O slideshow foi denunciado.
Seu SlideShare está sendo baixado. ×

แรงบันดาลใจจากความตาย

Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
อารัมภกถา
         หนังสือเล่มนี้ ได้พิมพ์ออกมาเผยแผ่แก่พุทธสาสนิกชน และผู้สนใจ
ทั้งหลาย เนื่องจากว่าหลังจากกลับจากเรียนหน...
สารบัญ
อารัมภกถา                                           1
มางานศพได้อะไร ?
-ได้รักษาประเพณี และแสดงไมตรีแก่เจ้าภาพ     ...
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
              น เหว ติฏฺฐ นาสีน        น สยาน น ปตฺถคุ
             ยาวุปฺป...
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Carregando em…3
×

Confira estes a seguir

1 de 29 Anúncio

Mais Conteúdo rRelacionado

Diapositivos para si (19)

Semelhante a แรงบันดาลใจจากความตาย (20)

Anúncio

Mais recentes (20)

แรงบันดาลใจจากความตาย

  1. 1. อารัมภกถา หนังสือเล่มนี้ ได้พิมพ์ออกมาเผยแผ่แก่พุทธสาสนิกชน และผู้สนใจ ทั้งหลาย เนื่องจากว่าหลังจากกลับจากเรียนหนังสืออยู่เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ กว่าๆ ก็ได้รับโทรศัพท์จากแม่บุญธรรม (พัชรีย์ เจริญนุกุล ) ว่า “พ่อได้จากโลกนี้ไปแล้ว ” ก็ทาให้เกิดธรรมสังเวช และคิดได้ว่า เมื่อประมาณไม่นานมานี้ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง จาก คาแนะนาของโยมคนหนึ่ง แต่ไม่ได้พิมพ์ จึง นาออก มาเผยแผ่ เพื่อแสดง กตัญญูกตเวทิตาธรรมและคุณความดีทั้งหลายแก่พ่อบุญธรรม พร้อมทั้งเป็น ทานเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลและแจกเป็นธรรมทาน ให้พ่อได้ไปสู่สุคติ ตามบุญ และความดีเทอญ และเป็นการการปฏิบัติบูชาด้วย อนึ่ง จะทา ให้ชาวพุทธได้เข้าใจหลักธรรมขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิต แล้วใช้ความตาย(มรณา นุสสติ ) เป็นเครื่องเตือนใจ ในการดาเนินชีวิตที่ถูกต้อง คือ ลดละความชั่ว เร่งทาดี และทาตนให้เกิดความสะอาดด้วยศีล สว่างด้วยปัญญา สงบด้วย สมาธิ ด้วยความไม่ประมาท อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ชีวิตของ มนุษย์ได้ พัฒนาขึ้นไปจนถึงอารยชนตามการประพฤติปฏิบัติต่อไป ด้วยความเสียดายยิ่ง พระมหาดวงทิพย์ ปริยตฺติธารี (ป.ธ.๙) 1 แรงบันดาลใจจากความตาย
  2. 2. สารบัญ อารัมภกถา 1 มางานศพได้อะไร ? -ได้รักษาประเพณี และแสดงไมตรีแก่เจ้าภาพ 4 -ได้ทราบความเป็นญาติ 4 -ได้ประกาศความกตัญญู 5 -ได้ค้าจุนพระศาสนา 5 -ได้ปัญญาเข้าใจสัจธรรม 6 *ชีวิตคืออะไร? 6 *เตรียมพร้อม รับมือความตายทุกเวลา 8 -ได้น้ามาปฏิบัติตามความเข้าใจ 9 *ไม่ประมาท โดยใช้มรณัสสติเตือนตนเอง 10 *ดับทุกข์และสร้างแรงใจ พัฒนาชีวิตให้ถึงเป้าหมาย 16 *สรรพสิ่ง ตกอยู่ในกฏธรรมชาติ 22 -ได้ขจัดอัตตา เข้าสู่การเข้าใจ อนัตตา 24 *ใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างมีสุข และเป็นประโยชน์ 24-28 2 แรงบันดาลใจจากความตาย
  3. 3. นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ น เหว ติฏฺฐ นาสีน น สยาน น ปตฺถคุ ยาวุปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ตตฺราปิ สรตี วโย ฯ ตสฺมา อิธ ชีวิตเสเส อตฺตโน กิจฺจกโร สิยา น จ มชฺเชติ ถ้าตัวตาย ไว้ลาย ให้โลกเห็น ก็เหมือนเป็น อยู่คู่หล้า อย่าสงสัย ตายแค่เปลือก เยื่อใน อยู่คู่โลกไป เป็นประโยชน์ แก่ใครๆ ไม่สิ้นเอย ฯ (พุทธทาส) ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้นาพระธรรมคาสั่งสอนขององค์สมเด็จ สัมมาสัมพุทธเจ้ามาแสดงเพื่อเป็นเครื่องประดับแก่ญาติโยมสาธุชนทั้งหลาย ที่ได้มาร่วมกันบาเพ็ญบุญกุศล เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ ท่านผู้วายชนม์ที่ได้ จากไป ตามสมควรแก่เวลาต่อไป 3 แรงบันดาลใจจากความตาย
  4. 4. ได้รักษาประเพณี และแสดงไมตรีแก่เจ้าภาพ อันการบาเพ็ญบุญกุศลเช่นนี้ เป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงาม ของชาวพุทธ หรือของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม และแสดงความมีน้า ใจไมตรี ต่อกัน เมื่อคนใดคนหนึ่ง อยู่ในสถานะการณ์ที่ดีหรือว่าร้าย โดยเฉพาะใน เรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น -ยามเจ็บไข้ได้ปุวย ก็ไปเยี่ยมให้กาลังกันที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล -ยามทุกข์ยากหรือล้มเหลว ก็ช่วยเหลือจุนเจือกันเท่าที่ทาได้ -ยามตายจากกัน ก็มาให้กาลังใจกันและกันไม่ทอดทิ้งกัน เป็นการเพิ่มบุญกุศลทั้งสองฝุาย คือคนที่จากไป และ ญาติ ได้ทราบความเป็นญาติ ได้ทราบความเป็นญาติ ไม่ว่าจะเป็นญาติโดยสายโลหิต คือ พ่อ แม่ ลูกหลาน เพื่อนฝูง ที่ได้สูญเสียคนที่เป็นที่รักไป หรือ ญาติที่รู้จักมักคุ้ยกับ เจ้าภาพในการบาเพ็ญบุญกุศลในวันนี้ 4 แรงบันดาลใจจากความตาย
  5. 5. ได้ประกาศความกตัญญู ได้ประกาศความกตัญญูต่อบุคคลผู้วายชนม์ที่ได้จากไป เพราะการ เป็นผู้กตัญญูนั้น ทางพุทธศ าสนาถือว่า เป็นเครื่องหมายของคนดี ดังบาลี ที่ว่า นิมิตฺต สาธุรูปาน กตญฺญูก ตเวทิตา และได้บูชาคนผู้มีพระคุณของผู้วาย ชนม์ ที่ได้ฝากความดีและประโยชน์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นและกระทา ตาม เพราะการบูชาบุคคลที่สมควรบูชา เช่น พ่อแม่ บุพการี ผู้ มีความดี ทั้งหลาย นามาซึ่งความงอกงามไพบูลย์ในชีวิตอีกวิธีหนึ่งเหมือนกัน ได้ค้าจุนพระศาสนา ได้ค้าจุนพระศาสนา เนื่องจากได้อุปถัมภ์ศาสนา โดยการถวายทาน เลี้ยงภัตตาหารพระสงฆ์ ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญของชาวพุทธและได้ศึกษาปฏิบัติ ธรรมช่วยเผยแผ่สืบอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวคราวไกลในอนาคต ดังคา กลอนที่ว่า "วัดจะดีมีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย บ้านจะสวย เพราะมีวัดขัดนิสัย บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง" 5 แรงบันดาลใจจากความตาย
  6. 6. อีกประการหนึ่งก็เป็นการส่งเสริมให้พระสงฆ์ได้ฝึกฝนในการนาพระ ธรรมคาสอนของพระพุทธองค์มาเผยแผ่ ให้พิธีกรรมของชาวพุทธ ที่จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานบวชงานศพหรืองานอะไรก็ตาม ให้เป็นไปอย่าง ประหยัด มี ระเบียบ เรียบง่าย ได้ปัญญา และเกิดประโยชน์ที่หลวงพ่อปัญญานันนทะ ได้ปฏิรูปพิธีกรรม ตั้งแต่ก่อตั้งวัดนี้มาได้วางนโยบายเช่นนี้ไว้ ได้ปัญญาเข้าใจสัจธรรม ชีวิตคืออะไร ? ได้ปัญญาเข้าใจธรรม คือ ได้ เข้าใจสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ จากการ แสดงของผู้วายชนม์ ที่ได้เห็นอยู่ขณะนี้ คือว่า มนุษย์ที่ประกอบด้วย ขันธ์ ๕ ประการ (Five Groups of Existence; Five Aggregates)คือ -รูป(corporeality) ร่างกายของมนุษย์ที่เห็นนี้ ที่ต่างกันทางสูงต่าดา ขาว เพศชาย เพศหญิง หรือทางใดทางหนึ่งก็ตามแต่ -เวทนา(feeling; sensation) ความรู้สึกสุข,ทุกข์ หรือ เฉยๆ ดีใจเสียใจ เป็นต้น -สัญญา(perception) ความจาได้หมายรู้ เช่น สีดา- ขาว แดง คนนี้คือ พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยาเป็นต้น 6 แรงบันดาลใจจากความตาย
  7. 7. -สังขาร (mental formations; volitional activities) การปรุงแต่งความคิด ให้ดี-ชั่ว และกลาง ๆ เช่น อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง คนที่ชอบก็ว่า อร่อยดี ส่วนคนที่ไม่ชอบ ก็บอกว่า ไม่อร่อย ทั้งทีเป็นอาหารชนิดเดียวกัน -วิญญาณ (consciousnes) การรับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ เช่น ตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น หรือเรียกย่อว่า รูปกับนาม(กายกับจิต) ที่รวมเป็นมนุษย์ เหมือน รถ หนึ่งคัน ก็ต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์หลายอย่างรวมกัน เช่น ระบบ พวงมาลัย,เกียร์รถยนต์,เบรกรถยนต์,ตัวถังรถล้อ ถึงแม้มนุษย์ จะต่างกันทาง กายภาค ฐานะ เชื้อชาติ ประเทศ ศาสนา และอื่นๆอีกตั้งหลายอย่าง แต่ก็มีความเหมือนทุกคน คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากคนที่รักสิ่งที่ชอบ ความเป็นผู้มี กรรม(การกระทา)เป็นของตน ทาอย่างไรได้อย่างนั้น เหมือนการหว่านพืช หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ไม่มีมนุษย์คนใดหลีกหนีพ้นไปจากสิ่ง เหล่านี้ได้ แต่จะเร็วช้า เวลาไหน ที่ไหนเท่านั้นเองที่ไม่เหมือนกัน 7 แรงบันดาลใจจากความตาย
  8. 8. เตรียมพร้อม รับมือความตายทุกเวลา แต่มนุษย์ ก็สามารถกาหนดบังคับไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ ตามที่ตนเองปรารถนาให้เป็น มันก็เป็นตามอย่างที่เป็น ไม่เป็นไปอย่างที่ มนุษย์ต้องการ คือ มนุษย์สามารถตายได้ทุกขณะ หากเหตุปัจจัยบกพร่อม หรือไม่พร้อม ความตายก็เกิดขึ้นแก่มนุษย์ได้ทันที ดังคากลอนที่ว่า “เห็นหน้ากันเมื่อเช้า สายตาย สายยังอยู่สุขสบาย บ่ายม้วย บ่ายยังรื่นเริงกาย เย็นดับ ชีพนา เย็นอยู่หยอกลูกด้วย ค่่าม้วย อาสัญ” แม้หลักการจะแสดงไว้ว่า คนที่มีอายุมาก เกิดก่อน มีสิทธิ์ตายก่อน คนที่เกิดภายหลัง ในความเป็นจริง หาได้เป็นเช่นนั้น คนที่เกิดก่อน ไม่แน่ เสมอว่าจะตายก่อนคนที่เกิดทีหลัง บางทีลูกหลานหรือคนที่เกิดทีหลัง ตาย ก่อนพ่อแม่ผู้ที่เกิดมาก่อนก็มีมากมายในโลก แม้ว่ามนุษย์ไม่ต้องการให้คนที่ เรารัก พ่อ/แม่ สามี/ภรรยา ลูกหลาน เป็นต้นหรือวัตถุสิ่งของที่เราชอบ เป็น ต้นว่า รถยนต์ บ้าน ล้วนมีความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความดับสูญทั้งนั้น เพราะ ต้องเป็นไปตามธรรมชาติธรรมดาเช่นนั้นเอง แม้มนุษย์จะมีทรัพย์สินมากเพียงใด ยศศักดิ์สูงขนาดไหน ชื่อเสียง โด่งดัง ฉลาดหลักแหลมเพียงใดก็ตาม ก็ต้องประสบกับความตายในที่สุด 8 แรงบันดาลใจจากความตาย
  9. 9. เนื่องจากไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาหรืออะไรทั้งนั้น เป็นแต่สิ่งทั้งหลายมารวมกัน เรียกตามที่สมมติกันว่า เป็นนั่นเป็นนี่ จึงบังคับควบคุมให้เป็ นไปในอานาจที่ ต้องการไม่ได้นั่นเอง ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า อนัตตา (non-self) ไม่ใช่ ไม่เป็นตัวตนที่แท้จริง ไม่ประมาท โดยใช้มรณัสสติเตือนตนเอง ฉะนั้น ความตายเป็ นสิ่งที่รอมนุษย์อยู่เบื้องหน้า ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่าง แน่นอนกับทุกชีวิต ทางพุทธศาสนาจึงสอนว่า ไม่ควรป ระมาทแม้ชั่วขณะ เดียว ไม่ว่าวัยอายุ ,ความไม่มีโรค, ความไม่พลัดพราก และในผลแห่งการ กระทาของตน ซึ่งคราวหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลาย ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอเจริญมรณัสสติกันอย่างไร” ? ภิกษุทั้งหลาย ต่างก็ตอบไปตามการได้เจริญมรณัสสติของตนว่า “เราพึงทาหน้าที่กิจที่ควรทาให้มาก ด้วยการพิจารณาว่าเราอาจมี ชีวิตเพียงคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง,วันหนึ่ง,ฉันอาหารมื้อเดียว,ฉันอาหารสี่ค่า ข้าว,และ ลมหายใจเข้าออก เท่านั้นนับจากนี้ไป” 9 แรงบันดาลใจจากความตาย
  10. 10. พระพุทธองค์จึงตรัสเตือนว่า “ภิกษุที่เจริญมรณัสสติ ด้วยการ พิจารณาว่า ชีวิตจะอยู่ได้ คืนหนึ่งกับวันหนึ่ง,วันหนึ่ง,ฉันอาหารมื้อเดียว, ฉันอาหารสี่ค่าข้าว ยังนับช้าอยู่ แต่ภิกษุที่พิจารณา ทุกการกลืนค่าข้าว และ ทุกลมหายใจเข้าออก จึงถือว่าเจริญมรณัสสติเพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแรงกล้า ควรปฏิบัติเช่นนี้” ได้น้ามาปฏิบัติตามความเข้าใจ ได้นามาปฏิบัติ คือ ได้น้อมรับความตายเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตของ ตนเอง ตามที่ตนรู้และเข้าใจชีวิตนั้นๆ จึงควรเอา “ความตาย” มาเตือนใจ ไม่ให้ประมาทในชีวิต ในการทาความดีและประโยชน์ต่อไป แต่มนุษย์ในโลก นี้ มักปฏิบัติต่อความตาย ด้วยวิธีการตามที่ตนรู้และเป็น คือ -มนุษย์ปุถุชน มักไม่ค่อยอยากได้ยินคาว่า ตาย หรือ ความตายเลย เพราะกลัว หวาดสะดุ้ง สะพึงกลั วความตายเป็นที่สุด จนทาอะไรไม่ถู ก กระวุนกระวายตั้งสติไม่ทัน เมื่อความตายใกล้เข้ามาถึงตนหรือบุคคลผู้เป็นที่ รักคนใดคนหนึ่งของตน ทาให้เกิดความเสียดาย เสียใจ เศร้าโศกทุกข์ร้อน ต่างๆตามมา ดังที่ครั้งหนึ่ง ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี ได้ประสบกับ 10 แรงบันดาลใจจากความตาย
  11. 11. ความสูญเสียอย่างมากมาย ถึงกับเพ้อขาดสติสัมปชัญญะไปช่วงหนึ่ง ซึ่งเป็น สาเหตุของการถูกเรียกชื่อว่า ปฏาจารา ในเวลาต่อมา ธิดาเศรษฐีนั้น หลังจากที่นางได้แต่งงานมีสามี ก็ไปอยู่กับสามีที่ ชนบท ไม่นานก็มีบุตรหนึ่งคน และ ขณะที่กาลังจะคลอดลูกคนที่ ๒ คือ มีท้องแก่ ได้อ้อนวอนสามีเพื่อกลับบ้านว่า “ใคร ๆ ผู้อุปการะของเรา ไม่มีในที่นี้ ธรรมดามารด าบิดา เป็นผู้มีใจอ่อนโยนในบุตรทั้งหลาย ท่านจงน่าฉันไปยังส่านักของท่านเถิด ฉันจักคลอดบุตรในที่นั้น” สามีนั้นคัดค้าน เมื่อไม่ได้ความยินยอม นางรอเวลาที่สามีนั้นไปปุา จึงเรียกคนผู้คุ้นเคยมาสั่งว่า “ถ้าเขามาไม่เห็นฉัน จักถามว่า ‘ฉันไป ไหน?’ พวกท่านพึงบอกฉันกลับไปบ้านของตน” พาลูกคนโตออก บ้านไป ฝุายสามีกลับบ้านไม่เห็นภรรยานั้นจึงถามคนคุ้นเคยรู้เรื่องแล้ว ก็ติดตามไปด้วยคิดว่า “จักให้นางกลับ” เมื่อตามทันแล้ว แม้จะอ้อน วอน ประการต่าง ๆ ก็ ไม่สามารถทาให้นางกลับได้ และในขณะนั้น มหาเมฆอันไม่ใช่ฤดูกาล (พายุนอกฤดู) เกิดขึ้น ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พร้อมกับท้องก็เจ็บหนักใกล้คลอด จึงบอกสามีว่า “จงหาที่หลบฝนให้ ฉันหน่อย” 11 แรงบันดาลใจจากความตาย
  12. 12. สามีเดินไปหาที่หลบฝน ก็ไป เห็นพุ่มไม้ซึ่งเกิดอยู่บนจอมปลวก แห่งหนึ่ง ขณะที่เริ่มจะตัดนั้น อสรพิษมีพิษร้ายเลื้อยออกจากจอมปลวก กัดเขาให้ล้มลงและถึงแก่ความตายในที่นั้น ฝุายภรรยาก็ได้เสวยทุกข์ อย่างมหันต์ เฝู ารอการมาของสามีอยู่ โดยไม่ทราบว่า เขาได้ตายไปแล้ว ในที่สุดก็คลอดบุตรคนที่ ๒ ด้วยเหตุที่ฝนฟูาตกหนัก จึงทาให้เด็กทั้ง ๒ ร้องไห้ดังลั่น แม่ก็เลยใช้กายของตน ค่อมลูกทั้ง ๒ ไว้ทั้งคืน จนถึงฝน หยุดตก ด้วยความรักของแม่ที่ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูก แม้แต่ชีวิตก็ ยังมอบให้ลูกได้ เขาจึงเปรียบไว้ว่า “จะเอาน้่าทะเลเป็นหมึก เอา แผ่นดินเป็นปากกา เอาท้องฟ้าเป็นกระดาษ บรรยายคุณของพ่อแม่ ก็ยังไม่พอในการจะบรรยายได้เลย” ครั้นเมื่อสว่าง นางก็อุ้มบุตรคนที่เพิ่งคลอดซึ่งมีสีดังชื้นเนื้อสดด้วย เอว จูงบุตรคนโตด้วยนิ้วมือพลางกล่าวว่า “บิดาเจ้าไปทางนี้” แล้วก็ เดินไปตามทางที่สามีไป ก็เห็นสามีได้เสียชีวิตเสียแล้ว ร้องไห้ราพันว่า “สามีของเราจึงต้องตายที่นี่ ก็เพราะเราแท้ๆ ” อย่างนี้แหละเขา เรียกว่า “ชีวิตมนุษย์ คนที่ตาย ก็ไม่มีวันฟื้น แต่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ต้อง ด่าเนินต่อสู้ต่อไป ด้วยวิธีทางแห่งคยวามถูกต้อง” นางก็เดินต่อไปถึงแม่น้าอจิรวดี เต็มเปี่ยมด้วยน้าสูงประมาณเพียง หน้าอก เพราะฝนตกตลอดคืน ไม่สามารข้ามน้าพร้อมด้วยทารกทั้ง ๒ 12 แรงบันดาลใจจากความตาย
  13. 13. คนได้ จึงให้บุตรคนโตรออยู่ที่ฝั่งนี้ แล้วอุ้มบุตรคนเล็กข้ามแม่น้าไปที่ฝั่ง โน้น วางลูกนอนไว้ที่บนกิ่งไม้ที่ปูลาดไว้ แล้วคิดว่าจะข้ามมารับบุตรคน โตไปอีก แต่ใจของนางไม่อาจละความเป็นห่วงบุตรอ่อนได้ ข้ามนาไป หันมาดูลูกคนเล็กแล้ว ค่อยๆเดินไป ขณะทีนางถึงกลางแม่น้า เหยี่ยว ่ ตัวหนึ่ง เห็นลูกคนเล็กซึ่งมีผิวแดงดังชิ้นเนื้อนอนอยู่ จึงโฉบลงมาจาก อากาศ ด้วยสาคัญว่าเป็นชิ้นเนื้อ นางเห็นมันโฉบลงเพื่อต้องการลูกจึง ยกมือทั้งสองขึ้น ร้องไล่ด้วยเสียงอันดัง เหยี่ยวไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย เพราะไกลกัน จึงเฉี่ยวเด็กบินขึ้นสู่เวหาสลับหายไป ส่วนบุตรผู้ยืนอยู่ที่ฝั่งนี้ เห็นมารดายกมือทั้งสองขึ้น ร้องเสียงดัง ท่ามกลางแม่น้า จึงกระโดดลงแม่น้าโดยเร็วด้วยสาคัญว่า แม่เรียกจึงถูก กระแสน้าพัดหายไป เป็นอันว่า สูญเสียลูกที่รักทั้งสองคน และสามีที่ ดีไป ในเวลาแค่ชั่วพริบตา ลองพิจารณาดูว่า ความทุกข์มากขนาด ไหน จะเกิดขึ้น ? นางเดินไปร้องไห้ราพันไปว่า “บุตรของเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยว เฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้่าพัดไป สามีก็ ตายเสียในป่า” เมื่อพบชายผู้หนึ่ง เดินมาจากกรุงสาวัตถี จึงถามว่า “คุณ ท่านรู้จัก ตระกูลเศรษฐีในบ้าน โน้น ในกรุงสาวัตถี หรือเปล่า พวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง ? มีเหตุการณ์ อะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า? แม้ชายนั้น จะไม่ต้องการตอบคาถาม แต่ทน 13 แรงบันดาลใจจากความตาย
  14. 14. การขอร้องไม่ได้ จึงตอบว่า “คุณ วันนี้ ในกลางคืน พายุได้พัดเอา เรือนล้มทับ คนที่อยู่ข้างในตายหมด วันนี้คนทั้งสามเหล่านั้นก็ถูกเผา บนเชิงตะกอนเดียวกัน คุณเอ๋ย ควันนั่นยังปรากฏอยู่เลย” นางได้ฟังดังนั้น ถึง กับทรุดนั่งลงร้องไห้คร่าครวญ กับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในช่วงคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ขนาดที่ว่า ความทุกข์ในชีวิตมนุษย์ ในโลก ไม่มีความทุกข์จะปานเช่นนางได้ จึงเป็นเหตุให้นางเที่ยว กระเซอะกระเซิงไป ไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง เป็นคนเสียสติ เปลือยเดินไปอย่างไร้ที่พึ่งและจุดหมาย ทางพระพุทธศาสนาจึงสอนว่า “ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก, ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก; ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้องได้จากของที่รัก, ภัยจักมีแต่ไหน” ขณะทีพระศาสดา กาลังแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ คือ ่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็ทอดพระเน็ตเห็นนางกาลังเดิน ทรงดาริว่า “เว้นเราเสีย ไม่มีผู้อื่นชื่อว่าสามารถเป็นที่พึ่งของหญิงนี้ได้” 14 แรงบันดาลใจจากความตาย
  15. 15. ในเวลานางมาใกล้ จึงตรัสว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง ” นาง กลับได้สติด้วยพระมหากรุณาธิคุณทันที เกิดความละอายในการที่ตน ไม่ได้ใส่เสื้อผ้า ลาดับนั้นชายคนหนึ่งจึงโยน ผ้าห่มไปให้นางปกปิดกาย จากนั้นถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด เพราะว่าเหยี่ยว เฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันไป คนหนึ่งถูกน้่าพั ดไป สามีตายที่ ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทั ตาย และเขาก็เผาบนเชิง ตะกอนเดียวกัน” พระศาสดา ฟังคาของนางแล้วตรัสว่า “น้่าในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้่าตาของคนทุกข์เศร้าโศก ไม่น้อย มากกว่าน้่าในมหาสมุทรนั้น เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่เล่า? ” ลาดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่านางมีความโศกเบาบางแล้ว ทรงตรัสเตือนอีกว่า “บุตรทั้งหลาย บิดา พวกพ้อง ไม่สามารถต้านทาน(ความตาย)ได้ เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบง่าแล้ว 15 แรงบันดาลใจจากความตาย
  16. 16. ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่ม;ี บัณฑิตทราบอ่านาจประโยชน์นั้นแล้ว ส่ารวมในศีล พึงช่าระทางไปนิพพานโดยเร็วเถิด” นี้แหละ คือมนุษย์ปุถุชน เมื่อเข้าใจสัจธรรมแล้ว จึงเข้าใจชีวิตได้ คลายความทุกข์ ความเศร้าโศก เสียได้ เพราะไม่มีอะไรในโลกแม้จะดีเลิศ วิเศษขนาดไหนที่จะต้านภัยความตายได้ -มนุษย์กัลยาณชน เข้าใจชีวิตมนุษย์ว่า มีความแก่ เจ็บ ตาย เป็น ธรรมดา แล้วรับเอาความตาย เป็นเครื่องเตือนใจ แรงจูงใจ ในเหตุการณ์ ทั้งหลายที่เกิดขึ้น และพัฒนาตนเองเรื่อยไป จนบรรลุ ที่หมาย เช่น ดับทุกข์และสร้างแรงใจ พัฒนาชีวิตให้ถึงเป้าหมาย เมื่อได้รับความทุกข์ ก็ใช้ มรณัสสติดับทุกข์ ยามทุกข์มากๆ อับจน หนทางมาบอกกับตัวเองว่า คนเราทุกคนก็ต้องตาย ต่อให้ต้องทุกข์ทรมาน แค่ไหนความทุกข์นี้ก็จะต้องดับไป เป็นการให้กาลังใจตนเองเพิ่มแรงใจให้ ตัวเองได้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น 16 แรงบันดาลใจจากความตาย
  17. 17. เมื่อได้รับความสุข ก็ใช้มรณัสสติ เตือนตนว่า ทุกอย่างไม่ได้อยู่กับ มนุษย์ตลอดไป ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ คนรัก ของชอบ ฯลฯ ไม่ควรเผลอประมาทในความสุขเหล่านี้ เมื่อต้องดับไปจากโลกนี้ ไม่มีใคร เอาอะไรไปจากโลกนี้ได้แม้แต่อย่างเดียว จนกระทั่งร่างกายตน เป็นแรงบันดาลใจ เป็นเหตุผลักดันชีวิตตนได้ประสบสิ่งที่ดียิ่งขึ้น กว่าเดิมอีก เหมือนพระพุทธองค์ ตอนที่พระองค์ยังเป็นเจ้าชายสิท ธัตถะ ประทับเสวยสุขอย่างสาราญในพระราชวัง ที่ประกอบไปด้วยปราสาท ๓ ฤดู ต้องการอะไรก็สมหวังหมด อยู่มาวันหนึ่ง เสด็จออกไปนอกวัง ก็ได้พบเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และ สมณะ ที่เรียกว่า เทวทูต ๔ ก็สอบถามได้ความ ว่า ทุกคนในโลก ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถพ้นจาก ความแก่ ,เจ็บ,ตายได้ จึงมา ใคร่ครวญพิจารณาว่า น่าจะมีหนทางแห่งความไม่แก่ ,เจ็บ,ตายโดยพิจารณา จากธรรมชาติรอบตัวว่า เมื่อกลางคืนมี กลางวันก็มี มีเกิดได้ ก็ตายเป็น เหมือนกัน จึงออกบวชแสวงหาหนทางดับทุกข์อันเกิดจากความแก่ ,เจ็บ, ตาย ได้ค้นพบอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ ที่ต้องรู้รอบเรื่องทุกข์ว่าคือ อะไร? เป็นเช่นไร แล้วละเหตุแห่งความทุกข์เสียให้หมดความทุกข์ก็จะไม่ เกิดขึ้น เมื่อความทุกข์ไ ม่เกิดขึ้น ก็ต้องท่าให้แจ้งว่า การดับทุกข์ได้ จะมี ชีวิตที่อิสระ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอุปาทานกับทุกสิ่ง ด้วยการปฏิบัติด่าเนินชีวิต ตามเส้นทางที่ถูกต้อง มีการเห็นชอบตามความเป็นจริงแล้วเกี่ยวข้องกับ 17 แรงบันดาลใจจากความตาย
  18. 18. สิ่งนั้นๆ อย่างที่มันเป็น แล้วสาเร็จเป็น “พุทธะ” นาสัตว์ทั้งหลายที่ ประพฤติตามธรรมคาสอนพ้นจากความทุกข์ มาจนถึงปัจจุบัน อีกคนหนึ่งคือ สตีฟ จอบส์(Steve Jobs)ได้กล่าวถึงประสบการณ์ เกี่ยวกับ "ความตาย" ว่า ‘ถ้าคุณใช้ชีวิต ราวกับว่าแต่ละวันนั้นเป็นวัน สุดท้ายของชีวิต วันหนึ่งคุณจะสมหวัง ’ และถามตัวเองว่า “ถ้าวันนี้เป็นวัน สุดท้าย ผมอยากทาอะไร และวันนี้ผมจะทาอะไร ?” และเมื่อใดที่คาตอบ กลับออกมาว่า ไม่อยากทาอะไร หลายๆ วันเข้า คุณต้องรู้แล้วว่าคุณต้อง เปลี่ยนแปลงบางอย่างในชีวิตแล้ว” การมีสติตระหนักรู้ “ความตาย” ทุกเวลาและนาทีของสตีฟ จอบส์ ทา ให้เขาเข้าใจความจริงว่า “ชีวิตกาลังเดินหน้าไปสู่ปากประตูของความตาย อยู่ทุกวินาที” การถามและเตือนตัวเองอยู่เนืองๆของเขา ทาให้เขาได้เป็นผู้ ยอมรับจากชาวโลกว่าเป็นผู้นานวัตกรรม (Brand) สินค้าชื่อ “Apple” คือ “iMac iPod iPhone และiPad” มาให้โลก ถ้ามนุษย์กาลังเผชิญหน้ากับความตายทุกวินาที คาถามแรกที่ต้อง ตอบตัวเองคือ “สิ่งแรกที่อยากจะท่ามากที่สุดคืออะไร” ขอเพียงแค่ตอบ แค่คาถามแรกให้ชัดเท่านั้น คาตอบที่สองหรืออื่นๆ จะตามมาหลังจากที่เรา สามารถตอบสิ่งแรกให้ชัดเจนได้ 18 แรงบันดาลใจจากความตาย
  19. 19. ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนมนุษยชาติก่อนปรินิพพาน (ตาย) ว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสูญไปเป็นธรรมดา ขอท่าน ทั้งหลายจงด่าเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทเถิด” ความจริงคือ มนุษย์ เองก็ไม่ทราบว่า เมื่อใดจะตาย หรือจุดจบของชีวิตจะมาเมื่อไหร่? เพราะฉะนั้น มนุษย์ จึงควรนา "ความตายของชีวิต" มาเป็นเครื่อง ปรับเปลี่ยนชีวิตตนให้เป็น "จุดเริ่มพัฒนาชีวิตให้ถึงเป้าหมายที่สูงสุด" โดย การเตือนตัวเองตามที่พระพุทธองค์เตือนมนุษย์ ไว้ในภัทเทกรัตตคาถาว่า "ความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องรีบท่าวันนี้ (หรือแม้กระทั่งทุกลมหายใจ), ใคร เล่าจะรู้ว่า ความตายอาจจะมีในวันพรุ่งนี้ก็ได้" เป็นอันว่า การมีสติระลึกถึงความตายทุกวินาทีแห่งลมหายใจนั้น จะทาให้มนุษย์ตื่นรู้ ใส่ใจ และเพียรสร้ างสิ่งต่างๆ ทาสิ่งต่างๆ เป็นต้นว่า ความดี ความงาม และความสุข และประโยชน์ทั้งหลายที่จะให้กับโลกนี้ ฝากโลกนี้ไว้เป็น "อัตถเจดีย์ หรือ ธรรมเจดีย์" ตลอดกาล แม้ตัวจะตายไปก็ ตาม หรือไม่ก็ทาใจไม่ให้ทุกข์ เศร้าโศกได้ เมื่อต้องพลัดพรากจากคนรัก และสูญเสียวัตถุสิ่งของต่างๆไป ดังเรื่องที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาไว้ว่า ในอดีตกาลนานมาแล้วมีชาวนาอยู่ครอบครัวหนึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสะใภ้ ลูกสาว และ คนใช้ ทุกคนในครอบครัวนี้ต่างเจริญ มรณัสสติอย่างเคร่งครัดเป็นประจ่าเสมอมามิได้ขาด 19 แรงบันดาลใจจากความตาย
  20. 20. วันหนึ่ง สองพ่อลูกได้ไปไถนาแต่เช้าตามปกติ พอตกสาย ลูกชายก็ ถูกงูพิษกัดถึงแก่ความตายในทันที พ่อจึงได้อุ้มร่างลูกชายไปนอนไว้บนคัน นา เอาผ้าคลุมไว้ แล้วแกก็ไถนาไปตามปกติ เหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่าง นั้นแหละ เมื่อมีเพื่อ นบ้านผ่านมาเพื่อไปในหมู่บ้าน เขาจึงสั่งไปว่า “นี่พ่อคุณ ! ช่วยกรุณาบอกแม่บ้านของผมด้วยว่า กลางวันนี้ขอให้จัดอาหารมาส่งผม เพียงคนเดียว และบอกให้คนในบ้านมากันให้หมดทุกคน ” พอสั่งเสร็จ เขาก็ไปไถนาต่อไป ฝุายแม่บ้านและทุกคนในครอบครัว เมื่อได้รับค่าบอกเล่าเช่นนั้นก็ รู้ได้ทันทีว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับลูกชาย ทุกคนจึงเตรียมนุ่งขาวห่มขาว แล้ว เดินทางมายังนาพร้อมกัน โดยไม่มีใครร้องไห้เศร้าโศกเลย เมื่อมาถึง ก็ช่วยกันหาฟืนมากองไว้ และยกศพขึ้นทาการเผาอย่างง่าย ๆ โดยไม่มี พิธรีตรองแต่อย่างใด ี ขณะที่ไฟกาลังไหม้ศพอยู่นั้น มีชาวบ้านมามุงดูกันมาก และต่างก็ แปลกใจไปตาม ๆ กันว่า ชายคนที่ตายเป็นอะไรกับพวกที่ก่าลังช่วยท่า การเผาอยู่ เพราะถ้าเป็นญาติก็จะต้องมีการร้องไห้เสียใจกันบ้าง แต่นี่ไม่ มีเลย! บางคนอดใจไว้ไม่ได้จึงถามขึ้นว่า “ขอโทษเถอะ! ชายผู้ตายเป็น อะไรกับท่านทั้ง ๔ หรือ?” 20 แรงบันดาลใจจากความตาย
  21. 21. “เป็นลูกชายคนเดียวของผมครับ ” ชายผู้เป็น หัวหน้าครอบครัว ตอบ ต่อมาแม่ ของผู้ตายก็ตอบ ต่อมาก็ เมีย น้องสาว และคนใช้ได้ตอบ กันตามลาดับ “ก็เมื่อเป็นญาติของท่านแล้ว เหตุไฉนพวกท่านจึงไม่ร้องไห้อาลัย เศร้าโศกถึงเขาผู้จากไป เหมือนชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเล่า?” “ท่านทั้งหลาย!” ผู้เป็นพ่อกล่าวขึ้นด้วยเสียงปกติ “อันว่าลูกชาย ของผมเขาจากไปและทิ้งร่างไว้เหมือนงูทิ้งคราบ การร้องไห้ คร่่าครวญ ถึงคราบงูไม่มีประโยชน์ฉันใด การเศร้าโศกถึงคนที่ ตายไปแล้วก็ไม่เกิด ประโยชน์อันใดฉันนั้น” “ท่านทั้งหลาย !” ผู้เป็นแม่คนตายกล่าวขึ้น “ลูกชายของดิฉันนี้ เมื่อเขาเกิดในท้องของดิฉัน เขาก็มาเองไม่มีใครเชื้อเชิญ เมื่อเขาจากไป เขาก็มิได้บอกลา ดิฉันจึงไม่อาลัยถึงเขา” “ท่านทั้งหลา ย!” น้องสาวผู้ตายกล่าว “ถ้าดิฉันร้องไห้จน ผ่ายผอม หรือร้องไห้จนน้่าตาเป็นสายเลือด พี่ชายของดิฉันก็คงไม่ฟื้น กลับคืนมาเป็นแน่” “ท่านทั้งหลาย!” ภรรยาผู้ตายกล่าว “ขึ้นชื่อว่าสามีที่ดีใคร ๆ ก็ ย่อมรักและหวงแหนเป็นธรรมดา แต่เด็กแม้จะร้องไห้เอาพระจันทร์บน 21 แรงบันดาลใจจากความตาย
  22. 22. ท้องฟ้ าย่อมไม่ได้ ฉันใด การที่ดิฉันจะร้องไห้ เพื่อให้ผัวกลับฟื้นคืนมา ก็ ย่อมจะไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน” “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย !” คนใช้ กล่าวบ้าง “หม้อ (ดิน ) ใส่น้่าที่ แตกแล้วย่อมเชื่อมให้สนิทดังเดิมไม่ได้ ฉันใดการที่ดิฉันจะเศร้าโศก ปริเท วนาการ ร่่าไห้ถึงนายที่ตายจากไปแล้ว เพื่อให้ฟื้นกลับคืนมาดังเดิมก็ย่อม มิได้ฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกเสียใจ” นี้แหละ สาหรับกัลยาณชนที่เข้าใจชีวิตและความตาย จึงใช้ความ ตายเป็นแรงผลักในการทาความดีและประโยชน์ พร้อมทั้งไม่เศร้าไม่ทุกข์ เมื่อคนผู้เป็นที่รัก จากไป แต่ยอมรับความจริง แล้ว ทาหน้าที่ ดาเนินชีวิต ของ ตนให้ดีต่อไป จนกว่าจะถึงวันแห่งความตาย สรรพสิ่ง ตกอยู่ในกฏธรรมชาติ -มนุษย์อารยชน เข้าใจชีวิตว่า เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ก็ต้องเป็นไป ตามกฎของธรรมชาติตามที่มันเป็น ได้แก่ “กฎไตรลักษณ์” ของสรรพสิ่ง 22 แรงบันดาลใจจากความตาย
  23. 23. อนิจจัง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อนัตตา ทุกขัง บังคับควบคุมให้ เป็ นตาม ไม่ทนอยู่ในสภาพ ที่มนุษย์ต้องการไม่ได้ เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ก็มีหน้าที่เพียงแค่ทาไปตามเหตุผลที่ควรทา ไม่มี ตัวตนเราเขาไปเกี่ยวข้อง เพราะไม่มีอุปาทานความยึดมั่นแล้ว ก็มุ่งแต่ทาดี และประโยชน์แก่โลก ไม่ใช่ มุ่งหมายเพื่อตนเอง ไม่มีอาลัยในสิ่งไหนแล้ว ดับ ทุกข์ได้หมดสิ้น มีแต่ความสะอาด ส่ว่าง สงบเย็น ทีหลวงพ่อพุทธทาส ่ เรียกว่า “ตายก่อนตาย” นั่นเอง ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว” 23 แรงบันดาลใจจากความตาย
  24. 24. คือมนุษย์ที่ได้ทาความดีและประโยชน์ ไว้ในโลกแม้ตัวตายก็ยังถือว่า “ไม่ตาย” เนื่องจากได้มีคุณความดีต่อเพื่อมนุษย์ โดยเฉพาะคนรัก ไม่ว่าจะ เป็น พ่อ /แม่ สา มี/ภรรยา ลูกหลาน ฯลฯ จึงยังอยู่ในใจของคนที่ยังมีชีวิต เหลืออยู่ตลอดไป ดังคากลอนของหลวงพ่อพุทธทาสที่ว่า “ถ้าตัวตาย ไว้ลาย ให้โลกเห็น ก็เหมือนเป็น อยู่คู่หล้า อย่าสงสัย ตายแค่เปลือก เยื่อใน อยู่คู่โลกไป เป็นประโยชน์ แก่ใครๆ ไม่สิ้นเอย” ได้ขจัดอัตตา เข้าสู่การเข้าใจ อนัตตา ใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างมีสุข และเป็นประโยชน์ เมื่อมนุษย์เข้าใจสัจธรรมของชีวิตว่าเป็นอย่างนี้เอง จึงสามารถขจัด อัตตา ความเห็นแก่ตัวได้ ลดละตัวตนเสียได้ แล้วใช้ชีวิตที่ยังเหลืออยู่ในโลก ด้วยการทาหน้าที่ของตนๆอย่าไม่ประมาทคือ ทุกขณะและโอกาสที่ ได้/มี และเป็นอย่างถูกต้อง ตามกลอนที่หลวงพ่อพุทธทาสแต่งไว้ว่า 24 แรงบันดาลใจจากความตาย
  25. 25. “ยามจะได้ ได้ให้เป็น ไม่เป็นทุกข์ ยามจะเป็น เป็นให้ถูก ตามวิถี ยามจะตาย ตายให้เป็น เห็นสุดดี ถ้าอย่างนี้ ไม่มีทุกข์ ทุกวันเอย” ตัวอย่าง เราทั้งหลายมานั่งอยู่ในศาลานี้ เวลาหรือความแก่ก็มากขึ้น ทุกขณะ ทุกนาที แต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่า เราจะได้ใช้โ อกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ เหมือนกันทุกคน ถ้าหากไม่ทาหน้าที่ของตนให้ดี คือขณะนี้เป็นผู้ฟัง ก็ฟังให้ ดี พระเทศน์ก็ตั้งใจเทศน์ให้ดี หลังจากเสร็จพิธีบาเพ็ญบุญกุศลแล้ว ต้องขับ รถก็ขับรถให้ดีด้วยความไม่ประมาท กลับถึงที่บ้านก็ทาหน้าที่ของตนที่ได้ เป็นให้ดี ไม่ว่า พ่อ แม่ ลูก ฯลฯ ด้วยการเอาใจใส่รักใคร่ดูแลกันอย่างดี เวลาตื่นเช้าขึ้นมา ไปเรียนหนังสือ หรือทางาน ฯลฯ ก็ทาหน้าที่นั้นๆให้ดี โดยไม่ปล่อยเวลาผ่านไปโดยไม่ได้ทาหน้าที่และประโยชน์ เหมือนที่พระพุทธ องค์สอนว่า “อย่าปล่อยเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์” หลวงพ่อปัญญานันทะ จึงพูดแนะนาเสมอว่า “ทุกชีวิตจะต้อง แตกดับเป็นธรรมดา เมื่อเรานึกว่าชีวิตจะต้องมีที่สุดที่ความแตกดับ เรา ควรจะถามตัวเองว่า เราเกิดมาท่าไม ? เรามีชีวิตอยู่ เพื่ออะไร ? 25 แรงบันดาลใจจากความตาย
  26. 26. สิ่งที่ดีที่สุดที่เราควรท่าคืออะไร ? และเราได้กระท่าสิ่งนั้นอยู่หรือยัง ? ถ้าหากว่ายังไม่ได้กระท่า ก็เรียกว่าเป็นผู้ประมาท ชีวิตจะไร้ค่า” รวมความว่า สังขารร่างกายหรือเวลาของมนุษย์ ไม่ไปตามความประมาท ของมนุษย์ที่แม้จะยืนดู,เดินอยู่,นั่งอยูหรือนอนอยู่ วัยก็ผ่านไปไม่มีวันหวน ่ กลับคืน ชีวิตของคนที่เรารักก็จากไป จึงเป็นเหตุให้เราทั้งหลาย มาร่วมกัน ทาประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งสองฝุาย คือคนที่จากไปก็ได้รับบุญกุศลที่ญาติ ทั้งหลายและมิตรสหายได้อุทิศไปให้ และ เจ้าภาพพร้อมด้วยญาติมิตร ก็ได้ เพิ่มบุญกุศลตามโอกาสและเกิดปัญญาเข้าใจสัจธรรมของชีวิตแล้ว ปฏิบัติ ต่อความตายอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นเครื่องผลักและแรงใจในการรีบทาความดี และประโยชน์ให้ทันกาล - ด้วยการท่าความดี ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วย จิตใจ ที่บริสุทธิ์ เพื่อเพิ่ม ทาน ศีล และ ภาวนา - ด้วยการมีเมตตารักใคร่ คนที่ เรารัก เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา หรือ ลูกๆ รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน หรือ ใครๆ ที่เป็นคนร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ขอบคุณคนที่ท่าความดีและช่วยเหลือเรา - ขอโทษคนที่เราได้ท่าผิดต่อเขา ขออโหสิกรรมต่อความ ผิดพลาด ที่เราได้กระท่าต่อเขา ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม 26 แรงบันดาลใจจากความตาย
  27. 27. - เร่งท่าหน้าที่ตนมีและเป็นอย่างดี เตือนตนให้พัฒนาศักยภาพ ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราดีขึ้นในทุกๆ วัน และหมั่นถาม ตัวเอง ว่า “วันนี้เราเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง ให้สิ่งดีและประโยชน์ อะไรบ้างแก่คนอื่น และต้องแก้ไขข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง” พูดอย่างสั้นว่า “มางานศพให้ถึงงานศพ” นั่นเอง เพื่อใช้ชีวิตที่ เหลืออยู่ด้วยการมีเมตตาต่อกันและกัน มีความเจริญสงบเย็น ด้วยการให้ ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ละสิ่งที่ไม่ดีและเป็นโทษ บาเพ็ญสิ่ งดีและมีคุณ ทาจิตให้ผ่องใส สงบเย็นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง สามารถดับ ทุกข์ได้หมดในที่สุด เหมือนกับพระบาลี ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ว่า น เหว ติฏฺฐ่ เป็นต้น แปลว่า “อายุสังขารไม่ได้เป็นไปตามสัตว์ที่ยืน นั่ง นอน หรือเดิน อยู่ วัยย่อมเสื่อมไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา” เพราะฉะนั้น มนุษย์ ควรท่าหน้าที่ของตนให้ดี ในชีวิตที่เหลืออยู่ ในโลกนี้ และ ไม่พึงประมาท(ในชีวิต จนกว่าจุดจบชีวิตจะมาถึง) ฯ เพราะท้ายที่สุดแห่งชีวิตมนุษย์นั้น ไม่มีคนใดจะเอาอะไรไปได้เลย ไม่ว่าทรัพย์สมบัติ คนรัก ของชอบทั้งหลายทั้งมวล ก็เหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง ลูกหลานได้ใช้ต่อไป มี แต่บุญกับบาปเท่านั้น ที่จะติดตามมนุษย์ไปทุกหน ทุกแห่ง ถ้าทาบุญกรรมดี ก็ไปเกิดที่ดี ถ้าทาบาปกรรมชั่ว ก็ไปเกิดที่ชั่ว ต้อง ประสบกับความเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ร่าไป เป็นวงจรวัฏจักร แต่เมื่อใด 27 แรงบันดาลใจจากความตาย
  28. 28. มนุษย์เข้าใจสัจธรรม เพียรละเหตุแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ กิเลส ตัณหาได้หมด ด้วยการศึกษาเข้าใจ ท่าใจปล่อยวาง สร้างทางด่าเนินไป มิหลงใหลในทุกสิ่ง ก็จะพบกับบรมสุขในที่สุด ดังคากลอนที่ว่า “อันทรัพย์สิน ถิ่นฐาน ทั้งบ้านช่อง อีกเงินทอง ไร่นา มหาศาล เป็นสมบัติ ของตัว ได้ชั่วกาล จะต้องผ่าน จากกัน เมื่อวันตาย ส่วนความดี มีความสัตย์ สมบัติแท้ ถึงตัวแก่ กายดับ ไม่ลับหาย จะสถิตย์ ติดแน่น แทนร่างกาย ถึงตัวตาย ชื่อยังอยู่ เชิดชู เอย” “ต้องเวียนเกิด เวียนตาย ตามบุญบาป เมื่อไรทราบ ธรรมแท้ ไม่แปรผัน ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตาย สบายครัน มีเท่านั้น ใครหาพบ จบกันเอย” (พุทธทาสภิกขุ) ท้ายที่สุดนี้ ก็ขออนุโมทนา กับเจ้าภาพ พร้อมด้วยญาติมิตร สาธุชน ทั้งหลาย ที่ได้รวมกันโดยทั่วกัน ฯ 28 แรงบันดาลใจจากความตาย
  29. 29. ธรรมอานวยพร ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ) ขอให้.....ท่าการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่) ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่) ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์) ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา) หนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจและมีส่วนในการเขียนหนังสือเล่มนี้ - หนังสือ “ระลึกถึงความตาย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย” พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) - หนังสือ “ความตาย: พระพุทธเจ้าสอน สตีฟ จ๊อบส์ ปฏิบัติ ” พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส 29 แรงบันดาลใจจากความตาย

×