม ปุ๋ยเคมีให้ได้ปุ๋ยผสมตามสูตรที่มีธาตุอาหารหลัก N, P, K ที่ต้องการ การพัฒนา เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน การผลิตในภาคเกษตร เช่น เครื่องสีข้าวชุมชน การพัฒนาสารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุม โรคและแมลงศัตรู เพื่อการผลิตที่ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการ แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เป็นต้น   สำ�หรับปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เนื่องจากขาดความ เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต และผู้จำ�หน่าย รวมถึงความนิยมในการเลือกใช้พันธุ์ข้าว ของเกษตรกรที่มีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกปี ตลอดจนระบบการควบคุมคุณภาพ เมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลง และการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์เบื้องต้น ยัง ขาดผู้เชี่ยวชาญ จำ�เป็นต้องสร้างผู้ตรวจแปลงและผู้ตรวจวิเคราะห์คุณภาพเมล็ด พันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการ สวทช. เห็นความสำ�คัญของปัญหาดังกล่าว จึง ได้สนับสนุนงบประมาณให้กรมการข้าวดำ�เนินการ 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชน จำ�นวน 60 แห่ง  กิจกรรมที่ 2 การอบรมผู้ตรวจประเมินคุณภาพแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ จำ�นวน 130 คน กิจกรรมที่ 3 การอบรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว เบื้องต้น จำ�นวน 70 คน  กิจกรรมที่ 4 การจัดตั้งหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 แห่ง  นอกจากนี้ สวทช. ที่สนับสนุนเครื่องคัดและทำ�ความสะอาดเมล็ดพันธุ์ ข้าว และเครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ ทำ�ให้เกิดการ จัดตั้งหมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ในวัน นี้ หมู่บ้านส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จ.พัทลุง มีเกษตรกร จำ�นวน 50 ราย พื้นที่การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 500 ไร่ โดยมีแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ กข49 ชัยนาท 1 และพันธุ์ปทุมธานี 1 จำ�นวน 250 ตัน เพื่อกระจายให้กับเกษตรกรใน พื้นที่ จ.พัทลุง และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
  • 9. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 9มิถุนายน 2559 • 15 มิ.ย. 59 กรุงเทพฯ : สำ�นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (สำ�นักงาน กสทช.) ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เผยผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำ�ปี 2558 และประมาณการปี 2559 พบว่า ตลาดสื่อสารปี 2559 มูลค่า เฉียด 6 แสนล้านบาท เติบโต 11.5% จากอานิสงส์ของ 4G และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐ ดันการเข้าถึงบริการสื่อสาร ความเร็วสูง เพิ่มการใช้งานดาต้าเติบโต ขณะที่ตลาดอุปกรณ์โทรศัพท์ใช้สายดั้งเดิม (Conventional Handset) และโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบ Feature Phone ส่อแววหมดตลาด ด้านสภาวะเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำ�คัญที่ทำ�ให้มูลค่าตลาดพลาดเป้า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/22046-nstda สำ�นักงาน กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผย ผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารปี 59 ตลาดยังสดใส โต 11.5% ผลพวงจาก 4G และดิจิทัลอีโคโนมี
  • 10. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 10 nstda • มิถุนายน 2559 17 มิ.ย. 59 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยนางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. รับมอบเกียรติบัตร CoolMode (คูลโหมด) หรือ เสื้อผ้าลดโลกร้อน ในฐานะหน่วยงานผู้ใช้เสื้อผ้า CoolMode จากโครงการส่งเสริมการพัฒนาเสื้อผ้าลดโลกร้อน ในพิธีมอบ เกียรติบัตรและการสัมมนา “เสื้อผ้า CoolMode กับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ” ซึ่งจัดขึ้นโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ โดยมีคุณสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำ�นวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำ�นวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน) และคุณเจนจบ สุขสด ผู้อำ�นวยการฝ่ายคุณภาพสิ่งแวดล้อมและห้องปฏิบัติการ กรมควบคุม มลพิษ ร่วมเป็นผู้มอบเกียรติบัตร พร้อมกับบริษัทผู้พัฒนาเสื้อผ้า และหน่วยงานผู้ใช้เสื้อผ้า CoolMode อีกหลายหน่วยงาน สวทช. รับมอบเกียรติบัตรหน่วยงาน ผู้ใช้เสื้อผ้าลดโลกร้อน CoolMode
  • 11. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 11มิถุนายน 2559 • ITAP สวทช. ร่วมกับ มจธ. นำ� 4 ผู้ประกอบการนำ�เสนอ นวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุ ในงาน Healthcare 2016 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ : สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรม สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) นำ� 4 ผู้ประกอบการในโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำ�หรับผู้สูงอายุ” เสนอนวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อผู้สูงอายุในงาน “Health Care 2016 สร้างสุขผู้สูงวัย” ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวง สาธารสุข และองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างวันที่ 16 - 19 มิถุนายน 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประกอบ ด้วย เฟอร์นิเจอร์ตู้อเนกประสงค์สำ�หรับผู้สูงอายุ เฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง (outdoor) สำ�หรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์กล่องข้าว สำ�หรับผู้สูงอายุ และเครื่องออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้สูงอายุ โดยทุกผลงาน ล้วนตอบโจทย์พฤติกรรมในแง่การใช้งานของ ผู้สูงอายุ ด้วยการออกแบบบนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของ ABLE lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในเรื่องการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการการใช้งานที่แท้จริงของผู้สูงอายุ
  • 12. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 12 nstda • มิถุนายน 2559 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำ�หรับผู้สูงอายุที่นำ�มาแสดง ได้แก่  • อุปกรณ์กล่องข้าวสำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำ�กัด ให้ ความสำ�คัญกับการใช้วัดสุประเภท 100% Pure Bio- Plastic ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ร่วมทำ�การศึกษา ถึงความต้องการและประสบการณ์ที่ผู้สูงอายุต้องการ จากการใข้งานกล่องข้าว ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็น ถึงองค์ประกอบของรูปแบบที่ส่งต่อการPsychological Factor เป็นอย่างมาก อาทิ ความรู้สึกของการเป็น ภาชนะเก็บอาหารมากกว่าการเป็นภาชนะสำ�หรับรับ ประทานอาหาร ซึ่งในปัจจบุันยังไม่มีผลิตภัณฑ์ในตลาด ที่ให้ความสำ�คัญกับประเด็นนี้ การออกแบบกล่องข้าวที่ สามารถเก็บอาหาร(FoodContainer) และพร้อมที่จะแปร สภาพเป็นภาชนะบนโต๊ะอาหาร(Tableware) ออกมา จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเติม เต็มความรู้สึกทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง • อุปกรณ์ออกกำ�ลังภายในบ้านสำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท มาราธอน (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท มาราธอน(ประเทศไทย) จำ�กัด และABLElab ได้ร่วมมือในการ ศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่ต่อเนื่องในการออก กำ�ลังกายของผู้สูงอายุ รวมถึงประยุกต์ผลการศึกษาดังกล่าวมาสู่การออกแบบ นวัตกรรมของ Physical Interface ในรูปแบบใหม่ให้ กับเครื่องออกกำ�ลังกายที่ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถ เพลิดเพลินกับcontent คู่ขนานกับการออกกำ�ลังกาย แต่ในขณะเดียวกันระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นเอ็น ของร่างกายจะทำ�การตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อเครื่อง ออกกำ�ลังกาย ทำ�ให้การออกกำ�ลังมีประสิทธิภาพถึง แม้ว่าผู้สูงอายุจะเพลิดเพลินอยู่กับ content รอบข้าง ในขณะใช้เครื่องออกกำ�ลังกายก็ตาม
  • 13. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 13มิถุนายน 2559 • • เฟอร์นิเจอร์ตู้วางรองเท้าอเนกประสงค์ สำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท แกรนด์ดิส จำ�กัด เนื่องด้วยปัญหาในเชิงสรีระและความ สามารถทางด้านร่างกายที่ลดลง การสวมใส่รองเท้า จึงเป็นเรื่องยากลำ�บากของผู้สูงอายุ และที่สำ�คัญจาก การศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้ม จากการยืนใส่รองเท้ามาก ทางบริษัท แกรนด์ดิส จำ�กัด และABLElab จึงได้เล็งเห็นถึงโอกาสทางการ ออกแบบตู้เก็บรองเท้าอเนกประสงค์นี้ขึ้น โดยได้นำ� เสนอแนวทางการออกแบบหน้าบานตู้ในรูปแบบที่เปิด ง่าย ใช้งานสะดวก รวมถึงเพิ่มเติมพื้นที่นั่งสำ�หรับใส่ รองเท้าเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหกล้ม อีกทั้งยังใส่แนวคิด การใช้ตู้เก็บรองเท้าดังกล่าวเพื่อการตกแต่งพื้นที่ บริเวณทางเข้าบ้านอีกด้วย • เฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง(outdoor) สำ�หรับผู้สูงอายุ โดย บริษัท อุตสาหกรรม ดีสวัสดิ์ จำ�กัด โครงการพัฒนาสินค้าสำ�หรับผู้สูงอายุนั้น สามารถพัฒนารูปแบบได้ หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันกำ�ลังเป็นที่จับตามองของหลายประเทศ ซึ่งทาง บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำ�กัด ได้มองว่าตลาดกลุ่มนี้เป็นตลาดที่มีความสำ�คัญจึงได้ เข้าร่วมโครงการกับ ITAP เพื่อที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้ชัดเจนขึ้น โดยเฟอร์นิเจอร์ ของบริษัทเป็นเฟอร์นิเจอร์สนาม ซึ่งน่าจะเป็นการดีที่จะให้ผู้สูงอายุใช้เวลานอก บ้านมากขึ้น ซึ่งได้เพิ่มเติมสิ่งที่สำ�คัญลงไป อย่าง ชุด wa collection เป็นชุดที่ ออกแบบมาเป็นชุดสนามที่มีขนาดเล็ก น้ำ�หนักไม่มาก สามารถจัดวางและเคลื่อน ย้ายได้สะดวก และยังมีทั้งแบบมีท้าวแขนและไม่ท้าวแขนในชุดเดียวกัน รวมทั้ง มีที่วางเท้าซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นโต๊ะกาแฟ หรือ ที่รองเท้าหรือแม้แต่ที่นั่งได้ ซึ่งน่าจะสะดวกกับการ ใช้สอยสำ�หรับผู้สูงอายุ และอีกชิ้นคือ เฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถช่วยในการขยับร่างกาย เพื่อเคลื่อนย้ายไปที่โต๊ะง่ายขึ้น และยังมีชิ้นที่เป็นไม้ สักสั้งหมดซึ่งสามารถใช้ใด้ทั้งภายนอกภายในและ แม้แต่ในห้องน้ำ� ผู้ประกอบการที่สนใจ เปิดรับสมัคร ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ สำ�หรับปี 2559 - 2560 จำ�นวน 10 ราย รับใบสมัครฯ ได้ที่คณะ ทำ�งานโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและ นวัตกรรม(ITAP) สวทช. คุณชนากานต์ สันตยานนท์ คุณวลัยรัตน์ จังเจริญจิตต์กุล และ คุณพนิตา ศรีประย่า โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1381 หรือ อีเมล chanaghan@nstda.or.th
  • 14. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 14 nstda • มิถุนายน 2559 “Active PAK TM ถุงหายใจได้” เทคโนโลยีจากมันสมองคนไทย นักวิจัย สวทช. วิจัยและพัฒนา “ถุงหายใจได้” เพื่อเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ให้มีอายุยืนยาวขึ้น เฉลี่ย 7-8 วัน ช่วยรักษาคุณค่าสารอาหาร และลดอัตราการเน่าเสียในขณะวางจำ�หน่ายที่ร้าน ปัจจุบันมีการนำ�ไปใช้จริงแล้วที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ�ของไทย
  • 15. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 15มิถุนายน 2559 • ผัก ผลไม้ ยังคงมีชีวิตหลังถูกเก็บเกี่ยว มีการหายใจและคายน้ำ� อันมีส่วนทำ�ให้เกิดการเสื่อมสภาพและเน่าเสียได้ ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่า หลายท่านมักประสบปัญหาในการเลือกซื้อผักผลไม้สดที่ไม่ได้คุณภาพ และไม่สามารถเก็บไว้รับประทานที่บ้านได้นานตามที่ต้องการ ปัจจุบัน ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้แล้ว ด้วยนวัตกรรม “Active PAKTM ถุงหายใจได้” ที่ช่วยคงความสดของผักผลไม้ได้นานยิ่งขึ้น และตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันได้ดีทีเดียว “ActivePAKTM” ถุงหายใจได้ พัฒนาโดยทีมวิจัยInno-freshpack ของสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกว่าจะพัฒนาจนถึง Active PAKTM รุ่นปัจจุบันนั้น ทีมวิจัยฯ ได้ทำ�งานวิจัยและพัฒนากันมาอย่าง ต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยมีการรับโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรมผักผลไม้สด มีการพัฒนาและร่วมทดสอบกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดย ถุงได้รับการออกแบบให้มีลักษณะใสด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ จึงไม่ทำ�ให้เกิดฝ้าขณะเก็บรักษา ทำ�ให้ผู้บริโภคสามารถมองเห็นสินค้าได้ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพให้กับผู้บริโภค หลักการทำ�งานของ Active PAKTM จะสร้างสภาวะรักษาความสดภายในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถสร้างบรรยากาศดัดแปลงแบบสมดุล จึงคงความสด คุณค่า รสชาติ ของผักผลไม้สดได้นานสูงสุด 2-5 เท่า เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบทั่วไป ซึ่งถุงพลาสติกโดยทั่วไปจะมีการ เจาะรูถุง ทำ�ให้ผักผลไม้เหี่ยวจากการสูญเสียน้ำ� แต่สำ�หรับถุงActivePAKTM จะช่วยยืดอายุให้ผักสดนานขึ้น7-14 วัน นอกจากนี้ยังสามารถ ช่วยรักษาคุณค่าสารอาหาร ลดอัตราการเน่าเสียในขณะวางจำ�หน่ายที่ร้าน และการนำ�ไปเก็บรักษาต่อเพื่อการบริโภค โดยช่วยลดการสูญเสีย ของผักลงประมาณ 7-8% ซึ่งเป็นการลดขยะ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • 16. กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 16 nstda • มิถุนายน 2559 และในวันนี้ นวัตกรรมเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ Active PAKTM หรือถุงหายใจได้ดังกล่าว มีการนำ�ไปใช้ประโยชน์จริงแล้วใน ภาคอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ผู้ผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์พลาสติก และผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้งาน อย่าง เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ เพื่อใช้สำ�หรับคงความสดของผักที่วางจำ�หน่ายบนชั้นวางได้ยาวนานยิ่งขึ้นเฉลี่ย 7-8 วัน เทียบกับถุง พลาสติกทั่วไปเจาะรู ที่ใส่ผักได้เพียง3 วันเท่านั้น นับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสและยืดระยะเวลาการขายผักให้เกษตรกรที่ปลูกผักในพื้นที่ห่างไกล สามารถส่งสินค้าเข้ามาจำ�หน่ายในส่วนกลางหรือสาขาทั่วประเทศ สุดท้ายคือผู้บริโภคได้ผักที่สด รสชาติดี คงคุณค่าทางโภชนาการ เหมือน เก็บมาจากไร่มากที่สุด นับเป็นความสำ�เร็จอย่างมากของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาคเอกชนเห็นความสำ�คัญของการนำ� ผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ย่อมจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพิ่มมากขึ้น ลดการนำ�เข้าหรือการใช้งานเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และต้นทุนของการผลิตจะถูกลง เหล่านี้ล้วนมีผลให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถ ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้
  • 17. 17มิถุนายน 2559 • กรกฎาคม 2559 ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) ขอเชิญผู้สนใจเข้าอบรมหลักสูตร “การสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ” เจาะลึกอินโฟกราฟิกที่ดี การสร้างสื่อในยุคเทคโนโลยี Digital Content เพื่อนำ�เสนอข้อมูลที่ซับซ้อน ปริมาณเนื้อหาที่มีมากในเวลาจำ�กัดให้สวยงาม เข้าใจง่าย ด้วยองค์ประกอบศิลป์ และเสริมภาพลักษณ์ให้องค์กร ด้วยสื่อให้โดนใจเน้นการ Pick Up พร้อมเทคนิค Trick & Tip เบื้องหลังการออกแบบการทำ�อินโฟกราฟิก • รุ่นที่ 8 ระหว่างวันที่ 27 - 28 กรกฏาคม 2559 • รุ่นที่ 9 ระหว่างวันที่ 24 - 25 สิงหาคม 2559 • รุ่นที่ 10 ระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2559 พิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรับส่วนลด 10 % เหลือเพียงท่านละ 13,500 บาท จากปกติ 15,000 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิทยาการ สวทช. โทรศัพท์ 0 2644 8150 โทรสาร 0 2644 8110 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับสนองพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระ ประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกิจกรรม การประชุมโครงการ Global Young Scientist Summit (GYSS) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางวิชาการ อีกทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ จากประสบการณ์จริงของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับสากล สวทช. จึงขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ สมัครเข้ารับการคัดเลือก เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมผู้ได้รับ รางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาเคมี ประจำ�ปี 2560 และกิจกรรม การประชุม Global Young Scientist Summit (GYSS 2017) ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีกิจกรรมนำ� เสนอผลงาน การบรรยายพิเศษ และการเสวนากลุ่มย่อยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากนักวิทยาศาสตร์ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Laureate) และ นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลชั้นนำ�ของโลก         • ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559         • ข้อมูลโครงการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้         + โครงการ การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ที่ http://www.nstda.or.th/lindau + โครงการ Global Young Scientist Summit (GYSS) ที่ http://www.nstda.or.th/gyss         • รับสมัครทางออนไลน์ที่ www.nstda.or.th/lindau/pdys         • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2529 7100 ต่อ 77206  77224  7225 อีเมล pdys@nstda.or.th         • ดูรายละเอียดของกิจกรรมเพิ่มเติมที่ http://www.lindau-nobel.org และ http://www.gyss-one-north.sg  การอบรมหลักสูตร “การสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ” สวทช. เชิญชวนเยาวชนไทย ร่วมโครงการการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และโครงการ Global Young Scientist Summit ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำ�ปี 2560